-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 14 SEP * ข้าวญี่ปุ่น
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 14 SEP * ข้าวญี่ปุ่น

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2020 5:58 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 14 SEP * ข้าวญี่ปุ่น ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 14 SEP..
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

*** ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ คุณภาพผลผลิต (ยอด-ใบ-ดอก-ผล-เมล็ด-เนื้อ-ต้น-ราก) จะดกดี สีสวยสด รสจัดจ้านได้ ด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม ....

*** แม็กเนเซียม. สังกะสี. สาหร่ายทะเล. แคลเซียม โบรอน. ส่วนผสมเอาไปทำเอง ....
*** กลิ่นล่อดักแมลงวันทอง, กาวเหนียวดักแมลงศัตรูพืช.... คิดง่ายๆ ถ้าแมลงศัตรูพืชไม่มาที่กับดัก เขาก็จะไปที่ต้นพืช ว่ามั้ย ..... (089) 144-1112

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- วันนี้วันจันทร์ที่ 14 ก.ย. เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า ยาน็อค กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ. ไม้ผลแนวหน้า. ทั้งแถมและจำหน่าย กับดักแมลงวันทอง อันนี้แจก เอาไปเป็นตัวอย่าง ซื้ออันละ 60 บาท ที่นี่ทำอันละไม่ถึง 60 ตังต์ .... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

- งานสัญจรรอบนี้ วันเสาร์ที่ 19 ก.ย.. ไปวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครปฐม.... แน่นอน ระเบิดเถิดเทิง. ฟาจีก้า. ไบโออิ. หัวโต. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. ซื้อปุ๋ย 3,000 แถมหนังสือ 1 เล่ม เลือกเอาระหว่าง ไม้ผลแนวหน้า กับหัวใจเกษตรไท หรือ ซื้อปุ๋ย 1,000 แถม แคลเซียม โบรอน. 1 ล.

สัญจรทุกครั้งทุกที่ สนใจอยากยลโฉม หม้อปุ๋ยหน้าโซน ส่งข่าวล่วงหน้าหน่อยก็ดี จะได้เตรียมไป ส่วนกับดักแมลงวันทองเอาไปแจก กับดักแมลงวันทองที่ขายๆในท้องตลาดอันละ 60 บาท ลุงคิมทำอันละ 60 ตังค์ อันนี้เอาไปให้หลานมันดู ดูแล้วให้มันทำ ออกแบบใหม่ ....


************************************************************
************************************************************

จาก : (097) 728-54xx..
ข้อความ : จาก ตกงานโควิด .... (1) มีที่นา 20 ไร่ ติดคลองชลประทาน พ่อยกให้ทำเกษตร ชอบปลูกอะไรปลูกได้เลย .... (2) เพื่อนตกงานโควิดญี่ปุ่น กลับมาไทย บอก ญี่ปุ่นชอบกินข้าวญี่ปุ่นทำจากไทย ให้ราคาดี .... (3) ขอสูตรไม่มีปุ๋ยเคมี สารเคมี สำหรับข้าวด้วย.... ชาวนาลำปาง ขอบคุณครับ
ตอบ :

บ่น :

สร้างความพร้อมให้กับตัวเอง :
1. คุยกับเกษตร จังหวัด/อำเภอ/ตำบล/จิตรอาสา เรื่องข้าวญี่ปุ่นในเมืองไทย เก็บรายละเอียดมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยเฉพาะเอกสารตำรา
2. ไปดูแปลงจริงในประเทศไทย ใกล้สุด ไกลสุด
3. ความสำเร็จ ความล้มเหลว การแก้ปัญหา ผลจากการแก้ปัญหา
4. การตลาด
5. แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
6. เทคนิค เทคโน
7. 5 W. 1 H.
8.

- ขึ้นชื่อว่า “ส่งออก” ถือว่าดีทั้งนั้น นั่นคือเอาเงินตราต่างประเทศเข้ามาประเทศเรา ไม่ใช่อัฐยายซื้อขนมยาย ซื้อขายกันเองแต่ในประเทศอย่างที่ เป็นๆ/ทำๆ อยู่ทุกวันนี้ .... ตัวอย่างไต้หวัน เกษตรกรที่ส่ง ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ ไปต่างประเทศได้ รัฐบาลจะมีโบนัสแถมให้อีก

- ข้าวญี่ปุ่นส่งออกญี่ปุ่นประเทศเดียวเหรอ ข้าวญี่ปุ่นส่งออกประเทศอื่นได้ไหม ?
- นอกจากข้าว ผลิตภัณฑ์การเกษตรอย่างอื่น กลุ่ม “อาหาร-เครื่องดื่ม” นอกจากญี่ปุ่น ประเทศอื่นได้ไหม ? เหมือนแจ๊คหม่ากับแจ๊คหม่ำ .... ประเทศอุตสาหกรรมทำของใช้ ทำของกินไม่ได้ เพราะโซนภูมิศาสตร์ไม่อำนวยแต่ต้องกิน ในทางกลับกัน ประเทศเกษตรกรรมกลับดัดจริตจะเป็นประเทศอุตสาหกรรม ทำของใช้บ้าง ทั้งๆที่ช่องทาง “เกษตรอุตสาหกรรม” (เน้นย้ำ...เกษตรอุตสาหกรรม) เปิดทางโล่งโจ้งกลับไม่เอา

อาหาร คือ ของขบเคี้ยว เครื่องดื่ม คือ น้ำ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ต่อยอด/ขยายผล แป๊บซี่โคล่าลิโพกระทิงแดง เป็นน้ำส้มคั้น น้ำผลไม้ บรรจุขวดสุญญากาศ อยู่ได้นานนับปี ไทยไม่ทำ .... ก็ว่ากันไป

- ทำงานบริษัท มีความสามารถสูง น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) เอาความสามารถที่มีเอามาบริหารงานในบ้าน



คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ความรู้เรื่อบข้าวญี่ปุ่นในไทย :
เกษตรฯ หนุนปลูกข้าวญี่ปุ่น จังหวะ-โอกาส ชาวนาไทย :

"ในขณะที่เมืองไทยเองถือว่าเป็นเจ้าแห่งการผลิตข้าวอยู่แล้ว...คนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่าเมืองไทยปลูกข้าวญี่ปุ่นมาเกือบ 60 ปีแล้ว กระแส อาหารญี่ปุ่น ในบ้านเรานับ วันยิ่งเติบโต จากข้อมูลพบว่า กระแสความนิยมบริโภคอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยมีการขยายตัว 5-10% ต่อปี แถมไทยยังเป็นประเทศที่มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน

ด้วยความนิยมที่มากมายและเติบโตขึ้นทุกปี ทำให้วัตถุดิบประกอบอาหารญี่ปุ่นนำเข้ามาจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ "ข้าวญี่ปุ่น"

กระทรวงเกษตรฯ จึงสนับสนุนให้เกษตรกรไทยปลูกข้าวญี่ปุ่น เนื่องจากมีราคาดีกว่าข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว

คนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่าเมืองไทยปลูกข้าวญี่ปุ่นมาเกือบ 60 ปีแล้ว

แหล่งใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็นเชียงราย พะเยา เชียงใหม่ และลำพูน มีศักยภาพที่จะเพิ่มผลผลิตให้สามารถรองรับความต้องการได้ จากปัจจุบันไทยปลูกข้าวญี่ปุ่นราว 80,000-100,000 ไร่ ผลผลิตปีละ 60,000 ตันข้าวเปลือก หรือประมาณ 36,000 ตันข้าวสาร มูลค่าประมาณ 1,300 ล้านบาท

ที่น่าสนใจก็คือ จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นตาม ราคาล่าสุดในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ข้าวเปลือกญี่ปุ่นขายได้ตันละ 9,000-12,000 บาท ราคาข้าวสารอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 35 บาท ซึ่งถือเป็นข้าวพรีเมียม ที่ความต้องการสูงตามความต้องการของผู้บริโภค

ประมาณ 95% ของผลผลิตในไทยกระจายขายให้ร้านอาหารญี่ปุ่น เช่น ร้านอาหารฟูจิ

ดังนั้นในอนาคตหากการขยายตัวของร้านอาหารญี่ปุ่นออกไปสู่ประเทศในแถบประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ไทย ก็จำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อการขยายตัวของความต้องการ

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าเราต้องเร่งพัฒนาพันธุ์และลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้เกษตรกรมีกำไรมากขึ้นโดยต้นทุนการผลิตข้าวญี่ปุ่นของเกษตรกรไทย ในช่วงปลูกนาปีเฉลี่ยไร่ละ 4,600 บาท รายได้ไร่ละ 17,250 บาท และผลผลิตนาปรังไร่ละ 900-1,000 กก. เฉลี่ยมีรายได้ไร่ละ 21,850 บาท สามารถทำรายได้ให้เกษตรกรมากกว่าการขายข้าวทั่วไปเกือบ 2 เท่า

ปัญหาการผลิตข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทย คือการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ต้องปรับปรุงพันธุ์ให้ทนต่อโรคและแมลง มีปัจจัยการผลิตสูง และขาดแคลนแรงงาน

ส่วนด้านการตลาดมีข้าวญี่ปุ่นจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดไทยในราคาที่ต่ำกว่า ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย ส่งผลกระทบต่อผลผลิตในประเทศ

หากจะเพิ่มผลผลิตต้องทำอย่างระมัดระวัง และต้องเน้นในเรื่องการขายสินค้าคุณภาพสูงเพื่อจะได้ราคาที่สูงขึ้น

นายชาญพิทยา ฉิมพาลี อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กระทรวง เกษตรฯ สั่งการให้กรมการข้าวโดยศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดเชียงราย ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นชั้นพันธุ์คัด และชั้นพันธุ์หลัก ซึ่งมี เป้าหมายการผลิตชั้นพันธุ์คัดปีละ 2 ตัน และชั้นพันธุ์หลัก ปีละ 4 ตัน

ส่งผลให้ผลิตพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นที่สำคัญของไทยอยู่ที่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ และพะเยา โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรวมกลุ่มเกษตรกรโดยภาคเอกชน หรือโรงสี โดยจัดตั้งเป็นชมรม ชื่อชมรมผู้ผลิตข้าวญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย

เน้นการซื้อขายทั้งเมล็ดพันธุ์และข้าวญี่ปุ่นแบบเกษตรพันธะสัญญา (Contract Farming) มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้นขณะนี้ประมาณ 80,000 ไร่ เกษตรกรร่วมโครงการ 6,000 กว่าครัวเรือน

"ไทยเริ่มปรับปรุง พันธุ์ข้าวญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2500 โดยความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และต่อยอดงานวิจัยพัฒนาพันธุ์ จนได้พันธุ์ข้าวญี่ปุ่นเป็นพันธุ์แนะนำ 2 พันธุ์คือ ก.วก.1 (Sasanishiki) ก.วก.2 (Akitakomachi) รวมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทยอีกด้วย"

สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นชั้นพันธุ์ขยายปี 2557 มีผลผลิตเฉลี่ย 946 กก./ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.93 บาท หรือไร่ละ 4,663.37 บาท ราคาที่เกษตรกรขายได้ตามพันธะสัญญา กก. ละ 23 บาท แยกเป็นต้นทุนผันแปร 4,570.29 บาท ต้นทุนคงที่ 93.08 บาท ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าปลูก ร้อยละ 23 การดูแลรักษา 17% การเก็บเกี่ยว 16% และอื่นๆ 44%

การผลิตเมล็ดพันธุ์เกษตรกรจะปลูกข้าวแบบนาดำ เนื่องจากข้าวมีอัตราการเจริญเติบโตดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง สะดวกต่อการกำจัดโรคและแมลง และการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีขั้นตอนการกำจัดพันธุ์ปน ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี

"การนำเข้าข้าวญี่ปุ่นจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น มีราคานำเข้าสูงกว่าข้าวญี่ปุ่นที่ผลิตได้ในประเทศ ผู้ประกอบการจึงเลือกซื้อข้าวญี่ปุ่นที่ปลูกในประเทศ ส่งผลให้ความต้องการเมล็ดข้าวญี่ปุ่นคุณภาพดีมากขึ้นตามไปด้วย"

อย่างไรก็ตาม ข้าวญี่ปุ่นจากประเทศเวียดนาม สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ซึ่งมีราคาต่ำกว่าข้าวญี่ปุ่นในประเทศ แต่มีคุณภาพต่ำกว่านำเข้ามาตีตลาดเมืองไทย โดยร้าน อาหารระดับกลางหรือร้านอาหารญี่ปุ่นขนาดเล็ก ซื้อข้าวที่นำเข้าจากประเทศดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตในประเทศ

กรมการข้าวจึงเน้นส่ง เสริมกลุ่มเกษตรกรให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นคุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ตรงตามพันธุ์ให้เพียงพอกับความต้องการ ปรับปรุงพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นให้มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย มีความต้านทานโรคและแมลง และมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ พร้อมส่งเสริมการผลิต โดยการลดต้นทุน มีมาตรฐานในการผลิต คุณภาพผลผลิต โดยภาครัฐร่วมมือกับเอกชนส่งเสริม ผลักดันการปลูกข้าวญี่ปุ่น ในระบบการผลิตแบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ (Organic) และพัฒนาโรงสีเข้าสู่ระบบ GMP (Good Manufacturing) เพื่อยกระดับข้าวญี่ปุ่นเตรียมรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน (AEC)

ด้วยราคาขายที่ค่อนข้างสูง และการปลูกที่ยังมีพื้นที่น้อยอยู่มากในเมืองไทย ข้าวญี่ปุ่นจึงเป็นอีกทางเลือกของชาวนาที่น่าสนับสนุนอย่างยิ่ง

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=142830575


หนุนผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่น สศก. เผย เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรเกือบ 2 เท่า :
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยผลสำรวจการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นในภาคเหนือของไทยทำรายได้ให้เกษตรกรมากกว่าการขายข้าวทั่วไปเกือบ 2 เท่า แนะส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นคุณภาพดี ให้เพียงพอกับความต้องการในระบบการผลิตแบบเกษตรดีที่เหมาะสม

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นในภาคเหนือของไทยว่า ประเทศไทยได้เริ่มปรับปรุงพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2500 โดยความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ซึ่งระหว่างปี 2531-2541 ได้ต่อยอดงานวิจัยพัฒนาพันธุ์จนได้พันธุ์ข้าวญี่ปุ่นเป็นพันธุ์แนะนำ 2 พันธุ์คือ ก.วก.1 (Sasanishiki) ก.วก.2 (Akitakomachi) รวมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทยอีกด้วย

จากกระแสความนิยมบริโภคอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้มีการขยายตัวของร้านอาหารญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น โดยมีการขยายตัวร้อยละ 5-10 ต่อปี ขณะเดียวกันข้าวญี่ปุ่นที่ปลูกในประเทศไทยมีราคาต่ำกว่าข้าวญี่ปุ่นที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นโดยตรงมาก ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นหันมาใช้ข้าวญี่ปุ่นที่ผลิตในประเทศแทน จึงคาดว่าความต้องใช้เมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์หลักในการขยายพันธุ์จะสูงถึงประมาณ 40 ตัน ต่อปี

ในการนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดเชียงราย ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นชั้นพันธุ์คัด และชั้นพันธุ์หลัก ซึ่งมีเป้าหมายการผลิตชั้นพันธุ์คัดปีละ 2 ตัน และชั้นพันธุ์หลักปีละ 4 ตัน แหล่งผลิตพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ และพะเยา โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรวมกลุ่มเกษตรกรโดยภาคเอกชน (โรงสี) และได้จัดตั้งชมรม ชื่อ “ชมรมผู้ผลิตข้าวญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย” เน้นการซื้อขายทั้งเมล็ดพันธุ์และข้าวญี่ปุ่นแบบเกษตรพันธะสัญญา (Contract Farming) มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้นประมาณ 80,000 ไร่ เกษตรกรร่วมโครงการ 6,000 กว่าครัวเรือน

จากการติดตามสถานการณ์ ของ สศก. เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า ข้าวญี่ปุ่นชั้นพันธุ์ให้ผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 60,000 ตัน (36,000 ตันข้าวสาร) ราคาข้าวเปลือกญี่ปุ่นอยู่ที่ตันละ 9,000-12,000 บาท สำหรับเมล็ดพันธุ์หลักราคา กก. ละ 31 บาท ซึ่งในการผลิตเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยายต้องใช้เมล็ดพันธุ์หลักไร่ละ 13 กก. คิดเป็นต้นทุนค่าพันธุ์ไร่ละ 403 บาท และมีต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ยไร่ละ 4,600 บาท โดยเกษตรกรจะนำพันธุ์ขยายไปขายในราคากิโลกรัมละ 23 บาท ซึ่งให้ผลผลิตนาปีไร่ละ 700-800 กก. เฉลี่ยมีรายได้ไร่ละ 17,250 บาท และผลผลิตนาปรังไร่ละ 900-1,000 กก. เฉลี่ยมีรายได้ไร่ละ 21,850 บาท โดยสามารถทำรายได้ให้เกษตรกรมากกว่าการขายข้าวทั่วไปถึงเกือบ 2 เท่า

อย่างไรก็ตาม พบปัญหาการผลิตข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ต้องปรับปรุงพันธุ์ให้ทนต่อโรคและแมลง มีปัจจัยการผลิตสูง และขาดแคลนแรงงาน ส่วนด้านการตลาดมีข้าวญี่ปุ่นจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดไทยในราคาที่ต่ำกว่า ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย ส่งผลกระทบต่อผลผลิตในประเทศ ดังนั้น ควรส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นคุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ตรงตามพันธุ์ ให้เพียงพอกับความต้องการ ปรับปรุงพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นให้มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย มีความต้านทานโรคและแมลง และมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ ส่งเสริมการผลิต โดยการลดต้นทุนการผลิต มีมาตรฐานในการผลิต คุณภาพผลผลิต โดยภาครัฐร่วมมือกับเอกชนส่งเสริม ผลักดันการปลูกข้าวญี่ปุ่น ในระบบการผลิตแบบเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice : GAP ) ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ (Organic) และพัฒนาโรงสีเข้าสู่ระบบ GMP (Good Manufacturing) เพื่อยกระดับข้าวญี่ปุ่นเตรียมรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน (AEC)

ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร


นาข้าว แบบไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมี
หลักการและเหตุผล :

ในการทำเกษตรนั้นแม้จะปฏิเสธ “ปุ๋ยเคมี” ได้ แต่ไม่อาจปฏิเสธ “สารอาหาร” ได้ นั่นคือ หากจะไม่พึ่งพาสารอาหารพืชจากปุ๋ยเคมี ก็จะต้องสร้างหรือให้สารอาหารจากธรรมธรรมชาติหรือจากแหล่งอื่นแทน ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการเพื่อพัฒนาการของพืชอย่างแท้จริง

วัสดุส่วนผสมในปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง ได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลา รก เลือด นม น้ำมะพร้าว ฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนบำรุงราก ฮิวมิคแอซิด สาหร่ายทะเล ไคตินไคโตซาน ปุ๋ยคอกน้ำ และจุลินทรีย์ ผ่านกระบวนการหมักนานข้ามปี อุดมไปด้วยสารอาหาร (ธรรมชาติ) ที่ได้จากอินทรีย์วัตถุที่สามารถพิสูจน์ได้เพราะทำและใส่กับมือตัวเอง

ประกายความคิด :
ดร. อรรถ บุญนิธี ใช้น้ำสกัดชีวภาพ บีอี. ซึ่งทำจาก ผัก + กากน้ำตาล 1:1 เพียงอย่างเดียวในการทำนาข้าวแบบไถกลบฟาง ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีแม้แต่เม็ดเดียว ได้ผลผลิต 80 ถัง/ไร่

เนื่องจากต้นข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ย่อมต้องการสารอาหารไม่มากนัก ปริมาณสารอาหารที่เกิดเองตามธรรมชาติโดยการสะสมอย่างต่อเนื่องยาวนานมาก่อน กับส่วนที่ใส่เติมเพิ่มให้ใหม่นั้น ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการแล้ว

ดินที่มีความสมบูรณ์ 100 % เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชสามารถนำไปใช้หรือได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ใน 10 ส่วนเท่านั้น ทำให้ 6 ใน 10 ส่วนยังคงเหลือตกค้างอยู่ในดิน นั่นหมายความว่า แปลงนาที่เคยใส่ปุ๋ยเคมี 10 กก./ไร่ จะเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 กก.ต่อการใส่ 1 ครั้งเสมอ

ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่สายพันธุ์ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยกระบวนทางธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับการทำนาข้าวแบบไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมีมากที่สุด นอกจากไม่พึ่งพาแล้วยังไม่ตอบสนองอีกด้วย ส่วนข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นมานั้น เป็นข้าวสายพันธุ์ที่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีร้อยเปอร์เซ็นต์ หากไม่ได้รับสารอาหารจากปุ๋ยเคมีการเจริญเติบโตจะไม่เต็มที่

สรุป :
เมื่อไม่คิดจะพึ่งพาสารอาหารพืชจากปุ๋ยเคมี ก็จะต้องจัดเตรียมให้มีสารอาหารจากธรรมชาติ (อินทรีย์วัตถุ) ทดแทนให้มากที่สุดเท่าที่ต้นข้าวต้องการ และทำนาดำจะได้ผลดีกว่านาหว่าน

ขั้นตอนการทำนาข้าว แบบไม่พึ่งพาพึ่งพาปุ๋ยเคมี :
เตรียมดิน :

- เป็นแปลงนาที่ผ่านการทำนาแบบ อินทรีย์ นำ-เคมี เสริม. ไถกลบฟาง. และ ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด. ติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี

- ก่อนลงมือทำนาข้าวแบบไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมีต้องทำนาแบบปีละ 2 รุ่นติดต่อกัน และช่วงพักดินได้พักดินปรับปรุงบำรุงดินด้วยพืชตระกูลถั่ว ไถกลบเศษซากต้นถั่วลงดินมาแล้ว อย่างน้อย 1 รอบการผลิต

- แปลงนา 1 ไร่ ให้ทำเทือกโดยการใช้ “ไถกลบฟาง + ยิบซั่ม 50 กก. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรฟาจีก้า 2 ล. + จุลินทรีย์หน่อกล้วย + ปุ๋ยอินทรีย์หมักสูตรซุปเปอร์ห้าดาว (หมักข้ามปี) 20-30 กระสอบปุ๋ย” ไถกลบลงดินแล้วหมักทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อเป็นการบ่มดิน ก่อนลงมือหว่านดำให้ตีเทือกซ้ำอีกครั้ง

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำคั้นขิงสด หรือ ไคตินไคโตซาน + จุลินทรีย์หน่อกล้วย นาน 24 ชม. ครบกำหนดแล้วห่มชื้นต่ออีก 24-48 ชม. เมื่อเห็นว่ารากเริ่มงอกแล้วก็ให้นำไปหว่านได้
หมายเหตุ :
- ในน้ำคั้นขิงสด-น้ำคั้นเมล็ดข้าวโพดสด-น้ำมะพร้าวอ่อน. มีฮอร์โมนเร่งราก
- จุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิส ในหน่อกล้วย ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้

บำรุง :
ระยะกล้า :
ทางใบ :

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรฟาจีก้า-1 + ยาน็อค ทุก 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน
- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
หมายเหตุ :
- ในน้ำมะพร้าวอ่อน หรือในเมล็ดเริ่มงอก มีฮอร์โมนเร่งยอด ถ้าให้แก้ต้นข้าวระยะกล้า 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้ต้นกล้าโตเร็ว

- ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรฟาจีก้า-1 คือ ระเบิดเถิดเทิง ไม่ปุ๋ยเคมี ปรับโมเลกุล พืชรับได้ทั้งทางใบและทางราก

บำรุงระยะแตกกอ- ตั้งท้อง
ทางใบ :

- ให้ไทเป (ไม่ปุ๋ยเคมี) + ยาน็อค ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน
- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง

บำรุงระยะออกรวง :
ทางใบ :

- ให้ไทเป (ไม่ปุ๋ยเคมี) + เอ็นเอเอ. (ทำเอง) + ยาน็อค ทุก 5-7 วันด้วย ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน
- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
หมายเหตุ :
- ไทเป (ไม่ปุ๋ยเคมี) ช่วยให้พืชประเภทออกดอกติดผลง่ายอย่างข้าวออกดอกดี
- เอ็นเอเอ.ธรรมชาติ มีในหัวกวาวเครือขาว (อ้างอิง : หนังสือ สูตรฟันธง)

บำรุงระยะน้ำนม
ทางใบ :

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรฟาจีก้า-1 + ฮอร์โมนสมส่วน + เอ็นเอเอ. (ทำเอง) + ยาน็อค ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน
- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
หมายเหตุ :
- ฮอร์โมนสมส่วน (ทำเอง) ช่วยขยายขนาดทั้งต้นและเมล็ดให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
- ไทเป (ไม่ปุ๋ยเคมี) และ เอ็นเอเอ. (ทำเอง) ช่วยให้ต้นได้รับสารอาหารเสริมเพิ่มขึ้น
- ในฮอร์โมนไข่มีส่วนผสมของนม และในนมมีแคลเซียมช่วยบำรุงเมล็ด (ผล) ให้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น
- การให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรฟาจีก้า ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้น 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน จะช่วยเพิ่มน้ำหนักเมล็ดข้าวได้ดี

บำรุงระยะก่อนเกี่ยว
ทางใบ :

- ให้น้ำ + นมสด + ยาน็อค ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน 1 รอบก่อนเกี่ยว 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
- งดน้ำก่อนเกี่ยว 7-10 วัน
หมายเหตุ :
ให้ “น้ำคั้นใบเตยสด + น้ำมะพร้าวแก่” โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเกี่ยว 5-7 วัน ช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอมดีขึ้น และช่วยลดความชื้น

-------------------------------------------------------------------------------------



.




กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©