-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 25 AUG * มังคุดแจ๊คพ็อต
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 25 AUG * มังคุดแจ๊คพ็อต

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 25/08/2020 5:56 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 25 AUG * มังคุดแจ๊คพ็อต ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 25 AUG....
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

*** ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ คุณภาพผลผลิต (ยอด-ใบ-ดอก-ผล-เมล็ด-เนื้อ-ต้น-ราก) จะดกดี สีสวยสด รสจัดจ้านได้ ด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม ....

*** แม็กเนเซียม. สังกะสี. สาหร่ายทะเล. แคลเซียม โบรอน. ส่วนผสมเอาไปทำเอง ....
*** กลิ่นล่อดักแมลงวันทอง, กาวเหนียวดักแมลงศัตรูพืช.... คิดง่ายๆ ถ้าแมลงศัตรูพืชไม่มาที่กับดัก เขาก็จะไปที่ต้นพืช ว่ามั้ย ..... (089) 144-1112

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสัญจรรอบพิเศษ เดือนนี้มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือนนี้ตรงกับวันที่ 29 งานสัญจรไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา .... พบกับระเบิดเถิดเทิง ฟาจีก้า ไบโออิ หัวโต ไทเป ยูเรก้า ยาน็อค...หนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ, ไม้ผลแนวหน้า, กับดักแมลงวันทอง

*** ที่แน่ๆ ซื้อปุ๋ย 3,000 ขึ้นไป แถมหนังสือ 1 เล่ม ไม้ผลแนวหน้า, หัวใจเกษตรไท มินิ. เลือกเอา 1 เล่ม .... ซื้อปุ๋ย 1,000 แถมแคลเซียม โบรอน 1 ลิตร


สังเกต : วันนี้ สปอนเซอร์ถอนตัวไป 1 งานนี้ใครสนใจก็ติดต่อเข้ามา วิทยุ ปตอ. AM ระยะแพร่คลื่น 100% ได้ 20 จังหวัด แพร่คลื่นแบบกระโดดเป็นหย่อมๆ อีก 20 จังหวัด น่าจะดีกว่า FM ทั้งคลื่นหลัก คลื่นชุมชน ที่แพร่คลื่นไปได้แค่จังหวัดเดียวเท่านั้น ลองซี่ ว่างๆ วิ่งรถเดินทางไป ตจว. ถึง จว.ไหนก็ได้ ยิ่งไกลยิ่งดี เปิดวิทยุในรถระบบ AM คลื่น 594 ก็จะรู้ว่า ว่ารับได้หรือไม่ได้ รับได้ ได้แค่ไหน รับไม่ได้คือรับไม่ได้ แค่นี้ก็รู้ ลองดูซี่ ..... โฆษณาที่นี่ ไม่ใช่พูดอย่างเดียว แต่มีกิจกรรมเสริมโฆษณา (เน้นย้ำ....กิจกรรมเสริมโฆษณา) อีก ตอนนี้คิดคร่าวๆได้ราว 20 กิจกรรมเสริม อันนี้ต้องมาคุยกัน
วางแผนร่วมกันว่าจะเสริมยังไง....

************************************************************
************************************************************


มังคุดแจ๊คพ็อต :

การผลิตมังคุดนอกฤดูกาล :

- เดือน ธ.ค. - เดือน ม.ค. เป็นช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตนอกฤดูกาล
- เดือน ก.พ. ให้เราเริ่มต้นบำรุงต้นบำรุงใบ เพื่อรองรับการผลิตในรอบปี โดยการ ตัดแต่งกิ่งของมังคุด ใส่ปุ๋ยและให้น้ำมากประมาณ 60% โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับปุ๋ยเคมีที่มีเลขตัวหน้าสูง เพื่อเร่งใบชุดที่ 1 ชักนำให้แตกใบอ่อนหลังเก็บเกี่ยว 2 อาทิตย์

- เดือน มี.ค. ให้ฉีดยาป้องกันหนอนกัดกินใบ และ เพลี้ยไรแดง
- เดือน เม.ย. จะเกิดใบชุดที่ 2 ช่วงนี้ควรให้น้ำ ใส่ปุ๋ยเร่ง นับเป็นเวลา 14-16 สัปดาห์ หรือ 100 วัน หลังจากนั้น งดให้น้ำ เป็นเวลา 9 สัปดาห์ หรือ 2 เดือนครึ่ง
- เดือน มิ.ย. หลังจากเรางดให้น้ำแล้ว จะสังเกตเห็นลักษณะของมังคุดแล้งน้ำจนกิ่งปล้องที่ 2 เหี่ยว ถ้าจะเห็นให้ชัดเจนให้ดูที่ปลายใบสุดจะมีอาการใบตก ให้เกษตรกรให้น้ำครั้งแรกประมาณ 30-40 มม. พร้อมกับ ฉีดพ่นปุ๋ยเร่งให้ชุ่มทั้งต้น ถ้ามังคุดยังไม่ออกดอกควรให้น้ำอีกครั้งห่างกัน 7-10 วัน จำนวนน้ำที่ให้ประมาณ 17.5- 20 มล.

- เดือน ก.ค. มังคุดก็จะออกดอก
- เดือน ส.ค. ถึง เดือน พ.ย. เกษตรกรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
- เดือน ก.ย. ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอเพื่อบำรุงต้นและผล และควรใส่ปุ๋ยที่มีเลขหลังสูงเพื่อบำรุงผลมังคุด และ ยังคงให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนถึงเดือนพฤศจิกายน

- เดือน ธ.ค. - เดือน ม.ค. ก็สามารถเก็บเกี่ยวมังคุดไปขายได้ รวมระยะเวลาตั้งแต่ มังคุดเริ่มออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน

สำหรับการใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องวัดรอบทรงพุ่มของมังคุดด้วย คือ ถ้าทรงพุ่มมีขนาด 3 ม. ให้เราใส่ปุ๋ย 1 กก. หรือเทียบได้ คือ 3:1 ให้เราหว่านให้รอบทรงพุ่มห่างจากต้น 1 เมตร

(ข้อมูล โดย เกรียงศักดิ์ ขุนฤทธิ์, ต.หินตก อ.พิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช)
http://www.npknetwork.com
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1926



การผลิตมังคุดก่อนฤดู :
แนวคิด :

ต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด ก่อนว่าการทำมังคุดก่อนฤดูนั้นสามารถทำได้ เพื่อที่จะได้หาวิธีการทำให้ได้ตามเป้าหมาย

วิธีการ :
1. หลังเก็บเกี่ยว ต้องมีการจัดการต้นมังคุดทันทีโดย :
- ตัดยอดเพื่อควบคุมความสูง โดยต้นที่ยังไม่เคยตัดแต่งยอดให้ตัดยอดลงให้เหลือความสูง ในระยะที่สามารถทำงานได้สะดวก ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะ 4-5 เมตร การตัดยอดให้ได้ความสูงในระยะที่ต้องการอาจต้องตัดหลายครั้ง การตัดครั้งเดียวในทันทีอาจทำให้กิ่งที่อยู่ด้านบนโดนแสงแดดเผา ทำให้กิ่งแห้งและผุได้ง่าย

- ตัดแต่งกิ่งภายในต้นเพื่อให้โปร่งแสงแดดส่องได้ทั่วถึง ควรไว้กิ่งประมาณ 25 กิ่งต่อต้น
- ตัดแต่งปลายกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่ม และป้องกันไม่ให้กิ่งหัก เนื่องจากกิ่งที่ยื่นยาวและมีปริมาณใบมาก ปลายกิ่งจะหนักจะทำให้กิ่งหักได้ง่าย

2. ใส่ปุ๋ย : เพื่อให้ต้นมังคุดสมบูรณ์ควรมีการใส่ปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี โดยให้ดูผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินและใบพืชจะทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิต

- การใส่ปุ๋ยครั้งที่1 ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรที่เน้นตัวหน้า ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อบำรุงใบให้สมบูรณ์และปรับโครงสร้างดิน ใส่ในช่วงปลายของการเก็บเกี่ยวจะช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้ทันเวลา เนื่องจากพืชจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการลำเลียงธาตุอาหารไปใช้ได้

- การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ควรใส่ในช่วงดอกกลมๆ เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้มังคุดมีผลใหญ่ไปด้วย

- การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ควรใส่ในช่วงที่ผลมังคุดมีขนาดเท่าผลหมาก เพื่อเพิ่มขนาดของผลให้มีน้ำหนักอย่างน้อย 70 กรัม

3. กระตุ้นให้แตกใบอ่อน : โดยปกติถ้าต้นมังคุดสมบูรณ์ และมีการตัดแต่งกิ่ง มังคุดจะแตกใบอ่อนได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งในภาคตะวันออกจะแตกใบอ่อนช่วงเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม แต่ถ้ายังไม่แตกใบอ่อนให้ฉีดพ่นด้วย ไธโอยูเรีย ในอัตรา 30-40 กรัม/น้ำ 20 ล. แลควรผสมฮิวมิก และสาหร่ายด้วย เพื่อลดความเป็นพิษของไธโอยูเรีย. ในกรณีที่แตกใบอ่อนช้า ให้เร่งโดยการฉีดพ่นด้วย "แมกนีเซียม" จะช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้น

4. กระตุ้นให้มังคุดออกดอก
- ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน จะเป็นช่วงที่ต้องกระตุ้นให้มังคุดออกดอก ทำโดยการใช้เครื่องตัดหญ้าตีใบมังคุดและเศษวัชพืชใต้โคนต้นให้แตกกระจุยจะทำให้รากมังคุดขาดและเกิดภาวะเครียด ห้ามทำให้โคนมังคุดโล่งเตียนโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้รากมังคุดยิ่งลงลึกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การทำให้มังคุดอยู่ในภาวะเครียดทำได้ยากยิ่งขึ้น

- หลังจากนั้นงดน้ำจนกว่าจะเห็นก้านมังคุดเป็นร่อง แล้วจึงให้น้ำในปริมาณมาก จำนวน 1 ครั้ง จากนั้นเว้น 3 วันให้น้ำอีกครั้งหนึ่ง และรอดูอาการ 1 สัปดาห์ โดยก่อนการให้น้ำจะต้องสังเกตอุณหภูมิด้วย ถ้าอากาศเย็นไม่ควรให้น้ำ ควรให้ในช่วงอุณหภูมิสูง (อุ่น-ร้อน)

- ก่อนการให้น้ำให้ทำการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 + สาหร่าย เพื่อบังคับให้มีการออกดอก

5. ให้น้ำ : ควรให้น้ำตลอดตั้งแต่เริ่มเป็นดอก จนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยในช่วงพัฒนาการของผลจะเป็นช่วงที่มังคุดต้องการปริมาณน้ำมากที่สุดฃฃ

Section : เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า
คำสำคัญ : ส่งเสริมการเกษตร
สัญญาอนุญาต : ซีซี : แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน

http://gotoknow.org


ยืดอายุมังคุดหลังเก็บเกี่ยวด้วย “ไคโตซาน” สดนานกว่าเดิม 3 เท่า
“มังคุด” สินค้าเกษตร ได้รับสมญานามว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้” (Queen of the Fruit) ในปัจจุบันยังคงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยมีมูลค่าการตลาดภายในประเทศโดยรวมปีละหลายพันล้านบาท เนื่องจากมังคุดมีรสชาติพอเหมาะและกลิ่นหอมน่ารับประทาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการส่งออกต่างประเทศได้อย่างดีหลายประเทศ

แต่ปัญหาการส่งออกมังคุดที่สำคัญในการเน่าเสียและมีอายุการวางขายในตลาดสั้นโดยเฉลี่ย เพียง 5-6 วัน นั้นเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คุณภาพของมังคุดต่ำลง ส่งผลถึงราคา เนื่องจากต้องใช้เวลายาวนานในการขนส่ง ครั้นส่งไปทางเครื่องบินก็ทำให้ค่าระวางเป็นตัวเพิ่มต้นทุนที่นับว่าอยู่ในระดับสูง แต่เพื่อให้ต้นทุนต่ำลงจึงจำเป็นต้องมีการขนส่งทางเรือง ซึ่งต้องใช้เวลานาน ส่งผลกระทบถึงความสดของมังคุด

ตอนนี้ทางกรมประมงได้มีการค้นพบวิธีการยืดอายุความสดของมังคุดจากสารสกัดที่ได้จาดสัตว์น้ำ โดย นายประสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง ได้กล่าวว่า กรมประมงได้ประสบความสำเร็จในการผลิตไคซานจากเปลือกหรือกระดองของสัตว์น้ำ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู กระดองหมึก ซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือทิ้งหรือจำหน่ายในราคาถูก นำมาสกัดเป็นไคโตซานที่กรมประมงค้นพบ สามารถยืดอายุผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มมูลค้าของผลไม้ โดยเฉพาะมังคุด เพราะไคโตซานที่กรมประมงค้นพบ สามารถยืดอายุความสดของมังคุดจาก 10 วัน เป็น 30 วัน และมังคุดเป็นผลไม้ไทยที่ตลาดต่างประเทศต้องการ การยืดอายุความสดของผลไม้ด้วยไคโตซานไม่มีอันตรายเพระผลิตจากธรรมชาติ

ส่วนผู้วิจัยจนประสบความสำเร็จในการผลิตไคโตซานดังกล่าวคือ ดร. อัธยา กังสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและคณะ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง ดร. อัธยา กังสุวรรณ กล่าวว่า ไคโตซานเป็นอนุพันธ์ของไคตินที่เป็นองค์ประกอบหลักของเปลือกสัตว์น้ำพวกข้อปล้อง เช่น กุ้ง ปู และกระดองหมึก มีคุณสมบัติทางเคมีเป็นสารประกบน้ำตาลโมเลกุลยาว ละลายในกรดอินทรีย์ เช่น กรดน้ำส้ม กรดเล็กติก เป็นต้น ปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งการเกษตร การแพทย์ และเครื่องสำอาง โดยก่อนหน้าที่ทางกรมประมงได้มีการทดลองยืดอายุการเก็บรักษาสัตว์น้ำมาแล้ว เช่น ปลาสลิด ที่สามารถเก็บรักษาที่ทอดเป็นเวลานานถึง 2 เดือน โดยไม่เกิดเชื้อรา

“ไคโตซาน เป็นสารละลายที่สามารถจับตัวเป็นไฟเบอร์หรือเป็นเยื่อบาง ๆ มีประจุบวกที่สามารถเคลือบติดกับผิวของเปลือกได้ มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้หลายชนิด และสามารถป้องกันการระเหยของน้ำทำให้มังคุดชุ่มชื้น และยังสามารถป้องกันการทำปฏิกิริยาโดยตรงกับออกซิเจนในอากาศกับเปลือกมังคุด ซึ่งสามารถรักษาสีของมังคุดไม่ให้ซีดจางไป และเป็นสารธรรมชาติซึ่งไม่มีผลข้างเคียงกับทั้งสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้ถึงแม้มีการเคลือบสารตัวนี้ไปแล้ว สามารถล้างออกได้ด้วยน้ำเปล่าหรือไม่ล้างก็ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย แต่ไคโตซานในแต่ละชนิดทั้งกุ้ง ปู และปลาหมึก จะเหมาะกับวัตถุประสงค์ต่างกัน เช่น ต้องการนำสารละลายนำไปเคลือบหรือฉีดพ่น นำไปลดหรือนำไปดักจับโลหะหนักในการผลิตน้ำผลไม้ หรือไวน์ให้บริสุทธิ์ เราจึงต้องเร่งศึกษาเรื่องนี้” ดร. อัธยา กล่าวเสริม

จากการศึกษาพบว่า ไคโตซานไม่ว่าจะแช่เย็นหรืออยู่ในอุณหภูมิห้องก็มีคุณสมบัติเหมือนกัน เพียงแต่ว่าสภาพการเก็บรักษาจะมีผลทางอ้อมกับตัวมังคุดเอง ซึ่งไคโตซานอาจคล้ายกับตัวช่วยในการเก็บรักษาให้ยาวขึ้นโดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาบางอย่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เมื่อนำไคโตซานไปเคลือบแล้ว สามารถป้องกันได้ทั้งเชื้อราหรือพวกปฏิกิริยาที่เรียกกันว่า การเติมออกซิเจนจากอากาศที่เรียกสารเคมีตัวนี้ว่า ออกซิเดชั่น เป็นสารที่ทำให้สีของมังคุดซีดจาง แต่ไคโตซานจะสามารถป้องกันได้ระดับหนึ่ง และเมื่อเคลือบเสร็จแล้วถ้านำไปแช่เย็นก็ยิ่งจะเคลือบไว้ได้นานขึ้น หากนำไว้ในที่อุณหภูมิห้องก็ยังสามารถยืดอายุได้แต่อาจน้อยกว่าการแช่เย็น ซึ่งเป็นเรื่องของสภาพการเก็บรักษา และยังสามารถป้องกันการระเหยของน้ำได้ระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถเก็บรักษามังคุดได้ในระยะเวลาที่นานกว่าปกติ

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน

ธาตุสังกะสีต่อมังคุด :
ธาตุสังกะสี เป็นหนึ่งในธาตุอาหารจำเป็นของพืช แต่วันนี้ "มังคุด" ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ของไทย กำลังประสบกับภาวะขาดแคลนธาตุสังกะสีอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อผลผลิตมังคุดส่งออก

เมื่อปี 2540 รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิจัยสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เริ่มสังเกตพบว่า สวนผลไม้ในภาคตะวันออกของไทยส่วนใหญ่ ขาดธาตุสังกะสี โดยเฉพาะมังคุดและทุเรียน ที่แสดงอาการขาดธาตุสังกะสีให้เห็นมากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ จึงเริ่มศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

"สังกะสีเป็น 1 ใน 16 ธาตุอาหารจำเป็นของพืชที่ต้องได้รับ หากขาดไปจะทำให้พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่ครบวงจรชีวิต เช่น อาจไม่มีดอก ไม่ออกผล หรือหากได้รับธาตุสังกะสี.ไม่เพียงพอ พืชจะแสดงอาการผิดปกติออกมา ได้แก่ ใบเล็กและแข็ง ข้อใบสั้น ทำให้ใบรวมกันเป็นกระจุก ส่งผลให้พืชทำการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก อ่อนแอ และเป็นโรคง่าย ซึ่งพบในพืชผลหลายชนิดในภาคตะวันออก โดยเฉพาะมังคุดและทุเรียนที่พบมากกว่าผลไม้อื่น" รศ.ดร.สุมิตราฯ อธิบายแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ และสื่อมวลชนระหว่างเข้าเยี่ยมชมสวนมังคุดส่งออกของเกษตรกรใน จ.จันทบุรี ที่จัดโดยบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา

นักวิจัย สจล. กล่าวต่อว่า จากการศึกษาวิจัยพบว่า ขาดธาตุการสังกะสี.ของพืชในภาคตะวันออกเกิดส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส.มากเกินไปเป็นเวลายาวนาน จากความไม่รู้ของเกษตรกร เนื่องจากเชื่อว่าการใส่ปุ๋ยเอ็น-พี-เค (N-P-K) ตามปกตินันเพียงพออยู่แล้ว และเมื่อใช้ปุ๋ยสูตรดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้มีฟอสฟอรัส (P) ในดินสูง ซึ่งฟอสฟอรัสในดินจำนวนมากนั้นจะไปขัดขวางการดูดซับธาตุสังกะสีในดินของพืช ส่งผลให้พืชที่เจริญเติบโตบริเวณนั้นขาดธาตุสังกะสี.ได้

การแก้ปัญหาพืชขาดธาตุสังกะสี.สามารถทำได้โดยการให้ปุ๋ยสังกะสี.เพิ่มในดิน แต่เนื่องจากสวนผลไม้ในภาคตะวันออกมีฟอสฟอรัส.ในดินสูงมาก การให้ปุ๋ยสังกะสี.ในดินจึงไม่มีผลใดๆ และอาจต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปีจึงจะทำให้ฟอสฟอรัส.ในดินลดลงจนหลือปริมาณที่เหมาะสมโดยที่ไม่ต้องใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส.เพิ่มเข้าไปอีก

ฉะนั้นต้องให้ปุ๋ยสังกะสีโดยวิธีฉีดพ่นทางใบแทนโดยให้ฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีทุกครั้งเมื่อมังคุดเริ่มแตกใบอ่อนจะสามารถช่วยให้ใบใหม่ไม่ขาดธาตุสังกะสี พืชแข็งแรง ออกดอกสม่ำเสมอ ผลใหญ่ เปลือกมีผิวสวย เรียบเนียน และไม่มีคราบน้ำยางเกาะติดที่ผิวเปลือก

รศ.ดร.สุมิตราฯ เผยอีกว่ายังมีปัญหาสำคัญที่ยังพบมากในผลผลิตมังคุดคือ มังคุดเป็นเนื้อแก้ว และยางไหล ซึ่งเกิดจากมังคุดได้รับน้ำฝนมากเกินไปจนทำให้เซลล์ของเนื้อมังคุดแตกและกลายเป็นเนื้อแก้ว ส่วนปัญหายางไหลเกิดจากท่อน้ำยางแตกเมื่อมีแรงดันมากเกินไป ซึ่งวิธีแก้ปัญหาคือ เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวมังคุดให้ได้ก่อนเริ่มเข้าฤดูฝน แต่เมื่อไม่สามารถทำดังนั้นได้ จึงจำเป็นต้องทำให้มังคุดมีความแข็งแรงพอที่จะทนทานต่อสภาวะดังกล่าวได้

"ธาตุสังกะสีช่วยให้พืชมีความสมบูรณ์แข็งแรงได้ในระดับภาพรวม แต่จากการศึกษาพบว่าธาตุแคลเซียมสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์เนื้อมังคุดและท่อน้ำยางได้ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยการเพิ่มแคลเซียมให้มังคุดในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาเนื้อแก้วและยางไหล ซึ่งจะทำให้มังคุดมีคุณภาพดียิ่งขึ้น" รศ.ดร.สุมิตราฯ เผย ซึ่งนักวิจัยได้รับทุนวิจัยต่อเนื่องจาก คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยในการศึกษาความต้องการธาตุอาหารของพืชในสวนมังคุด ทุเรียน และสละ ตั้งแต่ปี 2541 ถึงปัจจุบัน

ด้านนางสงวน บุญญฤทธิ์ เกษตรกรเจ้าของสวนมังคุดรายหนึ่งใน จ.จันทบุรี ที่ครอบครัวทำสวนมังคุดมายาวนานร่วม 50 ปี บนพื้นที่ราว 150 ไร่ และเป็นเกษตรกรรายแรกๆ ที่เริ่มหันมาสนใจการเพิ่มธาตุสังกะสีให้มังคุด เปิดเผยว่า ก่อนหน้าที่ รศ.ดร.สุมิตราฯ จะเข้ามาทำวิจัย ผลผลิตมังคุดเริ่มไม่ค่อยดี

แต่หลังจากทดลองฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีให้มังคุดตามคำแนะนำของนักวิจัยก็พบว่า ผลผลิตมังคุดเริ่มมีคุณภาพดีขึ้น ผลใหญ่ขนาดตั้งแต่ 70-90 กรัมขึ้นไป ผิวมัน เปลือกบาง ไม่เป็นกระ เนื้อขาวสวย รสชาติหวาน ไม่ค่อยพบเนื้อแก้วหรือยางไหลมากเหมือนแต่ก่อน

จากเดิมที่สามารถส่งออกได้เพียงประมาณ 30% ปัจจุบันส่งออกมังคุดได้มากกว่า 70% โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่ในจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป แต่กว่าจะประสบผลสำเร็จได้ขนาดนี้ ต้องใช้เวลานานประมาณ 6 ปี

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญในการแก้ปัญหามังคุดขาดธาตุสังกะสี ที่นักวิจัยต้องเผชิญคือ ความไม่เชื่อถือจากเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มักเชื่อตามความรู้สึกของตนเอง เชื่อตามวิธีเดิมที่ปฏิบัติมาเป็นเวลานาน

รศ.ดร.สุมิตราฯ จึงแนะนำว่า สิ่งที่เกษตรกรควรทำคือ นำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้รู้ปริมาณธาตุอาหารที่ควรเติมลงในดิน และนำตัวอย่างใบมังคุดวิเคราะห์เพื่อให้รู้ว่าพืชขาดธาตุอาหารใดบ้าง จะได้ให้ปุ๋ยพืชที่มีธาตุอาหารเหมาะสมและครบถ้วน

นอกจากนั้น รศ.ดร.สุมิตราฯ ยังให้ความรู้เพิ่มเติมว่า สังกะสีเป็นธาตุอาหารจำเป็นต่อพืช และเป็นธาตุอาหารจำเป็นต่อมนุษย์เช่นกัน และมีรายงานวิจัยว่า การขาด ธาตุสังกะสี. และวิตามินเอ. จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์มากที่สุด โดยผู้ที่ขาดธาตุสังกะสี. จะมีร่างกายแคระแกร็น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ป่วยเป็นโรคง่าย และมีผลต่อระบบการทำงานในสมอง

ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี.ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งธาตุสังกะสีพบมากในเนื้อสัตว์ ปลา ข้าว ธัญพืช รวมทั้งผักสีเขียว และการให้ปุ๋ยสังกะสีในมังคุดหรือพืชอาหารอื่นๆ ยังช่วยลดอาการขาดธาตุสังกะสีในมนุษย์ได้ด้วยเช่นกัน

ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000079440

----------------------------------------------------------------------------------------




.


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©