-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหา 22-23-24-25-26 APR * มะละกอ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหา 22-23-24-25-26 APR * มะละกอ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/04/2019 6:05 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหา 22-23-24-25-26 APR * มะละกอ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 22-23-24-25-26 APR
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

สนับสนุนรายการโดย ....
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช .... (02) 322-9175-6
http://www.nimut.com/

* ยิบซั่มธรรมชาติ ---- เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์แมกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็มแคล, แคลซี, แคลสตาร์, .... ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ .... (089) 144-1112
http://www.bkgmax.com/kaset/product.html

* บ.มายซัคเซส อะโกร --- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กลิ่นล่อ+กาวเหนียว ดักแมลงวันทอง ฟลายแอต สเปร์ย, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพรไบโอเจ๊ต, ใบมีด ตัดหญ้า+พรวนดิน ในตัวเดียวกัน, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ .... (081) 910-5034
http://www.mysuccessagro.com

* และ ชมรมสีสันชีวิตไทย เกษตรลดต้นทุน อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด แต่ละปัจจัยพื้นฐาน แต่ละวัตถุประสงค์ แต่ละใจเจ้าของ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

-----------------------------------------------------------------------------------

จาก : (086) 136-27xx
ข้อความ : เคยได้ยินคนพูด มะละกอ 1 ไร่ 1 แสน แต่ไม่บอกว่าต่อปีหรือต่อเดือน ผมอยากปลูกให้ได้มากกว่า 1 แสน ลุงว่าไงครับ
ตอบ :
ด้ายยย ได้ยิ่งกว่าได้ ....
มากกว่า 1 แสนก็ได้ ถ้าผลผลิต ซูพรียม พรีเมียม เกรด เอ. จับโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง ออกนอกฤดู สีสวยสด รสจัดจ้าน ปลอดสารเคมี แปรรูป พันธะสัญญา จองล่วงหน้า ปชส.โฆษณาให้บ้าเลือด

แต่ถ้าเกรดฟุตบาท คงได้แค่ 1 ไร่ 1 ร้อย

* ปัญหาคือ เกรด เอ.จัมโบ้ ทำยังไง ? กล้าทำไหม ? .... (เทคนิค เทคโนฯ)
* เกรดฟุตบาท เกิดจากอะไร ? แก้ไขอย่างไร ? ... (พฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี)

*** บอกมาตั้งแต่เริ่มรายการสีสันชีวิตไทย (20 ปี) ทำอย่างเดิม จะแย่กว่าเดิม เพราะสภาพแวดล้อมหลากหลายอย่าง เปลี่ยนแปลงไปในทางลบ (-)


จาก :
(094) 956-21xx
ข้อความ : เรียนคุณตาผู้พัน บ้านหนูปลูกมะละกอ 15 ไร่ ปีนี้แล้งหนัก มะละกอตาย บางต้นไม่ให้ผล หนูยุให้พ่อเจาะบาดาล ลงทุน 2 หมื่น ได้น้ำให้มะละกอ แถมพริกมะเขือแซม พ่อฝากบอกขอบคุณตาผู้พันด้วย .... หลานเย นครสวรรค์
ตอบ :
“ยุให้พ่อเจาะบาดาล”
แล้ว น่าจะยุให้พ่อ ติดสปริงเกอร์-หม้อปุ๋ย, ทำปุ๋ย (ระเบิดเถิดเทิง ฟาจีก้า โอไฮโอ หัวโต ใบโต ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า), ทำสารสมุนไพร (สูตรเฉพาะ สูตรสหประชาชาติ สูตรยาน็อค),

จาก :
(090) 643-26xx
ข้อความ : เรียนผู้พันคิม ในนามจิตอาสา ขอถามเรื่องมะละกอแทนคนอื่น ดังนี้ 1. มะละกอส้มตำ เลือกพันธุ์อะไรดี .... 2. มะละกอฮอลแลนด์ มาจากประเทศฮอลแลนด์ ใช่ไหม ....3. มะละกอตัวผู้ แก้ไขอย่างไร .... 4. บำรุงมะละกอสูตรความสมบูรณ์สะสม ใช้ปุ๋ยตัวไหน ....5. บำรุงมะละกอสูตร ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ-สีสวยสด-รสจัดจ้าน ใช้ปุ๋ยตัวไหน ....6. ขอวิธีบำรุงมะละกอสูตรผู้พัน ใช้ปุ๋ยผู้พัน ใช้ยาผู้พัน ครบสูตร .... ขอบคุณครับ ทหารเก่าโคราช
ตอบ :
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม .....
มะละกอส้มตำ :
มะละกอพันธุ์ครั่ง :
พัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นมะละกอดิบสำหรับทำส้มตำโดยเฉพาะ ให้ผลผลิตสูง อายุให้ผลผลิตเร็ว เพียง 5-6 เดือนหลังย้ายกล้าลงปลูก เนื้อแข็งกรอบออกหวาน เก็บมาแล้วอยู่ได้นานในอุณหภูมิปกติโดยไม่เหี่ยว

- การออกดอกติดผลของมะละกอสายพันธุ์นี้ เมื่อผลผลิตในรุ่นแรกหมดจะชะงักการให้ผลผลิต ที่ชาวบ้านเรียกว่า “หมดคอแรก” ต้องเริ่มต้นบำรุงใหม่ ทำให้เสียเวลาเสียโอกาสเพราะผลผลิตได้ไม่ต่อเนื่อง ....

แก้ไขป้องกันหมดคอด้วยการบำรุงแบบ “สะสมความสมบูรณ์” (แม็กเนเซียม-สังกะสี, แคลเซียม โบรอน.) สม่ำเสมอ

พันธุ์แขกนวลดำเนิน :
ในวงการส้มตำถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ทำส้มตำได้อร่อยที่สุด เนื่องจากมีความกรอบและหวานกว่ามะละกอที่ทำส้มตำทุกพันธุ์ เริ่มเก็บผลผลิตในรุ่นแรกเมื่ออายุ 5 เดือน ช่วงต้นยังสาวเก็บได้ประมาณ 20-30 กก. /ต้น /เดือน เก็บได้เดือนละ 2-3 รอบ ให้ผลผลิตต่อเนื่อง ถ้าการดูแลการจัดการเรื่องธาตุอาหารดีจะไม่ทำให้เกิดอาการขาดคอ แล้วก็ให้ผลผลิตต่อเนื่องถึง 2 ปี เฉลี่ยผลผลิตที่ได้เท่ากับต้นละ 200-300 กก. /ต้น /ปี ....

เนื้อที่ 1 ไร่ ลงระยะ ห่าง 2 x 2 ม.ได้ 400 ต้น จะได้ผลผลิตเฉลี่ย 8-10 ตัน /ไร่ /ปี ถ้าราคาตลาด รับซื้อที่ กก.ละ 4 บาท จะมีรายได้โดยประมาณ 300,000-400,000 บาท

มะละกอแขกดำศรีสะเกษ :
สายพันธุ์ที่ดีพันธุ์หนึ่งของไทย จากศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสระเกษ ปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ปลูกกันทั่วประเทศ บริโภคได้ทั้งดิบและสุก

บำรุงมะละกอ :
ทางใบ :
(เพื่อ....บำรุงต้น, บำรุงผล “ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ-สร้างคุณภาพ”)
- ให้ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 30 ซีซี. + ไทเป 30 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (30 ซีซี.) + สารสมุนไพร 1-2 ล.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- ให้ “น้ำตาลทางด่วน” (กลูโคส น้ำมะพร้าวแก่) 1-2 เดือนต่อครั้ง
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อกันก่อนแก้
ทางราก : ใส่ยิบซั่ม ธันเดอร์พลัสส์ ปุ๋ยอินทรีย์ตราคนกับควาย กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) +เพิ่ม 8-24-24 (2 กก.) สลับเดือนกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) +เพิ่ม 21-7-14 (2 กก.) ต่อไร่
หมายเหตุ :
- ติดสปริงเกอร์เหนือยอด หม้อปุ๋ยหน้าโซน แยกวาวล์ทางใบกับทางราก (ให้ทางใบเปิดทางใบปิดทางราก ให้ทางรากเปิดทางรากปิดทางใบ) ระบบกะเหรี่ยงแบบไร่กล้อมแกล้ม 1 โซนได้ 1 ไร่ รัศมีพ่นน้ำ 4 ม. แรงงานคนเดียว ใช้เวลา 10 นาที ทำงานได้ตามเวลาต้อง การ เช้ามืด/สาย/เที่ย/บ่าย/ค่ำ/ดึก ติดตั้งครั้งเดียวอยู่ได้ 10-20-30 ปี อนาคตอยากเลิกมะละกอ ลงมะเขือ พริก มะม่วง ลำไย แทน ได้ทั้งนั้น

- มะละกอไม่ถูกกับยาฆ่าหญ้าเด็ดขาด โดนยาฆ่าหญ้าแก้ไขด้วย “ไบโออิ + ยูเรีย จี. + กลูโคส” ให้ทันทีเมื่อรู้ ให้ติดต่อกัน 3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน

- มะละกอใบด่าง เป็นเชื้อไวรัส มีไม่มีเพลี้ยไฟเป็นพาหะ ไม่มีสารเคมีหรือสารสมุน ไพรใดในโลกนี้แก้ได้ เป็นแล้วเป็นเลย เสียมะละกอไปตลอดชีวิต แก้ไขไม่ได้ต้องป้องกันเท่านั้น ให้ฉีดพ่น “น้ำเปล่า” หรือ “น้ำเปล่า + สมุนไพรเผ็ดจัด” มีข้อแม้ ต้องฉีดตอนเที่ยงป้องกันเพลี้ยไฟ ....

บำรุงต้นให้ “สะสมความสมบูรณ์” อยู่เสมอ ช่วยสร้างภูมิต้าน ทานในต้นให้สู้กับเชื้อโรคตัวนี้กับเชื้อโรคตัวอื่นๆ ได้แล้ว ยังส่งผลให้ต้นสร้างผลผลิตดีทั้งคุณภาพ ปริมาณอีก และอายุต้นยืนนานอีกด้วย

- ภารกิจฉีดพ่นทางใบจะสำเร็จด้วยดีได้ ต้องพึ่งพาเครื่องทุ่นแรงอย่างสปริงเกอร์เท่านั้น
- เพาะกล้าในถุงเพาะชำ ถุงละ 4 เมล็ด เพื่อให้ได้กล้า 4 ต้น กล้าโตแล้วเอาไปลงแปลงปลูก หลุมละ 1 ถุงหรือ 4 ต้น เมื่อต้นโตขึ้นจะเอนออกข้างเองเพื่อรับแสงแดด ได้มาแล้ว 4 ต้น โตขึ้นต้นตัวผู้ตัดทิ้งหรือเปลี่ยนยอด ต้นตัวเมียเอาไว้หรือเปลี่ยนยอด เอาแต่ต้นกระเทย ....

อย่าลืม ช่วงหน้าหนาว อย่าเพาะเมล็ด เพราะงอกช้ามากๆ

- มะละกอ แถมกล้วย ตอบสนองตอน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงดีมากๆ ให้ ระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 ทางราก 1 ล./ไร่/เดือน รวมกับให้สหประชาชาติทางใบตามปกติ

www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4084

เกษตรานุสติ 1 :
** ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า, แคลเซียม โบรอน, น้ำหมักชีวภาพระบิดเถิดเทิง ที่แนะนำ ทำเอง-ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก ได้ทั้งน้านนนน....

** ปุ๋ยทางใบที่ขายในท้องตลาด ทำไต้ถุนบ้าน ทั้งน้านนนน ....
** วันนี้คนทำปุ๋ยเป็น ไม่ได้เรียนมาโดยตรงเพราะไม่มีหลักสูตรสอน แต่ที่ ทำเป็น/ทำได้ เพราะประสบการณ์ส่วนตัว ทั้งน้านนนน ....

เกษตรานุสติ 2 :
** ปุ๋ยสำหรับพืชมีทั้งที่เป็น “เคมีสังเคราะห์” และ “เคมีชีวะ” จึงควรใช้ทั้ง 2 อย่าง ตามความเหมาะสมของมะละกอ (พืช.... พืชทุกชนิด) วัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุน

** ปุ๋ยสำหรับพืชกลุ่มเคมีชีวะที่รู้ๆ คือ ฮอร์โมนเขียว จากฮอร์โมนเขียวธรรมดา ปรับ/เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก เป็น “ฮอร์โมนเขียวซุปเปอร์” พร้อมใช้


มะละกอฮอลแลนด์ :

ฮอลแลนด์ คือประเทศเนเธอร์แลนด์ ดินแดนเลื่องลือเรื่องไม้ดอก โดยเฉพาะ "ทิวลิป" ซึ่งถือว่ามีมากและดีที่สุดในโลก .... ดอกทิวลิปพันธุ์ KING BHUMIBOL สีเหลืองบริสุทธิ เนเธอร์แลนด์ผสมขึ้นมาใหม่ แล้วตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ KING BHUMIBOL แห่งประเทศไทย

ประเทศฮอลแลนด์ เป็นประเทศหนาว หิมะตกปีละหลายๆ เดือน ปลูกไม้ผลยืนต้นอย่างมะละกอไม่ได้ พูดง่ายๆก็คือ ที่ประเทศฮอลแลนด์ไม่มีมะละกอประมาณนั้น แล้วคำว่า "มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์" พี่ไทยเอามาจากไหน ....

เรื่องของเรื่องก็คือ มะละกอสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดประเทศแม็กซิโก เป็นพันธุ์พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) จากแม็กซิโกส่งออกไปฮอลแลนด์ วันดีคืนดีมีคนไทยไปฮอลแลนด์เจอมะละกอพันธุ์นี้วางขายจึงซื้อมา ซื้อมาแล้วจะบังเอิญหรือเจตนาไม่รู้ มะละกอลูกนึงไปตกอยู่ในมือของนักวิชาการ (คนนี้น่าจะเป็น “นักวิชาการ” แท้จริง ไม่ใช่นักวิชาการเกิน หรือนักวิชาการเชิงพานิช) ม.เกษตร กำแพงสน ได้เอาเมล็ดไปทดลองปลูกในเมืองไทยครั้งแรกที่ ต.ปักไม้ลาย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ผลการทดลองได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างที่รู้ๆ เห็นๆ จากนั้นจึงแพร่กระจายไปทั่วประเทศ ....

หะแรก มะละกอพันธุ์นี้ชื่อพันธุ์ว่า “ปักไม้ลาย” ต่อมาเห็นว่าชื่อนี้ไม่ BOOM จึงเปลี่ยนชื่อพันธุ์ใหม่ว่า “ฮอลแลนด์” แล้วก็เป็นมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์มาตั้งแต่บัดนั้น นั่นแล

- ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีใดๆ ทั้งเทคโนโลยีชาวบ้าน และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เมล็ดมะละกอเมื่อปลูกแล้วเป็นต้นกระเทยได้ทั้งหมด ทุกเมล็ด หรือทุกต้น นั่นคือ เมื่อปลูกมะละกอลงไปแล้วต้องพร้อมรับอาการกลายพันธุ์ ที่ต้องเป็น ต้นกระเทย ต้นตัวผู้ หรือต้นตัวเมีย อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง เพียงแต่อย่างไหนจะมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น

- การซื้อเมล็ดพันธุ์ที่จำหน่ายตามท้องตลาด หรือซื้อผลมะละกอมาจากตลาด หรือได้มาจากสวน เอามาปลูกย่อมไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่ต่างกันคือ “ราคา” ต่างหาก

ทำเมล็ดพันธุ์ใช้เอง ....

** เลือกมะละกอ รูปทรงตรงตามสายพันธุ์ สดใหม่ สมบูรณ์ ขนาดใหญ่กว่ามาตรฐานสายพันธุ์ สุก 75% (สีแดงหรือเหลือง 75% ของผิวทั้งผล) นำมาผ่าเอาเมล็ด คัดเมล็ดขนาดใหญ่ สีดำสนิท ซึ่งจะมีโอกาสเป็นต้นกระเทยได้มากกว่าเมล็ดขนาดเล็ก หรือมีสีเทา ได้เมล็ดมาแล้วล้างเอาเมือกหุ้มเมล็ดออก นำเมล็ดไปตากแดดจัด 2-3 แดด ตากแดดแล้วพร้อมนำไปเพาะต่อ หรือเก็บในที่ไม่มีความชื้นได้นานข้ามปี

** ผลมะละกอสุก ได้มาแล้วผ่าตามขวางของผลเป็น 3 ท่อน เลือกท่อนกลาง เอาเมล็ดมาดำเนินกรรมวิธีตามปกติ นำไปปลูกจะได้ต้นกระเทยแน่นอนกว่า .... บริษัทขายเมล็ดพันธุ์มะละกอ ทำแบบนี้

ขยายพันธุ์มะละกอจากเมล็ด :

- เลือกมะละกอจากต้นสมบูรณ์ ติดผลดก ผลสมบูรณ์ คุณภาพดี ไม่มีโรค ผลแก่คาต้น เปลือกเริ่มเป็นสีเหลือง (แต้มเหลือง) 1 ใน 4 ของพื้นที่ผิวทั้งลูก ....

มะละกอสุกซื้อมาจากตลาด สุกงอมแล้วก็พอใช้ได้ ....

เก็บมาจากต้นหรือซื้อมาจากตลาด เอามาผ่า จะพบบางลูกเมล็ดมาก บางลูกเมล็ดน้อยก็ว่าไป เลือกเมล็ดสีดำสนิท ขนาดใหญ่ๆ เมล็ดสีขาวหรือ อมเทาทิ้งไป

ต้องการเก็บเมล็ดไว้นาน ให้นำเมล็ดสีดำสนิทตากแด 3-5 แดด จนแห้งสนิทก่อน ใส่กระป๋องปิดฝาสนิท ใส่ถ่านหุงข้าว 1 ก้อน หรือผงกันชื้น ป้องกันความชื้น เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง เก็บได้นานนับปี ถ้าไม่ต้องการเก็บเมล็ดไว้นานจะปลูกเลยก็ได้ เลือกเมล็ดมาแล้ว ล้างน้ำ ขยำเบาๆ เอาเยื่อหุ้มเมล็ดออก ผึ่งลมพอแห้ง เอาไปเพาะในวัสดุเพาะได้เลย

ทั้งนี้ เมล็ดมะละกอมีระยะพักตัว หรือไม่พักตัวก็ได้ เพาะแล้วงอกหรือไม่งอกขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเมล็ดที่มีมาแต่แรก

ตอนมะละกอ :

ตอนจากกิ่งแขนงที่งอกออกมาจากต้น เลือกกิ่งสมบูรณ์ แข็งแรง มีลูกหรือไม่มีลูกปลายกิ่งก็ได้ ....
ใช้มีดคมๆ เฉือนจากโคนขึ้นไปทางปลายกิ่ง เฉียง 30-45 องศา ลึก 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางกิ่งช่วงที่เฉือน ใช้ใบไม้คั่นรอยเฉือนป้องกันแผลติดกัน ทิ้งให้ยางหยุดไหล แล้วหุ้มด้วยตุ้มตอนธรรมดา ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วันจะออกราก เมื่อมีรากมากพอก็ให้ตัดลงมาปลูกตามปกติได้ กิ่งตอนพร้อมจะออกดอกติดลูกทันทีตามอายุต้นแม่ และไม่กลายพันธุ์

เปลี่ยนพันธุ์มะละกอ :
ตัดต้นตัวผู้ และ/หรือ ต้นตัวเมีย (ต้องการเปลี่ยนพันธุ์) ทุกต้นที่ต้องการเปลี่ยนสายพันธุ์ ตัดให้เหลือแต่ตอ ใช้ถุงพลาสติกคลุมรอยแผลตัดป้องกันน้ำเข้าแผล บำรุงตอให้แตกยอดใหม่ ....

จังหวะนี้ให้ตัดต้นกระเทยรอไว้ 1 ต้น แล้วบำรุงตอเรียกยอดเหมือนกัน

เมื่อยอดต้น ตัวผู้/ตัวเมีย โตประมาณขนาดนิ้วมือให้ตัดยอดรอไว้ แล้วตัดยอดต้นกระเทยขนาดโตเท่ากัน ไปเสียบให้กับยอดของต้น ตัวผู้/ตัวเมีย ด้วยวิธีเสียบยอดธรรมดาๆ กรณีที่ต้น ตัวผู้/กระเทย 1 ตอ มีหลายยอด อาจเสียบด้วยยอดกระเทย 1 หรือ 2 ยอดก็ได้ ยอดที่เสียบแล้วเมื่อโตขึ้นก็จะเป็นมะละกอกระเทยตามต้องการ

มะละกอต้นเตี้ย :
ต้นมะละกอที่ต้นสูง 3-4-5-6 ม. ตามธรรมชาติ ต้นสูงดูแลยาก ถ้าต้องการให้ต้นมะละกอสูง 1 ม. มีลูกเต็มคอ ให้ “ตอน” ที่ลำต้น ณ ความสูงจากยอดลงมา 1 ม.

วิธีตอนทำดังนี้ ใช้มีดคมๆ เฉือนจากล่างขึ้นไปทางปลาย เฉียง 30-45 องศา ลึก 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นที่เฉือน เฉือน 2 ข้างซ้าย/ขวา ใช้ใบไม้คั่นรอยเฉือนป้องกันแผลติดกัน ทิ้งไว้จนยางหยุดไหล แล้วหุ้มด้วยตุ้มตอนขนาดใหญ่ที่หุ้มได้รอบลำต้นบริเวณที่ตอน ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วันจะออกราก เมื่อมีรากมากพอก็ให้ตัดลงมาปลูกลงดินตามปกติ หรือปลูกในกระถางก็ได้ ส่วนของต้นที่ตอนลงมาปลูกจะออกดอกลูกต่อทันทีทั้งๆที่ต้นเตี้ย และไม่กลายพันธุ์

มะละกอพุ่มใหญ่ :
มะละกอเป็นไม้ยืนต้น (10-20 ปี) เป็นทั้งไม้ลำต้นเดี่ยวเหมือนมะพราว และมีกิ่งเหมือนมะม่วง ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมประจำต้น

ต้นที่เป็นลำต้นเดี่ยวแต่ต้องการให้แตกกิ่ง ให้ตัดต้นเหลือแต่ตอก่อน แล้วบำรุงเรียกยอด หะแรกยอดที่แตกใหม่จะมีมาก ให้คัดเลือกเก็บไว้ 2-3-4 ยอด ที่อยู่ตรงข้ามซึ่งกันและกันแล้วบำรุงเลี้ยงต่อไป แนะนำว่าให้เหลือยอดไว้น้อยๆ จะได้กิ่งใหม่ขนาดใหญ่ สมบูรณ์ ถ้าเหลือยอดไว้มากจะได้กิ่งใหม่ขนาดเล็ก ทุกกิ่งที่ได้ใหม่มีดอกมีลูกเหมือนต้นเดิมทุกประการ การที่มีกิ่งหรือยอดเพิ่มขึ้น จำนวนผลย่อมเพิ่มมากขึ้นด้วย

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3739


เตรียมเมล็ดกล้าพันธุ์ :

- แช่เมล็ดใน “น้ำ 1 ล. + ไบโออิ (สังกะสี) 1/2 ซีซี. + ยูเรก้า (ไคโตซาน)1/2 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน (โบรอน) 1/2 ซีซี.” นาน 3-6 ชม. นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง .... นำเมล็ดไปเพาะในถุงเพาะชำ ถุงละ 1 เมล็ด ในเรือนเพาะชำ เลี้ยงกล้าให้โต 1 คืบมือ หรือได้ใบ 2-3 คู่ นำไปปลูกในแปลงจริง

- ก่อนวันนำกล้าไปปลูกในแปลงจริง 3-5 วัน นำกล้าออกแดดเพื่อให้ต้นมีความคุ้นเคย พร้อมกับให้แคลเซียม โบรอน 1 ครั้ง ฝึกให้ต้นกล้ารับแสงแดดจากน้อยไปหามาก กระทั่งแน่ใจว่าต้นกล้าสู้แดดได้แล้วจึงนำลงปลูกในแปลงจริง

เตรียมดิน :

(ดินสำคัญที่สุด ดินต้องมาก่อน ดินดีได้แล้วกว่าครึ่งทั้งๆที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย ดินไม่ดีเสียแล้วกว่าครึ่ง ทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยไร่ละเป็นกระสอบๆ เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ ซื้อสารปรับปรุงบำรุงดิน จ่ายน้อยกว่า ผลผลิตดีกว่า อนาคตดินดีกว่า....แปลงที่ปลูกไปแล้ว ไม่ได้เตรียมดินแบบนี้ก็ให้ข้ามไปขั้นปรับปรุงบำรุงดินโดยใส่ ยิบซั่ม-ตราคนกับควาย ได้เลย)


- ไถดะไถแปร ตากแดดจัด 20-30 แดดจัด เพื่อกำจัดเชื้อโรคและวัชพืช .... ใส่ยิบซั่มเฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ หญ้าแห้งคุลมสันแปลงหนาๆ ทิ้งไว้ 20-30 วัน เพื่อบ่มดินให้เวลาจุลินทรีย์ปรับสภาพดินและสร้างสารอาหารรอไว้ก่อน

บำรุง ระยะกล้า :
ทางใบ :
ให้ ไบโออิ (แม็กเนเซียม. สังกะสี) 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) รดโคนต้น ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ทุก 7-10 วัน

บำรุงระยะให้ผลผลิตแล้ว :
ทางใบ :
ให้สูตรสหประชาชาติ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ (แม็กเนเซียม. สังกะสี.) 30 ซีซี. + ไทเป (0-52-34, 13-0-46) 30 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (21-7-14. ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน) 30 ซีซี. 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

ทางราก :
ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) รดโคนต้น ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ทุก 7-10 วัน
หมายเหตุ :
- ติดสปริงเกอร์ 2 ระบบ ทางใบ/ทางราก แบบแยกกัน ให้ทางใบเปิดวาล์วทางใบปิดวาล์วทางราก ให้ทางรากเปิดวาล์วทางรากเปิดวาล์วทางใบ หรือจะให้ทั้งทางใบทางรากพร้อมกันก็เปิดวาล์วทั้งสองทางพร้อมกันก็ได้ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน ประหยัดเวลา แรงงาน พลังงาน (ไฟฟ้า/น้ำมัน)

- ให้ น้ำ+ปุ๋ยทางใบ หรือน้ำเปล่าๆ หรือน้ำ+ยาสมุนไพร ผ่านไปกับสปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ตอนเที่ยง นอกจากบำรุงต้นแล้ว ยังป้องกันเพลี้ยไฟพาหะนำโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +ปุ๋ยเคมี (ทางราก) กับให้ปุ๋ยทางใบแล้ว ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม เพราะมะละกอได้ปุ๋ยแค่นั้นก็พอแล้ว

- แก้ปัญหามะละกอต้นตัวผู้ หรือต้นตัวเมียให้เป็นกระเทย โดยตัดตอต้นตัวผู้ กับตัดตอต้นตัวเมีย (หากต้องการเปลี่ยน) ทุกต้น พร้อมกับตัดตอต้นกระเทย 1-2 ต้น แล้วบำรุงต้นตอทั้งหมดให้แตกยอดใหม่ กระทั่งยอดโตประมาณนิ้วก้อย ให้ตัดยอดจากตอกระเทยไปเสียบให้ยอดของตอตัวผู้กับตอตัวเมีย ตอละ 1 ยอด ยอดที่เหลือตัดทิ้งไป แล้วเลี้ยงยอดที่เสียใหม่ต่อไป เมื่อโตขึ้นยอดที่เสียใหม่จะให้ผลผลิตตามต้นตอเดิม

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4693

โรคมะละกอ :
- ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมียาฆ่าแมลง หรือสารสกัดสมุนไพร ชนิดใดสามารถ "กำจัด" เชื้อไวรัสในพืชโดยตรงอย่างเด็ดขาดได้ เมื่อไม่สามารถกำจัดได้จึงต้องใช้มาตรการ "ป้องกัน" เท่านั้น ดังนี้

- ป้องกันแมลงพาพะไม่ให้เข้าสู่ต้นพืช โดยการฉีดพ่นสารสมุนไพร หรือสารสมุนไพร + สารเคมี อย่างสม่ำเสมอ

- บำรุงต้นพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อให้เกิดภูมิต้านทานภายในต้นพืช โดยการบริหารจัดการปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) ควบคู่กับการบำรุงด้วยสารอาหารทั้งทางรากและทางใบด้วย "ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม และฮอร์โมน" อย่างเหมาะสมต่อมะละกอ

- ใช้มาตรการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) อย่างเคร่งครัด
หมายเหตุ :
พืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ในการป้องกันเชื้อไวรัสในสัตว์ปีกได้แก่ ฟ้าทะลายโจร. ลูกใต้ใบ. เสลดพังพอน. ขอบชะนาง. เหงือกปลาหมอ. .... งานวิจัยในฟาร์มไก่ในสหรัฐ พบว่าสามารถป้องกันเชื้อไวรัสในไก่ได้ โดยไม่ต้องให้วัคซีนไก่เลยตั้งแต่เกิดถึงจับ .... แต่นี่เป็นไวรัสในสัตว์เท่านั้น ส่วนไวรัสในพืชยังไม่พบงานวิจัย

โรคมะละกอ :

โรคใบด่างจุดวงแหวน ถือได้ว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุด เป็นมหันตภัยร้ายของการปลูกมะละกอทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย โรคนี้มีการระบาดรุนแรงครั้งแรกเมื่อปี 2492 ที่หมู่เกาะฮาวาย หลังจากานั้นก็ระบาดไปทั่วโลกในแหล่งปลูกที่สำคัญ เช่น บราซิล เม็กซิโก ประเทศในแถบแคริบเบียน ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ไต้หวัน เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทยพบการระบาดครั้งแรกในปี 2518 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายความรุนแรงขึ้นทุกปี จนทำลายล้างมะละกอในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างสิ้นเชิงในปี 2524

ต่อมาการระบาดได้ลุกลามไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยในปี 2528 ระบาดรุนแรงในพื้นที่ปลูกมะละกอในเขตภาคกลาง เช่น ราชบุรี นครปฐม ต่อมาในปี 2535 ระบาดรุนแรงในแหล่งปลูกมะละกอของภาคใต้ ที่ผลิตมะละกอป้อนโรงงานจนสร้างความเสียหายให้กับโรงงานผลไม้กระป๋อง เช่น ชุมพร สุราษฏร์ธานี

และในปี 2542 ได้ระบาดรุนแรงในเขตจังหวัดจันทบุรี ปี 2545 โรคนี้ระบาดไปทั่วประเทศไทย สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ปลูกมะละกอทั่วประเทศกว่า 80% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด

ปัจจุบันโรคใบด่างจุดวงแหวนยังเป็นมหันตภัยร้ายของการปลูกมะละกอที่ยังไม่สามารถหาทางออกได้ แม้มะละกอ GMO จะสามารถเข้ามาแก้ปัญหานี้ได้แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะในบ้านเราที่ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ และยังไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืช GMO ขณะที่งานวิจัยก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้และยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลองในแปลงทดลองเท่านั้น เราจึงต้องใช้วิธีการอื่นเพื่อเผชิญกับปัญหานี้ก่อน

สาเหตุของโรค :

เกิดจากเชื้อไวรัส (papaya ringspot) จากการศึกษา พบว่าเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดจากมะละกอต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งด้วยวิธีสัมผัส โดยมีแมลงคือเพลี้ยอ่อนชนิดต่าง ๆ เป็นตัวพาหะนำโรค อาทิเช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis craccivora Koek) เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Ahis gossypii) และเพลี้ยอ่อนท้อ (Myzus persicae Sulzer)

ลักษณะอาการของโรค :

มะละกอทุกขนาดทุกอายุสามารถเป็นโรคนี้ได้ เชื้อไวรัสนี้สามารถเข้าทำลายมะละกอได้ทุกระยะการเจริญเติบโตและจะแสดงให้เห็นชัดเมื่อมะละกอมีอายุได้ 1 ปี

โดยธรรมชาติแล้วมะละกอจะเป็นเชื้อนี้ได้ โดยมีแมลงเป็นพาหนะนำโรคมาสัมผัสหรือกัดดูดน้ำเลี้ยงจากใบมะละกอ โดยเฉพาะใบอ่อนๆ ของมะละกอจะติดโรคนี้ได้ง่าย มะละกอที่เป็นโรคจะพบเห็นอาการใบด่างเหลืองชัดเจนในส่วนยอด ต่อมาใบแก่ก็แสดงอาการของโรคเช่นกัน โดยใบจะพุพองและบิดเบี้ยว ขนาดของใบจะเล็กกว่าปกติ ผิวใบจะมีสีเขียวอมเหลือง ใต้ใบจะมีเส้นเขียวแก่ปรากฏให้เห็นทั่วๆ ไป ใบแก่อ่อนพับและทิ้งใบเหลือแต่ใบยอดติดอยู่กับลำต้น ถ้าเชื้อเข้าทำลายในต้นอ่อนจะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ใบจะด่างและมีกลีบเล็ก เรียว ถ้าเชื้อเข้าทำลายในต้นโตจะทำให้มีจุดขนาดเล็กหรือรอยยาวๆ สีเขียวเข้ม ปรากฏตามบริเวณผล ใบ ก้านใบและลำต้น ผลมีจุดเป็นแผลวงแหวน บางครั้งจะเป็นสะเก็ดวงแหวน เนื้อแข็งเป็นไต มีรสขม ทำให้คุณภาพของผลผลิตลดลง ไม่มีคุณภาพ และเมื่อเป็นโรคแล้วช่อดอกในชุดต่อไปมักจะหลุดร่วงไม่ติดผล โรคนี้จัดเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของมะละกอที่ปลูกในประเทศไทย และในประเทศที่ปลูกมะละกอทั่วไป

วัคซีนเลียนแบบ.....แนวทางสู่การพิชิตโรคใบด่างจุดวงแหวน :

แนวทางการป้องกันโรคใบด่างจุดวงแหวนของมะละกอ ได้มีความพยายามที่จะหาวิธีการต่างๆ มาใช้ ซึ่งพบว่าการใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นแมลงพาหะนำโรคใบด่างจุดวงแหวนมะละกอไม่ให้ผลในการควบคุมโรค เนื่องจากเพลี้ยอ่อนใช้เวลาที่สั้นมาก (30 วินาที) ในการถ่ายทอดโรค ไม่มีสารเคมีชนิดใดที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเพลี้ยอ่อนในทันทีทันใด สารฆ่าแมลงที่มีผลเฉียบพลันจึงไม่สามารถที่จะป้องกันการถ่ายทอดโรคได้ ประกอบกับเพลี้ยอ่อนในธรรมชาติไม่ใช่แมลงศัตรูของมะละกอแต่อย่างใด เนื่องจากมะละกอไม่ใช่พืชอาศัยของเพลี้ยอ่อนเหมือนกับแตง ถั่วฝักยาว พริก ผักกาดต่างๆ ซึ่งจะมีเพลี้ยอ่อนมาเกาะกิน การทดสอบหาพันธุ์มะละกอที่ต้านทานต่อโรคนี้ยังไม่พบมะละกอสายพันธุ์ใดต้านทานต่อโรคนี้

การป้องกันกำจัดแบบถอนรากถอนโคน โดยขุดทำลายมะละกอที่เป็นโรค ทำลายให้หมดไปจากพื้นที่นั้น แล้วปลูกมะละกอที่ปราศจากโรคใหม่ พบว่าไม่ให้ผลในการป้องกัน เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถจะอาศัยอยู่ในพืชตระกูลแตง เช่น ฟักทอง บวบ ได้ และในทางปฏิบัติไม่สามารถกำจัดพืชเหล่านี้และมะละกอที่เป็นโรคให้หมดสิ้น ดังนั้นเชื้อไวรัสจึงสามารถกลับเข้ามาทำลายมะละกอที่ปลูกใหม่ได้ โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค การป้องกันควบคุมโรคโดยวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการปลูกวัคซีนให้กับมะละกอจึงเป็นวิธีที่น่าจะใช้แก้ปัญหานี้ได้ในระยะหนึ่ง จนกว่าจะมีวิธีการที่ดีกว่า

ไวรัสพืช คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ที่สร้างความเสียหายให้กับพืชโดยเข้าทำลายเซลล์ต่างๆของพืช ซึ่งจะทำให้ต้นพืชแสดงลักษณะที่ผิดปกติออกมา เช่น ลำต้นแคระแกรน ใบหงิกงอ ลำต้นหรือผลเป็นแผล ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง หรืออาจทำให้ต้นพืชตายในที่สุด

พืชได้รับเชื้อไวรัสได้หลายทาง อันได้แก่ ทางบาดแผล ทางท่อลำเลียงน้ำท่อลำเลียงอาหาร ทางเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วการระบาดของเชื้อไวรัสพืชจะมีแมลงเป็นตัวพาหะนำพาเชื้อไวรัสมาสู่ต้นพืช ซึ่งแมลงสามารถทำให้ต้นพืชเกิดบาดแผลได้ง่ายจากการกัดกินหรือการดูดน้ำเลี้ยงจากใบและผลของพืช

อาการของพืชเมื่อได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาหารแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัสที่เข้าทำลายพืช เช่น
- โรคใบด่าง ในพืชตระกูลแตง
- โรคใบด่างวงแหวน ในมะละกอ
- อาการใบหงิก ในพริก
- อาการเขียวเตี้ย ในข้าว
- อาการใบหด ในยาสูบ
- อาการยอดกุด (ไอ้โต้ง) ในแตงโม
- อาการใบเหลืองส้ม ในข้าว
- อาการใบขาว ในอ้อย
- อาการใบด่าง ในกระเจี๊ยบ

ซึ่งอาการที่เกิดจากการทำลายของเชื้อไวรัสชนิดต่างๆจะทำให้พืช เสียสมดุลในการทำงานของฮอร์โมน มีการสังเคราะห์แสงผิดปกติ รบกวนกระบวนการดูดซึมและเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร และทำให้การแสดงออกของยีนส์พืชไม่ปกติ

http://www.organellelife.com/article_view.php?id=22

----------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©