-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - โมลิบดีนัม-ส่วนประกอบสำคัญของป่า
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

โมลิบดีนัม-ส่วนประกอบสำคัญของป่า

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 18/12/2009 5:49 am    ชื่อกระทู้: โมลิบดีนัม-ส่วนประกอบสำคัญของป่า ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.biotec.or.th/biotechnology-th/newsdetail.asp?id=4744

โมลิบดีนัม(Molybdenum; Mo) โลหะเรืองแสง คล้ายเงิน พบในดิน หิน ในน้ำทะเล และเป็นส่วนประกอบในเอนไซม์ที่มีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ธาตุชนิดนี้พบได้ในดาบของชาวญี่ปุ่นในสมัยศตวรรษที่ 14 โมลิบดีนัมมีความแข็งแรงสูง มีการนำไฟฟ้าดี และมีคุณสมบัติต้านการกัดกร่อนทำให้โมลิบดีนัมเป็นที่ต้องการในการนำไปใช้ เป็นเครื่องยนต์ของจรวด เกราะป้องกันรังสี ไส้หลอดไฟฟ้า และแผ่นวงจรไฟฟ้า

นอกจากคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว มันยังมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยเมื่อเร็วๆนี้ทีมนักวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันพบ ว่าการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของป่าดิบชื้น ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญของโลกขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุโมลิบดีนัมที่จับ กับไนโตรเจนในการทำให้พืชในป่าเติบโตด้วย และไนโตรเจนดังกล่าวก็เกิดจากแบคทีเรียขนาดเล็กที่จับไนโตรเจนในอากาศแล้ว เปลี่ยนให้เป็นปุ๋ยในดิน รายละเอียดของผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ออนไลน์ใน Nature Geoscience

นอก จากคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว มันยังมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยเมื่อเร็วๆนี้ทีมนักวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันพบ ว่าการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของป่าดิบชื้น ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญของโลกขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุโมลิบดีนัมที่จับ กับไนโตรเจนในการทำให้พืชในป่าเติบโตด้วย และไนโตรเจนดังกล่าวก็เกิดจากแบคทีเรียขนาดเล็กที่จับไนโตรเจนในอากาศแล้ว เปลี่ยนให้เป็นปุ๋ยในดิน รายละเอียดของผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ออนไลน์ใน Nature Geoscience


จนถึงปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์คิดว่าฟอสฟอรัสเป็นธาตุหลักในการขยายพื้นที่ของป่าดิบชื้นแต่ จากการทดสอบของศาสตราจารย์ Lars Hedin ศาสตราจารย์ด้านนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในการหาผลที่เกิดขึ้นของ ธาตุต่างๆในป่าดิบชื้นที่ปานามาพบว่าพื้นที่ ที่มีโมลิบดีนัมจะดึงไนโตรเจนจากอากาศมากกว่าธาตุอื่นๆ ศาสตราจารย์บอกว่า การทดสอบนี้ได้ผลที่น่าประหลาดใจมากและอยู่นอกเหนือความคาดหมายมาก

โมลิบดีนัม มีความสำคัญในการเป็นตัวควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของไนโตรเจนใน บรรยากาศให้เป็นปุ๋ยไนโตรเจนที่อยู่ในดินช่วยกระตุ้นให้พืชเติบโตอย่างรวด เร็ว เปรียบได้กับวิตามินที่ช่วยให้ร่างกายของคนเราแข็งแรง ธาตุชนิดนี้ก็มีความจำเป็นต่อป่าดิบชื้นซึ่งเป็นชีวิตของโลกด้วยเช่นกัน แม้ว่าปริมาณของแร่ชนิดนี้จะมีน้อยกว่าฟอสฟอรัสหนึ่งหมื่นเท่าและน้อยกว่า ธาตุอื่นๆมาก



นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการค้นพบนี้มีผลทางนัยกับนโยบายด้านสภาพอากาศของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อนหน้านี้นักวิจัยยังไม่ทราบความสามารถของป่าดิบชื้นในการดูดซึมก๊าซ เรือนกระจก หากโมลิบดีนัมเป็นตัวกลางของกระบวนการชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ การดูดซับคาร์บอกไดออกไซด์โดยป่าดิบชื้นก็อาจจะมีขีดจำกัดได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loongtui
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 11/10/2009
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 18/12/2009 11:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ด้วยปริมาณอันน้อยนิดที่พืชต้องการ เปรียบได้กับน้ำ ๑๐ หยดเทียบกับน้ำ ๑๐ ตัน อันเป็นสัดส่วนที่พืชต้องการโมลิบดินั่มโมลิบดินั่ม เทียบกับปริมาณธาตุอาหารจำเป็นที่พืชต้องการทั้งหมด นับว่าน้อยมาก แต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

ในที่มาของที่มาที่คุณอ้อโพสต์ไว้ เปรียบว่าในกระบวนการน้ำย่อยตรึงไนโตรเจนของพืช ถ้าปราศจากโมลิบดินั่มแล้วเหมือนรถที่เคื่องยนต์ปราศจากหัวเทียน

ลุงคิมเคยสอนพวกเราว่าโมลิบดินั่มทำหน้าที่จัดสรรให้ธาตุอาหารต่างๆทำหน้าที่อย่างถูกต้อง

ในตำราพืชสวน(Oertil 1979,Ting 1982,Stevenson 1986) กล่าวว่าโมลิดินั่มเป็นส่วนช่วยให้การสร้างสารไนโตรเจนเกิดขึ้นได้เป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในNitrate reductase เช่นเดียวกันกับNitrogenase

ส่วนการขาดธาตุนี้
ตารางการแจงลักษณะทั่วไปของการขาดคือ จะเกิดเป็นจุดสีม่วง ที่ใบอ่อน มีสีซีด และเหี่ยว ซึ่งก็สอดคล้อง กับอาการที่ปรากฎกับใบอ่อนของกลุ่มธาตุอาหารที่ไม่เคลื่อนย้าย(Ca, Fe, S, Bo, Mn และ Mo)

ส่วนการที่พืชได้ธาตุอาหารที่จำเป็นนี้เกินไป ถูกระบุยากที่จะสังเกตุได้ นั่นเป็นวิทยาการเมื่อปี 38 นะครับ

ในปุ๋ยอินทรีย์ระบุว่ามีธาตุเสริม Fe. Mn. Zn. B. Cu. และ Mo. อยู่ ขึ้นกับอินทรีย์วัตถุ จึงเป็นไปได้ว่ากลุ่มนักวิจัยสิ่งแวดล้อมกลุ่มนี้ไปพบว่าป่าที่สำรวจนั้นมีแหล่งโมลิบดินั่มที่ให้ความสมบูณร์แก่พืช และพืชนั้นได้ดูดซับคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ไว้มาก

ในกลุ่มเกษตรกร ที่ใช้อินทรีย์นำจึงเท่ากับช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ทำให้ความร้อนของโลกเพิ่มขึ้น ในการประชุมของสหประชาชาติเกี่ยวกับเรื่องนี้ คงเดาได้ไม่ยากว่าจะต้องสรุปให้มีมาตรการลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกมา และมาตรการปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดก๊าซนี้

หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของเกษตรกรและความเป็นมนุษย์ที่อาศัยโลกใบนี้อยู่คือการรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ให้ลูก ให้หลาน ที่เค้าควรจะได้รับด้วยความเป็นธรรม นี่ก็คือการให้ที่ทำให้เรามีความสุขได้นะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 22/12/2009 11:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

loongtui บันทึก:


ในตำราพืชสวน(Oertil 1979,Ting 1982,Stevenson 1986) กล่าวว่าโมลิดินั่มเป็นส่วนช่วยให้การสร้างสารไนโตรเจนเกิดขึ้นได้เป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในNitrate reductase เช่นเดียวกันกับNitrogenase



Nitrate reductase และ Nitrogenase คืออะไรเหรอครับ มันทำหน้าที่อะไรและอยู่ที่ไหนครับ
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
loongtui
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 11/10/2009
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 23/12/2009 1:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทั้งคู่เป็นการย่อยสลายที่อยู่ในวัฎจักรไนโตรเจนครับ
ที่มา "วัฎจักรไนโตรเจน"
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©