-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ยึดที่เศรษฐี ขี้โกง+แกล้งโง่+ใต้โต๊ะ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ยึดที่เศรษฐี ขี้โกง+แกล้งโง่+ใต้โต๊ะ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11554

ตอบตอบ: 17/12/2016 6:15 am    ชื่อกระทู้: ยึดที่เศรษฐี ขี้โกง+แกล้งโง่+ใต้โต๊ะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.



สปก.เตรียมยึดพื้นที่สวนส้มฝาง-แม่อายกว่า 5,000 ไร่ ไม่เข้าสู่กระบวนการขัด ม.44
ตัวแทนสวนส้มฝาง-แม่อายอ้อนผู้ว่าฯ หลัง สปก. เชียงใหม่ขีดเส้นให้รื้อถอนส้ม เฉพาะ 2 รายใหญ่กว่า 5,000 ไร่ออกจากพื้นที่ หลังใช้ ม.44 เข้าตรวจสอบพื้นที่พบไม่มีการยื่นตามกระบวนการ ด้านผู้ว่าฯ ย้ำให้ยึดหลักถูกต้อง ชอบธรรมและมีธรรมาภิบาล





ที่ห้องรับรอง ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้หารือร่วมกับนายไพรน้อย แซ่เตี๋ยว ปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ นายศุภชัย สงชู นิติกรชำนาญการ สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่และตัวแทนเกษตรกรสวนส้ม นายสมพงษ์ พูลเมือง และนายวันจันทร์ ศิวะบุญวงศ์ ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทเชียงใหม่มิตรเกษตร และตัวแทนจากสวนส้มทรายทอง หลังจากที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีคําสั่งที่ 36/2559 เรื่อง มาตรการในการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชอบกฎหมาย ซึ่งสำนักงานปฏิรูปที่ดิน (สปก.) เชียงใหม่ได้ดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวโดยได้มีการตรวจสอบพื้นที่ สปก.ในเขต อ.ฝาง และแม่อาย กว่า 5,000 ไร่ที่มีการเข้าไปดำเนินการปลูกสวนส้ม และได้มีการปักแนวเขตและมีคำสั่งให้รื้อถอนออกจากพื้นที่ ภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2559 นั้น

ในวันนี้ ทางกลุ่มตัวแทนเกษตรกรชาวสวนส้มได้มาร้องขอทางจังหวัดให้ช่วยเหลือ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เหตุผลที่ตัวแทนชาวสวนส้มขอความช่วยเหลือ เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต โดยระบุว่าหากต้องทำการรื้อถอนตามคำสั่งของทางจังหวัดเชียงใหม่ ที่ให้ยุติการดำเนินการในพื้นที่ สปก. ที่ได้มีการปักแนวเขตแล้วก็จะได้รับความเดือดร้อน เสียหาย เพราะขณะนี้สวนส้มดังกล่าวได้มีการลงทุน บำรุงรักษาเพื่อที่จะให้ผลผลิตออกมาเต็มกำลัง หากไม่ได้รับการดูแลต่อเนื่องก็จะได้รับความเสียหายและเกิดผลกระทบได้

“อย่างไรก็ตามเมื่อมีการตรวจสอบและประกาศแล้วว่าพื้นที่ที่ทำสวนส้มอยู่ในขณะนี้เป็นเขต สปก.2540 แล้ว จะมีการหลงลืมและไม่ได้ไปยื่นใช้สิทธิ สปก. จึงเข้าข่ายว่าไม่มีการปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ซึ่งข้อเรียกร้องของชาวสวนส้มคือ การดูแลพืชผลและสิทธิอยากจะเข้าไปดูแลสวนส้มที่ได้ลงทุนไปแล้วต่อเนื่องต่อไป โดยทั้งสองประเด็นนี้ทางปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จะนำเรื่องเสนอต่อเลขาธิการ สปก. ซึ่งจะมีการประชุมผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกลให้รับทราบว่ากรณีของจังหวัดเชียงใหม่อาจจะแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ โดยพื้นที่นี้เป็นพื้นที่เกษตรกรเข้าไปประกอบอาชีพในที่ดิน สปก. ซึ่งเป็นเกษตรกรรายเล็กทำกินในพื้นที่ไม่เกิน 50 ไร่จำนวน 93 ราย ซึ่งทางเกษตรกรเองก็ยินดีที่จะดำเนินการตามกฎหมายหากจะให้มีการลงทะเบียน เพื่อขอใช้สิทธิประโยชน์ในที่ดิน สปก. ทางปฏิรูปที่ดินก็จะนำประเด็นนี้หารือกับทางเลขาธิการ สปก. เพื่อเยียวยาเกษตรกรชาวสวนส้มต่อไป” ผวจ.เชียงใหม่ กล่าว

ด้านนายไพรน้อย แซ่เตี๋ยว ปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า พื้นที่ที่มีการปักเขตและแจ้งให้รื้อถอนออกไปมีทั้งหมด 5 แปลงประมาณ 5,000 ไร่ และจากการตรวจสอบพบเป็นสวนส้มของบริษัทใหญ่ๆ คือ

สวนส้มธนาธร 2 พันกว่าไร่ และ
สวนส้มทรายทอง 3 พันกว่าไร่

โดยหลังจากที่มีคำสั่ง 36/2559 เมื่อ 5 กรกฎาคม 2559 ให้ สปก. ดำเนินการตามม.44 ใน 3 ประเด็น คือ
1. ผู้ที่ครอบครองพื้นที่ที่ไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ ขึ้นไป
2. ผู้ที่ได้รับที่ดินจาก สปก.100 ไร่ขึ้นไปแต่มีการจำหน่าย จ่ายโอน และ

3. ผู้ที่ได้รับที่ดิน สปก.500 ไร่ กระบวนการศาลสิ้นสุดแล้วแต่เจ้าของที่ดินไม่ยอมดำเนินการ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่กำลังดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ในข้อที่ 1 ตามการชี้เป้าพบว่าเป็นสวนส้มขนาดใหญ่ที่อยู่ในเขต อ.แม่อาย และ อ.ฝาง

“จังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 25 จังหวัดนำร่อง แต่เป็นพื้นที่ชี้เป้าเพิ่ม จึงต้องดำเนินการตามคำสั่ง โดย สปก.ได้มีการแจ้งผู้นำ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทางอำเภอและปักเขตให้รับทราบและให้เจ้าของที่ครอบครองมาแสดงสิทธิยื่นหลักฐานการครอบครองที่ดิน สปก. และได้มีการรวบรวมและเลยเวลานั้นแล้ว จนถึงเวลาปักป้ายเพื่อจะยึดพื้นที่คืน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 18 ตุลาคมนี้แล้ว” ปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวและชี้แจงว่า
สำหรับสวนส้มธนาธรหลังจากมีการแจ้งและปักเขตเพื่อให้รื้อถอนออก ก็ค่อนข้างนิ่ง แต่ใน

ส่วนของสวนส้มทรายทองอ้างว่ามีเกษตรกรมาร่วมกระบวนการโครงการของสวนส้มทรายทอง 93 ราย ทั้งนี้พื้นที่นี้ทาง สปก.ได้รับมอบจากกรมป่าไม้ตั้งแต่ปี 2536 และประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน 2540 แต่ผู้ครอบครองพื้นที่นี้ไม่ได้เข้ามาสู่กระบวนการของ สปก.และเมื่อมี ม.44 ออกมาก็ต้องบังคับใช้ตามคำสั่งดังกล่าว หลังจากไปตรวจพบครั้งแรกสวนส้มธนาธรจะเป็นแปลงใหญ่มากกว่าแต่กลับพบว่าสวนส้มทรายทองยังมากกว่า ซึ่งนี่เฉพาะพื้นที่ สปก.ไม่เกี่ยวกับพื้นที่อื่นอีก ซึ่งเรื่องที่ดินของเชียงใหม่เป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อน และหาก สปก.ไปแตะต้องก็จะเป็นข่าวทันที

ขณะที่นายศุภชัย สงชู นิติกรชำนาญการ รักษาการแทนผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมาย สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เนื่องจากมีโรดแมพของกระบวนการตามคำสั่ง ซึ่งมีคณะกรรมการร่วมขับเคลื่อนในการยึดคืนพื้นที่ มีทั้งตำรวจ ทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำและฝ่ายปกครอง ซึ่งมีการประชุมหลายครั้งต้องทำตามขั้นตอนและละเอียด รอบคอบ ซึ่ง ผวจ.เชียงใหม่ได้เน้นย้ำในเรื่องของความถูกต้อง ชอบธรรมและมีธรรมาภิบาล ทาง สปก.ก็ยึดเป็นแนวทางในการทำงานครั้งนี้

ทั้งนี้พื้นที่ที่ สปก.เชียงใหม่จะต้องเข้าไปตรวจสอบภายในปี 2559 จำนวน 9,900 แปลง โดยจะต้องมีการเรียกตรวจสอบจากผู้ที่ครอบครองที่ดิน สปก. เป็นรายแปลงและต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก จึงไม่สามารถบอกได้ว่าจะใช้เวลาในการตรวจสอบนานแค่ไหน แต่สำหรับกรณีของสวนส้มนี้เนื่องจากเป็นแปลงใหญ่และเป็นพื้นที่ชี้เป้าจึงต้องดำเนินการก่อน.

http://www.northpublicnews.com

----------------------------------------------------------------------------


ประเดิมยาแรง ม.44 ฟาร์มนายพล จ่อยึด 'มิตรเกษตร-สวนส้มธนาธร'

15 ก.ค.59 เมื่อเวลา13.30 น. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ ถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง ประชุมชี้แจงรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อดำเนินการยึดคืนที่ ส.ป.ก. จากกผู้ถือครองผิดกฎหมาย ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 36/2559 ประกาศใช้มาตรา 44 ดำเนินคดีผู้ถือครองรายใหญ่ 500 ไร่ขึ้นไปที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฎิรูปที่ดิน ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่เป้าหมายยึดคืนมากที่สุด จำนวน 130 แปลง เนื้อที่ 11,107,487 ไร่

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีนโยบายแน่วแน่ รัฐบาลแก้ปัญหาจริงจัง กำชับตนให้ดำเนินการ ได้คืบหน้าไปแล้ว จะเห็นว่านายกฯ ลงนามในมาตรา 44 ในคำสั่งนี้มี 3 เรื่องใช้กับผู้ครอบครองแปลงใหญ่ผิดกฎหมาย 427 แปลง เกษตรกรรับสิทธินำไปขายเกิน 100 ไร่ขึ้นไป และกลุ่มถูกดำเนินคดีแล้ว 5 แปลง สรุปว่าขั้นตอนในการดำเนินการตามโรดแมป

ขณะนี้แผนที่แนบท้ายเสร็จแล้ว 225 แปลงปิดประกาศพร้อมกัน จัดเริ่มทวงคืนพื้นที่ผิดกฎหมาย ปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ตนมาย้ำว่าผู้ครองครองที่ดินไม่ถูกต้องเข้าสู่กระบวนการวันนี้เป็นต้นไป ส่วนพื้นที่เหลือ 21 ก.ค. ต้องเรียบร้อย และอีก 15 วันต้องดำเนินการเข้ายึดคืนภายใน 30 วัน จากนี้ไปต้องออกจากพื้นที่ โดยให้กองทัพภาคในทุกจังหวัดเข้าร่วมอย่างเต็มที่

ภายหลังปิดป้ายบังคับคดีหน้าประตูรั้วหน้าบ้านพัก ฟาร์มเพาะพันธุ์ม้าของ พล.ต.ต.ชาลี เภกะนันท์ อดีตรองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจแห่งชาติ เนื้อหา 533 ไร่ 2 งาน 11 ตารางวา และติดตั้งป้ายยึดคืนขนาดใหญ่ โดย รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า จุดที่ยืนนี้เป็นพื้นที่ ส.ป.ก.ทั้งสองฝั่ง จะเห็นว่ามีถนนอย่างดีกว่าข้างนอกเข้าพื้นที่ โดยจะส่งคำสั่งนี้แจ้งภูมิลำเนาผู้ถือครอง ให้รื้อถอนเคลื่อนย้ายออกไปภายใน 30 วัน คืนสภาพพื้นที่ นำไปสู่จัดสรรให้ผู้ยากไร้ มีผู้ลงทะเบียน ส.ป.ก. 3.4 แสนราย และลงทะเบียนขอที่ดินทำกินไว้ที่จังหวัดต่างอีก ใช้โมเดล "อุทัยธานี" มาจัดสรรให้เกษตรกร เบื้องต้นน่าจะได้คืน 1 แสนไร่

"ไม่กังวลความรุนแรงทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย ถึงเวลาครบกำหนดไม่ออก อาศัยหน่วยมั่นคงมาร่วมด้วยเข้ารื้อถอน ซึ่งผู้ถือครองเดิมจะออกค่าใช้จ่ายด้วย และไม่ควรมอบประกาศนียบัตรให้กับนายทุนคืนที่ดิน ผมตั้งใจติดตามเรื่องจริงจัง ทำให้จบในรัฐบาลชุดนี้ นักการเมือง ผู้มีอิทธิพลเลิกหยุดได้แล้ว ถ้ายังดื้อแพ่งไม่คืนโดนคดีผู้มีอิทธิพล ผมยืนยันทำทุกกรณีไม่ว่าเป็นใคร ผมเป็นคนตรง" รมว.เกษตรฯ กล่าว

นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส.ป.ก. เปิดเผยว่า มีพื้นที่ ส.ป.ก.เข้ารังวัดไม่ได้ กว่า 2 ล้านไร่ทั่วประเทศ เพราะมีอิทธิพลในพื้นที่สูงจึงต้องใช้มาตรา 44 มาแก้ไขเร่งด่วน ที่ผ่านมาแม้การดำเนินฟ้องร้องคืนที่ของเจ้าหน้าที่ถูกขัดขวางเป็นปัญหาในการจัดสรรให้เกษตรกรเข้าทำกิน โดยเฉพาะ จ.นครราชสีมา มีปัญหาอิทธิพลรุนแรงที่สุด มีการบุกรุกพื้นที่ เปลี่ยนมือซื้อขายสิทธิ ออกเอกสารโดยมิชอบ โดยในส่วนของอำเภอปากช่อง มีพื้นที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน 311,064 ไร่ โดยจัดที่ดินให้เกษตรกรไปแล้ว 142,638 ไร่ (4,816 ราย 6,489 แปลง) สำหรับที่ดินแปลงหมายเลข 8069 เนื้อที่ 535-2-11 ไร่

นายสรรเสริญ กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการปิดคำบังคับคดีรื้อถอนเพิ่มเติมอีก 3 แปลง คือ
1. นายชูเกียรติ ตั้งพงศ์ปราชญ์ ครอบครองพื้นที่ ส.ป.ก. เนื้อที่รวม 1,027-2-40 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

2. บริษัท จิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด ครอบครองพื้นที่ ส.ป.ก. เนื้อที่รวม 1,434 -2-33 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ธานี และ อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ และ

3. บริษัท รวมชัยบุรีปาล์มทอง จำกัด ครอบครองพื้นที่ ส.ป.ก. เนื้อที่รวม 1,749-1-24 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ธานี

นอกจากนี้ นายสรรเสริญ ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้จัดทำพื้นที่เป้าหมายที่ดินที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ขึ้นไป เสร็จแล้วกว่า 235 แปลง และได้ทยอยส่งแผนที่แนบท้ายที่จะใช้ไปปิดประกาศพื้นที่เป้าหมายไปยัง ส.ป.ก. จังหวัด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 กรกฎาคม นี้ และได้ทำโรดแมประยะเวลาการยึดพื้นที่ภายใน 129-156 วันของทั้ง 3 กรณี เพื่อแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินที่ผิดกฎหมาย โดยสรุปข้อมูล ณ ปัจจุบัน คือ

1. ขณะนี้ที่ดินที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินที่มีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากกว่า 427 แปลงจากเดิม 422 แปลง เนื้อที่มากกว่า 432,000 ไร่ โดยจัดทำแผนที่พื้นที่เป้าหมายแนบท้ายประกาศมาตรา 44 ยึดเพิ่มรวม 5 แปลง โดยมี จ.เชียงราย จำนวน 1 แปลง ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.กาญจนบุรี 2 แปลง จ.เชียงใหม่2 แปลง

2. ที่ดินที่ได้จัดให้แก่เกษตรกรไปแล้ว แต่มีบุคคลไปกว้านซื้อจากเกษตรกร และครอบครองทำประโยชน์โดยผิดกฎหมาย และครอบครองที่ดินเกินกว่า 100 ไร่ มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 20,000 ไร่

3. ที่ดินที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ครอบครองที่ดินส่งมอบคืนให้แก่ ส.ป.ก. แล้ว และมีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ ขึ้นไป ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 10,000 ไร่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าแปลงรายใหญ่ 500 ไร่ ยึดเพิ่ม 5 แปลง มีครอบครองผิดกฎหมายโดย นายวสันต์ ธัญธีรพันธ์ เนื้อที่ 600 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อ.เมืองเชียงราย อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.กาญจนบุรี จำนวน 2 แปลง ซึ่งแปลงที่ 1 ครอบครองโดยนางสาวเพียงใจ หาญพานิชย์ เนื้อที่ 1,263 ไร่ อ.ไทรโยค และแปลงที่ 2 ยังไม่ทราบผู้ครอบครอง เนื้อที่ 900 ไร่ อ.ไทรโยค จ.เชียงใหม่ จำนวน 2 แปลง ซึ่งแปลงที่ 1 ครอบครองโดย บ.เชียงใหม่มิตรเกษตร เนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อ.แม่อาย และแปลงที่ 2 ครอบครองโดย บ.สวนส้มธนาธร เนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ อ.ฝาง ที่ยังไม่สามารถระบุเนื้อที่ที่แน่นอนได้เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังไม่ได้มีการรังวัด และอยู่ระหว่างการดำเนินการคำนวณพื้นที่ที่แน่นอนจากภาพถ่ายทางอากาศของ ส.ป.ก. ส่วนกลาง

http://m.naewna.com/view/highlight/225784


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©