-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหา ทางวิทยุ 19 JUL *สมุนไพร (93), ทุเรียน 2
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหา ทางวิทยุ 19 JUL *สมุนไพร (93), ทุเรียน 2

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/07/2016 10:50 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหา ทางวิทยุ 19 JUL *สมุนไพร (93), ทุเรียน 2 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 19 JUL

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------



เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง 22 :

ปลอดภัย (กว่า) จากสารเคมีการเกษตร :


ในงานศึกษาของกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) เด็กอเมริกันโดยเฉลี่ยในแต่ละวันจะได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชราว 10-13 ชนิด จากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม เมื่อเปลี่ยนให้เด็กมาบริโภคอาหารออร์แกนิค ทำให้ช่วยลดปริมาณสารเคมีในร่างกายได้ เรื่องนี้มีรายงานที่น่าสนใจหลายฉบับ เช่น

- งานวิจัยพบว่า เด็กที่กินอาหารและน้ำผลไม้ออร์แกนิค จะมีสารเคมีในปัสสาวะเพียง 1 ใน 6 ของเด็กที่บริโภคอาหารทั่วไป

- งานวิจัยพบว่า เมื่อเด็กเปลี่ยนมาบริโภคอาหารออร์แกนิค ปริมาณสารเคมีพวก malathion (มาลาไทออน) และ chlorpyrifos (คลอไพรีฟอส) ในปัปัสสาวะลดลงจากระดับที่ตรวจพบได้เป็นระดับที่ไม่สามารถตรวจพบได้ ในทันที่เปลี่ยนการบริโภคอาหาร

- งานวิจัยของ USDA พบว่า การปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารให้เป็นอาหารออร์แกนิคทั่วประเทศจะทำให้ความเสี่ยงในการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีการเกษตรลงได้มากกว่า 95%

หลายคนเชื่อว่า การบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีการเกษตรน้อยลง ย่อมดีต่อสุขภาพ ซึ่งมีงานวิจัยที่สนับสนุนความเชื่อนี้

- คณะกรรมการมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสุขภาพและบริการของสหรัฐอเมริกา (President's Cancer Panel, U.S. Department of Health and Human Service) ได้ระบุในรายงานประจำปี 2553 ว่า การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีการเกษตรเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งในสหรัฐอเมริกา และมีข้อเสนอแนะในคนอเมริกันเปลี่ยนมาบริโภคอาหารที่ผลิตโดยการไม่ใช้สารเคมีการเกษตรและปุ๋ยเคมี

นอกจากนี้ ในรายงานนี้ยังได้ระบุถึงความเสี่ยงของคนงานและเกษตรกร ที่ใช้สารเคมีการเกษตรว่า มีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น หรือแม้แต่เด็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่การเกษตร ก็มีความเสี่ยงในเรื่องการป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากขึ้น

- งานวิจัยที่เพิ่มเผยแพร่ในเดือนเมษายน 2554 ระบุถึงผลกระทบของสารเคมีในกลุ่ม organophosphate ต่อการพัฒนาระบบประสาทและไอคิวของเด็กที่แม่ได้รับสารเคมีในกลุ่มนี้ โดยแม่ที่ตรวจพบสารเคมีกลุ่ม organophosphate ในปัสสาวะในระดับสูง ลูกที่คลอดออกมามีระดับไอคิวต่ำกว่า 7 จุด เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่แม่มีสารเคมีนี้ต่ำ
-----------------------------------------------------------------------------

Organo phosphates : เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีการใช้มากที่สุด เนื่อง จากมีประสิทธิภาพสูง และราคาไม่แพง แต่ข้อเสียคือ มีความเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมสูง ถึงสูงมาก การเป็นพิษจากสารกลุ่มนี้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และผู้ป่วยมีอัตราตายสูง

สารเคมีกำจัดแมลงที่อยู่ในกลุ่มนี้ มีจำหน่ายในท้องตลาดมากมายหลายชนิด ที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ .... 41 ชื่อการค้า ....

https://dict.longdo.com/search/Organophosphate


ยาฆ่าแมลง พวกออร์แกโนฟอสเฟต (Organophosphate) :
(1) อาการที่เนื่องจากการกระตุ้นปลาย ประสาทพาราซิม พาเธติก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระยะแรก เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นช้า แน่นและเจ็บบริเวณทรวงอก ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้น ม่านตาจะหรี่เล็กลง มีอาการท้องเดิน ถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะโดยกลั้นไม่อยู่ หลอดลมมีเสมหะมาก น้ำลายออกมากหลอดลมตีบ หน้าเขียวคล้ำ

(2) อาการที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นกล้ามเนื้อจะพบว่า มีการเกร็งของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตามจะพบได้ที่ลิ้น ตามหน้าตา ต่อไปจะเป็นทั่วร่างกาย ถ้ามากขึ้นจะมีอาการคล้ายตะคริว ถ้ามีอาการกระตุ้นมากขึ้นในที่สุดจะเกิดอาการเพลียขึ้นตามกล้ามเนื้อทั่วไป และอาจมีอัมพาตของกล้ามเนื้อเกิดขึ้น ในรายที่รุนแรงมากจะทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจเกิดเพลียลง และเป็นสาเหตุที่ช่วยทำให้หายใจไม่ได้ด้วย

(3) อาการทางสมอง ได้แก่ มึนศีรษะปวดศีรษะ งง กระสับกระส่าย ตื่นตกใจง่าย และอารมณ์พลุ่งพล่าน ถ้าอาการรุนแรงมากอาจมีอาการชักและหมดสติได้

อาการของผู้ป่วยจะเริ่มต้นด้วยคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อหดตัวเป็นหย่อมๆ แน่นหน้าอก ท้องเดิน ตาพร่า น้ำลายออกมาก และซึม ถ้าอาการรุนแรงทำให้หมดสติน้ำลายฟูมปาก อุจจาระปัสสาวะราด กล้ามเนื้อทั่วตัวกระตุก ชัก หายใจลำบาก หน้าเขียว และหยุดหายใจ

ขนาดของพาราไธออนที่ทำให้ตาย เฉลี่ยเพียง 300 มิลลิกรัม หรือเท่ากับพาราไธออนชนิดเข้มข้นร้อยละ 50 ไม่เกิน 15 หยด


http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=4

-----------------------------------------------------------------------------------

- งานวิจัยในปี 2553 ที่สำรวจเด็กกว่า 1,000 คนในสหรัฐอเมริกา พบว่า เด็กที่มีสาร organophosphate ในปัสสาวะสูง จะมีความเสี่ยงเป็นโรคไฮเปอร์แอคทีฟมากกว่าเด็กทั่วไปถึง 2 เท่า

- งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Health Perspectives ในปี 2553 ที่ติดตามเด็ก 300 คน ตั้งแต่ในช่วงแม่ตั้งครรภ์จนเด็กอายุได้ 5 ขวบ พบว่า แม่ที่มี organophosphate ในปัสสาวะสูง 10 เท่าในช่วงตั้งครรภ์ จะมีโอกาสที่ลูกที่เกิดมาจะมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิสั้น (attention disorders) ในช่วง 5 ปีแรกสูงขึ้น 500%

[ข้อมูลจากนิตยสาร Organic Processing, Vol 9 No 2, March/April 2012]
---------------------------------------------------------------------------------

สมุนไพร (93) :

การทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชและสัตว์เลี้ยง :

สมุนไพรกำจัดโรค-แมลง

กระเทียม ดีปลี พริก มันแกว ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม พริกไทย ยี่โถ ข่า น้อยหน่า ไพล ละหุ่ง คูณ บอระเพ็ด มะรุม ลางสาด ดาวเรือง ผกากรอง มะละกอ เลี่ยน

กระเทียม :
ศัตรูพืช :
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ผัก ด้วงปีกแข็ง ราน้ำค้าง ราสนิม
1. ใช้กระเทียม 1 กิโลกรัม โขลกให้เป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันเบนซิน 200 ซีซี. ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นน้ำสบู่ ละลายน้ำเล็กน้อยเติมลงไป คนให้เข้ากัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใส ก่อนนำไปใช้เติมน้ำลงไปอีก 20 เท่า หรือประมาณ 5 ปี๊บ (100 ลิตร)

2. บดกระเทียม 3 หัวใหญ่ให้ละเอียด แช่ลงในน้ำมันก๊าดประมาณ 2 วัน แล้วกรองเอาสารละลายมาผสมกับน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ก่อนนำไปใช้ให้เติมน้ำลงไปอีก ครึ่งปี๊บ (10 ลิตร)

3. ใช้กระเทียม 1 กำมือ โขลกให้ละเอียด เติมน้ำร้อนครึ่งลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำ 4 ลิตร เติมสบู่ครึ่งช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน ในตอนเช้า

4. บดกระเทียมแกะกลีบ 1 กำมือ ตากแดดให้แห้งเพื่อนำไปโขลกให้เป็นผง ใช้โรยบนพืชผักที่มีปัญหา โดยโรยตอนพืชผักไม่เปียก

ขมิ้นชัน :
ศัตรูพืช :
หนอนกระทู้ผัก หนอนผีเสื้อ ด้วงงวงช้าง ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว มอด ไรแดง เหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ขับไล่และกำจัดแมลงได้หลายชนิด
1. ขมิ้นชันครึ่งกิโลกรัม ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 1 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1-2 วัน กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง

2. ตำขมิ้นชันให้ละเอียด ผสมกับน้ำปัสสาวะวัว (ใช้ว่านน้ำตำละเอียดแทนได้) อัตราส่วน 1 ต่อ 2

3. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง ถ้าจะใช้กำจัดหนอนให้เติมน้ำผสมลงไปอีก 6 เท่า
4. บดขมิ้นให้เป็นผง ผสมเมล็ดถั่วในอัตรา ขมิ้น 1 กก. ต่อเมล็ดถั่ว 50 กก.
5. เพื่อช่วยในการเก็บรักษาเมล็ดถั่วป้องกันไม่ให้แมลงมาทำลายเม็ดถั่ว

---------------------------------------------------------------------------------


ทุเรียน 2 :


วงรอบในการปฏิบัติบำรุงต่อทุเรียน :
พ.ค. - มิ.ย. (2 เดือน) .... ตัดแต่งกิ่ง. ฟื้นฟูสภาพต้น. เรียกใบอ่อนชุดที่ 1.
ก.ค. - ส.ค. (2 เดือน) .... เรียกใบอ่อนชุดที่ 2
ก.ย. - ต.ค. (2 เดือน) .... ตัดแต่งกิ่ง. เรียกใบอ่อนชุดที่ 3. สะสมอาหาร.
พ.ย. - ธ.ค. (2 เดือน) .... ปรับ ซี/เอ็น เรโช. เปิดตาดอก. บำรุงดอก. ผสมเกสร.
ม.ค. - เม.ย. (4 เดือน) .... ตัดแต่งกิ่ง. บำรุงผลเล็ก-กลาง-แก่ก่อนเก็บเกี่ยว.


- วันนี้ นำเสนอเรื่องทุเรียนต่อจากเมื่อวานนี้ เพื่อให้เนื้อหาที่ลงในเน็ตต่อเนื่องกัน
- บำรุงเต็มที่ ได้ผลเต็มที่ .... บำรุงเต็มที่ ต้อง “ถูกต้อง” เต็มที่ได้ .... จัดเวลา จัดคิว จัดตารางทำงาน ทำตามโผ แล้วเรื่องยากจะกลายป็นง่าย ความล้มเหลวจะเป็นความสำเร็จ .... เชื่อเถอะ รุ่นสองรุ่น รอบสองรอบ ใช้สมองแทนกำลัง เดี๋ยวก็ชำนาญเอง

- 8 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง .... 1. เรียกใบอ่อน, 2. สะสมตาดอก, 3. ปรับ ซี/เอ็น เรโช. 4. เปิดตาดอก, 5. บำรุงดอก, 6. บำรุงผลเล็ก, 7. บำรุงผลกลาง, 8. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อทุเรียน :
1. เรียกใบอ่อน :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบทุก 5-7 วัน ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
-ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ .... ให้ครั้งที่ 1 ในจำนวน 3 ครั้ง (4 เดือน/ครั้ง) ของปี หรือรอบปีการผลิต
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดบริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือทันทีหลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น
- เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน (เน้นย้ำ....บำรุงก่อน) 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นเริ่มมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตามปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่
* การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่.
* การสะสมอาหารเพื่อการออก.
* การปรับ ซี/เอ็น เรโช.
* การเปิดตาดอก.
ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็จะกลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- เทคนิคหรือวิธีการเรียกใบอ่อน ให้ใบอ่อนออกพร้อมกันทั้งต้น อย่างหนึ่งคือ บำรุงก่อนตัดแต่งกิ่ง เพราะต้นได้รับสารอาหาร (ทางใบ-ทางราก) สร้างความสมบูรณ์ไว้ก่อน แม้ไม่ให้ปุ๋ยเรียกใบอ่อนต้นก็จะแตกใบอ่อนเองอยู่แล้ว ครั้นได้รับการ “กระตุ้น-กระแทก” ด้วยปุ๋ยกลุ่มเรียกใบอ่อน ต้นจึงแตกใบอ่อนได้ทั่วทั้งต้นดี นั่นแล

- สิ่งบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของต้นคือการแตกใบอ่อน ถ้าต้นสมบูรณ์ดีจะแตกใบอ่อนออกมาพร้อมกันทั่วทั้งต้น ระยะการแตกใบอ่อนไม่เกิน 5-7 วัน แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์จริง การแตกใบอ่อนจะออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น แม้ระยะเวลาจะผ่านไปนานนับสัปดาห์แล้วก็ตาม

- ความสมบูรณ์ของต้นอันเกิดจากการบำรุงของรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา มีผลอย่างมากต่อการบำรุงเรียกใบอ่อนรุ่นปีการผลิตปัจจุบัน รุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา ถ้าต้นได้รับการรบำรุงถูกต้องสม่ำ เสมอ หรือต้นไม่โทรม การเรียกใบอ่อนก็จะแตกออกมาเร็วพร้อมกันทั่วทั้งต้นดี แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรม ใบอ่อนชุดใหม่ก็จะแตกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น

- รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่

- ทุเรียนต้องการใบอ่อน 3 ชุด .... ถ้าได้ใบอ่อน 1 ชุดจะได้ดอก 10-20% .... ถ้าได้ใบอ่อน 2 ชุดจะได้ดอก 30-40% .... ถ้าได้ใบอ่อน 3 ชุดจะได้ดอก 70-80%

- เพื่อความสมบูรณ์เต็ม 100% ต้องเรียกใบอ่อนให้ได้ 3 ชุด (3 ชั้น) แต่ละรุ่นให้เป็นใบแก่ภายใน 45 วัน

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร ฉีดพ่นพอเปียกใบ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดบริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางหรือเพสลาด
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

วิธีเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ :
วิธีที่ 1
.... ถ้าต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อ ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็ไม่ควรห่างกันเกิน 7-10 วัน หลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

วิธีที่ 2
.... หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

(วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า....)

- ใบอ่อนที่ออกมาแล้วปล่อยให้เป็นใบแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลา 30-45 วัน

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 1-2 เดือน
- หาโอกาสหรือจังหวัดให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เดือนละครั้ง
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดบริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้ วัตถุ ประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©