-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 01 JUL *สมุนไพร (88), ต้นทุนนาข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 01 JUL *สมุนไพร (88), ต้นทุนนาข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 01/07/2016 1:00 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 01 JUL *สมุนไพร (88), ต้นทุนนาข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 1 JUL

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------


เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง 12 :

กินผัก ระวังยาดองศพ .... ! ! !


b.chaiyasith:

“ฟอร์มาลีน-ฟอร์มัลดีไฮด์” ทั้งสองตัวนี้ในทางเคมี คือ สารตัวเดียวกัน เพียงแต่ว่าเมื่ออยู่ในรูปของสารละลายจะเรียกว่า “ฟอร์มาลีน” ซึ่งเป็นชื่อที่เราคุ้นๆ กันดีก็คือ น้ำยาดองศพนั่นเอง ส่วน “ฟอร์มัลดีไฮด์” มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหะภูมิปกติ มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ส่วนมากที่จำหน่ายกันอยู่ทั่วไปอยู่ในรูปของสารละลายน้ำ ภายใต้ชื่อน้ำยาฟอร์มาลีน

โดยปกติสารละลายนี้จะไม่เสถียรเมื่อเก็บไว้นานโดยเฉพาะที่อุณหภูมิสูง จะกลายเป็นกรดฟอร์มิก จึงมีการเติมสารยับยั้งหรือที่เรียกว่าสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวสเตบิไลเซอร์ เช่น เมทานอล 5-15% หรือมีขายในรูปของพาราฟอร์มัลดีไฮด์ มีประโยชน์ในฐานะที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมาย ที่ใช้มากคือ นำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ ที่มีชื่อเรียกกันว่า “ยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์” หรือ “ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์” ที่ใช้เป็นกาวสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ใช้ทำ โฟมเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น

สำหรับในวงการแพทย์ใช้ประโยชน์มากมาย อย่างเช่น การดองศพ ใช้ในเวชภัณฑ์ เช่นยาอม ใช้ฆ่าเชื้อโรค และฟอกหนัง เป็นต้น

ไอของฟอร์มัลดีไฮด์จะระคายตา จมูก และผิวหนัง ทำให้เป็นแผลหรือถึงขั้นตาบอด ถ้าสูดดมเข้าไปมากๆ จะทำให้น้ำท่วมปอด จนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และตายในที่สุด อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลายชั่วโมงหลังจากได้รับสารโดยไม่มีอาการเจ็บปวดเลยก็ได้ หากได้รับปริมาณน้อยเป็นเวลานาน จะมีอาการไอและหายใจติดขัดเพราะหลอดลมอักเสบ เป็นต้น

สารเคมีมีประโยชน์ถ้าใช้อย่างถูกต้อง เมื่อทราบพิษภัยของมันแล้ว จงอย่าคิดนำฟอร์มาลีนไปล้างผักอย่างที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนกระทำกันอยู่ และเป็นข่าวอยู่เสมอ สิ่งตกค้างย่อมเป็นอันตรายได้เมื่อกินเข้าไป โดยเฉพาะฟอร์มัลดีไฮด์นี้มีข้อพิสูจน์ที่พอจะเชื่อได้ว่าเป็นสาร “ก่อมะเร็ง”

http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=43#
------------------------------------------------------------------------


สมุนไพร (8 8 ) :

การทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชและสัตว์เลี้ยง

พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช : [/color]

“ยาสูบ” : ในใบแก่ มีฤทธิ์กำจัดเพลี้ย หนอนชอนใบ และทากบางชนิด
“ข่า: ” ในเหง้าแก่สด มีฤทธิ์ขับไล่แมลงวันผลไม้
“ตะไคร้หอม” : ในต้น มีน้ำมันที่สกัดจากต้นมีฤทธิ์มีฤทธิ์ขับไล่แม่ผีเสื้อ แมลงต่างๆ และยุง

“สะเดาไทย” : ในผล เมล็ด เปลือกต้นและใบแก่ มีฤทธิ์ขับไล่แมลง ทำให้ไข่แมลงฝ่อฟักเป็นตัวอ่อนไม่ได้ และฆ่าแมลงบางชนิดโดยทำให้แมลงบางชนิดเจริญเติบโตผิดปกติ ลอกคราบไม่ได้ และตายในที่สุด

“โหระพา” : ในต้น มีน้ำมันที่สกัดจากต้นมีฤทธิ์ในการกำจัดไรและเพลี้ยอ่อน

“ดาวเรือง” : ในทุกส่วนของต้นดาวเรืองมีสารที่ออกฤทธิ์ในการกำจัดไส้เดือนฝอย หนอนผีเสื้อ หนอนใยผัก เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว โดยเฉพาะในใบแก่จะมีสารออกฤทธิ์มากกว่าส่วนอื่น

“ผกากรอง” : ในเมล็ดแก่ มีสารออกฤทธิ์ที่ป้องกันการฟักไข่ของแมลง
“ยี่โถ” : ในดอกและใบแก่ มีสารออกฤทธิ์ที่ใช้กำจัดหนอนทุกชนิด
“น้อยหน่า” : ในใบสด เมล็ด และผลดิบ มีฤทธิ์ฆ่าแมลง ฆ่าตัวอ่อนของแมลง ขัดขวางการดูดกิน ใช้กำจัดเพลี้ยอ่อนได้ดี

“ฟ้าทะลายโจร” : ในต้นและใบแก่ มีสารออกฤทธิ์ที่กำจัดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสบางชนิด
“คูน” : ในฝักแก่ มีสารออกฤทธิ์ที่กำจัดหนอนกระทู้ผัก และด้วงชนิดต่างๆ
“บอระเพ็ด” : ในต้นและใบ มีสารออกฤทธิ์ที่ทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนกอข้าว

http://krupawana.igetweb.com
----------------------------------------------------------------------


จาก :
(065) 728-45xx
ข้อความ : ไทยแล้ง เขมร ลาว พม่า เวียดนาม แล้งด้วยหรือเปล่า ไม่รู้ ถ้าแล้งก็แล้งเหมือนกัน ถ้าไม่แล้งแต่เราแล้ง ไม่เหมือนกันแน่ ผมดูที่นาข้าว ต้นทุนเขาต่ำ ต้นทุนเราสูง คุณภาพของเขาของเราไม่ต่างกัน แบบนี้แล้วชาวนาไทยจะอยู่ได้ไง ลุงคิมต้องทำงานให้หนักกว่านี้นะครับ....ขอบคุณครับ
ตอบ :
ชาวนารอด ประเทศไทยรอด ชาวนามั่งคั่ง ประเทศชาติมั่นคง เพราะชาวนา คือ ประชาชนส่วนใหญ่ ชาวนาทำนาข้าว รวมกับเกษตรอย่างอื่น รวมได้ 72% ของคนทั้งประเทศ .... ถ้าคนส่วนใหญ่อยู่ไม่ได้ คนส่วนน้อยก็อยู่ไม่ได้ ง่ายๆ ภาคเกษตรกรรมล่ม ไม่มีรายได้ ภาคอุตสาหกรรมทำมาแล้วจะขายให้ใคร

ภาคเกษตรกรรมวันนี้ :
ต้นทุนค่าปุ๋ย 30%
ต้นทุนค่าสารเคมี 30%
ต้นทุนค่างแรงงาน 20%
รวมเป็น 80% ของต้นทุนทั้งหมด

ทำเกษตรแบบนี้จะเหลืออะไร ในขณะเดียวกัน ถ้าลดต้นทุนส่วนนี้ได้ แล้วขายได้เท่าเดิม นั่นคือ กำไรเพิ่มขึ้นแล้ว ว่ามั้ย

คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
ระหว่าง ต้นทุนที่สูญเปล่า กับ ต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ ต่างกันอย่างไร

** ต้นทุนค่าปุ๋ย 30% ........... นาข้าว กินปุ๋ย 10 กก. /ไร่ /รุ่น
** ต้นทุนค่าสารเคมี 30% ...... นาข้าว ฉีดสารสมุนไพรอาทิตย์ละครั้ง
** ต้นทุนค่าแรง 20% .......... ค่าไถ, ค่าสูบน้ำ,
** ต้นทุนค่าโอกาส 20% ....... ปริมาณ คุณภาพ การตลาด

** เปลี่ยนแนวคิดในการทำนาข้าวแบบ กะรวยคนเดียว กะรวยกว่าข้างบ้าน ทำคนเดียวเดี่ยวๆ มาเป็นหรือไปเป็นทำนาข้าวแบบ รวมกลุ่ม-รวมพื้นที่ เช่น
** รูปแบบทำนา แบบแปลงเล็ก-แปลงใหญ่, แบบ SMART FARM,
** รูปแบบทำนา แบบไบโอไดนามิกส์ แบบประณีต แบบล้มตอซัง แบบเปียกสลับแห้ง
** ปุ๋ย ............. ทำเองครึ่งนึง ซื้อครึ่งนึง
** ยาสมุนไพร ..... ทำเอง 100%


จัดการดิน :

- ไม่ไถ แต่ย่ำเทือกประณีต กลบฟาง ..... ได้เทือก ได้กำจัดวัชพืช ได้สารอาหาร ได้จุลินทรีย์
- เลิกยูเรีย เลิก16-20-0 แล้วใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล. /ไร่), ปุ๋ยเคมี 16-8-8 (10 กก. /ไร่ .... ละลายน้ำ สาด ก่อนย่ำ) .... ประ หยัดเงินค่าปุ๋ย ได้ปุ๋ยถูกต้องเหมาะสม (สูตร/ปริมาณ/ทั่วแปลง) ต้นข้าวได้ทุกกอ

- ทำนาดำ (เครื่อง), นาหยอด .... ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ต้นข้าวขึ้นห่างแตกกอดี เมล็ดดี โรคแมลงน้อย ถอนแยก (ข้าวปน วัชพืช) ได้ ใช้ทำพันธุ์ได้

- เลิกสารเคมี ใช้สารสมุนไพร +ปุ๋ยทางใบ อาทิตย์ละครั้ง (ช่วงที่ยังไม่ระบาดหรือกันก่อนแก้) วันต่อวัน หรือวันเว้นวัน รวม 3 ครั้ง (ช่วงที่แปลงข้างเคียงกำลังระบาด)
-----------------------------------------------------------------------

การผลิตข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับ (เน้นย้ำ...เช่นเดียวกับ) การผลิตข้าวโดยทั่วไป จะแตกต่างกันที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ในทุกขั้นตอนการผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

1. เลือกพื้นที่ปลูก
2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว
3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
4. การเตรียมดิน
5. วิธีปลูก
6. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
7. ระบบการปลูกพืช
8. การควบคุมวัชพืช
9. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช
10. การจัดการน้ำ
11. การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื้น
12. การเก็บรักษาข้าวเปลือก
13. การสี
14. การบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า

http://www.brrd.in.th/rkb/organic%20rice/index.php-file=content.php&id=4.htm
-----------------------------------------------------------------------


เปิด AEC หายนะข้าวและชาวนาไทย :
เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึง 10 เดือน เพราะตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไปจะถึงกำหนดวันเปิดประตูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งเป็นการเปิดพรมแดนให้มีการซื้อขายสินค้าการเกษตรอย่างกว้างขวางและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ประเด็นสำคัญคือ ประเทศไทยได้เซ็นสัญญาข้อตกลงให้มีการนำเข้าสินค้า "ข้าว" จากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามาสู่ประเทศไทยได้อย่างเสรี ไม่ต้องเสียภาษี ในขณะที่บางประเทศในอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตั้งกำแพงภาษีและกำหนดโควต้าสำหรับสินค้า "ข้าว" ให้อยู่ในกลุ่มสินค้าอ่อนไหว เพราะเกรงผลกระทบที่จะเกิดกับชาวนาในประเทศของเขา

หลังเปิด AEC อาจจะเห็นด้านดีที่จะเกิดขึ้น คือ ผู้บริโภคคนไทยจะมีโอกาสและทางเลือกในการกินข้าวดีและราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เพราะเมื่อเปิด AEC หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พ่อค้าข้าวถุงของไทยก็จะไปกว้านซื้อข้าวคุณภาพดีแต่ราคาถูกกว่าจากประเทศเพื่อนบ้านมาบรรจุถุงขายแทน เช่น

ข้าวปอซาน (Pearl Paw San) ของพม่า ซึ่งเป็นข้าวชนะเลิศในการประกวดข้าวที่ดีที่สุดของโลกในปี 2554
ข้าวผกามะลิ (Phaka Malis) และ
ข้าวหอมลำดวน (Rumduol) ของกัมพูชา ซึ่งเป็นข้าวชนะเลิศในการประกวดข้าวที่ดีที่สุดของโลกในปี 2555 ปี 2556 และ ปี 2557 สามปีติดต่อกัน


แต่อีกด้านหนึ่ง วิเคราะห์ล่วงหน้าได้เลยว่า หายนะที่ใหญ่หลวงจะตกกับพี่น้องชาวนาไทย เพราะจากข้อมูลเปรียบเทียบในแง่ต้นทุนการผลิตและผลผลิตต่อไร่ ข้าวไทยของเราด้อยประสิทธิภาพกว่าประเทศอื่นในอาเซียนที่ส่งออกข้าวเป็นสินค้าหลักอยู่มาก โดยเฉพาะเวียดนาม และพม่า ข้อมูลต้นทุนการทำนาปี 2555 พบว่าชาวนาไทยมีต้นทุนในการทำนาเฉลี่ยตันละ 9,763 บาท ส่วนชาวนาเวียดนามและพม่า มีต้นทุนการทำนาเฉลี่ยตันละ 4,070 บาท และ 7,121 บาท ตามลำดับ โดยชาวนาไทยมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าชาวนาเวียดนาม และพม่าถึง 5,692 บาทต่อตัน และ 2,641 บาทต่อตัน ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ของไทยก็ต่ำกว่าเวียดนาม โดยของไทยอยู่ที่ 450 กิโลกรัมต่อไร่ เวียดนาม 900 กิโลกรัมต่อไร่ ยกเว้นพม่าที่มีผลผลิตต่อไร่น้อยกว่าของไทยเล็กน้อย อยู่ที่ 420 กิโลกรัมต่อไร่

(ที่มา: ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย)

สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตของไทยสูงกว่าเพื่อนบ้าน เพราะชาวนาไทยในเขตภาคกลางร้อยละ 70-80 เป็นชาวนาเช่า ทำให้มีต้นทุนการทำนาสูงกว่าชาวนาเวียดนาม และพม่า ซึ่งส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง โดยจากงานศึกษาของกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน ปี 25557 พบว่า สัดส่วนต้นทุนการผลิตที่ชาวนาภาคกลางแบกรับมากที่สุด 3 อันดับ คือ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าเมล็ดพันธุ์ และค่าเช่าที่ดิน ดังนั้นการแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนา นอกจากการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตที่ลดการพึ่งพาสารเคมีให้น้อยลงแล้ว การแก้ปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐานการผลิตคือที่ดินก็เป็นเรื่องสำคัญ

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ศักยภาพในการแข่งขันเรื่องข้าวไทยซึ่งเคยเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ปัจจุบันกลับด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน นั่นเพราะนโยบายในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างในเรื่องข้าวและชาวนาของรัฐที่ผ่านมายังไม่เป็นผล ยกตัวอย่างเช่น นโยบายการลดต้นทุนการผลิตของชาวนา มีการประกาศว่าจะให้มีการลดราคาปุ๋ย ลดราคาสารเคมี ลดค่าไถ ลดค่าเช่านา หรือส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมี แต่ความเป็นจริงในทางปฏิบัติต้นทุนการปลูกข้าวของชาวนาก็ไม่ได้ลดลงตามนโยบายที่กล่าวไว้แต่อย่างใด

นอกจากนี้ยังเกิดจากความทับซ้อนของผลประโยชน์ทางการเมือง ตัวอย่างเช่น นโยบายเรื่องการนำเข้าสารเคมีการเกษตรซึ่งเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้าน นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา รัฐได้ประกาศยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรจากต่างประ เทศ โดยอ้างว่าเพื่อช่วยให้เกษตรกรได้ใช้สารเคมีการเกษตรในราคาที่ถูกลง ทั้งที่ความเป็นจริงราคาปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรกับการยกเลิกภาษีนำเข้าสารเคมีไม่ได้เชื่อมโยงกันแต่อย่างใด ที่ผ่านมาราคาปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตรสูงขึ้นเรื่อยๆและมีแนวโน้มปริมาณการใช้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ดังรายงานการศึกษาการใช้สารเคมีทางการเกษตร ของมูลนิธิข้าวขวัญ พบว่า ในปี 2555 ต้นทุนสารเคมีของชาวนาคิดเป็นร้อยละ 20 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด แต่ปี 2557 ต้นทุนสารเคมีของชาวนาเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 42 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด

ดังนั้นในปี 2559 เมื่อเปิด AEC ข้าวของเวียดนาม พม่า และกัมพูชาจะทะลักเข้าไทยแค่ราคาตันละ 6,000 บาท ชาวนาไทยก็จะพ่ายแพ้อย่างแน่นอน จึงคาดการณ์ว่าหากชาวนาไทยไม่สามารถปรับตัวให้แข่งขันได้ รวมทั้งหากภาครัฐไม่เร่งกำหนดนโยบายเพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ชาวนาไทยกว่าครึ่งหนึ่งจะล้มเหลวทางการผลิตและเลิกอาชีพทำนาไปในที่สุด

ทางเลือกและทางรอดของชาวนาที่ยังพอมีอยู่ หากต้องการจะดำรงรักษาอาชีพชาวนาเอาไว้ นั่นคือ

1. การลดต้นทุนการผลิตข้าวไม่ให้สูงกว่า 4,000 บาทต่อไร่ (ปัจจุบันต้นทุนการทำนาปรัง ปี 2556 เฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 5,858 บาทต่อไร่)

2. การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตหันมาปลูกข้าวคุณภาพดี ราคาสูงแทน เช่น ข้าวอินทรีย์เพื่อขายตรงให้กับผู้บริโภค โดยมีการกำหนดราคาซื้อขายที่เป็นธรรมเพื่อให้ชาวนาอยู่รอดได้ในอนาคต

ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ไม่มากนี้ หากภาครัฐยังไม่สามารถทำความเข้าใจและสนับสนุนให้ชาวนาปรับตัว เพื่อให้สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณภาพข้าว เพื่อให้แข่งขันกับเพื่อนบ้านได้แล้ว เมื่อถึงเวลาของการเปิด AEC ชาวนาไทยที่ปรับตัวไม่ได้ ก็จะกลายเป็นชาวนาที่ล้มละ ลาย และสูญหายไปในที่สุด

พิมพ์ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์วันที่ 20 มีนาคม 2558
http://www.landactionthai.org

--------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©