-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 20APR *สารสมุนไพร (48), ข้าวโพดสีม่วง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 20APR *สารสมุนไพร (48), ข้าวโพดสีม่วง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/04/2016 10:24 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 20APR *สารสมุนไพร (48), ข้าวโพดสี ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตทางรายการวิทยุ 20 APR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------



สารสมุนไพร (4 8 )

การทำ .... สมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืช ! !

ดีปลี :

ใช้ดีปลี กำจัดแมลงศัตรูในยุ้งข้าว ด้วงมอดข้าว หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผักน้ำมันจากผลแก่ของดีปลี
มีประสิทธิภาพในการป้องกัน/กำจัดแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะแมลงศัตรูข้าวในยุ้งข้าว ด้วงมอดข้าว หนอนใยฟัก หนอน กระทู้ผัก

ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ :
ผล ราก เถา
สารสำคัญ : ผลแก่มีอัลคาลอยด์ piperine 6% chavicine และ น้ำมันหอมระเหย 1% ซึ่งมีฤทธิ์ ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องเสีย ผลที่ยังมีสีเขียวอยู่เป็นระยะที่มีน้ำมันหอมระเหยมากที่สุด

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีใช้ :
นำผลดีปลีแห้ง หนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม ไปอบในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส แล้วนำไปแช่ ในแอลกอฮอล์ 1.5 ลิตร จากนั้นนำไปปั่นให้ละเอียด แล้วหมักค้างคืนไว้ 1 คืน ก่อนนำไปใช้ให้กรองกากออก แล้วนำน้ำที่ได้ไปผมสารจับใบก่อนฉีดพ่นในแปลงพืช
-----------------------------------------------------

บอระเพ็ด :

ใช้บอระเพ็ด กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ โรคข้าวตายพราย โรคยอดข้าวเหี่ยว โรคข้าวลีบ

บอระเพ็ด มี รสขม สามารถใช้ได้ดีกับนาข้าว เมื่อดูดซึมเข้าไปในพืชทำให้แมลงไม่มาทำลาย รักษาโรคยอดข้าวเหี่ยว โรคข้าวลีบ และ โรคข้าวตายพรายได้เป็นอย่างดี

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1.
นำเถา 1 กก. มาบดหรือทุบ แช่น้ำ 1 ปี๊บ ทิ้งไว้ 1 คืน นำน้ำหมักมาฉีดพ่นฆ่าแมลงได้
วิธีที่ 2. ใช้เถาบอระเพ็ด 5 กก. สับเป็นชิ้นเล็กๆ ทุบให้แหลก แช่น้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง แล้วเอาน้ำไปฉีดในแปลงเพาะกล้า
วิธีที่ 3. ใช้เถาบอระเพ็ด 1 กก. สับหว่านปนในแปลงเพาะกล้าขนาด 4 เมตร
วิธีที่ 4. ใช้เถาบอระเพ็ดตัดเป็นท่อนๆ ขนาด 5 นิ้ว ปริมาณ 10 กก. หว่านในนาข้าว พื้นที่ 1 ไร่ หลังปักดำหรือหว่านข้าวแล้ว 7 วัน และทำอีกครั้งหลังข้าวอายุ 2 เดือน ใช้ควบคุมหนอนกอ หนอนกระทู้ หนอนกระทู้และ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดี
------------------------------------------------------------

ลางสาด :

ใช้ลางสาด กำจัดหนอนหลอดหอม และ แมลงในแปลงผัก
ลางสาดจะมีรสขมอยู่ที่เมล็ด ซึ่งมีสาร Acid alkaloid ที่มีความเป็นพิษต่ แมลง และ หนอนชนิดต่างๆในแปลงผัก สามารถนำไปใช้ควบคุมและกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหนอนหลอดหอม

การนำไปใช้ทางการเกษตร :

วิธีใช้นำเมล็ดลางสาด 0.5 กก. บดให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำผสมสารจับใบ ไปฉีดพ่นตามแปลงผักที่พบการระบาดของหนอนกระทู้หอม และ หนอนผีเสื้อชนิดอื่นๆ
-------------------------------------------

ละหุ่ง :

ใช้ละหุ่ง ป้องกันกำจัด ปลวก แมงกะชอน ไส้เดือนฝอย ละหุ่ง เป็นพืชที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี เช่น แมงกะชอน หนู ปลวก ไส้เดือนฝอย เป็นต้น

การนำเมล็ดละหุ่งเหมาะสำหรับกำจัดแมลงศัตรูพืช ปลวก แมงกะชอน ไส้เดือน ฝอย หนู แมลงในโรงเก็บ แต่ไม่เหมาะที่จะนำมา ใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยการฉีดพ่น เพราะสารสกัดจากเมล็ดละหุ่งมีน้ำมันมาก หากนำไปฉีดพ่นในแปลงผัก จะมีผลทำให้ใบผักไหม้ได้

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1 :
ปลูกต้นละหุ่งเป็นแนวรอบสวนจะช่วยป้องกันหรือขับไล่ศัตรูพืช เช่น แมงกะชอน ปลวก หนู หรือ ปลูกหมุนเวียนในไร่ เพื่อป้องกันกำจัดการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอย

วิธีที่ 2 :
นำเมล็ดละหุ่งบดให้ละเอียด แล้วคั้นเอาส่วนของน้ำมันมาคลุกเมล็ดถั่วเขียว สามารถยับยั้งการวางไข่ และการฟักไข่ของด้วงถั่วเขียวได้ 100% และสามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ได้นานมากกว่า 6 เดือน โดยไม่มีศัตรูพืชรบกวน และน้ำมันละหุ่งจำนวน 5 ซีซี. คลุกเมล็ดข้าวโพดหรือข้าวฟ่าง จำนวน 1 กิโลกรัม สามารถป้องกันการเข้ามาทำลายของด้วงงวงข้าว ด้วงงวงข้าวโพด มอดแป้ง ผีเสื้อข้าวสารได้ผลดี
------------------------------------------------

รัก :

ใช้ต้นรัก กำจัด เพลี้ยอ่อน และ ตัวหนอนกินใบชนิดต่างๆ ยางของต้นรักที่ได้จาก ใบ ดอก และ ผล จะเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทั้งในคนและสัตว์ รวมทั้งแมลงและหนอนต่างๆ ด้วย ซึ่งสามารถใช้ในการป้องกันกำจัดแมลง ประเภทเพลี้ยชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน และ หนอนกัดกินใบได้

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
วิธีใช้ :
นำใบ ดอก และ ผลสด มาตำหรือบดรวมกัน แล้วนำมาคั้นเอาเฉพาะน้ำเข้มข้นที่ได้จากต้นรัก คั้นได้เท่าไหร่ให้ตวงใส่ในภาชนะตวง (อะไรก็ได้) ถือ เป็นน้ำคั้นต้นรัก 1 ส่วน จากนั้นนำไปผสมกับน้ำสะอาด 10 ส่วน ผสมสารจับใบแล้วนำไปฉีดพ่นในแปลงพืชผักได้ทันที จะสามารถป้องกันกำจัดแมลงประเภทเพลี้ย และหนอนกัดกินใบได้
--------------------------------------------------------------------

จาก : (092) 826-39 xx
ข้อความ : อยากให้ผู้พันพูดถึงข้าวโพดสีม่วงบ้าง ไปเห็นในห้างแล้วขายดีมาก ผมมีที่อยู่ 4 ไร่ น้ำดีมีบาดาล อยากปลูกข้าวโพดพันธุ์นี้บ้าง ถ้าไม่ดี ผู้พันช่วยแนะนำพันธุ์อื่นด้วยครับ .... ขอบคุณครับ ชาวไร่สระบุรี
ตอบ :
ขอบคุณในคำถาม คำถามทำให้ฉลาด เพราะต้องค้นคว้าขวนขวายหาคำตอบ .... คำตอบ คือความรู้ .... ความรู้ คือ ความฉลาด ไงล่ะ

ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง :

ข้าวโพดข้าวเหนียวอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่กำลังเป็นที่นิยมกับผู้บริโภคในขณะนี้ คือ ข้าว โพดข้าวเหนียวสีม่วง ซึ่งปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามท้องตลาด หลายท่านคงเคยพบเห็นกันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะสงสัยอยู่ว่าข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงนี้มาจากไหน และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง เป็นการพัฒนาจากพันธุ์ข้าวโพดสีม่วง และพันธุ์ข้าว โพดข้าวเหนียว นั่นคือ ข้าวโพดพันธุ์ที่ได้ชื่อทางการว่า “ข้าวเหนียวลูกผสมแฟนซีสีม่วง 111” โดยพัฒนาพันธุ์มาจากข้าวโพดพื้นบ้านทางล้านนา และภาคอีสานของไทย

ผลผลิตที่ได้ทำให้ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงที่มีฝักใหญ่ รสชาตินุ่มลิ้น หวานและเหนียว

http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n14/v_11-dec/rai.html
-------------------------------------------------------

ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ ‘ข้าวโพดข้าวก่ำแฟนซี’ หรือ ‘ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม’ :

ข้าวโพดพันธุ์นี้ได้ชื่อทางการว่า ข้าวเหนียวลูกผสมแฟนซีสีม่วง 111 มีผู้พัฒนาพันธุ์มาจากข้าวโพดพื้นบ้านทางล้านนาและภาคอีสานของไทย

ลักษณะเฉพาะตัวก็คือ เมล็ดข้าวโพดเป็นสีม่วงดำเข้ม เวลาต้องประกายไฟจะสะท้อนแสงแวววาวราวกับสีนิล เมื่อนำมาต้มจะได้น้ำสีดำอมม่วงเข้มข้น เห็นแค่สีก็เดาได้ทันทีว่าคุณภาพคับฝักแน่นอน

ข้าวโพดพันธุ์นี้ดำทั้งลำต้นและเมล็ด รสชาติเหนียวนุ่ม มัน หวานนิดๆ แค่ติดปลายลิ้น ไม่หวานแหลมเหมือนข้าวโพดหวาน และความอร่อยอยู่ที่ความเหนียวนุ่มและกลิ่นหอมแบบข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองเดิม เป็นนวัตกรรมใหม่ที่วิจัยและพัฒนาขึ้นโดยฝีมือนักวิจัยของไทย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยนำข้าวโพดสีม่วงมาผสมกับข้าวโพดข้าวเหนียวสกัดสายพันธุ์แท้จากคู่ผสมจนได้สายพันธุ์แท้ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงเข้มออกมา

ต่อมา นายไพศาล หิรัญมาศสุวรรณ ผู้จัดการงานปรับปรุงพันธุ์พืชของ บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด ได้ขอพันธุ์ข้าวโพดสีม่วงจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มาใช้เป็นเชื้อพันธุกรรมร่วมกับสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่บริษัทกำลังศึกษาวิจัยอยู่ก่อนแล้ว จนสามารถสกัดสายพันธุ์แท้จากคู่ผสมของเชื้อพัธุกรรมทั้งสอง ได้สายพันธุ์ใหม่ออกมาและคัดเลือกออกมาได้ 2 พันธุ์ คือ ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมแฟนซีสีม่วง 111 และข้าวโพดข้าวเหนียวแฟนซีสีขาวม่วง 212 รวมใช้ระยะเวลาปรับปรุงข้าวโพดพันธุ์ใหม่ไม่ต่ำกว่า 6-7 ปีทีเดียว

ตอนนี้สามารถขยายพันธุ์นำไปปลูกและจำหน่ายกันทั่วไป กลายเป็นเรื่องโด่งดังติดอันดับ 10 ข่าวดังทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปี 2555 ของสำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. เลยทีเดียว

ข้าวโพดพันธุ์ใหม่นี้ สามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ ให้ผลผลิตสูง และสีม่วงเข้มยังอุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยป้องกันโรคมากมายชะลอความเสื่อมของเซลล์ เพิ่มความสามารถในการมองเห็น ลดโอกาสเกิดมะเร็ง เสริมภูมิคุ้มกันช่วยให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรคและสมานแผล ส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ลดภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน

สรรพคุณมากมายขนาดนี้ คงต้องหามาลิ้มชิมกันหน่อย แต่ข้าวโพดแฟนซีฯ อาจจะยังไม่มีขายแพร่หลายเหมือนข้าวโพดหวานทั่วไป เพราะผลผลิตยังออกมาน้อยมาก ต้องหาซื้อกันตามตลาดขายส่ง สินค้าเกษตรอย่างตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และตลาดสด ใหญ่ๆ เท่านั้น และถ้าจะให้อร่อยจริงก็ต้องไปไล่ล่าถึงแหล่งปลูก หักฝักออกมาจากต้นแล้วต้มกินกันเดี๋ยวนั้นดีที่สุด เพราะข้าวโพดทุกชนิดเมื่อถูกทิ้งข้ามวัน น้ำตาลในเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นแป้งไปหมด ทำให้ขาดรสหวานและความนุ่มนวลตามธรรมชาติของข้าวโพดยิ่งเก็บไว้นาวันในสภาพฝักสด ยิ่งเสียรส

เมื่อก่อนนั้น ข้าวโพดข้าวเหนียวพื้นบ้านเรา ถูกจัดเป็นข้าวโพดบ้านนอก เพราะอยู่นอกสายตากันจริงๆ บริษัทใหญ่ๆ ที่มีเทคโนโลยีในการพัฒนาพันธุ์ล้วนแล้วแต่ทุ่มความสนใจไปยังข้าวโพดรสหวาน ฝักใหญ่สีเหลืองทอง ดันราคาข้าวโพดต้มที่เคยเป็นอาหารคนจน ให้กลายเป็นของแพงมาจนทุกวันนี้

ข้าวโพดต้มราคาตลาดสาอยู่ที่ฝัก 3 ฝัก 20 บาท หรืออาจจะแพงกว่านี้เป็นฝักละ 10 บาท ในฤดูที่ผลผลิตมีน้อย แต่ข้าวโพดพันธุ์สีม่วงนี้มาแรงแซงโค้ง ราคาต่อฝักในช่วงแรกสูงถึงฝักละ 15 บาท แต่จะถูกหรือแพง ก็ยังเป็นของกินเล่นยอดนิยมที่ขายได้ขายดีตลอด เวลา เพราะกินอิ่มท้อง เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีข้าวโพดเพียงฝักเดียว ก็อิ่มพอๆ กับ ข้าวสวย 1 จานโดยไม่ต้องมีกับข้าวมาแนม

http://www.vcharkarn.com/varticle/56483
-------------------------------------------------------------

* การปลูก การบำรุง ข้าวโพดฝักสด แบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม:
1. เตรียมดิน เตรียมแปลง :

ไถดะไถแปร ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ. .... ไถพรวนชักร่องเป็นร่องลูกฟูก คลุมสันแปลงด้วยแห้งหนาๆ รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 ปล่อยไว้ 15-20 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน และสร้างสารอาหารรอไว้ก่อน ....

ลงทุนเรื่องดินไม่เสียหลาย ได้ข้าวโพดแล้ว ได้ดินสำหรับปลูกข้าวรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป หรือถ้าไม่ปลูกข้าวจะปลูกอย่างอื่น อะไรก็ได้ ดีทั้งนั้น เพราะดินดีอยู่แล้ว

2. เตรียมเมล็ดพันธุ์ :

แช่เมล็ดพันธุ์ใน “น้ำ + สังกะสี. + ไคโตซาน + โบรอน” นาน 6 ชม. .... นำขี้นห่มชื้น 24-36 ชม. เมล็ดเริ่มมีรากปริ่มออก มา นำไปหยอด หลุมละ 2 เมล็ด .... ดินในหลุมปลูกคลุกด้วย ใบสาบเสือ ใบยูคา ตากแห้งบดละเอียด ป้องกันแมลงในดินกิน .... หยอดเมล็ดแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพตัวเดิม 1 ครั้ง เป็นการให้น้ำ ....

3. บำรุง ระยะต้นเล็ก :

รดด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรเดิม 30-10-10 (1 ล.) สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ โดยรดโคนต้น ให้ตอนเย็นก่อนค่ำดีกว่าให้ตอนกลาง วัน .... ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน .... ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน ฉีดทางใบ 1 ครั้ง

4. บำรุง ระยะก่อนออกดอกยอด :
ทางดิน :
ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรเดิม 1 ล. + 8-24-24 (1 กก.) ละลายให้เข้ากันดี สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ 1 รอบ รดโคนต้น ตอนเย็นก่อนค่ำดีกว่าให้ตอนกลางวัน
ทางใบ :
ให้ไทเป 3-4 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน ฉีดทางใบ 1 ครั้ง

5. บำรุง ระยะเป็นฝักแล้ว :
ทางดิน :
ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ ให้ 1 รอบ รดโคนต้น ตอนเย็นก่อนค่ำ ดีกว่าให้ตอนกลางวัน
ทางใบ :
ให้ “ไบโออิ + ยูเรก้า” 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน


หมายเหตุ :

- ระยะ 7 วันแรกหลังปลูก ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น ถ้าขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การงอกไม่ดี ส่งผลถึงช่วงต้นโตให้ผลผลิตลดลงไปด้วย

- ระยะออกดอก ถ้าขาดน้ำจะทำให้เกสร ไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มฝักหรือฟันหลอ
- ฮอร์โมนไข่ไทเปส่วนที่เป็นอินทรีย์ ทำจาก ไข่ นม น้ำมะพร้าว จุลินทรีย์กลุ่มยิสต์ .... ส่วนที่เป็นเคมี คือ 0-52-34, 13-0-46, แม็กเนเซียม. สังกะสี. ธาตุรอง/ธาตุเสริม เกรด อีดีทีเอ. คีเลต.

- เริ่มให้ตั้งแต่ก่อนออกดอกยอด 7 วัน ให้ไปเรื่อยๆ 7 วันต่อครั้ง กระทั่งมีดอกยอดแล้วมีฝักแรกออกมา กระนั้นก็ยังให้ต่อไปอีกจะได้ฝักที่สอง ฝักที่สาม และอาจะแถมฝักที่สี่ด้วย ถ้าปัจจัยพื้นฐานพร้อม

- การให้ทางดินตอนเย็นได้ผลดีกว่าให้ตอนกลางวัน เพราะต้นพืชดูดสารอาหารจากรากขึ้นสู่ต้น (ล่างขึ้นบน) ไปไว้ที่ใบตอนกลางคืน เพื่อรอสังเคราะห์แสงตอนกลางวันในวันรุ่ง ขึ้น
- การให้ทางใบตอนกลางวัน แดด 100% ได้ผลดี เพราะต้นพืชจะสังเคราะห์อาหารที่สะสมไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืน แล้วส่งลงไปให้ส่วนต่างๆ ของต้น (บนลงล่าง) ในตอนกลางวัน

- น้ำหมักชีวภาพควรมีสารอาหารอินทรีย์ ฯลฯ, สารอาหารเคมี ธาตุหลัก (สูตรตามระยะพัฒนาการ) แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง/ธาตุเสริม เป็นแบบ “อินทรีย์ เคมี” ผสมผสานกัน หรืออินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของต้นข้าวโพด....น้ำหมักชีว ภาพให้ทางใบพืชรับไม่ได้ เพราะโมเลกุลใหญ่ผ่านปากใบไม่ได้

– ธาตุหลัก (สูตรตามระยะพัฒนาการ) บำรุงต้นให้สมบูรณ์ แข็งแรง
- สังกะสี. โบรอน. บำรุงให้ออกดอกดี ทั้งดอกยอด (ดอกตัวผู้) และไหมที่ฝัก (ดอกตัวเมีย)
- สังกะสี. ช่วยสร้างแป้งและน้ำตาลโดยตรง ช่วยทำให้คุณภาพของข้าวโพดดี
- แมกเนเซียม. ช่วยสร้างคลอโรฟีลด์ ใบข้าวโพดจะเขียวสังเคราะห์อาหารได้จนถึงวันเก็บเกี่ยว
- การให้ 21-7-14 (สูตรขยายขนาดผล) ทั้งทางใบทางราก เท่ากับให้ 2 เด้ง ช่วยให้ได้ฝักขนาดใหญ่
- การให้แคลเซียม โบรอน ทำให้คุณภาพดี เนื้อมาก เปลือกหุ้มเมล็ดบางและนิ่ม เวลาทานไม่ติดฟัน
- ข้าวโพดฝักสดต้องให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น แยกให้ออกระหว่าง ชื้น-ชุ่ม-โชก-แฉะ-แช่ ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว

- ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้มีแต่เรื่องสารอาหาร (ปุ๋ย) เพราะทัศนคติของเกษตรกรไทยคิดว่าปุ๋ยคือสิ่งสำคัญที่สุดในการปลูกพืช ในคำตอบนี้ไม่มีเรื่องยาป้องกันกำจัดโรคและแมลงเลย เพราะไม่ได้ถาม .... จึงอยากถามย้อนว่า การเกษตรเนี่ยมันง่ายนักเหรอ ความจริงไม่ยากแต่รายละเอียดขั้นตอนมันมาก เพราะฉะนั้นต้องเตรียมการแล้วปฏิบัติให้ครบทุกขั้นตอน อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ ตามความเหมาะสมของข้าวโพดอย่างแท้จริง จึงจะได้ผล

- สาเหตุที่เป็นฟันหลอเพราะเกสรไม่ได้รับการผสม ต้นตอของสาเหตุอาจมาจาก การมีฝนตกบ่อยทำให้เกสรเปียก แมลงธรรมชาติไม่ออกหากิน จึงไม่มีผู้ช่วยผสมเกสร

- เกสรข้าวโพดผสมตอนกลางวัน แดดจัด ช่วง 9 โมงเช้าถึงเที่ยง หน้านี้ฝนชุกแม้แต่เช้าที่ไม่มีฝน แต่มีแดด แมลงธรรม ชาติ โดยเฉพาะผึ้งไม่ออกหากิน ส่วนแมลงผีเสื้ออย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง ไม่มาแน่ๆ เพราะฉะนั้น แนวทางแก้ปัญหาไม่มีแมลงช่วยผสมเกสรแบบนี้ น่าจะมีทางเดียวเท่านั้น คือ ช่วยผสมเกสรด้วยมือ .... ดังนี้ :

- รอจังหวะเวลา (9 โมงเช้าถึงเที่ยง /มีแดด) ที่เกสรพร้อมรับการผสมให้เหมาะสม
- เลือกตัดเกสรดอกยอด (ตัวผู้) ที่พร้อมผสมลงมา 1 ช่อ
- เลือกไหมปลายฝัก (เกสรตัวเมีย) ที่พร้อมรับการผสม ลักษณะเหนียว เป็นมันวาวเมื่อกระทบแสง
- นำเกสรดอกยอด เคาะใส่ไหมที่ปลายฝัก 2-3 ครั้ง ต่อฝัก
- ทำซ้ำได้ 2-3-4-5 ดอก เท่าที่ยังมีละอองเกสรดอกยอดเหลืออยู่

- ไม่มีปุ๋ยหรือฮอร์โมนตัวไหนแก้ปัญหา ฝนตกเกสรเปียกแล้วยังผสมได้ แม้จะได้บำรุงล่วงหน้าให้ต้นมีความสมบูรณ์สะสมเต็มที่แล้วก็ตาม งานนี้ขึ้นอยู่กับดวงเท่านั้น

- เอาเท่าที่ได้ ข้าวโพดต้นไหนโชคช่วย เทวดาเข้าข้าง คนช่วยผสมเกสรให้ได้กลาย เป็นฝักขึ้นมา มุ่งบำรุงให้เกรด เอ. จัมโบ้. ไปเลย

- จังหวะที่เกสรดอกตัวผู้พร้อมผสมมักตรงหรือใกล้เคียงกับเกสรตัวเมียของฝักแรก กับช่วงต้นๆ ของฝักที่ 2 เท่านั้น ครั้นดอกตัวเมียของฝักที่ 3 หรือ 4 ออกมาจึงไม่มีละอองเกสรตัวผู้เข้าผสม ทำให้ฝักที่ 3 หรือ 4 ไม่ติดเป็นฝัก .... แนวทางแก้ไข คือ หลังจากหยอดเมล็ดข้าว โพดรุ่นแรกไปแล้ว 10-15 วัน ให้หยอดเมล็ดรุ่นที่ 2 หรือรุ่นที่ 3 อีกรุ่นก็ได้ โดยให้แต่ละรุ่นห่างกัน 7-10 วัน ทั้งนี้เพื่ออาศัยเกสรตัวผู้ของต้นรุ่นหลังไปผสมด้วยมือให้แก่ฝักที่ 2-3-4 ของต้นรุ่นแรกนั่นเอง

- ปลูกข้าวโพดรุ่น 2-3 เพื่อเอาเกสรตัวผู้นี้ ใช้วิธีปลูกแซมแทรกระหว่างต้นรุ่นแรก กระจายทั่วแปลงปลูกโดยเฉพาะด้านเหนือลม เพื่ออาศัยสายลมช่วยพัดละอองเกสรส่วนหนึ่ง กับช่วยผสมด้วยมืออีกส่วนหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ต้นรุ่น 2-3 ก็สามารถเอาฝักได้เพราะมี ฝัก + เกสรตัวเมีย เช่นกัน สำคัญแต่ว่าจะหาละอองเกสรตัวผู้จากที่ไหนมาช่วยผสมด้วยมือให้เท่านั้น

- กรณีที่ไม่ได้ปลูกต้นข้าวโพดต่างรุ่นไว้ในแปลงปลูกของตนเอง ก็อาจจะขอแบ่งปันจากแปลงข้างเคียงก็ได้แต่ต้องเป็นข้าวโพดสายพันธุ์เดียวกันมาใช้ช่วยผสมด้วยมือแทนก็ได้

- เก็บข้าวโพดตอน ตี.5 เก็บจากต้นมาแล้วเก็บในที่อุณหภูมิเย็น จะช่วยรักษาความหวานให้อยู่ได้นาน .... ทำข้าวโพดฝักสด ลอกเปลือกให้เหลือติดฝัก 1-2 ชั้นแล้วนึ่ง จะได้รส ชาดดีกว่า

- ทุกหลักการ ทุกมาตรการ ทุกเทคโนโลยี จะสัมฤทธิ์ผลก็ต่อเมื่อ “ต้นมีความสมบูรณ์รองรับ” ความสมบูรณ์ของต้น อันดับแรกมาจากดิน อันดับรองมาจากทางใบ

http://www.traphukao.com/articles/57-processing-of-corn
----------------------------------------------------------------

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©