-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 31 MAR *สารสมุนไพร (38)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 31 MAR *สารสมุนไพร (38)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 31/03/2016 6:04 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 31 MAR *สารสมุนไพร (38) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 31 MAR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



สารสมุนไพร (3 8 )
ผลิตพืชอินทรีย์ / สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง

หลักการผลิตพืชอินทรีย์
• ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ในกระบวนการผลิต
• มีการพัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืช และสัตว์
• มีการพัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม
• มีการฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง
• โดยใช้ทรัพยากรในฟาร์ม หมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
• ส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลงที่มีประโยชน์ (ตัวห้ำ ตัวเบียน) เช่น การปลูกพืชให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ และแมลงที่เป็นประโยชน์ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์ม และลดปัญหาการระบาดศัตรูพืช

• เลือกใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและมีความต้านทานต่อโรคและแมลง เจ้าของไร่นา หรือผู้ทำการผลิต มีความพยายามอย่างเต็มที่ในการป้องกันและหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมี และมลพิษจากภายนอก

• สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม ควรได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมตามพฤติกรรมธรรมชาติ ไม่ควรเลี้ยงในที่คับแคบแออัด

• การแปรรูปผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ควรเลือกวิธีการแปรรูปที่คงคุณค่าทางโภชนาการให้มากที่สุด โดยไม่ต้องใช้สารปรุงแต่งหรือใช้น้อยที่สุด

• การผลิตและการจัดการผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ควรคำนึงถึงวิธีที่ประหยัดพลังงานและควรพยายามเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

---------------------------------------------------
สมุนไพรกำจัดโรค-แมลง
กระเทียม ดีปลี พริก มันแกว ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม พริกไทย ยี่โถ ข่า น้อยหน่า ไพล ละหุ่ง คูณ บอระเพ็ด มะรุม ลางสาด ดาวเรือง ผกากรอง มะละกอ เลี่ยน
------------------------------------------------

กระเทียม :
ศัตรูพืช :
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ผัก ด้วงปีกแข็ง ราน้ำค้าง ราสนิม
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. ใช้กระเทียม 1 กก. โขลกให้เป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันเบนซิน 200 ซีซี. ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นน้ำสบู่ ละลายน้ำเล็กน้อยเติมลงไป คนให้เข้ากัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใส ก่อนนำไปใช้เติมน้ำลงไปอีก 20 เท่า หรือประมาณ 5 ปี๊บ (100 ลิตร)

2. บดกระเทียม 3 หัวใหญ่ให้ละเอียด แช่ลงในน้ำมันก๊าดประมาณ 2 วัน แล้วกรองเอาสารละลายมาผสมกับน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ก่อนนำไปใช้ให้เติมน้ำลงไปอีก ครึ่งปี๊บ (10 ลิตร)

3. ใช้กระเทียม 1 กำมือ โขลกให้ละเอียด เติมน้ำร้อนครึ่งลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำ 4 ลิตร เติมสบู่ครึ่งช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน ในตอนเช้า

4. บดกระเทียมแกะกลีบ 1 กำมือ ตากแดดให้แห้งเพื่อนำไปโขลกให้เป็นผง ใช้โรยบนพืชผักที่มีปัญหา โดยโรยตอนพืชผักไม่เปียก
-----------------------------------------------------

ขมิ้นชัน
ศัตรูพืช :
หนอนกระทู้ผัก หนอนผีเสื้อ ด้วงงวงช้าง ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว มอด ไรแดง
สารสำคัญ : เหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ขับไล่และกำจัดแมลงได้หลายชนิด
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. ขมิ้นครึ่งกิโลกรัม ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 1 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1-2 วัน กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง
2. ตำขมิ้นให้ละเอียด ผสมกับน้ำปัสสาวะวัว (ใช้ว่านน้ำตำละเอียดแทนได้) อัตราส่วน 1 ต่อ 2
3. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง ถ้าจะใช้กำจัดหนอนให้เติมน้ำผสมลงไปอีก 6 เท่า
4. บดขมิ้นให้เป็นผง ผสมเมล็ดถั่วในอัตรา ขมิ้น 1 กก. ต่อเมล็ดถั่ว 50 กก.
5. เพื่อช่วยในการเก็บรักษาเมล็ดถั่ว ป้องกันไม่ให้แมลงมาทำลายเม็ดถั่ว
------------------------------------------

ข่า
ศัตรูพืช :
แมลงวันทอง
สารสำคัญ : น้ำคั้นจากเหง้า มีสารดึงดูด สารไล่แมลง สารฆ่าแมลง สามารถไล่แมลงวันทองไม่ให้วางไข่ได้ 99.21% และทำให้โรคใบจุดสีน้ำตาลในนาข้าวหายไป
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำเหง้าแก่สดหรือแห้ง มาบดเป็นผง ละลายน้ำ
2. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง
----------------------------------------------------

คูน
ศัตรูพืช :
หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม ด้วง
สารสำคัญ : เนื้อฝักคูนจะมีสารประเภท Antraquinounes เช่น Aloin, Rhein Sennoside A, B และมี Organic acid สาร Antra quinone มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำฝักคูนมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร
2. หมักทิ้งไว้ 3 – 4 วัน นำมากรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นกำจัดแมลง
-------------------------------------------------

ดาวเรือง
ศัตรูพืช :
เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อ หนอนกะหล่ำ ด้วงปีกแข็ง ไส้เดือนฝอย
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำดอกมาคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำ 3 ต่อ 1 ส่วน กำจัดหนอนใยผักได้ดี
2. นำดอกมาคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำ 1 ต่อ 1 ส่วน กำจัดเพลี้ยอ่อนได้ผลดี
3. นำดอกดาวเรือง 500 กรัม ต้มในน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาแต่น้ำ ไปผสมน้ำเปล่าอีก 4 ลิตร น้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2 วัน
-----------------------------------------------------
ดีปลี
ศัตรูพืช :
แมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำดีปลีไปอบในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส จำนวน 450 กรัม
2. แล้วนำไปบดให้ละเอียด แช่ในแอลกอฮอล์ 1,500 ซีซี หมักทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่น
--------------------------------------------
ตะไคร้หอม
ศัตรูพืช :
หนอนกระทู้ผัก หนอนไยผัก ไล่ยุง / แมลงสาป
สารสำคัญ : มีสาร Verbena oil, Lemon oil, Indian molissa oil มีฤทธิ์ในการไล่แมลง
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. ** สูตรกำจัดหนอน ** นำตะไคร้หอมทั้งต้น มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ บดหรือตำให้ละเอียด
2. ** สูตรสำหรับไล่แมลงและยุง ** นำตะไคร้หอมมาบดหรือตำให้ละเอียด นำไปวางไว้ตามมุมห้องหรือตู้เสื้อผ้า
--------------------------------------------------

น้อยหน่า
ศัตรูพืช :
ตั๊กแตน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยหอย ด้วงเต่า หนอนใยผัก มวน
สารสำคัญ : มีพิษต่อแมลงทางสัมผัส และทางกระเพาะอาหาร
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำเมล็ดน้อยหน่าแห้ง 1 กก. ตำให้ละเอียด ผสมน้ำ 10 ลิตร หมักไว้นาน 24 ชม.
2. ใช้ใบสด 2 กก. ตำให้ละเอียด ผสมน้ำ 10 ลิตร หมักนาน 24 ชม. นำมากรองเอาแต่น้ำ
3. แล้วนำมาผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นทุก 6 - 10 วัน ช่วงเวลาเย็น
--------------------------------------------------

บอระเพ็ด
ศัตรูพืช :
เพลี้ยกระโดดน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ โรคข้าวตายพราย โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวลีบ
สารสำคัญ : ใช้ได้ดีกับนาข้าว รสขมเมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในพืช จะทำให้แมลงไม่ชอบ
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. ใช้เถาหนัก 5 กก. สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทุบให้แหลก แช่ในน้ำ 12 ลิตร นาน 1 - 2 ชม. กรองเอาแต่น้ำฉีดพ่นแปลงเพาะกล้า
2. ใช้เถา 1 กก. สับ หว่านลงไปในแปลงเพาะกล้าขนาด 4 ตารางเมตร
3. ใช้เถาตัดเป็นท่อน ๆ ขนาด 6 - 10 นิ้ว ประมาณ 10 กก. หว่านในนาข้าวพื้นที่ 1 ไร่ หลังปักดำหรือ
หว่านข้าวแล้ว 7 วัน ควรทำอีกครั้งหลังข้าวอายุ 2 เดือน
--------------------------------------------------

ผกากรอง
ศัตรูพืช :
หนอนกระทู้ผัก
สารสำคัญ : เมล็ดมีสาร Lantadene มีผลต่อระบบประสาทของแมลง
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. บดเมล็ด 1 กก. ผสมกับน้ำ 2 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชม. กรองเอาแต่น้ำนำไปฉีดพ่นกำจัดแมลงไม่ให้มาวางไข่ในแปลงผัก
2. ใช้ดอกและใบบดละเอียด หนัก 50 กรัม ผสมน้ำ 400 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมน้ำ 1 : 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง
-----------------------------------------------------

พริก
ศัตรูพืช :
มด เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ ไวรัส ด้วงงวงช้าง แมลงในโรงเก็บ
สารสำคัญ : ผลสุกมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง เมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรา ใบและดอกมีสารยับยั้งการขยายตัวของไวรัส
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำพริกแห้งป่นละเอียด 100 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน
2. กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมน้ำสบู่ 1 : 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่นทุก 7 วัน
3. ควรทดลองแต่น้อย ๆ ก่อน และให้ใช้อย่างระมัดระวังเพราะอาจระคายเคืองต่อผิวหนังของผู้ใช้
4. ใบและดอกของพริก นำมาคั้นผสมน้ำไปฉีดพ่น เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส โดยฉีดก่อนที่จะมีการระบาดของไวรัส
-----------------------------------------------------

พริกไทย
ศัตรูพืช :
มด เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ ด้วยปีกแข็ง หนอนกะหล่ำปลี ด้วงในข้าวไวรัส
สารสำคัญ : น้ำมันหอมระเหย และอัลกาลอยด์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. ใช้เมล็ด 100 กรัม บดละเอียด ผสมน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากัน
2. หมักทิ้งไว้ 24 ชม. กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมแชมพูซันไลต์ 1 หยด
3. ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง ทุกๆ 7 วัน
---------------------------------------------------

ไพล
ศัตรูพืช :
เชื้อรา
สารสำคัญ : ใช้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อราในข้าวบาร์เลย์
วิธีทำ วิธีใช้ :
บดไพลแห้งให้ละเอียด แล้วละลายในแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วนร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก แล้วนำไปฉีดพ่น
---------------------------------------------

มะรุม
ศัตรูพืช :
เชื้อรา แบคทีเรีย โรคเน่า
สารสำคัญ : ในใบจะสารพวกผลึกของอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Pythium debangemum กำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย ได้แก่ โรคโคนต้น และผลเน่าของตระกูลแตง โรคผลเน่าใกล้พื้นดินของมะเขือเทศ โรคเน่าคอดินของคะน้ โรงแง่งขิงเน่า
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำใบมะรุมรูดเอาแต่ใบมาคลุกเคล้ากับดินที่เตรียมไว้ สำหรับเพาะกล้าหรือปลูกพืชผัก
2. ทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ เพื่อให้ใบมะรุมย่อยสลายไปกับดิน
3. สารที่อยู่ในใบของมะรุมจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี
------------------------------------------------

มะละกอ
ศัตรูพืช :
โรคราสนิม โรคราแป้ง
สารสำคัญ : ใบของมะละกอมีสารออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา เช่น โรคราสนิม และโรคราแป้ง
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำใบมะละกอมาหั่นประมาณ 1 กก. แล้วนำไปผสมกับน้ำ 1 ลิตร
2. จากนั้นให้คั้นเอาน้ำและกรองโดยใช้ผ้าขาวบาง แล้วเติมน้ำ 4 ลิตร
3. เติมสบู่ลงไปประมาณ 16 กรัม ละลายให้เข้ากัน แล้วนำไปฉีดพ่น
----------------------------------------------------

มันแกว
ศัตรูพืช :
เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ หนอนกะหล่ำ หนอนใยผัก ด้วงหมัดกระโดด มวนเขียว หนอนผีเสื้อ แมลงวัน
สารสำคัญ : เมล็ดแก่มีสาร Pachyrrhrgin เป็นพิษต่อแมลงทางสัมผัสและทางกระเพาะอาหาร
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำเมล็ดมาบดให้เป็นผง ประมาณ 0.5 กก. ละลายในน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 – 2 วัน
2. ใช้เมล็ดมันแกว 2 กก. บดให้ละเอียด ละลายกับน้ำ 400 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 วัน
3. กรองเอาแต่น้ำ ใช้ฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยและหนอน
---------------------------------------------------

ยี่โถ
ศัตรูพืช :
มด แมลงผลไม้ หนอน
สารสำคัญ : เปลือกและเมล็ดจะมีสาร glycocid, neriodorin ซึ่งมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. ใช้ดอกและใบมาบดให้ละเอียด นำมาผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 10 หมักทิ้งไว้ 2 วัน
2. นำมากรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นกำจัดแมลง ใช้ใบและเปลือกไม้ ไปแช่น้ำนาน 30 นาที
3. นำมากรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง
---------------------------------------------------
ละหุ่ง
ศัตรูพืช :
ปลวก แมงกะชอน ไส้เดือนฝอย หนู
สารสำคัญ : มีประสิทธิภาพในการป้องกันศัตรูพืช
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. เพียงแค่ปลูกละหุ่งเป็นแนวรอบสวนก็สามารถป้องกันหรือขับไล่ศัตรูพืช เช่น แมลกะชอน หนู ปลวก และไส้เดือนฝอย
2. หรือปลูกหมุนเวียนในไร่ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอย
---------------------------------------------------

ลางสาด
ศัตรูพืช :
หนอนหลอดลม
สารสำคัญ : เมล็ดมีสาร Acid Alkaloid ซึ่งเป็นพิษกับแมลงและหนอน
วิธีทำ วิธีใช้ :
นำเมล็ดครึ่ง กก. บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชม. นำมากรองเอาแต่น้ำ ไปฉีดพ่นกำจัดแมลง
---------------------------------------------------

เลี่ยน
ศัตรูพืช :
หนอนกระทู้ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะผลโกโก้ ด้วงงวง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไรแดงส้ม เพลี้ยอ่อนกะหล่ำ หนอนผีเสื้อกะหล่ำ
สารสำคัญ : เปลือกของต้น ใบ ผล เมล็ด มีสารที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง ขับไล่แมลง ยับยั้งการดูดกิน การเจริญเติบโต
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำใบเลี่ยนสด 150 กรัม หรือใบแห้ง 50 กรัม นำมาแช่น้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 24 ชม.
2. นำมากรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง
---------------------------------------------------

ว่านน้ำ
ศัตรูพืช :
ด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้ผัก แมลงวันทอง แมลงในโรงเก็บ ด้วงงวงช้าง ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว
สารสำคัญ : เหง้าจะมีน้ำมันหอมระเหย ชนิด Calamol aldehyde มีพิษต่อระบบประสาทของแมลง
วิธีทำ วิธีใช้ :
1. นำเหง้ามาบดเป็นผง 30 กรัม ผสมกับน้ำ 4 ลิตร หมักทิ้งไว้ 24 ชม. หรือต้มนาน 45 นาที
2. นำมาผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ นำไปฉีดพ่น 2 วัน ๆ ละ 1 ครั้ง

http://www.oknation.net/blog/chawsaun/2008/09/10/entry-1

-----------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©