-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 14 JAN *ฟักทอง-มะขามเทศ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 14 JAN *ฟักทอง-มะขามเทศ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11554

ตอบตอบ: 14/01/2016 11:32 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 14 JAN *ฟักทอง-มะขามเทศ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 14 JAN

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



สายตรง : (083) 729-16xx
ข้อความ : ช่วยพูดเรื่องฟักทอง กับมะขามเทศด้วย ....
ตอบ :
พืชตระกูลเถา กินผล อายุสั้นฤดูกาลเดียว (ฟักทอง-ฟักเขียว-มะระ-แตง-ถั่วฝักยาว-ถั่วพู-มะเขือเทศ-ซาโยเต้-ฯลฯ) พันธุ์พื้นเมืองแท้ๆ หรือพันธุ์ลูกผสมรุ่นเก่า (ไม่ทราบชื่อสายพันธุ์) ช่วง “หน้าหนาว” จะให้ดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย (ตัวผู้ 8 : ตัวเมีย 2) ป้องกันแก้ไขโดย ระยะกล้าได้ใบที่ 8-10 ให้ GA 3 อัตรา 1 ซีซี. /น้ำ 1 ล. 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน จะช่วยปรับให้ดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ (ตัวเมีย 8 ตัวผู้ 2) แต่ถ้าเป็นพันธุ์ผสมรุ่นใหม่ๆ (ไม่ทราบชื่อสายพันธุ์) ไม่มีปัญหาอากาศหนาวต่อการออกดอก หรือดอกดอกได้ตามปกติ

จากโคนเถาถึงลูกแรก O.K. ให้สารอาหาร (ปุ๋ย) ที่โคนเถา.... ถัดจากลูกแรกไปอีก 8 ใบ กดข้อที่เถาให้ตาฝังดิน ข้อตาที่ถูกฝังดินจะเกิดรากใหม่ เลี้ยงต่อไปจะมีดอก เก็บดอกใหม่ ณ ใบที่ 8 ไว้ เลี้ยงให้เป็นลูกอีก ก็จะได้ลูกที่ 2 จากเถาเดิมเดียวกัน

ถัดจากลูกที่ 2 ไปอีก 8 ใบ กดข้อที่เถาให้ตาฝังดิน ข้อตาที่ถูกฝังดินจะเกิดรากใหม่ เลี้ยงต่อไปจะมีดอก เก็บดอกใหม่ ณ ใบที่ 8 ไว้ เลี้ยงให้เป็นลูก ก็จะได้ลูกที่ 3 จากเถาเดิมเดียวกัน

ทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ โดยถือใบที่ 8 เป็นหลัก จากรากไปผล จากผลไปราก ไม่แน่นะ อาจจะได้ฟักทอง 10 ลูก ในเถาหรือต้นเดียวกันก็ได้ .... ใครจะรู้

ทั้งนี้ แต่ละลูกในเถาจะมีรากที่เกิดจากข้อตาฝังดินส่งน้ำเลี้ยงไปให้ รากไหนก็ส่งไปเลี้ยงลูกนั้น เมื่อจะให้สารอาหาร (ปุ๋ย) ก็ให้ตรงรากประจำลูกนั่นแหละ ส่วน ปุ๋ย/ฮอร์โมน ทางใบก็ให้ฉีดพ่นแบบเหมาจ่ายไปเลย

ปล.

ทดลองเอายอดแขนงที่เด็ดออกมา เสียบบนตอ "พลูฝรั่ง" แบบใบใหญ่ซิ ภูมิปัญญาพื้นบ้านเกษตรไทยบอกว่า รากพลูฝรั่งหากินเก่ง จะช่วยเลี้ยงฟักทองให้สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอกติดผลดี .... ก็มีนะ ที่เขาเอายอดแตงโมเสียบบนตอฟักทอง ก็ได้เหมือนกัน .... เขาว่านะ (อย่าเชื่อ)

บำรุง ฟักทอง-แตงกวา-ฟักเขียว-มะระ-แตง-มะเขือเทศ-ถั่ว-ฯลฯ :
ทางใบ :
ให้ ไบโออิ (แม็กเนเซียม. สังกะสี) + ยูเรก้า 412 (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน) สลับ แคลเซียม โบรอน ห่างกันรอบละ 7 วัน
ทางราก :
ใส่ยิบซั่ม, ตราคนกับควาย, กระดูป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14, พรวนดินพูนดินโคนต้น, หญ้าแห้งคลุมสันแปลงหนาๆ, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น .... ฟักทองลูกใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนัก 250 กก. เจ้าของให้เบียร์สดวันละกระป๋อง ของเราให้ สาโท. หรือน้ำซาวข้าวเริ่มเปรี้ยวก็น่าจะได้ รดโคนต้นอาทิตย์ละครั้ง

เทคนิคการช่วยผสมเกสรฟักทอง :

ฟักทองจะมีดอกสีเหลืองทั้งตัวผู้และตัวเมียจะแยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดอกเพศเมียจะเป็นดอกเดี่ยวที่เกิดบริเวณมุมใบ มีกลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกมีสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีลักษณะเหมือนผลฟักทองขนาดเล็ก ส่วนของยอดเกสร เพศเมียมี 2-5 แฉก

การเจริญเติบโตในระยะแรกการแสดงดอกของฟักทองจะแสดงดอกเพศผู้ ส่วนดอกเพศเมียจะมีตั้งแต่ข้อที่ 12-15 ดอกที่เกิดปลายเถาและเถาแขนงมักเป็นดอกเพศเมีย

ดังนั้น จึงต้องการช่วยผสมเกสรโดยวิธีธรรมชาติ เช่น ลมพัด หรือแมลงช่วยผสมเกสร หรือช่วยผสมเกสรเพื่อการติดผลที่ดี เมื่อดอกฟักทองกำลังบาน ให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบดอกออกให้หมด นำไปเคาะละอองเกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย ถ้าติดผลก็จะให้ผล ถ้าไม่ติดผลดอกตัวเมียจะฝ่อไป

ดอกฟักทองจะบานแค่ 1 วัน ในช่วงเช้ามืด พอแดดแรงช่วง 09.00 น. เป็นต้นไป ก็จะเริ่มหุบ หากจะผสมเกสรควรเริ่มผสมในช่วงเช้าๆ เพราะเมื่อบ่ายดอกฟักทองจะเริ่มเหี่ยวแล้วจะเฉา ในวันรุ่งขึ้นดอกก็จะตายไป

ดอกเพศเมียและเพศผู้จะบานในตอนเช้าช่วงเวลา 03.30-06.00 น. อับเรณูจะแตกระหว่างเวลา 21.00-03.00 น. ละอองเรณูจะมีชีวิตอยู่ได้ 16 ชั่วโมง

หลังอับเรณูแตก ยอดเกสรเพศเมียพร้อมรับการผสมเกสรก่อนดอกบาน 2 ชั่วโมง และหลังดอกบาน 10 ชั่วโมง ดังนั้น ช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมในการผสมเกสร คือ ตั้งแต่เวลา 06.00-09.00 น.

– ฟักทองพันธุ์ผลใหญ่ถึงใหญ่มาก 1 ต้นเอาลูกเดียว ถ้าเอา 2-3 ลูก ขนาดจะเล็กลง นั่นหมายความว่า ถ้าต้องการหลายๆลูกในต้นเดียวกัน ก็ให้ช่วยผสมดอกตามจำนวนลูกที่ต้องการ หลักการเลือกดอกผสมแบบหลายดอก เลือก 1 ดอก เว้น 2-3 ดอก

- ดอกที่ได้รับการช่วยผสมจะให้ผลคุณภาพเหนือกว่าดอกที่ผสมเองตามธรรมชาติ
---------------------------------------------------------------------

การเก็บเกี่ยวผลผลิตฟักทอง :

เก็บเกี่ยวเมื่อผลขึ้นนวลเต็มผลตั้งแต่ขั้วไปจนตลอดก้นผล แสดงว่าแก่จัด ฟักทองที่เนื้อเหนียว มัน รสชาติหวานจะต้องแก่จัด ถ้าเก็บฟักทองไม่แก่เมื่อเอาไปทำอาหารเนื้อจะเละ การตัดควรเหลือขั้วติดไว้สักพอประมาณหรือไว้พอจับสะดวกโดย อย่าให้ขั้วหักซึ่งจะส่งผลต่อราคาจะถูกโดยทันที เพื่อช่วยให้การเก็บรักษาได้นานขึ้นสามารถเก็บผลไว้รอขายหรือบริโภคไว้นานๆ โดยไม่ต้องใส่ตู้เย็น หรือสังเกตว่าเถาแห้ง หรือนับอายุหลังจากผสมติดแล้ว 35-40 วัน

หากฟักทองเกิดบาดแผลจะทำให้โรคเข้าทำลาย ผลผลิตเสียหาย หรือเน่าได้ง่ายมาก เกษตรกรต้องเก็บผลผลิตด้วยความระมัดระวัง ไม่เกิดการบอบช้ำ จะทำให้ยืดอายุการเก็บรักษาได้นานหลายเดือน

http://www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=865&section=2
-----------------------------------------------------------

- เกษตรทาง ทีวี. เป็นเพียง NEWS (ข่าว = ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร) เท่านั้น แต่ไม่ใช่ HOWTO (อย่างไร) คนดู ทีวี.ทั่วๆ ไปจะรู้สึกตื่นเต้น เห็นแล้วโอ้โฮ โอ้โฮ แถมบอกนักข่าวเก่งซะอีก แต่คนดู ทีวี.เพื่อการเกษตรจะรู้สึกหงุดหงิด อะไรวะ น่าจะบอกหน่อยนะว่า เขาทำยังไง

- อันดับแรก คือ สายพันธุ์ .... ฟักทองฝรั่ง ฟักทองญี่ปุ่น หรืออาจจะหมายรวมไปถึงฟักทองชาติอื่นๆด้วย เป็นสายพันธุ์เนื้อไม่เหนียว ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมประเพณีในการกินฟักทอง เขาชอบฟักทองเนื้อไม่เหนียว นั่นหมายความว่า เราเอาพันธุ์ฟักทอง ผลใหญ่ยักษ์ ขนาดผลละ 400-500 กก. มาปลูกบ้านเราก็อาจจะ (เน้นย้ำ....อาจจะ) ได้ผลใหญ่ขนาดนั้นบ้างก็ได้แต่เนื้อไม่เหนียวนะ

- เมื่อ 3-4 ปีก่อน มีข่าวฟักทองลูกยักษ์แบบนี้เหมือนกัน ในข่าวบอกว่าเขาบำรุงด้วย “เบียร์สด” วันละ 1 ล. รดโคนต้น ข้อมูลมีแค่นี้เอง

- มาที่ฟักทองไทยบ้าง ฟักทองก็คือฟักทอง นั่นคือ ใช้เบียร์สด (DRAFT BEER) ให้บ้าง รดโคนต้น 3-5-7 /ครั้ง ตลอดอายุผล ครั้งละครึ่งลิตรก็น่าจะพอ

- เบียร์สด ราคาแพง ทำเองดีกว่า ในเมื่อเบียร์กำเนิดทำมาจากข้าวหรือแป้ง แบบนี้ สาโทหรือน้ำขาวที่ยังไม่ได้เอาไปกลั่นก็คือเบียร์สด เพราะทำมาจากแป้งหรือข้าวเหมือนกัน กับถ้าเอาข้าวสารมาซาวน้ำเป็นซาวข้าว ใส่ภาชนะก้นแบน ปล่อยไว้ในอุณหภูมิห้อง รอเวลา 2-3-4-5 วัน น้ำซาวข้าวเริ่มมีกลิ่นเปรี้ยวน้อยๆ นั่นก็คือเบียร์สดเหมือนกัน เอาไปใช้แทนกันได้

ฟักทองภูมิปัญญากะเหรี่ยง :

ปกติฟักทอง 1 เถา ไว้ลูกได้ 1 ลูก ณ ข้อใบที่ 11-12 หากต้องการทำฟักทอง 1 เถา ให้ได้ลูกมากกว่า 1 ลูก ทำได้โดย เก็บลูกปกติ ณ ข้อใบที่ 11-12 แล้ว เลี้ยงจัดเถาให้เลื้อยยาวต่อไปประมาณข้อที่ 15-16 (ต่อจากลูกแรก 3-4 ข้อใบ) ให้กดข้อที่เถาให้จมดิน ข้อนี้จะเกิดรากใหม่ (เรียกว่ารากที่สอง) ในขณะที่เถาเจริญยาวไปเรื่อยๆ พร้อมกับมีดอกมาใหม่เรื่อยๆ หมายตาเอาดอก ณ ข้อใบที่ 11-12 จากรากที่สอง ช่วยผสมเกสรด้วยมือ ให้เถาเจริญยาวต่อไปตามปกติก็ให้กดข้อที่เถาให้จมดิน แล้วจะเกิดรากใหม่อีกเป็นรากที่สาม .... ทำซ้ำรากที่สาม รากที่สี่ ไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่กดเถาให้จมดินก็จะเกิดรากใหม่ ณ ข้อเถาที่จมดินทุกครั้ง .... หลังจากกดข้อเถาให้จมดินจนเกิดรากแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องบำรุงฟักทอง เถา/ต้น นั้น ณ จุดที่มีรากเกิดใหม่เหมือนรากแรกของ ต้น/เถา ทุกประการ

- โครงการหลวงห้วยลึก มูลนิธิโครงการหลวง ศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตแตงกวาญี่ปุ่นเสียบยอดกับต้นตอน้ำเต้า แตงโม ฟักทองพื้นเมือง พบว่าแตงกวาญี่ปุ่นที่มาเสียบยอดให้ผลผลิตดีกว่าแตงกวาญี่ปุ่นไม่ได้เสียบยอด

เทคนิคการเพิ่มขนาดผล :

- ช่วยผสมเกสรด้วยมือ เลือกดอกตัวเมียที่เกิด ณ ข้อใบที่ 11-12 เป็นดอกให้เกิดผล ตัดกลีบดอกทิ้ง รอไว้ .... เลือกดอกตัวผู้ ได้มาแล้วตัดกลีบดอกออก ให้เห็นก้านเกสรตัวผู้ แล้วนำไปใส่หรือผสมลงบนดอกตัวเมีย .... ลักษณะเกสรตัวผู้พร้อมผสม รู้ได้โดยการใช้ปลายนิ้วสัมผัสจะรู้สึกว่าเหนียวติดปลายนิ้ว .... ลักษณะเกสรตัวเมียพร้อมผสม รู้ได้โดยการยกส่องกับแสงแดดจะพบว่าเกสรเป็นมันแวววาว หรือส่องด้วยกล้องส่องเพราะก็จะพบความสดใสแวววาวชัดเจน

- ต้องการฟักทองผลโต เมื่อฟักทองติดผลได้ 5-7 วันแล้ว ให้ตัดยอด ณ ข้อใบที่ 15-20 ของเถาทิ้ง เพื่อให้น้ำเลี้ยงมาเลี้ยงผลได้เต็มที่

ฟักทองเอายอด :

เมื่อ ต้น/เถา เจริญยาวจนได้ข้อใบที่ 10-15 ให้ตัดยอด แล้วบำรุงเรียกยอดใหม่ด้วย “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 20 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 20 ซีซี. + ยูเรีย จี. 1 ช้อนโต๊ะ + เหล็กคีเลต 1 ช้อนกาแฟ” ฟักทองจะแตกยอดใหม่ ณ รอยตัดนั้น 2 ยอด เลี้ยงยอดแตกใหม่ได้ไซส์ตลาดแล้ว ตัดยอดไปขายตามปติ จาก 2 ยอดที่ตัดไปแล้วนี้ก็จะแตกยอดใหม่ 2 ยอด /1 รอยตัด รวมเป็น 4 ยอด ตัดยอดแล้วบำรุงเรียกยอดด้วยสูตรเดิมนี้เรื่อยไป
หมายเหตุ :
- ผักกินยอด ประเภทเถาเลื้อย อายุสั้นฤดูกาลเดียว เช่น ตำลึง มะระ ฟักเขียว ซาโยเต้ ฯลฯ บำรุงด้วยสูตรเรียกยอด สูตรเดียวกันนี้ได้
------------------------------------------------------------------------


มะขามเทศ :
ลักษณะทางธรรมชาติ :

* ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ชอบดินดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ให้ผลผลิตปีละรุ่น ยังไม่พบสายพันธุ์ทะวาย และยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆ บังคับให้ออกนอกฤดูได้

* ช่วงพักต้นต้องการน้ำพอหน้าดินชื้น แต่ช่วงกำลังมีดอก-ผลต้องการน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว ถ้าขาดน้ำเนื้อจะแห้ง รับประทานแล้วฝืดคอ ถ้ามีการให้น้ำสม่ำเสมอเนื้อจะฉ่ำนุ่ม รับประทานได้อร่อยกว่า

* ต้นพันธุ์ดีเสียบยอดบนตอมะขามเทศฝาด แล้วเสริมรากด้วยมะขามเทศฝาดอีก 1-2 ราก นอกจากทำให้มีรากจำนวนมากขึ้น ยังหมายถึงปริมาณสารอาหารที่ส่งไปเลี้ยงต้นได้มากขึ้นแล้ว และช่วยสะสมไนโตรเจน (มะขามเทศเป็นพืชตระกูลถั่ว) ได้มากขึ้นอีกด้วย เมื่อต้นได้รับสารอาหารและไนโตรเจนจากรากเพิ่มมากขึ้นจึงส่งผลให้สมบูรณ์ผลผลิตดีอีกต่างหาก

* อายุต้น 5 ปีขึ้นไป ปริมาณและคุณภาพผลผลิตจะลดลง แก้ไขโดยตัดแต่งกิ่งแบบทำสาว และตัดแต่งราก หลังจากนั้นก็ให้ตัดแต่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ปีละครั้ง

* ออกดอกติดผลจากปลายกิ่งที่แตกใหม่ในปีนั้นเท่านั้น
* กิ่งแขนงที่ออกตามโคนกิ่งของต้นที่สมบูรณ์จริงๆก็สามารถออกดอกติดผลได้
* ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมกันเองในดอกหรือต่างดอกในต้นเดียวกันหรือต่างต้นได้

* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสาร อาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

* เป็นผลไม้ที่ออกสู่ตลาดในฤดูกาลที่ไม่ตรงกับไม้ผลเด่นอื่นๆ ยกเว้นไม้ผลทะวายหรือไม้ผลที่บังคับให้ออกนอกฤดูกาล จึงทำให้มะขามเทศไม่มีคู่แข่งทางตลาดและได้ราคาดี

* ให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้ง และฮอร์โมนไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้ง จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ออกดอกติดผลดี

สายพันธุ์ :

พันธุ์ที่ทางราชการส่งเสริม คือ มะขามเทศฝักใหญ่พันธุ์พระพุทธบาท ปัจจุบันมีพันธุ์เกิดขึ้นใหม่ซึ่งกลายพันธุ์มาจากพันธุ์พระพุทธบาทอีกหลายพันธุ์ จุดเด่นของพันธุ์ดี คือ ใบขนาดใหญ่ ในขณะที่พันธุ์พื้นเมืองใบขนาดเล็ก

เตรียมต้น
ตัดแต่งกิ่ง :

- ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้

- ตัดแต่งเพื่อไม่ให้แตกใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
- ตัดแต่งกิ่งเพื่อเข้าสู่วงรอบการบำรุงให้ได้ผลผลิตให้ตัดแต่งกิ่งพร้อมกับตัดแต่งราก

- ต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกมากๆ (มากกว่า 50% ควรเรียกใบอ่อน 2 ชุด ส่วนต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกไม่มาก (ประมาณ 25-30%) เรียกใบอ่อน 1 ชุดก็พอ

- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- นิสัยการออกดอกของมะขามเทศไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะขามเทศ :
1. เรียกใบอ่อน :
ทางใบ :

- ให้น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ (Mg Zn) 100 ซีซี. + 25-5-5 (200 กรัม) + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม 1 รอบต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล./ไร่ ทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว), 25-7-7 (1/2-1 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. บริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- ต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกมากๆ (มากกว่า 50%) ควรเรียกใบอ่อน 2 ชุด ส่วนต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกไม่มาก (ประมาณ 25-30%) เรียกใบอ่อน 1 ชุดก็พอ

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :

- ให้น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำตามปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารและเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้นกับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- มะขามเทศต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ ฟอสฟอรัส. กับ โปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :

- ให้น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-42-56 (200 กรัม) 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ในรอบ 1 เดือน หาช่วงโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 1-2 เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล./ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว) ให้ 8-24-24 (250-500 กรัม โคนต้นบริเวณทรงพุ่ม) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นหรือฉีดอัดลงดินทุก 1 ตร.ม. บริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น ....ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ด อาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)ได้

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :

ในรอบ 7-10 วัน ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. ห่างกันรอบละ 5-7 วัน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
งดน้ำ เปิดหน้าดินโคนต้น
หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และ “ลด” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)

5. เปิดตาดอก
ทางใบ :

- ให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. +เพิ่ม 13-0-46 (1 กก.) 3-4 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว
หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้น หรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
- อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24(100-200 กรัม)/ต้น อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้นให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
- มะขามเทศเป็นไม้ผลมีนิสัยออกดอกง่าย หากบำรุงต้นได้สมบูรณ์เต็มที่ก็สามารถออกดอกเองได้

6. บำรุงดอก
ทางใบ :

- ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (200 กรัม) + เอ็นเอเอ.100 ซีซี. + แคล เซียม โบรอน 100 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกิน ไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้ แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น "ฮอร์โมนน้ำดำ ไบโออิ และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรค และแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอสามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

7. บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :

- ให้น้ำ 100 ล.+ จิ๊บเบอเรลลิน 100 ซีซี. 2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, นำหญ้าแห้งใบไม้แห้งกลับเข้าคลุมโคนต้นเหมือนเดิม

- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-5-5 (250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำแบบค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆ ของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเริ่มติดหรือหลังกลีบดอกร่วง...ระยะนี้ฝักมีรูปร่างแบนๆ เรียกว่า "ฝักดาบ" แนว ทางบำรุงด้วยจิ๊บเบอเรลลินจะช่วยให้ฝักยาว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายขนาดฝักในช่วงบำรุงขั้นต่อไป

- ระยะผลเล็กหรือฝักเล็กหรือฝักดาบ การบำรุงแบบเน้นจิ๊บเบอเรลลินหมายถึง การใส่เพิ่มให้ไปพร้อมกับธาตุรอง/ธาตุเสริมตัวอื่นๆ หรือแยกให้เฉพาะจิ๊บเบอเรลลินเดี่ยวๆโดยเฉพาะก็ได้

8. บำรุงผลกลาง (ระยะขึ้นรูป) :
ทางใบ :

ให้น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 50 ซีซี. 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล./ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว) + 21-7-14 (250-500 กรัม ให้โคนต้นบริเวณทรงพุ่ม) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มนูน เรียกว่า "ขึ้นรูป"
- วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)
- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ ไบโออิ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผล

9. บำรุงผลแก่
ทางใบ :

- ให้น้ำ 100 ล. + 0-0-50 (200 กรัม) หรือ 0-21-74 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- มะขามเทศต่างจากผลไม้อื่นๆที่ระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวจะต้องให้น้ำตามปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อยเพื่อให้เนื้อฉ่ำน้ำ เมื่อรับประทานจะไม่ติดคอหรือฝืดคอ (รับประทานมะขามเทศเนื้อแห้งๆเหมือนกับรับประทานขนมโก๋) ในขณะที่ผลไม้อื่นต้องงดให้น้ำเพื่อทำให้เนื้อแห้งและกรอบ

- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับมะขามเทศที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกติดผลเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกได้

- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ ไบโออิ กับ แคลเซียม โบรอน. เดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์อยู่เสมอซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตคุณภาพดี

------------------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©