-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปลูกไผ่หวานในสวนทุเรียน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปลูกไผ่หวานในสวนทุเรียน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
baoyai
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 30/11/2014
ตอบ: 10
ที่อยู่: ปลายพระยา,กระบี่

ตอบตอบ: 21/06/2015 4:29 pm    ชื่อกระทู้: ปลูกไผ่หวานในสวนทุเรียน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม......

ผมมีปัญหาอยากจะได้คำแนะนำจากคุณลุงครับ คือ ทุเรียนสวนผมมีปัญหาโรคโคนเน่า รากเน่าครับ

ผมพอรู้มาว่า "รากไผ่" กรมพัฒนาที่ดิน ได้นำไปทำเชื้อไตรโคเดอร์มา
ผมจึงมีความคิด ว่าจะปลูกไผ่ (อาจจะเป็นไผ่หวาน) ในระหว่างแถวทุเรียน

คุณลุงช่วยให้คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ให้เกษตรมือใหม่อย่างผมด้วยครับ


ขอบคุณครับ.........


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 22/06/2015 7:32 pm    ชื่อกระทู้: ทุเรียนในดงไผ่หวาน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม คุณ Baoyai และสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน


ผมติดตามอ่านเรื่องทุเรียนของคุณอยู่ เพราะน่าสนใจ
....ตั้งแต่ที่คุณตั้งกระทู้ 4372 เรื่องที่คุณเอาทะลายปาล์ม(Palm)จากการเพาะเห็ดมาคลุมโคนต้นทุเรียน รายละเอียดข้อมูลตามนี้

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4732

มาคราวนี้ คุณเปิดกระทู้ใหม่ (5022) ถามลุงคิมว่า จะปลูกไผ่หวานในสวนทุเรียน อันเนื่องมาจาก ทุเรียนสวนของคุณมีปัญหาโรคโคนเน่า รากเน่า

แล้วคุณก็รู้มาว่า "รากไผ่" กรมพัฒนาที่ดิน ได้นำไปทำเชื้อไตรโคเดอร์มา คุณจึงมีความคิด ว่าจะปลูกไผ่ (อาจจะเป็นไผ่หวาน) ในระหว่างแถวทุเรียน

เรื่องทั้งหมดนี้ คุณให้ข้อมูลลุงคิมไม่หมด เนื่องจากข้อมูลอยู่คนละกระทู้... เพราะสาเหตุที่ทุเรียนรากเน่า โคนเน่า อาจจะมีส่วนเกี่ยวเนื่องมาจาก การที่คุณเอาทะลายปาล์มจากการเพาะเห็ดที่ยังย่อยสลายไม่หมด มาคลุมโคนต้นทุเรียน จึงอาจมีเชื้อโรคเน่าเกิดขึ้นในทะลายปาล์มที่กำลังย่อยสลาย

สำหรับรากไผ่ ที่กรมพัฒนาที่ดินเอามาทำเชื้อไตรโคเดอร์มานั้น คุณรู้ดีแล้วหรือว่า เค้าใช้ไผ่หวานหรือไผ่อะไรเอามาทำเชื้อ...ไผ่มันมีเป็นร้อย ๆ ชนิด แล้วเค้าใช้รากจากไผ่กอเล็กหรือกอใหญ่แค่ไหน เค้าเอารากตรงส่วนไหนมาใช้


อยากให้คุณอ่านคำถามของคุณ และ คำตอบของลุง ในกระทู้นี้อีกครั้ง แล้วนำมาปะติดปะต่อกัน

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4732

จากนั้นลองพิจารณาว่าสาเหตุของทุเรียนที่โคนเน่า รากเน่า มันมาจากอะไร คุณทำอะไรผิดพลาดไปตรงไหน

เพราะเมื่อผมอ่าน นำข้อมูลมาผสมผสานกันแล้ว คำตอบในสิ่งที่คุณทำผิดพลาดมันอยู่ในกระทู้นั่นแหละ แล้วก็ทุเรียน เมื่อรากเน่า โคนเน่าแล้ว ผมว่ามันแก้ไขยากนะครับ

ทั้งหลายแหล่ในสิ่งที่คุณรู้มานั้น มันถูกในหลักการ แต่วิธีที่คุณทำมันไม่ถูก เพราะคุณจับแพะชนแกะ แล้วคิดของคุณเองว่า มันต้องเป็นอย่างนั้น มันต้องเป็นอย่างนี้ เช่น จากกระทู้ 4372 คุณบอกว่า

แต่ที่ทะลายปาล์มที่ผมใช้ มีเส้นใยขาว ไม่มาก เปี่อยยุ่ยแล้ว คิดว่าไม่น่าจะส่งผลให้ทุเรียนเกิดโรค

คุณคิดของคุณเองว่า ไม่น่าจะส่งผลให้ทุเรียนเกิดโรค แต่เวลานี้มันเกิดโรคโคนเน่า รากเน่า...โรคนี้มันมาจากไหนล่ะครับ

แล้วก็....คุณบอกตอนท้าย ว่า
การกระตุ้นการเกิดรากใหม่ของทุเรียน ในการจัดการให้ต้นทุเรียนกระทบแล้ง เพื่อกระตุ้นการออกดอกนั้น รากฝอยบางส่วนจะถูกทำลายและผุแห้งไป เพื่อให้ทุเรียนฟื้นตัวได้เร็ว หลังการออกดอกควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และกระตุ้นให้รากงอกออกมาใหม่ โดยใช้เศษซากพืช มาคลุมบริเวณใต้ทรงพุ่ม (แต่ใช้ทะลายปาล์มแทน...)

และใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-30-15 ที่มีธาตุอาหารเสริมอัตรา 60 กรัม ฮิวมิค แอซิด 100 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร (หรืออาจใช้ปุ๋ยปลาหมักอัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 50 ลิตรแทนก็ได้) ราดบริเวณใต้ทรงพุ่มให้ทั่วสัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 2-3 ครั้งจะช่วยในการเกิดรากใหม่ดีขึ้น


คุณทำตำราเป๊ะๆ โดยไม่คำนึงถึงทุเรียนของคุณเลยแม้แต่น้อยว่า มันใช้ได้กับทุเรียนของคุณหรือเปล่า..

..ระหว่าง ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-30-15 ที่มีธาตุอาหารเสริมอัตรา 60 กรัม + ฮิวมิค แอซิด 100 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร กับ ใช้ปุ๋ยปลาหมักอัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 50 ลิตรแทนก็ได้ ราดบริเวณใต้ทรงพุ่มให้ทั่วสัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 2 - 3 ครั้ง

ระหว่างปุ๋ยสูตรกับปุ๋ยปลา มันก็คือปุ๋ย แต่เป็นปุ๋ยคนละเรื่องเดียวกันเลยนะครับ แต่ก็คงพออนุโลมเรียกว่า เคมีนำ อินทรีย์เสริม แต่จะเป็นตามความเหมาะสมของทุเรียนหรือเปล่านั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ก็แบบที่ลุงคิมพูด
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง


ความจริง มันเป็นคำถามเรื่องทุเรียน คุณถามต่อจากในกระทู้ 4372 ก็น่าจะได้ ไม่จำเป็นต้องเปิดกระทู้ใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้เรื่องมันต่อเนื่องกัน คุณก็จะได้คำตอบในเรื่องเดียวกันที่ชัดเจนขึ้น

คนเราไม่มีใครเก่งไปซะทุกเรื่องหรอก...บางทีเรื่องง่ายๆ ก็อาจกลายเป็นเรื่องยากได้ เพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ก็เป็นได้……หวังว่าทุเรียนของคุณคงจะได้รับการแก้ไขให้อยู่ในสภาพดีขึ้นนะครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/06/2015 7:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4700
ไตรโคเดอร์ม่า กำจัดไฟธอปเทอร์ร่า รากเน่า โคนเน่า

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4983
ใช้ไตรโคเดอร์มา ใช้ไปแล้ว 2 ครั้งไม่ดีขึ้น ต้นโคนเน่ามากขึ้น


ปล.
ผมพอรู้มาว่า "รากไผ่" กรมพัฒนาที่ดิน ได้นำไปทำเชื้อไตรโคเดอร์มา ....
ตอบ : ไม่มีข้อมูล




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/06/2015 8:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
19. เคล็ดลับสู่ความสำเร็จการฟื้นฟูทุเรียนต้นโทรม

โรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนที่เกิดจากเชื้อไฟทอปธอร่า (Phytopthora palmivora) นับเป็นโรคสำคัญ ที่ทำความเสียหายแก่สวนทุเรียนเป็นอย่างมาก และนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในฤดูกาล ที่มีฝนตกชุกติดต่อกันเป็นเวลานาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิธีการป้องกันกำจัดโรคอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้สารเคมีชนิดต่างๆ หรือการใช้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมก็ตาม แต่ก็ไม่มีวิธีการใดที่จะช่วยลดปริมาณ การระบาดของโรค นี้ลงได้อย่างถาวร

นอกจากนั้นต้นทุเรียนที่เคยเป็นโรค และผ่านการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว เมื่อมีสภาวะแวดล้อม ที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคก็จะแสดงอาการอีกทำให้เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดโรคในแต่ละปี เป็นจำนวนมาก สุดท้ายเมื่อไม่สามารถจะควบคุมโรคนี้ได้ ก็ปล่อยให้ต้นทุเรียน ทรุดโทรมและตายไป แล้วเปลี่ยน ไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น เงาะ มังคุด สะละ เป็นต้น หรือหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน

ดังนั้นหากปล่อย ให้สถานการณ์เป็นอยู่เช่นนี้ อาชีพการทำสวนทุเรียนที่เคยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และเป็นสินค้าส่งออก นำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 1,000 ล้านบาท ก็คงจะถึงกาลอวสานลงในไม่ช้านี้ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทุเรียนในหลาย สาขาวิชามาอย่างต่อเนื่อง ได้นำเอาเทคนิคและวิธีการเสริมสร้างความสมบูรณ์ต้น การอารักขาพืช และวิธีการจัดการ สวนทั้งระบบมาผสมผสานกันเป็น 4-3-5 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จเพื่อป้องกันกำจัด และฟื้นฟูทุเรียนต้นโทรม จากการเข้าทำลาย ของเชื้อไฟทอปธอร่า 4 สำคัญ ในการป้องกันกำจัด และฟื้นฟูทุเรียนต้นโทรม ได้แก่

1. กำจัดเชื้อที่เกิดในส่วนต่างๆ ของต้น
2. ควบคุมปริมาณเชื้อในดิน
3. เพิ่มความสมบูรณ์ของต้น
4. ปรับเปลี่ยนสภาพสวนไม่ให้เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรค

4 หลักการสำคัญข้างต้น เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การละเลยหรือปฏิบัติตามไม่ครบถ้วน จะทำให้โอกาสในการป้องกันกำจัด และฟื้นฟูสภาพต้นทุเรียนที่โทรมเนื่องจากการทำลายของเชื้อไฟทอปธอร่า ประสบผลสำเร็จมีน้อย หรือไม่มีโอกาสประสพความสำเร็จเลย 3 เคล็ดลับ ที่นำไปสู่ความสำเร็จ ได้แก่

เคล็ดลับที่ 1 : รู้ปัญหาเร็ว
เคล็ดลับที่ 2 : แก้ไขทันเวลา
เคล็ดลับที่ 3 : ใช้วิธีการถูกต้อง

ทั้ง 3 เคล็ดลับนี้ เกษตรกรจะต้องนำมาใช้ให้ถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว เนื่องจากโรครากเน่าและโคนเน่า ของทุเรียนที่เกิดจากเชื้อไฟทอปธอร่า จะมีการระบาดที่รวดเร็วมาก โดยเฉพาะเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ต่อการเกิดโรค เช่น มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน มีความชื้นสูง 5 เทคนิค ในการป้องกันกำจัดและฟื้นฟูทุเรียนต้นโทรม

เทคนิคที่ 1
สังเกตประเมินอาการต้นและตำแหน่งที่เป็นโรค ในสวนทุเรียนที่มีจำนวนต้นมากนั้น เป็นไปได้ยากที่เกษตรกรจะสามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิดทุกต้น ดังนั้นเกษตรกรจำเป็นต้องอาศัยการสังเกตอาการ ของต้นทุเรียนที่เป็นโรค ซึ่งอาการที่สังเกตพบมักสัมพันธ์กับการเข้าทำลายของโรคในแต่ละส่วนต่างๆ ของต้นดังนี้

โรคเข้าทำลายระบบราก ถ้าเกิดที่รากใหญ่ ต้นทุเรียนจะแสดงอาการใบหมองซีด สีใบไม่สดใส ถ้าอาการรุนแรงมากใบจะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองทั้งต้น และเริ่มหลุดร่วงจากบริเวณปลายกิ่งก่อน มักเป็นอาการเรื้อรังที่เกิดขึ้นซ้ำซากทุกปี แต่ถ้าเกิด ที่รากตะขาบหรือรากฝอย ต้นทุเรียนจะแสดงอาการยอดแห้ง ใบหมองไม่สดใส

โรคเข้าทำลายลำต้นบริเวณคอดิน ต้นทุเรียนจะแสดงอาการใบหมอง ไม่สดใสใบตกในช่วงกลางวันคล้ายอาการขาดน้ำ ถ้าอาการรุนแรง (โรคเข้าทำลายเกือบรอบต้นบริเวณคอดิน) ใบจะแห้ง ตายนึ่งและยืนต้นตาย

โรคเข้าทำลายต้นและกิ่ง ต้นทุเรียนมีใบเหลืองเป็นบางกิ่ง เมื่อตรวจดูใกล้ๆ จะพบเปลือกไม้บริเวณที่เป็นโรคมีสีเข้มกว่าปกติ เป็นแผลเน่ามีน้ำเยิ้มในเวลาเช้า เมื่อขูดเปลือกออกจะพบเนื้อไหม้เป็นสีน้ำตาล

โรคเข้าทำลายใบ ใบทุเรียนจะดำช้ำ ตายนึ่งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เป็นอาการที่แสดงออกอย่างฉับพลันภายใน 3 วัน ใบจะ ไหม้แห้งและแห้งคาต้น ระบาดมากในช่วงที่ฝนตกชุกต่อเนื่องหลายวัน


เทคนิคที่ 2
กำจัดเชื้อในตำแหน่งที่เกิดโรค เมื่อตรวจพบการทำลายของโรคจะต้องรีบกำจัดเชื้อในตำแหน่ง ที่เกิดโรคนั้นทันที โดยจัดการดังนี้

พบอาการโรคบริเวณรากและคอดิน
1. ใช้สารเมทาแลคซิล อัตรา 100-200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ กรดฟอสฟอริค อัตรา 50-100 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ออกซาไดซิล + แมนโคเซ็บ อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดดินใต้ทรงพุ่มทุก 15 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง เพื่อกำจัดและยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อในตำแหน่งที่เป็นโรค หรือ

2. ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับติลิส (Bacillus subtilis) อัตรา 80 กรัม ต่อพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 1 ตร.ม. ผสมน้ำราดบริเวณคอดินและใต้ทรงพุ่ม ซึ่งจะให้ผลดีถ้าดินมีความชื้นสูง หรือ

3. ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา (Trichoderma harzianum) อัตรา 50 กรัม ต่อพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 1 ตร.ม. หว่านให้ทั่วทรงพุ่ม เพื่อควบคุมและยับยั้งการระบาดของโรคในระยะยาว (เชื้อราจะเจริญได้ดีในดินที่มีความชื้นปานกลาง ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน 5-7 และมีอินทรียวัตถุสูง )

พบอาการโรคบริเวณลำต้นและกิ่ง
1. หากพบอาการเล็กน้อยให้ถากส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด และทาแผลด้วยสารเคมีคอบเปอร์ออกซี่คลอไรด์ อัตรา 30-80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือทาด้วยปูนแดง หากมีอาการรุนแรงให้ขูดเฉพาะผิวเปลือกออกบางๆ แล้วทาด้วยสารเคมี เมทาแลคซิล อัตรา 50-60 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร เพื่อให้สารเคมีมีโอกาสสัมผัส กับเชื้อและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี

2. หากพบอาการที่ลำต้นและกิ่งในตำแหน่งสูงๆ ใช้กรดฟอสฟอริค อัตรา 10 ซีซี. ต่อน้ำสะอาด 10 ซีซี. ฉีดเข้าลำต้นจำนวน 1 เข็มต่อครั้งต่อปี เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นเล็กกว่า 8 นิ้ว และ 2-3 เข็มต่อครั้งต่อปี เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นมากกว่า 8 นิ้วพบอาการโรคบริเวณใบ ตัดและทำลายกิ่งที่มีใบเป็นโรคทันทีเมื่อพบอาการโรค ระวังไม่ให้ใบร่วงหล่นใต้ทรงพุ่ม จากนั้นตรวจ และ กำจัดเชื้อที่ลำต้นและกิ่งที่เป็นจุดแพร่เชื้อถ้าระบาดมาก (มักระบาดในช่วงฝนตกต่อเนื่อง) และฝนหยุดตก (ฟ้าเปิด) ทำการฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นด้วยสารเคมีเมทาแลคซิล อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สารเคมี อีฟอไซท์อลูมินั่ม 80 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือกรดฟอสฟอริค อัตรา 5 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร


เทคนิคที่ 3
ตรวจสอบผลการกำจัดโรคตามเทคนิคที่ 2 หากยังพบการเข้าทำลายของโรคต้องเลือกวิธีกำจัด ที่เหมาะสมกับอาการของโรคอย่างถูกต้อง และต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความสำเร็จ


เทคนิคที่ 4
เสริมสร้างความสมบูรณ์ต้น ด้วยการใส่ปุ๋ยทางดินที่มีสัดส่วนของ N-P-K เป็น 1:1:1 เช่น สูตร 16-16-16 หรือ สูตร 15-15-15 แต่ถ้าต้นโทรมมากอาจเสริมด้วย

1. สารอินทรีย์สำเร็จรูป เช่น กรดฮิวมิค และสารสกัดจากสาหร่ายทะเล เป็นต้นอัตรา 100 ซีซี. + ปุ๋ยเกล็ดทางใบ สูตร 15-30-15 ที่มีธาตุรองและธาตุปริมาณน้อย อัตรา 60 กรัม ผสมรวมกันในน้ำ 20 ลิตร ราดดินให้ทั่วใต้ทรงพุ่มทุก 7 วัน ติดต่อกัน 3-5 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดรากใหม่ หรือ

2. ฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบ ซึ่งประกอบด้วย กรดฮิวมิค 20 ซีซี. + สารอาหารสำเร็จรูปที่มี คาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลัก 20 ซีซี. + ปุ๋ยเกร็ดทางใบ สูตร 15-30-15 หรือ 20-20-20 ที่มีธาตุอาหารรองและธาตุปริมาณน้อย 60 กรัม ผสมรวมกันในน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง เพื่อ เสริมสร้างความสมบูรณ์ต้นอย่างรวดเร็ว


เทคนิคที่ 5
ปรับเปลี่ยนสภาพสวนไม่ให้เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรค โดย
1. ตัดแต่งกิ่งเพื่อทำให้ทรงพุ่มโปร่ง โดยตัดกิ่งมุมแคบ กิ่งแห้ง และกิ่งที่เบียดกันออก
2. ขุดร่องระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจากโคนต้น และสวนทุเรียนในช่วงฤดูฝน
3. นำหน้าดินมาถมบริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันมิให้น้ำขังโคนต้น โดยเฉพาะบริเวณคอดิน

4. ปรับความเป็น กรด-ด่าง ของดินให้ได้ประมาณ 6.5-7 ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของเชื้อ ไฟทอปธอราแต่เป็นช่วงที่ธาตุอาหารในดินสามารถละลายได้ดี และเป็นประโยชน์ต่อพืชมาก

5. กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น และอย่าปล่อยให้ต้นวัชพืชขึ้นสูงเกินไป โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนเพราะจะทำให้ บริเวณใต้ทรงพุ่มมีการถ่ายเทอากาศไม่ดี และแสงส่องเข้าไปได้ไม่ทั่วถึง เป็นเหตุให้เชื้อโรคเข้าทำลายต้นทุเรียนได้อีก

6. ไม่นำสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น วัว ควาย เป็นต้น หรือเครื่องจักรกลขนาดใหญ่เข้าสวนทุเรียนในช่วงเวลา ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน เพราะจะทำให้ระบบรากเสียหายเชื้อเข้าทำลายได้ง่าย


สรุป
หัวใจสำคัญของการป้องกันกำจัด และฟื้นฟูทุเรียนต้นโทรมจากเชื้อไฟทอปธอร่าให้ประสบผลสำเร็จนั้น เกษตรกรจะต้องเข้าใจ 4 สำคัญ ได้แก่ การกำจัดเชื้อที่เกิดในส่วนต่างๆ ของต้นควบคู่ไปกับการควบคุมปริมาณเชื้อในดิน ในขณะเดียวกันก็ต้องจัดการเสริมสร้างความสมบูรณ์ของต้น และปรับเปลี่ยนสภาพสวนไม่ให้เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรค

นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องรู้ปัญหาเร็ว แก้ไขปัญหาทันเวลา และใช้วิธีการถูกต้องซึ่งเป็น 3 เคล็ดลับ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ 5 เทคนิคของการป้องกันกำจัดและฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

การสังเกตประเมินอาการต้นและตำแหน่งที่เกิดโรคอย่างถูกต้อง
การกำจัดเชื้อในตำแหน่งที่เกิดโรคที่ได้ผล ตรวจสอบ ผลการกำจัดโรค และเลือกวิธีกำจัดโรคได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ร่วมกับการเสริมสร้างความสมบูรณ์ต้น และปรับเปลี่ยนสภาพสวนไม่ให้เอื้อต่อการระบาดของโรค

ดังนั้น 4-3-5 นี้จะเป็นเลขเด็ดที่จะช่วยกอบกู้สวน ทุเรียนให้รุ่งเรืองต่อไป




it.doa.go.th/durian/detail.php?id=621&PHPSESSID...


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
baoyai
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 30/11/2014
ตอบ: 10
ที่อยู่: ปลายพระยา,กระบี่

ตอบตอบ: 25/06/2015 12:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

ขอขอบคุณ ที่ติติงและแสดงความคิดเห็นมาครับ

สวนทุเรียนที่ผมเพิ่งมาดูแล มีการใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดวัชพืชมาตลอดครับ

ผมคิดว่าจะ ปรับสภาพดินด้วยโดโลไมค์ก่อน แล้วหาพืชมาปลูกอิงกัน เพื่อลดสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค จึงมองมาที่ "ไม้ไผ่ " ครับ

ส่วนเรื่อง การนำทะลายปาล์มคลุมรอบทรงพุ่มทุเรียนในช่วงแล้ง แล้วทำปุ๋ยหมักในตัว นั้น ผมทดลองแบ่งเป็นโซนครับ คลุมห่างจากต้นประมาณ 2 เมตร ทุเรียนตอบสนองดีมากครับ อาจจะใช้เวลาในการฟื้นตัวสักนิด (แต่จะคอยสังเกต โรคที่อาจจะเกิดใหม่ นะครับ)

ต้องขออภัยนะครับ ไม่ค่อยถนัดหน้าคอม หากท่านมีข้อมูล,ข้อคิดเห็น,ติชมเพิ่มเติม น้อมรับครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©