-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 22 SEP *หลง-หลินลับแล, อินทผลัม.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 22 SEP *หลง-หลินลับแล, อินทผลัม.

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/09/2014 11:46 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 22 SEP *หลง-หลินลับแล, อินทผลัม. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ทางรายการวิทยุ 22 SEP

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : (084) 331-47xx
ข้อความ : คุณลุงคะ ทุเรียนหลงลับแลปลูกที่เมืองลับแลคุณภาพดีมาก เอาพันธุ์กิ่งตอนมาปลูกที่ตราด อายุต้น 4-5 ปี ให้ผลผลิตทุกปี แต่ทำไมคุณภาพไม่ดีเหมือนที่ลับแล แก้ไขได้ไหมคะ อยากให้คุณลุงเล่าประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับทุเรียนให้ฟังบ้างค่ะ .... ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
- ปัญหามีให้แก้ ไม่มีให้กลุ้ม .... แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ดีกว่าแก้ที่ปลายเหตุ ....
- ไม้ผล ปลูกอะไรก็ได้ที่ ราคาต่อ กก.แพงๆ. เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. คนนิยม .... ยุคนี้ยุคหน้า คิดเป็น-ทำเป็น-แปรรูปเป็น-รวมกลุ่มเป็น-ขายเป็น อยู่ได้เพราะมีพลังในการสร้างตลาด กะรวยคนเดียวไปไม่รอดเพราะไม่มีพลังสร้างตลาด

- ที่น้ำตกเกริงกระเวีย สังขละบุรี กาญจนบุรี ทุเรียนหลงลับแล ลูกละโลกว่า ราคาโลละ 100 บาท ปลูกเองขายเอง .... จันทบุรี ปราจีนบุรี มีหลายสวนที่ปลูกหลงลับแล หลินลับแล แม้ว่าหมอนทองจะเป็นพันธุ์ที่ขายที่ดีสุด แต่กบชายน้ำปลูกไว้ล่ารางวัล พันธุ์ขายดีอย่างพวงมณี ก็มีปลูก ทุเรียนเหล่านี้ มักจะถูกจับจองกันตั้งแต่ยังไม่สุก นั่นหมายความว่า จ.ตราด ปลูกได้แน่นอนเกิน 100%

- ทุเรียน คือ ทุเรียน สายพันธุ์หนึ่งปลูกได้ อีกหลายๆสายพันธุ์ก็ต้องปลูกได้ ถ้าปัจจัยพื้น ฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์/โรค O.K. ด้วยกัน

– บำรุงทุเรียนแบบ เคมีนำ อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสมของทุเรียน (เน้นย้ำ.... ตามความเหมาะสมของทุเรียน) ที่ว่า เคมีนำ หมายถึง ปุ๋ยเคมี ซึ่งเกี่ยวพันไปถึง “ปริมาณ-สูตร-ประเภท” ของสารอาหารที่ไม้ยืนต้นระดับราชาแห่งผลไม้อย่างทุเรียนพึงได้รับ

- ธรรมชาติของต้นไม้ต้องการสารอาหาร (ปุ๋ย) อายุต้น 1 ปี ต้องการปุ๋ย 1 กก. /ปี ถ้าอายุต้น 10 ปี ก็ต้องการปุ๋ย 10 กก. /ต้น /ปี นั่นคือ เฉลี่ยให้เดือนละ 1 กก. .... เทคนิคการให้ปุ๋ย ½ กก. /ต้น /15 วัน ได้ผลดีที่สุด ดีกว่าการให้ 1 กก. /ต้น /เดือน และให้ 3 กก. /ต้น /3 เดือน (อ้างอิง : งานวิจัย ดร.สัทฤทธิ์ เฟื่องจันทร์ ม.ขอนแก่น)

– นอกจาก ปริมาณปุ๋ย/สูตรปู๋ย/ชนิดปุ๋ย แล้ว ปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับปุ๋ยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ “ดิน/น้ำ” ซึ่งในดินต้องมีอินทรีย์และจุลินทรีย์ กับน้ำในระดับชื้น (ชื้น ชุ่ม โชก แฉะ แช่) สม่ำเสมอ

- ตามหลักวิชาการบอกว่า “ให้น้อยบ่อยครั้ง ตรงเวลา” เหมือนคนกินข้าววันละ 3 มื้อ ถ้าใครเอาข้ามาให้กินอาทิตย์ละครั้ง วันนี้เอามาให้ 21 มื้อแล้วอีก 7 วันจึงจะเอามาให้ใหม่ แบบนี้กินไม่ทันเพราะข้าวบูดเน่าก่อน แต่ถ้าเอามาให้มื้อต่อมื้อ ย่อมดีกว่า ฉันใดก็ฉันนั้น ต้นพืชก็เช่นกัน คนขายปุ๋ยมักบอกว่า ใส่ไปเลย ใส่เยอะๆ ต้นไม้ต้นพืชจะได้มีกินตลอดเวลา เขาตื่นขึ้นมาเมื่อไหร่จะได้มีกินเมื่อนั้น ....

- ธรรมชาติของพืช .... กลางคืน กินอาหารทางรากจาก “ล่างขึ้นบน” เอาไปรวมที่ใบ .... กลางวัน ได้แสงแดด สังเคราะห์ที่ใบแล้วส่งจาก “บนลงล่าง” ไปยังส่วนต่างๆของต้น

เมื่อกี้นี้เปรียบเทียบอาหารคน คนกินไม่ทัน อาหารบูดเน่า ปุ๋ยเคมีที่ใส่ให้ต้นไม้ก็เหมือน กัน ใส่ลงไปครั้งละมากๆ ต้นไม้เอาไปกินไม่ทัน ปุ๋ยจะทำปฏิกิริยาเคมีในดิน เช่น ไนโตรเจนกลายเป็นไนไตร์ท/ไรเตรท, ฟอสฟอรัส ไปยับยั้งปุ๋ยตัวอื่น กับอีกหลายปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้ปุ๋ยตัวนั้นเปลี่ยนรูปไปจากเดิม เรื่องนี้มีงานวิจัยชัดเจนอยู่แล้ว

- ปุ๋ยทางรากต้นได้รับ 6-7 ส่วน ปุ๋ยทางใบต้นได้รับ 3-4 ส่วน
*** สมการปุ๋ย .... ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง .... ปุ๋ยถูก หมายถึง ถูกสูตร ถูกปริมาณ ถูกชนิด ทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวปุ๋ย .... ใช้ถูก หมายถึง ถูกวิธี ถูกสภาพดิน ถูกอินทรีย์ วัตถุ ถูกจุลินทรีย์ ถูกปริมาณน้ำ ถูกสภาพอากาศ ถูกกับทุกอย่างที่เป็นปัจจัยเกี่ยวข้องกับปุ๋ย ***

- ในธรรมชาติ ไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ .... ในธรรมชาติมีทั้ง ความเหมือนบนความต่าง ความต่างบนความเหมือน .... ไม้ 2 ต้นอยู่เคียงกัน ปฏิบัติบำรุงอย่างเดียวกัน แต่ผลรับออกมาไม่เหมือนกัน

.... ปุ๋ยทางราก : ต้องมีสภาพดินรองรับ
- ทุเรียนนนทบุรี เป็นดินประเภท “น้ำไหลทรายมูล” เกิดจากน้ำพัดพาดินมาทับถมกันนานนับร้อยๆปี ที่ความลึก 2 ม. ยังมีเศษซากใบไม้ให้เห็น นั่นคือ อินทรีย์วัตถุเศษซากพืชพร้อมด้วยจุลินทรีย์จำนวนมหาศาล

- ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. (แม็กเนเซียม. สังกะสี. แคลเซียม . กำมะถัน), ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ทุก 3-4 เดือน, หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว + ปุ๋ยเคมีสูตรตามระยะ (1 กก.ต้นเล็ก, 2 กก.ต้นกลาง, 3 กก.ต้นใหญ่ถึงใหญ่มาก) เดือนละครั้ง ละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

- ปุ๋ย P. มักเกิดการตกค้างในดินเนื้องจากต้นเอาไปใช้ไม่ได้ สาเหตุเพราะ มากเกิน หรือ ดินไม่เหมาะสม (ขาดจุลินทรีย์, ค่า พีเอช.) ทำให้ P. ไปตรึงปุ๋ยตัวอื่นๆ ไม่ปล่อยให้ต้นเอาไปกินไปใช้ได้อีก ผลสุดท้ายคือ ทุเรียนต้นนั้นไม่ได้รับสารอาหาร ทั้งที่ใส่ให้แล้วก็ตาม แนวทางแก้ไขคือ ปรับสภาพโครงสร้างของดินอยู่เสมอ ให้น้อยแต่บ่อยครั้ง ลดอัตราให้ทางรากแต่ให้ทางใบแทน

- รากฝอยหาอาหารอยู่ที่หน้าดินตื้นๆ (รากลอย) จึงควรพูนโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆ กระจายเต็มพื้นที่ทรงพุ่มปีละ 1 ครั้ง หลังจากคลุมโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆจะพบว่ามีรากทุเรียนจำนวนมากเจริญแทรกอยู่ในอินทรีย์วัตถุนั้น เป็นรากที่สมบูรณ์ ใหญ่ อวบ ดีมาก

.... ปุ๋ยทางใบ : ต้องมีความสมบูรณ์ต้นรองรับ
- จับหลักการบำรุงทุเรียน สไตล์สถานีพืชสวนพลิ้ว จันทบุรี เป็นพื้นฐาน เหลือแต่ว่า ปุ๋ย/ฮอร์โมน ทางใบทางรากที่ใช้นั้น ซื้อหรือทำเอง เท่านั้น

– สร้างความสบูรณ์สะสมด้วย แม็กเนเซียม. สังกะสี. แคลเซียม โบรอน.
– น้ำตาลทางด่วน ไบโออิ + กลูโคส, แคลเซียม โบรอน + คลูโคส

– ระหว่างมีผลบนต้น การควบคุมใบอ่อนที่เกิดใหม่ โดยตัดแต่งใบ ณ ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมออกไป เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยง และไม่ทรำทรงพุ่มแน่นทึบ กับคงเหลือใบ ณ ตำแหน่งที่เหมาะสมไว้ เพื่อสร้างน้ำเลี้ยงบำรุงผล

- มาตรการส่งเสริมให้แมลงเข้าผสมเกสร หรือเกสรได้รับการช่วยผสมด้วยคน ผลที่เกิดจะเป็นผลที่สมบูรณ์ คุณภาพดี .... เกสรทุเรียนพร้อมรับการผสมตอนค่ำ (19.00-21.00) แมลงธรรมชาติที่จะมาช่วยผสมเกกสรได้มีเพียง “ชันโรง กับค้างคาวกินน้ำหวาน” เท่านั้น

- ผลที่เกิดจากการเกสรในดอกเดียวกันผสมกันเอง มักมีลักษณะบิดเบี้ยว คดงอ เป็นพูหลอก และแคระแกร็น ส่วนผลที่เกิดจากการช่วยผสมด้วยมือมักเป็นผลที่สมบูรณ์และคุณภาพดี


@@ บำรุงทุเรียน แบบ เคมีนำ อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสมของทุเรียน :
- สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน น่าจะ (เน้นย้ำ....น่าจะ) เป็นเครื่องทุ่นแรงโดยการ “ให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ หรือ ให้ปุ๋ยทางท่อ” ที่มีประสิทธิ
ภาพในการทำงานต่อต้นทุเรียนเหนือกกว่าเครื่องทุ่นแรงแบบอื่นๆ กล่าวคือ มีหัวสปริงเกอร์ทั้ง เหนือยอด-กลางทรงพุ่ม และโคนต้น แบบพ่นฝอย

.... หัวสปริงเกอร์เหนือยอด กับในกลางทรงพุ่ม เป็นหัวแบบพ่นฝอย สำหรับงานให้ “ปุ๋ย/ยา” โดยเฉพาะ

.... หัวสปริงเกอร์โคนต้น เป็นหัวพ่นเม็ดน้ำใหญ่ขึ้น สำหรับงานให้ “ปุ่ย/ยา” ทางดินหรือทางรากโดยเฉพาะ

.... ระหว่าง หัวสปริงเกอร์เหนือยอด กลางทรงพุ่ม กับหัวสปริงเกอร์โคนต้น นั่นคือ วางระบบคู่ มีวาวล์แยก จะให้ทางใบก็เปิดวาวล์ทางใบปิดวาวล์ทางราก จะให้ทางรากก็เปิดวาวล์ทางรากปิดวาวล์ทางใบ

.... บางครั้งอาจจะเปิดพร้อมกันทั้งสองทางเลยก็ได้ถ้าต้องการ ทั้งนี้อยู่ที่รูปแบบการวางท่อส่งน้ำ


* เกร็ดความรู้เรื่องทุเรียน (จากหนังสือ ไม้ผลแนวหน้า) :
- เป็นไม้ผลยืนต้นทรงพุ่มกว้างสูงใหญ่อายุยืนนับร้อยปี ปลูกได้ทุกภาคของประเทศ ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดีในเขตภาคกลางได้แก่ กทม. นนทบุรี นครนายก .... เขตภาคตะวันออกได้แก่ ปราจีนบุรี ระยอง ตราด จันทบุรี ... เขตภาคใต้ได้แก่ ชุมพร พังงา นครศรีธรรมราช สงขลา ....ภาคเหนือได้แก่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก .... แม้แต่ศรีสระเกษ. กาญจนบุรี. ก็ปลูกทุเรียนได้ดี

- ชอบเนื้อดินหนา ลึก 1.5-2 ม. ระดับน้ำไต้ดินลึก ถ้าระดับน้ำใต้ดินตื้น เมื่อรากเจริญยาวลงไปถึงน้ำจะเกิดอาการใบไหม้แห้ง ต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะแตกใบชุดใหม่ ไม่นานใบชุดใหม่ก็จะไหม้แห้งอีก เป็นอย่างนี้จนกระทั่งยืนต้นตาย .... แนวทางแก้ไข ให้ปลูกต้นตอด้วยการเพาะเมล็ดเสริมราก เมื่อต้นตอและต้นรากเสริมเจริญเติบโตดีแล้วจึงเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดี กรณีนี้รากแก้วจากต้นตอและรากแก้วจากต้นเสริมรากจะช่วยแก้ปัญหาระดับน้ำไต้ดินตื้นได้

- ชอบน้ำสะอาด เมื่อคิดจะปลูกทุเรียนต้องแน่ใจว่ามีน้ำสะอาดสำหรับทุเรียนตลอดไป ทุเรียนนนทบุรีส่วนใหญ่ยืนต้นตายเพราะสาเหตุน้ำเสียจากโรงงานหรือชุมชน

- ชอบแสงแดด 100% การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดส่องได้ทั่วภายในทรงพุ่มสามารถช่วยกำจัดเชื้อราที่เกาะกินเปลือกลำต้นทำให้เปลือกสะอาด...ออกดอกติดผลที่ท้องกิ่งใหญ่และตามลำต้นเช่นเดียวกับ ชมพู่ ขนุน ลองกอง ลางสาด มะไฟ ตาดอกที่ใต้ผิวเปลือกสะอาดไม่มีเชื้อราจับจะทำให้ได้ดอกสมบูรณ์ แต่หากมีเชื้อราเกาะจับตามผิวเปลือก เชื้อราก็จะแย่งอาหารจากตาดอกทำให้ดอกไม่ออกหรือออกมาก็ไม่สมบูรณ์

- ทุเรียนอยู่คู่กับทองหลาง (พืชตระกูลถั่ว)ได้ดีมาก ให้ปลูกทองหลางแซมแทรกระหว่างต้น ช่วงแรกเพื่อใช้ทองหลางเป็นพี่เลี้ยง เมื่อทุเรียนโตขึ้นก็ให้พิจารณาตัดกิ่งใบทองหลางออกบ้างเพื่อไม่ให้บังแสงแดดทุเรียน....รากทองหลางสามารถตรึงไนโตรเจนไปไว้ในตัวเองได้ เมื่อรากทองหลางอยู่กับรากทุเรียน ทำให้ทุเรียนได้ไนโตรเจนจากรากทองหลางไปด้วย

- ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า (ไฟธอปเทอร่า) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ น้ำขังค้างโคนต้น ดินเหนียวจัดระบายน้ำไม่ดี อุ้มน้ำมากเนื่องจากฝนตกชุก สะสมยาฆ่าหญ้าและสารเคมีจำกัดโรคและแมลง

- รากฝอยหาอาหารอยู่ที่หน้าดินตื้นๆ (รากลอย) จึงควรพูนโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆ กระจายเต็มพื้นที่ทรงพุ่มปีละ 1 ครั้ง หลังจากคลุมโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆจะพบว่ามีรากทุเรียนจำนวนมากเจริญแทรกอยู่ในอินทรีย์วัตถุนั้น เป็นรากที่สมบูรณ์ ใหญ่ อวบ ดีมาก

- ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า (ไฟธอปเทอร่า) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ น้ำขังค้างโคนต้น ดินเหนียวจัดระบายน้ำไม่ดี อุ้มน้ำมากเนื่องจากฝนตกชุก สะสมยาฆ่าหญ้าและสารเคมีจำกัดโรคและแมลง

- รากฝอยหาอาหารอยู่ที่หน้าดินตื้นๆ (รากลอย) จึงควรพูนโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆ กระจายเต็มพื้นที่ทรงพุ่มปีละ 1 ครั้ง หลังจากคลุมโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆจะพบว่ามีรากทุเรียนจำนวนมากเจริญแทรกอยู่ในอินทรีย์วัตถุนั้น เป็นรากที่สมบูรณ์ ใหญ่ อวบ ดีมาก

- มีการวิจัยพบว่าดินในสวนไม้ผลภาคตะวันออกส่วนใหญ่ มักจะขาด ไนโตรเจน. โพแทสเซียม. แคลเซียม. แมกนีเซียม. เหล็ก. แมงกานีส. และสังกะสี. โดยพบอาการขาดสังกะสี.มากที่สุด ส่วนธาตุฟอสฟอรัส.นั้น สวนไม้ผลส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยชนิดนี้มากเกินกว่าความต้องการของพืช แต่มิได้หมายความว่าสวนไม้ผลทั้งหมดจะขาดธาตุดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น เพราะดินแต่ละแห่งมีธาตุอาหารที่พืชจะดูดไปใช้ได้ไม่เท่ากัน สวนแต่ละสวนมีประวัติการใส่ปุ๋ยและการจัดการดินที่แตกต่างกัน

- การจัดการธาตุอาหารพืชให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน การจัดการที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะสิ้นเปลืองเงินค่าปุ๋ยแล้ว ยังทำให้เกิดผลเสียในระยะยาวต่อพืช วิธีที่ดีที่สุดคือ การใช้ค่าวิเคราะห์ดินและพืชมาช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ

------------------------------------------------------------


จาก : (082) 379-11xx
ข้อความ : ขอบคุณลุงคิมมากที่พูดถึงวิธีปลูกปลูกอินทผลัม ฉันปลูกไว้ 150 ต้น ตอนนี้อายุได้ 2 ปีกว่าแล้ว คาดว่าปีหน้าคงได้ลูก อยากให้ลุงคิมบอกวิธีผมเกสรด้วยค่ะ .... ฉะเชิงเทรา
ตอบ :
เดือนมกราคมอินทผลัมจะเริ่มทยอยแทงจั่นดอก ต้นหนึ่งอาจมีจั่นดอกประมาณ 5-11 ช่อ ควรทำการตัดหนามบริเวณโคนของทางใบออกเพื่อสะดวกในการผสมเกสร ลักษณะของจั่นดอกตัวผู้และเมียมีความแตกต่างกันโดย.... จั่นดอกผู้จะมีลักษณะป้อม อ้วน โป่งตรงกลางค่อนข้าง มาก .... จั่นดอกเมียจะมีลักษณะ ผอม เพรียว และบางกว่า

ใช้เวลาอีกประมาณ 3 สัปดาห์จั่นที่เห็นนั้นก็แตกออก ดอกที่อยู่ภายในจั่นจะเริ่มบาน โดยทยอยบานทุกๆ 5 วัน ดอกตัวเมียจะมีลักษณะเป็นเมล็ดกลมคล้ายลูกปัดร้อยเรียงเป็นพวง ส่วนดอกตัวผู้มีลักษณะฟูคล้ายหางกระรอก ต้องตัดเก็บเกสรตัวผู้โดยตัดจากช่อดอกของต้นตัวผู้ที่มีอยู่ในสวนเก็บไว้ เพราะจั่นดอกจากต้นผู้และเมียอาจแตกออกไม่พร้อมกัน ให้ตัดเก็บใส่ถุงพลาส ติกใว้ โดยไม่ต้องมัดปากถุง แล้วนำไปแขวนในที่ๆอากาศถ่ายเทดี เกสรผู้สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน

เมื่อจั่นดอกต้นตัวเมียแตกออกให้นำเกสรตัวผู้ที่ตัดเก็บใว้มาทำการผสมกับช่อดอกตัวเมียแต่เช้า โดยการนำช่อดอกผู้เขย่าเบาๆใส่ช่อดอกเมีย เมื่อมีดอกผู้มากและเพียงพอต่อดอกเมียแล้วจึงเสียบช่อดอกใว้ด้วยกันปล่อยให้ผึ้งและแมลงต่างๆมาช่วยผสมซ้ำอีกครั้ง ฤดูผสมเกสรจะเสร็จสิ้นลงประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากติดผลแล้ว 3 สัปดาห์ ทะลายที่ติดผลจะค่อยๆ โน้มห้อยลงมาใต้ทางใบทำให้ผลไม่เสียดสีกับหนามเมื่อลมพัด และสะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วย

ผลอินทผลัมที่ได้จากการผสมเกสรด้วยวิธีนี้จะติดผลหนาแน่นและค่อนข้างดก แต่หากไม่ช่วยผสมเกสรและปล่อยใว้ให้เป็นไปตามธรรมชาติจะติดผลน้อยและบางตา เข้าใจว่าผึ้งและแมลงต่างๆที่ช่วยผสมเกสรตามธรรชาติมีจำนวนน้อย เพราะพื้นที่ข้างเคียงมีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ทำให้แมลงที่ดีต้องตายไปด้วย แต่หากปล่อยช่อดอกตัวเมียใว้ต่อไปพบว่า เมื่อผลแก่ขึ้น ขนาดผลจะใหญ่กว่าแบบที่เราช่วยผสมเกสรให้ค่อนข้างมาก

http://www.datepalmthai.com/phsm_kesr.html


เมื่อ เกสรตัวผู้ออกช่อและแก่เต็มที่แล้ว ใช้ถุงพลาสติคครอบที่จั่นเกสรตัวผู้ทั้งหมด แล้วเขย่าให้เกสรหล่นลงในถุงพลาสติค ละอองเกสรตัวผู้จะมีสีขาวออกเหลือง ลักษณะเป็นผงคล้ายแป้งมัน จากนั้นจึงนำไปผสมกับช่อเกสรตัวเมีย หากในช่วงนั้นเกสรตัวเมียยังไม่แก่จัดหรือยังไม่ออก เราสามารถเก็บละอองเกสรตัวผู้นี้ไว้ในตู้เย็นได้นานหลายเดือน ในการผสมเกสรตัวผู้ให้กับช่อดอกตัวเมีย ทำได้โดยใช้ช้อนชาตักเกสรตัวผู้ประมาณครึ่งช้อนชา เทลงในถุงพลาสติคขนาดเล็กที่สามารถครอบจั่นของช่อดอกตัวเมียได้ จากนั้นจึงนำถุงพลาสติคเล็กที่มีละอองเกสรตัวผู้นั้น ครอบทั้งจั่นช่อดอกเพศเมีย เขย่าถุงไปมา จะทำให้ละอองเกสรเพศผู้ปลิวไปติดละอองเกสรเพศเมีย ซึ่งจะมีเมือกเหนียวที่บริเวณเกสรเพศเมีย ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการช่วยผสมเกสรนี้ เวลาประมาณ 10.00 น. จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จะเกิดเป็นตุ่มเล็กๆ สีเขียว หลังจากช่วยการผสมพันธุ์แล้ว ระยะต่อไปจะเจริญเติบโตเป็นผลอินทผลัมรับประทานได้ภายใน 5-7 เดือน ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละต้น ควรช่วยผสมเกสรตัวเมียแบบนี้ทุกๆ จั่น รับรองว่าได้ผลผลิตที่ดกจำนวนมาก แต่หากปล่อยให้ติดผลมากเกินไป จะได้ผลที่เล็ก ควรตัดแต่งผลบ้าง เพื่อจะได้ผลที่ใหญ่มากขึ้น

http://www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10297


การผสมเกสรอินทผลัม :
การปลูกอินทผลัมให้ประสบความสาเร็จ นอกจากการคัดเลือกพื้นที ให้เหมาะสมแล้ว สิ่งที สาคัญอีกประการหนึ่งคือ การผสมเกสร เนื่องจากอินทผลัมเป็นพืชที่มีเกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้อยู่คนละต้นกัน เรียกง่ายๆ ว่า ต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย หากปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรม ชาติที่เกิดขึ้นโดยลมหรือแมลงนั้น จะทาให้ได้ผลผลิตน้อยและไม่สมบูรณ์เต็มที ดังนั้น การช่วยผสมเกสรให้ได้ผลผลิตมากนั้นจะต้องใช้เทคนิคช่วยในการผสมเกสร

วิธีการเก็บเกสรตัวผู้ของอินทผลัม :
จะต้องเก็บเกสรเพศผู้สารองไว้ก่อน ในระยะออกดอกให้สังเกตจั่นที่แทงออกมา เมื่อจั่น แตกจะเห็นดอกข้างใน เป็นดอกที่มีกลีบดอกเป็นแฉกคล้ายหางกระรอก ใช้ถุงพลาสติคคลุมยอดดอกทั้งหมด แล้วเขย่าเพื่อให้ละอองเกสรดอกตัวผู้หล่นอยู่ในถุง จากนั้นจึงไล่อากาศภายในถุงออกให้หมด ปิดปากถุงให้แน่นแล้วนาไปเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อรอเวลานำไปผสมกับเกสรตัวเมีย

การผสมเกสรตัวเมียของอินทผลัม :
ต้นตัวเมียจะออกจั่นเหมือนเพศผู้ แต่เวลาจั่นแตกดอกของดอกตัวเมียจะมีดอกเป็นช่อเม็ดกลมๆ เมื่อจั่นเริ่มแตกให้นำละอองเกสรตัวผู้ที่เก็บสารองไว้ในตู้เย็นนั้นมาผสมกับเกสรตัวเมีย ใช้เกสรตัวผู้ใส่ในถุงพลาสติก ประมาณ 1/3 ช้อนชา ต่อ 1 ช่อดอกตัวเมีย ใช้เกสรตัวผู้ที่แยกใส่ถุงพลาสติกครอบช่อจั่นตัวเมียแล้วเขย่าให้ละอองเกสรตัวผู้ฟุ้งกระจายและติดกับเกสรตัวเมีย ทำซ้าๆ เช่นนี้ประมาณ 1-2 วัน ก็จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมาก ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการช่วยผสมนี้ควรเป็นช่วงเช้า เนื่องจากเป็นเวลาที่อากาศไม่ร้อนจัดและความชื้นในอากาศมีน้อย

http://www.narathiwat.doae.go.th/province/songserm_news/2556/052.pdf

---------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©