-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 9 MAR ......... *เขียวเสวยยางไหล, *ที่นาจะปลูกอ้อย, *มะลิใม่ออกดอก, *ปลูกพริกชี้ฟ้า, *มะนาวหน้าแล้ง, *ปรับปรุงดินเหนียว, *ปุ๋ยตะไคร้, *มะม่วงน้ำดอกไม้, *อ้อยก้าวหน้า, *ปุ๋ยคอก+ปุ๋ยเคมี
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 9 MAR ......... *เขียวเสวยยางไหล, *ที่นาจะปลูกอ้อย, *มะลิใม่ออกดอก, *ปลูกพริกชี้ฟ้า, *มะนาวหน้าแล้ง, *ปรับปรุงดินเหนียว, *ปุ๋ยตะไคร้, *มะม่วงน้ำดอกไม้, *อ้อยก้าวหน้า, *ปุ๋ยคอก+ปุ๋ยเคมี

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/03/2014 9:23 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 9 MAR ......... *เขียวเสวยยางไหล, *ที่น ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 9 MAR

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต,
ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะม่วงเขียวเสวยยางไหล แก้ไขอย่างไร .... ?
ตอบ :
- อาการยางไหลที่ลำต้นเกิดได้ในไม้ยืนต้นทุกชนิดพันธุ์ สาเหตุมาจาก “ขาดธาตุรอง/ธาตุเสริม” อย่างรุนแรง

- ในมะม่วงมักเกิดกับสายพันธุ์เขียวเสวยมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เมื่อรู้ว่าขาดธาตุรองธาตุเสริม ก็แก้ไขด้วยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม เท่านั้นแหละ

- ธาตุรอง ได้แก่ แคลเซียม. แม็กเนเซียม. กำมะถัน....ธาตุเสริม ได้แก่ เหล็ก. ทองแดง. สังกะสี. แมงกานิส. โมลิบดินั่ม. โบรอน. ซิลิก้า, โซเดียม. .... มีทั้งประเภทให้ทางราก และให้ทางใบ, มีทั้งชนิด ผง/เม็ด และน้ำ

@@ การปฏิบัติ :
- ให้ทางราก : ใส่ยิบซั่ม, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกบดิบ ผสมกันหว่านบริเวณทรงพุ่ม พรวนดิน พูนดิน คลุมทับด้วยหญ้าแห้งหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง, รดด้วยน้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหาร 2 เดือน/ครั้ง .... ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

- ให้ทางใบ : ฉีดพ่นธาตุรอง/ธาตุเสริม (มีขายตามท้องตลาด) เดือนละ 1 ครั้ง จนกว่าอาการยางไหลจะหาย

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ที่ดิน 70 ไร่ เคยทำนา อยากปลูกอ้อย ต้องบำรุงดินอย่างไร
ตอบ :
- ไม่ยาก ถ้าเข้าใจอ้อย ยากมากๆ ภ้าไม่เข้าใจอ้อย .... รู้เรื่องอ้อยให้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเกิดจะเกิดผล ... ปลูกอ้อยตามใจอ้อย ไม่ใช่ตามใจคน .... ทำตามคนที่ทำอ้อยแล้วล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า ทำตามคนที่ทำอ้อยแล้วประสบความสำเร็จจะสำเร็จยิ่งกว่า .... วังขนายทำอ้อยได้ 100 ตัน/ไร่, มิตรผลทำอ้อยได้ 50 ตัน/ไร่, คนของลุงคิม ทำอ้อยที่ค่านมะขามเตี้ยได้ 32 ตัน/ไร่ ที่สวนผึ้ง ทำอ้อยตอ 8 ใช้ปุ๋ย 8-24-24 ไม่ถึง 1 กส. ได้ 14 ตัน/ไร่

- ทำนาข้าวตลอดปีได้ขาย 2 รุ่น ทำเป็นขายเป็น ได้ไร่ละ 50,000 /รุ่น ทำ 2 รุ่นได้ 100,000 /ไร่ .... ถามว่า ทำไมไม่ทำต่อไป ?

- ทำอ้อยตลอดปีได้ขาย 1 รุ่น อ้อยตอ 1 ฝนดีได้ 12 ตัน/ไร่, ตอ 2 ฝนดีได้ 6 ตัน/ไร่, ตอ 3 ฝนดีได้ 3 ตัน/ไร่ .... ถามว่า ทำไมผลผลิตจึงลดลงๆ ?

@@ ทำอ้อยแบบก้าวหน้า ตอ 1 ได้ 20-30 ตัน /ไร่ (ลงทุน เตรียมดิน เตรียมแปลง เตรียมพันธุ์), ตอ 2-3-4-5-6-7-8-9-10 (ไม่ต้องเตรียมดิน ไม่ต้องเตรียมแปลง ไม่ต้องเตรียมพันธุ์ = ต้นทุน ฟรี ! ) ได้ 20-30 ตัน/ไร่ .... ดังนี้ :

** เตรียมดิน เตรียมแปลง :
.... ไถดะ ไถแปร ไถพรวน ชักร่อง
.... รดด้วยน้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหารและจุลินทรีย์ 2 ล. +น้ำมากๆ รดทั่วสันร่อง ใส่น้ำจนเต็มร่อง บ่มทิ้งไว้ 15-20 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ประสภาพโครงสร้างดิน

.... ปลูกท่อนพันธุ์
.... ให้น้ำเต็มร่อง เป็นการให้น้ำครั้งที่ 1

** บำรุง :
.... ให้น้ำครั้งที่ 1 หลังปลูกไม่เกิน 3 วัน, ให้น้ำครั้งที่ 2 อ้อยเริ่มย่างปล้อง, ให้น้ำครั้งที่ 3 และ 4 อ้อยโตแล้ว

.... ให้ “น้ำ (ปริมาณตามความเหมาะสมและจำเป็น) + น้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหารและจุลินทรีย์ 2 ล. + 8-24-24 (2 กก.) ให้เต็มร่องระหว่างแถวปลูก
... หาโอกาสให้ แมกเนเซียม. สังกะสี. ทางใบเป็นครั้งคราว

** บำรุงอ้อยตอ : .... หลังเจียนตอเสร็จไม่เกิน 3 วัน ให้ “น้ำ (ปริมาณตามความเหมาะสมและจำเป็น) + น้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหารและจุลินทรีย์ 2 ล. + 8-24-24 (2 กก.) ให้เต็มร่องระหว่างแถวปลูก .... หลังเจียนตอไม่เผาใบอ้อยเด็ดขาด เพื่อไม่ให้รากถูกทำลาย และรากจะช่วยให้แตกหน่อใหม่จำนวนมาก นี่คือเหตุผลที่ทำให้อ้อยตอ 2-3-4-5- มีจำนวนต้นเกิดใหม่มาก ส่งผลให้ผลผลิตมากขึ้นโดยอัตโนมัติ .... ตรงกันข้าม หลังตัดอ้อยแล้วเผาใบอ้อย เท่ากับทำลายราก ทำให้ไม่มีรากสร้างหน่อใหม่ ผลที่ได้รับก็คือ จำนวนต้นน้อยลง ผลผลิตก็ต้องน้อยลงด้วยเป็นธรรมดา

.... หลังเจียนตอไม่เกิน 3 วัน ให้น้ำครั้งครั้ง 1 “น้ำ (ปริมาณตามความเหมาะสมและจำเป็น) + น้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหารและจุลินทรีย์ 2 ล. + 8-24-24 (2 กก.) ให้เต็มร่องระหว่างแถวปลูก จากนั้นให้น้ำครั้งที่ 2, 3 และ 4 เหมือนอ้อยตอแรกทุกประการ

.... หาโอกาสให้ แมกเนเซียม. สังกะสี. ทางใบเป็นครั้งคราว

**** ต้อง การผลิตเพิ่ม/ต้นทุนลด ต้องให้น้ำ ในแปลงไม่มีน้ำต้องไปหาน้ำจากที่อื่นมาให้ ถ้าไม่ให้น้ำก็ไม่ได้ผลลผลิต

**** อ้อย 10 ไร่ ให้น้ำ 4 รอบ ได้ผลผลิต 20-30 ตัน/ไร่ รวม 200-300 ตัน/ไร่ /รุ่น .... อ้อย 50 ไร่ ไม่ให้น้ำ ได้ผลผลิต 5 ตัน/ไร่ รวม 250 ตัน/ไร่

**** คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ : อ้อยตอ 1 ต้นทุน : เตรียมแปลง + เตรียมดิน + เตรียมพันธุ์ + น้ำ ผลผลิตที่ได้ + ตอต่อๆ ๆๆ ไป กับ อ้อยตอ 2-3-4-5-6- ต้นทุน “น้ำอย่างเดียว” ผลผลิตที่ได้

--------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะลิหน้านาวบำรุงใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น ถึงหน้าหนาวออกดอกน้อย
ตอบ :
- มะลิไม่เหมือน กุหลาบ ดางเรือง เมื่อแตรียมความพร้อมต้นดีแล้ว ถ้าเป็น
ช่วงอากาศปกติ มะลิก็จะออกดอกเอง แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าหนาวต้องช่วยเปิดตาดอกด้วยสูตร “กระชากตาดอก” ถึงจะออก.... โดย :

- ตัดยอด (ต้นเล็กตัดสั้น ต้นโตตัดยาว)
- กระชากตาดอก “น้ำ 20 ล. + ฮอร์โมนไข่ที่มีส่วนผสมหลัก 0-52-34 + 13-0-46 (20 ซีซี.) +เพิ่ม 13-0-46 (2 ช้อนโต๊ะ)” ทุก 5-7 วัน จนกว่าจะออกดอก

--------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ปลูกพริกชี้ฟ้าทำอย่างไร ..... ?
ตอบ :
- เตรียมดิน เตรียมแปลง : ไถดะ ไถแปร ใส่ยิบซั่ม, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบพรวนดิน. รดด้วยน้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหารอินทรีย์ เคมี และจุลินทรีย์, คลุมแปลงด้วยหญ้แห้งหนาๆ บ่มดิน 15-20 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพโครงสร้างดินก่อน

– ปลูกกล้าพริกที่เตรียมไว้พร้อมแล้ว

** บำรุงพริก :
** ทางใบ : ให้ฮอร์โมนไข่สูตรที่มีสารอาหารอินทรีย์ + เคมี (0-52-34 + 13-0-46 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม) 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ

** ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรที่มีทั้งสารอาหารอินทรีย์ และเคมี (8-24-24)
– ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

--------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะนาวหน้าแล้ง ราคาแพงมาก ทำอย่างไร ..... ?
ตอบ :
- เข้าสู่ “8 ขั้นตอนบำรถงไม้ผล” ..... 1. เรียกใบอ่อน, 2. สะสมตาดอก, 3.
ปรับ ซี/เอ็น เรโช, 4. เปิดตาดอก, 5. บำรุงดอก, 6. บำรุงผลเล็ก, 7. บำรุงผลกลาง, 8. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว

– มะนาวหน้าแล้ง คือ มะนาวที่เก็บผลผลิตได้ช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย. ....ต้องวางแผนบำรุงตาม “8 ขั้นตอนฯ” ให้ต้นมี “ความสมบูรณ์สะสม” เปิดตาดอกได้ปลายเดือน ส.ค. แล้วให้ออกดอกในเดือน ต.ค. .... ดอกมะนาวออกต้น ต.ค. จะเก็บได้ต้น เม.ย.,
ดอกมะนาวออกปลาย ต.ค. จะเก็บได้ผลาย ต.ค.

– เดือนนี้ต้น มี.ค. ต้องการให้ผลมะนาวบนต้นที่มีอยู่ ณ วันนี้ซึ่งยังไม่แก่ ให้แก่เก็บได้กลาง เม.ย. ให้บำรุงทางใบด้วยสูตร “เร่งผลแก่” โดยฉีดพ่น “น้ำ 20 ล. + 0-21-74 (2-3 ช้อนโต๊ะ) ให้ทั่วทรงพุ่ม 2 รอบ ห่างกันรอยละ 5-7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บ 5-7 วัน กับให้ทางรากด้วย 13-13-21 หรือ 8-24-24 (2-3 กำมือ/ต้น) ให้น้ำละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำจนถึงเก็บผล .... สูตรนี้ผลจะไม่โตขึ้น แต่เนื้อในจะเป็นเหมือนผลแก่ปกติ .... เก็บผผลหมดแล้วกลับมาบำรุงผลเล็กรุ่นหลังด้วยสูตร “บำรุงผล” ตามปกติ

- เข้าหน้าแล้งมะนาวในตลาดลูกละ 16 บาท ขณะที่มะนาวหน้าสวนลูกละ 6 บาท ถามว่า ส่วนต่างตรงนี้ไปอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร

--------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ดินเหนียว ดินแน่น หน้าดินแห้ง ปรับปรุงอย่างไร
ตอบ :
- เหมือนดินที่ไร่กล้อมแกล้มเป๊ะ นี่แหละ “ดินปราบเซียน” ละ เอาน่า มีดินให้ปรับผปรุงดีกว่าไม่มีดินให้ปรับปรุง

– ดินเหนียว ดินแน่น คือ ดินที่ไม่มีอินทรีย์วัตถุ แก้ไขด้วยการใส่อินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดิน ลงไป ได้แก่ เศษซากพืช ปุ๋ยคอก ยิบซั่ม ใส่มากใส่น้อยขึ้นอยู่กับ “ต้นทุน” ความเหนียวความแน่นของเนื้อดิน

– หน้าดินแห้ง คือ ดินไม่มีน้ำ แก้ไขด้วยการให้น้ำ ให้ มาก/น้อย ขึ้นอยู่กับความต้องการของพืช และน้ำต้นทุนในดิน

- ดินที่ดี คือ ดินที่มี อินทรีย์วัตถุ ควมชื้น จุลินทรีย์ สภาพโครงสร้าง โปร่ง ร่วนซุย น้ำ และอากาศผ่านสะดวก

- การทำให้ดินดีต้องความลึกเท่าที่พืชที่ปลูกต้องการด้วย .... ไม้ผลยืนต้นควรมีความลุก 1.5-2 ม. พืชล้มลุกมีความลึก 0.5-1 ม. .... การปฏิบัติ : ใส่อินทรีย์วัตถุ (ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ) ใส่น้ำหมักชีวภาพ แล้วไถลงดินลึกตามความต้องการของชนิดพืชที่ปลูก ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

@@ รูปแบบบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ :
**แบบใช้เงิน : ซื้อ 100% .... ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ 3 อย่างรวมกันประมาณ 2-3 ตัน/ไร่ แล้วไถกกลบลงดินลึก

** แบบใช้เงิน ไม่ได้เงิน แต่ได้ดิน .... ปลูกถั่วบำรุงดินของกรมพัฒนาที่ดิน เมื่อต้นถั่วเริ่มออกดอกให้ไถกลบ ทำซ้ำ 2-3 รุ่น

** แบบใช้เงิน ได้เงิน ได้ดิน .... ปลูกถั่วไร่ (เขียว เหลือง แดง ดำ ขาว), งา, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ทานตะวัน เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วไถกลบเศษซากต้นลงดิน ทำซ้ำ 2-3 รอบ

** ปลูกกล้วยน้ำว้า เลี้ยงหญ้าแล้วตัดหญ้าทับหน้าดินไว้รอวันเน่าสลาย บำรุงกล้วยน้ำว้าด้วย “น้ำหมักชีวภาพ” กล้วยน้ำว้าชอบมาก เรียกว่า “ปลูกกล้วยเอาราก” เมื่อหญ้าโตก็ให้ตัดหญ้คลุมทับหน้าดิน .... อาการเหนียวของเนื้อดินแม้รู้ว่า อินทรีย์วัตุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรียน์ ช่วยแก้ให้ได้ แต่ไม่ใช่ง่ายๆในการปฏิบัติ ต้นทุนสูงมากๆ เพราะต้องส่งอินทรียวัตถุลงไปไต้ดินลึก 1.5-2 ม. .... ทางเลือกสุดท้ายจริงๆ คือ เลือกพืชที่เหมาะสมกับดินประเภทนี้เท่านั้น

--------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ตะไคร้ใส่ปุ๋ยตัวไหน....?
ตอบ :
- ลำพังแค่ตะไคร้ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีหรอก เพราะเขาไม่ได้ต้องการมากมายเท่าที่คนขายปุ๋ยโฆษณา

- ใส่ ยิบซั่ม ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ตอนเตรียมดินครั้งแรกครั้งเดียวก็พอ
- บำรุงตะไคร้ด้วย “ฮอร์โมนก้นครัว” .... เศษอาหารเหลือในจาน (คาว หวาน) + เศษอาหารที่ไม่ได้ใส่ลงหม้อ (เศษผัก เปลือกผลไม้) ปั้นในโมลิเน็กซ์ ปั่นให้ละเอียด ได้มา 1 ถ้วยกาแฟ ผสมน้ำเปล่า 20 ล. ลดโคนต้นอาทิตย์ละครั้ง แค่นี้ก็พอแล้ว

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะม่วงน้ำดอกไม้ อายุ 5 ปี น้ำขังป็นแอ่งโคนต้น ไม่ออกดอก แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- น้ำในแอ่งโคนต้น มาจากไหน ? ธรรมชาติของมะม่วงชอบน้ำในดินระดับ “ชื้น” แยกให้ออกระหว่าง ชื้น-ชุ่ม-โชก-แฉะ-แช่ ถ้าเป็นไม้อื่นคงตายไปแล้ว เพราะรากแช่น้ำนานจนเน่า แต่มะม่วงเขา “อึด” จึงอยู่ได้

- ขุดดินชายพุ่ม เอามาถมโคนต้น ทำเป็นโคก พร้อมกับทำช่องระบายน้ำให้ไหลผ่านไป ทำครั้งเดียวอยู่ได้ตลอดชีวิต

- จัด/ปรับ ดินแล้วบำรุงมะม่วงตาม “8 ขั้นตอนบำรุงไม้ผล” ทั้งทางใบ ทางราก สม่ำเสมอเดี๋ยวออกดอกติดลูกเอง

--------------------------------------------------------------



จาก : (090) 723-93xx
ข้อความ : อ่านในเน็ตมีเรื่องสำปะหลังแบบก้าวหน้า อยากให้พูดอ้อยแบบก้าวหน้าบ้าง ....ขอบคุณครับ
ตอบ :
- สมช.เน็ต ทำไมไม่ถามในเน็ต จะบอกว่าโพสต์ข้อความไม่เป็น ไม่อยากเชื่อ ก็มี สมช.เน็ต ไม่ฝากข้อความถาม แต่โทรถามตรง ลุงคิมก็ตอบไป แล้วบอกว่า คำ ถามนี้ดีมาก น่าจะฝากคำถามไว้ในเน็ตด้วย ก็เห็นรับปากรับคำอย่างดีว่าจะฝากคำถามในเน็ต จนแล้วจนเล่าไม่มีคำถาม จนวันนี้ออกจะสงสัย สมช.เน็ต 500 คนจะได้คำถามแค่ เศษ 1 ส่วน 500 เท่านั้น

@@ แรงบันดาลใจ :
- อ้อยวังขนาย 100 ตัน /ไร่ .... อ้อยมิตรผล 50 ตัน /ไร่ ....อ้อยสีสันชีวิตไทย 30 ตัน /ไร่ .... อ้อยชาตรี 20 ไร่ ตอ 8 ใช้ปุ๋ย 8-24-24 (1- กส.) ได้ 14 ตัน /ไร่ .... อ้อย พยุหคีรี 25 ไร่ น้ำท่วมหัวเข่า แช่น้ำนาน 1 เดือน เหลืออ้อย 80% ให้ตัด แปลงข้างๆ เหลือ 0% ต้องตัดที่ขายเอาเงินมาลงทุน

@@ อ้อยก้าวหน้า :
** ดิน (ดินมาก่อน ดินดีได้รุ่นนี้ ต่อรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป...) :
- เน้นยิบซั่ม มากหน่อยดี, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ. น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) +8-24-24 (2 กก.) /ไร่ .... ไม่เผาใบอ้อยเด็ดขาด

- อ้อยที่กำแพงเพชร ช่วงแล้งเดือน ธ.ค. – ม.ค. – ก.พ. ยืนต้นเขียวอยู่ได้ เพราะดินมีอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน ในขณะที่แปลงข้างๆ ใบเหลือง ไม่มีอินทรีย์วัตถุใดๆทั้งสิ้น

** น้ำ (อ้อยเป็นพืชอวบน้ำ ย่อมต้องการน้ำ เมื่อไม่ให้น้ำเขา แล้วเขาจะน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ .... ไม่มีก็ต้องไปหามาให้ได้ ถ้าจะเอาผลผลิต :

- รุ่นละ 4 รอบ (รอบที่ 1 หลังปลูก/หลังเจียนตอ ไม่เกิน 3 วัน, .... รอบที่ 2 ย่างปล้อง .... รอบที่ 3 ต้นโต .... รอบที่ 4 ต้นโต)

- ปลูกใหม่หรือหลังเจียนตอ ปล่อยน้ำไหลไปตามร่องปลูก ให้ท่วมร่อง น้ำนั้น +น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) +8-24-24 (2 กก.) /ไร่

– อ้อยโตแล้ว ให้น้ำแบบยิงข้ามหัว (เหมือนรถดับเพลิง) น้ำ + น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง (2 ล.) +8-24-24 (2 ล.) ยิงน้ำมากๆ ผ่านใบลงพื้น .... ถ้าเป็นแปลงลาดเอียง อาจพิจารณาปล่อย น้ำ + น้ำหมักฯ จากลาดสูงไหลไปทางลาดต่ำก็ได้

** แดด.... ลอกกาบแห้งที่ต้นออก ต้นอ้อยได้แสงแดดทั่วถึง จะโตดี สภาพต้นสมบูรณ์

** ปุ๋ย .... อินทรีย์นำ เคมีเสริม โดยปุ๋ยอินทีย์จากน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + ปุ๋ยเคมีที่ใส่ให้ก่อน + ปุ๋ยเคมีที่ใส่เพิ่ม แค่นี้พอแล้วสำหรับพืชอย่างอ้อย .... ที่จริงอ้อยต้องการปุ๋ย 8-24-24 (ตัวท้ายสูง) ไม่ใช่ 21-0-0 (ตัวท้ายต่ำ)

หมายเหตุ :
- อ้อยตอ 1 ลงทุนทุกอย่าง (เตรียมแปลง เตรียมพันธุ์ ค่าแรง) แต่อ้อยตอ 2-3-4-5-6-7-8-9-10 ไม่ต้องลงทุน .... ข้อแม้ หลังเจียนเสร็จ ต้องให้น้ำทันทีภายใน 3 วัน เพื่อให้อ้อยแตกหน่อใหม่

- หน่ออ้อยที่แตกจากราก ดีกว่าหน่อที่แตกจากข้อ ที่เรียกว่า “ตะเกียง” .... หลังตัดอ้อยแล้วเผาใบอ้อย เท่ากับเผารากที่อยู่ไต้ดิน จากไฟเผาแล้ว แดดเผาซ้ำ ยาฆ่าหญ้าเผาต่อ แล้วเขาจะเอารากที่ไหนมาให้แตกหน่อ ... ฉนี้แล้ว ถ้าจะเอาหน่ออ้อย ตอ 2-3-4-5 มากๆ ก็ต้องไม่ไฟเผา ไม่แดดเผา ไม่ยาฆ่าหญ้าผลาญ

- ปกติ อ้อยตอ 1 ฝนดีได้ 12 ตัน, อ้อยตอ 2 ฝนดีได้ 6 ตัน, อ้อยตอ 3 ฝนดีได้ 3 ตัน .... ถามว่า ทำไมจึงลดลงๆ คำตอบก็คือ เพราะไม่รากให้แตกหน่อใหม่ไง แล้วทำไมจึงไม่มีราก ก็เพราะเอาไฟเผา แดดเผา เข้าร้อยเรียบไปแล้วไง

- ทำอ้อย 10 ไร่ จ้างรถบันทุกน้ำมาใส่ให้ 4 ครั้ง ผลผลิตต่อรุ่น กับรุ่น 2-3-4-5 ที่เพิ่มมา ได้คุ้มเกินคุ้ม .... ต้นทุนเงินค่าปุ๋ยน้ำตาลทราย (21-0-0) ไร่ละ กส. เอาเงินตัวนี้มาทำอย่างอื่น คุ้มค่ากว่า ประหยัดกว่า

*** เรื่องนี้ ยาก/ง่าย อยู่ที่ใจ

-------------------------------------------------------------



จาก : (080) 389-20xx
ข้อความ : คุณตาครับ งานเข้าครับ ได้โครงงานจากอาจารย์เรื่อง เอาปุ๋ยคอก มูลวัว + มูลไก่ อัตรา 1 ต่อ 1 ละลายน้ำแล้วกรองกากออก ได้น้ำละลายปุ๋ยคอกมา 100 ล. จะทำให้เป็น ปุ๋ยคอกซุปเปอร์ ใช้กับแปลงผักทุกประเภท อายุสั้นฤดูกาลเดียว อายุยืนนานหลายปี กินใบกินผล โดยใส่ปุ๋ยเคมี ธาตุหลัก + ธาตุรอง + ธาตุเสริม ควรใส่สูตรไหน ใส่อัตราเท่าไรครับ .... จากเกษตรเด็กๆ ปวช.ปี 1 กราบขอบคุณ คุณตาครับ
ตอบ :
** น่ะจะบอกอัตราใช้ปุ๋ยคอกมาด้วยว่าว่าใช้เท้าไหร่กับน้ำ 100 ล. .... แนะนำว่า น้ำ 100 ล. + ปุ๋ยคอก อย่างละ 3-5 กก. อัตราส่วนนี้ผสมเสร็จใช้ สดๆเพียวๆ ได้เลย ไม่ต้องเจือจางกว่านี้อีก .... เอาละ ไม่เป็นไร ปัญหามีให้แก้ คำถามคือกึ๋นของคนถาม ที่จริงทุกคำถามมีคำตอบอยู่ข้างตัวเรานี่แหละ เพียงแต่ใม่ได้จัดหวดหมู่ แยกประเภท แบ่งชนิด เท่านั้น

** กลุ่มพืชเป้าหมาย :
- ผักอายุสั้น ฤดูกาลเดียว กินใบ ....... ผักกาด ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักชี ฯลฯ
- ผักอายุยืน กินใบ....................... กระเพา โหระพา แมงลัก ฯลฯ

- ผักอายุสั้น ฤดูกาลเดียว กินผล ...... มะเขือ พริก ถั่ว มะระ ฟัก ฯลฯ
- ผักอายุยืน กินผล ..................... มะรุม ลิ้นฟ้า มะละกอ ฯลฯ

- ผักอายุสั้น ฤดูกาลเดียว กินยอด .... ตำลึง มะระ ฟักทอง ผักบุ้ง กะเฉด ฯลฯ
- ผักอายุยืน กินยอด ................... กระถิน ชะอม ผักหวาน มะกอก ฯลฯ

- ผักอายุสั้น ฤดูกาลเดียว กินดอก .... ขจร ฯลฯ
- ผักอายุยืน กินดอก .................. แค สะเดา ฯลฯ

- ผักอายุยืน กินใบ ...................... ยอ ฯลฯ
- ผักอายุยืน กินหน่อ ................... หน่อไผ่ หน่อรวก หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ

- ผักกอายุสั้น ฤดูกาลเดียว กินหัว ..... ไชเท้า ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย เผือก ฯลฯ


@@ อัตราใช้น้ำละลายปุ๋ยคอก 100 ล. :
- ผักอายุสั้น ฤดูกาลเดียว กินใบ (ผักกาด ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักชี ฯลฯ) ... + 21-7-14 (2 กก.) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม + นมสด 200 ซีซี. 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ .... ให้ทางใบโชกๆ อาบลงดิน

- ผักอายุยืน กินใบ (กระเพา โหระพา แมงลัก ฯลฯ)
.... ทางใบ : + 25-5-5 (1 กก.) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
.... ทางราก : + 30-10-10 (2 กก.)

- ผักอายุสั้น ฤดูกาลเดียว กินผล (มะเขือ พริก ถั่ว มะระ ฟัก ฯลฯ)
.... ทางใบ : + 0-52-34 (1 กก.) + 13-0-46 (250 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
.... ทางราก : + 21-7-14 (2 กก.)

- ผักอายุยืน กินผล (มะรุม ลิ้นฟ้า ยอ กระถิน ฯลฯ)
.... ทางใบ : + 0-52-34 (1 กก.) + 13-0-46 (250 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
.... ทางราก : + 21-7-14 (2 กก.)

- ผักอายุสั้น ฤดูกาลเดียว กินยอด (ตำลึง มะระ ฟักทอง ผักบุ้ง กะเฉด ฯลฯ)
.... ทางใบ : + 25-5-5 (1 กก.) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
.... ทางราก : + 30-10-10 (2 กก.)

- ผักอายุยืน กินยอด ( กระถิน ชะอม ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน ฯลฯ)
.... ทางใบ : + 25-5-5 (1 กก.) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
.... ทางราก : + 30-10-10 (2 กก.)

- ผักอายุสั้น ฤดูกาลเดียว กินดอก (ขจร ฯลฯ)
.... ทางใบ : + 0-52-34 (1 กก.) + 13-0-46 (250 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
.... ทางราก : + 21-7-14 (2 กก.)

- ผักอายุยืน กินดอก (แค สะเดา ฯลฯ)
.... ทางใบ : + 0-52-34 (1 กก.) + 13-0-46 (250 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
.... ทางราก : + 21-7-14 (2 กก.)

- ผักอายุยืน กินหน่อ (หน่อไผ่ หน่อรวก ฯลฯ)
.... ทางใบ : - ไม่จำเป็น
.... ทางราก : + 5-10-40 (2 กก.)

- ผักอายุสั้น ฤดูกาลเดียว กินหัว (ไชเท้า ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย ฯลฯ)
.... ทางใบ : + 5-10-40 (1 กก.) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
.... ทางราก : + 5-10-40 (2 กก.)

หมายเหตุ :
- ปุ๋ยเคมี คือ สารอาหารพืชที่ได้จากการสังเคราะห์โดยฝีมือมนุษย์ ประกอบ ด้วย ธาตุหลัก (ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม), ธาตุรอง (แคลเซียม, แม็กเนเซียม, ซัลเฟอร์), ธาตเสริม (เหล็ก, ทองแดง, สังกะสี, แมงกานิส, โมลิบดินั่ม,
โบรอน, ซิลิก้า, โซเดียม),

- ธาตุหลัก .... มีความสำคัญมากที่สุด พืชใช้ในปริมาณมากที่สุด เมื่อเทียบปริ มาณกับ ธาตุรอง/ธาตุเสริม .... ธาตุหลัก ที่สมบูรณ์แบบต้องมีครบทั้ง 3 ตัว การที่ตัวใดตัวหนึ่งของธาตุหลักต้องมาก ในขณะที่อีก 2 ตัวต้องน้อยกว่าหรือไม่มีเลย เพื่อให้ธาตุหลักเกิดประสิทธิภาพต่อพืช แต่ละชนิด แต่ละระยะการเจริญเติบโต แต่ละปัจจัยสภาพ แวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น 8-24-24. 16-8-8. 21-7-14. 14-7-21. 46-0-0. 0-52-34. 13-0-46, เป็นต้น .... ธาตุหลัก เปรียบอาหารคน คือ “ข้าว” นั่นเอง

- ธาตุรอง/ธาตุเสริม .... มีความสำคัญและความจำเป็นไม่น้อยกว่าธาตุหลัก เพียงแต่ปริมาณการใช้น้อยกว่าเท่านั้น ในจำนวน ธาตุรอง/ธาตุเสริม ทุกตัว บาง ครั้งตัวหนึ่งใช้มากเพื่อเป็นตัวนำ ในขณะที่ตัวอื่นๆที่เหลือจะใช้น้อยเป็นตัวเสริม แต่ภาพรวมแล้วต้องใช้หรือให้พืชได้รับครบทุกตัว .... ธาตุรอง เปรียบอาหารคน คือ “กับข้าว” .... ธาตุเสริม เปรียบอาหารคน คือ “ของหวาน” นั่นเอง .... นอกจากนี้พืชยังต้องการฮอร์โมนอีกด้วย ซึ่งฮอร์โมนนี้ หากเปรียบอาหารคน คือ “ของว่าง” คงไม่ผิด

- จากการวิเคราะห์ปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรไทยแล้ว พอสรุปเป็นสมการปุ๋ย ได้ดังนี้ : ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล, ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล, ปุ๋ยผิด + ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง, ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง .... สาเหตุภาคเกษตรกรมาจาก ไม่มีความรู้ทางวิชาการ, มีความรู้แค่โฆษณา, หลงกระแส, ยึดติดกับตัวเอง, ขาดวิจารณญาณ, ฉลาดแต่ไม่เฉลียว, .... สาเหตุภาครัฐมาจาก ทำงานแบบ PASSIVE (เชิงรับ) มากกว่า ACTIVE (เชิงรุก), แก้ปัญหาปลายเหตุมากกว่าแก้ปัญหาต้นเหตุ, ไม่แปลงนโยบายเป็นการปฏิบัติ, ขาดจิตสำนึก ไร้อุดมการณ์,

- ปรัชญาปุ๋ยสำหรับพืช :
** ลด ปุ๋ยเคมี ....... เพิ่ม ปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรับำรุงดิน
** ลด ธาตุหลัก ..... เพิ่ม ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ

- น้ำละลายปุ๋ยคอก ไม่สามารถผ่านปากใบเข้าสู่ต้นได้ ต่อเมื่อตกลงดินแล้ว ระบบรากดูกซับนำไปใช้ได้ แต่ปุ๋ยเคมี (หลัก/รอง/เสริม) ซึ่งเป็นประเภทให้ทางใบ สามารถผ่านปากใบได้ เมื่อตกลงดินรากก็ยังดูดซับไปใช้ได้อีก เท่ากับ 2 เด้ง

- ปุ๋ยคอกที่นำมาละลายน้ำ สภาพแห้งเก่าข้ามปี ดีกว่าสภาพสดใหม่

-------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©