-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... , 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 31/05/2013 5:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


1,935. สารอินทรีย์สกัด ต้านไวรัสมะละกอ

1,936. ส่งยุวเกษตรกรไทย ไปญี่ปุ่น
1,937. เลี้ยงไก่งวงแบบอินทรีย์ ที่บ้านนาเจียง อ.ด่านซ้าย จ.เลย
1,938. ข้อแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช
1,939. กรมวิชาการเกษตรจับมือเอกชนพัฒนา Seed Hub รับอาเซียน
1,940. ดูวิธีเลี้ยงกบภูเขาที่อ่าวคุ้งกระเบน

1,941. การเกษตรกรรมของเกาหลีใต้
1,942. หมู่บ้านมันสำปะหลังนาโนเทคโนโลยี
1,943. นาโนเทคโนโลยี คือ อะไร ?
1,944. เลือกจุลินทรีย์สายพันธุ์ดี บำรุงต้นพืชและป้องกันโรค
1,945. ข้อดีและข้อจำกัด ในการใช้ปุ๋ยทางใบ

1,946. เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต ด้วยปุ๋ยทางใบ
1,947. รวม 20 สวนผลไม้น่าเที่ยว ปี 2555
1,948. เอนไซม์ และองค์ประกอบ
1,949. ลูกแป้ง
1,950. การใช้ปุ๋ยในระบบชลประทาน

1,951. 10 ต้นไม้ที่มหัศจรรย์ที่สุดในโลก
1,952. สารอินทรีย์สกัด ต้านไวรัสมะละกอ
1,953. สารช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช
1,954. 'ทุเรียนกางแขน' ตอบโจทย์ปัญหาต้นทุนการผลิต
1,955. รู้จัก “ปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโน” มีทุกอย่างในกระสอบเดียว

1,956. ลดค่าปุ๋ยในไม้ผล
1,957. ปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์ใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ดี
1,958. แบคทีเรีย ที่มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ย ฮอร์โมนพืช และฆ่าเชื้อโรคพืช

---------------------------------------------------------------------------------------------





1,935. สารอินทรีย์สกัด ต้านไวรัสมะละกอ

















ประเทศไทย มะละกอเป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกร เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนเร็ว มีตลาดรองรับค่อนข้างกว้าง ตัวอย่าง เช่น เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรีที่ปลูกมะละกอในพื้นที่ 8 ไร่จะมีรายได้ถึงประมาณ 1,000,000 บาทต่อปี ทั้งตลาดมะละกอดิบ มะละกอสุก มะละกอส่งโรงงาน และผลิตภัณฑ์มะละกอเพื่อตลาดส่งออก

ซึ่งในปี 2551-2553 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผลผลิตมะละกอถึง 201,099-211,594 เมตริกตัน และจัดเป็น 1 ใน 10 ประเทศในโลกที่มีการส่งออกมะละกอจำนวนมาก แต่ก็ยังมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1.95% ของตลาด การปลูกมะละกอเพื่อการค้าในบ้านเราก็มีความหลากหลายของสายพันธุ์มากขึ้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากโรคใบด่างจุดวงแหวน ที่เป็นอุปสรรคในการผลิตมะละกอ

โรคใบด่างจุดวงแหวน หรือไวรัสวงแหวน ถือได้ว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นมหันตภัยร้ายของการปลูกมะละกอทั่วโลก โดยโรคนี้เคยมีการระบาดรุนแรงครั้งแรกเมื่อปี 2492 ที่หมู่เกาะฮาวาย หลังจากนั้นก็ระบาดไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้พบการระบาดครั้งแรกในปี 2518 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายความรุนแรงขึ้นทุกปีจนทำลายล้างมะละกอในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างสิ้นเชิงในปี 2524 ต่อมาการระบาดได้ลุกลามไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยในปี 2545 โรคนี้ระบาดไปทั่วประเทศไทย สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ปลูกมะละกอกว่า 80% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด และในปัจจุบันก็ยังไม่มีหน่วยงานใดให้คำตอบในการแก้ปัญหานี้ได้ แม้จะมีความพยายามนำมะละกอ จีเอ็มโอ เข้ามาเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่วางใจจากสังคมว่าจะไม่ก่อผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป เกษตรกรจำนวนมากจะเสียโอกาสในการสร้างรายได้ และอุตสาหกรรมของประเทศที่ใช้มะละกอเป็นวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบ

จากประสบการณ์ในภาคสนามที่ผ่านมา ของคุณพิสุทธิ์ ศุภนาค นักวิชาการอิสระมีข้อสังเกตว่าโรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอมีความเชื่อมโยงกับการผสมข้ามสายพันธุ์ ที่มุ่งเพิ่มผลผลิตและการสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว การดำเนินการดังกล่าวได้ทำให้เกิดการกดทับภูมิต้านทานที่มีอยู่ในพันธุกรรมดั่งเดิม ประกอบกับการที่มะละกอถูกเร่งผลผลิตอย่างมหาศาลในระยะเวลาอันสั้น ทำให้มะละกอดูดกินแร่ธาตุในดินต่อเนื่องจนดินในแปลงหมดความอุดมสมบูรณ์แต่เกษตรกรเติมแร่ธาตุให้ไม่เพียงพอและไม่ทันความต้องการของพืช ความสมบูรณ์จึงถดถอยลงเรื่อย ๆ จนง่ายต่อการถูกโจมตีจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้วในธรรมชาติ โดยเฉพาะโรคไวรัสวงแหวน

แนวทางแก้ปัญหา คือ การส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยเติมธาตุอาหารให้แก่มะละกอ ทั้งยังควรมีจุลินทรีย์ที่มาร่วมกันปรับโครงสร้างธาตุอาหารจากดินมาเพิ่มเติม และสิ่งธาตุอาหารที่เหมาะสมกับมะละกอ ซึ่งในขณะนี้เปรียบเหมือนคนป่วยไข้ จะต้องเป็นธาตุอาหารที่มีโมเลกุลเล็กกว่าปกติที่ทำให้พืชสามารถดูดกินได้ง่าย ได้มีการนำสารสกัดไปใช้แก้ปัญหาในสวนมะละกอที่ถูกไวรัสวงแหวนโจมตีใน 2 ระดับอาการคือ

สวนที่ถูกคุกคามขั้นเริ่มต้น คือ ยอดหรือใบอ่อนของมะละกอส่วนใหญ่แสดงอาการเหลืองซีด มีลักษณะเป็นรอยบุ๋มไม่เรียบ มีอาการด่าง มีขนาดใบเรียวเล็กลง ลูกและดอกใหม่ร่วง สวนนี้ใช้สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ จำนวน 800 ซีซี. ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในอัตราส่วน 2 ฝา ต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับสารบำรุงดิน ในอัตราส่วนเดียวกัน ในการรักษา 24 วัน โดยในเวลา 10 วัน เริ่มเห็นการแตกยอดอ่อนขึ้นใหม่ ยอดที่แตกใหม่จะอวบใหญ่กว่าเดิม และในสัปดาห์ต่อมาก็เริ่มมีดอกเกิดขึ้น

สวนที่ถูกคุกคามขั้นรุนแรง คือ บนก้านใบ ก้านดอก และตรงส่วนครึ่งบนของลำต้นของมะละกอส่วนใหญ่ พบรอยช้ำเป็นขีด ๆ มีสีเขียวเข้มทั้งลำต้น ลูกและดอกใหม่ร่วง การติดผลไม่มีให้เห็น บางต้นมีอาการถึงขนาดที่ผลของมะละกอมีเนื้อแข็งกระด้าง เนื้อผลสุก มีลักษณะเป็นไต มีรสขม และมีรอยช้ำเป็นจุด ต้นเตี้ยแคระแกร็น ใบแคบหยิกงอไม่สมส่วน บางครั้งจะเล็กเรียวชะลูดแหลม และเมื่อเชื้อลามถึงยอด ยอดจะเหลือง มีขนาดเล็กลงและตายในที่สุด

สวนนี้ใช้ สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ จำนวน 1,400 ซีซี. ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในอัตราส่วน 5 ฝา ร่วมกับสารบำรุงดินในอัตราส่วน 2 ฝา ต่อน้ำ 20 ลิตร การรักษา ใช้เวลาประมาณ 35 วัน จากวันที่เริ่มจนถึงวันที่ 25 วัน ก็เริ่มเห็นการแตกยอดอ่อนขึ้นใหม่อย่างประปราย และในสัปดาห์ต่อมายอดที่แตกใหม่เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น มีดอกเกิดขึ้น.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/207895


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/10/2013 11:02 am, แก้ไขทั้งหมด 30 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 31/05/2013 5:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,936. ส่งยุวเกษตรกรไทย ไปญี่ปุ่น












วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์


การพัฒนาอาชีพเกษตรกรของไทย ให้แข็งแกร่งด้วยการสร้างรากฐานความรู้และประสบการณ์ให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ หรือยุวเกษตรกร อาจมิใช่เพียงการศึกษาจากเกษตรกรต้นแบบในพื้นที่เพียงอย่างเดียว แต่การหาประสบการณ์จากต่างแดนเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เล็งเห็นถึงความสำคัญ และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการฝึกงานผู้นำเยาวชนเกษตรกรไทยในครอบครัวเกษตรกรญี่ปุ่น ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสภาแลกเปลี่ยนทางการเกษตรแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Agricultural Exchange Counil : JAEC) โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา

ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า ส.ป.ก.ได้เข้าร่วมโครงการฝึกงานผู้นำเยาวชนเกษตรกรไทยในครอบครัวเกษตรกรญี่ปุ่น มาตั้งแต่ปี 2552 ปัจจุบันมีเยาวชนเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว 4 รุ่น จำนวน 23 คน ซึ่งในปี 2556 มีเยาวชนเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ผ่านการคัดเลือกให้เดินทางไปฝึกงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 3 คน ได้แก่ นายโสภณ เรียนเกิด เยาวชนเกษตรกรจากจังหวัดลพบุรี นางสาวขวัญนภา เทศชารี เยาวชนจากจังหวัดขอนแก่น และนางสาวจุฑารัตน์ เสียมคำปัง เยาวชนจาก จังหวัดนครราชสีมา

“การคัดเลือกยุวเกษตรกรของ ส.ป.ก. เพื่อเป็นตัวแทนเข้าร่วมในโครงนี้ จะเน้นยุวเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ มีทักษะทางด้านภาษาและที่สำคัญคือ ต้องมีความอดทนค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องจากบ้านไปถึง 11 เดือน เพื่อไปอยู่กับครอบครัวเกษตรกรชาวญี่ปุ่น” เลขาธิการ ส.ป.ก.กล่าว

ดร.วีระชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้จะช่วยสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ของไทยที่มีศักยภาพ เพราะการได้ไปสัมผัสและเรียนรู้การจัดการทางด้านเกษตรของญี่ปุ่น ช่วยเปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ ๆ ในการทำเกษตรกรรม เยาวชนไทยจะได้เรียนรู้เทคนิควิธีการต่าง ๆ ของชาวญี่ปุ่นได้นำมาพัฒนา

ต่อยอดอาชีพของตนเองได้ และถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเกษตรกรญี่ปุ่นโดยผู้ที่ผ่านโครงการนี้ส่วนใหญ่สามารถพัฒนาอาชีพของตนเอง กลายเป็นผู้นำชุมชนในพื้นที่ และเป็นต้นแบบให้แก่คนรุ่นใหม่ได้เดินรอยตาม

นางสาวจุฑารัตน์ เสียมคำปัง เยาวชนจากจังหวัดนครราชสีมา ผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า เริ่มรู้จักโครงการนี้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ที่สนใจเนื่องจากเป็นโครงการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และให้โอกาสได้ไปฝึกงานกับครอบครัวของเกษตรกรชาวญี่ปุ่น ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตร วิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น และพัฒนาทักษะทางด้านภาษาที่เพิ่มขึ้น โดยส่วนตัวชอบแนวคิดของชาวญี่ปุ่นที่ล้ำหน้า และน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำมาปรับใช้กับกิจการฟาร์มปศุสัตว์ของครอบครัวให้พัฒนาดีขึ้น และในอนาคตอาจจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์การเรียนของเด็ก ๆในชุมชนด้วย หรืออาจพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่า เพื่อการปลูกพืชผลให้ได้คุณภาพ

ขณะที่ นางสาวขวัญนภา เทศชารี เยาวชนจากจังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงโครงการนี้ว่า เป็นโอกาสดีที่ได้ไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น เพื่อจะได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเทคนิคการปลูกผักให้ประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาพัฒนาแปลงผักของศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนที่ยังประสบปัญหาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

ด้าน นายโสภณ เรียนเกิด เยาวชนจากจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก ทำให้ได้มีโอกาสไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น โดยเรื่องที่สนใจเป็นพิเศษคือ การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน การทำปุ๋ยไว้ใช้เอง ระบบการจัดการน้ำ และการใช้ประโยชน์จากสิ่งของเหลือใช้

อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นให้ยุวเกษตรกรไทย ได้รู้จักภาคการเกษตรในวิถีของชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แต่เป็นการสร้างโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ที่มีใจรักในอาชีพเกษตรกรได้พัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนที่ตนเองรัก และท้ายที่สุดคือการพัฒนาภาคการเกษตรของไทยให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/205791
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 31/05/2013 5:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,937. เลี้ยงไก่งวงแบบอินทรีย์ ที่บ้านนาเจียง อ.ด่านซ้าย จ.เลย








การริเริ่มดำเนินกิจกรรมด้านปศุสัตว์แบบผสมผสานของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่อินทรีย์บ้านนาเจียง อ.ด่านซ้าย จ.เลย เกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมีศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามแนวพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยเข้าไปส่งเสริมสนับสนุน ด้วยการให้ความรู้และสนับสนุนพันธ์ุสัตว์เป็นการเบื้องต้น

ที่นี่มีการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน มีไก่ชี ไก่พื้นเมือง สุกรพันธุ์พื้นเมือง และไก่งวง โดยเฉพาะสัตว์ปีกจะเลี้ยงแบบเปิดด้วยการอาศัยพื้นที่แปลงเพาะปลูกพืชเป็นสถานที่เลี้ยงแทนการสร้างคอกขึ้นมากักขัง เป็นผลทำให้สัตว์ได้ออกกำลังกาย ไม่เครียด การเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญแมลงศัตรูพืชในพื้นที่ก็หมดไป มูลสัตว์ก็เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการเจริญเติบโตของต้นพืชอีกด้วยยังมาซึ่งความสนใจของเกษตรกรรายอื่น ๆ ต่างเดินทางเข้ามาศึกษาเรียนรู้เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการเลี้ยงของตนเองที่บ้านอย่างต่อเนื่องตลอดมา

ล่าสุดทางสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้จัดโครงการสื่ออาสาสืบสานพระราชดำริ โดยการนำคณะสื่อมวลชนเดินทางเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโครงการนี้ พบว่ามีความน่าสนใจในกิจการของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงไก่งวงแบบอินทรีย์

การเลี้ยงไก่งวงแบบอินทรีย์ของที่นี่ เลี้ยงแบบกึ่งเล้า กึ่งสวน มีการสร้างโรงเรือนด้วยไม้ที่หาได้ภายในพื้นที่ หลังคาหญ้าคา มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สำหรับให้ไก่งวงหลบแดดหลบฝน ใช้ปูนขาวโรยฆ่าเชื้อในโรงเรือน มีอุปกรณ์ ให้น้ำ อาหาร แขวนไว้เป็นจุด ๆ รอบสวนล้อมด้วยตาข่าย ที่ต้องมีโรงเรือนก็เพราะนิสัยของไก่งวงชอบนอนที่สูงเนื่องจากมีพันธุกรรมของไก่ป่า ลักษณะของคอนนอนเป็นไม้กลมไม่มีเหลี่ยมในบริเวณรอบคอนนอนวางกล่องไม้สำหรับให้ไก่งวงวางไข่

สำหรับอาหารเลี้ยงไก่งวง เกษตรกรที่นี่จะผสมเอง โดยใช้หญ้า หยวกกล้วย ผักบุ้งที่มีอยู่ในพื้นที่ อย่างละ 1 ส่วน เป็นส่วนผสมหลัก และนำไปผสมกับมันสำปะหลังป่น 1 ส่วน รำ 4 ส่วน และ ปลาป่นอีก 1 ส่วน มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน เพื่อใช้เป็นอาหารข้นสำหรับไก่งวง นอกจากนี้ได้นำพืชสมุนไพรต่างๆที่ปลูกในสวน เช่น เหงือกปลาหมอ ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน ไพร มาบดและผสมในอาหาร เพื่อบำรุงและสร้างภูมิคุ้มกัน โดยให้อาหารข้นวันละ 1 ครั้ง ในช่วงเช้า และให้เศษหญ้า เศษผักเป็นอาหารเสริมในช่วงบ่าย

ไก่งวงปัจจุบันเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงอย่างแน่นอน เหมือนสัตว์เศรษฐกิจตัวอื่นๆ สำหรับไก่งวงที่นิยมเลี้ยงนั้นจะมี 2 ชนิด คือ ขนสีขาวล้วน และขนสีบรอนซ์ เปลือกไข่มีสีขาวนวลและมีจุดกระสีน้ำตาล

อายุไก่งวงจะให้ไข่ฟองแรกเมื่ออายุได้ 190 วัน น้ำหนักตัวเมื่อให้ไข่ฟองแรกจะอยู่ที่ประมาณ 3,500 กรัม ผลผลิตไข่ 75 ฟองต่อปี น้ำหนักเมื่ออายุ 16 สัปดาห์หากสมบูรณ์จะอยู่ที่ประมาณ 2.6 กิโลกรัม น้ำหนักเมื่ออายุ 20 สัปดาห์ 3.4 กิโลกรัม น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้จะอยู่ที่ 8.0 กิโลกรัม เพศเมีย 5.0 กิโลกรัม ปัจจุบันตลาดไก่งวงกำลังดี ด้วยมีผู้นิยมรับประทานในเมนูอาหารหลายรายการมากยิ่งขึ้น.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/204850
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 31/05/2013 6:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,938. ข้อแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช

การผลิตพืชให้ได้ผลผลิตที่สามารถสร้างรายได้สูงสุดให้เกษตรกรอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีในการจัดการธรตุอาหารพืชที่เหมาะสม ปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้เป็นธาตุอาหารพืชจะต้องมีประสิทธิภาพ มีคุณค่าและต้นทุนเหมาะสมกับราคาผลผลิต จึงจะทำให้เกษตรกรมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน

การใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการหมักจนย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์นั้น แม้จะมีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อย แต่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ธาตุอาหารแก่พืชอย่างช้าๆ และมีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบเกือบทุกชนิด ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม สามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพได้ด้วย ในขณะเดียวกันปุ๋ยเคมีก็มีข้อดีทีประกอบด้วยปริมาณธาตุอาหารหลักมาก พืชใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว สะดวกในการใช้ในไร่นา แต่ปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้หมด

ดังนั้นหากเกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจในการนำวัสดุอินทรีย์เหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เศษพืช ผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร มูลสัตว์และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ มาผ่านกระบวนการย่อยสลาย โดยจุลินทรีย์หรือทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้วัสดุอินทรีย์เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปเป็นธาตุอาหารพืชได้เร็วขึ้น พืชก็สามารถนำไปใช้ได้เร็วกว่าการใส่ในรูปของวัสดุอินทรีย์โดยตรง แต่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวจะต้องใส่ในปริมาณมาก เพราะมีธาตุอาหารน้อยและมีค่าใช้จ่ายค่าแรงงานในการใส่มาก ดังนั้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมผสานกับปุ๋ยเคมี หรือการผลิตปุ๋ยเคมีเป็นสูตรต่างๆ และหาวิธีการใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของดิน พืช และหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม จึงเป็นแนวทางที่สามารถใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืช เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรและแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงได้






การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี :
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เป็นรูปแบบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอหารพืชที่ยั่งยืนวิธีการหนึ่ง

เพราะจะได้มีการนำส่วนที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ของพืชหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ทำให้ธาตุอาหารซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่มีอยู่ในดินไม่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากดินทั้งหมด
ทำให้มีการเติมปุ๋ยเคมีน้อยลงได้ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากอัตราปุ๋ยที่แนะนำให้เกษตรกรใช้

ตัวอย่างในการปลูกอ้อย ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น ดินเหนียวในภาคกลาง
มีความต้องการใส่ปุ๋ยน้อยกว่าดินร่วมปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น

ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างหนึ่ง ที่สามารถเพิ่มความสมบูรณ์ให้มีความเหมาะสม ในการปลูกพืช ช่วยในการใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังผลงานวิจัยต่อไปนี้


การปลูกข้าว
การใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และใช้หินฟอสเฟต (P14) แทนปุ๋ยเคมีในดินเหนียว อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ช่วยให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 18% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12.7%


การปลูกข้าวโพดหวาน
การใช้ปุ๋ยหมักมูลวัว 1 ตัน ร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 23% อย่างไรก็ตามราคาปุ๋ยหมักมูลวัวสูงมาก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำเพียงอย่างเดียว


การปลูกยางพารา
การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ่ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตยางพาราสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 32% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12% ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 16% และพบว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ประมาณ 50% ในการปลูกยางพาราที่ จ. สงขลา





การปลูกอ้อย
การใช้ปุ๋ยหมักและมูลวัวร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% ของอัตราแนะนำในอ้อย ที่ปลูกในดินร่วนเหนียวชุดกำแพงเพชร ช่วยให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 56 และ 66% ตามลำดับ โดยสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 17 และ 27% ตามลำดับ แต่การใส่มูลวัวตากแห้งร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% อัตราแนะนำ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 13%


การปลูกมันสำปะหลัง
การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่เนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยหมักมากถึง 2 ตันต่อไร่ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง รายได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงไม่เพียงพอกับต้นทุนค่าปุ๋ยหมักที่ใส่ ทำให้การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า และมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี


การปลูกกระเจี๊ยบเขียว
การใช้ปุ่ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูง และมีรายได้ทั้งหมดมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยทุกชนิดไม่ได้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงอยู่แล้ว เกษตรกรจึงควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ยให้กับพืช


แนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี :
ข้อมูลจากการวิจัย สรุปได้ว่า การใช้ปุ่ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์ช่วยเพิ่มผลผลิตพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรต้องใช้ให้ถูกต้อง ในดินบางชุดและในการปลูกพืชบางชนิด เช่น ยางพาราและอ้อย จะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มทั้งผลผลิตและรายได้ ทั้งนี้เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกัน ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลดลง

ดังนั้น การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง มีแนวโน้มว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่เคยซื้อได้ เพราะการใช้วัสดุอินทรีย์ที่ไม่ได้หมักมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนค่าขนส่ง และไม่เหมาะสมในการใส่ให้กับพืชที่ปลูกแล้ว เพราะจะทำให้พืชมีอาการขาดไนโตรเจนชั่วคราว การส่งเสริมให้มีการหมักวัสดุอินทรีย์ในพื้นที่เกษตรกรเอง จนได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วผสมกับปุ๋ยเคมีใส่ให้กับพืชในอัตราที่เหมาะสม จะทำให้เกษตรกรมีต้นทุนค่าปุ๋ยลดลง มีความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ







ขั้นตอนการดำเนินการโดยสังเขป ประกอบด้วย
1. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศให้ต้นทุนการผลิตต่ำ
2. การหาสูตรปุ๋ยอินทรีย์เคมีที่เหมาะสมกับดินและพืชแต่ละชนิดในพื้นที่
3. การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี ให้ได้ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. ปุ๋ย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550
4. การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
5. การทดสอบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีในการผลิตพืชในพื้นที่ สวพ. เขตที่ 1-8 สังกัดกรมวิชาเกษตร เน้นการทดสอบเพื่อจะหาวิธีการใช้ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้สูงสุดให้เกษตรกร
6. การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรนำไปใช้

ปุ๋ยเคมียังมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตพืช ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีความสำคัญต่อการปรับปรุงบำรุงดิน ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ จึงน่าจะเป็นวิธีการบูรณาการปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง


http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n11/v_6-july/rai.html



http://www.thaitapiocastarch.org/article21_th.asp


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/07/2013 2:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/06/2013 10:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,939. กรมวิชาการเกษตรจับมือเอกชนพัฒนา Seed Hub รับอาเซียน














การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชของไทย มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ หน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่เป็นความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ เช่น ข้าว พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ ส่วนภาคเอกชน เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเปิดเพื่อการค้า ประกอบด้วย ข้าวโพด ทานตะวัน พืชผักต่างๆ โดยประเทศไทยนับเป็นฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออกที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากที่สุดในอาเซียน เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ภัยธรรมชาติค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค เกษตรกรมีความขยันและมีความสามารถในการเพาะปลูกพืชเหล่านี้และมีมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออกที่มีคุณภาพ

นางกัลยา เนตรกัลยามิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า แต่ละปีประเทศไทยส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชไปยังประเทศต่าง ๆ สร้างรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยจะเป็นฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากที่สุด แต่ในสถานการณ์การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชของไทยเอง กลับยังมีความขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี เนื่องจากสายพันธุ์พ่อแม่จะเป็นของต่างชาติ ทำให้มีสายพันธุ์ลูกผสมที่เป็นของไทยเองไม่เกิน 25% ฉะนั้นจำเป็นต้องเร่งพัฒนาให้มีพ่อแม่พันธุ์ที่เป็นของไทยเองมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันและรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนพัฒนา ศูนย์กลางด้านเมล็ดพันธุ์พืชรองรับประชาคมอาเซียน หรือ Seed Hub ด้วยการสนับสนุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ของไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ส่งเสริมให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับการสนับสนุนการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเป็นอาชีพทางเลือกเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรร่วมกับภาคเอกชน ตั้งคณะทำงานขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการ Seed Hub รองรับอาเซียน โดยร่วมมือกันในการพัฒนานักปรับปรุงพันธุ์พืช และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช เนื่องจากการพัฒนาเป็นฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ของอาเซียน หรือ Seed Hub จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย เพราะภาครัฐกับเอกชนมีข้อเด่นข้อด้อยแตกต่างกัน เมื่อนำจุดแข็งของทั้งสองภาคส่วนมารวมกัน จะเป็นพลังที่ก้าวไปไปสู่การพัฒนาเป็น Seed Hub ของอาเซียนในภาพรวมของประเทศไทย ไม่แบ่งแยกภาครัฐหรือเอกชน ตามที่ท่านอธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ให้คำนิยามไว้ ทั้งนี้ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักด้วยกันคือ การส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชเพิ่มขึ้นให้ได้มูลค่า 5,000 ล้านบาทต่อปี และก้าวขึ้นเป็นอันดับ 2 หรืออันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชีย

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานและมีบทบาทสำคัญที่จะเข้ามารองรับการเป็น Seed Hub โดยทำหน้าที่ทั้งวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์หลักและขยาย เน้นพืชตระกูลถั่วเพื่อให้ภาคเอกชนไปผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์จำหน่ายขยายสู่เกษตรกรเครือข่าย มีงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อคงคุณภาพและความแข็งแกร่งของเมล็ดพันธุ์ให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่เกษตรกรที่สนใจ ที่สำคัญคือภารกิจตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ก่อนส่งออก ที่มีระบบการรับรองและควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐานระดับสากล พร้อมกันนี้ได้เตรียมยกระดับห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์เพื่อขอการรับรองมาตรฐานของสมาคมทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ระหว่างประเทศ หรือ The International Seed Testing Association (ISTA) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ รวมถึงการออกใบรับรองผลวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ระหว่างประเทศ เพื่อลดข้อกีดกันทางการค้า และส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออกเมล็ดพันธุ์...เชื่อมั่นว่าจะดำเนินการได้ภายในปี 2558.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/208869
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/06/2013 10:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,940. ดูวิธีเลี้ยงกบภูเขาที่อ่าวคุ้งกระเบน











ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีงานศึกษาเพื่อการเกษตรมากมายหลายเรื่องด้วยกันที่ปัจจุบันประสบความสำเร็จแล้ว และได้ขยายผลการศึกษาเหล่านั้นสู่เกษตรกรผู้ที่สนใจนำไปดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง

หนึ่งในนั้นก็มีการเพาะเลี้ยงกบภูเขา ที่นี่มีการจัดสร้างบ่อเลี้ยงกบที่มีความแข็งแรงทนทานเพื่อป้องกันกบหนีออกจากบ่อ และป้องกันไม่ให้สัตว์อื่น ๆ เข้ามาภายในบ่อเลี้ยงกบ จึงสร้างด้วยคอนกรีต ลักษณะของบ่อถ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 5 ม. และยาวประมาณ 10 ม. ทำชานบ่อทางด้านกว้างทั้งสองด้านให้ชานบ่อยาวประมาณ 30 ซม. และกว้างประมาณ 1.5 ม. โดยให้ชานลาดเอียงสู่กลางบ่อ ส่วนทางด้านยาวทำลาดเอียงสู่ท่อระบายน้ำ

หากจะเลี้ยงในบ่อแบบบ่อกลมได้รับคำแนะนำว่า ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 ม. พื้นบ่อลาดเอียงสู่จุดศูนย์กลางของบ่อซึ่งเป็นที่ระบายน้ำทิ้ง มีความลึกประมาณ 12 ซม. ส่วนคันบ่อของบ่อทั้งสองแบบควรสูงอย่างน้อย 60 ซม. และกั้นด้วยตาข่าย และควรทำหลังคาอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเนื้อที่บ่อเพื่อป้องกันไม่ให้กบตกใจและป้องกันแสงแดด หลังจากทำการสร้างบ่อเสร็จแล้ว นำสารส้ม 1 กิโลกรัมต่อน้ำในบ่อ 1 ลูกบาศก์เมตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นถ่ายน้ำทิ้งแล้วขัดบ่อให้สะอาด ตากบ่อทิ้งไว้ให้แห้งสนิท จากนั้นเติมน้ำใหม่ลงไปและเริ่มนำกบภูเขาลงไปเลี้ยงในบ่อ

กบภูเขานั้นเป็นกบที่มีขนาดยาวประมาณ 10-25 ซม. ลำตัวค่อนข้างยาว จัดเป็นกบที่มีขนาดใหญ่ นัยน์ตาโต มีหนังตาปิดเปิดได้ ขาคู่หน้าสั้นมี 4 นิ้ว ขาคู่หลังมี 5 นิ้ว เป็นตุ่มกลมอยู่ปลายนิ้ว มีพังผืดยึดระหว่างนิ้ว จะงอยปากค่อนข้างแหลม จมูกอยู่ใกล้กับปลายจะงอยปาก ผิวหนังเรียบมีสีน้ำตาลเข้ม มีจุดดำขนาดใหญ่หลายจุดอยู่ริมฝีปากบนและล่าง ขอบปากล่างมีเส้นสีเหลืองแบ่งเขตระหว่างส่วนในปากและส่วนนอก ขาคู่หลังมีสีน้ำตาลแก่พาดขวางขาและดูเป็นปล้อง ใต้ท้องใต้ขาเป็นสีขาวปนเหลือง ด้านหน้าอกมีจุดสีดำจาง ๆ กระจายอยู่ กบภูเขาตัวผู้ส่งเสียงร้องดังคล้ายเสียงวัวร้อง ตัวผู้ปุ่มกระดูกจากกรรไกรล่างยื่นแหลมออกคล้ายเขี้ยวอยู่บริเวณด้านหน้าของขากรรไกร กบภูเขาตัวเมียเขี้ยวจะอยู่ลึกเข้าไปในปาก กินแมลง สัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น งู เป็นต้น

ปัจจุบันผู้คนนิยมนำกบภูเขามาประกอบอาหารบริโภคกันมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาจะเป็นกบภูเขาที่เกษตรกรเข้าไปหามาจากแหล่งอาศัยธรรมชาติ มาจำหน่ายเพื่อประกอบอาหาร ด้วยกบภูเขาเมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารจะให้รสชาติอร่อย เนื้อหวาน ส่วนใหญ่จะนำมาแกง-ทอด-ยำ-ผัด และจากที่กบภูเขามีส่วนช่วยสร้างความสมดุลของระบบนิเวศในป่าลึกให้คงสภาพอุดมสมบูรณ์ ด้วยการควบคุมจำนวนแมลงและสัตว์อื่น ๆ ให้มีจำนวนที่เหมาะสม หากลดจำนวนน้อยลงป่าธรรมชาติอาจจะมีปัญหาตามมาได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ศึกษาเพื่อขยายพันธุ์และขยายผลสู่การเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ให้กับเกษตรกร ซึ่งพบว่าประสบผลสำเร็จในหลายพื้นที่สามารถนำไปขยายผลถ่ายทอดสู่การเพาะเลี้ยงของเกษตรกรได้แล้ว อย่างที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังที่กล่าวมาข้างต้น

สำหรับกบภูเขานั้น ทางภาคเหนือของประเทศไทยเรียกว่าเขียดแลว กบชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขาและป่าอุดมสมบูรณ์ พบมากบริเวณป่าสมบูรณ์แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย ใน อ.เบตง จ.ยะลา และบริเวณใกล้เคียง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะออกมาจากป่าดงดิบเพื่อผสมพันธุ์ในบริเวณลำธาร บางครั้งชาวบ้านเรียกว่า กบคลอง ชาวบ้านจะออกหากบภูเขาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เพื่อนำมาประกอบอาหารและจำหน่ายแก่ร้านอาหาร ราคากิโลกรัมละ 80-120 บาท เนื้อกบภูเขาค่อนข้างขาวใสและเหลวกว่าเนื้อกบนา ไขมันสะสมน้อย ทำให้มีรสชาติดีกว่ากบนา กบภูเขาจึงเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของอำเภอเบตงนับตั้งแต่อดีตจวบจนทุกวันนี้.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/208090


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 10:51 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/06/2013 10:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1941. การเกษตรกรรมของเกาหลีใต้


วราพงษ์ ชมาฤกษ์


เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2548 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นที่ Rural Development Administration หรือที่เรียกย่อๆ ว่า RDA ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Suwon ประเทศเกาหลีใต้ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ นอกเหนือไปจากการฝึกอบรมในห้องบรรยายแล้ว ผู้เขียนยังมีโอกาสได้ไปดูงานตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร ทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐและของภาคเอกชน จึงขอถือโอกาสนี้มาเล่าประสบการณ์สู่ผู้อ่าน




รูปที่ 1-2 ในยุค 40 ปีย้อนหลัง ก่อนการปฏิวัติเขียว เกษตรกรชาวเกาหลีใต้ยังคงทำการเกษตรโดยใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่



ประเทศเกาหลีใต้เมื่อย้อนหลังกลับไปประมาณ 40 ปี นับได้ว่าเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ยากจนประเทศหนึ่ง เศรษฐกิจของประเทศนี้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับรายได้จากภาคการเกษตรเพื่อการยังชีพแบบดั้งเดิม พื้นที่เกษตรกรรมของเกาหลีใต้มีประมาณ 11.81 ล้านไร่ หรือเพียง 19 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด เกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ถือครองขนาดเล็ก ขนาดฟาร์มเฉลี่ยแล้วประมาณ 6.25 ไร่ กระจายอยู่ทั่วไปตามที่สูงและภูเขาเนื่องจากพื้นที่ราบของประเทศมีเพียงเล็กน้อย เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตรเพื่อยังชีพเป็นหลัก โครงสร้างพื้นฐานที่จะสนับสนุนการผลิตก็แทบจะไม่มี ในยุคนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกธัญพืชเช่นข้าวเพื่อเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ก็มี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี มันฝรั่ง ข้าวโพด พืชหัว ผัก และผลไม้เป็นพืชรอง แต่ละฟาร์มอาจมีการเลี้ยงวัว หรือสุกรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในยุคนั้นผลผลิตข้าวของประเทศในแต่ละปีประมาณ 3 ล้านตัน ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับบริโภคในประเทศ แต่หลังจากที่ RDA ได้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวใหม่ชื่อพันธุ์ Tongil ข้าวพันธุ์นี้ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ดั้งเดิมถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาได้แพร่หลายไปกว่า 54 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศ ในปี 2520 ประเทศเกาหลีใต้ก็สามารถผลิตข้าวได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่สูงที่สุดในโลกคือ 4.47 ตันต่อเฮกตาร์ ปัจจุบันผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ของเกาหลีใต้ก็ยังคงครองอันดับต้นๆ ของโลก แม้ว่าพันธุ์ Tongil เริ่มเสื่อมความนิยมเนื่องจากคุณภาพการหุงต้มรับประทานไม่ดีเมื่อเทียบกับพันธุ์ japonica ที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ในภายหลัง (เนื่องจากเป็นลูกผสมระหว่างข้าว indica กับข้าว japonica ทำให้ไม่มีความเหนียว)




รูปที่ 3 สภาพพื้นที่ของเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูง มีพื้นที่ราบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น


หลังยุคการปฏิวัติเขียว เศรษฐกิจภาคการเกษตรของเกาหลีใต้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก พร้อมๆกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจนอกภาคเกษตร รายได้ภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น เป็นผลเนื่องมาจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การให้การสนับสนุนภาคการเกษตรโดยรัฐ รวมไปถึงการเกิดขึ้นของฟาร์มที่ทำเป็นการค้า ประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นเพราะเริ่มมีการใช้พันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ การใช้ปัจจัยการผลิต เช่นปุ๋ย มากขึ้น การใช้เครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตร รวมไปถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเกษตรโดยรัฐ เช่นระบบคมนาคม ระบบชลประทาน และระบบการให้บริการด้านส่งเสริมการเกษตร ด้วยจำนวนผู้นำในท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาความรู้ด้านการเกษตรซึ่งมีอยู่มาก ทำให้รัฐประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการพัฒนาชนบทเป็นอย่างดี

การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการเกษตรของเกาหลีใต้เป็นอย่างมาก รูปแบบการบริโภคของคนเมืองที่เปลี่ยนไปทำให้ระบบการเกษตรต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย จากเดิมที่มีการผลิตข้าวเป็นพืชหลัก ก็มีกิจกรรมอื่นๆในฟาร์มเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ การทำสวนผัก สวนผลไม้ รวมถึงไม้ดอกไม้ประดับ เนื่องจากรายได้จากภาคเกษตรค่อนข้างต่ำ และประเทศมีการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ในช่วงเวลา 30 ปี ครอบครัวที่ยึดอาชีพเกษตรกรรมลดลงจาก 2.5 เป็น 1.28 ล้านครัวเรือน สัดส่วนของเกษตรกรเหลือเพียง 7.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ ปัจจุบันเกษตรกรมากกว่าครึ่งที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ปัญหาที่ตามมาก็คือ การขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร และค่าจ้างแรงงานก็แพงยิ่งขึ้น รัฐจึงให้ความสนใจเร่งพัฒนาเครื่องเครื่องจักรสำหรับการเกษตร การเกษตรของเกาหลีใต้จึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากการทำการเกษตรเพื่อยังชีพเป็นการเกษตรเพื่อการค้าโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ผลสำเร็จของการพัฒนาการเกษตรของเกาหลีใต้เนื่องมาจากมีการจัดตั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานวิจัย หน่วยงานส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานที่ให้การศึกษาด้านการเกษตร



รูปที่ 4 ข้าวพันธุ์ Tongil ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมระหว่างข้าว japonica กับ indica ให้ผลผลิตสูงและปลูกแพร่หลาย จนผลผลิตข้าวของเกาหลีใต้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ





รูปที่ 5-7 ด้วยปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร รัฐได้เร่งพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต



รูปที่ 8 พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกรชาวเกาหลีใต้ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยสูงอายุ






รูปที่ 9-10 เยี่ยมชมแปลงสาธิตการปลูกพืชผักในโรงเรือนพลาสติคเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอากาศหนาวเย็น เกษตรกรรับเทคโนโลยีนี้ไปใช้อย่างแพร่หลาย จนเกิดคำพูดเปรียบเทียบว่าเป็นปรากฏการณ์ปฏิวัติขาว (white revolution) ทางการเกษตร



รูปที่ 11 การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวในปัจจุบัน เน้นการปรับปรุงคุณภาพหุงต้ม ความทนทานต่ออากาศหนาวเย็น และเน้นปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการ



ข้าวที่เป็นพืชหลักของเกาหลีใต้ มีการปลูกข้าวกว่าร้อยละ 80 ของฟาร์ม พื้นที่ปลูกข้าวมีประมาณ 57 เปอร์เซนต์ของพื้นที่เกษตร และมีมูลค่าสูงถึง 33 เปอร์เซ็นต์ของมูลค้าสินค้าการเกษตรของประเทศ อัตราการบริโภคข้าวของคนเกาหลีใต้ปัจจุบันลดลงไปมาก เมื่อปี 2544 มีอัตราการบริโภคข้าวประมาณ 88.9 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หลังจากที่เกาหลีใต้สามารถผลิตข้าวจนเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศแล้ว นักวิจัยก็เริ่มปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพดีตามความนิยมของผู้บริโภค โดยใช้พันธุ์ข้าว japonica เป็นพันธุ์พ่อแม่ เพื่อให้ได้คุณภาพข้าวเหนียวนุ่มขึ้น

เนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐได้ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ทำให้ช่องว่างรายได้ระหว่างชุมชนเมืองกับชนบทห่างกันมากขึ้น อย่างไรก็ดี นโยบายของรัฐก็เน้นการผลิตภาคเกษตรให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ เพราะในปัจจุบันเกาหลีใต้ต้องนำเข้าสินค้าเกษตรเป็นจำนวนมาก ด้วยพื้นที่การเกษตรที่ลดลงเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการพัฒนาภาคเกษตรของเกาหลีใต้ ทำให้รัฐต้องกำหนดเขตพื้นที่ส่งเสริมการเกษตรขึ้น รัฐมีการปฏิรูปการใช้ที่ดินลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตร เช่น ระบบชลประทาน พัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร รวมไปจนถึงพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตร โดยเกษตรกรที่อยู่ในเขตส่งเสริมนี้สามารถเป็นเจ้าของพื้นที่ฟาร์มได้โดยไม่มีการจำกัดขนาดพื้นที่ แต่การเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น เจ้าของที่ดินต้องขออนุญาตต่อหน่วยงานรัฐก่อน ในปี 2543 รัฐสามารถจัดเขตฟาร์มให้อยู่ในเขตส่งเสริมการเกษตรนี้ได้ประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ฟาร์มทั้งหมด




รูปที่ 13 สินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะถูกส่งมายังสหกรณ์การเกษตรในท้องถิ่น ซึ่งจะทำหน้าที่ด้านการตลาด ส่วนใหญ่ตามเมืองต่างๆ จะมีซุปเปอร์มาร์เกตของ สหกรณ์การเกษตร


ถึงแม้ว่าความสำคัญด้านเศรษฐกิจของภาคเกษตรจะด้อยกว่าภาคอุตสาหกรรมมากก็ตาม เกาหลีใต้ยังต้องการพัฒนาด้านการเกษตรให้สามารถเลี้ยงประชากรของประเทศได้ แนวทางพัฒนาการเกษตรของเกาหลีใต้จะมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ แต่ในขณะเดียวกันต้องมีความยั่งยืนและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การรักษาเสถียรภาพการผลิตข้าวและธัญพืชอื่น เช่น ข้าวบาร์เลย์ และพืชผักที่ใช้แปรรูปเป็นกิมจิ ยังเป็นความจำเป็นอับดับต้นๆ ของนโยบายด้านการเกษตรของเกาหลีใต้ ปัจจุบันรัฐมีนโยบายที่สำคัญเพื่อพัฒนาการเกษตรของประเทศ เช่น พัฒนาบุคลกรด้านการเกษตรให้มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย การประกันรายได้ของเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสินค้าเกษตรให้หลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่า พัฒนาระบบการจัดการหลังเก็บเกี่ยวเพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนชนบทที่ยึดอาชีพเกษตรกรรม เช่นมีระบบประกันสุขภาพ สนับสนุนด้านการศึกษา สร้างงานนอกฟาร์มในระหว่างนอกฤดูกาลผลิต พัฒนาสภาพแวดล้อมชนบทเพื่อจูงใจให้ผู้คนอยากอาศัยอยู่ในชนบทและยึดอาชีพเกษตรกรรม เป็นต้น เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การเกษตรกรรมของประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับปัญหาหลายๆ อย่าง เช่นเดียวกับที่เกาหลีใต้กำลังประสบอยู่ มาตรการหรือนโยบายรัฐที่เกาหลีใต้พยายามนำใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและเพื่อพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศ อาจเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยที่จะนำมาปรับใช้ได้เช่นกัน



http://ubn-rrc.ricethailand.go.th/document/warapong/kolea/kolea.HTM
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/06/2013 10:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,942. เตรียมยกร่าง ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์แห่งชาติใหม่



หลังจากที่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551-2554 ได้สิ้นสุดลง ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ จากเดิมที่มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นเลขานุการ ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) ได้เข้ามารับผิดชอบดูแลงานเลขานุการแทน ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ ได้ยกร่างโครงสร้างคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติใหม่ เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 โดยคณะกรรมการชุดใหม่มีจำนวน 24 คน (ลดลงจากเดิมที่มี 29 คน) โดยมีตัวแทนจากภาคเอกชน ที่ไม่ใช่หน่วยงานราชการจำนวน 6 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยประธาน (รองนายกรัฐมนตรี) จากเดิมที่เคยมี 9 คน โดยกรรมการจากภาคเอกชนในคณะกรรมการชุดใหม่นี้ประกอบด้วยตัวแทนจากสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน คือ นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย (ประธานมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย) รศ.ดร.นพ.พิชิต สุรรณประกร (รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก) และนายวิเชียร ฉายศิริ (เครือข่ายเกษตรอินทรีย์บูรพา) โดยคณะกรรมการได้จัดประชุมครั้งแรกขึ้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2555

จากการสรุปผลการทำงานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาของแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ (ตามกรอบของแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรอินทรีย์) มีผลความก้าวหน้าในหลายด้าน โดยเฉพาะ

• การเผยแพร่และประยุกต์ใช้งานวิจัยจำนวน 92 เรื่อง
• การจัดทำฐานข้อมูล 3 เรื่อง คือ นวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์ การตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ และองค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์
• ผลักดันให้มีการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ 33 โครงการ
• เผยแพร่ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกร 62,886 คน
• จัดงาน Organic and Natural Expo 2011
• จัดทำเครื่อข่ายความรู้ในระดับภูมิภาค 13 แห่ง
• ส่งเสริมและถ่ายทอดการใช้ปัจจัยการผลิตทดแทนการใช้สารเคมีให้เกษตรกร 70,000 กลุ่ม 3.85 ล้านราย
• ถ่ายทอดความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร 34,800 กลุ่ม 1.8 ล้านราย
• รับรองเกษตรกร ผักและผลไม้ 2,046 ราย ข้าว 1,697 ราย ประมง 27 ราย ปศุสัตว์ 25 ราย


แต่ทั้งนี้ ไม่มีการสรุปว่า ได้มีการใช้เงินงบประมาณในการดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเป็นจำนวนเท่าไหร่ นอกจากนี้ ทางกระทรวงเกษตรฯ ยังได้วิเคราะห์ว่า แนวทางการสงเสริมเกษตรอินทรีย์ในช่วงต่อไปยังคงควรจะให้ความสำคัญกับ 2 แนวทาง คือ เกษตรอินทรีย์สำหรับตลาดภายในประเทศและเกษตรอินทรีย์สำหรับการส่งออก

คณะกรรมการได้มีมติให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ 19 คน เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2556 - 2559 โดยกรอบแนวคิดเบื้องต้นของยุทธศาสตร์ดังกล่าวน่าจะเน้นการพัฒนา 8 ด้าน คือ บุคลากรด้านเกษตรอินทรีย์ ระบบฐานข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน (เช่น โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ ฉางข้าว โรงสีชุมชน) มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทยแบบ one stop service เครือข่ายวิสาหกิจระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบการ กองทุนหมุนเวียนสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการ ช่องทางจำหน่ายผลผลิต และกลไกกำกับดูแลเชื่อมโยงการทำงานระดับชาติ-จังหวัด-พื้นที่



http://www.greennet.or.th/news/1405
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 17/06/2013 12:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,942. หมู่บ้านมันสำปะหลังนาโนเทคโนโลยี

หมู่บ้านมันสำปะหลังนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง
โรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ในปี 2554



วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ดำเนินการโครงการ หมู่บ้านนาโนเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อโครงการ “หมู่บ้านนาโนเทคโนโลยีมันสำปะหลังนาบ่อคำ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง” ตั้งอยู่ที่ ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ โรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม ซึ่งสามารถรวบรวมหมู่บ้านในชุมชนเข้าร่วมโครงการและจัดทำแปลงสาธิตมากกว่า 23 แปลง โดยมีแนวคิดในการให้ชุมชนสามารถนำวัสดุนาโนไปใช้ทดแทนสารเคมีจากปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืชต่างๆ และยังเป็นการเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก ซึ่งท้ายสุดมันสำปะหลังดังกล่าวยังสามารถนำไปสร้างผลผลิตในรูปของพลังงานทดแทนหรือการผลิตเอทานอลได้

วิธีดำเนินงานวิจัย
1. การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการจัดทำแปลงสาธิตขนาด 1 ไร่ ในทุกหมู่บ้านของ ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร รวมทั้งสิ้น 23 แปลงสาธิต เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ โดยมีรายละเอียดในการเพาะปลูกดังนี้

2. ทำการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนการเพาะปลูกเป็นเวลา 12 ชั่วโมง โดยใช้ความเข้มข้นของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ปริมาณ 15 กรัม ต่อ น้ำ 50 ลิตร (พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 4000 ต้น)

3. ทำการฉีดพ่นอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ (ความเข้มข้นของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ปริมาณ 15 กรัม ต่อ น้ำ 50 ลิตร) ทุกๆ 15 วันหลังจากการเพาะปลูก


ผลการดำเนินงานของโครงการเบื้องต้นพบว่า หลังจากการใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในการเพาะปลูก จนถึงอายุ 8 เดือน น้ำหนักมันสำปะหลังเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 40 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นการเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับแปลงที่ปลูกโดยไม่ใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ ซึ่งผลผลิตดังกล่าวจะสูงถึง 15 ตันต่อไร่ ซึ่งจะสามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้เป็นปริมาณ 2,500 ลิตรต่อไร่ (170-190 ลิตร ต่อน้ำหนักหัวมันสด 1,000 กิโลกรัม) 1, 2 นับเป็นการใช้วัสดุนาโนเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรและช่วยส่งเสริมการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



http://www.nano.kmitl.ac.th/index.php/หมู่บ้านมันสำปะหลังนาโน.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/06/2013 12:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 17/06/2013 12:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,943. นาโนเทคโนโลยีคืออะไร

“นาโนเทคโนโลยี” หมายถึงเทคโนโลยีประยุกต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการ การสร้าง การสังเคราะห์วัสดุหรืออุปกรณ์ในระดับของอะตอม โมเลกุลหรือชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กในช่วงประมาณ 1 ถึง 100 นาโนเมตร ซึ่งจะส่งผลให้วัสดุหรืออุปกรณ์ต่างๆ มีหน้าที่ใหม่ๆ และมีคุณสมบัติที่พิเศษขึ้นทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ทำให้มีประโยชน์ต่อผู้ใช้สอยและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้


คำว่า “นาโน (Nano)” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีกว่า Nanos ซึ่งแปลว่าแคระหรือเล็ก เมื่อนำคำว่า นาโน มาใช้นำหน้าหน่วยวัดทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ จะหมายถึงขนาดเศษหนึ่งส่วนพันล้านส่วนของหน่วยวัดนั้น คำว่านาโนเมตร มาจากคำ 2 คำมารวมกัน คือ คำว่า “นาโน” กับ “เมตร” ดังนั้นคำว่านาโนเมตรจึงหมายถึงหน่วยวัดที่มีขนาดเท่ากับ “เศษหนึ่งส่วนพันล้านส่วนของหนึ่งเมตร” นั่นคือ หนึ่งนาโนเมตร (1 nm) = เศษหนึ่งส่วนพันล้านส่วนของหนึ่งเมตร



http://www.nano.kmitl.ac.th/index.php/ความรู้เกี่ยวกับนาโนฯ.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 19/06/2013 5:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,944. เลือกจุลินทรีย์สายพันธุ์ดี บำรุงต้นพืชและป้องกันโรค


อาหารพืช…มีทั้งธาตุอาหารหลัก รอง และเสริม ซึ่งอยู่ในธรรมชาติทั้งใน ดิน อากาศ และ น้ำ โดยเกษตรกรยังไม่สามารถเข้าใจถึงการนำออกมาใช้ประโยชน์…

กับอีกหนึ่งปัญหา คือ แมลงและโรคพืช ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างความเสียหาย…เกษตรกรจึงใช้วิธีง่ายๆ คือ ซื้อปุ๋ยเคมีในราคาแพง จึงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผศ.ดร.นารีรัตน์ มูลใจ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับทีมงาน จึงได้วิจัยหาเชื้อจุลินทรีย์มาใช้กับการเกษตร เพื่อหาทางลดต้นทุนให้กับเกษตรกร

และได้เผยถึงโครงงานว่า…เชื้อจุลินทรีย์ที่ดี มีอยู่หลายสายพันธุ์ ประกอบด้วย

Azotobacter vinelandii,
Bacillus megaterium,

Bacillus circulans,
Bacillus amyloliquefaciens,

Saccharomyces cerevisiae,
Trichoderma harzanum,

Bacillus subtilis,
Beauveria bassiana,

Metarhizium anisopliae

เริ่มการทดลองในห้องแล็บ โดยเพาะเชื้อราที่ก่อโรคแก่พืช แล้วนำเชื้อ Bacillus subtilis ซึ่งเป็นเชื้อไม่ก่อโรคมาใส่ในถาดทดลองเดียวกัน ในอัตรา 1 ต่อ 5 ส่วน

จึงสังเกตพบว่าระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง เชื้อจุลินทรีย์ที่ดีสามารถสร้างสารป้องกันและยับยั้งเชื้อราก่อโรคได้ แล้วทำการวิจัยเกี่ยวกับเชื้อ Trichoderma harzianum ที่เป็นปรสิต ทำลายเชื้อราก่อโรคพืช ให้หยุดการเจริญเติบโตและตายไปในที่สุด

ทีมงานได้ศึกษาข้อมูลพบอีกว่ายังมีจุลินทรีย์ สายพันธุ์ Beauveria bassiana กับ Metarhizium anisopliae สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยต่างๆ แมลงหวี่ขาว ตั๊กแตน มวน ด้วง มอด หนอนเจาะ และ หนอนต่างๆ โดยวิธีการสร้าง เส้นใยเข้าไปทำลายให้แมลงเบื่ออาหารตายในเวลาต่อมา…

เมื่อได้ผลงานวิจัยครบองค์ประกอบทั้งหมดจึงนำเชื้อจุลินทรีย์ที่ดี มาเพาะเลี้ยงด้วย เทคโนโลยีชีวภาพ ให้เป็นเชื้อที่บริสุทธิ์ มีความเข้มข้นสูง แล้วนำมามิกซ์กันก่อนใช้ทดลองกับ ไม้ผล พืชไร่ และ ข้าว ในแปลงทดลองผลปรากฏว่า ช่วยตรึง ไนโตรเจน (N) จากอากาศ ช่วยละลาย ฟอสเฟต (P) และ โพแทสเซียม (K) ที่ตกค้างในดิน

พืชจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ และให้ ผลผลิตดีขึ้นกว่าการใช้ปุ๋ยแบบเดิม อีกทั้งยัง ป้องกัน และ กำจัดแมลงศัตรูพืช ได้อีกด้วย

ผศ.ดร.นารีรัตน์ ยังบอกต่ออีกว่า….ทีมงานได้ส่งตัวอย่างผลผลิตงานวิจัยนี้ไปตรวจวิเคราะห์ ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้ให้การรับรองว่า มีความปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในคน สัตว์ และ พืช

ข้อมูลทั้งหมดได้มอบให้กับภาคเอกชนรายหนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนทำโครงการวิจัยชิ้นนี้ เพื่อนำไปต่อยอดออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม กริ๊งกร๊างที่ ผศ.ดร. นารีรัตน์ 0-3834-0050-1 ไม่เว้นวันหยุดราชการ.

ไชยรัตน์ ส้มฉุน



http://news.enterfarm.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/01/2022 2:55 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2013 10:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,945. ข้อดีและข้อจำกัด ในการใช้ปุ๋ยทางใบ


ข้อดี
1. การปรับปรุงดินที่มีปัญหา ให้มีคุณสมบัติเหมะสมกับการใช้ปุ๋ยทางดิน ต้องใช้เวลาพอสมควร ในช่วงเวลาที่มีปัญหาดังกล่าว อาจแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ โดยการพ่นทางใบโดยตรง ซึ่งไม่ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องกับการตรึง หรือลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน

2. ในหลายกรณีการให้ปุ๋ยทางใบมีประสิทธิภาพสูงกว่าใส่ในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารเสริม

3. ในบางระยะของการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในระยะวิกฤต เช่น ก่อนออกดอก ในจังหวะเช่นนี้ ไม่มีวิธีใดให้ผลดีและรวดเร็วกว่าการให้ทางใบ หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ทันกับความต้องการ และกระทบกระเทือนต่อผลผลิตอย่างรุนแรง การให้ปุ๋ยพวกธาตุอาหารเสริมทางใบอาจไม่ต้องทำบ่อย การให้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมเพียงครั้งหรือสองครั้ง ก็เพียงพอไปจนตลอดชีพจักรของพืช

4. การให้ปุ๋ยทางใบ ได้ผลดีกับพืชที่มีใบใหญ่และใบมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยไว้ได้มาก วิธีนี้จึงให้ผลดีกับพืช ใบเลี้ยงคู่ เช่น ไม้ผล ผักต่าง ๆ มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดียว เช่น ข้าว อ้อย ในกรณีที่รากพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากดินไม่ค่อยสมบูรณ์ มีการตรึงธาตุอาหารรุนแรง ธาตุอาหารสูญเสีย โดยการพังทลาย และการชะล้างอุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นในดินมีจำกัดรากมีบาดแผลหรือเริ่มเป็นโรคหรือระบบรากค่อนข้างจำกัดควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยการให้ปุ๋ยทางใบ

5. การให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อเสริมการใส่ในดิน จะให้ผลเด่นชัด เมื่อให้ตอนที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าและระหว่างการออกดอกขณะที่พืชออกดอกจะมีใบเต็มที่แล้ว แต่ความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากลดลง


ข้อจำกัด
1. ควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีเสริมการใส่ปุ๋ยทางดินตามปกติ
2. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และต้องการความชำนาญพอสมควร

3. พืชหลายชนิด ไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมีและสัณฐาน ลักษณะของพืช มีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบ และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย
4. หากใช้อัตราสูงเกินไป อาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่างรุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารเสริมจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก

5. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด ลมแรงหรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก
6. การพ่นปุ๋ย อย่าให้ถึงกับเปียกโชก เพราะสิ้นเปลีองค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาแพง ประสิทธิภาพของปุ๋ยพ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะมีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยที่ใส่ทางดินที่มีราคาถูกกว่ามาก

7. โดยปกติปุ๋ยที่ใช้อยู่ในรูปของอนินทรียสาร จึงกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไป


ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน


การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ มีข้อจำกัดหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุดคือ ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จนทำให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้ อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบจะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าและเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ

1. ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย คือ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม

2. ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก
2.1 พืชกลุ่มที่ 1 พวกแตงต่าง ๆ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา มะเขือต่าง ๆ ผักกาดหอม ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด
2.2 พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกระหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง
2.3 พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง

3. การกำหนดอัตรา เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี เพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ ของเกษตรกรนั้น ส่วใหญ่ใช้ระมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้นการลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง

เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ
ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อปุ๋ยนั้นอยู่ในรูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย



http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=16558.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2013 10:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,946. เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต ด้วยปุ๋ยทางใบ :


ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของไนโตรเจนดังนั้นเป็นที่นิยมใช้กันมาก คือ ราวร้อยละ 50 ของปุ๋ยทางใบทั้งหมด เมื่อนำมาใช้ร่วมในการผลิตผักและช่วยให้ผักดูอวบและเขียวสด เนื่องจากไนโตรเจน ส่งเสริมการเติบโตของต้นและใบยังช่วยเพิ่มปริมาณของคลอโรฟิลล์ในใบ

ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูงได้รับความนิยมรองลงมา คือ ใช้ประมาณร้อยละ 28 ปุ๋ยประเภทนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ หากใช้เสริมในไม้ผลก่อนการออกดอกจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์

ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมสูง ใช้กันเพียงร้อยละ 11 ของปุ๋ยทางใบทั้งหมดเพื่อเสริมธาตุนี้ในช่วงการพัฒนาของผลในไม้ผลหลายชนิดและช่วยให้รสชาติของผลไม้ดีขึ้น

3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย :
ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยทางใบ
1. ละลายหรือผสมปุ๋ยกับน้ำในอัตราส่วนที่แนะนำ อย่าผสมให้เข้มข้นเกินไป จะทำให้ใบพืชไหม้
2. ปุ๋ยทางใบจะช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารได้ดี ถ้าฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นเร็วที่สุด ถ้ามีอาการรุนแรงมากแล้วการใช้ปุ๋ยทางใบจะไม่เกิดผล
3. ควรถือว่าการใช้ปุ๋ยทางใบเป็นเพียงการเสริม แต่การบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีทางดินเป็นงานหลัก หากบำรุงดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบ


4. เพื่อวัตถุประสงค์อื่น :
เช่นบังคับให้มะม่วงออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยการใช้สารพาโคลบิวทราโซล รดที่พื้นดินใต้พุ่มต่อจากนั้นประมาณ 75 – 90 วัน ก็กระตุ้นให้แตกตาดอกโดยฉีดพ่นด้วยสารละลายโพแทสเซียมไนเตรท 2.5 % หรือไทโอยูเรีย 0.5 % ซึ่งจะช่วยให้มะม่วงแทงช่อดอก 2 สัปดาห์ สำหรับพืชล้มลุกโดยทั่วไป เมื่อย่างเข้าสู่ผลิดอกออกผล อินทรีย์สารต่าง ๆ ที่เคยสะสมไว้ในใบจะเริ่มเคลื่อนย้ายไปสร้างผล เป็นเหตุให้รากพืชได้รับอาหารน้อย ในช่วงนี้การเจริญเติบโตของระบบรากจึงหยุดลง แต่รากก็ยังต้องทำหน้าที่ต่อไปด้วย ประสิทธิภาพที่ต่ำ ปริมาณของธาตุอาหารที่ดูดได้จากดินก็น้อยลงไปด้วย สำหรับในพืชตระกูลถั่วนั้นช่วงนี้ปมรากอาจขาดอาหารจึงเริ่มเน่าและหลุดจากราก ขณะที่รากดูดธาตุไนโตรเจนได้น้อยลง และไม่มีกิจกรรมการตรึงไนโตรเจนอีก พืชจึงไม่มีไนโตรเจนเพียงพอแก่การบำรุงลำต้น ใบ ดอก และผล ในช่วงนี้ไนโตรเจนจากใบจะเคลื่อนย้ายไปสร้งผลเป็นเหตุให้ใบเหลืองและในที่สุดก็แห้งตาย พืชตระกูลถั่วมักประสบปัญหานี้ได้มากกว่าพืชตระกูลหญ้าเพราะใช้ไนโตรเจนมากกว่า ดังนั้นการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนทางใบแก่พืชเหล่านี้ในช่วงที่ออกดอก จะช่วยชะลอการร่วงของใบและมีแนวโน้มจะเพิ่มผลผลิตได้ด้วย: ปุ๋ยทางใบสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

ปุ๋ยทางใบ
ปุ๋ยทางใบ คือ สารที่ทำให้เป็นสารละลายแล้วฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช

ชนิดของปุ๋ยทางใบ
1. ชนิดเป็นของแข็ง หรือเรียกว่าปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยพวกนี้ขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยเคมีบอกสูตรปุ๋ยและปริมาณธาตุอาหารรับรองไว้ในฉลาก สารเคมีซึ่งประกอบกันเป็นปุ๋ยจะต้องละลายน้ำง่าย เมื่อกสิกรต้องการใช้ก็ตวงหรือชั่งปุ๋ยแล้วละลายน้ำตามคำแนะนำก็จะใด้ปุ๋ยซึ่งสามารถใช้ได้ทันที

2. ชนิดเป็นของเหลว เป็นปุ๋ยที่ละลายมาในลักษณะที่เข้มข้นเมื่อต้องการใช้ก็ตวงน้ำปุ๋ยมาเจือจางด้วยน้ำตามคำแนะนำ ปุ๋ยแบบเหลวบางพวกขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยเคมีคือมีสูตรปุ๋ยและปริมาณธาตุที่รับรองบนฉลาก

ปุ๋ยเคมีทั้งชนิดเกล็ดและชนิดเหลว นอกจากจะมีธาตุหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แล้วอาจมีธาตุรองและจุลธาตุผสมอยู่ด้วย หากต้องการทราบว่าปุ๋ยนั้นๆมีธาตุใดอยู่บ้าง และมีอยู่มากน้อยเพียงใด อาจตรวจสอบได้ที่ฉลากของปุ๋ยนั้น


หลักการพิจารณาใช้ปุ๋ยทางใบ
หลักการพิจารณาใช้ปุ๋ยทางใบ ควรพิจารณาด้านความเหมาะสมเรื่อง ดินพืช และด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

1. ด้านดิน:
เนื่องจากดินเป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชตามธรรมชาติ การบำรุงดินให้มีธาตุอาหารบริบูรณ์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดินที่มีเนื้อดินหยาบ เช่น ดินหยาบหรือดินร่วนทราย ดินที่มีการพังทลายและชะกร่อน ดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ ดินเหล่านี้มักจะให้ธาตุอาหารแก่พืชไม่เพียงพอ สิ่งที่ควรกระทำคือ บำรุงดินด้วนปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และป้องกันการพังทลายชะกร่อนของดิน เพื่อให้ดินมีธาตุต่างๆ เพียงพอ จึงจะถือว่าเป็นการจัดการดินอย่างถูกต้อง

เมื่อบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีตามความจำเป็นแล้ว หากปรากฎว่าพืชยังได้รับบางธาตุไม่เพียงพอก็ฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นเสริมเข้าไปพืชก็จะเจริญเติบโตเป็นปกติ โดยขอให้ถือว่าการบำรุงดินเป็นงานหลัก และการให้ปุ๋ยทางใบเป็นงานเสริมและทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น


2. ด้านพืช:
การให้ปุ๋ยทางใบนิยมกันในหมู่ชาวสวนผักและไม้ผล สำหรับข้าวและพืชไร่นั้นใช้กันน้อย

ชาวสวนผักบางรายนิยมให้ปุ๋ยทางใบในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งจะช่วยให้ผักไม่แกร็น และเจริญเติบโตดีขึ้นเมื่อพิจารณาจากราคาผักค่อนข้างดีในฤดูแล้ง พบว่า การให้ปุ๋ยทางใบกับผักกินใบนั้นให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

ไม้ผล การให้ปุ๋ยทางใบมักปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตในบางขั้นตอนของพืชเช่น ฉีดพ่นปุ๋ยที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงก่อนออกดอก เพื่อให้การออกดอกและติดผลดีขึ้น ใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมค่อนข้างสูง เมื่อติดผลแล้วเพื่อให้ผลโตและรสชาดดีขึ้น ชนิดของปุ๋ยทางใบที่ให้กับไม้ผลมักจะสอดคล้องกับปุ๋ยที่ให้ทางดิน อย่างไรก็ตามควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นการเสริมปุ๋ยทางดิน


3. ด้านเศรษฐกิจ :
ขณะนี้ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการใช้ปุ๋ยทางใบ ยังไม่ได้มีการค้นคว้าอย่างจริงจัง จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่าการให้ปุ๋ยทางใบกับพืชแต่ละชนิดเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่ แต่ในแง่ของผู้ผลิตที่มีราคาค่อนข้างแพง เช่น ผักและผลไม้ซึ่งมีการลงทุนสูงอยู่แล้ว การให้ปุ๋ยทางใบกับพืชเหล่านั้นอย่างเหมาะสม จะเพิ่มต้นทุนอีกเล็กน้อยผู้ผลิตรายใหญ่จึงยังให้ปุ๋ยทางใบกันอยู่


วัตถุประสงค์ของการใช้ปุ๋ยทางใบ
การใช้ปุ๋ยทางใบมีวัตถุประสงค์หลักในการใช้อยู่ 4 ประการ คือ
◾เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร :
ในดินด่างพืชมักขาดธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) แมงกานีส (Mn) และโบรอน (Bo)การให้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตราสูงก็คงเป็นเหตุให้พืชขาดสังกะสีได้เช่นกัน การใส่ปุ๋ยจุลธาตุเหล่านั้นทางดินในรูปเกลืออินทรีย์ ก็มักจะตกตะกอน และไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเต็มที่แต่ถ้าใช้ปุ๋ยจุลธาตุคีเลในดินก็ย่อมเสสียค่าใช้จ่ายสูง วิธีการแก้ไข คือ ใช้สารละลายของเกลือจุลธาตุดังกล่าวฉีดพ่นทางใบ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลเร็วและชัดเจนกว่าการให้ทางดิน แต่อย่างไรก็ตามดินยังเป็นทรัพยากรหลักในการผลิตพืชและถือว่าดินเป็นแหล่งธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช การบำรุงดินตามหลักการทีกล่าวข้างต้นจึงเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้การใช้ปุ่ยทางใบจึงอาจยอมรับเข้ามาเสริมความสมบูรณ์ของการผลิต โดยเฉพาะช่วยแก้ไขการขาดธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ดังนี้



http://baitong.page.tl


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/01/2022 2:56 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/07/2013 11:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,947. รวม 20 สวนผลไม้น่าเที่ยว ปี 2555





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
เมืองไทยเป็นเมืองแห่งการเกษตร ที่เต็มไปด้วยพืชพรรณอุดมสมบูรณ์ สวนผลไม้ คืออีกหนึ่งผลิตผลจากความอุดมสมบูรณ์ที่ออกดอกออกผลให้ได้เชยชม และลิ้มรสความอร่อยกันตามฤดูกาล และเมื่อเข้าหน้าฝนเช่นนี้แล้ว บรรดาผลไม้ก็ถึงเวลาผลิดอกออกผลให้เราได้กินกัน ทั้งเงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สละ หรืออื่น ๆ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงรวบรวมข้อมูลของสวนผลไม้ที่น่าสนใจมาฝากกัน เผื่อเพื่อนๆ คนไหน อยากไปชิม ไปกินกันถึงสวน จะได้ลุยกันเลยค่า




สวนผลไม้ระยอง


1. สวนผลไม้สุภัทราแลนด์
สวนผลไม้ที่โด่งดังของจังหวัดระยอง การันตีด้วย "รางวัลกินรี" แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรยอดเยี่ยมในภาคตะวันออก ประจำปี 2553 สุภัทราแลนด์แห่งนี้มีพื้นที่กว้างขวางถึง 800 ไร่ ปลูกผลไม้ในพื้นที่หลากหลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ส้มโอ องุ่น ชมพู่ แก้วมังกร สละ มะพร้าว ขนุน ลำไย ลองกอง เป็นต้น จุดเด่นของที่นี่คือสามารถแวะเข้าเที่ยวชมได้ตลอดทั้งปี เพราะเขามีผลไม้เมืองร้อนกว่า 25 ชนิด ปลูกไว้รองรับนักท่องเที่ยว เรียกได้ว่าแม้จะไม่ใช่ฤดูกาลแต่สวนแห่งนี้ก็ยังมีผลไม้รอต้อนรับคุณอยู่เสมอ แถมยังมีขบวนรถไฟชมสวนพร้อมผู้บรรยายคอยให้ความรู้ และสามารถเลือกชิมผลไม้ต่าง ๆ ในสวนได้ตามสบาย แบบไม่จำกัดระยะเวลาในการอยู่ในสวนอีกด้วย

ที่ตั้ง : เลขที่ 70 หมู่ 10 บนทางหลวงหมายเลข 3143 ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 038-892-048-9, 086-998-6075
เว็บไซต์ : http://suphattraland.surprisethailand.com
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 17.00 น. ทุกวันตลอดทั้งปี
ราคาโดยประมาณ : 250-400 บาท




2. สวนผลไม้ลุงทองใบ
สวนผลไม้รูปแบบครอบครัวตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ที่ให้ความอบอุ่นเป็นกันเอง เหมือนแวะไปเที่ยวสวนผลไม้ของญาติยังไงอย่างนั้น แม้จะเป็นส่วนขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก แต่สวนลุงทองใบก็ทำให้นักท่องเที่ยวอิ่มท้องและอิ่มใจได้กับบุฟเฟต์ผลไม้หลายชนิด ทั้งทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง มะม่วง มะปราง หรือแม้แต่ผลไม้แปรรูปอย่าง ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด ที่นี่เขาก็มีเช่นกัน นอกจากผลไม้ชนิดต่าง ๆ แล้ว สวนลุงทองใบยังปลูกสมุนไพรหลากชนิดไว้เพื่อศึกษาให้ลึกซึ้งถึงสรรพคุณและค้นคว้าวิวัฒนาการใหม่ ๆ เช่น หนุมานประสานกาย, ฟ้าทะลายโจร, กระวาน, ทองพันชั่ง เป็นต้น เรียกได้ว่ามีครบทั้งความอบอุ่น ความสนุกสนาน ความอร่อย และยังได้ความรู้อีกด้วย

ที่ตั้ง : ไม่ไกลจากวัดเขายายดา เลขที่ 96/1 ม.11 ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 083-769-6172, 089-810-6411
เว็บไซต์ : http://suanlungtongbai.com
วัน-เวลาเข้าชม : 09.00 - 18.00 น. ทุกวัน (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และ เดือนเมษายน-พฤษภาคม)
ราคาโดยประมาณ : 100-150 บาท
หมายเหตุ : เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ เปิดให้ชมสวนฟรี! (ดูดอกทุเรียนบาน มะปรางสุก ให้อาหารปลา ฯลฯ)




3. สวนยายดา
สวนผลไม้ชื่อเดียวกับชื่อหมู่บ้าน ที่มีป้าชื่นเป็นเจ้าของสวน มีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ปลูกผลไม้อย่างทุเรียน มังคุด เงาะ พร้อมทั้งผลไม้แปรรูปหลายชนิด โดยที่สวนยายดาแห่งนี้มีพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ และห้องพักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย นอกจากนี้ ยังมีกะปิระยองแท้ ๆ เป็นของดีที่หลายคนนิยมซื้อติดไม้ติดมือเป็นของฝากกลับบ้านอีกด้วย

ที่ตั้ง : เลขที่ 30 หมู่ 3 ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 089-099-1297, 089-043-1330
เว็บไซต์ : www.suanyaida.net
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 17.00 น. เดือนเมษายน-มิถุนายน
ราคาโดยประมาณ : 150 บาท
หมายเหตุ : ค่ากางเต็นท์ 100 บาท, ค่าห้องพัก 400 บาท รวมผลไม้ สำหรับท่านที่ต้องการพักค้างคืน




4. สวนปาหนัน
สวนผลไม้แบบโฮมสเตย์ขนาดย่อมเยาบนพื้นที่ 12 ไร่ ที่มีโฮมสเตย์ 4 หลังรองรับ พร้อมบุฟเฟต์ผลไม้นานาชนิด ทั้งทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง มีอาหารอร่อย ๆ เป็นกันเอง รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ไหว้พระทำบุญ ขี่จักรยานชมเกษตรพื้นบ้าน เดินป่าชมฝายแม้ว เป็นต้น

ที่ตั้ง : เลขที่ 60 หมู่ 3 ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 081-300-9518, 081-681-6927
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 17.00 น. เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ราคาโดยประมาณ : 150 บาท





5. สวนคุณไพบูลย์
สวนผลไม้บนพื้นที่ 200 ไร่ ที่มีทุเรียนหลากหลายพันธุ์ โดยเฉพาะพันธุ์หายากอย่างพันธุ์กระจิบ อีกทั้งยังมีผลไม้ชนิดอื่นอย่าง เงาะ มังคุด มะยงชิด และไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม อีกด้วย โดยที่นี่เขามีบุฟเฟต์ผลไม้ในราคาย่อมเยา ให้นักท่องเที่ยวรับประทานแบบสด ๆ กันอย่างเต็มที่

ที่ตั้ง : เลขที่ 21 ม.4 ตำบลนาตาขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 082-210-0188, 081-567-6368, 086-149-1772, 089-535-7008
เว็บไซต์ : www.paiboonrayong.com
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 18.00 น. เดือนเมษายน-มิถุนายน
ราคาโดยประมาณ : 140 บาท





6. สวนผู้ใหญ่สมควร
สวนผลไม้บนพื้นที่ 100 ไร่ ถูกแบ่งให้เข้าชม 8 ไร่ ซึ่งประกอบไปด้วยผลไม้ขึ้นชื่อนานาชนิด ทั้งทุเรียน มังคุด, เงาะ, ลองกอง, ลางสาด, กระท้อน, สละ, ระกำ, ลิ้นจี่, มะปราง, ชมพู่มะเหมี่ยว, มะไฟ, ขนุน เป็นต้น ซึ่งเขาการันตีว่าผลไม้ที่นี่ปลอดสารพิษและได้รับการรับรองมารตฐาน GMP ด้วย

ที่ตั้ง : เลขที่ 57 หมู่ 3 ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 081-761-9497, 081-991-3233
เว็บไซต์ : http://suanpuyaisomkuan.guiderayong.com
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 17.00 น. เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ราคาโดยประมาณ : 150 บาท





7. สวนประสมทรัพย์
สวนผลไม้ที่มีชื่อเสียงในเรื่องมะยงชิดรสดี ทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลไปที่สวนแห่งนี้เพื่อลองลิ้มชิมรสของดีขึ้นชื่อ แต่นอกจากมะยงชิดแล้วที่นี่เขาก็มีผลไม้อีกหลากหลายชนิด เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง สละ กระท้อน รวมทั้งผลไม้แปรรูปสารพัดอย่าง บุฟเฟต์ผลไม้ก็ราคาไม่แพง ใครอยากทานอาหารด้วยก็มีบุฟเฟต์ผลไม้พร้อมอาหารด้วยนะ

ที่ตั้ง : เลขที่ 108/7 หมู่ 5 ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 081-377-3056, 081-481-6598
เว็บไซต์ : เฟซบุ๊ก สวนประสมทรัพย์
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 17.00 น. เดือนเมษายน-มิถุนายน
ราคาโดยประมาณ : 139 บาท (บุฟเฟต์ผลไม้) หรือ 200 บาท (บุฟเฟต์ผลไม้รวมอาหาร)





8. สวนคุณพิชัย
สวนผลไม้แห่งนี้ขึ้นชื่อเรื่อง สละสุมาลี ที่รสชาติอร่อย หอมหวาน นอกจากนี้ยังมีผลไม้ตามฤดูกาลอื่น ๆ ด้วย โดยมีการเปิดให้เข้าชมและชิมผลไม้แบบบุฟเฟต์ได้ รวมทั้งมีผลไม้แปรรูปให้ซื้อหากลับบ้านกันอีกด้วย

ที่ตั้ง : เลี้ยวขวาไป 9 กิโลเมตร จากสี่แยกไฟแดงอำเภอแกลง (ถนนสุขุมวิท) ทางเข้าเดียวกับวัดบุนนาค จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 081-782-4645, 087-686-0418
เว็บไซต์ : suankunpichai.igetweb.com
ราคาโดยประมาณ : 99 บาท


9. สวนกำนันพงษ์
สวนผลไม้ที่ยืนยันว่าปลอดภัยไร้สารพิษ สามารถชิมผลไม้สด ๆ จากต้นได้ตามใจ มีทั้งทุเรียน ลองกอง มังคุด สละ เป็นต้น เหมาะสำหรับคนรักผลไม้อย่างแท้จริง

ที่ตั้ง : เลขที่ 1 หมู่ 4 ตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 089-939-1564, 089-019-7423
ราคาโดยประมาณ : 99 บาท




สวนผลไม้จันทบุรี

10. สวนสะเด็ดยาด
สวนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในจังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ชื่อเสียงเสียงนามของสวนก็มาจากคอลัมนิสต์คนดัง ยิ่งยง สะเด็ดยาด โดยมีห้องพักรองรับ พร้อมทั้งผลไม้นานาชนิดให้เลือก เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน ขนุน พร้อมทั้งแจกถุงให้เด็ดผลไม้กันเองอย่างเต็มที่

ที่ตั้ง : เลขที่ 183/13 อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (ใกล้วัดเขาสุกิม)
เบอร์โทร : 087-111-1338-9
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 18.00 น. เดือนเมษายน-กรกฎาคม
ราคาโดยประมาณ : 40-50 บาท


11. สวนกุลพัฒน์
สวนผลไม้ที่มีบุฟเฟต์ผลไม้จากต้นให้ได้ลองลิ้มชิมความอร่อยกันแบบสด ๆ อีกหนึ่งแห่ง ในจังหวัดจันทบุรี ที่มีผลไม้ให้เลือกหลากชนิด เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ลำไย เป็นต้น

ที่ตั้ง : กิโลเมตรที่ 298 ถ.สุขุมวิท อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
เบอร์โทร : 086-155-0222, 081-809-0366
วัน-เวลาเข้าชม : 09.00 – 18.00 น. เดือนเมษายน-มิถุนายน
ราคาโดยประมาณ : 60 บาท


12. สวนโถทอง
รวมของดีความอร่อยของผลไม้ไว้ที่สวนโถทองแห่งนี้ ทั้งเงาะ ทุเรียน มังคุด และอื่น ๆ ซึ่งสามารถชิมผลไม้ได้ตามสบาย มีการกวนและทอดทุเรียนให้ชมและชิมฟรีอีกด้วย

ที่ตั้ง : เลขที่ 18 หมู่10 ตำบลคมบาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
เบอร์โทร : 039-459-339
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 17.00 น. เดือนเมษายน-มิถุนายน
ราคาโดยประมาณ : 60 บาท


13. ท่าใหม่ฟาร์ม โฮมสเตย์
ที่พักแบบโฮมสเตย์ ที่มีกิจกรรมมากมายให้ทำ รวมทั้งแวะชมสวนผลไม้และชิมผลไม้อร่อย ๆ จากต้น โดยมีห้องพักให้เลือกพักหลายขนาด รองรับหมู่คณะได้

ที่ตั้ง : เลขที่ 131/11 ถนนเทศบาลสาย 4 ตำบลท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
เบอร์โทร : 081-436-4934, 086-300-5334, 086-332-7871
เว็บไซต์ : www.thamaifarm.com
วัน-เวลาเข้าชม : 09.00 – 17.00 น. เดือนเมษายน-กรกฎาคม
ราคาโดยประมาณ : 1,500 ต่อหลังขึ้นไป (2 ห้องนอนพักได้ 4 ท่าน) รวมบุฟเฟต์ผลไม้



สวนผลไม้ตราด




14. สวนผลอำไพ
สวนผลไม้จังหวัดตราดที่มีผลไม้หลากชนิด อาทิเช่น เงาะ มังคุด ลองกอง และทุเรียน โดยใช้วิธีการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ที่นางงามจักรวาลอย่างปุ๋ย ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก เคยไปเยือนมาแล้ว

ที่ตั้ง : เลขที่ 205 หมู่ 8 ตำบลทุ่งนนทรี อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
เบอร์โทร : 083-953-7300
เว็บไซต์ : เฟซบุ๊ก ponumpai
วัน-เวลาเข้าชม : 09.00 – 17.00 น. เดือนเมษายน-กรกฎาคม
ราคาโดยประมาณ : 100 บาท



15. บ้านสวนแสนรักษ์ โฮมสเตย์
ที่พักแบบโฮมสเตย์ที่เปิดห้องพักให้เข้าพัก พร้อมชมและชิมผลไม้นานาชนิด ทั้งเงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง เป็นต้น ให้คนรักธรรมชาติได้สัมผัสกับบรรยากาศความเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง

ที่ตั้ง : เลขที่ 106 หมู่ 1 ซอยศรีทับทิม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด (ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอเขาสมิง)
เบอร์โทร : 085-999-7457, 084-362-4019
วัน-เวลาเข้าชม : 09.00 – 17.00 น. เดือนเมษายน-กรกฎาคม
ราคาโดยประมาณ : 100 บาท




16. สวนตาหงิม
สวนผลไม้ที่ผลิตและจำหน่ายเห็ดเปาฮื้อไปด้วย แม้คุณตาหงิมจะเพิ่งจากไป แต่สวนแห่งนี้ก็ยังคงเปิดให้บริการให้ได้เข้าชมและเก็บผลไม้กันให้อิ่มใจ อยู่เหมือนเดิม

ที่ตั้ง : เลขที่ 175 หมู่ 7 ซอยห้วงพัฒนา ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
เบอร์โทร : 085-832-7499
เว็บไซต์ : เฟซบุ๊ก ตาหงิม
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 17.00 น. เดือนเมษายน-กรกฎาคม
ราคาโดยประมาณ : 100 บาท


17. สวนสวรรค์ตะวันออก
แหล่งเข้าชมผลิตภัณฑ์ OTOP ของดีส่งออกของเมืองตราด ที่มีทั้งแปลงผักผลไม้แบบออแกนิก และการแปรรูปผลไม้ส่งออก เรียกว่าเป็นแหล่งความรู้อีกที่ที่น่าแวะไปเยือน

ที่ตั้ง : เลขที่ 87 หมู่ 5 ถนนสุขุมวิท ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
เบอร์โทร : 039-537-300, 085-982-7770
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 17.00 น. เดือนเมษายน-กรกฎาคม
ราคาโดยประมาณ : ไม่เสียค่าเข้าชม



สวนผลไม้นครนายก


18. บ้านสวนสายสมร
สวนผลไม้ตลอดปีของเมืองนครนายก ที่เปิดเป็นที่พักและมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้ง เงาะ ส้มโอ ทุเรียน มังคุด กะท้อน ลองกอง กล้วย ขนุน มะยงชิด เป็นต้น แม้จะไม่ใช่สวนผลไม้ขนาดใหญ่โต แต่ที่นี่ก็มีผลไม้ให้ลองชิมแบบสด ๆ เช่นกัน

ที่ตั้ง : เลขที่ 11/2 หมู่ 6 ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
เบอร์โทร : 087-030-1824, 080-566-1901
เว็บไซต์ : www.saisamorn.com
วัน-เวลาเข้าชม : ทุกวันตลอดปี
ราคาโดยประมาณ : 1,200 บาทขึ้นไป



19. ท่าด่านโฮมสเตย์
ที่พักแบบโฮมสเตย์ ที่อยู่ท่ามกลางสวนผลไม้ และมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้เลือกทำมากมาย รวมทั้งชมและชิมผลไม้สด ๆ จากต้นตามฤดูกาล สามารถกางเต็นท์พักแรมได้ด้วย

ที่ตั้ง : เลขที่ 54/2 หมู่ 3 ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
เบอร์โทร : 037-385-015, 083-738-5015, 081-804-4503
วัน-เวลาเข้าชม : ทุกวันตลอดทั้งปี
ราคาโดยประมาณ : 100 บาท



20. สวนละอองฟ้า
สวนทุเรียนกว่า 50 สายพันธุ์ บนพื้นที่ 60 ไร่ ที่เป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ทุเรียนหายาก เหมาะสำหรับคนรักทุเรียนตัวจริง สามารถเข้าชมและชิมทุเรียนโบราณรสชาติดีได้ด้วย

ที่ตั้ง : เลขที่ 111/2 หมู่ 8 ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
เบอร์โทร : 038-216-035-6, 089-248-6401, 089-246-4271
วัน-เวลาเข้าชม : 09.00 - 17.00 น. เดือนเมษายน-มิถุนายน
ราคาโดยประมาณ : 100 บาท



เห็นไหมว่าเมืองไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ มีผลไม้ให้เลือกรับประทานเยอะมาก ๆ เลยล่ะ ยังไงก็อย่าลืมแวะไปลองชิมผลไม้จากต้นดูสักครั้งนะจ๊ะ

แนะนำที่ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร พร้อมคูปองส่วนลดโรงแรม เพียบ

คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คู่หูเดินทาง, suphattraland.surprisethailand.com, suanlungtongbai.com, paiboonrayong.com, suanpuyaisomkuan.guiderayong.com, thamaifarm.com, suankunpichai.igetweb.com, saisamorn.com, เฟซบุ๊ก สวนประสมทรัพย์, เฟซบุ๊ก ponumpai, เฟซบุ๊ก ตาหงิม



http://travel.kapook.com/view41565.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/07/2013 11:53 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/07/2013 11:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,948. เอนไซม์ และองค์ประกอบ


1. มีสีน้ำตาลเข้ม รสเปรี้ยว มีความเป็นกรด-ด่างที่ระดับ pH = 4.7
2. มีสารอาหารในรูปของกลุ่มกรดอะมิโน ซึ่งพืชสามารถดูดซึมได้เร็ว
3. มีปริมาณโอโซนอย่างน้อย 0.01 ppm ซึ่งทำให้มีปริมาณออกซิเจนมากพอต่อการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช

4. มีการแลกเปลี่ยนสารอาหารในดิน คือ ไนโตรเจน (Nitrogen2N) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตโครงสร้างลำต้นพืช,ฟอสฟอรัส (Phosphorus/P) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตของโครงสร้างราก การออกดอก และการติดผล, สำหรับโพแทสเซียม (Potassium/Kalium (K)) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตต่อโครงสร้างของเซลล์พืชและให้ผลตลอดจนความหวาน ของผลไม้ทำให้โครงสร้างของต้นพืชมีความแข็งแรง ให้ผลผลิตสูงและทำให้ต้นไม้มีภูมิคุ้มกันต่อการถูกทำลายของเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช


ขั้นตอนการผลิตเอนไซม์สำหรับคน
ขั้นตอนในการหมักเอนไซม์สำหรับคนนั้น เราจะใช้ผลไม้ที่มีอยู่มากมายในประเทศซึ่งมีตลอดทั้งปี เราจะปฏิบัติดังนี้
1. จัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย น้ำผึ้ง, ผลไม้ที่ต้องการ, น้ำสะอาด, ถ้วยตวง และภาชนะที่มีฝาปิดสนิท

2. นำผลไม้มาทำความสะอาด แล้วนำใส่ภาชนะในอัตราส่วนผลไม้ 3 ส่วน , ตามด้วยน้ำผึ้ง 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน โดยเหลือพื้นที่ของขวดหนึ่งในห้าส่วน เพื่อให้มีพื้นที่ในการหมุนเวียนอากาศในขวด

3. ปิดฝาแล้วทำประวัติติดข้างภาชนะดังนี้
- ชนิดของผลไม้
- วัน / เดือน / ปี ที่ผลิต

แล้วนำเก็บในห้องที่มีอากาศถ่ายเทและมีแสงแดดส่องน้อยที่สุด เก็บนาน 3 เดือนหมั่นเปิดจุกคลายอากาศออกแล้วปิดทันที ในช่วงอาทิตย์แรก

4. เมื่อได้ระยะเวลา 3 เดือนแล้วเกิดน้ำใสลอยตัว ให้ดูดออกด้วยสายยาง แล้วนำมาขยายต่ออีกทุกๆ 3 เดือน เป็นเวลา 3 ปีในอัตราส่วน น้ำใส 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน


ขั้นตอนการขยายหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคน
ในการขยายหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคนนั้น เอนไซม์ที่ใช้ควรมีอายุการหมักที่นานๆ ประมาณ 1 ปีขึ้นไป เมื่อขยายแล้ว ประสิทธิภาพของเอนไซม์จะไม่ลดลง แต่จะเป็นการขยายปริมาณให้มากขึ้นและประหยัดเวลาในการหมักมากขึ้น มีขั้นตอนดังนี้

1. นำหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคน 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน นำมาผสมใส่ในภาชนะ (ถ้าใช้น้ำผึ้งที่มีความชื้น 20% สามารถทานได้ แต่ถ้าเราใช้น้ำผึ้งธรรมดาจะต้องหมักไว้ 3 เดือน จึงจะนำมาทานได้)

2. ถ้าเราไม่ทาน ถ้าครบ 3 เดือน เราสามารถนำมาขยายในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกได้ คือ ปริมาณของเอนไซม์ก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้ประหยัดเวลาในการหมัก


ขั้นตอนการขยายเอนไซม์สำหรับพืชและสัตว์
การใช้เอนไซม์สำหรับเกษตรนั้นต้องใช้ในปริมาณจำนวนมากและค่อนข้างบ่อย การขยายปริมาณเอนไซม์จะทำให้ ปริมาณในการใช้เพียงพอกับความต้องการ อีกทั้งจะประหยัดเวลา อุปกรณ์และพื้นที่ในการหมัก ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก มีดังนี้

1. นำหัวเชื้อเอนไซม์อายุ 1 ปี อัตราส่วน 1 ส่วน ต่อน้ำตาลแดงหรือกากน้ำตาล 1 ส่วนต่อน้ำ 10 ส่วน บรรจุลงในภาชนะ แล้วทำให้เข้ากันโดยการเขย่าหรือคน

2. ถ้าหัวเชื้อที่มีอายุนานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เมื่อเรานำมาขยาย สามารถนำมาใช้ได้เลย แต่ถ้าต้องการเก็บไว้ให้นานขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้


ขั้นตอนการสลายพิษกากน้ำตาล
การสลายพิษกากน้ำตาลหรือโมลาส เป็นการสลายคุณสมบัติส่วนประกอบบางตัวของกากน้ำตาล ซึ่งจะทำให้ดินเกิดการจับตัวแข็ง จนน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงดินได้ และทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมน้ำ อาหารและดินไม่สามารถคายความชื้น ทำให้พืชขาดน้ำหรือเป็น โรครากเน่า โรคโคนเน่า ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาดังกล่าว

ส่วนผสม
- กากน้ำตาลหรือโมลาส 1 กิโลกรัม
- เอนไซม์สำหรับพืช ถ้าหมักด้วยผลไม้รสเปรี้ยวจะดี เช่น มะนาว , สับปะรด ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป 1 ลิตร
- น้ำ 1 ลิตร

วิธีผสม
- นำกากน้ำตาล เอนไซม์ และน้ำในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 ผสมในภาชนะให้เข้ากัน
- นำส่วนผสมที่ได้ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ประมาณ 3 เดือน ขึ้นไป ยิ่งอายุการหมักนานยิ่งดี จนน้ำที่ได้มีลักษณะใสไม่ข้นเหมือนตอนแรก

วิธีใช้
- น้ำที่ได้ในขั้นตอนนี้เรียกว่า "ซูโครส" ใช้ผสมกับอินทรียวัตถุและน้ำแทนการใช้น้ำตาลแดงได้ ช่วยลดต้นทุนในการผลิตเอนไซม์ ในอัตราส่วน อินทรียวัตถุ 3 ส่วน ซูโครส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน

- นำมาขยายเอนไซม์ ในอัตราส่วนน้ำเอนไซม์ 1 ส่วน ซูโครส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน การสลายพิษกากน้ำตาลหรือโมลาส มีความสำคัญต่อการใช้ทำเอนไซม์สำหรับการเกษตร ซึ่งผลของกากน้ำตาลจะเกิดขึ้นในช่วงระยะ 2-3 ปี หลังการใช้กากน้ำตาล ในระยะแรกต้นไม้จะเริ่มใบเล็กลง แก่น ผลของผลผลิตลดลงและมีขนาดเล็กลง ต้นไม้มีลักษณะคล้ายขาดน้ำ ไม่ว่าจะรดน้ำเพิ่มขึ้นก็ตาม ระยะต่อมาใบเหลืองและร่วง ต่อมาก็ยืนต้นตาย



การใช้เอนไซม์ตามลักษณะงานทางการเกษตร
การนำเอนไซม์ไปใช้ในการเกษตร
ขณะนี้เกษตรกรของไทยเราเสียเปรียบเกษตรกรประเทศคู่แข่งด้านต้นทุนการผลิต เพราะผลิตผลของเราต่ำมาก และสาเหตุ ที่ผลผลิตต่ำเนื่องจากดินหมดปุ๋ยการขาดแคลนน้ำซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการเกษตรล้นเกิน จนมีการตกค้างอยู่ในดินและน้ำและ หากว่าการเผยแพร่วิชาการด้านการเพาะปลูก การป้องกัน และการขจัดปัญหาศัตรูพืชแบบธรรมชาติ โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ให้กับเกษตรกรได้ ทำให้ช่วยลดการสูญเสียให้กับเกษตรกรเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติได้ ป็นการพึ่งพาตนเอง และสามารถพัฒนาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพามาตรการของรัฐอย่างเดียว


การนำน้ำเอนไซม์พืชไปใช้ประโยชน์
ทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)
การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์
- เตรียมพื้นที่ผสมปุ๋ย โดยใช้พื้นเรียบๆ (พื้นซีเมนต์จะดี)
- ผ้ายางสำหรับปูพื้นกันปุ๋ยซึมลงดิน ในกรณีที่ไม่ได้ผสมบนพื้นปูนซีเมนต์
- กระสอบป่านเก่าๆ สำหรับคลุมปุ๋ยที่ผสมแล้ว
- ถังฝักบัวรดน้ำ
- พลั่ว จอบ

ส่วนผสม
- เศษวัสดุจากพืช เช่น เปลือกมัน ฟาง เปลือกถั่ว แกลบเผา ผักตบ 10 ปี๊บ (อาจใช้อย่างเดียวหรือหลายอย่างผสมกัน
โดยรวมแล้วให้ได้ปริมาณเท่ากับอัตราส่วนผสมที่กำหนด)
- แกลบ 10 ปี๊บ
- มูลสัตว์ 10 ปี๊บ
- น้ำหมักพืช และน้ำตาลแดง อย่างละ 2-3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว

วิธีผสม
- นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันแล้วนำน้ำที่ผสมน้ำหมักพืชและน้ำตาลแดงหรือซูโครสให้ทั่วๆ
- เพิ่มน้ำรดส่วนผสมปุ๋ยไปเรื่อยๆ (โยผสมน้ำหมักพืช และน้ำตาลแดงหรือซูโครส ตามสัดส่วนที่กำหนดในแต่ละถัง) พร้อมกับคลุกเพื่อให้น้ำซึมหมาดไปทั่วทั้งกองปุ๋ย
- ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยทดลองกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออก จะจับเป็นก้อนหลวมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้
- เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกัน ให้สูงจากพื้นพอประมาณ คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด
- ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และ
- ในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน
- ทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออก คลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม
- อีก 3-4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็น ถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็น จึงสามารถนำไปใช้ได้

ทำปุ๋ยคอกหมัก ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ถ้านำไปใช้โดยตรงจะเกิดโรคและแมลงต่อพืชจึงควรหมักเสียก่อน

ส่วนผสม
- มูลสัตว์ 1 ส่วน
- แกลบเผา 1 ส่วน
- น้ำเอนไซม์สำหรับพืชและน้ำเอนไซม์สำหรับคน อย่างละ 5-10 ช้อนโต๊ะ
- น้ำ 10 ลิตร

วิธีผสม
- ผสมมูลสัตว์ แกลบเผา เข้าด้วยกัน
- นำน้ำเอนไซม์และน้ำตาลแดงหรือซูโครสผสมในน้ำ รดกองปุ๋ยที่คลุกแล้วให้ทั่ว ให้มีความชื้นระดับเดียวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)
- เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาพอประมาณ คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3-5 วัน โดยไม่ต้องกลับ เมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้

ทำยาขับไล่แมลง
สูตรนี้จะช่วยป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืช พร้อมทั้งเสริมสร้างความต้านทาน เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชบางชนิดด้วย

ส่วนผสม
- น้ำเอนไซม์สำหรับคน 1 ขวด
- น้ำเอนไซม์สำหรับพืช 1 ขวด
- น้ำสะอาด 10 ขวด

วิธีผสม
- นำเอนไซม์สำหรับคนที่อายุมากกว่า 3 เดือน ผสมน้ำ 1 : 10 หรือ 1 : 100
- ใส่น้ำหมักพืชลงไป คนให้เข้ากันดี
- ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 90 วัน (ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด)
- ระหว่างการหมัก (ช่วง 90 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า-เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้น และเพื่อระบายก๊าซออก
- ครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือนขึ้นไป โดยต้องเปิดฝาระบายก๊าซออกเป็นครั้งคราว

วิธีใช้
- นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 10 ลิตร

การทำฮอร์โมนพืช
ส่วนผสม
- กล้วยน้ำว้าสุก ฟักทองแก่จัด มะละกอสุก อย่างละ 1 กิโลกรัม
- น้ำหมักพืช และกากน้ำตาล (สลายพิษแล้ว) อย่างละ 1 ช้อนแกง
- น้ำสะอาด 5 ลิตร

วิธีผสม
1. สับกล้วย ฟักทองและมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้สะอาด
2. ผสมน้ำหมักพืช กากน้ำตาล (สลายพิษแล้ว) และน้ำสะอาดให้เข้ากัน
3. นำส่วนผสม ข้อ 1. และข้อ 2. คลุกเข้ากันให้ดี
4. บรรจุลงในถังปุ๋ย หมักไว้ในถังพลาสติก ปิดฝาหมักไว้ 3 เดือนขึ้นไป

วิธีใช้
- นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ลิตร ต่อ 100 ลิตร ฉีดพ่น
- ใช้ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ในช่วงติดดอก จะทำให้ติดผลดี
- ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถุงปุ๋ย ใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี

เร่งดอก เร่งราก
วิธีผสม
- ใช้หินฝุ่นคลุกใส่ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อปุ๋ยชีวภาพและขี้เถ้าแกลบ 1 กก. ใช้เร่งดอก เร่งราก



การประยุกต์ใช้ในการเกษตร
นาข้าว
ในพื้นที่ 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้
1. ไถพรวน
- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 กก. (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว
- ผสมน้ำหมักพืช 2 ลิตร ซูโครส 2 ลิตร ในน้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่
- ฉีดพ่นให้ทั่วไถพรวน ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำเอนไซม์พืชย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ดข้าว
- นำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้ สัปดาห์ 1-2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น
- พืชที่กำลังแตกใบอ่อน ให้ใช้อัตราส่วนที่เจือจาง
- หัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้ว หากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ยาสูบ โดยนำน้ำแช่สมุนไพรใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


ยาขับไล่แมลงสูตรเข้มข้น
วิธีผสม
ใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา แต่เพิ่มปริมาณน้ำเอนไซม์และควรมีอายุของเอนไซม์มากกว่า 1 ปี

วิธีใช้
- ใช้ฉีดพ่นปราบหนอนและแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนหลอดหอม หนอนชอนใบ ฯลฯ โดยใช้สัดส่วน หัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว ต่อน้ำ 200 ลิตร (หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม)
- ใช้กำจัดเห็บ หมัด ในสัตว์เลี้ยง
- ใช้กำจัดเหา ดดยเอาน้ำราดผมให้เปียก แล้วชโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้นผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักทิ้งไว้ 30 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด
- หลังจากไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืชและซูโครส ในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบ เพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด
- ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถและคราด เพื่อดำนาต่อไป

2. ไถคราด
- พ่นน้ำเอนไซม์พืชผสมซูโครส และน้ำในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง
- ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ

3. หลังปักดำ 7-15 วัน
- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กก. ต่อ ไร่
- ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืช และซูโครสอย่างละ 2 ลิตร

4. ข้าวอายุ 1 เดือน
- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กก. ต่อ ไร่
- ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืชและน้ำตาลแดงหรือซูโครส อย่างละ 2 ลิตร

5. ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย
- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 40 กก. ต่อ ไร่
- ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วน น้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืช และน้ำตาลแดงหรือซูโครสอย่างละ 2 ลิตร

6. การป้องกันศัตรูพืช
- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืด หรือช่วงเย็น

หมายเหตุ :
ต่อพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 กิโลกรัม ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่เมื่อ ดินคืนสภาพสู่ความอุดทสมบูรณ์ดีแล้ว ปีต่อๆไปจะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรก อาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ แต่ในช่วงปีต่อๆไปปริมาณผลผลิตจะเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และการเพิ่มปริมาณผลผลิต

ผักสวนครัว
- โรยปุ๋ยชีวภาพ 1 กก. ต่อพื้นที่ 1ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับ
- รดด้วยน้ำผสมกับน้ำเอนไซม์พืช ต้องอายุมากกว่า 3 เดือน อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลิตร ลงมือปลูก
- โรยปุ๋ยชีวภาพซ้ำรอบๆทรงพุ่ม (อย่าให้โดนใบหรือโคนต้น) เดือนละ 1-2 ครั้ง
- รดน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช อัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลง ผสมน้ำฉีดพ่นเมื่อมีแมลงศัตรูพืชระบาด


ไม้ผลและไม้ยืนต้น
- ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม โดยใช้ปุ๋ย 2 กำมือ คลุกกับดินก้นหลุมให้เข้ากัน รดด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช (น้ำเอนไซม์พืช 1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร) เมื่อลงมือปลูก คลุมโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง
- เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้ว ให้พรวนดินและโรยปุ๋ยซ้ำรอบทรงพุ่มต้นละ 2 กก. ต่อปี โดยใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ พร้อมกับรดด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืชเป็นระยะๆ

การแก้ปัญหาวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี สำหรับการทำนาข้าว และพืชไร่ หลังจากใช้น้ำเอนไซม์พืชและปุ๋ยชีวภาพแล้ว จะทำให้เมล็ดหญ้าที่พักตัวอยู่ เร่งงอกขึ้นมาทั้งหมด ทำให้เราสามารถกำจัดวัชพืชได้ทั้งหมดด้วยการไถพรวน เป็นการ ตัดวงจรชีวิตของวัชพืชไม่ให้งอกขึ้นมาอีกต่อไป

วิธีทำลายวัชพืช
- ตัดหรือล้มวัชพืชต่างๆให้เกิดรอยช้ำ แล้วโรยปุ๋ยชีวภาพทับลงไป
- ฉีดพ่นซ้ำ ด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชปริมาณเข้มข้น (น้ำ 1 ส่วนต่อน้ำเอนไซม์พืช 1 ส่วน)
- ใช้วิธีนี้ก่อนการไถพื้นที่ เพื่อทำนาหรือทำไร่ ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยว ไม่นานักปัญหาวัชพืชจะหมดไป

หมายเหตุ :
น้ำเอนไซม์พืชที่ใช้ในกิจกรรมทางการเกษตรทุกประเภทจะต้องหมักเกิน 3 เดือนขึ้นไป

ดินร่วนซุย และปลูกได้โดยไม่ต้องไถพรวน ตามปกติดินจะจับแน่นเป็นก้อนแข็ง ทำให้ระบายน้ำไม่ดี น้ำจะไหลผ่านบนผิวหน้าดินส่วนการใช้ปุ๋ย เคมีจะยิ่งทำให้ดินจับตัวแข็งยิ่งขึ้น ส่วนการใช้ปุ๋ยคอกจากสัตว์ เป็นเพียงการทำให้ดินมีปุ๋ยมากขึ้น แต่ไม่ได้ปรับสภาพของโครงสร้างดิน ให้เหมาะสมสำหรับการเกษตร จากการทดลองในพื้นที่นาข้าวที่ใช้ปุ๋ยมูลไก่ติดต่อกันซ้ำถึง 5 ปี พบว่าข้าวจะออกใบมาก ส่วนรวงข้าว มีปริมาณเมล็ดข้าวน้อยลงและมีเมล็ดลีบมากกว่าเดิมแต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำเอนไซม์พืช เอนไซม์และส่วนผสมในปุ๋ย (โดยเฉพาะแกลบ) จะทำให้โครงสร้างดินเริ่มปรับตัวเกิดเป็นโพรงและมีช่องอากาศมากขึ้น ดินจึงร่วนซุยและอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เมื่อใช้ไปนานๆดินจะค่อยๆคืนสภาพสู่ความ อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ในการทดลองบางพื้นที่ พบว่าเมื่อใช้ปุ๋ยชีวภาพ และน้ำหมักพืชติดต่อกัน 3 ปี สภาพดินจะยิ่งร่วนซุยจนไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไป

น้ำเอนไซม์พืชกับการปศุสัตว์
การเลี้ยงสุกร ผสมน้ำเอนไซม์พืช 1 ลิตร (ควรมีอายุการหมักมากกว่า 1 ปี) น้ำตาลแดงหรือซูโครส 1 ลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตร ในภาชนะแล้วปิดฝาให้สนิท

วิธีใช้ทำ
1. ทำความสะอาด
- นำไปฉีดล้างให้ทั่วคอก จะกำจัดกลิ่นมูลเก่าและก๊าซแอมโมเนียได้ภายใน 24 ชม.
- ทำซ้ำทุกสัปดาห์ น้ำล้างคอกนี้จะช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่าและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย
- ผสมน้ำเอนไซม์พื 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 100 ลิตร ฉีดพ่นตามบ่อน้ำ เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะเห็นผลใน 1-2 สัปดาห์

2. ผสมอาหาร
- ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 500-1,000 ลิตร (โดยประมาณ) ให้สุกรกินทุกวัน จะช่วยให้แข็งแรง มีความต้านทานโรค และป้องกันกลิ่นก๊าซแอมโมเนียจากมูลสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย
- ลูกสุกรที่มีอาการท้องเสีย ใช้น้ำเอนไซม์พืช (หัวเชื้อ) 5 ซีซี หยอดเข้าทางปาก จะรักษาอาการได้

หมายเหตุ :
กรณีเลี้ยงวัว ควาย ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผสมน้ำเอนไซม์พืช น้ำตาลแดงหรือซูโครสกับน้ำ แล้วรดฟางหรือหัวอาหารให้กิน รวมทั้งใช้ผสมในน้ำให้กินทุกวัน


การเลี้ยงไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ
- ใช้น้ำเอนไซม์พืชผสมน้ำสะอาดให้กินทุกวัน จะช่วยให้สัตว์แข็งแรง ไข่ดกและคลอเลตเตอรอล น้ำหนักดี อัตราการตายต่ำ มูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์และกลิ่นแอมโมเนีย
- ใช้น้ำเอนไซม์พืชผสมน้ำ ฉีด พ่น ตามพื้น เพื่อกำจัดกลิ่นก๊าซแอมโมเนียและกลิ่นเหม็นจากมูล ทุกๆ 4 วัน และยังช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ของแมลงวันทางอ้อมได้ด้วย

จากสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ความอยู่รอดของประเทศไทยในสังคมโลก หมายถึงความสามารถของประเทศที่จะต้องเลี้ยงตนเองได้ ช่วยตนเองได้ในด้านปัจจัยหลัก คือ อาหาร , ที่อยู่อาศัย , เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค


http://www.agriqua.doae.go.th/organic/enzyme/enz1.html#3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/07/2013 4:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,949. ลูกแป้ง








ลูกแป้งเป็นกล้าเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักข้าวหมาก อุ และสาโท และแม้แต่น้ำส้มสายชูและขนมถ้วยฟู ในลูกแป้งสำหรับการหมักสาโทจะมีเชื้อราและเชื้อยีสต์ผสมกันอยู่ ทำหน้าที่ในการหมักข้าวให้เป็นน้ำตาล และ เกิด แอลกอฮอล์ขึ้นตามลำดับ สูตรการทำลูกแป้ง เป็นสูตรที่ถ่ายทอดกันมาในครอบครัว และมักปิดเป็นความลับ อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ตีพิมพ์สูตรลูกแป้งไว้หลายแห่ง และรวบรวมไว้โดยศาสตราจารย์นภา โล่ห์ทอง ในหนังสือกล้าเชื้ออาหารหมัก

ความเชื่อที่ว่าสมุนไพรในลูกแป้ง เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดกลิ่นรสของสาโทนั้น ไม่มีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การใช้เชื้อบริสุทธิ์ในการหมักสาโท ยังให้กลิ่นรสแตกต่างจากการใช้ลูกแป้ง ซึ่งอาจเกิดจากใช้เชื้อจุลินทรียบริสุทธิ์เพียง 2 ชนิด คือ ราและยีสต์ แต่ในการหมักจากลูกแป้ง อาจมีจุลินทรีย์หลายชนิด มีส่วนร่วมในการหมักด้วย


ตัวอย่างสูตรลูกแป้ง :
แป้งข้าวจ้าว 400 กรัม
กระเทียม 6 กรัม
ขิง 6 กรัม
ข่า 6 กรัม
ชะเอม 6 กรัม
พริกไทย 6 กรัม
ดีปลี 2 กรัม
และลูกแป้งเก่า 5 กรัม ต่อแป้ง 1 กิโลกรัม


สมุนไพรที่ใช้ทำลูกแป้งเหล่านี้สามารถ ยับยั้งแบคทีเรีย ที่ทำให้แป้งบูดเสียแต่ ไม่ทำลายยีสต์และรา ที่ใช้ในการหมัก สมุนไพรในสูตรนี้เพียงพอแล้วในการยับยั้งแบคทีเรีย ไม่จำเป็นต้องใช้สูตรสมุนไพรหลายชนิดเกินไป

การทำลูกแป้งโดยผสมแป้งกับสมุนไพรให้เข้ากัน เติมน้ำให้ปั้นเป็นก้อนได้ (ประมาณ 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 100 กรัม) คือให้แป้งที่นวดมีความชื้นประมาณ 45% เรียงลูกแป้งบนกระด้งหรือภาชนะก้นโปร่ง โรยผงลูกแป้ง 15 กรัมต่อแป้ง 1 กิโลกรัม คลุมด้วยผ้าขาวบาง บ่มประมาณ 48 ชั่วโมง นำไปตากแดดให้แห้ง


http://www.surathai.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=64543&Ntype=4
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 29/07/2013 10:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,950. การใช้ปุ๋ยในระบบชลประทาน


การใช้ปุ๋ยในระบบชลประทาน (fertigation) หมายถึง การใส่ปุ๋ยเคมีที่ละลายง่ายในระบบชลประทาน เพื่อให้พืชได้รับปุ๋ยพร้อมกับน้ำ สำหรับปุ๋ยที่ใช้ก็กำหนดให้มีชนิดของธาตุอาหารสัดส่วนของแต่ละธาตุและความเข้มข้นของปุ๋ยที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับช่วงการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด


การใช้ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำ หรือการใช้ปุ๋ยในระบบชลประทาน ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีดังนี้ คือ
1.ประหยัดแรงงานในการขนปุ๋ยและหว่านปุ๋ย

2.กำหนดการให้ปุ๋ยได้สะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของพืชในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต

3. การกระจายของปุ๋ยสม่ำเสมอ เนื่องจากอยู่ในรูปของสารละลายที่เคลื่อนย้ายไปพร้อมกับน้ำแต่ก็สามารถควบคุมการกระจายของปุ๋ยได้ โดยให้ปุ๋ยส่วนมากอยู่ในเขตรากจึงไม่มีปัญหาการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน

4. เป็นการแบ่งใส่ปุ๋ยทีละน้อยจึงมีประสิทธิภาพของการใช้สูงเนื่องจากสูญเสียน้อย

การใช้ปุ๋ยร่วมกับการชลประทานจะได้ผลดีเมื่อเลือกใช้ระบบการให้น้ำแบบไมโครได้แก่ ระบบน้ำหยดและระบบฉีดฝอยซึ่งใช้หัวฉีดฝอยขนาดจิ๋วสำหรับระบบการให้น้ำแบบหยด มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือเครื่องสูบน้ำ ระบบท่อหัวจ่ายน้ำหยด เครื่องกรอง เครื่องให้ปุ๋ยหรืออัดฉีดปุ๋ย และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น มาตรวัดแรงดันน้ำและประตูน้ำ สำหรับระบบที่ใช้หัวจ่ายน้ำแบบฉีดฝอยขนาดจิ๋ว สามารถให้น้ำและปุ๋ยคลุมพื้นที่ใต้ทรงพุ่มได้กว้างกว่าหัวน้ำหยดมาก ส่วนเครื่องกรองที่ใช้ไม่ซับซ้อนเหมือนระบบน้ำหยด เนื่องจากปัญหาการอุดตันมีน้อยกว่า


ปุ๋ยเคมีที่ใช้ได้อย่างเหมาะสมในระบบชลประทาน มีสมบัติดังนี้
1) สภาพการละลายน้ำได้สูงไม่มีสิ่งเจือปนที่เป็นตะกอน

2) เลือกปุ๋ยที่มีจำนวนธาตุอาหารและสัดส่วนของธาตุเหล่านั้นสอดคล้องกับธาตุที่ดินขาดแคลนและเหมาะกับแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต

3) เนื่องจากปุ๋ยประเภทนี้ราคาค่อนข้างแพงจึงต้องเปรียบเทียบราคาของปุ๋ยชนิดเดียวกัน และเลือกซื้อที่มีราคาต่อหน่วยธาตุอาหารต่ำที่สุด

เนื่องจากปุ๋ยเคมีบางชนิดเมื่อนำมาละลายร่วมกันในน้ำชลประทานปุ๋ยอาจจะทำปฏิกิริยากันแล้วเกิดตะกอนซึ่งมีผลเสียดังนี้คือ สูญเสียปุ๋ยเนื่องจากต้องกรองตะกอนนี้ออกไปต้องล้างอุปกรณ์การกรองบ่อยขึ้นกว่าเดิม และหากตะกอนเหล่านี้เล็ดลอดผ่านแผ่นกรองไปได้ก็จะก่อปัญหาการอุดตันของท่อละหัวจ่ายน้ำ จึงควรทดสอบก่อนว่าปุ๋ยที่จะนำมาใช้ร่วมกันมีปัญหาการตกตะกอนเมื่อนำมาผสมในความเข้มข้นที่ใช้จริงหรือไม่

การกำหนดแผนการใช้ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำแก่พืชต้องพิจารณาปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ชนิดของดิน ความต้องการธาตุอาหารของพืช และปริมาณน้ำที่ให้แต่ละครั้ง ต่อจากนั้นก็พิจารณากำหนด

1. อัตราปุ๋ย หมายถึงจำนวนกรัมของแต่ละธาตุที่พืชควรได้รับในการให้น้ำครั้งหนึ่ง

2. ความเข้มข้นของปุ๋ยอาจกำหนดหน่วยเป็นมิลลิกรัมของแต่ละธาตุในสารละลาย 1 ลิตร (เช่น มก.ธาตุ/ลิตร) หรือความเข้มข้นที่มีหน่วยเป็นน้ำหนักของปุ๋ยที่ใช้ละลายน้ำ เช่น ใช้ปุ๋ย 0.5 กรัม/ลิตร หมายความว่าใช้ปุ๋ยหนัก 0.5 กรัม ละลายในน้ำชลประทาน 1 ลิตร หรือเมื่อพืชได้รับน้ำ 1 ลิตร ก็จะได้ปุ๋ย 0.5 กรัมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้พืชได้รับแต่ละธาตุในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ และความเข้มข้นไม่สูงเกินไปจนเป็นอันตรายต่อรากพืช

เพื่อป้องกันมิให้รากพืชเป็นอันตรายเนื่องจากการใช้ปุ๋ยที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป จึงควรศึกษาความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยที่ควรใช้ให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เพื่อให้ได้ความเข้มข้นที่เหมาะสม สำหรับพืชทั่วไปความเข้มข้นของธาตุอาหาร 100 มก./ลิตร นับว่าไม่สูงเกินไป


เนื่องจากความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ไม่อาจกำหนดให้สูงเกินระดับที่เหมาะสม ดังนั้นปริมาณปุ๋ยซึ่งพืชในพื้นที่จะได้รับจึงขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำชลประทานที่ให้แต่ละครั้ง สำหรับปริมาณน้ำที่ใช้ร่วมกับการจ่ายปุ๋ยขึ้นอยู่กับ

1) อัตราการซาบซึมน้ำของดิน หากให้น้ำในอัตราที่เร็วกว่าความสามารถของดินที่จะซาบซึมลงไปได้ทัน จะมีน้ำบ่าไหลผ่านผิวดินออกไป และ

2) ความจุความชื้นของดิน หากดินมีความจุความชื้นสูงและความชื้นเดิมของดินไม่มากนัก ก็ให้น้ำได้มากและดินก็ได้รับปุ๋ยมากด้วย แต่ถ้าให้น้ำมากเกินความจุที่ดินจะรับไว้ได้ น้ำส่วนเกินจะไหลเลยเขตรากและชะล้างธาตุอาหารลงไปด้วย


สำหรับอัตราปุ๋ยแต่ละธาตุที่ควรใช้ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ
1) ปัจจัยด้านพืชซึ่ง ได้แก่ ชนิด ขนาด และอายุของพืชกับปริมาณของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวออกไปในแต่ฤดูกาลผลิต

2) ปัจจัยด้านดินซึ่งได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินความจุในการตรึงธาตุอาหารของดินจากปุ๋ยที่ใส่ และการสูญเสียธาตุอาหารจากดินโดยกระบวนการธรรมชาติ

หลักการสำคัญของการใช้ปุ๋ยในระบบชลประทาน คือ ให้ทีละน้อยตามความต้องการของพืชเหมือนกับป้อนอาหารให้เด็กด้วยช้อนทีละคำจนอิ่ม การให้ปุ๋ยแบบนี้พืชจึงได้รับเต็มเม็ดเต็มหน่วยและสูญหายน้อย อย่างไรก็ตามข้อมูลสำคัญซึ่งใช้ในการพิจารณากำหนดอัตราปุ๋ย ก็คือ ในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตพืชต้องการแต่ละธาตุในปริมาณเท่าใด



http://www.sfst.agr.ku.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=64:2010-10-07-03-01-06&catid=35:articles&Itemid=62
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 01/08/2013 11:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,951. 10 ต้นไม้ที่มหัศจรรย์ที่สุดในโลก

เรียบเรียง: กรวิกา วีระพันธ์เทพา


“ต้นไม้คือสิ่งมีชีวิตอันน่ามหัศจรรย์ มันให้ร่มเงา ให้อาหาร ให้ความอบอุ่น และปกป้องสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ให้แม้กระทั่งร่มเงาแก่คนที่ถือด้ามขวานเพื่อจะตัดมัน” – พระพุทธเจ้า

โลกของเราอาจจะมีต้นไม้ที่ยิ่งใหญ่และสวยงามอยู่เป็นร้อยต้น แต่ในจำนวนนี้ คือต้นไม้ที่พิเศษจริงๆ




อันดับ 10 “สนไซปรัสเดียวดาย” ที่มอนเตร์เรย์

สนไซปรัสต้นนี้ ตั้งปะทะลมหนาวจากมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ที่ชายหาดเพ็บเบิล ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่โตมาก แต่ก็แทนที่ด้วยตำแหน่งที่อยู่อันสวยงามเสมือนรูปปั้น ด้วยการตั้งอยู่โดดเดี่ยวอย่างสง่างาม ล้อมรอบด้วยทัศนียภาพของมหาสมุทรแปซิฟิกที่ยิ่งสวยงามมากขึ้นไปอีก




อันดับ 9 “ต้นวงแหวน”

แอ็กเซิล เออร์แลนสัน เกษตรกรปลูกถั่ว ได้ดัดแปลงต้นไม้ด้วยการเล็ม บิด และทาบกิ่งจนกลายเป็นรูปทรงอันน่ามหัศจรรย์ ซึ่งเรียกว่า “ต้นวงแหวน” (Circus Trees)
เออร์แลนสันเป็นคนที่เก็บตัวและปฏิเสธที่จะเปิดเผยวิธีการปลูกของเขา อย่างไรก็ตาม ต่อมา ไมเคิล บองแฟงต์ เศรษฐีรายหนึ่งได้ซื้อต้นไม้ต้นนี้ไปปลูกที่สวนสนุกของเขาที่สวนบองแฟงต์ที่เมืองกิลรอยในปี 1985




อันดับ 8 “นายพลเชอร์แมน” ต้นซีคัวยายักษ์

ต้นซีคัวย่ายักษ์ซึ่งเติบโตเฉพาะที่เมืองเซียร์ราเนวาดา รัฐแคลิฟอร์เนีย ถือเป็นต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ในเชิงปริมาณ) ซึ่งต้น ซีคัวยายักษ์ที่ใหญ่ที่สุดคือต้น “นายพลเชอร์แมน” อยู่ในอุทยานแห่งชาติซีคัวยา มีลำต้นสูงถึง 83.8 เมตร และหนักกว่า 6,000 ตัน

“นายพลเชอร์แมน” มีอายุประมาณ 2,200 ปี แต่ละปี ต้นนี้จะมีเนื้อไม้เพิ่มพอจะทำให้มันสูงได้ถึง 60 ฟุต ไม่น่าแปลกใจที่นักธรรมชาติวิทยา จอห์น มิวร์ ได้กล่าวไว้ว่า “ต้นไม้ใหญ่เป็นผลงานชิ้นโบแดงจากป่าของธรรมชาติ และตั้งแต่ผมได้รู้จักมา มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด”




อันดับ 7 “เรดวู้ดชายฝั่ง”

ถือเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งในพันธุ์ซีคัวยา ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ ต้นเรดวู้ดถือเป็นต้นไม้ที่สูงที่สุดในโลก

นี่ยังไม่ใช่ความน่าตื่นตาตื่นใจทั้งหมดเกี่ยวกับเรดวู้ดชายฝั่ง เพราะยังมีต้นแคลิฟอร์เนียเรดวู้ดยักษ์ถึง 4 ต้น ซึ่งใหญ่ขนาดที่ว่าเราสามารถขับรถผ่านได้

ต้นไม้ที่รถผ่านได้ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือต้น “แชนเดอเลียร์” ที่แคลิฟอร์เนีย มีความสูงกว่า 96 เมตร ซึ่งช่องมีความกว้าง 1.8 เมตร และสูง 2.7 เมตร ซึ่งถูกตัดเป็นช่องเมื่อทศวรรษ 1930




อันดับ 6 “โอ๊คชาเปล” แห่งชุมชนอัลลูวิลล์ แบลฟอซ

ต้นโอ๊คชาเปลเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศฝรั่งเศส ที่จริงแล้ว มันไม่ใช่เพียงแค่ต้นไม้ธรรมดา แต่เป็นทั้งอาคารและสถานที่สำคัญทางศาสนาในหนึ่งเดียว

ในปี 1669 บาทหลวงแห่งเมืองเดอทรัวต์ กับ แซร์โซตัดสินใจสร้างโบสถ์น้อยในต้นไม้ที่มีอายุกว่า 500 ปี (ในขณะนั้น) ซึ่งเป็นโพรงเพราะถูกฟ้าผ่า บาทหลวงได้สร้างแท่นบูชาเล็กๆ หน้าพระแม่มารี ต่อจากนั้นก็ได้มีการสร้างโบสถ์น้อยแห่งที่สองและบันไดเพิ่มขึ้นมา

ปัจจุบันบางส่วนของต้นไม้ได้ตายไปแล้ว และส่วนยอดก็มีขนาดเล็กลงทุกปี และเปลือกของต้นไม้ที่ร่วงโรยตามอายุขัย ก็ถูกปกป้องไว้ด้วยไม้โอ๊คบางๆ มีการใช้เสาและสายเคเบิ้ลช่วยค้ำยันต้นไม้เก่าแก่ต้นนี้ ซึ่งตามจริงแล้ว อาจจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นานนัก อย่างไรก็ตาม ในทางสัญลักษณ์แล้ว ดูเหมือนว่าต้นนี้จะมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์




อันดับ 5 “แพนโด” ต้นแอสเพนอันสูงใหญ่

ต้นแพนโดในรัฐยูทาห์ ประกอบไปด้วยกว่า 47,000 กิ่งก้านสาขาที่แผ่ขยายไปทั่วพื้นที่ 107 เอเคอร์ (ประมาณ 433,029 ตารางเมตร) หนักประมาณ 6,600 ตัน ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่หนักที่สุด แม้ว่าเฉลี่ยแล้วแต่ละกิ่งก้านนั้นมีอายุประมาณ 130 ปี แต่ถ้านับรวมหมดทั้งต้นแล้วมันมีอายุได้ประมาณ 80,000 ปีเลยทีเดียว




อันดับ 4 “ทูล” ต้นสนมอนเตซูมา

ต้นทูลเป็นต้นไม้ใหญ่ในตระกูลสนมอนเตซูมา ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองโออาซากา ประเทศเม็กซิโก มีขนาดลำต้นโดยรอบ 58 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 11.3 เมตร ซึ่งมีความหนามากเสียจนผู้คนพูดว่าแทนที่คุณจะโอบกอดมัน มันกลับโอบกอดคุณแทน




อันดับ 3 “ศรีมหาโพธิ์” ต้นไทรอันยิ่งใหญ่

ต้นไทรหรือ Banyan ตั้งชื่อตาม “banians” หมายถึงพ่อค้าชาวฮินดูที่ค้าขายของต่างๆ ต้นไม้ต้นนี้มีกระโจมขนาดใหญ่พร้อมกับรากอากาศที่ห้อยลงมาจากกิ่งจรดพื้น

หนึ่งในประเภทของต้นไทรที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือต้นโพธิ์ หรือต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมือง อนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา กล่าวกันว่า เป็นต้นเป็นสิ่งที่มีชีวิตอายุมากที่สุดในโลกที่มนุษย์เป็นผู้ปลูก



อันดับ 2 “สนบริสเซิลโคน" ต้นไม้อายุมากที่สุดในโลก

ต้นเมธทูเซลาห์ ตั้งอยู่บนความสูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 3,353 เมตร และมีอายุถึง 4,838 ปี ต้นไม้ต้นนี้ไม่เพียงแต่เป็นต้นไม้ที่อายุมากที่สุด แต่ถือเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์อายุมากที่สุดในโลกด้วย



อันดับ 1 “ต้นเบาบับ”

ต้นเบาบับหรือต้นขนมปังลิงอันแสนมหัศจรรย์นี้ สามารถโตได้สูงเกือบ 30 เมตร และกว้าง 11 เมตร รูปทรงอันเป็นลักษณะเฉพาะของเบาบับคือ ลำต้นที่พองโตเป็นส่วนกักเก็บน้ำ ต้นเบาบับสามารถเก็บน้ำได้มากถึง 120,000 ลิตร ไว้รับมือกับสภาวะอากาศแห้งแล้ง

ต้นเบาบับมีถิ่นกำเนิดที่มาดากัสการ์ (ซึ่งถือเป็นต้นไม้ประจำชาติด้วย) บนแผ่นดินใหญ่ของแอฟริกา และที่ประเทศออสเตรเลีย โดยเราสามารถพบกับ “ทุ่งเบาบับอันยิ่งใหญ่ที่สุด” ได้ที่ “ถนนเบาบับ” ในประเทศมาดากัสการ์

ที่มา www.neatorama.com



http://www.greenworld.or.th/greenworld/foreign/625

คลิก :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=5124&sid=35145b5a2b17416e4ca3c4848e494cd6#5124
มหัศจรรย์ ต้นไม้ยักษ์ "เบาบับ"

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/08/2013 4:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,952. สารอินทรีย์สกัด ต้านไวรัสมะละกอ

















ประเทศไทย มะละกอเป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกร เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนเร็ว มีตลาดรองรับค่อนข้างกว้าง ตัวอย่าง เช่น เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรีที่ปลูกมะละกอในพื้นที่ 8 ไร่จะมีรายได้ถึงประมาณ 1,000,000 บาทต่อปี ทั้งตลาดมะละกอดิบ มะละกอสุก มะละกอส่งโรงงาน และผลิตภัณฑ์มะละกอเพื่อตลาดส่งออก

ซึ่งในปี 2551-2553 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผลผลิตมะละกอถึง 201,099-211,594 เมตริกตัน และจัดเป็น 1 ใน 10 ประเทศในโลกที่มีการส่งออกมะละกอจำนวนมาก แต่ก็ยังมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1.95%ของตลาด การปลูกมะละกอเพื่อการค้าในบ้านเราก็มีความหลากหลายของสายพันธุ์มากขึ้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากโรคใบด่างจุดวงแหวน ที่เป็นอุปสรรคในการผลิตมะละกอ

โรคใบด่างจุดวงแหวน หรือไวรัสวงแหวน ถือได้ว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นมหันตภัยร้ายของการปลูกมะละกอทั่วโลก โดยโรคนี้เคยมีการระบาดรุนแรงครั้งแรกเมื่อปี 2492 ที่หมู่เกาะฮาวาย หลังจากนั้นก็ระบาดไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้พบการระบาดครั้งแรกในปี 2518 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายความรุนแรงขึ้นทุกปีจนทำลายล้างมะละกอในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างสิ้นเชิงในปี 2524 ต่อมาการระบาดได้ลุกลามไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยในปี 2545 โรคนี้ระบาดไปทั่วประเทศไทย สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ปลูกมะละกอกว่า 80% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด และในปัจจุบันก็ยังไม่มีหน่วยงานใดให้คำตอบในการแก้ปัญหานี้ได้

แม้จะมีความพยายามนำมะละกอ จีเอ็มโอ เข้ามาเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่วางใจจากสังคมว่าจะไม่ก่อผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป เกษตรกรจำนวนมากจะเสียโอกาสในการสร้างรายได้ และอุตสาหกรรมของประเทศที่ใช้มะละกอเป็นวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบ

จากประสบการณ์ในภาคสนามที่ผ่านมา ของคุณพิสุทธิ์ ศุภนาค นักวิชาการอิสระมีข้อสังเกตว่า โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอมีความเชื่อมโยงกับการผสมข้ามสายพันธุ์ ที่มุ่งเพิ่มผลผลิตและการสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว การดำเนินการดังกล่าวได้ทำให้เกิดการกดทับภูมิต้านทานที่มีอยู่ในพันธุกรรมดั่งเดิม ประกอบกับการที่มะละกอถูกเร่งผลผลิตอย่างมหาศาลในระยะเวลาอันสั้น ทำให้มะละกอดูดกินแร่ธาตุในดินต่อเนื่องจนดินในแปลงหมดความอุดมสมบูรณ์ แต่เกษตรกรเติมแร่ธาตุให้ไม่เพียงพอและไม่ทันความต้องการของพืช ความสมบูรณ์จึงถดถอยลงเรื่อยๆ จนง่ายต่อการถูกโจมตีจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้วในธรรมชาติ โดยเฉพาะโรคไวรัสวงแหวน

แนวทางแก้ปัญหา คือ การส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยเติม ธาตุอาหาร ให้แก่มะละกอ ทั้งยังควรมี จุลินทรีย์ ที่มาร่วมกันปรับโครงสร้างธาตุอาหารจากดินมาเพิ่มเติม และสิ่งธาตุอาหารที่เหมาะสมกับมะละกอ ซึ่งในขณะนี้เปรียบเหมือนคนป่วยไข้ จะต้องเป็นธาตุอาหารที่มี โมเลกุลเล็กกว่าปกติ ที่ทำให้พืชสามารถดูดกินได้ง่าย ได้มีการนำสารสกัดไปใช้แก้ปัญหาในสวนมะละกอที่ถูกไวรัสวงแหวนโจมตีใน 2 ระดับอาการ คือ

สวนที่ถูกคุกคามขั้นเริ่มต้น คือ ยอดหรือใบอ่อนของมะละกอส่วนใหญ่แสดงอาการเหลืองซีด มีลักษณะเป็นรอยบุ๋มไม่เรียบ มีอาการด่าง มีขนาดใบเรียวเล็กลง ลูกและดอกใหม่ร่วง สวนนี้ใช้ สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ จำนวน 800 ซีซี ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในอัตราส่วน 2 ฝา ต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับสารบำรุงดิน ในอัตราส่วนเดียวกัน ในการรักษา 24 วัน โดยในเวลา 10 วัน เริ่มเห็นการแตกยอดอ่อนขึ้นใหม่ ยอดที่แตกใหม่จะอวบใหญ่กว่าเดิม และในสัปดาห์ต่อมาก็เริ่มมีดอกเกิดขึ้น

สวนที่ถูกคุกคามขั้นรุนแรง คือ บนก้านใบ ก้านดอก และตรงส่วนครึ่งบนของลำต้นของมะละกอส่วนใหญ่ พบรอยช้ำเป็นขีด ๆ มีสีเขียวเข้มทั้งลำต้น ลูกและดอกใหม่ร่วง การติดผลไม่มีให้เห็น บางต้นมีอาการถึงขนาดที่ผลของมะละกอมีเนื้อแข็งกระด้าง เนื้อผลสุก มีลักษณะเป็นไต มีรสขม และมีรอยช้ำเป็นจุด ต้นเตี้ยแคระแกร็น ใบแคบหยิกงอไม่สมส่วน บางครั้งจะเล็กเรียวชะลูดแหลม และเมื่อเชื้อลามถึงยอด ยอดจะเหลือง มีขนาดเล็กลงและตายในที่สุด

สวนนี้ใช้ สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ จำนวน 1,400 ซีซี ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในอัตราส่วน 5 ฝา ร่วมกับสารบำรุงดินในอัตราส่วน 2 ฝา ต่อน้ำ 20 ลิตร การรักษา ใช้เวลาประมาณ 35 วัน จากวันที่เริ่มจนถึงวันที่ 25 วัน ก็เริ่มเห็นการแตกยอดอ่อนขึ้นใหม่อย่างประปราย และในสัปดาห์ต่อมายอดที่แตกใหม่เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น มีดอกเกิดขึ้น.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/207895
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/08/2013 2:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,953. สารช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช


สูตรโครงสร้างทางเคมีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกทางเคมีว่า

2-Hydroxyethyl trimethylammonium chloride; Choline chloride, FCC Grade; 2-hydroxy-N,N,N-trimethylethanaminium chloride; 2-hydroxy-N,N,N-trimethylethanaminium chloride hydrochloride (ชื่อยาวเฟื้อยจริงเจียว)

แต่ชื่อเคมีในภาษาจีนนั้นสั้นๆแค่อักษร 4 ตัวเท่านั้นเอง 氯化胆碱 อ่านว่า ลวี่ฮว่าต่านเจี่ยน เป็นสารประกอบคลอไรด์ชนิดหนึ่ง (หนึ่งในไวตามินบีคอมเพลกซ์) ใช้เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ จากผลงานวิจัยเพิ่มเติมพบว่า สาร ลวี่ฮว่าต่านเจี่ยน ยังมีคุณสมบัติในการเพิ่มอัตราเร่งของขบวนการ แสงสังเคราะห์ (หรือสังเคราะห์ด้วยแสง) ในพืชได้ดียิ่ง ช่วยเพิ่มผลผลิตของพรรณพืชนานาชนิดที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน

ข้าวสาลี ข้าว ที่ได้รับสารชนิดนี้ในช่วงตกรวง จะช่วยการแตกรวงเพิ่มขึ้น ติดเมล็ดมากขึ้น หรือฉีดพ่นในช่วงเป็นน้ำนม ก็จะเร่งน้ำนมเร็วขึ้น เมล็ดข้าวจะเต่งตึง ได้น้ำหนัก เมล็ดลีบแทบจะไม่มีให้เห็น ในหนึ่งพันเมล็ดจะได้น้ำหนักเพิ่ม 2 ถึง กรัม ทั้งยังสามารถได้กับ ข้าวโพด อ้อย มันฝรั่ง ผักกาดหัว หอมใหญ่ ฝ้าย ยาสูบ พืชผักทุกชนิด รวมทั้งไม้ผลที่ ให้ผลชัดเจน แม้สภาพแวดล้อมจะไม่เป็นใจก็ตาม โดยเฉพาะพืชหัวใต้ดิน ใช้ฉีดพ่น 2–3 ครั้งในช่วงเริ่มลงหัว จะทำให้หัวขยายใหญ่กว่าปกติ เนื้อแน่น ได้น้ำหนักมาก พืชจำพวกไม้ดอก ไม้ประดับก็ใช้ได้ผลดีเช่นกัน

ปัจจุบันได้มีการผลิตออกจำหน่ายในรูปของสารละลาย ซองละ 20 CC. ผสมกับน้ำ 30 ลิตร ฉีดพ่นให้ทางใบ ควรฉีดพ่นในช่วงเช้า ก่อน 10 โมง หรือ ช่วงบ่าย หลัง 4 โมงเย็นไปแล้ว หากคล้อยหลังไปแล้ว เกิดเจอฝนภายใน 6 ชั่วโมง ต้องทำการฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง





http://www.eco-agrotech.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 19/08/2013 7:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,954. 'ทุเรียนกางแขน' ตอบโจทย์ปัญหาต้นทุนการผลิต














ช่วงนี้ผลไม้จากภาคตะวันออก ได้ออกสู่ตลาดจำนวนมาก โดยเฉพาะทุเรียน ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ ซึ่งทุเรียนมีอยู่ด้วยกันหลากหลายพันธุ์ แต่ที่นิยมบริโภคและเป็นพันธุ์การค้าในประเทศไทยมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และชะนี ถึงแม้ว่าราคาจำหน่ายทุเรียนนั้นค่อนข้างสูง แต่ผู้บริโภคทราบหรือไม่ว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนก็สูงเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีปัญหาหลายด้านที่อาจกระทบต่อการผลิตทุเรียนในอนาคต

นายสมบัติ ตงเต๊า ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่ภาคตะวันออก มักประสบปัญหากับต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากทุเรียนเมื่อปลูกไปหลายปีทรงพุ่มของต้นทุเรียนจะสูงมาก โดยมีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20 เมตร นอกจากนี้ระยะการปลูกแบบเก่าที่นิยมอยู่ที่ 10x10 เมตร ทำให้ทรงพุ่มหนาแน่น แสงแดดไม่สามารถส่องผ่านมายังกิ่งข้างล่างได้ทั่วถึง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืชและยังก่อให้เกิดปัญหาโรคและแมลงด้วย เพราะการจัดการดูแลต้นทุเรียนกระทำได้ค่อนข้างยากลำบาก ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพทุเรียนให้ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากค่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ที่สำคัญเมื่อต้นทุเรียนมีความสูงมากต้องอาศัยแรงงานในการเก็บเกี่ยวซึ่งปัจจุบันค่อนข้างขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร

ดังนั้นศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีจึงได้ทำการศึกษาวิจัยในการออกแบบสวนทุเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน เรียกว่า การทำทุเรียนกางแขนโดยดำเนินการในทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ซึ่งเป็นที่นิยมของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวมุ่งเน้นตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาของเกษตรกร 3 อย่าง ได้แก่ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณภาพผลผลิต และเพิ่มความสะดวกในการนำเครื่องจักรกลการเกษตรเข้าไปในพื้นที่

วิธีการดำเนินการใช้เทคโนโลยีในการจัดระบบการปลูกทุเรียนแบบใหม่ที่มีการควบคุมและสร้างทรงพุ่มของทุเรียน โดยกำหนดระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถว 3x13 เมตร เนื่องจากจะบังคับทรงพุ่ม

ให้กิ่งของทุเรียนกางออกด้านข้าง ข้างละ 5 เมตร ซึ่งจะเหลือพื้นที่ตรงกลางระหว่างแถวอีก 3 เมตร สำหรับนำเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาดูแลพื้นที่ได้สะดวกมากขึ้น นอกจากนี้จะจำกัดความสูงของต้นไม่เกิน 5 เมตรเท่านั้น เพื่อง่ายต่อการจัดการสวนทุเรียน

การจัดสวนทุเรียนรูปแบบใหม่ จะส่งผลให้ต้นทุเรียนมีความโปร่งมากขึ้น เพราะจะเน้นจำนวนกิ่งที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตมากในต้น โดยจะมีกิ่งประมาณ 12-14 กิ่งต่อต้น เมื่อทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดจะส่องผ่านอย่างทั่วถึง อากาศถ่ายเทสะดวกเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืช และเมื่อควบคุมความสูงให้มีขนาดต้นเตี้ยจึงเหมาะสมต่อการผสมเกสรเพื่อชักนำการออกดอกของต้นทุเรียน รวมทั้งสามารถควบคุมดูแลปัญหาโรคและแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญสะดวกต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย

ถึงแม้ว่าการจัดสวนทุเรียนแบบที่ไม่เน้นจำนวนกิ่งจะทำให้ผลผลิตต่อต้นลดลง แต่การปลูกระยะชิดขึ้นจะทำให้ได้ต้นทุเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ประมาณ 16-20 ต้นต่อไร่ เป็น 30-40 ต้นต่อไร่ ก็จะทำให้ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเช่นกัน ที่สำคัญผลผลิตจะมีคุณภาพมากขึ้น เนื่องด้วยระบบการจัดการที่ดีขึ้น ขณะที่การตัดแต่งกิ่งสามารถลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง ซึ่งถือเป็นต้นทุนหลักที่สูงกว่าต้นทุนปัจจัยการผลิตอื่นทั้งหมด ถ้าลดต้นทุนการใช้สารเคมีลงได้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนได้มากทีเดียว โดยมีเกษตรกรบางรายได้ทดลองตัดแต่งให้ทุเรียนมีความสูงไม่เกิน 3.5 เมตร สามารถลดการใช้สารเคมีได้ถึง 4 เท่า ขณะที่ต้นทุเรียนให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีในปริมาณที่เท่ากับต้นสูง

เกษตรกรท่านใดสนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมและเข้าไปศึกษาดูงานวิจัยทุเรียนกางแขนได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ต.ตะปอน อ.เมือง จ.จันทบุรี โทร. 0-3939-7030.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/119267



แต่งกิ่งทุเรียน |
vdo.wholeclip.com/?w=l0PUIJE4VPo


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/08/2013 7:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,955. รู้จัก “ปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโน” มีทุกอย่างในกระสอบเดียว


ใครๆ ก็รู้ว่า “ปุ๋ยอินทรีย์” นั้นดีต่อดินแค่ไหน แต่กว่าจะให้ผลผลิตที่ดีต้องใช้เวลานาน ต่างจากปุ๋ยเคมีที่เห็นผลได้ชัดและเร็วกว่า หากก็ต้องยอมรับถึงต้นทุนที่สูงขึ้น และการสูญเสียปุ๋ยได้ง่ายตามสภาพแวดล้อม จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาปุ๋ยที่ผสมผสานข้อดีของปุ๋ยทั้งสองชนิดไว้ด้วยกัน

“เดิมชาวบ้านใช้ปุ๋ยเคมี 100% ซึ่งแพงมาก แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องแล้ว ใช้เพียงปุ๋ยเคมีแค่ 20% ผสมกับปุ๋ยคอกอีก 80% ก็เพียงพอ และ ประสิทธิภาพยังใกล้เคียงกัน แต่ลดค่าใช้จ่ายลงถึง 50%” ดร.สุริยา สาสนรักกิจ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และหัวหน้าโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงปุ๋ย

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาปุ๋ยที่เหมาะสมต่อพืชและดินในการเพาะปลูกนั้น ดร.สุริยา เล่าว่า เริ่มจากเห็นปัญหาดินเสื่อมจากการใช้ปุ๋ยเคมี และไทยยังปุ๋ยเคมีใช้เองไม่ได้ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และต้นทุนยังแพงขึ้นทุกปี อีกทั้งยังมีงานวิจัยชี้ว่าปุ๋ยเคมีทำให้ดินแข็งและมีการสูญเสียอย่างรวดเร็วจนพืชนำไปใช้ไม่ทัน จึงมองหาทางแก้ดินเสื่อมและลดค่าใช้จ่าย

“สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือการนำสิ่งของเหลือใช้ในชุมชนมาผลิตปุ๋ย ทำให้ดินร่วนซุย จากนั้นพืชก็จะดูดซับอาหารได้ดีขึ้น ซึ่งตามชุมชนเขาก็เลี้ยง เป็ด ไก่ วัว ควาย ซึ่งมูลที่ได้เขาก็รู้ว่าเอามาทำปุ๋ยได้ แต่ปัญหาถ้านำปุ๋ยคอกไปใช้เลยนั้นจะเกิดวัชพืช เพราะในมูลสัตว์มีเมล็ดวัชพืชอยู่ และยังมีพยาธิ มีเชื้อโรคอยู่ด้วย เราจึงนำความรู้ไปช่วยให้เขาทำปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก” ดร.สุริยา กล่าว

เมื่อได้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกที่มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้ว จึงนำไปผสมกับปุ๋ยเคมี ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ปุ๋ยเคมี เมื่อปุ๋ยเคมีถูกใช้หรือละลายไปหมดแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยปรับปรุงดินทำให้พืชดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น โดยการผสมปุ๋ยนั้นจะตามสัดส่วนความต้องการของพืช รวมถึงสภาพดินในแต่ละพื้นที่ เรียกว่าเป็น “ปุ๋ยสั่งตัด” ที่นำสารอาหารไปให้พืชอย่างตรงตามความต้องการ

โครงการดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ปี 2549 ด้วยงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 278 ล้านบาท และสร้างโรงปุ๋ยทั่วประเทศทั้งหมด 317 โรง ซึ่ง วว.จะสนับสนุนในเรื่องการฝึกอบรมและทดสอบประสิทธิภาพปุ๋ย ส่วนวัตถุดิบและแรงงานในการผสมปุ๋ยเป็นสิ่งที่ทางชุมชนต้องลงทุนเอง โดยปัจจุบันมีสูตรปุ๋ยพื้นฐานสำหรับพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมันและไม้ผลต่างๆ

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแก่ปุ๋ยสั่งตัด วว.จึงได้ร่วมมือกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) นำเทคโนโลยีการเคลือบมาใช้กับปุ๋ยยูเรีย เพื่อช่วยควบคุมในการปลดปล่อยปุ๋ยแก่พืช เนื่องจากปุ๋ยเคมีส่วนหนึ่งที่หว่านให้แก่พืชนั้นจะถูกชะล้างไปตามธรรมชาติ และพืชไม่สามารถดูดซึมได้ทัน ทำให้เกษตรต้องหว่านปุ๋ยบ่อยๆ และมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

ที่สุดจึงได้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโน ที่รวมคุณสมบัติของปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์และนาโนเทคโนโลยีด้วยกัน ซึ่ง ดร.สุริยา กล่าวว่า เมื่อใช้ปุ๋ยนี้ไปเรื่อยๆ จนดินดีขึ้นแล้ว การปรับให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 100% ก็จะง่าย เพราะหากเปลี่ยนให้เกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์เลยนั้น ไม่อาจประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

ด้าน นางพัชรี กุลปวีณ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เสริมว่าเทคโนโลยีการเคลือบเป็นองค์ความรู้ที่เนคเทคมีอยู่แล้ว แต่นำมาปรับใช้ปุ๋ยเคมี โดยเบื้องต้นเน้นที่ปุ๋ยยูเรียซึ่งมีการสูญเสียง่ายก่อน โดยสารเคลือบที่ใช้เป็นพอลิเมอร์ที่มีรูพรุนขนาดเล็ก ซึ่งจะห่อหุ้มปุ๋ยยูเรียและค่อยๆ ปลดปล่อย ซึ่งการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้นี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยสั่งตัดที่ วว.ได้ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรด้วย


http://www.manager.co.th/science/viewnews.aspx?NewsID=9560000037767
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/08/2013 12:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,956. ลดค่าปุ๋ยในไม้ผล


งานวิจัยเรื่องการใช้ปุ๋ยในนาข้าวและพืชไร่สำคัญบางชนิดก็ประสบความสำเร็จไปแล้วในระดับหนึ่ง และถ่ายทอดขยายผลไปยังเกษตรกรทั้งหลายทำให้ประหยัดปุ๋ยลงไปได้มาก ความจริงแล้วการใช้ปุ๋ยกับไม้ผลก็มีงานวิจัยมากมายหลายเรื่องรองรับไว้แล้วเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเมื่อก่อนนี้ราคาปุ๋ยยังไม่ได้สูงมากเหมือนวันนี้ ก็เลยทำให้หลายคนยังไม่ค่อยสนใจเพราะยังถือว่ารายได้จากการขายผลไม้ค่อนข้างสูง จึงไม่ค่อยกังวลเรื่องการหาปุ๋ยมาใส่ต้นไม้ แต่เมื่อราคาผลไม้ตกต่ำลงประกอบกับราคาปุ๋ยแพงขึ้น หากไม่คิดจะลดต้นทุนก็คงไม่สามารถอยู่ได้แน่นอน

ในการทำสวนไม้ผลค่าใช้จ่ายมากกว่า 25% เป็นค่าปุ๋ย แต่ที่ผ่านมาการให้ปุ๋ยสำหรับไม้ผลในดินทุกชนิดของไทยยังไม่ค่อยได้ใช้หลักวิชาการมากเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะแนะนำสูตรปุ๋ยที่มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในปริมาณเท่าๆ กัน เช่นสูตร 15-15-15 เพียงแต่ว่าอัตราการใส่แตกต่างกันไปบ้าง ทั้งๆ ที่ความต้องการธาตุอาหารของไม้ผลแต่ละอย่างในดินแต่ละชนิด ไม่ได้เท่ากันหรือเหมือนกัน ทำให้การใช้ปุ๋ยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร หมายความว่าหลายกรณีเราใส่ปุ๋ยเกินความต้องการหรือไม่เป็นไปตามที่ต้นไม้อยากได้ จึงเสียเงินโดยใช่เหตุ

สกว. สนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการให้ปุ๋ยในไม้ผลหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นมะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน มังคุด และอื่นๆ อีกมาก จนได้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น จากการศึกษาวิจัยภายใต้ชุดโครงการ “ศึกษาความต้องการธาตุอาหาร การจัดการธาตุอาหาร และการวิเคราะห์ดินและพืช ในสวนมังคุด และสวนทุเรียน” ที่ได้ทำมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2541 โดยมีหัวหน้าโครงการคือ รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

โครงการนี้ทำในสวนมังคุดและสวนทุเรียนใน จ.จันทบุรี ระยอง และตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบว่ามีการใช้ปุ๋ยในปริมาณสูงเกินความจำเป็นและเป็นพื้นที่ที่ผลิตไม้ผลเป็นการค้าแหล่งใหญ่ โดยเก็บตัวอย่างดินจำนวนมากกว่า 1,500 ตัวอย่าง มาวิเคราะห์ธาตุอาหาร ผลก็คือ พบว่าตัวอย่างดินในสวนต่างๆ จำนวนมากกว่า 60% มีปริมาณธาตุฟอสฟอรัส (P) สะสมในดินอยู่เป็นจำนวนมากเกินความจำเป็น โดยสวนบางแห่งมีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสสูงถึง 2,000 ส่วนต่อล้าน ในขณะที่ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการเติบโตของต้นไม้อยู่ระหว่าง 20-30 ส่วนต่อล้าน เท่านั้น

ทั้งนี้เพราะความเชื่อเดิมของชาวสวนที่เชื่อสืบทอดต่อๆ กันมาช้านานว่าปุ๋ยฟอสฟอรัส เป็นปุ๋ยสำหรับเร่งดอก หากใส่ในปริมาณมากๆ จะทำให้พืชออกดอกมากขึ้นและเร็วขึ้น ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น จริงอยู่ที่ว่าปริมาณธาตุฟอสฟอรัสที่สะสมมากมายอยู่ในดินถึงแม้จะไม่มีผลเสียโดยตรงกับพืช แต่มีผลในทางอ้อม คือ ทำให้พืชขาดจุลธาตุอื่นๆ เช่น เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังกะสี (Zn) ผลก็คือการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชไม่ดีเท่าที่ควร และที่สำคัญที่สุด คือ เสียเงินค่าปุ๋ยไปโดยเปล่าประโยชน์ แถมยังต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเพิ่มปริมาณการใช้จุลธาตุเหล่านี้ตามมา

จากผลการศึกษาและการถ่ายทอดแนวทางการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินดังกล่าว โดยผ่านการแนะนำและอบรมให้แก่เกษตรกรผู้ทำสวนมังคุด ทุเรียน และสวนสละใน จ.จันทบุรี พบว่าในทุกสวนมีการให้ผลผลิตที่ดีขึ้นถึงแม้จะลดการใช้ปุ๋ยลงมากก็ตาม ทำให้ชาวสวนประหยัดค่าปุ๋ยเป็นจำนวนเงินหลายแสนบาทต่อปี เพียงแค่ให้มีการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดินภายในสวนก่อน ก็จะสามารถจัดการปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช และปริมาณของผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งทำให้ชาวสวนสามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยได้อย่างมาก โดยที่ผลผลิตไม่ลดลง



http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=463
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/10/2013 7:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,957. ปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์ใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ดี

Manure Mixed Benefit Bacterial Antagonist Replaces Ammonium Nitrate Fertilizer In Paddy




จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตรสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ ทั้งเชื้อสด ผงหัวเชื้อ และผงสำเร็จ หรือสูตรที่มีส่วนผสมเฉพาะ โดยใช้ในลักษณะคลุกเมล็ด ผสมดินหรือวัสดุปลูก พ่นใบ จุ่มรากหรือท่อนพันธุ์ รวมถึงการใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพในระบบการผลิตพืช โดยจุลินทรีย์หลายชนิดมีคุณสมบัติเด่นในการควบคุมโรค บางชนิดมีกลไกส่งเสริมการเจริญเติบโตพืช สามารถกระตุ้นการผลิตสารที่เกี่ยวข้องหรือ เปลี่ยนแปลงรูปแบบธาตุอาหารให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ของพืช รวมทั้งเสริมประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารทางธรรมชาติของพืชให้เต็มศักยภาพ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ รวมทั้งรักษาสภาพนิเวศน์เกษตรในระบบการผลิตพืชได้อย่างยั่งยืน จุลินทรีย์เหล่านี้ ได้แก่ แบคทีเรีย รา แอคติโนมัยซีส ไวรัส นีมาโทด และจุลินทรีย์กลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น จุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรียที่สร้าง กรดแลคติค ย่อยสลายอินทรีย์สาร ทำให้พืชได้รับประโยชน์โดยตรงจากธาตุอาหารที่ถูกสลายออกมา

ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยทีมงานวิจัยที่ รศ.ดร.สุดฤดี ประเทืองวงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จากธรรมชาติหลายสายพันธุ์ที่ให้ชื่อว่า จุลินทรีย์สุขภาพพืช ที่มีคุณสมบัติและกลไกในการควบคุมโรคพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และชักนำภูมิต้านทานโรคของพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น Pseudomonas fluorescens SP007s และ Bacillus amyloliquefacien KPS46 ที่แยกได้จากดินบริเวณรากกะหล่ำดอก และถั่วเหลือง ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์สุขภาพพืช ที่มีชื่อว่า ไอเอสอาร์-พี และ ไอเอสอาร์-บี ตามลำดับ และได้มีการนำไปทดสอบ ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำไปใช้จริงในระดับไร่นากับพืชเศรษฐกิจต่างๆ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองฝักสด ข้าวโพด ข้าว งา พืชผักตระกูลกะหล่ำ เป็นต้น

ประเด็นสำคัญของการแสดงนิทรรศการครั้งนี้คือ ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในรูปสูตรปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ (ปุ๋ยคอกเคยู-ทูวี) ที่ง่ายต่อการใช้และมีประสิทธิภาพสูง ในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และลดการใช้ปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียในนาข้าวได้ 50% โดยปุ๋ยอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ที่พัฒนานี้เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้โครงการ 2V-Research Program และได้รับการสนับสนุนด้านสถานที่จากเทศบาล ต. ทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งดำเนินงาน ระหว่าง 2552-2553 ด้านแนวทางการใช้ปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์ในนาข้าว เป็นวัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี และส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดสารเคมีควบคุมศัตรูพืช โดยการนำจุลินทรีย์ ไอเอสอาร์-พี ผสมปุ๋ยคอก สามารถควบคุมโรคทางราก กระตุ้นภูมิต้านทานข้าวต่อต้านโรคและแมลงทั้งระบบ และเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในปุ๋ยคอกให้อยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ จุลินทรีย์ที่ผสมในปุ๋ยคอกจะช่วยย่อยเศษฟางข้าวและตอซัง ให้เป็นอินทรียวัตถุปรับปรุงดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกหนึ่งกลไก

วิธีการใช้ปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์
สามารถนำปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์ไปปรับใช้ในระบบการผลิตพืชในทุกระยะพืชและใช้เช่นเดียวกับปุ๋ยเคมี โดยใช้ตามอัตราแนะนำ ซึ่งการนำจุลินทรีย์ปรับใช้ในระบบการผลิตพืชเพื่อการควบคุมโรคพืชสามารถทำได้ทุกขั้นตอนการผลิต (ภาพที่ 2) ทั้งนี้ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรค ประกอบด้วย
1. ชนิด และระดับความรุนแรงของโรค และแหล่งสะสมเชื้อก่อโรค
2. ชนิด คุณสมบัติ และกลไกการควบคุมโรคของจุลินทรีย์
3. ชนิดพืช อายุพืช และส่วนของพืชเป็นโรค
4. สภาพพื้นที่ปลูก ประวัติการปลูกพืช และการระบาดของโรค

นอกจากนี้การที่จะนำจุลินทรีย์หรือผลิตภัณฑ์ชีวภาพมาปรับใช้ในระบบการผลิตพืชจะต้องพิจารณาถึงระบบการปลูกตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกและการเตรียมพื้นที่ ระบบการให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การเขตกรรม และวิธีการร่วมอื่น ๆ ซึ่งจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและไม่ขัดแย้งกับระบบการผลิตพืชโดยรวม (การให้น้ำ การให้ปุ๋ย การปฏิบัติดูแลรักษา) ในลักษณะเดียวกับการจัดการโรคและศัตรูพืชแบบผสมผสาน

ประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์
ในภาพรวมนั้นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ผสมแบคทีเรียไอเอสอาร์มีประโยชน์ในการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ตลอดจนช่วยส่งเสริมสุขภาพพืชให้เจริญเติบโตแข็งแรงสมบูรณ์ เช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือสารสังเคราะห์เร่งการเจริญเติบโตพืช ซึ่งสามารถแยกพิจารณารายละเอียด ได้ประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม ดังนี้

ประโยชน์ด้านสุขภาพอนามัย
1. ลดความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีผิด และเกินความจำเป็น
2. ลดความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคจากการตกค้างของสารเคมีในผลิตภัณฑ์เกษตร
3. ทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคและผู้เกี่ยวข้องในการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย มีคุณค่า และส่งเสริมความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายโดยไม่มีการสะสมสารพิษเพิ่มเติม

ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม
4. ลดการปนเปื้อนและการตกค้างของสารพิษที่สลายตัวช้า
5. ลดปัญหาการเสื่อมสภาพของระบบนิเวศน์เกษตร ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตต่าง และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
6. สามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้ง่ายขึ้น

ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคม
7. ขจัดปัญหาความยากจนของเกษตรกรสามารถขายผลิตผล (food safety) ได้ราคา ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
8. ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ให้แข่งขันกับต่างชาติได้ โดยลดปัญหาการกีดกันทางด้านการค้า และการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
9. ลดปริมาณการใช้สารเคมี และต้นทุนการผลิต และลดการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจากต่างประเทศ ช่วยแก้ไขการเสียดุลทางการค้า
10. เพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ต่อระบบการผลิตพืชปลอดภัยและเพิ่มมูลค่าและความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่อผู้บริโภค
11. รองรับการเปลี่ยนแปลงการเพิ่มขึ้นของพลวัตรประชากรให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน


เอกสารอ่านเพิ่มเติม
1. สุดฤดี ประเทืองวงศ์. 2553. หนังสือคู่มือการเกษตร แบคทีเรียควบคุมโรคและส่งเสริมสุขภาพพืช. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 61 หน้า.
2. สุดฤดี ประเทืองวงศ์. 2553. หนังสือคู่มือการเกษตร จุลินทรีย์และสารสกัดพืชเพื่อควบคุมโรคและแมลง. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 46 หน้า.
3. สุดฤดี ประเทืองวงศ์. 2553. หนังสือคู่มือการเกษตร การใช้ปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์ในนาข้าวและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 56 หน้า.
4. สุดฤดี ประเทืองวงศ์. 2553. หนังสือคู่มือการเกษตร การใช้ปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์เพื่อการผลิตข้าวอย่างปลอดภัย. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 60 หน้า.



ภาพที่ 1 ส่วนผสมและขั้นตอนการผสมปุ๋ยคอก เคยู-ทูวี ผสมแบคทีเรีย ไอเอสอาร์ (ก) การอัดเม็ดปุ๋ย (ข) ผึ่งปุ๋ยคอกผสมแบคทีเรีย ไอเอสอาร์ ในที่ร่มแห้งอากาศถ่ายเทสะดวก (ค) และบรรจุในกระสอบ (ง)



ภาพที่ 2 การใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์ผสมแบคทีเรีย ไอเอสอาร์ หว่านลงแปลงนาก่อนปลูก และหว่านให้กับต้นพืชหลังพืชเจริญเติบโต 3 ครั้ง เมื่อพืชอายุ 21, 35 และ 70 วัน (ก-ง)


ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-942-8349 โทรสาร 02-579-9550

คณะผู้วิจัย
รศ. ดร. สุดฤดี ประเทืองวงศ์ และคณะ
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-942-8349


http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch54/GroupEconomic/52-Sutruedee-pr/52-Sutruedee-pr.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/10/2013 10:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,958. แบคทีเรีย ที่มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ย ฮอร์โมนพืช และฆ่าเชื้อโรคพืช

เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน



สุดฤดี ประเทืองวงศ์ ชัยสิทธิ์ ปรีชา
สุพจน์ กาเซ็ม และ จารุวัฒน์ เถาธรรมพิทักษ์
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


โรคพืชเป็นปัญหาสำคัญต่อกระบวนการผลิตพืชและเกษตรกรมักใช้สารเคมีควบคุมในปริมาณและอัตราที่สูงขึ้นเป็นลำดับซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ตลอดจนกระตุ้นให้เชื้อโรคเกิดการดื้อสารและเป็นปัญหาของโรคระบาดที่รุนแรงมากกว่าเดิม การเกษตรในปัจจุบันจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องการเกษตรแบบยั่งยืนและการควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี

โดยในเรื่องของโรคพืชนั้น สุดฤดี ประเทืองวงศ์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร และผู้ร่วมงาน ได้ศึกษาวิจัยและคัดเลือกจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ต่อระบบการผลิตพืชหลายสายพันธุ์ เช่น

1. Bacillus firmus KPS46 และ Lactobacillus sp. SW01/4 จากผิวใบถั่วเหลือง
2. Bacillus sereus SPt245 จากดินปลวก
3. Bacillus sp. KS217 จากเมล็ดงา

ที่สามารถควบคุมโรคและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้มากชนิด เช่น การชักนำให้พืชเจริญเติบโตและควบคุมโรคใบจุดนูน (X. axonopodis pv. glycines), แอนแทรคโนส (C. truncatum), โรคไวรัส (SMV และ SCLV), โรคเน่าคอดิน (Pythium sp. และ R. solani), และโรคที่ระบบรากอื่น ๆ (F. oxysporum, F. solani และ S. rolfsii) ของถั่วเหลือง ; โรคเน่าคอดินของอะคาเซียและสัก (P. aphanidermatum) ; โรคใบจุดแบคทีเรียของงา (P. syringae pv. sesami) ; โรคใบจุดทานตะวัน (Alternaria spp.) ; โรคใบไหม้ข้าวโพด (B. maydis) และ โรคใบไหม้ของหน้าวัว (X. campestris pv. dieffenbachiae) (ภาพที่ 1)



ภาพที่ 1. ความอุดมสมบูรณ์ของพืชที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียเป้าหมาย ;
(ก.) ถั่วเหลือง, (ข.) สัก,(ค.) งา, และ (ง ) หน้าวัว ตามลำดับ


โดยแบคทีเรียเหล่านี้ส่งเสริมให้ราก ลำต้น และยอดพืชเจริญยืดยาวอย่างรวดเร็ว (เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช) ขนาดและสีสรรส่วนต่าง ๆ ของพืช ขยายใหญ่และเข้มขึ้นตามลำดับ (เกี่ยวข้องกับธาตุอาหาร/ปุ๋ย) ตลอดจนฆ่าและยับยั้งเชื้อโรคพืชหลายชนิด (เกี่ยวกับสาร secondary metabolites และการเจริญแข่งขันกับเชื้อโรค) วิธีการใช้เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวสามารถประยุกต์ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ ใช้คลุกเมล็ด การคลุกเมล็ดร่วมกับการราดดิน ใช้ผสมในดินหรือวัสดุปลูก และการพ่นด้วย cell suspension รวมทั้งการพ่นด้วยสารเหลวที่กรองเอาเซลล์แบคทีเรียออก (cell free culture filtrate) ทั้งนี้การศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ คือ KPS46 และ SW01/4

ในการควบคุมโรคสำคัญของถั่วเหลืองน้ำมันในสภาพแปลง ณ ท้องที่จังหวัดนครราชสีมา และแปลงปลูกถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวิธีคลุกเมล็ดร่วมกับการพ่น cell suspension พบว่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการงอกของเมล็ด และส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลืองได้ดี (PGPR) และสามารถลดความรุนแรงของโรคเป้าหมายได้ทัดเทียมกับการใช้สารเคมี (copper hydroxide และ streptomycin) ตลอดจนเพิ่มปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองได้มากกว่า 20%

นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์นั้น ยังสามารถชักนำให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานการเข้าทำลายของเชื้อโรคพืชในสภาพธรรมชาติได้หลายชนิดในลักษณะของ induced systemic resistance (ISR) และจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์เป้าหมายมีศักยภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและกระตุ้นให้พืชต้านทานต่อโรคสำคัญหลายชนิด รวมทั้งเพิ่มคุณภาพให้ฝักสมบูรณ์ได้มาตรฐานส่งออก โรคเหล่านั้นได้แก่ ใบจุดนูน ราน้ำค้าง แอนแทรคโนส (ฝักเป็น รอยเปื้อน) เน่าคอ ดินโคนเน่าและโรคเหี่ยว และโดยเฉพาะโรคไวรัส (SMV และ SCLV) ทีสร้างความเสียหายให้ถั่วเหลืองฝักสดป็น อย่างมาก ซึ่งแต่เดิมเกษตรกรต้องใช้สารเคมีในปริมาณสูงเพื่อควบคุมโรคและแมลงพาหะของไวรัสดังกล่าว ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในผลผลิตและถูกระงับการนำเข้าจากประเทศคู่ค้าดังเช่นที่เกิดกับผักแช่แข็งของประเทศจีน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียเป้าหมายมีความสามารถในการลดการระบาดของพาหะแมลงพาหะ ส่งผลให้ถั่วเหลืองที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคไวรัสน้อยลง

การใช้แบคทีเรียที่อาศัยตามบริเวณรากและดินรอบรากพืช ที่มีความสามารถในการอยู่อาศัยร่วมกัน มาเพิ่มปริมาณและใส่ลงไปในดินปลูกพืชเพื่อส่งเสริมการใช้ธาตุอาหารของพืช และ/หรือการกระตุ้นให้พืชเติบโตแข็งแรงตลอดจนการผลิตสารต่าง ๆ ออกมายับยั้งการเจริญของเชื้อโรค เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาในการใช้สารเคมี และช่วยส่งเสริมการทำการเกษตรดีที่เหมาะสม โดยเชื้อแบคทีเรีย Bacillus sereus สายพันธุ์ SPt245 จากดินปลวกมีประสิทธิภาพสูงในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชป่าไม้ทั้งกระถินเทพาและสักที่ปลูกภายใต้สภาพโรงเรือนอย่างมีนัยสำคัญ สามารถส่งเสริมความยาวราก ความสูงของพืชดังกล่าวได้ป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพในการควบคุมและลดความรุนแรงของโรคที่ระบบรากได้ จึงมีแนวโน้มสูงที่จะนำเชื้อแบคทีเรีย PGPR สายพันธุ์ดังกล่าวไปปรับใช้ในการส่งเสริมการเจริญของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอื่น ๆ พืชป่าไม้ พืชอนุรักษ์ และ/หรือพืชโตช้า ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมระบบการปลูกป่าทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียทุกสายพันธุ์ มีศักยภาพสูงในลักษณะของการเป็นเชื้อปฏิปักษ์ควบคุมโรคพืชได้อย่างครอบคลุมทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส สามารถส่งเสริมการใช้ธาตุอาหารและกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนชักนำให้พืชเกิดความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคชนิดต่าง ๆ ได้กว้างขวาง ทั้งนี้สายพันธุ์เชื้อที่มีประโยชน์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสม เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ และการผลิตในระดับเชิงอุตสาหกรรม ตลอดจนการถ่ายทอดให้นำไปปรับใช้ในระบบการเกษตรแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น


http://www.rdi.ku.ac.th/exhibition/Year2548/01-KasetNational/Project/index_04.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... , 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 73 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©