-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 71, 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/04/2013 7:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง



1.910. บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร

1,911. ทฤษฎีจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
1,912. ทำพลับฝาดให้เป็นพลับหวาน
1,913. ปุ๋ยเร่งโตทำเองได้ ไม่ง้อยูเรีย
1,914. สารกำจัดวัชพืช
1,915. เคลือบ 'เมล็ดพันธุ์' ไทยทำ ลดต้นทุน - ฝีมือเท่าต่างชาติ

1,916. เดินหน้าดันเกษตรกรไทยเป็น.. “สมาร์ทฟาร์มเมอร์”
1,917. เกษตรกรปลูกองุ่น ผลผลิตเยี่ยม ไม่กระทบแล้ง
1,918. หญ้าปักกิ่ง
1,919. เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
1,920. มะพร้าหลายยอด เกิดจากอะไร ?

1,921. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่
1,922. แร่ธาตุสังกะสีในปุ๋ยจำเป็นต่อพืช
1,923. คลินิกปุ๋ยสั่งตัด
1,924. “ขี้เล” ปุ๋ยอินทรีย์จากดินเลน ช่วยพืชผลโตไว ลดต้นทุน
1,925. การปลูกมันฝรั่ง

1,926. การปลูกแห้ว
1,927. แปรรูป 'เปลือกมะพร้าว' แทนดิน รองรับตลาดพืชผักออร์แกนิก
1,928. ธาตุอาหารพืชกับเกษตรอินทรีย์
1,929. พืชผักมหัศจรรย์ "มานาจากดวงอาทิตย์" แพลงค์ตอน สไปรูลิน่า
1,930. มหัศจรรย์น้ำผึ้ง

1,931. ใบไม้เปลี่ยนสี
1,932. อะมิโน โปรตีน คือ อะไร ?
1,933. ผลไม้แพงที่สุดในโลก...
1,934. เมล่อนญี่ปุ่น (Melon in Japan)

-----------------------------------------------------------------------------------------------





1.910. บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร


เกษตรธรรมชาติ ถือว่า “ดินดี คือ ดินที่มีชีวิต” เป็นดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน สมดุลของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินสภาพธรรมชาติก็คือ ความเหมาะสมในด้านของจำนวนจุลินทรีย์ และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ดินที่เหมาะสมที่สุดในการทำการเกษตรคือ ดินที่มีจุลินทรีย์อยู่หลายกลุ่ม ตัวอย่างของดินดีชนิดหนึ่งคือ “ดินป่า” นั่นเอง


ในอดีตสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีอยู่ในดินป่า ในป่าซึ่งมีสารอินทรีย์ในรูปใบไม้หรือซากพืชซากสัตว์ที่เพิ่มลงไปกับประมาณธาตุอาหารพืชที่ถูกนำไปใช้และถูกเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตออกไปจากพื้นที่ที่สมดุลกัน ก็คือ มีธาตุอาหารพืชที่ถูกใช้ไปกับส่วนที่เพิ่มเติมลงมาในดินเท่ากัน จากการที่มีเศษซากอินทรียวัตถุหล่นลงดินหรือที่พืชตรึงไนโตรเจนจากอากาศลงสู่ดิน โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวช่วยในกระบวนการย่อยสลายและเปลี่ยนรูปธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์ เป็นกระบวนการที่เรียกว่าการนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ผลิดอกออกผลเป็นดอกไม้ ผัก ผลไม้ และอื่นๆ ส่วนสิ่งที่ถูกนำออกมาจากพื้นที่นั้นๆ คือธาตุอาหารพืชที่สูญเสียไปจากดิน ซึ่งในพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ เกษตรกรมักจะนำผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ออกมาจากพื้นที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงปริมาณธาตุอาหารพืชที่จะเพิ่มเข้าไปในพื้นที่ ทำให้พื้นที่ที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกิดความไม่สมดุลกัน จึงมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ

จุลินทรีย์มีบทบาทอย่างมากในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการแปรสภาพอินทรียวัตถุในดินให้กลายเป็นธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช โดยจุลินทรีย์จะมีขั้นตอนของความหลากหลายในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีปริมาณที่มาก ซึ่งมีหน้าที่และบทบาทต่อกระบวนการต่างๆ ในดินแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่าจุลินทรีย์ก็คือ ตัวการที่จะทำให้สารอินทรีย์จากซากพืชซากสัตว์ย้อนกลับไปเป็นธาตุอาหารพืชใหม่ได้อีกครั้ง นั่นคือทำให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชในดิน ดังนั้นดินป่าจึงมักมีอินทรียวัตถุอยู่สูงมีการหมุนเวียนในระบบนิเวศอย่างสมดุล แต่ในปัจจุบันการทำการเกษตรมีการใช้ปุ๋ยเคมีกันมากเพราะความต้องการผลผลิตที่มากขึ้น เมื่อต้องการผลผลิตมากขึ้นก็จำเป็นต้องนำเอาปัจจัยการผลิตอื่นๆ ใส่เข้าไปเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการใช้อย่างไม่สมดุล เป็นการใช้อย่างทำลายมากกว่า จะเห็นได้จากกรณีการเปิดป่า หรือการนำพื้นที่มาใช้จะเริ่มต้นด้วยการเผา ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ส่วนหนึ่งตายไป และอินทรีย์วัตถุส่วนหนึ่งหายไป ส่วนทีเคยอยู่ในระบบก็หายออกไปอยู่นอกระบบ เมื่อจุลินทรีย์หลายชนิดตายไปอีกหลายชนิดก็ลดจำนวนลง อัตราการเกิดกระบวนการหมุนเวียนย้อนกลับไปเป็นปัจจัยการผลิตก็ลดน้อยลง

ทันทีที่เปิดหน้าดินทำลายพืชที่ปกคลุมผิวดิน เกษตรกรก็จะเริ่มทำการเผาก่อน สิ่งทีหายไปคืออินทรียวัตถุในดิน ชนิดของจุลินทรีย์และปริมาณของจุลินทรีย์ เมื่อปลูกพืชต่อเนื่องไปได้ 2-3 ปี จะสังเกตเห็นได้ว่าผลผลิตที่ได้เริ่มลดลงและเพาะปลูกไม่ได้ผล ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะดินไม่ดี โรคแมลงศัตรูพืชมากขึ้นต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่สูงมากขึ้น นั่นคือการขาดความสมดุลในพื้นที่ การทำการเกษตรในบางพื้นที่จะทิ้งพื้นที่บริเวณนั้นไว้ 3-5 ปี จนกระทั่งอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้นพื้นดินจึงฟื้นกลับมามีความสมดุลอีกครั้ง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการปล่อยพื้นที่ไว้โดยไม่เข้าไปยุ่ง จะทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ เจริญเติบโต และตายลงสลายตัวกลายเป็นธาตุอาหารพืชย้อนกลับสู่ดิน และจากสารอินทรีย์ที่รากพืชปลดปล่อยออกมาในบริเวณใกล้ๆ ราก สิ่งเหล่านี้จะชักนำให้จุลินทรีย์เพิ่มจำนวนขึ้นและเกิดความหลากหลายของจุลินทรีย์อีกครั้ง

นอกจากนี้ยังชักนำให้มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในดินตามมา ทำให้ดินในพื้นที่นั้นกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ฉะนั้นถ้าให้เวลาธรราชาติสัก 3-5 ปี ทุกอย่างจะพื้นคืนสภาพได้เอง แต่ในปัจจุบันเกษตรกรไม่สามารถรอเวลานั้นได้ เนื่องจากพื้นที่มีจำกัดและความต้องการผลผลิตที่รวดเร็วและปริมาณมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ ดังนั้นระบบเกษตรแผนปัจจุบันจึงเลือกใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการแก้ปัญหานี้ ในขณะที่ระบบเกษตรธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์จะใช้วิธีการที่ดีกว่าคือ เติมปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะอินทรีย์ต่างๆ ที่สามารถนำมากลับมาใช้ได้ใหม่ และเพิ่มจุลินทรีย์ธรรมชาติเข้าไปด้วย


จุลินทรีย์ที่มีบทบาทต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน :
จุลินทรีย์มีหลายชนิดได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซีส และสาหร่าย แต่ละชนิดจะมีบทบาทและกิจกรรมต่อความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่
1. แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อรา โปรโตซัว และสาหร่าย มีรูปร่างแบบง่ายๆ 3 รูปร่างคือ กลม (Cocci) ท่อน (Rod) เกลียว (Spiral) ไม่มีรงควัตถุภายในเซลล์ คือ เซลล์มักจะใส มีทั้งเคลื่อนที่ได้และไม่เคลื่อนที่ เราสามารถแบ่งชนิดของจุลินทรีย์ได้หลายประเภทดังนี้

1.1 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามช่วงอุณหภูมิ
ก. พวก Psychophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ
ข. พวก Mesophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิปานกลางมีอยู่มากในดินส่วนใหญ่
ค. พวก Thermophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง

1.2 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามความต้องการออกซิเจน
ก. แบคทีเรียพวกที่ต้องการออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน
ข. แบคทีเรียพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่ไม่ออกซิเจน

1.3 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามลักษณะทางนิเวศวิทยา
ก. Autochthonous (Indigenous Group) เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ดั้งเดิมในธรรมชาติ ได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ อยู่ได้โดยไม่ต้องมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก แบคทีเรียกลุ่มนี้จะมีปริมาณคงที่ทุกฤดูกาล

ข. Zymogenous (Fermentation Producing Group) เป็นแบคทีเรียที่สามารถแปรรูปสารเคมีต่างๆ ได้โดยขบวนการหมัก (Fermentation) ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หลายอย่าง แต่กลุ่มนี้มีอยู่ตามธรรมชาติน้อยมาก จะเพิ่มจำนวนเมื่อมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก


1.4 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามการสร้างอาหาร
ก. Autotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอน (C) จากกาซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และสารประกอบอินทรีย์อื่นๆ เช่น HCO3

ข. Heterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอนจากอินทรีย์คาร์บอนหรือสารประกอบอินทรีย์ทั่วไป

ค. Chemotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมี และขบวนการออกซิเดชั่นของสิ่งมีชีวิต (Biological Oxidation)

ง. Chemoheterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากอินทรีย์สาร

จ. Phototrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้พลังงานจากการสังเคราะห์แสง
แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ที่พบเป็นจำนวนมากที่สุดในจุลินทรีย์ทั้งหมด โดยจำนวนแบคทีเรียคิดเป็น 50% ของน้ำหนักจุลินทรีย์ทั้งหมด และมีกิจกรรมคิดเป็น 95% ของจุลินทรีย์ทุกชนิดรวมกัน พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ จัดได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีบทบาทอย่างมากในธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต


2. เชื้อรา (Fungi)
2.1 ยีสต์ เป็นเชื้อราซึ่งมีลักษณะแปลกตรงที่ มีการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพเซลล์เดียว (Unicellular) แทนที่จะเจริญเป็นเส้นใยเหมือนเชื้อราอื่นๆ ทั่วไป จริงอยู่แม้ยีสต์บางชนิดมีการสร้างเส้นใยบ้าง แต่ก็ไม่เด่นเช่นเชื้อรา ปกติยีสต์เพิ่มจำนวนและแบ่งเซลล์โดยการแตกหน่อ (Budding) เซลล์ยีสต์จะใหญ่กว่าแบคทีเรียและมีนิวเคลียสที่เห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ในเซลล์ยีสต์เรามักจะสังเกตเห็นแวคคูโอล (Vacuole) ขนาดใหญ่ พร้อมทั้งเม็ดสาร (Granule) ต่างๆ ในไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) อยู่เสมอ


2.2 ราเส้นใย เป็นจุลินทรีย์ที่มีการพัฒนามาดำรงชีวิตอยู่ในสภาพหลายเซลล์ (Multicellular) โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะการเจริญเป็นเส้นใย (Hyphae) ซึ่งอาจมีผนังกั้น (Septate Hypha) หรือไม่มีผนังกั้น (Non Septate Hypha หรือ Coenocytic Hypha) เชื้อราเป็นจุลินทีรย์ที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันมากในด้านขนาดรูปร่างของโครงสร้างและระบบการสืบพันธุ์ โดยทั่วไปเชื้อรามีการสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีทั้งสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Spores) และสปอร์แบบอาศัยเพศ (Sexual Spores)


3. แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes) เป็นจุลินทรีย์จำพวกเซลล์เดี่ยวที่มีลักษณะคล้ายคลึงทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา โดยมีขนาดเล็กคล้ายแบคทีเรีย แต่มีการเจริญเป็นเส้นใยและสร้างสปอร์คล้ายเชื้อรา มีเส้นใยที่ยาวเรียวและอาจจะแตกสาขาออกไปเส้นใยเรียกว่า Hyphae หรือ Filaments


4. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue Green Algae หรือ Cyanobacteria) แตกต่างจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นตรงที่มีคลิโรฟิลล์มักเห็นเซลล์เป็นสีเขียว เซลล์เป็น Procaryote ซึ่งเหมือนกับแบคทีเรีย และมีสาร Mucopeptide เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เช่นเดียวกับแบคทีเรีย สาหร่ายพวกนี้ไม่มีคลอโร พลาสต์ ดังนั้นคลอโรฟิลล์จึงกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์




บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร :
จุลินทรีย์มีหลายชนิต ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซิท สาหร่าย โปรโตซัว ไมโครพลาสมาโรติเฟอร์ และไวร้ส เป็นต้น บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์มีอยู่มากมายดังนี้


1. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การเป็นประโยชน์และการเกิดโรค จุลินทรีย์หลายชนิดอาจเป็นสาเหตุของโรคพืชและสัตว์ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร แต่ในสภาพธรรมชาติจุลินทรีย์ที่มีอยู่อย่างหลากหลายจะมีการควบคุมกันเองในวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ป้องกัน กำจัด และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นรวมทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช


2. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญในการหมุนเวียนทรัพยากรให้ใช้ประโยชน์ได้ใหม่ในวัฏจักรของธาตุอาหารโดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายวัสดุสารอินทรีย์ต่างๆ (Organic Decomposition) ให้เป็นธาตุอาหาร เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ของสารอินทรีย์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทางการเกษตร ให้กลับอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยกระบวนการย่อยสลายหรือสังเคราะห์สารชนิดอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ในธรรมชาติ เช่น การย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ในดินให้อยู่ในรูปฮิวมัส เปลี่ยนจากรูปสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ (Mineralization) เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชได้แก่ กระบวนการตรึงไนโตเจน (N2 Fixation) โดยจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เช่น แหนแดง และจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้ เช่น เชื้อไรโซเบียม


3. จุลินทรีย์หลายชนิดมีบทบาทในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เช่น จุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างกรดอนินทรีย์ที่สามารถละลายแร่ธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช บางชนิดสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชหรือฮอร์โมน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และยังสามารถผลิตสารต่างๆ รวมถึงสารปฏิชีวนะ เอนไซม์ และกรดแลคติค เช่นแบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Gramicidine และ Tyrocidine เชื้อราบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Pennicilin และ Gliotoxin เชื้อแอคติโนมัยซิทบางชนิดสามารถสร้างสาร Actinomycin และ Aureomycin ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถใช้ในการยับยั้งเชื้อโรคต่างๆ และยังช่วยสนับสนุนปฏิกิริยาทางเคมีในดินให้เกิดขึ้นเป็นปกติได้ โยถ้าปราศจากเอนไซม์ปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อนในดินก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น



ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย ดร.อานัฐ ตันโช
ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org

ดาว์นโหลดขัอมูลทั้งหมดได้ที่ : http://www.uploadtoday.com/download/?12f19ff6e961ba64a38bbe72ab04f5a2



http://www.oknation.net/blog/print.php?id=94863


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/05/2013 10:32 am, แก้ไขทั้งหมด 29 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/04/2013 11:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,911. ทฤษฎีจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

ดร.จรูญเกียรติ ภัทรมนตรีสิน เลขาธิการสิ่งแวดล้อมหอการค้า จ.นครปฐม






จุลินทรีย์คืออะไร หลายคนคงยังไม่เข้าใจดีนัก จริงๆแล้ว จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากๆ ขนาดที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ยีสต์ เป็นต้น ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้มันก็มีความต้องการปัจจัยเหมือนกับคน ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย น้ำ อากาศ หรืออาจกล่าวในภาษาชาวบ้านได้ว่า จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิต....เหมือนเรา คือ กิน ขี้ ปี้ นอน เหมือนกันนั่นเอง


มหัศจรรย์ของจุลินทรีย์ :
ความมหัศจรรย์ของจุลินทรีย์มันมีอะไรบ้าง คงอยากรู้กันแล้ว ความมหัศจรรย์ของจุลินทรีย์มีอยู่ 3 ข้อด้วยกันคือ

1. มีความสามารถในการขยายพันธุ์แบบทวีคูณจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 ไปเรื่อยๆ หากเริ่มจาก 100 ตัว ก็จะทวีคูณเป็น 10,000 เมื่อกินดีอยู่ดีมีแรงเหลือเฟือมันก็จะขยายพันธุ์เป็นดับเบิ้ล (Double) เป็นหนึ่งร้อยล้านตัว ภายในเวลา 4-6 ชั่วโมง

2. มันมีอายุสั้นมากเพียง 48-72 ชั่วโมง เท่านั้นเองเมื่อเทียบกับเราซึ่งมีอายุเฉลี่ยถึง 65 ปี ดังนั้น มันจึงสามารถเป็นแหล่งอาหารให้กับพืชและสัตว์ได้อย่างรวดเร็ว

3. ตัวมันมีองค์ประกอบของธาตุอาหารหลักครบถ้วน ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ เป็นต้น มันจึงเป็นอาหารสำหรับพืชได้และเป็นโพรไบโอติคส์สำหรับสัตว์ นอกจากนี้เมื่อมันมีจำนวนมากๆ มันก็สามารถสร้างเอนไซม์ที่มีปริมาณมากพอที่จะไปย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ ที่อยู่ในน้ำเสียให้เป็นน้ำที่ดีได้ นั่นเป็นหลักการคร่าวๆ เบื้องต้น

มาเข้าสู่ทฤษฎีจุลินทรีย์พืชกันเลยดีกว่า หลายคนคงสงสัยกันว่าทำไมต้นไม้ในป่าจึงมีขนาดใหญ่แข็งแรงสมบูรณ์กว่าพืชผัก ผลไม้ที่เราปลูกกันตามบ้านทั้งๆ ที่ไม่มีใครคอยไปรดน้ำใส่ปุ๋ยพรวนดินกับมันเลย คำตอบแห่งความสมบูรณ์ของต้นไม้ในป่าเหล่านั้นก็คือจุลินทรีย์ที่อยู่กันตามธรรมชาติในป่านั่นเองที่คอยเป็นแหล่งธาตุอาหารที่สำคัญให้กับพืช แต่ขณะเดียวกันต้นไม้ที่เราปลูกกันคอยใส่ปุ๋ยเคมีให้กับมัน มันกลับไม่ค่อยโตทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีไปนานๆคุณภาพของดินก็เปลี่ยนแปลงไปมีความเป็นกรด-ด่างมากขึ้น หน้าดินอุดตันเนื่องจากเศษหินทรายที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยเคมีไปอุดตันทำให้รดน้ำไม่ค่อยลงดินจะแข็งขึ้น พืชจึงไม่ค่อยโตนี่คือ หลักการง่ายที่จะทำให้เรามองเห็นข้อดีของจุลินทรีย์มากยิ่งขึ้น

ทฤษฎีจุลินทรีย์เพื่อสัตว์ มีอะไรบ้างมาดูกันเลยดีกว่า ช้าง ม้า วัว ควาย กินแต่หญ้าทำไมมันจึงให้โปรตีนได้มันน่าสงสัยใช่ไหมล่ะ ในสัตว์เหล่านี้จะมีกระเพาะ 30 กลีบ ซึ่งมีลักษณะเป็นกลีบจำนวนมาก (มากกว่า 30 กลีบ) อันเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ซึ่งจุลินทรีย์จะสร้างเอนไซม์ที่เปลี่ยนหญ้าที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบหลักให้กลายเป็นแป้งและน้ำตาลอันเป็นอาหารของจุลินทรีย์ เมื่อจุลินทรีย์ได้อาหารที่ดีสมบูรณ์มันก็จะขยายพันธุ์เป็นทวีคูณร้อยล้านตัว เมื่อมันตายตัวมันก็เป็นแหล่งธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับสัตว์ อันได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันและเกลือแร่ โดยเฉพาะกรดอะมิโนของโปรตีนที่มันมีสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

โดยจุลินทรีย์เหล่านี้คือจุลินทรีย์ที่เรียกว่า โพรไบโอติคส์ ซึ่งคล้ายกับยาคูลท์ที่คนกินเข้าไปแต่เป็นเชื้อจุลินทรีย์คนละชนิดกัน เมื่อสัตว์ได้รับจุลินทรีย์เหล่านี้เข้าไประบบขับถ่ายก็จะดี ท้องไม่เสีย กินอาหารได้มากขึ้น เติบโตได้เร็วมากขึ้น แข็งแรงขึ้น ลดการใช้สารเคมี ยาปฏิชีวนะลงได้

สุดท้าย ทฤษฎีจุลินทรีย์เพื่อการบำบัดน้ำเสีย คงสงสัยกันใช่ไหมว่าทำไมน้ำจึงเสียได้ ตัวอย่างเช่น น้ำปกติในแก้วถ้าไม่มีแป้ง น้ำตาล เนื้อโปรตีน ไขมัน ลงไปมันก็ไม่เสียใช่ไหม แต่ที่มันเสียก็เพราะว่ามีสิ่งเหล่านี้เจือปนอยู่ แล้วอะไรที่จะไปกำจัดของเสียเหล่านี้ให้หมดไปนั้นก็คือ จุลินทรีย์

เมื่อนำจุลินทรีย์จากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียในเมืองกลับใช้ไม่ได้ผล ก็เพราะว่ามันเกิดจากการที่จุลินทรีย์จากต่างประเทศเมื่อเข้ามาอยู่ในภูมิอากาศบ้านเรามันจะเข้าสปอร์ไม่ยอมทำงานหรือแม้จุลินทรีย์บ้านเราเมื่อไปอยู่ในเขตหนาวมันก็จะไม่ยอมทำงานเข้าสปอร์เหมือนกัน เนื่องมาจากในธรรมชาติแม่น้ำบ้านเราข้างบนผิวน้ำจะอุ่นข้างล่างจะเย็น แต่ในแม่น้ำต่างประเทศข้างบนผิวน้ำจะเย็นข้างล่างจะอุ่น และจุลินทรีย์มันก็ต้องการการเติบโตและผสมพันธุ์ในที่อุ่นเหมือนกับคน จุลินทรีย์จากเมืองนอกมันจึงโตและผสมพันธุ์กันด้านล่างที่อุ่นและมีปริมาณออกซิเจนน้อย และจุลินทรีย์บ้านเราจะโตและผสมพันธุ์กันด้านบนที่อุ่นและมีปริมาณออกซิเจนมาก ดังนั้นเมื่อนำจุลินทรีย์จากต่างประเทศเข้ามาใช้ในเมืองไทยเพื่อบำบัดน้ำเสียมันจะลงไปอยู่ข้างล่างที่มีออกซิเจนน้อยซึ่งจะอากาศเย็นมันจึงเข้าสปอร์ไม่ยอมทำงาน การบำบัดน้ำเสียจึงไม่มีประสิทธิภาพ

การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจะต้องคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง (High Quality) ก็เหมือนกับทีมฟุตบอลหงส์แดงหรือลิเวอร์พูลที่คัดเลือกนักเตะที่มีคุณภาพทำให้ทีมประสบความสำเร็จได้ และนอกจากนี้ยังต้องมีปริมาณความเข้มข้นสูง (High Quantity) ถึง 1 ล้านล้านตัวต่อซีซี/กรัม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามข้อควรระวังเกี่ยวกับความล้มเหลวของจุลินทรีย์ที่เกิดจากการกลายพันธุ์อาจเกิดขึ้นได้ เพราะจุลินทรีย์มันไม่มีสมองมันจะผสมพันธุ์กันเองในระหว่างหมู่ญาติพี่น้องด้วยกันทำให้คุณภาพของจุลินทรีย์ด้อยประสิทธิภาพลง ซึ่งในธรรมชาติจุลินทรีย์ 100 ตัวจะมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ได้ถึง 95 ตัว



http://www.baanjomyut.com/library_2/agricultural_biological_environment/index.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/04/2013 11:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,912. ทำพลับฝาดให้เป็นพลับหวาน






การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวผลพลับอาศัยลักษณะสีผิวของผลเป็นสำคัญ นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงประเภทของพลับเช่น

• พลับหวาน จะเก็บเกี่ยวก็ต่อเมื่อผลมีการพัฒนาอย่างเต็มที่ ทั้งขนาดและสีผิวของผล และ สามารถรับประทานสดได้เลย แม้ว่าผลพลับยังคงแข็งอยู่ เช่น พันธุ์ฟูยู เป็นต้น

• พลับฝาด เป็นประเภทที่ไม่สามารถรับประทานสดได้ทันที ต้องนำไปผ่านกรรมวิธีเพื่อ ขจัดความฝาด ดังนั้นจำเป็นต้องเก็บให้เร็วกว่าปกติ ซึ่งการเก็บจะทำเมื่อสีผิวของผลมีสีเขียวอมเหลืองหรือสีผิวพัฒนาไปเพียง 30-40 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพราะถ้าหากเก็บผลสุกเกินไป หลังจากการผ่านกรรมวิธีเพื่อขจัดความฝาดออกแล้ว โดยปกติใช้เวลา 3-5 วัน จะมีกลิ่นอันเนื่องมาจากการหมัก(ferment)มากขึ้น

วิธีการเก็บเกี่ยว
วิธีการเก็บเกี่ยวผลที่ดีที่สุด คือการใช้กรรไกรเล็กๆ ตัดที่ขั้วผล โดยให้ส่วนของกลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่ที่ผลด้วย สำหรับการใช้มือปลิดผลสามารถกระทำได้แต่ไม่ควรทำเนื่องจาก อาจทำให้ผลเกิดมีรอยแผลและกิ่งฉีกขาดได้ ผลที่เก็บแล้วจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนบนผิวผลซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพของผลพลับได้

กรรมวิธีการลดความฝาด
• การใช้แอลกอฮอล์ ทำได้โดยวางพลับเรียงกัน2ชั้น ในกล่องกระดาษ ซึ่งจะใส่ผลพลับได้ ประมาณ15 กิโลกรัม จากนั้นจะพ่นสารละลายแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 30-40 เปอร์เซ็นต์ลงไปบนผลพลับจำนวน 150-200 ซีซีจากนั้นให้ปิดกล่องกระดาษให้สนิทด้วยกระดากาว หลังจากนั้นประมาณ 10 วัน ความฝาดของผลพลับจะหายไปหลังจากนั้นนำไปบริโภคได้

• การใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นวิธีที่นิยมมากในปัจจุบัน สามารถทำได้โดยนำผลพลับใส่ถุงพลาสติกจานั้นให้เติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปจนเต็มถุง และให้ทิ้งในสภาพอุณหภูมิห้องประมาณ4-5 วัน พลับจะหายฝาด โดยที่ผลยังคงแข็งอยู่

• การใช้น้ำปูนใส สามารถทำได้โดยแช่ผลพลับในน้ำปูนใสประมาณ 5-7 วัน ก็จะทำให้พลับหายฝาดได้ แต่ผลพลับจะมีคราบสีขาวๆติดอยู่ที่ผล ทำให้ดูแล้วไม่สวยงาม

• สภาพสูญญากาศ ก็เป็นอีกรรมวิธีหนึ่งที่ทำให้พลับหายฝาดได้ ซึ่งคุณภาพผลพลับจะเป็น เช่นเดียวกับการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์



http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/persimmon/04.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/04/2013 12:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,913. ปุ๋ยเร่งโตทำเองได้ ไม่ง้อยูเรีย

ปุ๋ยยูเรีย-ปุ๋ยหมัก ความเหมือนที่เเตกต่าง


ปุ๋ยยูเรีย หรือที่หลายคนอาจจะรู้จักกันในรูปปุ๋ยสูตร 46-0-0 เป็นปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนสูง ทำให้พืชผักโดยเฉพาะผักใบที่ต้องการธาตุไนโตรเจนมากเป็นพิเศษ เจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็วทันใจใครหลายคน แต่สิ่งที่ควรทราบคือ หากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป ก็จะเกิดการสะสมในรูปไนไตรต และเมื่อเรารับประทานเข้าไปเจ้าไนไตรตก็จะเป็นไนไตรท์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งได้ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ กระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่าไนไตรท์ยังก่อให้เกิดปัญหาต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งควบคุมระบบการทำงานหลายอย่างของร่างกาย เช่นระบบการเผาผลาญ การเต้นของหัวใจ และการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ

มีการศึกษาทดลองผลกระทบของปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยหมักที่มีต่อปริมาณไนเตรตและไนไตรท์ในผักบุ้งจีนของอัญชนีย์ อุทัย พัฒนาชีพและคณะพบว่าหากใช้ปุ๋ยที่มีระดับไนโตรเจนเท่ากัน ผักที่ใช้ปุ๋ยยูเรียจะมีการสะสมของไนเตรตและไนไตรท์สูงกว่าปุ๋ยหมัก 4 เท่าและ 2 เท่า ตามลำดับ

ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
คำตอบก็คือว่าปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยเคมีสามารถละลายน้ำได้ดีและปล่อยธาตุไนโตรเจนออกมาเป็นอาหารพืชได้เร็วกว่า ปุ๋ยหมัก ทำให้พืชดูดซับเร็วและสะสมไว้ได้มากกว่านั่นเอง

ปุ๋ยเร่งโตทำเองได้ไม่ง้อยูเรีย
เราสามารถทำปุ๋ยเร่งโตใช้เองเเทนยูเรียได้หลายสูตรด้วยกัน ลองมาดูกันนะคะว่ามีอะไรบ้าง



สูตร 1 : สิ่งที่ต้องเตรียม
1. น้ำมะพร้าวขูดแบบไม่คั้นกะทิออก 3 กิโลกรัม
2. น้ำ 5 ลิตร

วิธีทำ ห่อมะพร้าวด้วยผ้าขาวบางหมักแช่ไว้ 2 คืน นำน้ำที่ได้มารดผัก

สูตร 2 : สิ่งที่ต้องเตรียม
1. หัวไชเท้า 30 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 10 ลิตร
3. น้ำมะพร้าว
4. ถังพลาสติกมีฝาปิด

วิธีทำล้างหัวไชเท้าให้สะอาด สับเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในถัง จากนั้นละลายกากน้ำตาลในน้ำมะพร้าว เทใส่ในถังกะให้น้ำมะพร้าวท่วมหัวไชเท้า คนให้เข้ากัน ปิดฝา หมักทิ้งไว้ 30 วัน กรองน้ำมาใช้



สูตร 3 ปุ๋ยปลาหมัก (จากสวนผักลุงดิ๊ด):
สิ่งที่ต้องเตรียม
1. ปลาหรือหอยเชอร์รี่ 5 กิโลกรัม
2. จุลินทรีย์หน่อกล้วยหัวเชื้อ 5 ลิตร **
3. กากน้ำตาล 5 ช้อนแกง

วิธีทำ นำปลาตายมาสับเป็นท่อนเล็กพอประมาณ ใส่ลงในถังหมัก ผสมกับจุลินทรีย์หน่อกล้วยที่เตรียมไว้ ไม่ต้องคน ปิดฝาไม่ต้องแน่นมาก หมักทิ้งไว้ 7 วัน จากนั้นเติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ หมักทิ้งไว้ 1 เดือน กรองน้ำมาใช้ได้


** วิธีทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย สูตรหัวเชื้อ

สิ่งที่ต้องเตรียม
1. หน่อกล้วยสูงประมาณ 1 เมตร ทั้งต้นใบเหง้า ไม่ต้องล้างดินออก
2. กากน้ำตาล

วิธีทำ นำหน่อกล้วยมาสับ ชั่งให้ได้ 3 กิโลกรัม ใส่ลงไปในถังแล้วใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม คลุกให้เข้ากัน ปิดฝาไม่ต้องแน่น วางทิ้งไว้ในที่ร่ม 7 วัน โดยให้เปิดคนทั้งเช้าและเย็น เมื่อครบกำหนด ให้กรองน้ำมาใช้


สูตร 4 : สิ่งที่ต้องเตรียม
1. ปุ๋ยคอก
2. น้ำ
วิธีทำ นำปุ๋ยคอกมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำน้ำนั้นมารดผัก วิธีนี้เป็นวิธีง่ายที่ที่จะช่วยทำให้พืชสามารถดูดสารอาหารเข้าไปใช้ได้เร็ว หากดินดี รากพืชแข็งแรง พืชก็จะงามและเติบโตดีขึ้นทันใจ


สูตร 5 น้ำหมักจากปัสสาวะ:
วิธีทำ นำปัสสาวะมาหมักกับน้ำตาลทรายแดง อัตราส่วน
น้ำปัสสาวะ 1 ลิตร ต่อน้ำตาลทรายแดง 0.5 กิโลกรัม หมักทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ กรองเอาน้ำหมักมาผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ฝาขวดน้ำดื่ม ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นหรือรดพืชตอนเช้าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง



ลองนำไปทำกันดูนะคะ ใครสามารถหาวัตถุดิบไหนได้ง่าย ก็เลือกใช้สิ่งนั้น อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือใส่ปุ๋ยแล้วอย่าลืมใส่ใจ ช่างสังเกต หมั่นเรียนรู้และทำความเข้าใจธรรมชาติของผักด้วยนะคะ




http://www.thaicityfarm.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=364&auto_id=29&TopicPk=


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/05/2013 11:04 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/05/2013 10:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,914. สารกำจัดวัชพืช


ยากำจัดวัชพืช, สารกำจัดวัชพืช, หรือ ยาฆ่าหญ้า เป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ฆ่าพืชที่ไม่ต้องการ ยากำจัดวัชพืชใช้ในการจัดการพื้นที่รกร้างหรือควบคุมวัชพืชในการเกษตร ยากำจัดวัชพืชมีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ยาฆ่าหญ้ามีทั้งชนิดเลือกทำลายและไม่เลือกทำลาย[1] ชนิดเลือกทำลายมีฤทธิฆ่าพืชเฉพาะชนิด เช่น 2,4-D ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าทำลายเฉพาะพืชใบกว้าง โดยอาศัยส่วนประกอบทางเคมีที่เป็นฮอร์โมนพืชสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อถูกดูดซึมจะไปรบกวนเฉพาะกระบวนการเติบโตของพืชใบกว้าง ชนิดไม่เลือกทำลายมีฤทธิฆ่าพืชทุกชนิด เช่น ไกลโฟเสต และ พาราคว็อท


คำจำกัดความ
"สารกำจัดวัชพืช หมายถึง สารเคมีใดๆ ก็ตาม ที่นำมาใช้เพื่อฆ่าทำลลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่วัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือยังเป็นเมล็ดอยู่ ตลอดจนชิ้นส่วนต่างๆของวัชพืชทีขยายพันธุ์ได้ที่อยู่ในดินหรืออยู่บนดิน"


การจำแนกประเภทของสารกำจัดวัชพืช
ประเภทของสารกำจัดวัชพืชสามารถจัดแบ่งได้ตามหลายวิธีเช่น แบ่งตามการใช้งาน (เช่น ดูดซึมทางดิน หรือ ทางใบ) แบ่งตามลักษณะการเลือกทำลาย (เลือกทำลาย หรือ ไม่เลือกทำลาย) แบ่งตามลักษณะการได้รับพิษ (ประเภทสัมผัส หรือ ดูดซึม) แบ่งตามช่วงเวลาการใช้ (เช่น ประเภทก่อนปลูก, ประเภทก่อนงอก, ประเภทหลังงอก) หรือ อื่นๆ


วัชพืชที่ถูกยาฆ่าหญ้า
สารกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตรของประเทศไทย
พาราคว็อท (Paraquat) เป็นยากำจัดวัชพืชที่มีการใช้มากที่สุดในประเทศไทยทำงานโดยหยุดยั้งการเติบโตของเซลวัชพืช และทำให้เนื้อเยื่อของเซลนั้นแห้งตายลง

ไกลโฟเสต (Glyphosate) เป็นยากำจัดวัชพืชโดยวิธีฉีดพ่นและดูดซึมทางใบ, วิธีฉีดเข้าลำต้น หรือหยอดที่ยอด

2,4-ดี (2,4-D) เป็นฮอร์โมนพืช (ออกซิน) สังเคราะห์ โดยถ้าใช้ในความเข้มข้นต่ำจะกระตุ้นการเจริญเติบโต ถ้าใช้ในความเข้มข้นสูงจะเป็นสารกำจัดวัชพืชใบกว้าง เพราะมีฤทธิ์ของความเป็นออกซินสูงมาก โดยวัชพืชใบกว้างซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงคู่จะไวต่อการตอบสนองต่อ 2,4-ดี มากกว่าพืชใบแคบซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
บิวตาคลอร์ (Butachlor) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้ป้องกันวัชพืชก่อนที่วัชพืชจะงอก เพื่อป้องกันวัชพืช เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว กกขนาก หนวดปลาดุก กกทราย และ ขาเขียด

โพรพานิล (Propanil) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืชพวกใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว

ฟีโนซาพรอพ-พี-เอ็ทธิล (Fenoxaprop-p-ethyl) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืชประเภทหญ้า เช่น หญ้าดอกขาว หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าแดง
เพนดิเมทธอลิน (Pendimethalin) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืช เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าดอกขาว หญ้าแดง กกขนาก กกทราย หนวดปลาดุก ขาเขียด ผักปอดนา

ไพราโซซัลฟูรอน-เอทิล (Pyrazosulfuron-ethyl) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืช เช่น กกขนาก หนวดปลาดุก ขาเขียด ผักปอดนา ผักแว่น



พาราควอท ยังมีชื่ออื่นที่เราอาจจะคุ้นเคยมากกว่า เช่น กรัมม็อกโซน ไตรควอท หรือ เดกซ์ซูรอน เป็นสารที่มีอันตรายร้ายแรงที่ใช้ป้องกันและกำจัดวัชพืช ละลายน้ำได้ดี นั่นหมายถึงว่า มันสามารถถูกน้ำพัดพาไปได้ถึงแหล่งน้ำต่างๆ ได้มีการนำพาราควอทมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 และได้แพร่หลายอย่างรวดเร็วไปยังประเทศต่างๆกว่า 130 ประเทศ สำหรับประเทศไทย พาราควอทเป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีการใช้มากที่สุด ในการกำจัดวัชพืชนั้น โดยทั่วไปจะใช้กับวัชพืชที่ยังอ่อน และมักใช้ฉีดพ่นในพื้นที่ที่ไม่มีการปลูกพืช หรือในระหว่างแถวของแปลงผัก แปลงปลูกไม้ยืนต้น เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้ยังใช้ทำให้ใบฝ้ายร่วงก่อนกำหนดอีกด้วย จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายพาราควอทได้ตามธรรมชาติ แต่เมื่อใช้นานเข้า พาราควอทจะเกาะติดกับอนุภาคของดินเหนียว ทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ยากขึ้น

ถ้านำไปใช้อย่างไม่ระวัง ผิวหนังและตาที่สัมผัสจะระคายเคือง เซลล์เนื้อเยื่อของผิวหนังจะตายเป็นแผลพุพอง ตาบวมแดงอักเสบ ทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง การฉีดพ่นจึงควรระมัดระวัง ทำตอนลมสงบและอยู่เหนือลม ใส่เสื้อผ้าปกปิดให้มิดชิด เสร็จแล้วรีบอาบน้ำทันที การกลืนกินจะเป็นพิษต่อบริเวณลำคอ หายใจไม่สะดวก เพราะปอดทำงานไม่ได้ตามปกติ อาจถึงขั้นล้มเหลวได้ และยังมีผลต่อการทำงานของตับอีกด้วย โดยทำให้เกิดสภาวะเป็นกรดมากกว่าปกติ เนื่องจากความเป็นพิษสูง จึงมีมาตรการควบคุมทางกฎหมาย เพื่อช่วยลดอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นได้


หมายเหตุ :
พาราควอท เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตร

รศ.สุชาตา ชินะจิตร





อ้างอิง
1. การกำจัดหรือการควบคุม โดย นางสาวอำไพ ยงบุญเกิด, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3
2. สารกำจัดวัชพืช: หลักการและกลไกการทำลาย, ทศพล พรพรหม, สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, พ.ศ. 2545 ISBN 975-537-200-5

3. http://www.brrd.in.th/rkb2/weed/index.php-file=content.php&id=41.htm
4. http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=52


http://th.wikipedia.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:43 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/05/2013 11:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,915. เคลือบ 'เมล็ดพันธุ์' ไทยทำ ลดต้นทุน - ฝีมือเท่าต่างชาติ :

โดย...กวินทรา ใจซื่อ





การทำเกษตรกรรมนั้น เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพถือเป็นหัวใจสำคัญเพราะเมล็ดที่ดีทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูง ช่วยลดต้นทุนการผลิต และทำให้เกิดผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาพบว่าเมล็ดพันธุ์มีทั้งโรคและแมลงกัดกิน ซึ่งการป้องกันเกษตรกรจะนำเมล็ดคลุกกับสารป้องกันศัตรูพืช บางครั้งไม่สม่ำเสมอ บวกกับเมล็ดพันธุ์พืชบางชนิดมีขนาดเล็ก การคลุกเองอาจทำให้สูญเสียเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาแพงได้

จากปัญหาที่เกิดขึ้น รศ.ดร.บุญมี ศิริ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้คิดค้นเครื่องเคลือบและพอกเมล็ดเพื่อลดการสูญเสีย โดยในประเทศไทยการใช้เครื่องเคลือบ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาเมล็ดพันธุ์ ซึ่งแต่เดิมเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่เครื่องมีความซับซ้อน ขนาดใหญ่ ราคาแพงมาก การทดลองสูตรการเคลือบแต่ละครั้งต้องลงทุนทั้งเมล็ด สารเคลือบในปริมาณมาก ทำให้ไม่คุ้มค่ากับการทดลอง จึงมีแนวคิดผลิตใช้เอง

“เมล็ดมะเขือเทศ แตงกวา ถั่วประเภทต่างๆ และเมล็ดดอกไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาสูงเริ่มตั้งแต่แสนบาทขึ้นไป ด้วยเหตุนี้การรักษาเมล็ดพันธุ์จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเพาะปลูก และการดูแลรักษา การรักษาเมล็ดพันธุ์มีทั้งการเคลือบด้วยโพลิเมอร์และการพอกโดยนำวัสดุ เช่น ดิน แกลบ หรือขุยมะพร้าวนำมาพอกเมล็ดพันธุ์ขนาดเล็กให้ใหญ่ขึ้น ทดลองคิดค้นทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า” รศ.ดร.บุญมี แจง

พร้อมยังบอกถึงขั้นตอนการเคลือบและพอกเมล็ดพันธุ์ ว่า เริ่มจากที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์มาแล้วต้องทำความสะอาด จากนั้นนำไปลดความชื้น เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น แล้วจึงคัดแยกเมล็ดให้มีขนาดใกล้เคียงกัน จึงเข้าสู่กระบวนการเคลือบหรือการพอกเมล็ดพันธุ์ โดยแบ่งได้ 3 ขั้นตอน เริ่มจากการนำเมล็ดพันธุ์ใส่เข้าไปในเครื่อง จากนั้นพ่นสารโพลิเมอร์เพื่อเคลือบให้ติดผิวเมล็ด

ขั้นตอนที่สองใช้สารออกฤทธิ์ในการป้องกันโรค แมลง เชื้อรา หรือช่วยกระตุ้นการงอกให้เพิ่มขึ้น และสารแต่งเติม เช่น การใช้สี เคลือบให้มันวาว มีความเรียบเนียน เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้แก่เมล็ดและบริษัท รวมถึงเป็นการประกันคุณภาพสินค้าว่ามีคุณภาพ จะมั่นใจในคุณภาพเมล็ด ป้องกันการปลอมปน สำหรับสูตรการเคลือบนั้นไม่ตายตัว จะใช้สารทั้ง 3 ตัวนี้ต่างกันขึ้นกับพื้นผิวและขนาดเมล็ดพืช

รศ.ดร.บุญมี บอกอีกว่า ตลอดการทดลอง 9 ปี มีเครื่องนวัตกรรมที่ตนเองคิดค้นขึ้นแล้ว 5 รุ่น แต่ละรุ่นมีขนาดที่ต่างกัน โดยเครื่องแรกนั้นมีขนาดใหญ่และไม่สามารถเคลือบเมล็ดได้อย่างที่คิดจึงปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งนี้ เครื่องเคลือบเมล็ดที่นำเข้าราคาเริ่มต้นที่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป ทว่า คนไทยออกแบบและผลิตได้เองในราคา 3 แสนบาท ซึ่งถูกกว่าถึง 5 เท่า

"ขณะนี้ได้คิดค้นเครื่องที่มีขนาดเล็กลง เพื่อการใช้งานได้จริง เหมาะกับเกษตรกรรายย่อย โดยเครื่องขนาดเท่าบาตรพระในราคาลงทุนกว่า 1 หมื่นบาท อีกทั้งได้ผลิตเครื่องทั้งขนาดใหญ่ เล็ก ด้วย โดยลักษณะถังผสมเป็นแบบกลมและแบบหกเหลี่ยม เพื่อให้การเคลือบทั่วถึง" รศ.ดร.บุญมี ย้ำ

ปัจจุบันมีบริษัทสนใจเครื่องเคลือบเมล็ดข้าวโพดหวานแบบอุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่เคลือบได้เร็วมากขึ้นใช้เวลาเพียง 30 วินาที ตั้งระบบอัตโนมัติในการทำงาน เคลือบได้ครั้งละ 2-3 ตันติดต่อกัน เมื่อเคลือบเสร็จสิ้นสามารถนำเมล็ดไปเพาะปลูกได้ ซึ่งถือเป็นการคิดค้นเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ โดยคนไทยที่ทันสมัยที่สุดในประเทศ




http://www.phtnet.org/news56/view-news.asp?nID=100
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/05/2013 12:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,916. เดินหน้าดันเกษตรกรไทยเป็น.. “สมาร์ทฟาร์มเมอร์”














นโยบายสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) หรือ เกษตรกรปราดเปรื่อง และสมาร์ทออฟฟิศเซอร์ (Smart Officer) ถือเป็นนโยบายสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังเร่งขับเคลื่อนเพื่อให้เกษตรกรไทยเป็นมืออาชีพและพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง จนสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558

นายโอฬาร พิทักษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงความก้าวหน้าโครงการสมาร์ทฟาร์มเมอร์ว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯได้ทำโครงการ One ID Card for Smart farmer โดยนำข้อมูลเกษตรกรทั้งพืช ปศุสัตว์ ประมง ที่แจ้งขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทุกราย เข้าไปไว้ในฐานข้อมูลบัตรประชาชนของกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ในซิมที่อยู่ในบัตรประชาชนก็จะมีข้อมูลว่าเกษตรกรรายนี้ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่ไหน เมื่อไหร่ มีพื้นที่ทำการเกษตรจำนวนเท่าใด มีกิจกรรมทางการเกษตรอะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งการนำข้อมูลเกษตรกรมาใส่ไว้ในบัตรประชาชนนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรในการขอรับบริการจากภาครัฐ เพียงแค่เกษตรกรนำบัตรประชาชนมาเสียบกับเครื่องอ่านบัตรก็จะสามารถแสดงฐานะการเป็นเกษตรกร และสามารถใช้สิทธิ์ที่เกษตรพึงได้รับจากภาครัฐได้


ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำเว็บไซต์ www.ThaiSmartFarmer.net ขึ้นมา เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้บริการจากภาครัฐแบบทางไกล โดยใช้ระบบไอทีหรือสมาร์ทโฟนเข้ามาช่วย ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้ามารับบริการและเข้าถึงข้อมูลจากภาครัฐได้ง่ายขึ้น ในระบบเบื้องต้นนี้จะมีเมนูของการตรวจสอบข้อมูลเกษตรกร (E-check) ที่จะสามารถบอกข้อมูลพื้นฐานที่เกษตรกรได้แจ้งขึ้นทะเบียนไว้แล้ว สภาพปัญหาการผลิตของเกษตรกร สภาพพื้นที่ตั้งแปลงของเกษตรกร เป็นต้น เมนูการให้บริการของภาครัฐ (E-services) ซึ่งเกษตรกรสามารถมาขอรับบริการจากภาครัฐ เช่น การขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร การขอรับบริการฝนหลวง การขอรับการรับรองการผลิตตามมาตรฐาน เป็นต้น

นอกจากนี้ ในระบบยังมีข้อมูลของเกษตรกรที่เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ต้นแบบ และเจ้าหน้าที่ที่เป็นสมาร์ทออฟฟิศเซอร์ จะมีข้อมูลที่ได้จากการถอดบทเรียนจากสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ข้อมูลความเชี่ยวชาญของสมาร์ทออฟฟิศเซอร์ในแต่ละด้าน ที่จะให้เกษตรกรสามารถติดต่อขอคำปรึกษา แนะนำในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามที่ต้องการได้ ในขณะเดียวกัน ได้มีการพัฒนาฐานองค์ความรู้ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ องค์ความรู้ทางวิชาการด้านต่างๆ มารวบรวมไว้ในระบบเพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้ เช่น กรณีปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ก็ได้นำองค์ความรู้ของพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหามาเก็บไว้เป็นแหล่งข้อมูลในระบบ เพื่อให้เกษตรกรหรือผู้สนใจมาสืบค้นข้อมูลและนำไปใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเองต่อไปได้

ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 จะมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่เก็บข้อมูลพื้นฐานจากเกษตรกรตามโครงการสำมะโนการเกษตร จึงอยากขอความร่วมมือจากเกษตรกรในการให้ข้อมูลการผลิตอันเป็นความจริง ปัญหาการผลิต และรายได้ เพื่อเตรียมตัวที่จะเข้าสู่การพัฒนาและปฏิรูปการเกษตรในปี 2556-2561 โดยจะมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรควบคู่กับการบริหารเกษตรกร บนพื้นฐานที่มีข้อมูลเกษตรกรที่ชัดเจน ตลอดจนมีข้อมูลพื้นที่ที่เหมาะสมสอดคล้องกับตัวเกษตรกรและสินค้าที่ทำการผลิต

...คาดว่าโครงการนี้จะช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสทำการผลิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของตัวเอง รวมถึงความต้องการของพื้นที่ และความต้องการของตลาด เพื่อให้เกิดการสมดุลระหว่างภาคการผลิตและภาคการตลาด เพราะหากมีการผลิตตามความเหมาะสมของพื้นที่ และตามความเหมาะสมกับศักยภาพของเกษตรกรแล้ว ก็จะสามารถช่วยให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพ และช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/200702
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/05/2013 12:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,917. เกษตรกรปลูกองุ่น ผลผลิตเยี่ยม ไม่กระทบแล้ง











วันนี้(25มี.ค.) นายปรีชา กรประเสริฐ เจ้าของฟาร์มองุ่น สวนพิรามวัลเลย์ตั้งอยู่ที่ ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 11 ที่หลักกม.ที่ 38/39 ถนนพิษณุโลก-เด่นชัย อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า สวนพิรามวัลเลย์ ได้ประกอบกิจการเกษตรอินทรีย์และเลือกปลูกองุ่น ในหลากหลายสายพันธุ์ เช่นองุ่นพันธุ์ลุสเพอร์เลท ซึ่งเป็นองุ่นที่มีผลสีเขียวเป็นสายพันธุ์จากอเมริกา และ พันธุ์แบล็คโอปอล เป็นองุ่นที่มีผลสีดำซึ่งเป็นสายพันธุ์จากออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์นี้ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ คือไม่ใช้สารพิษหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างเด็ดขาด ดังนั้นรสชาติขององุ่นทั้ง 2 สายพันธุ์นี้จะหวาน กรอบ อร่อย วัดเปอร์เซนต์ความหวานของผลองุ่นได้ถึง18-24 เปอร์เซนต์บริค ซึ่งถือได้ว่ามีรสชาติที่หวานมาก ที่สำคัญใครที่ไปแวะชมก็สามารถเดินเด็ดชิมได้ฟรีและถ้าถูกใจก็ค่อยซื้อไปเป็นของฝาก ซึ่งจะมีผลผลิตทั้งปีแต่จะออกชุกมากในเดือน มี.ค.-เม.ย.



นายปรีชา กรประเสริฐ เล่าเพิ่มเติมว่า องุ่นเป็นพืชใช้น้ำน้อยจึงไม่มีผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันมากนัก ถึงแม้ว่าจังหวัดพิษณุโลกจะประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน(ภัยแล้ง)ในหลายพื้นที่แล้วก็ตาม ในทางตรงกันข้ามกลับส่งผลดีต่อองุ่นสายพันธุ์ไร้เมล็ดที่ปลอดสารพิษให้มีรสชาดที่หวานเข้มข้นมากยิ่งกว่าเดิม



http://www.dailynews.co.th/agriculture/192883


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/05/2013 12:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/05/2013 12:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,918. หญ้าปักกิ่ง





หญ้าปักกิ่งหรือเล่งจือเฉ้า เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ประเภทไม้ล้มลุก สูงประมาณ 7-10 ซม. และอาจสูงได้ถึง 20 ซม. ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดรวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกมีสีฟ้าปนม่วง ใบประดับกลม ยาวประมาณ 4 มม. ร่วงง่าย เป็นพืชที่ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย งอกงามในที่มีแดดรำไร ไม่ต้องการน้ำมาก เพาะปลูกโดยการเพาะชำหรือเพาะเมล็ด ปลูกได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มาก ตามสรรพคุณของตำรายาจีน จะใช้หญ้าปักกิ่งรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและกำจัดพิษ โดยจะใช้ทั้งต้นหรือส่วนเหนือดิน คือลำต้นหรือใบที่มีอายุ 3-4 เดือน

ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม ได้นำเอาหญ้าปักกิ่งมาพัฒนาเป็นยาเม็ด โดยยาทุก 2 เม็ด มีคุณค่าเท่ากับต้นหญ้าปักกิ่ง 3 ต้น ใช้เพื่อลดผลข้างเคียงจากรังสีบำบัดหรือยาเคมีบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง จะรับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน ใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายและการกลับเป็นซ้ำอีก หลังจากการรักษาแล้ว โดยรับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน เช่นนี้ติดต่อกันประมาณ 1 ปี และตรวจมะเร็งปีละ 2 ครั้ง ใช้เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคมะเร็ง รับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน เช่นนี้ติดต่อกัน เป็นเวลานานไม่เกิน 6-8 สัปดาห์ โดยใช้เฉพาะช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ขณะติดเชื้อไวรัส เป็นต้น.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/202969
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/05/2013 12:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,919. เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ด้วยการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ และการสังเคราะห์สารเคมีต่างๆ

พันธุกรรม (Heridity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน





ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของเทคโนโลยีชีวภาพมีมากมาย ได้แก่
1. พันธุวิศวกรรม : เป็นกระบวนการ ที่เจาะจงเลือกหน่วยพันธุกรรม (Gene) บางตัวของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง (ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือ จุลินทรีย์) และนำไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง เพื่อทำให้เกิดลักษณะพิเศษที่ต้องการ รวมถึงการตัด และต่อพันธุกรรม เช่น การตัดพันธุกรรมในการสร้างน้ำย่อยของเชื้อ R. oryzae ไปต่อเพิ่มให้กับ R. oryzae อีกตัวหนึ่ง ทำให้ R. oryzae ตัวที่ถูกเพิ่มพันธุกรรม สามารถสร้างน้ำย่อยได้มากขึ้น

2. การผลิตวัคซีน : วัคซีนทุกชนิดนับว่าเป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเช่นเดียวกัน วัคซีน อาจเตรียมได้จากเซลล์ของตัวก่อโรคทั้งหมด (Whole cells) หรือเตรียมจากเปลือกหุ้มตัวเชื้อ (Capsule) หรือ เตรียมจากส่วนขนละเอียดรอบตัวเชื้อ (Pilli) ก็ได้

3. สารกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรค : ผนังเซลล์ของจุลินทรีย์บางชนิด มีส่วนประกอบของสารในกลุ่ม polysaccharides (เช่น Oligosaccharide และ Peptidoglycan เป็นต้น) สารพวกนี้ มีคุณสมบัติในการเกาะจับจุลินทรีย์ตัวก่อโรค และสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ดีขึ้น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ มีตั้งแต่การใช้ตัวเซลล์ (Whole cell), สกัดเพียงบางส่วน เช่น สาร Oligosaccharide จากผนังเซลล์ของยีสต์ แบคทีเรีย Pediococcus spp. และ Lactobacillus บางสายพันธุ์

4. น้ำย่อย หรือ เอ็นไซม์ : น้ำย่อยที่สร้างจากสัตว์แต่ละชนิด มีความสามารถในการย่อยวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้แตกต่างกัน เมื่อให้สัตว์กินวัตถุดิบบางชนิดแล้ว สัตว์ไม่สามารถย่อยได้ ทำให้สิ้นเปลืองวัตถุดิบ ดังนั้นเป้าหมายของการใช้วัตถุดิบในปริมาณน้อย แต่ให้เกิดประโยชน์ (ย่อย) ได้ดีที่สุด ปัจจุบันจึงได้มีการผลิตน้ำย่อย ทั้งชนิดจำเพาะ เช่น น้ำย่อยที่ย่อยสารกลูแคน (Glucanase) หรือในรูปของน้ำย่อยรวม (Enzyme cocktail) มาใช้ผสมในอาหารสัตว์ ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้วัตถุดิบได้ และสัตว์เจริญเติบโตได้ดี น้ำย่อยที่กล่าวถึงนี้ คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสันดาป (Metabolic products) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกระบวนการหมักของจุลินทรีย์





5. วิตามิน : วิตามิน เป็นผลิตภัณฑ์จากกระบวนการสันดาปที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการผลิตของจุลินทรีย์ เช่น กากเบียร์ จะมีส่วนประกอบของวิตามิน บี หลายชนิด เป็นต้น

6. โปรตีน และกรดอะมิโน : ตัวเซลล์ของจุลินทรีย์หลายชนิด มีส่วนประกอบของโปรตีน และกรดอะมิโน

7. สารสกัดจากพืช : สารสกัดจากพืชบางชนิด มีคุณสมบัติ เป็นสารทำลายศัตรูพืช หรือ ออกฤทธิ์ทำลายแบคทีเรียบางชนิดได้





8. สารเสริมชีวนะ : หรือ ที่เรียกว่า โปรไบโอติก เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่อาจกล่าวได้ว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ เป็นที่รู้จักมากที่สุดในวงการการเลี้ยงสัตว์ สารเสริมชีวนะ ประกอบด้วยกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีคุณประโยชน์ ได้แก่ แบคทีเรีย (Bacteria) ยีสต์ (Yeasts) และรา (Fungi) โดยเฉพาะพวกแบคทีเรีย ที่สามารถสร้างกรดแลคติค และกรดไขมันระเหย (Lactic acid and Volatile Fatty acid) ความสำคัญของสารเสริมชีวนะ นอกจากจะสร้างกรด เพื่อยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ตัวก่อโรคแล้ว ยังมีความสามารถในการเจริญทวีจำนวนได้รวดเร็ว เบียดบัง หรือข่ม และแข่งจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้อีกด้วย และสารเสริมชีวนะนี้ ตัวเซลล์ยังประกอบด้วยสารสำคัญ ในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรค พวก polysaccharide และ peptidoglycan อีกด้วย มีผู้อธิบายถึงการที่จุลินทรีย์พวกนี้ สามารถสร้างสารคล้ายปฏิชีวนะ ทำลายจุลินทรีย์อื่น โดยเฉพาะตัวที่ก่อโรคได้เช่นเดียวกัน

9. กลุ่มย่อยสลาย อินทรีย์ และอนินทรีย์สาร : จุลินทรีย์หลายชนิด โดยเฉพาะแบคทีเรีย ทำหน้าที่ในการย่อยสลายของเสียทั้งหมด ให้กลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็กมาก จนพืชชั้นสูง และพืชเซลล์เดียว สามารถดูดซับสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ ปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ เพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการย่อยสลาย และควบคุมคุณภาพของน้ำเสียจากฟาร์ม อย่างแพร่หลาย

10. การถนอมอาหาร : การถนอมอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ ได้แก่ การหมัก และดองอาหาร เช่น การทำนมเปรี้ยว แหนม ผักดอง เป็นต้น

11. เพิ่มคุณค่าทางอาหาร : เช่น จุลินทรีย์จะสร้างน้ำย่อย เพื่อย่อยน้ำตาลแลคโตสในน้ำนม ให้ได้เป็นน้ำตาลกลูโคส และน้ำตาลกาแลคโตส ซึ่งมนุษย์สามารถนำไปใช้ได้

12. อุตสาหกรรมการผลิต : เช่น การผลิตเหล้าองุ่น เบียร์ แอลกอฮอล์ ที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง และใช้ฆ่าเชื้อ เป็นต้น




http://www.sci.ubru.ac.th/homepage/user22/chevapab.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/05/2013 9:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,920. มะพร้าหลายยอด เกิดจากอะไร ?

โดย : อ.ประเวศ แสงเพชร


มะพร้าว เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยทั่วไปจะมียอดเพียงยอดเดียว การเจริญเติบโตไปทางเพิ่มความสูง ดังนั้น หากยอดมะพร้าวถูกทำลายเสียหาย มันจะตายในเวลาต่อมา

มะพร้าวหลายยอด มีการตั้งสมมติฐานว่า อาจเกิดจากยอดถูกฟ้าผ่า หรือแมลงเจาะยอดแต่ไม่ตาย หรือเกิดจากโรคบางชนิดเข้าทำลาย แต่บทสรุปของผู้เชี่ยวชาญมะพร้าว 2 ท่าน คือ อาจารย์ประสงค์ ทองยงค์ กับ ดร. สมชาย วัฒนโยธิน มีความเห็นตรงกันว่า มะพร้าวหลายยอดเกิดจาก ความผิดปกติทางพันธุกรรมพืช ทำให้เนื้อเยื่อเจริญพัฒนาเกิดมีหลายยอด จากรายงานของ ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา บันทึกไว้ว่า เคยพบมะพร้าว 4 ยอด ที่จังหวัดภูเก็ต ระยะแรกลักษณะเป็นมะพร้าวปกติ จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงแตกยอดออกเป็น 2 ยอด และต่อมาอีก 5 ปี แต่ละยอดแตกยอดหรือกิ่งอีกยอดละกิ่ง รวมเป็น 4 ยอด หรือ 4 กิ่ง แต่เมื่อนำผลจากต้นดังกล่าวไปปลูกขยายพันธุ์ต่อ กลับไม่พบว่า ต้นลูกไม่เป็นต้น 4 ยอด เหมือนต้นแม่ จึงสรุปได้ว่าลักษณะมะพร้าวหลายยอด ไม่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่เป็นที่น่าเสียดาย ต้นมะพร้าว 4 ยอด ที่เล่ามาถูกพายุพัดหักโค่นตายไปแล้วเมื่อยี่สิบปีก่อน

สาระน่ารู้ของมะพร้าว โดย ดร. วิชาญ ทองเอียด แห่งคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มะพร้าวจัดอยู่ในวงศ์ ปาล์มมี (Palmae) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีกาบหุ้ม ลำต้นมองเห็นได้ชัดเจน เช่นเดียวกับ ตาลโตนด จาก หมาก ปาล์ม และหวายต่างๆ แม้พืชวงศ์นี้จะเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวก็ตาม แต่บางชนิดกลับมีลำต้นสูงใหญ่และมีเปลือกลำต้นแข็งทนทาน ด้วยความชาญฉลาดของมนุษย์ที่รู้จักนำพืชในวงศ์นี้มาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ปาล์มสาคูให้แป้ง ปาล์มน้ำมันกับมะพร้าวให้น้ำมัน ใบค้อ และใบสาคูใช้มุงหลังคา จั๋ง หมากแดง และปาล์มเจ้าเมืองตรัง ใช้เป็นไม้ประดับ ต้นตาล มะพร้าวและหลาวชะโอน ใช้ก่อสร้างและเครื่องเฟอร์นิเจอร์ ยอดอ่อนใช้บริโภค มีมะพร้าวและหวายกินยอด ใบกะพ้อ ใช้ห่ออาหาร มะพร้าว ตาล จาก และตาว หรือต๋าว ใช้ทำขนมหวาน ส่วนหวายใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี แต่ปัจจุบันหาได้ยาก เนื่องจากมีวัสดุอื่นๆ เข้ามาทดแทน สาเหตุเกิดจากพื้นที่เพาะปลูกลดน้อยลง


http://www.technologychaoban.com/news_detail_morkased.php?tnid=103&section=20






มะพร้าวสี่ยอด
อดีตมะพร้าวสี่ยอดที่แปลกประหลาด อยู่ระหว่างห้าแยกฉลอง-ราไวย์ ภูเก็ต เคยมีนักท่องเที่ยวมาชมเป็นจำนวนมาก นับเป็นสิ่งพิศดารที่ได้อันตราธานเสียแล้วของภูเก็ตอย่างน่าเสียดาย

http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1770.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/05/2013 11:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1,921. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่

Technology of increate cassava yield

ดร.อัศจรรย์ สุขธำรง และดร.เรณู ขำเลิศ

มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญระดับแนวหน้า และกำลังทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปเนื่องจากมีประโยชน์ใช้สอยอย่างกว้างขวาง และสามารถปลูกได้ในดินดอนทั่วไปอย่างแทบจะไร้ขีดจำกัดเมื่อมีการปฏิบัติดูแลอย่างดีพอสมควร มันสำปะหลังนับว่าเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูงมากพืชหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน และในท้องที่ที่มีสภาพที่เหมาะสม อาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ โดยที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ในช่วง 25-30 เปอร์เซ็นต์

ถึงแม้ว่ามันสำปะหลังจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายตายยากและให้ผลผลิตโดยง่าย โดยมีความเสี่ยงน้อยต่อความไม่เหมาะสมของสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่การที่จะให้มันสำปะหลังแสดงออกถึงศักยภาพของแต่ละสายพันธุ์ที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยทั่วไปย่อมเป็นที่รู้ในหมู่นักวิชาการว่าในการปลูกมันสำปะหลังนั้นมีหลัก และขั้นตอนที่สำคัญอยู่หลายประการ ซึ่งผู้ปลูกควรจะยึดถือเป็นแนวปฏิบัติซึ่งได้แก่ การใช้พันธุ์ที่ดีที่เหมาะสมกับท้องที่ การใช้ต้นพันธุ์ และการใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพ การปรับปรุงบำรุงดินและการเตรียมดินอย่างถูกวิธี การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม การปลูกย่างประณีตโดยใช้ระยะปลูกอย่างเหมาะสม การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอและสมดุล การปฏิบัติดูแลด้วยการเอาใจใส่พอสมควร ไปจนถึงการเลือกเวลาเก็บเกี่ยวและการเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลังยังขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกมาก เช่น ความชื้นในดิน ในอากาศ อุณหภูมิ และแสง เป็นต้น

ปัจจุบันนี้มีพันธุ์มันสำปะหลังที่ดีถูกสร้างออกมาให้เกษตรกรใช้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นพันธุ์รับรองซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมีมากกว่า 7 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 9 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง นอกจากนี้ยังมีพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่มางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น และนำอกมาให้เกษตรกรใช้ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะมีการปรับตัวได้อย่างดีเยี่ยมต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังขึ้นมาพันธุ์หนึ่งและได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อว่าพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งเป็นมันสำปะหลังอีกพันธุ์หนึ่งที่ให้ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา

จากการทดลองในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในปี พ.ศ.2546-2547 พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 สามารถให้ผลผลิตสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 11-12 ตันต่อไร่ที่อายุ 13 เดือน โดยมีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ที่ 25-28 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะสามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีมันสำปะหลังที่ยังไม่ได้ผ่านการรับรองแต่มีศักยในการให้ผลผลิตดีในบางท้องที่ และยังมีพันธุ์อื่นๆ ที่เกษตรกรรวบรวมหรือจัดหามาได้ ก็อาจนำมาใช้ได้ ปัจจุบันระบบการปลูกมันสำปะหลังอาจมีความจำเป็นจะต้องนำเครื่องทุ่นแรงเข้ามาใช้มากขึ้น ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว ดังนั้นพันธุ์มันสำปะหลังที่จะนำมาใช้นอกจากจะมีผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงแล้วยังควรมีลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรสังเกตและเลือกเก็บพันธุ์ที่ดีด้วยตนเอง

ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก เมื่อผู้ปลูกมันสำปะหลังแน่ใจว่าพันธุ์ที่มีอยู่ในมือนั้น เป็นพันธุ์ที่ดี ขั้นต่อไปก็คือควรจะปลูกรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ และเอามาเป็นท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ จากนั้นจึงนำมาใช้เมื่อมีอายุระหว่าง 8-20 เดือน โดยใช้เฉพาะส่วนกลางของลำต้นที่มีความแก่-อ่อน พอเหมาะ ขนาดของท่อนพันธุ์ที่ใหญ่มักจะให้หัวมากกว่าท่อนพันธ์ที่เล็กถ้าสามารถตัดได้โดยไม่แตก ความยาวของท่อนอาจอยู่ที่ 15-25 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับฤดูปลูกและเตรียมดิน การใช้ท่อนพันธุ์ที่ค่อนข้างสั้นจะเหมาะกับการปลูกในช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ในช่วงต้นฝนหรือผู้ปลูกมีต้นพันธุ์จำนวนจำกัด การใช้ท่อนพันธุ์ที่มีความยาวกว่า 30 เซนติเมตร อาจใช้ได้ดีเมื่อเตรียมดิน และใส่ปุ๋ยได้ลึกหรือในสภาพที่ปัญหาวัชพืชที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งการใส่ปุ๋ยและปลูกลึกในบางพันธุ์จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มาก

การเตรียมดิน มีวิธีการแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ และสภาพของดิน ปริมาณน้ำฝน และการจัดการอื่นๆ สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อย หน้าดินลึก ดินร่วนซุย ในบางครั้งอาจไม่มีความจำเป็นต้องไถพรวน เพียงแต่ปลูกท่อนพันธุ์ และใส่ปุ๋ยลงไปในหลุมดินที่ได้ถอนหัวมันออกแล้วก็อาจได้ผลผลิตดีพอๆ กับที่มีการเตรียมดินอย่างดี แต่สำหรับในบางดินบางสถานการณ์ การเตรียมดินเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชต้องการอากาศมาก และต้องการสภาพของดินที่ร่วนโปร่งและฟู ในบางครั้งอาจจะต้องใช้สารปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้กายภาพของดินมีสภาพเหมาะสมดังกล่าว และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้ลงไปในระดับลึก ซึ่งจะทำให้เกิดผลดี เมื่อเสียบท่อนพันธุ์ลงไปในระดับลึกได้โดยไม่ขัดขวางการงอกของรากจากรอยตัด และทำให้รากของต้นอ่อนมันสำปะหลังอยู่ในอยู่ในระดับใต้ดินที่ยังมีความชื้นเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้สามารถผ่านช่วงแล้ง 5-6 เดือนได้ อย่างไรก็ดี การปลูกลึกอาจสร้างปัญหาทำให้เก็บเกี่ยวยากขึ้น ในดินที่ค่อนข้างเหนียว เกษตรกรไม่ควรเตรียมดินในขณะที่ดินมีความชื้นสูง เพราะน้ำหนักของเครื่องมือจะกดทับดินชั้นล่างให้เป็นแผ่นดินดานแข็ง ในดินที่มีปัญหาเกิดแผ่นดานขึ้นในชั้นใต้ดินควรใช้ไถสิ่วหรือไถระเบิดดาน (sub-soiler) กดลงไปในระดับลึกซึ่งจะช่วยให้ดินมีการระบายน้ำและระบายอากาศดีขึ้น

การใส่วัสดุปรับปรุงดิน ในท้องที่ซึ่งดินแน่นง่ายการไถกลบวัชพืช และเศษมันสำปะหลังจะช่วยให้ดินโปร่งร่วนในระดับหนึ่ง แต่ในบางครั้งอาจยังไม่เพียงพอต้องหาวัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบดิบ เถ้าแกลบ กากหม้อกรองอ้อย หินฝุ่นจากภูเขาไฟ หินปูนฝุ่น ปูนขาว ยิบซั่ม พูไมซ์ เพอร์ไลท์ และซีโอไลท์ ฯลฯ มาใส่ ซึ่งแต่ละชนิดมีความถูก-แพง และการจัดการไม่เหมือนกัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น อาจมีความจำเป็นอย่างยิ่งในดินที่แน่นง่ายหรือเนื้อดินค่อนข้างเหนียว และมีธาตุอาหารต่างๆ อยู่ในดินน้อย การรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 200-500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมไปกับวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน จะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นมาก จะช่วยให้ต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูงและมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นจำนวนมากอาจมีความจำเป็นต้องทำให้เจือจางลงโดยการเติมสารอินทรีย์ที่มีความเค็มน้อย เช่น ฟางข้าว แกลบ กากหม้อกรองอ้อย ฯลฯ และควรมีการหมักทิ้งไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ความร้อนสลายไป ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใส่รองพื้นบ้างในกรณีของพื้นที่ซึ่งไม่มีการใช้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

การใส่ปุ๋ยรองพื้น มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูง และมีอายุอยู่ในพื้นที่ปลูกค่อนข้างนาน จึงมีความต้องการธาตุอาหารในปริมาณมาก ซึ่งผลผลิตจะขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินว่าจะสมดุลและสมบูรณ์เพียงใด มันสำปะหลังมีความสามารถในการสกัดธาตุอาหารจากหินและแร่ ซึ่งใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการใช้ปูนขาว หินปูนบด (หินฝุ่น) โดโลไมท์บด พูไมซ์ ซีโอไลท์ สเมกไตท์ ฯลฯ จะช่วยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้กว่าครึ่งที่เป้าหมายผลผลิตเท่ากัน เศษซากพืช และปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้มีธาตุอาหารในลักษณะที่สมดุลขึ้นแต่ต้องใช้ในปริมาณค่อนข้างมาก ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็น ในกรณีที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และไม่สามารถหาเศษซากพืชหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้เพียงพอ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับหินปูนฝุ่นประมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถคาดหมายผลผลิตระหว่าง 8-12 ตันต่อไร่ ในเวลา 12 เดือน โดยมีการลงทุนเพิ่มจากที่เกษตรกรเคยทำเพียงเล็กน้อย การคาดหมายผลผลิตที่มากกว่านี้อาจทำได้โดยใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรจะต้องปรับระยะปลูกให้ห่างออก ทำให้ปุ๋ยเจือจางลงหรือละลายช้าลงหรือเพิ่มจำนวนครั้งในการให้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ อาจช่วยให้การย่อยสลายของปุ๋ยอินทรีย์สมดุลขึ้น และยังสามารถดึงไนโตรเจนในอากาศมาเป็นปุ๋ยในดิน และทำให้หินแร่ในดินและวัสดุปรับปรุงดินที่ใส่ลงไปย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แกต้นมันสำปะหลังได้ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกมาก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์สลายเร็วหรือปุ๋ยเคมีอัตราสูงเป็นปุ๋ยรองพื้น อาจมีผลเสียต่อการงอกของท่อนปลูก และทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตรวดเร็วเกินไป (ขึ้นต้น) จะไม่ค่อยลงหัว

การพรวนดิน ในดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างเหนียว อาจมีความจำเป็นต้องพรวนหลายครั้ง หรืออาจใช้วิธีไถดะ ตากดินไว้ให้แห้ง ซึ่งจะง่ายต่อการพรวน แต่ในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินทราย อาจไถลึกเพียงครั้งเดียวหลังการหว่านปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ก็สามารถนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้เลย การพรวนดินให้ละเอียดมากเกินไปอาจทำให้ดินแน่นได้โดยง่ายเมื่อมีฝนตกหนัก ซึ่งผู้ปลูกจะต้องสังเกตและไถพรวนอย่างเหมาะสม

การยกร่อง อาจมีความจำเป็นเมื่อดินมีความลดเทน้อย หรือพื้นที่ขนาดใหญ่มากและเป็นดินที่มีโอกาสแฉะเมื่อฝนชุกหรือดินระบายน้ำยาก การยกร่องช่วยทำให้ใส่ปุ๋ยรองพื้นได้ง่ายขึ้นโดยใส่ปุ๋ยไว้ก้นร่องและพรวนกลบ ซึ่งจะทำให้ดินมีธาตุอาหารอยู่ในระดับลึก ต้นมันสำปะหลังใช้ปุ๋ยได้ดีแต่วัชพืชจะไม่มีโอกาสใช้ปุ๋ยที่อยู่ลึก จึงอาจช่วยทำให้ไม่ต้องกำจัดวัชพืชที่มีขนาดเล็กหรือมีการแข่งขันกับต้นมันสำปะหลังน้อย การยกร่องยังช่วยให้ง่ายต่อการนำท่อนพันธุ์ลงปลูกอีกด้วย แต่สำหรับผู้มีความชำนาญก็อาจนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้โดยไม่ต้องยกร่องในพื้นที่ ซึ่งมีการระบายน้ำดี นอกจากนี้การยกร่องยังให้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการชะล้างพังทลาย และการไหลบ่าของน้ำ

การนำท่อนพันธุ์ลงปลูก มันสำปะหลังสามารถปลูกได้หลายวิธี ตั้งแต่ปลูกด้วยเมล็ด ปลูกด้วยลำต้นที่ตัดเป็นท่อน หรือปลูกโดยใช้ยอดที่มีความยาวประมาณ 1-2 ฟุต แต่ที่นิยมคือการปลูกด้วยลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน เรียกว่า “ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก” ซึ่งอาจใช้วิธีเสียบตั้งตรง หรือเอียงเล็กน้อย ในต่างประเทศมีการปลูกด้วยเครื่องจักร ซึ่งจะวางท่อนปลูกนอนราบไปกับพื้น ซึ่งแต่ละวิธีอาจมีความเหมาะสมต่อสภาพของดิน อุปกรณ์เครื่องมือ และแรงงานที่มีอยู่ และผลผลิตที่ได้ย่อมมีความแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเลือดให้เหมาะกับวิธีการจัดการที่ดีที่สุดของตนเอง ผลผลิตสูงสุดจะได้จากการทำงาที่ประณีต และมีขั้นตอนต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่และภูมิอากาศ การปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยนั้น การปลูกตื้นให้ผลดีกว่าการปลูกลึกเพราะธาตุอาหารดินอยู่บริเวณใกล้ผิวดิน อย่างไรก็ตามผลผลิตและคุณภาพที่ดีมักจะได้มาจากการปลูกในช่วงที่มีความชื้นเพียงพอ ไม่มากจนเกินไปในระยะต้นฤดู เช่น เดือนพฤษภาคม เป็นต้น

การกำจัดวัชพืช มันสำปะหลังที่มีอายุน้อยยังมีระบบรากไม่แข็งแรง และมีการเจริญเติบโตไม่รวดเร็วจะไม่สามารถแข่งขันกับวัชพืชในระยะตั้งแต่เริ่มงอกจนถึง 3 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัชพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีขนาดใหญ่ ในช่วงนี้จะต้องมีการควบคุมวัชพืชอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจทำได้โดยใช้จอบถาก ใช้รถไถเดินตามไถกลบ หรือใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ซึ่งมีทั้งประเภทควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช เช่น อาลาคลอร์ ฟลูมิโอซาซิน ประเภทสัมผัสโดยตรง เช่น พาราควอท และประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเสท ซึ่งผู้ปลูกมันสำปะหลังจะต้อเลือกใช้ให้เหมาะสม แต่การใช้สารควบคุมวัชพืชบ่อยครั้งและต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดิน และทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินมีกิจกรรมลดลงหรือสูญหายไป หลังจากมันสำปะหลังอายุ 4 เดือน ไปแล้ว วัชพืชขนาดเล็กจะช่วยปกป้องหน้าดินให้มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ทำให้ดินร่วนโปร่งเหมาะต่อการขยายของหัว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง จึงควรปล่อยวัชพืชขนาดเล็กให้เจริญเติบโตอยู่ใต้ร่มเงาของมันสำปะหลัง เพื่อปกป้องดินจากการชะล้างพังทลาย และยังช่วยสร้างอินทรียวัตถุที่จำเป็นต่อดินอีกด้วย การปลูกมันโดยวิธีใส่ปุ๋ยเป็นแนวในระดับลึก และเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้ต้นมันเจริญเติบโตขึ้น คลุมวัชพืชได้โดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชลงได้มาก

การให้ปุ๋ยหลังปลูก ในบางท้องที่ และบางระยะของฤดู การใส่ปุ๋ยรองพื้นจำนวนมากอาจทำให้ท่อนปลูกของมันสำปะหลังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำหรืออาจไม่งอกเลยทั้งแปลง ดังนั้นในขณะที่ความชื้นของดินไม่ดีนัก จึงควรใช้ปุ๋ยรองพื้นแต่น้อย และใส่เพิ่มเติมเมื่อมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือน 7-8 เดือน และ 10-12 เดือน ในกรณีที่ยืดอายุเก็บเกี่ยวไปถึง 16 เดือน ควรพิจารณาให้เดือนที่ 10-13 เป็นช่วงต้นฝน และเลือกใส่ปุ๋ยในเวลาที่ดินมีความชื้น เช่น หลังฝนตก 1-3 วัน โดยไม่จำเป็นต้องฝังกลบปุ๋ย เพราะรากของมันสำปะหลังมักขึ้นมาอยู่บนผิวดิน เมื่อดินมีความชื้นผู้ปลูกมันสำปะหลังควรหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตกหนักบ่อยครั้ง และในช่วงที่ดินไม่มีความชื้น ซึ่งการใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมดังกล่าวนั้นอาจทำได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ หินฝุ่น และปุ๋ยเคมี ซึ่งอาจแยกใส่หรือผสมกันแล้วใส่ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหาวัสดุต่างๆ

การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากธาตุอาหารต่างๆ ฮอร์โมน วิตามิน คีเลตที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจะสามารถซึมผ่านเข้าไปในใบ และพืชนำไปใช้ได้ทันที และขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในพืชทั่วไป และมีคนนำมาใช้ในมันสำปะหลัง ในพื้นที่ที่ไม่ได้ปรับปรุงบำรุงดินไว้อย่างเหมาะสม แต่มีความจำเป็นต้องปลูกมันสำปะหลังเพื่อชิงเวลา การใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ประณีตหรือสมบูรณ์ดีนัก อาจทำให้มันสำปะหลังไม่สามารถสกัดทุกธาตุอาหารจากดินตามความต้องการได้ การให้ปุ๋ยทางใบอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทั้งทางราก และส่วนเหนือดินของต้นมันสำปะหลังได้ การใช้ปุ๋ยยูเรีย 1-2 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับปุ๋ยจุลธาตุที่มีองค์ประกอบของเหล็ก ทองแดง สังกะสี ฯลฯ ในรูปคีเลต จะช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตอย่างสมดุลดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหนาวจัดหรือแห้งแล้งจัด อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การใช้ปุ๋ยหมักน้ำที่กรองแล้วฉีดพ่นทางใบ ซึ่งจะทำให้มีการเจริญเติบโตและมีผลผลิตดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักน้ำ ซึ่งจะต้องไม่มีสารประกอบไนโตรเจนอยู่มากเกินไป การให้ปุ๋ยทางใบ อาจมีความจำเป็นในช่วงฤดูหนาวหรือแล้งจัด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตโดยทิ้งใบ และเสริมธาตุอาหารที่ต้นมันสำปะหลังไม่สามารถสกัดและดูดขึ้นจากดินได้ ในสภาพที่ดินมีน้ำน้อยหรือดินมีความเป็นกรด-ด่าง และแฉะ-แห้งไม่เหมาะสม แต่โดยทั่วไปถ้าสามารถปรับสภาพดินและปุ๋ยในดินให้สมดุลเพียงพอแล้ว การใช้ปุ๋ยทางใบจะช่วยเสริมให้ต้นมันรับธาตุอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน ได้อย่างเต็มที่

การติดตามตรวจสอบการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง หลังจากการปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว ผู้ปลูกควรตรวจสอบความงอก และนำท่อนปลูกที่มีคุณภาพสูงมากไปปลูกเคียงคู่กับท่อนที่ไม่งอกภายใน 10 วัน โดยเสียบเคียงข้างห่างจากต้นเดิมประมาณหนึ่งฝ่ามือโดยไม่จำเป็นจะต้องเอาท่อนเดิมออก ต่อจากนั้นยังควรติดตามการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรให้มันสำปะหลังเติบโตเร็วหรือช้าเกินไป เช่น เมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 2 เดือน จะมีความสูง 30-45 เซนติเมตร ซึ่งจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางหัวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร มีขนาดใบพอเหมาะ และมีสีใบไม่เขียวจัดหรือซีดเกินไป และเมื่อมีอายุได้ 4 เดือน จะมีความสูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวระหว่าง 2-4 เซนติเมตร ในช่วงฤดูฝนมันสำปะหลังจะมีความสูงค่อนข้างมากแต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวค่อนข้างน้อย แต่ในช่วงหลังฝนจะมีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และมีขนาดหัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากเข้าฤดูหนาวหรือช่วงแล้งฝนไม่ตก 2-3 เดือน มันสำปะหลังจะหยุดการเจริญเติบโต ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรตรวจสอบเป็นระยะๆ และขอคำแนะนำจากผู้รู้ในการปรับปรุงและแก้ไขก่อนที่จะถึงระยะเวลาครึ่งหนึ่งของฤดูปลูก (การปลูก)

การเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังจะให้ผลผลิตเปอร์เซ็นต์แป้ง และคุณภาพที่ดีเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป แต่การปลูกให้น้ำผ่านช่วงฤดูหนาวอาจทำให้ได้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งที่สูงในระยะเวลาที่สั้นกว่านี้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในด้านคุณภาพของแป้งเมื่อเก็บมันสำปะหลังอายุต่ำว่า 8 เดือน แต่มันสำปะหลังส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุระหว่าง 12 -18 เดือน จะมีการเจริญเติบโตของหัวและมีการสะสมแป้งในระดับสูงสุด และจะมีคุณภาพของเม็ดแป้งดีด้วย ซึ่งอยู่ระหว่าง 12 -18 เดือนนั้น ควรจะอยู่ในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสมไม่ผ่านช่วงแล้งมายาวนาน มันสำปะหลังที่เติบโตเข้าสู่ระยะฝนเริ่มตกจะมีการเจริญเติบโตในรอบใหม่ ซึ่งจะดึงแป้งจากหัวไปใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวต่ำลง และในบางครั้งอาจจะต่ำจากเดิมกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าผ่านช่วงแล้งมายาวนาน ผู้ปลูกมันสำปะหลังจึงควรประเมินผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งเป็นระยะๆ ก่อนทำการขุดและตัดสินใจ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยต้องไม่ลืมเก็บบางส่วนของพื้นที่ไว้เพื่อใช้ทำพันธุ์ให้มีการหมุนเวียนวงจรอย่างราบรื่น

หากผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง และประณีตพอสมควรแล้วย่อมสามารถเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังในไร่ของตนขึ้นได้หลายเท่าตัว ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับต้นทุน แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และเวลาที่มีอยู่ อย่างไรก็ดียังมีข้อจำกัดที่ผู้ปลูกอาจไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความแห้งแล้ง อุณหภูมิต่ำหรือสูงเกินไป การเข้าทำลายของโรคแมลง ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามความคาดหมายเสมอไป แต่ผู้ปลูกมันสำปะหลังก็ควรที่จะพัฒนาวิธีการต่างๆ ให้ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถนำรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัว อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยให้มีการสร้างงานใหม่ๆ และนำเข้าเงินตราจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานของบ้านเมืองอีกด้วย




http://web.sut.ac.th/cassava/index.php?name=10cas_technology&file=readknowledge&id=22


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/05/2013 3:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/05/2013 11:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,922. แร่ธาตุสังกะสีในปุ๋ยจำเป็นต่อพืช
(Zinc in fertilizers – essential for crops)


ปุ๋ย (Fertilizers)
ปุ๋ยถูกนำมาใช้ในการทำการเกษตร และการทำสวน เพื่อให้พืชและดินได้รับแร่ธาตุที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ในดินมักมีแร่ธาตุอยู่ตามธรรมชาติ แต่มักมีในปริมาณที่แตกต่างกัน และโดยส่วนมากมักจะน้อยกว่าปริมาณที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การขาดแร่ธาตุในดินเป็นผลมาจากการทำการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีการเติมแร่ธาตุเหล่านี้ให้แก่ดินอย่างเพียงพอ ปัญหานี้มักพบมากในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการใช้ปุ๋ยเพื่อให้เป็นแหล่งอาการสำหรับพืชยังน้อย ปุ๋ยสามารถเพิ่มแร่ธาตุให้กับดินและช่วยในการเจริญเติบโตของพืช มีการนำปุ๋ยมาใช้ในการทำไร่นามามากกว่าร้อยปี และพบว่ามันช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของพืชผลได้ นอกจากนี้ปุ๋ยยังถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการทำสวน ซึ่งทำให้ได้ปริมาณผลผลิตซึ่งเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์มากขึ้น และคุณภาพดีขึ้นด้วย


ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของพืช (Plant nutrients)
โดยทั่วไปพืชต้องการทั้งสารอาหารหลัก และสารอาหารรอง ซึ่งจำเป็นต่อความสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ สารอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม จะถูกใช้ในปริมาณมาก สารอาหารรองถึงแม้จะต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสมบูรณ์ และการเจริญเติบโตของพืช หนึ่งในสารอาหารรองที่จำเป็นก็คือ สังกะสี



ความสำคัญของสังกะสีต่อพืช (Importance of zinc for plants)
สังกะสีมีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งพืช สังกะสีเป็นสารที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ในการทำปฏิกิริยา สังกะสีมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ของพืช ได้แก่
• การสังเคราะห์ด้วยแสง และการสร้างน้ำตาล
• การสังเคราะห์โปรตีน
• การเจริญพันธุ์ และการเพาะด้วยเมล็ด
• การเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
• การต้านทานโรค



การขาดสังกะสี (Zinc deficiency)
เมื่อพืชได้รับสังกะสีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ การทำงานของระบบชีวเคมีจะถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลต่อความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของพืชในทางลบ มีผลให้ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่ำ (หรืออาจจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้) และคุณภาพไม่ดี ในกรณีที่มีการขาดสังกะสีอย่างรุนแรง จะสามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ เช่น ใบไม้มีสีเหลืองโดยที่เส้นของใบไม้ยังเขียวอยู่ (interveinal chlorosis) ใบไม้มีสีเหลืองแดง (bronzing of chlorotic leaves) ใบไม่มีขนาดเล็กและมีรูปร่างผิดปกติ แคระแกร็น (stunting) และใบงอกเป็นกระจุก (resetting) อาการแอบแฝง เช่น ผลผลิตลดลงอย่างมาก อาจไม่สามารถตรวจพบเป็นเวลาหลายปีจนกว่าจะมีการทดสอบดิน หรือวินิจฉัยโรคพืช


จากการศึกษาขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization / FAO) พบว่าสังกะสีเป็นธาตุที่ขาดมากที่สุดธาตุหนึ่งในบรรดาสารอาหารรอง ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อดินหลายชนิดในหลายพื้นที่การเพาะปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังรวมถึงเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย


พืชหลายชนิดได้รับผลกระทบจากการขาดสังกะสี รวมถึง พืชซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และอื่นๆ, ผลไม้ต่างๆ เช่น มะนาว มะกรูด แอปเปิล ฝรั่ง สับปะรด และอื่นๆ, ถั่ว กาแฟ ชา, ผักต่างๆ เช่น ผักกาดแดง มันฝรั่ง มะเขือเทศ และอื่นๆ, พืชที่รับประทานไม่ได้ เช่น ฝ้าย ต้นแฟลกซ์ที่นำมาทำผ้าลินิน และอื่นๆ


พืชไรเป็นแหล่งอาหารและมีผลต่อสุขภาพ (Crop nutrition and health)
พืชไร่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ ในประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยพืชชนิดเมล็ด เช่น ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพด โดยทั่วไปพืชไร่มักจะขาดสังกะสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำการเพาะปลูกในดินที่ขาดธาตุสังกะสี เกือบ 50% ของพืชชนิดเมล็ดในโลกที่ขาดสังกะสี และประมาณการว่าประมาณ 1 ใน 3 ของประชากาโลกมีความเสี่ยงต่อการขาดสังกะสี ซึ่งมีผลต่อปัญหาสุขภาพ รวมถึงภูมิต้านทานร่างกายต่ำ การเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า ในเรื่องนี้ การขาดสังกะสีถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของตัวแปรที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นสาเหตุของการเกิดโรค สำหรับทั่วโลก การขาดสังกะสีถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 11 จากทั้งหมด 20 ตัวแปร องค์การอนามัยโลก (The World Health Organization / WHO) เชื่อว่าประชากรทั่วโลกที่เสียชีวิต 800,000 คนต่อปี เป็นผลมาจากการขาดสังกะสี และชี้ให้เห็นว่าการขาดสังกะสีมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการได้รับหรือการดูดซึมสังกะสีที่ไม่เพียงพอจากการอดอาหาร การเพิ่มปริมาณธาตุสังกะสีในอาหารพวกพืชไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ดินขาดสังกะสีอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับต้นๆเพื่อที่จะต่อสู้กับการขาดอาหาร หรือความอดอยาก ในมนุษย์และสัตว์



การแก้ไขปัญหาการขาดสังกะสีในพืชไร่ (Correcting zinc deficiency in crops)
วิธีที่รวดเร็วและคุ้มค่าในการแก้ไขปัญหาการขาดสังกะสีในพืชไร่และดิน คือการใช้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีเป็นส่วนผสมอยู่ ธาตุสังกะสีที่ใส่ในปุ๋ยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
• สารประกอบอนินทรีย์
• สารประกอบอินทรีย์

ในบรรดาสารประกอบอนินทรีย์ สังกะสีซัลเฟตถูกนำมาใช้มากที่สุด สังกะสีซัลเฟตละลายน้ำได้ดีมากมีทั้งในรูปที่เป็นผลึกและเป็นเม็ด การละลายเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อประสิทธิภาพของปุ๋ย สารประกอบอนินทรีย์สังกะสีอื่นๆ ได้แก่ สังกะสีไนเตรท สังกะสีซัลฟอรัส สังกะสีซัลเฟตรูปแบบอื่น และสังกะสีออกไซด์

สารประกอบอินทรีย์สังกะสี โดยเฉพาะคีเลทสังเคราะห์ ได้แก่ Zn-EDTA, Zn-HEDTA, Zinc polyflavonoids และ Zinc lignosulfonates


สังกะสีอาจถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ย single-nutrient หรือธาตุอาหารเสริมในปุ๋ยซึ่งประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุใดธาตุหนึ่งหรือหลายธาตุก็ได้ สังกะสีเป็นธาตุหลักของปุ๋ยพิเศษ ซึ่งมันประกอบด้วยธาตุต่างๆ ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับพืชไร่แต่ละชนิด แต่ละพื้นที่ และแต่ละเวลา


วิธีการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสี (Application methods of zinc fertilizers)
มีหลายวิธีในการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีแก่พืชไร และดิน :
• สเปรย์ที่ใบ : เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางใบ
• ทางดิน : เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางราก
• การให้ปุ๋ยในระบบน้ำ : ให้แร่ธาตุโดยระบบกวน
• ทางเมล็ด

แต่ละวิธีมีข้อดีต่างกัน ขึ้นกับลักษณะของพืช ดิน ชนิดของปุ๋ยและส่วนประกอบ การใช้หลายวิธีประกอบกันก็สามารถทำได้ และอาจได้ผลดีกว่าในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ วิธีการให้ปุ๋ยสังกะสีอาจกระทบสมดุลของธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ดังนั้นการให้ปุ๋ยแบบสมดุลด้วยธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะกับดินทั่วไปหรือการทดลองปลูกพืช


การใช้ปุ๋ย (The use of fertilizer)
โดยทั่วไปมักใส่ปุ๋ยเพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารในพืชและดิน อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยจะได้ผลดีที่สุดกับดินที่มีความเป็นธรรมชาติสูง หรือดินที่มีการบำรุงโดยใช้ปุ๋ย ด้วยภาวะขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่อง, การขาดแคลนพืช และการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก เพราะฉะนั้นแหล่งอาหารของโลกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา จำเป็นต้องมีการเพิ่มการเพิ่มทั้งคุณภาพและปริมาณของพืชเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมีอยู่อย่างจำกัด แต่ต้องเพิ่มปริมาณผลผลิต โดยสารอาหารรองเป็นตัวแปรหนึ่งที่จำกัดว่าที่ดินเหมาะแก่การเพาะปลูกหรือไม่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยที่มีสารอาหารรองสามารถเพิ่มผลผลิต และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งคุณภาพผลผลิตได้



สรุป (Conclusion)
สังกะสีในปุ๋ยสามารถเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพได้เป็นอย่างมาก เมื่อเพิ่มปริมาณสังกะสีในพืช อีกทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ยังได้ประโยชน์จากปริมาณสังกะสีซึ่งเป็นธาตุที่ต้องการมากขึ้นด้วย



http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539192836&Ntype=13
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/05/2013 4:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,923. คลินิกปุ๋ยสั่งตัด

เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าว และข้าวโพดได้ด้วยตนเอง



ปุ๋ยสั่งตัด คือ อะไร?
การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” คือ การใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดิน และ ค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งพัฒนาโดยนำข้อมูลดิน พืช การจัดการดิน รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์มาคำนวณในคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมการปลูกพืชที่สลับซับซ้อน แต่ทำให้ง่ายสำหรับเกษตรกรนำไปใช้ คำแนะนำปุ๋ยแบบ “สั่งตัด” จะมีความแตกต่างกันในดินแต่ละชนิด เช่น คำแนะนำปุ๋ยข้าวในชุดดินอยุธยา และ ชุดดินมโนรมย์ไม่เท่ากันแม้ปริมาณ เอ็น พี เค ที่วิเคราะห์ได้ในดินเท่ากัน กรณีของข้าวโพด คำแนะนำปุ๋ย “สั่งตัด” ของชุดดินปากช่อง จ. นครราชสีมา แตกต่างจากคำแนะนำปุ๋ยของชุดดินปากช่อง จ. ลพบุรี เป็นต้น


การใช้ปุ๋ยสั่งตัด ช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าว และ ข้าวโพดได้อย่างไร และ เท่าใด?
จากผลการทดลองโครงการบูรณาการเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าวในเขตชลประทานภาคกลางที่ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงานอีกหลายแห่ง พบว่า ชาวนาใส่ปุ๋ย เอ็น และ พี ในปริมาณมากเกินกว่าความต้องการของต้นข้าว และ ละเลยการใส่ปุ๋ย เค เมื่อเกษตรกรทดลองใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ขณะที่ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลดลง 241 บาท (เมื่อคิดราคาปุ๋ยเดือนมกราคม 2550) ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดลง 178 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ลดลง 91 บาท รวมต้นทุนการปลูกข้าวลดลง 510 บาทต่อไร่ต่อฤดูปลูก ถ้าชาวนาภาคกลางในพื้นที่ 10 ล้านไร่ (ปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง) ได้ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” จะทำให้ต้นทุนการปลูกข้าวลดลงประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนชาวไร่ข้าวโพดจะได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 35 และ ผลตอบแทนสูงขึ้นอีกร้อยละ 41 เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”


เหตุใดเกษตรกรจึงทำปุ๋ยสั่งตัดได้ด้วยตนเอง?
เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถตรวจสอบเอ็น พี เค ในดินโดยใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายด้วยตัวเอง ซึ่งรู้ผลได้ภายใน 30 นาที และ เกษตรกรสามารถทราบชื่อชุดดินโดยตรวจสอบได้จากแผนที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน จากนั้นเกษตรกรสามารถหาคำแนะนำปุ๋ย “สั่งตัด” ได้โดยการใช้หนังสือหรือโปรแกรมคำแนะนำ


หลักการสำคัญของปุ๋ยสั่งตัด
เกษตรกรที่ต้องการใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” เพื่อช่วยให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ควรมีความรู้ความเข้าใจใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การตรวจสอบข้อมูลชุดดิน การเก็บตัวอย่างดินและการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน และ การใช้คำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดโดยใช้คู่มือหรือโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งทุกขั้นตอนเกษตรกรสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง


การตรวจสอบข้อมูลชุดดิน
เกษตรกรสามารถใช้คู่มือการตรวจสอบชุดดิน หรือ เปิดแผนที่ดินของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อหาชื่อชุดดินของตนเองได้


การเก็บตัวอย่างดินและการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน
เกษตรกรควรศึกษาวิธีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อให้ได้ตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของที่ดินของตนเอง และ ควรวิเคราะห์ดินโดยใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินได้ด้วยตนเอง


การใช้คำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดโดยใช้คู่มือหรือโปรแกรมสำเร็จรูป
เกษตรกรสามารถใช้คู่มือหรือโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาคำแนะนำปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ได้


การใช้ปุ๋ยสั่งตัดในไร่นาของเกษตรกร
ผู้ใช้ปุ๋ยสั่งตัดภาคประชาชน
ชาวนา เช่น คุณพิชิต เกียรติสมพร คุณสมศักดิ์ นุ่มน่วม คุณสมมาตร สิงห์ทอง คุณศรีนวล ศรีสวัสดิ์ คุณประทิน หมื่นจง คุณมาณพ ขันทอง คุณสมใจ ศรีชัยนาท คุณธัญพร ศรีประเสริฐ คุณประจวบ เพชรทับทิม คุณโสภณ ทองดอนพุ่ม คุณประสิทธิ์ วงษ์สนอง คุณสมปอง ฉ่ำเฉลียว คุณสำรวย วงษ์สนอง คุณสุนทร ชมแพ คุณบันเทิง อภัยสุข คุณสุรินทร์ โพโต คุณสนิท คำแหง คุณอำไพ น้ำจันทร์ คุณนิมนต์ เกิดบัณฑิต คุณเสวก ทับทิม คุณนิสา สังวาลย์เพชร คุณปลี รอดเรื่อง คุณสุภาพ โนรีวงศ์ เป็นต้น

ชาวไร่ข้าวโพด เช่น คุณสมบัติ นิรากรณ์ คุณสละ นิรากรณ์ คุณชำเลือง ลัดดาผล คุณสัมพันธ์ เย็นวารี คุณกฤชพัฒน์ ศรีทรงเมือง เป็นต้น


หน่วยงานที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม กรมส่งเสริมการเกษตร วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร


หลักสูตรอบรมการใช้ปุ๋ยสั่งตัด 1 วัน
เกษตรกรสามารถเรียนรู้วิธีการใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ได้หลังจากผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่มีการเรียนรู้ทั้งภาคบรรยาย และ ภาคปฏิบัติการตามหัวข้อดังต่อไปนี้


หลักคิดของเกษตรกรมืออาชีพ
เกษตรกรควรมีหลักคิดที่ถูกต้องเพื่อพัฒนาไปสู่การพึ่งพาตนเอง โดยเป็นผู้รอบรู้ในด้านการจัดการดิน ปุ๋ย โรค และ แมลงศัตรูพืช และ มีความสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ไร่นาของตนเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยสามารถเพิ่มผลผลิต และ ลดต้นทุนการผลิตได้


รู้จริงเรื่องดินและปุ๋ย
ปัจจุบันเกษตรกรส่วนมากพยายามลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทน แต่ถ้าเกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีน้อยเกินไป ผลผลิตที่ได้จะลดลงไปด้วย เกษตรกรจึงควรรู้จักทรัพยากรดินที่เป็นรากฐานของชีวิตตนเอง และ ควรมีความเข้าใจในการเลือกใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสมทั้งชนิด และ ปริมาณ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการผลิต และ ป้องกันปัญหาดินเสื่อมโทรม


ทำไมต้องใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”
ดินที่ใช้เพาะปลูกพืชมีมากมายหลายร้อยชุดดิน แต่ละชุดดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตพืชแตกต่างกัน การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” คือ การนำข้อมูลชุดดิน ซึ่งหมายถึง การนำสมบัติทางเคมี และ กายภาพอื่นๆ มาร่วมคำนวณคำแนะนำปุ๋ย และ นำข้อมูล เอ็น พี เค ในดินมาประกอบการตัดสินใจใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


การตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างรวดเร็ว
เกษตรกรสามารถเก็บตัวอย่างดินได้อย่างถูกต้อง และ สามารถใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรทราบปริมาณ เอ็น พี เค ในดินได้ภายเวลา 30 นาที


การอ่านคำแนะนำปุ๋ย
เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้เหมาะสมกับความต้องการของพืชโดยใช้ปุ๋ยตามตารางคำแนะนำการใส่ปุ๋ยตามระดับธาตุอาหารพืชในชุดดินต่างๆ ที่นักวิจัยได้ทำไว้ให้แล้วในรูปของหนังสือคู่มือ และ โปรแกรม SimRice และ Simcorn



ช่องทางเข้าถึงปุ๋ยสั่งตัด
หนังสือธรรมชาติของดินและปุ๋ย : คู่มือสำหรับเกษตรกรยุคใหม่
วิดีทัศน์ การบรรยายหลักคิด หลักวิชา และ หลักปฏิบัติเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”
ซีดีโปรแกรมคำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดสำหรับข้าว (SimRice) และ ข้าวโพด (Simcorn)
www.ssnm.agr.ku.ac.th
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-942-8104-5 โทรสาร 02-942-8106


หน่วยงานวิจัยปุ๋ยสั่งตัด หน่วยงานบริการ และ หน่วยงานสนับสนุน
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน
กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน
วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม




คณะผู้วิจัย : ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ รุ่งโรจน์ พิทักษ์ด่านธรรม
หน่วยงาน : ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 02-942-8104-5



http://rdi.ku.ac.th/kasetresearch52/10-clinic/tasnee_au/clinic_00.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/05/2013 11:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,924. “ขี้เล” ปุ๋ยอินทรีย์จากดินเลน ช่วยพืชผลโตไว ลดต้นทุน






“ขี้เล" ภาษาถิ่นในภาคใต้ที่ใช้เรียก “ดินเลน” ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนของอินทรีย์วัตถุ เช่นซากพืช ซากสัตว์ ซากต้นไม้ ใบไม้ ที่สะสมทับถมตามบริเวณชายฝั่งทะเลสาบน้ำจืดหรือน้ำกร่อยของทะเลสาบสงขลา

เมื่ออินทรีย์วัตถุเหล่านั้นย่อยสลายสมบูรณ์ และโดนแดดเผา บางส่วนลอยขึ้นมาบนผิวน้ำและถูกคลื่นซัดเข้าชายฝั่งกองทับถมรวมกันเป็นลูกระนาด ชาวบ้านพากันเรียกว่าขี้แดด เมื่อขุด “ขี้แดด” มาผสมกับปุ๋ยคอกและน้ำหมักจะได้เป็นปุ๋ยสูตรพิเศษที่มีธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อพืช คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ผสมอยู่



นี่ทำให้ชาวบ้านหมู่บ้านคลองกะอาน ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ได้นำ “ขี้เล" มาผลิตเป็นปุ๋ย “ขี้เล ตราชาวเล” ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของชุมชนมีการนำดินผสมกับปุ๋ยคอกและน้ำหมัก ทำการหมักทิ้งไว้ จากนั้นจึงนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและใช้เพาะปลูกพืชกันในครัวเรือน ให้ผลเจริญงอกงาม ด้วยฝีมือชาวบ้านในหมู่บ้านคลองกระอาน จำนวน 35 คน ภายใต้ “กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์คลองกระอาน” และสนับสนุนโดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อการพัฒนารูปแบบการผลิตให้เป็นสินค้าโอทอปต่อไป



นางเตือนใจ สิทธิบุรี ที่ปรึกษากลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คลองกระอานและผู้รับผิดชอบโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ ด้วยสายใยสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน ของแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บอกว่า การทำปุ๋ยอินทรีย์ขี้เล มีกระบวนการทำที่ไม่ยากเริ่มต้นจากนำขี้เลคลุกเคล้ากับปุ๋ยคอกและน้ำหมักในอัตราส่วน 3 : 1 : 1 กองหมักทิ้งไว้ 1 เดือน จากนั้นกลับกองปุ๋ยทุกๆ 7 วัน หมั่นรดน้ำเมื่อกองปุ๋ยหมักแห้ง(น้ำหมัก) และใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ยเพื่อรักษาความชื้น จนครบตามกำหนด 1 เดือน จึงนำปุ๋ยไปบรรจุลงในกระสอบและนำไปใช้งานได้



“ผลจากที่เกษตรกรในพื้นที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้เล เพื่อปรับปรุงดินก่อนเพาะปลูก หรือใช้เพาะปลูกพืชโดยตรง พบว่า พืชผักขึ้นไว งอกงามดี ปลอดภัยจากสารเคมี ต้นทุนการผลิตลดลง ในขณะที่ปุ๋ยเคมีมีราคาสูง ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงและยังเป็นอันตรายทั้งต่อตัวเกษตรกรเอง ตกค้างในพืชผักที่เพาะปลูก และยังส่งผลเสียต่อดินและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งนี่เป็นผลพลอยได้ที่ธรรมชาติให้กับชุมชน และตราบใดที่ยังมีทะเสสาบอยู่ขี้ดินที่จะมาทำขี้เลก็จะไม่มีวันหมดไปจากชุมชนแน่นอน” นางเตือนใจ สิทธิบุรี บอก





นางเตือนใจ สิทธิบุรี ยังบอกต่ออีกว่า สำหรับการบรรจุเป็นกระสอบปัจจุบันจะบรรจุ กระสอบละ 10 กิโลกรัม จำหน่ายในราคา 50 บาท และอีกไม่นานทางกลุ่มมีแนวโน้มที่จะลดขนาดผลิตภัณฑ์ลงมา ให้เป็นกระสอบละ 2 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ซื้อให้หิ้วกลับได้ง่าย สำหรับราคาจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนเมษายนนี้



เกษตรกรที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสั่งซื้อปุ๋ยอินทรีย์(ขี้เล) ตราชาวเล ได้ที่กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์คลองกระอาน หมู่ 14 ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยติดต่อผ่าน นายอะหมัด ตะเอ ประธานกลุ่มได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 086-2873234 หรือติดต่อที่เกษตรอำเภอบางแก้ว สำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เบอร์โทร. 081-9590478 ได้ทุกวัน



จากที่ได้นำส่งตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ขี้เลเพื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดิน ที่กลุ่มวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 กรมพัฒนาที่ดิน ผลการวิเคราะห์ พบว่า ปุ๋ยอินทรีย์ขี้เล ประกอบไปด้วยแร่ธาตุอาหารหลัก ตามที่พืชต้องการ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ทำให้ปุ๋ยอินทรีย์ขี้เลเป็นแหล่งของธาตุอาหารพืช มีคุณสมบัติช่วยให้จุลินทรีย์ในดินทำงานได้ดี ทั้งยังปรับปรุงโครงสร้างของดิน ช่วยปรับค่าความเป็นกรดของดิน ช่วยลดความเค็มของดินและความเป็นพิษของสารบางชนิด และยังช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน



สูตรในการใช้ปุ๋ยเพื่อเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวใช้ปุ๋ยในปริมาณ 2-4 ตัน/ไร่ โดยหว่านปุ๋ยให้ทั่วพื้นที่และไถกลบก่อนปลูกพืช พื้นที่ปลูกพืชไร่ใช้ปุ๋ยในปริมาณ 2-4 ตัน ต่อ/ไร่ โดยใส่ปุ๋ยเป็นแถวตามแนวปลูกพืชและคลุกเคล้ากับดิน สำหรับแปลงปลูกพืชผัก – แปลงเพราะกล้า ใช้ปุ๋ยในปริมาณ 2-4 กก. /ตรม. โดยใส่ปุ๋ยลงคลุกเคล้ากับดินในแปลงเพาะกล้า ขณะเตรียมดินปลูก หากเป็นแปลงปลูกพืชขนาดใหญ่ จะใช้ปุ๋ยในปริมาณ 2-6 ตัน/ไร่ ให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงไถกลบขณะเตรียมดิน



สำหรับการเพาะปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ใช้ปุ๋ยในปริมาณ 15-20 กก./หลุม ในขั้นตอนแรกของการเตรียมหลุมปลูกให้คลุกเคล้าปุ๋ยกับดินเข้าด้วยกัน จากนั้นใส่ลงด้านล่างหลุม หากเป็นช่วงที่พืชเจริญแล้วให้ทำการขุดรองรอบต้นตามแนวทรงพุ่ม จากนั้นใส่ปุ๋ยลงในร่องและใช้ดินกลบ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หากเป็นแปลงไม้ดอก ใช้ปุ๋ยในปริมาณ 1-3 ตัน/ไร่ โดยหว่านปุ๋ยให้ทั่วพื้นที่และใช้ดินกลบก่อนการปลูกพืช หากเป็นแปลงไม้ดอกยืนต้น ใช้ปุ๋ยในปริมาณ 5-10 กก./หลุม โดยคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้เข้ากัน จากนั้นใส่ลงในร่องก้นหลุมปลูก สำหรับการปลูกไม้ประดับ ใช้ปุ๋ยในปริมาณ 1-2 กก./ตัน ให้ใส่ปุ๋ยรอบต้นตามแนวทรงพุ่ม



อุปสรรคในการผลิตปุ๋ย หากเป็นฤดูฝนจะมีพายุ น้ำขึ้น จะผลิตปุ่ยไม่ได้ แต่หลังจากฤดูฝนขี้เลจะถูกพัดมากองทับถมกันอยู่ ชาวบ้านจะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อผลิตปุ๋ยไว้ใช้ในหน้าแล้งต่อไป



http://news.thaipbs.or.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:44 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/05/2013 11:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,925. การปลูกมันฝรั่ง

โดย นายไสว พงษ์เก่า และนายโสภณ สินธุประมา



ฤดูปลูก
มันฝรั่งสามารถปลูกได้ผลดีเมื่ออากาศเริ่มเย็นหรือเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ส่วนเวลาปลูกนั้นย่อมแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับท้องที่ โดยทั่วไปแล้วเริ่ม ต้นปลูกตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน









การเลือกและการเตรียมที่
มันฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการอากาศเย็น จะเจริญ เติบโตได้ดี ที่อุณหภูมิ ๒๑.๑ องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านี้เล็กน้อย ที่สถานีกสิกรรมแม้โจ้และฝางในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ปรากฏว่ามันฝรั่งเจริญเติบโตได้ดีให้ผลผลิตประมาณ ๔ ตันเศษต่อไร่ ในขณะทำการทดลองนั้นมีอุณหภูมิ ๒๑ องศาเซลเซียส ขณะเป็นต้นอ่อนเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีอุณหภูมิ ๒๓ องศาเซลเซียส หลังจากนั้นแล้วอุณหภูมิของดินควรมีประมาณ ๑๗.๘ องศาเซลเซียส มันฝรั่งจึงจะเจริญเติบโตได้ดี มันฝรั่งจะลงหัวได้ดีในดินที่มีอุณหภูมิประมาณ ๒๐-๒๘.๘ องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะลงหัวไม่ดี เพราะสารพวกคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลจะถูกใช้ไปในการหายใจหมด

ในประเทศที่มีอากาศร้อนอย่างประเทศไทยและอินโดนีเซีย ต้องปลูกในที่สูง เช่น ที่ชวาปลูกในระดับน้ำทะเลถึง ๑,๐๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แต่ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ดีพอใช้ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ชาวเขานิยมปลูกตามบริเวณเทือกเขาเชียงดาว ฝาง และตามชายแดนพม่า การปลูกในประเทศที่มีอากาศร้อนดังกล่าวมักจะมีโรคแมลงรบกวน ค่าใช้จ่ายในการผลิตจึงสูงผลผลิตต่อไร่ต่ำ เพราะอากาศร้อนอบอ้าวในเวลา กลางคืน การเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร

มันฝรั่งขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด เช่น ดินร่วนปนทราย ดินน้ำไหลทรายมูล และดินร่วนขุยไผ่ดินที่ใช้ปลูกต้องมีอาหารอุดมสมบูรณ์และระบายน้ำได้ดี ดินที่อุดมสมบูรณ์และการใช้ปุ๋ยจะช่วยเพิ่มผลผลิตมันฝรั่งให้สูงขึ้น pH ของดินควรจะอยู่ในระหว่าง ๔.๕-๖.๕ ดินที่มีแคลเซียม และเป็นด่างไม่ควรปลูกเพราะจะทำให้เป็นโรคสแคบ

ในจังหวัดเชียงใหม่ นิยมปลูกมันฝรั่งในสวนผักตามชายหาดริมแม่น้ำ และเกาะกลางน้ำ การปลูกจะต้องปลูกหลังจากน้ำลดแล้ว คือ ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนพฤศจิกายน และ ก็ยังมีบางแห่งที่ปลูกมันฝรั่งในนาข้าว หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว โดยเริ่มปลูกในเดือนธันวาคมที่นาที่ปลูกมันฝรั่งนั้นส่วนมากเป็นดินดี มีน้ำใช้ตลอดฤดู และมันฝรั่งที่ปลูกในรุ่นนี้จะเก็บหัวได้ในราวเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายน ดินในสวนผักส่วนมากได้รับการบำรุงอยู่เสมอ จึงเป็นดินดี ดินร่วน และมีอาหารพืชมาก สำหรับดินชายหาดหรือดินกลางเกาะน้ำนั้น ส่วนมากเป็นดินตะกอนหรือดินน้ำไหลทรายมูล ในปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคมจะมีน้ำท่วมทุกปี ธรรมชาติได้ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินอยู่เสมอ แต่ในสวนและดินชายหาดนั้นถึงแม้จะเป็นดินดี มีอาหารของพืชอยู่ก็ตาม แต่แร่ธาตุของมันฝรั่งยังไม่ครบผู้ปลูกจึงควรใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยให้มันฝรั่งเจริญงอกงามและให้ผลผลิตต่อไร่สูง ทำเลที่ปลูกต้องไม่เป็นที่ลุ่ม ระบายน้ำได้ดี ดินเหนียวไม่เหมาะสำหรับใช้ปลูกมันฝรั่ง แต่ถ้าได้รับการปรับปรุงโดยใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรืออินทรียวัตถุ จนทำให้ดินร่วนซุยแล้ว อาจใช้ปลูกมันฝรั่งได้ ปูนขาวจะต้องใส่ก่อนปลูกหลายๆ เดือน เช่น ใส่ในฤดูฝนเพื่อน้ำฝนจะช่วยให้ปูนขาวละลาย และไหลซึมลงไปในดิน และช่วยแก้การเป็นกรดในดินให้อ่อนลง และช่วยทำให้ดินร่วน นอกจากนั้นแล้วที่ซึ่งมีเสี้ยนดินไม่ควรใช้ปลูกมันฝรั่ง เพราะจะทำอันตรายหัวมันฝรั่งทำให้คุณภาพเลวลง

มันฝรั่งเป็นพืชหัว การเตรียมดินจึงมีความสำคัญมาก ถ้าเตรียมดินไม่ดีแล้วการลงหัวจะไม่ดีเท่าที่ควร และทำให้มีหัวขนาดเล็กและผลผลิตต่อไร่ต่ำ การเตรียมดินควรจะไถดินให้ลึกไม่น้อยกว่า ๘ นิ้ว และตากแดดไว้อย่างน้อยประมาณ ๑ อาทิตย์เพื่อกำจัดวัชพืช ทำลายเชื้อโรคบางชนิดในดินและทำให้ดินแห้ง การไถพลิกดินควรจะไถประมาณ ๒-๓ ครั้ง หลังจากนั้นเมื่อเห็นว่าดินแห้งดีแล้วจึงพรวนย่อยดินอีกครั้งหนึ่งในที่บางแห่ง ซึ่งมีการระบายน้ำได้ดี และหลังจากฝนตกแล้ว น้ำสามารถระบายไปได้อย่างรวดเร็วไม่ขังแฉะอยู่เป็นเวลานาน การยกร่องไม่จำเป็น เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าแรงงานและเวลาโดยใช่เหตุ แต่อาจจะทำเป็นร่องเล็กๆ เพื่อช่วยในการระบายน้ำมิให้เข้าไปในแปลงในบางคราวหากจำเป็น แต่ในที่ซึ่งมีการระบายน้ำไม่ดีแล้วควรจะยกร่องเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือร่องธรรมดาขนาดร่องกว้าง ๑ เมตร ส่วนความยาวแล้วแต่เนื้อที่และความสะดวกในการใช้เครื่องมือและการปฏิบัติรักษา








วิธีปลูก
การปลูกจะโดยใช้ทั้งหัว หรือผ่าหัวก็ตามใช้ระยะปลูกระหว่างแถว ๖๐ เซนติเมตร ระหว่างต้น ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ไร่หนึ่งถ้าปลูกทั้งหัวจะใช้พันธุ์ประมาณ ๒๐๐ กิโลกรัม โดยมากการปลูกมันฝรั่งในประเทศไทย นิยมใช้ปลูกทั้งหัวมากกว่าการใช้ตา จริงอยู่การใช้ตาปลูกจะได้จำนวนมากกว่าการปลูกทั้งหัวเมื่อใช้น้ำหนักพันธุ์เท่ากันก็ตาม แต่จากการทดลองที่สถานีกสิกรรมแม่โจ้ ปรากฏว่าการปลูกทั้งหัวดีกว่าการใช้ตาปลูก ทั้งนี้เพราะการปลูกทั้งหัวการเจริญเติบโตแข็งแรงดีกว่าการปลูกด้วยตาเนื่องจากหัวมีอาหารสะสมที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ดีกว่า การปลูกด้วยตา เมื่อตัดแบ่งปลูก ส่วนมากจะเน่า ถึงแม้ว่าจะใช้ยาป้องกันโรคแล้วก็ตามเพราะอากาศร้อนทำให้เชื้อโรคเจริญรวดเร็ว

การปลูกโดยวิธีผ่าหัวหรือใช้ตานั้นจะใช้พันธุ์ ปลูกประมาณ ๑๐๐ กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้นเครื่องมือที่ใช้ปลูกนั้น ใช้จอบแต่อย่างเดียวถ้าปลูกในเนื้อที่มากๆ ผู้ปลูกควรแบ่งหน้าที่กันจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น คนหนึ่งมีหน้าที่ใช้จอบขุดหลุมโพยลึกลงไปในดินประมาณ ๗-๑๒ เซนติเมตร ก่อนที่จะยกจอบขึ้นจากดินให้ดึงจอบเข้าหาตัว ด้านนอกของจอบจะเกิดช่องว่างประมาณ ๔-๖ เซนติเมตร ให้อีกคนหนึ่งโยนหัวมันลงไปในหลุมนั้น ดินในหลุมที่ถูกจอบกันนั้นพอยกจอบขึ้นก็จะกลบหัวมันในหลุมพอดี การกลบดินไม่ควรจะหนาเกินไป เพราะจะทำให้ต้นงอกออกมาช้า ฉะนั้นควรกลบให้หนาเพียง ๓-๔ เซนติเมตรก็เพียงพอ อนึ่งสำหรับหัวที่มีตางอกออกมายาวๆ นั้น อย่าใช้วิธีโยน เพราะจะทำให้ต้นอ่อนที่งอกออกมานั้นหักได้ แต่ถ้าไม่ปลูกตามวิธีดังกล่าวอาจจะเปลี่ยนวิธีปลูกใหม่ได้ คือ คนหนึ่งสะพายตะกร้าหรือกระบุงที่บรรจุหัวมัน ทำหน้าที่หยิบหัวมันวางลงบนหลังแปลง ส่วนอีก ๒ คนให้อยู่คนละข้างแปลงทำหน้าที่ปลูก ถ้าหากเป็นดินร่วนและก้อนดินมีขนาดเล็กการปลูกอาจจะใช้ช้อนปลูกแทนจอบได้และรวดเร็วดีกว่าด้วย

การปลูกโดยแบ่งหัวนั้น กระทำได้โดยใช้มีดคมๆ ผ่าแบ่งหัวออกเป็น ๒-๓ ซีก แต่ละซีกต้องให้มีตาติดอยู่ประมาณ ๒-๓ ตา การแบ่งหัวนี้อาจจะทำให้เชื้อโรค แบลคเลก (black leg) เข้าตามแผลสู่ลำต้นเป็นเหตุให้ต้นตายได้ แต่ถ้าจะนำหัวที่ผ่าไปแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น น้ำยาบอร์โดซ์ซึ่งมีส่วนประกอบของธาตุทองแดงแล้ว จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้บ้าง น้ำยาที่ใช้ควรให้เข้มข้นกว่าธรรมดาประมาณ (สูตร 151P) ๑/๒-๑ เท่า หัวบางหัวที่ตายังไม่งอกออกมานั้นอาจจะนำมาเรียงไว้ในร่มแล้วใช้ขี้เถ้าแกลบกลบางๆ รดน้ำให้พอชื้นทิ้งไว้ประมาณ ๑๐-๑๕ วัน ตาก็จะงอกออกมา แล้วจึงนำไปปลูกในแปลง หรือมิฉะนั้นก็ผ่าหัวออกเป็นซีกๆ ละ ๒-๓ ตา แล้วนำไปเก็บไว้ในเข่งหรือลังไม้ และใช้กระสอบคลุมปิดไว้ประมาณ ๑๐-๑๕ วัน ก็เป็น อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ตางอกเร็วขึ้น หัวที่ผ่านานแล้วไม่จำเป็นต้องชุบน้ำยาเหมือนหัวที่ผ่าสดๆ เพราะเมื่อเก็บไว้หลายๆ วัน แผลนั้นจะแห้งดี วิธีผ่าหัวออกเป็น ๒-๓ ซีกนี้จะใช้พันธุ์ปลูกประมาณ ๑๐๐ กิโลกรัมต่อเนื้อที่ปลูก ๑ ไร่หัวมันฝรั่งที่ขุดเก็บขึ้นมานั้นจะมีการหยุดพักตัว คือ ไม่งอกอยู่ระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงจำเป็น ต้องกำจัดการพักตัวเสียก่อน การพักตัวในมันฝรั่งนั้นขึ้นอยู่กับ

ปัจจัยใหญ่ๆ ๒ ประการ คือ พันธุกรรมและสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปมันฝรั่งจะหยุดพักตัวประมาณ ๘-๑๐ สัปดาห์หลังจากเก็บหัว การกำจัดการพักตัวหัวมันฝรั่งนั้น กระทำได้โดยนำหัวมันฝรั่งไปเก็บไว้ในที่ซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงประมาณ ๖๐-๗๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๓๐ วันจะช่วยการเร่งการงอกของตาให้เร็วขึ้น

การเก็บรักษาหัวมันฝรั่ง โดยเฉพาะพันธุ์ต่างประเทศนั้นเป็นปัญหาใหญ่อันหนึ่ง เพราะเมื่อพ้นระยะการพักตัวแล้วตาจะเริ่มงอก และจะต้องใช้หัวเหล่านั้นปลูกทำพันธุ์ต่อไป มิฉะนั้นหัวเหล่านั้นจะฝ่อและแห้งไปในที่สุด ถ้าหากการงอกของตาตรงกับฤดูก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้นการสนองความต้องการของกสิกรเพื่อให้มีวัสดุปลูกสม่ำเสมอจึงเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องกระทำ แต่เดิมนั้นได้ใช้วิธีสั่งหัวพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาทุกปี ซึ่งเป็นวิธีที่แพงและไม่เหมาะสมกับสภาพและเศรษฐกิจของกสิกร ดังนั้นสาขาพืชผัก กองพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จึงได้ทดลองปลูกรักษาพันธุ์ต่างประเทศเอง คือ ได้นำพันธุ์มันฝรั่งพันธ์ต่างประเทศที่มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง เมื่อปลูกในที่ราบในฤดูหนาว แล้วนำไปปลูกบนเขา คือ ดอยผาหลวงในฤดูฝน ผลปรากฏว่าหัวพันธุ์ที่ปลูกในฤดูฝนบนเขาสามารถจะนำมาใช้ทำพันธุ์ในฤดูหนาวได้ผลดีพอๆ กับพันธุ์ที่สั่งมาจากต่างประเทศโดยตรง แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เกิดกับมันฝรั่งที่ปลูกในฤดูฝนก็คือ โรคเออร์ลีไบลท์ (early blight) ซึ่งจะทำให้มันฝรั่งตายและเสียหายมาก



http://guru.sanook.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:45 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/05/2013 11:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,926. การปลูกแห้ว

โดย นายไสว พงษ์เก่า และนายโสภณ สินธุประมา


ฤดูปลูก
แห้วเป็นพืชที่ขึ้นในน้ำ ขึ้นได้ดีในแหล่งที่มีการให้น้ำได้ตลอดปี ชอบอากาศอบอุ่นเกือบตลอดปี ในการงอกต้องการอุณหภูมิในดินประมาณ ๑๔-๑๔.๕ องศาเซลเซียส ฤดูปลูกที่เหมาะสมจึงควรเป็นต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอ เริ่มเพาะเดือนมีนาคม-เมษายน ย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้ในราวเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม ฤดูเดียวกับการทำนา


การเลือกและการเตรียมที่
แห้วขึ้นได้ในดินเหนียวหรือดินร่วน pH๖.๙-๗.๓ ขึ้นได้ในที่ราบ จนถึงที่สูงถึง ๑,๒๐๐ เมตร เตรียมดินโดยทำการไถ พรวนให้ดินร่วนดี กำจัดวัชพืชให้หมด เหมือนการเตรียมดินปลูกข้าว


วิธีปลูก
แห้วปลูกโดยใช้หัวเล็กๆ สามารถปลูกได้ ๒ วิธี วิธีหนึ่งเพาะหัวแห้วในแปลงเพาะเสียก่อน คล้ายปลูกหอม แต่ละหัวห่างกัน ๓-๔ ซม. ทำร่มรดน้ำ จนกระทั่งต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. ในราว ๑๕-๒๐ วัน จึงย้ายลงปลูกในแปลงเพาะ ปลูกห่างกันราว ๙๐-๑๐๐ ซม. นานราว ๒ เดือน เมื่อแตกหน่อจึงใช้หน่อไปปลูกในแปลงใหญ่ โดยปักดำคล้ายดำนา วิธีนี้ปลูกในเนื้อที่ไม่มาก อีกวิธีหนึ่งปลูกหัวแห้วลงบนแปลงใหญ่เลย ไม่ต้องเพาะก่อน ถ้าเนื้อที่ไม่มากใช้มือปลูก ปลูกลงใน หลุมลึก ๑๐-๑๒ ซม. แต่ในเนื้อที่มากๆ เช่น ในต่างประเทศ ปลูกด้วยมือไม่ทันต้องใช้เครื่องปลูก โดยเปิดร่องเสียก่อนแล้วหยอดหัวแห้วลงในร่องให้ห่างกันตามที่ต้องการแล้วกลบ ระยะปลูกที่ใช้กันในสหรัฐอเมริกา ระยะระหว่างแถว ๗๕ ซม. ระหว่างหลุม ๗๕ ซม. ในประเทศจีนปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยม ระหว่างต้นห่างกัน ๔๕-๖๐ ซม. สำหรับกสิกรไทยใช้ระยะปลูกห่างกันประมาณ ๑๐๐ ซม.








การทะนุบำรุง
การให้น้ำ
หลังจากปลูกแห้วแล้วทดน้ำเข้าให้ท่วมแปลงเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง แล้วปล่อยให้ระบายออกเมื่อต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. ทดน้ำเข้าให้ระดับน้ำสูงประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. เมื่อต้นแห้วสูงขึ้นเพิ่มน้ำขึ้นเรื่อยๆ จนแห้วสูงประมาณ ๕๐-๖๐ ซม. ให้น้ำ ๒๕-๓๐ ซม. จนตลอดฤดูปลูก

การกำจัดวัชพืช
ถ้าได้เตรียมดินและกำจัดวัชพืชอย่างดีแล้วก่อนปลูกเกือบจะไม่ต้องกำจัดวัชพืช ในต่างประเทศใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช เช่น ๒, ๔-D กสิกรไทยยังไม่มีการใช้สารเคมีดังกล่าว จะกำจัดด้วยแรงงานหรือไม่กำจัดเลย

การใส่ปุ๋ย
การปลูกแห้วในต่างประเทศ ใส่ปุ๋ยผสมเกรดสูงๆ ในอัตรา ๔๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ครึ่งหนึ่งใส่ก่อนปลูก อีกครึ่งหนึ่งหลังปลูก ๘-๑๐ สัปดาห์วิธีใส่ปุ๋ยครั้งนี้ ใช้วิธีหว่านเหมือนใส่ปุ๋ยในนาข้าว ถ้าปล่อยน้ำให้แห้งก่อนได้ก็ดี หว่านปุ๋ยแล้วปล่อยน้ำเข้า



โรคและแมลง
โรคและแมลงที่ร้ายแรงไม่มี แมลงที่พบเสมอ ได้แก่ ตั๊กแตน เพลี้ยไฟ ถ้าปลูกในดินที่เป็นกรดคือ pH ๕.๕ มักเกิดโรคซึ่งเกิดจากเชื้อราศัตรูที่พบนอกจากโรคแมลงได้แก่ ปู และปลากัดกินต้นอ่อน


การเก็บหัวและรักษา
แห้วมีอายุประมาณ ๗-๘ เดือน เมื่อแห้วเริ่มแก่ คือ ใบเหี่ยวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาล ผิวนอกของหัวเป็นสีน้ำตาลไหม้ แสดงว่าเริ่มทำการเก็บได้ ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ระยะเดียวกันกับเก็บเกี่ยวข้าว เก็บแห้วโดยปล่อยน้ำออกก่อนถึงเวลาเก็บ ๓-๔ สัปดาห์เพื่อให้ดินแห้ง เก็บโดยขุดแล้วล้างหัว ผึ่งให้แห้ง ถ้าปลูกมากอาจเก็บโดยใช้ไถ ไถลึกประมาณ ๑๕ ซม. พลิกหัวขึ้นมาแล้วเลือกหัวแห้วล้างน้ำ สำหรับรายที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ซึ่งได้แก่ การปลูกในจังหวัดสุพรรณบุรี ต้องเก็บแห้วโดยการใช้มือลงไปงมขึ้นมาเรียกว่า "งมแห้ว" ในต่างประเทศผลผลิตหัวแห้วสดประมาณ ๓.๒-๖.๔ ตันต่อไร่ สำหรับประเทศไทยผลผลิตประมาณ ๓-๔ ตันต่อไร่ หรือประมาณ ๓๐๐ ถัง ขนาดของหัว ๓-๓.๕ ซม.

หัวแห้วสามารถเก็บรักษาไว้ได้ โดยตากให้แห้งบรรจุในภาชนะที่รักษาความชื้นได้ หรือเก็บในอุณหภูมิ ๑-๔ องศาเซลเซียสได้นานกว่า ๖ เดือนขึ้นไป กสิกรสามารถเก็บรักษาหัวแห้วไว้ได้เองโดยเก็บในภาชนะปิดสนิท เช่น ตุ่ม ลังไม้หรือทรายแห้งสนิท เก็บได้นานประมาร ๖ เดือน ถ้าอยู่ในอุหณภูมิ ๑๔ องศาเซลเซียส หัวแห้วจะงอก


การงมแห้วและปลิดหัวแห้วออกจากกอ
ประโยชน์
หัวแห้วประกอบด้วยส่วนที่กินได้ร้อยละ ๔๖ ส่วนที่เป็นของแข็งประมาณร้อยละ ๒๒ ในจำนวนนี้เป็นโปรตีนร้อยละ ๑.๔ คาร์โบไฮเดรตและเส้นใยต่ำกว่าร้อยละ ๑ จากการวิเคราะห์หัวแห้วสดประกอบด้วย : ความชื้นร้อยละ ๗๗.๙ โปรตีนร้อยละ ๑.๕๓ ไขมันร้อยละ ๐.๑๕ ไนโตรเจนร้อยละ ๑๘.๙ น้ำตาลร้อยละ ๑.๙๔ ซูโครสร้อยละ ๖.๓๕ แป้งร้อยละ ๗.๓๔ เส้นใยร้อยละ ๐.๙๔ เถ้าร้อยละ ๑.๑๙ แคลเซียม ๒-๑๐ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัม ของส่วนที่กินได้ ฟอสฟอรัส ๕๒.๒-๖๕ มิลลิกรัม เหล็ก ๐.๔๓-๐.๖ มิลลิกรัม ไทอามีน ๐.๒๔ มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๐๗ มิลลิกรัม ไนอาซิน มิลลิกรัม กรดแอสโคบิก (ascobic acid) ๙.๒ มิลลิกรัม

แป้งที่ได้จากหัวแห้วมีลักษณะคล้ายคลึงกับแป้งจากมันเทศหรือมันสำปะหลัง และมีขนาดใหญ่จนถึง ๒๗ ไมครอน น้ำที่สกัดจากหัวแห้วประกอบด้วยสารปฏิชีวนะ

หัวแห้วที่ซื้อขายได้ ต้องมีขนาดอย่างน้อยประมาณเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓ ซม. ขึ้นไป เนื้อแห้วสีขาวกรอบ รับประทานสด บรรจุกระป๋อง คั้นน้ำ หรือจะต้มทำขนม หรือใช้ประกอบอาหารก็ได้ มักเป็นอาหารจีน นอกจากนี้ยังใช้ทำแป้งได้ด้วย หัวเล็กๆ ใช้เลี้ยงเป็ดไก่ได้ดี หัวแห้วบางชนิดใช้ทำยาต้นแห้วใช้เลี้ยงปศุสัตว์ ใช้ในการบรรจุหีบห่อผลไม้ ใช้ทำตะกร้า ทอเสื่อ เป็นต้น






http://guru.sanook.com/encyclopedia/การปลูกแห้ว/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/05/2013 6:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,927. แปรรูป 'เปลือกมะพร้าว' แทนดิน รองรับตลาดพืชผักออร์แกนิก

โดย...สุวรรณี บัณฑิศักดิ์





กล่าวสำหรับ Coco substrates เป็นวัสดุปลูกพืชแทนดินที่นิยมใช้กันในต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งให้ความสำคัญกับการบริโภคพืชผักที่ปลอดสารเคมี พืชที่เป็นออร์แกนิก หรือการปลูกพืชกินเอง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นสิ่งของหาง่าย ราคาถูก หรือแถมไม่มีราคา แต่เมื่อนำมาแปรรูปกลับสามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี

รัตชา เดชานุภาพ กรรมการบริหาร บริษัท คานาพ (ประเทศไทย) จำกัด ยอมรับว่า วัสดุปลูกพืชแทนดิน ยังไม่เป็นที่รู้จักสำหรับในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมากและมีการใช้กันในท้องถิ่นอยู่แล้ว แต่เป็นการใช้ระดับครัวเรือน ในปริมาณที่ไม่มาก แต่ในต่างประเทศมีการผลิตวัสดุปลูกพืชแทนดินมานานกว่า 20 ปี

“วัสดุปลูกพืชแทนดินคุณภาพสูงที่เราผลิตเรียกว่า Coco substrates ผลิตมาจากเปลือกมะพร้าวและขุยมะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นของสุราษฎร์ธานี จึงเป็นเหตุผลหลักในการตั้งโรงงานที่จ.สุราษฎร์ธานี นอกจากเปลือกมะพร้าวแล้ว วัตถุดิบสำคัญอีกตัว คือ น้ำ โดยนำน้ำในบ่อธรรมชาติ ไปทดสอบในห้องปฏิบัติการของบริษัทแม่ที่เนเธอร์แลนด์ พบว่า เป็นน้ำที่ไม่มีการเจือปนของสารอันตราย ไม่มีของเสียสะสม เป็นน้ำที่มีแร่ธาตุ และสารอาหารสมบูรณ์อยู่แล้ว"

รัตชาเผยต่อว่า สำหรับกำลังการผลิตสูงสุดของโรงงานอยู่ที่ 5 หมื่นลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่ส่วนใหญ่จะทำการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า เนื่องจากเรามีผลิตภัณฑ์ 5 ชนิด ลูกค้าสั่งตัวไหนมาก็ผลิตให้ตามนั้น ส่วนของวัตถุดิบ เราซื้อเปลือกมะพร้าวจากชาวสวนมะพร้าว และซื้อขุยมะพร้าว ซึ่งเป็นของเหลือจากโรงงานทำที่นอนใยมะพร้าว และด้วยราคาพืชผลทางการเกษตรมีการขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ต้นทุนราคาวัตถุดิบของเราไม่นิ่ง ส่วนการซื้อขายเปลือกมะพร้าวทั่วไปจะซื้อเป็นคันรถ รถบรรทุก 6 ล้อ คันละ 400 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าการรับซื้อในท้องตลาด โดยราคาทั่วไปอยู่ที่ 250 บาท โดยโรงงานรับซื้อเปลือกมะพร้าววันละ 1 หมื่นลูก ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และเสริมรายได้ให้เกษตรกรได้

"ก่อนหน้านี้ เปลือกมะพร้าวจะถูกทิ้งอยู่ในธรรมชาติ บางครั้งมีการเผา จนกระทั่งมีโรงงานทำที่นอนใยมะพร้าวในพื้นที่ใกล้เคียง แต่ก็ยังมีเปลือกมะพร้าวเหลืออยู่จำนวนมาก เราไม่กังวลเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชที่คนไทยบริโภคมายาวนาน และเป็นวิถีชีวิต อาจจะมีปัญหาด้านราคาบ้างในบางช่วง"

เธอระบุอีกว่า สำหรับตลาด เป็นตลาดในต่างประเทศ 60 เปอร์เซ็นต์ เช่น กลุ่มประเทศยุโรป ฝรั่งเศส ส่วนตลาดในประเทศ 40 เปอร์เซ็นต์นั้น ลูกค้าส่วนหนึ่งก็เป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ จะเน้นการปลูกพืชปลอดสารเคมี หรือพืชออร์แกนิก ซึ่งเป็นที่นิยมในต่างประเทศ หรือกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ เชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกพืชน้อย แต่ต้องการปลูกพืชรับประทานเอง ก็จะใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

ส่วนลูกค้าคนไทยยังไม่นิยมสินค้าประเภทนี้ เนื่องจากคนไทยให้ความสำคัญด้านราคามากกว่าคุณภาพ ในท้องถิ่นจะมีการนำเปลือกมะพร้าวมาหั่นหรือสับให้เล็กๆ แล้วเอาไปปลูกต้นไม้ พวกดอกไม้ กล้วยไม้ ซึ่งต่างจากผลิตภัณฑ์ของคานาพ ที่เน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการปลูกพืชแบบออร์แกนิก ซึ่งตลาดออร์แกนิกในต่างประเทศเป็นตลาดที่ใหญ่

นับว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ทางภาคการเกษตรที่แปรสภาพของเหลือใช้จากภาคการเกษตรมาสร้างงาน สร้างมูลค่าได้เป็นอย่างดี



http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:48 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 21/05/2013 12:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1,928. ธาตุอาหารพืชกับเกษตรอินทรีย์


การผลิตอาหารพืชให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยการผลิตหลายประการ ธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง วัสดุที่ให้อาหารพืชได้มาจากหลาย ๆ ทาง เช่น จากวัสดุธรรมชาติ (หินฟอสเฟต ปูนโดโลไมท์ แร่ยิบซั่ม ฯลฯ) จากมูลสัตว์ต่าง ๆ ที่เรียกกันว่าปุ๋ยคอก จากการปลูกพืชต้นฤดูแล้วไถหรือสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่ว จากวัสดุที่เหลือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผงชูรส จากซากพืชต่างๆ เช่น การ ใช้ต้น/ใบมันสำปะหลังสับกลบลงดินหลังการเก็บเกี่ยว จากปุ๋ยชีวภาพหรือการใช้วัสดุที่มีจุลินทรีย์ ประสิทธิภาพสูง จากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ที่มีขายตามตลาดทั่วไป

การให้ธาตุอาหารพืชเพื่อยกระดับผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ ประการแรกต้องทราบว่าดินนั้นขาดธาตุอาหารพืช หรือมีธาตุอาหารไม่พอเพียงต่อการให้ผลผลิตสูง ดังนั้นการใช้ธาตุอาหารพืชในรูปปุ๋ยหรือวัสดุใด ๆ ที่คิดว่าพอเพียงและให้ประโยชน์สูงสุดต่อพืขตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ นั่นคือจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะหรือสภาวะของความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและความสะดวกในการใช้ตลอดจนผลตอบแทนที่ได้รับ

ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ แบ่งออกเป็นกลุ่มหรือประเภทตามความต้องการของธาตุอาหารพืช เช่น ปุ๋ยเชิงเดี่ยวที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจน เช่น ยูเรีย ปุ๋ยเชิงผสม ที่ให้ธาตุอาหารหลัก เช่น NPK เป็นต้น เกษตรกรบางแห่งยังไม่เข้าใจการใช้ปุ๋ยเคมีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรปฏิบัติส่วนหนึ่งมักจะเกิดจากผู้ขายปุ๋ยเคมีมากกว่าจากหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นปัญหาในการใช้ปุ๋ยเคมีให้เหมาะสมกับชนิดดิน ความต้องการของพืช ระยะเวลาและอัตราที่เหมาะสม

ปัจจุบันการใช้ปุ๋ยเคมี (NPK) กันมากและนับวันจะมีราคาแพงขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีการผลิตพืช ทั้งข้าว พืชไร่ พืชสวน ได้ในปริมาณมาก ในปี 2546 ได้ส่งเป็นสินค้าออกรวมกันประมาณ 26.6 ล้านตัน นำเงินตราเข้าประเทศมูลค่ารวมประมาณ 22.9 หมื่นล้านบาท ผลผลิตและผลิตภัณฑ์เหล่านี้ย่อมนำธาตุอาหารพืชออกไปนอกประเทศในปริมาณที่สูงมาก การชดเชยธาตุอาหารพืชที่ถูกนำออกไปโดยการใช้ปุ๋ยเคมี จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการคงระดับการผลิตให้ได้ตามปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ โดยเฉพาะปี 2546 มีการนำเช้าปุ๋ยเคมีสูงถึง 3.8 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 31.88 หมื่นล้านบาท

โดยคุณสมบัติของปุ๋ยเคมีนั้นละลายน้ำได้เร็ว ให้ธาตุอาหารพืชได้แน่นอนตามสูตรของปุ๋ย และตรงตามเวลาที่พืชต้องการ แต่มีข้อด้อยคือ ผู้ใช้ต้องมีความรู้ในการใช้และคิดกันว่ามีราคาแพงกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ความจริงเมื่อเปรียบเทียบเนื้อธาตุต่อราคาในปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตพืชได้มากกว่าและเร็วกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหลายเท่า ข้อด้อยบางประการของปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจน คือ หากใช้บ่อยครั้งหรืออัตราสูงทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นได้บ้าง โดยเฉพาะในสภาพดินไร่และดินที่มีลักษณะร่วนทราย แต่มีการแก้ไขได้โดยการใช้ปูนหรือปุ๋ยพืชสดเป็นบางครั้งก่อนการปลูกพืชหลัก

โดยทั่วไปเข้าใจว่า ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เป็นแหล่งของธาตุอาหารพืชในการเพิ่มผลผลิตพืชแต่ในความจริงแล้วปุ๋ยอินทรีย์มีหน้าที่หลักในการปรับปรุงโครงสร้างและสมบัติของดิน ทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ และจะมากกว่าการให้ประโยชน์ในเชิงปริมาณธาตุอาหารพืชโดยตรง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้เกิดอินทรียวัตถุในดิน ตลอดจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมี และชีวเคมีของดินอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มความเป็นประโยชน์ได้ของธาตุอาหารพืชในดิน ในขณะที่ปุ๋ยชีวภาพซึ่งได้จากการนำจุลินทรีย์ที่ทราบชนิดและมีชีวิตมากพอ มาปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพและทางชีวเคมี สร้างธาตุอาหารที่ทราบชนิดให้แก่พืช ปุ๋ยชีวภาพจึงแบ่งประเภทได้ตามชนิดของจุลินทรีย์หรือตามประเภทของอาหารที่สร้างให้แก่พืช เช่น จุลินทรีย์ ไรโซเบียม แฟรงเคีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบางชนิด เมื่อจุลินทรีย์หรือสาหร่ายเหล่านี้สลายตัวจะสร้างธาตุอาหารไนโตรเจนให้แก่พืช กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยสร้างธาตุอาหารฟอสฟอรัส เช่น ไมโครไรซ่า หรือกลุ่มที่ช่วยสลายหินฟอสเฟตเพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารฟอสฟอรัส เช่นBacillus,Thiobacillus, Aspergillus, Penicillum และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์หรือเซลลูโลส อีกหลายชนิดซึ่งอยู่ระหว่างการวิจัยพัฒนา

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีข้อจำกัดคือ มีธาตุอาหารพืชอยู่น้อย ไม่สามารถปรับแต่งปุ๋ยให้เหมาะสมกับดินและพืชได้ เนื่องจากแหล่งของปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากซากพืชหรือสัตว์ที่มีธาตุอาหารพืชแปรปรวน และสัดส่วนของธาตุอาหารไม่แน่นอน การควบคุมให้ปุ๋ยอินทรีย์ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชให้ตรงกับชนิดและเวลาที่พืชต้องการกระทำได้ยาก ต้องใช้เวลานาน และในปริมาณที่ค่อนข้างมาก

น้ำหมักชีวภาพ ในด้านธาตุอาหารพืชถือว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำชนิดหนึ่งที่เกิดจากการหมักของชิ้นส่วนของพืชและ/หรือของสัตว์ และมีส่วนดีอีกด้านคือ มักจะมีฮอร์โมนพืชหรือสารป้องกันหรือยับยั้งการเกิดโรคของพืชบางชนิด แต่การจะใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นแหล่งของธาตุอาหารพืชเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอเพียงต่อการผลิตพืชให้ได้ผลผลิตสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตพืชในระยะยาว เนื่องจากน้ำหมักชีวภาพมีธาตุอาหารพืชน้อยมาก

อาจมีข้อโต้แย้งว่าปัจจุบันการใช้น้ำหมักชีวภาพให้ได้ผลดีในการผลิตข้าว หรือพืชสวนบางชนิดในบางท้องที่ บางแห่งถึงกับประกาศว่าจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีอีกต่อไป โดยสรุปไว้ว่า การใช้ปุ๋ยจากน้ำหมักชีวภาพเพิ่มผลผลิต คุณภาพ และให้ผลตอบแทนมากกว่าการใช้ปุ๋ยแบบเดิม (ใช้ปุ๋ยเคมีทุกครั้งที่ปลูกพืช) บางแห่งไม่ได้ใช้ปุ๋ยมา 1 – 2 ฤดูปลูกแล้ว โดยใช้แต่น้ำหมักชีวภาพก็ยังได้ผลดี ประเด็นนี้มีความเป็นไปได้ในกรณีที่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราสูงหรือติดต่อกันมานาน ประกอบกับดินมีลักษณะเหนียวหรือร่วนเหนียวไม่ค่อยเป็นทราย ดินมีการสะสมธาตุอาหารหลัก (NPK) มานานจนอาจมากเกินพอ ใช้ปุ๋ยเคมีต่อไปก็ไม่เพิ่มผลผลิตตามอัตราปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น ดินเกิดการขาดความสมดุลย์ ความจริงเมื่อหยุดใช้ปุ๋ยเคมีผลผลิตก็คงไม่ลดลง กล่าวได้ว่าดินมีธาตุอาหารหลักเพียงพอแล้ว ประกอบกับการนำน้ำหมักชีวภาพเข้ามาใช้แทนทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น น่าจะเกิดจากการเพิ่มความสมดุลย์ของดินโดยการปรับเปลี่ยนปฏิกิริยาของดิน (pH) และพืชได้รับธาตุอาหารรองหรือธาตุอาหารเสริมบางส่วนจากน้ำหมักชีวภาพ ทำให้พืชได้ใช้ธาตุอาหารอย่างครบถ้วนมากขึ้น หรือทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคบางชนิดเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเลิกใช้ปุ๋ยเคมีไปเลย หรือไม่นำเข้ามาในระบบปลูกพืชอีก ดังนั้นการทราบสภาวะความสมดุลย์ของธาตุอาหารพืชในดิน การสูญเสียธาตุอาหารพืชโดยติดไปกับผลผลิตหรือการถูกชะล้าง และแนวทางแก้ไขซึ่งกระทำได้โดยการใช้ผลวิเคราะห์ดินเป็นระยะ ๆ เพื่อพิจารณาเลือกใช้ แหล่งธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยและอัตราในการใช้ จึงเป็นแนวทางการปรับปรุงดินเพื่อรักษาระดับหรือเพิ่มผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ

แนวทางที่ควรจะเป็นในการกำหนดนโยบายการผลิตพืชโดยเฉพาะด้านการใช้ปุ๋ยน่าจะยึดถือ การจัดการธาตุอาหารพืชอย่างบูรณาการ ทั้งนี้เพื่อการผลิตพืชอย่างยั่งยืน ตามที่สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทยได้สรุปผลการประชุมโต๊ะกลมในหัวข้อเรื่อง “ปุ๋ยกับการเกษตรของชาติ” เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 ซึ่งสรุปได้ว่า ไม่ควรกำหนดกรอบการใช้ปุ๋ยที่แคบเกินไป หรือให้ใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพ การกำหนดให้ทุกพื้นที่ลดการใช้ปุ๋ยเคมี มีความเป็นไปได้มาก แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะเลิกการใช้ปุ๋ยเคมี จะเป็นการเสี่ยงต่อการเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกของโลก เพียงแต่ต้องระบุแนวทาง เป้าหมาย และขั้นตอนการผลิตพืชโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ เป็นสัดส่วนอย่างไรกับการผลิตในเชิงเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ซึ่งอนุโลมให้มีการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีได้เท่าที่จำเป็น แต่มีความปลอดภัย จึงจำเป็นที่จะต้องค้นหาศักยภาพโดยเฉพาะด้านดินและแหล่งผลิตที่เหมาะสมต่อการผลิตพืชในแต่ละแบบ ตลอดจนการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง ทั้งนี้เพื่อการจัดสรรธาตุอาหารพืชให้เพียงพอ ต่อเนื่อง โดยไม่กระทบกระเทือนต่อการผลิตในอีกหลายพื้นที่ข้างเคียง

แนวทางหลักที่ควรกระทำอย่างเร่งด่วน คือ การณรงค์ให้ทุกพื้นที่เห็นความสำคัญและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ หรือสารปรับปรุงดิน ในทุกรูปแบบที่เป็นไปได้ก่อน หากพืชได้รับธาตุอาหารไม่พอเพียงในการเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ต้องการ จำเป็นต้องการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมอย่างชาญฉลาดแล้วแต่กรณี ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลจากการวิเคราะห์ดินเป็นระยะ ๆ และประสบการณ์หรือข้อมูลจากการวิจัยที่ผ่านมา ในการกำหนดชนิด ที่มา และอัตราที่ควรใช้ของธาตุอาหารพืช และผลตอบแทน ใช้แนวทางนี้ในการกำหนดเขตการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์หรือระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)

การผลิตพืชระบบเกษตรอินทรีย์เป็นการผลิตและใช้ปัจจัยการผลิตที่ปราศจากการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี (สารสังเคราะห์) โดยสิ้นเชิง เน้นการใช้สารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและปัจจัยการผลิตในท้องถิ่นเป็นหลัก มีโอกาสกระทำได้ดีเฉพาะเจาะจงกับบางพืช หรือบางแหล่งผลิต แต่ไม่น่าจะกระทำได้กับทุกพืช ทุกชนิดดิน หรือทุกพื้นที่ได้ จำเป็นต้องวิเคราะห์ศักยภาพของดิน เช่น ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างสูง แหล่งวัตถุดิบในการจัดสรรธาตุอาหารให้แก่พืช เช่น จากปุ๋ยคอก จากปุ๋ยพืชสด จากปุ๋ยชีวภาพ ว่ามีความเพียงพอและต่อเนื่องหรือไม่โดยผลผลิตไม่ลดลงหากไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย ตลอดจนปัจจัยหรือเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้สารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชว่ามีความเพียงพอและทันต่อเหตุการณ์หรือไม่ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการลงทุนที่สูง หรือใช้ระยะเวลาที่นานจะยอมรับได้หรือไม่ การกำหนดราคาผลิตผลที่ค่อนข้างแพงชดเชยกับผลผลิตบางครั้งที่ได้ค่อนข้างต่ำได้สัดส่วนหรือรับได้หรือไม่ ผลตอบแทนจากการผลิตพืชอินทรีย์ที่ได้ไม่ควรต่ำกว่าการผลิตพืชในระบบ GAP ตลอดจนการมีตลาดรองรับที่แน่นอน ในราคาที่ค่อนข้างแพงมีความต่อเนื่องหรือไม่ ด้วยข้อเท็จจริงหลายประการดังกล่าวมาแล้ว สำหรับในสภาวะปัจจุบันการทำการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์อาจเป็นไปได้ระหว่าง 10 – 20% ของพื้นที่การผลิตพืชทั่วประเทศ

กล่าวได้ว่า การรักษาเสถียรภาพในการเป็นผู้นำในการผลิตพืชโดยเฉพาะเพื่อการส่งออกของไทยจำเป็นต้องมีการจัดการธาตุอาหารพืชอย่างบูรณาการ ไม่ยึดติดกับการใช้ปุ๋ยชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ เพียงเพื่อให้ดินมีธาตุอาหารพืชอย่างสมดุลย์ และควรกำหนดเขตการผลิตพืชโดยวิธีเกษตรอินทรีย์และเกษตรดีที่เหมาะสม ตลอดจนการทำความเข้าใจวิธีการผลิตทั้งสองแบบนี้ให้ชัดเจนโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านดินเป็นหลักควบคู่กับชนิดของพืชที่เหมาะสม และการนำเข้ามาของธาตุอาหารพืชที่ใช้เป็นปุ๋ยไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม ควรจะให้ใกล้เคียงกับการที่ดินถูกพืชนำไปใช้ในรูปแบบของผลผลิตและจากการถูกชะล้าง และการกระทำดังกล่าวควรเป็นการอนุรักษ์หรือรักษาคุณภาพดิน ให้คงระดับผลผลิตโดยมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดีและยั่งยืนด้วย



http://kasetintree.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:49 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 21/05/2013 3:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,929. พืชผักมหัศจรรย์ "มานาจากดวงอาทิตย์" แพลงค์ตอน สไปรูลิน่า


50 ปีแห่งการวิจัยได้เผยให้เห็นถึงอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากที่สุดบนโลกใบนี้ นั่นคือ แพลงค์ตอนสไปรูลิน่า

สไปรูลิน่า คือสาหร่ายขนาดเล็กที่เจริญเติบโดในน้ำที่มีความเป็นด่าง มันเป็นโปรตีนจากพืชที่ครบถ้วน ซึ่งเลี้ยงในแท้งค์และบ่อที่มีการควบคุมสุขอนามัยภายใต้การจัดสภาพทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยที่สุด

ฟู้ด ฟรอม ซันไลต์ (อาหารจากแสงอาทิตย์) ได้ให้ข้อมูลล่าสุดทางชีววิทยาในการเลี้ยงสาหร่ายคลอเรลลา และสไปรูลิน่าว่าเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาด้านอาหารของโลก สไปรูลิน่ามีคุณค่าทางโภชนาการและย่อยง่ายกว่าคลอเรลลาเสียอีก และยังอุดมวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการที่สร้างขึ้นโดยธรรมชาติไว้ด้วย แพลงค์ตอนชนิดนี้เป็นอาหารอินทรีย์ในรูปที่เข้มข้นที่สุด ซึ่งบรรจุโปรตีนไว้ถึง 65-71% คาร์โบไฮเดรด 10% เส้นใยอาหาร 7% และเกลือแร่ 9% ทั้งยังมีไขมันน้อยกว่าในคลอเรลลาอีกด้วย (ดูตารางถัดไป)

สาหร่ายสไปรูลิน่าเป็นที่รู้จักของมนุษย์มานับศตวรรษ และในหลายอารยธรรมพบว่าสารอาหารทั้งหมดในสไปรูลิน่าได้ถูกสงเคราะห์ด้วยแสงไว้อย่างอุดม โดยผ่านปฎิกิริยาที่น่าทึ่งเหลือเชื่อในการใช้แสงอาทิตย์ของเจ้าพืชขนาดจิ๋วชนิดนี้ ขณะที่ทางวิทยาศาสตร์ใช้เงินหลายล้านดอลลาร์ไปกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในห้องทดลอง เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากคลอเรลลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปใช้ในโปรแกรมอาหารในอวกาศและเป็นอาหารของโลก ชาวอียิปต์โบราณ ชาวนูเบียน และประชาชนในประเทศชาติได้รับประทานสไปรูลิน่าอย่างปลอดภัยมาเป็นศตวรรษแล้ว เพราะหาง่าย ในปี 1963 ผมพบว่ามันคือสาหร่ายแห้งที่โมเสสพบในบ่อน้ำที่เหือดแห้งไปท่ามกลางทะเลทรายอียิปต์ ผมเรียกคลอเรลลา "มานาใหม่จากสวรรค์" แต่เมื่อสไปรูลิน่าถูกค้นพบผมจึงเปลี่ยนมาเรียกสไปรูลิน่าว่า "มานา" เพราะในทะเลทรายนั้นร้อนและมีความเป็นด่าง สไปรูลิน่าเติบโดในอุณหภูมิสูงคือ ระหว่าง 30-35 องศาเซลเซียส (86-95 องศาฟาเรนไฮต์) และเพราะมันลอยเป็นชั้นบางๆ อยู่บนผิวน้ำและสามารถแยกออกจากกันได้ง่าย จึงเป็นได้มากกว่าที่สไปรูลิน่าคือ "มานา" ที่ทำให้ชนชาติอิสราเอลมีสุขภาพที่ดีเช่นกัน

ดร.นากามูระ ผู้ร่วมงานของผมได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลไมโครแอลจี อินสติติว (สถาบันวิจัยสาหร่ายจุลชีพ) จากองค์จักรพรรคดิ์ญี่ปุ่นรับประทานสาหร่ายและแพลงค์ตอนเป็นล้านปอนด์ เพราะนั่นคือแหล่งรวมอาหารทั้งหมด สไปรูลิน่าเป็นสารอาหารเข้มข้นที่มีน้ำหนักเบาที่สุด จึงต้องการในปริมาณที่น้อยนิด ในการทดลองกับสัตว์พบว่า สไปรูลิน่า 1 ปอนด์ สามารถเลี้ยงแม่วัว 1 ตัวได้ 1 วันเมื่อผสมกับเส้นใยอาหาร การเสริมอาหารด้วยสไปรูลิน่าเพียงเล็กน้อยสามารถเทียบเท่ากับอาหารปกติ ดังเช่นที่แสดงไว้ในตารางเปรียบเทียบของผงสไปรูลิน่าแห้ง



http://www.triobiz.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334057&Ntype=5
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/05/2013 7:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,930. มหัศจรรย์น้ำผึ้ง

สุทธิพงษ์ พงษ์วร



กว่า 8,000 ปีมาแล้วที่มนุษย์รู้จักและนำน้ำผึ้งมาใช้เป็นสารให้ความหวาน น้ำผึ้งมีสรรพคุณทางยา และมีประโยชน์ต่อสุขภาพจึงทำให้มีการนำน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่หลากหลาย บางคนนิยมรับประทานน้ำผึ้งเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะนำน้ำผึ้งมาผสมกับน้ำนมหรือผลไม้ นอกจากนี้น้ำผึ้งมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ จึงมักนำมาให้เด็กที่มีอาการท้องผูกรับประทาน รวมทั้งยังมีสรรพคุณในการป้องกันหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ด้วย


น้ำผึ้งเกิดขึ้นได้อย่างไร…. น้ำผึ้งเป็นน้ำหวานที่ได้จากดอกไม้ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส กลูโคส และฟรักโทสเป็นส่วนประกอบหลัก โดยผึ้งงานจะเก็บสะสมน้ำหวานจากดอกไม้ไว้ในรังผึ้ง และผึ้งจะสร้างและปล่อยเอนไซม์ที่ชื่อว่า “invertase” ลงไปในน้ำหวานที่เก็บมาจากดอกไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนโครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างทางเคมีของน้ำหวานจากดอกไม้


เอนไซม์ invertase จะเปลี่ยนน้ำตาลซูโครสซึ่งเป็นไดแซ็กคาไรด์ ให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟรักโทสซึ่งเป็นมอนอแซ็กคาไรด์ และส่วนหนึ่งของกลูโคสที่มีอยู่ในน้ำหวานจากดอกไม้ก็จะเกิดปฏิกิริยาเคมีกับเอนไซม์ glucose oxidase ที่สร้างจากผึ้ง โดย glucose oxidase จะเปลี่ยนกลูโคสไปเป็นกรดกลูโคนิค (gluconic acid) และ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide)

กรดกลูโคนิคจะทำให้น้ำผึ้งมีความเป็นกรดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด ในขณะเดียวกันไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ก็มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้เช่นกัน ส่วนความหนืดของน้ำผึ้งนั้นเกิดจากการที่น้ำที่อยู่ในน้ำหวานจากดอกไม้ระเหยออกจากช่องเก็บน้ำผึ้งในรังผึ้ง ด้วยการกระพือปีกของผึ้งภายในรังซึ่งช่วยทำให้น้ำระเหยออกจากน้ำหวานได้เร็วขึ้น จึงทำให้น้ำผึ้งมีความเข้มข้นมาก ซึ่งสภาวะดังกล่าวจะไม่เหมาะกับการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ จะเห็นได้ว่าผึ้งมีวิธีการที่ทำให้น้ำหวานที่เก็บจากดอกไม้เปลี่ยนสภาพทั้งโครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างทางเคมีได้อย่างน่ามหัศจรรย์

การที่น้ำผึ้งเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงานสูง เพราะในน้ำผึ้งประกอบด้วยน้ำตาลมอนอแซ็กคาไรด์ ที่ร่างกายของเราสามารถดูดซึมน้ำตาลมอนอแซ็กคาไรด์ไปใช้ได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยอาหาร ทำให้เวลาที่เรารับประทานน้ำผึ้งจะรู้สึกสดชื่นและกระปรี้กระเปร่าอย่างรวดเร็ว แต่ในเด็กการดูดซึมน้ำตาลฟรักโทสในน้ำผึ้งไปใช้จะทำได้ไม่ดีเหมือนในผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าเด็กดื่มน้ำผึ้งมากเกินกว่าที่ร่างกายเด็กจะสามารถดูดซึมได้ น้ำตาลฟรักโทสในน้ำผึ้งที่เหลือค้างในลำไส้จะทำให้เกิดการสะสมของน้ำในลำไส้ และถูกขับออกจากร่างกายในที่สุด นี่คือเหตุผลที่ทำไมจึงกล่าวว่า น้ำผึ้งมีการออกฤทธิ์คล้ายยาระบายอ่อนๆ
นอกจากนี้ในน้ำผึ้งยังประกอบไปด้วยวิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม และแร่ธาตุต่างๆ ที่ช่วยบำรุงสุขภาพและมีสารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ในร่างกายอีกด้วย

สารต่อต้านอนุมูลอิสระคืออะไร สารต่อต้านอนุมูลอิสระคือสารที่ช่วยยับยั้งและป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ภายในเซลล์ของร่างกาย ซึ่งปฏิริยาเคมีเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากการกระตุ้นของออกซิเจนหรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และทำให้เกิดไอออนหรืออนุมูลอิสระซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่างๆ ภายในเซลล์ของร่างกาย เช่น ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพ หรือแก่ชราลง ตัวอย่างสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่คุ้นเคยและใกล้ตัว คือสารในกลุ่มวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินซี และวิตามินอี เป็นต้น

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและค้นพบกลุ่มสารเคมีที่พบในพืชหลายชนิดปรากฏอยู่ในน้ำผึ้ง เรียกสารกลุ่มนี้ว่า phytochemicals ซึ่งมีความหมายรวมถึงสารต่อต้านอนุมูลอิสระอีกหลายชนิดที่พบในน้ำผึ้งด้วย และน้ำผึ้งแต่ละชนิดก็จะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าน้ำผึ้งชนิดนั้นได้มาจากดอกไม้ชนิดใด ซึ่งสาร phytochemicals จะส่งผลในเชิงบวกต่อระบบย่อยอาหารและการเผาผลาญอาหารในร่างกายของมนุษย์

นอกจากนี้ในไขผึ้งและน้ำผึ้งยังพบสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งและป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่และการเกิดเนื้องอก รวมทั้งสรรพคุณของน้ำผึ้งที่มีสารเคมีที่ช่วยในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และราบางชนิด โดยสารเคมีเหล่านี้จะเป็นสารผสมของเรซินและสารอื่นๆ อีกหลายชนิดที่ประกอบอยู่ในไขผึ้งและน้ำผึ้ง ทั้งหมดที่กล่าวมาถือว่าเป็นสรรพคุณที่ดีของน้ำผึ้ง

สำหรับน้ำผึ้งที่ผ่านกระบวนการแปรรูปจะพบสารกลุ่ม phytochemicals น้อยกว่าในน้ำผึ้งที่ได้มาจากธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูปใดๆ แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานการปนเปื้อนของน้ำผึ้งจากสารพิษที่แบคทีเรียสร้างขึ้น เช่น สารพิษโบทูลินั่ม จากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช โดยมีการปนเปื้อนในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การเลือกน้ำผึ้งจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน


เอกสารอ้างอิง

Warangal, A.P. (2008) How do bees convert nectar from flowers into honey? The Hindu Sci Tech. (online) Available: http://www.hindu.com/seta/2008/10/23/stories/2008102350131600.htm (Retrieved 2/04/2009)



How Stuff Works (2008) How do honeybees make honey? (online) Available: http://animals.howstuffworks.com/insects/question300.htm (Retrieved 2/04/2009)

Luliana, B. and Celilia, G. (2005) Chemical contamination of bee honey – identifying sensor of the environment pollution. Journal of Central European of Agriculture. 6(1) p467-470.
Kaufmann, A. and Kaenzig, A. (2004) Contamination of honey by the herbicide asulum and its antibacterial active metabolite sulfanilamide. Food Additives & Contaminants: Part A 21(6) p564-571.



http://www.i-creativeweb.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:49 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/05/2013 7:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,931. ใบไม้เปลี่ยนสี

โดย.. นางสาวสาวินีย์ หมู่โสภณ


เมื่อลมหนาวมาเยือน หลายๆ คน คงสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบๆ ตัว โดยเฉพาะ ต้นไม้ที่เจริญในเขตอบอุ่น ส่วนที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนคือ ส่วนของใบ โดยใบไม้ที่มี สีเขียว จะมีการเปลี่ยนสีที่แตกต่างกันไป บ้างก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน สีส้ม สีแดง และสีน้ำตาล เมื่อเวลา ผ่านไปสักระยะหนึ่งใบไม้ที่มีการเปลี่ยนสีต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะกลายเป็นเป็นใบไม้แห้งร่วงหล่นจากต้นลงสู่พื้นดิน กลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศต่อไป







สีเขียวของใบไม้เกิดขึ้นเนื่องมาจากสารสีคลอโรฟิลล์ พบอยู่ในคลอโรพลาสต์ (chloroplast) ซึ่งมี โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงแบนๆ มีเยื่อหุ้ม เรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylacoid) และบนไทลาคอยด์นี้เองที่มี คลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ในการรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานในกระบวนการสร้างอาหาร ของ พืชด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ซึ่งกระบวนการสร้างอาหารของพืชจะเกิดขึ้น บริเวณส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช เช่น ใบ



ทำไมใบไม้เปลี่ยนสี ????
ในเซลล์พืชนอกจากสารสีคลอโรฟิลล์ที่ทำให้พืชมีสีเขียวแล้ว ยังมีสารสีแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็น สารประกอบประเภทไขมัน มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ในพืชชั้นสูงสารสีแคโรทีนอยด์ อยู่ในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วย สารสี 2 ชนิด แคโรทีน (carotene) เป็นสารสีแดงหรือสีส้ม หากมีสารสีคลอโรฟิลล์และสารสี แคโรทีน อยู่ในใบเดียวกัน จะสะท้อนแสงสีแดง เขียวแกมน้ำเงินและแสงสีน้ำเงิน ทำให้ใบมีสีเขียว แซนโทฟิลล์ (xantrophyll) เป็นสารสีเหลืองหรือสีน้ำตาล


ในเซลล์พืชโดยปกติมีสารสีทั้ง 3 ชนิด แต่ถ้ามีสารสีชนิดใดมากกว่า พืชชนิดนั้นก็จะปรากฏให้เห็นสี ของสารสีชนิดนั้น ๆ เช่น ใบของต้นมะม่วงสีเขียว เนื่องจากมีคลอโรฟิลล์อยู่มาก


พืชต้องการแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตคลอโรฟิลล์ เพื่อใช้ในการสร้างอาหารโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งปกติพืชจะมีการสร้างคลอโรฟิลล์อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ใบไม้มีสีเขียว แต่ใบไม้เหล่านี้ ก็จะมีการเปลี่ยนสีได้ เมื่อมีการเปลี่ยนสีได้ เมือมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เพราะการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของช่วงความยาว ของวัน กล่าวคือ ในช่วงฤดูหนาวจะมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่าในช่วงฤดูร้อน และมีช่วงเวลากลางคืนที่นานกว่า ฤดูร้อน การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อปริมาณแสงที่พืชได้รับ คือ ในช่วง ฤดูหนาวพืชได้รับแสงในปริมารน้อยลง และอุณหภูมิก็มีค่าต่ำลง พืชจึงมีการตอบสนอง โดยการสร้างคลอโรฟิลล์ ในปริมาณที่น้อยลง และในขณะเดียวกันคลอโรฟิลล์ที่มีอยู่เดิมก็จะสลายตัวอยู่ตัวตลอดเวลา ใบไม้ที่มีสีเขียว จึง เริ่มมีการเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองหรือส้ม แดง จนในที่สุดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและร่วงลงสู้พื้นดิน (เข้าสู่กระบวนการร่วงของใบ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ ปี 2545 เรื่อง ต้นไม้สลัดใบ)


ถ้าพืชไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียว สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้หรือไม่ ?
คลอโรฟิลล์ไม่เพียงทำให้พืชมีสีเขียวเท่านั้น โดยคลอโรฟิลล์ เอ ให้สีเขียวเข้ม คลอโรฟิลล์ บี ให้สี เขียวอ่อน คลอโรฟิลล์ ซี ให้สีส้ม คลอโรฟิลล์ ดี ให้สีน้ำตาล ดังนั้นพืชที่ไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียวก็ไม่ได้หมายถึง ไม่มีคลอโรฟิลล์ แต่อย่างไรก็ตามพืชที่จะสามารถสังเคราะหืด้วยแสงได้จะต้องมีสารสีคลอโรฟิลล์เอ ที่เป็น สารสีหลักที่จะถ่ายทอดอิเล็กตรอนในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ... ดังนั้นแม้พืชทีไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียว จึงมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นได้



http://www.i-creativeweb.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:50 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/05/2013 7:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,932. อะมิโน โปรตีน คือ อะไร ?


อะมิโน คือ นวัตกรรมจากเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ผลิตแหล่งโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเช่น ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง มาผ่านกระบวนการทางชีวภาพ ทำให้ได้อะมิโน และสารที่จำเป็นต่อพืชที่มีโมเลกุลขนาดเล็กมากถึง 20 ชนิด ซึ่งล้วนแต่ช่วยในการเจริญเติบโตของพืชที่เป็นธรรมชาติ 100% ปราศจากองค์ประกอบที่เป็นเคมีสังเคราะห์ใดๆทั้งสิ้น

จากการทดลองกรรมวิธีในการผลิตมากถึง 8,000 สูตร จนได้ อะมิโน ที่เหมาะกับการสร้างเซลล์ของสิ่งมีชีวิตให้เริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง ทำให้พืชซ่อมแซมตัวเองได้ ตลอดจนจุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์ต่อพืช เช่น ข้าว ยางพารา พืชหัว ผัก ผลไม้ และ พืชอื่นๆ ซึ่งจะทำให้พืชได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอในการนำไปสร้างเซลล์ใหม่ และ ยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของจุลินทรีย์ในดินแบบทวีคูณ จึงมีพลังช่วยย่อยอินทรียวัตถุให้เป็นอาหารของพืช รวมถึงปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ส่งผลเสียต่อการเพาะปลูกให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะทำการเพาะปลูกพืชทุกชนิด โดยที่เกษตรกรไม่ต้องกังวลกับสารเคมีตกค้างที่อันตราย


สารประกอบของผลิตภัณฑ์จากผึ้ง
สารประกอบของผลิตภัณฑ์จากผึ้งประกอบด้วยไขมัน คาร์โบไฮเดรท เอ็นไซม์ แร่ธาตุต่าง ๆ และวิตามิน สารฆ่าเชื้อโรค (antiseptic) โปรตีนมากกว่าร้อยละ ๒๐ ไขมัน ร้อยละ ๕.๔๖ แร่ธาตุร้อยละ ๐.๘๒ โดยน้ำหนัก นอกจากนั้นพบ ฟอสโฟลิปิค, อเซทิลโคลีน, ฮอร์โมน และเอนไซม์บางชนิด รวมทั้งวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินบีค่อนข้างสูง วิตามินซี และวิตามินดี แต่ขาดวิตามีนอี


กระบวนการทำงานของ อะมิโน
จากการสังเกตุตารางความต้องการธาตุอาหาร จะเห็นได้ว่าออกซิเจน คาร์บอน เป็นธาตุที่สำคัญที่สุด ธาตุทั้งสองนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันความเจริญทางเทคโนโลยีทำให้ภาคการเกษตรมีความก้าวหน้าตามไปด้วย โดยแนวทางของเกษตรกรรมปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะมุ่งให้ผลผลิตมีจำนวนมากเพียงอย่างเดียวแต่มิได้คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จึงทำให้สารพิษเกิดการตกค้างซึ่งเป็นเหตุให้ออกซิเจนและคาร์บอนลดลง ส่งผลให้พืชขาดธาตุอาหารที่สำคัญ ผลผลิตจึงตกต่ำและด้อยคุณภาพ



อะมิโน เมื่ออยู่ในขวดบรรจุจะอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง ไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ แต่เมื่อได้รับการผสมกับน้ำหรือสัมผัสโดนดินที่มีความเปียกชื้น แล้วจะเกิดปฏิกิริยารวมตัวของโมเลกุล และ ให้พลังงานออกมา ซึ่งพลังงานที่ได้จะเป็นตัวนำพา เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ช่วยย่อยธาตุอาหารให้กับจุลินทรีย์ ให้แพร่กระจายไปพร้อมกัน

เมื่อธาตุอาหารถูกย่อยโดยเอนไซม์ จุลินทรีย์ จึงสามารถเจริญเติบโตและทวีจำนวนมากขึ้น และจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ ในขณะเดียวกัน พืชจะดักจับไนโตรเจนแล้วนำไปใช้งาน พืชจึงเจริญเติบโตได้ดี กระบวนการข้างต้นคล้ายคลึงกับ กระบวนการกำเนิดสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มของโลก ด้วยเหตุนี้ อย่างแท้จริง



อะมิโน แตกต่างจากสารเสริมอื่นๆในท้องตลาดอย่างไร
อะมิโน ไม่ใช่ปุ๋ย ฮอร์โมน หรือ สารประเภท น้ำหมัก หรือ อีเอ็ม ที่พบเห็นมากมายในตลาดสินค้าเกษตร ที่มีประสิทธิภาพจำกัดหรือให้ผลแค่ระยะสั้นๆ ในขณะที่ เอทีดี อะมิโน เป็นผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบธรรมชาติที่ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ของดินและพืช

สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนคือ สารอะมิโนสำหรับพืชอื่นๆ ที่วางขายมักจะสกัดจากเศษเปลือกกุ้ง ปู หรือสารสกัดจากเศษอาหาร กากถั่วเหลือง และของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม ซึ่งมีคุณค่าน้อย ทำให้ได้สารอะมิโนที่มีคุณภาพไม่มากนัก รวมถึงอาจจะเหลือสารที่เป็นโลหะหนักซึ่งมีผลเสียต่อดิน และพืชที่ปลูกบนดินนั้นในระยะยาว

ในทางกลับกัน อะมิโน เลือกสกัดสารอะมิโนจากวัตถุดิบที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหาร เช่น น้ำผึ้ง นมผึ้ง และ เกสรผึ้ง ทำให้อะมิโนที่ได้เป็นอะมิโนที่มีคุณภาพสูง และไม่มีสารโลหะหนักตกค้าง โดยผ่านการตรวจสอบและรับรองตัวอย่างโดย บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากนี้คุณสมบัติพิเศษที่มีเฉพาะในอะมิโน คือ

1. เมื่อ อะมิโน ทำปฏิกิริยาโดยการผสมกับน้ำแล้วจะเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนพลังงานขึ้นในสารประกอบ ซึ่งพลังงานที่ได้นี้เองช่วยนำพาสารอาหารให้แพร่กระจายไปทั่วทั้งผืนดิน และ ต้นพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อะมิโน หรือ สารสกัด ทั่วไป จะมีเพียงสารอาหารแต่ไม่สามารถทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนได้ เพราะไม่มีพลังงานเพียงพอ พืชจึงได้รับสารอาหารไม่เต็มที่

2. โมเลกุลของ อะมิโน สามารถนำพา เอนไซม์ไปพร้อมกับกระบวนการแลกเปลี่ยนได้ ซึ่งเอนไซม์เหล่านั้นจะช่วยย่อยสลายธาตุอาหารให้กับจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ทวีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผืนดินกลับมาอุดมสมบูรณ์

3. จุลินทรีย์ในธรรมชาติจะทวีจำนวนมากขึ้น จากการได้รับธาตุอาหารที่เอนไซม์ใน อะมิโน ช่วยย่อยสลายให้ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านั้น จะตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้งาน ซึ่งพืชสามารถดักจับไนโตรเจนที่ถูกตรึงโดยจุลินทรีย์ และ นำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อีกด้วย

4. เอนไซม์ที่อยู่ใน อะมิโน สามารถ สลายตัวเองได้จึงปลดปล่อยสารอาหารได้ดีกว่า และไม่เกิดการตกค้าง ดังนั้นพืชจึงได้ธาตุอาหารเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในขณะที่ อะมิโน บางชนิดเช่น อะมิโนที่สกัดจากถั่วเหลือง เปลือกหอย เปลือกปู ไม่มีเอนไซม์มากพอ ซึ่งทำให้ไม่สามารถสลายตัวเองได้ จึงเกิดการตกค้าง และอาจชักนำจุลินทรีย์ในกลุ่มที่ไม่ดีให้ลงมายังทำลายต้นพืชได้

5. อะมิโน สามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด เพราะ อะมิโน จะช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตามลักษณะของพันธุ์พืชนั้นๆ และเมื่อพืชมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ประกอบกันผืนดินได้รับการปรับปรุงให้อุดมสมบูรณ์ จึงส่งผลให้พืชเติบโต แข็งแรง ดีแล้วจะให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ ทั้งขนาด ปริมาณ คุณภาพ และน้ำหนัก

6. อะมิโน มิได้ทำงานโดยการ เพิ่ม หรือ เร่ง ผลผลิตจากต้นพืช หรือ ในดินที่ปลูก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชและผืนดิน ทรุดโทรดและเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว แต่ อะมิโน จะช่วยปรับสภาพธรรมชาติให้คืนสู่ความสมดุลและเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นไปอย่างธรรมชาติ จึงช่วยให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างยั่งยืน



เปรียบเทียบกับ น้ำหมักชีวภาพ ไคโตซาน และ อีเอ็ม
น้ำหมักชีวภาพ และ ไคโตซานจะมีเชื้อโรคผสมปนอยู่เนื่องจากได้จากการหมักเศษอาหาร ซากพืช ซากสัตว์ ที่ไม่สะอาดเมื่อราดรดให้พืช เชื้อเหล่านี้จะกระจายไปกับดิน และ อาจ พัฒนากลายเป็นเชื้อโรคที่ทำลายพืชได้

กระบวนการผลิต อีเอ็ม จะมีกากน้ำตาลผสมอยู่ กากน้ำตาลนี้เป็นสารหนืดซึ่งจุลินทรีย์ย่อยสลายยาก อีกทั้งจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายสารหนืดนั้นคือจุลินทรีย์ประเภทที่ทำหน้าที่ย่อยซากพืชซากสัตว์ ซึ่งพืชมีชีวิตไม่ต้องการ และเนื่องจากความยากในการย่อยสลายสารหนืด จึงชักนำให้จุลินทรีย์ที่มีฤทธิ์ในการย่อยสลายมากกว่าเข้ามาทั้งจากอากาศ ดิน และ น้ำ เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้ย่อยสลายสารหนืดหมดไป จะเริ่มกัดกินเคลือบที่ผิวใบพืช อีกทั้ง จุลินทรีย์เหล่านี้จะพัฒนาต่อไปกลายเป็นเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส กลายเป็นโรคพืช ในที่สุด



http://www.weloveshopping.com/shop/show_article.php?shopid=277387&qid=113458
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/05/2013 10:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,933. ผลไม้แพงที่สุดในโลก...



อันดับสี่ เมล่อนยูบาริ (Yubari Melon)



อันดับนี้ขอเป็นผลไม้บ้างดีกว่า ของดีจากฮอกไกโดนี้ ไม่อยากจะเชื่อว่าจะแพงถึงขนาดติดอันดับโลก เมล่อนญี่ปุ่นยี่ห้อยูบารินี้จะคัดลูกที่คิดว่าสุดยอดที่สุดและจะถูกบรรจุลงกล่องแพกเกจคู่อย่างดี ราคาของมันทั่วไปไม่ได้แพงอะไรมากมายหรอกครับ แต่มันมีคนประมูลที่เมืองฮอกไกโดกันครับ สู้กันไปสู้กันมา ราคาประมูลจบลงที่ 2 ล้านเยน หรือ 2 หมื่นดอลลาร์ครับ แต่โดยปกติทั่วไปแล้วขายกันอยู่ที่ราคา 6,000 - 15,000 เยนหรือประมาณ 2,000 - 5,000 บาทต่อลูก แหม ทุเรียนเมืองไทยไปขายที่นั่นก็ราคาเท่านี้แหล่ะ เขาว่ารสชาติของมันจะหอมหวานเป็นพิเศษ อยากรู้ว่ามันจะหวานหอมแค่ไหน ลองไปหาชิมได้ครับนะที่แดนอาทิตย์อุทัย


อันดับห้า แตงโมดำดังซุเกะ (Dnzuke Watermelon)



แตงโม ไหมครับ แตงโม อ่า ราคาแตงโมดำนี้จริง ๆ ก็ปกติครับ แต่มีคนไปประมูลมัน (อะไร ประมูลอีกแล้วเหรอ) ในที่สุดลูกที่แพงที่สุดอยู่ที่ราคา 650,000 เยนหรือ 6,100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 183,000 บาท (พับผ่า แตงโมลูกละแสน) สาเหตุที่แพงพอจับใจความคร่าว ๆ ได้ว่า เขาจะเก็บแตงโมนี้ 65 ลูกแรกของการเก็บเกี่ยวครั้งแรงในฤดูเก็บเกี่ยว เขาบอกว่ารสชาติมันหวานเป็นพิเศษ แต่ความหวานของแต่ละลุกจะมีรสไม่เหมือนกันเท่าไหร่ (เอ๊ะ อุปาทานหมู่เปล่าอ่า) ลองดูครับแตงโมลูกละแสน ต้องไปประมูลมานะครับ



http://www.bluemoon-mcfc.in.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:51 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/05/2013 10:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,934. เมล่อนญี่ปุ่น (Melon in Japan)

เรื่องโดย : 19th Ronin






เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าราคาผลไม้เกรดเอบางชนิดที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นราคาค่อนข้างสูงมาก ถึงแม้จะผลไม้ตามฤดูกาลก็ตามแต่ถ้าหากเป็นผลไม้ระดับคุณภาพสูงราคาก็จะสูงตามด้วยเช่นกัน อีกไม่กี่วันจะถึงเดือนมิถุนายนแล้วใกล้จะถึงซัมเมอร์แล้วสินะเนี่ย ผลไม้ในช่วงนั้นที่มีราคาสูงรสชาติยอดเยี่ยมคงหนีไม่พ้น Melon (メロン) มีทั้งลูกกลมๆ และลูกเหลี่ยมๆ แล้วแต่การครีเอทของเจ้าของสวนเค้าล่ะ






การเพาะปลูกเมล่อนนั้นต้องปลูกในเรือนกระจกและมีการควบคุมการเพาะปลูกเป็นอย่างดี ที่จังหวัดไอจิ มีเมล่อนขึ้นชื่อที่จะออกวางจำหน่ายในช่วงซัมเมอร์ของทุกๆ ปี ก็คือเมล่อนทรงสี่เหลี่ยม Kakumelo แล้วก็ยังมีเมล่อนที่ปลูกได้แต่ที่ญี่ปุ่นชื่อว่า Yubari melon หรือ Musk melon ราคาก็หลักหมื่นเยนขึ้นไป เป็นแสนเยนก็มีนะ มีตราประทับบอกถึงวันที่รสชาติดีที่สุดให้ด้วย คุณภาพไม่ต้องพูดถึง ทั้งหอมและหวานแน่นอน ราคาหลักพันเยนก็มีนะสำหรับ Musk melon ส่วนหลักห้าร้อยเยนอัพก็แนะนำ Prince melon เปลือกจะบางและมีเนื้อสีส้มด้านใน ยังมีอีกหลายสายพันธุ์และราคาก็แตกต่างกันไป





เมล่อนหาซื้อได้ตามช้อปร้านค้า ห้างสรรพสินค้าทั่วไป หรือถ้าหากไม่อยากซื้อเมล่อนเป็นลูกๆ ทานก็ซื้อเค้กที่มีเมล่อนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยก็ได้เพราะร้านเค้กที่ญี่ปุ่นมักจะใช้วัตถุดิบที่สด และตามฤดูกาลเป็นส่วนใหญ่ และได้รสชาตินุ่มลึกแน่นอน ยังมีไอศครีมเมล่อน เจลลี่เมล่อน ขนมปังเมล่อน น่าทานทั้งนั้นเลยนะ







ที่ญี่ปุ่นเมล่อนมักจะถูกซื้อเป็นของเยี่ยมที่โรงพยาบาล อาจจะเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญสูง มีทั้งวิตามินซี วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทั้งนั้นเลย จริงๆ แล้วเมล่อนหาซื้อได้ทั้งปีนั่นแหละ แต่ซัมเมอร์เป็นช่วงที่รสชาติอร่อยมากที่สุด





ลูกเมล่อนบางทีก็ถูกนำมาใช้เป็นสินค้าประยุกต์ตกแต่งลวดลายบนเปลือก เป็นสินค้าพรีเมี่ยมครบรอบในวันต่างๆ ดูดีและแถมยังเพิ่มมูลค้าขึ้นมาได้อีก ช่วงหน้าร้อนใครไปเที่ยวแถบไอจิหรือฮอกไกโดก็อย่าลืมไปชิมแตงหวานของญี่ปุ่นเค้าด้วยนะเพราะของอร่อยๆ ไม่ได้มีทั้งปีนะจ๊ะ^^



http://www.marumura.com/food/?id=1083
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 71, 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 72 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©