-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 70, 71, 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/03/2013 7:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....

1,885. การเลี้ยงแมลงดานา ในเชิงพาณิชย์

1,886. เวียดนาม-พม่า เลี้ยงปลาสเตอร์เจียน ขายไข่คาเวียร์ $2,000/กก.
1,887. จาก OVOP ญี่ปุ่น สู่ OTOP ไทย
1,888. แนวคิดเกษตรธรรมชาติ ฟูกูโอกะ
1,889. นวัตกรรมที่ดักหอยเชอรี่
1,890. ทำน้ำเขียวเลี้ยงปลา

1,891. Aquaponic System (การปลูกผักและเลี้ยงปลาพร้อมๆกัน)
1,892. ระบบสวนแนวตั้ง
1,893. "ไม้พะยูง" แพงที่สุดในโลก เหลือเพียงแห่งเดียวในโลก ประเทศไทย
1,894. พาไปดูสวนแอปเปิ้ล
1,895. ปุ๋ยทางใบ (foliar fertilizer)

1,896. นางเฉิน ซู่ ฉู่ แม่ค้าผัก ผู้คว้ารางวัลแมกไซไซ
1,897. ผู้บุกเบิกเครือข่ายแห่งความพอเพียง
1,898. ข้าวพันธุ์ใหม่ของโลกที่น่ากลัว
1,899. แฉ ไทยนำเข้าสารเคมี สูงเท่าตึกใบหยก 2
1,900. ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐส่งเสริมให้ชาวนาเลิกไถหน้าดิน

1,901. พริกออสเตรเลียเผ็ดที่สุดในโลก
1,902. บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร
1,903. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร
1,904. การผลิตและใช้ประโยชน์กวาวเครือขาวทางด้านการเกษตร
1,905. ชาวนาวันหยุด ชวนคนรุ่นใหม่สนใจทำนา

1,906. ทุเรียนนนท์ ปลูก 50 ต้น ได้ปีละล้าน
1,907. เกษตรอินทรีย์ & เกษตรเคมี ความเข้าใจที่สับสน
1,908. ผงชูรสช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
1909. ผลิต ไคติน-ไคโตซาน จาก หอยเชอรี่

------------------------------------------------------------------------------------------------




1,885. การเลี้ยงแมลงดานา ในเชิงพาณิชย์


ผศ.พัชรี มงคลวัย

"แมลงดานา" จัดเป็นแมลงที่อาศัยอยู่ในน้ำที่ชาวบ้านนิยมบริโภคอยู่ใน 10 อันดับแรกของบรรดาแมลงกินได้ นิยมบริโภคกันทุกภาคของประเทศไทย แหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงดานาคือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่เป็นน้ำนิ่ง อาทิ หนอง คลอง บึง และตามท้องนา เป็นต้น แมลงดานาจะออกหาอาหารในตอนกลางวัน ในเวลากลางคืนปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงจึงบินออกจากแหล่งน้ำบินวนเวียนอยู่ใกล้ๆ ที่อาศัย เมื่อใกล้สว่างจึงอาศัยแสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนผิวน้ำเป็นตัวนำทางในการบินกลับไปยังแหล่งอาศัย ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวบ้านมีวิธีการจับแมลงดานา ด้วยการงมและช้อนจับในน้ำ และการใช้หลอดไฟแบล็คไลต์ดักล่อให้แมลงดานาเข้ามาหา และนำน้ำใส่กะละมังวางไว้ใต้หลอดไฟในเวลากลางคืน หรือใช้ตาข่ายดักจับ เพื่อนำไปประกอบอาหารประเภทน้ำพริกต่างๆ เหลือนำไปจำหน่าย ปัจจุบันพบว่ามีการนำแมลงดานามาทอดกรอบปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทยจำหน่ายตามร้านขายแมลงได้รับความนิยมแพร่หลาย นอกจากนี้ ไข่ของแมลงดานาได้นำมาบริโภคด้วยเช่นกัน ทำให้แมลงดานาในธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ช่วงนอกฤดูกาลจะหาแมลงดานาในท้องตลาดได้ยากมาก อาจจะมีราคาแพงถึงตัวละ 10-20 บาท โดยเฉพาะแมลงดานาตัวผู้ซึ่งมีกลิ่นฉุนเป็นที่นิยมมากกว่าตัวเมีย



"แมลงดานา" ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจ
ที่มีมูลค่าการซื้อขายปีละหลายสิบล้านบาท
แมลงดานามักจะอาศัยอยู่ในสภาพธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีเฉพาะในบางฤดูกาลเท่านั้น ส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ตามท้องตลาดจะนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน คือพม่าและกัมพูชาเกือบทั้งหมด โดยตัวหนึ่งราคาขายอยู่ที่ตัวละ 8-10 บาท ปัจจุบันในบ้านเราจับได้ไม่มากนัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และพบว่ามีผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงแมลงดานาในเชิงพาณิชย์น้อยมาก เหตุผลหนึ่งของการเลี้ยงที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะผลการเลี้ยงมีอัตราการรอดต่ำ เนื่องจากแมลงดานามีพฤติกรรมในการกินกันเองสูง มีการกินกันเองได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต ดังนั้น หากมีการศึกษาวิธีการเลี้ยงแมลงดานาที่มีการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายสูง และมีการจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดแรงงานและต้นทุนการเลี้ยงได้เป็นผลสำเร็จแล้ว อาจทำให้การเลี้ยงแมลงดานาเพื่อการค้ามีผลตอบแทนการเลี้ยงได้อย่างคุ้มค่า และน่าสนใจไม่แพ้สัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้เช่นกัน

ผศ.พัชรี มงคลวัย อาจารย์ประจำคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับคณะผู้วิจัย จึงคิดค้นงานวิจัยเกี่ยวกับการตลาดและการเพาะเลี้ยงแมลงดานา โทร. (081) 320-0683 , E-mail:patcharee.mo@hotmail.com เล่าว่า จากการสำรวจพบว่า แมลงดานาที่พบเห็นในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ แมลงดานาพันธุ์หม้อ แมลงดานาพันธุ์ลาย และแมลงดานาพันธุ์เหลืองหรือพันธุ์ทอง ซึ่งพันธุ์หม้อมีลักษณะที่สังเกตได้คือ ขอบปีกมีลายสีทอง และคลุมไม่มิดส่วนหาง ขยายพันธุ์ได้เร็วและมีไข่ดก ซึ่งจะพบพันธุ์นี้วางขายอยู่มากในท้องตลาด พันธุ์ลาย มีลักษณะที่สังเกตได้คือ ขอบปีกมีลายสีทองเช่นเดียวกัน แต่จะคลุมมิดส่วนหาง มีการวางไข่แต่ละครั้งไม่แน่นอน และพันธุ์เหลือง (พันธุ์ทอง) มีลักษณะที่สังเกตได้คือ จะมีสีเหลืองทั้งตัว และจำนวนไข่ไม่แน่นอนเช่นเดียวกับพันธุ์ลาย ตลอดจนมีนิสัยชอบกินแมลงดานาพันธุ์อื่นๆ เป็นอาหาร ดังนั้น ควรแยกพันธุ์นี้ออกไปเลี้ยงต่างหาก โดยผู้เลี้ยงอาจเก็บรวบรวมลูกแมลงดานาจากแหล่งน้ำในธรรมชาติมาเลี้ยง หรือจับแมลงดานาตัวเต็มวัยมาเพาะพันธุ์ภายในบ่อดิน โดยรวบรวมแมลงดานาในช่วงต้นฤดูฝน เดือนเมษายน-พฤษภาคม และช่วงปลายฤดูฝนเดือนกันยายน-ตุลาคม ชีพจักรของแมลงดานาตั้งแต่ไข่จนถึงตัวแก่มีอายุประมาณ 32-43 วัน โดยมีการลอกคราบ 5 ครั้ง และระยะตัวแก่จนถึงเริ่มไข่ได้ใช้เวลาประมาณ 30-40 วัน รวมใช้เวลาตั้งแต่ฟักออกจากไข่จนถึงระยะการผสมพันธุ์วางไข่ประมาณ 62-83 วัน



แมลงดานาจะมีอายุได้ประมาณ 2 ปี เท่านั้น
ดังนั้น หลังจากที่แมลงดานาวางไข่ในปีที่ 2 แล้วจะต้องนำตัวไปจำหน่าย จากการศึกษาวงจรชีวิตแมลงดานาจะวางไข่ไว้ในระดับที่สูงจากน้ำตั้งแต่ 5-10 นิ้ว จากนั้นตัวเมียจะปล่อยวุ้นออกมาสำหรับให้ไข่ยึดติดกับกิ่งไม้ กอหญ้า กอกก หรือกอข้าว และวางไข่รอบๆ บริเวณที่มันเกาะ รังหนึ่งจะมีไข่ประมาณ 100-200 ฟอง หรือมากกว่านี้แล้วแต่ความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์ การเร่งให้แมลงดานาผสมพันธุ์และวางไข่ทำได้โดยลดระดับน้ำเดิมที่มีอยู่ในบ่อที่ระดับ 70-80 เซนติเมตร ให้เหลือ 40-50 เซนติเมตร เพื่อหลอกให้แมลงดานาเข้าใจว่าจะเข้าฤดูแล้งแล้วจะได้วางไข่ จากนั้นทดน้ำเข้าไปในบ่อ โดยให้ระดับน้ำสูง 90 เซนติเมตร หรือเกือบเต็มบ่อซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการหลอกให้แมลงดานาคิดว่าฝนตกหรือเข้าฤดูฝนแล้ว จากนั้นอีกประมาณ 2-3 วัน แมลงดานาก็จะมาวางไข่ที่บนหลักไม้ที่ปักไว้ ควรจะทำในเดือนเมษายน หรือฝนแรกที่ตกลงมาในพื้นที่นั้นๆ และถ้าต้องการให้แมลงดานาวางไข่ก็ควรหลีกเลี่ยงในวันที่ครึ้มฟ้า ครึ้มฝน

โดย ผศ.พัชรี มงคลวัย เล่าว่า ได้นำแนวคิดและเทคนิคของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนำมาใช้กับแมลงดานา และเหตุผลที่เลือกแมลงดานาก็เพราะมองว่าสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี พื้นที่ไม่มากและงบประมาณไม่มากนัก เพียงมีถังไฟเบอร์และใช้ขวดน้ำพลาสติคเลี้ยง เพียง 40 วัน เกษตรกรก็จะมีรายได้ที่แน่นอนแล้ว



ขั้นตอนการเลี้ยงแมลงดานา
1. การเตรียมบ่อพ่อแม่พันธุ์แมลงดานา เตรียมถังไฟเบอร์แบบมีขาตั้ง ขนาดความจุ 1 ตัน จำนวน 1 ถัง พร้อมทำตะแกรงมุ้งเขียวปิดด้านบนเพื่อป้องกันการหลบหนีและติดตั้งอุปกรณ์ทำฝนเทียม ระบบให้อากาศ และระบบประตูระบายน้ำ พร้อมทั้งจัดเตรียมสภาพแวดล้อมภายในถังเพาะฟักเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกิ่งไม้และพรรณไม้น้ำใส่ลงไป เพื่อเป็นที่เกาะอาศัยและหลบซ่อนจากแมลงดานาตัวอื่น แล้วเติมน้ำสูง 25 เซนติเมตร และใส่ลูกปลาขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร ลงไปประมาณ 100 ตัว และใส่เพิ่มลงไปเป็นครั้งคราวเพื่อรักษาปริมาณอาหารให้พอเพียงตลอดการเลี้ยง

2. การเพาะไข่แมลงดานา รวบรวมพ่อแม่พันธุ์แมลงดานาจากธรรมชาติ หรือรับซื้อพ่อแม่พันธุ์จากผู้จับแมลงดานา เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์ภายในบ่อที่จัดเตรียมไว้ กระตุ้นให้เกิดการผสมพันธุ์วางไข่ โดยการทำฝนเทียม (เฉพาะเวลา 07.00-08.00 น.) แบบให้ฝนเทียม 3 วัน เว้น 1 วัน และการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 50 เปอร์เซ็นต์ ทุก 3 วัน เมื่อได้ไข่แมลงดานาแล้วให้ปล่อยทิ้งไว้ในถุงเพาะต่อไป จนถึงวันที่ 6 แล้วจึงย้ายช่อไข่มาฟักโดยปักช่อไข่ใส่ไว้ในขวดปากแคบหรือบนก้อนหิน นำไปวางไว้ในกะละมัง เมื่อแมลงดานาฟักออกเป็นตัวจะหล่นลงในน้ำ แล้วจึงนำลูกแมลงดานาไปทำการศึกษาต่อไป

3. นำขวดน้ำพลาสติค ขนาด 1 ลิตร ตัดส่วนคอขวดออกให้เหลือเฉพาะส่วนล่างให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร และเจาะรูขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร กระจายให้ทั่วทั้งขวด เพื่อให้น้ำมีการถ่ายเทได้อย่างสะดวก ใส่พรรณไม้น้ำขนาดพอเหมาะลงในขวดเพื่อให้แมลงดานาใช้เป็นที่เกาะพัก

4. นำลูกแมลงดานาที่มีอายุเท่ากัน ใส่ลงไปขวดละ 1 ตัว ชนิดของอาหารที่ใช้ในการทดลองคือ ลูกปลาดุกมีชีวิต ลูกปลาดุกตาย ลูกอ๊อดกบมีชีวิต และลูกอ๊อดกบตาย โดยคัดขนาดลูกปลาดุกและลูกอ๊อดขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร แบ่งลูกปลาดุกและลูกอ๊อดจำนวนหนึ่งไปแช่ในตู้เย็นเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับการทดลองที่ใช้อาหารไม่มีชีวิต เริ่มให้กินอาหารตั้งแต่วันแรกที่แมลงดานาฟักออกจากไข่ อาหารที่จัดเตรียมไว้ในแต่ละการทดลองในช่วงเช้าของทุกวัน จำนวนเท่ากับสัตว์ทดลอง จดบันทึกน้ำหนักรวมอาหารของแต่ละการทดลองก่อนการให้ และเก็บซากอาหารเก่าออกทุกครั้ง เพื่อป้องกันน้ำเสีย นำไปชั่งน้ำหนักซากรวม เพื่อนำไปหาน้ำหนักอาหารที่กิน และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 2 วัน



ข้อแนะนำการเลี้ยง
ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงแมลงดานานั้นจากการทดลองเลี้ยงคือ ลูกอ๊อดมีชีวิต ลูกอ๊อดตาย ลูกปลาดุกมีชีวิต ลูกปลาดุกตายให้ผลการเจริญเติบโตตลอดการเลี้ยงไม่แตกต่างกัน แต่การทดลองใช้ลูกอ๊อดตายเลี้ยงมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงที่สุด รองลงมาคือ ลูกอ๊อดมีชีวิต ส่วนลูกปลาดุกทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตมีอัตราการรอดต่ำมาก ดังนั้น ชนิดของอาหารที่เหมาะสมในการเลี้ยงแมลงดานาคือ ลูกอ๊อดกบ แมลงดานายอมรับเหยื่อทั้งในสภาพมีและไม่มีชีวิต ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการเลี้ยงสามารถสำรองเหยื่อโดยการเก็บรักษาในตู้เย็นได้ เมื่อพิจารณาต้นทุนการเลี้ยงในเรื่องค่าอาหารแล้ว พบว่าการใช้ลูกอ๊อดกบเลี้ยงตลอดการทดลองเป็นเงินประมาณ 2-3 บาท และถ้าให้ลูกปลาดุก ขนาด 2-3 เซนติเมตร เป็นอาหาร คิดเป็นเงินประมาณ 4 บาท ต่อตัว จึงควรมีการศึกษาเหยื่อชนิดต่างๆ เช่น กุ้งฝอย หรือหอยขม ซึ่งมีราคาถูกกว่าลูกปลาดุก และลูกอ๊อด ว่าสามารถใช้เลี้ยงแมลงดานาได้ในช่วงใดของการเจริญเติบโตจึงจะทำให้แมลงดานามีการเจริญเติบโตที่ดี และในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นศัตรูของแมลงดานาด้วย สำหรับระบบการเลี้ยงแบบเดี่ยวมีต้นทุนเริ่มแรกค่อนข้างสูง แต่สามารถใช้เลี้ยงหมุนเวียนได้หลายครั้ง การจัดการดูแลเปลี่ยนถ่ายน้ำทำได้โดยสะดวก

ผลงานวิจัยในการเลี้ยงแมลงดานาในเชิงพาณิชย์นี้ เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ทำให้ผลงานวิจัยในครั้งนี้ได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดผลงานวิจัยดีเด่น เมื่อปี พ.ศ. 2551 ของการประชุมราชมงคลวิชาการ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วมสัมมนา เนื่องจากการเพาะเลี้ยงแมลงดานาเชิงพาณิชย์ถือเป็นเรื่องใหม่ และไม่มีใครประกอบอาชีพนี้เป็นเรื่องเป็นราวมาก่อน



http://www.fisheries.go.th/cf-pak_panang/webbord/index.php?topic=323.0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/04/2013 7:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 26 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/03/2013 7:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,886. เวียดนาม-พม่า เลี้ยงปลาสเตอร์เจียน ขายไข่คาเวียร์ $2,000/กก.


สเตอร์เจียน หน้าตาไม่ได้หล่อเหลาอะไร แต่ไข่ของมันราคาแพงลิ่ว เวียดนามเลี้ยงได้สำเร็จ ปัจจุบันกำลังเพาะเลี้ยงในพม่า.



ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์ -- ราว 5 ปีข้างหน้าพม่าจะมีสินค้าออกชนิดใหม่ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จักและคุ้ยเคยมาก่อน แต่เป็นอาหารว่างราคาแพงของคนรวยทั่วโลก

นักลงทุนจากเวียดนามพบแหล่งผลิตที่เหมาะสมทางตอนใต้ของรัฐชาน ใกล้ชายแดนภาคเหนือของไทย

บริษัทร่วมทุนสองประเทศปล่อยลูกปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon) 50,000 ตัว ลงบึงแห่งหนึ่งในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยคาดว่า ในปี 2558 ทั้งหมดจะให้ไข่ออกมาประมาณ 60 ตัน กับเนื้อปลาอีกราว 400 ตัน

ไข่สีดำของสเตอร์เจียน จะนำไปผลิตเป็นไข่คาเวียร์ (Caviar) อีกทอดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันบริษัทในเวียดนามส่งไข่ดิบจำหน่ายตลาดยุโรปในราคากิโลกรัมละ 1,500-2,000 ดอลลาร์ และ 60 ดอลลาร์สำหรับเนื้อปลา

เวียดนามเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนกับแซลมอนใน จ.เลิมด่ง (Lam Dong) เขตที่ราบสูงภาคกลางที่อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี และ กำลังเลี้ยงทดลองในเขตเมืองปากซองแขวงจำปาสักในภาคใต้ลาว

สำหรับพม่ามีการประกาศแผนการนี้ตั้งแต่ปี 2552 ในความร่วมมือด้านการประมงระหว่างสองประเทศ

ตามข้อมูลของสื่อทางการ บริษัทในเครือวินาชินหวุงเต่า (Vinashin Vung Tao) เข้าร่วมทุนกับบริษัทปาเลนาดี (Pale Nadi) ในพม่า เลี้ยงสเตอร์เจียนโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงในน้ำเย็น ที่เวียดนามประสบความสำเร็จมาแล้ว

กรมประมงได้ออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทร่วมทุนในปลายเดือน พ.ค. แต่การทดลองเริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือน โดยปล่อยลูกปลาสเตอร์เจียนลงใน บึงเบลูชอง (Belu Chaung) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำปิด ในหุบเขาที่อากาศหนาวจัด ใกล้กับเมืองปิ่นหลวง (Pin Laung) ทางตอนใต้รัฐชาน ด้วยเงินทุนเริ่มต้น 1 ล้านดอลลาร์

ฝ่ายพม่า กล่าวว่า การเพาะเลี้ยงประสบความสำเร็จดี อัตราการเสียชีวิตของลูกปลายต่ำเพียง 1% เท่านั้น

ของขบเคี้ยว-- ไข่คาร์เวียที่ผลิตจากไข่ปลาสเตอร์เจียนออกสีดำคล้ำราคาแพงที่สุด

ตามข้อมูลของบริษัทเวียดนาม สเตอร์เจียนดำรงชีวิตอยู่ได้ในความสูงจากน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร ในน้ำอุณหภูมิ 12-16 องศาเซลเซียส ปลา 1 ตัวให้ไข่ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อปี และ เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีนสูง รวมทั้งกุ้งบด บริษัทเวียดนามกำลังผลิตอาหารเอง ลดการนำเข้าซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยงได้มหาศาล

บริษัทจากเวียดนามทดลองเลี้ยงปลาน้ำเย็นทั้งแซลมอนและสเตอร์เจียนในภาคใต้ของลาวตั้งแต่ปี 2551 และ พบว่าสเตอร์เจียนเติบโตได้ดีกว่า ขณะที่แซลมอนต้องการน้ำที่อุณหภูมิเย็นจัดกว่านั้น

อย่างไรก็ตาม ลูกปลาทั้งสองชนิดมีอัตราการตายสูงตั้งแต่ 40-60% ในลาว ซึ่งต่างไปจากแหล่งเพาะเลี้ยงในพม่า แต่การเลี้ยงทดลองก็ยังดำเนินต่อไป สื่อของทางการกล่าว

ช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทจากเวียดนามเริ่มทยอยเข้าลงทุนในพม่า ทั้งในธุรกิจโรงแรม การประมงและการเกษตร รวมทั้ง ฮว่างแอง-ซยาลาย (Hoang An-Gia Lai) ซึ่งเป็นกลุ่มลงทุนขนาดใหญ่ที่เข้าไปทำสวนยางพารา เนื้อที่นับหมื่นไร่

สายการบินเวียดนามเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ฮานอย-ย่างกุ้งในวันที่ 1 มี.ค.ปีนี้ เปิดศักราชใหม่แก่การคมนาคมขนส่งในอุภูมิภาคแม่น้ำโขง และการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

เนื้อปลาสเตอร์เจียนเป็นที่ต้องการในตลาด และมีวางขายตั้งแต่ตุรกีจนถึงกลุ่มยุโรปแตะวันออกและรัสเซีย


http://www.fisheries.go.th/cf-pak_panang/webbord/index.php?topic=323.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/03/2013 10:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.oknation.net/blog/ajhara/2010/08/07/entry-3

1,887. จาก OVOP ญี่ปุ่น สู่ OTOP ไทย



ดูงาน OVOP (ONE VILLAGE ONE PRODUCT)
ชมโครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Village One Product –OVOP)จาก ได้ยินโครงการสินค้า OTOP จากประเทศไทย ต้นแบบของโครงการนี้ ก็มีที่มาจากที่นี้เอง เมืองโออิตะ Oita เป็นจังหวัดเล็กๆ ทางตอนใต้ บนเกาะคิวชู ใกล้กับไต้หวันและ เกาหลี ซึ่งในปี 2504 ชาวบ้านในหมู่บ้านได้รวมตัวกัน ริเริ่มโครงการ บ๊วยใหม่และเกาลัด เป็นโครงการส่งเสริมการเพาะปลูกบ๊วยและเกาลัดในรูปแบบการเกษตรผสมผสาน สำหรับหมู่บ้านโอยามาที่เป็นต้นแบบของโออิตะ มีผลิตภัณฑ์กว่า 100 ชนิด จนได้ชื่อว่า One Village Hundred Products ซึ่งประกอบด้วยสินค้าเกษตรขั้นพื้นฐาน เช่น เห็ด ผัก ต่างๆ จนกระทั่งถึงผลิตภัณฑ์ อาหารแปรรูป เช่น ขนมปัง ไส้กรอก สมุนไพรแปรรูป ...และยังมีร้านค้าริมทาง Kanohana Garden ซึ่งขายสินค้าชุมชนให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว และรับซื้อสินค้าชุมชนจากคนในชุมชนและชุมชนอื่นๆ ร้านค้าริมทางเป็นจุดที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ซื้อและ ผู้ขายด้วย

ผู้ บรรยายได้กล่าวว่า เมืองไทยก็ทำโครงการสินค้า OTOP และเริ่มเป็น โมเดลให้ประเทศอื่นๆ ทำตามได้ดีทีเดียว ทางหน่วยงานต่างๆ ของประเทศไทยก็นิยมมาดูงานที่นี่เป็นจำนวนมาก เค้าก็มาดูไทย เหมือนกัน ชื่อต่างกัน ก็ตรงของเราเป็น หนึ่งตำบล One Tambon ของเค้า One Village และ สิ่งที่ต่างอีก ของประเทศไทยรัฐจัดนโยบายสนับสนุนการจัดทำสินค้า OTOP แต่ของเค้าเป็นการร่วมตัวกันเองในหมู่บ้าน และต้องมีการจัดการทำการตลาดเองด้วย ดูจากผลิตภัณฑ์ก็ของเกษตร แปรรูปต่างๆ สิ่งที่น่าสนใจน่าจะเป็น กล่องบรรจุภัณฑ์ ที่ออกแบบสวยงาม สะดุดตาผู้ซื้อเป็นอย่างมาก และสินค้าจำพวกขนมต่างๆ ชิมๆ ดูรสชาติ ก็คล้ายๆ กันหมด แต่ต่างกันตรงตัวสินค้า สีสรร ทำให้ดูน่าทาน เห็นแล้วน่ารักดี ก็อยากซื้อแล้ว

วันนั้นเค้าก็เอาน้ำหวานมาให้ลองชิม ขวดที่เหมือนเป็นรูปมะนาวยิ้ม รสชาติออกเปรี้ยวๆ แต่ชุ่มคอดีค่ะ











































http://www.oknation.net/blog/ajhara/2010/08/07/entry-3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/03/2013 5:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1,888. แนวคิดเกษตรธรรมชาติ ฟูกูโอกะ


โดย monmai





มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการชาวไทยเป็นอย่างดี ภายหลังจากที่หนังสือ One Rice Straw Revolution หรือในชื่อไทยคือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ได้รับการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2530 ฟูกูโอกะได้รับรางวัล แมกไซไซ ในปี 2531 จากผลงานเกษตรธรรมชาติซึ่งมีหลักการสี่ประการได้แก่ การไม่ไถพรวน การไม่ใช้ปุ๋ยเคมี การไม่กำจัดวัชพืช และการไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลักการของฟูกูโอกะได้สวนทางกับการเกษตรกรรมแผนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ฟูกูโอกะเป็นนักโรคพืชวิทยาที่ผันตัวเองไปเป็นเกษตรกรมาไม่ต่ำกว่า 50 ปี โดยพยายามที่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศในไร่นาให้กลับมามีชีวิตดังเดิม สร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผลในทางคุณภาพและปริมาณอีกด้วย

มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะซิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และจบการศึกษาทางจุลชีววิทยาสาขาโรคพืชวิทยา เคยทำงานเป็นนักวิจัยทางการเกษตรของกรมศุลกากรเมืองโยโกฮาม่าในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ได้ตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาใช้เวลากว่า 50 ปี ไปกับการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ





ฟูกูโอกะเป็นผู้นำงานจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาอธิบายว่า ชาวนาเชื่อว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกันทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย เพียงแต่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง

ทฤษฎีของฟูกูโอกะนี้เป็นการเดินตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ และเป็นวิธีบำรุงธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยมุ่งเน้นวิธีการคลุมดิน ไม่มุ่งเน้นในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก เพราะการคลุมดินจะช่วยปรับสภาพดินได้เป็นธรรมชาติกว่า

วิธีการทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะ มีดังนี้
1.) ไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรกล
2.) ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะใช้วิธีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน โดยไม่สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แต่ให้ใช้ฟางข้าวโรยคลุมดินแทน
3.) ไม่มีการกำจัดวัชพืช แต่ใช้หลักการคุมปริมาณวัชพืช โดยใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้ฟางข้าวคลุมดิน
4.) ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง แต่อาศัยการควบคุมโรคและแมลงด้วยกลไก การควบคุมกันเองของ สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ โดยเชื่อว่าวิธีการควบคุมโรคและแมลงที่ดีที่สุด คือ การปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา

ฟูกูโอกะเชื่อในการบำรุงรักษาดิน และการปล่อยให้สภาพแวดล้อมคงอยู่ตามธรรมชาติ ไม่แยกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันตามธรรมชาติออกจากกัน โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าเราเปลี่ยนแปลงวิธีการเพาะปลูกธัญญาหารของเราเท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะอาหาร เปลี่ยนแปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนวิถีชีวิตค่านิยมของเราไปด้วย”

การทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะไม่ได้ปล่อยให้ธรรมชาติจัดการทุกอย่างเอง โดยที่เกษตรกรนั่งดูอยู่เฉยๆ โดยไม่ลงมือปฏิบัติอะไรเลย แต่ตัวเกษตรกรเองจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และทำการเกษตรกรรมโดยประสานความร่วมมือกับธรรมชาติ มากกว่าพยายามที่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติ และเพื่อลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่จำเป็นลง มีจุดมุ่งหมายของการทำการเกษตรไม่ใช่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต ฟูกูโอกะได้กล่าวว่า “การทำเกษตรกรรมด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระในแต่ละวัน คือ วิธีดั้งเดินของเกษตรกรรม ซึ่งมนุษย์เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว”





ข้อดีและข้อจำกัดของการทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ
ข้อดี
1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ
5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย

ข้อจำกัด
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5.) ไม่สามาถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ



http://www.monmai.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:52 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/03/2013 5:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,889. นวัตกรรมที่ดักหอยเชอรี่

โดย monmai





หอยเชอรี่ ศัตรูอันดับหนึ่งของต้นข้าว โดยเฉพาะช่วงเวลาที่กำลังเป็นต้นกล้า หอยเชอรี่จะกัดกินต้นข้าวจนแทบไม่เหลือ เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้สารเคมีในการกำจัดหอยเชอรี่

แต่คุณอัมพร ทรัพย์สกุล หรือพี่ตี๋ ผู้สั่งสมประสบการณ์ในการทำนามากว่าสี่สิบปี เลือกที่จะคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ด้วยวิธีง่ายๆแต่ได้ผล และยังเป็นการช่วยโลกลดมลภาวะได้ด้วย คือการนำขวดพลาสติกมาประดิษฐ์เป็นที่ดักหอยเชอรี่ นอกจากจะเจ๋งเพราะนำขยะมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็ยังดักจับหอยเชอรี่ได้อยู่หมัด

กว่าจะได้มาซึ่งนวัตกรรมชิ้นนี้ พี่ตี๋ต้องสังเกตและเรียนรู้วงจรชีวิตของหอยเชอรี่จนรู้ว่า หอยเชอรี่จะชอบขึ้นมาวางไข่บนไม้เหนือน้ำประมาณ 1 ฟุต การสังเกตก่อเกิดเป็นนวัตกรรมแบบภูมิปัญญาชาวบ้านชิ้นนี้ขึ้นมา

ลักษณะการทำงานของที่ดักหอยเชอรี่ ละม้ายคล้ายคลึงกับที่ดักจับสัตว์ทั่วๆไป คือเมื่อหอยเชอรี่ไต่ขึ้นมาวางไข่ในขวดแล้ว จะไม่สามารถไต่กลับลงไปในน้ำได้ ทั้งไข่หอยและตัวหอย จะถูกขังเอาไว้ในขวดนี้นั่นเอง

พี่ตี๋นำหอยเชอรี่ที่ได้มาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำรดต้นข้าวในนาแทนการใช้ปุ๋ย ทำให้ประหยัดต้นทุนในการทำนาลงไปได้มากกว่าครึ่ง พี่ตี๋บอกว่าจากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยไร่ละ 50 กิโลกรัม ปัจจุบันเมื่อใช้น้ำหมักชีวภาพควบคู่ไปด้วย การใช้ปุ๋ยลดลงเหลือเพียง 10 กิโลกรัมเท่านั้น มันช่างน่าทึ่งเสียจริงๆ

นอกจากจะเป็นนวัตกรรมที่ลดขยะให้โลกแล้ว ยังทำให้เกษตรกรไม่ต้องใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืช แถมหอยที่ได้ยังนำมาแปรรูปเพื่อไปเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย

ประโยชน์หลายต่อแบบนี้ ดีทั้งต่อเกษตรกร และสร้างความมั่นใจว่าเราจะได้กินข้าวที่สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงปรารถนา



http://www.monmai.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:53 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/03/2013 5:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,890. ทำน้ำเขียวเลี้ยงปลา

โดย monmai





น้ำเขียวเกิดจากตะไคร่น้ำ แต่สิ่งที่เรากำลังพูดถึง คือ ตะไคร่ที่เป็นพืชเซลล์เดียวไม่ใช่ตะไคร่ที่เกาะตัวเหมือนขนตามก้อนหินหรือขอบบ่อ ตะไคร่ประเภทเซลล์เดียวเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายในสภาพที่เหมาะสม ก็คือต้องมีแสงแดดที่เพียงพอ และมีแอมโมเนียวิ่งเป็นอาหารชั้นเลิศสำหรับตะไคร่น้ำ วิธีง่ายๆที่จะก่อให้เกิดแอมโมเนียก็คือของเสียที่ถูกขับออกมาจากตัวปลา ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ตะไคร่น้ำหรือน้ำเขียวสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

คลอเรลล่า (Chlorella sp.) เป็นแพลงค์ตอนพืชขนาดเล็กแค่ 2-3 ไมครอน ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ถ้ามีจำนวนมากจะมองเห็นเป็นสีเขียว เซลล์เป็นทรงกลม มีผนังเซลล์หนาสัตว์น้ำวัยอ่อนเมื่อกินข้าไปแล้วไม่สามารถย่อยได้ แต่เป็นอาหารที่ดีของโรติเฟอร์และไรน้ำกร่อย มีทั้งคลอเรลล่าน้ำเค็มและน้ำจืด ชนิดที่เพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารแพลงค์ตอนสัตว์น้ำกร่อยจะอยู่ในช่วงความเค็มระหว่าง 10-20 พีพีที ชอบแสงแดดเพื่อสังเคราะห์อาหาร แต่ไม่ชอบอุณหภูมิสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส เหตุที่ไม่ชอบอุณหภูมิสูง เพราะยิ่งอุณหภูมิสูงเท่าไหรโปรโตซัวก็จะเพิ่มจำนวนเร็วเท่านั้น นอกจากโปรโตซัวแล้วแพลงค์ตอนตัวอื่นโดยเฉพาะกลุ่มไดอะตอม โรติเฟอร์ และไรน้ำกร่อย เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มจำนวนของคลอเรลล่า ทำให้คลอเรลล่าลดจำนวนลง ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยการใช้คลอรีนผง 1 กรัมต่อน้ำเลี้ยงหนึ่งตัน หรือคลอรีนน้ำ 7 ซีซี. ต่อน้ำเลี้ยงหนึ่งตัน แต่ปริมาณนี้อาจจะใช้ไม่ได้ผล เพราะคุณภาพของคลอรีนจะแตกต่างกันมาก ต้องหาปริมาณการใช้ใหม่ให้อยู่ในระดับที่โปรโตชัวและแพลงค์ตอนตัวอื่นตายแต่คลอเรลล่าไม่ตาย ถ้าคลอเรลล่าตายให้ลดปริมาณคลอรีนลงมา



วิธีการเลี้ยงคลอเรลล่า
การเพาะเลี้ยงคลอเรลล่าเพื่อเป็นอาหารแก่โรติเฟอร์และไรน้ำกร่อย โดยเลี้ยงในบ่อคอนกรีตหรือถังไฟเบอร์ ขนาดไม่ควรเล็กมาก โดยทั่วไปควรใช้บ่อขนาดตั้งแต่ 0.5 ตันขึ้นไป และต้องมีปริมาตรน้ำเลี้ยงไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ของปริมาตรน้ำเลี้ยงโรติเฟอร์และไรน้ำกร่อย บ่อต้องตั้งอยู่กลางแจ้ง ล้างบ่อให้สะอาด ตากให้แห้ง แล้วจึงเติมน้ำทะเลที่ฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนแล้วพร้อมปรับความเค็มให้อยู่ที่ระดับ 15-20 พีพีที ใส่พันธุ์คลอเรลล่าที่อัตราส่วน 1-5 ต่อ 5 ของปริมาตรน้ำเลี้ยง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นหัวเชื้อ ปริมาณน้ำจะใช้เต็มบ่อหรือครึ่งบ่อขึ้นอยู่กับปริมาณหัวเชื้อที่มี ถ้ามีน้อยให้เริ่มจากครึ่งบ่อก่อน แล้วค่อยขยายให้เต็มบ่อเมื่อเซลล์หนาแน่นขึ้น จัดให้มีอากาศอย่างเพียงพอ ปุ๋ยที่ใช้เลี้ยงใช้ปุ๋ยสูตร แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) จำนวน 100 กรัมต่อตัน, ปุ๋ยนา (16-20-0) จำนวน 15 กรัมต่อตัน และยูเรีย (46-0-0) จำนวน 5 กรัมต่อตัน ปริมาณปุ๋ยที่ใช้จะลดลงเมื่อเริ่มสูบน้ำคลอเรลล่าไปใช้เลี้ยงไรน้ำกร่อยคือ ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงครึ่งหนึ่งของอัตราปกติ ทั้งนี้เนื่องจากถ้าปุ๋ยที่ใส่ลงไปคลอเรลล่าใช้ไม่หมด แล้วสูบนำไปใช้เลี้ยงโรติเฟอร์และไรน้ำกร่อยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อโรติเฟอร์และไรน้ำกร่อยได้ ถ้าปริมาตรน้ำเต็มบ่อจะใช้เวลา 3 วันจึงจะสูบนำไปใช้ได้ หรือวัดความโปรงแสงได้ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร การเลี้ยงคลอเรลล่าสามารถจะทำการเลี้ยงอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการล้างและตากบ่อ ทั้งนี้จะต้องมีการควบคุมการปนเปื้อนของโปรโตซัว แพลงค์ตอนชนิดอื่น โรติเฟอร์ และไรน้ำกร่อยที่มีผลกระทบต่อการขยายพันธุ์ของคลอเรลล่า ด้วยการเติมคลอรีนผง 65 เปอร์เซ็นต์ ทุกวันในอัตราประมาณ 1 กรัมต่อน้ำ หนึ่งตัน หรือคลอรีนน้ำ 7 ซีซี. ต่อน้ำหนึ่งตัน ช่วงเวลาการใส่คลอรีนไม่ควรใส่พร้อมกับการใส่ปุ๋ย เพราะจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี และทำให้ประสิทธิภาพของคลอรีนและปุ๋ยลดต่ำลง ควรเว้นระยะเวลาการใส่ให้ห่างกันประมาณ 6 ชั่งโมง


ข้อดี
• น้ำที่เปี่ยมไปด้วยออกซิเจน ในระหว่างการ Photosynthesis ของพืช คาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนีย จะถูกใช้ไป ออกซิเจนจะถูกผลิตออกมาแทนที่ ปลาที่ได้รับ ออกซิเจน ในปริมาณที่มากจะเจริญอาหาร โตเร็วและแข็งแรง ผลพลอยได้ก็คือพัฒนาการที่ดีของปลา

• น้ำที่ปราศจากของเสีย Nitrite และ Nitrate ซึ่งเป็นพิษสำหรับปลา จะถูกกำจัดออกไปในกระบวนการ Photosynthesis

• ระบบกรองแบบธรรมชาติที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ น้ำเขียวสามารถถูกนำมาใช้แทนที่ระบบกรองที่ต้องลงทุนทั้งเม็ดเงินและเวลาในการดูแลรักษา

• ช่วยให้สภาพของน้ำไม่แปรปรวน คุณสมบัติที่ดีอีกอย่างของน้ำเขียว คือสามารถทำให้ไม่เกิดการแกว่งตัวอย่างเฉียบพลัน ของค่า pH ในน้ำ และเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำใส น้ำเขียวจะมีการปรับตัวของอุณหภูมิที่ช้ากว่าเมื่อต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอุณหภูมิโดยรอบ

• เป็นแหล่งอาหารชั้นยอด น้ำเขียวมีสัดส่วนของโปรตีน ในจำนวนมาก เและยังมี Carotene ที่เป็นสารเร่งสีแบบธรรมชาติสำหรับปลาอีกด้วย ช่วงฤดูหนาวปลาจะจำศีลและจะไม่มีการให้อาหารหรือเปลี่ยนน้ำเด็ดขาด น้ำเขียวจึงเป็นแหล่งอาหารที่ดี และยังช่วยคงสภาพน้ำในช่วงที่สภาพอากาศเลวร้ายอีกด้วย

• ช่วยลดความเครียดให้กับปลา ทุกท่านอาจเคยได้ยินว่าเวลาปลาป่วยให้ใส่ยาและปิดบ่อ เพื่อลดความเครียดของปลา น้ำเขียวก็สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกับการปิดบ่อ เพราะปลาจะมองเห็นแต่สีเขียวและจะไม่แตกตื่นง่ายต่อการเคลื่อนใหวของสิ่งต่างๆรอบข้าง


ข้อเสีย
• การขาด ออกซิเจน
ในขณะที่ตอนกลางวัน น้ำเขียวจะปล่อย ออกซิเจน ออกมาจำนวนมากและช่วยให้ปลาสดชื่นและเจริญอาหาร แต่ในตอนกลางคืนน้ำเขียวจะแย่ง ออกซิเจน และอาจทำให้เกิดการขาดออกซิเจน ได้แต่โดยรวมแล้ว ปลามักจะมีการเคลื่อนไหวน้อยและกินอาหารน้อยอยู่แล้วจึงไม่ต้องใช้ ออกซิเจน มากเท่าตอนกลางวัน แต่เพื่อความปลอดภัย การเติมอากาศให้เพียงพอจึงเป็นเรื่องสำคัญในตอนกลางคืน

• แผลเป็นที่เกิดจากออกซิเจน
บางท่านอาจจะเคยพบว่าเกิดฟองอากาศขึ้นตามครีบและหางบนตัวปลา เมื่อพยายามเขี่ยก็ไม่ออก สาเหตุของอาการดังกล่าวเกิดจากออกซิเจนที่ถูกผลิตออกมาในจำนวนมากโดยน้ำเขียวและได้เกิดการรวมตัวเป็นจำนวนมากในครีบหรือหางของปลาและเกิดภาวะระเบิดออกจากแรงอัดอากาศ ทำให้เกิดแผลเป็นขึ้น

• มองไม่เห็นปลา
การมองไม่เห็นปลาที่เราเลี้ยงก็มีความเสี่ยงในการรักษาปลาที่เป็นโรค หากพบอาการป่วยของปลาช้าเกินไป


การทำน้ำเขียวเลี้ยงปลา สามารถใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ได้
การทำปุ๋ยจุลินทรีย์
1. มูลสัตว์ 1 ส่วน
2. เศษฟาง หรือ ใบไม้แห้ง 1 ส่วน
3. รำอ่อนพอประมาณ
4. แกลบดิบ 0.5 ส่วน
5. น้ำจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์หัวเชื้อ 4 ช้อน + กากน้ำตาล 4 ช้อน + น้ำสะอาด 20 ลิตร)


วิธีการ
• นำส่วนผสมทั้งหมดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วค่อยๆราดน้ำจุลินทรีย์ที่ผสมแล้วลงไปเรื่อยๆจนได้ความชื้นที่เหมาะสมประมาณ 50%
• หมักกองใช้พลาสติกคลุมไว้ในที่ร่ม 5 วัน สามารถนำไปใช้ได้

วิธีการใช้
ทำน้ำเขียวในบ่อเลี้ยงปลา ใส่ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จำนวน 1-2 กิโลกรัม ทิ้งบ่อไว้ 7 วัน แล้วจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง





การเลี้ยงปลาด้วยวิธีทำน้ำเขียวโดยใช้ขี้ไก่กับปุ๋ยยูเรีย
การเลี้ยงปลาจะได้ผลดีมากน้อยเท่าไร จะขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญก็คือ
1. ลูกปลาที่ปล่อยต้องมีขนาดใหญ่ แข็งแรงจึงจะสามารถรอดจากศัตรูปลาได้
2. น้ำในบ่อต้องมีคุณภาพดี มีอาหารธรรมชาติมาก ซึ่งถ้ามีมากจะมีสีเขียว
3. ควรให้อาหารเสริมอย่างสม่ำเสมอ และให้จำนวนเพียงพอต่อความต้องการของปลาที่อยู่ในบ่อ


การทำน้ำเขียวมีหลายวิธี สามารถทำได้ใช้ต้นทุนต่ำ คือ การทำน้ำเขียวด้วยการใส่ขี้ไก่กับปุ๋ยยูเรียลงในบ่อเลี้ยงปลา วิธีทำน้ำเขียว คือ
1. รวบรวมขี้ไก่แล้วใส่ลงในบ่อปลา
2. ละลายปุ๋ยยูเรียในน้ำก่อน แล้วจึงใส่ในบ่อปลา ถ้าไม่ละลายปลาจะกินยูเรีย อาจทำให้ปลาตายได้

วิธีการใช้
การใส่ขี้ไก่กับปุ๋ยยูเรีย ควรใส่สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง



http://www.monmai.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2020 7:54 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/03/2013 1:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,891. Aquaponic System (การปลูกผักและเลี้ยงปลาพร้อมๆกัน)

ระบบ Aquaponics

การปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน
อควาโปนิกส์ (Aquaponics) คือ การรวมระบบของการเลี้ยงสัตว์น้ำและการปลูกพืชเข้าด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันทำได้โดยการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียนร่วมกับการปลูกพืชผักสมุนไพรด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งเป็นการพัฒนาขั้นสูงของนักวิจัยและผู้ปลูกพืชผัก เพื่อให้เกิดต้นแบบการผลิตอาหารแบบยั่งยืนเพื่อเลี้ยงประชากรโลกในอนาคต ปัจจุบันอควาโปนิกส์ เปรียบเหมือนต้นแบบของการผลิตอาหารแบบยั่งยืน โดยยึดถือหลักการที่แน่นอน ดังนี้คือ 1.ผลิตภัณฑ์ของเสียของระบบชีววิทยาชนิดหนึ่ง สามารถผลิตสารอาหารให้ระบบชีววิทยาอีกชนิดหนึ่งได้อย่างเหมาะสม 2.การรวมการผลิตพืชและการเลี้ยงปลาเป็นผลของการผลิตแบบหลากหลาย (Polyculture) ซึ่งจะเพิ่มความหลากหลายและได้ผลผลิตแบบทวีคูณ เป็นระบบนิเวศแบบเกื้อกูลกัน 3.น้ำถูกกรองโดยผ่านการกรองทางชีววิธี และนำกลับมาใช้ซ้ำและ 4.เป็นการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพปราศจากสารเคมีสามารถผลิตได้ทั่วไป ช่วยยกระดับเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นได้

ในระบบอควาโปนิกส์ น้ำที่ออกจากการเลี้ยงปลาอุดมไปด้วยธาตุอาหารพืช ซึ่งได้จากสิ่งปฏิกูลของปลาถูกนำมาใช้ในการให้ปุ๋ยกับระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งการปฏิบัติในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ดีสำหรับปลา เพราะรากพืชและจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณรากพืช จะใช้ธาตุอาหารเหล่านี้จากน้ำในถังเลี้ยงปลา สารอาหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีการผสมผสานกันหลายชนิดจากสิ่งปฏิกูลของปลา สาหร่ายและการย่อยสลายของอาหารปลา ซึ่งสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้จะทวีความเป็นพิษรุนแรงขึ้นในถังเลี้ยงปลา แต่สิ่งเหล่านี้ก็ทำหน้าที่แทนปุ๋ยสำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดโปรนิกส์

ในทางกลับกันรางปลูกไฮโดรโปรนิกส์ทำหน้าที่เป็นระบบกรองแบบชีววิธี ซึ่งจะเปลี่ยนสารประกอบพวกแอมโมเนียให้กลายเป็นสารประกอบพวกไนไตรท์และไนเตรทตามลำดับ รวมถึงสารประกอบในกลุ่มพวกฟอสฟอรัส ทำให้น้ำมีความสะอาดเพียงพอซึ่งจะถูกนำกลับมาใช้ในถังเลี้ยงปลา นอกจากนั้นยังพบว่าบักเตรีบางชนิด เช่น Nitrifying bacteria ที่เปลี่ยนแอมโมเนีย (NH3X) เป็นไนไตร์ (Nitrie) และไนเตรท (Nitrate) ที่อาศัยอยู่ในกรวดและอยู่ร่วมกับรากพืช สามารถแสดงบทบาทในวัฎจักรอาหาร ในกลุ่มของไนโตรเจนได้ ซึ่งถ้าปราศจุลินทรีย์เหล่านี้ระบบทั้งหมดจะหยุดทำงานทันที นักปลูกพืชและเกษตรกรได้พูดถึงอควาโปรนิกส์ได้หลายเหตุผล ดังนี้

1. ผู้ปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์ได้ให้มุมมองว่า สิ่งปฏิกูลขอปลาเปรียบเสมือนปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งทำให้พืชเจริญ
2. ผู้เลี้ยงปลาได้ให้มุมมองว่า การกรองโดยชีววิธี ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าการเลี้ยงปลาในตู้เลี้ยงทั่วไป
3. ผู้ปลูกพืชคิดว่า อควาโปนิกส์ เป็นวิธีที่จะผลิตผักไฮโดรโปนิกส์แบบอินทรีย์ สู่ตลาดที่มีความนิยมอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพราะการผลิตแบบนี้ได้ปุ๋ยจากมูลปลาที่มีคุณค่าซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ต้องหาธาตุอาหารให้กับการปลูกพืช
4. สามารถผลิตได้ทั้งปลาและผักในเขตทุรกันดาร
5. อควาโปนิกส์ เป็นต้นแบบที่สามารถทำงานได้จริงในการผลิตอาหารแบบยั่งยืน โดยเป็นการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์รวมเข้าด้วยกัน มีการหมุนเวียนสารอาหารและการกรองน้ำร่วมกัน

อควาโปนิกส์ นอกจากเป็นการประยุกต์ใช้เพื่อเชิงการค้า ยังเป็นแนวคิดที่นิยมในการถ่ายทอดในเรื่องของการรวมระบบทางชีววิทยากับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการเรียนการสอนทางเทคโนโลยีของอควาโปนิกส์เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน ต้องการการจัดการและการตลาดของผลผลิตที่แตกต่างกันสองผลิตภัณฑ์ จนกระทั่งปี 1980 ได้มีความพยายามอย่างมากที่จะผสมผสานไฮโดรโปนิกส์และการเลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำ และในที่สุดได้เกิดเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า อควาโปนิกส์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตอาหารที่ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี และเป็นการผลิตอย่างยั่งยืนไม่เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม



ดร.ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์
ฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

ระบบนี้กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ ซึ่งตอนนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ครับ หากเพื่อนๆสนใจ ลองค้นหาใน Google ดูโดยพิมพ์คำว่า Aquaponic ส่วนผมกำลังทดลองอยู่หากมีความคืบหน้าประการใดจะมาอัปเดทข้อมูลให้ได้ติดตามกันอีกครั้งครับ

หลังจากได้ลองศึกษาดูในเว็ปต่างๆ (ส่วนให้เป็นเว็ปนอก) ก็เลยลองออกแบบดู ได้หลักการทำงานตามภาพด้านล่างนี้ เหลือแค่ลอง ลงมือปฏิบัติจริงเท่านั้น









http://pphydrofarm.blogspot.com/2011/08/aquaponic-system.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/03/2013 2:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,892. ระบบสวนแนวตั้ง

สำหรับบ้านพื้นที่จำกัด และไม่มีเวลาดูแลรดน้ำ พรวนดิน





Ning iUrban
On February 10, 2013
http://iUrban.in.th

Here’s a great Vertical Garden design from Vertical Earth Gardens, perfect for space deprived farmers and fresh veggie lovers.

Vertical Earth Gardens สวนแนวตั้งอันนี้ ออกแบบโดย Mark DeMitchell และ Mike Tarzian แต่แรกเริ่มโครงการนี้เกิดขึ้นจากการออกแบบสวนให้กับ บ้านทางตอนเหนือของเมือง San Diego ที่มีพื้นที่จำกัด พวกเขาทำระบบการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวด้วยน้ำ หรือที่รู้จักกันดีว่า hydroponic system โดยใช้พื้นที่อย่างจำกัด และใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จนปัจจุบัน เขาทั้ง2 กลายเป็นผู้ผลิตระบบสวนแนวตั้งตามความต้องการ และรับบำรุงรักษาสวนแนวตั้ง ที่เป็นที่รู้จักดีของลูกค้าในย่านนั้น

ระบบสวนแนวตั้งของพวกเขา ใช้หลักการง่ายๆของการไหลเวียนน้ำ hydroponics และการใช้ท่อที่ลดระดับกันลงมา ทำให้เกิดการไหลเวียนน้ำ และใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพื้นที่ ประหยัดน้ำ ไม่ต้องมาคอยรดน้ำ พรวนดิน และมีน้ำหนักเบา ติดตั้ง ดูแลรักษาได้ง่าย นอกจากนั้น ยังหมดปัญหาเรื่องแมลงที่อยู่ในดิน หรือเกิดจากดิน
เป็นแนวทางปลูกพืชผัก และต้นไม้ที่น่าสนใจมากๆสำหรับบ้านพื้นที่จำกัดในเมือง
ใครๆก็อยากปลูกผักไว้ทานเองแบบไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องคอยดูแล รดน้ำ จริงไหม …

ใครมีฝีมือลองศึกษาพัฒนา ระบบสวนแนวตั้งแบบนี้ดู น่าจะเป็นที่ต้องการนะคะ ^ ^















ที่มา : www.greenupgrader.com



http://www.iurban.in.th/highlight/space-saving-vertical-earth-gardens/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 18/03/2013 12:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,893. "ไม้พะยูง" แพงที่สุดในโลก เหลือเพียงแห่งเดียวในโลก ประเทศไทย

แหล่งสุดท้ายของโลก ไม่พะยูงไทยใกล้สูญพันธุ์ อีกไม่เกิน 2 ปีมีโอกาศหมดแน่ เนื่องจากการปั่นราคาจนกลายเป็นไม้แพงสุดในโลก ลบ.ม.ละ 2.5-3 แสน ขนาดแค่ชี้จุดได้ต้นละ 5 พัน สาเหตุจีนมีความต้องการสูงเอาไปทำวัตถุมงคล-เครื่องเรือน





ขณะนี้สถานการณ์การลักลอบตัดไม้ทำลายป่ายังคงวิกฤติมาก โดยเฉพาะไม้พะยูงถือว่าเป็นอันดับต้น ๆ ที่มีการลักลอบตัดมากที่สุดในตอนนี้ จากในอดีตที่เคยเป็นไม้สัก ไม้กฤษณา แต่ปรากฏว่าในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ความต้องการของไม้พะยูงมีสูงมากในแถบประเทศจีน เวียดนาม ถึงขั้นมีนายทุนจากต่างชาติเข้ามาสร้างเครือข่ายตัดไม้พะยูง ในป่าบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก จ.สุรินทร์ และอุทยานแห่ชาติ ภูจองนายอย จ.อุบลฯ และเขาพระวิหาร ที่ยังเป็นแหล่งไม้พะยูงที่สมบูรณ์ ที่ผ่านมาถึงแม้เจ้าหน้าที่ได้สนธิกำลังร่วมกับทหาร ตำรวจปราบปรามอย่างเต็มที่ แต่ก็ปรากฏว่ายังคงมีไม้ถูกตัดออกจากป่าจำนวนมากเช่นกัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมและยึดไม้พะยูงของกลางไว้คิดเป็นมูลค่ามากถึง 1.9 หมื่นล้านบาท และรัฐบาลก็ไม่ให้นำไม้ออกมาขายทอดตลาด เพราะเป็นห่วงว่าจะถูกนายทุนพวกนี้มาซื้อไม้พะยูงกลับเอาไป

เพราะเวลานี้ในตลาดโลกมีการปั่นราคาไม้พะยูงจนราคาพุ่งสูงมากถึงตับละ 5 หมื่นบาท โดยไม้ 1 ตับ จะมีขนาดหน้าไม้ 20 x 40 เซนติเมตร ยาว 2 เมตร หรือราคาลูกบาศก์เมตรละ 2.5-3 แสนบาท หรือถ้าคิดเป็นต้นขนาด 1 คนโอบ ก็ราคาตั้งแต่ 3 แสนบาทขึ้นไป การลักลอบตัดไม้พะยูงนั้นจะทำเป็นขบวนการโดยมีทั้งในส่วนของคนไทยเองและชาวกัมพูชา โดยจะมีคนชี้เป้าว่ามีไม้พะยูงขึ้นอยู่จุดใดบ้างซึ่งมักจะเป็นคนพื้นที่ ซึ่งเพียงแค่การชี้เป้านี้ก็จะได้ค่าตอบแทนแล้วต้นละ 5,000 บาท

เวลานี้จึงถือว่าไม้พะยูงเป็นไม้ที่ราคาแพงมากที่สุดในโลกและแพงกว่าไม้สักซึ่งราคาลูกบาศก์เมตรละไม่กี่หมื่นบาทเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่ไม้พะยูงมีราคาพุ่งสูงมาก เนื่องจากมีความนิยมในการใช้ไม้ชนิดนี้ในประเทศจีนอย่างมาก โดยเริ่มจากการนำเข้าไม้ชนิดนี้ไปซ่อมแซมพระราชวังต้องห้าม ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี 2551 ต่อมาก็มีความนิยมนำไม้พะยูงไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ แต่ระยะหลังไม้พะยูงมีราคาพุ่งสูงขึ้นมาก

ทางนายทุนจึงหันมาทำเป็นวัตถุมงคลและของแต่งบ้านชิ้นเล็ก ๆ เช่น ตัวปี่เซียะ เทพเจ้า ฮก ลก ซิ่ว แทน อย่างไรก็ตามในส่วนของคนไทยไม่นิยมใช้ประโยชน์จากไม้พะยูง เพราะมีความเชื่อบางอย่าง จึงไม่นำไม้พะยูงมาทำเป็นไม้กระดาน เตียงนอน และบันไดบ้าน ใช้เพียงทำรั้วบ้านเท่านั้น สำหรับไม้พะยูงนั้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ตระกูลเดียวกับไม้แดง ไม้ประดู่ ที่สำคัญในเวลานี้ไม้พะยูงถือว่าเหลือเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก เพราะประเทศลาวที่เคยมีก็หมดไปแล้ว

"หากสถานการณ์การลักลอบตัดไม้พะยูงยังรุนแรงเช่นนี้ไปอีกเรื่อยๆ คาดว่าอีกไม่เกิน 2 ปี ไม่เพียงแต่ไม้พะยูงจะหายไปจากประเทศไทยเท่านั้น แต่จะหมายความว่ามันได้หายไปจากโลกอีกด้วย เพราะเป็นไม้ เนื้อแข็งมากที่ปลูกยาก โตช้า ใช้เวลามากถึง 40 ปี ถึงจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งพบว่า ตอไม้ที่ถูกตัดโค่นนั้นมีอายุเป็นร้อย ๆ ปี จึงน่าเสียดายเอามากๆ "


ข้อมูลของไม้พะยูงหรือพยุง
"พะยูง" เป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก ตะเคียน มีชื่อและความหมายดี เชื่อว่าบ้านใดปลูกไว้ประจำบ้าน จะทำใ้ห้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เพราะพยุงคือการประคับประคองให้คงอยู่ ให้มั่นคงหรือการยกให้สูงขึ้น

ต้นพะยูงจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร หรือก่อฐานประดิษฐ์ถาวรวัตถุต่างๆ คนไทยจัด ลำดับ " พะยูง" ให้อยู่ใน 9 ชนิดไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ในบ้าน ประกอบด้วย ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์, ทองหลวง, ไผ่สีสุก, กันเกรา, ทรงบาดาล, สัก, พะยูง, ขนุน กระทั่งมีกลอนบทหนึ่งที่กล่าวถึงไม้มงคลทั้ง 9 ในส่วนของไม้พะยูงว่า

"ไม้พะยูง พยุงฐานะงานทำนั้น ให้คงมั่นพลันยิ่งทุกสิ่งที่ ปลูกไว้กันนั้นคุณจุนเจือมี ไม้ดีดีไม่ดูดายขยายไป"

พะยูงเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบเรือนยอดทรงกมักขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือลมหรือรูปไข่ผลัดใบในหน้าแล้งและภาคตะวันออก

ส่วนเนื้อไม้ที่ได้จะมีสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียดแข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดีใช้ทำ เครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด และแม้แต่ ช้อน ส้อม


เรียบเรียงโดยทีมงาน thaicontractors
ข้อมูลจาก เว็บเดลินิวส์ และ เว็บ forest.go.th


http://www.thaicontractors.com/content/cmenu/5/116/574.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 18/03/2013 12:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,894. พาไปดูสวนแอปเปิ้ล








แอบเปิ้ลเป็นไม้ผลเมืองหนาวประเภทผลัดใบ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดทางยุโรป แหล่งปลูกที่สำคัญ ๆ ของโลกคือทวีปอเมริกา ยุโรปทางแถบเอเซียก็มี เช่น โซเวียต จีน ญี่ปุ่นรวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้วย สำหรับประเทศไทยนั้นเพิ่งจะถูกนำเข้ามาปลูกไม่กี่ปีนี้เอง ลักษณะต้นและใบ เป็นไม้เนื้อแข็ง รูปร่างของยอดที่เจริญเต็มวัยจะแตกต่างไปตามชนิดและตามพันธุ์ โดยทั่วไปต้นแอปเปิลมีรูปร่างเกือบเป็นทรงกลม แต่บางพันธุ์ก็มีลักษณะสูงชลูด บางพันธุ์ก็มีลักษณะเป็นพุ่มแจ้ ใบเป็นใบเดี่ยวเขียวสลับกันและขอบเป็นหยัก ผลคล้ายชมพู่มีรอยเป็นปุ๋มทางด้านขั้นและก้นผล แต่ไม่ลึกนักมีสีผิวต่างกันตั้งแต่สีเหลืองคล่ำจนถึงน้ำตาลแดงเข้ม เนื้อมักจะมีสีขาวหรือขาวนวลซึ่งมีลักษณะหยาบ แอปเปิลเป็นพืชในสกุล Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Malus domestica

พันธุ์แอปเปิ้ล
พันธุ์แอปเปิลมีประมาณ 2,000 พันธุ์ แต่ที่ดีและนิยมปลูกมีเพียง 4 พันธุ์ คือ
1. พันธุ์แอนนา เป็นพันธุ์ที่ผสมขึ้นมาในประเทศอิสราเอลเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลืองสดขนาดใหญ่ปานกลาง รูปผลค่อนข้างยาว
2. พันธุ์ เอน เชเมอ ผลค่อนข้างกลมขนาดเล็กว่า แอนนา เล็กน้อย สีเหนืองจัด ทั้ง 2 พันธุ์นี้ปลูกที่ดอยอ่างขางเริ่มจะให้ผลแล้ว
3. พันธุ์ โรม บิวตี้ เป็นพันธุ์ที่ปล่อยละอองเรณูหลังจากที่ออกช่อดอกเร็วที่จะสามารถรับเชื้อได้ ดังนั้น พันธุ์นี้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะใช้เป็นตัวถ่ายละอองเรณูแก่พันธุ์อื่น ๆ ได้
4. พันธุ์ แกลนด์ อเลกเซนเตอร์












http://www.learners.in.th/blogs/posts/291015
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/03/2013 11:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,895. ปุ๋ยทางใบ (foliar fertilizer)



1. พืชสามารถ ดูดสารอาหารเข้าทางใบได้หรือไม่ ?
ตอบ : อาหารส่วนใหญ่ที่พืชใช้ จะได้มาจากการดูดซึมของระบบราก ในส่วนของใบเองจะมีหน้าที่รับแสง และสังเคราะห์แสง รับและคายน้ำ จากงานวิจัยพบว่า สารอาหารต่างๆ สามารถซึมเข้าสู่ใบพืชได้เช่นกัน แม้จะไม่มากเท่ากับสารอาหารที่ได้มาจากระบบราก แต่ก็มีปริมาณที่มากพอให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เกษตรกรอาจคุ้นเคยกับการทำงานของ ไกลโฟเสต หรือยาฆ่าหญ้า ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งสารไกลโฟเสตนี้ พืชดูดซึมผ่านทางใบ จะเห็นว่าใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น



2. จริงหรือไม่ที่ ให้สารอาหารทางใบ ออกฤทธิ์ ได้เร็วกว่า การให้ผ่านทางระบบราก ?
ตอบ : จริง เพราะจริงๆ แล้วสารอาหารต่างๆ ที่พืช ดูดซึมมา จะต้องถูกลำเรียงมาที่ใบ เพื่อผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงให้เป็นอาหาร จากนั้นอาหารเหล่านี้จะถูกลำเลียงไปยังส่วนต่างๆของพืชอีกที ดังนั้นสารอาหารที่ให้ทางใบจะเข้าสู่กระบวนสังเคราะห์แสงทันที ที่เริ่มสัมผัสกับพืช จะเห็นว่าการให้สารอาหารทางใบจะเป็นการเพิ่มปริมาณสารอาหารบนใบพืช จากปกติที่ระบบรากของพืชสามารถหามาได้



3. ในเมื่อการให้อาหารทางใบ มีประโยชน์ เราสามารถ นำปุ๋ยเม็ดมาละลายน้ำ แล้วฉีดพ่นให้กับพืชได้หรือไม่ ?
ตอบ : ไม่ได้ เพราะสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช เมื่อฉีดพ่นทางใบ ต้องเป็นสารอาหารที่พืชสามารถนำไปสังเคราะห์แสงได้ทันที ปุ๋ยเม็ดที่เกษตรกรใช้ส่วนใหญ่ จะเป็นเกลือของสารประกอบ ซึ่งต้องผ่านการคัดกรองโดยระบบรากเท่านั้น พืชจึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ มิหนำซ้ำ ปุ๋ยบางชนิดอาจทำอันตรายพืช เมื่อให้ทางใบ



4. ทำไม การให้ปุ๋ยทางใบ จึงมีปริมาณสารอาหารเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการให้ทางราก ?
ตอบ : เนื่องจากการให้ปุ๋ยทางใบ สารอาหารต่างๆ ต้องอยู่ในสภาพที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที สารอาหารจึงมีความบริสุทธิ์สูง และการให้ทางใบ มีการสูญเสียไปกับสภาพแวดล้อมต่ำมาก เมื่อเทียบกับการให้ทางราก สารอาหารบางตัว การให้ทางใบเพีบง 1 กิโลกรัม จะให้ผลเท่ากับการให้ทางราก 20 กิโลกรัมทีเดียว



5. ทำไมสารอาหารทางใบจึงมีราคาแพง จะคุ้มค่าหรือไม่ ?
ตอบ : เนื่องจากสารอาหารต่างๆ ที่จะให้ทางใบได้ จะต้องถูกนำไปผ่านกระบวนการสลาย ให้อยู่ในรูปที่พืช สาม่รถดูดซึมทางใบ และนำไปใช้สังเคราะห์แสงได้ทันที ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนกว่า แต่จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า สารอาหารทางใบมีความบริสุทธิ์สูง จึงใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยทางดิน หากมองผลผลิตที่เพิ่มขึ้น นับว่าคุ้มค่ากว่ามาก



6. สารอาหารทางใบ ใส่ไปเพียงเล็กน้อย จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างไร ?
ตอบ : จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ปริมาณสารอาหารส่วนใหญ่ที่พืชใช้ในการสร้างผลผลิต ยังคงมาจากระบบราก ซึ่งในการเพาะปลูกจริงปริมาณอาหารถูกจำกัดโดย ประสิทธิภาพของระบบราก ซึ่งจะดี ไม่ดีขึ้นอยู่กับสภาพดินและคุณภาพน้ำ รวมทั้งโรคต่างๆ ซึงการให้สารอาหารทางใบ จะให้สารอาหารกับพืชเพิ่มขึ้นจากที่ระบบรากหาได้ การให้โดยตรงที่ใบ จะทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์แสงที่เพิ่มขึ้น จะกระตุ้นให้พืชดูดน้ำมากขึ้น ทำให้ระบบรากนำพาสารอาหารเข้าไปในลำต้นมากขึ้นด้วย และการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นอีก คล้ายปฏิกริยาลูกโซ่ จึงส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น



7. เมื่อให้สารอาหารทางใบแล้ว จำเป็นต้องให้ทางรากด้วยหรือไม่ ?
ตอบ : จำเป็นต้องให้ทางรากด้วย เพราะจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การให้สารอาหารทางใบ เป็นการกระตุ้นให้พืชดูดสารอาหารทางรากมากขึ้น และลดข้อจำกัดของระบบรากในพืช แต่ปริมาณสารอาหารส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมาจากระบบราก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น



8. เราสามารถให้สารอาหารทางใบ กับพืชทุกชนิดหรือไม่ ?
ตอบ : เกือบทุกชนิด แต่ประสิทธิภาพในการรับสารอาหารทางใบของพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน พืชที่มีใบใหญ่ ปากใบกว้างและเปิดนานกว่า จะดูดซึมได้ดีกว่า ซึ่งในพืชบางชนิด อัตราการดูดซึมปุ๋ยทางใบ ไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับผลผลิตที่เพิ่ม



9. เราควรฉีดพ่น อาหารทางใบให้กับพืชช่วงไหนดี ?
ตอบ : พืชจะดูดสารอาหารทางปากใบ เราจึงควรฉีดพ่นในช่วงเวลาที่ปากใบเปิด คือช่วงที่อากาศไม่ร้อนจัด ที่เหมาะสมจะเป็นช่วงเช้าของวัน หรือฉีดพ่นตอนเย็น เมื่ออากาศไม่ร้อนแล้ว

http://www.siamgreensil.com



ช่างเล็กๆ(LSV):
ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ยทางใบ

ข้อดี :
1. การปรับปรุงดินที่มีปัญหา ให้มีคุณสมบัติเหมะสมกับการใช้ปุ๋ยทางดิน ต้องใช้เวลาพอสมควร ในช่วงเวลาที่มีปัญหาดังกล่าว อาจแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ โดยการพ่นทางใบโดยตรง ซึ่งไม่ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องกับการตรึง หรือลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน

2. ในหลายกรณีการให้ปุ๋ยทางใบมีประสิทธิภาพสูงกว่าใส่ในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารเสริม

3. ในบางระยะของการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในระยะวิกฤต เช่น ก่อนออกดอก ในจังหวะเช่นนี้ ไม่มีวิธีใดให้ผลดีและรวดเร็วกว่าการให้ทางใบ หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ทันกับความต้องการ และกระทบกระเทือนต่อผลผลิตอย่างรุนแรง การให้ปุ๋ยพวกธาตุอาหารเสริมทางใบอาจไม่ต้องทำบ่อย การให้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมเพียงครั้งหรือสองครั้ง ก็เพียงพอไปจนตลอดชีพจักรของพืช

4. การให้ปุ๋ยทางใบ ได้ผลดีกับพืชที่มีใบใหญ่และใบมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยไว้ได้มาก วิธีนี้จึงให้ผลดีกับพืช ใบเลี้ยงคู่เช่น ไม้ผล ผักต่าง ๆ มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดียว เช่น ข้าว อ้อย ในกรณีที่รากพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากดินไม่ค่อยสมบูรณ์ มีการตรึงธาตุอาหารรุนแรง ธาตุอาหารสูญเสีย โดยการพังทลาย และการชะล้างอุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นในดินมีจำกัดรากมีบาดแผลหรือเริ่มเป็นโรคหรือระบบรากค่อนข้างจำกัดควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยการให้ปุ๋ยทางใบ

5. การให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อเสริมการใส่ในดิน จะให้ผลเด่นชัด เมื่อให้ตอนที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าและระหว่างการออกดอกขณะที่พืชออกดอกจะมีใบเต็มที่แล้ว แต่ความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากลดลง



ข้อจำกัด
1. ควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีเสริมการใส่ปุ๋ยทางดินตามปกติ

2. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และต้องการความชำนาญพอสมควร

3. พืชหลายชนิด ไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมีและสัณฐาน ลักษณะของพืช มีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบ และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย

4. หากใช้อัตราสูงเกินไป อาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่างรุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารเสริมจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก

5. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด ลมแรงหรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก

6. การพ่นปุ๋ย อย่าให้ถึงกับเปียกโชก เพราะสิ้นเปลีองค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาแพง ประสิทธิภาพของปุ๋ยพ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะมีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยที่ใส่ทางดินที่มีราคาถูกกว่ามาก

7. โดยปกติปุ๋ยที่ใช้อยู่ในรูปของอนินทรียสาร จึงกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไป



ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน



การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ มีข้อจำกัดหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จนทำให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้ อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบจะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าและเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ

1. ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย คือฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม

2. ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก

2.1 พืชกลุ่มที่ 1 พวกแตงต่าง ๆ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา มะเขือต่าง ๆ ผักกาดหอม ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด

2.2 พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกระหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง

2.3 พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง

3. การกำหนดอัตรา เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี เพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ ของเกษตรกรนั้น ส่วนใหญ่ใช้ประมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้นการลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง


เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ
ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อปุ๋ยนั้นอยู่ในรูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย



http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=89989.0;wap2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/03/2013 6:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,896. นางเฉิน ซู่ ฉู่ แม่ค้าผัก ผู้คว้ารางวัลแมกไซไซ





สืบเนื่องจากเมื่อต้นเดือนกันยายน ได้ฟังข่าวการมอบรางวัลแมกไซไซ และได้ทราบว่าหนึ่งในผู้ที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ คือ นางเฉิน ซู่ ฉู่ หญิงชาวไต้หวันแม่ค้าขายผักธรรมดาคนหนึ่ง… ด้วยเหตุผลใดแม่ค้าขายผักจึงได้รับรางวัลซึ่งเทียบเท่ากับรางวัลโนเบลสำหรับภูมิภาคเอเชีย

ความจริงแล้วนางเฉิน ซู่ ฉู่ มิได้เป็นบุคคลนิรนามแต่อย่างใด เพราะ ก่อนหน้านี้ เธอได้รับรางวัลบุคคลแห่งปีของทวีปเอเชีย จากนิตยสารรีดเดอร์ ไดเจสต์ ในปี 2553 และติดอันดับในกลุ่มบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุด 100 คนของโลกประจำปี 2553 ของนิตยสารไทม์อีกด้วย

"นางเฉินซู่ ฉู่ ปัจจุบันอายุ 63 ปี เธอจบการศึกษาเพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่6 และต้องออกมาทำงานขายผักเพื่อช่วยเหลือครอบครัว แต่ถึงแม้ว่าเธอจะได้รับการศึกษาแค่ป.6 แต่จิตใจของเธอสูงส่งกว่าการศึกษาที่เธอได้รับมากมายนัก เพราะเธอได้มอบเงินบริจาคเพื่อการกุศลต่างๆ รวม 10 ล้านเหรียญไต้หวัน เทียบเป็นเงินไทย ก็กว่า 10.2 ล้านบาท... เธอทำได้อย่างไร...

ในแต่ละวัน นางเฉินซู่ ฉู่ ได้แบ่งรายได้ที่ได้จากการขายผักไว้ส่วนหนึ่งเพื่อนำเงินจำนวนนั้นไว้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ เช่น การมอบทุนการศึกษษสำหรับเด็ก การสร้างห้องสมุดให้กับโรงเรียน และการช่วยเหลือเด็กกำพร้า ซึ่งส่งผลให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเธอทำให้ชีวิตของชาวไต้หวันมากมายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น... เธอบอกว่า "เงินจะมีคุณค่าเมื่อถูกนำไปใช้ช่วยเหลือคนที่ต้องการ และเธอมีความสุขทุกครั้งที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น"…ได้ฟังแล้วอยากบอกว่า... หัวใจเธอมันน่ากราบจริงๆ ค่ะ

นอกจากแม่ค้าผักจิตใจงามชาวไต้หวันผู้นี้แล้วยังมีผู้ได้รับรางวัลอีก 5 ราย ดังนี้
1. นายแอมโบรซิอุส รูวินดริจาร์โต นักปีนเขาชาวอินโดนีเซีย ผู้ก่อตั้งกลุ่มเทลาปัก ซึ่งเคลื่อนไหวต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศอินโดฯ ตั้งแต่ปี 2533

2. นางไซดา ริสวานา ฮาซาน ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนชาวบังกลาเทศ ซึ่งเป็น ทนายให้ชาวบ้านในชนบทที่รวมตัวเรียกร้องรัฐบาลบังกลาเทศ ยกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรมที่อนุญาตให้ประเทศตะวันตกนำซากเรือมาทิ้งในชุมชน จนได้รับผลกระทบหนักจากขยะปนเปื้อนเคมี

3. และนายคูเลนได ฟรานซิส ชาวอินเดีย ผู้ก่อตั้งกลุ่มพัฒนาศักยภาพชุมชนและผู้สนับสนุนบทบาทผู้หญิงในสังคม

4. นายโรมูโล ดาวิเด นักวิทยาศาสตร์ชาวฟิลิปปินส์ ผู้พัฒนาพันธุ์พืชชีวภาพให้มีความทนทานต่อแมลงศัตรูพืช

5. นายยัง แสง โกมา เกษตรกรชาวกัมพูชา ผู้รณรงค์ให้ชาวนาในประเทศของตนเลิกใช้สารเคมีและหันมาทำการเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น




http://www.apsw-thailand.org/2012Announcement.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/03/2013 7:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,897. ผู้บุกเบิกเครือข่ายแห่งความพอเพียง


โดย สุภาภรณ์ วรพรพรรณ
คณะทำงานส่วนกลาง


วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ "อาจารย์ยักษ์" อดีตข้าราชการ อดีตอาจารย์ด้านบริหารธุรกิจ ผู้หักเลี้ยวชีวิตมาพิสูจน์ความจริงว่าแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญาความพอเพียง คือแนวทางที่ช่วยให้ชีวิตร่มเย็นเป็นสุขอย่างแท้จริง และเป็นเกษตรกรรมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความมุ่งมั่นนี้ทำให้เกิดเป็น "ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง" ก่อให้เกิดการขยายเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงได้ถึง 46 ศูนย์ มี "ลูกศิษย์" เต็มบ้านเต็มเมือง และยังสร้างเครือข่ายแนวทางแห่งความพอเพียงนี้ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน


สำหรับนักพัฒนา นักสิ่งแวดล้อม เห็นทีว่าจะไม่มีใครไม่รู้จัก "อาจารย์ยักษ์" หรือวิวัฒน์ ศัลยกำธร สุภาพบุรุษตัวใหญ่ใจดี วัย 53 ปี ที่มีประวัติการทำงานยาวเหยียดและยาวนาน

อาจารย์ยักษ์ เคยเป็นผู้อำนวยการกองในสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เคยเป็นอาจารย์สอนด้านบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก การได้พบพูดคุยกับเกษตรกรมานานหลายปี ทำให้เขาพบว่าทุกข์ยากของเกษตรกรไทย คือการไม่สามารถปรับตัวออกจากวังวนเก่าๆ หนี้สิน สารเคมี และการหมุนไปตามพืชกระแสหลัก

วันหนึ่งในปี 2524 เขาทิ้งอดีตในเมือง หันมาใช้ชีวิตเกษตรกรตามบรรพบุรุษ ด้วยเหตุผลง่ายๆ เพียงข้อเดียว

"ผมต้องการพิสูจน์ให้เกษตรกรเห็นว่า ทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติมีความสุขแท้จริง ยังรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และยังช่วยให้โลกที่กำลังร้อนระอุ ร่มเย็นลง"

แผ่นดินนี้เราจอง
อาจารย์ยักษ์ เริ่มจากการบุกเบิกพื้นที่ 40 ไร่ ของพี่สาว ที่บ้านมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เป็นจากพื้นที่ป่าอ้อยทิ้งรกร้าง แห้งแล้ง ดินดาน การเริ่มต้นคนเดียว นอกเหนือจะเดียวดายแล้ว ยังเป็นความเหนื่อยยากแสนสาหัส เริ่มขอกล้าไม้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาขุดหลุมปลูก คลุมด้วยหญ้าแฝก รดด้วยน้ำหมักชีวภาพที่ทำเอง

"ผมมีแรงบันดาลใจจากพ่อแม่ที่เป็นชาวนา" อาจารย์ยักษ์ ท้าวความหลังว่า สมัยก่อนพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าดงดิบ มีการบุกถางตัดไม้เพื่อทำไร่อ้อย บ้านบึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีแต่อ้อย เมื่อป่าหมด ดินก็แห้ง อากาศแล้ง เพราะลมฝนที่มาจากทะเล ข้ามไปตกที่อื่นหมด เมื่อดินเสื่อมมาก ทำเกษตรไม่ได้ผล ผู้คนก็ทิ้งไร่ หันเข้าสู่โรงงาน

"3 ปีแรก ใช้เวลาปรับตัวมาก ต้องอดทน คืออยู่เมืองมันติดสบาย ความสบายนี่เจอแผลบเดียวติดแล้ว แต่ความลำบากมันยาก กว่าจะติดก็นาน ปีแรกๆ น้ำตาร่วงบ้าง มือไม้แตกเพราะมือไม่ด้านพอ เครื่องมือเครื่องไม้ก็ยังไม่ชำนาญ กว่าจะปลูกต้นไม้ต้นหนึ่งได้ ต้องขุดหลุมครึ่งวัน จ้างคนงานมาได้ครึ่งวันหนีกลับเลย เขาบอกไม่เอาสตางค์แล้ว...ลำบาก เราก็ต้องทำเองไปเรื่อยๆ ได้แต่นึกถึงพระองค์ท่านเพื่อเป็นกำลังใจ"

20 ปี ของความอดทน อาจารย์ยักษ์สร้างป่าผืนใหญ่ได้สำเร็จ เป็นการ "ตอบคำถาม" คนที่เคยสงสัยในเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ พื้นที่ 40 ไร่แห่งนี้กลายเป็น "ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง" แหล่งเรียนรู้การทำเกษตรเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้ยืนต้นกว่า 300 ชนิด มีการอบรมการทำเกษตรปลอดสารพิษ การปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ และการทำพลังงานชุมชน ภายใต้แนวคิดการบริหารพื้นที่ตามหลัก "ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และไม้ 5 ชั้น"

"ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง" หมายถึง ป่าไม้ที่ปลูกนั้นสมควรที่จะปลูกแบบป่าใช้ไม้ ป่าสำหรับใช้ผล และป่าสำหรับใช้เป็นฟืน ดังนั้นการปลูกป่า 3 อย่างให้ประโยชน์ 4 อย่าง ที่ให้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้นสามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่างคือ หนึ่งให้ไม้กินได้ สองให้ไม้เศรษฐกิจ สามให้ไม้ใช้สอย และสี่คือการช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธาร ซึ่งไม้ทั้งสามอย่างที่ปลูกนั้นต้องเป็นไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นไม้ที่สามารถเจริญเติบโตและเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ฉะนั้น การปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เป็นการปลูกไม้ให้เกิดขึ้นในใจของคนในชุมชนเป็นจิตสำนึก เป้นความตระหนัก เป็นความสัมพันธ์ที่สร้างความเกื้อกูล เป็นการสร้างป่าสร้างชุมชนที่ยั่งยืน

"ไม้ 5 ชั้น" เป็นการปลูกพืชแบบผสมผสานต่างระดับ หรืออาจเรียกว่าเป็นการปลูกพืชชในระบบวนเกษตรคือ จะมีไม้ยืนต้นเป็นไม้ใช้สอยหรือไม้ผล โดบให้ลักษณะของพืชที่ปลูกนั้นแบ่งเป็น 5 ระดับ ตามความสูงและความลึกของราก ชั้นบน (ระดับแรก) จะเป็นพืชที่ต้องการแสงมาก มีพุ่มใบไม่หนาทึบ เช่น มะพร้าว ตาล หมาก ชั้นที่สอง เป็นต้นไม้ที่มีใบพุ่มหนา เช่น ลำใย มะม่วง ลิ้นจี่ ชั้นที่สาม จะเป็นกล้วย กาแฟ โกโก้ ชา แคบ้าน หรือปลูกพืชไร่ที่ต้องการแสงน้อย เช่น ข้าวโพด ข้าวไร่ ชั้นที่สี่เป็นไม้เรี่ยดินหรือไม้เลื้อยได้แก่ ชะพลู พลู พริกไทย และชั้นที่ห้า เป็นไม้ใต้ดิน ได้แก่ ขิง ข่า กระชาย ขมิ้น เผือก ว่านหรือสมุนไพรต่างๆ ตามความเหมาะสม การปลูกไม้ 5 ชั้นจะช่วยให้ธาตุอาหารในดินหมุนเวียนและถูกใช้ไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ดินจะถูกปกคลุมตลอดเวลาและได้รับอินทรีย์วัตถุอย่างสม่ำเสมอจากใบไม้ที่ร่วงหล่น ลดความแรงของการตกกระทบโดยตรงของเม็ดฝน เพราะเรือนยอดของต้นไม้และไม้พื้นล่างที่ขึ้นคลุมดินอยู่จะช่วยรองรับน้ำฝนเป็นชั้นๆ โรคและแมลงก็จะมีน้อยลง ไม่ต้องใช้ยาปราบศัตรูพืช จึงเป็นวิธีการปรับปรุงดินที่ใช้ทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

เพื่อขยายแนวคิดอันทรงคุณค่านี้ อาจารย์ยักษ์ เริ่มหาแนวร่วมจากกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ และแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิถีการเกษตร เน้นการรณรงค์ให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี ลดการพึ่งพาสารเคมีและปุ๋ยเคมีที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ หันกลับมาพึ่งตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน ในที่สุดก็สามารถจัดตั้งเป็น "ชมรมกสิกรรมธรรมชาติ" ในปี 2540

ชมรมฯ ออกรณรงค์เผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องการทำกสิกรรมธรรมชาติ เริ่มจากการผลิตเอนไซม์ สมุนไพรธรรมชาติใช้เองในนาข้าวและพืชชนิดอื่น ๆ ทั้งพืชผักและไม้ผล รวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่ทดลองก็คือศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จากนั้นก็นำประสบการณ์ไปเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกันก็ศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเอ็นไซม์สมุนไพรธรรมชาติ สมุนไพรไล่แมลง โดยนำไปทดลองในพื้นที่เกษตรกรกว่า 50 จังหวัด ทั่วทุกภูมิภาค ประเภทพืชที่ทำการทดลอง ได้แก่ ข้าว พืชตระกูลแตง พืชตระกูลถั่ว หอมแดง หอมแบ่ง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพด มันสำปะหลัง ไม้ไผ่ตง อ้อย ยางพารา ทุเรียน มังคุด ลองกอง ส้ม มะม่วง ขนุน ลำไย มะไฟ ฯลฯ ส่วนด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงปลานิล เป็นต้น

เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
4 ปีของการทำงาน ชมรมฯ เริ่มมีประสบการณ์ สมาชิกจึงเริ่มคิดถึงการทำงานที่ยั่งยืน จึงได้จดทะเบียนเป็น "มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ" เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นการนำโครงการต่าง ๆ ที่ชมรมได้ดำเนินการมาสานต่อ และเผยแพร่ ขยายให้กว้างไกลยิ่งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

เพื่อเป็นศูนย์ค้นคว้าวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการกสิกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์ การปศุสัตว์ การพลังงาน การแพทย์ เภสัชกรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้ภูมิปัญญาตะวันออก

เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรม ถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพให้กับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชน

เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลภายใต้โครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เพื่อเป็นสถานที่จัดทำแปลงสาธิตในเรื่องของการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้กับสมุนไพร ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผักสวนครัว และนาข้าวเพื่อให้ความรู้ และเป็นแปลงตัวอย่างให้กับกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่นและเกษตรกรอื่นๆ ที่สนใจ

เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตรในอดีตโดยจะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชาวนาต่อไป

เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้กับผู้ที่สนใจทางด้านการเกษตรแบบธรรมชาติเข้าแวะชม และแสวงหาความรู้

เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมที่เปิดให้กับหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนต่างๆ ที่สนใจใช้เป็นสถานที่จัดอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรทุกประเภท
เป้าหมายในการดำเนินงาน

ดำเนินการจัดตั้งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ซึ่งเป็นศูนย์เครือข่ายของมูลนิธิในแต่ละภูมิภาคให้ได้ไม่น้อยกว่า 25 แห่ง ภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้ศูนย์ทำหน้าที่ในการจัดการฝึกอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรในภาคการเกษตร

ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ เอ็นไซม์สมุนไพรธรรมชาติทั้งชนิดน้ำ ชนิดเม็ด ฮอร์โมน และสมุนไพรไล่แมลง เพื่อทดแทนเทคโนโลยีเคมี

สนับสนุนให้ชุมชนพึ่งตนเองให้ได้ทั้งในเรื่องปัจจัยการผลิต การแปรรูปและการตลาดครบวงจร โดยจัดให้มีการจัดตั้งร้านค้า สหกรณ์ประจำชุมชน

สนับสนุนให้ความร่วมมือและคำปรึกษากับองค์กรต่างๆ ทั้งกลุ่มเกษตรกร ชมรม และสหกรณ์ ในการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า เพื่อพัฒนาและขยายการผลิต รวมถึงเศรษฐกิจของชุมชน

การดำเนินงานของเครือข่ายฯ ได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กร อาทิ เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ สถาบันแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง หน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง เป็นต้น อีกทั้งได้รับความช่วยเหลือจากเกษตรกรในหลายๆ จังหวัด ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติทั้ง 36 ศูนย์ ที่อาจารย์ยักษ์ได้ร่วมก่อตั้ง

ผลจากการทำงานที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ได้แก่
จัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง 46 ศูนย์ ซึ่งพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอบรมของเครือข่ายแล้ว 19 ศูนย์ฝึกและศูนย์เตรียมการเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอบรม 27 ศูนย์เตรียมการ ซึ่งกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ และได้มีการขยายเครือข่ายไปยังประเทศกัมพูชาในชื่อศูนย์กสิกรรมธรรมชาติกรุงไพลิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศกัมพูชา

สามารถผลิตและเผยแพร่เอนไซม์สมุนไพรธรรมชาติใช้เองในนาข้าว และพืชชนิดต่างๆ ทั้งไม้ผลและพืชผัก รวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในพื้นที่ของเกษตรกรกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ

เป็นต้นแบบในการสร้างกระบวนการถ่ายทอดความคิด และวิธีปฏิบัติให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจเดินตามแนวพระราชดำริ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ได้อย่างชัดเจนและเป็นไปได้ "ศาสตร์" เพื่อสร้างนักพัฒนาท้องถิ่น

อาจารย์ยักษ์ มักจะพูดกับคนใกล้ชิดเสมอว่า เขาเป็นข้าของแผ่นดิน ดังนั้นจึงมีพันธะสัญญาต่อแผ่นดิน พันธะดังกล่าวทำให้อาจารย์ยักษ์ร่างยุทธศาสตร์เพื่อการทำงานไว้ 4 ข้อ เป็นจุดมุ่งหมายที่วางไว้สำหรับการทำงานในอนาคต

ปลูกวัฒนธรรมพอเพียงให้เกิดขึ้นในสังคม ด้วยการทำกสิกรรมพอเพียง ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นก้าวหน้า และปลูกวิถีชีวิตที่แสนง่าย ไม่มักใหญ่ รักสงบ ขยัน เผื่อแผ่ เอื้ออารี และรู้จักทาน

ฝึกเทคนิคเทคโนโลยีธรรมชาติ เช่น การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทั้งชนิดน้ำ ชนิดเม็ด และชนิดผง ทำยา ยาฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย ทำฮอร์โมน เพื่อเพิ่มดอก เพิ่มรส ฝึกเลี้ยงสัตว์ สัตว์บก สัตว์น้ำ

สะสมทุน ทุนธรรมชาติ ทุนสังคม ทุนเงิน จะเอาแต่ทุนเงินอย่างเดียวไม่พอ

ฝึกจัดการ จัดการตัวเอง ตั้งแต่เรื่องกาย เรื่องใจ จัดการให้มีความมุ่งมั่น และฝึกจัดการกลุ่ม สังคมและประเทศชาติ

นอกจากนี้ เขายังสร้าง "ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย" ซึ่งเป็นการรวบรวมระบบการศึกษาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในทุกด้าน โดยได้รับการสนับสนุนจากสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร และได้รับการบริจาคที่ดินเพื่อจัดสร้างมหาวิชชาลัยที่จังหวัดสระแก้ว แนวคิดในการดำเนินงานคือ สร้างบัณฑิตให้เป็นนักพัฒนาในท้องถิ่นของตนเอง

"ผมไม่มีความสามารถถ่ายทอดศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องมีมหาวิทยาลัยทำเรื่องนี้เฉพาะ ต้องจัดระบบ ต้องรวบรวมและถ่ายทอดเพื่อรับมือกับศาสตร์ของตะวันตก"

มหาวิชชาลัยปูทะเลย์ เป็นตักศิลาในเรื่องพระมหาชนก "วิชชา" แปลว่า "ศาสตร์" วิชชาเป็นความรู้ที่มีธรรมประกบ ในขณะที่วิทยา แปลว่า รู้

"พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้ามีความรู้มาก คุณธรรมไม่พอ ความรู้นี้จะเป็นโทษ ถ้าคุณธรรมเท่ากับความรู้จะมีประโยชน์ ถ้าคุณธรรมสูง ความรู้ไม่พอ ก็ประโยชน์น้อย แต่ยังไม่อันตรายเท่ากับความรู้มาก แล้วคุณธรรมตามไม่ถึง
นี่อันตรายที่สุด"

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จุดประกายความคิดให้แก่ผู้คนไปถึง 188 รุ่นใน 20 ปีที่ผ่านมา นักคิดเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วประเทศ หลายคนมีโอกาสนำแนวคิดที่ได้ ไปสร้างนักคิดให้เพิ่มขึ้นในแผ่นดินอีกมากมาย

เมื่อเหลียวดูข้างตัว เราอาจพบลูกศิษย์คนหนึ่งของ "อาจารย์ยักษ์" ก็เป็นได้



ชื่อ-นามสกุล : นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
ที่อยู่ : 114 ซอย 2 หมู่บ้านสัมมกร ถนนรามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์/โทรสาร : 02 729 4456 อายุ : 53 ปี

การศึกษา :
- ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
- ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- มัธยมศึกษา โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพฯ โรงเรียนประชาสงเคราะห์ (หัวไผ่) จ.ชลบุรี
- ประถมศึกษา โรงเรียนวัดอินทาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงเรียนวัดสนามจันทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

การทำงาน : ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

เกียรติประวัติ : ได้รับพระราชทานเหรียญตราส่วนพระองค์ คือ เหรียญฯ รัตนาภรณ์
ระยะเวลาการทำงาน : 25 ปี (พ.ศ. 2525 - ปัจจุบัน)

ผลงาน
จัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง 46 ศูนย์ ซึ่งพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอบรมของเครือข่ายแล้ว 19 ศูนย์ฝึกและศูนย์เตรียมการเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอบรม 27 ศูนย์เตรียมการ ซึ่งกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ และได้มีการขยายเครือข่ายไปยังประเทศกัมพูชาในชื่อศูนย์กสิกรรมธรรมชาติกรุงไพลิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศกัมพูชา

สามารถผลิตและเผยแพร่เอนไซม์สมุนไพรธรรมชาติใช้เองในนาข้าว และพืชชนิดต่างๆ ทั้งไม้ผลและพืชผัก รวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในพื้นที่ของเกษตรกรกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ

เป็นต้นแบบในการสร้างกระบวนการถ่ายทอดความคิด และวิธีปฏิบัติให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจเดินตามแนวพระราชดำริ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ได้อย่างชัดเจนและเป็นไปได้



http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2550/personal-06.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/03/2013 7:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,898. ข้าวพันธุ์ใหม่ของโลกที่น่ากลัว


ดลมนัส กาเจ
เขียนโดย admin


คราว ที่แล้วได้พูดถึงมีการร่วมสัมมนาว่าด้วย "สถานภาพ ผลกระทบเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรอันผลเกิดจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ" ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคมที่ผ่านมา และทราบว่าขณะนี้มี 5 ประเทศประกอบด้วย อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บังกลาเทศ และเวียดนาม กำลังดำเนินโครงการที่เรียกว่า "ไบโอ เฟอร์ติไฟด์" (Biofertified) เป็นโครงการพัฒนาพันธุ์ข้าว จีเอ็มโอ ใหม่ โดยนำข้อดีของข้าวแต่ละประเทศมาวิจัยและพัฒนากันครับ

ที่บอกว่าหากข้าวจีเอ็มโอพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาจากโครงการ "ไบโอ เฟอร์ติไฟด์" ประสบผลสำเร็จเป็นเรื่องที่น่ากลัวนั้น ไม่ได้แปลว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรอกครับ แต่เป็นอันตรายในเชิงของการค้า ที่ข้าวพันธุ์ใหม่อาจเป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกของไทยเรา ขนาดข้าวลูกผสมหรือข้าวไฮบริดของเวียดนามที่ให้ผลผลิตถึงไร่ละ 1,50-2,000 กก.ตอนนี้ตีตลาดข้าวไทยระดับล่างกระเจิงไปแล้ว

ข้าวพันธุ์ใหม่ที่ 5 ประเทศ กำลังพัฒนาภายใต้โครงการนี้ ไม่เพียงแต่จะเน้นในเรื่องการต้านทานโรคแมลง หรือโรคศัตรูพืช อย่างที่เราเคยเห็นพันธุ์ข้าวโพด บีที (BT) หรือพืช บีที อื่นๆ แต่ได้การพัฒนาที่ไกลไปกว่านั้น คือ นอกจากจะต้านทานโรคแมลงศรัตรูพืช ให้ผลผลิตสูง รสชาติตามที่ตลาดต้องการแล้ว ยังมีการเตรียมรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้ครบถ้วนทั้งคาโบไฮเดรต. วิตามิน เอ. วิตามิน อี. ธาตุเหล็ก และแมงกานีส เป็นต้น

นั่นหมายถึงว่าข้าว บีที พันธุ์ใหม่ที่ว่านี้สามารถทนทานต่อทุกสภาพของภูมิอากาศ สามารถปลูกได้ในสภาพที่แล้ง น้ำท่วม ทนต่อดินเค็ม ปลูกได้บนดอน และที่ราบต่ำ ที่สำคัญเป็นข้าวที่มีสารอาหารอย่างครบครัน ตามที่มนุษย์ต้องการ เพราะมีการนำยีนของสุดยอดพันธุ์ข้าวในแต่ละท้องถิ่นของแต่ละประเทศมาสกัด เพื่อผลิตข้าวพันธุ์ข้าวใหม่ และมาผสมกันอีก ถือเป็นข้าว บีที หรือข้าว จีเอ็มโอ ลูกผสมพันธุ์ใหม่ครับ ตอนนี้ได้ผ่านขั้นตอนการทดลองที่ผ่านในระดับแปลงแล้ว รอเพียงขั้นตอนที่จะให้เกิดความนิ่งของสายพันธุ์เท่านั้น คาดว่าอีก 2 ปี จะสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรได้

ลองนึกดูครับ เมื่อข้าวพันธุ์ตัวนี้มีการปลูกแพร่กระจายไป 5 ประเทศ ให้ผลผลิตที่สูง ทนต่อทุกสภาพอากาศ ต้นทุนต่ำ คุณค่าโภชนาการสูง ลูกค้าจะเลือกซื้อข้าวจากที่ไหน ยิ่งของเราไปรับจำนำจากเกษตรกรที่ตันละ 1.5-2 หมื่นบาทต่อตัน จะทำให้ข้าวไทยมีราคาที่สูง แล้วจะเอาอะไรไปสู้เขาได้

เลิกคิดว่าคนไม่กล้ากินข้าว จีเอ็มโอ ขณะที่บ้านเราต่อต้านพืช จีเอ็มโอ แต่บริโภคถั่วเหลือง จีเอ็มโอ มาจากอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา มานานเท่าไรแล้ว ทุกวันนี้พืช จีเอ็ม มีขายกันทั่วโลก คนบนเกาะฮาวายกินมะละกอ จีเอ็มโอ เกือบ 20 ปีแล้ว ไม่มีใครเป็นอะไร แต่ชาวเยอรมันกินถั่วงอกอินทรีย์ เรียบร้อยไปแล้ว 22 ศพ

อย่าลีมครับ พืช จีเอ็มโอ สมัยนี้มาจากการตัดแต่งพันธุกรรมของพืชกับพืชด้วยกัน ไม่ใช่ยีนหรือไวรัสจากสัตว์เหมือนสมัยก่อน และที่สำคัญการปลูกพืช จีเอ็มโอ จะไม่ใช้สารเคมีแต่อย่างใด ฉะนั้นผลผลิต คือ พืชที่ปลอดสารเคมีอย่างแท้จริงครับ




http://www.safetybio.agri.kps.ku.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=8441&Itemid=42
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/03/2013 11:43 am    ชื่อกระทู้: 1,899. แฉ ไทยนำเข้าสารเคมี สูงเท่าตึกใบหยก 2 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,899. แฉ ไทยนำเข้าสารเคมี สูงเท่าตึกใบหยก 2



เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 18 ก.พ.56 ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ น.พ.พิบูลย์ อิสรพันธุ์รองผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในเวที สช.เจาะประเด็นเรื่อง "นโยบายเกษตรเพื่อสุขภาพ : แบน 4 สารเคมีเกษตรก่อมะเร็ง" ว่า ในปี 2554 ประเทศไทยนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชสูงถึง 20,875 ล้านบาท หรือประมาณ 520,312 ตัน เท่ากับขวดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 46 เมตร สูงเท่าตึกใบหยก 2 ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาประเมินความเสี่ยงกลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป โดยปี 2554 ทำการตรวจเลือดเกษตรกร 74 จังหวัด จำนวน 533,524 คน พบมีสารเคมีปนเปื้อนในเลือดเกินมาตรฐานคือ 100 ยูนิต ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยถึง 173,243 คน คิดเป็นร้อยละ 32 ส่วนประชาชนทั่วไปตรวจจำนวน 99,283 คน พบไม่ปลอดภัย 35,949 คน คิดเป็นร้อยละ 36

ผศ.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีกลไกกำกับการขึ้นทะเบียน การใช้สารเคมี และการนำเข้าสินค้าที่รัดกุม ซึ่งไทยกำลังเผชิญปัญหาการส่งสินค้าทางการเกษตร เพราะบ้านเรานิยมใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสารเคมี 4 ชนิด ได้แก่ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น ทำให้ปริมาณผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีเกษตรมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งแบบเฉียบพลัน เช่น ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ระบบประสาท หัวใจ ระบบสืบพันธุ์ ทำลายอสุจิ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ชัก และแบบระยะยาว เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน และสารเหล่านี้จะซึมลึกถึงระดับดีเอ็นเอ นำไปสู่ความบกพร่องของการสร้างเอนไซม์หรือฮอร์โมนต่างๆ

"การที่สารเคมีเข้าไปสะสมใน ดีเอ็นเอ จะทำให้เด็กแรกเกิดมีโอกาสเป็น - ออทิสติก นอกจากนี้ ยังพบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากถึง 2 ล้านคนต่อปี ซ้ำยังนำสารเคมีมาใช้ในทางที่ผิดด้วยการทำร้ายตนเองมากขึ้น หากภาครัฐไม่เร่งแก้ปัญหาจะมีผู้ป่วยโรคร้ายแรงสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะเกษตรกรซึ่งพบว่า มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าอาชีพอื่น 4 เท่า ทุกหน่วยงานจึงควรร่วมกันแก้ปัญหา ด้วยการยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีทั้ง 4 ชนิด และปฏิรูประบบการดูแลสารเคมีให้มีประสิทธิภาพ" ผศ.นพ.ปัตพงษ์ กล่าว



http://www.ryt9.com/s/bmnd/1592733
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 31/03/2013 8:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,900. ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐส่งเสริมให้ชาวนาเลิกไถหน้าดิน


ชาวนามักไถหน้าดินก่อนการปลูกพืชมาตั้งแต่โบราณแต่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรในสหรัฐชี้ว่าการไถหน้าดินสร้างผลเสียเพราะทำให้หน้าดินพลังทลายง่ายและแนะนำให้ชาวนาในสหรัฐเลิกไถหน้าดิน





ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เกิดพายุฝุ่นขนาดยักษ์สูงถึงสองกิโลเมตรพัดผ่านเมือง Lubbock ในรัฐเท็กซัสเพราะมีภัยแล้งและอากาศร้อนจัดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนานถึงสองเดือนในรัฐนี้

ย้อนเวลากลับไป 70 ปีที่แล้ว รัฐเท็กซัสได้ชื่อว่าเป็นเป็นแอ่งฝุ่น เกิดพายุฝุ่นรุนแรงและบ่อยครั้งมากสร้างความเสียหายแก่พื้นที่การเกษตร

ในยุคคริสศตวรรษที่ 18 ชาวนาเข้าไปตั้งรกรากในพื้นที่ราบสูง Great Plains ของสหรัฐในเขตรัฐเท็กซัส ชาวนาไถหน้าดินทุกครั้งก่อนการปลูกข้าวสาลี ทำให้หน้าดินร่วนมาก สามร้อยปีต่อมาเกิดพายุฝุ่นรุนแรงสร้างความเสียหายแก่การเกษตร หน้าดินถูกพัดหายไปกับสายลม ผู้คนหลายล้านคนต้องอพยพออกจากพื้นที่เพราะที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ แห้งแล้ง ทำกินต่อไปไม่ได้

คุณซัลวาดอร์ ซัลลีนนัส หัวหน้าฝ่ายการสงวนแห่งรัฐเท็กซัส กล่าวว่าแม้ว่าพายุฝุ่นเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมารุนแรง แต่เท็กซัสจะไม่กลับไปผจญกับวิกฤติิพายุฝุ่นเหมือนที่เคยขึ้นในอดีตอีกแล้ว เพราะปัจจุบันชาวนาในรัซเท็กซัสเลิกไถหน้าดินก่อนปลูกพืช

ชาวนาทั่วโลกไถพรวนหน้าดินเป็นเรื่องปกติมานมนานเพื่อเตรียมดินก่อนการหว่านเมล็ดและขุดวัชพืชทิ้ง แต่การไถหน้าดินเป็นผลเสียทำให้หน้าดินแตก ลมพายุและฝนสามารถกัดเซาะหน้าดินออกไปได้ง่าย

คุณบราม โฮเวิร์ทส์ หัวหน้าโครงการการเกษตรเชิงสงวนที่ศูนยพัฒนาข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ กล่าวว่า ในบางพื้นที่ของประเทศเม็กซิโกที่มีพื้นที่ชายแดนติดกับรัฐเท้กซัสของสหรัฐ หน้าดินพังทลายจนเกษตรกรไม่สามารถใช้ที่ดินปลูกพืชต่อไปได้ คุณโฮเวิร์ทส์ แนะวิธีแก้ปัญหาหน้าดินพังทลายที่ดีที่สุดคือเลิกไถพรวนที่ดินทั้งผืนโดยเด็ดขาด

ปัจจุบันเกษตรกรบนพื้นที่ราบสูงเท็กซัสใช้เครื่องมือพิเศษในการขุดดินเป็นแถวๆเฉพาะที่จะปลูกเมล็ดพืชและหยอดปุ๋ยเท่านั้น ไม่ไถพรวนที่ดินทั้งผืน คุณเดวิด ฟอร์ด ชาวนาที่รัฐเท็กซัส กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าชาวนาจะทิ้งกอข้าวสาลีหรือเศษใบไม้ไว้บนที่ดินโดยไม่ขุดทิ้งหรือฝังกลบเหมือนแต่ก่อน เศษใบไม้ กอข้าวสาลีหรือกอข้าวโพดจะช่วยคลุมหน้าดินให้ชุ่มชื้นไม่โดนลมโดนแดดแล้วยังช่วยยึดหน้าดินเอาไว้ไม่ให้แตกซุย

คุณเดวิด ฟอร์ด ชาวนาคนนี้บอกว่าเทคนิคใหม่ข้างต้นช่วยให้เขาปลูกข้าวโพดได้ผลผลิตน่าพอใจในปีนี้ แม้ว่าสภาพอากาศในเท็กซัสจะแห้งแล้งและมีพายุฝุ่นก็ตาม นอกจากนี้การเลิกไถพรวนดินยังช่วยประหยัดเงินด้วยเพราะใช้น้ำมันน้อยลง

เกษตรกรชาวสหรัฐส่วนใหญ่เป็นเกษรกรรายใหญ่ที่มีพื้นที่เพาะปลูกกว้างขวาง แต่คุณบราม โฮเวิร์ทแห่งศูนย์พัฒนาข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติกล่าวว่าเทคนิคการเกษตรใหม่นี้สามารถใช้ได้กับชาวนารายเล็กได้ด้วย โดยทางศูนย์กำลังช่วยออกแบบเครื่องมือขุดดินแบบใช้มือจับนี้อยู่เพื่อให้เหมาะชาวนารายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรชาวสหรัฐท่านนี้บอกว่าทางศูนย์ต้องการให้มีการประกอบเครื่องมือสมัยใหม่ในท้องถิ่นเพื่อให้ชาวนาขนาดเล็กได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ

ผลการวิจัยด้านการเกษตรในสหรัฐชี้ว่า ชาวนาได้ผลผลิตการเกษตรที่ดีขึ้นเมื่อใช้เครื่องมือเหล่านี้ ในขณะที่ยังประหยัดเงินค่าลงทุนด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่าเมื่อมาถึงการไถพรวนดินเทคนิคที่ทำมาแต่โบราณ ยิ่งไถน้อยเท่าไหร ก็ยิ่งดีเท่านั้น



http://www.voathai.com/content/throw-away-the-plow-tk-134723788/925180.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 31/03/2013 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,901. พริกออสเตรเลียเผ็ดที่สุดในโลก




พริกพันธุ์ Trinidad Scorpion Butch T จากออสเตรเลียเผ็ดที่สุดในโลกที่ 1,464 ล้านหน่วยความเผ็ด Scoville

สถิติของ Guinness Book of World Record ระบุว่าพริกเผ็ดที่สุดในโลกขณะนี้คือพันธุ์ Trinidad Scorpion Butch T ที่ปลูกในรัฐควีนแลนด์ของออสเตรเลีย โดยมีระดับความเผ็ดที่ 1,464 ล้านหน่วย Scoville ซึ่งเป็นหน่วยวัดความเผ็ดของพริก ส่วนซ๊อสพริกเผ็ดที่สุดนั้นคือยี่ห้อ “Blair’s 16 Million Reserve” โดยเผ็ดที่ระดับ 16 ล้านหน่วย Scoville

ซ๊อสพริกดังกล่าวเป็นของนาย Blair Lazar ซึ่งเริ่มธุรกิจซ๊อสพริกเผ็ดเมื่อราว 20 ปีที่แล้วขณะที่เขาทำงานเป็นบาร์เทนเดอร์ และใช้ซ๊อสพริกนี้เป็นวิธีไล่แขกผู้ไม่ยอมกลับบ้านเมื่อเวลาร้านปิด โดยเขาเดิมพันกับลูกค้าให้กินปีกไก่ราดซ๊อสดังกล่าวว่าหากทนได้ก็จะให้นั่งอยู่ต่อไป ซึ่งปรากฏว่าไม่มีใครสามารถทนได้ และหลังจากนั้นความนิยมซ๊อสเผ็ดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้นมา และความนิยมเรื่องนี้อาจอธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์ว่า เมื่อเรากินพริกเผ็ดเข้าไปความเผ็ดจะไปกระตุ้นประสาทรับความเจ็บปวด ซึ่งจะปล่อยสารเคมีเอ็นโดฟินที่ทำให้เรารู้สึกปิติเคลิบเคลิ้มออกมา


http://www.voathai.com/content/world-hottest-chili-ct/1630137.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/04/2013 6:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,902. บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร


เกษตรธรรมชาติ ถือว่า “ดินดี คือ ดินที่มีชีวิต” เป็นดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน สมดุลของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินสภาพธรรมชาติก็คือ ความเหมาะสมในด้านของจำนวนจุลินทรีย์ และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ดินที่เหมาะสมที่สุดในการทำการเกษตรคือ ดินที่มีจุลินทรีย์อยู่หลายกลุ่ม ตัวอย่างของดินดีชนิดหนึ่งคือ “ดินป่า” นั่นเอง


ในอดีตสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีอยู่ในดินป่า ในป่าซึ่งมีสารอินทรีย์ในรูปใบไม้หรือซากพืชซากสัตว์ที่เพิ่มลงไปกับประมาณธาตุอาหารพืชที่ถูกนำไปใช้และถูกเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตออกไปจากพื้นที่ที่สมดุลกัน ก็คือ มีธาตุอาหารพืชที่ถูกใช้ไปกับส่วนที่เพิ่มเติมลงมาในดินเท่ากัน จากการที่มีเศษซากอินทรียวัตถุหล่นลงดินหรือที่พืชตรึงไนโตรเจนจากอากาศลงสู่ดิน โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวช่วยในกระบวนการย่อยสลายและเปลี่ยนรูปธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์ เป็นกระบวนการที่เรียกว่าการนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ผลิดอกออกผลเป็นดอกไม้ ผัก ผลไม้ และอื่นๆ ส่วนสิ่งที่ถูกนำออกมาจากพื้นที่นั้นๆ คือธาตุอาหารพืชที่สูญเสียไปจากดิน ซึ่งในพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ เกษตรกรมักจะนำผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ออกมาจากพื้นที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงปริมาณธาตุอาหารพืชที่จะเพิ่มเข้าไปในพื้นที่ ทำให้พื้นที่ที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกิดความไม่สมดุลกัน จึงมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ


จุลินทรีย์มีบทบาทอย่างมากในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการแปรสภาพอินทรียวัตถุในดินให้กลายเป็นธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช โดยจุลินทรีย์จะมีขั้นตอนของความหลากหลายในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีปริมาณที่มาก ซึ่งมีหน้าที่และบทบาทต่อกระบวนการต่างๆ ในดินแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่าจุลินทรีย์ก็คือ ตัวการที่จะทำให้สารอินทรีย์จากซากพืชซากสัตว์ย้อนกลับไปเป็นธาตุอาหารพืชใหม่ได้อีกครั้ง นั่นคือทำให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชในดิน ดังนั้นดินป่าจึงมักมีอินทรียวัตถุอยู่สูงมีการหมุนเวียนในระบบนิเวศอย่างสมดุล แต่ในปัจจุบันการทำการเกษตรมีการใช้ปุ๋ยเคมีกันมากเพราะความต้องการผลผลิตที่มากขึ้น เมื่อต้องการผลผลิตมากขึ้นก็จำเป็นต้องนำเอาปัจจัยการผลิตอื่นๆ ใส่เข้าไปเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการใช้อย่างไม่สมดุล เป็นการใช้อย่างทำลายมากกว่า จะเห็นได้จากกรณีการเปิดป่า หรือการนำพื้นที่มาใช้จะเริ่มต้นด้วยการเผา ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ส่วนหนึ่งตายไป และอินทรีย์วัตถุส่วนหนึ่งหายไป ส่วนทีเคยอยู่ในระบบก็หายออกไปอยู่นอกระบบ เมื่อจุลินทรีย์หลายชนิดตายไปอีกหลายชนิดก็ลดจำนวนลง อัตราการเกิดกระบวนการหมุนเวียนย้อนกลับไปเป็นปัจจัยการผลิตก็ลดน้อยลง


ทันทีที่เปิดหน้าดินทำลายพืชที่ปกคลุมผิวดิน เกษตรกรก็จะเริ่มทำการเผาก่อน สิ่งทีหายไปคืออินทรียวัตถุในดิน ชนิดของจุลินทรีย์และปริมาณของจุลินทรีย์ เมื่อปลูกพืชต่อเนื่องไปได้ 2-3 ปี จะสังเกตเห็นได้ว่าผลผลิตที่ได้เริ่มลดลงและเพาะปลูกไม่ได้ผล ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะดินไม่ดี โรคแมลงศัตรูพืชมากขึ้นต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่สูงมากขึ้น นั่นคือการขาดความสมดุลในพื้นที่ การทำการเกษตรในบางพื้นที่จะทิ้งพื้นที่บริเวณนั้นไว้ 3-5 ปี จนกระทั่งอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้นพื้นดินจึงฟื้นกลับมามีความสมดุลอีกครั้ง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการปล่อยพื้นที่ไว้โดยไม่เข้าไปยุ่ง จะทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ เจริญเติบโต และตายลงสลายตัวกลายเป็นธาตุอาหารพืชย้อนกลับสู่ดิน และจากสารอินทรีย์ที่รากพืชปลดปล่อยออกมาในบริเวณใกล้ๆ ราก สิ่งเหล่านี้จะชักนำให้จุลินทรีย์เพิ่มจำนวนขึ้นและเกิดความหลากหลายของจุลินทรีย์อีกครั้ง นอกจากนี้ยังชักนำให้มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในดินตามมา ทำให้ดินในพื้นที่นั้นกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ฉะนั้นถ้าให้เวลาธรราชาติสัก 3-5 ปี ทุกอย่างจะพื้นคืนสภาพได้เอง แต่ในปัจจุบันเกษตรกรไม่สามารถรอเวลานั้นได้ เนื่องจากพื้นที่มีจำกัดและความต้องการผลผลิตที่รวดเร็วและปริมาณมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ ดังนั้นระบบเกษตรแผนปัจจุบันจึงเลือกใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการแก้ปัญหานี้ ในขณะที่ระบบเกษตรธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์จะใช้วิธีการที่ดีกว่าคือ เติมปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะอินทรีย์ต่างๆ ที่สามารถนำมากลับมาใช้ได้ใหม่ และเพิ่มจุลินทรีย์ธรรมชาติเข้าไปด้วย



จุลินทรีย์ที่มีบทบาทต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน
จุลินทรีย์มีหลายชนิดได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซีส และสาหร่าย แต่ละชนิดจะมีบทบาทและกิจกรรมต่อความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่

1. แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อรา โปรโตซัว และสาหร่าย มีรูปร่างแบบง่ายๆ 3 รูปร่างคือ กลม (Cocci) ท่อน (Rod) เกลียว (Spiral) ไม่มีรงควัตถุภายในเซลล์ คือ เซลล์มักจะใส มีทั้งเคลื่อนที่ได้และไม่เคลื่อนที่ เราสามารถแบ่งชนิดของจุลินทรีย์ได้หลายประเภทดังนี้

1.1 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามช่วงอุณหภูมิ
ก. พวก Psychophilic Bacteria คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ

ข. พวก Mesophilic Bacteria คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิปานกลางมีอยู่มากในดินส่วนใหญ่

ค. พวก Thermophilic Bacteria คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง

1.2 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามความต้องการออกซิเจน
ก. แบคทีเรียพวกที่ต้องการออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน

ข. แบคทีเรียพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่ไม่ออกซิเจน

1.3 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามลักษณะทางนิเวศวิทยา
ก. Autochthonous (Indigenous Group) เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ดั้งเดิมในธรรมชาติ ได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ อยู่ได้โดยไม่ต้องมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก แบคทีเรียกลุ่มนี้จะมีปริมาณคงที่ทุกฤดูกาล

ข. Zymogenous (Fermentation Producing Group) เป็นแบคทีเรียที่สามารถแปรรูปสารเคมีต่างๆ ได้โดยขบวนการหมัก (Fermentation) ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หลายอย่าง แต่กลุ่มนี้มีอยู่ตามธรรมชาติน้อยมาก จะเพิ่มจำนวนเมื่อมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก

1.4 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามการสร้างอาหาร
ก. Autotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอน (C) จากกาซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และสารประกอบอินทรีย์อื่นๆ เช่น HCO3

ข. Heterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอนจากอินทรีย์คาร์บอนหรือสารประกอบอินทรีย์ทั่วไป

ค. Chemotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมี และขบวนการออกซิเดชั่นของสิ่งมีชีวิต (Biological Oxidation)

ง. Chemoheterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากอินทรีย์สาร

จ. Phototrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้พลังงานจากการสังเคราะห์แสง


แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ที่พบเป็นจำนวนมากที่สุดในจุลินทรีย์ทั้งหมด โดยจำนวน
แบคทีเรียคิดเป็น 50% ของน้ำหนักจุลินทรีย์ทั้งหมด และมีกิจกรรมคิดเป็น 95% ของจุลินทรีย์ทุกชนิดรวมกัน พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ จัดได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีบทบาทอย่างมากในธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต


2. เชื้อรา (Fungi)
2.1 ยีสต์ เป็นเชื้อราซึ่งมีลักษณะแปลกตรงที่ มีการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพเซลล์เดียว (Unicellular) แทนที่จะเจริญเป็นเส้นใยเหมือนเชื้อราอื่นๆ ทั่วไป จริงอยู่แม้ยีสต์บางชนิดมีการสร้างเส้นใยบ้าง แต่ก็ไม่เด่นเช่นเชื้อรา ปกติยีสต์เพิ่มจำนวนและแบ่งเซลล์โดยการแตกหน่อ (Budding) เซลล์ยีสต์จะใหญ่กว่าแบคทีเรียและมีนิวเคลียสที่เห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ในเซลล์ยีสต์เรามักจะสังเกตเห็นแวคคูโอล (Vacuole) ขนาดใหญ่ พร้อมทั้งเม็ดสาร (Granule) ต่างๆ ในไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) อยู่เสมอ

2.2 ราเส้นใย เป็นจุลินทรีย์ที่มีการพัฒนามาดำรงชีวิตอยู่ในสภาพหลายเซลล์ (Multicellular) โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะการเจริญเป็นเส้นใย (Hyphae) ซึ่งอาจมีผนังกั้น (Septate Hypha) หรือไม่มีผนังกั้น (Non Septate Hypha หรือ Coenocytic Hypha) เชื้อราเป็นจุลินทีรย์ที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันมากในด้านขนาดรูปร่างของโครงสร้างและระบบการสืบพันธุ์ โดยทั่วไปเชื้อรามีการสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีทั้งสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Spores) และสปอร์แบบอาศัยเพศ (Sexual Spores)

3. แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes) เป็นจุลินทรีย์จำพวกเซลล์เดี่ยวที่มีลักษณะคล้ายคลึงทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา โดยมีขนาดเล็กคล้ายแบคทีเรีย แต่มีการเจริญเป็นเส้นใยและสร้างสปอร์คล้ายเชื้อรา มีเส้นใยที่ยาวเรียวและอาจจะแตกสาขาออกไปเส้นใยเรียกว่า Hyphae หรือ Filaments

4. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue Green Algae หรือ Cyanobacteria) แตกต่างจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นตรงที่มีคลิโรฟิลล์มักเห็นเซลล์เป็นสีเขียว เซลล์เป็น Procaryote ซึ่งเหมือนกับแบคทีเรีย และมีสาร Mucopeptide เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เช่นเดียวกับแบคทีเรีย สาหร่ายพวกนี้ไม่มีคลอโร พลาสต์ ดังนั้นคลอโรฟิลล์จึงกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์



บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร
จุลินทรีย์มีหลายชนิต ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซิท สาหร่าย โปรโตซัว ไมโครพลาสมาโรติเฟอร์ และไวร้ส เป็นต้น บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์มีอยู่มากมายดังนี้

1. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การเป็นประโยชน์และการเกิดโรค จุลินทรีย์หลายชนิดอาจเป็นสาเหตุของโรคพืชและสัตว์ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร แต่ในสภาพธรรมชาติจุลินทรีย์ที่มีอยู่อย่างหลากหลายจะมีการควบคุมกันเองในวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ป้องกัน กำจัด และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นรวมทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช

2. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญในการหมุนเวียนทรัพยากรให้ใช้ประโยชน์ได้ใหม่ในวัฏจักรของธาตุอาหารโดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายวัสดุสารอินทรีย์ต่างๆ (Organic Decomposition) ให้เป็นธาตุอาหาร เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ของสารอินทรีย์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทางการเกษตร ให้กลับอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยกระบวนการย่อยสลายหรือสังเคราะห์สารชนิดอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ในธรรมชาติ เช่น การย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ในดินให้อยู่ในรูปฮิวมัส เปลี่ยนจากรูปสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ (Mineralization) เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชได้แก่ กระบวนการตรึงไนโตเจน (N2 Fixation) โดยจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เช่น แหนแดง และจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้ เช่น เชื้อไรโซเบียม

3. จุลินทรีย์หลายชนิดมีบทบาทในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เช่น จุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างกรดอนินทรีย์ที่สามารถละลายแร่ธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช บางชนิดสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชหรือฮอร์โมน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และยังสามารถผลิตสารต่างๆ รวมถึงสารปฏิชีวนะ เอนไซม์ และกรดแลคติค เช่นแบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Gramicidine และ Tyrocidine เชื้อราบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Pennicilin และ Gliotoxin เชื้อแอคติโนมัยซิทบางชนิดสามารถสร้างสาร Actinomycin และ Aureomycin ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถใช้ในการยับยั้งเชื้อโรคต่างๆ และยังช่วยสนับสนุนปฏิกิริยาทางเคมีในดินให้เกิดขึ้นเป็นปกติได้ โยถ้าปราศจากเอนไซม์ปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อนในดินก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น


ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย ดร.อานัฐ ตันโช
ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้



http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/08/13/entry-2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/04/2013 7:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/04/2013 6:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,903. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร


1. จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing Microorganisms) ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มแบคทีเรีย เพราะทำงานเร็วและมีจำนวนอยู่มาก โดยครึ่งหนึ่งของมวลจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกคือ แบคทีเรีย แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องอยู่ร่วมกับตัวอื่นถึงจะตรึงไนโตรเจนได้แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน (Symbiosis) เช่น ไรโซเบียม (Rhizobium sp.) ในปมรากพืชตระกูลถั่ว และอีกกลุ่มหนึ่งที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างอิสระ (Non-Symbiosis)


2. จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือเซลลูโลส (Cellulolytic Microorganisms หรือ Cellulolytic Decomposers) เป็นพวกที่ย่อยสลายเซลลูโลส หรือซากพืช ซากสัตว์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา แอคติโนมัยซิท และโปรโตซัว จุลินทรีย์พวกนี้พบได้ทั่วไประหว่างการสลายตัวของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ซากพืช ซษกสัตว์ ใบไม้ กิ่งไม้ เศษหญ้า และขยะอินทรีย์ชนิดต่างๆ ทำให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ขึ้นมาได้เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น


ในปุ๋ยหมักที่มีกิจกรรมจุลินทรีย์ค่อนข้างดีพบว่าในทุก 1 กรัมของปุ๋ยหมักจะต้องมีแบคทีเรีย 150-300 ไมโครกรัมและมีแบคทีเรียที่มีกิจกรรมสูง (Active) อยู่ 15-30 ไมโครกรัม มีเชื้อรา 150-200 ไมโครกรัมและมีเชื้อราที่มีกิจกรรมสูง 2-10 ไมโครกรัม มีพวกโปรโตซัว ซึ่งจะย่อยสลายเศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ต้องมีถึงประมาณ 10,000 ตัวต่อ 1 กรัมของปุ๋ยหมัก และมีพวกไส้เดือนฝอยชนิดที่เป็นประโยชน์ 50-100 ตัว


3. จุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆ (Phosphate and Other Nutrient Elements Solubilizing Microorganisms) จุลินทรีย์พวกนี้สามารถทำให้ธาตุอาหารพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ที่มักอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ ให้ละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ช่วยส่งเสริมให้รากพืชดูดกินธาตุอาหารพืชได้ดีขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือดูดกินได้น้อย


จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการแปรสภาพฟอสฟอรัสจะมีทั้งกลุ่มที่ทำหน้าที่เปลี่ยนอินทรีย์ฟอสฟอรัสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ในกรณีของสารอินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูปของไฟทิน และกรดฟอสฟอรัส จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างเอนไซม์ Phytase, Phosphatase, Nucleotidases และ Glecerophosphatase เพื่อแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่เรียกว่า ออโธฟอสเฟต (Orthophosphate) ซึ่งเป็นพวกโมโน (Mono) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (Dihydrogen Phosphate) จุลินทรีย์ดังกล่าวได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Bacillus sp. และราในสกุล Aspergillus sp., Thiobacillus, Penicillium sp. และ Rhizopus sp. เป็นต้น นอกจากนี้สารประกอบอนินทรีย์ฟอสฟอรัสบางชนิดในรูปของหินฟอสเฟตซึ่งพืชยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้จุลินทรีย์บางชนิดในสกุล Bacillus sp. และ Aspergillus sp. จะสร้างกรดอินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสออกมาให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ นอกจากนี้เชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Fungi) ยังมีบทบาทในการละลายและส่งเสริมการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัส



บทบาทของจุลินทรีย์ในการทำให้เกิดการหมุนเวียนทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา

4. จุลินทรีย์ที่ผลิตสารป้องกันและทำลายโรคพืช จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียพวกที่ก่อโรคบางชนิด เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acids Bacteria) ได้แก่ Lactobacillus spp. บนใบพืชที่สมบูรณ์และมีสุขภาพดีแจะพบแบคทีเรียกลุ่มผลิตกรดแลคติกมาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Microorganisms) และมีประโยชน์อย่างมากในการเกษตร เช่น เปลี่ยนสภาพดินจากดินไม่ดีหรือดินที่สะสมโรคให้กลายเป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชให้มีจำนวนน้อยลง มีประโยชน์ทั้งกับพืชและสัตว์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสร้างสารปฏิชีวนะออกมาทำลาลเชื้อโรคพืชบางชนิด เช่น เชื้อรา Aspergillus sp., Trichoderma sp. และเชื้อแอคติโนมัยซิทพวก Streptomyces sp.


5. จุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนพืช แบคทีเรียหลายสายพันธุ์ เช่น Bacillus sp. สามารถสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช


http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/08/13/entry-2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/04/2013 4:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,904. การผลิตและใช้ประโยชน์กวาวเครือขาวทาง ด้านการเกษตร
Producing and Utilization of Kwao Krue Khaw in Agriculture


กวาวเครือขาวเป็นพืชสมุนไพรที่มีลักษณะสำคัญคือ ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน (เอสโตรเจน) ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต เช่น กระตุ้นการกินอาหาร และเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนในสัตว์ ช่วยยืดความยาวของยอดอ่อน และช่อดอกในพืช นอกจากนี้ยังเป็นสมุนไพรอายุวัฒนะ และเสริมความงามสำหรับมนุษย์อีกด้วย ปัจจุบันกวาวเครือขาวจัดเป็นสมุนไพรหนึ่งในสิบห้าอันดับที่อยู่ในแผนพัฒนาสมุนไพรของประเทศ และเป็น หนึ่งในสามชนิดที่ถูกพัฒนาให้เป็น product champion

โครงการนี้เป็นชุดโครงการวิจัยแบบบูรณาการที่มุ่งเน้นวิจัยเพื่อนำกวาวเครือขาวมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรอย่างแท้จริง ตั้งแต่ การคัดเลือก และขยายพันธุ์ ต่อยอดจากโครงการที่ได้ทำต่อเนื่องกันมาแล้วไม่น้อยกว่า5ปี สำหรับใช้ในด้านการเกษตรทั้งในพืช และสัตว์ เพื่อผลิตอาหาร ให้ผู้บริโภคปลอดภัย และผู้ผลิตมีกำไรจากการลดต้นทุนการผลิตลง โครงการที่ได้ทุนอุดหนุนวิจัยมีดังนี้

1. การขยายพันธุ์ ปลูกและดูแลรักษากวาวเครือขาวพันธุ์ที่คัดเลือกแล้ว 3 สายต้น
2. การพัฒนาการผลิตต้นพันธุ์กวาวเครือขาวด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
3. กระบวนการทำกวาวเครือขาวผงแห้งจากน้ำคั้นหัวสด
4. การวิจัยฤทธิ์ของกวาวเครือขาวต่อเทตาบอริซึมของไขมันที่ตับในไก่ไข่
5. การใช้กวาวเครือขาวเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตในปลาดุกลูกผสม
6. การใช้กวาวเครือขาวในการเลี้ยงไหม
7. การใช้ประโยชน์สารเร่งการเจริญเติบโตในกวาวเครือขาวต่อการผลิตพืช
8. การต่อยอดเอกสารสิทธิบัตรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรกวาวเครือขาว

การดำเนินงานของแต่ละโครงการในเวลา 11 เดือนที่ผ่านมาสำเร็จ และเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยเฉลี่ยมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของงานทั้งหมด ผลการศึกษาที่ผ่านมาพอสรุปได้ดังนี้

โครงการที่1. การขยายพันธุ์ ปลูกและดูแลรักษากวาวเครือขาวพันธุ์ที่คัดเลือกแล้ว

คัดเลือกและขยายพันธุ์กวาวเครือขาวได้ 11 สายต้น ด้วยวิธีการแบ่งหัวต่อต้น(ไม่ใช้เพศ) โดยมีหมายเลข ลักษณะการให้ผลผลิต และจำนวนต้นที่ขยายพันธุ์ดังนี้

1. SARDI 190 ลักษณะให้ผลผลิตสูงมาก ออกดอกน้อยมาก และไม่ติดฝัก ขยายพันธุ์ได้ 9 ต้น
2. SARDI 1 ลักษณะให้ผลผลิตสูง ออกดอกน้อย และติดฝักน้อยมาก ขยายพันธุ์ได้ 81 ต้น
3. SARDI 5 ลักษณะให้ผลผลิตปานกลาง ออกดอกมาก และติดฝักปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ 12 ต้น
4. SARDI 7 ลักษณะให้ผลผลิตปานกลาง ออกดอกมาก และติดฝักปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ 44 ต้น
5. SARDI 8 ลักษณะให้ผลผลิตปานกลาง ออกดอกมาก และติดฝักปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ 65 ต้น
6. SARDI 10 ลักษณะให้ผลผลิตต่ำ ออกดอกมากที่สุด และติดฝักมากที่สุด ขยายพันธุ์ได้ 8 ต้น
7. SARDI 11 ลักษณะให้ผลผลิตปานกลาง ออกดอกมาก และติดฝักมาก ขยายพันธุ์ได้ 13 ต้น
8. SARDI 12 ลักษณะให้ผลผลิตปานกลาง ออกดอกมาก และติดฝักมาก ขยายพันธุ์ได้ 9 ต้น
9. SARDI 13 ลักษณะให้ผลผลิตปานกลาง ออกดอกมาก และติดฝักมาก ขยายพันธุ์ได้ 36 ต้น
10. SARDI 14 ลักษณะให้ผลผลิตปานกลาง ออกดอกมาก และติดฝักมาก ขยายพันธุ์ได้ 16 ต้น
11. SARDI 15 ลักษณะให้ผลผลิตปานกลาง ออกดอกมาก และติดฝักมาก ขยายพันธุ์ได้ 35 ต้น รวมขยายพันธุ์ ปลูก ดูแลกวาวเครือขาวที่คัดเลือกแล้วทั้งหมด 328 ต้น

โครงการที่ 2. การพัฒนาการผลิตต้นพันธุ์กวาวเครือขาวด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ปัจจุบันสามารถหากระบวนการเลี้ยงเนื้อเยื่อและเจริญเป็นต้นกวาวเครือขาวในขวด และอาหารได้แล้วพร้อมที่จะชักนำให้เกิดราก และขยายจำนวนให้มากขึ้นแบบทวีคูณในปีถัดไป

โครงการที่ 3. กระบวนการทำกวาวเครือขาวผงแห้งจากน้ำคั้นหัวสด พบว่าสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ในส่วนของเปลือก และเส้นใยเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของน้ำมีน้อยมากเมื่อเทียบโดยน้ำหนัก ดังนั้นการคั้นน้ำออกก่อนนำไปผ่านกระบวนการอบแห้งจึงเป็นวิธีการที่น่าสนใจที่จะนำไปศึกษาเพื่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรม

โครงการที่ 4. การวิจัยฤทธิ์ของกวาวเครือขาวต่อเทตาบอริซึมของไขมันที่ตับในไก่ไข่ กวาวเครือขาวในระดับต่ำที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ยังให้ผลไม่ชัดเจนในการลดการสะสมไขมันในตับของแม่ไก่ไข่ แต่มีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดลดลง

โครงการที่ 5. การใช้กวาวเครือขาวเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตในปลาดุกลูกผสม
การใช้ผงกวาวเครือขาวผสมอาหารปลาดุกลูกผสมในระดับ 800 พีพีเอ็ม ทำให้มีการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารดีขึ้น

โครงการที่ 6. การใช้กวาวเครือขาวในการเลี้ยงไหม การให้กวาวเครือขาวแก่หนอนไหมในระดับ 0 % ,3% และ 5% ของน้ำหนักใบหม่อนที่ให้แต่ละมื้อพบว่าน้ำหนักหนอนไหมเฉลี่ย 10 ตัว ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อเพิ่มผงกวาวเครือที่ให้ในระดับ 10 % พบว่าหนอนไหมมีการเจริญเติบโตต่ำลง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อปริมาณเส้นใย โดยเมื่อให้ผงกวาวเครือในระดับที่สูงขึ้น รังไหมจะมีเปอร์เซนต์เส้นใยเริ่มน้อยลง เมื่อศึกษาผลของกวาวเครือที่ให้ต่อการสร้างไข่พบว่าการใช้ผงกวาวเครือในระดับ 5 % ของน้ำหนักใบหม่อนที่ให้ในแต่ละมื้อ โดยให้ในระยะวัย4-วัย 5 จะทำให้แม่ผีเสื้อสร้างไข่ได้มากที่สุด

โครงการที่ 7. การใช้ประโยชน์สารเร่งการเจริญเติบโตในกวาวเครือขาวต่อการผลิตพืช พบว่าสารสกัดหยาบจากกวาวเครือขาวให้ผลคล้ายฮอร์โมนในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโตในพืชบางชนิด และมีโอกาสในการพัฒนาเพื่อใช้ทดแทนฮอร์โมนสังเคราะห์ได้ ซึ่งต้องศึกษาต่อไป

โครงการที่ 8. การต่อยอดเอกสารสิทธิบัตรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรกวาวเครือขาว พบการจดสิทธิบัตรเพื่อดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 20 รายการทั่วโลก (ยกเว้นประเทศไทย) ซึ่งปัจจุบันได้นำองค์ความรู้มาต่อยอดในการค้นหาวิธีการสกัดสาระสำคัญมาใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือขาวได้แล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการขอจดสิทธิบัตรในประเทศไทย












สมโภชน์ ทับเจริญ1, ยุพา มงคลสุข2, เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์3, ชนินทร์ ติรวัฒนวานิช4, อรพิน จินตสถาพร5, อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์6, ภาณี ทองพำนัก7 และ ปราโมทย์ ธรรมรัตน์8
1. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ
2. สถาบันผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
3. ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน
4. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์
5. ศูนย์เทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำ คณะประมง
6. ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
7. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน
8. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร


http://www.rdi.ku.ac.th/kufair50/plant/05_plant/05_plant.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/04/2013 7:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก: Sap14
ถึง: kimzagass
ตอบ: 17/02/2013 10:08 pm
ชื่อกระทู้: ชาวนาวันหยุด ชวนคนรุ่นใหม่สนใจทำนา ข่าวสารคำพูด
http://news.voicetv.co.th/thailand/63327.html

----------------------------------------------------------------------------------------------------

1,905. ชาวนาวันหยุด ชวนคนรุ่นใหม่สนใจทำนา

"ชาวนาวันหยุด" ใน Youtube เพื่อสื่อสารวิธีการทำนาแบบใหม่ให้กับลูกหลานชาวนาที่เล่นโซเชียลมีเดีย โดยคาดหวังที่จะเปลี่ยนทัศนคตินี้และทำให้อาชีพชาวนาอยู่ได้จริงในสังคมไทย

อาชีพชาวนา เป็นอาชีพที่คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญ เพราะมองว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่มั่นคง จึงทำให้มีผู้สร้างแฟนเพจและช่องออกอากาศในเว็บไซต์ยูทูป ที่ใช้ชื่อว่า "ชาวนาวันหยุด" เพื่อสื่อสารวิธีการทำนาแบบใหม่ให้กับลูกหลานชาวนาที่เล่นโซเชียลมีเดีย โดยคาดหวังที่จะเปลี่ยนทัศนคตินี้และทำให้อาชีพชาวนาอยู่ได้จริงในสังคมไทย

นานกว่า 3 ปีแล้ว ที่แฟนเพจชาวนาวันหยุด เปิดให้บริการผู้ที่สนใจวิธีการทำนาแบบใหม่ได้เข้ามากดไลท์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้กดไลท์แล้วกว่า 5,600 ราย

ที่มาของเฟนเพจนี้ เริ่มต้นจากนายสุภชัย ปิติวุฒิ เซลล์ขายอุปกรณ์การเกษตร ที่มีความคิดว่า ทำไมชาวนาถึงยากจน และเชื่อว่า เขาจะสามารถสร้างศักยภาพใหม่ให้กับชาวนาได้

โดยเขาเห็นว่า แฟนเพจ จะเป็นสื่อกลางสำคัญในการนำองค์ความรู้ ขั้นตอนการทำนาที่เข้าใจง่าย และได้ผลผลิตมากกว่า 1 ตันต่อไร่ ไปถึงลูกหลานชาวนา ที่มีพฤติกรรมการเล่นโซเชียลมีเดีย เพื่อนำไปบอกต่อให้กับพ่อแม่ที่เป็นชาวนาได้นำไปปฏิบัติตาม หรืออย่างน้อยก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำนาในช่วงวันหยุด และมีบทบาทที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่

ภายในแฟนเพจ ชาวนาวันหยุด และในยูทูปช่อง ซุปเปอร์ซุปสามร้อย ชาวนาวันหยุด แกล้งข้าว มีการสาธิตวิธีการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว โดยใช้ท่อพีวีซี เจาะรู เพื่อวัดระดับน้ำใต้พื้นดิน ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมระดับน้ำในแปลงนา และเป็นการดึงศักยภาพของต้นข้าวออกมา เพราะเมื่อข้าวขาดน้ำ รากจะแตกกอ และมีความแข็งแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูล เทคโนโลยีและวิธีการปลูกข้าวใหม่ๆ จากต่างประเทศ มานำเสนอให้กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาผืนนาของชาวนาไทย

แอดมิน แฟนเพจนี้ คาดหวังกับการทำแฟนเพจนี้ จะเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการเปลี่ยนความคิดและทัศนคติของวัยรุ่นให้หันมาสนใจอาชีพชาวนามากขึ้น และต้องการลบภาพลักษณ์ชาวนาผู้ยากจน และหนี้สินท่วมตัว ให้เป็นชาวนาที่มีศักยภาพ น่ายกย่อง และอยู่ได้จริงในสังคมไทย

แปลงนาของนายกมล สังข์อ่อน อดีตข้าราชการบำนาญสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ชาวนามืออาชีพในปัจจุบัน ที่เรียนรู้วิธีการทำนาแบบใหม่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการทำนาแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวมาใช้ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์กับพื้นที่นา 30 ไร่ ที่มีการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นไร่นาสวนผสม เนื่องจากอยู่นอกเขตชลประทาน แต่สามารถได้ผลผลิตดี

คนรุ่นใหม่ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการทำนา สามารถติดตามทางแฟนเพจ ชาวนาวันหยุด หรือ เข้าชมในยูทูปทางช่องซุปเปอร์ซุป 300 (supersup 300) หรือ หากต้องการสัมผัสบรรยากาศสถานที่จริง แอดมินแฟนเพจนี้ได้จัดสัญจรชาวนาวันหยุดครั้งละ 50 คน โดยได้จัดมาแล้ว 10 ครั้ง


by Wipa
16 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 16:09 น.




http://news.voicetv.co.th/thailand/63327.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/04/2013 3:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,906. ทุเรียนนนท์ ปลูก 50 ต้น ได้ปีละล้าน





ฟื้นปลูกทุเรียนนนท์-ปลูก 50 ต้นได้ปีละล้าน :
ในขณะที่ราคาทุเรียนจากสวนเกษตกรที่ปลูกทั้งในภาคตะวันออกและภาคใต้ ประสบปัญหาราคาตกต่ำซ้ำซากอย่างต่อเนื่อง แต่ทุเรียนเมืองนนท์ โดยเฉพาะพันธุ์ "ก้านยาว" ราคาตกผลละกว่า 3,000 บาท ขนาดผลไม่ทันแก่มีคนจองล่วงหน้าแล้ว อย่างประธานชมรมสวนทุเรียนเมืองนนท์ "แสวง นาคนาค" ปลูกทุเรียนก้านยาว 50 ต้น สลับไม้ยืนต้นอื่นในพื้นที่ 7 ไร่ ที่ ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี สร้างรายได้ฤดูกาลละกว่า 1 แสนบาท แม้แต่พันธุ์ "หมอนทอง" ยังมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาท


แสวง บอกว่า สาเหตุที่ทุเรียนเมืองนนท์มีราคาสูง เพราะรสชาติอร่อย ที่เกิดจากสภาพดินในพื้นที่ จ.นนทบุรี มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นดินเหนียวที่เกิดจากการพัดพาของตะกอนจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ทับถมมายาวนาน เคล็ดลับการดูแลต้องควบคุมระดับน้ำในช่วงหน้าฝนตามท้องร่องเพื่อไม่ให้มากเกินไป เพราะจะทำลายระบบรากของทุเรียน เน้นปล่อยแบบธรรมชาติ ให้อยู่ผสมผสานกับไม้ยืนต้นประเภทอื่น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จึงทำให้รสชาติของเนื้อทุเรียนจะดีกว่าการปลูกแบบสมัยใหม่ที่ใส่ปุ๋ย พ่นยา ฉีดฮอร์โมน ซึ่งบางครั้งจะเกิดการตกค้างของสารในร่างกาย และอาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้

เขายอมรับว่า แม้การดูแลสวนทุเรียนที่ปล่อยแบบธรรมชาติอาจทำให้ผลไม่สวย ไม่โต มีลักษณะสีเข้ม เมื่อแก่จัดปลายหนามจะไหม้ เนื้อในสีเข้มกว่าก็ตาม แต่รสชาติจะอร่อย หวาน มัน เข้มข้นกว่าทุเรียนจากพื้นที่อื่นๆ รวมถึงพันธุ์ชะนีและหมอนทองด้วยที่มีลักษณะเนื้อละเอียดกว่า สิ่งที่สำคัญคือจะไม่ทำให้ผู้ที่ซื้อไปรับประทานเกิดผลกระทบจากสารตกค้างจากสารเคมีอย่างแน่นอน

"ตอนนี้เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนเมืองนนท์มากขึ้น เพราะราคาดี ปัจจุบันมีราว 2,700 ไร่ แต่ผลผลิตยังไม่พอต่อความต้องการของตลาด มีเท่าไรขายหมด บางครั้งมีคนจองล่วงหน้าตั้งแต่ทุเรียนยังไม่แก่ ราคาปัจจุบันของก้านยาวขายเป็นลูก หากขายส่งตกลูกละ 3,500 บาท น้ำหนักเฉลี่ยลูกละ 3 กิโลกรัม แม่ค้าไปขายต่อลูกละ 5,000 บาท แม้แต่หมอนทองขายกิโลกรัมละ 200 บาท อย่างของผมมี 7 ไร่ เป็นทุเรียนพันธุ์ก้านยาว 50 ต้น หมอนทอง 40 ต้น และชะนี 1 ต้น ที่เหลือเป็นไม้ยืนต้นและไม้ผลอย่างอื่น ในแต่ละปีผมจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ในจำนวนนี้เฉพาะทุเรียนพันธุ์ก้านยาวว 50 ต้น มีรายได้ปีละกว่า 7.5-8 แสนบาท" เขา กล่าว

ด้าน วุฒิชัย คล่องโวหาร ผู้ชำนาญการ สำนักวิชาการพืช กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บอกว่า จากการศึกษาวิเคราะห์ด้านพื้นที่และโครงสร้างทั่วไปในการปลูกทุเรียนเมืองนนท์ของ แสวง พบเบื้อต้นสภาพดินเป็นดินเหนียว มีปริมาณอินทรียวัตถุที่มีอยู่ในดินสูง ดูได้จากดินชั้นบนจะมีสีดำ และสิ่งหนึ่งที่พบก็คือ มีสิ่งมีชีวิตในดินจำพวกไส้เดือน แสดงให้เห็นว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูกพืช จากการตรวจค่าของพีเอช (PH) หรือความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ที่ 6.5เป็นดินมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ปัจจัยเกิดจากการทับถมของตะกอนที่พัดพามาจากแม่น้ำเจ้าพระยา บวกกับในพื้นที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีนั่นเอง

"ดลมนัส กาเจ"



http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:47 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/04/2013 3:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,907. เกษตรอินทรีย์ & เกษตรเคมี ความเข้าใจที่สับสน ! ? !






ผู้เขียนเคยเกริ่นเกี่ยวกับการกำเนิดนโยบายเกษตรอินทรีย์ของไทยเมื่อปี 2544 และนำไปสู่การปฏิบัติภายใต้โครงการของหน่วยงานต่างๆอย่างกว้างขวาง นโยบายเกษตรอินทรีย์ได้รับการประกาศเป็นวาระแห่งชาติในปี 2548 และต่อมามีการจัดทำยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ.2551-2554 ตามด้วยแผนปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวโดยมีงบประมาณรัฐในการสนับสนุนจำนวนก้อนโตพอสมควรแต่โดยสัมฤทธิผลเทียบกับจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้จ่ายลงไปแล้วถือว่าน้อยมาก ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นทั้งๆที่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการการเกษตรเองต้องการทำเกษตรแบบไม่ต้องการใช้สารเคมีทั้งปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีสังเคราะห์กำจัดศัตรูพืชใดๆหรืออยากทำเกษตรแบบอินทรีย์ทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรทุกประเภทต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 30% ของต้นทุนรวมทั้งหมด โดยต้นทุนปุ๋ยเคมีและสารเคมีเหล่านี้จะมีราคาแพงขึ้นเป็นลำดับเนื่องจากเป็นสินค้าที่จะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ดังนั้นหากไม่จำเป็นก็คงไม่มีใครอยากจะลงทุนในส่วน 30% ดังกล่าวนี้

เกษตรอินทรีย์คืออะไร เกษตรอินทรีย์เป็นวิธีการผลิตพืชหรือสัตว์โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีสังเคราะห์ รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ พืชหรือสัตว์และจุลินทรีย์ที่มาจากการดัดแปรพันธุ์กรรม หรือการตัดแต่งพันธุกรรม ( GMOs) มีการเกื้อหนุนต่อระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ มีระบบการผลิตที่จะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานของแต่ละประเทศหรือผู้ซื้อแต่ละตลาดซึ่งมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศเหล่านี้อาจแตกต่างกันไป เช่นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น( JAS) ยุโรป ( EEC 2092/91 ) อเมริกา ( NOP) ซึ่งจะมีข้อปลีกย่อยที่แตกต่างกันไป สำหรับอมเริกาประเทศเดียวแต่คนละรัฐมาตรฐานก็ยังมีข้อปลีกย่อยที่แตกต่างกันไป หากใครจะผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ชนิดใดส่งไปขายที่ไหนก็จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หรือที่ยอมรับของประเทศนั้นๆ ไม่แต่เพียงเท่านั้นจะต้องมีระบบการตรวจรับรองเป็นระยะๆโดยหน่วยงานที่ตลาดประเทศนั้นๆยอมรับ การตรวจรับรองจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ผู้ผลิตหรือเกษตรกรจะต้องรวมกลุ่มกันผลิตเพื่อให้ได้ปริมาณและมีผลผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้อนตลาดได้อย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นหากจะย้อนอดีตยุคก่อนเกิดเกษตรที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีสังเคราะห์ซึ่งเรียกว่ายุคก่อนปฏวัติเขียวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี คศ.1960 จากการประสบความสำเร็จของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ( IRRI) ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวไม่ไวแสงและให้ผลผลิตสูงซึ่งส่งผลมาถึงการพัฒนาพันธุ์ข้าวไม่ไวแสงและให้ผลผลิตสูงในประเทศไทยด้วย ประกอบกับการพัฒนาระบบชลประทานที่ก้าวหน้าและการส่งนักวิชาการด้านการเกษตรของไทยไปศึกษาด้านการเกษตรจากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งได้แก่พระยาโภชากร การจัดตั้งสถานีข้าวในการพัฒนาพันธุ์ข้าว กล่าวโดยรวมการพัฒนาพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูง การพัฒนาระบบชลประทานที่ดี พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงโดยเฉพาะข้าวไม่ไวต่อแสงสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาลล้วนเป็นพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ยหรือธาตุอาหารพืชที่ดีทั้งสิ้น ขณะเดียวกันข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของไทยในยุคนั้นเมื่อมีการปลูกพันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตสูงร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารพืช เทคโนโลยีพันธุ์พืชใหม่และเทคโนโลยีปุ๋ยจึงเป็นเทคโนโลยีที่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางจนเป็นกระแสที่ทุกคนทำแบบเดียวกันนี้ทั่วไป มีการนำเข้าปุ๋ยเคมี 21-0-0 ที่ให้ธาตุไนโตเจนถึง 21% 1 ตันหรือ 1000 กก.แรกมายังประเทศไทยเมื่อปี 2469 ก่อนปีเริ่มต้นปฏิวัติเขียวประมาณ 30 ปี จากปี 2469 ที่ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารพืช 1000 กก.แรกเข้ามายังประเทศไทย จนปี 2555 ถึงวันที่ 16 กันยายนปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีธาตุอาหารพืชของไทยมีถึง 3,757,3396 ตันหรือประมาณ 5 ล้านตันทั้งปี มูลค่าประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ขณะที่การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีกประมาณ 2 หมื่นล้านบาท/ปี ไม่นับรวมอาหารเสริมและฮอร์โมนและสารปรับปรุงดินอื่นๆอีกจำนวนหนึ่งซึ่งหากรวมปัจจัยการผลิตทางการเกษตร(เฉพาะพืช)อย่างเดียวมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี

แน่นอนเทคโนโลยีการพัฒนาพันธุ์พืช การใช้ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารพืช สารอารักขาพืช(สารกำจัดศัตรูพืช)เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ประเทศไทยเป็น “ครัวของโลก” ในเรื่องของข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง น้ำตาล กุ้ง ไก่ ทุเรียน ลำไย มะม่วง มังคุด กล้วยไข่ กล้วยไม้ตัดดอก และแน่นอนเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเสมือนดาบสองคมเช่นเดียวกับรถยนต์ที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งอำนวยความสะดวกแต่ขณะเดียวกันเทคโนโลยีรถยนต์ก็ได้คร่าชีวิตผู้คนบนท้องถนนจำนวนมากในแต่ละปีเช่นกัน

ดังนั้นระบบการผลิตทางการเกษตรในโลกปัจจุบันน่าจะมี 3 รูปแบบคือ

1. ระบบการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตทั้งพันธุ์พืช ปุ๋ยเคมีธาตุอหารพืชและสารเคมีอารักขาพืชแบบเสรีไม่คำนึงถึงสิ่งใดหรือไร้ความรับผิดชอบ

2. ระบบการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตทั้งพันธุ์ ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารพืชและสารเคมีอารักขาพืชแบบรับผิดชอบหรือปลอดภัย (Safe Food ) ที่เรียกโดยสากลว่า GAP หรือเกษตรดีหรือ Good Agricultural Practice ซึ่งระบบนี้ถือเป็นสายกลางโดยมีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและพืชทำให้เกิดการใช้เท่าที่จำเป็น การใช้ระบบการควบคุมศรัตรูพืชแบบผสมผสาน ( IPM ) และ ICM ทำให้เกิดการเอื้อต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น ระบบ GAP นี้จะต้องมีระบบตรวจรับรองโดยหน่วยงานตรวจรับรอง( CB )เช่นเดียวกับเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตของเกษตรไทยจำเป็นที่จะต้องก้าวเข้าสู่เกษตร GAP ให้ได้ทั้งประเทศ มิเช่นนั้นจะประสบปัญหาในการขายทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออกมากขึ้นจนกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ในอนาคตอันใกล้

3. ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ซึ่งถือว่าเป็นระบบการผลิตขั้นสูงย้อนยุคไปสู่ยุคดั้งเดิมใกล้ธรรมชาติซึ่งการที่จะผลิตแบบอินทรีย์ต้องมีใจที่มีอิทธิบาท 4 พร้อมชัยภูมิหรือทำเลที่ตั้งสวนหรือแปลงที่เหมาะสม พร้อมทั้งผู้บริโภคที่ยอมรับเรื่องราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม กล่าวคือเกษตรแบบอินทรีย์เป็นระบบการผลิตเพื่อตอบสนองตลาดที่เป็น Niche หรือตลาดเฉพาะเจาะจงมากๆ

เรื่องของเกษตรในสังคมไทยเป็นทั้งเรื่องของอาหารการกิน การเป็นอยู่ ความมั่นคง แต่ภาคการเกษตรและเกษตรกรของเราได้รับการดูแลเอาใจใส่แบบจริงใจและจริงจังน้อย นอกจากใช้เป็นฐานเสียงเพื่อก้าวไปสู่การเข้าครองอำนาจ เกษตรกรรายย่อยไทยจึงเป็นเสมือนผู้มีกรรมของตนเองมาอย่างยั่งยืนยาวนาน ยิ่งเข้าสู่เออีซี.โอกาสของภาคเกษตรไทยก็จะยิ่งเป็นโอกาสของยักษ์ระดับโลกมากขึ้น เกษตรกรรายย่อยหากไม่สามารถรวมฝูง( Cluster ) ได้ต้องถูกบังคับให้สละขายที่ทำกินจนไม่มีที่ยืนไปเรื่อยๆ ทุนทางสังคมไทยก็จะหายไปเรื่อยๆเช่นกัน

แม้แต่เรื่องของเกษตรอินทรีย์-ไม่อินทรีย์ หลาย ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังสับสนกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง แล้วการเกษตรของเราจะไปแข่งกับใครเขาได้??


เปรม ณ สงขลา



http://www.dailynews.co.th/agriculture/168562
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/04/2013 6:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,908. ผงชูรสช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว

อ๊ะ จริงหรือ ผงชูรสที่เรากินอยู่ทุกวันนี่นะ เพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยได้ ?
จริงครับ แต่เป็นผงชูรสที่เปลี่ยนเสื้อ-แปรรูป เปลี่ยนโครงสร้างใหม่แล้ว และมิใช่นำมาใช้งานด้านการเกษตรอย่างเดียว แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านอาหาร เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ สิ่งแวดล้อม และอื่นๆอีกมากมายหลายด้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วยนะ สิบอกไห่

ผงชูรสที่เราเติมลงในอาหารเป็นกำๆไม่บันยะบันยัง ไม่ยั้งมือเลยนั้น ด้วยเข้าใจว่ายิ่งใส่มากยิ่งอร่อยนั้น นับว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ ผงชูรสนั้น เติมนิดหน่อยก็ออกฤทธิ์กระตุ้นให้อร่อยลิ้นได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่เป็นกำๆดอก ใส่มากไปมันกลับทำให้เอียนเสียอีก กินมากๆอาจทำให้ประสาทเสื่อมเสียได้

ผงชูรสนั้นมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า (โมโน)โซเดียมกลูตาเมต (Mono) Sodium glutamate เรียกย่อว่า MSG (เกลือโซเดียมของกรด กลูตามิก) สูตรโครงสร้างเป็นดั่งนี้


โดยโครงสร้างของมันจะเชื่อมต่อกันเป็นเส้นยาวเหยียดที่มีบางบริษัทหยิบยกมาอ้างอิงโฆษณาดูให้ขลังว่า เป๊ปไทด์ (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด เป็นแค่หลักการ – วิธีการ เรียกชื่อโปรตีนทางเคมีเท่านั้นเอง) เรียกว่า (กรด) โพลี่กลูตามิก แอซิด ค้นพบครั้งแรกในอาหารถั่วหมักของ ชาวญี่ปุ่นที่เรียกว่า แนทโต (natto) ปัจจุบันผลิตโดยใช้เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Bacillus subtilis เป็นตัวย่อย glutamic acid ให้กลายเป็น กรดโพลี่กลูตาเมตในเชิงการค้า ปัจจุบันได้มีการวิจัยนำไปใช้ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร- การกิน สุขภาพ - ความงาม เภสัช สภาพแวดล้อม และกระทั่งในภาคการเกษตร (เพาะปลูก ปศุสัตว์ และประมง) ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำมาใช้ในการเพาะปลูก (เพราะเราทำกิจกรรมด้านนี้) ส่วนด้านอื่นๆนั้นก็ไปค้นหาเอาเองนะครับ ข้อดีของสารเจ้าตัวนี้ก็คือ เป็นสารธรรมชาติที่กินได้ ไม่มีพิษ ในส่วนของภาคการเกษตรนั้น นำไปผสมกับปุ๋ย ปรับปรุงสภาพพื้นดิน รักษาความชื้นในดิน เติมลงในยากำจัดศัตรูพืช สารไล่แมลง และ ฯลฯ

รูปที่นำมาให้ดูต่อไปนี้นี้ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หลังจากได้มีการนำเอา แกรมม่า โพลี่กลูตาเมตมาใช้ร่วมกับปุ๋ย (คงไม่ต้องอธิบายบ่งชี้ว่า อันไหนใช้ อันไหนไม่ได้ใช้นะครับ ดูเอาจากสายตาก็คงประเมินได้ถูกต้อง) พิจารณาตัวเลขผลลัพธ์การทดสอบแล้ว สามารถลดการใช้ปุ๋ยลงได้ในอัตราสูง แต่ผลผลิตกลับเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนเป็นเท่าๆตัว (คอยพบกับผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ได้ในไม่ช้า ที่นาโนเฮาส์)





คลิกดูภาพประกอบ...
http://www.ecoagrotech.com




http://www.agriqua.doae.go.th/organic/enzyme/enz1.html#0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:48 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 17/04/2013 7:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1909. ผลิต ไคติน-ไคโตซาน จาก หอยเชอรี่


ว่าที่ร้อยตรีหญิงพิมพ์ใจ ทรงประโคน

ผลิต ไคติน-ไคโตซาน จาก หอยเชอรี่ สารปรับสภาพดิน กระตุ้นการเจริญเติบโต

"ไคติน" เป็นโครงสร้างแข็งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวก แมลง กุ้ง ปู ปลาหมึก เป็นต้น ส่วน "ไคโตซาน" เป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์ พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือที่เป็นวัสดุชีวภาพย่อยสลายตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟ เมื่อไคโตซานเกิดการสลายตัวจะเป็นการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน

นอกจากนี้ ไคโตซาน ยังสามารถยึดธาตุโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ฟอสเฟต ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชแล้วค่อยๆ ปลดปล่อยสารเหล่านี้แก่พืช ทั้งนี้ เพราะไคโตซานเป็นสารชีวภาพ ฉะนั้น จึงช่วยลดการชะล้างและช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภาคเหนือ (สวทช. ภาคเหนือ) กศน. ตำบลขี้เหล็ก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ จึงร่วมกันส่งเสริมให้เกษตรกรเรียนรู้การผลิต ไคติน-ไคโตซาน จากหอยเชอรี่

ว่าที่ร้อยตรีหญิงพิมพ์ผกา คำอ่อน นักวิชาการเกษตร เทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การส่งเสริมให้เกษตรกรได้เรียนรู้การผลิต ไคติน-ไคโตซาน จากหอยเชอรี่ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัด ไคติน-ไคโตซาน จากเปลือกหอยเชอรี่สู่เกษตรกร รวมทั้งเป็นแนวทางในการนำศัตรูธรรมชาติทางเกษตรมาใช้ประโยชน์ และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร ในการทำการเกษตรให้ปลอดจากสารเคมี

ว่าที่ร้อยตรีหญิงพิมพ์ผกา บอกด้วยว่า ไคติน-ไคโตซาน ให้ผลในแง่ของการเป็นสารธรรมชาติ ที่ช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกรและผู้บริโภค ต่อการได้รับสารพิษจากปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช พร้อมทั้งมีจุดเด่นที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต ยืดอายุการเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตร รวมถึงช่วยย่อยสลายทางชีวภาพได้และปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม โดยการใช้ประโยชน์จาก ไคติน-ไคโตซาน ทางด้านการเกษตร เช่น ใช้เป็นสารปรับสภาพดินสำหรับเพาะปลูก ใช้ในการเคลือบเมล็ดพืช เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต เป็นสารต้านทานโรคพืช และใช้เป็นสารยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว

คุณณิชมน ธรรมรักษ์ นักวิทยาศาสตร์ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวถึงขั้นตอนการผลิต ไคติน-ไคโตซาน จากหอยเชอรี่ว่า

ขั้นแรกนำหอยเชอรี่ ประมาณ 1 กิโลกรัม มาตากให้แห้งแล้วต้มในน้ำเดือด เพื่อแยกเนื้อออก ล้างเปลือกหอยที่นำเอาเนื้อออกให้สะอาดและตากให้แห้ง จากนั้นนำเปลือกหอยมาต้มในน้ำโซดาไฟ 4 เปอร์เซ็นต์ (สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์) เข้มข้น ร้อยละ 4 นาน 4 ชั่วโมง หรือแช่ไว้ 1-2 วัน เพื่อกำจัดโปรตีนที่ติดมากับเปลือกหอย แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดทิ้งไว้ให้แห้ง บดเปลือกหอยเชอรี่ให้มีขนาดเล็กลงแล้วต้มในน้ำกรดเกลือเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์ (สารละลายกรดไฮโดรคลอริก) เข้มข้น ร้อยละ 4 นาน 24 ชั่วโมง หรือแช่ไว้ 2-3 วัน เพื่อกำจัดแร่ธาตุที่บริเวณเปลือกหอย

ล้างเปลือกหอยด้วยน้ำสะอาด ตากให้แห้ง และนำเปลือกหอยที่แห้งแล้วมาบดพอละเอียด จะได้ไคติน นำไคตินมาละลายกับน้ำโซดาไฟ เข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ (สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น ร้อยละ 40) แล้วนำมาต้มในอ่างน้ำเดือด นาน 4 ชั่วโมง จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วนำไปละลายในน้ำโซดาไฟ ต้มในอ่างน้ำเดือดอีก 4 ชั่วโมง อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด นำไปตากให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด จะได้ไคโตซานที่นำไปใช้ประโยชน์ได้

สำหรับการนำไคโตซานไปใช้ประโยชน์ นำไคโตซาน 10 กรัม ใส่ในน้ำส้มสายชู 1 ลิตร จะได้สารละลายไคโตซาน เมื่อต้องการนำไปใช้กับพืชหรือข้าว ให้นำสารละลายไคโตซานที่ได้ จำนวน 20 ซีซี หรือ 1 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร หรือ ไคโตซาน 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน แล้วฉีดพ่นใต้ใบพืช หรือราดบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เป็นตัวกระตุ้นเซลล์ของพืชให้ดูดซึมธาตุอาหารได้ดี ทำให้ ราก ลำต้น ใบ แข็งแรง โตเร็ว ผลดก ขั้วเหนียว ทนต่อโรคและแมลง



ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณณิชมน ธรรมรักษ์ นักวิทยาศาสตร์ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. (089) 700-5237 หรือ ว่าที่ร้อยตรีหญิงพิมพ์ผกา คำอ่อน นักวิชาการเกษตร เทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (087) 177-9843



http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05056010456&srcday=2013-04-01&search=no
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 70, 71, 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 71 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©