-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
ไปที่หน้า 1, 2, 3 ... 11, 12, 13  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/12/2012 7:38 pm    ชื่อกระทู้: ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง :

1. ข้าวไร่พันธุ์พญาลืมแกง
2. ข้าวไร่พันธู์ซิวเกลี้ยง
3. ข้าวลืมผัว
4. ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
5. ข้าวพันธุ์เจ๊กเชย

6. ข้าวซิวแม่จัน (Sew Mae Jan)
7. ข้าวดอกพะยอม (Dawk Pa-yawm)
8. รวมพันธุ์ข้าวกะเหรี่ยง (1)
9. ข้าวเจ้าลีซอสันป่าตอง (Jow Lisaw San-pah-tawng)
10. รวมพันธุ์ข้าวกะเหรี่ยง (2)

11. ข้าวก่ำดอยสะเก็ด
12. ข้าวน้ำรู (Nam Roo)
13. รวมพันธุ์ข้าวกะเหรี่ยง (3)...ภูมิปัญญาข้าวนาบนพื้นที่สูง ของปากะญอ
14. พันธุ์ข้าว (รับรองพันธุ์) ***
15. ความรู้เรื่องข้าว....

16. บือโป๊ะโละ : พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ
17. วัฒนธรรม ข้าวเจ้า-ข้าวเหนียว
18. วงจรชีวิตข้าว
19. ความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าวที่สูงของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน
20. ข้าวพันธุ์ใหม่ ลดน้ำตาลในเบาหวาน

21. การปลูก การดูแลรักษา และการใช้ปุ๋ยเคมี
22. พันธุ์ข้าว กข12 (RD12) (หนองคาย 80)

-------------------------------------------------------------------------------------------


1.





2.



http://www.oknation.net/blog/print.php?id=837951


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/08/2013 1:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 74 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/12/2012 7:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. ข้าวลืมผัว






ศูนย์วิจัยข้าว พิษณุโลก...ได้รับความสำเร็จ ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวเหนียวดำ ชื่อ...ลืมผัว นามนี้ดึงดูดใจพอสมควร...
หลังจากชุด โครงการวิจัยข้าวนาน้ำฝน คัดเลือกได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ จึงนำไปขึ้น ทะเบียนรับรองจากกรมวิชาการเกษตร
ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ สถาบันค้นคว้าและ พัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี
วิเคราะห์ คุณค่า ทางโภชนาการ...และได้รับการการันตีว่า มีคุณค่าสูงเหมาะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

คุณสำลี บุญญาวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว แจงข้อมูลดั้งเดิมว่า ...ข้าวเหนียวดำ พันธุ์ลืมผัว เป็นข้าวนาปีพื้น เมืองเดิม
ปลูกในสภาพไร่ บนภูเขาที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ต้น สูงประมาณ 137 เซนติเมตร ออกดอกประมาณวันที่ 15 กันยายน
เมล็ดค่อนข้างอ้วน จำนวนเมล็ดดีต่อรวง เฉลี่ย 130 เมล็ด น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ดประมาณ 37.9 กรัม


สถิติผลผลิตสูง สุด...เมื่อปลูกสภาพไร่และอากาศที่เหมาะสม 490 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อนำมาปลูกใน
พื้นราบจะได้อยู่ราวๆ 200 ถึง 350 กิโลกรัมต่อไร่... การปลูกต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเนื่องจากค่อนข้าง
อ่อนแอต่อโรค และแมลงศัตรูข้าว

ข้าวเหนียวดำลืมผัว...มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มแบบหนุบๆ (คงจะมาจากประเด็น นี้ แม่บ้าน
ได้เปิบแล้วอร่อยจนลืมผัว) นอกจากจะรับประทาน แบบข้าวเหนียวนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว ยังแปรรูปได้หลายชนิด เช่น ผสมกับ
ข้าวขาว ต้มเป็นสีม่วงอ่อน ทำข้าวเหนียวเปียก ชาข้าวคั่ว แบบ pearl barley หรือเครื่องดื่มทั้งมีแอลกอฮอล์และ ปราศ
จากแอลกอฮอล์ซึ่งจะมีสีคล้ายทับทิมสวยงาม ชวนเปิบ

รองอธิบดีกรมการข้าวยังอธิบายต่อถึงคุณค่าทางอาหารและโอสถสารของข้าวลืมผัวว่า....มีสารต้านอนุมูลอิสระ
(Antioxidant) โดยรวมปริมาณสูงถึง 833.77 มิลลิกรัมกรดแอสคอร์บิก ต่อ 100 กรัม วิตามิน อี (อัลฟ่า-โทโคฟีรอล)
ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยลดคอเลสเทอรอล 16.83 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม......กรดช่วยบำรุง สมอง ป้องกัน
ภาวะเสื่อมและช่วยความจำ


ได้แก่ โอเมก้า-3 ปริมาณ 33.94 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม โอเมก้า-6 (ช่วยบรรเทาอาการขาดภาวะเอสโตรเจนของวัย
ทองและช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง) 1,160.08 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และ โอเมก้า-9 ซึ่งช่วยลดคอเลสเทอรอลในเส้น
เลือด ทำให้เส้นเลือดไม่อุดตัน ไม่เป็นโรคหัวใจ โรคพากินสันส์ และช่วยลดความอ้วน 1,146.41 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม

นอกจากนี้ยังมี...แอนโทไซยานิน 46.56 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม โปรตีน 10.63% มีธาตุเหล็กสูงมากถึง 84.18 มิลลิกรัม
ต่อกิโลกรัม แคลเซียม สังกะสี และ แมงกานีส 169.75 23.60 และ 35.38 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม...ตามลำดับและ...ที่
สำคัญอีกตัวคือ แกมม่าโอไรซานอล ซึ่งช่วยลดคอเลสเทอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ตลอดจนช่วยลด การหย่อนสมรรถ
ภาพทางเพศ ปริมาณ 508.09 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม......เฉพาะปัจจัยตัวหลัง คุณผู้ชายวัยทองอย่าให้พลาดเพราะอาจ
เป็นอย่างชื่อข้าว..!!


คนภาคเหนือ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่างจะรู้จัก ข้าวเหนียว "ลืมผัว" เป็นอย่างดี คนโบราณตั้งชื่อว่าข้าวเหนียวดำ "ลืมผัว"
นั้นมีการบอกเล่าจากคนเก่าคนแก่ว่าเป็นคำเปรียบเทียบ หรืออุปมาอุปไมย บอกถึงความอร่อยของรสชาติ มีกลิ่นหอม
เวลาเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มละมุนปากแบบหนุบๆ กินแล้วหลงใหลในรสชาติจนลืมสามีนั่นเอง



http://atcloud.com/stories/81921


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/01/2013 7:49 am, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/12/2012 8:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4. ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
SANGYOD MUANG PHATTHALUNG RICE

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
(Geographical Indications : GI)







ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง เป็นข้าวจากพันธุ์สังข์หยด พัทลุง เดิมเป็นพันธุ์พื้นเมืองปลูกกันมาไม่น้อยกว่า 100 ปี ชาวนาเมืองพัทลุงดั้งเดิมปลูกไว้สำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานบุญ เทศกาลต่าง ๆ ตามประเพณี ไว้หุงต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ผู้มาเยี่ยมเยือน หรือไว้มอบเป็นของกำนัลผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ

ตั้งแต่ปี 2530 ข้าวพันธุ์นี้ได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ให้บริสุทธิ์โดยนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวแห่ง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ซึ่งได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์เรื่อยมา จนได้รับพันธุ์ที่ดีที่สุด ชื่อ "ข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยดพัทลุง" ในปี 2550 เป็นข้าวจ้าวพันธุ์เบามีลักษณะเมล็ดเล็ก เรียวยาว ข้าวกล้องมีสีแดงเข้ม ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร ลักษณะข้าวนุ่ม เมื่อหุงจากข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ รสชาติอร่อย กลิ่นหอมอ่อน ๆ ในข้าวใหม่

ผลิต จากแหล่งปลูกธรรมชาติ ที่ได้ชื่อว่า " อู่ข้าว" ของภาคใต้ เป็นแผ่นดินที่ราบ ระหว่างทิวเขาบรรทัดกับแผ่นน้ำ
ทะเลสาบสงขลา - พัทลุง อันอุดมสมบูรณ์ที่เป็นแหล่งกำเนิด ผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายชนิด "ข้าวสังข์หยด"
เป็นหนึ่งของผลผลิตท้องถิ่นที่สะท้อนถึง ดิน+น้ำ ที่สมบูรณ์สู่... เมล็ดข้าวเรียงเล็ก สีแดงเข้ม อุดมไปด้วยธาตุอาหาร
วิตามิน ที่มีประโยชน์ยิ่งต่อร่างกาย

๏ เป็นข้าวพันธุ์แรกของไทยที่ได้รับการ ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ GI เป็นความภาคภูมิใจ ของชาว
นา เมืองพัทลุง

๏ เป็นข้าวที่ผ่านระบบจัดการคุณภาพ GAP ข้าวควบคู่ระบบ GI ใส่ใจต่อสุขภาพผู้บริโภค ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง

๏ เป็นการผลิตข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือที่ผลิตภายใต้ การควบคุมคุณภาพ ของคณะกรรมการรับรองคุณภาพ ข้าวสังข์หยด
เมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยมีตราสัญลักษณ์ GI ( Geographical Indication) รับรองคุณภาพ

๏ เป็นข้าวดีเมืองพัทลุง หอม นุ่ม รสชาติอร่อย


ลักษณะของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง เป็นข้าวที่มีลักษณะเมล็ดที่มีเยื่อหุ้มสีแดง ข้าวซ้อมมือสีแดงปนขาวข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง เมื่อ
หุงสุกจะมีความนุ่ม


คุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้อง
วิเคราะห์โดย : กองโภชนาการ กรมอนามัย 2547
**วิเคราะห์โดย : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2549
* เป็นข้าวที่ดีต่อสุขภาพ มีไนอะซินสูง(วิตามินบี 3 )ช่วยบำรุงสมอง และประสาทสุขภาพของผิวหนังลิ้นการทำงาน
ของกระเพาะอาหารและลำไส

http://www.moc.go.th/opscenter/pt/Sangyod_index.htm






ที่มา : www.isnhotnews.com






ขยายผลข้าวสังข์หยดสู่ราษฎร




บ้านครองชีพ หรือทุ่งครองชีพ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เดิมมีสภาพเป็นป่าพรุเสม็ด ปกคลุมไปด้วย
ไม้เสม็ดเต็มพื้นที่ ในช่วงปี 2484 ทางราชการได้เปิดโอกาสให้ราษฎรเข้าจับจองทำกิน โดยกำหนดให้ครอบครัวละ 50 ไร่
มีการปรับพื้นที่ป่าเสม็ดให้เป็นพื้นที่ทำนา

ต่อมามีราษฎรจากเขตอำเภอใกล้เคียงและจังหวัดใกล้เคียงอพยพเข้ามาบุกรุกจับจองพื้นที่แห่งนี้มากขึ้น ทำให้มีการแย่ง
ชิงที่ดินทำกิน จนเกิดความไม่สงบขึ้นถึงขั้นรุนแรง กระทั่งถึงปี 2486 ได้มีการจัดแบ่งพื้นที่ทำกินใหม่ โดยแบ่งให้ครอบครัว
ละ 30 ไร่ ทำให้ทุ่งครองชีพเป็นที่นาผืนใหญ่ จนเป็นที่ยอมรับกันว่าผลผลิตจากนาข้าวของบางแก้ว สามารถเลี้ยงคนได้ทั้ง
จังหวัด

ต่อมาประสบกับภาวะทางธรรมชาติ เกิดความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง การทำนาล้มเหลว ที่นากลายเป็นนาร้าง ราษฎรหนุ่มสาว
ต้องอพยพไปรับจ้างขายแรงงานในต่างถิ่น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้าน
หัวป่าเขียว ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2543 ทรงทราบถึงความยากจน
ของราษฎรจังหวัดพัทลุง จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้หาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อจัดทำโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ เพื่อ
ให้ราษฎรเข้าไปศึกษาหาความรู้โดยการปฏิบัติจริง แล้วนำกลับไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง ในการนี้ ประชาชนจำนวน 93
ราย ได้ร่วมกันบริจาคที่ดินรวม 254 ไร่ 3 งาน 12 ตารางวา ให้เป็นพื้นที่สำหรับดำเนินงาน

มีการจ้างงานในฟาร์ม โดยได้รับเงินอุดหนุนจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ให้กับราษฎรที่เข้ามาทำงานภายในฟาร์ม โดยมีการผลิตเปลี่ยนหมุนเวียนการฝึกอบรมให้ครบทุกงาน และจะมีการจ้างเพิ่ม
ขึ้นตามปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น เมื่อได้รับพระราชทานโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ทำให้ราษฎรไม่ต้องทิ้งถิ่นฐาน สามารถมี
รายได้เพื่อการยังชีพ อีกทั้งมีความรู้และสามารถนำกลับไปใช้ในพื้นที่ของตนเองได้ดีขึ้น

ต่อมาในปี 2554 ในงานนาข้าวได้มีการปลูกข้าวสังข์หยด ซึ่งเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราช
ดำเนินเยี่ยมฟาร์มตัวอย่างฯ ในปี 2546 พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริให้มีการฟื้นฟูการผลิตข้าวพันธุ์นี้ขึ้นมาใหม่
และต่อมาได้มีการจดทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เมื่อปี 2550 ในชื่อ “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง”

ข้าวสังข์หยด เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม มีแหล่งกำเนิดในจังหวัดพัทลุง นิยมปลูกมากในจังหวัดพัทลุง และนครศรีธรรม
ราช จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยดประมาณ 13,000 ไร่ อำเภอที่มีการปลูกมากที่สุด คือ อำเภอควนขนุน อำเภอ
ปากพะยูน อำเภอเมืองพัทลุง และอำเภอบางแก้ว ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 450 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับการปลูกข้าวสังข์
หยดในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ปลูกประมาณ 2,000 ไร่ ได้แก่ อำเภอปากพนัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอ
เชียรใหญ่ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 350 กิโลกรัม/ไร่

ปัจจุบันได้มีการขยายผลกิจกรรมจากฟาร์มตัวอย่าง เพื่อให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้และศึกษาการทำการเกษตรที่เหมาะสม
และถูกต้อง และได้นำผลสำเร็จของโครงการขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ตำบลนาปะขอ และตำบลท่ามะเดื่อ เพื่อเป็น
แหล่งเรียนรู้ และแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ทำให้ราษฎรหวนกลับมา
ยังถิ่นฐานบ้านเดิมเพื่อประกอบอาชีพในถิ่นฐานของตนเองมากขึ้นในทุกวันนี้.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/170920





ขึ้นทะเบียนข้าวสังข์หยด





ทั้งนี้ ได้มีการขึ้นทะเบียนข้าวพันธุ์สังข์หยดเป็นข้าวจีไอพันธุ์แรกของประเทศไปแล้ว ซึ่งส่งผลให้ข้าวสังข์หยดเป็นที่นิยมในผู้บริโภคทั้งในและตลาดต่างประเทศ จนกระทั่งผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีพันธุ์ข้าวอีกหลายพันธุ์ที่สามารถผลักดันไปสู่การเป็นข้าว จีไอ เช่น ข้าวก่ำล้านนา ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งและพันธุ์ล้วนมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานและน่าสนใจทั้งสิ้น.

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กรมการข้าวมีแผนการพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ที่มีอยู่ไม่ต่ำกว่า 16,000 สายพันธุ์ โดยการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นพันธุ์ที่มีความพิเศษเฉพาะพื้นที่ เพื่อขึ้นทะเบียนรับรองเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือข้าว จีไอ (GI) ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นเมืองได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตข้าว รวมทั้งเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดได้เป็นอย่างดี

ที่มา : www.isnhotnews.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2013 12:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/12/2012 8:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

5. ข้าวพันธุ์เจ๊กเชย


ข้าวพันธุ์เจ๊กเชยเป็นข้าวพื้นเมืองเป็นต้นแบบของคุณภาพดีที่ปลูกในอำเภอหนองแซง แต่ในปัจจุบันเรียก เป็นข้าวเสาไห้
เนื่องจากในอดีต หนองแซงเป็นกิ่งอำเภอที่ขึ้นกับอำเภอเสาไห้ ข้าวพันธุ์เจ๊กเชยเป็นข้าวที่ทุกคนยอมรับในเรื่องคุณภาพ
ที่ยากจะหาข้าวพื้นเมืองอื่นมาเทียบ การปรับปรุง กระบวนการผลิตข้าวเสาไห้โดยใช้พันธุ์เจ๊กเชย ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ.
2460-2479 โดย ดร.ครุย บุณยสิงห์ ได้รายงานผลการทดลองเรื่องข้าว ของพระยาโภชากร และหม่อมหลวงยิ่งศักดิ์
อิศรเสนา ในพื้นที่อำเภอหนองแค สระบุรี ว่า ข้าวพันธุ์เจ๊กเชยเป็นข้าวที่มีผลผลิตสูงและเป็นข้าวคุณภาพที่ดีที่สุด
ในปีพ.ศ. 2545 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีได้รวบรวมพันธุ์ข้าวเจ๊กเชย นำมาคัดเลือกพันธุ์ที่บริสุทธิ์ เรียกว่า “ข้าวพันธุ์
เจ๊กเชย”





ภาพข้าวพันธุ์เจ๊กเชย
ที่มา: www.riceproduct.org

1. แหล่งข้าวที่ปลูกพันธุ์เจ๊กเชย ที่มีคุณภาพและสร้างชื่อเสียงในด้านคุณภาพของข้าวเสาไห้ อยู่ในพื้นที่ราบลุ่มส่วนใหญ่
ของอำเภอเสาไห้ และเนวคิดที่ติดต่อกับอำเภอเมือง อำเภอหนองแซง อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง อำเภอบ้านหมอ
อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี

2. ลักษณะข้าวพันธุ์เจ๊กเชยเป็นข้าวที่ไวต่อแสง ออกดอกวันที่ 5-10 พฤศจิกายน มีความสูงประมาณ 160 เซนติเมตร
คอรวงยาว รวงข้าวมีความยาวเฉลี่ย 33 เซนติเมตร ระแง้ถี่ เป็นข้าวเมล็ดยาวน้ำหนักดี สีของกาบใบมี 2 ลักษณะ คือ เจ๊ก
เชยกาบใบไม้สีม่วง และเจ๊กเชยกาบใบสีเขียว ระยะเวลาปลูกข้าวเริ่มจากเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม เป็นช่วงที่
เหมาะสมกับการเพาะปลูกเป็นช่วงฝนตกประมาณ 91 วันจากจำนวนวันตกตลอดปี 108 วัน เก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม ถึง
ดือนมกราคมที่มีอากาศแห้ง ทำให้ข้าวมีคุณภาพดี


การอนุรักษ์ข้าวพันธุ์เจ๊กเชยในหนองแซง
ที่มา : ภาพถ่ายของ ปฤศนา รื่นถวิล, 2550

ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์เจ๊กเชย
1. เป็นข้าวพื้นเมืองที่มีเปอร์เซนต์อมิโลสสูง (27-28%) ข้าวเมื่อสุกแล้วค่อนข้างร่วน เป็นข้าวพื้นเมืองที่ปลูกในภาคกลาง
ซึ่งมีอยู่หลายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์เจ๊กเชย ขาวกอเดียว เหลืองทอง เหรีญทอง ขาวสมนึก ขาวตาหมี ซึ่งในปัจจุบันชาวนา
ในจังหวัดสระบุรีก็ยังปลูกข้าวพันธุ์เจ๊กเชยที่มีคุณภาพในการหุงที่ดี

2. เป็นข้าวหุงสุกร่วน ข้าวเป็นตัว ขึ้นหม้อ ไม่แฉะ รสชาติไม่แข็งกระด้าง
3. เป็นข้าวที่ไม่ยุบตัวเมื่อราดแกงตามความนิยมการบริโภคข้าวไทย
4. ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ เมื่อเคี้ยวจะสามารถสัมผัสรสชาดได้ถึงเนื้อข้าว
5. เป็นข้าวไม่บูดง่าย เมื่อทิ้งไว้เย็นข้ามวันคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง
6. เป็นข้าวที่ไม่มีกลิ่นสาบ เมื่อนำมาหุงถึงแม้จะเป็นข้าวค้างปี

7. เป็นข้าวที่มีประวัติที่สื่อถึงวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกัน มีการเกื้อกูลกันของกลุ่มคนต่างเชื้อชาติ ที่มีความผูกพันของ
ชุมชนผู้ปลูกข้าว กับพ่อค้าเชื้อสายจีน ชื่อ เจ๊กเชย ซึ่งเดินทางมาค้าขาย

8. เป็นข้าวที่เกิดจากปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาชั่วลูกหลาน อย่างไรตาม ประเทศไทยมีการฟื้นฟูพันธุ์ข้าวเจ๊กเชย
ให้กลับมาเป็นข้าวในกลุ่มข้าวแข็ง ที่เรียกว่า ข้าวเสาไห้



http://122.155.167.158/~nongsaengd/?page_id=642






ข้าวเจ๊กเชย




ข้าวเจ๊กเชย เป็นข้าวเสาไห้พันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเมื่อครั้งอดีต เป็นข้าวเจ้าที่มีอมิโลสสูงและถือได้ว่าดีที่สุดใน
ข้าวพันธุ์เสาไห้ มีบันทึกเกี่ยวกับข้าวพันธุ์นี้ไว้ว่าเป็นข้าวที่พ่อค้าชาวจีน ซึ่งทำการค้าข้าวขึ้นล่องเรือระหว่างแม่น้ำ
เจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก มีชื่อว่า “เจ๊กใช้” เป็นผู้รวบรวมข้าวส่งโรงสีแถบ จ.สระบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา และกรุง
เทพมหานคร ได้นำพันธุ์ข้าวลักษณะดีจาก จ.นครสวรรค์ มาให้เกษตรกรปลูกที่ อ.เสาไห้ ภายหลังจากทำการสีออก
มาพบว่า เป็นข้าวคุณภาพดี เมล็ดยาวน้ำหนักดี หุงขึ้นหม้อ และนุ่ม เมื่อเย็นแล้วไม่บูดง่าย ทำให้กลายเป็นที่นิยมของ
ชาวเสาไห้ จนมีการเรียกชื่อพันธุ์ข้าว ตามชื่อพ่อค้าที่นำมา แต่ได้เพี้ยนมาเป็น “เจ๊กเชย” ในเวลาต่อมา

ข้าวชนิดนี้เมื่อหุงสุกแล้วนุ่ม ไม่แข็ง หุงขึ้นหม้อ กินอร่อย ราดข้าวแกงแล้วไม่ยุบตัว ไม่บูดง่าย หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว
ตัดฟางส่งขายเพาะเห็ดได้ดี เนื่องจากฟางที่ได้แข็งและยาว แต่เนื่องจากที่ให้ผลผลิตต่ำประมาณ 30 ถังต่อไร่ เป็น
ข้าวไวต่อแสง ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และทำการเก็บเกี่ยวได้ประมาณวันที่ 5-10
ธันวาคม จึงทำให้ความนิยมปลูกของเกษตรกรลดลง และหันไปปลูกข้าวพันธ์ุอื่นที่ให้ผลผลิตมากกว่า และปลูกได้
อย่างต่อเนื่องในรอบปีแต่ก็ยังมีเกษตรกรแถบจังหวัดสระบุรีบางส่วนยังคงปลูกอยู่เพื่อรับประทานภายในครอบครัว

ปัจจุบันได้มีการเก็บรวบรวมพันธ์โดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยว ข้อง เพื่อรอการส่งเสริมการปลูกในวันข้างหน้าและไม่
ให้พันธุ์ข้าวชนิดนี้สูญหายไปจากประเทศไทย.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/172850


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/12/2012 9:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/12/2012 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

6.



ชื่อพันธุ์
ซิวแม่จัน (Sew Mae Jan)

ชนิด
ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์
ได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์จากเกษตรกร ในหมู่บ้านหนองบัว ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ปลูกคัดเลือก
และเปรียบเทียบผลผลิต ที่สถานีทดลองพืชไร่เชียงราย และสถานีทดลองข้าวพาน

การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2522






ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง สูงประมาณ 110 – 150 เซนติเมตร
ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน
อายุเก็บเกี่ยว ประมาณปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม
ลำต้นและใบสีเขียว ข้อต่อใบ ขอบใบและเขี้ยวกันแมลงสีม่วง ใบแคบและยาว คอรวงยาว เมล็ดยาว
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุดสีม่วง
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.8 x 2.7 x 2.1 มิลลิเมตร
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.4 x 2.2x 1.8 มิลลิเมตร
คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

ผลผลิต
ประมาณ 456 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
ปลูกได้ทั้งสภาพไร่ และสภาพนาี
ลักษณะเมล็ดยาวเป็นที่นิยมของตลาด
คุณภาพการสี และการหุงต้มดี
ต้านทานโรคไหม้ในสภาพธรรมชาติ
ทนแล้งปานกลาง

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคเน่าคอรวง
ไม่ต้านทานแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ข้าวไร่ และข้าวนาสวนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



ที่มา


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/01/2013 7:50 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/12/2012 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7.


ชื่อพันธุ์ - ดอกพะยอม (Dawk Pa-yawm)

ชนิด - ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ - ได้จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองในพื้นที่ภาคใต้ โดยเจ้าหน้าที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ในระหว่างปี พ.ศ. 2502 – 2521 ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าวภาคใต้

การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2522





ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวไร่ ข้าวเจ้าพื้นเมือง สูงประมาณ 150 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน
- อายุเก็บเกี่ยว ถ้าปลูกต้นเดือนมิถุนายน เกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ถ้าปลูกปลายเดือนสิงหาคม เกี่ยวปลายเดือนมกราคม
(อายุประมาณ 145 – 150 วัน)
- ลำต้นเขียว ใบยาว ค่อนข้างแคบ ชูรวงดี เมล็ดเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟางก้นจุด
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 2 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.4 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.3 x 2.2 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 24 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม มีกลิ่นหอม


ผลผลิต
- ประมาณ 250 กิโลกรัมต่อไร่



ลักษณะเด่น
- คอรวงยาว เหมาะสำหรับเกี่ยวด้วยแกระ
- ปลูกเป็นพืชแซมยางได้ดี
- ต้านทานโรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบขีดสีน้ำตาล


ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบวงสีน้ำตาล


พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่ข้าวไร่ในภาคใต้






http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=99.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/12/2012 9:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 22/12/2012 10:44 pm    ชื่อกระทู้: รวมสายพันธุ์ข้าว ทุกสายพันธุ์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม

ลุงน่าจะเปิดกระทู้นี้ตั้งนานแล้วนะครับ

ขอให้กระทู้นี้ เป็นกระทู้ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ หรือศูนย์ข้อมูล ที่รวมสายพันธุ์ข้าว ทั้งพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ผสม ทุกสาย
พันธุ์นะครับ ....คิดว่า ชาวนาบางคน ตั้งแต่เกิดจนตาย อาจไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยรู้จัก ด้วยซ้ำไป

เรื่องสายพันธุ์บางสายพันธุ์ อาจจะพอหาได้ ไม่จากบนดิน ก็บนดอย และข้าวบางสายพันธุ์ ที่บอกว่าปลูกได้แต่ทางใต้
เช่น สังข์หยด อาจจะไปปลูกทางภาคเหนือแล้วให้ผลผลิตสูงก็น่าจะเป็นได้ ดังเช่น ยางพารา กาแฟโรบัสต้า เป็นต้น





2 รูปนี้ บังเอิญเป็น โบชัวร์ อาจไม่ชัดนัก ก็ขยายพอดู พอเดาเอาก็แล้วกัน ...กินข้าวเป็นยานะครับ



ลุงอาจมีข้อมูลข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ อยู่แล้ว ผมขออนุญาต นำเสนอรายชื่อ เผื่อว่า ลุงอาจจะตกหล่นหลงลืม ตามประสา
คนงานแยะ ....เอาเป็นว่า ผมอยากรู้ แล้วถามลุงก็แล้วกันนะครับ....(จะได้ถึง 150 สายพันธุ์มั๊ยเอ่ย)


8. รวมพันธุ์ข้าวกะเหรี่ยง (1)

1. เจ้าลีซอ สันป่าตอง
2. เจ้าขาว ลาซอ
3. หลวงสันป่าตอง
4. บือพะทอ
5. บือโปะโละ

6. บือพะโด่
7. น้ำรู
8. ขี้ช้าง
9. งาช้าง
10. เว ตะ โม

11. เบ ลี โซ่
12. ดรา มะ ดะ
13. ข้าวก่ำล้านนา



แค่นี้ก่อนครับ พยายามจะไม่ให้ซ้ำกับที่ลุงนำเสนอแล้ว




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/12/2012 7:01 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมสายพันธุ์ข้าว ทุกสายพันธุ์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:

ลุงน่าจะเปิดกระทู้นี้ตั้งนานแล้วนะครับ
ตอบ :
ทำไมต้องลุงด้วย ใครก็ได้ บอกแล้วไง ที่นี่ "สังคมแห่งการแบ่งปัน" FREE STYLE ครับผม....

ไม่ต้องกลัวผิดกลัวถูก ที่นี่ไม่มีผิดไม่มีถูกมีแต่ความเหมาะสม เปิดมาเถอะกระทู้น่ะ ใครไม่อ่านก็คือไม่อ่าน
เราโพสเองอ่านเองก็ได้ ได้ ความรู้-ความทรงจำ ของเราเอง

บอกให้.....อ่าน 100 ครั้ง ไม่เท่าโพส 1 ครั้ง

แค่นี้ก่อนครับ พยายามจะไม่ให้ซ้ำกับที่ลุงนำเสนอแล้ว
ตอบ :
GO AHEAD .......well


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/02/2013 5:33 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/12/2012 2:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

9.



ชื่อพันธุ์
เจ้าลีซอสันป่าตอง (Jow Lisaw San-pah-tawng)

ชนิด
ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกร อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่ ปี 2522 ปลูกศึกษาพันธุ์และ
เปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้าว และสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวในภาคเหนือ
จนได้สายพันธุ์ เจ้าลีซอ SPTC80279-3

การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547







ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง สูงประมาณ 145 เซนติเมตร
อายุเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 16 ตุลาคม
ทรงกอตั้งตรง ไม่ล้มง่าย รวงยาวเฉลี่ย 24 เซนติเมตร ระแง้ถี่ รวงแน่น คอรวงสั้น
เมล็ดสีฟาง มีขนบนเปลือกเมล็ด กลีบรองดอกยาว
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.0 x 3.1 x 2.4 มิลลิเมตร
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.3 x 2.9 x 1.9 มิลลิเมตร

ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ 4 สัปดาห์
ปริมาณอมิโลสต่ำ (16.07%)

ผลผลิต
เฉลี่ย 391 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
ต้านทานต่อโรคไหม้

ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เจ้าฮ่อ 13 เปอร์เซนต์
คุณภาพการสีดี

ข้อควรระวัง
ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว

พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ราบและที่สูงไม่เกิน 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล





ที่มา :http://www.brrd.in.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/12/2012 10:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 23/12/2012 3:42 pm    ชื่อกระทู้: Re: รวมสายพันธุ์ข้าว ทุกสายพันธุ์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="kimzagass"]
DangSalaya บันทึก:

ลุงน่าจะเปิดกระทู้นี้ตั้งนานแล้วนะครับ
ตอบ :
ทำไมต้องลุงด้วย ......


Because the Confidential beneath Ant & LION.

ไม่ต้องกลัวผิดกลัวถูก ที่นี่ไม่มีผิดไม่มีถูกมีแต่ความเหมาะสม เปิดมาเถอะกระทู้น่ะ ใครไม่อ่านก็คือไม่อ่าน
เราโพสเองอ่านเองก็ได้ ได้ ความรู้-ความทรงจำ ของเราเอง

บอกให้.....อ่าน 100 ครั้ง ไม่เท่าโพส 1 ครั้ง


ไม่ได้กลัวผิด ไม่ได้กลัวถูก ไม่ได้อ่านคนเดียว อย่างน้อยก็ มีลุง มีผม มีทิดบัติ มียัยเฉิ่ม และเจ้าตุ๊ดตู่ ครบองค์
5 ทำสังฆกรรมได้แล้วครับ อ้อไม่ได้เพราะยัยเฉิ่มไม่ได้เป็น ภิกษุณี ครบแค่องค์ 4 สวดผีได้ เงินดีด้วย กุศลาฯ 3 จบ
แป๊บเดียวอย่างน้อย ๆ ได้แล้ว 100


แค่นี้ก่อนครับ พยายามจะไม่ให้ซ้ำกับที่ลุงนำเสนอแล้ว
ตอบ :
GO AHEAD .......well


ผมน่ะ (ปุจฉา) ลงแต่ชื่อสายพันธุ์ข้าว ส่วนลุงน่ะ(วิสัชชนา) เป็นฝ่ายหาข้อมูลมาลง เรียบง่าย...Gentleman agreement
ครับ ....ได้ข้อมูลครบทุกสายพันธุ์หรือไม่ครบไม่เป็นไร เพราะบางสายพันธุ์ อาจสูญพันธุ์ไปแล้ว เค้าบอกว่า หางานเบา ๆ
ให้คนสูงวัยมีงานทำ จิตใจจะได้เบิกบาน ไม่หด ไม่หู่...


ลุง ไม่พูด ไม่บ่น ไม่ว่า แต่ในใจ ...มึงช่างหางานบ้า ๆ มาให้กูแท้ ๆ ...
.




ปุจฉา.....สายพันธุ์ข้าวลำดับต่อไป

10. รวมพันธุ์ข้าวกะเหรี่ยง (2)

14. บือบิอิ
15. บือเกว๊ะ...(ไร่ละ 70 ถัง)
สองสายพันธุ์นี้ น่าจะหาเมล็ดพันธุ์ได้ ที่บ้านแม่ลานคำ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ครับ...กีอาหร่อ..(กินอร่อย)

อันดับต่อไปเป็นชื่อสายพันธุ์ข้าวที่ผมคัดลอกจากสมุดบันทึกของเค้ามาอีกที มีทั้งพันธุ์ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว

สัญญลักษณ์ จ. คือข้าวเจ้า และ น. คือข้าวเหนียว OK นะครับ

16. ข้าวสันป่าตอง มข. (น) หรือข้าวสันป่าตองสมเด็จพระเทพฯ ข้าวที่มีการสลายตัวของน้ำตาลช้า เหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวาน
17. ข้าวของกษัตริย์ก้นจุด (จ) ปลูกทั่วไปในกัมพูชา เมล็ดเล็ก ก้นเมล็ดมีจุด ให้ผลผลิตมาก กระด้าง ไม่หอม

18. ข้าวของกษัตริย์ก้นขาว (จ) เมล็ดเล็ก ก้นไม่มีจุด สองพันธุ์นี้ สงสัย พระเจ้าชัยสุริยะวรมันต์ ทรงชอบเสวย
19. ข้าวจำปาแก้วมีหาง (จ) รวงใหญ่ เมล็ดเรียวเล็ก มีหาง(ยาวหรือสั้นไม่ได้บอกไว้)

20. ข้าวจำปาแก้วไม่มีหาง (จ) รวงใหญ่ ให้ผลผลิตดี เมล็ดเล็กเรียว นุ่ม แต่ไม่หอม
21. ข้าวถอด (น) ข้าวหนัก (180-200วัน) เมล็ดใหญ่ ยาว แต่ไม่เรียว นุ่ม ไม่หอม

22. ข้าวหางนก (น) เมล็ดใหญ่มาก แต่สั้น
23. ข้าวขี้ตมพันธุ์ (น) เมล็ดใหญ่ สั้นเหมือนข้าวหางนก แต่เปลือลายกว่า

24. ข้าวตมพันธุ์ (น) ต้นออกสีม่วง เมล็ดลาย เมล็ดใหญ่ ยาวปานกลาง นุ่ม แต่ไม่หอม
25. ข้าวหอมทุ่งขาว (น) ข้าวหนัก ต้นใหญ่สูง นุ่ม เมล็ดดี แต่ไม่หอม

26. ข้าวจำปาหวาย (น) ข้าวหนัก ต้นใหญ่ เมล็ดใหญ่ เปลือกสีนวล
27. ข้าวแตงอ่อน (น) เมล็ดใหญ่ ความยาวปานกลาง เปลือกมีลายริ้วคล้ายผลแตง นุ่ม แต่ไม่หอม

28. ข้าวลี้นก (น) ข้าวนาปรัง เมล็ดคล้าย กข6 แต่ใหญ่กว่า
29. ข้าวเจ้าพวงเงิน (จ) ข้าวนาปรัง เมล็ดเล็ก ไม่ต้านทานโรค(อะไรไม่ได้บอกไว้)

30. ข้าวอีด่าง (น) ข้าวเหนียวพื้นบ้าน เมล็ดใหญ่ เหนียวนุ่ม แต่ไม่หอม

วันนี้พอแค่นี้ก่อนครับพิมพ์ไป พิมพ์มา ตาลาย และสงสารลุงแกด้วย แค่นี้ก็ค้นหากันตาเหล่แล้ว อดทนไว้ครับลุง ....นึกเอาไว้
แหล่งรวมสายพันธุ์ข้าวเพื่อมวลสมาชิกและมนุษยชาติ...ได้บุญหลาย ๆ เด๊อครับ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/12/2012 8:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

11. "ข้าวก่ำดอยสะเก็ด" ของดีใกล้ตัวชาวล้านนา


ทความ "ข้าวก่ำดอยสะเก็ด"ของดีใกล้ตัวชาวล้านนา ป้องกันมะเร็ง รักษาเบาหวาน ลดความเสื่อมของเซลล์





ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ศึกษาข้าวก่ำดอยสะเก็ด พบสารสำคัญสีม่วงแดงของเปลือกหุ้มเมล็ด มีแกมมา-
โอไรซานอล สูงกว่าข้าวขาวทั่วไปถึง 2-3 เท่า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้ง
การหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และพบแอนโทไซยานิน สารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ต้านการเกิดปฏิกิริยา
ออกซิเดชัน ช่วยหมุนเวียนกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ ลดโอกาสการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งชนิดเนื้องอก
เมื่อทดสอบในสัตว์ทดลองที่มีภาวะเบาหวาน พบว่าให้ผลดีเช่นเดียวกับการฉีดอินซูลินหรือยา metfor-min

ดร.นริศรา ไล้เลิศ จากกลุ่มวิจัย "คลัสเตอร์มูลค่าเพิ่มการผลิตและแปรรูปพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวด
ล้อม" ความร่วมมือของคณะเกษตรศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ มช.ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (NRU)
เปิดเผยว่า หลายคนอาจไม่รู้จักข้าวก่ำ (Purple Rice) แต่ถ้าพูดว่า ข้าวเหนียวดำ (Black Sticky Rice) ก็จะร้อง
ว่าอ๋อกันเลยทีเดียว





"ข้าวก่ำ หรือข้าวเหนียวดำ เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวชนิดหนึ่งที่มีเมล็ดเป็นสีออกแดงม่วงหรือแดงก่ำ จึงเป็นที่มาของชื่อ
ข้าวก่ำ และเป็นชื่อเรียกตามภาษาถิ่นของภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการรวบรวมแหล่งปลูกข้าวในประ
เทศไทย โดยหน่วยวิจัยข้าวก่ำ คณะเกษตรศาสตร์ มช.พบว่ามีพันธุ์ข้าวก่ำพื้นเมืองมากกว่า 42 พันธุกรรม แต่ที่ได้
รับการส่งเสริมให้ปลูกและขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์เป็นข้าวเหนียวก่ำจากกรมวิชาการเกษตรมีเพียงบางพันธุ์เท่านั้น เช่น
พันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด (Kum Doisaket) พันธุ์ก่ำอมก๋อย (Kum Omkoi) และพันธุ์ก่ำลืมผัว ตัวล่าสุด"

ดร.นริศรา กล่าวว่า สำหรับพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด เป็นพันธุ์ข้าวก่ำที่มีสารก่อประโยชน์ต่อร่างกายสูง ได้รับการส่งเสริมให้
เกษตรกรปลูกเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากข้าวก่ำดอยสะเก็ดเมื่อหุงสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เคี้ยวจะรู้สึกมัน นุ่มแบบ
หนุบๆ จึงถูกนำมาใช้บริโภคเป็นอาหาร และนิยมใช้เป็นส่วนผสมหลักในการทำขนมต่างๆ หรือนำไปใช้เป็นสมุนไพร

"ทั้งการทำเป็นข้าวหลามรักษาโรคท้องร่วง หรือใช้รักษาอาการตกเลือดของหญิงคลอดลูก นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
ล้านนาทางโภชนศาสตร์ เกษตรและเภสัชศาสตร์ ที่สำคัญคือคุณค่าทางโภชนาการของข้าวก่ำดอยสะเก็ดพบว่า นอกจาก
จะสารอาหารสำคัญคือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินอี รวมทั้งแคลเซียมและ
เหล็กสูงแล้ว สารสำคัญสีม่วงแดงของเปลือกหุ้มเมล็ด คือ แกมมาโอไรซานอล (Gamma Oryzanol) ที่สูงกว่า
ข้าวขาวทั่วไปถึง 2-3 เท่า และที่น่าสนใจคือ ข้าวก่ำดอยสะเก็ดสามารถสังเคราะห์แอนโทไซยานิน (Anthocyanin)
ได้ด้วย"





ดร.นริศรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งสารแกมมาโอไรซานอลและแอนโทไซยานินนั้น ผลการศึกษาวิจัยและรายงานในวารสาร
สาขาวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์พบว่ามีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น สารแอนโทไซยานินมีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นสา
รต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง มีฤทธิ์ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (antioxidant) ช่วยในการหมุนเวียน
ของกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย ช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งชนิด เนื้องอก ช่วย
เสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรคและสมานแผล เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีขึ้น ส่วนสารแกมมาโอไรซานอลนั้น นอกจาก
มีคุณสมบัติเป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันแล้ว ยังสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลี-
เซอไรด์ และเพิ่มระดับของ high density lipoprotein (HDL) ในเลือด ยังยั้งการรวมตัวของเลือดและยับยั้งการหลั่ง
กรดในกระเพาะอาหารอีกด้วย

"ด้วยสรรพคุณที่มีประโยชน์ดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันกระแสความนิยมบริโภคอาหารที่มีสารสีม่วงดำในผักและผลไม้ จึงได้
รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพทุกเพศทุกวัย และล่าสุดเตรียมพัฒนาต่อยอด
เพื่อเป็นอาหารสุขภาพ (food supplement) หรือยาเสริม (additive treatment) สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลรักษา
สุขภาพหรือผู้ป่วยเบาหวานต่อไป เพราะรำข้าวก่ำดอยสะเก็ดมีผลต่อการลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด (antihypergly-
cemia) ลดระดับไขมันในเลือด (hypolipidemia) และลดการเกิดสารอนุมูลอิสระในเลือด (antioxidant)"



สำนักข่าวเห็ดลม รายงาน



ที่มา www.hedlomnews.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:15 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/12/2012 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


12. พันธุ์ข้าว น้ำรู (Nam Roo)



ชื่อพันธุ์
- น้ำรู (Nam Roo)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการวบรวมพันธุ์จากชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ บ้านน้ำรู ดอยสามหมื่น อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
โดยนายวิฑูรย์ ขันธิกุล ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิต ที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาว
สะเมิง และสถานีทดลองเกษตรที่สูงในภาคเหนือ

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2530




.....



ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวไร่ ข้าวเจ้า มีความสูงประมาณ 141 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน
- อายุเก็บเกี่ยว ถ้าปลูกในระดับความสูง 1,100 – 1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเลจะเก็บเกี่ยวประมาณกลาง
เดือนตุลาคม ถ้าปลูกในระดับสูงกว่านี้จะออกดอกช้าลง แต่ถ้าต่ำกว่านี้จะออกดอกเร็วขึ้น
- ลำต้นตรง สีเขียวค่อนข้างแข็งไม่ล้มง่าย ทรงกอค่อนข้างแน่น แตกกอดี ใบยาว แผ่นใบกว้างปานกลาง
ค่อนข้างตรง มีขนเล็กน้อย กาบใบสีเขียว ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดร่วงปานกลาง ส่วนใหญ่ไม่มีหาง แต่เมล็ด
ปลายระแง้อาจจะมีหางสั้นๆ
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.7 x 7.1 x 1.9 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 23.4%
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม


ผลผลิต
- ประมาณ 247 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ปรับตัวได้ดีในที่มีอากาศหนาวและบนที่สูงมากๆ
- ต้านทานโรคเมล็ดด่างได้ดีในสภาพธรรมชาติ
- ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ใบสีส้ม โรคใบหงิก โรคเขียวเตี้ย โรคหูด
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- ไม่ต้านทานโรคเน่าคอรวง

พื้นที่แนะนำ
- สภาพไร่ในที่สูง ระดับตั้งแต่ 1,000 – 1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง







http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/06/Nam_Roo.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:15 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 23/12/2012 10:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:





ชื่อพันธุ์
ซิวแม่จัน (Sew Mae Jan)

ชนิด
ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์
ได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์จากเกษตรกร ในหมู่บ้านหนองบัว ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ปลูกคัดเลือกและเปรียบเทียบผลผลิต ที่สถานีทดลองพืชไร่เชียงราย และสถานีทดลองข้าวพาน

การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2522



หมู่บ้านหนองบัว อยู่ห่างจากบ้านที่พักออกมาก่อนเข้าเวียงประมาณ 7 กม.ครับ ผมเคยไปขี่รถวนถามหา
ชาวนาแถวนั้นว่ามีใครปลูกข้าวพันธุ์นี้อยู่บ้าง คำตอบคือไม่มี....อาจเป็นเพราะเวลาที่การรับรองพันธุ์ข้าว
เมื่อปี 2522 เวลาผ่านมา 31 ปี อะไร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปมาก เลยไม่มีคนปลูก

เมื่อปี 2554 เคยไปถามที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย อยู่ที่ อ.พาน ซึ่งเคยมีปลูกอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ
ข้าวเหนียงสันป่าตอง,
ข้าวหลวงสันป่าตอง, และ
ซิวแม่จัน

มาปี 2555 เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ศูนย์วิจัยผลิตออกมา ได้ส่งไปที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวต่าง ๆ หมดแล้ว ..จะมีข้าว
ของศูนย์ข้าวชุมชน ซึ่งอยู่ในความดูแลของศูนย์วิจัยฯ ซึ่งมี 3 สายพันธุ์ คือ กข6, กข15, มะลิ105 ขณะ
นี้ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว

สำหรับข้าวสายพันธุ์ ซิวแม่จัน ผมได้ข้อมูลจากพี่ชายว่า มีคนปลูกอยู่ที่ ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด
จังหวัดขอนแก่น ...เป็นงง... กำลังเสาะหาที่อยู่ที่พอจะติดต่อได้อยู่ ได้ความอย่างไรจะเรียนให้ทราบต่อไป

สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์วิจัย ฯ และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ต่าง ๆ เรื่องราวของการผลิตข้าวสายพันธุ์
ต่าง ๆ ออกจะลึกลับซับซ้อน พูดง่าย ๆ คือแทนที่จะวิจัย หรือผลิตเมล็ดพันธุ์ที่กินแล้วมีประโยชน์หรือสาย
พันธุ์ที่เคยผลิตออกจำหน่าย กลับกลายเป็นผลิตตามใบสั่ง เช่น พล.2 สุพรรณ 1 ปทุมซีโอ เพื่อเอาไปทำแป้ง
หรือเพื่อเอาไปทำประกันราคา เพราะถ้าไม่ปลูกตามนั้นจะประกันราคาไม่ได้

ฉะนั้น อยากกินข้าวดี ๆ มีประโยชน์ ก็คงต้องแสวงหาสายพันธุ์มาปลูกกันเอง ขายกันเอง

ขอให้ลุงใช้กระทู้นี้เป็นที่รวบรวมสายพันธุ์ข้าวแปลก ๆ ต่อไปนะครับ สำหรับเมล็ดพันธุ์ตงต้อง กระเสือกกระสน
ดิ้นรน แสวงหากันไปตามมีตามเกิด และทิดแดง ก็คงจะสรรหารายชื่อข้าวพันธุ์แปลก ๆ มาให้ลุงได้ขุดค้น
เจาะลึก เพื่อมวลสมาชิกและคนที่สนใจ นำไปศึกษาต่อไป....

สำหรับข้าวก่ำดอยสะเก็ด เมล็ดพันธุ์.... Where is where where (เป็นภาษาที่เด็กชอบพูดกันครับ)




ขอบคุณครับลุง....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/12/2012 5:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.


คงไม่ใช่เรื่อง "พันธุ์แปลกๆ" อย่างเดียวหรอกนะ ..... "เรื่องแปลกๆ" ในแวดวงพันธุ์ข้าวก็น่าสนใจ

บอกแล้วไง ประเทศไทยไม่เจริญก็เพราะ "ระบบ-ระบอบ-ระเบียบ" ราชการนี่แหละ...

ก.....รู้ดี เพราะ ก....ก็ราชการเหมือนกัน ......ไม่งั้นจะแบกยศพันโทอย่างเดียว 17 ปีเหรอ.....


ก็ให้มันรู้ไปว่า คนไทยไม่ได้ "ปัญญาอ่อน" ไปเสียทั้งหมด เพียงแต่เขาเหล่านั้นไม่มีโอกาส "พูด-เขียน" เท่านั้น




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 25/12/2012 2:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ภูมิปัญญาข้าวนาบนพื้นที่สูง ของปากะญอ


ปากะญอหรือกะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยรวมตัวกันอย่างหนาแน่นในพื้นที่ป่าเขา
ทางทิศตะวันตกของประเทศไทยตามบริเวณชายแดนไทย-พม่า ปากะญอได้เคลื่อนย้ายมาทางทิศตะวันออกประมาณ
200 ปีที่ผ่านมา ปากะญอในประเทศไทยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ คือ สะกอ และโป จัดอยู่ในกลุ่มพม่า-ธิเบต ชาวปากะ
ญอตั้งถิ่นฐานอยู่ตามบริเวณหุบเขา ในระดับความสูงประมาณ 500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ดำรงชีพด้วย
การปลูกข้าวและผักต่าง ๆ โดยการทำนาดำและการทำข้าวไร่แบบหมุนเวียน (กลับมาทำที่เดิมทุก 5-10 ปี) นอก
จากนี้ยังมีการเลี้ยงหมู ไก่ วัว ควาย และช้าง เพื่อเป็นอาหารและทำพิธีกรรม นอกจากนั้นยังดำรงชีพด้วยการขาย
และรับจ้างใช้แรงงาน

แต่เดิมครอบครัวปาเกาะญอยึดถือการสืบเชื้อสายสืบทอดมาทางฝ่ายหญิงเป็นหลัก เมื่อมีการแต่งงานเกิดขึ้นฝ่ายชาย
จะย้ายไปอาศัยอยู่ในครอบครัวฝ่ายหญิง ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามความสะดวกของแต่ละฝ่ายครอบครัวเป็น
ครอบครัวเดียวและถือระบบผัวเดียว-เมียเดียว ปากะญอที่นับถือศาสนาพุทธจะมีการนับถือลัทธิบูชาผีร่วมด้วย ซึ่งแตก
ต่างจากปากะญอที่นับถือศาสนาคริสต์

สภาพพื้นที่ของข้าวนาที่สูงมีลักษณะพิเศษบางอย่าง คือ พื้นที่นาเป็นลักษณะแบบขั้นบันไดอย่างชัดเจน ความกว้าง
ของกระทงนาขึ้นกับสภาพความลาดชันของพื้นที่และคันนามีความสูงแตกต่างจากนาพื้นราบ อยู่ระหว่างหุบเขา
อาศัยน้ำฝนและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ มีการใช้ปัจจัยการผลิตค่อนข้างต่ำ ผลผลิตมีความแปรปรวนสูงโดยเฉลี่ย
200-600 กิโลกรัม/ไร่ พื้นที่ถือครอง 2-20 ไร่/ครัวเรือน ส่วนใหญ่ผลิตไม่พอเพียงกับการบริโภค ขึ้นอยู่กับผลผลิต
พื้นที่ถือครองและขนาดของครัวเรือน


พันธุ์ข้าว :

ข้าวภาษาปากะญอใช้คำว่า “บือ” พันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมที่ผ่านการคัดเลือก โดยภูมิปัญญาของบรรพ
บุรุษเป็นมรดกสืบทอดกันมา ค่อนข้างมีความหลากหลายทางชีวภาพ การตัดสินใจในการเลือกใช้พันธุ์แตกต่างกันไป
ในแต่ละบุคคลและท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับปัจจัยบางอย่าง เช่น คุณภาพการหุงต้ม ผลผลิต ลักษณะและรูปร่างเมล็ด ทรงต้น
ข้าว สภาพนิเวศน์ของพื้นที่นา สภาพแวดล้อม รวมทั้งความเชื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่บริโภคข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก ได้แก่

13. รวมพันธุ์ข้าวกะเหรี่ยง (3)
พันธุ์บือโปะโละ, บือพะทอ, บือกิ, บือพะโด่ะ, บือแม้ว, บือกิโพ,
บือกวา, บือกอ, บือพึ, บือมูโป๊ะ บือเนอมู, บือซอมี, บือโซ, ฯลฯ



นอกจากข้าวเจ้ายังมีพันธุ์ข้าวเหนียว เช่น บือปิอีจอวะ บือปิอีปอซี แต่ปลูกกันเพียงเล็กน้อย


การเตรียมเมล็ดพันธุ์ :
ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปตกกล้า จะใช้กระด้งฝัดทำความสะอาดเพื่อแยกเมล็ดดีและเมล็ดลีบออกจากกัน รวมถึงเมล็ดวัช
พืชซึ่งอาจติดไปกับเมล็ดพันธุ์ อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปักดำ 1 ไร่


การเตรียมแปลงกล้าและการตกกล้า :
เริ่มดำเนินการระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม - ต้นเดือนมิถุนายน ขึ้นอยู่กับว่าฝนมาช้าหรือเร็ว และปริมาณน้ำเป็นหลัก
การตกกล้ามี 2 วิธี

วิธีที่หนึ่ง เรียกว่า กล้าบกหรือกล้าดอย แปลงนาที่ปริมาณน้ำไม่พอเพียงสำหรับการเตรียมแปลงกล้านิยมใช้วิธีนี้ซึ่ง
อาศัยน้ำฝนเป็นหลักเพื่อช่วยในการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวและให้ความชุ่มชื้นแก่ต้นกล้า การเตรียมแปลงกล้าจะเลือก
พื้นที่สภาพไร่ใกล้ๆ แปลงนา แผ้วถางเผากำจัดวัชพืชและเตรียมดินเหมือนการปลูกข้าวไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวแห้งหว่าน
ลงในแปลงกล้าใช้ดินหรือฝุ่นกลบบางๆ บางแห่งใช้เสียมด้ามยาวขุดดินเป็นหลุมระยะถี่ๆ ประมาณ 5 เซนติเมตร ลึก
2-3 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ขวางไปกับความลาดชันของพื้นที่ จากล่างขึ้นบน โรยเมล็ด
ข้าวแห้งเป็นแถว เมล็ดจะถูกกลบโดยดินที่เกิดจากการขุดหลุมในแถวด้านบน และการตกของฝนจะช่วยในการกลบ
เมล็ดได้อีกระดับหนึ่ง


วิธีที่สอง คือ กล้าน้ำหรือการตกกล้าในแปลงนา จะเลือกกระทงนาที่อยู่ด้านบนซึ่งง่ายต่อการระบายน้ำเข้าออก เตรียม
ดินเหมือนแปลงปักดำ แต่ขุดร่องระบายน้ำรอบๆ กระทงนา ทำการหว่านเมล็ดข้าวแห้งลงบนแปลงกล้าที่เปียก แล้วปล่อย
น้ำเข้าขังแช่เมล็ดพันธุ์ทิ้งไว้ 2-3 วัน จากนั้นระบายน้ำทิ้ง เมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จะไหลออกไปตามน้ำ แต่บางแห่งก็ใช้วิธี
นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำประมาณ 2-3 วัน หุ้มไว้ 1 วัน เมื่อเมล็ดงอกเป็นตุ่มตาจึงนำไปหว่านในแปลงกล้า ข้อแตกต่างของ
การตกกล้าแต่ละวิธี กล้าบกหรือกล้าดอย ต้นกล้าโตเร็วแข็งแรง ระบบรากดี ถอนง่าย ตั้งตัวเร็วหลังปักดำ เจริญเติบโต
ดี อายุเบากว่า เมล็ดข้าวที่ได้มีความสมบูรณ์ ผลผลิตสูง ข้อเสียใช้อัตราเมล็ดพันธุ์และพื้นที่ในการเตรียมแปลงกล้า
มากกว่ากล้าน้ำ อายุกล้าสำหรับปักดำ กล้าดอย 25-30 วัน กล้าน้ำ 30-45 วัน


วิธีการปักดำ :



การเตรียมแปลงปักดำ :
ปัจจุบันการใช้แรงงานจากสัตว์ได้ลดลง รถไถเดินตามได้เข้ามามีบทบาทเป็นเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมา ทำการ
ไถดะ (ไถรอฝน) ตากดินและหมักทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ ไถแปรและไถคราดปรับผิวดินให้สม่ำเสมอ บางพื้นที่แปลงนาอยู่ไกล
และความกว้างกระทงนามีขนาดเล็ก รถไถไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้จะใช้จอบขุดในการเตรียมแปลงปักดำ ระยะปักดำ
25 x 25, 30 x 30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยยึดหลักดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง (ถี่สุด 15 เซนติ
เมตร ห่างสุด 45 เซนติเมตร) ปักดำจับละ 4-6 ต้น


การดูแลรักษา :
ในด้านการปรับปรุงดิน ปากะญอจะปล่อยสัตว์เลี้ยงเข้าไปในแปลงนาหลังเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
โดยปกติทั่วไปไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีแต่การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจเข้าไปในพื้นที่มีส่วนทำให้เกิดมีการใช้ปุ๋ยเคมีใน
นาข้าว หลังปักดำหากข้าวตั้งตัวจะระบายน้ำออกจากแปลงนาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน หรือจากการสังเกตต้นข้าวมีใบสี
เขียวขึ้นกว่าเดิมจะระบายน้ำเข้าไปในแปลงนาใหม่ ควบคุมระดับน้ำในแปลงนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร กำจัดวัชพืช
โดยใช้มือถอนและสารกำจัดวัชพืช ส่วนใหญ่ไม่มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง บางแห่งนำเปลือกไม้ประดู่
มาแช่น้ำ แล้วเทราดบริเวณต้นข้าวที่เป็นโรค สำหรับสัตว์ศัตรู เช่น หนู นิยมใช้กับดักจับเพื่อนำมาเป็นอาหาร


วิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว :
เก็บเกี่ยวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม ก่อนการเก็บเกี่ยวจะระบายน้ำออกจากแปลงนาประมาณ 2 สัปดาห์
ใช้เคียวในการเกี่ยวข้าว มัดเป็นฟ่อนขนาดกำมือโดยใช้ตอกหรือใบข้าวที่ติดกับส่วนของลำต้น (เกี่ยวพันกำ) ตากไว้บนตอ
ซัง ทิ้งไว้ 3-4 แดด นำมากองรวมตรงลานนวด ส่วนใหญ่นวดโดยใช้แรงงานคน เคยพบมีการใช้เครื่องนวดขนาดเล็กแบบ
จีนทำความสะอาด







เมล็ดและบรรจุลงกระสอบ ๆ ละประมาณ 25-30 กิโลกรัม เก็บผลผลิตเข้ายุ้งฉางโดยใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ (วัว
ช้าง) ปัจจุบันมีการใช้รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์บรรทุก ชาวกะเหรี่ยงบางรายคัดเลือกกระทงนาที่ข้าวเจริญเติบโตดี
เมล็ดสมบูรณ์ รอให้สุกแก่เต็มที่จึงจะเก็บเกี่ยวเมล็ดไว้ทำพันธุ์ บางรายปลูกข้าวมากกว่า 2 พันธุ์ จะแยกเมล็ด
พันธุ์เก็บไว้ต่างหาก ที่เหลือจะนำมาปนกันเพื่อเก็บไว้บริโภค


การแปรรูปและผลิตภัณฑ์ :
การแปรรูปเป็นข้าวสาร ใช้ครกกระเดื่องหรือเรียกว่า “การตำข้าว” ในการตำข้าวจะนำเมล็ดข้าวมาตากแดดให้แห้ง
ก่อนประมาณ 1 วัน เพื่อให้เมล็ดข้าวสารกะเทาะออกจากเปลือกได้ง่ายขึ้นและหักน้อย แล้วใช้กระด้งฝัดแยกแกลบ
ออกอีกครั้งหนึ่ง บางท้องถิ่นมีโรงสีขนาดเล็กสำหรับสีข้าว ปริมาณข้าวสารที่ได้จะมากกว่าข้าวที่ได้จากการตำ
ข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวใช้วิธีการหุงโดยวิธีไม่เช็ดน้ำ ชาวปากะญอให้ความคิดเห็นว่า ข้าวที่สีจากโรงสีบริโภคแล้ว
อิ่มช้า นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้าวแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ สุราพื้นบ้าน ข้าวต้มมัด
ข้าวปุ๊ ฯลฯ





ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม เกี่ยวกับข้าว
การเลี้ยงผีน้ำผีฝาย การเลี้ยงเจ้าที่นา พิธีสู่ขวัญควาย พิธีแยกข้าว ประเพณีกินข้าวใหม่

ก่อนปักดำ มีการเลี้ยงผีน้ำผีฝาย หลังปักดำ มีการเลี้ยงเจ้าที่นา

หลังเก็บเกี่ยว มีการเรียกขวัญข้าว




http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=9.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:21 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 25/12/2012 3:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

14. พันธุ์ข้าว (รับรองพันธุ์)


พันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง
กข5
กข6
กข8
กข12 (หนองคาย 80)
กข13
กข15
กข16
กข27
กข35 (รังสิต 80)
กำผาย 15
เก้ารวง 88
ขาวดอกมะลิ 105
ขาวตาแห้ง 17
ขาวปากหม้อ 148
ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1
เฉี้ยงพัทลุง
ชุมแพ 60
นางพญา 132
นางมล เอส-4
น้ำสะกุย 19
เผือกน้ำ 43
ปทุมธานี 60
พวงไร่ 2
พัทลุง 60
พิษณุโลก 3
พิษณุโลก 60-1
พิษณุโลก 80
ลูกแดงปัตตานี
เล็บนกปัตตานี
หางยี 71
เหมยนอง 62 เอ็ม
เหนียวสันป่าตอง
เหนียวอุบล 1
เหนียวอุบล 2
เหลืองประทิว 123
เหลืองใหญ่ 148
เข็มทองพัทลุง
ข้าวหลวงสันป่าตอง
แก่นจันทร์
เจ๊กเชย 1
ขาวกอเดียว 35
ช่อลุง 97
ไข่มดริ้น 3
เหนียวดำช่อไม้ไผ่ 49


พันธุ์ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง
กข1
กข2
กข3
กข4
กข7
กข9
กข10
กข11
กข14
กข21
กข23
กข25
กข29 (ชัยนาท 80)
กข31 (ปทุมธานี 80)
กข33 (หอมอุบล 80)
กข37
กข39
กข41
กข43
กข47
ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1
ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี
ชัยนาท 1
ชัยนาท 2
ปทุมธานี 1
บางแตน
พัทลุง
พิษณุโลก 2
พิษณุโลก 60-2
แพร่ 1
สกลนคร
สันป่าตอง 1
สุพรรณบุรี 1
สุพรรณบุรี 2
สุพรรณบุรี 3
สุพรรณบุรี 60
สุพรรณบุรี 90
สุรินทร์ 1


พันธุ์ข้าวญี่ปุ่น
กวก. 1
กวก. 2


พันธุ์ข้าวบาร์เลย์
สะเมิง 1
สะเมิง 2


พันธุ์ข้าวลูกผสม
ซีพี 304
กขผ 1


พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง
ตะเภาแก้ว 161
นางฉลอง
ปิ่นแก้ว 56
พลายงามปราจีนบุรี
เล็บมือนาง 111
ขาวบ้านนา 432


พันธุ์ข้าวน้ำลึกไวต่อช่วงแสง
กข 19
กข45
หันตรา 60
ปราจีนบุรี 1
ปราจีนบุรี 2
อยุธยา 1


พันธุ์ข้าวน้ำลึกไม่ไวต่อช่วงแสง
กข17


พันธุ์ข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง
กู้เมืองหลวง
ขาวโป่งไคร้
เจ้าฮ่อ
ซิวแม่จัน
ดอกพะยอม
น้ำรู
เจ้าลีซอสันป่าตอง
เจ้าขาวเชียงใหม่
ข้าวเหนียวลืมผัว


พันธุ์ข้าวไร่ไม่ไวต่อช่วงแสง
อาร์ 258


พันธุ์ข้าวแดงไวต่อช่วงแสง
ข้าวหอมแดง
สังข์หยดพัทลุง


พันธุ์ข้าวแดงไม่ไวต่อช่วงแสง
ข้าวหอมกุหลาบแดง



http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:24 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 25/12/2012 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

15. ความรู้เรื่องข้าว....


ประเภทของข้าว :

ข้าวที่ปลูกกันในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ข้าวไร่ ข้าวนาสวน และ ข้าวนาเมือง

๑. ข้าวไร่ เป็นข้าวที่ไม่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยงในการเจริญเติบโต และมักจะตายถ้ามีน้ำขังอยู่นาน แต่คงต้องการ
ความชุ่มชื้นของดินทำนองเดียวกับพืชไร่ ข้าวไร่จึงมักนิยมปลูกกันบนที่สูงหรือตามไหล่เขา ในภาคเหนือและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และทำกันเป็นหย่อมเล็กๆ

๒. ข้าวนาสวน เป็นข้าวที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยงในระหว่างการเจริญเติบโต มักปลูกกันเป็นส่วนมาก ทนความลึก
ของน้ำได้ไม่เกิน ๑ เมตร การทำนาก็ทำวิธีดำเป็นส่วนใหญ่บริเวณทำนาสวนมีประมาณ ๘๔ % ของเนื้อที่นาใน
ประเทศไทย

๓. ข้าวนาเมือง เป็นข้าวที่ปลูกในแหล่งที่มีระดับน้ำสูงกว่า ๑ เมตรขึ้นไปเป็นข้าวพันธุ์พิเศษที่เรียกกันว่า ข้าวขึ้นน้ำ
หรือ ข้าวลอย หรือข้าวฟางลอย เพราะเป็นพันธุ์ที่มีลำต้นยาว และทอดออกไปแตกแขนงตามข้อและออกราก
ตามข้อได้ ลำต้นเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าพันธุ์นาสวน

ในเมื่อระดับน้ำเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ข้าวนาเมืองจึงปลูกกันบริเวณที่ลุ่มมากๆในภาคกลางเช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิจิตร สุพรรณบุรี ลพบุรี อ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี เป็นต้น รวมทั้งบริเวณที่ลุ่มมากๆ ในภาคอื่นๆ ที่ไม่สามารถปลูกข้าว
นาสวนได้ การปลูกข้าวนาเมืองใช้วิธีหว่าน และปลูกในเนื้อที่นาประมาณ ๑๖ % ของเนื้อที่นาในประเทศ

ข้าวทั้ง ๓ ประเภท อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด ตามคุณสมบัติ คือ ข้าวเหนียว และข้าวเจ้า
๑. ข้าวเจ้า เป็นข้าวที่มีเนื้อเมล็ดใส เมื่อหุงแล้วเมล็ดจะร่วนและสวยไม่ใคร่ติดกัน ใช้รับประทานกันเป็นประจำใน ภาคกลาง
ภาคใต้ และภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย ปริมาณข้าวเจ้าที่ผลิตตามภาคต่างๆ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลผลิตทั้งหมด
ของภาค คือ ภาคเหนือ ประมาณ ๘% ภาคอีสานประมาณ ๒๖% ภาคกลางประมาณ ๙๕% ภาคใต้ประมาณ ๙๔%

๒. ข้าวเหนียว เป็นข้าวที่เนื้อเมล็ดขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้ว เมล็ดจะเหนียวติดกัน ใช้รับประทานกันเป็นประจำใน
ภาคเหนือ และภาคอีสานตอนเหนือ และใช้ทำขนมต่างๆ ในภาคกลางและภาคใต้

ปริมาณข้าวเหนียวที่ผลิตตามภาคต่างๆ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลผลิตทั้งหมดของภาค คือ ภาคเหนือ ประมาณ ๙๒%
ภาคอีสานประมาณ ๗๔% ภาคกลางประมาณ ๕% ภาคใต้ประมาณ ๖%

คนไทยปลูกข้าวเจ้ามากกว่าข้าวเหนียว เพราะจำนวนประชากรที่บริโภคข้าวเจ้ามีมากกว่า อย่างไรก็ตาม ข้าวเป็น
อาหารหลักที่คนไทยรับประทานกันเป็นประจำวัน คนไทยประมาณ ๗๒% มีอาชีพในการทำนา รายได้ไม่น้อยกว่า ๕๐%
ของราคาสินค้าขาออกของประเทศไทยได้มาจากการขายข้าว ข้าวจึงเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจาก
เป็นแหล่งรายได้ของประชากรส่วนใหญ่ เราอาจกล่าวได้ว่าข้าวเป็นพืชสำคัญยิ่งต่อชีวิตของคนไทยทุกๆ คน วัฒนธรรม
ไทยมีพื้นฐานอยู่ที่ข้าว และอาจเรียกได้ว่าเป็น วัฒนธรรมข้าว



ชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง :
ข้าวที่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยคือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ที่ปลูกกันในประเทศนี้มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลักษณะ
พันธุ์อีกมาก จากผลการสำรวจพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของกรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้กล่าวถึงชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
ที่ปลูกในบริเวณต่างๆ ของประเทศไทยไว้หลายร้อยชื่อ ดังนี้


ข้าวเจ้า :

ข้าวเจ้า เมื่อดูจากชื่อที่เรียกกันแล้ว อาจแบ่งตามชื่อได้เป็น ๓ พวกใหญ่ๆ คือ
๑. ชื่อพันธุ์ข้าวที่ขึ้นต้นด้วย "ขาว"
ได้แก่ ขาวตาแห้ง ขาวเศรษฐี ขาวต่อ ขาวตามล ขาวมะลิ ขาวอำไพ ขาวหลวง ขาวกอเดียว ขาวเพชรบูรณ์ ขาวสุพรรณ
ขาวตารัตน์ ขาวคัด ขาวแก้ว ขาวตาแป๋ขาวสูง ขาวนวลทุ่ง ขาวตาเจือ ขาวมานะ ขาวห้าร้อย ขาวเมล็ดเล็ก ขาวตาโห
ขาวสะอาดนัก ขาวเหลือขาวดอเดียว ขาวใบลด ขาวปลุกเสก ขาวหลุกหนี้ ขาวตาไป่ ขาวเลือก ขาวมะนาว ขาวปลาไหล
ขาวลอดช่อง ขาวประกวด ขาวลำไย ขาวสะอาด ขาวบุญมา ขาวเกษตร ขาวอุทัย ขาวล่ม ขาวปากหม้อ ขาวตาอ๊อด
ขาวสงวน ขาวดอกมะลิ ขาวงาช้าง ขาวเม็ดยาว ขาวอากาศ ขาวละออ ขาวเสวย ขาวตาเพชร ขาวเขียว ขาวประทาน
ขาวคุณแม่ ขาวเมืองมัน ขาวหลง ขาวเมือง ขาวนางจีน ขาวประเสริฐ ขาวขวา ขาวเก็บได้ ขาวมะแขก ขาวพวง ขาวกาบแก้ว
ขาวมาเอง ขาวไม้หลัก ขาวตาโอ๊ต ขาวน้ำค้าง ฯลฯ

๒. ชื่อพันธุ์ข้าวที่ขึ้นต้นด้วยคำ "เหลือง" ได้แก่ เหลืองควายล้า เหลืองประทิว เหลืองปลากริม เหลืองระยอง เหลืองเศรษฐี
เหลืองพวงล้า เหลืองหลวง เหลืองร้อยเอ็ด เหลืองตากุย เหลืองสงวน เหลืองอ่อนเหลืองพ่อ เหลืองระแหง เหลืองมัน
เหลืองพานทอง เหลืองตาต๋อง เหลืองตาเอี่ยม เหลืองตาปิ้ง เหลืองทอง เหลืองสะแก เหลืองเตี้ย เหลืองในถัง เหลืองตาน้อย
เหลืองใหญ่ เหลืองพระ เหลืองใบลด เหลืองเจ็ด เหลืองพวงหางม้า เหลืองชะเอม เหลืองตาหวน เหลืองทุเรียน เหลืองประทาน
เหลืองลาย เหลืองสองคลอง เหลืองอีด้วน เหลืองหอม เหลืองสุรินทร์ เหลืองสะอิ้ง เหลืองควายปล้ำ เหลืองกอเดียว
เหลืองทน เหลืองไร่ เหลืองสร้อยทอง เหลืองเบา ฯลฯ


๓. ชื่อพันธุ์ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ พานทอง พญาชม สามรวง สายบัว สองรวง หลงมา แม่พัด เปลือกไข่ รวงดำ พวงมาลัย แตงกวา
ยาไฮ ทองระย้า ลูกผึ้ง ข้าวใบตก งาช้าง ทุ่งแหลม ข้าวหอม แก่นประดู่ หอมดง หอมมะลิ เขียวหนัก ดอกไม้จีน พลายงาม
ใบลด พระยาลืมแกง หางหมาจอก เขียวนางงามสำรวง พวงนาค เขียวนกกระลิง กระดูกช้าง วัดโบสถ์ รากไผ่ หอมพระอินทร์
อบเชย แขนนาง นางระหงส์ กาบหมาก ทูลฉลอง ตับบิ้ง น้ำดอกไม้ ล้นครก สาวงาม นางงาม มะไฟ ช่อมะกอก ดอนเมือง
นายยวน จำปา หลงประทาน เจ๊กเชย จำปาแป๋ พวงทอง สามรวงวัฒนา สายบัวหนัก แก่นจันทร์ หอมแก่นจันทร์ เทวดา
พวงเงิน เขียวใหญ่ มะลิเลื้อย บางสะแก บางกะปิ บางเขียว หอมการเวก นาสะแกรอดหนี้ ข้าวมะตาด ข้าวหาง พวงหนัก ตามน
นครนายก พวงหวาย ข้าวเขียว สองทะนาน นางพญารวงใหม่ ก้นจุด ล้นยุ้ง มะลิ เศรษฐีหนัก เหลือสะใต้ หลวงแจก ห้ารวง
พวงหางหมู จำปาเทียม ร้อยสุพรรณ พวงพยอม เจ๊กสกิด (หนัก ) เทโพ นางดม จำปาขาว นางมล ทองพยุง พญาเททอง
ห้ารวงเบาเจ็ดรวงเบา สระไม้แดง จำปาหนัก ก้นแก้ว เจ้ารวง ทองมาเอง สาหร่าย ก้อนแก้ว ปิ่นแก้ว ก้อนทอง ข้าวทุ่ง เจ็ดร่วง
เก้ารวง พันธุ์เบื่อน้ำ จำปาสัก กาบเขียว ศรีนวล ท้องบะเอ็ง พระตะบอง พญาหยุดช้าง นางดำ ยาดง ยาบูกูนิง บูแม กาเยาะ
โย๊ะกูนิง ลูกแก้วยือลาแป รีบกันตัง ช่อมะลิ เบาหอม บ้ากอ ไทรบุกหญ้า ไทรหอม ไทรขาว ทรายแดง นวลหมี รวงยาว เจ๊ะสัน
รายทราย ปิ่นตัง เลือก ขาวปลอด พันธุ์ยะลา ลูกขาว ลูกอ่อน ดอกสน กลีบเมฆ จีนขาว ลูกขาว ลูกปลา นางเอก โป๊ะหมอ
วัวเปียก ข้าวจังหวัดฯลฯ


ข้าวเหนียว :
ข้าวเหนียว ชื่อพันธุ์ข้าวเหนียวมีน้อยกว่าพันธุ์ข้าวเจ้า เมื่อแบ่งประเภทตามชื่อจะแบ่งเป็น ๓ พวก ได้แก่
๑. ข้าวที่ขึ้นต้นด้วยคำ "ขาว” ได้แก่ ขาวขาวกรุง ขาวตับแรด ขาวนางแจ่ม ขาวภูเขา ขาวสุราษฏร์ ฯลฯ
๒. ข้าวที่ชื่อพันธุ์มีคำ "ดำ" เพื่อบอกว่าเป็นข้าวเหนียวดำ เช่น เหนียวดำ ดำทรง เหนียวดำวัว เหมยนองดำเป็นต้น
๓. ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ เขี้ยวงู ท้องพลู ข้าวกากหมาก ฟ้ามืด งาช้าง เกวียนหัก ประดู่ เหนียวประดู่ กาบยาง หางหมาจอก
เหนียวกะทิ สันป่าตอง ประหลาด รอดหนี้ อีหม่อม โพธิ์เงิน เหลือง ป้องแอ้ว มักม่วย บางกอก ช่อไม้ไผ่ ข้าวเหนียวน้ำ
ข้าวเหนียวเข้มเงิน เหลืองทอง เหนียวแดง ข้าวเหนียวกากน้อย ข้าวเหนียวหอยโข่ง ข้าวเหนียวดอกพร้าว ข้าวเหนียวละงู
ข้าวเหนียวเบา ข้าวเหนียวสงขลา เหนียวลูกผึ้ง ตาล เหนียวเขมร เหนียวไทย เหนียวพม่า แม่โจ้ แก้ว ผา แก้วแม่โจ้ ดอเหล็ก
ลายแก้ว ผาผึ้ง ผาเลิศ กันสัตว์ แก้วลาย ลายดอแพร่ ลายที่ ๑ กล้วยสาย ๑ ลอด มันเป็ด ดอลาย กล้วยขาว กาบทอง ผามืด
สายหลวง ผาปลุก ผาแดง ดอเหลือง ผาด่าง ผาเหล็กดั่งหยวก เหมยนองพื้นเมือง ลายมะเขือ เหลือง เหลืองทอง หลาวหัก
ผาเหนียว ดอกพุด สามรวง ข้าวดอก บุญมา จำปาทอง ข้าวนางราช ข้าวดอกหอม ดอกจันทร์ ดอนวล แดงน้อย อีมุม
เขียวนอนทุ่ง ฯลฯ



จำแนกรูปแบบการตั้งชื่อ :

เมี่อดูจากรายชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองแล้ว จะเห็นได้ว่า ชื่อพันธุ์ข้าวเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นอย่างง่ายๆ เข้าใจว่าส่วนมากชาวบ้านเป็น
ผู้ตั้ง เราอาจจัดจำแนกรูปแบบการตั้งชื่อได้ดังนี้

๑. ตั้งตามชื่อชาวนาหรือชาวบ้าน เช่น ขาวตาแห้ง ขาวตารัตน์ ขาวตาเป๋ ขาวตาเจือ เหลืองตากุย นายยวน เป็นต้น

๒. ตั้งตามชื่อสถานที่ เช่นขาวเพชรบูรณ์ ขาวสุพรรณ เหลืองร้อยเอ็ด สันป่าตอง เป็นต้น

๓. ตั้งตามลักษณะเด่นของเมล็ดข้าว เช่นขาวเมล็ดเล็ก ขาวมะลิ ขาวอำไพ ขาวคัด ขาวเม็ดยาว ข้าวหอม หอมพระอินทร์
เป็นต้น

๔. ตั้งตามธรรมชาติของการได้ผลผลิต คือ ข้าวหนักซึ่งได้ผลผลิตช้ากว่าข้าวเบาก็เรียกชื่อตามนั้น เช่น ขาวสะอาดหนัก
เศรษฐีหนัก เจ๊กสกิด (หนัก) จำปาหนัก ห้ารวงเบา เหลืองเบา เบาหอม เป็นต้น

๕. ตั้งชื่อที่มีความหมายในทางที่ดีเป็นสิริมงคล บ่งบอกถึงความร่ำรวย หรือการได้ผลผลิตมากๆ เช่น ขาวเศรษฐี ล้นยุ้ง
ขาวหลุดหนี้ ก้อนแก้ว เกวียนหัก เหลืองควายล้า ขาวทุ่งทอง เป็นต้น

๖. ตั้งชื่อตามธรรมชาติของพันธุ์ข้าว เช่น ขาวสูง เหลืองพวงล้า ข้าวใบตก เหลืองเตี้ย ขาวพวง เจ็ดรวงเบา พันธุ์เบื่อน้ำ
หางหมาจอก สามรวง เป็นต้น

๗. ตั้งชื่อตามสีที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ข้าวหรือเมล็ดข้าว เช่น เขียวนางงาม เหลืองปลากริม เขียวหนัก แก้วลาย รวงดำ เป็นต้น

๘. ตั้งชื่อตามพืชชนิดอื่น เช่นขาวดอกมะลิ จำปา ดอกพุด ขาวมะนาว จำปาทอง ดอกจันทร์ แตงกวา ไทรขาว อบเชย เป็นต้น

๙. ชื่ออื่นๆ เช่น ข้าวจังหวัด ขาวห้าร้อย ขาวเกษตร เหลืองสองคลอง เหลืองไร่ นางงาม นางเอก ตับบิ้ง หลวงแจก เป็นต้น


เมื่อดูจากชื่อพันธุ์ข้าวแล้วจะพบว่า การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวนอกจากจะตั้งตามชื่อคน ชื่อสถานที่ และลักษณะตามธรรมชาติของ
ข้าวซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งแล้ว ชื่ออื่นๆ มักเป็นไปในทางดี เป็นมงคลทั้งนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะคนไทยส่วนมากมีอาชีพในทาง
ทำไร่ทำนา ข้าวเป็นทั้งอาหารหลักและพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่ชาวบ้าน พืชที่เพาะปลูกจึงถือว่าเป็นสิ่งดี เป็นมงคล
เป็นคุณประโยชน์แก่ชาวบ้าน ความรู้สึกของชาวนาที่มีต่อข้าวจึงเป็นความรู้สึกสำนึกถึงบุญคุณของข้าวที่มีต่อชีวิตของตน
เมื่อต้องการตั้งชื่อพืชที่มีความสำคัญยิ่งต่อตัวเอง จึงต้องตั้งชื่อที่ดีและเป็นมงคลเพื่อผลผลิตที่ได้ จะได้ดีตามไป



ข้าวกับมาตราวัด :
หนังสือมูลบทบรรพกิจที่ใช้เป็นหนังสือเรียนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงมาตราวัด
ของไทยไว้ว่า


" อนึ่งโสดนับมีสามแท้ นับด้วยวัดแล ด้วยตวงด้วยชั่งเป็นสาม
โยชน์หนึ่งสี่ร้อยเส้นตาม เส้นหนึ่งโดยความ ยี่สิบวาอย่าสงไสย
วาหนึ่งสี่สอกบอกไว้ สอกหนึ่งท่านใช้ สองคืบไซร้ตามมีมา
คืบหนึ่งสิบสองนิ้วหนา นิ้วหนึ่งท่านว่า สี่กระเบียดจงจำเอา
กร ะเบียดหนึ่งสองเมล็ดเข้า เมล็ดเข้าหนึ่งเล่า แปดตัวเหาจงรู้รา ..."


มาตราวัดความยาวของไทยแต่เดิมใช้เมล็ดข้าว (คำ ”ข้าว” โบราณเขียน "เข้า”) คือ เป็นมาตราวัดด้วย คือ
๑ กระเบียด = ๒ เมล็ดข้าว
๑ เมล็ดข้าว = ๘ ตัวเหา

เพราะข้าวเป็นของสามัญ และเป็นสิ่งที่ชาวบ้านรู้จักกันดี ความสำคัญของข้าวจึงสะท้อนออกมาในภาษา


ข้าวกับมาตราตวง :
ในเรื่องของการตวงสิ่งของ อาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่ชาวบ้านมีมากจนต้องมีการตวงปริมาณ ได้แก่ ข้าว จึงเป็นธรรมดาอยู่เอง
ที่มาตราตวงจะใช้ข้าวเป็นมาตรฐาน ดังมูลบทบรรพกิจเขียนไว้ว่า

นับด้วยตวงไป จงนับใช้ดังนี้นา
เข้าเกวียนหนึ่งนั้นท่านว่า ห้าตะล่อมหนา ตะล่อมหนึ่งยี่สิบสัด
สัดหนึ่งยี่สิบทะนานชัด ทะนานหนึ่งสังกัด สองจังออนจงจำไว้
จังออนหนึ่งสี่กำมือได้ กำมือหนึ่งไซร้ สี่ใจมือตามมีมา
ใจมือหนึ่งนั้นท่านว่า ร้อยเมล็ดเข้าหนา นับด้วยตวงเพียงนี้แล……"

อย่างไรก็ตามในหนังสือสำนวนไทย กาญจนาคพันธุ์ ได้พูดถึงการตวงข้าวที่กำหนดด้วยมาตราตวงของไทยแตกต่าง
จากมูลบทบรรพกิจ คงเป็นเพราะใช้ในช่วงเวลาที่ต่างกัน จึงทำให้การกำหนดมาตรฐานการตวงแตกต่างกันออกไปด้วย
มาตราตวงในหนังสือสำนวนไทยมีดังนี้

๑๕๐ เมล็ดข้าว เท่ากับ ๑ หยิบมือ ,
๔ หยิบมือ เท่ากับ ๑ กำมือ ,
๔ กำมือ ๑ เท่ากับ ๑ ฟายมือ ,
๒ ฟายมือ เท่ากับ ๑ กอบ ,
๔ กอบ เท่ากับ ๑ ทะนาน ,
๒๕ ทะนาน เท่ากับ ๑ สัด ,
๘๐ สัด เท่ากับ ๑ เกวียน

แม้มาตราวัดทั้ง ๒ สมัยแตกต่างกัน แต่ข้าวเป็นสิ่งที่ใช้เป็นมาตรฐานในการตวงเหมือนกัน แสดงว่าคนไทยอยู่กับข้าว และ
แสดงออกถึงความสำคัญของข้าวทางภาษา สำนวนในภาษาไทยที่ว่า “เป็นกอบเป็นกำ ” นั้น ก็ได้มาจากการตวงข้าว
คือ ได้มาจากคำ หยิบมือ กำมือ ฟายมือ ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้มือ สิ่งที่เกิดจากมือแสดงว่าตนได้ทำด้วยน้ำพักน้ำแรง
ของตนเอง การปลูกข้าวและการได้ผลผลิตข้าวจึงเป้นสิ่งที่คนไทยได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรง (มือ) ของตนอย่างแท้จริง คำว่า
“กอบ” และ ”กำ” ได้กลายมาเป็นสำนวนพูดในภาษาว่า "เป็นกอบเป็นกำ”



ข้าวกับระยะเวลา :

หนังสือมูลบทบรรพกิจกล่าวถึงการนับเวลาของไทยว่า

” .....วันหนึ่งนั้นแปดยามย่ำ กลางวันท่านกำ หนดไว้ว่าสี่ยามมี กลางคืนก็นับยามสี่ วันกับราตรี จึงเป็นแปดยามตามใช้ ยาม
หนึ่งสามนาลิกาไซร้ นาลิกาท่านใช้ กลางวันท่านเรียกว่าโมงนา กลางคืนเรียกว่าทุ่มหนา นาลิกาหนึ่งรา ได้สิบบาดท่าน
บอกไว้ บาดหนึ่งได้สี่นาทีไทย นาทีหนึ่งได้ สิบห้าเพ็ชชะนาที เพ็ชชะนาทีหนึ่ง หกปราณด้วยดี ปราณหนึ่งสิบหนึ่งอักษรไซร้...”


แม้จะมีการแบ่งเวลาอย่างละเอียดก็ตาม คนไทยโดยทั่วไปมักนับระยะเวลาแค่ทุ่ม โมงยาม เท่านั้น การนับเวลาที่ชัดเจน
มากที่สุดคือเวลาที่ใช้ในการกำหนดฤกษ์ยามเราก็นับลงมาถึง "บาท" เท่านั้น เช่น “ ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒ ปีขาล โทศก
(พ.ศ.๑๘๙๓) วันศุกร์ขึ้น ๖ค่ำ เดือน๕ เวลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงศรีอยุธยา ..…” ตามปกติแล้วการ
นับเวลาของชาวบ้านมักไม่ละเอียดเพราะไม่มีเครื่องจับเวลาที่ชัดเจน การจับเวลาของคนไทยจึงมักคาดคะเนจากสิ่งแวด
ล้อมตามธรรมชาติ และตามสิ่งที่คนคุ้นเคย เช่น จับเวลาในการชนไก่โดยใช้กะลามะพร้าวเจาะรูลอยน้ำไว้ให้จมเอง
การจมครั้งหนึ่งเรียกว่าอันหนึ่ง แต่สำหรับชาวบ้านทั่วไป มักคาดคะเนจากแบบแผนการดำเนินชีวิตของตนเอง “ข้าว" เป็น
สิ่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวชาวบ้านมาก ชาวบ้านจึงจับเวลาจากการหุงข้าว เราจึงสำนวน “ ชั่วหม้อข้าวเดือด ” เช่น เดินไม่นานนัก
ชั่วหม้อข้าวเดือดก็ถึงแล้ว การนับเวลาแบบนี้ย่อมไม่แน่นอน เป็นแต่การกำหนดเวลาโดยประมาณ เพราะข้าวแต่ละหม้อ
ย่อมใช้เวลาเดือดแตกต่างกันตามขนาดของหม้อ ปริมาณข้าวและน้ำ รวมถึงความแรงของไฟด้วย แนวความคิดในการจับ
เวลาของคนไทยจึงไม่ชัดเจนนัก

สำนวนในภาษาไทยอีกสำนวนหนึ่ง ได้แก่ “ ก้นหม้อข้าวยังไม่ทันดำ ”ใช้ในความหมายว่า คู่สมรสอยู่ด้วยกันได้ไม่นานเท่าไร
ก้นหม้อยังไม่ทันดำก็เลิกกันเสียแล้ว การใช้สำนวนนี้ก็เป็นการพูดถึงระยะเวลาที่ไม่แน่นอนอีกเช่นกัน เพราะสมัยก่อนการหุง
ข้าวรับประทานทุกๆ วันหุงด้วยหม้อดิน ตั้งบนเตาฟืน ก้นหม้อย่อมติดเขม่า กว่าหม้อจะดำย่อมใช้เวลานานพอสมควร เมื่อพูด
ว่าอยู่ด้วยกัน ก้นหม้อยังไม่ทันดำ ก็หมายความว่า สามีภรรยาคู่นั้นแต่งงานแล้ว หุงข้ากินกัน ก้นหม้อยังไม่ทันมีเขม่าติดดำก็
เลิกร้างกันไป แสดงว่าทั้งคู่อยู่กินกันเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่เวลาที่แท้จริง เป็นเท่าไรไม่สามารถบอกได้



ข้าวในสำนวนไทย :
คนไทยอยู่ในวัฒนธรรมข้าว จึงใช้คำว่า " ข้าว" เป็นความเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ หลายอย่าง ส่วนมากแล้วเราถือ
ว่าข้าวเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญงอกงาม ความอุดมสมบูรณ์ คนที่มี "เงินทองข้าวของ" ได้แก่ คนมั่งมี เพราะมีสิ่ง
ของที่จัดว่าเป็นเครื่องบ่งบอกความร่ำรวย คือ เงิน ทอง ข้าว และ ของ สำนวน "ข้าวเหลือเกลืออิ่ม" หมายถึงบ้านเมือง
บริบูรณ์ ด้วยข้าวปลาอาหาร สำนวนนี้มีปรากฏในพิธีอาษวยุช คือ การแข่งเรือเสี่ยงทาย กฎมณเฑียรบาลกล่าวไว้
ตอนหนึ่งว่า "....สมรรพไชย ไกรสรมุขนั้น เป็นเรือเสี่ยงทาย ถ้าสมรรถไชยแพ้ไซร้เข้าเหลือเกลืออิ่ม ศุขเกษมเปรมประชา
ถ้าสมรรถไชยชนะไซร้ จะมียุค...." ที่ใช้ข้าวเเละเกลือเพราะข้าวเป็นอาหารสำคัญที่สุดของคนไทย เกลือก็เป็นของคู่กับ
ข้าว ดังสำนวน " ข้าวปลานาเกลือ " สำนวนข้าวเหลือเกลืออิ่มนี้เป็นสำนวนเก่า สำนวนใหม่ที่คิดขึ้นมาพูดเทียบเคียงกับ
สำนวนเดิมได้แก่ " ข้าวเหลือเกลือแพง " เป็นความเปรียบเมื่อข้าวมีราคาถูก แต่เกลือมีราคาแพง อย่งไรก็ตามถ้าบ้าน
เมืองขาดแคลนข้าวปลาอาหาร ประชาชนทุกข์ยากลำบากก็เรียกว่าเป็นยุค " ข้าวยากหมากแพง "

โดยทั่วไปแล้วประเทศไทยเป็นเขตลมมรสุม ฝนตกสม่ำเสมอมีอากาศอยู่ในเขตร้อนจึงทำการเพาะปลูกได้ผลดีเป็นอู่ข้าว
อู่น้ำ ดังคำกล่าวที่เรามักพูดกันติดปากว่า " ในน้ำมีปลาในนามีข้าว " คนไทยจึงมีนิสัยชอบ "กินข้าวร้อนนอนสาย " เนื่อง
จากไม่มีความยากลำบากในการครองชีพ ไม่มีอะไรกังวล ไม่ต้องเป็นห่วงการทำมาหากิน นึกจะกินก็กินได้ทันที จะตื่น
เมื่อใดก็ได้ เรียกว่ามีความเป็นอยู่อย่างสบาย

ตามปกติข้าวที่เรารับประทานกันนั้น แบ่งออกได้เป็น ๒ พวก คือ ข้าวเก่าและข้าวใหม่ ข้าวค้างปีเป็นข้าวที่เก็บเกี่ยวในปีที่แล้ว
เรียกว่า ข้าวเก่า ส่วนข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ตั้งแต่ประมาณเดือนอ้ายเดือนยี่เป็นต้นไปนั้น เรียกว่าข้าวใหม่ ตามปกติในครึ่งปี
แรกตั้งแต่เดือน ๕ เรื่อยมาเรากินข้าวเก่าคือข้าวที่ค้างปี ถึงครึ่งหลังเรากินข้าวใหม่ ถือกันว่าข้าวเก่าอร่อยกว่า นอกจากนี้
เราถือว่าปลาเป็นอาหารคู่กับข้าว ฤดูกาลดีอยู่ในระยะน้ำลด คือ เดือนอ้าย เดือนยี่ ไปจนถึง เดือน ๔ เดือน ๕ เพราะระยะ
นี้ปลามีมันมาก กินอร่อย พ้นระยะนี้ไป เป็นฤดูปลาตั้งไข่ไม่มีมัน กินไม่อร่อย ระยะปลามีมันมาตรงกับฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวใหม่
เราจึงเอาทั้งข้าวและปลามันที่เป็นอาหารสำคัญมาพูดรวมกันว่า "ข้าวใหม่ปลามัน" ใช้เป็นสำนวน หมายถึงอะไร ๆ ที่เป็น
ของใหม่กำลังดี เช่น สามีภรรยาที่เพิ่งแต่งงานใหม่ ๆ เรียกว่าอยู่ในช่วงข้าวใหม่ปลามันแต่ถ้าแต่งงานมานานจนคู่สมรส
เบื่อหน่ายซึ่งกันและกันแล้วเราเรียกว่าเป็นช่วง " ข้าวบูดปลาร้า "


เนื่องจากเราถือว่าข้าวเป็นความเจริญงอกงาม เราจึงมักเปรียบเทียบชายเป็นข้าวเปลือก หญิงเป็นข้าวสาร ดังสำนวนว่า
" ชายข้าวเปลือก หญิงข้าวสาร " เพราะผู้ชายไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใดย่อมสามารถแพร่พันธุ์สร้างเชื้อสายสืบต่อไปได้ในขณะที่ผู้
หญิงเป็นข้าวสาร นอกจากนี้เรายังเปรียบเทียบข้าวในความหมายของคำอุดมสมบูรณ์อีกด้วย ดังสำนวนที่ว่า " หนูตกถังข้าวสาร "
หมายถึงชายยากจนที่ได้แต่งงานกับหญิงสาวที่ร่ำรวย ทำให้ตนเองมีเงินทองใช้สอยฟุ่มเฟือยไปด้วยเรียกได้ว่าอยู่อย่างสบาย
มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ไม่ต้องอดมื้อกินมื้อเหมือนเมื่อตนเองยังขาดแคลน เหมือนหนูที่อยู่ในถังข้าวสาร มีข้าวสารกินอย่าง
สบาย แต่ถ้าผู้ใดต้องทำมาหากินแบบ " ตำข้าวสารกรอกหม้อ " แปลว่าบุคคลนั้นทำอะไรอย่างปัจจุบันทันด่วน ไม่มีการ
เตรียมตัวมาก่อนเหมือนกับตำข้าวพอหุงกินมื้อหนึ่ง ๆ แต่ถ้า " ไม่มีข้าวสารกรอกหม้อ " เลยแสดงว่ายากจนไม่มีเงินแม้
แต่จะซื้ออาหาร

ดังนั้นถ้าเกิดกรณี " ทุบหม้อข้าว" ขึ้น ย่อมหมายถึงว่าผู้ถูกทุบหม้อข้าวย่อมเดือดร้อนและจะโกรธแค้นผู้มาทุบหม้อข้าวของตน
เนื่องจากบุคคลนั้นมาตัดหรือทำลายอาชีพ หรือผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะทำการแก้แค้นทดแทนให้ผู้ที่มา
ทุบหม้อข้าวของตนนั้นต้อง " กินน้ำตาต่างข้าว " คือให้มีความทุกข์โศกมาก ๆ เลยทีเดียว


สำนวน ” เหมือนข้าวคอยฝน ” ก็เป็นการบอกระยะเวลาเหมือนกัน ตามปกติข้าวจะงอกงามได้ต้องอาศัยฝนซึ่งตกตามฤดูกาล
ถ้าถึงฤดูทำนาแล้วฝนไม่ตก ตนข้าวก็จะตายเพราะขาดน้ำ การรอคอยสิ่งใดหรือใครเหมือนข้าวคอยฝนจึงเป็นการรอคอยที่
ไม่รู้น่นอนว่าเมื่อไรจะได้ และการรอคอยนั้นมีความสำคัญต่อชีวิต เปรียบเหมือนข้าวที่เพาะไว้แล้วรอฝน ถ้าฝนไม่ตกข้าวก็จะ
ตาย อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดเฉพาะช่วงกาลเวลาแล้ว สำนวนนี้ก็ให้ความหมายถึงระยะเวลาที่ไม่แน่นอนเช่นเดียวกัน ความคิด
ของคนไทยในเรื่องเวลาจึงไม่ชัดเจน


ข้าวในค่านิยมไทย :
สังคมไทยแต่เดิมเป็นระบบศักดินา การจัดลำดับชนชั้นในสังคมแบ่งออกได้เป็น ๒ พวก คือ นายและไพร่ นาย ได้แก่ เจ้านาย
และขุนนางที่มีศักดินาเกิน ๔๐๐ ไร่ ส่วนไพร่ คือ ราษฎรที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้หลวงหรือให้นาย จัดว่าเป็นข้า ดังที่
ปรากฏในสุภาษิตพระร่วงว่า

"ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน ” ตามปกตินายจะเป็นผู้ดูแลบังคับบัญชาไพร่มอบหมายการงานต่าง ๆ ให้ทำไพร่หรือข้าต้องทำตาม
คำสั่งนาย ถ้าผู้ใดทำนอกคำสั่งจัดว่าเป็น “ข้านอกเจ้า ข้าวนอกหม้อ ” สำนวนนี้จึงหมายถึงการทำหรือประพฤตินอกจาก
คำสั่งหรือผิดจากแบบแผนธรรมเนียม การเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหรือเจ้านาย เป็นค่านิยมที่ทำให้ระบบสังคมดำเนิน
ไปได้โดยราบรื่นเพราะทำให้ผู้ปกครองบ้านเมืองสามารถเกณฑ์คนไปต่อสู้ศัตรูภายนอกได้อย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างสิ่ง
ก่อสร้างที่เป็นสาธารณะประโยชน์ เช่นทำถนน ขุดคลอง สร้างวัด ฯลฯ ให้สำเร็จได้ความเชื่อฟังจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็น
คุณธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง สังคมไทยมีการปกครองแบบศักดินามาเป็นเวลานาน คนไทยจึงเคยชินกับการเชื่อฟังคำสั่งและ
การนับถืออำนาจ สำนวน “ข้านอกเจ้า ข้าวนอกหม้อ ” จึงเป็นคำกล่าวที่บ่งชัดว่า ผู้ใดทำการนอกคำสั่งจัดว่าเป็นคนที่มีความ
ประพฤติไม่ดี ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตน

ปัจจุบันมีอีกสำนวนหนึ่งที่มักนำมาใช้กัน คือ “ ข้าวนอกนา ” มีความหมายกลายไปจากเดิมหมายถึงบุคคลที่ไม่ได้เกิดในถิ่นนั้น ๆ
หรือเป็นบุคคลที่ถูกผู้อื่นจัดว่าไม่ได้เป็นพวกพ้องเป็นบุคคลภายนอกสังคม ไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม

ค่านิยมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของไทย คือ ความกตัญญูกตเวที ระบบศักดินาไทยมีพื้นฐานอยู่ที่การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ คือ
นายให้ความคุ้มครองไพร่ ใครจะมาทำร้ายรังแกไพร่ในบังคับของตนไม่ได้ ไพร่สามารถร้องทุกข์หรือร้องเรียนนาย ให้นำเรื่อง
ของตนร้องต่อศาลขอให้พิจารณาตัดสินคดีที่เกิดขึ้น สิ่งที่ไพร่ทำตอบแทนให้นาย คือ การรับใช้ การยอมตนอยู่ในบังคับ การ
ทำตามคำสั่ง คนไทยโดยทั่วไปจึงมีความสำนึกในบุญคุญที่บุคคลอื่นทำให้แก่ตนแม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็จะจดจำระลึกถึง ผู้ที่
ไม่นึกถึงบุญคุณผู้อื่นจัดว่าเป็นคนไม่ดีคบไม่ได้ จึงมีสำนวนว่า “ ข้าวแดงแกงร้อน ” ข้าวแดงเป็นข้าวที่สีด้วยมือ ไม่ขัดให้
เป็นสีขาว เมล็ดข้าวยังมีสีแดงเรื่อ ๆ ( สมัยโบราณยังไม่มีโรงสีไฟสีข้าวด้วยเครื่องจักรขัดเมล็ดข้าวให้ขาว) คนทั่วไปกินข้าว
แดงกันเป็นประจำ จะกินข้าวขาว คือข้าวที่ขัดจนขาว ( เรียกว่า “ ข้าวขัด ”) แต่เฉพาะคนชั้นสูงตามวัง และตามบ้านใหญ่ ๆ
โต ๆ บ้านที่มีคนอยู่มากมักสีข้างกินกันเอง คนในบ้านก็กินข้าวแดง สำนวน “ ข้าวแดงแกงร้อน ” เกิดจากการกินข้าวแดงดัง
กล่าว หมายถึงบุญคุณ คือ เมื่อกินข้าวแดงและแกงร้อน ซึ่งหมายถึงอาหารและกับข้าวของผู้ใด ผู้นั้นก็มีบุญคุณ ผู้กินควรต้อง
นึกถึงบุญคุณของผู้เป็นเจ้าของข้าวแดงแกงร้อนนั้น


สำนวน “ ข้าวไม่มียาง” ก็มีความหมายเหมือนกัน คือ คนที่ได้รับบุญคุณไปแล้วไม่นึกถึงบุญคุณเหมือนกับว่าข้าวที่กินเข้าไป
ไม่มียางข้าวติดอยู่ให้คนระลึกถึงบุญคุณเลย

สำนวนที่มีความหมายคล้ายคลึงกันอีกสำนวนหนึ่ง ได้แก่ “ เลี้ยงเสียข้าวสุก ” หมายถึงเลี้ยง เอาไว้เสียข้าวสุกเปล่าจะใช้ทำ
งานทำการอะไรไม่ได้ อาจนำสำนวนนี้ไปเปรียบเทียบกับสุนัขที่เลี้ยงไว้แล้วไม่เห่าไล่ขโมย หรือไม่เห่าปลุกเจ้าของบ้านว่า
เลี้ยงเสียข้าวสุกหรืออาจหมายถึงบุคคลที่เลี้ยงไว้หวังจะพึ่งพาอาศัยอะไรบ้างก็ไม่ได้

เนื่องจากสังคมไทยมีพื้นฐานอยู่ที่วัฒนธรรมข้าว ข้าวเป็นทั้งอาหารและเป็นที่มาของรายได้ทรัพย์สินเงินทองวัฒนธรรมไทย
จึงเห็นว่าข้าวมีสำคัญมากจึงมีคำศัทพ์ที่เกี่ยวกับข้าวและสำนวนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นจำนวนมาก


คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับข้าว :
เนื่องจากชีวิตคนไทยเกี่ยวพันอยู่กับข้าว วัฒนธรรมไทยจึงเน้นคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับข้าวตามไปด้วย เพื่อความสะดวกใน
การสื่อสารและทำความเข้าใจ คำศัพท์เฉพาะที่เรียกข้าวในลักษณะต่างๆ มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นการเอ่ยคำเพียงคำ
เดียวก้เข้าใจกันด้ำไม่จำเป้นต้องอธิบายลักษณะของข้าวเหล่านี้เป็นวลีหรือประโยค คำศัพท์เหล่านี้ได้แก่

ข้าวเจ้า - ข้าวที่มีเนื้อเมล็ดใส ใช้หุงเป็นอาหาร เป็นข้าวที่คนไทยส่วนมากกินเป็นประจำ
ข้าวเหนียว - ข้าวที่มีเนื้อเมล็ดขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน

ข้าวเปลือก - เมล็ดข้าวที่ยังไม่ๆได้เอาเปลือกออก
ข้าวปลูก - ข้าวเปลือกที่เก็บไว้สำหรับทำพันธุ์

ข้าวกล้า - ข้าวเปลือกที่เพาะไว้สำหรับย้ายไปปลูกที่อื่น
ข้าวกล้อง - ข้าวที่สีแล้ว ยังมีข้าวเปลือกปนอยู่ เพื่อเอาไปซ้อมให้ขาว

ข้าวสาร - ข้าวเปลือกที่สีซ้อมจนเหลือแต่เมล็ดข้าวดีแล้ว
ข้าวซ้อม - ข้าวกล้องที่ซ้อมขาวแล้ว

ข้าวลีบ - ข้าวที่มีแต่เปลือกลีบ ไม่มีเมล็ดข้าวสารอยู่ข้างใน
ข้าวฟ่อน - ข้าวทั้งรวงที่เกี่ยวแล้ว มัดทำเป็นฟ่อนใหญ่ๆ

ข้าวหนักหรือข้าวงัน (ภาษาถิ่นอีสาน) - ชื่อข้าวชนิดหนึ่งที่ได้ผลช้ากว่าจะได้เก็บเกี่ยวก็ในราวเดือนยี่ ออกรวงช้ากว่าข้าวเบา
ข้าวเบา - ข้าวที่ออกรวงเร็ว เป็นข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ในระยะเวลาประมาณ ๓ เดือน บางทีเรียก ข้าวสามเดือน พายัพเรียกข้าวดอ

ข้าวเก่า - ข้าวที่เก็บเกี่ยวไว้ค้างปี
ข้าวใหม่ - ข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ในปีนั้น

ข้าวนึ่ง - ข้าวเปลือกที่นึ่งแล้วตากแดดก่อนสี มักส่งไปขายต่างประเทศ
ข้าวสุก - ข้าวที่หุงสุกแล้ว บางทีเรียกข้าวสวย

ข้าวดิบ - ข้าวที่อยู่กับต้น ยังไม่สุก หรือข้าวที่หุงไม่สุก
ข้าวสวย - ข้าวที่หุงแล้ว

ข้าวตาก - ข้าวสุกที่ตากแห้ง
ข้าวตัง - ข้าวสุกที่ติดเป็นแผ่นเกรียมก้นหม้อ หรือกระทะ

ข้าวตอก - ข้าวเปลือกที่เอามาคั่วให้แตกเป็นดอกบาน พายัพเรียกข้าวแตก อีสานเรียกข้าวตอกแตก
ข้าวเม่า - ข้าวเปลือกที่ยังไม่แก่จัด เอามาคั่วแล้วตำให้แบน

ข้าวฮาง - ข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วตากแดดให้แห้งแล้วตำและนึ่ง



คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับข้าว :
ข้าวเกรียบปากหม้อ

นอกจากคำศัพท์ที่คิดขึ้นมาเพื่ออธิบายลักษณะเฉพาะของข้าวแบบต่างๆ แล้ว คนไทยยังนำข้าวไปทำเป็นอาหารประเภท
ต่างๆ โดยนำคำศัพท์อื่นเข้ามารวมกับคำข้าว ทำให้เกิดเป็นคำประสม เช่น

ข้าวกรู - ข้าวชนิดที่ทำเพื่ออุทิศให้ปรทัตตูปชีวีเปรตในพิธีสารท
ข้าวเกรียบ - ของกินทำด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียวเป็นแผ่นตากให้แห้งแล้ว ปิ้ง หรือทอด มีหลายชนิด เช่น
ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบกุ้ง

ข้าวเกรียบปากหม้อ - ของว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อ มีไส้ทำ ด้วยกุ้งหรือหมู
เป็นต้น
ข้าวเกรียบอ่อน - ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ละลายกับน้ำตาลโตนด หรือน้ำตาลมะพร้าว มีไส้ทำด้วยถั่ว
หรือมะพร้าว กินกับน้ำตาลคลุกงา

ข้าวแกง - อาหารที่ขาย มีข้าวกับแกงเป็นต้น เรียกร้านอาหารประเภทนี้ว่า ร้านข้าวแกง
ข้าวโกบ (ภาษาถิ่นอีสาน) - ขนมนางเล็ด

ข้าวขวัญ - ข้าวบายศรี
ข้าวแขก - ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยข้าวเปียก มีหน้าคล้ายตะโก แต่สีเหลือง มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ

ข้าวควบ (ภาษาถิ่นพายัพ) - ข้าวเกรียบใส่น้ำตาลอ้อย มีรสหวานอย่างข้าวเกรียบว่าว
ข้าวแคบ (ภาษาถิ่นพายัพ) - ข้าวเกรียบที่มีรสเค็ม ๆ อย่างข้าวเกรียบกุ้ง

ข้าวจี่ (ภาษาถิ่นพายัพ) - ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อน ข้างในใส่น้ำอ้อย เอาไข่ทา แล้วปิ้งไฟ
ข้าวแจก ( ภาษาถิ่นอีสาน )- ข้าวที่ทำบุญส่วนกุศลให้ผู้ตาย

ข้าวจี่
ข้าวต้มปัด

ข้าวแช่ - ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกขัดแช่เย็น กินกับเครื่องกับข้าวต่าง ๆ
ข้าวซอย ( ภาษาถิ่นพายัพ) - ชื่ออาหารทางภาคพายัพ ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้นใหญ่ ๆ แล้วปรุงเครื่อง

ข้าวแดกงา - ข้าวเหนียวนึ่งโขลกปนงา
ข้าวต้ม - ข้าวที่ต้มให้สุก, ข้าวเหนียวที่ห่อใบไม้ เช่น ใบตองหรือใบมะพร้าวแล้วต้มหรือนึ่งให้สุกอยู่ในจำพวกขนม
มีชื่อต่างๆ กัน เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด

ข้าวต้มน้ำวุ้น - ของหวานชนิดหนึ่งทำด้วยข้าวเหนียวห่อใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยมต้มกิน กับน้ำเชื่อม
ข้าวต้มปัด - ข้าวเหนียวต้มที่ห่อด้วยใบไม้ เช่น ใบมะพร้าวหรือใบเตย มักทำถวายพระในเทศกาลออกพรรษา บางทีเรียกข้าวปัด

ข้าวตอกตั้ง - ของหวานทำด้วยข้าวตอกคลุกน้ำตาลและมะพร้าวทำเป็นแผ่น ๆ เกลือกแป้ง
ข้าวตู - ข้าวตากคั่วแล้วตำเป็นผงเคล้ากับน้ำตาลและมะพร้าว

ข้าวแตน - ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนึ่งแผ่เป็นแผ่นกลมทอดน้ำมันให้พอง มีรสเค็ม ๆ หวาน ๆ บางทีเรียกขนมรังแตน
ข้าวทิพย์ - ขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวน มีน้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีกวนให้เข้ากันมัก
ทำให้พิธีสารท บางทีเรียกข้าวกระยาทิพย์

ข้าวบิณฑ์ - ข้าวสุกที่บรรจุในกรวย ใส่ไว้ในพุ่มดอกไม้ ใช้ในการเซ่นบูชา
ข้าวบุหรี่ - ข้าวหุงอย่างวิธีของแขก มีเครื่องปรุงและเนื้ออยู่ในตัว

ข้าวเบือ - ข้าวสารที่ตำกับของอื่นประสมกับน้ำแกง เพื่อให้น้ำแกงข้น
ข้าวประดับดิน (ภาษาถิ่นอีสาน) - ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพธิ์ และพระเจดีย์เวลา เช้ามืดในเดือน ๙

ข้าวปาด (ภาษาถิ่นอีสาน) - ขนมเปียกปูน
ข้าวปุ้น (ภาษาถิ่นอีสาน) - ขนมจีน

ข้าวเปรต - เครื่องเซ่นเปรตในพิธีตรุษสารท
ข้าวเปียก - ข้าวที่ต้มและกวนให้เหนียว, ข้าวที่ต้มกับน้ำกะทิให้เหลวจนน้ำแห้ง มีรสเค็ม ๆ มัน

ข้าวผอก - ข้าวห่อหรือข้าวที่บรรจุกระบอกไปกินกลางวัน
ข้าวผอกกระบอกน้ำ - ของกินเล็ก ๆ น้อย ๆ และมีกระบอกน้ำเล็ก ๆ กรอกน้ำแขวนกิ่งไม้ ที่ทำขึ้นแล้วผูกไว้ที่บันไดเรือนใช้
ในพิธีตรุษ

ข้าวพระ - ข้าวสำหรับถวายพระพุทธ บางทีเรียกข้าวพระพุทธ
ข้าวพอง - ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยเมล็ดข้าวประสมกับน้ำตาล อัดเป็นแผ่นแล้ว ทอดให้พอง

ข้าวเภา - ชื่อข้าวในพิธีธนญชัยบาศ รับช้างเผือกของพราหมณ์พฤฒิบาศ คลุกด้วย สีเหลือง สีแดงแล้วปั้นเป็นก้อน ๆ
ข้าวมัน - ข้าวที่หุงด้วยกะทิให้สุก

ข้าวเม่าทอด - ขนมชนิดหนึ่งทำด้วยกล้วยไข่ หุ้มด้วยข้าวเม่าดำ คลุกกับมะพร้าว แล้วชุบแป้งทอดเป็นแพ ๆ



คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับข้าว :
ข้าวยำ
ข้าวยาคู - ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทำด้วยเมล็ดข้าวอ่อน ตำแล้วคั้น เอาน้ำเคี่ยวกับน้ำตาล
ข้าวยำ - อาหารของชาวใต้ชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกใช้คลุกกับเครื่องปรุง มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว น้ำเคยหรือน้ำบูดู ส้มโอ
(มะม่วงหรือมะขามหั่น และผักต่าง ๆ เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ผักกระถินถั่วฝักยาว ถั่วพู หรือถั่วงอก)

ข้าวสาก (ภาษาถิ่นอีสาน) - ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพธิ์ และพระเจดีย์เวลาเช้ามืดใน เดือน ๑๐
ข้าวหมก - อาหารอิสลามแบบหนึ่ง ประกอบด้วยข้าวสวยปรุงด้วยเครื่องเทศและขมิ้น มีเนื้อไก่หรือเนื้อแพะหมกในข้าว
ข้าวหมาก - ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนึ่ง แล้วหมักกับแป้งเชื้อ


ข้าวหลาม
ข้าวหลาม - ข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุก
ข้าวหลามตัด - ข้าวเหนียวนึ่งอัดใส่ถาด โรยถั่วทอง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มักกินกับข้าวหมาก

ข้าวคั่ว - ข้าวตากคั่วให้สุก ใช้ทำอาหาร
ข้าวหัวโขน - ข้าวตากคั่วน้ำตาล

ข้าวเหนียวแก้ว - ข้าวเหนียวกวนกับกะทิและน้ำตาลทราย
ข้าวเหนียวแดง - ข้าวเหนียวกวนกับกะทิและน้ำตาลหม้อ มีสีแดงเป็นน้ำตาลไหม้

ข้าวเหนียวตัด - ข้าวเหนียวนึ่ง ใส่หน้ากะทิ ตัดเป็นชิ้นๆ
ข้าวเหนียวห่อ - นำข้าวเหนียวมาห่อแล้วนึ่ง ใส่หน้ากะทิ

ข้าวแม่ซื้อ - ข้าวสุกปากหม้อ ปั้นเป็นก้อน ๔ ปั้น ๔ สี คือ ขาว เขียว แดง และดำ ปั้นละสี เอาข้าวสี่ปั้นนี้วางลงในฝาละมี
ชามหรือ กระทง แล้วหยิบทีละก้อนวนรอบตัวเด็กแล้ว กล่าวคำฟาดเคราะห์ เพื่อให้เด็กหายจากตัวร้อน นอนผวา เรียก พิธี
ทิ้งข้าวแม่ซื้อ
ข้าวหม่ำ - ข้าวที่เคี่ยวให้ละเอียดแล้วคายออกมาป้อนให้เด็กเล็กๆ เป็นภาษาไทยใหญ่


ข้าวเหนียวแก้ว
ข้าวเหนียวทุเรียน
ข้าวที่นำมาใช้ทำเป็นอาหารนี้มีเป็นจำนวนมาก ถ้าจะจัดจำแนกอาหารที่ทำจากข้าว สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑. อาหารที่ชาวบ้านทำรับประทานกันเป็นสามัญทั้งคาวและหวาน ได้แก่ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวตัด ข้าวหลาม ข้าวหมาก
ข้าวแช่ ข้าวซอย ข้าวจี่ ข้าวแขก ข้าวเกรียบ ข้าวต้ม เป็นต้น

๒. อาหารที่ใช้ในพิธีกรรม ได้แก่ ข้าวกรู ข้าวขวัญ ข้าวบิณฑ์ ข้าวแม่ซื้อ ข้าวประดับดิน ข้าวเปรต ข้าวผอกกระบอกน้ำข้าวสาก
เป็นต้น

ดังนี้จะเห็นได้ว่า ข้าวเข้าไปเกี่ยวข้องกับชีวิตคนไทยในทุกๆ ด้านทั้งในด้านชีววิทยา คือตอบสนองต่อความต้องการตามธรรม
ชาติของร่างกายในด้านอาหาร และตอบสนองต่อความเชื่อ ซึ่งเป็นความต้องการทางจิตใจ จึงอาจกล่าวได้ว่าข้าวมีความ
สำคัญต่อชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก ดังคำกล่าวที่ว่าอดข้าวดอกนะเจ้าชีวาวายนักมานุษยวิทยาถือว่าคำศัพท์ในภาษา
ย่อมบ่งชี้ถึงความสนใจเฉพาะของวัฒนธรรม เมื่อมีการใช้คำศัพท์ ข้าว ในภาษาไทยมากจึงหมายความว่า วัฒนธรรมไทย
เป็นวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับ "ข้าว"



แม่โพสพ เทวีแห่งข้าว :

คนไทยได้เรียนรู้ว่าข้าวเป็นของมีคุณ เป็นพืชที่เลี้ยงชีวิตเผ่าพันธุ์ไทยยั่งยืนมาแต่โบราณกาลจนสืบเชื้อสายอยู่มากมาย
ในปัจจุบัน เมื่อใดที่อยู่ในสภาพ "ข้าวเหลือเกลืออิ่ม" ประชาชนก็จะมีความสงบสุข แต่เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชน
ก็จะหน้าดำคร่ำเครียดด้วยความทุกข์ ในเมื่อข้าวมีความสำคัญต่อชีวิตคนไทย คนไทยจึงมีความกตัญญูต่อข้าว ยกย่องข้าว
เป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าในข้าวมีวิญญาณ ข้าวเรียกว่า "แม่โพสพ" สถิตอยู่

ฉะนั้นผู้เฒ่าผู้แก่จึงสั่งสอนว่ามิให้เหยียบย่ำข้าว มิให้สาดข้าวหรือทำข้าวหก กินข้าวเสร็จแล้วก็สอนให้ไหว้แม่โพสพขอบคุณ
แม้การมหรสพของชาวบ้านยามเมื่อร้องบทไหว้ครูก็จะมีการร้องระลึกคุณแม่โพสพไว้ด้วย ดังบทไหว้ครูเพลงเรือบทหนึ่งมีความว่า

.......จะยกบายศรีขึ้นสี่มุม ลูกจะไหว้พระภูมิ ที่มา ไหว้ทั้งแม่ข้าวเจ้า ทั้งพ่อข้าวเหนียว เสียเเหละเมื่อลูกนี้เกี่ยวกันมา ลูก
จะไหว้โพสพ สิบนิ้วนอบนบ นิ้วหน้า ขอให้มาปกปักรักษาลูก ขออย่าให้มีทุกข์เลยหนา ขอให้มาเป็นมงคลสวมบนเกศา กันแต่เมื่อ
เวลานี้เอย.....


เรื่องเล่าเกี่ยวกับแม่โพสพมีเล่ากันทุกภาค มีความแตกต่างกันเป็น ๒ แนว คือ นิทานภาคกลางและภาคใต้มีเรื่องตรงกันแนวหนึ่ง
อีกแนวหนึ่งเป็นนิทานของภาคเหนือและภาคอีสาน


ตำนานแม่โพสพของภาคกลางและภาคใต้ :
แม่โพสพเป็นเทวีแห่งข้าว มีพาหนะเป็นปลากรายทองและปลาสำเภา ในวันหนึ่งที่เมืองไพสาลี กลางสโมสรสันนิบาต มนุษย์ได้
ปรึกษากันว่าระหว่างพระพุทธเจ้ากับแม่โพสพใครมีคุณมากกว่ากัน ที่ประชุมต่างพากันกล่าวว่า คุณพระพุทธเจ้าใหญ่กว่า แม่โพ
สพและพระเพชรฉลูกรรณได้ฟังดังนั้นก็ข้องใจว่าเรารักษามนุษย์อยู่ มนุษย์ไม่เห็นความดี จึงทรงปลากรายหนีไปยังป่าหิมพานต์เขา
คชกูฎ เมื่อแม่โพสพจากไปก็เกิดความอดอยากขึ้นในโลกมนุษย์ ทำไร่ไถนาไม่มีข้าวมีแต่แกลบ มนุษย์จึงชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าให้พระมาตุลีไปเชิญนางกลับมา พระมาตุลีตามไปจนถึงเขาทบกันก็ไปไม่ได้ จึงใช้ให้ปลาสลาดไปตามต่อจนพบ
ปลาสลาดได้อ้อนวอนขอให้นางกลับคืนโลก นางตอบว่า อยู่ที่นี่เราสบาย ถ้าจะไปใจแม่หายเพราะเขาไม่รู้บุญคุณ แม่จะให้แต่
เมล็ดข้าวไปรักษาแก่ฝูงคน เมื่อเก็บนึกถึงเรา เราจะไปปีละหน เก็บเกี่ยวแล้วให้ทำขวัญ นางได้มอบเมล็ดข้าว ๗ เมล็ด
(บ้างก็ว่า ๙ เมล็ดไปทำพันธุ์ พระเพชรฉลูกรรณให้ให้แม่เหล็ก ๑ อัน สำหรับตั้งพร้า นางยังสั่งด้วยว่า เมื่อมนุษย์ทำไร่ไถนา
เมื่อข้าวใกล้สุกก็จัดให้มีพิธีทำขวัญให้แต่งด้วยข้าวขวัญและด้วยเหตุที่ปลาสลาดเป็นผุ้บอกทางที่นางซ่อนแก่พระมาตุลี นาง
จึงสั่งให้นำปลาสลาดมาเป็นเครื่องเซ่นสังเวยด้วย ปลาสลาดก็ลากลับมาเล่าให้พระมาตุลีฟังตามคำแม่โพสพ พระมาตุลีรับเมล็ด
ข้าวแล้วก็เหาะกลับ ในระหว่างทางพระมาตุลีจึงหยุดพักอาบน้ำ นกกระจาบได้แอบลักเมล็ดข้าวสองเมล็ดบินหนี ข้าวสองเมล็ด
นั้นได้ตกลงมายังโลกมนุษย์กลายเป็นข้าวผี พระมาตุลีนำเมล็ดพันธุ์ข้าวถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงเรียกมนุษย์มา
พร้อมกัน ทรงอธิบายให้มนุษย์ฟัง และแจกเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่มนุษย์ ตั้งแต่นั้นมาเมื่อข้าวใกล้สุก มนุษย์จะทำขวัญเชิญแม่โพสพ
เป็นประจำทุกปี


ตำนานแม่โพสพของภาคเหนือและภาคอีสาน :
เรื่องเริ่มที่อุทยานของพญานาคมีข้าวเกิดขึ้นเอง ต้นหนึ่งๆ มีขนาดเจ็ดกำมือ เมล็ดใหญ่เท่าผลมะพร้าว มีสีเงินยวงกลิ่นหอมหวาน
มีหญิงม่ายคนหนึ่งเป็นคนยากไร้ ไม่มีมีดพร้าสำหรับ ผ่าเมล็ดข้าว จึงใช้ไม้คานทุบข้าว เมล็ดข้าวแตกกระจาย บางส่วนไปเกิดเป็น
ข้าวไร่ หรือ ข้าวดอย บางส่วนตกในน้ำเกิดเป็นข้าวนาหรือแม่โพสพ แม่โพสพน้อยใจที่หญิงม่ายทำรุนแรงจึงหนีไปอยู่เสียในถ้ำ
ทำให้มนุษย์ไม่มีข้าวกินถึงพันปี

วันหนึ่งลูกชายเศรษฐีหลงทางเข้าไปในป่าพบปลากั้งซึ่งอยู่กับนางโพสพ ปลากั้งพาไปไหว้นาง ลูกเศรษฐีได้อ้อนวอนให้นาง
คืนสู่เมืองมนุษย์ นางขัดอ้อนวอนไม่ได้จึงกลับมาโลกอีก ลูกเศรษฐีสำนึกในบุญคุณของนางจึงชักชวนมนุษย์ให้ยกย่องนับถือนาง

ต่อมาอีกพันปี มีชายโลภมากผู้หนึ่งสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวไว้กินแต่ผู้เดียว แม่โพสพโกรธจึงหนีกลับไปอยู่ถ้ำในป่าอีกทิ้งให้มนุษย์
อดอยากเป้นเวลาหลายร้อยปี เทวดาเล็งเห็นความทุกข์ยากจึงอ้อนวอนให้แม่โพสพกลับคืนมา พร้อมกันนั้นก็สอนให้มนุษย์
รู้จักนับถือข้าว รู้จักทำขวัญข้าว

นิทานของชาวลื้อในภาคเหนือบางสำนวนเล่าว่า ในสมัยพระพุทธเจ้า นางขวัญข้าวถูกไล่จึงไปอยู่ถ้ำกับพวกครุฑนาค ต่อมาชาว
เมืองอดข้าวจึงได้ทำพิธีเชิญแม่โพสพกลับเมือง


จากตำนานนิทานในท้องถิ่นต่างๆ จะเห็นได้ว่าความเชื่อเรื่องแม่โพสพเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย ก่อนหันมารับนับถือพุทธ
ศาสนา นิทานของชาวลื้อแสดงให้เห็นร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงความเชื่อเมื่อหันมานับถือพุทธศาสนาและขัดแย้งกับความเชื่อ
ดั้งเดิม นิทานของชาวภาคกลางและภาคใต้แสดงให้เห็นชัยชนะของพุทธศาสนาเหนือศาสนาดั้งเดิม (แม่โพสพ-เทวีแห่งข้าว
และพระเพชรฉลูกรรณเทพแห่งช่าง เป็นเทพซึ่งชาวบ้านนับถือ) และแสดงให้เห็นการประนีประนอมระหว่างความเชื่อทั้งสอง
ทั้งนี้ทั้งนั้นก้เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญของชุมชน




จาก " แม่โพสพ เทวีแห่งข้าว" โดย สุกัญญา ภัทราชัย ใน ข้าวกับวิถีชีวิตไทย (น.๑๒๙ - ๑๓๑) สำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ จัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๓๖




http://www.culture.go.th/knowledge/story/rice/file01.htm
.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:26 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 25/12/2012 9:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงครับ

ผมก็เล่นกลอนสด ร่ายยาวลงในกระทู้เลย ไม่ได้เก็บข้อมูลเอาไว้ ถ้าจะร่ายใหม่ คงไม่เหมือนเดิม เอาที่จำความได้
และอาจจะมี นอกบท เพิ่มเติม นะครับ


kimzagass บันทึก:
ภูมิปัญญาข้าวนาบนพื้นที่สูง ของปากะญอ



พันธุ์ข้าว
ข้าวภาษาปากะญอใช้คำว่า “บือ” พันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมที่ผ่านการคัดเลือก โดยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ
เป็นมรดกสืบทอดกันมา ค่อนข้างมีความหลากหลายทางชีวภาพ การตัดสินใจในการเลือกใช้พันธุ์แตกต่างกันไปในแต่ละ
บุคคลและท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับปัจจัยบางอย่าง เช่น คุณภาพการหุงต้ม ผลผลิต ลักษณะและรูปร่างเมล็ด ทรงต้นข้าว สภาพ
นิเวศน์ของพื้นที่นา สภาพแวดล้อม รวมทั้งความเชื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่บริโภคข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก ได้แก่


พันธุ์บือโปะโละ, บือพะทอ, บือกิ, บือพะโด่ะ, บือแม้ว, บือกิโพ,
บือกวา, บือกอ, บือพึ, บือมูโป๊ะ บือเนอมู, บือซอมี, บือโซ, ฯลฯ


.................

นอกจากข้าวเจ้ายังมีพันธุ์ข้าวเหนียว เช่น บือปิอีจอวะ บือปิอีปอซี แต่ปลูกกันเพียงเล็กน้อย

..................

วิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว :
เก็บเกี่ยวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม ก่อนการเก็บเกี่ยวจะระบายน้ำออกจากแปลงนาประมาณ 2 สัปดาห์
ใช้เคียวในการเกี่ยวข้าว มัดเป็นฟ่อนขนาดกำมือโดยใช้ตอกหรือใบข้าวที่ติดกับส่วนของลำต้น (เกี่ยวพันกำ) ตากไว้บน
ตอซัง ทิ้งไว้ 3-4 แดด นำมากองรวมตรงลานนวด ส่วนใหญ่นวดโดยใช้แรงงานคน เคยพบมีการใช้เครื่องนวดขนาด
เล็กแบบจีนทำความสะอาด







เมล็ดและบรรจุลงกระสอบ ๆ ละประมาณ 25-30 กิโลกรัม(ปัจจุบัน ใช้น้ำหนักมาตรฐาน กระสอบละ
25 กิโลกรัมเพื่อเวลาขายเมล็ดพันธุ์ครับ)
เก็บผลผลิตเข้ายุ้งฉางโดยใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ (วัว ช้าง)
ปัจจุบันมีการใช้รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์บรรทุก ชาวกะเหรี่ยงบางรายคัดเลือกกระทงนาที่ข้าวเจริญเติบโตดี
เมล็ดสมบูรณ์ รอให้สุกแก่เต็มที่จึงจะเก็บเกี่ยวเมล็ดไว้ทำพันธุ์ บางรายปลูกข้าวมากกว่า 2 พันธุ์ จะแยกเมล็ด
พันธุ์เก็บไว้ต่างหาก ที่เหลือจะนำมาปนกันเพื่อเก็บไว้บริโภค






ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม เกี่ยวกับข้าว
การเลี้ยงผีน้ำ ผีฝาย การเลี้ยงเจ้าที่นา พิธีสู่ขวัญควาย พิธีแยกข้าว ประเพณีกินข้าวใหม่ มีการไหว้
แม่โพสพตอนรับท้องด้วยครับ


ก่อนปักดำ มีการเลี้ยงผีน้ำผีฝาย หลังปักดำ มีการเลี้ยงเจ้าที่นา

หลังเก็บเกี่ยว มีการเรียกขวัญข้าว


http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=9.htm



ยัยเฉิ่ม ....เห็นรึยัง ....นี่แหละที่เรียกว่า This Man Call KIM ZA GASS สมดังที่เป็น
LION – พญาราชสีห์ จริง ๆ


จะว่าเป็นแผนล่อเสือออกจากถ้ำก็ไม่ใช่ จะว่า อยากได้ลูกเสือต้องเข้าถ้าเสือก็ไม่เชิง ...เอาเป็นแผน เกาคางเสือ
ก็แล้วกันนิ....

เอ็งคิดดู ทิดเอา บือพะทอ บือโปะโละ บือพะโด่ะ แค่สองสาม บือ ออกมาล่อแค่นั้นแหละ คราวนี้ เสือถูกเกาคางเลย
หลับเพลิน คายออกมาอีกหลายบือเลยก็แล้วกัน ....

ขาดไปอีกบือนึงว่ะ....นอตอบือ แปลว่าไม้ตีข้าว หรือสากตำข้าว แปลแบบไทย ๆ ก็แปลว่า ....
สากกะเบือ....ภาษาไทยมันดิ้นได้ จากภาษาปกากะญอ - นอตอบือ หูคนไทยฟังเพี้ยนกลายเป็น สากกะเบือ...
เอ็งรับไว้นะ ข้าผ่านให้เอ็ง...


...@ ลุงคิม ...ผมปุจฉามาแล้ว (จิ๊ดเดียวเอง)

ลุง วิสัชชนาซะยาว ..ก็ขอได้โปรด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หาข้อมูลทุกสายพันธุ์มาลงด้วย เพื่อมวลสมาชิก
จะได้รู้ และ ....


ขอให้กระทู้นี้เป็น Native Rice Seeds Encyclopedia เป็นหนึ่งในกระทู้ ชาวบ้าน ที่ดีที่
สุดอีกกระทู้หนึ่งของ kasetloongkim.com
…

และใครจะว่าลุงคิมบ้า ผมขอบ้ากะลุงด้วยอีกคน .....จะหารายชื่อสายพันธุ์ข้าวมาให้ครบ 150 สายพันธุ์หรือมากกว่า

รู้สึกว่ามันจะยาวเกินกว่าที่ถูกลบออกแล้วนะ งั้นพอแค่นี้ก่อน

อ้อ ๆ ...แล้วสายพันธุ์ข้าวของเผ่าอี๋ ไม่มีมั่งหรือครับลุง ....หนีห่าว..ว่ออ๊ายหนี่ ....ฉี่เฉี่ยวหัว...อะไรทำนองนี้น่ะ อิอิ....


ตะบลือ...(ขอบคุณครับ)

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 7:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:




ยัยเฉิ่ม ....เห็นรึยัง ....นี่แหละที่เรียกว่า This Man Call KIM ZA GASS สมดังที่เป็น
LION – พญาราชสีห์ จริง ๆ

COMMENT :
เวอร์ไป เวอร์ไป (ว่ะ...) แดง....




...@ ลุงคิม ...ผมปุจฉามาแล้ว (จิ๊ดเดียวเอง) ลุงวิสัชชนาซะยาว ..ก็ขอได้โปรด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
หาข้อมูลทุกสายพันธุ์มาลงด้วย เพื่อมวลสมาชิกจะได้รู้ และ ....
COMMENT :
น่าจะมีเว้บนี้เว้บเดียวมั้งที่ ถาม 1 บันทัด ตอบ 1 หน้า.....เพราะคำตอบยาวกว่าคำถาม คนเลยไม่ขอบถามไง

เรื่องหาข้อมูลทุกสายพันธุ์ สอบถามไปทางเซิร์ปเวอร์ ที่พารากอนแล้วว่า ถ้าเอารายละเอียดทุกสายพันธุ์
(เน้นย้ำ...ทุกสายพันธุ์) จะได้ไหม ?......เซิร์ปเวอร์ บอกว่า ระบบ ซีพียู คอม. พังแน่ (พังนะ...ไม่ใช่เออร์เรอร์)




ขอให้กระทู้นี้เป็น Native Rice Seeds Encyclopedia เป็นหนึ่งในกระทู้ชาวบ้าน
ที่ดีที่สุดอีกกระทู้หนึ่งของ kasetloongkim.com
…
COMMENT :
ถามเอง - ตอบเอง รึเปล่า

เจตนาจริงๆ คือ ค้นหาเอง-เพื่ออ่านเอง เท่านั้น เอาไว้เป็นข้อมูลเวลาพูดออกรายการวิทยุ กับบางครั้ง
ไว้คุยกับคนอื่น เขาจะได้ไม่ว่า "ขี้โม้" เท่านั้นแหละ

ยามใดที่ท่องไปในโลกเน็ต เจอเรื่องราวใดน่าสนใจ เอ๊ะ ! นี่มันเกี่ยวเนื่องกับชีวิตงานประจำวันของเรานี่ (หว่า...)
ก็จะ อ่าน-อ่าน อ่านก่อน 1 รอบ แล้วก๊อปปี้มาวางไว้ในเว้บเรา พร้อมกับอ้างอิงเว้บเดิมเขาด้วย เพื่อเป็นการให้
เครดิตกับอ้างอิงแหล่งที่มาของเรื่องราว ก๊อปปี้เสร็จอ่านอีก 1 รอบ บางครั้งจัดอาร์ตเวิร์ค บางครั้งไม่ได้จัด
ก็ว่ากันไป

อั้ยเราเป็นคนชอบ "สู่รู้" เลยหาเรื่องรู้ ให้มันรู้ไปซะทุกเรื่อง บางคนนิสัยอย่างเราก็ โอ.เค. บอกว่าดี เห็นด้วย...
..บางคนนิสัยตรงข้ามก็ว่า โน.เค. ไม่เห็นด้วยแต่ก็เฉยๆ

เว้บนี้ ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เพราะเว้บมาสเตอร์ ทำเพื่ออ่านเอง หากใครใคร่เข้ามาอ่านก็ยินดี......
ก็แค่นี้แหละ




และใครจะว่าลุงคิมบ้า ผมขอบ้ากะลุงด้วยอีกคน .....จะหารายชื่อสายพันธุ์ข้าวมาให้ครบ 150 สายพันธุ์หรือมากกว่า
COMMENT :
จาก "บ้า" คำเดียว จะพัฒนาเป็น "บ้อยอ" นะแดงนะ....






อ้อ ๆ ...แล้วสายพันธุ์ข้าวของ "เผ่าอี๋" ไม่มีมั่งหรือครับลุง ....หนีห่าว..ว่ออ๊ายหนี่ ....ฉี่เฉี่ยวหัว...อะไรทำนองนี้น่ะ อิอิ....
COMMENT :
"เผ่าอี๋" ต้องฝากให้ สมบัติ เชียงราย ช่วยเป็นธุระให้ซะแล้วหละ....ลุงคิมรู้จักแต่ "เผ่าอึ๋ม" (ว่ะ...)





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/12/2012 10:37 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 9:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

16. บือโป๊ะโละ : พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

นงนุช ประดิษฐ์ 1



Abstract
Bue Po Lo, highland paddy rice variety which Karen ethnic groups using widely planted and its emphasis on Highland food security in Mae Hong Son. In 2008, Bue Po Lo samples were surveyed and collected in Mae Hong Son province from the high sea level between 505-1,303 meters source plant. Bue Po Lo is a traditional rice growing for a long time from past to present and maintained by an ancestor. Inheritance and tradition for many generations people together. Bue Po Lo is known from the look and large round seeds, divide into three types by calling the nature of the grain were large, medium and small. They grow single plant species or two or the whole of all kinds. In addition to planting in upland condition, we found that some of “Score” Karen ethnic groups plant in field conditions. By another name called Bue Pong long. The advantages are higher yield when grown on highland where is cold, strong culm, large panicle and grain, medium, easy threshing, soft hot and cold cooked rice cooking quality, delicious, fluffy, relatively resistant to disease and insects better than other varieties and planted in every landscape. But some areas have problems to blast, gall midge, white planthopper, stem borer and lodging easily, high plant in abundance area. Farmers will be selected rice varieties when mixed or other red rice and cultivated to 4-5 years. They conserve and inherit rice from generation to generation. Some of them located in the village of high sea level up to 700 meters, Bue Po Lo was grown less because they can grow rice RD 21 which is high-yielding rice and some village grow RD21 all. In 2053, there were flowering date during September 16 to October 13, between 94-200 centimeter height, 7-17 panicles per hill and yield differences. Bue Po Lo Mae Na Jang variety is over to yield 845 kilograms per rai. Not significantly different from 50 species, followed by a yield between 650-831 kilograms per rai. But different from 42 varieties (315-644 kilograms per rai. In 2010 was Po Lo Bue with flowering date between October 17 to 26, 153-146 centimeter height, 8-15 panicles per hill and yield differences. Bue Po Lo Mae La variety was maximum yield of 741 kilograms per rai. Not significantly different statistically.From yielding varieties, followed by 26 species of which yield between 591-715 kilograms per rai. But the difference is statistically significant with other of 66 varieties (144-581 kilograms per rai). In Cooking Quality, Beu Po Lo with low amylose content (soft cooked rice) was 83 varieties, medium amylose content (quite brittle cooked rice) was 83 varieties and found that sticky, soft and aromatic cooked rice are Bue Po Lo Huay Ma Buab 1, Bue Po Lo Huay Ma Buab 2, Bue Po Lo Ma Hin Luang and Bue Po Lo Mae La Ka 4.
Keywords : Buer Po Lo, karen landrace rice




บทคัดย่อ
บือโป๊ะโละเป็นข้าวนาที่สูงพันธุ์พื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่ใช้ปลูกกันอย่างแพร่หลาย
และมีความสำคัญด้านความมั่นคงทางอาหารบนพื้นที่สูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี พ.ศ.2551 ศูนย์
วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอนทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างพันธุ์ข้าวบือโป๊ะโละ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จำนวน 93 พันธุ์ จากแหล่งปลูกที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 505-1,303 เมตร
พบว่า ข้าวบือโป๊ะโละ เป็นข้าวพื้นเมืองที่ปลูกมานาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการเก็บรักษาจาก
บรรพบุรุษและปลูกสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน

ข้าวบือโป๊ะโละถูกเรียกจากลักษณะเมล็ดที่กลมๆ และใหญ่ ซึ่งมีการจำแนกเป็น 3 ชนิด โดยเรียก
ตามลักษณะของเมล็ดข้าว ได้แก่

บือโป๊ะโละเมล็ดใหญ่
บือโป๊ะโละเมล็ดกลาง และ
บือโป๊ะโละเมล็ดเล็ก

มีการปลูกชนิดเดียวหรือทั้ง 2 ชนิด หรือทุกชนิด นอกจากการปลูกในนายังพบว่ากะเหรี่ยงสกอร์
บางหมู่บ้านปลูกในสภาพไร่ โดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "บือโปงโลง" ข้าวพันธุ์บือโป๊ะโละมีข้อดี คือ
ให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกบนพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น ลำต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย รวงใหญ่ เมล็ด
ใหญ่ อายุปานกลาง นวดง่าย คุณภาพการหุงต้มข้าวสุกร้อนและข้าวสุกเย็นอ่อนนุ่ม รสชาติอร่อย
หุงขึ้นหม้อ ค่อนข้างต้านทานต่อโรคและแมลงดีกว่าพันธุ์อื่น ปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ แต่บาง
พื้นที่ยังพบปัญหาโรคไหม้คอรวง แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอ และต้นสูง ล้มง่าย

ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มาก เกษตรกรจะทำการคัดพันธุ์เมื่อมีข้าวพันธุ์อื่น ข้าวแดงปน หรือปลูก
ไปแล้ว 4-5 ปี บนพื้นที่สูง มีการอนุรักษ์และจะสืบทอดจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

แต่บางหมู่บ้านที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 700 เมตร มีการปลูกพันธุ์บือโป๊ะโละ
ลดลง เนื่องจากสามารถปลูกข้าวพันธุ์ กข21 ซึ่งให้ผลผลิตสูง และบางหมู่บ้านปลูกข้าวพันธุ์ กข21
ทั้งหมด

เมื่อปลูกเปรียบเทียบผลผลิต ในปี พ.ศ. 2552 พบว่า ข้าวนาที่สูงพันธุ์บือโป๊ะโละมีวันออกดอก
ระหว่างวันที่ 16 กันยาน-13 ตุลาคม ความสูงระหว่าง 94-200 เซนติเมตร จำนวนรวงต่อกอ 7-17
รวงต่อกอ และให้ผลผลิตแตกต่างกัน


บือโป๊ะโละแม่นาจางเหนือให้ ผลผลิตสูงสุด 845 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่าง
จากบือโป๊ะโละ พันธุ์ที่ให้ผลผลิตรองลงมา จำนวน 50 พันธุ์ ซึ่งให้ผลผลิตระหว่าง
650-831 กิโลกรัมต่อไร่ แต่แตกต่างจากบือโป๊ะโละพันธุ์อื่น จำนวน 42 พันธุ์
(315-644 กิโลกรัมต่อไร่)


ปี พ.ศ. 2553 พบว่า ข้าวนาที่สูงพันธุ์บือโป๊ะโละมีวันออกดอกระหว่าง 17-26 ตุลาคม ความ
สูงระหว่าง 153-146 เซนติเมตร จำนวนรวงต่อกอ 8-15 รวงต่อกอและให้ผลผลิตแตกต่างกัน


บือโปะโละแม่ละ 1 ให้ผลผลิตสูงสุด 741 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างทางสถิติ
จากพันธุ์ที่ให้ผลผลิตรองลงมา จำนวน 26 พันธุ์ ซึ่งให้ผลผลิตระหว่าง 591-715
กิโลกรัมต่อไร่



แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับบือโป๊ะโละพันธุ์อื่น จำนวน 66 พันธุ์ (144-581 กิโล
กรัมต่อไร่) คุณสมบัติทางเคมีเป็นข้าวที่มีปริมาณอมิโลสต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ซึ่งข้าวสุกนุ่ม จำนวน
83 พันธุ์ และมีปริมาณอมิโลสมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ซึ่งข้าวสุกค่อนข้างร่วน จำนวน 10 พันธุ์
และพบว่าเป็นข้าวหอม ข้าวสุกเหนียวและนุ่ม จำนวน 4 พันธุ์ คือ บือโป๊ะโละห้วยมะบวบ1, บือโป๊ะ
โละห้วยมะบวบ2, บือโป๊ะโละมะหินหลวง และบือโป๊ะโละแม่ลาก๊ะ4




ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน 50150 โทร 0-5361-7144
Mae Hong Son Rice Research Center, Pangmapha, Mae Hong Son 58150, Tel.0-5361-7144




ที่มา www.brrd.in.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:28 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 9:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

17. วัฒนธรรม ข้าวเจ้า-ข้าวเหนียว







คนในตระกูลไท-ลาวในอุษาคเนย์กินข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่งเป็นอาหารหลักไม่ต่ำกว่า 3, 000 ปีมาแล้ว อาทิ
ไทอาหม ในแคว้นอัสสัมของอินเดีย ชาวลื้อในสิบสองปันนาของจีน ชาวไทในเวียดนาม รวมทั้งชาวจ้วงในจีน
ซึ่งแม้ปัจจุบันจะกินข้าวเจ้าเป็นหลัก แต่ก็มีนาข้าวเหนียวซึ่งปลูกเอาไว้เลี้ยงผีบรรพบุรุษ

วัฒนธรรมข้าวนึ่งของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่วัฒนธรรมการกินข้าวเจ้าและการปลูกข้าวเจ้าเมื่อมีการติดต่อค้าขาย
และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอินเดีย เมื่อราวพ.ศ. 1000 โดยเริ่มปลูกที่ภาคใต้ก่อนขยายสู่พื้นที่ภาคกลาง

นักโบราณคดีพบว่า ราวหลังพ.ศ. 1900 การปลูกข้าวเหนียวลดลง ปลูกข้าวเจ้ามากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่ภาค
กลางซึ่งเป็นอาณาจักรอยุธยา และราวหลังพ.ศ. 2200 เป็นต้นมา ภาคกลางเป็นแหล่งปลูกข้าวเจ้ามากที่สุดส่วน
ข้าวเหนียวปลูกกันเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสานเท่านั้น

แม้คนในภาคกลางจะเปลี่ยนมากินข้าวเจ้าเป็นหลักและทำนาข้าวเจ้า แต่ก็มีปลูกข้าวเหนียวไว้เพื่อทำขนมโดยเฉพาะ
อาจเนื่องมาจากคุณสมบัติที่จับตัวกันง่ายของข้าวเหนียวซึ่งเหมาะในการทำขนมมากกว่าขนมส่วนใหญ่จึงทำจากแป้ง
ข้าวเหนียวซึ่งเหมาะในการทำขนมมากกว่าขนมส่วนใหญ๋จึงทำจากแป้งข้าวข้าวเหนียว






18. วงจรชีวิตข้าว





ในโลกทัศน์ของชาวนาไทย วงจรชีวิตข้าวดำเนินไปเฉกเช่นพัฒนาการแห่งชีวิตมนุษย์ ช่วงข้าวเติบโตเป็น
ต้นกล้าและเพิ่งปักดำใหม่ๆ ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เปรียบเหมือนวัยเด็กที่เพิ่งเจริญเติบโต เดือนสิงหาคม
ต้นข้าวเริ่มแตกลำต้นให้เห็นชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณยอดที่จะออกเป็นรวงข้าวเรียกว่า คอรวง พร้อมออกเป็น
รวงข้าวแล้ว ช่วงนี้ชาวบ้านจะเรียกว่า ข้าวเป็นสาว หรือ ข้าวถือแหวน จากนั้นไม่นาน ลำต้นข้าวจะเริ่มกลม
เรียวมากขึ้น บริเวณยอด เริ่มนูน อวบอ้วนมากขึ้น ชาวบ้านเรียกข้าวช่วงนี้ว่า ข้าวมาน หรือข้าวตั้งท้อง จากนั้น
ไม่ถึง 2 สัปดาห์ จากแรม 15 ค่ำไปถึงวันขึ้น 15 ค่ำ ดอกข้าวเริ่มแทงช่อดอกจากยอด ของลำต้นที่นูน กลม ช่วง
นี้ชาวบ้านอีสานเรียกว่า หยิ่งแข้ว หรือ ยิงฟัน การถ่ายยอดดอกเป็นสัญลักษณ์บอกว่าเกสรดอกข้าวได้รับการ
ผสมพันธุ์ให้ติดเป็นเมล็ดในอีกไม่ช้า ช่วงที่ชาวนาผู้เป็นเจ้าของก็เฝ้ามองต้นข้าวในนาด้วยความห่วงใย ระหว่าง
เดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน ต้นกล้าเขียวตะการเต็มทุ่ง เมื่อข้าวเริ่มออกดอก ลมช่วงปลายฤดูฝนช่วยพัดหอบเอา
เกสรจากรวงดอกของข้าวปลิวไปจับกออื่นๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ แมลงต่างๆ ก็ช่วยผสมเกสร ตามความเชื่อของชาว
อีสานข้าวหรือแม่โพสพจะตั้งท้องหรือออกรวงได้ก็ต่อเมื่อข้าวได้รับน้ำจาก พญแถน ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความ
อุดมสมบูรณ์หล่อเลี้ยงอย่างอุดมสมบูรณ์เพียงพอ

ช่วงเดือนกันยายน – เดือนตุลาคม ข้าวออกรวง เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิตต้นข้าว ชาวนาต้องคอยหมั่นดูแลน้ำ
ในนาข้าวให้ขังต้นข้าวในระดับที่พอเหมาะ หล่อเลี้ยงให้สม่ำเสมอขาดไม่ได้ ต้นข้าวที่กำลังสร้างเมล็ด มีน้ำใสขุ่น
จากเมล็ดลีบเล็ก ค่อยขยายโตขึ้น น้ำในเมล็ดข้าวมีรสชาติหวานมัน ชาวบ้านเชื่อว่าแม่โพสพกำลังสร้างน้ำนม จึง
เรียกช่วงนี้ว่า ข้าวน้ำนม ตามนิทานชาดกในพระพุทธศาสนา ท้าวจุลกาล หรือโฏญฑัญญะเถระ เมื่อครั้งที่ชาวนา
ได้นำข้าวที่กำลังเป็นน้ำนมรสหวานไปกวนเป็นข้าวมธุปายาสเพื่อถวายพระพุทธเจ้าชาวนาจะนำข้าวมาตำเป็น
ข้าวฮาง และ ข้าวเม่า เพื่อทำบุญเช่นกัน จากนั้นต้นข้าวจะค่อยๆ เหลืองแก่ จนเก็บเกี่ยวได้ปลายเดือนพฤศจิกายน
เป็นต้นไป



แหล่งอ้างอิง : กรมวิชาการเกษตร. 2541. ข้าว...วัฒนธรรมแห่งชีวิต. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 78-79.



ที่มา : www.brrd.in.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:31 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 10:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

19. ความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าวที่สูงของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน


สกุล มูลคำ; ประทีป พิณตานนท์; นิพนธ์ บุญมี; สุธีรา มูลศรี; สุวิทย์ มูลศรี; ศิวะพงศ์ นฤบาล; นงนุช ประดิษฐ์;
ปิยะพันธ์ ศรีคุ้ม; ปรีดา เสียงใหญ่; วารี ไชยเทพ



ข้าวที่สูงเป็นพืชสำคัญยิ่งสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งทางด้านคุณค่าทางอาหาร ด้านขนบธรรมเนียม และด้านเศรษฐกิจ
(บริบูรณ์, 2537) กล่าวคือ ข้าวนอกจากจะปลูกเพื่อบริโภคแล้ว ผลพลอยได้จากข้าว เช่น ปลายข้าว รำ และฟาง
ยังสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังเป็นตัวชี้วัดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนและครัวเรือนด้วย (สกุล,
2548)

การปลูกข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยบนที่สูงนั้น สภาพของภูมิประเทศที่อาศัยอยู่ และภูมิอากาศจะเป็นสิ่งกำหนด
ความเหมาะสมในการปลูกข้าว เช่น สภาพพื้นที่ราบใกล้ลำห้วยจะถูกปรับสภาพพื้นที่ให้มีลักษณะแบบขั้นบันไดและ
ทำคันกั้นน้ำให้ขังไว้สำหรับปลูกข้าวนา และในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดเอียงของภูเขาจะถูกปรับพื้นที่สำหรับปลูก
ข้าวไร่ ข้าวที่สูงของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆจะถูกคัดเลือกไว้ปลูกในพื้นที่ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาศัยบนที่สูง ซึ่งมี
ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน และมีชื่อเรียกพันธุ์ข้าวเป็นภาษาของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ต่างกันไป เช่น

1. กะเหรี่ยง : ได้แก่ บือชอมี บือโคคี บือพะดู บือชะโพ บือผึ บือปิอีกอ บือปิอิซุ บือมื่อ บือบอ บือกวา บือกิ
บือพะทอ บือโปะโละ บือซุ บือทอแม แพร่วา บือปรอโพ โคะโละโซะ บือปองลอง บืออีแตร ปิอีปรี บือข่าโซ
ไอ้นามา ปิอีกอแม บือวาโพ บือวา และไคร้หมี่ส้า เป็นต้น

2. มูเซอ : ได้แก่ ขะสอ จะแอหลวง จะพูมา จะนอยี จะนอหน่อย จะแล จะบือเกย จะลอย และจะแซะ เป็นต้น

3. ม้ง ได้แก่ เบล้เบล้าต้าง เบล้ตุ๊ เบล้ไช่ เบล้เบล่าเลียะ เบล้ฉาง เบล้เบล้า และเบล้เบล่าจั๊วะ เป็นต้น

4. ลัวะ : เงาะเหลือง เงาะง่อน และ เงาะกอลชิม เป็นต้น

5. ลีซอ : ได้แก่ จาซึซึ ดราซึซึ ดามูดะ อาหงิจะ จานุแนะแนะ จานุ และจาลุลุ เป็นต้น

6. เย้า : ได้แก่ เบี้ยวเกล้อ เบี้ยวย่าง เบี้ยวเตี้ยน เบี้ยวจิอูด เป็นต้น

7. อาข่า : ได้แก่ ลาซอ แซะนะ แซะล่า แซะหย่า แซะเน แซ่ตู่ย่า แซะเบียะ และยาเภอแซะ เป็นต้น

ข้าวที่สูงบางพันธุ์ยังมีคุณสมบัติพิเศษต่างจากพันธุ์อื่น เช่น อาหงิจะ มีธาตุเหล็กสูงสูงกว่าพันธุ์อื่น หรือ แซะล่า
สามารถปลูกได้บนที่มีความสูง 1,800 เมตรจากน้ำทะเลปานกลาง พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเหล่านี้ เป็นแหล่งพันธุ
กรรมที่สำคัญของชาติที่ควรอนุรักษ์เพื่อใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไป



http://www.research.or.th/handle/123456789/221759


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:32 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 2:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

20. ข้าวพันธุ์ใหม่ ลดน้ำตาลในเบาหวาน


อุบลราชธานี-ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดอุบลราชธานี เปิดตัวข้าวสายพันธุ์ใหม่ลดน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และข้าวต้าน
การลุกลามของเซลส์มะเร็ง หลังประสบความสำเร็จในการค้นคว้าสร้างข้าวพันธุ์ทนต่อโรคไหม้คอรวงข้าว และทนต่อ
ความแห้งแล้ง รวมทั้งทนต่อน้ำท่วมมาแล้ว

ที่ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดอุบลราชธานี นายพูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดอุบลราชธานีเปิด
เผยว่า นักวิจัยนำพันธุ์ข้าวเจ้าผสมข้ามสายพันธุ์ และพบว่าข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ผ่านการวิจัย มีคุณสมบัติให้น้ำตาลใน
ร่างกายน้อยกว่าข้าวสายพันธุ์เดิม ซึ่งมีประโยชน์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะเมื่อรับประทานข้าวพันธุ์ดังกล่าว
ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงมาก และข้าวสายพันธุ์นี้ยังไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ เพราะรอการรับรองผลด้านการ
วิจัยก่อน

นอกจากนี้ ผลการวิจัยข้าวหอมมะลิแดงที่มีการปลูกในบางพื้นที่ของภาคอีสานยังพบอีกว่า มีสารเอนโทไซยนิล และ
วิตามิน อี ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการเกิดเซลมะเร็งในตัวผู้ที่รับประทานข้าวชนิดนี้เข้าไป แต่ปัจจุบันยังมีพื้นที่ปลูกข้าว
ชนิดน้อย เนื่องจากผู้ปลูกและผู้รับประทานข้าวไม่ทราบถึงคุณประโยชน์ของข้าวชนิดนี้

ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดอุบลราชธานี จะได้ทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันมากขึ้น เพื่อใช้แก้ปัญหาการเจ็บป่วยด้วย
โรคดังกล่าวสำหรับศูนย์วิจัยข้าวแห่งนี้ มีผลงานวิจัยดีเด่นในอดีตคือการค้นพบพันธุ์ข้าวทนต่อโรคไหม้คอรวงข้าว ซึ่ง
เมื่อเกิดการระบาดแต่ละครั้ง ทำให้นาข้าวเสียหายหมดทั้งแปลง

นอกจากนี้ ยังค้นพบพันธุ์ข้าวทนต่อความแห้งแล้ง และทนต่อการถูกน้ำท่วมเป็นเวลานาน ล่าสุดก็ได้มาค้นพบพันธุ์ข้าว
ที่ให้น้ำตาลในข้าวน้อย เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถบริโภคข้าวได้ดีขึ้น




ที่มา : http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrview.aspx?NewsID=9550000134196


http://paidoo.net/article/11728464.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:34 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 3:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

21. การปลูก การดูแลรักษา และการใช้ปุ๋ยเคมี

--------------------------------------------------------------------------------------------------

การปลูกข้าว และการดูแลรักษา
การทำนาดำ
การทำนาหว่าน
การทำนาหยอด
การทำนาขั้นบันได
การทำนาที่สูง
การใช้ปุ๋ยในนาข้าว
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปุ๋ย
การจัดการดินและปุ๋ยตามนิเวศน์การปลูกข้าว
คำแนะนำการใช้ปุ๋ยและอัตราการใช้ตามชนิดเนื้อดิน
การจัดการดินและปุ๋ยตามนิเวศน์การปลูก

-------------------------------------------------------------------------------------------------


การจัดการดินและปุ๋ยตามนิเวศน์การปลูกข้าว ได้แก่
1. ข้าวนาน้ำฝน
1.1 ข้าวนาสวน
- ข้าวนาดำ
- นาหว่านข้าวแห้งหรือนาหยอด
1.2 ข้าวไร่
1.3 ข้าวขึ้นน้ำ

2. ข้าวนาชลประทาน
2.1 นาดำ
2.2 นาหว่านน้ำตม

-------------------------------------------------------------------------------------------------




ข้าวนาน้ำฝน : นาดำ

1.1 นาดำ
1.1.1 ดินร่วนทรายหรือดินทราย
1.1.1.1 การใส่ปุ๋ยแปลงกล้าข้าว ในแปลงกล้าข้าว ควรใช้มูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกในอัตรา 500 กรัม (น้ำหนักแห้ง)
ร่วมกับปุ๋ย 16-16-8 อัตรา 10 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร หว่านรองพื้นก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ 1 วัน หรืออาจแยก
หว่านปุ๋ย 16-16-8 ที่ 10–15 วันหลังหว่านเมล็ดก็ได้ แต่ในช่วง 7 วันก่อนถอนกล้าไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน
1.1.1.2 การใส่ปุ๋ยแปลงปักดำ


ก. การใส่ปุ๋ยเคมี
- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1
: ข้าวไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ในวันปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราด
กลบ (หรือใส่ปุ๋ยหลังจากปักดำไม่เกิน 15 วัน เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว) หากไม่มีปุ๋ย 16-16-8 ให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียม
ฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 แทนได้โดยใส่อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อ
ไร่ ร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 30-35 กิโลกรัมต่อไร่ในวันปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราด
กลบ (หรือใส่ปุ๋ยหลังจากปักดำ 15 วัน เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว) หากไม่มีปุ๋ย 16-16-8 ให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอส
เฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 แทนได้โดยใส่อัตรา 30-35 กิโลกรัมต่อไร่
ร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2
: ข้าวไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา
20 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)
อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ
30 วัน ก่อนข้าวออกดอก

1.2.1.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ควรไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว
ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนักแห้ง
ต่อไร่ หรือใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการไถ
กลบวัสดุอินทรีย์ไปด้วย เกษตรกรควรหว่านเมล็ดพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วพร้า เป็นต้น พร้อมกับหว่านข้าว
ในอัตราประมาณ 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด

1.2.2 ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว
1.2.2.1 การใส่ปุ๋ยเคมี
- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1
: ข้าวไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0
อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ ไร่ ประมาณ 20-30 วันหลังข้าวงอก

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ
18-46-0 อัตรา 30-35 กิโลกรัมต่อไร่ ไร่ ประมาณ 20-30 วันหลังข้าวงอก

- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0)
อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0)
อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

1.2.2.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ควรไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว
ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนัก
แห้งต่อไร่ หรือใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการ
ไถกลบวัสดุอินทรีย์ไปด้วย

เกษตรกรควรหว่านเมล็ดพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วพร้า เป็นต้น พร้อมกับหว่านข้าวในอัตราประมาณ 5-10
กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด





ข้าวนาน้ำฝน : ข้าวไร่
1.3 ข้าวไร่
ในข้าวไร่เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวที่ไวต่อช่วงแสงในดินปนทรายตามที่ราบเชิงเขา ซึ่งควรมีการจัดการปุ๋ยดังนี้
1.3.1 ดินร่วนทรายหรือดินทราย
1.3.1.1 การใส่ปุ๋ยเคมี
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านหลังข้าวงอก 30 วัน หากไม่มีปุ๋ย
16-16-8 ให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 แทนได้
โดยใส่อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) หรือแอมโมเนียมคลอไรด์ (28-0-0) อัตรา 15 กิโลกรัมต่อ
ไร่ หรือปุ๋ยยูเรีย อัตราประมาณ 7 กิโลกรัมต่อไร่ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก
1.3.1.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ควรไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว
ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนักแห้ง
ต่อไร่ หรือใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการไถกลบ
วัสดุอินทรีย์ไปด้วย
1.3.2 ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว
ข้าวไร่ส่วนใหญ่ไม่ปลูกในดินเหนียว จึงไม่มีคำแนะนำการจัดการปุ๋ย



ข้าวนาน้ำฝน : ข้าวขึ้นน้ำ
1.4 ข้าวขึ้นน้ำ
เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวขึ้นน้ำโดยใช้พันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงปลูกในดินเหนียวซึ่งควรมีการจัดการปุ๋ยดังนี้
1.4.1 การใส่ปุ๋ยเคมี
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ใส่หลังจากข้าวงอก 20-30 วัน และดินควรมีความชื้นเพียงพอ ซึ่งส่วนมากเกษตรกรหว่านข้าวประมาณ
ปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยครั้งแรกประมาณปลายเดือนพฤษภาคม โดยใส่ปุ๋ยสูตร 16-20
-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตราประมาณ 30 กิโลกรัมต่อไร่

การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตราประมาณ 7 กิโลกรัมต่อไร่ หรือแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) หรือแอมโมเนียม
คลอไรด์ (28-0-0) อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก ในทางปฏิบัติควรใส่ใกล้
ระยะกำเนิดช่อดอกมากที่สุดก่อนที่น้ำจะท่วมสูงเกิน 80 เซนติเมตร

1.4.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ควรไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว
ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนักแห้ง
ต่อไร่ หรือใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการไถกลบ
วัสดุอินทรีย์ไปด้วย




ข้าวนาชลประทาน : นาดำ
2.1 นาดำ
2.1.1 ดินร่วนทรายหรือดินทราย
2.1.1.1 การใส่ปุ๋ยเคมี
• การใส่ปุ๋ยแปลงกล้าข้าว
ในแปลงกล้าข้าว ควรใช้มูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกในอัตรา 500 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ร่วมกับปุ๋ย 16-16-8 อัตรา 10 กรัม ต่อ
พื้นที่ 1 ตารางเมตร หว่านรองพื้นก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ 1 วัน หรืออาจแยกหว่านปุ๋ย 16-16-8 ที่ 10–15 วันหลังหว่าน
เมล็ดก็ได้ แต่ในช่วง 7 วันก่อนถอนกล้าไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน

• การใส่ปุ๋ยแปลงปักดำ
- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1
: ข้าวไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ในวันปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราดกลบ
(หรือใส่ปุ๋ยหลังจากปักดำไม่เกิน 15 วัน เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว) หากไม่มีปุ๋ย 16-16-8 ให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต
สูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 แทนได้โดยใส่อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับ
ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25-35 กิโลกรัมต่อไร่ในวันปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราดกลบ
(หรือใส่ปุ๋ยหลังจากปักดำ 15 วัน เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว) หากไม่มีปุ๋ย 16-16-8 ให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ
เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 แทนได้โดยใส่อัตรา 30-35 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยโพแทส
เซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2
: ข้าวไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียม ซัลเฟต (21-0-0) อัตรา
20 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าว ออกดอก

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 40
กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก


2.1.1.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ควรไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว
ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนักแห้ง
ต่อไร่ หรือใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการไถกลบ
วัสดุอินทรีย์ไปด้วย


2.1.2 ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว
2.1.2.1 การใส่ปุ๋ยเคมี
- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 อัตรา
25 กิโลกรัมต่อไร่ ในวันปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราดกลบ (หรือใส่ปุ๋ยหลังจากปักดำไม่เกิน 15 วัน เมื่อต้นข้าว
ตั้งตัวได้แล้ว)

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0
อัตรา 30-35 กิโลกรัมต่อไร่ ในวันปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราดกลบ (หรือใส่ปุ๋ยหลังจากปักดำไม่เกิน 15 วัน
เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว)

- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา
20 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา
40 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

2.1.2.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ควรไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว
ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนักแห้ง
ต่อไร่ หรือใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการไถกลบ
วัสดุอินทรีย์ไปด้วย





ข้าวนาชลประทาน : นาหว่านน้ำตม
2.2 นาหว่านน้ำตม
2.2.1 ดินร่วนทรายหรือดินทราย
2.2.1.1 การใส่ปุ๋ยเคมี
- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1
: ข้าวไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ในประมาณ 20-30 วันหลังหว่านข้าว หากไม่มี
ปุ๋ย 16-16-8 ให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 แทนได้
โดยใส่อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ประมาณ 20-30 วันหลังหว่านข้าว หากไม่มี
ปุ๋ย 16-16-8 ให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 แทนได้
โดยใส่อัตรา 30-35 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2
: ข้าวไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0)
อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา
40 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก


ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่

2.2.1.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ควรไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว
ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนัก
แห้งต่อไร่ หรือใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการ
ไถกลบวัสดุอินทรีย์ไปด้วย

2.2.2 ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว
2.2.2.1 การใส่ปุ๋ยเคมี
- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1
: ข้าวไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 อัตรา
20-25 กิโลกรัมต่อไร่ ไร่ ประมาณ 20-30 วันหลังหว่านข้าว

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยแอม
โมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 อัตรา 30-35 กิโลกรัมต่อไร่ ไร่
ประมาณ 20-30 วันหลังหว่านข้าว

- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2
: ข้าวไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา
20 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา
40 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

2.2.2.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ควรไถกลบตอซังข้างภายหลังการเก็บเกี่ยว ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่น มูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น
อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ หรือใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้ง
ต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการไถกลบวัสดุอินทรีย์ไปด้วย



ข้อมูลเพิ่มเติมเชื่อมโยงไป สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว

ที่มา :
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก (http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK3/chapter1/t3-1-l2.htm#sect2)
- สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว (www.ricethailand.go.th/info_riceknowledge.htm)

ที่มา : www.arda.or.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2012 7:35 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/12/2012 6:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

22. พันธุ์ข้าว กข12 (RD12) (หนองคาย 80)


ชื่อพันธุ์
กข12 (หนองคาย 80)

ชนิด
ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์
กข12 (หนองคาย 80) ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าว หางยี 71 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อโรคไหม้ เป็นพันธุ์แม่
กับ กข6 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี แต่ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ เป็นพันธุ์พ่อ เมื่อ พ.ศ. 2535
และปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 ใน พ.ศ. 2536 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร ปลูกคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ถึงชั่วที่ 5 แบบ
รวม (bulk) ที่ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย ระหว่าง พ.ศ. 2537-2540

ปลูกคัดเลือกแบบสืบตระกูล (pedigree) ที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ฤดูนาปรังปี พ.ศ. 2540/2541 ได้สายพันธุ์ UBN
92110-NKI-B-B-B-30-KKN-1 และในฤดูนาปี 2541

ปลูกศึกษาพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2542-2546

ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน และทดสอบคุณภาพ
เมล็ดทางเคมีและทางกายภาพ รวมทั้งทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ ระหว่าง พ.ศ. 2543-2546

ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน พ.ศ. 2543-2545

ปลูกทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ อุดรธานี และสกลนคร พ.ศ. 2546 ประเมินการยอมรับ
ของเกษตรกร


การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข12 (หนองคาย 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกร
ปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550





ลักษณะประจำพันธุ์
กข12 (หนองคาย 80) เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณ 5-25 พฤศจิกายน

- สูงประมาณ 108-138 เซนติเมตร กอตั้ง
- ต้นแข็งไม่ล้มง่าย
- ใบสีเขียวเข้ม รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว ให้จำนวนรวงเฉลี่ย 10 รวงต่อกอ
มีจำนวนเมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 127 เมล็ด
- เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม และข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด น้ำหนัก 23.05 กรัม
- ข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.17 มิลลิเมตร กว้าง 2.16 มิลลิเมตร หนา 1.75 มิลลิเมตร มีระยะพักตัวของเมล็ด 7 สัปดาห์

ผลผลิต
เฉลี่ย 422-522 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
1. กข12 (หนองคาย 80) เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีอายุเบากว่าพันธุ์ กข6 ประมาณ 10 วัน ปลูกในพื้นที่นาค่อนข้างดอน ซึ่ง
ไม่เหมาะสมกับพันธุ์ กข6
2. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ในหลายท้องที่ กข6 UBN92110-NKI-B-B-B-30-KKN-1 หางยี 71
3. มีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร

ข้อควรระวัง
กข12 (หนองคาย 80) อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่ฝนหมดเร็ว หรือนาค่อนข้างดอน และในระบบการปลูกพืชที่มีข้าว
เป็นพืชหลัก



ค่อนข้างต้านทานโรงไหม้ในหลายท้องที่






http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/RD12.html



http://www.dailynews.co.th/politics/227136


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/08/2013 5:34 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3 ... 11, 12, 13  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 13

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©