-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 60, 61, 62 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/06/2012 5:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....



1,635. เพาะเลี้ยงมุกน้ำจืด

1,636. หอยมุกน้ำจืด
1,637. แก้ปัญหาราขึ้นมันสำปะหลังด้วย “นาโนซิงค์ออกไซด์”
1,638. จัดตั้งนิคมข้าวหอมมะลิ ใช้แกนนำหมู่บ้าน ขยาย แนวคิด
1,639. แก้ปัญหายางขึ้นราด้วย “นาโน ซิงค์ ออกไซด์”
1,640. นาโนซิงค์ ออกไซด์

1,641. นาโนผสานเลี้ยงหม่อน "นวัตกรรม" เพิ่มค่าผ้าไหม
1,642. ’ข้าวนาโนฯ’ คว้ารางวัลพระราชทาน
1,643. ห้ามใช้แก๊ส 'เอทธิฟอน' เร่งน้ำยางช่วงเปิดกรีด
1,644. ปลูกข่าอ่อนเดือนละหมื่นบาท
1,645. หมดยุคสร้างบัณฑิตเกษตรทำไร่อย่างเดียว

1,646. ฟิล์มกำจัดก๊าซเอทิลีน ชะลอการสุกและการเสื่อมสภาพของผลิตผลสด
1,647. กรรมวิธีการรักษาคุณภาพมะพร้าวส่งออก
1,648. ระบบผลิตหัวเชื้อ "จุลสาหร่าย" แบบต่อเนื่อง
1,649. พลาสติกคลุมดิน ควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืช
1,650. ชุดตรวจเชื้อแบคทีเรีย ในพืชตระกูลแตง

1,651. ฟิล์มเจาะรู ระดับไมครอน บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตผลสด
1,652. เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ ควบคุมโรคกาบใบแห้งในข้าว
1,653. หมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง
1,654. สังกะสีจำเป็นต่อพืช
1,655. การจัดการเกี่ยวกับธาตุอาหารพืชสำหรับข้าว

1,656. หมู่บ้านผักหวานนาโน พระจอมเกล้าลาดกระบัง
1,657. หมู่บ้านมันสำปะหลัง นาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ
1,658. หมู่บ้านยางพารานาโนเทคโนโลยี พระจอมเกล้าลาดกระบัง
1,659. ข้อมูลจากการสัมมนาส้ม จ.เชียงใหม่ 21-22 ก.พ.55


------------------------------------------------------------------------------------------





1,635. เพาะเลี้ยงมุกน้ำจืด


สวยด้วยไข่มุกน้ำจืดจากแฟ้มงานวิจัยสู่พื้นที่ปฏิบัติจริง

"ไข่มุก" นอกจากจะใช้เป็น เครื่องประดับแล้ว ยังพบว่ามี สรรพคุณทางยา ที่จีนนำมา ใช้รักษาโรค เช่นเดียวกับ สมุนไพรมานานแล้ว โดยประเทศจีน ได้มีการศึกษาและ พบว่าไข่มุกมี amino acids 17 ชนิด และ mineral elements 8 ชนิด ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นที่ยอมรับ ในวงการแพทย์จีนว่า...

"...มีสรรพคุณทำให้ผิวพรรณสวยงาม บำรุงประสาทตา ทำให้หลับสนิทและหายอ่อนเพลีย ผงไข่มุกได้รับการขึ้นทะเบียนยาในหนังสือ Pharmacopoeia of the Peoples Republic of China ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ทางการแพทย์เป็นที่ยอมรับมากที่สุด..." ไข่มุกเกิดจากหอยในธรรมชาติ ที่อยู่ในทะเล แต่เวลานี้มีการนำมาเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรม มีบางชนิดของไข่มุกที่เกิดจากหอยน้ำจืด ซึ่ง ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี อำเภอท่าม่วง ได้มีการศึกษาและวิจัยจนสำเร็จเป็นรูปธรรมแล้ว

อ้อมเดือน มีจุ้ย นักวิชาการประมง 5 ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี อ.ท่าม่วง เล่าว่า หอยน้ำจืดที่ใช้ผลิตมุก เรียกว่าหอยมุกน้ำจืด เป็นหอยสองฝา มีขนาดใหญ่ เปลือกหนา และภายในมีความแวววาวของชั้นมุก ซึ่งนอกจากจะมีบทบาทสำคัญ ในระบบนิเวศน์ทางน้ำแล้ว ยังนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ทำเครื่องประดับ เครื่องใช้ เครื่องเรือน นอกจากนี้ยังนำมา ใช้ในการผลิตไข่มุกน้ำจืดเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอัญมณี ตลอดจนเครื่องสำอางและยา

ด้วยมีการจับขึ้นมาใช้ประโยชน์มากขึ้น จนเกรงว่าจะสูญพันธุ์ ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี อำเภอท่าม่วง จึงได้รวบรวมพันธุ์หอยมุกน้ำจืดที่พบใน จ.กาญจนบุรี มาเพาะขยายพันธุ์ ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ C.hainesiana และ Hyriopsis (Limnoscapha) myersiana ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว นอกจากนี้ ยังได้ทดลองฝังชิ้นเนื้อเยื่อลงในหอยเพื่อผลิตไข่มุกด้วย

โดยการนำหอยมุกหรือ หอยกาบน้ำจืดอายุ 2 ปีขึ้นไป มาผ่าตัดเพื่อสอดใส่นิวเคลียส ที่ทำจากเปลือกหอยหรือ เม็ดพลาสติก เข้าไป ที่นิยมคือการตัดจากขอบMantle (ส่วนบริเวณที่สร้างเปลือก) ออกจาก หอยตัวหนึ่ง ดังนั้น จะต้องมีหอยตัวหนึ่ง เสียสละ ให้หอยอีกตัวหนึ่ง ตัดเป็น ชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ และนำไปฝัง ในแผ่น Mantle ของอีกตัวหนึ่ง โดยอาจฝังได้ถึง 40 จุด/ตัว จากนั้น นำหอยที่ผ่าตัดแล้ว ไปเลี้ยง ในตะกร้าที่ระดับความลึก 2-3 เมตร เป็นเวลา 2 ปี หอยจะค่อยๆหลั่งสารออกมาเคลือบเนื้อเยื่อจนเป็นไข่มุกที่เห็น

การเลี้ยงหอยมุกน้ำจืดเวลานี้ยังไม่แพร่หลาย เพราะอุปสรรคบางประการ โดยเฉพาะเรื่องตลาดเพราะส่วนใหญ่ไข่มุกน้ำจืด จะใช้ประโยชน์หลักไปในการทำยาและ เครื่องสำอาง ซึ่งเรื่องนี้จีนวิจัยไปไกลแล้ว สำหรับประเทศไทยศูนย์ฯกาญจนบุรีร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำลังเร่งวิจัยหาองค์ประกอบทางเคมีและชนิดแร่ธาตุ ในผงไข่มุกเปรียบเทียบกับไข่มุกจากแหล่งอื่นๆ เพื่อรับรองอีกชั้นก่อนที่จะส่งเสริม ให้เกษตรกรเลี้ยงในอนาคต คาดว่าอีกไม่นานเกินรอ...

สนใจการเพาะเลี้ยงมุกน้ำจืด หาความรู้กันได้ที่ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี จะเดินทางไปเองก็สะดวกหรือไปพร้อมกับคณะ Mobile Agro Incentive (MAI) ในวันที่ 19-20 มี.ค. 47 ก็ยินดี ติดต่อได้ที่โทร. 0-2570-6052, 0-6582-5174, 0-6306-7646 ไม่เว้นวันหยุดราชการ.


"ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล


http://www.thaibizcenter.com/hotnewsdetail.asp?newsid=280


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/06/2012 6:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/06/2012 5:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,636. หอยมุกน้ำจืด



การศึกษาเกี่ยวกับหอยมุกน้ำจืดและการผลิตไข่มุกน้ำจืดในประเทศไทย
หอยมุกน้ำจืด จัดเป็นหอยประเภทสองฝา มีขนาดใหญ่ เปลือกหนา และภายในมีความแวววาวของชั้นมุก (nacreous layer) ซึ่ง นอกจากจะมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศน์ทางน้ำแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์อีกหลายด้าน เช่น การนำเนื้อมาใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์ การนำเปลือกมาทำเป็นเครื่องประดับ เครื่องใช้ เครื่องเรือนประดับมุก นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในการผลิตไข่มุกน้ำจืด เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอัญมณี เครื่องสำอาง และยา (Binhe, 1984)
ในประเทศไทยได้มีการนำเปลือกหอยมุกน้ำจืดมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานและยังมีรายงานว่าได้มีการรวบรวมเปลือกหอยมุกน้ำจืด ชนิด Chamberlainia hainesiana จาก ประเทศไทย ส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อนำไปใช้ทำเป็นแกน (nucleus) สำหรับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงไข่มุกเป็นจำนวนมากจนเกรงว่าจะสูญพันธุ์ (Brandt,1974)


ในปี 2528 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี ีได้เริ่มรวบรวมหอยมุกน้ำจืดที่พบในจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ชนิด C. hainesiana และ Hyriopsis (Limnoscapha) myersiana มาทำการศึกษาเพื่อเพาะขยายพันธุ์เพื่อทดแทนทรัพยากรที่ถูกนำขึ้นมาใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็วในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การเพาะพันธุ์หอยมุกน้ำจืดประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2535 โดยสามารถเพาะพันธุ์หอยชนิด C. hainesiana ได้ (อรภา และคณะ, 2537) ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี สามารถเพาะพันธุ์หอยมุกน้ำจืด H. (L.) myersiana ได้ อีกชนิดหนึ่งซึ่งหอยทั้งสองชนิดสามารถเจริญเติบโตจนได้ขนาดที่นำมาเลี้ยงและ ผลิตไข่มุกน้ำจืดได้แล้ว ส่วนหนึ่งของหอยที่เพาะพันธุ์ได้มีการปล่อยกลับคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อคงความสมดุลให้ระบบนิเวศน์ต่อไป อย่างไรก็ตามยังคงต้องการข้อมูลจากการวิจัยเพิ่มเติมอีกมากในการปรับปรุงขึ้นตอน ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านการเพาะพันธุ์หอยมุกและการผลิตไข่มุกจากหอย มุกน้ำจืด


สภาพแวดล้อมบริเวณแหล่งอาศัย
จากรายงาน พบว่าหอยมุกน้ำจืด ทั้ง 2 ชนิด พบในแม่น้ำเท่านั้นไม่พบในแหล่งน้ำนิ่ง โดยสภาพเนื้อดินที่พื้นห้องน้ำบริเวณแหล่งอาศัยของหอยมุก ส่วนใหญ่เป็นแบบดินร่วนปนทราย



ชีววิทยาการสืบพันธุ์และการเพาะพันธุ์ของหอยมุกน้ำจืด
1. วงจรชีวิต
หอย มุกน้ำจืดมีชีววิทยาการสืบพันธุ์และวงจรชีวิตเช่นเดียวกับหอยสองฝาน้ำจืด ทั่วไปกล่าวคือ มีการสืบพันธุ์แบบแยกเพศ ในฤดูผสมพันธุ์หอยเพศเมียจะได้รับเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ที่เข้ามาทางท่อน้ำ เข้า (inhalent siphon) ไข่จะได้รับการปฏิสนธิและถูกเก็บรักษาไว้ในเหงือกซึ่งพองออกเป็นที่เก็บไข่ ซึ่งเรียกว่า brood chambers หรือ marsupia ไข่หอยที่ได้รับการปฏิสนธิและเก็บรักษาไว้ใน marsupia นี้จะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนกลายเป็นตัวอ่อนระยะ glochidia มีลักษณะเป็นฝา 2 ฝา ขยับฝาปิดเปิดได้ และมีเส้นใยยาวสำหรับยึดเกาะปลาซึ่งจะทำหน้าที่เป็น host ให้ตัวอ่อนระยะ glochidia เกาะอาศัย โดยการสร้าง cyst ล้อมรอบ จากนั้น encysted glochidia จะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปร่างต่อไปกลายเป็นตัวอ่อนระยะ juvenile จึงจะหลุดจาก host ลงมาอาศัยในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยดำรงชีวิตหากินแบบอิสระ (free living form) และเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต่อไป

2. ขนาดเจริญพันธุ์
หอยมุกน้ำจืดชนิด H. (L.) myersiana ขนาดที่เล็กที่สุดที่พบ marsupia ในแม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี มีความเปลือก 7.92 เซนติเมตร น้ำหนัก 26 กรัม ส่วนหอยมุกน้ำจืดชนิด C. hainesiana ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ที่ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรีนั้น มีการตรวจพบ marsupia เมื่ออายุ 2 ปี มีขนาดความยาวเปลือก 15.12 เซนติเมตร น้ำหนัก 390 กรัม
การเกิด marsupia ของหอยทั้งสองชนิดดังกล่าว สามารถตรวจพบได้เฉพาะเหงือกชั้นนอกของทั้งสองข้าง (outer demibranches) แต่หอยมุกน้ำจืดชนิด Hyriopsis (L.) desowitzi ทั้งเหงือกชั้นในและนอกสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็น marsupia เพื่อเก็บรักษาไข่ที่จะได้รับปฏิสนธิแล้วได้

3. ฤดูสืบพันธุ์
ฤดูสืบพันธุ์ของหอยมุกน้ำจืดในประเทศไทยทั้งชนิด C. hainesiana และ H. (L.) myersiana จากรายงานหลายฉบับมีช่วงใกล้เคียง คือ ระหว่าง กันยายน – มีนาคม และพบว่าไข่หอย C. hainesiana และ H. (L.) myersiana มีระยะฟักไข่อยู่ระหว่าง 6-10 วัน และ 5-9 วัน ตามลำดับ โดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ นอกจากนี้ยังพบว่า การสร้าง marsupia ของหอยตัวเดียวกันไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวใน 1 ฤดูกาลสืบพันธุ์ โดยพบว่าใน 1 ปี หอย C. hainesiana สามารถสร้าง marsupia ได้เฉลี่ย 10.50 ครั้ง ในขณะที่ H. (L.) myersiana สามารถสร้าง marsupia ได้เฉลี่ย 18.92 ครั้ง

4. ชนิดของปลาที่เป็น host
การเพาะพันธุ์หอยมุกน้ำจืดโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี ตั้งแต่ปี 2535 ได้เลือกใช้ปลานิล เป็น host แก่หอยมุกน้ำจืดทั้ง 2 ชนิด คือ C. hainesiana และ H. (L.) myersiana เนื่องจากมีความทนทานและเป็นชนิดปลาที่หาได้ง่ายจากโรงเพาะฟัก อย่างไรก็ตามพบว่าปลานิลที่เคยนำมาใช้ในการให้ตัวอ่อนระยะ glochidia เข้าเกาะอาศัยครั้งหนึ่งแล้ว ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้งในระยะเวลาห่างกัน 2 เดือน เนื่องจากปริมาณกลูโคสที่น้อยลงใน serum ปลาเป็นเหตุให้ลูกหอยระยะ glochidia ที่เข้าเกาะอาศัยปลานิลตัวเดียวกันเป็นครั้งที่ 2 ไม่สามารถพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะ juvenile ได้ (ดารุณี, 2538)


การเพาะเลี้ยงไข่มุกน้ำจืดในประเทศไทย
ไข่มุกเป็นอัญมณีจากสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยผลึกของสารประกอบ CaCO3 ที่เรียกว่า aragonite 82-86 % อินทรียสารจำพวกโปรตีนที่เรียกว่า conchiolin 10-14 % และน้ำ 2-4 % ไข่มุกมีความแข็ง (hardness) 3.5-4.5 และมีความถ่วงจำเพาะ (specific gravity) 2.7 (Ram,1997)


ประเภทไข่มุก
1. ไข่มุกธรรมชาติ (natural pearl)
เป็นไข่มุกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากการที่มีวัสดุแปลกปลอมพลัดเข้าไปอยู่ระหว่างชั้น mantle กับชั้น nacreous ของเปลือก หรืออยู่ในระหว่างเยื่อบุผิวของชั้น mantle ด้วยกันทำให้เกิดการระคายเคืองและหอยจะขับสารมุกออกมาคลุมวัสดุนั้นจนเกิดเป็นไข่มุกขึ้นเองตามธรรมชาติ

2. ไข่มุกเลี้ยง (culture pearl)
จาก ความรู้ทางทฤษฎีในการเกิดไข่มุกได้นำมาสู่ขบวนการเพาะเลี้ยงไข่มุกโดย วิธีการนำวัสดุแปลกปลอมใส่เข้าไปในตัวหอยแล้วจึงนำหอยไปเลี้ยงต่อจนกว่าสาร มุกที่ขับออกมาจะมีความหนาจนได้ไข่มุกที่มีขนาดและความแวววาวสวยงามเป็นที่ ต้องการของตลาด ไข่มุกเลี้ยงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

2.1 ไข่มุกซีกและไข่มุกครึ่งวงกลม (hemispherical pearl หรือ half pearl)
ไข่มุกประเภทนี้ มีลักษณะเป็นครึ่งทรงกลมและมีด้านหนึ่งแบน เกิดจากการนำแกนกลาง (nucleus) ซึ่ง สามารถทำขึ้นได้จากวัสดุหลายชนิด เช่น เม็ดพลาสติก เม็ดแก้ว หรือ เปลือกหอยที่มีความหนา นำมากลึงให้เป็นรูปครึ่งทรงกลม แล้วนำด้านแบนของแกนกลางนี้ไปติดไว้กับเปลือกหอยด้านใน ดังนั้นแกนกลางที่ใส่เข้าไปก็จะอยู่ตรงกลางระหว่างแผ่น mantle กันชั้น nacreous ของ เปลือกหอย ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นขับสารมุกมาเคลือบแกน ในที่สุดก็จะได้ไข่มุกซีกมีลักษณะเป็นครึ่งทรงกลมตามรูปร่างของแกนกลาง

2.2 ไข่มุกเดี่ยว (spherical pearl)
ไข่มุกเดี่ยวมีลักษณะที่แตกต่างไปจากไข่มุกซีก คือ จะไม่มีส่วนใดติดกับเปลือกหอย แบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภท คือ
- ไข่มุกแบบไม่มีแกน (non-nucleated pearl)
เป็นไข่มุกที่ได้จากผ่าตัดฝังชิ้นเนื้อ mantle ของหอยให้เนื้อเยื่อ (donor หรือ cell mussel) ลงไปในระหว่างชั้น inner กับ outer epidermis ของแผ่น mantle ของหอยรับเนื้อเยื่อ (recipient หรือ operation mussel) ชิ้น mantle จะขยายเซลล์เพิ่มขึ้นและกลายเป็นถุงไข่มุก (pearl sac) สารมุกจะถูกขับมาสะสมกันอยู่ภายในถุงไข่มุกจนกลายเป็นไข่มุกซึ่งจะมีรูปร่างหลายแบบ (irregular shape) วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการผ่าตัดเนื้อเยื่อเพื่อผลิตไข่มุกน้ำจืด
- ไข่มุกแบบมีแกน (nucleated pearl)

วิธีการผลิตไข่มุกประเภทนี้ มีการเพิ่มแกนกลาง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะกลมขนาดต่างๆ กัน ลงไปพร้อมกันชิ้น mantle ขณะ ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ สารมุกที่ถูกขับออกมาจะเคลือบแกนกลางที่อยู่ภายในถุงไข่มุก เกิดเป็นไข่มุกรูปร่างกลมสวยงามซึ่งจะได้ราคาแพง แต่วิธีในการผ่าตัดมีความยุ่งยากซับซ้อนกว่า จึงต้องอาศัยความชำนาญและความละเอียดอ่อนในการผ่าตัดมาก การเพาะเลี้ยงไข่มุกน้ำจืดในประเทศไทย จนถึงปัจจุบันมีรายงานในหอยมุกน้ำจืดเพียง 3 ชนิด ได้แก่ C. hainesiana, H. (L.) myersiana และ ชนิด H. (L.) desowitzi ไข่มุก น้ำจืดที่ได้จากการเพาะเลี้ยงที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กาญจนบุรี เป็นไข่มุกแบบไม่มีแกน สีของไข่มุกที่ได้จะแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของหอย และพบว่าชิ้น mantle ของ หอยให้เนื้อเยื่อที่นำมาตัดและฝังลงในหอยรับเนื้อเยื่อมีส่วนในการกำหนด สีของไข่มุกที่เกิดขึ้นสำหรับขนาดของหอยให้เนื้อเยื่อมีส่วนในการกำหนดสีของ ไข่มุกที่เกิดขึ้น สำหรับขนาดของหอยให้เนื้อเยื่อที่นำมาใช้นั้นจากการศึกษาในหอยมุกชนิด C. hainesiana พบว่าหอยที่มีความยาวเปลือก 13-14 เซนติเมตร มีความเหมาะสมกว่าขนาดยาว 18-19 เซนติเมตร (อรภา และสุวีณา, 2535) การผ่าตัดเพื่อฝังชิ้น mantle จาก หอยให้เนื้อเยื่อลงในหอยรับเนื้อเยื่อซึ่งจะนำไปเลี้ยงต่อจนกว่าจะได้ ไข่มุกที่มีขนาดตามความต้องการ โดยทั่วไปจะเป็นหอยชนิดเดียวกัน


ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงไข่มุกน้ำจืดยังไม่แพร่หลายไปสู่ภาคเอกชน ปัญหาและอุปสรรคที่มี ได้แก่
1. ตลาด
ส่วน ใหญ่ไข่มุกน้ำจืดจะใช้ประโยชน์หลักในการทำยาและเครื่องสำอาง มีบางส่วนที่ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ โดยราคาขึ้นกับคุณภาพและความสวยงามของไข่มุก ในปัจจุบันได้มีบริษัทนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทผงไข่มุกและไข่มุกน้ำ เข้ามาในประเทศไทยด้วย ถึงแม้ว่าตลาดของผู้บริโภคยังอยู่ในวงแคบเนื่องจากมีราคาแพงและยังไม่เป็น ที่ยอมรับทั่วไป แต่ในประเทศจีนได้มีการศึกษาว่าไข่มุกมี amino acids 17 ชนิด และ mineral elements 8 ชนิด ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์จีน ว่ามีสรรพคุณในการทำให้ผิวพรรณสวยงาม บำรุงประสาทตา ช่วยให้หลับสนิท และหายอ่อนเพลีย ผงไข่มุกได้รับการขึ้นทะเบียนยาในหนังสือ “Pharmacopoeia of the Peoples Republic of China” ฉบับปี 1995 ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ทางการแพทย์เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการมากที่สุดในจีน (Oriental Jewelry CO Ltd.,1995) ดังนั้นน่าจะได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อเป็นการรับรองความปลอดภัยของผู้บริโภค และเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับไข่มุกน้ำจืดที่ผลิตได้ในประเทศไทย นอกเหนือจากการขายเป็นเครื่องประดับแต่เพียงอย่างเดียวซึ่งจะเป็นรองรับผล ผลิต และการขยายตลาด หากมีผู้สนใจประกอบการเพาะเลี้ยงไข่มุกน้ำจืดในอนาคต

2. พันธุ์หอยมุก
ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี เป็นหน่วยงานเดียวที่มีการเพาะพันธุ์และเลี้ยงหอยมุกน้ำจืดให้มีขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี จึงจะนำมาผ่าตัดฝังเนื้อเยื่อได้งานวิจัยเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตและอัตรา รอดตายของลูกหอยระยะ juvenile เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อไป เนื่องจากมีอัตราการตายสูงในช่วง 2-3 สัปดาห์ หลังหลุดจากปลาที่เป็น host นอก จากนี้ควรจะได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ ในการผลิตไข่มุกน้ำจืดจากหอยกาบน้ำจืดชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะชนิดที่อาศัยในแหล่งน้ำนิ่งและสามารถเลี้ยงในบ่อดินได้และเพื่อลด ข้อจำกัดของสถานที่ที่ใช้ในการเลี้ยงหอยรับเนื้อเยื่อ เนื่องจากหอยมุกทั้ง 3 ชนิดที่ใช้ผลิตมุกอยู่ในขณะนี้อาศัยและเจริญเติบโตได้ดีเฉพาะในแหล่งน้ำไหล นอกจากนี้ควรมีการศึกษาสภาพแหล่งน้ำที่มีความเหมาะสมกับการเลี้ยงหอยมุกแต่ ละชนิดเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรแหล่งน้ำที่มีอยู่มากในประเทศให้เต็มศักยภาพ รวมทั้งการเพาะพันธุ์หอยมุกที่มีคุณภาพดีเนื่องจากจะมีผลต่อคุณภาพของไข่มุก ที่เกิดขึ้น

3. เทคนิคการผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ
คุณภาพ ของไข่มุกขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของหอยมุกที่นำมาใช้เทคนิคการผ่าตัดสภาพแหล่งเลี้ยงและ การจัดการ แต่ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ (Guang, 1993) ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคความชำนาญและความอดทนในการฝึกฝน ซึ่งปัจจุบันแทบไม่มีบุคลากรดังกล่าวอยู่เลย



http://www.fisheries.go.th/if-kanchanaburi/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=20&Itemid=38
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/06/2012 12:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,637. แก้ปัญหาราขึ้นมันสำปะหลังด้วย “นาโนซิงค์ออกไซด์”



เด็กกำแพงเพชรหลายคน ตื่นขึ้นมาก็พบว่ารอบตัวเต็มไปด้วยไร่มันสำปะหลัง บางคนเป็นลูกหลานชาวไร่ก็เข้าใจดีถึงปัญหาการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ ทุกครั้งที่เอาต้นพันธุ์ลงดินต้องลุ้นตัวโก่งว่าราจะไม่กัดกินต้นพันธุ์จน เสียหาย กระทั่งพวกเขาได้รู้จัก “นาโนซิงค์ออกไซด์” ผงขาวที่อาจจะแก้ปัญหาหนักอกของเกษตรกรนี้ได้


น.ส.อังคณา ตาพรม เด็กกำแพงเพชรที่เห็นปัญหาการปูกมันสำปะหลังมาตั้งแต่เล็ก
น.ส.อังคณา ตาพรม นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม จ.กำแพงเพชร บอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ถึงปัญหาในการปลูกมันสำปะหลังว่าเชื้อรามักทำลายต้น มันจนเสียหาย ซึ่งเธอพบปัญหาดังกล่าวอยู่เป็นประจำ เนื่องจากปู่เธอมีอาชีพปลูกมันสำปะหลังและเธอเองยังมีประสบการณ์ในการปลูก มันสำปะหลังด้วย และในกำแพงเพชรเองก็ปลูกมันสำปะหลังกันมาก คาดว่าน่าจะถึง 70%

เมื่อนำท่อนมันสำปะหลังขนาดประมาณ 30 เซนติเมตรลงดิน เกษตรกรต้องลุ้นว่าจะเกิดรากัดกินที่โค่นท่อนพันธุ์หรือไม่ ซึ่งเมื่อถูกเชื้อราที่มักรุมเร้าในช่วงฤดูฝนจะทำให้มันทยอยตาย บางครั้งรุนแรงถึงขั้นต้องไถ่กลบต้นพันธุ์ แม้จะมีน้ำยาเคมีกำจัดเชื้อรา แต่ก็มีราคาแพงมากและยังอาจไม่ได้ผล นอกจากนี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะแช่เพียงน้ำยาเร่งรากและไม่ได้กำจัดเชื้อรา

กระทั่งอาจารย์ที่ปรึกษาคือ นายกฤษณะ สาลีเจริญ ได้เข้าอบรมเรื่องประโยชน์ของนาโนซิงค์ออกไซด์ (ZnO) จากวิทยาลัยนาโนเทคดนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งจัดการอบรมในพื้นที่ให้แก่ครูในจังหวัดกำแพงเพชร และได้นำความรู้ไปถ่ายทอดแก่นักเรียนว่านาโนซิงค์ออกไซด์นั้นมีคุณสมบัติ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ ทำให้ น.ส.อังคณาและเพื่อนๆ เกิดแนวคิดในการนำสารดังกล่าวที่มีลักษณะเป็นผงสีขาวมาใช้แก้ปัญหาการปลูก มันสำปะหลัง

วิธีแก้ปัญหาคือนำท่อนพันธุ์แช่ในสารละลายนาโนซิงค์ออกไซด์เป็นเวลา 12 ชั่วโมงก่อนนำไปปลูก ซึ่งผลจากการทดลองปลูกมันสำปะหลัง 100 ต้น พบว่ามีท่อนพันธุ์ตายเพียง 2 ต้น และไม่พบการตายเพิ่ม ขณะที่การปลูกตามขั้นตอนปกติโดยไม่แช่สารละลายดังกล่าวพบว่าต้นพันธุ์ทยอย ตายเรื่อยๆ และยังพบอีกว่าต้นที่แช่สารละลายมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า อย่างไรก็ดีการทดลองเพิ่งผ่านไปได้ 2 เดือน ยังไม่อาจวัดผลได้ว่าผลผลิตที่ตามมาจะดีหรือไม่ เพราะต้องใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1-2 ปี แต่เมื่อวัดผลเฉพาะการป้องกันเชื้อราแล้ว น.ส.อังคณา ระบุว่าประสบความสำเร็จ


น.ส.ภูสุฎา เพ็ชรแบน นายพชร ลำเจียก และ น.ส.ชนาภา แพงทอง (ซ้ายไปขวา) กับท่อนมันสำปะหลังที่แช่สารละลายนาโนซิงค์ออกไซด์
เช่นเดียวกับ น.ส.ภูสุฎา เพ็ชรแบน นายพชร ลำเจียก และ น.ส.ชนาภา แพงทอง นักเรียนโรงเรียนปางศิลาทองศึกษา จ.กำแพงเพชร ที่เผชิญกับกลิ่นเหม็นของสารเคมีซึ่งใช้กำจัดเชื้อราในไร่มันสำปะหลังรอบ โรงเรียน จึงทดลองใช้นาโนซิงค์ออกไซด์เพื่อแก้ปัญหาเชื้อราในต้นมันสำปะหลัง โดยมีการทดลองที่แตกต่างกันนั่นคือ แช่ท่อนพันธุ์ในสารละลายนาโนซิงค์ออกไซด์เป้นเวลา 5 นาทีก่อนลงปลูก และฉีดพ่นสารละลายเมื่อปลูกได้ 10 สัปดาห์

พบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้สารละลายนาโนซิงค์ออกไซด์เลย หรือเพียงชุบสารละลาย หรือพ่นสารละลาย พบว่าการแช่สารละลาย 5 นาทีก่อนปลูกแล้วฉีดสารละลายเมื่อปลูกมันสำปะหลังได้ 10 สัปดาห์นั้น ให้ผลในการยับยั้งเชื้อราดีที่สุด โดยใช้ผงนาโนซิงค์ออกไซด์เพียง 0.4 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ก็เพียงพอต่อการยับยั้งเชื้อรา

ทั้งนี้ การทดลองของนักเรียนจากกำแพงเพชรทั้ง 2 โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการประกวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีมัธยมศึกษา ระดับประเทศ ครั้งที่ 2 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดขึ้นโดยวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ระหว่างวันที่ 23-24 ส.ค.53 ภายใต้เงื่อนไขต้องใช้นาโนซิงค์ออกไชด์เป็นวัตถุดิบในการโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่น.

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ หน้าข่าววิทยาศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี วันที่ 1 พ.ย.53




http://www.aepd.doae.go.th/?p=1493
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/06/2012 12:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,638. จัดตั้งนิคมข้าวหอมมะลิ ใช้แกนนำหมู่บ้าน ขยาย แนวคิด



พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่จะใช้ “สารเคมี”……เพื่อ ให้ผลผลิตได้ปริมาณ ได้ประโยชน์เพียงคาบเวลาหนึ่ง ปัจจุบันหลายแห่งเริ่มประสบปัญหาสภาพดินเสื่อม ท้ายสุดส่งให้ผลิตผลลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ฉะนี้…เกษตรกรจึงหาทางออกด้วย “เกษตรอินทรีย์” สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รณรงค์ส่งเสริมขึ้นในหลายพื้นที่….ล่าสุดจัดทำ “โครงการจัดตั้งนิคมข้าวหอมมะลิ”

…นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการ สปก. เผยว่า……หลักใหญ่ของการจัดตั้งนิคมคือ ดูความพร้อมของชุมชน ชาวบ้าน และ ความต้องการของคนส่วนใหญ่ โดยวางพื้นที่เป้าหมายไว้ 200,000 ไร่ ใน 5 จังหวัดได้แก่ ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ เนื่องจากมีชื่อเสียงและความรู้ในการทำนาเกษตรอินทรีย์



ส่วน…สปก. เข้าไปสนับสนุนเรื่องของการ พัฒนาแหล่งน้ำ ส่งเสริมให้ จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโค ที่มีเป้าหมายหลักคือต้องการ ทำธนาคารปุ๋ยเคลื่อนที่ เพื่อเอาปุ๋ยกลับไปสู่แปลงนา เป้าหมายรอง คือ เลี้ยงเพื่อเอาเนื้อขาย

ทั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่มีการรวมตัวเป็น “ชมรมเกษตรอินทรีย์ ชมรมรักษ์ธรรมชาติ” อยู่แล้ว จึงเป็นจุดดีที่มีองค์ความรู้อยู่ในพื้นที่ เพราะ แกนนำเหล่านี้จะไปขยายแนวคิดสู่ชุมชน

อย่างเช่น…พ่อใหญ่ ถาวร พิลาน้อย ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเพาะพันธุ์ข้าว แห่งหมู่บ้านโนนยาง ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร กูรูในเรื่องของ การคัดเมล็ดพันธุ์ ผสมพันธุ์ใหม่ๆ อนุรักษ์ พันธุ์เดิม บอกว่า

….จากปัจจัยหลายอย่างทั้งภัยแล้ง สังคม ธุรกิจ เกษตรอุตสาหกรรมข้ามชาติ มีผลทำให้พันธุ์ข้าวเราจะสูญหาย จึงได้ปรึกษาให้ช่วยกันอนุรักษ์สายพันธุ์ดั้งเดิม พร้อมๆกับคัดปรับปรุงหาพันธุ์ที่ดี

วิธีการต้องใช้ความพิถีพิถันในการแกะเมล็ดข้าวออกดูและแกะทุกรวง วัดความสั้นความยาว ความหนาของเมล็ด ซึ่ง กว่าจะได้ข้าวลอย (ข้าวขึ้นน้ำ) นั้นแสนยาก

…ซึ่งบางครั้งข้าว 4,000-5,000 เมล็ด…จะใช้ทำพันธุ์ได้เพียงเมล็ดเดียว

เมื่อสมใจแล้ว….จึงค่อยนำมาเพาะใส่ในแกลบดำ จะลงดินเลยไม่ได้เพราะว่าเมล็ดข้าวสารไม่มีเกราะป้องกัน มด เชื้อราจะเข้าทำลายได้ง่าย…

….หลังจากนั้นราวๆ 12 วันค่อยนำมาปักดำในแปลงที่จัดสรรเป็นที่เฉพาะ ติดป้ายขึ้นทะเบียนใส่รหัส (คิดเองตั้งเอง) แล้วคอยสังเกตดูพร้อมจดบันทึก เก็บข้อมูลกระทั่งได้เมล็ดข้าว สายพันธุ์คัด…และต้องทำแบบนี้อย่างน้อยไม่ ต่ำกว่า 3 ชั่ว (อายุของฤดูปลูก) จนแน่ใจว่าสายพันธุ์ข้าวนิ่ง

ด้วยความเพียรในการหวงแหนมรดกของบรรพบุรุษ ส่งผลให้ทุกวันนี้มีพันธุ์ข้าวที่อนุรักษ์ ไว้ถึง 140-150 สายพันธุ์

ซึ่ง….พ่อใหญ่ถาวร ได้บอกส่งท้ายว่า… ที่ทำไปก็เพราะหวังไว้ว่า แม้ในอนาคตพื้นที่จะเหลือน้อย หากว่าเรามีเมล็ดพันธุ์ดีลูกหลานก็ยังคงมีข้าวเก็บไว้กินพอเพียงอย่างแน่นอน.



http://www.aepd.doae.go.th/?p=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/06/2012 12:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,639. แก้ปัญหายางขึ้นราด้วย “นาโน ซิงค์ ออกไซด์”


นักเรียนสุราษฎร์หยิบปัญหาใกล้ตัวตั้งโจทย์สร้างนวัตกรรมจากอนุภาค "นาโนซิงค์ออกไซด์" แก้ไขปัญหายางพาราขึ้นราที่ทำแผ่นยางดิบราคาตก ได้แผ่นยาง ขาวใส ไร้เชื้อรา คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์จากวิทยาลัยนาโน ลาดกระบัง

น.ส.อรอนงค์ แซ่ฮั่น นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่าทางบ้านมีอาชีพกรีดยางและได้เห็นปัญหาแผ่นยางดิบที่ได้จากการตากน้ำยาง นั้นขึ้นรา ซึ่งทำให้ยางแผ่นราคาตก และชาวสวนยางจะแก้ปัญหาโดยกรีดแผ่นยางส่วนที่ขึ้นราทิ้ง หากแผ่นยางขึ้นราเกินครึ่งแผ่นก็จะขายไม่ได้

จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นโจทย์ให้เธอและเพื่อนๆ ร่วมห้องอีก 3 คน ในการประดิษฐ์นวัตกรรมจากอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ ที่จัดขึ้นโดยวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ทั้งนี้คณะกรรมการกำหนดให้ผู้เข้าประกวดประดิษฐ์นวัตกรรมใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ ที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อรา ทนความร้อนและป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตหรือยูวี

นักเรียนทั้ง 4 คนได้ร่วมกันผลิตน้ำยางที่ผสมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ หลังจากได้รับการถ่ายถอดความรู้จากวิทยาลัยนาโนเกี่ยวกับคุณสมบัติของอนุภาคดังกล่าว และเลือกคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อรามาใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาแผ่นยางดิบขึ้นรา

วิธีการคือผสมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ลงในน้ำยางและใช้เครื่องจักรคนให้เข้า กัน และทดลองในสัดส่วน 2 กรัม 3 กรัม และ 4 กรัม ผสมเข้ากับน้ำยาง 150 มิลลิลิตร และน้ำกลั่น 100 มิลลิลิตร ซึ่งได้แผ่นยางตัวอย่างขนาด 20x20 เซนติเมตร ผลจากการผสมนาโนซิงค์ออกไซด์ลงในน้ำยาง ทำให้ได้น้ำยางสีขาว ใสแบบที่ชาวสวนยางเรียกว่า "เป็นแก้ว" และที่สำคัญไม่มีเชื้อรา

นอกจากผสมผงซิงค์ออกไซด์ในน้ำยางแล้วนักเรียนสุราษฎร์ทั้งสี่คนยังทดลองผสมน้ำผักบุ้งลงน้ำยาง ซึ่งตามภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นน้ำผักบุ้งมีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อราในแผ่นยางได้ อย่างไรก็ดี น.ส.กนกพร เพิ่มทรัพย์สิน อาจารย์ที่ปรึกษาของนักเรียนกลุ่มนี้บอกถึงปัญหาในการถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนว่า ชาวสวนยังไม่กล้าทดลองใช้นาโนซิงค์ออกไซด์เทาไหร่นัก เนื่องจากกลัวการใช้สารเคมี

ผลการตัดสินรางวัลรอบชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 4 ก.ย.52 ที่ผ่านมา แผ่นยางที่ผสมนาโนซิงค์ออกไซด์ของทีมนักเรียนโรงเรียนกาญจนดิษฐ์นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทนวัตกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ ซึ่งนอกจากผลงานนี้แล้วยังมีนวัตกรรมอื่นๆ ที่ประยุกต์ใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ตามข้อกำหนดของกรรมการ

อาทิ หน้ากากอนามัยเคลือบอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศนวัตกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์และรองชนะเลิศ นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ น้ำยาเช็ดกระจกจากน้ำยาปรับผ้านุ่มผสมนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ได้รับรางวัลรอง ชนะเลิศนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และอิฐผสมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศนวัตกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ และรางวัลความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

นายอรรถวุฒิ บริบูรณ์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนศรีรัตนวิทยา จ.ศรีสะเกษ ผู้ประดิษฐ์นวัตกรรมหน้ากากอนามัยเคลือบอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ กล่าวกับทีมข่าว ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า แม้หน้ากากอนามัยแบบผ้าที่ทำขึ้นมานั้นจะไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้ แต่การเคลือบสารนาโนซิงค์ออกไซด์ ช่วยป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียได้ที่หมักหมมจากความชื้นและสารคัดหลั่งของ ผู้ใช้ได้

ด้าน นางเสวย ศรีตะเขต อาจารย์โรงเรียนเกษมสีมาวิทยาคาร จ.อุบลราชธานี ผู้ผลิตน้ำยาเช็ดกระจกจากน้ำยาปรับผ้านุ่มผสมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ กล่าวว่าเคยอ่านหนังสือพบว่าเราใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มทำความสะอาดกระจกได้ จึงคิดประยุกต์ผสมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ลงไป ซึ่งได้น้ำยาทำความสะอาดกระจกที่ช่วยกำจัดคราบได้นาน 1 สัปดาห์และมีฝุ่นเกาะน้อย

ส่วนอิฐผสมนาโนซิงค์ออกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เข้าร่วมประกวดและได้ รับรางวัลในเวทีนี้ด้วยนั้น นายศุภชาติ ศรีตะเขต อาจารย์โรงเรียนสะพือวิทยาคาร จ.อุบลราชธานี กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า ได้เลือกคุณสมบัติทนความร้อนของซิงค์ออกไซด์มาใช้ปรับปรุงคุณสมบัติของอิฐ ซึ่งในท้องถิ่นมีโรงงานผลิตอิฐตามภูมิปัญญาดั้งเดิมอยู่ โดยเขาได้ผสมอนุภาคซิงค์ออกไซด์กับดินหมักที่ใช้ผลิตอิฐก่อนขึ้นรูปแล้วนำไป เผา พบว่าจากปกติที่ใช้เผาอิฐนาน 7 วัน ลดลงเหลือ 2 วัน ช่วยให้ประหยัดแกลบสำหรับเผาอิฐและลดต้นทุนการผลิตได้

สำหรับการประกวดนวัตกรรมจากอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์นี้ รศ.ดร.จิติ หนูแก้ว คณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กล่าวว่าเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีลงสู่ชุมชนผ่าน ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎ 4 แห่ง ใน จ.นครสวรรค์ จ.อุบลราชธานี จ.กาญจนบุรี และ จ.สุราษฎร์ธานี โดยนักวิจัยจากวิทยาลัยออกไปถ่ายทอดความรู้ให้กับคณะครูผ่านความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎ แล้วจัดให้มีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นผลงานของครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

ทั้งนี้เหตุผลที่กำหนดให้ผู้เข้าประกวดสร้างนวัตกรรมจากนาโนซิงค์ออกไซด์ นั้น รศ.ดร.จิติกล่าวว่า เนื่องจากมีบริษัทเอกชนในไทยที่สามารถผลิตซิงค์ออกไซด์ได้ปริมาณมากในรูปผลิตภัณฑ์พลอยได้จากอุตสาหกรรมหลักที่ทำอยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นการพัฒนานาโนเทคโนโลยีโดยใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศ อีกทั้งยังมีต้นทุนถูก และซิงค์ออกไซด์ยังไม่เป็นอันตรายต่อคน โดยซิงค์ออกไซด์ในรูปที่คนทั่วไปรู้จักคือ "คาลามายด์"




http://siweb.dss.go.th/news/show_abstract.asp?article_ID=2409
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/06/2012 1:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,640. นาโนซิงค์ ออกไซด์


ผู้เขียน : ดร. สุพิณ แสงสุข
หน่วยงาน : สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ : 13 พ.ย. 2551


ซิงค์ออกไซด์เป็นวัสดุในกลุ่มโลหะออกไซด์ที่มีการนำมาใช้งานในรูปแบบของวัสดุนาโน ตัวอย่างการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ ได้แก่ การใช้งานในกลุ่มของอิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ตรวจจับก๊าซ ใช้สำหรับการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางทันตกรรม ใช้ในการบำบัดสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมีสมบัติที่ดีในด้านการดูดซับแสง และสมบัติด้านการเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง นอกจากนี้ยังใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับคนโดยตรง คือ เครื่องสำอางโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลชั่นกันแดดที่เริ่มนิยมนำซิงค์ออกไซด์ขนาดนาโนมาใช้เป็นองค์ประกอบ เนื่องจากมีระดับความสามารถในการป้องกันรังสียูวีได้ในระดับเดียวกับอนุภาคซิงค์ออกไซด์ขนาดใหญ่กว่านาโน แต่ข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดของโลชั่นกันแดดที่มีอนุภาคนาโนเป็นองค์ประกอบคือการส่งผ่านแสงได้ดีกว่า ทำให้ไม่ทิ้งร่องรอยให้เห็นเป็นสีขาวอย่างชัดเจนบนผิวเมื่อเทียบกับโลชั่นกันแดดที่ใช้อนุภาคขนาดใหญ่ จากเหตุที่ซิงค์ออกไซด์ได้รับความสนใจในการใช้ประโยชน์มากขึ้น ทำให้เกิดการผลิตในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผลที่ตามมาคือการศึกษาด้านความเป็นพิษของนาโนซิงค์ออกไซด์ ในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านความเป็นพิษต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต


ตัวอย่างการศึกษาด้านความเป็นพิษของนาโนซิงค์ออกไซด์ต่อแบคทีเรียแกรมลบโดยใช้ E.coli เป็นตัวแทน ต่อแบคทีเรียแกรมบวกโดยใช้ S.aureus เป็นตัวแทน และต่อเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันของมนุษย์ในระดับเบื้องต้น (T cell) ผลการศึกษาโดยใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ขนาดประมาณ 13 นาโนเมตร แสดงให้เห็นว่า นาโนซิงค์ออกไซด์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ E.coli ได้ที่ระดับความเข้มข้น ≥ 3.4 มิลลิโมล ในขณะที่การเจริญเติบโตของ S.aureus ถูกยับยั้งได้อย่างสมบูรณ์ที่ระดับความเข้มข้น ≥ 1 มิลลิโมล และโดยการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์แบบเดียวกัน พบว่านาโนซิงค์ออกไซด์มีผลต่อ T cell ของมนุษย์เพียงเล็กน้อยที่ระดับความเข้มข้นเดียวกับที่เป็นพิษต่อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ โดยรวมแล้วผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงความเป็นพิษที่แตกต่างกันระหว่างระบบของแบคทีเรียและ T cell ของมนุษย์ (1)


ส่วนการศึกษาถึงระดับความเป็นพิษที่แตกต่างกันระหว่าง ZnO, CuO และ TiO2 ต่อแบคทีเรียและสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เช่น กุ้ง หรือปู เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิด อยู่ในห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศน์จึงใช้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นตัวแทนสำหรับการศึกษา ซึ่งผลจากการศึกษา พบว่าความเป็นพิษของโลหะออกไซด์ (ทั้งในระดับนาโนและขนาดใหญ่) ต่อแบคทีเรีย V.fisheri และต่อกุ้งจัดลำดับได้ดังต่อไปนี้ TiO2 < CuO < ZnO นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นอีกว่า อนุภาคโลหะออกไซด์ไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเซลล์จึงจะเป็นสาเหตุของความเป็นพิษ แต่การสัมผัสกันระหว่างเซลล์กับอนุภาคนาโนก็ทำให้เกิดความเสียหายต่อเยื่อหุ้มเซลล์ได้ (2)


สำหรับการศึกษาถึงผลของอนุภาคนาโนต่อเซลล์ผิวหนังของคน (human skin fibroblast) พบว่า เซลล์ผิวหนังของคนมีความว่องไวต่อทั้งอนุภาคนาโนของไทเทเนียมไดออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ โดยนาโนซิงค์ออกไซด์มีความเป็นพิษสูงกว่านาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ (3)


จากข้อมูลแสดงในข้างต้นจะเห็นได้ว่าอนุภาคนาโนมีผลต่อเซลของสิ่งมีชีวิตทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ดังนั้นในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นาโนจึงควรพิจารณาถึงผลกระทบระยะยาวต่อสิ่งต่างๆทั้งที่ตัวผู้ใช้เองและสิ่งแวดล้อม



เอกสารอ้างอิง
Wang, B., Feng, W., Wang, M., Wang, T., Gu, Y., Zhu, M., Ouyang, H., Shi, J.,Zhang, F., Zhao, Y., Chai, Z, Wang, H. & Wang, J.; Acute toxicological impact of nano- and submicro-scaled zinc oxide powder on healthy adult mice. J. Nano. Res. 10, [2], 263-276 (2008).
Heinlaan, M., Ivask, A., Blinova, I., Dubourguier, H-Ch., & Kahru, A.; Toxicity of nanosized and bulk ZnO, CuO and TiO2 to bacteria Vibrio fischeri and crustaceans Daphnia and Thamnocephalus platyurus. Chemosphere 71, 1308-1316(2008).
Dechsakulthorn, F., Hayes, A., Bakand, L. J. & Winder Ch.; In vitro cytotoxicity assessment of selected nanoparticles using human skin fibroblasts. AATEX 14, 397-400 (2007).



http://www.chemtrack.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/06/2012 1:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,641. นาโนผสานเลี้ยงหม่อน "นวัตกรรม" เพิ่มค่าผ้าไหม





ผลพวงจากความสำเร็จของโรงเรียนอนุบาลพุทธเมตตา แห่ง อ.เขมราฐ จ.อุบลฯ โดยการนำของ คำภา บุญยืน ผอ.โรงเรียน ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ "นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์" ในประเภทการเลี้ยงหม่อนด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ เพื่อการผลิตผ้าไหมที่มีคุณภาพ ได้ถูกนำมาต่อยอดในการสร้างอาชีพให้ชุมชน ล่าสุด ได้เปิดเป็น หมู่บ้านผ้าไหมไทยนาโน ที่รวมกลุ่มแม่บ้านผลิตผลงาน อีกทั้งเปิดให้ผู้สนใจเข้าเรียนรู้ เพื่อนำไปประกอบอาชีพ

นางคำภา บุญยืน ผอ.โรงเรียนอนุบาลพุทธเมตตา ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า จากที่โรงเรียนได้เข้าประกวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีมัธยมศึกษา ระดับประเทศครั้งที่ 1 หัวข้อ “นวัตกรรมจากอานุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์” เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2552 ณ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กทม. จนได้รับรางวัลชนะเลิศประเภท "นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์" ซึ่งเป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบเมื่อตัวหนอนไหมกินนาโนซิงค์ออกไซด์ มาแล้วนั้น

ทว่า โรงเรียนไม่ได้หยุดนิ่ง ได้มีการสานต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหนอนไหมเมื่อกินนาโนซิงค์ออกไซด์ และไม่กินนาโนฯ โดยศึกษาเปรียบเทียบอัตราการตายก่อนเข้าฝัก ตลอดทั้งความเหนียวของเส้นไหม ปรากฏว่าผลที่ได้รับออกมาเป็นเชิงบวก คือ หนอนที่กินนาโนออกไซด์ จะมีอัตราการตายน้อยกว่า และความเหนียวของเส้นไหมก็จะมากกว่า ขณะที่สีก็จะสดกว่า ด้วยเหตุนี้ ทางโรงเรียนจึงได้มีโครงการที่จะศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นผ้าไหมนาโน ที่มีนาโนซิงค์ออกไซด์ เป็นองค์ประกอบในเส้นใยไหม

พร้อมกันนี้ ผอ.โรงเรียน ได้อธิบายถึงวิธีเลี้ยงหม่อนไหมว่า จะต้องเตรียมกระด้งแล้วนำหนอนไหมที่ฝักออกจากไข่มาใส่ไว้ในกระด้ง กระด้งละประมาณ 300 ตัว การให้อาหารหนอนไหมก็จะต้องเริ่มให้กินผงนาโนซิงค์ออกไซด์ได้ในสัปดาห์ที่ 4 หลังจากที่ให้อาหารหนอนไหมเสร็จแล้ว ให้นำผ้ามาปิดกระด้ง แล้วเก็บขึ้นชั้นวาง ซึ่งมีการให้อาหารหนอนไหมทันที เมื่อใบหม่อนหมดจะให้อาหารหนอนไหมจนกระทั่งหนอนไหมสุก (ตัวหนอนไหมจะเป็นสีเหลืองทั้งตัว) และเก็บมูลหนอนไหมทุกๆ วัน เมื่อหนอนไหมเข้าฝัก เก็บฝักไหมไปสาวเส้นไหม ที่ได้จากการสาวเรียกว่า ไหมดิบ จากนั้นก็นำไหมมาตากแดดให้แห้ง แล้วเก็บไว้เพื่อนำไปย้อมสีและนำไปทอเป็นผืนผ้าต่อไป

"ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่ทอมาจากการเลี้ยงไหมด้วยนาโนฯ จะมีเนื้อผ้าที่สวยงามกว่าการเลี้ยงไหมธรรมดามาก โดยเฉพาะหากเมื่อทอเป็นผ้าไหมเสร็จแล้ว ราคาจะสูงไปด้วย ตกอยู่ประมาณเมตรละ 1.5 พันบาท ซึ่งจะแพงกว่าผ้าไหมธรรมดาถึงเท่าตัว" ผอ.คำภา การันตีถึงรายได้หากทำเป็นอาชีพ

พร้อมระบุว่า ที่ผ่านมาโรงเรียนฯได้เปิดเป็น หมู่บ้านผ้าไหมไทยนาโน ให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้วิธีการเลี้ยงหม่อนเพื่อผลิตผ้าไหมนาโนฯ ซึ่งผู้ที่มาร่วมงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแม่บ้านบ้านเจียดร่วม 20 คน ที่ได้เข้ามาเรียนรู้ในการผลิตทุกขั้นตอนและได้มีการผลิตผ้าไหมนาโนฯ ออกทดลองวางจำหน่ายที่โรงเรียน ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี และถึงขณะนี้กลุ่มได้ทำการเปิดสอนอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ผอ.คำภา ยืนยันนั่นหมายถึงก้าวต่อไปของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมนาโนฯ ฝีมือกลุ่มแม่บบ้านบ้านเจียด ก็จะถูกนำออกมาวางจำหน่ายให้แก่ลูกค้าทั่วไป โดยเป้าหมายด้านการตลาดหลักคือ หน่วยงานข้าราชการทั่วประเทศ หากสนใจที่จะเรียนรู้หรือสนใจในผลิตภัณฑ์ ติดต่อได้ที่ คำภา บุญยืน ผอ.โรงเรียนพุทธเมตตา ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี โทร.08-5766-8966

"กฤษณะ วิลามาศ"



http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/06/2012 1:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,642. ’ข้าวนาโนฯ’ คว้ารางวัลพระราชทาน



'รร.นาบ่อคำวิทยาคม'..ปลื้มผลงานนักเรียน สุดเจ๋ง 'ข้าวนาโนฯ' คว้ารางวัลพระราชทาน

“ข้าว” เป็นคำที่มีความหมายที่สุดสำหรับคนไทยและสังคม เพราะข้าวถือเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีพ เป็นอาหาร เป็นสินค้า เป็นจุดกำเนิดของหลาย ๆ สิ่งในประเทศไทย โดยเฉพาะสำหรับชาวนาแล้ว ข้าวเปรียบเสมือนชีวิต เนื่องจากข้าวทำให้เกิดอาชีพ เป็นแหล่งรายได้ จึงถือเป็นผลผลิตที่บันดาลทุกอย่างให้แก่ชาวนา แต่ทว่าการที่กว่าจะมีข้าว ชาวนาต้องพบเจอกับอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องฝนฟ้าไม่เป็นใจ แมลงศัตรูพืชรบกวน หรือผลผลิตต่อไร่น้อย จนกระทั่งขาดทุน นอกจากนี้ ยังเจอปัญหาราคาต้นทุนการผลิตสูง ทั้ง ปุ๋ยเคมี และยาบำรุงขยับราคาขึ้น ชาวนาไทยลำบาก ต้องทนกับภาวะได้ไม่คุ้มเสีย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้นักเรียน กลุ่มหนึ่งของโรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ภายใต้การดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 (กำแพงเพชร-พิจิตร) ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนชนบทลูกหลานชาวนา ที่คลุกคลีกับปัญหาและความทุกข์ของครอบครัว อาทิ นายอนุชา เนียมสีใส นายวรรลภ สายแดง นายฤทธิชัย ทิตะพัน นางสาวอังขณา ตาพรม นางสาวอัจฉราพร เมทา นายเฉลิมพันธุ์ เสชัง นางสาวรุ่งรัตน์ ธิงาเครือ นางสาวรุ่งนภา เต็มดวง ได้หอบหิ้วเอาปัญหาไปปรึกษา อาจารย์อรวรรณ บุญรอด อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม

ด้าน อาจารย์อรวรรณ เปิดเผยว่า หลังนักเรียนได้เข้ามาปรึกษา ตนจึงนำเรื่องไปหารือกับ อาจารย์กฤษณะ สาลีเจริญ ที่มีความคุ้นเคยกับชุมชนและมีความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยี และได้นำนักเรียนมาลงสำรวจพื้นที่แปลงนา เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์วางแผนการดำเนินงานปลูกข้าวบนพื้นที่จริง ทั้งนี้ อาจารย์กฤษณะ สาลีเจริญ ได้เสนอแนวคิดว่าน่าจะทดลองใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ในการปลูกข้าว เนื่องจากมีคุณสมบัติความเป็นปุ๋ย และเป็นตัวเร่งในปฏิกิริยาต่าง ๆ ของพืช โดยซิงค์หรือสังกะสีนี้เป็นธาตุที่มีความจำเป็นกับพืชและขาดไม่ได้ จึงน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวและลดต้นทุนการผลิตลงได้

ขณะที่ นายอนุชา แกนนำกลุ่มนักเรียน กล่าวว่า การทดลองครั้งนี้เป็นขั้นตอนแรก ในการหาอัตราที่เหมาะสมของนาโนซิงค์ออกไซด์ ที่มีต่อการงอกของเมล็ดข้าว โดยพบว่าการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ 15 กรัม ผสมกับน้ำ10 ลิตร สามารถทำให้ข้าวเปลือกงอกได้เร็วและเป็นวิธีที่ดี ทำให้รากมีความยาว และหน่อของต้นข้าวยาวกว่าการแช่ด้วยน้ำเปล่าตามวิธีของชาวบ้าน ซึ่งเป็นความสำเร็จขั้นหนึ่งของงานนี้ ต่อจากนั้นขั้นตอนที่สอง ทุกคนจะช่วยกันปลูกข้าวในแปลงนาจริง เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของต้นข้าว

สำหรับ นายฤทธิชัย ผู้คุ้นเคยกับการทำนามาตั้งแต่เด็กนำทีมและน้องอีก 6คน คือ นายวรรลภ น.ส.อังขณา น.ส.อัจฉราพร นายเฉลิมพันธุ์ น.ส.รุ่งรัตน์ น.ส.รุ่งนภา ช่วยกันลงมือปลูกข้าว โดยนายฤทธิชัย กล่าวว่า ตามแผนงานที่วางไว้ คือ เราจะใช้วิธีการปลูกแบบหว่านตมและจะต้องตรวจแปลงนาทุก 7 วัน โดยมีการแบ่งหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันในกลุ่ม ตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว เพื่อดูการเจริญเติบโตและผลผลิตที่ได้

โดยการทดลองครั้งนี้ เริ่มจากการใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ (ZnO) 15 กรัม ละลายในน้ำ 10 ลิตร แช่ข้าวเปลือกพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำขึ้นจากน้ำใส่ในกระสอบป่านเก็บไว้ 3 วัน ระหว่างนี้รดน้ำทุกวันให้ชุ่มวันละ 1 ครั้ง แล้วจึงนำไปหว่านลงในแปลงนาทดลอง รอต้นกล้าขึ้น จึงเปิดน้ำเข้านา หลังจากนั้นทำการฉีดพ่นสารละลาย นาโนซิงค์ออกไซด์ ทุก ๆ 15 วัน

ส่วนแปลงควบคุมใช้วิธีการปลูกแบบปกติแบบชาวนา คือ แช่เมล็ดข้าวด้วยน้ำเปล่าไม่ผสมนาโนซิงค์ออกไซด์และไม่มีการฉีดพ่นนาโนซิงค์ออกไซด์ จากนั้นรอกำหนดเวลาจนครบวันเก็บเกี่ยว 122 วันแล้ว นำผลผลิตที่ได้ของทั้ง 2 แปลงมาเปรียบเทียบกัน ปรากฏว่านาข้าวในแปลงทดลองมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีกว่านาข้าวที่ปลูกแบบปกติ และผลผลิตต่อไร่ที่ได้ยังได้มากกว่าการปลูกแบบปกติ โดยแปลงทดลองได้ผลผลิต 660 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนแปลงควบคุมที่ปลูกแบบชาวนาปกติ ได้เพียง 548 กิโลกรัม มีส่วนต่างถึง 112 กิโลกรัม ทั้งนี้ การปลูกข้าวแบบใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์มีต้นทุนการดูแลเพียงไร่ละ 100 บาท ส่วนการปลูกแบบทั่วไปมีต้นทุนการดูแลไร่ละประมาณ 800–1,000 บาท เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าผลที่ได้รับ

นายพิทยา คงศัตรา ผอ.รร.นาบ่อคำวิทยาคม กล่าวว่า ทางโรงเรียนส่งเสริมการทำทดลองพร้อมให้การสนับสนุนเพื่อให้นักเรียนคิดเป็นทำเป็น เพิ่มศักยภาพ กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาพิเศษและติดตามการดำเนินงานมาโดยตลอด ซึ่งจากผลการดำเนินงานดังกล่าว ทางโรงเรียนได้เข้าร่วมประกวดนวัตกรรมจากอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์และไททาเนียมไดออกไซด์ ที่วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในหัวข้อนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

นับเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่มีผลงานการทดลองที่เชิดหน้าชูตาและสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัด โดยจะเห็นว่าจากจุดเล็ก ๆ ของเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่เป็นลูกหลานชาวนา แต่มีจิตสำนึกที่ดีอยากจะช่วยครอบครัวและชุมชนประสบอยู่กับปัญหาที่เกี่ยวกับการทำนาแล้วไม่ได้ผลเท่าที่ควร ซึ่งการทดลองนี้ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด และช่วยสร้างผลผลิตเป็นกอบเป็นกำให้แก่ชาวนา เพื่อมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีต่อไปในอนาคต.

เสกสรรค์ ปฐมพรทวีวัฒน์

แหล่งที่มา : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=420&contentID=166538




http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=25182&Key=news11
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/06/2012 1:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,643. ห้ามใช้แก๊ส 'เอทธิฟอน' เร่งน้ำยางช่วงเปิดกรีด





สำหรับข่าวสารการเกษตรในวันนี้นะครับ เป็นข้อมูลสำหรับเกตรกรที่ปลูกยางพารา และผู้ที่สนใจข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวกับยางพารา ผมได้นำข้อมูลดีๆมาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ในคอลัมน์ดินดีสมเป็นนาสวนหวังว่าคงเป็นประโยชน์กับเกษตรกรที่สนใจนะครับ

ห้ามใช้แก๊ส 'เอทธิฟอน' เร่งน้ำยางช่วงเปิดกรีด

เป็นที่เข้าใจในหมู่ชาวสวนยางในอดีตว่า หากจะใช้สารเคมีเร่งน้ำยางจะต้องใช้กับต้นยางพาราที่จะโค่นภายใน 1-2 ปี แต่ปัจจุบันกลับตรงกันข้าม เมื่อสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรมีผลงานวิจัยที่ยืนยันออกมาแล้วว่า เกษตรกรชาวสวนยางสามารถใช้สารเคมีเร่งน้ำยางได้ในทุกช่วงของการให้ผลผลิต ตั้งแต่เริ่มเปิดกรีดจนกระทั่งใกล้จะโค่นทิ้ง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความเหมาะสมและพันธุ์ยางด้วย

นางพิศมัย จันทุมา นักวิชาการเกษตร ระดับชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เผยว่า ปัจจุบันสารเคมีเร่งน้ำยางที่เกษตรกรชาวสวนยางนิยมใช้ มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด เช่น อีเทรล, อีเท็กซ์, ซีฟ่า, โปรเทล เป็นต้น ซึ่งจะให้สารออกฤทธิ์ที่ชื่อว่า “เอทธิฟอน” โดยใช้ในอัตราความเข้มข้น 2.5% ด้วยการผสมน้ำ แล้วใช้ทาหรือหยดลงบนรอยกรีดทุก ๆ สองเดือน สามารถทำให้ได้รับผลผลิตเพิ่มมากขึ้นมากกว่าเดิม 30% ซึ่งวิธีการนี้สามารถใช้ได้กับต้นยางพาราที่อายุยังน้อย ตั้งแต่เริ่มเปิดกรีดไปจนกว่าจะโค่นทิ้ง

“ข้อดีของการใช้สารเร่งน้ำยางจะช่วยย่นระยะเวลาการกรีดลง ปกติจะกรีดทุกวัน ก็จะเปลี่ยนมาเป็นวันเว้นวันหรือกรีดวันเว้นสองวัน แต่ได้ปริมาณน้ำยางเท่าเดิม เจ้าของสวนจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นได้ แล้วก็ไม่มีผลกระทบต่อต้นยางพารา หากทำตามขั้นตอนอย่างถูกวิธี ซึ่งขณะนี้วิธีดังกล่าวก็มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย”

สำหรับอีกรูปแบบ เป็นการใช้ แก๊สเอทธิลีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชที่อยู่ในรูปของแก๊ส ซึ่งเหมาะกับต้นยางพาราอายุมากหรือใกล้จะโค่นทิ้ง เป็นการเพิ่ม “ฮอร์โมนหรือแก๊สเอทธิลีน” ความเข้มข้น 68-99% เข้าสู่เปลือกยางและท่อน้ำยาง โดยจะใช้ร่วมกับอุปกรณ์ให้ฮอร์โมนหรือแก๊ส ในปัจจุบันอุปกรณ์การให้ฮอร์โมน มีอยู่หลายแบบ เช่น RRIMFLOW (ริมโฟลว์) AGROBASE (อโกรเบส) และ LET I (เลท ไอ) เป็นต้น แต่โดยหลักการแล้วจะเหมือนกันคือ จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ให้ฮอร์โมนหรือแก๊สไว้ใกล้ ๆ รอยกรีด และมีการอัดฮอร์โมนเข้าสู่อุปกรณ์นี้ 6-15 วันต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์ที่ติดตั้งดังกล่าวด้วย

ส่วนการกรีดนั้นจะใช้รอยกรีดสั้น มีความยาว 1/8 ของลำต้นหรือประมาณ 4 นิ้ว โดยกรีดวันเว้นสองวันหรือเว้น 48-72 ชั่วโมง เพื่อให้ต้นยางสามารถสร้างน้ำยางมาทดแทนได้ทัน โดยวิธีการใช้แก๊สนั้นจะทำให้น้ำยางไหลนานประมาณ 13-15 ชั่วโมง ทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้น แต่หากใช้ไม่ถูกวิธีนอกจากจะทำให้ผลผลิตลดลงแล้วยังเป็นอันตรายกับต้นยางได้ และยังมีผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำยาง ได้แก่ ปริมาณเนื้อยางแห้งลดลง เป็นต้น

สำหรับรูปแบบการเร่งน้ำยางด้วยวิธีการใช้แก๊สนั้น จะไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้ โดยเฉพาะต้นยางพาราที่อายุยังน้อย หรือเริ่มเปิดกรีด เพราะจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากรูปแบบดังกล่าวนี้จะเป็นการดึงน้ำจากส่วนต่าง ๆ ของลำต้นมาใช้มากเกินไป จะทำให้เปลือกแตกและแห้ง ไม่สามารถทำการกรีดต่อไปได้ บางครั้งอาจถึงขั้นต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งถาวรในที่สุดทำให้สูญเสียโอกาสที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง เพราะวิธีการนี้จะเหมาะสำหรับต้นยางพาราที่มีอายุมากหรือใกล้จะโค่นทิ้งเท่านั้น

....รายละเอียดอื่น ๆ ยังมีอีก หากเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา โทร. 0-3813-6225-6.

ที่มา:ข้อมูล:ภาพ: เดลินิวส์/วันพุธ ที่ 27 กรกฎาคม 2554



http://www.plainafarm.com/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=44&Itemid=63&limitstart=4
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/06/2012 1:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,644. ปลูกข่าอ่อนเดือนละหมื่นบาท



ชาวบ้านห้วยขะยูง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี กว่า 100 หลังคาเรือน แห่ปลูกข่าเป็นอาชีพเสริมควบคู่กับการทำนา ระบุเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน เน้นเก็บข่าอ่อนป้อนตลาดที่สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรเลี้ยงครอบครัวตลอดทั้งปี โดยไม่จำเป็นต้องไปขายแรงต่างถิ่น

เรื่องราวของเกษตรกรที่บ้านห้วยขะยูง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี หันมาปลูกข่า เน้นเก็บเกี่ยวข่าอ่อนเพื่อส่งตลาดนับร้อยๆ ครอบครัวที่ว่านี้ ผู้สื่อข่าว "คม ชัด ลึก" ประจำ จ.อุบลราชธานี ได้ไปดูกิจการของชาวบ้านที่ร่ำลือว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างที่ไม่มีการอพยพแรงงานไปต่างถิ่น และหมู่บ้านที่ชาวบ้านไม่เป็นหนี้สินอีกด้วย เพราะแต่ละครอบครัวจะมีรายได้จากการขายข่าอ่อนเดือนละเป็นหลักหมื่นบาท ทุกวันนี้บ้านห้วยขะยูง เป็นแหล่งใหญ่ที่สุดที่มีการปลูกข่าอ่อนส่งขายภาคอีสาน โดยมีตลาดหลักที่รับซื้อคือที่สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ แม้ในพื้นที่จังหวัดอื่นอย่างที่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ แต่ปลูกน้อยกว่า

นางเทียน มังคะรินทร์ เกษตรกรวัย 65 ปี ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ปลูกข่าอ่อนเป็นอาชีพเสริมที่บ้านห้วยขะยูง โดยนางเทียน บอกว่า ยึดอาชีพปลูกข่าพันธุ์พื้นเมืองขายสืบทอดมาจากรุ่นพ่อแม่ โดยแต่ละครอบครัวจะปลูกข่าไม่น้อยกว่าครอบครัวละ 1 ไร่ สามารถเก็บผลผลิตออกขายสร้างรายได้เสริมให้ครอบครัวไม่ต่ำกว่ารายละ 1 หมื่นบาทต่อเดือน หรือเฉลี่ยต่อวันอย่างต่ำครอบครัวละ 200-500 บาท ทำให้ชาวบ้านห้วยขะยูงไม่เดือดร้อนและไม่มีหนี้สินเหมือนกับที่อื่น

ที่สำคัญนางเทียนบอกว่า อาชีพการปลูกข่าอ่อนขาย เป็นอาชีพที่ดีเพราะการปลูกข่าไม่ต้องดูแลมาก ไม่มีโรครบกวนเหมือนพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยด้วย รดน้ำเพียงเดือนละ 2 ครั้ง และใส่ปุ๋ยธรรมชาติมูลสัตว์ เจริญเติบโตได้ดี หลังจากปลูกลงดินประมาณ 6 เดือนสามารถเก็บผลผลิตขายได้ โดยขุดข่าอ่อนนำมาลอกเอาลำต้นที่แก่ออกจะเหลือลำต้นข่าข้างใน ซึ่งลำอ่อนหัวข่าอ่อนนำมามัด ขายส่งมัดละ 6 บาท โดยจะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงบ้าน ส่วนข่าอ่อนคนอีสานนิยมรับประทานนำไปต้มจิ้มน้ำพริก แกงข่าอ่อน ถือเป็นพืชสมุนไพรปลอดสารพิษรับประทานแล้วมีผลดีต่อร่างกายอีกด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก / วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2554



http://www.plainafarm.com/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=44&Itemid=63&limitstart=4
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/06/2012 2:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,645. หมดยุคสร้างบัณฑิตเกษตรทำไร่อย่างเดียว


คมชัดลึก : เผยหมดยุคมหาวิทยาลัยสร้างบัณฑิตเกษตร ทำไร่ ทำนา เพียงอย่างเดียว นักวิชาการด้านเกษตร แนะมหาวิทยาลัยต้องปรับวิธีการสอนตามลักษณะความพร้อมของสถาบันและนักศึกษา แจงควรแบ่งกลุ่มชัดเจนจะผลิตบัณฑิตเกษตรนักวิชาการ หรือนักปฎิบัติ หวังแก้ปัญหาเด็กเกษตรไม่สู้งาน


ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายประสานงานโครงการพิเศษ และอาจารย์ประจำคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และหลายๆ สิ่งในปัจจุบัน ทำให้เด็กที่มาเรียนคณะเกษตรนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก เด็กเกษตรในอดีตมีความอดทนอดกลั้น ทนแดดทนฝน ทำงานหนักได้สบาย แต่ปัจจุบันยอมรับว่าเด็กเกษตรไม่สู้งาน มีความอดทนอดกลั้นต่ำ ตากแดดตากฝนไม่ได้ อยากอยู่แต่ในห้องแอร์ จนทำให้งานด้านวิชาการด้อยลงตามไปด้วย

ทางคณะเกษตร มก. รู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มีการปรับวิธีการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตเกษตรที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการมากขึ้น โดยเน้นการเรียนการสอน องค์ความรู้ทางวิชาการเชิงลึกมากขึ้น รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของสภาพสังคมโลกอย่างรวดเร็ว เพื่อปรับปรุงและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ทางการเกษตร เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เด็กเกษตรรุ่นใหม่ต้องรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แก้ไขปัญหาอย่าง และนำความรู้ไปเผยแพร่ให้แก่ชาวเกษตรกรได้

ดร.ณรงค์ชัย กล่าวต่อว่า ตอนนี้หมดยุคที่จะผลิตบัณฑิตเกษตรจบออกไปแล้วทำไร่ทำนาเพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะโลกเปลี่ยนแปลงการเกษตรของไทยในอนาคตต้องพึ่งพานักเกษตร มีความรู้ทางด้านวิชาการ และลงพื้นที่ทำงานจริงๆ ได้ แต่ด้วยสภาพสังคม พื้นฐานของเด็กแต่ละคนต่างกัน บางคนอาจมีความรู้ด้านวิชาการเชิงลึก เก่งทฤษฎี แต่ปฎิบัติไม่คล่อง

ขณะเดียวกันบางคนวิชาการไม่แน่นมาก แต่มีความชำนาญในทางปฎิบัติสูง ดังนั้น มหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนคณะเกษตร ควรมีการแบ่งหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตให้เหมาะสมกับลักษณะความพร้อมของมหาวิทยาลัย และนักศึกษาที่เข้าเรียน เช่น มก. สร้างบัณฑิตเกษตร มีความรู้วิชาการเชิงลึก ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้ดี แต่อาจไม่ทนแดดทนฝน ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่มีความชำนาญในการผลิตบัณฑิตนักปฎิบัติ อาจจะผลิตบัณฑิตปฎิบัติเก่ง มีความรู้ความชำนาญ ช่วยเสริมเพื่อพัฒนาการเกษตรของไทย

“การผลิตบัณฑิตเกษตรในอนาคตไม่ใช่เพียงมีความรู้ และเป็นนักปฎิบัติที่ดีเท่านั้น แต่เด็กเกษตรต้องรอบรู้ในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เพราะพืชพันธุ์ต่างๆ จะออกดอกผลิผล ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ทั้งสภาพภูมิอากาศ การดูแล รวมไปถึงทางด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษาวิจัยต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องชัดเจนในการผลิตบัณฑิตเกษตรออกสู่ภาคเกษตรกรในอนาคต และต้องรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอีก 3 ปีข้างหน้าด้วย เพราะตอนนี้หลายๆ ประเทศได้เตรียมพร้อมในการส่งสินค้าเกษตรเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งหากประเทศไทยไม่เตรียมการณ์รับมือ อนาคตการเกษตรของไทยอาจถูกกลืนไปเป็นเกษตรของประเทศอื่น” ดร.ณรงค์ชัยกล่าว


ที่มา : คมชัดลึก


http://www.plainafarm.com/index.php?option=com_content&view=article&id=66:2011-04-20-13-38-17&catid=44:2011-04-09-00-18-27&Itemid=63


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/06/2012 5:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/06/2012 5:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,646. ฟิล์มกำจัดก๊าซเอทิลีน ชะลอการสุกและการเสื่อมสภาพของผลิตผลสด





ทีมวิจัย
ดร.อศิรา เฟื่องฟูชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร.ดวงพร ศิริกิตติกุล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
นางสาวพัชรีญา รักษา ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ผศ.ดร.ชลลดา ฤตวิรุฬห์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รศ.ดร.ตะวัน สุขน้อย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สถานะงานวิจัย
คำขอรับสิทธิบัตรเรื่อง “ฟิล์มพลาสติกที่มีค่าการซึมผ่านก๊าซเอทิลีนสูงเพื่อชะลอการสุกและการเสื่อม สภาพของผลิตผลสด” เลขที่คำขอ 0801001835


ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การเก็บรักษาผักและผลไม้ให้คงความสดไว้ได้นาน ต้องอาศัยการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม การกำจัดก๊าซเอทิลีนในบรรยากาศเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยชะลอการสุกและการเน่าเสียก่อนเวลา เนื่องจากก๊าซดังกล่าวเป็นฮอร์โมนเร่งการเติบโตของพืช ที่ส่งผลให้ผลิตผลสดเสื่อมสภาพอย่างต่อเนื่องและรุนแรง ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ที่มีความสามารถในการกำจัดก๊าซเอทิลีนจะช่วยยืดอายุผลิตผลสดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตผลที่ไวต่อก๊าซเอทิลีน โครงการนี้จึงได้พัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกำจัดก๊าซ เอทิลีน โดยอาศัยการเพิ่มประสิทธิภาพการเลือกซึมผ่าน (selective permeation) ของก๊าซเอทิลีน ด้วยการผสมสารดูดซับที่มีโครงสร้างจำเพาะลงในฟิล์มพลาสติกที่มีโครงสร้างที่เสริมประสิทธิภาพให้สารดูดซับ


การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี
ฟิล์มกำจัดก๊าซเอทิลีนต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนั้นมีค่าอัตราการผ่านของก๊าซเอทิลีนสูง ถึง 63,000-74,000 cm3/m2.day.atm ซึ่งสูงกว่าฟิล์มประเภทเดียวกันที่มีจำหน่ายในต่างประเทศถึง2-10 เท่า และพบว่าสามารถลดการสะสมของก๊าซเอทิลีนในบรรจุภัณฑ์ได้มากกว่า 2 เท่า ส่งผลให้สามารถชะลอการสุกและยืดอายุการเก็บรักษาได้ 2-3 เท่า ฟิล์มดังกล่าวจะช่วยลดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลสด ได้แก่ พืชสมุนไพร ผัก และผลไม้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


กลุ่มลูกค้า ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
ผู้ประกอบการที่ใช้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ในการเก็บรักษาผลิตผลการเกษตร
ผู้ผลิตฟิล์มบรรจุภัณฑ์


สรุปเทคโนโลยี
ฟิล์มกำจัดก๊าซเอทิลีน เพื่อชะลอการสุกและการเสื่อมสภาพของผลิตผลสด สำหรับผลิตผลที่ไวต่อก๊าซเอทิลีน สามารถยืดอายุได้ 2-3 เท่า


จุดเด่นของเทคโนโลยี
ลดการสะสมของก๊าซเอทิลีนในบรรจุภัณฑ์ได้มากกว่า 2 เท่า
ชะลอการสุกและยืดอายุการเก็บรักษาได้ 2-3 เท่า
สามารถใช้งานกับผลิตผลสดได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตผลที่ไวต่อก๊าซเอทิลีน เช่น กล้วย มะม่วง และพืช


สนใจสอบถามข้อมูล
ชลาลัย ซัตตั้น
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โทร 02-564-7000 ต่อ 1617
email : chalalai@tmc.nstda.or.th



http://nstda.or.th/tlo/inside.php?option=view_technology&id=112


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/06/2012 6:02 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/06/2012 5:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,647. กรรมวิธีการรักษาคุณภาพมะพร้าวส่งออก


ทีมวิจัย
รศ. วรภัทร ลัคนทินวงศ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

สถานะงานวิจัย
ความลับทางการค้า

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
มะพร้าวน้ำหอม (Aromatic coconut) ถือเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่สามารถส่งออกไปทั่วโลก เป็นสินค้าที่ไม่มีคู่แข่งขันเหมือนผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ ทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยในปี พ.ศ. 2548 ประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ประเทศไทยส่งมะพร้าวน้ำหอมเข้าประเทศได้ และยังสามารถส่งไปยังแคนนาดาได้ในที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2550 ประเทศไทยส่งออกมะพร้าวไปยังต่างประเทศกว่า 48 ประเทศทั่วโลก มูลค่าการส่งออก 440.14 ล้านบาท ประเทศที่นำเข้าสูงสุดได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และฮ่องกง และในปี พ.ศ. 2551 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 401.5 ล้านบาท ประเทศที่นำเข้ามากสุดได้แก่ สหรัฐอเมริกา (กรมศุลกากร, 2553)

ในการส่งออกผู้ส่งออกและเกษตรกรประสบปัญหาอย่างมากในเรื่องเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่อายุการเก็บที่เหมาะสม การใช้สารยับยั้งการเกิดเชื้อรา การใช้ฟิล์มที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาให้ยาวนาน และการเสื่อมคุณภาพของน้ำและเนื้อมะพร้าว แต่ในปัจจุบันงานวิจัยเพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกยังไม่ทันต่อการใช้งานเนื่องจากขาดงานวิจัยพื้น ที่เป็นองค์ความรู้อีกหลายประการ อาทิ สรีระวิทยาของมะพร้าวน้ำหอมซึ่งมีอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทยเท่านั้น องค์ความรู้เรื่องการสร้างและการสลายตัวของกลิ่นของน้ำและเนื้อมะพร้าว อัตราการหายใจภายใต้สภาพแวดล้อมที่เก็บรักษาและการวางจำหน่าย ซึ่งล้วนแล้วแต่จำเป็นในการต่อยอดองค์ความรู้





สรุปเทคโนโลยี
- กรรมวิธีการทำ Blanching Pre-treatment เพื่อหยุดกิจกรรมการทำงานของเซลล์ชั้น mesocarp ลดลง ซึ่งจะเป็นการชะลอการเสื่อมสภาพทั่งในระยะสั้นและระยะยาว ในการส่งออกมะพร้าวไปยังประเทศต่างๆ และเครื่อง Blanching (Made by orders)

- สภาพบรรยากาศดัดแปลงที่เหมาะสมต่อมะพร้าวน้ำหอมควั่นเพื่อการส่งออกเมื่อหุ้มด้วยฟิล์ม LLDPE

- ฟิล์มหด (shrink film) ที่เหมาะสมต่อการพัฒนากระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม รวมทั้งเครื่องห่อฟิล์มหด แบบต่อเนื่อง (continuous) และ manual ที่ต้องการคนควบคุมเครื่อง

- การบรรจุที่เหมาะหากต้องใช้เทคโนโลยี Foot Print สำหรับการส่งออกไปยังประเทศกลุ่มยุโรปทั้งหมด และกำลังเป็นมาตรฐานของโลกต่อไปในอนาคต


จุดเด่นของเทคโนโลยี
• ลดการใช้สารเคมี
• ลดการเน่าเสียหลังการเก็บเกี่ยว ลดการเน่าเสียระหว่างการขนส่ง และระหว่างการวางจำหน่ายที่ปลายทาง
• ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ ปลอดภัยผ่านเกณฑ์มาตรฐานการส่งออกทุกมาตรฐานทุกประเทศทั่วโลกสามารถใช้งานกับอาหาร ข้าวสาร ข้าวกล้อง น้ำตาลทราย และอาหารแปรรูปอื่นๆ
• การลงทุนไม่สูง


สถานภาพเบื้องต้น
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ


สนใจสอบถามข้อมูล
คุณชลาลัย ซัตตัน
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1617
โทรสาร 0 2564 7003
e-mail: chalalai@tmc.nstad.or.th
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)



http://nstda.or.th/tlo/inside.php?option=view_technology&id=100,


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/06/2012 6:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/06/2012 5:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,648. ระบบผลิตหัวเชื้อ "จุลสาหร่าย" แบบต่อเนื่อง





ทีมวิจัย
ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

สถานะงานวิจัย
ได้ต้นแบบเชิงพาณิชย์ พร้อมจำหน่าย เสาะหาผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี

สิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 0601001434 วันที่ยื่นขอ 30 มีนาคม 2549
คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 0801004460 วันที่ยื่นขอ 29 สิงหาคม 2551




ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ารขาดแคลนหัวเชื้อไดอะตอมที่มีคุณภาพดี สำหรับนำมาใช้ในการอนุบาลลูกกุ้งนั้นเป็นปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงลูกกุ้งกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน โดยทั่วไปเกษตรกรจะไม่นิยมเก็บรักษาหัวเชื้อเองแต่จะซื้อหัวเชื้อไดอะตอม Chaetocar sp. จากฟาร์มเลี้ยงไดอะตอมของเอกชนในราคาลิตรละ 20-30 บาท และหากปริมาณไดอะตอมไม่เพียงพอก็อาจต้องซื้อไดอะตอมจากฟาร์มเอกชนและขนส่งใส่รถบรรทุกน้ำมาส่งที่ฟาร์มเลี้ยงลูกกุ้ง เรียกกว่า "คีโตตัน" ซึ่งจากการตรวจสอบหัวเชื้อที่ได้จากฟาร์มเอกชน เกือบทั้งหมด พบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย สาหร่ายชนิดอื่น และโปรโตชัวทำให้การนำไปใช้เป็นหัวเชื้อเพื่อขยายปริมาณนำมาเป็นอาหารเลี้ยงลูกกุ้งจึงทำให้ไม่มีคุณภาพ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพลูกกุ้ง






สรุปเทคโนโลยี
ใช้เลี้ยงจุลสาหร่ายได้หลายชนิด เช่น Chaetocaros, Thalassiosira, Chlorella และ Spirulina เป็นต้น

เป็นระบบที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ผลิตจุลสาหร่ายแบบต่อเนื่องวันละ 6-7 ลิตร

ในกรณีของสาหร่ายคีโตเซอรอส ระบบจะผลิตเซลล์ที่ความหนาแน่นประมาณ 1x106 เซลล์ต่อมิลลิลิตร พร้อมใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับขยายต่อในถังขนาดใหญ่
น้ำที่ใช้เตรียมอาหารเพาะเชื้อไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยความดัน (Autoclave) เนื่องจากมีระบบป้องกันการปนเปื้อนมากับน้ำ เหมาะสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการและในฟาร์มอนุบาลลูกสัตว์น้ำ ทำให้มีหัวเชื้อสาหร่ายพร้อมใช้งานตลอดเวลา



http://nstda.or.th/tlo/inside.php?option=view_technology&id=88


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/06/2012 6:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/06/2012 5:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,649. พลาสติกคลุมดิน ควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืช





ทีมวิจัย
ดร.จิตติ์พร เครือเนตร เเละคณะวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีเเละวัสดุเเห่งชาติ ร่วมกับบริษัทมิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยเเละน้ำตาล จำกัด

สถานะงานวิจัย
-

จุดเด่นของเทคโนโลยี :
- ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช
- ควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารให้เเก่พืช

พลาสติกควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถปลดปล่อยได้ในระยะเวลาที่ต้องการ เเละช่วยให้พืชได้รับสารอาหารที่เพียงพอเเก่การเจริญเติบโตในช่วงเวลาที่พอเหมาะ เเละช่วยลดการสูญเสียจากการให้ปุ๋ยด้วยระบบอื่นๆ

พลาสติกชนิดนี้ถูกนำมาใช้ครั้งเเรกกับพืชประเภทอ้อย ร่วมกับ บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยเเละน้ำตาล จำกัด ซึ่งผลการทดลองภาคสนามพบว่าพลาสติกสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับอ้อยได้เพียงพอต่อความต้องการของอ้อย



สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อได้ที่:
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทร 02-5645700 ต่อ 1616 - 1619
อีเมล: ipbiZ@tmc.nstda.or.th



http://nstda.or.th/tlo/inside.php?option=view_technology&id=11


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/06/2012 6:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/06/2012 5:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,650. ชุดตรวจเชื้อแบคทีเรีย ในพืชตระกูลแตง


ทีมวิจัย
ดร.อรประไพ คชนันทน์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมเเละเทคโนโลยีชีวภาพเเห่งชาติ (BIOTEC)

สถานะงานวิจัย
เสาะหาผู้ร่วมทดสอบในระดับอุตสาหกรรมเเละเสาะหาผู้รับสิทธินำไปใช้ในเชิงพาณิชย์





ชุดตรวจเเบบง่ายหรือ Immunochromatographic Strip Test ใช้ตรวจเชื้อเเบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. Citrulli (Aac)

ลดปัญหาโรคผลเน่าเเบคทีเรีย (bacterial fruit blotch) ของพืชตระกูลเเตง เช่น เเตงโมง เมลอน เเละสคว๊อช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการผลิตเเละส่งออกเมล็คพันธ์พืชในกลุ่มเเตง


สามารถตรวจหาเชื้อสาเหตุได้จากตัวอย่างใบเเละผล
- ชุดตรวจมีความจำเพาะเจาะจงสูงต่อ Aac ไม่ทำปฏิกิริยาข้ามกับเเบคทีเรียชนิดอื่น
- มีความไวในกาตรวจประมาณ 5x105 cfu/ml


สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อได้ที่:
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทร 02-5645700 ต่อ 1616 - 1619
อีเมล: ipbiz@tmc.nstda.or.th



http://nstda.or.th/tlo/inside.php?option=view_technology&id=12


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/06/2012 6:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/06/2012 5:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,651. ฟิล์มเจาะรู ระดับไมครอน บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตผลสด





ทีมวิจัย
ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ชาริณี วิโนทพรรษ์ และคณะวิจัย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

สถานะงานวิจัย
-

จุดเด่นของเทคโนโลยี:
• ฟิล์มมีความใส และความแข็งแรงสูง
• สามารถใช้งานกับผลิตผลสดได้หลายชนิด โดย เฉพาะผลิตผลตัดแต่ง หรือผลิตผลชนิดขายปลีกมูลค่าสูง (high-value retail pack)
• ยืดอายุได้ 2-5 เท่า
• ต้นทุนลดลง 3-4 เท่า





ผักและผลไม้สดเป็นผลิตผลทางการเกษตรของประเทศที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมผักและผลไม้สดในเขตร้อนอย่างประเทศไทยคือ หลังจากการเก็บเกี่ยวผลิตผลมีอายุสั้น มักสูญเสียระหว่างการขนส่งและจำหน่ายเป็นจำนวนมาก โดยสาเหตุสำคัญของปัญหาการสูญเสียคือ การขาดการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม และขาดความรู้หรือการใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อยืดอายุของผลิตผลและรักษาคุณภาพให้คงเดิม ปัจจุบันฟิล์มพลาสติกส่วนใหญ่ที่ผลิตและจำหน่ายทั่วไปในประเทศมีสมบัติสกัดกั้นการแพร่ผ่านของก๊าซ จึงไม่เหมาะสมต่อการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เก็บรักษาผักและผลไม้ ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจส่งออกผักและผลไม้ จึงจำเป็นต้องนำเข้าฟิล์มพลาสติกจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาที่สูงและไม่เหมาะสมต่อการยืดอายุผลิตผลสดเขตร้อนของไทย

ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จึงพัฒนาฟิล์มพลาสติกเจาะรูขนาดไมครอน (Micro-perforated films) และร่วมทดสอบการบรรจุผลิตผลสดชนิดต่างๆ กับคณะวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การพัฒนาฟิล์มให้มีรูเจาะขนาดเล็กระดับไมครอนเป็นเทคนิคใหม่ที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยฟิล์มเจาะรูขนาดไมครอนนี้ มีสมบัติยอมให้ก๊าซและไอน้ำผ่านได้สูงกว่าฟิล์มทั่วไป เพื่อยืดอายุและรักษาคุณภาพของผลิตผลสดได้นาน 2-5 เท่า โดยเฉพาะผลิตผลสดตัดแต่งหรือชนิดขายปลีกมูลค่าสูง (high-value retail package) ประกอบกับการสร้างสมดุลระหว่างสมบัติทางกายภาพที่สำคัญ เช่น ความใส และสมบัติทางกลของฟิล์ม เพื่อให้ฟิล์มมีสมบัติที่สอดคล้องกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์และความต้องการของผลิตผลสดที่ต้องการบรรจุ

เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พัฒนานี้ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะช่วยเสริมประโยชน์การใช้งานของฟิล์มพลาสติกที่ผลิตในอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน ช่วยทดแทนการนำเข้าฟิล์มยืดอายุผลิตผลสดราคาแพง โดยมีต้นทุนลดลงอย่างน้อย 3-4 เท่า


สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อได้ที่:
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทร 02-5645700 ต่อ 1616 - 1619
อีเมล: ipbiZ@tmc.nstda.or.th



http://nstda.or.th/tlo/inside.php?option=view_technology&id=14


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/06/2012 6:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/06/2012 5:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,652. เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus Megaterium ควบคุมโรคกาบใบแห้งในข้าว





ทีมวิจัย
นักวิจัย
รศ.ดร.ฤดีกร วิวัฒนปฐพี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้ทรงสิทธิ
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งชาติ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สถานะงานวิจัย
- ยื่นขอสิทธิบัตรเเล้ว เลขที่คำขอ 0701001394 กรรมวิธีเตรียมตัวสูตรตำรับเเบคทีเรียปฎิปักษ์ รูปเเบบเเกร-นูล สำหรับฉีดพ่นในการควบคุมโรคพืช เเละ 0701002092 กรรมวิธีการเตรียมสูตรตำรับเชื้อเเบคทีเรียปฎิปักษ์รูปเเบบเม็ดฟูในการควบคุมโรคพืช พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี เเละเสาะหาผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ



โรคกาบใบเเห้งของข้าวที่เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani นับเป็นโรคหนึ่งที่ก่อให้เกิดควาเสียหายมากที่สุดต่อการเพาะปลูกข้าวทั้งในประเทศไทยเเละประเทศอื่นๆ ทั่วโลก การใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราเพื่อควบคุมโรคนี้ยังมีข้อเสียหลายประการ เช่น การตกค้างในข้าวที่นำมาบริโภค การตกค้างในน้ำเเละดินอันก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งเเวดล้อม เเละระบบนิเวศน์ทั้งในระยะสั้นเเละระยะยาว

โรคกาบใบเเห้งในข้าวเกิดขึ้นเมื่อเม็ดสืบพันธ์สเคลอโรเธีย (secerotia) ของ Rsolani ที่มีอยู่ในดินลอยขึ้นมาเนื้อน้ำเเละเคลื่อนที่ไปติดกับลำต้นของข้าว โดยการติดเชื้อเริ่มจากบริเวณขอบน้ำที่พืชสัมผัสเเละอาการของโรคเเพรืกระจายขึ้นไปตามลำต้น การติดเชื้อจะรุนเเรงที่สุดในระยะต้นข้าวเเตกกอซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง สภาพดังกล่าวเป็นสภาวะเหมาะสมกับการเเพร่กระจายของโรคทั้งในกอข้าวกอเดียวกันเเละระหว่างกอข้าวข้างเคียง

สรุปเทคโนโลยี
เเบคทีเรีย Bacillus megaterium มีฤทธิ์ในการเป็นปฎิปักษ์ต่อ เชื้อรา Rhizoctonia solani โดยการสร้างสารปฎิชีวนะที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งงานวิจัยได้พัฒนาสูตรตำรับสำหรับเชื้อเเบคทีเรียปฎิปักษ์ Bacillus megaterium ให้อยู่ในรูปเเบบผลิตภัณฑ์ที่มีเกษตรกรสามารถใช้ได้ง่าย มีความคงตัว เเละมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกาบใบเเห้งของข้าว

จุดเด่นของเทคโนโลยี
- นักวิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ 3 สูตร เเกรนูลละลายน้ำ เเกรนูลฟูเเละเม็ดฟู

- จากผลงานวิจัยพบว่าผลิตภัณฑ์สูตรเเกรนูลฉีดพ่นเเละเเกรนนูลฟูมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกาบใบเเห้งของข้าวได้ดีกว่าสารฆ่าเชื้อรา

- ผลิตภัณฑ์สูตรเเกรนูลฉีดพ่นเเละเเกรนูลฟู สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้นานกว่า 15 เดือน โดยยังมีปริมาณเชื้อสูงถึง 109 CFU/g

- รูปเเบบผลิตภัณฑ์เหมาะเเละสะดวกในการใช้งานระดับไร่นา






สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อได้ที่:
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทร 02-5645700 ต่อ 1616 - 1619
อีเมล: ipbiZ@tmc.nstda.or.th



http://nstda.or.th/tlo/inside.php?option=view_technology&id=22

http://nstda.or.th/tlo/inside.php?option=list_technology&cat=8&key=&page=4
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/06/2012 10:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,653. หมู่บ้านข้าวนาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ พระจอมเกล้าลาดกระบัง




โรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม ตำบลนาบ่อคำ อาเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ตำบลนาบ่อคำส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การปลูกมันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด อ้อย ซึ่งในแต่ละปีมีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก แต่หากเปรียบเทียบกับปริมาณการปลูก และผลผลิตที่ควรจะได้แล้วยังเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก โดยเฉพาะการปลูกข้าวในพื้นที่ตำบลนาบ่อคำ ซึ่งเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ควรจะได้ผลผลิต คือ 650-774 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ได้ผลผลิตเพียง 400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นปัญหามาจากการปลูกที่ขาดประสิทธิภาพ เช่น การเพาะกล้า การเติบโตที่ไม่สม่ำเสมอ การใช้ปุ๋ยเคมีที่มีต้นทุนสูงซึ่งเมื่อเทียบต้นทุนกับรายได้ ยังมีผลกำไรน้อยมาก บ่อยครั้งผลที่ได้น้อยกว่าทุนที่ลงไป



ภาพแสดงการงอกของเมล็ดข้าว

ใช้ อนุภาคนาโน ZnO



ไม่ใช้ อนุภาคนาโน ZnO



อนุภาคนาโนซิงออกไซด์ มีสมบัติบางประการที่สามารถช่วยในการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งพืชที่ได้รับซิงออกไซด์จะมีการต้านทานต่อโรคได้ดีกว่าพืชที่ไม่ได้รับและปริมาณผลผลิตที่ได้รับหลังการเก็บเกี่ยวได้สูงกว่าประมาณ 3-5 เท่าตัว นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่ช่วยในการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยในธาตุอาหารหลัก คือ NPK ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ผู้จัดทำสนใจที่จะศึกษาผลการใช้นาโนซิงออกไซด์ในการปลูกข้าว เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้อันจะเป็นผลให้ชุมชน มีความเป็นอยู่ที่ดี และขยายผลสู่ชุมชนอื่นได้

พบว่า ปริมาณอนุภาค ZnO ที่มีผลต่ออัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ให้ผลจำนวนเมล็ดที่งอกมาก คือ

ปริมาณอนุภาค ZnO 20 กรัม งอก 95 เมล็ด คิดเป็นร้อยละ 95 ซึ่งมีอัตราการงอกของเมล็ดใกล้เคียงกับการเติมอนุภาค ZnO 15 กรัม คือ เมล็ดงอก 93 เมล็ดคิดเป็นร้อยละ 93 และ

ในการเจริญเติบโตของต้นข้าวตั้งแต่เริ่มหว่านจนครบ 6 สัปดาห์พบว่า ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่แช่ด้วย ZnO มีความสูง 85.17 เซนติเมตร มีอัตราการเจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่แช่ด้วย ZnO ที่มีความสูง 78.42 เซนติเมตร และ

เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่แช่ด้วย ZnO ให้ผลผลิต 165 กิโลกรัมต่อ พื้นที่ 400 ตารางเมตร ซึ่งสูงกว่า ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้แช่ด้วย ZnO ที่ให้ผลผลิตเพียง 137 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 400 ตารางเมตร

ถ้าเปรียบเทียบเป็นต่อ 1 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ของแปลงนาที่ใช้ ZnO จะได้ประมาณ 660 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ผลผลิตต่อไร่ของแปลงนาที่ไม่ได้ใช้ ZnO จะได้ผลผลิตประมาณ 548 กิโลกรัม ซึ่งให้ค่าผลผลิตที่แตกต่างกันถึง 112 กิโลกรัม




ภาพแสดงการเจริญเติบโตของต้นข้าว

ใช้ อนุภาคนาโน ZnO



ไม่ใช้ อนุภาคนาโน ZnO

ต้นข้าวอายุ 7 วัน




ใช้ อนุภาคนาโน ZnO



ไม่ใช้ อนุภาคนาโน ZnO


ต้นข้าวอายุ 35 วัน



ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดข้าวที่แช่ด้วย ZnO มีอัตราการงอกคิดเป็นร้อยละ 93 มีอัตราการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่าต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดที่ไม่ได้แช่ ZnO ทั้งนี้เป็นผลมาจากอนุภาคนาโนซิงออกไซด์ มีผลในการกำจัดเชื้อรา และแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุ ของการเกิดโรคที่ทำให้เกิดการตายของต้นข้าวและอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวที่ได้รับอนุภาคนาโนอย่างต่อเนื่องมีอัตราการเจริญเติบโตได้ดี และ นาโนซิงออกไซด์ ยังมีคุณสมบัติความเป็นปุ๋ย ทำให้มีการเจริญเติบโตที่ดี ซึ่งต้นทุนในการใช้ นาโนซิงออกไซด์เพื่อดูแลต้นข้าวเมื่อมีอายุเท่ากัน ไร่ละ 100 บาท ส่วนการปลูกทั่วไปจะใช้ค่าปุ๋ยและยา ไร่ละประมาณ 800 บาท




http://www.nano.kmitl.ac.th/innovations/index.php/practical.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/06/2012 10:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,654. สังกะสีจำเป็นต่อพืช


สังกะสีนำไปใช้เป็นส่วนผสมในปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช แม้จะในปริมาณที่เล็กน้อยแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสังเคราะห์อาหารของพืช โดยมีผลต่อการสังเคราะห์แสง การผลิตน้ำตาล การสังเคราะห์โปรตีน ความอุดมสมบูรณ์และการผลิตเมล็ดพืช ตลอดจนการเติบโตอย่างสม่ำเสมอและสร้างความต้านทานโรคอีกด้วย


พืชไร่หลายชนิดทั้งข้าว ข้าวโพด ถั่ว ชา กาแฟ จะมีความไวต่อภาวะขาดธาตุสังกะสี หากได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะทำให้ระบบชีวเคมีถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ มีผลผลิตต่ำและคุณภาพไม่ดี เป็นโรคได้ง่าย ในกรณีรุนแรงจะแคระแกร็น


ดินที่ขาดสังกะสี ถึงแม้จะใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม (NPK) ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพและผลผลิตต่ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินเป็นด่าง (pH สูง) ดินที่มีฟอสฟอรัสสูง หรือ organic carbon สูง และดินที่เป็นที่ลุ่มมีน้ำขังนานๆ


ในหลายประเทศเริ่มผสมสังกะสีในปุ๋ย NPK (มักอยู่ในรูปของผงสังกะสี ซัลเฟต ZnSO4) และเรียกว่าปุ๋ย NPK + Zn หรืออาจนำ ZnSO4 มาละลายน้ำแล้วนำมาพ่นที่ใบ (Foliar Fertilizing) ตัวอย่างประเทศที่ใช้ปุ๋ย NPK + Zn อย่างจริงจัง เช่น ตุรกี อเมริกา บราซิล ฟิลิปปินส์ จีน และอินเดีย



แร่ธาตุสังกะสีในปุ๋ยจำเป็นต่อพืช
(Zinc in fertilizers – essential for crops)

ปุ๋ย (Fertilizers) :
ปุ๋ยถูกนำมาใช้ในการทำการเกษตร และการทำสวน เพื่อให้พืชและดินได้รับแร่ธาตุที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ในดินมักมีแร่ธาตุอยู่ตามธรรมชาติ แต่มักมีในปริมาณที่แตกต่างกัน และโดยส่วนมากมักจะน้อยกว่าปริมาณที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การขาดแร่ธาตุในดินเป็นผลมาจากการทำการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีการเติมแร่ธาตุเหล่านี้ให้แก่ดินอย่างเพียงพอ ปัญหานี้มักพบมากในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการใช้ปุ๋ยเพื่อให้เป็นแหล่งอาการสำหรับพืชยังน้อย ปุ๋ยสามารถเพิ่มแร่ธาตุให้กับดินและช่วยในการเจริญเติบโตของพืช มีการนำปุ๋ยมาใช้ในการทำไร่นามามากกว่าร้อยปี และพบว่ามันช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของพืชผลได้ นอกจากนี้ปุ๋ยยังถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการทำสวน ซึ่งทำให้ได้ปริมาณผลผลิตซึ่งเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์มากขึ้น และคุณภาพดีขึ้นด้วย

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของพืช (Plant nutrients) :
โดยทั่วไปพืชต้องการทั้งสารอาหารหลัก และสารอาหารรอง ซึ่งจำเป็นต่อความสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ สารอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม จะถูกใช้ในปริมาณมาก สารอาหารรองถึงแม้จะต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสมบูรณ์ และการเจริญเติบโตของพืช หนึ่งในสารอาหารรองที่จำเป็นก็คือ สังกะสี

ความสำคัญของสังกะสีต่อพืช (Importance of zinc for plants) :
สังกะสีมีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งพืช สังกะสีเป็นสารที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ในการทำปฏิกิริยา สังกะสีมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ของพืช ได้แก่
- การสังเคราะห์ด้วยแสง และการสร้างน้ำตาล
- การสังเคราะห์โปรตีน
- การเจริญพันธุ์ และการเพาะด้วยเมล็ด
- การเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
- การต้านทานโรค

การขาดสังกะสี (Zinc deficiency) :
เมื่อพืชได้รับสังกะสีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ การทำงานของระบบชีวเคมีจะถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลต่อความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของพืชในทางลบ มีผลให้ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่ำ (หรืออาจจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้) และคุณภาพไม่ดี ในกรณีที่มีการขาดสังกะสีอย่างรุนแรง จะสามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ เช่น ใบไม้มีสีเหลืองโดยที่เส้นของใบไม้ยังเขียวอยู่ (interveinal chlorosis) ใบไม้มีสีเหลืองแดง (bronzing of chlorotic leaves) ใบไม่มีขนาดเล็กและมีรูปร่างผิดปกติ แคระแกร็น (stunting) และใบงอกเป็นกระจุก (resetting) อาการแอบแฝง เช่น ผลผลิตลดลงอย่างมาก อาจไม่สามารถตรวจพบเป็นเวลาหลายปีจนกว่าจะมีการทดสอบดิน หรือวินิจฉัยโรคพืช

จากการศึกษาขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization / FAO) พบว่าสังกะสีเป็นธาตุที่ขาดมากที่สุดธาตุหนึ่งในบรรดาสารอาหารรอง ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อดินหลายชนิดในหลายพื้นที่การเพาะปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังรวมถึงเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

พืชหลายชนิดได้รับผลกระทบจากการขาดสังกะสี รวมถึงพืชซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และอื่นๆ, ผลไม้ต่างๆ เช่น มะนาว มะกรูด แอปเปิล ฝรั่ง สับปะรด และอื่นๆ, ถั่ว กาแฟ ชา, ผักต่างๆ เช่น ผักกาดแดง มันฝรั่ง มะเขือเทศ และอื่นๆ, พืชที่รับประทานไม่ได้ เช่น ฝ้าย ต้นแฟลกซ์ที่นำมาทำผ้าลินิน และอื่นๆ

พืชไร่เป็นแหล่งอาหารและมีผลต่อสุขภาพ (Crop nutrition and health) :
พืชไร่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ ในประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยพืชชนิดเมล็ด เช่น ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพด โดยทั่วไปพืชไร่มักจะขาดสังกะสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำการเพาะปลูกในดินที่ขาดธาตุสังกะสี เกือบ 50% ของพืชชนิดเมล็ดในโลกที่ขาดสังกะสี และประมาณการว่าประมาณ 1 ใน 3 ของประชากาโลกมีความเสี่ยงต่อการขาดสังกะสี ซึ่งมีผลต่อปัญหาสุขภาพ รวมถึงภูมิต้านทานร่างกายต่ำ การเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า

ในเรื่องนี้ การขาดสังกะสีถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของตัวแปรที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นสาเหตุของการเกิดโรค สำหรับทั่วโลก การขาดสังกะสีถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 11 จากทั้งหมด 20 ตัวแปร องค์การอนามัยโลก (The World Health Organization / WHO) เชื่อว่าประชากรทั่วโลกที่เสียชีวิต 800,000 คนต่อปี เป็นผลมาจากการขาดสังกะสี และชี้ให้เห็นว่าการขาดสังกะสีมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการได้รับหรือการดูดซึมสังกะสีที่ไม่เพียงพอจากการอดอาหาร การเพิ่มปริมาณธาตุสังกะสีในอาหารพวกพืชไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ดินขาดสังกะสีอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับต้นๆ เพื่อที่จะต่อสู้กับการขาดอาหาร หรือความอดอยาก ในมนุษย์และสัตว์


การแก้ไขปัญหาการขาดสังกะสีในพืชไร่ (Correcting zinc deficiency in crops) :
วิธีที่รวดเร็วและคุ้มค่าในการแก้ไขปัญหาการขาดสังกะสีในพืชไร่และดิน คือ การใช้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีเป็นส่วนผสมอยู่ ธาตุสังกะสีที่ใส่ในปุ๋ยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

สารประกอบอนินทรีย์
สารประกอบอินทรีย์

ในบรรดาสารประกอบอนินทรีย์ สังกะสีซัลเฟตถูกนำมาใช้มากที่สุด สังกะสีซัลเฟตละลายน้ำได้ดีมากมีทั้งในรูปที่เป็นผลึกและเป็นเม็ด การละลายเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อประสิทธิภาพของปุ๋ย สารประกอบอนินทรีย์สังกะสีอื่นๆ ได้แก่ สังกะสีไนเตรท สังกะสีซัลฟอรัส สังกะสีซัลเฟตรูปแบบอื่น และสังกะสีออกไซด์
สารประกอบอินทรีย์สังกะสี โดยเฉพาะคีเลทสังเคราะห์ ได้แก่ Zn-EDTA, Zn-HEDTA, Zinc polyflavonoids และ Zinc lignosulfonates

สังกะสีอาจถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ย single-nutrient หรือธาตุอาหารเสริมในปุ๋ยซึ่งประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุใดธาตุหนึ่งหรือหลายธาตุก็ได้ สังกะสีเป็นธาตุหลักของปุ๋ยพิเศษ ซึ่งมันประกอบด้วยธาตุต่างๆ ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับพืชไร่แต่ละชนิด แต่ละพื้นที่ และแต่ละเวลา

วิธีการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสี (Application methods of zinc fertilizers)
มีหลายวิธีในการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีแก่พืชไร และดิน :

สเปรย์ที่ใบ : เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางใบ
ทางดิน : เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางราก
การให้ปุ๋ยในระบบน้ำ : ให้แร่ธาตุโดยระบบกวนทางเมล็ด

แต่ละวิธีมีข้อดีต่างกัน ขึ้นกับลักษณะของพืช ดิน ชนิดของปุ๋ย และส่วนประกอบ การใช้หลายวิธีประกอบกันก็สามารถทำได้ และอาจได้ผลดีกว่าในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ วิธีการให้ปุ๋ยสังกะสีอาจกระทบสมดุลของธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ดังนั้นการให้ปุ๋ยแบบสมดุลด้วยธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะกับดินทั่วไปหรือการทดลองปลูกพืช

การใช้ปุ๋ย (The use of fertilizer) :
โดยทั่วไปมักใส่ปุ๋ยเพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารในพืชและดิน อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยจะได้ผลดีที่สุดกับดินที่มีความเป็นธรรมชาติสูง หรือดินที่มีการบำรุงโดยใช้ปุ๋ย ด้วยภาวะขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่อง, การขาดแคลนพืช และการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก เพราะฉะนั้นแหล่งอาหารของโลกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา จำเป็นต้องมีการเพิ่มการเพิ่มทั้งคุณภาพและปริมาณของพืชเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมีอยู่อย่างจำกัด แต่ต้องเพิ่มปริมาณผลผลิต โดยสารอาหารรองเป็นตัวแปรหนึ่งที่จำกัดว่าที่ดินเหมาะแก่การเพาะปลูกหรือไม่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยที่มีสารอาหารรองสามารถเพิ่มผลผลิต และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งคุณภาพผลผลิตได้


สรุป (Conclusion) :
สังกะสีในปุ๋ยสามารถเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพได้เป็นอย่างมาก เมื่อเพิ่มปริมาณสังกะสีในพืช อีกทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ยังได้ประโยชน์จากปริมาณสังกะสีซึ่งเป็นธาตุที่ต้องการมากขึ้นด้วย





http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539180906


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2012 5:55 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/06/2012 11:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,655. การจัดการเกี่ยวกับธาตุอาหารพืชสำหรับข้าว


หลักการของการจัดการธาตุอาหารพืช
หลักการที่สำคัญในเรื่องของการให้ธาตุอาหาร คือ การให้ธาตุอาหารแก่พืชในปริมาณและช่วงระยะเวลาที่พืชต้องการ ธาตุอาหารแต่ละชนิดที่อยู่ในดินจะมีการเคลื่อนย้ายได้แตกต่างกันไป ซึ่งจะมีผลต่อความเป็นประโยชน์สำหรับพืช ไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีการเคลื่อนย้ายได้ดีในดิน ขณะที่ฟอสฟอรัสเป็นธาตุ ที่เคลื่อนย้ายได้ยาก ส่วนโพแทสเซียมเป็นธาตุที่มีความสามารถเคลื่อนย้ายในดินได้อยู่ในระดับปานกลาง โดยทั่วไปแล้วไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีข้อจำกัดมากที่สุด โพแทสเซียมที่ข้าวดูดกินขึ้นไป ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในส่วนของตอซัง ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับเรื่องของตอซังข้าว จะมีผลอย่างมากต่อเรื่องความสมดุลย์ของ ธาตุโพแทสเซียม ในการจัดการเกี่ยวกับธาตุไนโตรเจนที่อยู่ในดินในรูปของไนเตรตจะมีการสูญเสียไปในรูปก๊าซ เมื่อดินมีสภาพน้ำขังและขาดแคลนก๊าซออกซิเจน นอกจากนั้นยังอาจเกิดการสูญเสียได้ในกระบวนการชะล้างไปยังดินชั้นล่าง


หลักการที่สำคัญของการจัดการธาตุไนโตรเจน คือ ความต้องการของพืช
ไนโตรเจนที่ได้รับพอเพียงในช่วงระยะการตั้งตัวของข้าวจนถึงการแตกกอจะเป็นการประกันที่จะทำให้ข้าวมีจำนวนกอต่อหน่วยพื้นที่ในปริมาณที่มากพอ

ไนโตรเจนที่ได้รับพอเพียงในช่วงระยะก่อนและระยะการแทงช่อรวงอ่อน จะเป็นการประกันทำให้รวงที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่ และจะเป็นแหล่ง สะสมของอาหาร (sink)

ไนโตรเจนเกือบทั้งหมดที่จะให้กับข้าวควรใส่ในระยะก่อนจนถึงหรือระยะการแทงช่อรวงอ่อน

ไนโตรเจนที่ได้รับพอเพียงในช่วงระยะการสะสมของเมล็ดจะเป็นการประกันทำให้ได้รับผลผลิตสูงทั้งนี้เนื่องมาจากกระบวนการแสงสังเคราะห์

รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้อยู่ที่ระดับ 5 เซนติเมตร และระบายน้ำออกให้มากขึ้นเมื่อต้องการใส่ปุ๋ยในช่วงระยะกลางของฤดูปลูก


กฏตายตัว
ทุก ๆ วันที่พืชมีสีเหลือง ก็เป็นผลกำลังจะทำให้ผลผลิตสูญหายไป

ปริมาณ
ในการผลิตข้าวเพื่อให้ได้น้ำหนักเมล็ด 1 ตัน ข้าวจะต้องได้รับธาตุอาหารต่าง ๆ โดยประมาณ ดังต่อไปนี้

- ไนโตรเจน (N) 15-20 กิโลกรัม
- ฟอสฟอรัส (P) 2-3 กิโลกรัม
- โพแทสเซียม (K) 15-20 กิโลกรัม

ถ้าปล่อยตอซังข้าวทั้งหมดเอาไว้ในนา ก็จะทำให้ปริมาณของโพแทสเซียมที่จะใช้ลดลงไปได้ 3-5 กก. ต่อเฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ = 6.25 ไร่) ต่อผลผลิตเมล็ดข้าว 1 ตัน ทั้งนี้จะต้องกระจายตอซังให้ทั่วพื้นนาอย่างสม่ำเสมอ


ผลของฤดูกาล
ความต้องการปุ๋ยไนโตรเจนจะน้อยกว่าในกรณีที่ปลูกข้าวในฤดูฝน (มีแสงอาทิตย์น้อยกว่าและมีศักยภาพในการให้ผลผลิตน้อยกว่า) ในขณะที่ต้องการปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่าสำหรับข้าวที่ปลูกในฤดูแล้ง (มีแสงอาทิตย์มากกว่าและมีศักยภาพในการให้ผลผลิตมากกว่า) ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่ในปริมาณมากกว่าจะทำให้มีการแตกกอมากขึ้น มีพื้นที่ใบมากขึ้น และสุดท้ายจะทำให้ได้รับผลผลิตมากขึ้น


เวลาที่เหมาะสม
ไนโตรเจนเกือบทั้งหมดควรใส่ในระยะเวลาช่วงก่อนจนถึงช่วงการแทงช่อรวงอ่อน
ปุ๋ยไนโตรเจนที่แนะนำให้ใช้ในอัตราสูงกว่า 60 กิโลกรัม N ต่อเฮกตาร์ ต่อฤดูปลูก ควรแบ่งใส่ 2-3 ครั้ง สำหรับข้าวที่ปลูกในฤดูฝน หรือแบ่งใส่ 3-5 ครั้ง สำหรับข้าวที่ปลูกในฤดูแล้ง จำนวนครั้งของการแบ่งใส่ปุ๋ยควรมากขึ้นสำหรับข้าวพันธุ์อายุยาว โดยเฉพาะถ้าปลูกในฤดูแล้งและเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพให้ผลผลิตสูงกว่า

การจัดการเกี่ยวกับธาตุไนโตรเจนทำให้มีความสมดุลย์ของการพัฒนาการของส่วนที่เป็น sink และ source หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณมาก ๆ เป็นปุ๋ยรองพื้น (เช่น อัตราที่มากกว่า 50 กิโลกรัม N ต่อเฮกตาร์) สำหรับข้าวนาดำ (transplanted rice) ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงระยะ 3 สัปดาห์หลังจากมีการปักดำข้าว จะเป็นระยะที่ข้าวเจริญเติบโตช้า ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นควรมีการคลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ดีก่อนที่จะปักดำหรือหว่านข้าว

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะที่ข้าวมีอายุมาก (ระยะออกดอก) จะช่วยยืดอายุทำให้ใบแก่ช้าออกไป และช่วยเพิ่มการพัฒนา ของเมล็ดให้ดีขึ้น โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกในฤดูแล้งและเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง


การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนควรปฏิบัติดังนี้
ใส่ในระยะแรกเพื่อกระตุ้นการแตกกอ ซึ่งทำให้มีส่วนของพืชที่ทำหน้าที่เป็น source (ใบ) พอเพียง และทำให้มีจำนวนกอที่จะทำหน้าที่เป็น sink (รวง) พอเพียง ใส่ในช่วงการแทงช่อรวงอ่อน ซึ่งทำให้ได้เมล็ดที่มีขนาดใหญ่พอที่จะใช้สะสมอาหารในช่วงที่ข้าวแก่

ปุ๋ยโพแทสเซียมครึ่งหนึ่งควรแบ่งใส่เป็นปุ๋ยรองพื้น และส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งใส่ในระยะช่วงกลางของการแตกกอ ต้องหลีกเลี่ยงการไหลบ่าของน้ำเพื่อไม่ให้ปุ๋ยสูญเสียไป มีการศึกษาการทดสอบในไร่นาที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ โดยแบ่งใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมครึ่งหนึ่ง ใส่เป็นปุ๋ยรองพื้น อีกครึ่งหนึ่งใส่ในระยะออกรวง ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อห้ข้าวมีความต้านทานต่อการทำลายของแมลงได้ดีขึ้น

ปุ๋ยโพแทสเซียมอาจมีผลบ้างต่อการล้มของข้าว แต่ในส่วนหลังนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่า

เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการล้มของข้าว และการเข้าทำลายของศัตรูข้าว จึงไม่ควรที่จะใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่มากเกินพอ ในช่วงระหว่างการแทงช่อรวงอ่อน และช่วงระยะออกดอกโดยเฉพาะการปลูกข้าวในฤดูฝน


การจัดการเกี่ยวกับน้ำ :
ต้องระบายน้ำออกจากนาข้าวก่อนที่จะมีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเป็นปุ๋ยแต่งหน้า หลังจากนั้นให้ทดน้ำเข้าในนาเพื่อให้ปุ๋ยไนโตรเจนมีการเคลื่อนย้ายในดินได้ดีขึ้น เพื่อเป็นการลดการสูญเสียไนโตรเจนไปในรูปของก๊าซ จึงไม่ควรใส่ปุ๋ยยูเรียลงไปบนน้ำที่นิ่งในขณะที่มีลมแรง และในช่วงที่ข้าวยังมีใบปลกคลุมไม่เต็มพื้นที่ และไม่ควรใส่ปุ๋ยในช่วงระยะเวลาเที่ยงวัน เนื่องจากน้ำในนามีอุณหภูมิสูง


รูปของปุ๋ย :
ปุ๋ยไนโตรเจนควรใช้ในรูปของปุ๋ยแอมโมเนียม


การปรับปรุงเพื่อให้ข้าวดูดกินไนโตรเจนได้ดีขึ้น :
คลุกเคล้าปุ๋ยให้เข้ากับดิน และรักษาให้ดินมีความชื้นที่อิ่มตัวอย่างต่อเนื่อง ถ้าดินมีการเปลี่ยนสลับกลับไปกลับมาระหว่างสภาพที่มี และสภาพที่ขาดก๊าซออกซิเจน ปุ๋ยที่ข้าวดูดกินมาได้คิดเป็นร้อยละ 30 ถึง 40 หรือน้อยกว่าจากปุ๋ยที่ใส่รองพื้น

ในสภาพที่มีน้ำท่วมขังอย่างถาวร ปุ๋ยที่ใส่เป็นปุ๋ยแต่งหน้าในระยะช่วงกลางของการแตกกอข้าวจะดูดกินมาได้คิดเป็นร้อยละ 40 ถึง 50 ส่วนที่ใส่ในช่วงการแทงช่อรวงอ่อนข้าวจะดูดกินได้คิดเป็นร้อยละ 60 ถึง 70




http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/Technology%20Changes_Rice/07.p;ant%20nutrition%20mang.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/06/2012 2:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,656. หมู่บ้านผักหวานนาโน พระจอมเกล้าลาดกระบัง

โรงเรียนร่มเกล้า ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
พิธีเปิดวันที่ 16 มีนาคม 2555



เนื่องจากชาวบ้านในเขตอำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่การทำนา 1 ปี สามารถทำได้เพียงครั้งเดียว รายได้จากการทำนาไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ดังนั้นชาวบ้านจึงได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการพึ่งตนเอง โดยการหารายได้เสริมหลังจากว่างจากการทำนา อาชีพเสริมที่ว่าก็คือการเพาะกล้าไม้เพื่อจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านมีการทำแบบครัวเรือนแล้วก็มารวมทำเป็นกลุ่มแต่มักประสบปัญหาการจำหน่ายได้กำไรน้อย เนื่องจากปัญหากล้าไม้เจริญเติบโตช้า ปัญหารากเน่า ขึ้นรา

หมู่บ้านผักหวานนาโน พระจอมเกล้าลาดกระบัง จึงได้มีการนำอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ (ZnO )มาช่วยเร่งการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตของกล้าผักหวาน ซึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่จำหน่ายได้ราคาดีมากกว่ากล้าไม้ชนิดอื่นๆ การเพาะเมล็ดและเร่งการเจริญเติบโตของกล้าผักหวาน จะช่วยลดปัญหาในการเพาะปลูกและเป็นการเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในชุมชน เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะให้ราษฎรอยู่ได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานนั้นเอง






ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจ สูงถึง 13 เมตรหรือเป็นไม้พุ่ม อายุหลายปีที่พบโดยทั่วไปมักเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภคใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มรูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5 - 5 เซนติเมตร ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำไย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวงเหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมส้ม ลักษณะผลกลมรี เมล็ดลักษณะคล้ายพุทรา เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว



การงอกของเมล็ดผักหวานโดยการแช่ในอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ร่วมกับรดน้ำผสมด้วยอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์เมล็ดผักหวานจะงอกเร็วภายใน 2 - 3 วัน และพบว่าเมล็ดที่แช่ในอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์จำนวนเมล็ดที่งอกมากกว่า ที่แช่ในน้ำปกติ และไม่พบปัญหาปลายของรากเน่า

อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ใช้รดต้นกล้าทำให้การเจริญเติบโตได้ดีเนื่องจากอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์มีขนาดเล็กเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืชการฉีดสเปรย์หรือรดในรูปของสารละลาย ซึ่งจะถูกดูดซับจากรากโดยการแพร่ไปเลี้ยงส่วนประกอบต่างๆ ของพืช




http://www.nano.kmitl.ac.th/innovations/index.php/villagess/puk.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/06/2012 3:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,657. หมู่บ้านมันสำปะหลัง นาโนเทคโนโลยีนาบ่อคำ



สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
โรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร



ในปี 2554 วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ดำเนินการโครงการ หมู่บ้านนาโนเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อโครงการ “หมู่บ้านนาโนเทคโนโลยีมันสำปะหลังนาบ่อคำ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง” ตั้งอยู่ที่ ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ โรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม ซึ่งสามารถรวบรวมหมู่บ้านในชุมชนเข้าร่วมโครงการและจัดทำแปลงสาธิตมากกว่า 23 แปลง โดยมีแนวคิดในการให้ชุมชนสามารถนำวัสดุนาโนไปใช้ทดแทนสารเคมีจากปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืชต่างๆ และยังเป็นการเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก ซึ่งท้ายสุดมันสำปะหลังดังกล่าวยังสามารถนำไปสร้างผลผลิตในรูปของพลังงานทดแทนหรือการผลิตเอทานอลได้



วิธีดำเนินงานวิจัย
การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการจัดทำแปลงสาธิตขนาด 1 ไร่ ในทุกหมู่บ้านของ ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร รวมทั้งสิ้น 23 แปลงสาธิต เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ โดยมีรายละเอียดในการเพาะปลูกดังนี้

&middot; ทำการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนการเพาะปลูกเป็นเวลา 12 ชั่วโมง โดยใช้ความเข้มข้นของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ปริมาณ 15 กรัม ต่อ น้ำ 50 ลิตร (พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 4,000 ต้น)

&middot; ทำการฉีดพ่นอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ (ความเข้มข้นของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ปริมาณ 15 กรัม ต่อ น้ำ 50 ลิตร) ทุกๆ 15 วัน หลังจากการเพาะปลูก
















ผลการดำเนินงานของโครงการเบื้องต้นพบว่า หลังจากการใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในการเพาะปลูก จนถึงอายุ 8 เดือน น้ำหนักมันสำปะหลังเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 40 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นการเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับแปลงที่ปลูกโดยไม่ใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ ซึ่งผลผลิตดังกล่าวจะสูงถึง 15 ตันต่อไร่ ซึ่งจะสามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้เป็นปริมาณ 2,500 ลิตรต่อไร่(170-190 ลิตร ต่อน้ำหนักหัวมันสด 1,000 กิโลกรัม)1,2 นับเป็นการใช้วัสดุนาโนเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรและช่วยส่งเสริมการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



http://www.nano.kmitl.ac.th/innovations/index.php/villagess/mun.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/06/2012 3:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,658. หมู่บ้านยางพารานาโนเทคโนโลยี พระจอมเกล้าลาดกระบัง


หมู่บ้านยางพารานาโนเทคโนโลยี พระจอมเกล้าลาดกระบัง
โรงเรียนกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี



ยางพารา (Hevea brasiliensis Mull.Arg.) เป็นไม้ยืนต้น เนื้อไม้ค่อนข้างแข็ง สูง 30-40 เมตร เปลือกของลำต้นจะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ เปลือกแข็งชั้นนอกสุด เปลือกแข็งชั้นกลาง จะมีท่อน้ำยางที่อายุมากกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และชั้นในสุดเป็นเปลือกอ่อนมีท่อน้ายางเวียนจากซ้ายไปขวา ทำมุม 30-35 องศา จากล่างขึ้นบน การกรีดยางต้องกรีดให้ถึงชั้นในสุด เวียนจากซ้ายไปขวาและจากบนลงมาล่าง ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3ใบ ผลัดใบ ในฤดูแล้ง ผลเป็นชนิดแคปซูล มีเมล็ดอยู่ภายใน 3 เมล็ด ผลแก่จะแตกและมีเสียงดังยางพารา ชอบอากาศที่มีความชื้นสูงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย และเป็นพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรในภาคใต้ การทำอาชีพสวนยางพาราเป็นอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรในอัตราค่อนข้างสูงเป็นอาชีพที่มั่นคง ประชากรมีรายได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากการทำสวนยางพารานั้น เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะนำไปขายเมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อถึงเวลาก็จะมีคนซื้อ แม้ว่าสวนยางนั้น จะอยู่ไกลจากหมู่บ้านก็ตาม และ พ่อค้าเองก็สามารถขายต่อได้ รับซื้อได้ทุกชิ้น เช่น ยางแผ่นคุณภาพ น้ำยาง หรือเศษยางต่างๆ และในช่วงหลายๆปี ที่ผ่านมาเกษตรกรได้รับผลกำไรจากการขายผลผลิตที่ได้จากยางพาราเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแผ่นยางพาราดิบอันเนื่องมาจากความต้องการของตลาดโลก แต่จากการสำรวจแผ่นยางพาราดิบจากตลาดรับซื้อแผ่นยางพารา พบว่าแผ่นยางพาราดิบที่มีเชื้อราปะปนจะขายได้ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นจึงทำให้เกษตรกรประสบปัญหาดังกล่าว การจัดตั้ง “หมู่บ้านยางพารานาโน พระจอมเกล้าลาดกระบัง” จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรและช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่แผ่นยางพาราและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนต่อไป


พบว่าคุณสมบัติของนาโนซิงออกไซด์ที่มีผลต่อการยับยั้งเชื้อราบนแผ่นยางพาราโดยการผสมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในน้ำยางพาราดิบ หลังจากนั้นนำน้ำยางที่ได้มารีดเป็นแผ่นยางแล้วนำไปตากในที่ที่ไม่มีลมพัดผ่าน สังเกตเชื้อราบนแผ่นยางพารา พบว่าชุดควบคุม แผ่นยางพารามีความยืดหยุ่นดี ไม่ฉีกขาดง่าย และมีรอยดอกยางเห็นเด่นชัด มีกลิ่นเหม็นเล็กน้อย และมีเชื้อรา 40 % ของแผ่นยางพารา สำหรับยางพาราที่มีการเติมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ แผ่นยางพาราที่ได้มีลักษณะสีใสสม่ำเสมอ ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่พบเชื้อราบนแผ่นยางพารา


http://www.nano.kmitl.ac.th/innovations/index.php/villagess/rubber.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/06/2012 5:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,659. ข้อมูลจากการสัมมนาส้ม จ.เชียงใหม่ 21-22 ก.พ.55





การจัดการดินและธาตุอาหารไม้ผล

นันทรัตน์ ศุภกำเนิด
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร


ไม้ผลเป็นพืชที่มีอายุยืนนับสิบปี เกษตรกรควรเตรียมดินให้เหมาะสมก่อนปลูก
การปลูกใหม่หรือการแก้ไขหลังปลูกจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก

จะทราบได้อย่างไรว่าดินนี้เหมาะสมต่อการปลูกพืช
ดินเป็นที่อยู่ของรากพืชซึ่งทำหน้าที่ดูดน้ำและอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของลำต้นที่อยู่เหนือดิน รากพืชต้องใช้พลังงานซึ่งได้จากการหายใจในการดูดน้ำและอาหารจากดิน ดังนั้น ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชจะต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี (การแลกเปลี่ยนออกซิเจนระหว่างอากาศในดินและอากาศเหนือดินเกิดขึ้นได้ดี) และมีธาตุอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ ยังควรมีระดับความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการละลายได้ของธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช ถ้าพืชมีการเจริญเติบโตไม่ดี ปัจจัยแรกที่ควรพิจารณาคือระบบรากของพืช เกษตรกรควรตรวจดูว่ารากมีการเจริญเติบโตเป็นอย่างไร มีปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของรากหรือไม่ โครงสร้างของดินและความสมบูรณ์ของดินมีผลต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของรากเป็นอย่างมาก การใช้มือจับหรือสัมผัสก้อนดินสำหรับผู้ที่มีความชำนาญแล้วสามารถบอกถึงเนื้อดินและความร่วนซุยของดินได้อย่างหยาบๆ แต่การวิเคราะห์ดินจะบอกได้ว่าดินนี้เหมาะสมต่อการปลูกพืชหรือไม่ เกษตรกรควรต้องมีการปรับปรุงดินอย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชที่จะปลูก นอกจากนี้ การวิเคราะห์ดินยังสามารถบอกถึงปริมาณธาตุอาหารต่างๆที่มีอยู่ในดิน ทำให้เกษตรกรทราบได้ว่าควรต้องมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มแก่พืชหรือไม่ และควรจะใส่ปุ๋ยอะไร

การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์
การเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์นั้นเกษตรกรควรเก็บตัวอย่างให้เป็นตัวแทนที่ดีของพื้นที่ที่จะเพาะปลูก การเก็บตัวอย่างผิดหรือไม่เป็นตัวแทนที่ดีจะไม่ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดิน เป็นการเสียเวลา และค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์
การเก็บตัวอย่างดินก่อนปลูก ก่อนการเก็บตัวอย่างดินนั้นเกษตรกรควรมีข้อมูลพื้นฐานของพืชที่จะปลูกก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความลึกของระบบรากเพื่อที่จะได้เก็บตัวอย่างดินตามความลึกของระบบรากพืชที่จะปลูก เช่น พืชมีระบบรากลึก 30 ซม. แต่รากส่วนใหญ่แผ่กระจายบริเวณใกล้ผิวดิน การเก็บตัวอย่างก็ควรแบ่งเป็น 2 ระดับความลึก คือ 0-15 ซม. และ 15-30 ซม. ก่อนเก็บตัวอย่างควรถากหญ้าที่ผิวดินออกก่อนแล้วใช้สว่านเจาะดินระดับ 0-15 และ 15-30 ซม. ควรเจาะดินจากหลายๆจุดแล้วนำดินที่เจาะที่ระดับความลึกเดียวกันมาผสมรวมกันก่อนแบ่งมาเพียงตัวอย่างละ 0.5 กก. เพื่อส่งวิเคราะห์ ดินที่เก็บมาควรใช้เป็นตัวแทนของดินทั้งสวนได้ ถ้าสวนมีพื้นที่ใหญ่มากก็ควรแบ่งพื้นที่สวนออกเป็นแปลงเล็กก่อน เช่น แบ่งเป็นแปลงละประมาณ 10 ไร่ และในพื้นที่ 10 ไร่นี้ก็ใช้สว่านเจาะดินประมาณ 20 จุด แล้วนำดินที่เจาะได้มาผสมรวมกัน แล้วแบ่งส่งวิเคราะห์ประมาณ 0.5 กก. ถ้าไม่มีสว่านเจาะดินก็ใช้จอบขุดดินแทนได้โดยใช้จอบขุดดินลึกเป็นรูปสามเหลี่ยมแล้วใช้พลั่วมือค่อยๆแซะดินจากผิวดินลึกลงไปตามความลึกของหลุมที่ขุดไว้ ทำแบบเดียวกันนี้หลายๆจุด นำดินที่ขุดได้มาผสมรวมกันแล้วแบ่งส่งวิเคราะห์ประมาณ 0.5 กก. เช่นเดียวกัน

การเก็บตัวอย่างดินหลังปลูก ควรเก็บดินใต้ทรงพุ่มของต้น โดยเก็บดินบริเวณชายพุ่ม เก็บรอบต้นประมาณ 3-4 จุด และเก็บจากหลายๆต้นมารวมกันแล้วแบ่งส่งวิเคราะห์ประมาณ 0.5 กก. เกษตรกรอาจแบ่งสวนเป็นแปลงเล็กก่อนเก็บดินแบบเดียวกับการเก็บตัวอย่างดินก่อนปลูกก็ได้ สำหรับระดับความลึกที่ควรเก็บขึ้นอยู่กับความลึกของระบบราก ถ้าต้นไม้ผลยังเล็กอยู่ก็เก็บดินลึก 15 หรือ 30 ซม. เมื่อต้นโตขึ้นและรากเจริญเติบโตมากขึ้นก็ควรเก็บตัวอย่างดิน 2 ระดับความลึก โดยเก็บที่ระดับความลึก 0-15 และ 15-30 หรือ 0-30 และ 30-60 ซม. แล้วแต่ความลึกของระบบราก เกษตรกรควรเก็บดินวิเคราะห์ทันทีหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วเพื่อตรวจดูคุณสมบัติของดินและระดับธาตุอาหารในดินว่าเป็นอย่างไร เกษตรกรจะต้องมีการจัดการหรือปรับปรุงดินอย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช

ส่วนประกอบของดินที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช
ดิน มีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง (solid) น้ำหรือของเหลว (liquid) และอากาศหรือแก๊ส (gas) โดยผู้เชี่ยวชาญด้านดินกำหนดว่าดินที่ดีควรมีส่วนที่เป็นของแข็ง 50% ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นอนินทรียสาร 45% และอินทรียสาร 5% และส่วนที่เป็นน้ำ และอากาศอย่างละ 25% โดยปริมาตร สำหรับสัดส่วนของน้ำและอากาศนั้นจะผันแปรตามสภาพการให้น้ำหรือการตกของฝน และความสามารถในการระบายน้ำหรือดูดยึดน้ำของดิน เช่น หลังการให้น้ำหรือฝนตกใหม่ๆส่วนของน้ำจะมีมากกว่าส่วนของอากาศ แต่เมื่อดินแห้งส่วนของอากาศจะมากกว่าส่วนที่เป็นน้ำ เป็นต้น องค์ประกอบต่างๆของดินเหล่านี้มีคุณสมบัติหรือหน้าที่ที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ
1. อนินทรียสาร. เป็นแหล่งกำเนิดของธาตุอาหารของพืชและจุลินทรีย์ดิน และเป็นส่วนที่ควบคุมลักษณะเนื้อดิน
2. อินทรียสาร. เป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดิน และเป็นส่วนที่ควบคุมโครงสร้างของดิน
3. น้ำ. ให้น้ำแก่พืชและเป็นตัวทำละลายธาตุอาหารต่างๆในดินเพื่อให้รากพืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้

4. อากาศ. ให้ออกซิเจนแก่รากพืชใช้ในการหายใจ และช่วยในขบวนการย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ดิน ดินที่มีน้ำขัง และดินที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียวที่มีการพองตัวมากช่องอากาศจะน้อยลงเมื่อดินเปียก นอกจากนี้ ขบวนการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ออกซิเจนในดินลดลง

ความเป็นกรดของดิน
ดินกรด คือดินที่มีพีเอช (pH) ต่ำกว่า 7 มี ไฮโดรเจน ไอออน (H+) อยู่ในสารละลายดิน (กรดจริง) และที่ผิวของอนุภาคดิน (กรดแฝง) ดินกรดเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นกรดหรือเกิดจากการชะล้างของฝน ยิ่งมีการชะล้างมากดินก็จะเป็นกรดมากขึ้น แต่ขบวนการเกิดดินกรดนี้ใช้เวลานานเป็นสิบหรือร้อยปี

โดยทั่วไปดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชควรมี pH เป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อย เพราะความเป็นกรดของดินมีความสำคัญอย่างมากต่อการละลายของธาตุอาหารต่างๆที่มีอยู่ในดิน เพราะธาตุอาหารในดินจะเปลี่ยนรูปเนื่องจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในดิน ปฏิกิริยาต่างๆถูกควบคุมโดย pH ของดิน เช่น เมื่อดินมี pH ต่ำกว่า 5.8 ฟอสฟอรัสจะทำปฏิกิริยากับเหล็กเกิดเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายในดิน ถ้า pH สูงกว่า 7 ฟอสฟอรัสจะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมในดินเกิดเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายเช่นกัน ดังนั้น ฟอสฟอรัสจะเป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุดเมื่อดินมี pH ระหว่าง 6-7 จะเห็นได้ว่าดินที่มีธาตุอาหารอยู่ในปริมาณที่พอเพียงต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่พืชที่ปลูกในดินนั้นแสดงอาการขาดธาตุอาหารนั้นๆได้ก็เนื่องมาจากความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่มากเกินไป นอกจากนี้ pH ดินยังมีผลต่อการเจริญของจุลินทรีย์ดินอีกด้วย เชื้อแบคที่เรียและแอคติโนมัยซิสทนต่อดินกรดน้อยกว่าเชื้อรา แต่ก็มีบางชนิดที่เจริญได้ที่ pH ต่ำกว่า 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกไธโอบาซิลัสสามารถเจริญได้แม้ pH ดินต่ำกว่า 1 ดินในบริเวณที่มีการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุจะมี pH ต่ำกว่าดินปกติประมาณ 1-2 หน่วย pH ดังนั้น ถ้าดินมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายกับพืชที่ปลูก เกษตรกรควรปรับ pH ของดินให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อโรคนั้นๆโดยที่พืชยังสามารถเจริญเติบโตได้เป็นปกติ

จะทำอย่างไรเมื่อดินเป็นกรด
เมื่อตรวจพบว่าดินเป็นกรดในระดับที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชและการละลายได้ของธาตุอาหารต่างๆในดิน ควรต้องใส่ปูนเพื่อลดความเป็นกรดของดิน ปูนที่ใช้ในการเกษตรส่วนใหญ่เป็นสารประกอบออกไซด์ ไฮดรอกไซด์ คาร์บอเนต และซิลิเกตของแคลเซียมและแมกนีเซียม มากกว่า 90% ของปูนที่ใช้ในการเกษตรที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปและหาซื้อได้ง่าย ได้แก่ ปูนขาว ปูนโดโลไมท์ หินฝุ่น และ ปูนมาร์ล อย่างไรก็ตาม มีปูนบางชนิดที่ไม่สามารถปรับพีเอชของดินได้ เช่น ปูนยิปซั่ม แต่การใส่ปูนยิปซั่มจะเพิ่มธาตุแคลเซียมให้แก่ดิน ดังนั้น เกษตรกรต้องเลือกใช้ปูนให้เหมาะสมกับดินและวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงดินด้วย นอกจากนี้ การใช้ปุ๋ยเคมีบางชนิดที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น โซเดียมไนเตรท โพแทสเซียมไนเตรท แคลเซียมไนเตรท และแมกนีเซียมออกไซด์ ก็สามารถลดความเป็นกรดของดินได้แต่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมโดยพิจารณาถึงความสมดุลของธาตุอาหารในดินด้วย

ข้อคิดในการใส่ปูน
1. จะใช้ปูนประเภทไหน ควรใช้ปูนที่ทำปฏิกิริยาสะเทินความเป็นกรดได้เร็วกรณีที่ต้องการปรับปรุงพื้นที่ปลูกก่อนปลูกพืช และเลือกใช้ปูนที่ทำปฏิกิริยาสะเทินความเป็นกรดได้ช้ากรณีที่ต้องการปรับปรุงดินใต้ทรงพุ่มของพืชที่ปลูก ควรใช้ปูนที่มีธาตุแคลเซียมธาตุเดียวถ้าดินนั้นเป็นกรดและมีธาตุแมกนีเซียมเพียงพอแล้ว หรือเลือกใช้ปูนที่มีธาตุแมกนีเซียมด้วยถ้าดินนั้นเป็นกรดและมีธาตุแมกนีเซียมต่ำ

2. ความหยาบความละเอียดของปูนควรเป็นอย่างไร ปูนที่มีความละเอียดจะสะเทินความเป็นกรดของดินได้เร็วกว่าปูนที่มีเนื้อหยาบเพราะมีพื้นที่ผิวสัมผัสกับอนุภาคดินมากกว่า ทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้เร็ว ดังนั้น ถ้าต้องการปรับ pH ของดินอย่างเร็วก็ควรใช้ปูนที่มีความละเอียด แต่ถ้าต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆก็ต้องใช้ปูนที่มีขนาดค่อนข้างหยาบ

3. ควรใส่ปูนเท่าไร ดินที่มีค่า pH เท่ากันอาจต้องการปริมาณปูนมาสะเทินความเป็นกรดไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นกรดแฝงของดินนั้นๆ ดินเหนียวมีความเป็นกรดแฝงมากกว่าดินทราย ที่ pH เท่ากันดินเหนียวจะมีความต้องการปูนในปริมาณที่มากกว่าดินทราย และที่ pH ที่เท่ากันดินที่มี CEC สูง มีความต้องการปูนมากกว่า
ดินที่มี CEC ต่ำ ดังนั้น ในดินที่มี pH เท่ากันดินที่มีปริมาณอินทรีย์วัตถุสูงจะมีความต้องการปูนมากกว่าดินที่มีปริมาณอินทรีย์วัตถุต่ำ

4. ควรใส่ปูนเมื่อไร โดยทั่วไปควรใส่ปูนก่อนการปลูกพืช หรือใส่ปูนก่อนการใส่ปุ๋ยแก่พืชอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยาสะเทินความเป็นกรดของดินก่อน

5. ควรใส่ปูนอย่างไร ปฏิกิริยาสะเทินความเป็นกรดของดินจะเกิดได้เร็วถ้ามีการใส่ปูนให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับดินมากที่สุดและดินต้องมีความชื้นที่พอเหมาะ การหว่านปูนเพื่อปรับ pH ดินใต้ทรงพุ่มควร หว่านโดยรอบทรงพุ่มจากบริเวณชายพุ่มเข้ามาครึ่งหนึ่งของรัศมีทรงพุ่ม

จะทำอย่างไรเมื่อดินเป็นด่าง
ดินด่าง คือดินที่มี pH สูงกว่า 7 ดินจะมีธาตุที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง (basic cation) เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และ โซเดียม ดูดซับอยู่ที่ผิวอนุภาคดิน ดินด่างจะแก้ไขค่อนข้างยากกว่าดินกรด ดินต้องมีการชะล้างเป็นเวลานานจึงจะเปลี่ยนเป็นดินกรดได้ วัสดุที่ใช้ในการแก้ไขดินด่าง คือ กำมะถันผงซึ่งมีราคาแพง การเลือกใช้ปุ๋ยที่มีฤทธิ์ตกค้างเป็นกรด เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต แอมโมเนียม คลอไรด์ โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต และไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ก็เป็นวิธีการแก้ไขดินด่างที่ได้ผลวิธีการหนึ่งแต่ต้องใช้เวลานาน สำหรับเกษตรกรที่มีการให้ปุ๋ยทางระบบน้ำแก่พืชอาจเลือกใช้กรดที่มีธาตุอาหารที่ต้องการเป็นองค์ประกอบให้เป็นแหล่งของธาตุอาหารพืชและใช้ปรับลดความเป็นด่างของดินด้วยในเวลาเดียวกัน กรดที่นิยมใช้ในการเกษตรได้แก่ กรดไนตริค และกรดฟอสฟอริค ซึ่งให้ธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ตามลำดับ

โครงสร้างดินไม่ดีควรทำอย่างไร
โครงสร้างดิน เป็นการเกาะตัวกันของอนุภาคดินเป็นเม็ดดินหรือก้อนดิน มีขนาดเล็กขนาดเม็ดทรายหรือขนาดใหญ่หลายเซนติเมตร ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่เรียกว่า peds หรือเกิดจากการไถพรวนที่เรียกว่า clods ช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างก้อนดินจะมีขนาดใหญ่เป็นที่อยู่ของอากาศ แต่ช่องว่างภายในก้อนดินจะมีขนาดเล็กเป็นที่อยู่ของน้ำทำให้ดินมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำไว้ได้ อนุภาคดินที่มีการเกาะตัวกันอย่างดีจะมีช่องขนาดใหญ่และมีความต่อเนื่องของช่องทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี ดินแน่นทึบเกินไปจะมีการระบายน้ำไม่ดี หรือดินโปร่งเกินไปก็จะไม่อุ้มน้ำ ฮิวมัสจัดเป็นสารเชื่อมอนุภาคดินให้เกาะตัวกันได้ดี ดังนั้นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินเหล่านี้จะช่วยให้ดินมีโครงสร้างที่ดีขึ้น ดินที่แน่นทึบก็จะร่วนซุยขึ้น มีการระบายน้ำดีขึ้น ส่วนดินทรายเนื้อหยาบก็จะมีการเกาะตัวกันมากขึ้น ทำให้มีการอุ้มน้ำได้มากขึ้น ดินดูดซับธาตุอาหารไว้ได้มากขึ้น การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินทำได้โดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก การปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ

ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำควรทำอย่างไร
พืชมีความต้องการธาตุอาหารในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชมีอยู่ด้วยกัน 16 ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งพืชได้มาจากอากาศและน้ำ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส ทองแดง โบรอน สังกะสี โมลิบดีนัม และ คลอรีนซึ่งพืชได้มาจากดิน อินทรีย์วัตถุในดินเป็นแหล่งสะสมหลักของธาตุอาหารที่มีประจุลบ (nutrient anions) ในปริมาณมาก การสลายตัวของอินทรีย์วัตถุโดยกิจกรรมของแบคทีเรีย รา และแอคติโนมัยซิสจะทำให้ธาตุอาหารเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ 95% ของไนโตรเจน 50% หรือมากกว่าของฟอสฟอรัส และ 80% ของกำมะถันทั้งหมดในดินเป็นองค์ประกอบอยู่ในอินทรีย์วัตถุ นอกจากนี้ แหล่งสะสมของโบรอน และโมลิบดีนัมในดินก็อยู่ในอินทรีย์วัตถุ และยังดูดซับอยู่กับออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัม และสารประกอบไฮดรอกไซด์

เนื่องจากธาตุอาหารในดินที่อยู่ในรูปของสารละลายดินจะถูกดูดไปโดยรากพืช ธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกทดแทนได้จากธาตุต่างๆที่ดูดซับอยู่ที่แร่ดินเหนียวในดิน และที่ฮิวมัสโดยขบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (cation exchange) หรือโดยการสลายตัวอย่างช้าๆของแร่ธาตุในดินและโดยการสลายตัวอย่างรวดเร็วของอินทรีย์วัตถุในดิน อย่างไรก็ตาม อัตราการทดแทนของธาตุอาหารเหล่านี้ช้ากว่าอัตราที่พืชดูดไปจากดินเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ดังนั้น เมื่อตรวจพบว่าปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชในดินมีอยู่น้อย เกษตรกรควรต้องเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินในรูปของปุ๋ย


บทบาทและหน้าที่ของธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช
ไนโตรเจน. เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ โปรตีน และกรดนิวคลีอิค พืชดูดใช้ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม หรือไนเตรท พืชสามารถใช้ไนโตรเจนในอากาศได้โดยผ่านขบวนการตรึงไนโตรเจน (nitrogen fixation) ของจุลินทรีย์บางชนิดที่เฉพาะเจาะจง ส่วนไนโตรเจนในดินนั้นพืชได้จากการสลายตัวอย่างช้าๆของอินทรีย์วัตถุโดยขบวนการ mineralization ได้ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม และขบวนการ nitrification ได้ไนโตรเจนในรูปไนเตรท

ฟอสฟอรัส. เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิค และนิวคลีโอโปรตีนซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลและเป็นองค์ประกอบของสารฟอสเฟตที่เป็นแหล่งสะสมและถ่ายทอดพลังงานระหว่างสารต่างๆในการเคลื่อนย้ายสารประกอบเคมีของระบบต่างๆภายในพืช เช่น การหายใจ และการสังเคราะห์แสง เป็นต้น ดินทั่วๆไปจะมีฟอสฟอรัสต่ำเนื่องจากแร่ธาตุฟอสเฟสอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช พืชดูดฟอสฟอรัสในรูป mono และ di hydrogen phosphate (HPO4=และ H2PO4-) แต่ฟอสฟอรัสทั้ง 2 ชนิดนี้ถูกตรึงในดินโดยตกตะกอนเป็นสารประกอบที่ละลายยากก่อนที่พืชจะดูดไปใช้ได้

โพแทสเซียม. เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างที่สำคัญของเอ็นไซม์หลายชนิด ช่วยในขบวนการสร้างแป้งและน้ำตาลตลอดจนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลไปยังส่วนต่างๆของพืช นอกจากนี้ยังช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน การแบ่งเซลล์ และช่วยให้พืชต้านทานต่อโรคพืชบางชนิด พืชดูดโพแทสเซียมในรูปของโพแทสเซียมไอออน (K+) ซึ่งได้มาจากโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่ดูดซับอยู่ที่ผิวอนุภาคดินและจากโพแทสเซียมที่ละลายอยู่ในสารละลายดิน

แคลเซียม. มีความสำคัญต่อการแบ่งเซลล์ แคลเซียมเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างที่สำคัญของผนังเซลล์ ช่วยในการเจริญเติบโตของส่วนยอดและรากพืช นอกจากนี้แคลเซียมยังส่งเสริมให้มีการดูดไนเตรทไนโตรเจนมากขึ้น ดังนั้นจึงมีบทบาทสำคัญทางอ้อมต่อการสร้างโปรตีน พืชดูดใช้แคลเซียมในรูปของแคลเซียมไอออน (Ca++) เนื่องจากแคลเซียมเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในท่ออาหาร การขาดแคลเซียมจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชส่วนที่ยังอ่อนอยู่ ดังนั้นจึงควรพ่นแคลเซียมให้กับพืชหลังการติดผล

แมกนีเซียม. เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ ดังนั้นจึงเกี่ยวข้องกับขบวนการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้แมกนีเซียมยังทำหน้าที่เป็นตัวพาฟอสเฟตทำให้เกิดปฏิกิริยา phosphorylation คือ การเปลี่ยนสารประกอบอินทรีย์เป็นสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟต และเป็นตัวกระตุ้นเอ็นไซม์พืชหลายชนิดที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต พืชดูดใช้แมกนีเซียมในรูปของแมกนีเซียมไอออน (Mg++) แมกนีเซียมเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ในท่ออาหารจึงสามารถเคลื่อนย้ายจากส่วนของพืชที่แก่ไปยังส่วนที่อ่อนได้ นอกจากนี้ พืชยังต้องการแมกนีเซียมเพื่อให้สมดุลกับการใช้โพแทสเซียม

กำมะถัน. เป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ช่วยในการสร้างปมที่รากของพืชตระกูลถั่วซึ่งเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ไรโซเบียมที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศ มีความสำคัญในขบวนการสังเคราะห์โปรตีนเพราะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโปรตีนบางชนิด นอกจากนี้กำมะถันยังเป็นส่วนประกอบในน้ำมันที่ให้กลิ่นเฉพาะของพืชบางชนิด เช่น กระเทียม และหอม พืชดูดใช้กำมะถันในรูปซัลเฟต (SO4=) แต่ในพื้นที่ที่มีสารประกอบกำมะถันในบรรยากาศในปริมาณมากนั้นกำมะถันอาจถูกดูดซึมทางใบได้ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงมักไม่ขาดกำมะถันเพราะอินทรีย์วัตถุมีกำมะถัน 70-90% ของกำมะถันในดิน

เหล็ก. พืชดูดใช้เหล็กในรูป Fe++ เหล็กเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ เป็นตัวกระตุ้นในกระบวนการทางชีวเคมี เช่น การหายใจ การสังเคราะห์แสง และการตรึงไนโตรเจน (symbiotic nitrogen fixation)

แมงกานีส. พืชดูดใช้แมงกานีสในรูป Mn++ แมงกานีสเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ เป็นตัวกระตุ้นสำหรับเอ็นไซม์ในกระบวนการเจริญเติบโตของพืช

ทองแดง. พืชดูดใช้ทองแดงในรูป Cu++ ทองแดงเป็นตัวกระตุ้นสำหรับเอ็นไซม์หลายชนิดและมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเม็ดสีที่มีผลต่อสีของพืช

โบรอน. พืชดูดใช้โบรอนในรูปของกรดบอริค (H3BO3) โบรอนมีหน้าที่เกียวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของ meristematic cells และควบคุม metabolisms ของคาร์โบไฮเดรทในพืช โบรอนมีผลต่อความมีชีวิตของละอองเกสร ไม้ผลส่วนมากต้องการโบรอนในระยะแรกของการติดผล ดังนั้น การพ่นโบรอนทางใบจะจำเป็นในระยะนี้

สังกะสี. พืชดูดใช้สังกะสีในรูป Zn++ สังกะสีเป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์หลายระบบในพืช และเป็นตัวควบคุมการสังเคราะห์ IAA ซึ่งเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่สำคัญ

ปุ๋ยคืออะไร
ปุ๋ย คือสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ใดๆที่ใส่ในดินแล้วให้ธาตุอาหารพืช แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ
1.1 ปุ๋ยคอก ได้แก่มูลสัตว์ต่างๆ เป็นแหล่งสำคัญของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช

1.2 ปุ๋ยหมัก ได้แก่ การนำเศษพืชต่างๆมาหมัก เศษพืชที่มีค่า C/N ratio กว้างจะย่อยสลายได้ช้า ดังนั้น จึงมีการเติมธาตุอาหารไนโตรเจนให้แก่กองปุ๋ยหมัก ในการหมักสัดส่วนของคาร์บอน/ไนโตรเจนจะต้องแคบเข้าจนกระทั่งมีค่าประมาณ 15/1 จึงจะสามารถนำไปใส่ให้แก่พืชได้โดยที่ไม่มีการแย่งธาตุอาหารไนโตรเจนในดินจากพืช นอกจากนี้ในระหว่างการหมักอาจมีการเติมธาตุอาหารอื่นๆนอกเหนือจากการเติมธาตุไนโตรเจน

1.3 ปุ๋ยพืชสด ได้แก่ พืชชนิดต่างๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่วต่างๆที่ถูกไถกลบลงไปในดิน พืชตระกูลถั่วมีแบคที่เรีย (จัดเป็นปุ๋ยชีวภาพ) อาศัยอยู่ที่รากและสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ โดยปกติจะไถกลบเมื่อพืชตระกูลถั่วกำลังออกดอกเพราะเป็นระยะที่พืชตระกูลถั่วมีธาตุอาหารอยู่ในต้นสูงที่สุด การเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินโดยการใช้ปุ๋ยพืชสดเป็นวิธีการที่นิยมใช้ปรับปรุงดินก่อนการปลูกพืชเพราะสามารถทำได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารไนโตรเจนแก่ดิน

1.4 ปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารในดินเป็นประโยชน์กับพืช นิยมเรียกปุ๋ยชนิดนี้อีกอย่างหนึ่งว่า “ปุ๋ยจุลินทรีย์” เช่น ไรโซเบียม และไมโคไรซา เป็นต้น

2. ปุ๋ยอนินทรีย์ ได้แก่ปุ๋ยเคมีต่างๆซึ่งสามารถแบ่งออกได้ตามชนิดของธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบหลักของปุ๋ยนั้นๆ
2.1 ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารหลัก คือ ปุ๋ยไนโตรเจน (46-0-0, 21-0-0, 15-0-0) ปุ๋ยฟอสฟอรัส (0-46-0, 0-20-0, 18-46-0, 0-52-34, 0-3-0) ปุ๋ยโพแทสเซียม (0-0-60, 0-0-50, 13-0-46)

2.2 ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารรองซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัสดุปูนที่ใช้ในการเกษตร เช่น ปูนขาว ปูนโดโลไมท์ หินปูนบด หินฝุ่น และที่อยู่ในรูปของปุ๋ยและสารเคมี เช่น แคลเซียมไนเตรท แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมซัลเฟต (ยิบซั่ม) แมกนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ กลีเซอร์ไรท์) และผงกำมะถัน

2.3 ปุ๋ยที่ให้จุลธาตุอาหารซึ่งพืชต้องการใช้ในปริมาณน้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของปุ๋ยเกล็ดที่มีทุกธาตุรวมกันสำหรับใช้พ่นทางใบ แต่ที่อยู่ในรูปสารเคมีที่ใช้เป็นปุ๋ยเดี่ยวให้ทางดินและใบได้ คือ ทองแดง (คอปเปอร์ซัลเฟต) โบรอน (บอแรกซ์ กรดบอริค) เหล็ก (เหล็กซัลเฟต) แมงกานีส (แมงกานีสซัลเฟต แมงกานีสคลอไรด์) และสังกะสี (สังกะสีซัลเฟต สังกะสีออกไซด์) และอยู่ในรูปของสารประกอบคีเลทที่มีราคาแพง เช่น เหล็กคีเลท และแมงกานีสคีเลท เป็นต้น

ข้อควรคำนึงในการใส่ปุ๋ย
ในการใส่ปุ๋ยแก่พืชเกษตรกรไม่ควรใส่ชิดโคนต้นแต่ควรใส่ให้ห่างโคนต้นอย่างน้อย 30 ซม. หรือในกรณีที่พืชมีทรงพุ่มขนาดใหญ่ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยโดยการหว่านโดยรอบทรงพุ่มจากบริเวณชายพุ่มเข้ามาถึงประมาณครึ่งหนึ่งของรัศมีทรงพุ่ม และเพื่อให้การใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งมีการสูญเสียน้อยและพืชได้รับประโยชน์มากที่สุด เกษตรกรควรปฏิบัติดังนี้
1. เลือกชนิดของปุ๋ยที่ใส่ให้ถูกต้อง (right kind)
2. ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะ (right amount)
3. ใส่ปุ๋ยในเวลาที่พืชต้องการ (right time)
4. ใส่ปุ๋ยในบริเวณที่พืชเอาไปใช้ได้ง่าย (right place)

หลักการให้ธาตุอาหารแก่พืช
เกษตรกรต้องเข้าใจว่า
1. ในบรรดาธาตุอาหารที่พืชต้องการไม่ว่าจะมากหรือน้อย ธาตุที่มีอยู่น้อยจะเป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโตของพืช หรืออาจกล่าวได้ว่าพืชจะมีการตอบสนองต่อธาตุอาหารที่ใส่เมื่อดินขาดธาตุนั้นหรือมีธาตุนั้นอยู่ในปริมาณที่ต่ำ

2. การที่ใส่ธาตุอาหารเพิ่มแล้วมีการตอบสนองเพียงเล็กน้อยไม่ได้หมายความว่าถ้าใส่ธาตุอาหารให้มากขึ้นพืชจะมีการตอบสนองมากขึ้นหรือมีการเจริญเติบโตมากขึ้น

การเคลื่อนที่ของธาตุอาหารในดิน
ธาตุอาหารเมื่อใส่ลงในดินจะมีความสามารถในการเคลื่อนย้ายในดินได้แตกต่างกัน เนื่องจากความแตกต่างในการละลายได้ของธาตุปุ๋ยนั้นๆ และชนิดของประจุของธาตุปุ๋ยหรืออนุมูลปุ๋ย สามารถแบ่งกลุ่มธาตุอาหารตามการเคลื่อนที่ได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ธาตุที่เคลื่อนที่ได้ ได้แก่ ไนโตรเจนในรูปของไนเตรท กำมะถัน โบรอน โซเดียม และคลอรีน
2. ธาตุที่เคลื่อนที่ได้บ้าง ได้แก่ ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม
3. ธาตุที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แก่ ฟอสฟอรัส แมงกานีส เหล็ก ทองแดง สังกะสี และโมลิบดีนัม


การให้ปุ๋ยทางใบ
การพ่นปุ๋ยทางใบเป็นการให้ธาตุอาหารแก่พืชทีละน้อย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับการให้พวกจุลธาตุอาหารซึ่งพืชต้องการในปริมาณน้อยกว่าธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง แต่ก็มีบ้างที่มีการให้ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองทางใบ อย่างไรก็ตาม การให้ปุ๋ยทางใบเป็นสิ่งจำเป็นในสถานการณ์ต่อไปนี้ คือ
1. พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหาร
2. ดินหรือรากพืชมีปัญหา ทำให้รากพืชไม่สามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ได้
3. พืชติดผลดกมาก ต้องให้เสริมมากขึ้นนอกเหนือจากการให้ทางดิน
4. พืชต้องการเพียงเล็กน้อย

จะทราบได้อย่างไรว่าพืชขาดอาหาร
ลักษณะการขาดธาตุอาหารแต่ละชนิดของพืชเป็นลักษณะที่เฉพาะเจาะจง โดยทั่วๆไป อาการผิดปกติมักปรากฏที่ใบและถ้าขาดรุนแรงอาการจะปรากฏที่ผล เนื่องจากธาตุอาหารต่างๆมีความสามารถในการเคลื่อนย้ายในต้นพืชได้แตกต่างกัน อาการผิดปกติที่ใบเนื่องจากการขาดธาตุอาหารต่างกันจะปรากฏในตำแหน่งใบที่ต่างกัน แต่เมื่ออาการผิดปกติเหล่านี้ปรากฏให้เห็นย่อมหมายถึงว่าอาการขาดธาตุอาหารนั้นๆอยู่ในระยะที่รุนแรง พืชที่เริ่มขาดอาหารมักไม่ปรากฏอาการผิดปกติใดๆให้เห็นแต่จะมีผลกับปริมาณและคุณภาพของผลผลิต การวิเคราะห์พืชเป็นวิธีการที่บอกให้ทราบว่าพืชที่ปลูกอยู่นั้นเริ่มขาดอาหารหรือยัง แต่การแปลผลค่าวิเคราะห์พืชจะมีความถูกต้องและเกิดประโยชน์ได้นั้นต้องเริ่มจากการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้อง เกษตรกรควรปรึกษานักวิชาการเกษตรเพื่อขอคำแนะนำในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้อง

การวินิจฉัยและการคาดคะเนการขาดธาตุอาหาร
เกษตรกรสามารถวินิจฉัยหรือคาดคะเนการขาดธาตุอาหารในพืชได้โดยการสังเกตการเจริญเติบโตหรืออาการผิดปกติของพืช จากการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน และจากการวิเคราะห์ธาตุอาหารในพืช อย่างไรก็ตาม แต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน การใช้ทุกวิธีร่วมกันจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

การวินิจฉัยจากการวิเคราะห์ดิน
การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดินจะบอกให้ทราบได้ว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์เพียงใด โดยปกติเกษตรกรควรเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์เพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนปลูก และเพื่อปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช และควรวิเคราะห์ดินทุก 1-2 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละปีจะได้ทราบว่าธาตุอาหารในดินเหลืออยู่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพหรือมีแนวโน้มว่าพืชจะขาดธาตุอาหารถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมให้แก่ดิน จากผลการวิเคราะห์ดินพบว่าบางครั้งแม้ว่าดินจะมีธาตุอาหารอยู่มากพอแต่พืชก็ยังมีอาการผิดปกติให้เห็นได้ ในกรณีนี้การปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีหรือกายภาพของดินอาจช่วยให้พืชเจริญเติบโตเป็นปกติได้ โดยทั่วไปนักวิชาการเกษตรจะแนะนำให้เกษตรกรปรับปรุงดินให้มี pH 6-6.5 ซึ่งเป็นช่วง pH ที่ธาตุอาหารส่วนใหญ่ในดินมีความเป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด ดินที่ปลูกไม้ผลโดยทั่วไปควรมีธาตุอาหารอยู่ในเกณฑ์ดังแสดงในตารางที่ 1

การวินิจฉัยจากการสังเกตอาการ
อาการขาดธาตุอาหารส่วนใหญ่เป็นลักษณะค่อนข้างเฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละธาตุ ถ้าเกษตรกรมีความคุ้นเคยกับอาการต่างๆที่พืชแสดงออกเกษตรกรจะสามารถวินิจฉัยสาเหตุของความผิดปกติของต้นไม้ที่ปลูกได้จากการสังเกตดูอย่างใกล้ชิด แต่ก็มีอาการขาดของบางธาตุที่คล้ายกันมากจนยากที่จะระบุได้อย่างถูกต้องจากการสังเกต และถ้ามีการขาดมากกว่า 1 ธาตุก็ยิ่งทำให้การวินิจฉัยทำได้ยากขึ้น ต้องอาศัยความชำนาญ หรือมีผลการวิเคราะห์พืชและดินเข้าช่วยด้วย

การวินิจฉัยจากการวิเคราะห์ใบ
เนื่องจากพืชอาจมีการขาดธาตุอาหารแอบแฝง (Hidden hunger) โดยที่ยังไม่แสดงอาการให้เห็นถ้าการขาดธาตุอาหารไม่รุนแรง การวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบพืชและนำผลวิเคราะห์มาเทียบกับค่ามาตรฐาน จะบอกให้ทราบได้ว่าพืชนั้นๆมีความสมบูรณ์อยู่ในระดับใด ดังนั้น เกษตรกรจึงควรมีการตรวจวัดระดับความสมบูรณ์ของพืชอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละปีเพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันต่อเวลา



ตารางที่ 1 สมบัติดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชสวนโดยทั่วไป

สมบัติดิน......................ค่าที่เหมาะสม.......................การแก้ไขปรับปรุง

พีเอช (pH) 6-7..............ดินกรดใส่ปูน........................ดินด่างใส่กำมะถันผงหรือใช้ปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นกรด
อินทรียวัตถุ (OM; %)........2.5-3..............................ใสปุ๋ยอินทรีย์
ฟอสฟอรัส (P; ppm).........26-42.............................ใส่ปุ๋ย 0-46-0, 18-46-0, 0-52-34, 0-42-56
โพแทสเซียม (K;ppm).......130.................................ใส่ปุ๋ย 0-0-60, 0-0-50, 13-0-46
แคลเซียม (Ca; ppm)........1,040..............................ใส่ปูน หรือใส่ปุ๋ย 15-0-0
แมกนีเซียม (Mg; ppm)......135.................................ใส่ปูนโดโลไมท์ ดีเกลือ กลีเซอร์ไรท์
เหล็ก (Fe; ppm).............11-16...............................พ่นเหล็กคีเลท เหล็กซัลเฟต
แมงกานีส (Mn; ppm)........9-12................................พ่นแมงกานีสคีเลท แมงกานีสซัลเฟต
ทองแดง (Cu; ppm)..........0.9-1.2............................พ่นจุนสี
โบรอน (B; ppm)..............0.6-1.2............................พ่นบอแร็กซ์ โซลูบอร์
สังกะสี (Zn; ppm)............0.9-3...............................พ่นสังกะสีคีเลท สังกะสีซัลเฟต

โดยสรุปจะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์ดินเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้จัดการดินและธาตุอาหารให้แก่พืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการวิเคราะห์พืชจะช่วยให้เกษตรกรสามารถทราบสาเหตุของอาการผิดปกติของพืชและสามารถจัดการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง โดยที่เกษตรกรต้องเก็บตัวอย่างดินและพืชให้เป็นตัวแทนที่ดีที่สุด

"เกษตรกรไทยจะก้าวหน้า ต้องรู้จักพึ่งพาเทคโนโลยีการวิเคราะห์ดินและพืช"



http://www.kehakaset.com/index.php?option=com_content&view=article&id=685:-21-22-55-3&catid=38:information
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 60, 61, 62 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 61 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©