-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 53, 54, 55 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/01/2012 8:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง...


1,461. ดินกับการเจริญเติบโตของพืช
1,462. วิธีการ "แกล้งดิน" ตามพระราชดำริ
1,463. บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร
1,464. ประโยชน์จากฟางข้าว
1,465. ปุ๋ยอินทรีย์มาจากไหน ?

1,466. ฮิวมัส (humus)
1,467. ความสำคัญของจุลินทรีย์
1,468. ความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์
1,469. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์
1,470. โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดากับจุลินทรีย์

1,471. การขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และการเพิ่มผลผลิตพืชโดยเทคโนโลยี
1,472. ข้อดีและข้อจำกัด ในการใช้ปุ๋ยทางใบ
1,473. การตอบสนองของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ต่อการให้น้ำในปริมาณจำกัด
1,474. วิธีการใส่ปุ๋ย
1,475. ผลกระทบอุทกภัยปลายปี 54 ต่อการผลิตข้าวนาปรัง ปี 55

1,476. ลดการพึ่งพาสารเคมี สุขภาพดี ชีวีมั่นคง
1,477. แนะทางรอดชาวสวนส้มโอชัยนาท (2)
1,478. สหกรณ์รับมือการเข้าสู่... "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"
1,479. ปรับระบบการปลูกข้าวนาปี
1,480. อวดโฉมสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีทางการเกษตร มทร.ธัญบุรี

1,481. พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ...คือกฎหมายของเกษตร
1,482. แขกติดใจข้าวไทย
1,483. ใช้น้ำ สู้เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง... ทางออกที่น่าสน
1,484. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว



--------------------------------------------------------------------------------------------------





1,461. ดินกับการเจริญเติบโตของพืช


สิ่งที่พืชต้องการจากดิน ได้แก่ ที่หยั่งรากเพื่อการพยุง ยึดต้น ตั้งตรง ก๊าซออกซิเจนให้รากหายใจ น้ำและแร่ธาตุอาหารที่รากดูดเข้าไปใช้ สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในสมบัติต่าง ๆ ของดินในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชดังนี้

ความลึกของดินที่รากหยั่งลึกได้ โดยปกติรากพืชมีอยู่หนาแน่นในดินผิวบนที่โปร่ง ร่วนซุย หรือดินที่มีก๊าซออกซิเจนมากพอต่อการหายใจ มีรากบางส่วนที่แทรกตัวลึกเพื่อหาน้ำจากดินล่างที่อยู่ลึกลงไป จนถึงชั้นหินพื้นหรือเหนือระดับน้ำใต้ดิน พืชล้มลุกต้นเล็กต้องการความลึกของดินเพียง 10–30 เซนติเมตร แต่ต้นไม้ใหญ่ต้องการมากกว่า 5–20 เมตร (ในปริมาตรดินลึก 20–30 เซนติเมตร) ถ้าดินมีสภาพเหมาะสมต่อการแพร่กระจายและหยั่งลึกของรากพืช มีโอกาสได้อาหาร แร่ธาตุและน้ำมากยิ่งขึ้น พืชมีโอกาสเจริญเติบโตมากขึ้น ข้อจำกัดของการหยั่งรากลึกของพืชอยู่ที่ปริมาณของก๊าซออกซิเจน ความอัดแน่นหรือแน่นทึบของชั้นแผ่นหิน ชั้นดินดาน และระดับน้ำใต้ดิน

เนื้อดิน หรือความหยาบ ความละเอียดของดิน เกี่ยวข้องกับความพรุน (ขนาดของช่องว่างและความต่อเนื่องของช่อง) การอุ้มน้ำ การกักเก็บน้ำ การซึมซาบของน้ำ การถ่ายเทอากาศ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำในดิน และปริมาณอาหารแร่ธาตุของดิน “ดินเนื้อหยาบ” (ดินหยาบ) ไม่มีอาหารแร่ธาตุ ไม่อุ้มน้ำ ไม่กักเก็บน้ำ น้ำซึมซาบอย่างรวดเร็ว อากาศถ่ายเทดี น้ำเคลื่อนที่หนีหายได้เร็ว จึงไม่เหมาะสมต่อการทำนา “ดินเนื้อละเอียด” (ดินเหนียวจัด) อุ้มน้ำดี กักเก็บน้ำได้ดี น้ำซึมซาบได้ช้า ถ่ายเทอากาศเลว น้ำเคลื่อนที่ขึ้นลงช้า ปริมาณอาหารแร่ธาตุมักอุดมสมบูรณ์ จึงไม่เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลในเขตที่มีฤดูแล้งยาวนาน และไม่มีน้ำชลประทานช่วยเสริม เนื้อดินที่พึงประสงค์คือ “ดินร่วน” ซึ่งอุ้มน้ำ การกักเก็บน้ำ การซึมซาบน้ำ การถ่ายเทอากาศ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำและปริมาณของอาหาร แร่ธาตุในระดับปานกลาง เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลหรือพืชไร่ หรือ ทำนาข้าว

ปริมาณอนุภาคดินเหนียวและอินทรีย์วัตถุในดิน เกี่ยวข้องกับเนื้อดิน โครงสร้างดินและความจุในการจับอาหารแร่ธาตุประจุบวก ซึ่งเกี่ยวกับปริมาณอาหารแร่ธาตุในดิน ความเป็นกรด เป็นด่างของดิน ปริมาณอนุภาคดินเหนียวควรอยู่ระหว่าง 10-30% ถ้าต่ำกว่า 10% ไม่เหมาะสมเนื่องจาก น้ำเคลื่อนที่เร็วเกินไป อาหารแร่ธาตุต่ำ การเปลี่ยนแปลงระดับความเป็นกรดรวดเร็ว หรือถ้าสูงกว่า 39% ดินมีโอกาสระบายน้ำช้ามาก การถ่ายเทอากาศเลว การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำช้าจนเกินไปไถพรวนยาก การเปลี่ยนแปลงสภาพความชื้นของดิน จากดินน้ำขังมาเป็นดินชื้นช้ามาก ทำให้เปลี่ยนชนิดพืชจากนาข้าวมาเป็นพืชไร่ สวนผัก-พืชสวนชักช้าออกไปเสียโอกาสปลูกพืชตามหลังข้าว

ระดับความเป็นกรด–ด่างของดิน (หรือ pH ของดิน) ระดับความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต ประมาณ 5.5 ถึง 6.5 ดินจะมีสภาวะที่เหมาะสมต่อสัดส่วนของปริมาณอาหาร แร่ธาตุต่าง ๆ ในสารละลายดิน ถ้าค่า pH สูงหรือต่ำกว่านี้ สัดส่วนของธาตุบางธาตุผิดปกติไปคือ ธาตุหนึ่งอาจมากเกินไป ขณะเดียวกันธาตุอื่นอาจน้อยเกินไป

ปริมาณอาหารแร่ธาตุต่างๆ ของดิน บริเวณรากหยั่งตลอดเวลาที่พืชเจริญเติบโต พืชต้องการใช้อาหารแร่ธาตุจำนวนหนึ่งตลอดเวลาตั้งแต่ต้นกล้าถึงต้นแก่ตายไป ปริมาณแต่ละธาตุไม่เท่ากันทุกธาตุแต่ละช่วงการเจริญเติบโตก็ต้องการในสัดส่วนของธาตุที่แตกต่างกัน ดินบริเวณรากหยั่งจึงต้องมีธาตุอาหารในสารละลายดินครบในปริมาณมากเกินกว่าที่พืชต้องการจริง ๆ ตลอดเวลา เพื่อให้พืชเลือกดูดกินเข้าไปใช้

ปริมาณสารพิษ (ต่อพืช) ในสารละลายดินหรือวัสดุหยั่งรากขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ สารพิษแต่ละชนิดมีอัตราความเข้มข้น/ปริมาณที่จะเป็นพิษต่อพืชต่างกัน เกณฑ์กำหนดการวิเคราะห์จากตัวอย่างดินเท่าที่มีรายงานและเป็นที่ยอมรับกันมีดังนี้

ปริมาณเกลือละลายได้ในน้ำในสารละลายดิน (ความเค็มของดิน) ใช้เกณฑ์ค่า EC sat. ของดิน (ค่าการในไฟ้ฟ้าของน้ำที่สกัดมาจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ) ถ้าเกิน 4.0 ds/m จัดเป็นดินเค็มที่มีปริมาณเกลือละลายได้มากพอที่จะละผลผลิตลงมาต่ำกว่า 50 % ของผลผลิตในดิน

ปริมาณเฟอรัสไอออน (Fe4+) ในสารละลายดินมากกว่า 10 ต่อล้านส่วน (พืชไร, ดินชื้น) และมากกว่า 200 ต่อล้านส่วน (ข้าว, ดินน้ำขัง) เป็นอันตรายต่อพืชถึงตาย

ปริมาณอลูมินัมไอออน (Al3+) ในสารละลายดิน มากกว่า 13 ต่อล้านส่วน หรือ 1 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อลิตร (พืชไร, ดินชื้น) และมากกว่า 65 ต่อล้านส่วน หรือ 5 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อลิตร (ข้าว, ดินน้ำขัง) เป็นอันตรายต่อพืชถึงตาย

ปริมาณกรดอินทรีย์ต่างๆ มากกว่า 10 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อลิตร (ข้าว, ดินน้ำขัง) เป็นอันตรายต่อต้นข้าวถึงตาย ในขณะที่ต้นไม้ในพรุ เช่น เสม็ด, แห้วทรงกระเทียม และหมากแดง ยังเจริญงอกงามได้เป็นอย่างดี

ฮอร์โมนต่างๆ และยาฆ่าหญ้า ที่ระดับเกินกว่าที่กำหนดให้ใช้ หรืออัตราที่กำหนดให้ใช้แต่ผิดชนิดพืช มีผลทำให้ใบพืชไหม้และตายได้ หรือถ้าใส่ลงไปในดิน ถ้าความเข้มสูงเกินไป อาจทำให้รากตายได้

สมบัติและลักษณะการเป็นอันตรายของสารพิษต่อพืช เป็นสมบัติเฉพาะตัวของสารต่อชนิดพืชในสภาพแวดล้อมเฉพาะ (อุณหภูมิ น้ำฝน ความสามารถนำสารพิษเข้าสู่พืช) ค่าวิเคราะห์จากตัวอย่างดินจึงห่างไกลจากการใช้วินิจฉัยว่าใช้สารพิษอะไร เท่าใด จึงเป็นอันตรายต่อพืช



http://www.baanjomyut.com/library_2/soil/02.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2012 5:42 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/01/2012 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,462. วิธีการ "แกล้งดิน" ตามพระราชดำริ


วิธีการปรับปรุงดินอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "แกล้งดิน" สามารถเลือกใช้ได้ 3 วิธีการตามแต่สภาพของดินและความเหมาะสม คือ

การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด :
เป็นการใช้น้ำชะล้างดินเพื่อล้างกรดทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้นโดยวิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมขังแปลง แล้วระบายออกประมาณ 2-3 ครั้ง โดยทิ้งช่วงการระบายน้ำประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้งหรือฤดูแล้ง ดังนั้นการชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในชลประทาน การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดต้องกระทำต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาวมิใช่กระทำเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดแต่จำเป็นต้องมีน้ำมากพอที่จะใช้ชะล้างดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือดินเลนที่มีไพไรท์มากเมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมิเนียมที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี

การแก้ไขดินเปรี้ยวด้วยการใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน ซึ่งมีวิธีการดังขั้นตอนต่อไปนี้คือ ใช้วัสดุปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูนมาร์ล (marl) สำหรับถาคกลางหรือปูนฝุ่น (lime dust) สำหรับภาคใต้ หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่ แล้วไถแปรหรือพลิกกลบดิน ปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน

การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบรูณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งเป็นดินกรดจัดรุนแรงและถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานาน
ผลการดำเนินงาน

ปี 2529-2533 ผลผลิตของข้าวอยู่ระหว่าง 230 กก.ต่อไร่ ถึงสูงสุด 465 กก.ต่อไร่ ปี 2538 อยู่ที่ 331 กก.ต่อไร่ นอกจากนี้พบว่าทำให้ดินมีระดับ pH สูงขึ้น
ปี 2541 จากการศึกษาทดลองปรับปรุงดินโดยวิธีการต่างๆ พบว่าการใช้น้ำล้างความเป็นกรดและสารพิษ การใส่ปูนฝุ่น และการปรับปรุงดินโดยใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน ข้าวที่ปลุกให้ผลผลิตสูงถึง 40 -50 ถังต่อไร่


การขยายผล
จากผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ศูนย์การศึกษาพัฒนาพิกุลทองฯ ได้จัดทำเป็นหนังสือคู่มือการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร เผยแพร่ออกไปสู่ผู้สนใจ และนำเทคโนโลยีไปขยายผลในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดของเกษตรกรบ้านโคกใน บ้านยูโย บ้านตอหลัง และพื้นที่อื่นๆ



http://www.baanjomyut.com/library_2/soil/07.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/01/2012 9:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,463. บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร

เกษตรธรรมชาติ ถือว่า “ดินดี คือ ดินที่มีชีวิต” เป็นดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน สมดุลของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินสภาพธรรมชาติก็คือ ความเหมาะสมในด้านของจำนวนจุลินทรีย์ และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ดินที่เหมาะสมที่สุดในการทำการเกษตร คือ ดินที่มีจุลินทรีย์อยู่หลายกลุ่ม ตัวอย่างของดินดีชนิดหนึ่งคือ “ดินป่า” นั่นเอง

ในอดีตสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีอยู่ในดินป่า ในป่าซึ่งมีสารอินทรีย์ในรูปใบไม้หรือซากพืชซากสัตว์ที่เพิ่มลงไปกับประมาณธาตุอาหารพืชที่ถูกนำไปใช้และถูกเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตออกไปจากพื้นที่ที่สมดุลกันก็คือ มีธาตุอาหารพืชที่ถูกใช้ไปกับส่วนที่เพิ่มเติมลงมาในดินเท่ากัน จากการที่มีเศษซากอินทรียวัตถุหล่นลงดินหรือที่พืชตรึงไนโตรเจนจากอากาศลงสู่ดิน โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวช่วยในกระบวนการย่อยสลายและเปลี่ยนรูปธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์ เป็นกระบวนการที่เรียกว่าการนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ผลิดอกออกผลเป็นดอกไม้ ผัก ผลไม้ และอื่นๆ ส่วนสิ่งที่ถูกนำออกมาจากพื้นที่นั้นๆ คือธาตุอาหารพืชที่สูญเสียไปจากดิน ซึ่งในพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ เกษตรกรมักจะนำผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ออกมาจากพื้นที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงปริมาณธาตุอาหารพืชที่จะเพิ่มเข้าไปในพื้นที่ ทำให้พื้นที่ที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกิดความไม่สมดุลกัน จึงมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ

จุลินทรีย์มีบทบาทอย่างมากในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการแปรสภาพอินทรียวัตถุในดินให้กลายเป็นธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช โดยจุลินทรีย์จะมีขั้นตอนของความหลากหลายในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีปริมาณที่มาก ซึ่งมีหน้าที่และบทบาทต่อกระบวนการต่างๆ ในดินแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่าจุลินทรีย์ก็คือ ตัวการที่จะทำให้สารอินทรีย์จากซากพืชซากสัตว์ย้อนกลับไปเป็นธาตุอาหารพืชใหม่ได้อีกครั้ง นั่นคือทำให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชในดิน ดังนั้นดินป่าจึงมักมีอินทรียวัตถุอยู่สูงมีการหมุนเวียนในระบบนิเวศอย่างสมดุล แต่ในปัจจุบันการทำการเกษตรมีการใช้ปุ๋ยเคมีกันมากเพราะความต้องการผลผลิตที่มากขึ้น เมื่อต้องการผลผลิตมากขึ้นก็จำเป็นต้องนำเอาปัจจัยการผลิตอื่นๆ ใส่เข้าไปเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการใช้อย่างไม่สมดุล เป็นการใช้อย่างทำลายมากกว่า จะเห็นได้จากกรณีการเปิดป่า หรือการนำพื้นที่มาใช้จะเริ่มต้นด้วยการเผา ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ส่วนหนึ่งตายไป และอินทรีย์วัตถุส่วนหนึ่งหายไป ส่วนทีเคยอยู่ในระบบก็หายออกไปอยู่นอกระบบ เมื่อจุลินทรีย์หลายชนิดตายไปอีกหลายชนิดก็ลดจำนวนลง อัตราการเกิดกระบวนการหมุนเวียนย้อนกลับไปเป็นปัจจัยการผลิตก็ลดน้อยลง

ทันทีที่เปิดหน้าดินทำลายพืชที่ปกคลุมผิวดิน เกษตรกรก็จะเริ่มทำการเผาก่อน สิ่งทีหายไปคืออินทรียวัตถุในดิน ชนิดของจุลินทรีย์และปริมาณของจุลินทรีย์ เมื่อปลูกพืชต่อเนื่องไปได้ 2-3 ปี จะสังเกตเห็นได้ว่าผลผลิตที่ได้เริ่มลดลงและเพาะปลูกไม่ได้ผล ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะดินไม่ดี โรคแมลงศัตรูพืชมากขึ้นต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่สูงมากขึ้น นั่นคือการขาดความสมดุลในพื้นที่ การทำการเกษตรในบางพื้นที่จะทิ้งพื้นที่บริเวณนั้นไว้ 3-5 ปี จนกระทั่งอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้นพื้นดินจึงฟื้นกลับมามีความสมดุลอีกครั้ง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการปล่อยพื้นที่ไว้โดยไม่เข้าไปยุ่ง จะทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ เจริญเติบโต และตายลงสลายตัวกลายเป็นธาตุอาหารพืชย้อนกลับสู่ดิน และจากสารอินทรีย์ที่รากพืชปลดปล่อยออกมาในบริเวณใกล้ๆ ราก สิ่งเหล่านี้จะชักนำให้จุลินทรีย์เพิ่มจำนวนขึ้นและเกิดความหลากหลายของจุลินทรีย์อีกครั้ง นอกจากนี้ยังชักนำให้มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในดินตามมา ทำให้ดินในพื้นที่นั้นกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ฉะนั้นถ้าให้เวลาธรราชาติสัก 3-5 ปี ทุกอย่างจะพื้นคืนสภาพได้เอง แต่ในปัจจุบันเกษตรกรไม่สามารถรอเวลานั้นได้ เนื่องจากพื้นที่มีจำกัดและความต้องการผลผลิตที่รวดเร็วและปริมาณมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ ดังนั้นระบบเกษตรแผนปัจจุบันจึงเลือกใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการแก้ปัญหานี้ ในขณะที่ระบบเกษตรธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์จะใช้วิธีการที่ดีกว่า คือ เติมปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะอินทรีย์ต่างๆ ที่สามารถนำมากลับมาใช้ได้ใหม่ และเพิ่มจุลินทรีย์ธรรมชาติเข้าไปด้วย



จุลินทรีย์ที่มีบทบาทต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน
จุลินทรีย์มีหลายชนิดได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซีส และสาหร่าย แต่ละชนิดจะมีบทบาทและกิจกรรมต่อความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่

1. แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อรา โปรโตซัว และสาหร่าย มีรูปร่างแบบง่ายๆ 3 รูปร่างคือ กลม (Cocci) ท่อน (Rod) เกลียว (Spiral) ไม่มีรงควัตถุภายในเซลล์ คือ เซลล์มักจะใส มีทั้งเคลื่อนที่ได้และไม่เคลื่อนที่ เราสามารถแบ่งชนิดของจุลินทรีย์ได้หลายประเภทดังนี้

1.1 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามช่วงอุณหภูมิ
ก. พวก Psychophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ
ข. พวก Mesophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิปานกลางมีอยู่มากในดินส่วนใหญ่
ค. พวก Thermophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง


1.2 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามความต้องการออกซิเจน
ก. แบคทีเรียพวกที่ต้องการออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน
ข. แบคทีเรียพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่ไม่ออกซิเจน


1.3 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามลักษณะทางนิเวศวิทยา
ก. Autochthonous (Indigenous Group) เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ดั้งเดิมในธรรมชาติ ได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ อยู่ได้โดยไม่ต้องมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก แบคทีเรียกลุ่มนี้จะมีปริมาณคงที่ทุกฤดูกาล

ข. Zymogenous (Fermentation Producing Group) เป็นแบคทีเรียที่สามารถแปรรูปสารเคมีต่างๆ ได้โดยขบวนการหมัก (Fermentation) ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หลายอย่าง แต่กลุ่มนี้มีอยู่ตามธรรมชาติน้อยมาก จะเพิ่มจำนวนเมื่อมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก

1.4 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามการสร้างอาหาร
ก. Autotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอน (C) จากกาซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และสารประกอบอินทรีย์อื่นๆ เช่น HCO3

ข. Heterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอนจากอินทรีย์คาร์บอนหรือสารประกอบอินทรีย์ทั่วไป

ค. Chemotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมี และขบวนการออกซิเดชั่นของสิ่งมีชีวิต (Biological Oxidation)

ง. Chemoheterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากอินทรีย์สาร

จ. Phototrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้พลังงานจากการสังเคราะห์แสง
แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ที่พบเป็นจำนวนมากที่สุดในจุลินทรีย์ทั้งหมด โดยจำนวนแบคทีเรียคิดเป็น 50% ของน้ำหนักจุลินทรีย์ทั้งหมด และมีกิจกรรมคิดเป็น 95% ของจุลินทรีย์ทุกชนิดรวมกัน พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ จัดได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีบทบาทอย่างมากในธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต


2. เชื้อรา (Fungi)
2.1 ยีสต์ เป็นเชื้อราซึ่งมีลักษณะแปลกตรงที่ มีการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพเซลล์เดียว (Unicellular) แทนที่จะเจริญเป็นเส้นใยเหมือนเชื้อราอื่นๆ ทั่วไป จริงอยู่แม้ยีสต์บางชนิดมีการสร้างเส้นใยบ้าง แต่ก็ไม่เด่นเช่นเชื้อรา ปกติยีสต์เพิ่มจำนวนและแบ่งเซลล์โดยการแตกหน่อ (Budding) เซลล์ยีสต์จะใหญ่กว่าแบคทีเรียและมีนิวเคลียสที่เห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ในเซลล์ยีสต์เรามักจะสังเกตเห็นแวคคูโอล (Vacuole) ขนาดใหญ่ พร้อมทั้งเม็ดสาร (Granule) ต่างๆ ในไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) อยู่เสมอ

2.2 ราเส้นใย เป็นจุลินทรีย์ที่มีการพัฒนามาดำรงชีวิตอยู่ในสภาพหลายเซลล์ (Multicellular) โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะการเจริญเป็นเส้นใย (Hyphae) ซึ่งอาจมีผนังกั้น (Septate Hypha) หรือไม่มีผนังกั้น (Non Septate Hypha หรือ Coenocytic Hypha) เชื้อราเป็นจุลินทีรย์ที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันมากในด้านขนาดรูปร่างของโครงสร้างและระบบการสืบพันธุ์ โดยทั่วไปเชื้อรามีการสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีทั้งสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Spores) และสปอร์แบบอาศัยเพศ (Sexual Spores)


3. แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes) เป็นจุลินทรีย์จำพวกเซลล์เดี่ยวที่มีลักษณะคล้ายคลึงทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา โดยมีขนาดเล็กคล้ายแบคทีเรีย แต่มีการเจริญเป็นเส้นใยและสร้างสปอร์คล้ายเชื้อรา มีเส้นใยที่ยาวเรียวและอาจจะแตกสาขาออกไปเส้นใยเรียกว่า Hyphae หรือ Filaments

4. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue Green Algae หรือ Cyanobacteria) แตกต่างจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นตรงที่มีคลิโรฟิลล์มักเห็นเซลล์เป็นสีเขียว เซลล์เป็น Procaryote ซึ่งเหมือนกับแบคทีเรีย และมีสาร Mucopeptide เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เช่นเดียวกับแบคทีเรีย สาหร่ายพวกนี้ไม่มีคลอโร พลาสต์ ดังนั้นคลอโรฟิลล์จึงกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์


บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร
จุลินทรีย์มีหลายชนิต ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซิท สาหร่าย โปรโตซัว ไมโครพลาสมาโรติเฟอร์ และไวร้ส เป็นต้น บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์มีอยู่มากมายดังนี้

1. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การเป็นประโยชน์และการเกิดโรค จุลินทรีย์หลายชนิดอาจเป็นสาเหตุของโรคพืชและสัตว์ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร แต่ในสภาพธรรมชาติจุลินทรีย์ที่มีอยู่อย่างหลากหลายจะมีการควบคุมกันเองในวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ป้องกัน กำจัด และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นรวมทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช

2. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญในการหมุนเวียนทรัพยากรให้ใช้ประโยชน์ได้ใหม่ในวัฏจักรของธาตุอาหารโดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายวัสดุสารอินทรีย์ต่างๆ (Organic Decomposition) ให้เป็นธาตุอาหาร เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ของสารอินทรีย์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทางการเกษตร ให้กลับอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยกระบวนการย่อยสลายหรือสังเคราะห์สารชนิดอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ในธรรมชาติ เช่น การย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ในดินให้อยู่ในรูปฮิวมัส เปลี่ยนจากรูปสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ (Mineralization) เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชได้แก่ กระบวนการตรึงไนโตเจน (N2 Fixation) โดยจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เช่น แหนแดง และจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้ เช่น เชื้อไรโซเบียม


3. จุลินทรีย์หลายชนิดมีบทบาทในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เช่น จุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างกรดอนินทรีย์ที่สามารถละลายแร่ธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช บางชนิดสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชหรือฮอร์โมน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และยังสามารถผลิตสารต่างๆ รวมถึงสารปฏิชีวนะ เอนไซม์ และกรดแลคติค เช่นแบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Gramicidine และ Tyrocidine เชื้อราบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Pennicilin และ Gliotoxin เชื้อแอคติโนมัยซิทบางชนิดสามารถสร้างสาร Actinomycin และ Aureomycin ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถใช้ในการยับยั้งเชื้อโรคต่างๆ และยังช่วยสนับสนุนปฏิกิริยาทางเคมีในดินให้เกิดขึ้นเป็นปกติได้ โยถ้าปราศจากเอนไซม์ปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อนในดินก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น



ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย ดร.อานัฐ ตันโช

ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org
ดาว์นโหลดขัอมูลทั้งหมดได้ที่ : http://www.uploadtoday.com/download/?12f19ff6e961ba64a38bbe72ab04f5a2




http://www.oknation.net/blog/print.php?id=94863


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/01/2012 10:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,464. ประโยชน์จากฟางข้าว


ฟางข้าว เป็นอินทรีย์วัตถุที่มีประโยชน์สูงควรเก็บไว้ในนาข้าว โดยเฉพาะนาเขตชลประทาน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ทำนา 2-3 ครั้งต่อปี เท่าที่ผ่านมาฟางข้าวมักจะถูกนำออกจากนาหรือเผาทิ้ง โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุกลับคืนให้กับดินนา ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพขาดความสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการใส่ปุ๋ยเคมีทดแทนก็ตาม ผลกระทบต่อดินนา คือ ปุ๋ยเคมีจะไปช่วยเร่งให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้หมดไปโดยเร็ว สภาพดังกล่าวอาจทำให้ดินนาเสื่อมสภาพทางฟิสิกส์ ทำให้ดินแข็งตัวมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าดินจะมีสภาพเป็นกรดมากขึ้นด้วย ดังนั้นฟางข้าวจึงเป็นอินทรียวัตถุที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรไม่ควรนำออกจากแปลงนาหรือไม่ควรเผาทิ้ง


สถานการณ์และสภาวะปัจจุบัน
การทำนาของเกษตรกรในเขตชลประทานภาคกลางที่มีปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐานค่อนข้างสมบูรณ์ เกษตรกรทำนาต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี โดยวิธีการหว่านน้ำตมทำให้มีรอบการผลิตค่อนข้างรวดเร็ว ประมาณ 12-21 วัน เพื่อให้ทันต่อฤดูกาลผลิต ทำให้เกษตรกรเกือบทุกรายเผาฟางก่อนฤดูทำนา ด้วยวิธีการเตรียมดิบแบบหยาบ ๆ และรีบเร่ง โดยไถกลบเศษฟางที่เหลือจากการเผากับตอซังลงไปในดินที่มีการระบายอากาศไม่ดีขาดออกซิเจน เกิดก๊าซมีเทน (CH4) บางชนิด ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีผลเสียต่อสภาวะแวดล้อมของโลก ทำให้จุลินทรีย์ดินบางชนิดที่มีบทบาทการย่อยสลายฟางข้าวและตอซังมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ การย่อยสลายเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้ข้าวที่ปลูกใหม่แสดงอาการขาดไนโตรเจนชั่วคราว ที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า โรคเมาหัวซัง วิธีแก่ไขมีหลายวิธี ที่ดีและรวดเร็ว คือ ทำให้ฟางข้าวหรือตอซังย่อยสลายให้รวดเร็วที่สุดโดยการเพิ่มหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้าช่วยให้เกิดกระบวนการย่อยสลายจากจุลินทรีย์หลายกลุ่มที่มีปฏิกิริยาต่อเนื่องสนับสนุนกันเป็นลูกโซ่ ระหว่างกระบวนการย่อยสลายจุลินทรีย์จะใช้ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินขณะเดียวกันก็จะทำให้เกิดกระบวนการทำให้ธาตุอาหารเปลี่ยนรูปที่เป็นประโยชน์ เมื่อจุลินทรีย์เหล่านั้นตายไปก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชใช้ได้ และยังก่อให้เกิดสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีผลดีต่อพืช เช่น ฮอร์โมน สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช และรากพืช ดังนั้น หลังเก็บเกี่ยวแล้วเกษตรกรไม่ควรเผาฟางข้าว เพราะจะทำให้สูญเสียคาร์บอนที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ดิน ที่จะนำไปก่อให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช



ประโยชน์ของฟางข้าวเมื่อไม่เผาทิ้ง
1. ฟางข้าวช่วยทำให้ดินมีปริมาณของอินทรีย์วัตถุในดินมากขึ้น

2. ฟางข้าวช่วยทำให้พื้นที่นาที่ถูกคลุมด้วยฟางข้าวมีสภาพจุลนิเวศ (Microclimate) เหนือผิวดินเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และไส้เดือน เป็นต้น

3. ฟางข้าวช่วยคลุมวัชพืช โดยการบังแสงแดด ไม่ให้วัชพืชเติบโตได้

4. ฟางข้าวช่วยบังแสงแดด ทำให้ดินมีความชื้นอยู่ได้นานเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูก ทำให้ผลผลิตสูงกว่าดินที่ไม่มีฟางข้าวปกคลุม

5. ฟางข้าวเมื่อเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารแก่พืชเมื่อฟางข้าวย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ธาตุโพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ที่สำคัญมีธาตุซิลิก้า (Sio) ด้วย

6. ฟางข้าวนำไปเป็นอาหารโค กระบือ ได้

7. ฟางข้าวสามารถนำไปทำวัสดุเพาะเห็ดฟางได้

8. ฟางข้าวเป็นวัสดุที่อยู่ในนาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาไปขนมาใส่ในนา ก่อนที่จะหมักฟางข้าว ต้องเกลี่ยฟางให้กระจายทั่วทั้งแปลง



วิธีการทำปุ๋ยหมักฟางและตอซังข้าว
ฟางข้าวจำนวน 1 ตัน เมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนี้คือ
ไนโตรเจน (N) ................. 6 กิโลกรัม
ฟอสฟอรัส (P2O5) ............ 1.4 กิโลกรัม
โพแทสเซียม (K2O) ........... 17 กิโลกรัม
แคลเซียม (Ca) ................ 1.2 กิโลกรัม
แมกซีเซียม (Mg) .............. 1.3 กิโลกรัม และที่สำคัญคือได้ธาตุ
ซิลิก้า (SiO2) จำนวน .......... 50 กิโลกรัม


ปกติในนาเกษตรกรในภาคกลางและภาคตะวันออกตกมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวส่วนใหญ่มีฟางข้าวเหลือ 800-1,000 กิโลกรัม/ไร่ รวมทั้งตอซังอีก 1,200 – 1,500 กิโลกรัม/ไร่ คือ เฉลี่ยทั้งตอซังและฟางข้าวประมาณ 2 ตัน/ไร่ ส่วนในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนทรายจะมีฟางข้าวเหนียวต่ำกว่าคือ 500 – 800 กิโลกรัม/ไร่


ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก
1. หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วให้เกษตรกรเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายคลุมทั่วทั้งแปลงนาด้วยแรงคน หรือเครื่องเกลี่ยฟางข้าวติดท้ายแทรกเตอร์มีค่าใช้จ่าย 50 บาท/ไร่ หรือใช้ภูมิปัญญาเกษตรกร อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ลำไม้ไผ่ชนิดที่มีกิ่งมีหนามจำนวน 2 ลำ ผูกติดท้ายแทรกเตอร์ลาก 2 – 3 รอบสามารถเกลี่ยฟางข้าวกระจายทั่วทั้งแปลงนา เมื่อคิดต้นทุนเพียง 15 บาท/ไร่ (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)

2. ทดน้ำเข้าแปลงนา ใช้อีคลุบติดท้ายแทรกเตอร์ย่ำให้ฟางข้าวและตอซังจมน้ำระดับ 3 – 5 ซม.

3. ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรไหนก็ได้ที่คิดว่าต้นทุนถูกที่สุดและจุลินทรีย์ยังมีชีวิตอัตรา 5 – 10 ลิตร/ไร่ (ฟางข้าว 500 – 800 กก. ใช้น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/ไร่ และฟางข้าว 800 – 1,000 กก. ใช้น้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร/ไร่) ใส่แกลลอนเจาะรูให้น้ำหมักชีวภาพไหลได้ นำไปติดท้ายแทรกเตอร์ โดยใช้อีคลุบย่ำตอซังและฟางข้าว ทำให้น้ำหมักระจายไปทั่วแปลงนาเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย

4. ใช้เวลาหมักประมาณ 10 วัน ตอซังและฟางข้าวเริ่มอ่อนตัวและเริ่มย่อยสลาย สามารถไถพรวนดินได้ไม่ติดเครื่องมือไถพรวน



http://dankhunthot.khorat.doae.go.th/e_rice/rice_1.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 8:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/01/2012 10:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,465. ปุ๋ยอินทรีย์มาจากไหน?





ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 มาตร 3

ปุ๋ย หมายความว่า สารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช

ปุ๋ยอินทรีย์ หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากอินทรียวัตถุซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อน หรือวิธีการอื่น แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี

จากหนังสือศัพท์ในวงการปุ๋ย โดย ยงยุทธ โอสถสภา ให้ความหมายของปุ๋ยอินทรีย์ : ปุ๋ยที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ (ยกเว้น คาร์บอเนต) ร่วมกับธาตุอาหารพืช (นอกเหนือจากไฮโดรเจน และออกซิเจน) อย่างน้อยหนึ่งธาตุ ส่วนใหญ่จะได้มาจากซากพืชและสัตว์ รวมทั้งมูลสัตว์ต่างๆ แต่เดิมคำนี้มักใช้เรียกสารประกอบของคาร์บอนที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่บัดนี้รวมความไปถึงสารประกอบคาร์บอนสังเคราะห์ด้วย

ปุ๋ยสามารถประเมินค่าได้จากธาตุอาหารที่มีอยู่และการเป็นประโยชน์โดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ปุ๋ยอินทรีย์หลายอย่างมีธาตุอาหารไม่สมดุลเนื่องจากมีธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองในปริมาณที่น้อย ปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า (blended fertilizer) ทำจากการผสมสัตว์ พืช หินและแร่ธาตุ เพื่อให้มีธาตุอาหารที่มากขึ้น และเลียนแบบปุ๋ยที่สังเคราะห์ขึ้น เพื่อให้เกิดธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์เร็วขึ้น

ปุ๋ยอินทรีย์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
มาจากผลิตผลของสัตว์
มาจากผลิตผลของสัตว์
มาจากหินและแร่


ปุ๋ยที่มาจากผลิตผลของสัตว์ ได้แก่
มูลสัตว์จากฟาร์ม ซึ่งประกอบด้วยอุจจาระและปัสสาวะของพวกปศุสัตว์ และเป็ด ไก่ ในมูลสัตว์จะมีไนโตรเจนมาก มีฟอสฟอรัสน้อยในระยะแรกแต่จะถูกสะสมลงในดิน นอกจากนั้นยังมีแคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน มูลสัตว์ช่วยในการปรับปรุงดิน และโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น

กัวโน ได้มาจากสิ่งขับถ่ายและซากของนกทะเล สัตว์ทะเล ค้างคาว กัวโนเป็นแหล่งของไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ซึ่งจะมีไนโตรเจน 8% ฟอสฟอรัส 6%

แต่ถ้าอยู่ในบริเวณที่ชื้นและอบอ้าวจะมีฟอสฟอรัสสูง กัวโนในที่ชื้นจะมีแอมโมเนียสูง ซากกระดูกหรือเรียกว่าซากกระดูกสกัดด้วยไอน้ำ (stemed bone-meal) จะมีฟอสฟอรัสและแคลเซียมสูง มีไนโตรเจน 1-2% เลือดแห้งที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ มีไนโตรเจนสูงประมาณ 8-12%

เนื้อเยื่อสัตว์ เช่น หนัง ขนสัตว์ ผม กีบเขา เศษเนื้อและเอ็น เนื้อแห้ง เศษปลา น้ำมันปลา จะมีไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในปริมาณต่างๆกัน


ปุ๋ยที่ได้มาจากผลิตผลของพืช เป็นวัสดุที่ได้จากสิ่งมีชีวิตต่างๆจากฟาร์ม รวมทั้งผลพลอยได้จากโรงงานของผลิตภัณฑ์การเกษตร ซึ่งได้แก่

กากเมล็ดพืชต่างๆ เช่น เมล็ดฝ้าย เมล็ดละหุ่ง เมล็ดต้นป่าน และเมล็ดถั่วเหลือง ขยะสดหรือมูลฝอยที่ทำการหมักแล้ว (ปุ๋ยหมัก) จะมีไนโตรเจนเป็นธาตุหลัก ส่วนฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมจะมีน้อยเนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาใช้ โพแทสเซียมสามารถสูญหายไปขณะทำการหมัก

ปุ๋ยพืชสด พืชที่ปลูกขึ้นเพื่อไถลกลบลงในพื้นที่นั้น ซากพืชจะช่วยบำรุงดินและเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูกตามมา พืชที่ใช้เป็นปุ๋ยสดมีทั้งที่อยู่ในตระกูลถั่วและมิใช่ตระกูลถั่ว

เถ้าไม้ จะมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ถ้าเป็นเถ้าของไม้เนื้ออ่อนจะมีโพแทสเซียม 3% ถ้าเป็นเถ้าจากไม้เนื้อแข็งจะมีโพแทสเซียมประมาณ 8% โพแทสเซียมนี้ละลายน้ำง่ายและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ทันที

เศษอาหาร มาจากส่วนที่เหลือทิ้งของผลไม้และผัก ผลไม้มีธาตุอาหารน้อยแต่มีสารอินทรีย์พอสมควร มักจะมีไนโตรเจนและโพแทสเซียม ฝักและเปลือก จะมีโพแทสเซียมประมาณ 20-40%

สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล (Kelp) จะมีธาตุอาหารเสริม ฮอร์โมน วิตามิน กรดแอมิโน เกลือแร่ และสารที่มีความสามารถระงับเชื้อโรค

ปุ๋ยที่ได้จากแร่ธาตุหินและแร่ธาตุเป็นแหล่งของแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และกำมะถัน วัสดุเหล่านี้จะไม่มีไนโตรเจน ซึ่งได้แก่

หินฟอสฟอรัส (rock phosphate หรือ francolite) ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตฟลูอออะพาไทต์ จะมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ประมาณ 1% ส่วนใหญ่จะใช้ผงหินฟอสฟอรัสรวมกับมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักจะทำให้ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น

ผงหินแกรนิต (granite dust) ประกอบด้วยแร่ฟันม้าขนาดเล็กๆและไมคา ซึ่งมีโพแทสเซียมประมาณ 5% แต่จะไม่เป็นประโยชน์

ทรายเขียว (greensand หรือ glauconite) มีเหล็ก โพแทสเซียมและซิลิเกตเป็นองค์ประกอบ มีโพแทสเซียมสูงประมาณ 7% จะใช้ประโยชน์ได้มากกว่าผงหินแกรนิต แต่ก็ยังไม่ค่อยละลายน้ำจึงเป็นประโยชน์ต่อพืชเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้นยังมีฟอสฟอรัสและแมกนีเซียมด้วย

ยิปซัม (gypsum) เป็นแร่อ่อน มีแคลเซียมและกำมะถันเป็นองค์ประกอบ ยิปซัมมีประโยชน์หลายอย่างคือ 1) ใช้เป็นปุ๋ยแคลเซียมและกำมะถันสำหับพืชตระกูลถั่ว 2) ใช้ในการปรับปรุงสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดินแดนแอลคาไล (โซดิก) จะใช้ยิปซัมทำปฏิกิริยากับโซเดียมหรือโพแทสเซียมคาร์บอเนต ได้แคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งจะตกตะกอน นอกจากนั้นแคลเซียมไอออนจากยิปซัมยังเข้าแทนที่โซเดียมซึ่งดูดซับที่ผิวคอลลอยด์ดิน แล้วทำหน้าที่เป็นสารตกตะกอน (flocculant) ทำให้ดินเหนียวเกาะกันเป็นกลุ่ม ไม่มีสภาพแน่นทึบอีกต่อไป การซาบซึมและแทรกซึมน้ำของดินก็จะดีขึ้น ยิปซัมจึงช่วยให้ดินโซดิกมีการระบายน้ำดีกว่าเดิม 3) อาจใช้ผสมในน้ำชลประทานเพื่อเพิ่มการซาบซึมน้ำในดิน โดยผสมในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร จะช่วยเพิ่มการซาบซึมน้ำให้สูงขึ้น 30-70% ยิปซัมไม่มีความสามารถในการทำให้ดินกรดเป็นกลางได้

หินปูน (limestone) หินปูนเป็นหินตะกอนชนิดหนึ่งประกอบด้วยแร่แคลไซต์ (แคลเซียมคาร์บอเนต) ใช้แก้ไขความเป็นกรดของดิน ทำให้ดินร่วงและยังช่วยเพิ่มธาตุรองคือ แคลเซียมให้แก่ดิน หินปูนมีแคลเซียม 40% และคาร์บอน 12% นอกจากหินปูนแล้วยังมี หินอ่อน ปูนสุก ปูนขาว ชอล์ก กระดูก เปลือกหอยทะเลและสแลคก์เป็นพวกปูน (lime) เช่นกัน ในการเกษตรมักใช้แคลไซต์และโดโลไมต์ (แคลเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมคาร์บอเนต) ผสมกัน ซึ่งในโดโลไมท์จะมีแคลเซียม 22% และแมกนีเซียม 13%

แลงไบไนต์ (langbeinite) เป็นแร่โพแทชชนิดหนึ่งหรือเรียกว่า Sulfate of potash magnesia ซึ่งเป็นเกลือเชิงคู่ ซึ่งมีทั้งโพแทสเซียมซัลเฟตและแมกนีเซียมซัลเฟต มีโพแทชที่ละลายได้ไม่น้อยกว่า 25% และแมกนีเซียมซัลเฟตไม้น้อยกว่า 25% คลอไรด์ไม่เกิน 2.5% แลงไบไนต์ทำให้บริสุทธิ์ได้โดยล้างสินแร่เพื่อเอาเกลือคลอไรด์ที่มีอยู่ละลายออกไป

นอกจากวัสดุที่กล่าวมาแล้วนั้นยังมีวัสดุอีกหลายอย่างที่สามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ แต่การที่จะใช้วัสดุอะไรบ้างจะต้องศึกษาให้ดีว่าวัสดุนั้นใช้ร่วมกันได้หรือไม่ จะใช้อย่างไร ปริมาณมากน้อยแค่ไหน เก็บอย่างไรและวัสดุนั้นจะมีโทษอะไรหรือไม่กับดินและผลผลิตที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ดี

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก โครงการเคมีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



http://www.tatgreenheart.com/?p=822


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/01/2012 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,466. ฮิวมัส (humus)


เป็นภาษาละติน แปลว่าดิน(soil) คือสารอินทรีย์ในดินที่ทำให้ดินมีสีน้ำตาลหรือดำเนื่องจากมีปริมาณธาตุคาร์บอนในรูปของสารอินทรีนย์ในปริมาณที่สูงมาก

ในทางวิทยาศาสตร์เรื่องดิน ; ฮิวมัสหมายถึงอินทรีย์วัตถุใดๆก็ได้ที่เข้าสู่สภาวะเสถียรอยู่ตัวและจะไม่แตกตัวต่อไปอีก ถ้าสภาวะไม่เปลี่ยนแปลง จะยังคงสภาพเช่นนั้นตลอดไปเป็นร้อยๆปี

ในทางเกษตรกรรม ; ฮิวมัสเป็นคำที่ใช้กล่าวถึงปุ๋ยหมักที่ครบกำหนดหรือปุ๋ยหมักที่คัดแยกออกมาจากแหล่งที่เกิดขึ้นเองในป่าหรือแหล่งอื่นๆและใช้สำหรับเป็นวัตถุบำรุงดิน นอกจากนั้นฮิวมัสยังใช้กล่าวถึงผิวดินในแนวระนาบที่มีอินทรีย์วัตถุอยู่ด้วย(เช่นชนิดของฮิวมัส รูปแบบของฮิวมัส เรื่องโดยย่อของฮิวมัส เป็นต้น)



การเกิดฮิวมัส ( HUMIFICATION )
กระบวนการเกิดฮิวมัสสามารถเกิดตามธรรมชาติในดินหรือในการผลิตปุ๋ยหมักก็ได้ ฮิวมัสที่เสถียรตามคุณสมบัติทางเคมี เชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญในความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้งในด้านฟิสิคซ์และเคมี แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจะมุ่งประเด็นส่วนใหญ่ไปในด้านการเป็นอาหารให้แก่พืชก็ตาม โดยทางกายภาพแล้วฮิวมัสช่วยให้ดินยังคงความชื้นและช่วยให้มีการก่อตัวของโครงสร้างดินที่ดี ทางด้านเคมี ฮิวมัสมีแหล่งสารออกฤทธิ์ซึ่งสามารถผนวกกับไอออนของธาตุอาหารพืชทำให้กลายเป็นธาตุอาหารพร้อมใช้ได้มากขึ้น ฮิวมัสจึงมักถูกเรียกว่าเป็นพลังชีวิตของดิน ถึงกระนั้นก็ดียังเป็นเรื่องยากที่จะให้นิยามที่ชัดเจนแก่คำว่าฮิวมัสนี้ได้ เนื่องจากเป็นสารที่มีความซับซ้อนสูง ธรรมชาติที่แท้จริงของสารนี้จึงยังคงเป็นเรื่องที่ยังไม่อาจเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ ในทางกายภาพฮิวมัสแตกต่างจากอินทรีย์วัตถุตรงที่อินทรีย์วัตถุเป็นสารที่มีลักษณะภายนอกหยาบ และมีเศษซากพืชให้ สังเกตเห็นได้ แต่เมื่อผ่านกระบวนการเกิดฮิวมัสอย่างเต็มที่แล้วก็จะกลายเป็นฮิวมัส สารที่มีรูปแบบอย่างเดียวกันมากขึ้น (เป็นสารสีเข้ม นุ่มคล้ายฟองน้ำ อ่อนตัวคล้ายวุ้น) และมีโครงสร้างไร้รูปแบบที่แน่นอน

ซากพืช(รวมทั้งที่ถูกสัตว์กินเข้าไปและถ่ายออกมาในรูปของมูลสัตว์ด้วย)จะประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์ต่างๆดังนี้: น้ำตาล แป้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ลิกนิน(lignins) ขี้ผึ้ง(waxes) ยางไม้(resins) ไขมัน และกรดอินทรีย์ต่างๆ กระบวนการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ในดินจะเริ่มด้วยการย่อยสลายของน้ำตาลและแป้งจากคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นการย่อยอย่างง่ายๆด้วยจุลินทรีย์(Saprothrophs)ชนิดที่ดำรงชีพ อยู่บนซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วเท่านั้น ส่วนเซลลูโลซ(cellulose) จะแตกตัวอย่างช้าๆมาก โปรตีนจะถูกย่อยสลายไปเป็นกรดอะมิโน(amino acid)ตามอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน(C/N ratio)ที่มีอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนกรดอินทรีย์หลายชนิดจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ไขมัน ขี้ผึ้ง เรซินหรือยางไม้และลิกนินจะยังคงสภาพไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลาที่ยาวนานกว่า ฮิวมัสซึ่งเป็นผลผลิตสุดท้ายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนี้ก็คือสารผสมระหว่างสารประกอบและสารเคมีเชิงซ้อนที่มีอยู่ตลอดชีวิตของ พืช สัตว์ หรือ ต้นกำเหนิดแห่งจุลชีพ ฮิวมัสยังทำหน้าที่และให้คุณประโยชน์มากมายในดิน ฮิวมัสที่ได้จากไส้เดือนดินหรือปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ครบกำหนดได้รับการพิจารณาว่าเป็นมูลอินทรีย์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน


การเกิดฮิวมัสจากเศษซากใบไม้และการเกิดสารเชิงซ้อนฮิวมัส-ดินเหนียว
(Humification of leaf litter and formation of clay-humus complexes)

ปุ๋ยหมักที่พร้อมจะย่อยสลายต่อไปได้อีกบางครั้งก็ถูกจัดว่าเป็นฮิวมัสที่มีประสิทธิภาพหรือสามารถออกฤทธิ์ได้แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะกล่าวว่ามันยังไม่เสถียรย่อมไม่ใช่ฮิวมัส ปุ๋ยหมักประเภทนี้โดยหลักการแล้วมีที่มาจากน้ำตาล แป้ง และโปรตีนและประกอบขึ้นด้วยกรดอินทรีย์ง่ายๆคือกรดฟุลวิค(Fulvic acid) ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของอาหารพืชชั้นเยี่ยมแต่มีคุณค่าเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับโครงสร้างของดินระยะยาว ส่วนฮิวมัสที่เสถียรประกอบด้วยกรดฮิวมิค(humic acid)และฮิวมิน(humin) หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นสารที่ละลายได้ยาก(หรือถูกยึดติดอยู่อย่างเหนียวแน่นกับอนุภาคของดินเหนียวทำให้จุลินทรีย์ไม่อาจเข้าถึงได้)จึงมีความต้านทานต่อการย่อยสลายในลำดับขั้นต่อๆไป ดังนั้นฮิวมัสที่เสถียรแล้วจึงเป็นตัวเพิ่มธาตุอาหารพร้อมใช้ที่มีอยู่แล้วจำนวนเล็กน้อยให้แก่ดินแต่มีบทบาทสำคัญในการรักษโครงสร้างทางกายภาพของดิน ฮิวมัสเชิงซ้อนบางตัวที่เสถียรมากๆสามารถคงสภาพอยู่ได้นับพันๆปี ฮิวมัสที่เสถียรมักมีแหล่งกำเหนิดมาจากวัสดุที่เกิดจากพืชไม้เนื้อแข็งเช่น เซลลูโลส(cellulose)และลิกนิน(lignin) สัตว์ที่ช่วยเพิ่มเนื้อดินโดยทำหน้าที่ย่อยพืชที่กินเข้าไปแล้วแปรสภาพไปเป็นอินทรีย์วัตถุในลำไส้นั้นก็จัดเป็นตัวการสำคัญในการก่อฮิวมัส(humifiation)โดยทำงานร่วมกับราและแบคทีเรีย: ฮิวมัสส่วนใหญ่ในดินได้แก่มูลสัตว์ซึ่งอาจมีสีเข้มหรือจางเป็นไปตามปริมาณของอินทรีย์วัตถุที่มี

ประโยชน์ของฮิวมัส (Benefit of humus)
1. กระบวนการเกิดแร่ธาตุ (คือการเกิดสารอนินทรีย์จากสารอินทรีย์ตามธรรมชาติ) ทำให้อินทรีย์วัตถุแปลสภาพไปเป็นสารที่เสถียรมากขึ้นกว่าเดิมคือฮิวมัส ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นอาหารเลี้ยงบรรดาสิ่งที่มีชัวิตทั้งหลายในดินตั้งแต่จุลินทรีย์ไปจนถึงสัตว์เล็กอื่นๆที่อาศัยอยู่ ดังนั้นจึงเป็นการรักษาอายุของดินให้อยู่ในระดับที่สมบูรณ์เต็มที่

2. อัตราการเปลี่ยนอินทรีย์วัตถุไปเป็นฮิวมัสถ้าดำเนินไปอย่างรวดเร็วก็จะเกื้อประโยชน์ของการอยู่ร่วมกันของ พืช และสัตว์รวมทั้งจุลินทรีย์ตามระบบนิเวศวิทยาของโลกในทำนองกลับกันถ้าอัตราการเปลี่ยนนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้าประโยชน์ของการอยู่ร่วมกันดังกล่าวก็จะลดลง

3. อิวมัสที่มีประสิทธิภาพ และเสถียร ทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารเพื่อการดำรงชีพต่อไปของจุลินทรีย์ ประสิทธิภาพของฮิวมัสคือการเป็นอาหารพร้อมใช้ ส่วนความเสถียรของฮิวมัสคือการเป็นแหล่งอาหารสำรองระยะยาว

4. การเกิดฮิวมัสจากวัสดุที่ได้จากพืชที่ตายแล้วทำให้สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนที่เกิดขึ้นถูกย่อยสลายหรือแตกตัวไปเป็นสารอินทรีย์พร้อมใช้ในรูปแบบที่ง่ายต่อการดูดซึมผ่านรากพืชที่กำลังจะเจริญเติบโต

5. ฮิวมัสเป็นสารประเภทคอลลอยด์(คือสสารในสถานะต่างๆที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กมาก--เป็นอนุภาคที่มีขนาดตั้งแต่ 1ถึง100 นาโนเมตร—ซึ่งจะสามารถแขวนลอยในน้ำและเป็นเนื้อเดียวกัน เช่นน้ำนมเป็นต้น(จากพจนานุกรมอักฤษ-ไทย Se-Ed New Compact English DictionaryMillennium2000Edition, และTaber’sCylopedic Medical Dictionary)และฮิวมัสจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแลกเปลี่ยนไอออนที่มีประจุบวก(Cation)จึงทำให้ไอออนดังกล่าวมีความสามารถในการเก็บอาหารโดยวิธียึดธาตุอาหารติดไว้กับตัวมันเช่นเดียวกับที่อณุภาคของดินเหนียวจะพึงกระทำ ดังนั้นในขณะที่พวกไอออนประจุบวกที่มีธาตุอาหารเหล่านี้หาทางเข้าสู่พืชได้ก็จะยังสามารถอยู่ในดินได้อย่างปลอดภัยจากการชะล้างด้วยน้ำฝนหรือการชลประทาน

6. ฮิวมัสสามารถรักษาคุณสมบัติให้มีความชื้นคงที่อยู่ที่80-90% ได้ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มศักย์ภาพให้ทนต่อสภาวะแห้งแล้งได้

7. ด้วยโครงสร้างทางชีวะเคมีทำให้ฮิวมัสสามารถรักษาความเป็นกลาง---หรือเป็นตัวกันชน---ช่วยลดความเป็นกรดด่างที่มากเกินในดินได้

8. ระหว่างที่มีการเกิดฮิวมัส จุลินทรีย์ จะหลั่งสารที่มีลักษณะเป็นยางเหนียวซึ่งช่วยให้โครงสร้างของดินที่กระจายตัวยึดอนุภาคต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ดินร่วนและโปร่งอากาศ สารพิษเช่นธาตุโลหะหนักต่างๆ และธาตุอาหารที่มากเกินใช้ของพืชจะถูกกันไม่ให้เกิดพิษร้ายหรือออกฤทธิ์ได้โดยวิธีผนวกเข้ากับโมเลกุลสารอินทรีย์เชิงซ้อนของฮิวมัสและขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันไม่ให้สารดังกล่าวแพร่เข้าสู่ระบบนิเวศที่กว้างออกไปกว่าเดิม

9. สารสีเข้มของฮิวมัส(โดยปกติจะมีสีดำหรือน้ำตาลดำ)ช่วยให้ดินอุ่นขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ



Link : http://www.weloveshopping.com/template/a20/show_article.php?shopid=26601&qid=38861

เอกสารอ้างอิง:
HUMUS: 2008/9 Schools Wikipedia Slection. Related subjects :Geology and geophysics
Retrieved from “ http://en. Wikipedia.org/wiki/Humus”


http://th-th.facebook.com/note.php?note_id=129430903820344


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/01/2012 10:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,467. ความสำคัญของจุลินทรีย์



จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากนั้น แต่ละเซลล์จะมีกระบวนการต่างๆ ของชีวิตเกิดขึ้นได้ภายในเซลล์เดียว กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวมันเอง เช่น ยีสต์ มีการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงานด้วยกระบวนการหมัก (fermentation) ขณะเดียวกันก็ได้ผลผลิตเกิดขึ้น คือ เอทิลแอลกอฮอล์ที่เรานำไปใช้ประโยชน์ได้ มีจุลินทรีย์จำนวนมากที่มีความสำคัญในการผลิตสารต่างๆ ที่มีประโยชน์และช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการต่างๆ ดังต่อไปนี้


การผลิตอาหาร
อาหารและเครื่องดื่มหลายชนิดที่เกิดจากการกระทำของจุลินทรีย์ ซึ่งมนุษย์เราได้ใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานานแล้ว อาหารที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ เรียกว่า อาหารหมัก (fermented food) เช่น กะหล่ำปลีดอง แตงกวาดอง ไส้กรอก เกิดจากการกระทำของแบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กติก เป็นส่วนใหญ่ แบคทีเรียเหล่านี้อาจมีอยู่ตามธรรมชาติบนอาหารหรือเราตั้งใจใส่เชื้อนั้นลงในอาหาร

ผลิตภัณฑ์นมหมัก (fermented milk) มีหลายชนิด ได้แก่ นมเปรี้ยว เนยแข็ง นมเปรี้ยวซึ่งมีรสเปรี้ยวเกิดจากการหมักนมพาสเจอร์ไรซ์ด้วยแบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กติก จึงสามารถหมักน้ำตาลแล็กโทสให้เป็นกรดแล็กติกได้ และกรดนี้ไปทำให้โปรตีนในนมตกตะกอนเป็นลิ่มเละๆ ที่เรียกว่า เคิร์ด (curd) มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ผลิตภัณฑ์นมหมักที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ โยเกิร์ต นมบัตเตอร์ นมคีเฟอร์ เป็นต้น

โยเกิร์ต (yogurt) เป็นนมเปรี้ยวที่เชื่อว่าดื่มแล้วอายุยืน ทั้งชนิดกึ่งแข็งและ เหลว ใช้เชื้อต้นตอ (starter) คือ Streptococcus thermophilus และ Lactobacillus bulgaricus เติมลงในนมพาสเจอร์ไรซ์และบ่มไว้ที่อุณหภูมิประมาณ 43 องศาเซลเซียส 7 - 8 ชั่วโมง จนวัดความเป็นกรดได้ 0.9 % และทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว เพื่อหยุดปฏิกิริยาการหมัก

ผลิตภัณฑ์อื่นที่ทำจากนม ได้แก่ เนยเหลว (butter) ซึ่งทำจากไขมันในนม โดยนำนมมาปั่น ไขมันจะรวมตัวเป็นเม็ดแล้วกรองเอาส่วนที่เป็นน้ำออก นำไขมันมาเติมเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Streptococcus lactis ร่วมกับ Leuconostoc citrovorum ซึ่งทำให้เนยเหลวมีกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัว ส่วนการทำเนยแข็ง (cheese) ซึ่งมีแตกต่างกันหลายชนิดนั้นจะมีการเติมแบคทีเรีย ซึ่งเป็นเชื้อต้นตอต่างชนิดกัน เช่น S. lactis หรือ Streptococcus cremoris ทำให้ได้เนยแข็งต่างชนิดกัน แต่ละชนิดมีรสชาติและเนื้อของเนยที่แตกต่างกัน กรดที่แบคทีเรียแต่ละชนิดสร้างขึ้น จะช่วยให้นมจับตัวเป็นก้อนเคิร์ด หลังจากนี้มีการเติมเอนไซม์เรนนินลงไป เพื่อช่วยเร่งปฏิกิริยาการแข็งตัวของนม ทำให้แยกส่วนที่เป็นน้ำหรือหางนมออก ส่วนน้ำนี้เรียกว่าเวย์ (whey) แล้วจึงบีบเอาส่วนหางนมออกทำให้เนยแข็งขึ้น โดยนำไปไล่ความชื้นและใส่เกลือ เพื่อดึงน้ำออกและช่วยป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์ ที่ไม่ต้องการ หลังจากนี้จึงนำไปบ่มด้วยแบคทีเรียหรือรา

การทำขนมปัง อาศัยจุลินทรีย์จำพวกยีสต์ใส่ลงในแป้งที่จะทำขนมปังแล้วนวด ยีสต์จะเกิดกระบวนหมักให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแป้งอุ้มก๊าซนี้ไว้ จึงทำให้แป้งอ่อนนุ่มและพองตัว แป้งขนมปังที่ขึ้นฟูนี้เรียกว่า โด (dough) เมื่อนำแป้งไปอบ จึงทำให้ขนมขึ้นฟู การคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์ที่ดีจะทำให้ขนมปังมีกลิ่นรสที่ดีและสามารถหมักน้ำตาลได้มากและรวดเร็ว คุณภาพของขนมปังนอกจากขึ้นกับการเลือกชนิดยีสต์แล้ว ยังขึ้นอยู่กับสภาพการบ่มเชื้อและชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ด้วย

การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ ไซเดอร์ ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ ไซเดอร์ทำจากแอปเปิล ไวน์ทำจากองุ่น เบียร์ทำจากข้าวบาเลย์ จุลินทรีย์ที่ใช้ คือ ยีสต์ ซึ่งจะเปลี่ยนน้ำตาลในพืชหรือผลไม้ให้เป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงกับสารอื่นๆ ทำให้ได้รสชาติดี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิดมีรสชาติต่างกัน เนื่องจากใช้วัตถุดิบ วิธีการและสายพันธุ์ยีสต์ที่ต่างกัน

การผลิตเบียร์ อาศัยยีสต์ในกระบวนการหมัก วัตถุดิบที่ใช้ คือ ข้าวมอลต์ที่กำลังงอก (barley malt) และแป้ง (starch adjuncts) ผสมกับน้ำอุ่น หลังจากปล่อยให้เอนไซม์ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลแล้วจะได้น้ำเวิร์ท (wort) ออกมา เอามากรองและต้มกับดอกฮอป (hops) เพื่อให้น้ำเวิร์ทเข้มข้น มีรสชาติเพิ่มขึ้นและทำลายจุลินทรีย์ แล้วนำมาหมักด้วยยีสต์ ซึ่งจะหมักน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์และ คาร์บอนไดออกไซด์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงกับโปรตีนและสารอื่นๆ ทำให้เกิดรสชาติที่ดี

การผลิตน้ำส้มสายชูหมัก ที่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส ผลิตจากวัตถุดิบพวกแป้งและน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ น้ำเชื่อม กากน้ำตาล โดยมีการเปลี่ยนแปลง 2 ขั้นตอน คือ การหมักน้ำตาลให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ในสภาพไม่ใช้ออกซิเจน โดยอาศัยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae var. ellipsoideus และขั้นตอนที่สองเป็นการออกซิไดซ์แอลกอฮอล์ให้เป็นกรดน้ำส้ม หรือกรดแอซิติก โดยแบคทีเรีย Acetobacter และ Gluconobacter

การผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ จุลินทรีย์พวกแบคทีเรีย ยีสต์ สาหร่าย อาจใช้เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และสัตว์ได้ จุลินทรีย์เหล่านี้เจริญได้รวดเร็ว ทำให้ได้ผลผลิต คือ โปรตีนจำนวนมากและมีคุณภาพดี เพราะประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นและวิตามินปริมาณสูง อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์อาจใช้ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมของเสียจากโรงงานกระดาษ กากน้ำตาลจากอ้อย วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร หางน้ำนมหรือเวย์จากอุตสาหกรรมนม เป็นต้น จึงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงและเป็นการกำจัดของเสียที่ทำให้เกิด มลภาวะได้อีกด้วย การผลิตอาหารจากจุลินทรีย์เซลล์เดียว จึงเรียกว่า กระบวนการผลิตโปรตีนเซลล์เดียว (Single Cell Protein, SCP) ตัวอย่างแบคทีเรียที่นำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ Pseudomonas spp. ข้อดีของการใช้แบคทีเรียเป็นโปรตีนเซลล์เดียว คือ ใช้วัตถุดิบได้หลายชนิดในการเลี้ยง มีช่วงชีวิตสั้นและผลิตโปรตีนปริมาณมาก แต่ก็มีข้อเสีย คือ เซลล์มีขนาดเล็ก เก็บเกี่ยวผลผลิตยากและมีปริมาณกรดนิวคลีอิกอยู่มากทำให้รบกวนทางเดินอาหาร นิยมใช้ยีสต์ผลิตเป็นโปรตีนเซลล์เดียวมากกว่า เนื่องจากมีปริมาณกรดนิวคลีอิกต่ำกว่า เก็บเกี่ยวผลผลิตง่ายกว่า เจริญในอาหารตั้งต้น (ซับสเตรต) ที่มี pH ต่ำ และยอมรับยีสต์เป็นอาหารมากกว่าและยังมีวิตามินปริมาณสูงด้วย ยีสต์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Candida utilis ส่วนจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ใช้เป็นอาหาร ได้แก่ สาหร่ายน้ำจืด และสาหร่ายทะเลหลายชนิด เช่น เทา หรือเทาน้ำ หรือผักไก ก็คือ สาหร่ายน้ำจืด สไปโรไจรา (Spirogyra) สาหร่ายคลอเรลลา (Chlorella) ให้โปรตีนสูงมากถึง 55% ไขมัน 7.5% คาร์โบไฮเดรต 17.8% นอกจากนี้ยังมีวิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) วิตามินบี 1 (ไทอามีน) วิตามินบี 2 (ไรโบเฟลวิน) ไนอะซิน และวิตามินบี 6 (ไพริดอกซิน) ซีนี เดสมัส (Scenedesmus) เป็นสาหร่ายสีเขียวอีกชนิดหนึ่งที่ให้โปรตีนมากกว่า 50% ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งมากกว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองเสียอีก (ถั่วเหลืองให้โปรตีน 34.5%) ยังมีไซยาโนแบคทีเรีย คือ สไปรูไลนา (Spirulina) ที่มีโปรตีนสูงมากถึง 63-68% คาร์โบไฮเดรต 18-20% ไขมัน 2-3% ส่วนสาหร่ายทะเลหลายชนิดที่ใช้เป็นอาหารได้ ได้แก่ อุลวา (ulva) หรือผักกาดหอมทะเล และเอนเทอโรมอร์ฟา (Enteromorpha) ที่ทางภาคใต้นำมาเป็นอาหาร สาหร่ายสีน้ำตาลพวกซาร์กัสซัม (Sargassum) หรือเรียกว่าสาหร่ายทุ่นหรือสาหร่ายใบและพาไดนา (Padina) หรือสาหร่ายพัด พวกสาหร่ายสีแดงที่ใช้เป็นอาหารได้ ได้แก่ พอร์ไฟรา (Porphyra) หรือจีฉ่าย เจลิเดียม (Gelidium) หรือสาหร่ายวุ้น กราซิลาเรีย (Gracilaria) หรือสาหร่ายผมนาง เป็นต้น


การผลิตผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมหลายชนิดที่เกิดจากการกระทำของแบคทีเรีย ได้แก่

การผลิตกรดแล็กติก ที่ใช้รักษาโรคขาดแคลเซียม ในรูปแคลเซียมแล็กเตต (calcium lactate) รักษาโรคโลหิตจาง โดยใช้ในรูปไอเอินแล็กเตต, (iron lactate) และใช้เป็นตัวทำละลายแลคเกอร์ในรูปเอ็นบิวทิลแล็กเตต (N-butyl lactate)

การผลิตกรดแล็กติก ใช้วัตถุดิบพวกแป้งข้าวโพด มันฝรั่ง กากน้ำตาล หางนมที่ได้จากอุตสาหกรรมนม ถ้าวัตถุดิบเป็นแป้งจะถูกย่อยเป็นกลูโคสก่อนด้วยกรดหรือเอนไซม์ ชนิดของแบคทีเรีย ที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ เช่น ใช้เชื้อ L. bulgaricus เมื่อใช้หางนมเป็นวัตถุดิบ บางครั้งอาจต้องเติมสารประกอบไนโตรเจนหรือสารอื่นเพื่อช่วยให้เชื้อเจริญได้ดี ระหว่างการหมักจะเติมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เพื่อทำปฏิกิริยากับกรดแล็กติกให้เป็นกลาง ได้แคลเซียมแล็กเตต หลังจากนั้นจึงแยกแคลเซียมแล็กเตตออกมาและทำให้เข้มข้นขึ้น

การผลิตกรดซิตริกหรือกรดส้ม ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร ในอุตสาหกรรมน้ำหมึก สีย้อม และใช้ในวงการแพทย์ มีเชื้อราหลายชนิดที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรดส้มได้ แต่ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ Aspergillus niger

การผลิตกรดอะมิโน จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนจากสารประกอบไนโตรเจน ซึ่งอาจสังเคราะห์ได้มากเกินความต้องการ จึงขับออกมาในอาหารเลี้ยงเชื้อ จุลินทรีย์บางชนิดสังเคราะห์กรดอะมิโนได้มากจนผลิตเป็นการค้าได้ เช่น แอล-ไลซีน (L-lysine) ผลิตโดยเชื้อ Enterobacter aerogenes กรดแอล-กลูตามิก (L-glutamic acid) โดยแบคทีเรีย Micrococus, Arthrobacter เป็นต้น

การผลิตเอนไซม์ มีราและแบคทีเรียหลายชนิดที่สังเคราะห์เอนไซม์และขับออกจากเซลล์มาอยู่ในอาหาร ในทางอุตสาหกรรม สามารถเลี้ยงเชื้อราและแบคทีเรียให้สร้างเอนไซม์และทำให้เอนไซม์บริสุทธิ์ได้ เช่น

เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ได้จาก Rhizopus delemar, Mucor rouxii, Aspergillus oryzae ใช้ย่อยแป้งให้เป็นเดกซ์ทรินและน้ำตาล จึงใช้เอนไซม์นี้ในการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล เพื่อการผลิตแอลกอฮอล์ ใช้ในการทำให้ไวน์ เบียร์ และน้ำผลไม้ใสขึ้น

เอนไซม์อินเวอร์เทส (Invertase) ได้จากยีสต์ S. cerevisiae ใช้ย่อยซูโครสให้เป็นกลูโคสกับฟรักโทส จึงใช้ในอุตสาหกรรมทำลูกกวาด ไอศกรีม

โปรตีเอส (Protease) เป็นคำเรียกเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ซึ่งมีหลายชนิด ได้จาก Bacillus subtilis และ A. oryzae ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง การทำกาว การทำให้เนื้อนุ่ม ทำให้เครื่องดื่มใส

เอนไซม์เพกทิเนส (Pectinase) ได้จาก Aspergillus niger, Penicillium spp., Rhizopus spp. ใช้ในการทำให้น้ำผลไม้ใส และย่อยเพกทินในการแช่ต้นแฟลกซ์ เพื่อทำผ้าลินิน


การผลิตเชื้อเพลิง
การเกิดเชื้อเพลิงธรรมชาติในรูปถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติต้องใช้เวลานับล้านๆ ปี โดยเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ที่ตายรวมกันเป็นตะกอน โดยอาศัยอุณหภูมิสูงและแรงกดดัน รวมทั้งการกระทำของจุลินทรีย์ เชื้อเพลิงซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติชนิดสิ้นเปลืองกำลังลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โลกมีความต้องการพลังงานจากเชื้อเพลิงมากขึ้น จึงอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ทั่วโลกจึงหันมาสนใจหาแหล่งพลังงานทดแทน ซึ่งมีหลายแบบ แบบหนึ่ง คือ การผลิตเชื้อเพลิงโดยอาศัยจุลินทรีย์ เชื้อเพลิงชนิดนี้ ได้แก่ แอลกอฮอล์ และมีเทน

จุลินทรีย์จำพวกยีสต์ สามารถเกิดกระบวนการหมักสารคาร์โบโฮเดรตให้ได้แอลกอฮอล์ เพื่อใช้ทำเครื่องดื่ม ดังได้กล่าวแล้ว นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังใช้เป็นตัวทำละลายที่ดีด้วยและยังสามารถ ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ โดยการผสมแอลกอฮอล์ประมาณ 10-15% กับน้ำมันที่เรียกว่า แก๊สโซฮอล์ (Gasohol)

พลังงานอีกชนิดหนึ่งได้จากก๊าซชีวภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน (CH4) ที่ได้จากการหมักมูลสัตว์และของเสียจากสัตว์ โดยรวบรวมของเสียเหล่านี้ใส่ในถังหมักที่มีเชื้อ จุลินทรีย์อยู่ ทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยาในที่ไม่มีอากาศ จุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์ในของเสียไปและเกิดก๊าซมีเทนขึ้น ก๊าซนี้นำ ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารและกระบวนการอื่นๆ ที่ต้องการใช้ความร้อน ของเหลือจากถังหมัก เมื่อสะสมมากๆ ยังนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ ปัจจุบันครอบครัวตามชนบทมีการทำเชื้อเพลิงแบบนี้ใช้เอง


การบำบัดน้ำเสีย
การบำบัดน้ำเสียประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ทั้งวิธีทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางกายภาพเป็นการบำบัดขั้นต้น เพื่อกำจัดสารแขวนลอยขนาดใหญ่ออกด้วยการตกตะกอน แยกด้วยตะแกรงแยกขยะ การกรอง การหมุนเหวี่ยง เป็นต้น ส่วนการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี เช่น การออกซิเดชัน รีดักชัน โดยการเติมสารเคมีไปทำปฏิกิริยาลดหรือเติมออกซิเจน ให้กับสารที่ต้องการกำจัด เพื่อให้เปลี่ยนเป็นสารประกอบรูปอื่นที่ไม่เป็นพิษ แล้วจึงตกตะกอนแยกออกไป วิธีนี้มักใช้บำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนน้ำทิ้งจากบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารอินทรีย์มาก เช่นโรงงานกระดาษ โรงงานน้ำตาล โรงงานเบียร์ ต้องใช้กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ โดยอาศัยจุลินทรีย์ที่เติมให้หรือ จุลินทรีย์ในธรรมชาติมาย่อยสลายสารอินทรีย์ การบำบัดน้ำเสียแบบนี้มีหลายระบบ เช่น ระบบแอคติเวเตดสลัดจ์ (Activated sludge process) เป็นระบบที่ให้อากาศแก่น้ำเสีย โดยการกวนน้ำแรงๆ หรือทำให้น้ำเคลื่อนไหวเพื่อรับอากาศและให้จุลินทรีย์ทำการย่อยสารอินทรีย์ ซึ่งเมื่อถูกย่อยแล้วมีลักษณะเป็นคอลลอยด์ เรียกว่า ฟลอค (floc) และมีจุลินทรีย์อยู่มาก ฟลอคนี้จะทิ้งให้ตกตะกอนเพื่อนำไปบำบัดต่อไป โดยการย่อยในสภาพไร้อากาศ (anaerobic sludge digestion) หรืออาจนำไปเติมให้น้ำเสียที่ไหลเข้ามาใหม่ๆ พร้อมทั้งกวนแรงๆ จะทำให้เกิดฟลอคได้เร็วขึ้น ฟลอคที่ตกตะกอนแล้ว เรียกว่า แอดติเวเตดสลัดจ์ (activated sludge) ซึ่งมีจุลินทรีย์จำนวนมาก เช่น ยีสต์ รา โพรโทซัว และแบคทีเรีย

วิธีนี้ใช้กันมาก หลังจากทิ้งให้จุลินทรีย์ย่อยสารอินทรีย์แล้วจึงส่งน้ำไปยังถังตกตะกอน น้ำที่ปล่อยทิ้งจะมีค่า BOD ลดลงมาก

อีกระบบหนึ่ง เรียกว่า ทริกกลิงฟิลเตอร์ (trickling filter) อาศัยหลักการกรองโดยปล่อยให้น้ำเสียไหลลงมาตามชั้นหิน กรวด หรือวัสดุสังเคราะห์ชิ้นเล็กๆ ที่เรียงซ้อนกันเป็นแผ่น โดย อาจพ่นน้ำเสียให้เป็นฝอยขึ้นไปในอากาศก่อนเพื่อรับออกซิเจน ที่ชั้นหินจะมีจุลินทรีย์เคลือบติดอยู่เป็นฟิล์มบางๆ ซึ่งประกอบด้วยแบคทีเรีย รา โพรโทซัวและสาหร่าย เมื่อน้ำเสียไหลผ่านชั้นหินที่มีจุลินทรีย์ สารอินทรีย์จากน้ำเสียจึงเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายจนได้สารที่มีโมเลกุลเล็กลงและสามารถปล่อยทิ้งได้ โดยไม่เกิดการเน่าเสียโดยจุลินทรีย์พวกอื่นอีก

ระบบที่พึ่งพาธรรมชาติมากที่สุด คือ ระบบบ่อออกซิเดชัน (oxidation pond) ซึ่งต้องใช้พื้นที่ผิวมากและใช้จุลินทรีย์ธรรมชาติทำการย่อยสารอินทรีย์เอง โดยใช้ออกซิเจนจากธรรมชาติ หรือ ได้จากสาหร่ายที่ขึ้นอยู่ทำการสังเคราะห์แสงให้ออกซิเจนที่จำเป็นสำหรับแบคทีเรียนำไปใช้ ส่วนสาหร่ายที่ขึ้นอยู่ถ้าเจริญมากๆ ยังนำไปทำปุ๋ย หรือนำไปเลี้ยงสัตว์ได้


จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
จุลินทรีย์ในดินพวกแบคทีเรียและเห็ดราชนิดต่างๆ ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์จากซากสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นสารอนินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ได้สารอาหารจากซากเหล่านั้น และนำไปใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันสารอินทรีย์ที่สลายเป็นสารอนินทรีย์ ก็เป็นสารอาหารของพืชที่ดูดซึมไปสร้างเนื้อเยื่อพืชได้ ดังนั้น ถ้าขาดจุลินทรีย์ในดิน จะทำให้ดินขาดสารอาหาร และพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จุลินทรีย์ในดิน จึงเกี่ยวข้องกับวัฏจักรของสารต่างๆ ในธรรมชาติ เช่น วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรซัลเฟอร์ เป็นต้น

ในอากาศมีก๊าซไนโตรเจนอิสระอยู่ถึง 78% แต่พืชไม่สามารถนำไปสร้างโปรตีนในเซลล์ได้ พืชได้รับไนโตรเจนในรูปเกลือไนเตรตที่รากดูดขึ้นมาจากดิน แต่จุลินทรีย์บางชนิดมีความสามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบไนเตรต จุลินทรีย์เหล่านี้บางชนิดอยู่ร่วมกับรากพืช เช่น แบคทีเรียชื่อ ไรโซเบียม (Rhizobium) อยู่ร่วมกับรากพืชตระกูลถั่วแบบพึ่งพาอาศัยแบคทีเรียบางชนิดตรึงก๊าซไนโตรเจนแบบอิสระได้ เช่น Rhodospirillum rubrum, Rhodopseudomonas vanniellii หรือไซยาโนแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำ เช่น Anabaena spp., Nostoc spp.,Oscillatoria spp. เมื่อตรึงก๊าซไนโตรเจนแล้วจะเปลี่ยนให้เป็นแอมโมเนีย และพืชนำไปใช้เปลี่ยนเป็นโปรตีนในพืช เมื่อพืชถูกสัตว์กินจะเปลี่ยนเป็นโปรตีนในสัตว์ เมื่อพืชและสัตว์ตายลงรวมทั้งสิ่งขับถ่ายจากสัตว์จะทับถมลงดิน โปรตีนและกรดนิวคลีอิกจะถูกย่อยโดยแบคทีเรียบางชนิดในดินได้กรดอะมิโน ซึ่งถูกย่อยต่อได้แอมโมเนีย แอมโมเนียอาจระเหยออกจากดินหรือละลายน้ำกลายเป็นเกลือแอมโมเนียม (NH4+) หรือถูกพืชและจุลินทรีย์นำไปใช้และอาจเปลี่ยนต่อไปเป็นไนไตรต์ (NO2-) และไนเตรต (NO3-) ไนเตรตที่ผลิตโดยจุลินทรีย์จึงเป็นปุ๋ยให้แก่พืชได้


จุลินทรีย์เป็นสาเหตุของโรค
มีจุลินทรีย์หลายร้อยชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแก่คน สัตว์ พืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดโรคแก่สิ่งมีชีวิตที่มันเข้าไปอาศัยอยู่หรือที่เรียกว่าโฮสต์ได้นั้นจะต้องมีกลไกที่จะเอาชนะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโฮสต์ แต่ถ้าโฮสต์มีความต้านทานสูงกว่า จะสามารถทำลายจุลินทรีย์ เหล่านั้นได้และไม่เกิดโรคขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้จุลินทรีย์สามารถก่อโรคได้ ขึ้นอยู่กับสารพิษ (toxin) ที่มันสร้างขึ้น ซึ่งอาจทำลายเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายโฮสต์ หรือทำลายเนื้อเยื่อ เช่น เนื้อเยื่อประสาท นอกจากนี้จุลินทรีย์ยังมีสารบางอย่างและเอนไซม์ที่ย่อยสลายส่วนประกอบของเนื้อเยื่อโฮสต์ ทำให้มันบุกรุกเข้าเนื้อเยื่อโฮสต์ และทำอันตรายโฮสต์ได้

ตัวอย่างโรคของคนที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น ปอดบวม Diplococcus pneumoniae, วัณโรค Mycobacterium tuberculosis, โรคเรื้อน Mycobacterium leprae, บาดทะยัก Clostridium tetani, อหิวาตกโรค Vibrio cholerae, ไทฟอยด์ Salmonella typhi, บิด Shigella dysenteriae, ซิฟิลิส Treponema pallidum, คอตีบ Corynebacterium diphtheriae, ไอกรน Bordetella pertussis เป็นต้น

โรคที่เกิดจากไวรัส ได้แก่ โรคกลัวน้ำหรือโรคพิษสุนัขบ้า Rabies virus, ไข้เลือดออก Dengue virus, ไขสันหลังอักเสบ (โปลิโอ) Poliovirus, หัด Measles virus, หัดเยอรมัน Rubella virus, คางทูม Mump virus, ไข้หวัด Rhinovirus, ไข้หวัดใหญ่ Influenza virus, เริม Herpers simplex virus, อีสุกอีใสและงูสวัด Varicella - Zoster virus, ฝีดาษ Variola virus, ตับอักเสบชนิดเอ Hepatitis A virus, ตับอักเสบชนิดบี Hepatitis B virus, เอดส์ Human immunodeficiency virus (HIV) เป็นต้น

โรคที่เกิดจากเชื้อรา มีทั้งชนิดที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังที่เยื่อบุผิวชั้นนอกและเยื่อเมือกของเซลล์ชั้นนอก ๆ การติดเชื้อแบบนี้เรียกว่า โรคผิวหนังจากเชื้อรา (Dermatomycoses หรือ Cutaneous mycoses) เช่น โรคกลาก เกลื้อน ตามผิวหนัง เล็บ และผม เกิดจากเชื้อ Microsporum, Trichophyton และ Epidermophyton ส่วนพวกที่ทำให้เกิดโรคในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังลงไป เรียกว่า Deep mycoses หรือ Subcutaneous mycoses เกิดจากเชื้อ Blastomyces, Histoplasma, Sporotrichum เป็นต้น


ผลิตสารปฏิชีวนะและวัคซีน
สารปฏิชีวนะ หมายถึง สารที่ใช้รักษาโรคต่างๆ โดยสร้างได้จากจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง เพื่อไปยับยั้งหรือทำลายการเจริญของจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง โดยไม่ทำอันตรายต่อผู้ใช้

ตัวอย่างสารปฏิชีวนะที่สร้างจากแบคทีเรีย เช่น สเตรปโตไมซิน คลอเตตราไซคลิน หรือ ออริโอไมซิน ออกซีเตตราไซคลิน หรือเทอราไมซิน คลอแรมเฟนิคอล อิริโธรไมซิน แอมโฟเทอริซิน บาซิตราซิน เป็นต้น

การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันโรควิธีหนึ่ง โดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเอง การควบคุมโรคติดเชื้อจึงจำเป็นต้องผลิตวัคซีนจำนวนมากซึ่งผลิตในลักษณะเป็นการค้า วัคซีนที่ฉีดเข้าไปก็คือ แอนติเจนที่เราจงใจใส่เข้าไปเพื่อให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะกับแอนติเจนนั้นๆ ภูมิคุ้มกันจะอยู่ในร่างกายได้นานเท่าใดขึ้นอยู่กับชนิดของแอนติเจนที่เข้าไปกระตุ้น เช่น วัคซีนที่เตรียมจากเชื้อตายแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันได้จำกัดเพียง 6 เดือนถึง 2 ปี ได้แก่ วัคซีนไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ไอกรน โรคพิษสุนัขบ้า ไข้หวัดใหญ่ ส่วนวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่มีชีวิตหรือเชื้อที่อ่อนกำลังลงจะให้ผลคุ้มกันในระยะนาน ได้้แก่ วัคซีนโปลิโอชนิดกิน หัด หัดเยอรมัน คางทูม นอกจากนี้ยังใช้ทอกซินที่หมดพิษแล้ว ที่เรียกว่า ทอกซอยด์ มาทำเป็นวัคซีนได้ เพราะยังสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ เช่น ทอกซอยด์ของโรคคอตีบ และบาดทะยัก แอนติบอดีจะถูกสร้างขึ้นโดยพลาสมาเซลล์ (plasma cell) ที่เปลี่ยนแปลงมาจากบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) เมื่อแอนติบอดีจับกับแอนติเจนแล้วจึงกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์มาจับกินด้วยวิธี ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis) การที่แอนติบอดีจับกับแอนติเจนที่จำเพาะเจาะจงนั้น จึงทำให้แอนติบอดี ป้องกันโรคได้เพียงชนิดเดียว เมื่อเชื้อโรคถูกกำจัดออกไปแล้ว แอนติบอดีจะลดน้อยลง พลาสมาเซลล์จะเปลี่ยนเป็นเมมมอรีเซลล์ (memory cell) ซึ่งมีอายุยืนกว่า และจะเปลี่ยนกลับไปเป็นพลาสมาเซลล์ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน หรือเชื้อชนิดเดิมอีกเป็นครั้งที่สอง ทำให้สร้างแอนติบอดีได้ปริมาณมากกว่า และรวดเร็วกว่า จึงทำลายเชื้อโรคนั้นได้ทันท่วงที


การสร้างจุลินทรีย์ชนิดใหม่ โดยเทคนิคพันธุวิศวกรรม
ความต้องการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ของจุลินทรีย์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร อุตสาหกรรมและทางการแพทย์ ทำให้เกิดการค้นหาจุลินทรีย์ชนิดใหม่เรื่อยๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กระบวนการเหล่านั้น การพัฒนาให้ได้จุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีความสามารถสูง สามารถให้ปฏิกิริยาได้เร็ว ให้ผลผลิตจำนวนมาก อาจทำได้โดยการปรับปรุงอาหารเลี้ยงเชื้อ สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงเชื้อ การทำให้เกิดมิวเตชัน เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ ปัจจุบันมีเทคนิคการตัดต่อยีนในจุลินทรีย์ ที่เรียกว่า เทคนิครีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (recombinant DNA technology) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) ทำให้สามารถตัดต่อยีนที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งและนำไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมักเป็นจุลินทรีย์ ทำให้เพิ่มยีนนั้นขึ้นมากมายและเพิ่มผลผลิตได้ตามต้องการ

เทคนิคพันธุวิศวกรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมโดยการตัดต่อยีนหรือ DNA โดยอาศัยเอนไซม์ตัดจำเพาะ ซึ่งทำหน้าที่ตัด DNA ตรงบริเวณที่มีลำดับเบสเฉพาะเจาะจง เอนไซม์ตัดจำเพาะแต่ละชนิดจะทำหน้าที่ตัด DNA ตรงจุดตัดจำเพาะต่างๆ กัน ดังนั้นจึงอาจนำยีนของคน สัตว์ พืช จุลินทรีย์ มาตัดต่อกับ DNA ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีริโอเฟจ (ไวรัสของแบคทีเรีย) พลาสมิดของแบคทีเรีย (พลาสมิด คือ DNA วงกลมขนาดเล็กที่อยู่นอกโครโมโซมปกติของแบคทีเรีย) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพาหะ (vector) ให้ได้ DNA ลูกผสมหรือ รีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ แล้วจึงนำ DNA ลูกผสมใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง (ซึ่งมักเป็นแบคทีเรีย) เพื่อให้สิ่งมีชีวิตนั้นสร้างสารผลิตภัณฑ์หรือโปรตีนที่ต้องการในปริมาณมาก

จากเทคนิคพันธุวิศวกรรมช่วยให้เกิดผลดีต่ออุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับยา เพราะเทคนิคนี้ช่วยให้คัดเลือกได้ลักษณะที่ต้องการและสร้างได้ปริมาณมาก

ประโยชน์ของพันธุวิศวกรรม จึงนำมาใช้ในการปรับปรุงสุขภาพ ความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม ได้แก่

การผลิตฮอร์โมนที่สำคัญบางชนิด และมีความต้องการสูง เช่น อินซูลินที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน โกรทฮอร์โมน ที่ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต อินเตอร์เฟียรอน (Interferon) ที่ช่วยให้ร่างกายมีความต้านทานต่อไวรัส ปัจจุบันการผลิตฮอร์โมนดังกล่าวทำในแบคทีเรียและยีสต์

การผลิตวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด บี (Hepatitis B vaccine) วัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์ (foot and mouth disease vaccine) วัคซีนโรคกลัวน้ำ (Rabies vaccine) เป็นต้น การผลิตวัคซีนโดยวิธีนี้ นอกจากจะได้ปริมาณมากมายแล้ว ยังได้วัคซีนที่ดีกว่า โดยการกำจัดส่วนของแอนติเจนที่เป็นพิษทิ้งไป ทำให้ได้วัคซีนที่ดีและปลอดภัยมากขึ้น

การปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างผลผลิตสูงเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตสารปฏิชีวนะ วิตามิน กรดอะมิโน ให้ได้ปริมาณมาก หรือปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช ศัตรูสัตว์ การสร้างจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายคราบน้ำมัน และจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนให้กับธัญพืช เพื่อเป็นการปรับปรุงดินด้วย



http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t2.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/01/2012 7:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,468. ความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์



ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหมดนั้น อาจกล่าวได้ว่า จุลินทรีย์มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก คือ มีความหลากหลายของสปีชีส์ หรือความหลากหลายของชนิดพันธุ์ จำนวน จุลินทรีย์ในโลกนี้มีอยู่ประมาณ 5 แสนชนิด แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 5 กลุ่ม คือ แบคทีเรีย สาหร่าย ไวรัส โพรโทซัว และราชนิดต่างๆ ซึ่งสามารถจำแนกเป็นอาณาจักรที่ต่างกันได้ถึง 3 อาณาจักร เนื่องจากมีวิธีการได้อาหารที่แตกต่างกัน และมีลักษณะโครงสร้างของเซลล์ที่ต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มที่จัดอยู่ในอาณาจักรโมเนรา (Monera) ประกอบด้วยจุลินทรีย์พวกโพรคาริโอต ซึ่งมีเซลล์แบบโพรคาริโอติกเซลล์ (Prokaryotic cell) คือ ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ส่วนใหญ่ได้อาหารโดยการดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วเข้ามาในเซลล์ มีบางชนิดที่สังเคราะห์แสงได้ ส่วนใหญ่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง ในกลุ่มนี้ ได้แก่ แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue green algae) ที่ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า ไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria) กลุ่มจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา (Protista) ประกอบด้วย สาหร่าย โพรโทซัวและราเมือก กลุ่มนี้มีลักษณะเซลล์แบบยูคาริโอติกเซลล์ (Eukaryotic cell) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส และมีวิธีได้อาหารแตกต่างกัน ได้แก่ สาหร่าย ได้อาหารโดยการสังเคราะห์แสงเพราะมีคลอโรพลาสต์ จึงเป็นผู้ผลิตของระบบนิเวศ โพรโทซัวมีการดำรงชีวิตคล้ายสัตว์ ได้อาหารโดยการกินสิ่งมีชีวิตอื่น มีบางชนิดที่มีคลอโรพลาสต์ด้วย จึงช่วยในการสังเคราะห์แสงได้ บางชนิดเป็นปรสิตอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตอื่น ส่วนราเมือก (Slime mold) ได้อาหารโดยส่งเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารนอกเซลล์ แล้วดูดสารอาหารเข้าเซลล์ จึงดำรงชีวิตเป็นแซโพรไฟต์ อาณาจักรฟังไจ (Fungi) ได้แก่ ยีสต์ที่มีลักษณะเซลล์เดียว เห็ดและราที่มีหลายเซลล์เรียงเป็นเส้นใยจำนวนมาก เรียกว่า ไมซีเลียม เห็ด รา และยีสต์ เป็นพวกยูคาริโอตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นแซโพรไฟต์ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยให้เป็นสารโมเลกุลเล็ก ส่วนน้อยเป็นปรสิตทำให้เกิดโรคกับพืช สัตว์ และคน


นอกจากจุลินทรีย์ใน 3 อาณาจักรนี้แล้ว ยังมีไวรัสซึ่งไม่จัดเป็นเซลล์ เพราะมีโครงสร้างง่ายๆ มีเพียงสารพันธุกรรมชนิด DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่ง และมีเปลือกโปรตีนที่เรียกว่า แคปซิด (Capsid) ล้อมรอบสารพันธุกรรมไว้ ก็จัดเป็นอนุภาคไวรัสที่สมบูรณ์แล้ว ไวรัสบางชนิดอาจมีเอนเวลโลป (envelope) ล้อมรอบเปลือกโปรตีนอีกชั้นหนึ่ง เอนเวลโลปประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ไวรัสไม่มีออร์แกเนลล์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต จึงต้องอาศัยกลไกภายในเซลล์โฮสต์ (host) ที่มันเข้าไปอาศัยอยู่ จึงจัดไวรัสเป็นปรสิตที่แท้จริงภายในเซลล์ (obligate intracellular parasite) ของคน สัตว์ พืช และจุลินทรีย์อื่นๆ
จุลินทรีย์มีความหลากหลายทางพันธุกรรม เพราะจุลินทรีย์สปีชีส์เดียวกันอาจไม่ได้มีลักษณะที่เหมือนกันทุกประการ ทำให้แบ่งย่อยออกเป็นสายพันธุ์ (strain) ต่างๆ ได้อีก ความแตกต่างทางพันธุกรรมนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการวิวัฒนาการอันยาวนานนับพันล้านปี เนื่องจากจุลินทรีย์ ได้กำเนิดขึ้นมาบนโลกเมื่อประมาณ 3,500 ล้านปีมาแล้ว ความแตกต่างทางพันธุกรรม ทำให้จุลินทรีย์สามารถปรับตัวให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและมีความรุนแรงได้ ดังนั้น ความหลากหลายทางพันธุกรรม จึงเป็นผลให้จุลินทรีย์ปรับตัวให้เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันได้ อันเป็นความหลากหลายทางระบบนิเวศ (ecological diversity) จึงทำให้สามารถพบจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่บริเวณที่เย็นจัดแม้ในหิมะและน้ำแข็งขั้วโลก จนถึงบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ในบ่อน้ำพุร้อน แม้แต่ในทะเลลึกที่มีความกดดันของน้ำมากๆ ก็ยังมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ได้ พบได้ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด สระน้ำ ลำธาร น้ำไหล ในดินแฉะ บนก้อนหิน ดินทราย ตามเปลือกไม้ และพบได้ทั้งในสภาพซึ่งไม่มีออกซิเจนที่สิ่งมีชีวิตอื่นไม่สามารถอาศัยอยู่ได้


นอกจากนี้จุลินทรีย์ยังสามารถดำรงชีวิตได้ทุกรูปแบบทั้งแบบที่สังเคราะห์อาหารได้เอง โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อรวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำให้เป็นคาร์โบไฮเดรต และได้ก๊าซออกซิเจนเป็นผลพลอยได้ กระบวนการนี้เรียกว่าการสังเคราะห์แสง ซึ่งพบกระบวนการนี้ในสาหร่ายทุกชนิด แบคทีเรียบางชนิดและไซยาโนแบคทีเรีย แบคทีเรียบางชนิดยังได้พลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันสารเคมีอีกด้วย บางพวกสังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร จุลินทรีย์บางชนิด เช่น โพรโทซัว มีการเคลื่อนที่เพื่อนำสิ่งมีชีวิตหรืออาหารให้เข้ามาในเซลล์ แล้วใช้เอนไซม์ย่อยเป็นสารอาหารขนาดเล็กที่เซลล์นำไปใช้ได้ จุลินทรีย์บางชนิดอาจส่งเอนไซม์ออกจากตัวมาย่อยอาหารนอกเซลล์จนเป็นสารอาหารขนาดเล็กแล้วจึงดูดซึมสารอาหารเข้าเซลล์ก็ได้ เช่น เห็ด รา แบคทีเรีย จุลินทรีย์เหล่านี้จึงมักอาศัยอยู่ตามซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้ว และเป็นสาเหตุให้ซากเน่าเปื่อย เพื่อสลายเป็นสาร อนินทรีย์ในดินทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น จุลินทรีย์บางชนิดอาจปรับตัวให้เป็นปรสิต (parasite) เข้าไปอาศัยอยู่ในร่างกายหรือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น พืช สัตว์ และมนุษย์ และอาศัยอาหารจากพืช สัตว์เหล่านั้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านหรือโฮสต์ ทำให้โฮสต์เกิดโรคขึ้น


ในการเปลี่ยนอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นพลังงานที่จุลินทรีย์ใช้ในการดำรงชีวิตนั้นเกิดขึ้นโดยกระบวนการหายใจ ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ แบบที่ใช้ออกซิเจนอิสระ แบบที่ไม่ใช้ออกซิเจน และแบบกระบวนการหมัก มีจุลินทรีย์จำนวนมากที่ใช้กระบวนการหายใจแบบใช้ออกซิเจนจากอากาศในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน แต่จุลินทรีย์บางชนิดในกระบวนการหายใจไม่ต้องอาศัยก๊าซออกซิเจน พวกนี้เมื่อสลายอาหารแล้วมักได้ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น จุลินทรีย์บางชนิด เช่น ยีสต์ อาศัยกระบวนการหมักในการเปลี่ยน อาหารให้เป็นพลังงาน และยังได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารอินทรีย์ที่เรานำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ กรดแล็กติก กรดน้ำส้ม กรดซักซินิก เป็นต้น


จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ต้องได้อาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น จึงมีความสัมพันธ์ร่วมกับสิ่งมีชีวิต ทั้งแบบปรสิตที่ทำให้เกิดโรคกับโฮสต์ดังกล่าวแล้ว หรือจุลินทรีย์บางชนิดอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นโดยไม่ทำอันตราย แต่กลับให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่าภาวะพึ่งพากัน (mutualism) ตัวอย่างความสัมพันธ์นี้ ได้แก่ ไลเคนส์ ไรโซเบียมที่อยู่กับปมรากถั่ว โพรโทซัวไตรโคนิมฟาที่อยู่กับปลวก เป็นต้น


ไลเคนส์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างราและสาหร่าย ซึ่งต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไลเคนส์สามารถเจริญได้บนหินหรือเปลือกไม้ หรือบริเวณที่แห้งแล้งไม่เหมาะกับการเจริญของพืชอื่น ไลเคนส์จำนวนมากเจริญได้ที่อุณหภูมิต่ำแถบขั้วโลกและบนภูเขาสูง ไลเคนส์ประกอบด้วยไมซีเลียมของราอัดกันแน่นอยู่ชั้นบน ข้างใต้เป็นกลุ่มเซลล์ของสาหร่ายและด้านล่างลงไปเป็นชั้นของรา ซึ่งยึดติดกับพื้นดินด้วยไฮฟา
ไลเคนส์เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงมลภาวะของอากาศ บริเวณใดที่อากาศมีมลพิษมาก จะไม่พบไลเคนส์เจริญอยู่ การมีไลเคนส์เจริญอยู่ที่ใดแสดงว่าอากาศบริเวณนั้นมีความบริสุทธิ์


การเปลี่ยนแปลงสภาพระบบนิเวศอย่างรุนแรง อาจมีผลทำให้จุลินทรีย์สูญพันธุ์ได้ เช่น การพลิกหน้าดิน โดยการไถพรวนด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ อาจทำให้จุลินทรีย์ชนิดที่อยู่ใต้ดินถูกพลิกขึ้นมาผิวดิน และเผชิญกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีอากาศและแสงแดดรุนแรง หรือในกรณีกลับกัน จุลินทรีย์ชนิดที่อยู่หน้าดินและชอบอากาศและแสงแดด อาจถูกพลิกกลับลงไปอยู่ใต้ดินซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับมัน จุลินทรีย์เหล่านี้อาจปรับตัวไม่ทันและตายได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ให้สามารถเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้ โดยมีโครงสร้างพิเศษ เช่น สปอร์ ซีสต์ แคปซูล ทำให้ทนต่อความแห้งแล้ง ความร้อน สารเคมี รังสีต่างๆ และแรงกดดันต่างๆ ได้ จึงทำให้จุลินทรีย์พวกนี้มีชีวิตรอดมาจนทุกวันนี้



http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t1.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/01/2012 7:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,469. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์



จากคุณค่าและความสำคัญของจุลินทรีย์ทางด้านอาหาร เกษตร อุตสาหกรรม และการผลิตยารักษาโรคดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าจุลินทรีย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อความเป็นอยู่และความมีสุขภาพดีของมนุษย์ ซึ่งสมควรจะอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ของจุลินทรีย์ไว้มิให้สูญหาย จุลินทรีย์ที่แยกได้จากธรรมชาติ ที่นำมาใช้ประโยชน์ มีทั้งที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมและพวกที่มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มาแล้ว เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพดี สามารถสร้างสารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มาก แต่ในธรรมชาติก็มีจุลินทรีย์ อีกมากที่ยังไม่ได้ศึกษาและนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีนักอนุกรมวิธานทางด้านจุลินทรีย์มากขึ้นเพื่อให้มีการสำรวจและคัดแยก (isolate) จุลินทรีย์ชนิดใหม่ๆ จากธรรมชาติ เก็บรวบรวมจุลินทรีย์ เหล่านั้นและเก็บรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย โดยไม่ให้มีการปนเปื้อนกับเชื้ออื่น ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรม และเชื้อนั้นยังมีชีวิตรอดอยู่ได้ โดยยังคงสมบัติดั้งเดิมของเชื้อสายพันธุ์นั้นๆ
การเก็บรักษาจุลินทรีย์ไว้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนทางด้านจุลชีววิทยา ใช้ทางด้านอุตสาหกรรม ใช้ในการผลิตหรือเก็บเชื้อที่ได้จากการคัดเลือกสายพันธุ์เฉพาะที่ให้ผลผลิตสูง ส่วนนักอนุกรมวิธานเก็บรักษาเชื้อที่ได้จากการคัดแยกใหม่และรวบรวมจากแหล่งอื่นๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบ
การเก็บรักษาจุลินทรีย์อาจเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการของวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ โรงพยาบาลหรือโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาจขาดบุคลากรและอุปกรณ์ในการเก็บ รวมทั้งขาดประสบการณ์ของวิธีการเก็บที่เหมาะสม และอาจทำให้จุลินทรีย์เหล่านั้นตายไปหรือสูญหายหรือสมบัติเปลี่ยนแปลงไป


การเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ดี ทำได้โดยเก็บไว้ใน ศูนย์เก็บรวบรวมเชื้อ หรือ ศูนย์เก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ (culture collection) ซึ่งเป็นการเก็บรักษาตัวเชื้อจุลินทรีย์ไว้ให้คงสมบัติดั้งเดิมของแต่ละสายพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ภายหลัง นอกจากนี้ยังเป็นการเก็บรักษาพันธุกรรมของเชื้อให้คงเดิม การเก็บรักษาเชื้อไว้ในศูนย์ยังมีการควบคุมคุณภาพให้เชื้อบริสุทธิ์ ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกับเชื้ออื่น และเก็บให้เชื้อรอดชีวิตอยู่ เพื่อนำมาเลี้ยงให้เชื้อเพิ่มจำนวนภายหลังได้ โดยมีการทดสอบความบริสุทธิ์และการมีชีวิตอยู่ของจุลินทรีย์เป็นระยะๆ การเก็บจุลินทรีย์ไว้ในศูนย์ จึงเป็นการประกันสมบัติของเชื้อไม่ให้เปลี่ยนแปลงตามเวลาและสภาพแวดล้อม


หน้าที่ของศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ จึงเป็นแหล่งเก็บรวบรวมรักษาเชื้อจุลินทรีย์ และเป็นแหล่งข้อมูลของทรัพยากรจุลินทรีย์ที่เก็บรักษาไว้ นับว่าศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์เป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรพันธุกรรมของจุลินทรีย์


ศูนย์เก็บรวบรวมจุลินทรีย์มีหลายประเภท ได้แก่ ศูนย์ส่วนบุคคลซึ่งพบอยู่ตามห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาต่างๆ ส่วนศูนย์เฉพาะทางเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์เฉพาะด้านที่มีลักษณะพิเศษและมีจำนวนไม่มาก เช่น โรงงานผลิตเบียร์ โรงงานผลิตสารปฏิชีวนะ


ชนิดของจุลินทรีย์ที่เก็บรักษาไว้ในศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ แบ่งตามประโยชน์ของ จุลินทรีย์ ได้แก่ จุลินทรีย์ทางด้านอนุกรมวิธาน เพื่อเก็บรักษาเชื้อไว้เปรียบเทียบกับเชื้อสายพันธุ์อื่น จุลินทรีย์ทางด้านการแพทย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ไว้เปรียบเทียบในการรักษาและป้องกันโรค จุลินทรีย์ทางด้านอุตสาหกรรมเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตกรดซิตริก กรดอะมิโน สารปฏิชีวนะ การผลิตแอลกอฮอล์และขนมปัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตวัคซีนและเอนไซม์รวมทั้งเชื้อที่แยกได้ใหม่ในระหว่างการทำวิจัยเพื่อพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ ที่สามารถทำงานได้ดีขึ้น และให้ผลผลิตที่มีคุณค่ามากขึ้น ส่วนจุลินทรีย์ที่ใช้ในการวิเคราะห์สารเก็บรักษาไว้เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สารต่างๆ เช่น วิตามิน กรดอะมิโน สารปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังเก็บรักษาจุลินทรีย์ ที่ใช้ในการศึกษาและวิจัยในด้านต่างๆ เช่น พันธุศาสตร์ ชีวเคมี เป็นต้น


หลักการและเทคนิคการเก็บรักษาจุลินทรีย์
การเก็บรักษาจุลินทรีย์มีวัตถุประสงค์ เพื่อรักษาจุลินทรีย์ให้มีชีวิตรอดได้นาน โดยยังมีความบริสุทธิ์และไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรม วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์มีหลายวิธี แต่มีหลักการสำคัญ คือ การหยุดหรือลดการเจริญเติบโตของเชื้อโดยควบคุมปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญ เช่น การจำกัด อากาศ อุณหภูมิ สารอาหารและน้ำ การเก็บรักษาจุลินทรีย์แต่ละวิธีต้องทำให้เชื้อยังมีชีวิตรอดอยู่มากที่สุด คงลักษณะเดิมมากที่สุด และไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรม
วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ โดยทั่วไป มี 4 วิธี คือ

การต่อเชื้อหรือการเปลี่ยนอาหารใหม่ (subculture) โดยเพาะเลี้ยงเชื้อลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมและบ่มไว้ในสภาพที่เหมาะสม เมื่อถึงเวลาที่อาหารหมดจึงต่อเชื้อลงในอาหารใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อยไป จุลินทรีย์จึงมีชีวิตอยู่ได้ตลอดไป วิธีนี้มีข้อดี คือ ทำง่ายไม่ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ และอุปกรณ์ราคาถูก ไม่ต้องใช้เครื่องมือซับซ้อน สามารถใช้เก็บรักษาจุลินทรีย์ทั่วไป แต่มีข้อเสีย เช่น ต้องใช้เวลาและแรงงานมากในการเตรียมอาหารและการเพาะเชื้อ ถ้ามีเชื้อจำนวนมากและต้องใช้พื้นที่มากในการเก็บหลอดเชื้อ ในขณะต่อเชื้อลงในอาหารใหม่อาจเกิดการปนเปื้อน (contaminate) จากเชื้ออื่น และเชื้ออื่นเจริญมากขึ้น จนทำให้เชื้อที่เก็บรักษาไว้ตายได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดความผิดพลาด ในการเขียนรหัสเชื้อทำให้สับเปลี่ยนสายพันธุ์กัน รวมทั้งการต่อเชื้อลงในอาหารใหม่เรื่อยๆ อาจทำให้เกิด การกลายพันธุ์และเปลี่ยนลักษณะเชื้อไป

การทำให้แห้ง (drying) โดยดึงน้ำออกและป้องกันไม่ให้เกิดความชื้นอีก เป็นการหยุดการเจริญของเชื้อ ส่วนใหญ่ใช้เก็บเชื้อราซึ่งทนต่อความแห้งได้ดี นอกจากนี้ยังใช้ได้กับยีสต์ และแบคทีเรียบางชนิด

การทำให้แห้งในวัสดุต่างๆ ได้แก่ ดิน ทราย ซิลิกาเจล เหมาะสำหรับใช้เก็บเชื้อรา หรือแบคทีเรียที่สร้างสปอร์ การเก็บบนแผ่นกระดาษ (paper disc) ใช้กับเชื้อยีสต์บางชนิดและ สแตฟฟิโคค็อกไค หลังจากทำให้เชื้อและวัสดุแห้งแล้ว จึงเก็บในห่อฟอยล์ภายในภาชนะปิดไม่ให้อากาศเข้า การเก็บบนแท่งวัตถุแห้ง (predried plug) เช่น แป้ง เพปโทน (peptone) หรือเดกซ์แทรน (dextran) ซึ่งจะดูดซับซัสเพนชันเชื้อไว้ แล้วจึงนำไปทำให้แข็ง และเก็บภายใต้สุญญากาศ วิธีนี้ใช้ได้ดีกับเชื้อที่บอบบาง เช่น เชื้อโกโนเรีย และเชื้ออหิวาต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเก็บบนแผ่นเจลาติน (gelatin disc) โดยผสมเชื้อในอาหารเจลาตินเหลวนำไปหยดบนจานเลี้ยงเชื้อ และทำให้แห้งด้วยเครื่องปั๊มสุญญากาศ หรือ ทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง เมื่อแผ่น เจลาตินดิสก์แห้งแล้ว จึงเก็บในหลอดที่ปลอดเชื้อ เมื่อต้องการใช้สามารถ นำมาใช้ได้ทีละแผ่น โดยหย่อนลงในอาหารเหลวที่เหมาะกับจุลินทรีย์นั้นๆ

การทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง (freeze drying หรือ lyophilization) เป็นการทำให้น้ำระเหยไปจากซัสเพนชันเชื้อที่เยือกแข็งแล้ว โดยนำจุลินทรีย์ที่เจริญบนอาหารวุ้นมาผสมกับสารแขวนลอย (suspending medium) เช่น สคิมมิลค์ (skim milk) หรือกลูโคสซีรัม (glucose serum) แล้วนำไปเข้าเครื่องทำให้เซลล์แข็งตัวในสภาพสุญญากาศ น้ำในเซลล์จะถูกดึงออกโดยการระเหิด จุลินทรีย์จะอยู่ในสภาพแห้งและแข็ง แต่ยังมีชีวิตอยู่และสามารถเก็บเชื้อไว้ได้นานมากกว่า 10 ปี
ข้อดีของวิธีนี้ คือ เหมาะสำหรับการเก็บรักษาเชื้อจำนวนมากและเก็บรักษาได้นาน ส่วนข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายสูงในการซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือ

การเยือกแข็งหรือแช่แข็ง (freezing) เป็นการทำให้น้ำในเซลล์กลายเป็นน้ำแข็งโดยการลดอุณหภูมิ การทำให้เซลล์อยู่ในสภาพแข็งตัวเช่นนี้มีหลายวิธี ได้แก่ การเก็บบนเม็ดแก้ว (glass bead) ที่ -70 ํC โดยผสมเชื้อด้วยอาหารเหลวและกลีเซอรอลให้เป็นซัสเพนชัน หยดซัสเพนชันเชื้อบนเม็ดแก้ว แล้วเก็บไว้ในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิ -70 ํC เวลาจะใช้จึงตักเม็ดแก้วมาใส่ในอาหารเลี้ยงเชื้อ อีกวิธีหนึ่ง คือ การเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 ํC โดยเลี้ยงจุลินทรีย์บนอาหารวุ้นและเติมกลีเซอรอลหรือไดเมทิลซัลฟอกไซด์ (Dimethyl sulphoxide DMSO) เพื่อป้องกันเซลล์แตก แล้วถ่ายใส่หลอดเล็กๆ ปิดฝาให้สนิท นำเข้าเครื่องลดอุณหภูมิ เพื่อให้อุณหภูมิลดลงมาถึงจุดเยือกแข็งในระดับ -20 ํC ถึง -30 ํC แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในถังบรรจุไนโตรเจนเหลวอุณหภูมิ -196 ํC

อย่างไรก็ตาม ในการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ไม่มีวิธีใดวิธีเดียวที่เหมาะสมกับจุลินทรีย์ทุกชนิด การเก็บรักษาจุลินทรีย์ จึงควรคำนึงถึงชนิดของจุลินทรีย์ที่จะเก็บ วัตถุประสงค์ในการเก็บ ความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์รวมทั้งบุคลากรที่มีความชำนาญ และสิ่งสำคัญ คือ งบประมาณที่ใช้ในการเก็บรักษาจุลินทรีย์


การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในประเทศไทย
ประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์เก็บรักษาและรวบรวมข้อมูลจุลินทรีย์ ขึ้นที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และทำหน้าที่เป็นศูนย์ในระดับภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ โดยได้รับทุนอุดหนุนการจัดตั้งจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (UNESCO) และโครงการสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ (UNEP) ศูนย์นี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 มีชื่อเรียกว่า
ศูนย์เก็บรักษาและรวบรวมข้อมูล จุลินทรีย์” (Microbiological Resources Center, MIRCEN) ชื่อย่อว่า ศูนย์กรุงเทพ โดยทำหน้าที่รวบรวมและจัดเก็บจุลินทรีย์นอกถิ่นกำเนิดแบบถาวร ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ รา และสาหร่าย ที่มีประโยชน์และมีความสำคัญทางด้านอุตสาหกรรม เกษตร และสิ่งแวดล้อม รวบรวมข้อมูลสายพันธุ์จุลินทรีย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และจัดทำเอกสารบัญชีรายชื่อจุลินทรีย์ สำหรับใช้เป็นคู่มือนักวิจัยในด้านสายพันธุ์จุลินทรีย์ ทางด้านงานวิจัย ดำเนินการค้นคว้าวิจัย สำรวจทรัพยากรจุลินทรีย์ในประเทศอย่างมีระบบ โดยเน้นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดอนุกรมวิธาน ศึกษาเทคนิคการเก็บรักษา และการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ ในด้านบริการให้บริการสายพันธุ์จุลินทรีย์และข้อมูลจุลินทรีย์ เพื่องานวิจัย การเรียนการสอน และการผลิตในอุตสาหกรรม ให้บริการจำแนกชนิดจุลินทรีย์ การผลิตจุลินทรีย์ในปริมาณมาก จัดหาและสั่งซื้อจุลินทรีย์จากศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ในต่างประเทศ ให้บริการฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเก็บรักษาและจำแนกชนิดจุลินทรีย์ ให้บริการคำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในด้านต่างๆ และบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลจุลินทรีย์กับศูนย์ข้อมูลจุลินทรีย์ในต่างประเทศ


นอกจากศูนย์เก็บรักษาและรวบรวมข้อมูลจุลินทรีย์ ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยปฏิบัติการเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์เฉพาะทางที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2539 ซึ่งเห็นความสำคัญของการเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่แยกได้ในประเทศ และต้องการสนับสนุนให้นักวิจัยในประเทศศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานของจุลินทรีย์ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (บีอาร์ที) หน่วยปฏิบัติการเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์เฉพาะทาง มีวัตถุประสงค์ให้บริการ จัดเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่แยกได้ในประเทศ ในปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 2,000 สายพันธุ์ โดยเน้น เฉพาะจุลินทรีย์ลักษณะพิเศษ เช่น ราที่ทำให้เกิดโรคในแมลง (Insect pathogenic fungi) ราน้ำ (Aquatic fungi) ราในกลุ่มไซลาเรียซีอี (Xylariaceae) แบคทีเรียพวกแอคติโนมัยซีส (Actinomycetes) แบคทีเรียแลคติก (Lactic acid bacteria) สาหร่ายขนาดเล็ก (Microalgae) นอกจากนี้ยังพัฒนา วิธีเก็บเชื้อแบบถาวรให้เหมาะกับจุลินทรีย์แต่ละกลุ่ม เช่น เทคนิคการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -80° C และ -196° C การทำแห้งแบบเยือกแข็ง การเก็บภายใต้พาราฟินเหลวที่อุณหภูมิห้อง โดยมีการควบคุมคุณภาพของจุลินทรีย์ที่เก็บรักษาไว้ด้วยการตรวจสอบการมีชีวิตและความบริสุทธิ์ของจุลินทรีย์


กิจกรรมหลักอีกอย่างหนึ่งของหน่วย คือ การจัดการด้านข้อมูลให้เป็นมาตรฐานสากล โดยรวบรวมข้อมูลของจุลินทรีย์ที่เก็บรักษาไว้ ทั้งด้านสมบัติและการใช้ประโยชน์จากเชื้อจุลินทรีย์เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการวิจัยทางด้านการอนุรักษ์ การจัดอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ และยังเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านบริการการเก็บรักษาจุลินทรีย์และข้อมูลจุลินทรีย์ระหว่างนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ




http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t3.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/01/2012 7:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,470. โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดากับจุลินทรีย์



โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและได้ทราบถึงปัญหาต่างๆ ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับพสกนิกรของพระองค์ โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และอื่นๆ จึงมีพระราชดำรัสที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้น โดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นที่ตั้งของโครงการส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร คล้ายกับจำลองความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของราษฎรจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศมาอยู่ในบริเวณที่ประทับ เพื่อจะได้ทดลองหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ถูกต้องและตรงจุดด้วยพระองค์เอง


ในการดำเนินงานของโครงการส่วนพระองค์ฯ นั้น ได้เน้นหนักให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และปัจจัยทางการเกษตรที่ประเทศไทยเรามีอยู่ นำมาใช้สอยอย่างประหยัด และให้ได้ประโยชน์สูงสุด ด้วยขั้นตอนการผลิตที่สามารถทำได้ไม่ยากนัก โดยคำนึงถึงการใช้ปัจจัยทางการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูง เป็นการประหยัดทั้งงบประมาณและเวลา อีกทั้งอาศัยความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการศึกษา ค้นคว้าและทดลอง เพื่อรวบรวมข้อมูลและผลที่ได้จากการทดลองนำไปเผยแพร่เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการเกษตร และประชาชนทั่วไปที่สนใจในโครงการส่วนพระองค์ฯ นี้


โครงการนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ และโครงการแบบกึ่งธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นโครงการทดลอง โครงการตัวอย่าง และเป็นโครงการซึ่งไม่หวังผลกำไรตอบแทน 11.4.1 โรงเนยแข็งสวนจิตรลดา


เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พุทธศักราช 2530 โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้จัดสร้างโรงเนยแข็งน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และคณะกรรมการบริหารของบริษัท ซี.ซี. ฟรีสแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ร่วมน้อมเกล้าฯ ถวายอุปกรณ์สำหรับการผลิตเนยแข็ง การนี้โครงการส่วนพระองค์ได้จัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเนยแข็ง เพื่อการค้นคว้าทดลองและส่งเสริมแนะนำเป็นอาชีพในโอกาสต่อไป


ปัจจุบันโรงเนยแข็งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกจัดจำหน่ายหลายชนิด อาทิ เนยแข็ง ไอศกรีม นมสดพาสเจอร์ไรส์ปราศจากไขมัน เนยสด โยเกิร์ตพร้อมดื่ม และนมข้นหวานบรรจุหลอด


ผลิตภัณฑ์ที่อาศัยจุลินทรีย์ในการผลิต ได้แก่
เนยแข็ง (cheese) เนยแข็งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตกตะกอน โปรตีนในนม ที่เรียกว่า เคซีน (casein) โดยอาศัย จุลินทรีย์เฉพาะ และใช้เอนไซม์ช่วยให้เกิดการตกตะกอนเป็นลิ่มหรือเคิร์ด จากนั้นทำการตัดเคิร์ด เพื่อแยกส่วนของแข็งออกจากของเหลวและนำมาอัดเป็นรูปร่างของเนยแข็ง (ภาพประกอบ 11.1)
เนยแข็งชนิดแรกที่ทำการผลิต คือ เนยแข็งชนิดเกาดา (Gouda cheese) โดย พาสเจอร์ไรส์นมที่อุณหภูมิ 72-75° C เป็นเวลา 15 วินาที ต่อไปทำการตกตะกอน (coagulation) นม โดยการเติมเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสตาร์ทเตอร์ (starter) และเอนไซม์เรนเนตที่อุณหภูมิ 30° C ประมาณ 30 นาที แล้วจึงตัดเคิร์ด (cutting curd) ประมาณ 15 นาที และระบายน้ำเวย์ออก (draining off whey) ประมาณ 10 นาที ต่อไปเพิ่มอุณหภูมิ (cooking) ให้ได้ประมาณ 35° C เป็นเวลา 20 นาที แล้วจึงระบายน้ำเวย์ครั้งสุดท้าย (final draining off whey) ประมาณ 30 นาที แล้วกดอัดในแม่พิมพ์เป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง จึงนำมาแช่ในน้ำเกลือ (brining) เป็นเวลา 2 วัน และบ่ม (ripening) ในห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (อุณหภูมิ 15° C ความชื้น 85 -90 %) เป็นเวลา อย่างน้อย 6 สัปดาห์ (ภาพประกอบ 11.2)


ต่อมาราวเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ทดลองผลิตเนยแข็งชนิดปรุงแต่ง หรือโพรเซสชีส (processed cheese) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ นำเนยแข็งที่มีคุณภาพบกพร่องในเรื่อง สี กลิ่น รส มาแปรรูปใหม่ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้น ปัจจุบันใช้เนยแข็งเกาดาและเนยแข็งเชดดาเป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยคัดเลือกวัตถุดิบที่ให้ลักษณะ สี กลิ่น รส และเนื้อสัมผัสที่ดีของโพรเซสชีส นำมาตกแต่งและทำความสะอาดและบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 70-75° C เป็นเวลา 10-15 นาที ทิ้งให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 1 คืน นำมาหั่นเป็นแผ่นบางๆ และบรรจุถุงพลาสติก ด้วยระบบสุญญากาศ


ส่วนเนยแข็งเชดดา (cheddar cheese) เริ่มผลิตเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2532 โดยพาสเจอร์ไรส์นมที่ 72-75° C เป็นเวลา 15 วินาที ทำการตกตะกอนนมโดยเติมเชื้อสตาร์ทเตอร์และเอนไซม์เรนเนต ใช้เวลาประมาณ 45 นาที แล้วตัดเคิร์ด ใช้เวลา 15-20 นาที ปรับอุณหภูมิให้ได้ 37.5-38.5° C เป็นเวลา 40 นาที ระบายน้ำเวย์ทิ้งครั้งแรกประมาณครึ่งหนึ่ง เป็นเวลา 10 นาที ระบายน้ำเวย์ครั้งสุดท้าย จนกระทั่งได้ปริมาณกรดตามต้องการ หลังจากระบายน้ำเวย์ครั้งแรก ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ต่อไปตัดเคิร์ดและกลับไปกลับมา (cheddaring) กลับทุก ๆ 10 นาที จนได้ปริมาณกรดตามต้องการ แล้วตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกเกลือ (salting) ผสมให้เข้ากัน บรรจุใส่พิมพ์อัดในพิมพ์ ประมาณ 1 เดือน


โยเกิร์ตพร้อมดื่ม (นมเปรี้ยว) เป็นผลิตภัณฑ์นมที่เติมเชื้อจุลินทรีย์ลงไป โดยใช้นมสดปราศจากไขมันผสมกับนมสดฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 80° C 15 นาที และทำให้เย็นลงที่ 40° C จึงใส่เชื้อโยเกิร์ตลงไป ทิ้งไว้ 1 คืนจะเกิด เป็นโยเกิร์ต นำมาผสมกับน้ำเชื่อม เติม สี กลิ่น รส และทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน (homogenize) นำไปพาสเจอร์ไรส์ที่อุณหภูมิ 80° C แล้วทำให้เย็น บรรจุในถุงพลาสติกฟอยล์และขวดพลาสติก (ภาพประกอบ 11.3) 11.4.2 ห้องควบคุมคุณภาพผลผลิต มีหน้าที่ในการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอและตรงตามมาตรฐาน


การปฏิบัติงานของห้องควบคุมคุณภาพผลผลิตแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ การควบคุมคุณภาพในระหว่างกระบวนการผลิต และการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ทั้ง 3 ขั้นตอนดังกล่าวมีความสำคัญโดยตรงต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้


วิธีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ (ภาพประกอบ 11.4) มี 3 วิธี คือ
การตรวจสอบทางด้านเคมี เช่น pH ไขมัน โปรตีน แลกโทส ความชื้น ค่าการละลาย เป็นต้น


การตรวจสอบทางด้านกายภาพ เช่น ลักษณะ สี กลิ่น รส
การตรวจสอบทางด้านจุลินทรีย์ เช่น ตรวจ หาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ยีสต์ รา จำนวน
จุลินทรีย์ทั้งหมด (ภาพประกอบ 11.5)


การผลิตน้ำส้มสายชูหมัก
เริ่มโครงการในปี พ.ศ.2530 เพื่อผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากวิธีการผลิตต่อเนื่องจากการผลิตแอลกอฮอล์ โดยจัดสร้างหอหมักน้ำส้มสายชู เป็นแบบคอลัมน์ขนาด 250 ลิตร


วิธีผลิตน้ำส้มสายชูหมัก โดยนำน้ำหมักมาละลายน้ำให้ได้แอลกอฮอล์ 7% ใส่เชื้อแบคทีเรีย Acetobacter ลงไป 10% ของน้ำหมักเริ่มต้น ให้อากาศตลอดการหมัก 3-4 วัน จะได้น้ำส้มสายชูหมักมีปริมาณกรดน้ำส้ม 5% นำน้ำส้มสายชูไปพาสเจอร์ไรส์และตกตะกอนโดยใช้เบนโทไนท์ 5% ของ น้ำส้มสายชู

ในปี พ.ศ.2533 ได้พัฒนาการผลิตน้ำส้มสายชู โดยนำน้ำส้มสายชูหมักไประเหยในตู้กระจกที่ใช้กลั่นน้ำพลังแสงอาทิตย์ ทำให้ได้น้ำส้มสายชูหมักที่ใสไม่มีตะกอน
งานวิจัยของหน่วยวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์


อาคารวิจัยและพัฒนาจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2528 ในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ การจัดตั้งหน่วยวิจัยและพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยค้นคว้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการฯ และส่วนรวม ศึกษาประโยชน์ของการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ และยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและค้นคว้างานทดลองต่างๆ ตามพระราชประสงค์ พร้อมทั้งเผยแพร่และแนะนำงานวิจัยของโครงการฯ


งานวิจัยของหน่วยวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ ได้แก่

งานวิจัยและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้ตัวเร่งจุลินทรีย์ โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเศษวัชพืชต่างๆ รวมทั้งน้ำกากส่าซึ่งเป็นน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแอลกอฮอล์มาผลิตเป็นปุ๋ยหมัก และเพื่อศึกษาสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร นอกจากนี้ยังศึกษากรรมวิธีการผลิตตัวเร่งจุลินทรีย์

จากการวิจัยการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ภาพประกอบ 11.6) โดยใช้น้ำกากส่าเป็นตัวเร่งในการย่อยสลาย พบว่าปุ๋ยหมักที่ผลิตโดยวิธีนี้มีปริมาณธาตุอาหารที่พืชต้องการ เช่น N, P, K ปริมาณสูง และยังใช้เวลาในการหมักประมาณ 25-30 วัน ซึ่งน้อยกว่าการทำปุ๋ยหมักด้วยวิธีอื่น

วัสดุที่นำมาทำปุ๋ยหมัก ได้แก่
เศษพืช เช่น เศษหญ้า เศษใบไม้ทุกชนิด ผักตบชวา
วัสดุจากการเกษตรที่เหลือทิ้งจากโรงงาน เช่น กากอ้อย แกลบ ขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ด มูลสัตว์ชนิดต่างๆ
สารเคมี เช่น ปุ๋ยยูเรีย 46 : 0 : 0 แอม โมเนียมซัลเฟต
เชื้อจุลินทรีย์ เช่น เชื้อ พ.ด. 1 (หัวเชื้อ ปุ๋ยหมัก พัฒนาที่ดิน 1)


นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยและพัฒนาการผลิตปุ๋ยหมักอัดเม็ด ซึ่งเริ่มโครงการในปี พ.ศ.2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิจัยการแปรรูปปุ๋ยหมักชนิดอัดเม็ด ศึกษาวิจัยกระบวนการที่เหมาะสมของปุ๋ยอัดเม็ด ศึกษาอัตราส่วนผสมของปุ๋ยอัดเม็ด และเพื่อเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบการบรรจุของปุ๋ยอินทรีย์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้


งานวิจัยและพัฒนาการผลิตสาหร่ายเกลียวทอง (ภาพประกอบ 11.7) ได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำกากมูลหมัก (น้ำกากมูลล้น) ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้เพาะเลี้ยงสาหร่าย เกลียวทอง ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินหรือแบคทีเรียชนิดหนึ่ง และศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสม ในการเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองโดยเติมธาตุอาหารบางอย่างลงไป จากนั้นนำสาหร่ายเกลียวทองเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารปลา เพราะมีโปรตีนสูงมากถึง 70% โดยศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสาหร่ายเกลียวทอง ในอาหารปลา พบว่าอาหารปลาที่ผสมสาหร่ายเกลียวทองในปริมาณ 5% จะทำให้ปลาแฟนซีคาร์ปเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเจริญอยู่ในวัยสืบพันธุ์เร็วขึ้น และเพิ่มสีสันของปลาให้สดสวยยิ่งขึ้น


ในปี พ.ศ.2531 หลังจากที่เลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองได้ผลน่าพอใจแล้ว โครงการส่วนพระองค์ฯ จึงได้สร้างโรงอาหารปลาขึ้นเพื่อผลิตอาหารปลาออกจำหน่ายในราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยส่วนผสมของอาหารปลาได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีอยู่ในโครงการส่วนพระองค์ฯ ได้แก่ รำละเอียด ปลายข้าว กากถั่ว ปลาป่น ใบกระถิน ผสมกับสาหร่ายเกลียวทอง ในปริมาณ 5% เพื่อเร่งอัตราการเจริญเติบโต และเพิ่มสีสันของปลา


ในปี พ.ศ.2532 งานวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์ฯ ได้ทำการก่อสร้างอ่างซิเมนต์เพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง ขนาด 3 x 6 x 0.5 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 4 อ่าง เพื่อใช้ศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองในน้ำทิ้งจากโรงโคนม โรงน้ำผลไม้ โรงนมผง โรงผลิตแอลกอฮอล์ เป็นต้น


งานวิจัยและพัฒนาการผลิตสาหร่ายเกลียวทองบริสุทธิ์ชนิดแคปซูล หลังจากการวิจัยและพัฒนาการผลิตสาหร่ายเกลียวทองพบว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ เพราะมีโปรตีนสูงถึง 50 -70 % ต่อน้ำหนักแห้งและยังมีแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ อีกด้วย หน่วยวิจัย และพัฒนา จึงได้ศึกษาการนำสาหร่ายเกลียวทองมาเป็นอาหารเสริมของมนุษย์ โดยวิจัยการแปรรูปสาหร่ายเกลียวทองบริสุทธิ์ชนิดบรรจุแคปซูล ซึ่งง่ายแก่การบริโภค โครงการนี้เริ่มในปี พ.ศ.2540 นอกจากนี้ยังศึกษาวิจัยปริมาณโปรตีนและธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ศึกษากระบวนการที่เหมาะสมในการบรรจุแคปซูลและอายุการเก็บผลิตภัณฑ์สาหร่ายเกลียวทอง


งานวิจัยและพัฒนาการผลิตเห็ด หน่วยวิจัยและพัฒนาได้เริ่มโครงการเพาะเห็ดในปี พ.ศ.2531 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเศษวัชพืชต่างๆ เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย ขี้เลื่อย มาใช้เป็นวัตถุดิบ ในการเพาะเห็ด และศึกษาถึงชนิดและสายพันธุ์เห็ดที่ต้านทานโรคและให้ผลผลิตสูง นอกจากนี้ยัง ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเพาะเห็ด และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในโรงเรือน การดำเนินงานของหน่วยวิจัยได้รับความสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน


การเพาะเห็ดในสมัยเริ่มต้น เพาะเห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดหลินจือ ปัจจุบันความต้องการบริโภคเห็ดหลินจือมีมาก หน่วยวิจัยจึงเพิ่มกำลังผลิตเห็ดหลินจืออย่างเดียวเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค เห็ดหลินจือหรือเห็ดหมื่นปี มีชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อ Garnoderma lucidum โดยคัดเลือกสายพันธุ์ G 2 ที่มีสรรพคุณบำบัดโรคในระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนเลือด


กรรมวิธีการเพาะเห็ด โดยเริ่มตั้งแต่การแยกเชื้อบริสุทธิ์ การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดธัญพืช การเตรียมวัสดุเพาะเห็ด ซึ่งประกอบด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ยิปซั่ม ปูนขาว ดีเกลือ น้ำตาลทรายแดง ใช้เวลาตั้งแต่เพาะจนเก็บเกี่ยวเห็ดได้กินเวลาประมาณ 3 เดือน แล้วนำไปอบแห้งบรรจุถุงพลาสติกเพื่อจำหน่าย ส่วนวัสดุเพาะเห็ดนั้นหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดแล้ว ยังนำไปทำปุ๋ยหมักได้อีกด้วย (ภาพประกอบ 11.Cool 11.4.5 งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง


งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2528 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชกระแสให้ศึกษาต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย เพราะในอนาคตอาจเกิดเหตุการณ์น้ำมันขาดแคลนหรืออ้อยราคาตกต่ำ แนวทางการแก้ปัญหานี้ โดยนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนและเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกอ้อยมากขึ้น เป็นการเพิ่มรายได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานเงินทุนวิจัยเพื่อใช้ในการดำเนินงานสร้างโรงกลั่นเชื้อเพลิงทำแก๊สโซฮอล์ และสร้างห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ ส่วนหอกลั่นแอลกอฮอล์ สร้างโดยภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังทดลองอัตราส่วนต่างๆ ของการผสมน้ำมันเบนซินธรรมดากับแอลกอฮอล์ให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ (ภาพประกอบ 11.9)


ห้องปฏิบัติการแก๊สโซฮอล์
พ.ศ.2529 เริ่มทดลองผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย แต่ต้นทุนการผลิตยังสูงมาก
วิธีการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อยในระยะแรกของโครงการส่วนพระองค์ฯ โดยนำอ้อยมาหีบ ปรับความหวานของอ้อยให้ได้ 18-20 องศา Brix pH 4.8 และเติมอาหารเสริม นำน้ำอ้อยนี้ไปพาสเจอร์ไรส์ แล้วนำไปหมักด้วยยีสต์ โดยใส่ยีสต์เริ่มต้น 10-12% ของปริมาณน้ำอ้อย และให้อากาศในถังหมักเป็นเวลา 4 ชั่วโมง แล้วจึงปิดอากาศ และหมักต่อไป 48 ชั่วโมง เมื่อได้น้ำหมักที่มีแอลกอฮอล์ 10% แล้วนำไปกลั่นที่หอกลั่นลำดับส่วน


พ.ศ.2533 ฝ่ายเทคนิคบริษัทสุราทิพย์ช่วยปรับปรุงหอกลั่นแอลกอฮอล์สามารถกลั่นได้ 95% ในอัตราส่วน 5 ลิตร/ชั่วโมง วัสดุที่ใช้หมัก คือ กากน้ำตาล ซึ่งบริษัทสุราทิพย์น้อมเกล้าฯ ถวาย


ในปี พ.ศ.2537 โครงการส่วนพระองค์ร่วมกับบริษัทสุราทิพย์ จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 50 ปี โดยขยายกำลังผลิตแอลกอฮอล์ ได้วันละ 200 ลิตร เพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินในอัตราส่วน 1:4 เป็นแก๊สโซฮอล์ใช้เติมให้รถยนต์ทุกคันของโครงการฯ ที่ใช้เบนซิน
ในปี พ.ศ.2539 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ร่วมมือกันปรับปรุงแอลกอฮอล์จาก 95% เป็น 99% และใช้ 99% แอลกอฮอล์ดังกล่าวผสมกับเบนซินธรรมดา ในอัตราส่วน 1:9 รวมทั้งเติมสารป้องกันการกัดกร่อนลงไปด้วย ทำให้สามารถใช้แก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ได้อย่างดี


ในปี พ.ศ.2540 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และโครงการส่วนพระองค์ฯ ร่วมกันดำเนินการทดลองโครงการดีโซฮอล์ คือ การนำน้ำมันดีเซลผสมกับเอทิลแอลกอฮอล์ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดลอง (ภาพประกอบ 11.10)


จากการที่ต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์ สำหรับโรงงานขนาดเล็กมีราคาสูง การที่จะนำไปผสมเป็นแก๊สโซฮอล์เพื่อเป็นเชื้อเพลิง จึงไม่คุ้มทุนในขณะนี้ จึงมีโครงการนำแอลกอฮอล์ 95% ส่วนหนึ่ง มาผลิตเป็นแอลกอฮอล์แข็ง เพื่อจำหน่ายเป็นเงินหมุนเวียน เพื่อพัฒนาโครงการต่อไป


แอลกอฮอล์แข็งใช้ประโยชน์ในการอุ่นอาหารให้ร้อน นิยมใช้ตามภัตตาคารหรือในโรงแรมต่างๆ โดยให้ค่าความร้อนประมาณ 4,900 แคลอรี/กรัม ในการใช้หากใช้แล้วใช้ไม่หมดสามารถปิดฝาให้สนิท เพื่อเก็บไว้ใช้ได้อีก ระยะเวลาการเก็บสามารถเก็บไว้ได้นานถ้าปิดฝาให้แน่นสนิท (ภาพประกอบ 11.11)


จากตัวอย่างของโครงการส่วนพระองค์ฯ ที่มีการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ถึงพระปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่จะทรงช่วยเหลือพสกนิกรให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีในประเทศไทย มาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยอาศัยการศึกษา ค้นคว้า ทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นการเน้นให้เห็นศักยภาพของจุลินทรีย์ที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ซึ่งสมควรจะต้องอนุรักษ์ทรัพยากรจุลินทรีย์นี้ไว้ต่อไป




http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t4.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/01/2012 6:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,471. การขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และการเพิ่มผลผลิตพืชโดยเทคโนโลยี





เทคโนโลยีชีวภาพ ใช้เทคนิคต่าง ๆ ดังนี้
1.การคัดเลือกพันธุ์และผสมพันธุ์ เพื่อให้ได้พืชที่มีลักษณะตามต้องการ เช่น การผสมละอองเรณุของทุเรียนหมอนทอกับเกสรตัวเมียของทุเรียนพันธุ์ชะนี การผลิตแตงโมไร้เมล็ด

2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่าเป็นอวัยวะ เนื้อเยื่อ เซลล์ หรือเซลล์ที่ไม่มีผนังที่เรียกว่า โพรโทพลาสต์ มาเลี้ยงอาหารวิทยาศาสตร์ในสภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์ และอยู่ในภาวะควบคุม อุณหภูมิ แสง ความชื้น ส่วนของพืชเหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตเกิดเป็นต้นใหม่ได้

3. พันธุวิศวกรรม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมด้วยการตัดต่อยีนและเปลี่ยนแปลงยีนในเซลล์ เพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีสมบัติตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อเรียกว่าสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมหรือ จีเอ็มโอ

จีเอ็มโอ (GMOs) เป็นชื่อของ Genetically Modified Organisms หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม โดยอาศัยเทคนิคทางพันุกรรม ในบางกรณีมีการใช้คำว่า แอลเอ็มโอ (LMOs) ย่อมาจาก Living Modified Organisms ทั้งจีเอ็มโอและแอลเอ็มโอมีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่แอลเอ็มโอมุ่งเน้นความมีชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ในขณะที่ จีเอ็มโอ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในสภาพที่ไม่มีชีวิตด้วย เช่น อาหาร จีเอ็มโอ


ผลเสียของจีเอ็มโอ
เทคโนโลยีทุกอย่างที่มีประโยชน์ก็อาจมีโทษได้การพัฒนาและการใช้ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร ข้อเสียคือ มีความเสี่ยงและซับซ้อนในการจัดการ เช่น
- อันตรายที่เกิดจากการที่พืชจีเอ็มโออาจผลิตสารก่อภูมิแพ้หรือสารอื่นที่มีสมบัติเป็นสารต้านการเจริญเติบโตของร่างกาย
- ความเป็นไปได้ที่แมลงศัตรูพืชอาจพัฒนาความต้านทานต่อสารพิษที่สร้างโดยพืชจีเอ็มโอ


ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่
1. ด้านการเกษตรและอาหาร
- การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานโรคและแมลง
- การพัฒนาพันธืพืชให้มีคุณภาพผลผลิตดี
- การพัฒนาพันธุ์พืชให้ผลิตสารพิเศษ
- การพัฒนาพันธุ์สัตว์มีการพัฒนาพันธุ์โดยการถ่ายฝากยีนทั้งในปศุสัตว์และสัตว์น้ำ
- การพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีคุณลักษณะพิเศษบางอย่าง เช่น สามารถกำจัดคราบน้ำมัน

2. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
- การตรวจโรคเมื่อสามารถสังเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นโอ หรือยีนได้แล้วก็สามารถพัฒนาไปใช้ในการตรวจโรคต่าง ๆ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
- การพัฒนายารักษาโรคและวัคซีน
- การสับเปลี่ยนยีนด้อยด้วยยีนดี

3. ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- พันธุกรรมอาจนำไปสู่การผลิตพืชที่ใช้ปุ๋ยน้อย น้ำน้อย ทำให้เป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การสร้างสมดุลทรัพยากรชีวภาพได้
- ใช้จุลินทรีย์ผลิตแอลกอฮอล์และแก๊สชีวภาพ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนพลังงานจากธรรมชาติ


4. ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม
- เมื่อวัตถุดิบได้รับการปรับเปลี่ยนคุณภาพให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยใช้พันธุวิศวกรรม อุตสาหกรรมใหม่ ๆ จะเกิดตามมามากมาย เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ





การเพิ่มผลผลิตของพืช
การเพิ่มผลผลิตของพืชจะต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ สภาพของดิน ความชุ่มชื้น และอุณหภูมิที่เหมาะสม นอกจากนี้ชนิของพืช วิธีการปลูก การอนุรักษ์ดินและน้ำ การป้องกันศัตรูพืชและกำจัดศัตรูพืช และการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช วิธีการเพิ่มผลผลิตของพืชที่สำคัญ มีดังนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.thaibiotech.info/what-is-gmos.php

ภาพจาก : http://guru.sanook.com/picfront/sub/3469techno_28_0001.jpg
http://warunee.chs.ac.th/pix_bio.jpg
http://lpsci.nfe.go.th/elearning/basic_science/bio561.jpg
http://studentwork.srp.ac.th/Website/Science/Project%20Biotechnology/part1/p1.files/image002.jpg


http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=2078


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/01/2012 8:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,472. ข้อดีและข้อจำกัด ในการใช้ปุ๋ยทางใบ


ข้อดี
1. การปรับปรุงดินที่มีปัญหา ให้มีคุณสมบัติเหมะสมกับการใช้ปุ๋ยทางดิน ต้องใช้เวลาพอสมควร ในช่วงเวลาที่มีปัญหาดังกล่าว อาจแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ โดยการพ่นทางใบโดยตรง ซึ่งไม่ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องกับการตรึง หรือลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน

2. ในหลายกรณีการให้ปุ๋ยทางใบมีประสิทธิภาพสูงกว่าใส่ในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารเสริม

3. ในบางระยะของการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในระยะวิกฤต เช่น ก่อนออกดอก ในจังหวะเช่นนี้ ไม่มีวิธีใดให้ผลดีและรวดเร็วกว่าการให้ทางใบ หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ทันกับความต้องการ และกระทบกระเทือนต่อผลผลิตอย่างรุนแรง การให้ปุ๋ยพวกธาตุอาหารเสริมทางใบอาจไม่ต้องทำบ่อย การให้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมเพียงครั้งหรือสองครั้ง ก็เพียงพอไปจน
ตลอดชีพจักรของพืช

4. การให้ปุ๋ยทางใบ ได้ผลดีกับพืชที่มีใบใหญ่และใบมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยไว้ได้มาก วิธีนี้จึงให้ผลดีกับพืช ใบเลี้ยงคู่ เช่น ไม้ผล ผักต่าง ๆ มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดียว เช่น ข้าว อ้อย ในกรณีที่รากพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากดินไม่ค่อยสมบูรณ์ มีการตรึงธาตุอาหารรุนแรง ธาตุอาหารสูญเสีย โดยการพังทลาย และการชะล้างอุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นในดินมีจำกัดรากมีบาดแผล
หรือเริ่มเป็นโรคหรือระบบรากค่อนข้างจำกัดควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยการให้ปุ๋ยทางใบ

5. การให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อเสริมการใส่ในดิน จะให้ผลเด่นชัด เมื่อให้ตอนที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าและระหว่างการออกดอกขณะที่พืชออกดอกจะมีใบเต็มที่แล้ว แต่ความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากลดลง



ข้อจำกัด
1. ควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีเสริมการใส่ปุ๋ยทางดินตามปกติ

2. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และต้องการความชำนาญพอสมควร

3. พืชหลายชนิด ไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมีและสัณฐาน ลักษณะของพืช มีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบ และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย

4. หากใช้อัตราสูงเกินไป อาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่างรุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารเสริมจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก

5. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด ลมแรงหรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก

6. การพ่นปุ๋ย อย่าให้ถึงกับเปียกโชก เพราะสิ้นเปลีองค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาแพง ประสิทธิภาพของปุ๋ยพ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะมีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยที่ใส่ทางดินที่มีราคาถูกกว่ามาก

7. โดยปกติปุ๋ยที่ใช้อยู่ในรูปของอนินทรียสาร จึงกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไป



ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม

กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน

กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน


การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ มีข้อจำกัดหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุดคือ ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จนทำให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้ อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบจะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าและเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ

1. ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย คือ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม

2. ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก
2.1 พืชกลุ่มที่ 1 พวกแตงต่าง ๆ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา มะเขือต่าง ๆ ผักกาดหอม ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด
2.2 พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกระหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง
2.3 พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง

3. การกำหนดอัตรา เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี เพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบของเกษตรกรนั้น ส่วนใหญ่ใช้ประมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้น การลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง


เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ
ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อปุ๋ยนั้นอยู่ในรูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย




http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=16558.0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/01/2012 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,473. การตอบสนองของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ต่อการให้น้ำในปริมาณจำกัด


บทคัดย่อ

ศึกษาการตอบสนองของอ้อยขอนแก่น 3 ต่ออัตราการให้น้ำในปริมาณจำกัด เพื่อรักษาระดับของผลผลิต ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ระหว่างเดือนมิถุนายน 2551-ตุลาคม 2552 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB ประกอบด้วย 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี คือ

1) ไม่ให้น้ำ
2) ให้น้ำปริมาณ 12 มม. เมื่อค่าระเหยสะสมได้ 40 มม.
3) ให้น้้าปริมาณ 24 มม. เมื่อค่าระเหยสะสมได้ 40 มม.
4) ให้น้ำปริมาณ 12 มม. เมื่อค่าระเหยสะสมได้ 60 มม. และ
5) ให้น้ำปริมาณ 24 มม. เมื่อค่าระเหยสะสมได้ 60 มม.

ใช้อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ปลูกอ้อยเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2551 เริ่มนับค่าระเหยเมื่ออ้อยอายุได้ 3 เดือน ให้น้้าแบบน้ำหยดเมื่อค่าการระเหยสะสมครบตามกรรมวิธี ผลการทดลองพบว่า การให้น้ำที่อัตรา 24 มม. เมื่อค่าระเหยสะสม 40 และ 60 มม. ให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน คือ 18.3 และ 18.2 ตันต่อไร่ สูงกว่าเมื่อไม่ให้น้้าที่ได้ผลผลิต 13.9 ตันต่อไร่อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ แต่ไม่แตกต่างกับวิธีการให้น้ำ 12 มม. เมื่อค่าการระเหยสะสม 40 และ 60 มม. ที่ได้ผลผลิต 15.9 และ 16.1 ตันต่อไร่ ผลผลิตแตกต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนลำเก็บเกี่ยว การให้น้ำทำให้อ้อยเพิ่มการสร้างใบ จำนวนลำ และการยืดปล้อง



http://kkfcrc.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:19 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 19/01/2012 12:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,474. วิธีการใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยเพื่อให้พืชสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ที่สุดนั้นควรใส่ ณ จุดที่พืชจะดูดปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้มากและรวดเร็วที่สุด การใส่ปุ๋ยให้กับพืชปลูกโดยทั่วไปทำได้หลายวิธีซึ่งผู้ใช้ปุ๋ยจะต้องพิจารณาเลือกใช้วิธีที่เหมาะกับชนิดของปุ๋ย ดิน และพืชที่ปลูก วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปมีดังนี้

2.4.1 วิธีการใส่ปุ๋ยแข็ง การใส่ปุ๋ยแข็งโดยทั่วไปสามารถใส่ได้ 2 ช่วงคือ ใส่ช่วงก่อนหรือพร้อมกับการปลูกพืชเรียกว่าการใส่ปุ๋ยรองพื้น (basal application) และใส่หลังปลูกในขณะที่มีต้นพืชขึ้นอยู่เรียกว่า การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า (top dressing)


การใส่ปุ๋ยรองพื้นและปุ๋ยแต่งหน้าโดยทั่วไปมีวิธีการใส่ 4 วิธี คือ
1) วิธีโรยเป็นแถบแคบ (banding) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับพืชที่ปลูกเป็นแถวโดยโรยปุ๋ยเป็นแถบข้างแถวพืชด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน การใส่ปุ๋ยโดยวิธีนี้นิยมใช้กับปุ๋ยฟอสฟอรัสเพราะเป็นปุ๋ยที่เคลื่อนที่ได้ยากจึงต้องใส่ใกล้บริเวณรากเพื่อให้รากสามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้มากที่สุด


2) วิธีหว่านทั่วแปลง เพื่อให้ปุ๋ยกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ปลูกหากเป็นกรณีที่ใส่ก่อนปลูกพืชเรียกว่า broadcasting แต่ถ้าใส่หลังปลูกในขณะที่มีพืชอยู่ในแปลงเรียกว่า top dressing หรือการใส่ปุ๋ยแต่งหน้า การใส่ปุ๋ยโดยวิธีนี้เหมาะที่จะใช้กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียม และเหมาะกับพืชพวกธัญพืช รวมทั้งพืชที่ปลูกไม่เป็นแถวเป็นแนวและมีระบบรากแบบรากฝอย เช่น พืชอาหารสัตว์


3) วิธีโรยเป็นแถบกว้าง (strip placement) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสองวิธีแรก คือจะขยายแถบที่โรยปุ๋ยให้กว้างเท่าระยะระหว่างแถวพืชทำให้ดินบริเวณ ที่ได้รับปุ๋ยมีความเข้มข้นของธาตุอาหารมากกว่าการหว่านปุ๋ยทั่วแปลง แต่น้อยกว่าดินที่มีการโรยปุ๋ยแบบแถวแคบ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการกระจายของปุ๋ยและช่วยลดการตรึงปุ๋ยในดินได้บ้าง

4) วิธีใส่เป็นจุด (localized placement) หมายถึง การใส่ปุ๋ยในหลุมที่ขุดหรือรูที่เจาะไว้โดยเฉพาะ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีกับพืชบางชนิดและพืชที่มีราคาสูง เช่น ไม้ยืนต้น และยาสูบ

2.4.2 วิธีการใส่ปุ๋ยที่อยู่ในรูปของเหลว (liquid fertilizer) นิยมใช้กับพืชที่มีราคาสูง (cash crop) หรือใช้เพื่อแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารเป็นการชั่วคราว การใส่ปุ๋ยที่อยู่ในรูปของเหลวมี 2 วิธีคือ


1) การให้ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำ (fertigation) เป็นการใส่ปุ๋ยในบ่อเก็บน้ำแล้วสูบเข้าสู่ระบบการให้น้ำในแปลงซึ่งโดยทั่วไปมี 2 ระบบ ระบบแรกคือระบบการให้น้ำทางผิวดินโดยตรง (surface fertigation) ได้แก่ การให้ปุ๋ยทางร่องทดน้ำเข้าแปลง (furrow irrigation) การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำที่ปล่อยเข้าท่วมพื้นที่ปลูก (flooding) และการให้ปุ๋ยพร้อมระบบการให้น้ำแบบหยด (drip irrigation) ส่วนระบบที่สองคือ การให้ปุ๋ยพร้อมระบบการให้น้ำแบบที่มีการฉีดพ่นน้ำเหนือศีรษะหรือเหนือพื้นดิน (overhead fertigation) ซึ่งเรียกว่าระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอยหรือระบบทำฝนเทียม (sprinkling system) การให้ปุ๋ยในระบบฝนเทียมนี้นิยมให้ในสวนผลไม้ พืชจะได้รับปุ๋ยทั้งทางใบและทางดิน เหมาะกับดินเนื้อหยาบ และมีข้อควรระวังคือห้ามผสมปุ๋ยที่ทำให้เกิดการตกตะกอนในถังน้ำเนื่องจากตะกอนจะไปอุดตันหัวฉีดที่ใช้ในระบบดังกล่าว


ปุ๋ยในรูปของเหลวหรือปุ๋ยน้ำส่วนใหญ่ที่นิยมให้ร่วมกับการให้น้ำชลประทานได้แก่ปุ๋ยไนโตรเจน กำมะถัน หรือสังกะสี การให้ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความสม่ำเสมอของปุ๋ยที่พืชจะได้รับตลอดแปลงโดยเฉพาะวิธีการให้ปุ๋ยพร้อมการให้น้ำแบบร่อง อย่างไรก็ตามการให้ปุ๋ยโดยวิธีนี้ก็มีข้อดีหลายประการ เช่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่ ช่วยลดการสูญเสียไนโตรเจนโดยการชะละลายให้น้อยลง ช่วยให้สามารถใส่ปุ๋ยได้ตรงกับระยะเวลาที่พืชต้องการมากที่สุดและสามารถให้ปุ๋ยในพื้นที่มาก ๆ ได้ในครั้งเดียวพร้อมกับการให้น้ำ ซึ่งเป็นการทุ่นแรงงานและค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ย


2) การให้ปุ๋ยทางใบ (foliar application) การให้ปุ๋ยบางชนิดอาจให้ ในรูปของเหลวโดยการละลายน้ำแล้วฉีดพ่นให้แก่ต้นพืชโดยเฉพาะใบพืช วิธีการให้ปุ๋ยแบบนี้จะทำให้พืชได้รับธาตุอาหารอย่างรวดเร็วจึงสามารถแก้อาการขาดธาตุอาหารของพืชได้ในเวลาอันสั้นนอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับการฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชจึงเป็นการช่วยประหยัดเวลา และแรงงานในการดูแลรักษาพืชปลูก การให้ปุ๋ยทางใบยังเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับช่วยเสริมการให้ปุ๋ยทางดินในกรณีที่พืชไม่สามารถดูดใช้ธาตุอาหารจากดินได้เต็มที่เนื่องจากดินมีปัญหาการตรึงแร่ธาตุอาหารในดิน (fixation) สูง อย่างไรก็ตามการให้ปุ๋ยทางใบโดยทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถทดแทนการให้ปุ๋ยทางดินได้ทั้งหมดแต่จะทดแทนได้เพียงบางส่วนเท่านั้น


ปุ๋ยที่นิยมให้ทางใบพืชได้แก่ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยธาตุอาหารรองและปุ๋ยจุลธาตุ ปุ๋ยไนโตรเจนที่นิยมให้ทางใบได้แก่ ปุ๋ยยูเรียซึ่งพืชสามารถดูดใช้ได้ดีและสามารถให้ในปริมาณมาก โดยไม่เกิดอันตราย กับใบเมื่อเทียบกับปุ๋ยไนโตรเจนชนิดอื่น ๆ การให้ปุ๋ยยูเรียทางใบใช้ได้ผลดีกับพืชที่มีราคาดี เช่น พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ส้ม แอปเปิล และสับปะรด เป็นต้น ปุ๋ยที่นิยมให้ทางใบพืชมากที่สุด ได้แก่ ปุ๋ยธาตุอาหารรอง และปุ๋ยจุลธาตุเนื่องจากพืชต้องการในปริมาณน้อยและไม่เกิดอาการใบเหี่ยว (plasmolysis) เมื่อฉีดพ่นให้กับพืช

วิธีการให้ปุ๋ยทางใบที่ได้ผลดีจะต้องฉีดพ่นปุ๋ยซ้ำ 2-3 ครั้งติดกันในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หรือฉีดพ่นจนกว่าอาการขาดธาตุอาหารจะหายไป การฉีดพ่นปุ๋ยไม่ควรทิ้งช่วงห่างกันเกินกว่า 3 อาทิตย์เพราะพืชอาจไม่ฟื้นโดยเฉพาะพืชอายุปีเดียว (annual crop)


http://courseware.rmutl.ac.th/courses/53/unit1505.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:02 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/01/2012 8:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,475. ผลกระทบอุทกภัยปลายปี 54 ต่อการผลิตข้าวนาปรัง ปี 55





นางจันทร์ธิดา มีเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 (สศข.7) ชัยนาท สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงพื้นที่เสียหายทางการเกษตรในพื้นที่รับผิดชอบ 10 จังหวัดจากผลกระทบอุทกภัยรุนแรงในพื้นที่ภาคกลางว่า นอกจากจะทำให้พื้นที่การเกษตรในเขตจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพฯ และสุพรรณบุรี เสียหายเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีเสียหายประมาณ 979,448 ไร่แล้ว ความเสียหายดังกล่าวยังส่งผลกระทบถึงฤดูกาลผลิตข้าวนาปรังปี 2555 ที่ต้องเลื่อนการเพาะปลูกออกไปเนื่องจากมีปริมาณน้ำขังนอนทุ่งอยู่จำนวนมาก โดยคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในทุกจังหวัดตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2554 ถึงเดือนมกราคม 2555 ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตในช่วงต้นปีมีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณผลผลิตข้าวในพื้นที่จะกลับมาออกสู่ตลาดมากอีกครั้งในช่วงเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555 ซึ่งล่าช้ากว่าปกติ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2555 ในพื้นที่ทั้ง 10 จังหวัด คาดว่าจะใกล้เคียงกับปี 2554 เนื่องจากนโยบายรับจำนำของภาครัฐจะเป็นสิ่งจูงใจ และชาวนาบางส่วนต้องการปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม รวมถึงจากการเลื่อนระยะเวลาเพาะปลูก เพราะทำให้เกษตรกรสามารถทำนาปรังได้เพียงรอบเดียว ในขณะที่หากสภาพอากาศปกติ บางพื้นที่ในภาคกลางสามารถเพาะปลูกข้าวได้ถึง 5 ครั้งในรอบ 2 ปี

สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ และภาครัฐได้ให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรเพื่อการฟื้นฟูเยียวยา ภายหลังน้ำลด เกษตรกรมีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่ต้านทานเพลี้ยกระโดด รวมทั้งแนวโน้มเรื่องราคาตามโครงการรับจำนำจูงใจให้เกษตรกรมีการดูแลรักษาที่ดี นางจันทร์ธิดา กล่าวทิ้งท้าย.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/8828


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:02 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/01/2012 8:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,476. ลดการพึ่งพาสารเคมี สุขภาพดี ชีวีมั่นคง





นายหาร ผิวแก้วดี หมอดินอาสาประจำตำบลห้วยพระ จังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า ตนเป็นเกษตรกรปลูกผักกินใบจำหน่าย ได้แก่ ผักกวางตุ้ง กุยช่าย คะน้า ซึ่งผักเหล่านี้ต้องคอยฉีดยากำจัดแมลงศัตรูพืชตลอด แต่นับวันราคาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะแพงขึ้นทุกที ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและไม่สอดคล้องกับรายได้ที่ผันผวนขึ้นลงตามความต้องการของตลาด ดังนั้น ตนจึงได้สมัครเข้าไปเป็นหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน จนได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินด้านต่าง ๆ รวมทั้งทราบถึงวิธีการผลิตสารอินทรีย์และข้อดีของการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยต่อตัวเองและผู้บริโภค และที่สำคัญยังช่วยฟื้นฟูทรัพยากรดินที่ผ่านการใช้สารเคมีมาอย่างยาวนานได้เป็นอย่างดี

จากนั้นเป็นต้นมาจึงลดการพึ่งพาสารเคมีหันมาทำสารอินทรีย์ไว้ใช้เอง วิธีการผลิตไม่ยุ่งยากเพียงหาพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนซึ่งมีคุณสมบัติในการขับไล่แมลงมาสับและหมักตามสูตรของกรมพัฒนาที่ดิน โดยกรมฯ จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์สารเร่งซูเปอร์ พด.7 ให้ฟรี เมื่อหมักเสร็จก็สามารถนำไปใช้ได้ โดยการนำน้ำหมักที่ได้ไปผสมกับน้ำในอัตราสารป้องกันแมลงศัตรูพืช 1 ส่วนต่อน้ำ 500 ส่วน ฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดินทุก 20 วัน หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ่นทุก 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง ทางสวนจะใช้วิธีฉีดพ่นไปตามสปริงเกลอร์ จึงไม่ต้องใช้แรงงานคนเพิ่มขึ้น วิธีดังกล่าวนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนค่าสารเคมีได้ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง ยังได้ผลผลิตที่ปลอดภัยเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่รักสุขภาพทำให้จำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้นด้วย.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/8717


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/01/2012 8:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,477. แนะทางรอดชาวสวนส้มโอชัยนาท (2)





กะว่าจะลงตอนที่ 2 นี้วันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมาแต่เกิดผิดพลาดบางประการ ต้องนำมาลงต่อในสัปดาห์นี้แทน ขออภัยไว้ ณ ที่นี้...

คณะของ สกว. เดินทางไปสำรวจความเสียหายสวนส้มโอของ ลุงกลิ่น เหมือนกรุด ใน ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ซึ่งมีเนื้อที่ 10 ไร่ แต่ถูกน้ำท่วมเสียหายถึง 3 ใน 4 จากการประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นคาดว่าจะสูญเสียรายได้เฉพาะจากการขายส้มโอมากกว่า 1 ล้านบาท ไม่นับค่าฟื้นฟูบำรุงสวนอีกจำนวนมาก

ลุงกลิ่น กล่าวว่า สวนของตนเท่าที่สำรวจดูน่าจะเหลือรอดเพียง 100 ต้นเท่านั้น เพราะประสบปัญหาน้ำท่วมหนักถึง 2 เดือน แม้ว่าจะทราบล่วงหน้าเป็นเดือนว่าน้ำจะมาก แต่ก็คิดว่าจะรับมือไหวเพราะเคยมีประสบการณ์จากเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่จนสวนล่มเมื่อปี 2538 แล้ว และได้ทุ่มเงินนับแสนทำคันดินกั้นน้ำสูง 3 เมตร แต่ก็สู้ความแรงของน้ำไม่ไหว พอคันดินแตกน้ำก็เข้าท่วมสวนของตนด้วยความสูงถึง 3.5 เมตร แม้จะเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะปีนี้ต้นส้มโอกำลังออกผลดก แต่ตนก็ยังสู้ต่อไปไม่ถอย และคิดว่าจะทดลองปลูกปาล์มเพื่อเป็นทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่ง เพราะสภาพดินของสวนน่าจะปลูกปาล์มได้ดี และปาล์มยังทนต่อน้ำท่วมได้มากกว่าส้มโอ อีกทั้งยังมีตลาดรับซื้อถึงสวนด้วย“รู้สึกดีใจมากที่ทุกคนมาเยี่ยมสวนของผม มาให้กำลังและแสดงความเป็นห่วง ตอนนี้ต้องเฝ้าดูว่ากิ่งที่แตกออกมาใหม่ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าจะสามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้หรือไม่ หากทำได้ก็ถือเป็นความหวังและทำให้ผมสู้ต่อไปได้” ลุงกลิ่นกล่าว

จากการสำรวจต้นส้มโอที่ยังเหลือรอดอยู่ รศ.ดร.อำไพวรรณ พบว่า มีโอกาสรอดและใช้ขยายพันธุ์ได้ต่อไป โดยต้นส้มโอที่มีแผลเน่าและเปลือกเน่าให้ใช้มีดคม ๆ ถากเปลือกนั้นออกเพื่อช่วยให้ต้นส้มโอมีโอกาสหายใจได้สะดวกขึ้น และให้ใช้ปูนแดงผสมกับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา “แมนโคเซ็บ” โดยละลายน้ำแบบข้นแล้วนำมาทาบริเวณที่ถากออก เพื่อให้การเข้าทำลายซ้ำของเชื้อราลดน้อยลง และผนังเซลล์มีความแข็งแรงมากขึ้น จากนั้นเปลือกจะค่อย ๆ งอกขึ้นมาใหม่และห่อหุ้มเนื้อลำต้นที่เสียหายทั้งหมดภายใน 1 ปี

“ช่วงนี้ส้มโอเริ่มผลิยอดอ่อนชุดใหม่ เมื่อเข้าสู่ระยะใบเพสลาดและระยะใบแก่ จะมีโอกาสเกิดการระบาดของโรคเมลาโนสและทำให้ใบร่วงเร็วกว่ากำหนด ซึ่งถ้าร่วงมากอาจทำให้การรอดชีวิตของ

ส้มโอลดน้อยลง ดังนั้นในเดือนมกราคม-ก่อนเดือนพฤษภาคม 2555 ชาวสวนต้องตัดสินใจว่าจะปลูกเลี้ยงต้นส้มที่รอดหรือไม่ ถ้าปลูกเลี้ยงต่อต้องตัดกิ่งที่แห้งหรือเสียหายออกเพื่อดูแลเฉพาะกิ่งที่ยังสมบูรณ์หรือยอดที่งอกใหม่นี้ ซึ่งคาดว่าส้มโอของลุงกลิ่นมีโอกาสฟื้น 80% และจะกลับมาเหมือนเดิมภายในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2555 ต้นส้มโอที่กลับฟื้นและแข็งแรงได้จะสามารถให้ผลได้ประมาณ 40-60 ผลต่อต้น”

รศ.ดร.อำไพวรรณ กล่าวเสริมถึงการดูแลต้นส้มโอที่เริ่มฟื้นตัวว่า เมื่อส้มโอเริ่มผลิยอดอ่อนให้พ่นทางใบด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 19-19-20 หรือปุ๋ยทางใบที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 30-20-10 อาจผสมสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟได้ ในระยะยอดอ่อนถึงใบอ่อนให้พ่นประมาณ 2-3 ครั้ง ระยะห่าง 7-10 วัน เนื่องจากช่วงฤดูหนาวสภาพระยะใบอ่อนมักมีการระบาดของเพลี้ยไฟ ทั้งนี้หากมีการผลิยอดอ่อนพร้อมกับดอกของต้นส้มโอ ควรรอให้ผลอ่อนมีขนาดเท่าผลมะขามป้อมหรือประมาณ 1 เดือนหลังดอกบานก่อน แล้วค่อยเด็ดหรือปลิดผลอ่อนออก เพราะถ้าเด็ดขณะที่ผลยังเล็กมากจะทำให้ยอดอ่อนชุดนี้เสียหายได้

สำหรับการเยียวยาส้มโอที่ถูกน้ำท่วมที่ดีที่สุด คือ การให้ต้นส้มโอได้พักต้น มีการสะสมอาหารในช่วงฤดูหนาวโดยไม่ต้องรับภาระในการเลี้ยงดูผลส้ม และรอให้ดินได้รับการฟื้นฟูคืนสู่สภาพที่ดีเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตต่อไป แต่สิ่งที่ห้ามปฏิบัติโดยเด็ดขาดในช่วงของการฟื้นฟูสวนส้มโอที่ถูกน้ำท่วม คือ ห้ามใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา “คาร์เบนดาซิม” เพราะจะทำให้ใบแก่ร่วงเร็วก่อนอายุ ห้ามใช้สารควบคุมวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าในช่วงเดือนแรกหลังน้ำลด แต่ควรใช้การตัดหรือดายหญ้าแทน และห้ามราดสารเคมีป้องกันกำจัดหรือรักษาโรครากเน่าและโคนเน่า หากพบโรครากเน่าโคนเน่าแนะนำให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาแทนทั้งในลักษณะการราดดินและหรือพ่นทางใบแทน.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/8716


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/01/2012 8:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,478. สหกรณ์รับมือการเข้าสู่... "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"





นายจิตรกร สามประดิษฐ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หมายความว่าประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ แรงงานและทุนอย่างเสรี ส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางการค้าสูงยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนที่แต่ละประเทศสมาชิกมีการผลิตสินค้าที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น สหกรณ์การเกษตรต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเหลือเวลาอีก 3 ปีเท่านั้น จึงต้องเร่งดำเนินการปรับตัวตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมตัวคือ การปรับระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าและการบริการให้ได้มาตรฐานตรงความต้องการของตลาดในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น

แม้ว่าสินค้าไทยจะได้รับการยอมรับจากตลาดอาเซียนว่ามีคุณภาพมาตรฐานและมีความได้เปรียบในการดำเนินการในรูปแบบสหกรณ์มายาวนาน รวมถึงมีความเข้มแข็งเป็นอันดับ 3 ในเอเชียรองจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี แต่เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ทั้งในส่วนข้อได้เปรียบและเสียเปรียบหลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งขณะนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์มุ่งเน้นในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้กับผู้แทนสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/8718


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/01/2012 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,479. ปรับระบบการปลูกข้าวนาปี





รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า จากที่เกิดสถานการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง และประสบปัญหาอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกษตรกรและผู้ประกอบการทางการเกษตรธุรกิจได้รับผลกระทบกันเป็นลูกโซ่ และมีแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ได้ร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งในระยะเร่งด่วน ที่ต้องเร่งปรับระบบการปลูกข้าวนาปีให้สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นในพื้นที่ใต้เขื่อนเจ้าพระยาเพื่อทำเป็นพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำนองและชะลอน้ำหลาก โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอสรรพยา อำเภอ สรรคบุรี จังหวัดชัยนาท และอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเกษตรกรต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผนเลือกรูปแบบและช่วงเวลาเพาะปลูกที่เหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือ ชดเชยความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นกรณีพิเศษสำหรับพื้นที่ที่เป็นแหล่งรองรับน้ำ และการแก้ปัญหาในระยะยาว ที่จะต้องร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศ เพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และกำหนดแผนบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ

ส่วนแนวทางที่จะประกันความเสี่ยงให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการทางการเกษตรด้วยการเปิดตลาดซื้อขายตราสารอนุพันธ์ซึ่งอ้างอิงกับปริมาณน้ำฝนหรือระดับน้ำในเขื่อนของ ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นั้นนับเป็นแนวคิดที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นที่น่าสนใจและเป็นเรื่องดี เพราะคาดว่า ตราสารนี้จะสามารถป้องกันความเสี่ยงให้ภาคธุรกิจได้มากโดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามจะต้องชี้แจงให้นักลงทุนมีความเข้าใจ หรือเข้าถึงข้อมูลที่สามารถใช้เป็นข้อบ่งชี้ทิศทางและแนวโน้มในการซื้อขายได้ต่อไปด้วย.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/8266


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/01/2012 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,480. อวดโฉมสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีทางการเกษตร มทร.ธัญบุรี





ภาคเกษตรของไทยในปัจจุบันนี้มีการนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิต รวมถึงการจัดการวัสดุที่มีให้คุ้มค่ามากที่สุด ทำให้สถาบันการศึกษาส่งเสริมและสร้างการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาภาคการเกษตร ให้นำเอาความรู้ทางเทคโนโลยีไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เป็นสถาบันหนึ่งที่ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงมีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้กับภาคการเกษตรในแขนงต่าง ๆ อาทิ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ธัญบุรี ใช้ขนมปังเป็นอาหารเสริมสำหรับเลี้ยง ปลาทับทิมในกระชัง เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง มักจะประสบปัญหาเรื่องต้นทุนค่าอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีราคาสูงอยู่เสมอ หลายรายต้องหันไปใช้อาหารชนิดอื่นมาเป็นอาหารเสริมเพื่อลดต้นทุน อย่างเช่นการใช้เศษขนมปัง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี การใช้เศษขนมปังเป็นอาหารเสริมให้ปลาในกระชังจะให้ด้วยปริมาณเท่าใดจึงจะคุ้มค่า คุ้มทุนและปลาที่เลี้ยงได้คุณภาพนั้น เป็นสิ่งที่นักวิจัยทางการเกษตรไม่ได้มองข้าม ดังเช่น สมิง จำปาศรี นลินรัตน์ นักวิจัยจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ เดชา นาวานุเคราะห์ และ สมกิจ อนวัชกุล จาก มทร.ล้านนา ได้ทำการวิจัย และหาระดับความเหมาะสมการใช้เศษขนมปังเสริมอาหารเม็ดสำเร็จรูป เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเป็นแนวทางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรต่อไป

จากการทดลองแล้ว สามารถสรุปได้ว่า ในการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังควรใช้เศษขนมปังเสริมอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ระดับร้อยละ 25 เพราะทำให้ปลามีการเจริญเติบโตดี และมีประสิทธิภาพในการใช้อาหารสูงเทียบเท่ากับปลากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปอย่างเดียว แต่สามารถลดต้นทุนการผลิตทำให้ได้กำไรสูงสุด

นอกจากนี้แล้วยังมีการ คิดค้นเครื่องลอกเยื่อเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยนายวัฒนชัย มุงขุนทด นายนัดทร การรัตน์ และนายรุ่งโรจน์ โอกาพันธ์ นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี คิด-สร้างเครื่องลอกเยื่อเม็ดมะม่วงหิมพานต์ทุ่นเวลา และแรงงานเกษตรกร เพื่อต้องการเนื้อในเต็ม และสะอาด รวมถึงเก็บความชื้นของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่อบแล้วให้คงที่ ก่อนทำการลอกเยื่อหุ้มเมล็ด จะช่วยให้การลอกเยื่อหุ้มของเมล็ดดีขึ้นและได้เนื้อในเต็มเมล็ดในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นด้วย

ล่าสุด นายจำรัส เกตุมณี นายปัญญา ลาไธสง นายวิวัตร ศรีคำสุข นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหการ มทร.ธัญบุรี ได้ช่วยกันคิดค้น เครื่องอัดขุยมะพร้าว ด้วยระบบอัตโนมัติขึ้นเพื่อแบ่งเบาภาระและส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีเศษวัสดุเหลือใช้ ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า โดยผลงานดังกล่าวพวกเขามี อาจารย์ชัยรัตน์ หงส์ทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

เจ้าของผลงาน เผยว่า เครื่องอัดขุยมะพร้าวอัตโนมัตินี้ ควบคุมด้วยระบบ PLC จุดประสงค์ที่คิดสร้างเพราะต้องการสร้างมูลค่าเศษวัสดุที่เหลือทิ้งจากการเกษตร และลดขยะที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยเครื่องอัดขุยมะพร้าวอัตโนมัติเครื่องนี้ จะทำการขัดเศษขุยมะพร้าวใช้เป็นรูปทรงกระบอก เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ทำเป็นแท่งเมล็ดพันธุ์พืช กล้าไม้และแท่งปุ๋ยสำหรับใส่ต้นไม้ ใช้เป็นแท่นเพาะเมล็ดโดยไม่ต้องใช้ถุงดำ เนื่องจากแท่งวัสดุที่อัดได้ มีความหนาแน่นพอที่จะไม่แตกออกจากกัน ทำให้รูปทรงกระบอกเหมือนถุงดำเพาะกล้าไม้ เป็นการลดปริมาณขยะที่ย่อยสลายยาก เช่น ถุงดำ และประหยัดต้นทุนในการซื้อถุงดำเพาะกล้าไม้อีกทางหนึ่งด้วย ทั้ง 3 สิ่งประดิษฐ์นั้น ถือเป็นความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรเพื่อที่จะให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจและได้ผลประโยชน์สูงสุดในสิ่งรอบตัวที่มีอยู่ด้วย.

มณีรัตน์ ปัญญพงษ์



http://www.dailynews.co.th/agriculture/7881


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/01/2012 9:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,481. พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ...คือกฎหมายของเกษตร





แนวทางการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นเวทีที่จะทำให้เกษตรกรมีผู้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรในทุกพื้นที่และทุกสาขาอาชีพและ นับเป็นมิติใหม่ในการแก้ปัญหาภาคการเกษตรอย่างมีส่วนร่วม อันจะนำมาซึ่งการกำหนดนโยบายและแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่ตรงจุดและตอบสนองความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง

สำหรับความคืบหน้าการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าน่าจะได้สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติครบจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดประมาณเดือนเมษายนปี 2555 โดยขณะนี้ได้ดำเนินการเลือกประธานและรองประธานสภาเกษตรกร 77 จังหวัดเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจะเป็นสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติประเภทที่ 1 โดยตำแหน่ง

อย่างไรก็ตาม นอกจากสมาชิกประเภทที่ 1 ทั้ง 77 คนแล้ว พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 ยังกำหนดให้สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ มี สมาชิกประเภทที่ 2 ได้แก่ ตัวแทนองค์กรเกษตรกรด้านพืช สัตว์ และประมง โดยสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดร่วมกันคัดเลือก อีกจำนวน 16 คน และสมาชิกประเภทที่ 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความชำนาญความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านเกษตรกรรม โดยสมาชิกจากประเภทที่ 1 และ 2 ร่วมกันเลือก อีกจำนวน 7 คน ซึ่งการได้มาซึ่งสมาชิกประเภทที่ 2 และ 3 อยู่ระหว่างการดำเนินงานตามขั้นตอน คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายนปี 2555 จึงจะมีสภาเกษตรกรแห่งชาติครบองค์ประกอบ

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ก่อนที่จะมีการเปิดประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ และยังเป็นการสนับสนุนให้การดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติสามารถขับเคลื่อนและสร้างความเข้าใจในบทบาทแก่เกษตรกรยิ่งขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งจัดอบรมและสร้างพลังเครือข่ายผู้แทนเกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้เกษตรกรได้เกิดความเข้าใจในบทบาทและแนวทางในการสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด และสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ รวมถึงเตรียมความพร้อมและการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรของสภาเกษตรกรจังหวัด และสภาเกษตรกรแห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแนวคิดที่จะเปิดโอกาสให้ผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับเลือกภายใต้ พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติฉบับนี้ เป็นผู้มีสิทธิหรือมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรอาสาสมัครของกระทรวงเกษตรฯ หรือผู้แทนของกระทรวงเกษตรฯ ในหมู่บ้าน เท่าเทียมกับเกษตรกรอาสาสมัครที่มีอยู่เดิมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอน

นอกจากนี้ตัวแทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านและตำบลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเกษตรกร สามารถรวมตัวกันสร้างเครือข่ายระหว่างผู้แทนเกษตรกรด้วยกันเอง เพื่อเป็นข้อต่อหรือเป็นสื่อกลางในการรับข้อเรียกร้อง หรือรับข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรจากเพื่อนเกษตรกรในท้องถิ่นของตน เพื่อเสนอต่อสภาเกษตรกรจังหวัดผ่านทางผู้แทนที่เป็นสมาชิกของสภาได้

…และสามารถร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลให้กับสภาเกษตรกรจังหวัด ในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาการเกษตรของประเทศ ซึ่งจะทำให้แผนแม่บทของชาติ สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในแต่ละท้องถิ่นอย่างแท้จริง.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/7736


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/01/2012 9:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,482. แขกติดใจข้าวไทย





ข่าวดีสำหรับผู้ส่งออกข้าวไทย เนื่องจากอินเดียสนใจซื้อข้าวไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิเพื่อป้อนตลาดเศรษฐีแขกที่มีกว่า 100 ล้านคน

ดร.ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ.สำนักส่งเสริมสมรรถนะและนวัตกรรมแข่งขันทางการค้า สำนักงานเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ได้รับการติดต่อจากนายโซมี่ ผู้นำเข้าสินค้าอาหารรายใหญ่จากอินเดีย สนใจซื้อข้าวด่วนจำนวนมากจากไทย โดยลอตแรกต้องการ 100 ตัน นับเป็นนวัตกรรมใหม่ของไทยในการเจาะตลาดอินเดีย โดยจะเน้นเจาะตลาดบนของอินเดียเป็นหลัก และอีกส่วนหนึ่งจะส่งต่อไปยังดูไบซึ่งมีชาวอินเดียกว่า 60% ของประชากร ผู้สนใจติดต่อด่วนที่ paisanmara@gmail.com โอกาสดี ๆ แบบนี้หาไม่ได้อีกแล้ว.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/7737


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 7:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 27/01/2012 2:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,483. ใช้น้ำ สู้เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง... ทางออกที่น่าสน


การปรับเปลี่ยนระบบการปลูก มันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝนมาเป็นการปลูกแบบให้น้ำนอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่แล้ว ยังเป็นหนึ่งช่องทางที่สามารถช่วยลดปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังได้ โดยใช้น้ำช่วยสร้างความชุ่มชื้นในแปลงและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งจะช่วยควบคุมกำจัดเพลี้ยแป้งได้ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนเพิ่มสูงขึ้น

นายอภิชาติ เมืองซอง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมากล่าวว่า ปกติมันสำปะหลังจะชะงักการเจริญเติบโตในช่วงฤดูแล้ง 6 เดือน หรือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายน ดังนั้น ควรมีการพัฒนาระบบน้ำในแปลงปลูกเพื่อหล่อเลี้ยงต้นมันสำปะหลังในช่วงหน้าแล้งที่อาจขาดแคลนน้ำซึ่งจะทำให้ต้นมันสำปะหลังแข็งแรง เจริญเติบโตดีและมีการสะสมอาหารในหัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ความชุ่มชื้นยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง อาทิแมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าลาย และแตนเบียนซึ่งสามารถช่วยตัดวงจรและลดปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งในช่วงสภาพอากาศแห้งแล้งได้

ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำมันสำปะหลังด้วยระบบน้ำหยดระบบมินิสปริงเกอร์ และสปริงเกอร์หัวใหญ่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวไปสู่เกษตรกรในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับชาวไร่มันสำปะหลัง ช่วยให้เกษตรกรสามารถที่จะปลูกมันสำปะหลังได้ตลอดโดยไม่ต้องรอหน้าฝนที่สำคัญเกษตรกรที่พัฒนาระบบน้ำในแปลงปลูกยังสามารถวางแผนการผลิตและเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวมันสดป้อนตลาดได้อีกด้วย

แปลงปลูกมันสำปะหลังที่จะใช้ระบบน้ำหยดและระบบสปริงเกอร์ ควรมีระดับความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 5 % เนื่องจากการปั๊มน้ำจากแหล่งน้ำขึ้นสู่ที่สูงและไหลเข้าสู่ระบบต้องใช้แรงดันมาก ทั้งยังต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี โดยเกษตรกรอาจขุดเป็นบ่อน้ำซับหรือสระขนาดเล็กเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง หรืออาจขุดเป็นบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ ซึ่งสามารถที่จะหล่อเลี้ยงมันสำปะหลังได้ประมาณ 10-15 ไร่และค่า pH ของน้ำที่ป้อนเข้าระบบน้ำหยดและระบบสปริงเกอร์ไม่ควรเป็นเบส(ด่าง) เพราะน้ำที่มี pH เป็นด่าง จะมีส่วนประกอบของหินปูนซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตัวหัวน้ำหยดหรือหัวสปริงเกอร์ได้

สำหรับต้นทุนการจัดทำระบบน้ำหยดและระบบมินิสปริงเกอร์ในแปลงปลูกมันสำปะหลังลงทุนครั้งแรกไม่เกิน 6,000 บาท/ไร่ มีประสิทธิภาพการใช้งานยาวนาน 5-6 ปี หรือปลูกมันสำปะหลังได้ประมาณ 5 รอบการผลิต ซึ่งการให้น้ำทั้ง 2 วิธีสามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับต้นมันสำปะหลังได้ค่อนข้างมากโดยเฉพาะการให้น้ำแบบสปริงเกอร์มีข้อดี คือ สามารถชะล้างและทำลายตัวเพลี้ยแป้งพร้อมถุงไข่ออกจากต้นมันสำปะหลังได้ด้วย ขณะเดียวกันยังช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น และคืนทุนได้ภายในปีแรก

นายอภิชาติกล่าวอีกว่า การให้น้ำมันสำปะหลังด้วยระบบน้ำหยดหรือระบบสปริงเกอร์สามารถช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตหัวมันสดได้ค่อนข้างมาก แตกต่างจากการปลูกแบบอาศัยน้ำฝนอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 แบบให้น้ำและเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 11-12 เดือน จะได้ผลผลิตประมาณ 7.5 ตัน/ไร่ สูงกว่าการปลูกแบบอาศัยน้ำฝนที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.9 ตัน/ไร่ และยังพบว่ามีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง 29-29.5 % ส่วนพันธุ์ระยอง 9 จะได้ผลผลิตหัวมันสดเพิ่มจาก5.2 ตัน/ไร่ เป็น 8.1 ตัน/ไร่ มีเปอร์เซ็นต์แป้ง30-31 % และพันธุ์ห้วยบง ปกติจะผลผลิตเฉลี่ย5.5 ตัน/ไร่ ถ้าปลูกแบบให้น้ำจะได้ผลผลิตสูงถึง9.8 ตัน/ไร่ มีเปอร์เซ็นต์ 27% เป็นช่องทางที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น

ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการให้น้ำมันสำปะหลังทั้งระบบน้ำหยดและระบบสปริงเกอร์ควบคู่กับการให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังแก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และบุรีรัมย์แล้วกว่า 6,000 ไร่ซึ่งเกษตรกรมีความพึงพอใจและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ขณะนี้มีชาวไร่มันสำปะหลังสนใจที่จะนำระบบการให้น้ำทั้ง 2 แบบไปใช้เพิ่มขึ้น

หากสนใจเทคโนโลยีการใช้ระบบน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ในแปลงปลูกมันสำปะหลัง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาโทร. 0-4432-5212 , 08-1859-8209 หรือE-mail :cas_toom@yahoo.co.th


http://www.ryt9.com/s/bmnd/977045
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 27/01/2012 7:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,484. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว



การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ และเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น ทำการค้นคว้าวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2519-2540 ทั้งในดินเหนียว ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายและดินทราย ที่จังหวัดนครราชสีมา ปทุมธานี พิษณุโลก ราชบุรี สุรินทร์และปัตตานี พบว่าการใช้ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว ในนา 2 ปีแรก ไม่ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ กข. 7 เพิ่มขึ้นแต่จะแสดงผลในปีที่ 3 เป็นต้นไป ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ตามอัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวที่ใส่และจะเพิ่มอีก เมื่อใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ โดยใช้ติดต่อกัน 22 ปี ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 89-146 เปอร์เซ็นต์ ปี 2530 - 2542 ทำการทดลองในดินร่วนปนทรายชุดร้อยเอ็ดที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ พบว่าอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับข้าว กข. 23 คือใบและกิ่งอ่อน ของต้นกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 81 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อัตราปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดคือ 600 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราปุ๋ยพืชสด 300 กิโลกรัมต่อไร่ใส่ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจน 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ เพิ่มผลผลิตได้ 53 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2536 - 2541 การทดลองระบบการปลูกพืชควบโดยปลูกกระถินยักษ์เป็นแถวคู่ ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร ในแนวขวางทางลาดเทของพื้นที่สลับกับพื้นที่ปลูกข้าวสาลี โดยใช้แถบต้นกระถินยักษ์ 1 เมตร ต่อแถบข้าวสาลี 3 เมตร แล้วตัดต้นกระถินยักษ์สูงจากระดับพื้น 50 เซนติเมตร นำส่วนที่ตัดออกใส่ลงในนาข้าวสาลีร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ ปี 2539 - 2541 ทดลองใช้กากสะเดาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีและสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพิ่มขึ้น 44 และ 56 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

ประเทศไทยมีดินเสื่อมโทรม 224.9 ล้านไร่ ดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 98.7 ล้านไร่ ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นดินทรายมีอินทรียวัตถุเฉลี่ย 0.56 เปอร์เซ็นต์ การเพิ่มอินทรียวัตถุโดยการใส่วัสดุอินทรีย์ลงไปในดิน เช่น การไถกลบตอซังข้าว เศษพืช ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และอุตสาหกรรมจะช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น

ประเทศไทยปลูกข้าวได้ผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 20 ล้านตัน ซึ่งจะมีฟางข้าวประมาณ 10 ล้านตัน ฟางข้าวส่วนนี้จะออกไปจากแปลงนา ทำให้ดินต้องสูญเสียอินทรียวัตถุเป็นปริมาณมากในทุก ๆ ปี ดังนั้น จึงควรนำเอาฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักใส่กลับลงดินในแปลงนาข้าว เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินและเพิ่มผลผลิตข้าวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ยังมีกระถินยักษ์ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่วยืนต้นที่ขึ้นได้ดี โตเร็ว แตกกิ่งก้านมากมีใบดก ระบบรากลึกทนแล้งได้ดี และมีจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนจากอากาศที่ปมราก จึงเป็นพืชที่เหมาะสมเป็นพืชสดบำรุงดิน การนำเอากระถินยักษ์มาปลูกบนคันนาแล้วตัดเอาใบและกิ่งอ่อนใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว หรือการปลูกกระถินยักษ์ในระบบพืชควบกับข้าวสาลี โดยตัดเอาใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดใช้ได้ตลอดไป โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะเป็นหนทางในการปรับปรุงบำรุงดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวสาลีได้ และจากการนำเอาเมล็ดสะเดามาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้มีกากสะเดา เป็นวัสดุเหลือใช้เมื่อวิเคราะห์พบว่ามีไนโตรเจนมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ควรนำมาเป็นปุ๋ยใช้ในนาข้าวได้


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ได้อัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงเมื่อใส่อย่างเดียวหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีในระยะยาว

2. เพื่อให้ได้อัตราใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์ ที่ปลูกบนคันนาเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงและไวต่อช่วงแสง เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี

3. เพื่อศึกษาระบบการปลูกพืชควบโดยใช้กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกข้าวสาลีในการเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี

4. เพื่อให้ได้อัตรากากสะเดาที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง

5. เพื่อศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา) ต่อการเปลี่ยนสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน)


ความเป็นมา
ในปีงบประมาณ 2524 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เห็นความสำคัญในการใส่ปุ๋ยหมักซึ่งเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากเศษพืช และมูลสัตว์นำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดินและเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยหมักที่ผลิตขึ้นเอง ตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ(ปุ๋ยหมัก) เกษตรกร 20 จังหวัดสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ 57.460 ต้น ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (2525-2529) รัฐบาลมีนโยบายในการลดต้นทุนการผลิตโดยดำเนินงานตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดิน ส่งเสริมการเป็นประโยชน์ของปุ๋ยเคมี ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักรวมถึงการเพิ่มผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร มีเป้าหมายผลิตปุ๋ยหมัก 690,000 ตัน ในพื้นที่ 72 จังหวัดในปี 2530 - 2534 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยหมัก 870,000 ตัน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด 32,054 ไร่ ในปี 2534 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดนโยบายด้านดินและปุ๋ย โดยเน้นความจำเป็นในการยกระดับความสำคัญของการบำรุงดินให้เป็นนโยบายสำคัญ ในปี 2535 - 2539 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ส่งเสริมการทำและใช้ปุ๋ยหมัก 910,000 ตัน ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์และใช้ปุ๋ยพืชสด จัดอบรมผู้นำเกษตรกร เป้าหมายปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ 840,000 ไร่ โดยใช้ฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา และในปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน จึงต้องสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวต่อไป


คุณลักษณะดีเด่นของเทคโนโลยี
1. ฟางข้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเมื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักจะทำให้การใช้วัสดุอินทรีย์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

2. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีธาตุอาหารพืชปริมาณมากพอสมควร กล่าวคือ มีไนโตรเจน 2.16 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 1.18 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.31 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 2.29 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม 0.44 เปอร์เซ็นต์ และซัลเฟอร์ 0.41 เปอร์เซ็นต์

3. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีอัตราส่วนคาร์บอนและไนโตรเจนต่ำ ( C/N = 11.94 ) ทำให้ไนโตรเจนละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อข้าวได้เร็ว ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น คือ ดินจับตัวเป็นเม็ดมากขึ้น ลดความแข็งของดินและลดความหนาแน่นรวม

4. ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ช่วยดูดปุ๋ยไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นช่วยลดการสูญเสียไนโตรเจน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและช่วยในการเจริญเติบโต มีรากมากขึ้น ดัชนีพื้นที่ใบข้าวเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น

5. การปลูกกระถินยักษ์บนคันนา เพื่อนำมาเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว เป็นการนำพื้นที่ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

6. กระถินยักษ์มีธาตุอาหารไนโตรเจนสูง 3.7 - 4.3 เปอร์เซ็นต์ และมีธาตุอาหารพืชต่าง ๆ (แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และไนเตรท) ในระดับสูง

7. ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น รักษาธาตุอาหารในดิน ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของข้าว

8. ระบบการปลูกพืชควบกระถินยักษ์และข้าวสาลี ช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี จากการใช้กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสด

9. การใช้กากสะเดาซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้มาเป็นปุ๋ยอินทรีย์กับข้าว ทำให้ดินมีสมบัติทางกายภาพดีขึ้นให้ธาตุอาหารและเพิ่มผลผลิตข้าว


การประเมินคุณค่าของเทคโนโลยี
1. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยเคมีติดต่อกัน 20 - 22 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไป ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 115 เปอร์เซ็นต์, 99 เปอร์เซ็นต์ และ 72 เปอร์เซ็นต์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถานีทดลองข้าวพิมาย และสถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ตามลำดับ และผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 146 เปอร์เซ็นต์, 117 เปอร์เซ็นต์ และ 89 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไป ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ตามลำดับ

2. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวติดต่อกัน 12 ปี ทำให้ดินมีอินทรียวัตถุที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น

3. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้นกล่าวคือ ทำให้การจับตัวของเม็ดดินเพิ่มขึ้น ความแข็งของดินลดลง ความหนาแน่นของดินลดลง

4. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวช่วยเพิ่มการดูดธาตุอาหารในต้นและเมล็ดข้าว เพิ่มดัชนีพื้นที่ใบ ปริมาณรากและการดูดน้ำของราก

5. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ เพิ่มผลผลิตข้าว กข. 23 81 เปอร์เซ็นต์

6. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ หรือใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่อย่างเดียวเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 53 เปอร์เซ็นต์

7. การใช้กระถินยักษ์ติดต่อกัน 10 ปี ทำให้ดินมีสมบัติทางเคมีและกายภาพดีขึ้น ช่วยให้ข้าวดูดธาตุอาหารจากดินได้มากขึ้น ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้น

8. การปลูกพืชควบระหว่างกระถินยักษ์กับข้าวสาลีร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ติดต่อกัน 6 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวสาลีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ และอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นด้วย

9. การใส่กากสะเดาอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินทรายปนดินร่วนและดินเหนียวปนทราย 44 และ 56 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


คำแนะนำวิธีการใช้
1. การทำปุ๋ยหมักฟางข้าว กองฟางข้าวในที่ร่มมีขนาดกอง 2x5 เมตร รดน้ำให้ชุ่มพร้อมกับเหยียบให้แน่นพอสมควร จนกองสูงประมาณ 25 เซนติเมตร โรยมูลสัตว์และปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟตเพื่อช่วยให้ฟางข้าวสลายตัวเร็วขึ้น แล้วกองชั้นต่อ ๆ ไป ทำเช่นเดียวกันจนกองมีความสูง 1.00 -1.50 เมตร โดยใช้ฟางข้าว มูลสัตว์และปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 100 ต่อ 10 ต่อ 1 ควรกลับกองปุ๋ยทุก ๆ เดือน หลังกลับกองปุ๋ยครั้งที่สองแล้ว 2 อาทิตย์ จึงกลับอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นกองปุ๋ยหมักก็จะเหมาะแก่การนำไปใช้แล้ว ปกติแล้วปุ๋ยหมักจะมีค่าของคาร์บอน/ไนโตรเจนประมาณ 20

2. ใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2 ตันต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงขณะเตรียมดินแล้วไถกลบลงไปในดินทันทีก่อนปักดำข้าว 20 วัน ใส่ปุ๋ย 16-20-0 ในดินเหนียวหรือ 16-16-8 ในดินทรายอัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปักดำข้าว 1 วัน แล้วคราดกลบและใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับนาหว่านน้ำตมใส่ปุ๋ย 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หลังข้าวงอก 30 วัน และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก

3. การปลูกกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวใช้กระถินยักษ์พันธุ์เปรูหรือ K8 ปลูกบนคันนา ควรเริ่มปลูกในช่วงฤดูฝนหรือในระยะที่ดินมีความชื้นพอ ถ้าเป็นคันนาแคบควรปลูกเป็นแถวเดียวระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ถ้าคันนากว้างควรปลูกเป็นแถวคู่ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถวเท่ากับ 50 x 50 เซนติเมตร การตัดแต่งกิ่งเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด ถ้าฝนตกตามปกติกระถินยักษ์จะโตเร็ว เริ่มตัดใบและกิ่งอ่อนได้ใน 4-5 เดือนของปีแรก ควรตัดแต่งครั้งแรกเมื่อกระถินยักษ์สูง 2 เมตร โดยตัดให้เหลือตอสูงเหนือพื้นดิน 1 เมตร ส่วนของกระถินยักษ์ที่จะนำไปใส่เป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินให้เลือกตัดเอาเฉพาะใบและกิ่งอ่อนและตัดแต่งทุก 2 เดือน หรือเมื่อต้นกระถินยักษ์สูง 2 เมตร

4. การใส่กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์หว่านในแปลงปลูกข้าวแล้วไถกลบก่อนปักดำข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัมN ต่อไร่ (ยูเรีย 26 กิโลกรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ส่วนข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์หว่านแล้วไถกลบก่อนปักดำข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 12 กิโลกรัมNต่อไร่ (ยูเรีย 26 กิโลกรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอกหรือใช้ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างเดียวก่อนปักดำข้าว 15 วัน

5. การปลูกกระถินยักษ์ร่วมกับข้าวสาลี โดยปลูกกระถินยักษ์ในปีแรก โดยปลูกเป็นแถบ 2 แถวคู่ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร ขวางความลาดเทของพื้นที่สลับกับแถบของข้าวสาลีในอัตราส่วนกระถินยักษ์กว้าง 1 เมตร ข้าวสาลีกว้าง 3 เมตร ในปีที่ 2 และปีต่อ ๆ ไป ตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 เซนติเมตร ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกข้าวสาลีร่วมกับการใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะหลังข้าวสาลีงอก 20 วัน และตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 เซนติเมตร ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกพืชหลัก เช่น ข้าวไร่ เป็นต้น ปลูกสลับกับข้าวสาลี
6. ใส่กากสะเดา อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบก่อนปักดำข้าว 1 สัปดาห์


การเผยแพร่
เผยแพร่โดยกลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร ลาดยาว จตุจักร กทม. 10900. หรือ โทร 02-5797515

http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=438&filename=index
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 28/01/2012 7:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

[img]http://2.bp.blogspot.com




http://www.google.co.th




http://jawnoyfishing.blogspot.com/2008/12/blog-post_07.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:20 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 53, 54, 55 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 54 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©