-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 5 JAN
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 5 JAN

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/01/2012 6:59 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 5 JAN ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 5 JAN



**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

**********************************************************




จาก : (081) 494-93xx
ข้อความ : ข้าวเป็นเมล็ดด่าง เกิดจากสาเหตุใด แมลงเต่าทองเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ บอกวิธีป้องกันด้วยด้วยนะคะ....
ตอบ :
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ไคโตซาน 50 ซีซี. + สังกะสี อะมิโน คีเลต 50 ซีซี." นาน 1 คืน (24 ชม.) .....
สารไคติเนสส.ในไคโตซาน.จะช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์..... สังกะสี.ช่วยให้เมล็ดได้สะสมอาหารไว้ในตัว
เองตั้แก่อนเกิด

- บำรุงต้นให้สมบูรณ์ด้วยสารอาหารครบ หลัก/รอง/เสริม/ฮอร์โมน/วิตามิน เพื่อให้ต้นมีภูมิต้านทานภายในต้นสู้กับ โรค/แมลง ได้

- เลิกให้ยูเรีย.เด็ดขาด เพราะยูเรีย.ทำให้ต้นอวบ ล่อ โรค/แมลงศัตรูพืชให้เข้าหา

- ทำนาดำให้ระยะระหว่าง กอ-แถว ห่างๆ เพื่อไม่ให้แสงแดดส่องทั่วต้น ทั่วแปลง และไม่ให้เกิดความชื้นที่ทำให้เชื้อราเจริญ




โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)

พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้

สาเหตุ
เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed.

เชื้อราสาเหตุ
Cercospora oryzae I.Miyake
Helminthosporium oryzae Breda de Haan.
Fusarium semitectum Berk & Rav.
Trichoconis padwickii Ganguly
Sarocladium oryzae

อาการ
ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู
ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดใน
ช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้
เก็บเกี่ยว

การแพร่ระบาด
เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และอาจสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้

การป้องกันกำจัด
- ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 และข้าวเจ้า
หอมคลองหลวง 1
- เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค
- คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม หรือ แมนโคเซ็บ ในอัตรา 3 กรัม /เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

ในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวงเมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธง และโรคกาบใบเน่า ถ้ามีฝนตกชุก ควรวางมาตรการ
ป้องกันแต่ต้นมือ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โปรพิโคนาโซล + ไดฟีโนโคนาโซล โปรพิโคนาโซล + โพคลอราซล
คาร์เบนดาซิม + อีพ๊อกซี่โคนาโซล ฟลูซิลาซอล ทีบูโคนาโซล โพคลอราซล + คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็บ + ไทโอฟาเนต –
เมทิล ตามอัตราที่ระบุ




http://www.brrd.in.th/rkb/data_005/rice_xx2-05_newDisease007.html


-------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (089) 907-1315
ข้อความ : ตอนนี้ทำเครื่องหยอดเมล็ดข้าวเสร็จแล้ว กำลังเริ่มจะทดลอง....
ตอบ :


-------------------------------------------------------------------------------------------------




จาก : (1188 TYP)
ข้อความ : อยากให้ผู้พันช่วยกรุณาบอกการแก้ปัญหาเกี่ยวกับราเขียว ราเหลือง ที่เกิดขึ้นในเห็ดนางฟ้า อยากรู้ว่าใช้สมุนไพร
ได้หรือไม่ เพราะว่าเชื้อเห็ดก็เป็นราชนิดหนึ่งเหมือนกัน....ขอบคุณครับ เกษตรกรมือใหม่ นครสวรรค์
ตอบ :
- เรียนตามตรงว่ามีข้อมูลเรื่องเห็ดน้อยมากๆ รู้/ไม่รู้ ก็เท่าที่มีในลิงค์ที่เอามาให้อ่านนี่แหละ อ่านแล้วก็พิจารณาใประโยชน์
เอาเองเถอะนะ

- ประสบการณ์ตรงมีเพียงเคยแนะนำเมื่อดอกเห็ดเริ่มเกิดแล้วให้ใช้ "อเมริกาโน หรือ ยูเรก้า" อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 1.5 ซีซี.
(ห้ามเกิน) / น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นแบบผ่านๆ หรือฉีดขึ้นบนแล้วให้ละอองปลิวตกลงมาที่ดอกเห็ดเอง ตอนค่ำ วันเว้นวัน ปรากฏว่า
เห็ดนางฟ้า-เห็ดฟาง-เห็ดนางรม ดอกใหญ่มาก อายุเก็บนานขึ้น เท่านี้แหละ


คลิก...
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1959&postdays=0&postorder=asc&start=1300&sid=47dde69afcdf0ef7edaae5b9380dbf63
1,444. ธาตุอาหาร สำหรับเห็ด





ศัตรูเห็ดนางฟ้า



เห็ดนางฟ้า มีคุณสมบัติทางกลิ่นที่ดึงดูดโรคและแมลงศัตรูเห็ดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีศัตรูเห็ดรบกวนหลายชนิด เช่น

1. หนูและแมลงสาบ เริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะเชื้อและดอกเห็ดการกำจัดควรใช้ยาเบื่อหรือกาวดัก

2. ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าการระบาดของไรมีมากเมื่อความ ชื้นต่ำ จึงควรให้
ความชื้นอย่างสม่ำเสมอ การไม่ปล่อยให้เกิดการหมักหมมของก้อนเชื้อบริเวณโรงเพาะ ก็เป็นการลดจำนวนไรได้ทางหนึ่ง การปราบ
ไรควรเน้นเรื่องความสะอาดและการป้องกันมากกว่าการใช้สารเคมีเพราะจะ เป็นอันตรายมาถึงคนกินเห็ดได้

3. แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่อายุมากแมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่เป็นหนอนแล้วแพร่พันธุ์ ควรนำก้อนเชื้อชนิดนี้ออกจากโรงเพาะ

4. โรคจุดเหลือง พบในเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บหรือเป็นเพราะน้ำที่ใช้รดสกปรก โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด

5. ราเมือก มีลักษณะเป็นสายสีเหลือง มีกลิ่นคาวจัด สามารถระบาดโดยสปอร์ได้ ควรป้องกันโดยการเอาก้อนเชื้อที่หมดอายุและเศษ
วัสดุในเรือนเพาะออกอย่าให้ เกิดการหมักหมม

http://www.infoforthai.com/forum/topic/4860




โรคและแมลงศัตรูเห็ดที่เพาะระบบถุง พลาสติก

จังหวัดในภาคตะวันออก คือชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครนายก มีการทำฟาร์มเห็ดเช่นเดียวกันกับ
จังหวัดอื่น ๆ ปัญหาการตลาดคล้ายกัน คือ เห็ดที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะมีบางช่วงที่ผลิตดอกเห็ดมากจนล้นตลาด แต่ถ้าอากาศไม่
หนาวเย็นพอ เช่น อากาศร้อนนาน ๆ เห็ดนางฟ้าภูฎานดำแทบจะไม่เกิดดอกเห็ดเลย ระยะนั้นเห็ดขอนและเห็ดกระด้างจะออกดอกดี ส่วนเห็ดนางรม
จะออกดอกได้ปานกลาง ทั้งช่วงร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป ส่วนเห็ดยานากิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่นจะออกดอกคราวละไม่มาก ทำให้ต้องใช้โรงเรือน
รอบละนานๆ

ปัญหาที่พบทั่วไปของผู้ผลิตดอกขายคือ เชื้อราเขียว ราต่างๆ เข้ากินก้อนเชื้อ ถูกหนอนของแมลงรบกวน และการเกิดไรหลายชนิด กินเส้นใย
เห็ด การเกิดบักเตรีสีสนิมทำลายโคนต้นเห็ด การเกิดปัญหาเป็นเพราะสุขอนามัยของฟาร์มเห็ดย่อหย่อน การแปรสภาพถุงเก่าและเศษเห็ดช้าเกินไป
ส่วนการที่จะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก็จะมีพิษตกค้างในเห็ดเป็นอันตรายได้ ปัจจุบันในหลายภูมิภาคได้มีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ แก้ปัญหาอย่างได้
ผลและเสียค่าใช้จ่ายน้อย เช่น ใช้ไบโอบีทีชีวภาพ เพื่อกำจัดหนอนของแมลง ใช้เชื้อพลายแก้วเพื่อกำจัดเชื้อรา และใช้บาซิลลัส ไมโตฝาจหรือ
ไมโตฟากัส กำจัดไร เป็นต้น

1. เชื้อราปนเปื้อนที่พบได้แก่ ราเขียว Trichoderma sp. ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบรวดเร็ว ทำให้เชื้อเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ราดำ Aspergillus
niger เกิดในถุงที่มีอาหารเสริมสูง ราสีส้ม Neurospora sp. และราเมือกสีเหลือง Physarum polycepharum พบตามถุงเห็ดที่วัสดุเพาะ
เน่าและภายในโรงเห็ดมีความชื้นสูง โรงเพาะเห็ดไม่มีอากาศถ่ายเทพอ ถ้ามีราปนเปื้อนมากควรงดใส่น้ำตาลและแป้ง หรือไม่ควรใส่ในสูตรอาหาร
เห็ดเลย แก้ปัญหาโดยใช้เชื้อพลายแก้วที่หมักเป็นเชื้อสดแล้ว ฉีดพ่นเข้าไปในบริเวณที่เกิดเชื้อราโรคเห็ด

2. หนอนแมลงหวี่เซียริดหรือแมลงหวี่เห็ดปีกดำ พวกนี้มีลำตัวสีขาวใสหรือสีเขียวอ่อน หัวมีสีดำยาวประมาณ 5 – 7 ซ.ม. เคลื่อนไหวเร็วและกิน
จุมาก ตัวอ่อนจะกัดกินเส้นใยเห็ด แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นเชื้อไบโอบีที ที่หมักเป็นเชื้อสดแล้วให้ทั่วบริเวณที่หนอนอยู่อาศัย

3. ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าการระบาดของไรมีมากเมื่อความ ชื้นต่ำ จึงควรให้ความชื้น
อย่างสม่ำเสมอ การไม่ปล่อยให้เกิดการหมักหมมของก้อนเชื้อบริเวณโรงเพาะ ก็เป็นการลดจำนวนไรได้ทางหนึ่ง การปราบไรควรเน้นเรื่องความ
สะอาดและการป้องกันมากกว่าการใช้สารเคมีเพราะเมื่อไรกระจายอยู่ในถุงเห็ดแล้วสารเคมีมักใช้ไม่ได้ผลจริง อีกทั้ง เป็นอันตรายมาถึงคนกิน
เห็ดด้วย แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นน้ำหมักเชื้อไมโตฝาจในบริเวณที่เกิดปัญหาไร

4. แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่อายุมากแมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่เป็นหนอนแล้วแพร่ พันธุ์ ควรนำก้อนเชื้อชนิดนี้ออกจากโรงเพาะ
แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นเชื้อจุลินทรีย์ ทริปโตพลัสให้ถูกตัวแมลงหวี่หรือบริเวณที่แมลงหวี่มักเกาะอาศัย

5. โรคจุดเหลือง พบในเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บหรือเป็นเพราะน้ำที่ใช้รดสกปรก หรือความชื้นมาก โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด

http://sarakased.blogspot.com/2010/07/blog-post_2767.html

-------------------------------------------------------------------------------------------------

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©