-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 3 JAN
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 3 JAN

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/01/2012 7:10 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 3 JAN ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 3 JAN



**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

**********************************************************




จาก : (089) 490-12xx
ข้อความ : ลูกองุ่นในพวงเดียวกัน บำรุงอย่างเดียวกัน แต่ผลในพวงแก่ไม่เท่ากัน เป็นเพราะอะไร และแก้ไขอย่างไรคะ...
..ชาวสวนองุ่นมือใหม่ ปากช่อง
ตอบ :
- แบบนี้ชาวสวนองุ่นดำเนินสะดวก ราชบุรี เรียกว่า "องุ่นโง่" แก้ไขโดยการ "ตัดผลปลายช่อ" ออกซัก 2-3 ผล
แล้วบำรุงให้ถึง ธาตุรอง/ธาตุเสริม ทั้งทางใบทางราก สม่ำเสมอ.....เทคนิคบำรุงที่ดี คือ ความสมบูรณ์สะสม โดยการ
ให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม สลับด้วบ แคลเซียม โบรอน ทั้งทางใบและทางรากตลอดปี ทั้งขณะมีผลและไม่มีผลอยู่บนต้น

(ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ทุกสูตร - ไบโออิ - ยูเรก้า -ไทเป.....ทุกตัวมีธาตุรอง/ธาตุเสริม เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย)

ชาวสวนองุ่นย่านดำเนินสะดวก ราชบุรี หลายราย ใช้ ระเบิดเถิดเทิง-ไบโออิ-ไทเป-ยูเรก้า บำรุงองุ่นตลอดปี ปรากฏว่า
ช่วงที่พายุโซนร้อน (ไซฮวง) เข้า ซึ่งองุ่นแปลงที่ไม่เคยให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม-แคลเซียม โบรอน.เลย พอโดนพายุไซฮวง
เข้า ดอก-ผลเล็ก-ผลกลาง จะร่วง บางสวนร่วงเกลี้ยงไม่เหลืออะไรให้ดูเลยก็มี แต่แปลงที่ปรับวิธีการบำรุงมาสู่แนว อินทรีย์
นำ - เคมี เสริม ตามความเหมาะสมขององุ่นแล้ว ไม่มีอาการ ดอก-ผลเล็ก-ผลกลาง-ผลใหญ่ ร่วงเลยหรือร่วงก็ร่วงน้อยมากๆ

สวนองุ่นดำเนินสะดวก ราชบุรี หลังพรุนกิ่ง แล้วเรียกใบอ่อน ให้ทางรากด้วย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 อัตรา
5 ล./ไร่/เดือน โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มแม้แม็ดเดียว (ในระเบิดเถิดเทิงใส่ 30-10-10 ให้แล้ว) ปรากฏว่า ได้ใบองุ่นขนาด
ใหญ่-หนา-เขียวเข้ม-สมบูรณ์ ดีมากๆ


- ลองกอง-ลางสาด ก็มีอาการแบบนี้เหมือนกัน แต่ไม่เรียกว่า "โง่" เท่านั้น การแก้ไขทำเหมือนองุ่นนี่แหละ


-------------------------------------------------------------------------------------------------




จาก : (083) 921-45xx
ข้อความ : อยากปลูกผักพื้นเมืองไว้กินเองในบ้าน ลุงคิมว่าควรปลูกผักอะไรบ้างคะ ไม่เห็นลุงคิมพูดถึงผักพื้นเมืองเลย...ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
- เลือกเอาจะปลูกอะไร ดูที่เป็นไม้ ยืนต้น/ใหญ่ ซัก 1-2 ต้น
- เลือกที่เป็นพืชพุ่มเตี้ย แซม/แทรก ไม้ใหญ่ หรือตามรั้ว
- เลือกที่เป็นพืชล้มลุก ทำเป็นแปลงเล็ก หรือลงกระถาง
- ทำดีๆ ได้ทั้งกิน ได้ทั้งขาย แบ่งข้างบ้านกิน ได้ทั้งนั้น




ความหมายของพืชผักพื้นบ้าน

ผักพื้นบ้าน หมายถึง พรรณพืชผักพื้นบ้านหรือพรรณไม้พื้นเมืองในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาบริโภค เป็นผักเกิดในแหล่งธรรมชาติ
ตามป่าเขา หนองบึง ริมน้ำ หรือชาวบ้านนำมาปลุกไว้เพื่อสะดวกในการเก็บบริโภค ผักพื้นบ้านมีชื่อเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น
และนำไปประกอบเป็นอาหารพื้นเมืองตามกรรมวิธีเฉพาะของท้องถิ่น โดยตัวของผักพื้นบ้านเอง มีคุณค่าในการสร้างภูมิคุ้มกัน
สำหรับชาวบ้านและบริโภคตามฤดูกาล
ชาวบ้านจะเลือกสรรพืชผักที่มีประโยชน์และตัดสิ่งที่เกิดโทษออกไป พืชผักที่เกื้อกูลสุขภาพอาจเรียกว่า สมุนไพร นอก
จากนี้ลักษณะอาหารและรสชาติอาหารจะมีเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นนั้น

ผักพื้นบ้านในประเทศไทยนั้นเดิมมีถึง 255 ชนิด ตามที่ มล.ติ๋ว ชลมารคพิจารย์ ได้เขียนไว้ในตำรับสายเยาวภา ตำราปรุงอาหาร
ไทยที่มีชื่อเสียงมากกว่า 50 ปี และแบ่งเป็น 5 หมวด

หมวดใบและยอด..........ยอดกระถิน ยอดสะเดา ใบบัวบก ใบขี้เหล็ก
หมวดหัวและราก...........เผือก มัน ขิง ข่า
หมวดดอก..................ดอกขจร ดอกโสน ดอกมะรุม หัวปลี ดอกเข็มแดง
หมวดฝัก....................ฝักเพกา ฝักมะรุม / เฟื่องฟ้า ลั่นทมขาว พวงชมพู
หมวดผล....................ฟักทอง มะเขือ มะดัน ฟักขาว มะระขี้นก มะกอก

ส่วนกองพฤกษาศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร ได้รวบรวมชื่อผักพื้นบ้านที่คนไทยบริโภคตามภาคต่างๆ พบว่า ในภาคเหนือมี
จำนวน 120 ชนิด ภาคตะวัน-ออกเฉียงเหนือมีจำนวน 130 ชนิด ภาคใต้มีจำนวน 158 ชนิด พืชผักเหล่านี้ส่วนใหญ่จะนำยอด
อ่อน ดอก ผล เมล็ด มาใช้บริโภค

ผักพื้นบ้านหาง่าย ปลูกง่าย มีภูมิต้านทานสูงกว่าผักจากต่างประเทศที่นำมาปลูกในประเทศไทย จึงปลอดภัยจากสารเคมี ยาฆ่า
แมลง และปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต ผักพื้นบ้านที่เรารู้จักกันดีและนำมารับประทานกันเป็นประจำวันในแต่ ละภาคมีดังนี้

ภาคเหนือ ได้แก่ ผักเชียงดา ผักเตา ผักแส้ว ผักฮ้วน ผักแว่น ผักหวาน ผักเฮือด ผักขี้หูด ผักปลัง ผักไผ่ ผักผำ สะแล ผักเสี้ยว
พ่อค้าตีเมีย ต้างหลวง นางเลว
ผักคราด ผักแปม ผักชีลาว กระเจี๊ยบมอญ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ผักติ้ว ผักกระโดน ใบย่านาง ผักเม็ก สาหร่ายน้ำจืด (เตา) ผักแขยง ผักคราด ผักหวานป่า

ภาคใต้ ได้แก่ ใบเหลียง ผักกูด สะตอ ยอดมะกอก ใบยอ ใบมะกอก คูณ ฉิ่ง
มะม่วงหิมพานต์ มันปู หมุย เหมียง เหรียง

ภาคกลาง ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกระถิน ใบบัวบก ดอกโสน ใบชะพลู ขี้เหล็ก ยอดแค
ผักกระเฉด ใบกะเพรา สะเดา ดอกขจร
ชะมวง ผักตบไทย

http://www.krudang.com/sheet/pak/kwammy.htm


-------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (1188 TYP)
ข้อความ : สวัสดีปีใหม่ลุงคิม ช่วยพูดเรื่องทำนาสมัยโบราณ...ขอขอบคุณอย่างสูง
ตอบ :
เกริ่น.....
ปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาในประเทศไทยราว พ.ศ.2488 โดย ดร.นักวิชาการเกษตรอินเดีย การเกษตรสมัยนั้นยังไม่มี ปุ๋ยเคมี-สารเคมี
ยาฆ่าแมลง สภาพแวดล้อมโดยเฉพาะดินจึงยังไม่เสีย กอร์ปกับ ประเทศไทยตั้งอยู่ในโซนชีวภาพของโลกด้วย ทำให้การใช้
หรือไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ไม่ส่งผลทางบวกต่อพืชให้เห็น เกษตรกรไทยจึงไม่นิยม

หลังจากปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาไม่กี่ปี ปุ๋ยเคมีก็เข้ามาในประเทศไทยบ้าง โดยมหามิตรอย่างอเมริกา ด้วยความที่เดิมดินมีอินทรีย์
วัตถุเป็นทุนดีอยู่ก่อนแล้ว ครั้นพืชได้รับปุ๋ยเคมีเพิ่มเพียงเล็กน้อย พืชจึงตอบสนองดี ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ
ทันตาเห็น นี่คือจุดเริ่มต้นของการคลั่งไคล้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรไทย และคนไทย

นักการค้าอย่างอเมริกา + นิสัยตื่นของนอกอย่างคนไทย ทำให้ปุ๋ยเคมีแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ยิ่งคำโฆษณาว่า "ปุ๋ยเคมี
เพิ่มผลผล-ปุ๋ยเคมีเพิ่มผลผลิต" ประกอบกับของแท้ที่เห็นกับตาที่เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแล้วผลผลิตมันเพิ่มขึ้นจริงๆด้วย จึง
ทำให้เกษตรกรไทยใส่หนักกว่าโฆษณา ...... ยุคนั้นสมัยนั้น ปุ๋ยเคมีได้ผลตามโฆษณาจริงๆ เหตุเพราะปัจจัยพื้นฐาน "ดิน"
เป็นตัวช่วย ถึงยุคปัจจุบัน ดินที่ได้รับปุ๋ยเคมีเพียวๆ มาตลอด 60-70 ปี สภาพโครงสร้างดินเริ่มเปลี่ยนแปลง จากเหมาะสม
ต่อการเพาะปลูกมาเป็นไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ไม่ใช่เพียงแต่ดินเท่านั้น ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูกตัวอื่นๆ ก็
พลอยเสียตามไปด้วย

ปุ๋ยเคมี คือ สารอาหารพืช แม้จะเป็นตัวเดียวกันกับปุ๋ยอินทรีย์ แต่ปุ๋ยเคมีเกิดมาจากการสังเคราะห์ทางเคมีวิยาศาสตร์ ซึ่งสามารถ
กำหนดเปอร์เซ็นต์หรือความเข้มข้นของเนื้อสารตามต้องการได้ ในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ
ไม่สามารถกำหนดเปอร์เซ็นต์หรือความเข้มข้นตามต้องการได้ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่ดีที่พืชเมื่อได้รับสารอาหารมากขึ้นจึงให้ผล
ผลิตมากขึ้นด้วย

กฏธรรมชาติข้อหนึ่ง คือ ความพอดี คือ ดี.....ความไม่พอดี คือ ไม่ดี....

ข้อจำกัดทางธรรมชาติของพือายุสั้นฤดูกาลเดียวประการหนึ่ง คือ ต้องการสารอาหารอินทรีย์มากกว่าสารอาหารสังเคราะห์ หรือ
ต้องการเพียง "น้อย-นิด" ของอัตราใช้ตามโฆษณาเท่านั้น ซึ่งกฏเกณท์ทางธรรมชาติข้อนี้ ธุรกิจขายปุ๋ยเคมีจะไม่พูดถึงอย่างเด็ด
ขาด เพราะมันคือผลประโยชน์

นาข้าวสมัยโบราณเป็นข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง ที่พัฒนาการทางสายพันธุเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (ผสมกันเอง ข้ามไปข้ามมา
ในแปลงเดียวกันหรือแปลงข้างเคียง) ชาวนาสมัยโบราณทำนาปีละครั้งเดียวคือ นาน้ำฝน ไม่มีการทำนาปรัง หลังเกี่ยวข้าวแล้ว
ก็ปล่อยให้ วัว-ควาย-สัตว์เลี้ยง ต่างๆ เข้าไปหากินในแปลงน่า ส่วนฟางก็ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น จนกระทั่งแห้งกับแดด ผุเปื่อย
กับน้ำค้าง ผสมผสานกับมูลสัตว์ที่ถ่ายออกมา กลายเป็นสารอาหารพืชอยู่ในดิน บำรุงต้นข้าวในปีเพาะปลูกต่อมา ซ้ำแล้วซ้ำ
เล่าอยู่อย่างนี้

พืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวที่เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองแท้ๆ เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาตัวเองตามธรรมชาติ จึงให้ปริมาณผลผลิตไม่สูง (ข้าว
พื้นเมืองให้ผลผลิตเฉลี่ย 25 ถัง/ไร่) แม้จะได้ให้สารอาหารสังเคราะห์ (ปุ๋ย/ฮอร์โมน เคมี) เพิ่มแล้วก็ไม่ได้ทำให้ผผลิต
เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม สารอาหารสังเคราะห์บางตัวยังเป็นตัวการที่ทำให้คุณลักษณะทางพันธุกรรมเปลี่ยนแปลง
จาก "ดีเป็นด้อย" อีกด้วย

ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไม่ค่อยตอบสนองต่อสารอาหารสังเคราะห์มากนัก แต่ข้าวพื้นเมืองก็ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาสารอาหารเพื่อ
การเจริญเติบโตอยู่ดี ในเมื่อข้าวพื้นเมืองไม่ชอบสารอาหารสังเคาะห์ ก็ต้องมีสารอาหารอินทรีย์ให้แทน แทนในปริมาณที่ต้น
ข้าวต้องการ

คนสมัยโบราณทำนาข้าวไว้กินเท่านั้นไม่ได้ทำเพื่อขาย (ในประเทศ ส่งออกต่างประเทศ) อย่างปัจจุบัน จึงไม่มีความจำเป็น
ต้องเร่งรีบ ประกอบกับไม่มีการคิดค้นเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ใดๆทั้งสิ้น ทุกขั้นตอนอาศัยเพียงเทคโนโลยีชาวบ้าน หรือภูมิปัญญา
พื้นบ้านเท่านั้น

เกษตรกรไทยสมัยโบราณไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์การเกษตรว่าด้วยพืช หรือว่าด้วยอะไรก็แล้วแต่ แต่ใช้ความเป็นคนช่าง
สังเกตุแล้วทำตามนั้น เช่น เอามูลสัตว์ที่รกสกปรกในบ้านไปทิ้งในนา ไร่ สวน หรือบริเวณที่ต้นพืชขึ้นอยู่ แล้วพบว่าพืชในไร่
นา สวน หรือบริเวณนั้นเจริญเติบโตดีกว่าบริเวณอื่น จากที่ไม่ตั้งใจใส่ปุ๋ยคอกเปลี่ยนมาเป็นเจตนาเอาไปใส่.....บริเวณที่เคย
เลี้ยงสัตว์มาก่อน เมื่อเลิกเลี้ยงแล้วมีพืชขึ้บริเวณนั้น เจาะจงลูกหรือขึ้นเอง ต่างก็เจริญเติบโตให้ผลิตดี .... แม้แต่พืชที่ปลูกใน
กระถาง ใช้น้ำล้างจานรดแทนน้ำ ต้นพืชนั้นก็เจริญเติบโดได้....น้ำล้างปลาราดรดให้กับต้นสะระแหน่ เป็นต้น

คนจีนที่อพยบมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ เอาปุ๋ยในบ่อส้วมไปใส่ให้แปลงผัก แปลงนา แล้วต้นพืชต่างก็เจริญ
เติบโต ให้ผลผลิตดี คนไทยเจ้าของแผ่นดินเห็นเข้าเอาอย่างบ้าง ลงท้ายก็ได้ผลเหมือนกัน

จากโบราณ สู่ปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการผลิตพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุดทั้งคุณภาพและปริมาณ จึงจำเป็นต้องใช้
เทคโนโลยีวิยาศาสตร์ และเทคโนโยชาวบ้าน แบบผสมผสานกันอย่างกลมกลืนเหมาะสม



แนวความคิดที่จะเพิ่มผลผลิตข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองให้ได้นั้น จะต้องย้อนกลับไปดู
- คุณลักษณะทางสายพันธุ์
- ชนิดและปริมาณสารอาหาร ที่เป็นสารอินทรีย์
- ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูกอื่นๆ
- ฯลฯ

นั่นคือ.....
- เพิ่มสารอาหารที่เป็นสารอินทรีย์แท้ๆ ในน้ำหมักชีวภาพด้วยการเพิ่มชนิดของส่วนผสมที่เป็นกำเนิดสารอาหารเฉพาะชนิดให้มากขึ้น
- อาศัยการบวนการทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดสารอาหารเป็นหลัก
- ปรับปรุงเทคนิคการให้สารอาหารที่เป็นสารอินทรีย์ ให้สอดคล้องกับระยะพัฒนาการแต่ละระยะอย่างประณีตและเหมาะสม
- ฯลฯ



-------------------------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©