-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 50, 51, 52 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/12/2011 10:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ลำดับเรื่อง...


1,387. ดาหลาในเกาะ ไห่หนาน
1,388. แอ๊บเปิ้ลที่ออกดอกติดผลตามลำต้นเป็นแท่งสูงชลูด
1,389. NEEM พืชทรงคุณค่า
1,390. การใช้ประโยชน์มูลสัตว์เป็นปุ๋ยให้กับพืช อย่างมีประสิทธิภาพ

1,391. ฤดูหนาว ดูแลพืชผักอย่างไรให้ปลอดโรค ?
1,392. การทำยาฆ่าแมลงจากสมุนไพร
1,393. แนะวิธีดูแลผักฤดูหนาว ทำอย่างไรให้ปลอดโรค
1,394. อากาศหนาวผักให้ผลดี แต่มีศัตรูพืชรบกวนกินใบ
1,395. ม.เกษตรฯ - ปตท. วิจัยสบู่ดำ พืชพลังงานทดแทน

1,396. โครงการปลูก "มะเยาหิน" พืชพลังงานทดแทน
1,397. เชียงราย มี “ข้าวญี่ปุ่น” ได้มาตรฐานสำหรับผู้บริโภค
1,398. การขุดย้ายตาลขนาดใหญ่
1,399. พันธุ์ตาลโตนด
1,400. พริกกะเหรี่ยง : การพัฒนาพันธุ์พื้นเมืองสู่พันธุ์การค้า

1,401. ข้าวเชียงราย โกอินเตอร์ สร้างแบรนด์-รุกงานวิจัย
1,402. สาหร่ายไทยกว่า 40 สายพันธุ์พร้อมทำไบโอดีเซล
1,403. นาโนสยบน้ำเน่า
1,404. ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร ครองแชมป์ งานวิจัยเด่น วว. 54
1,405. นักวิชาการชู 'ปูนขาว' ดับกลิ่น เห็นผลเร็วกว่าจุลินทรีย์ อีเอ็ม

1,406. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ
1,407. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว
1,408. การใช้อินทรียวัตถุปรับปรุงดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต
1,409. ‘วาซาบิ’ ….ทำมาจากอะไร ?
1,410. ข้าวและเกษตรกรไทย ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี

1,411. เคล็บลับ ปลูกลองกองราคาดี สูตรสำเร็จ “โกกิม” แห่ง “ไร่อ่างทอง”


-------------------------------------------------------------------------------------------------






1,387. ดาหลาในเกาะ ไห่หนาน


.....
สังเกตุ : ดอกใหญ่กว่าใบหน้าคน


อู๋ฝาน ผู้ชำนาญการด้านไม้ดอกเมืองร้อนของศูนย์วิจัยพืชเมืองร้อนแห่ง
มหาวิทยาลัย เกษตรกรรมเมืองร้อนฮว๋าหนาน
เกาะไห่หนาน (ไหหลำ) ประเทศจีน ประสบความสำเร็จในการนำเอาพืชไม้ดอก “ฉือไหมกุ้ย” โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยได้ทำ
การปลูกทดสอบในพื้นที่เกาะไห่หนาน ปรากฏว่าเจริญเติบโตให้ดอกที่สวยงามไม่แพ้แหล่งกำเนิดของมัน




ฉือไหมกุ้ย (ชาวซีซวงป่านน่า/สิบสองปันนา เรียกว่า ดอกขิง Etlingera elatior) อันเป็นที่รู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่า ดอกดาหลา
ที่ไทยเราส่งออกไปยังต่างประเทศปีละไม่น้อยนั้น ประชาชนจีนเรียกว่า กุหลาบเซรามิก เนื่องจากลักษณะดอกเหมือนกับไม้ดอก
ประดิษฐ์เซรามิก เป็นพืชที่มีพื้นเพอยู่ในทวีป อัฟริกาและเอเชีย ความสำเร็จครั้งนี้คงเป็นแนวทางส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันอย่าง
ขนานใหญ่ในอนาคต เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่สวยงามและมีความคงทนชื่นชมได้นานวัน นอกเหนือจากนี้ ทางการจีนยังได้นำเอาหน่อ
หัวของดาหลาขึ้นไปโคจรพร้อมกับยานอวกาศ “เสินลิ่ว” แล้วนำลงมาปลูกคัดพันธุ์จนได้ลักษณะที่แตกต่างจากเดิมอีกหลายสาย
พันธุ์ (รูปซ้ายมือ-ล่าง)



http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=454901&Ntype=2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/12/2011 10:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,388. แอ๊บเปิ้ลที่ออกดอกติดผลตามลำต้นเป็นแท่งสูงชลูด



ของจริง มิใช่ของปลอม......


ภาพผลแอ๊ปเปิ้ลที่ติดผลดกตามลำต้นเดี่ยวๆนี้ไม่ได้เกิดจากการตกแต่งติดตั้งให้ดูแลงามตาแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นต้น
แอ๊ปเปิ้ลที่ออกดอกติดผลดกตามลำต้นที่เห็นจริงๆ ซึ่งเกิดจากความสำเร็จในการผสมปรับปรุงพันธุ์แอ๊ปเปิ้ลของ
บริษัท ซีอันรุ่นท่ายผิงกวั่วเหลียงจ่งฟาจ่าน จำกัด (西安润太苹果良种发展公司) ในการผสมพันธุ์จากสาย
พันธุ์ลูกผสมจากยุโรปและจีนชั่วรุ่นที่ 3 เมื่อปี 2,004 โดยได้ขจัดลักษณะด้อยที่มีรูปทรงกลมแป้น เปลือกสีผลแดง
คล้ำ และผลล่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยวได้เป็นผลสำเร็จ


ลักษณะที่โดดเด่นของแอ๊ปเปิ้ลสายพันธุ์ รุ่นท่าย เบอร์ 1. ก็คือ
1. มีลำต้นที่ตั้งตรง ระยะห่างระหว่างข้อของลำต้นสม่ำเสมอ ผลดก ผลโต สีผิวผลแดงสดใสดูสวยงาม รสเปรี้ยวอมหวาน
อร่อยลิ้น ปลูกดูแลรักษาง่าย ผลใช้กินได้ทั้งผลสดและแปรรูป

2. ปลูกในระบบหนาแน่นได้ ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกได้ถึง 2,500 ต้น (จำนวนต้นมากกว่าการปลูกแอ๊ปเปิ้ลธรรมดาทั่วไป
ถึง 10 เท่า) ความสูงของต้นเฉลี่ย 3.5 เมตร เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปีที่ 4 ความสูงประมาณหนึ่งเมตร ผลผลิตประมาณ 7-8
กิโลกรัมต่อต้น อายุต้น 4 -6 ปี ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 2.7 -3.2 หมื่นซื่อจิน

3. แอ๊ปเปิ้ลสายพันธุ์ นี้ยังสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้อย่างเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมในตัวเมืองได้ดียิ่ง เนื่องจาก
ได้ชมเชยทั้งดอกและผลตลอดฤดูกาลตั้งแต่ออกดอกจนกระทั่งติดผล ทั้งยังสมามารถปลูกในกระถาง ไว้เก็บผลกินจากน้ำ
พักน้ำแรงที่เกิดจากน้ำมือของตนเองอีกด้วย นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง


ศาสตราจารย์ ฟู่ รุ่นหมิน (傅润民教授) ผู้ผสมปรับปรุงสายพันธุ์แอ๊ปเปิ้ลนี้กล่าวว่า แอ๊ปเปิ้ลสายพันธุ์นี้จะเป็นพันธุ์ที่เพิ่ม
คุณค่าในทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถลดพื้นที่ปลูกลง แต่ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่
สนใจในสายพันธุ์แอ๊ปเปิลดังกล่าวสามารถเดินทางไปชมสวนสาทิตของบริษัทฯได้ โดยติดต่อไปที่เมือง ซีอัน มณฑล
ส่านซี ประเทศจีน ดังนี้

บริษัท 西安润太苹果良种公司
ที่อยู่: 陕西省西安市朱雀南路明德门凯旋广场 C 座 2308 室
โทรศัพท์:029-85272613,85277529 ระหัสไปรษณีย์:710065



http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=496648&Ntype=2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/12/2011 8:34 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/12/2011 10:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,389. NEEM พืชทรงคุณค่า


......





ต้นสะเดา เป็นพืชใบเขียวขจีชนิดหนึ่งที่ขึ้นกระจายแพร่หลายทั่วไปในเขตร้อนและเอเชีย มีมากมายหลายสายพันธุ์ เป็นพืชที่
ได้รับความสนใจจากหลายๆประเทศ ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอาหารโลกทำการศึกษาวิจัยนำมาใช้งานด้านอารักขาพืช
เศรษฐกิจที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ได้รับการผลักดันให้ปลูกกันในหลายๆประเทศในแถบเอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์ ได้มีการ
ปรับปรุงสายพันธุ์ที่เหมาะสมปลูกกันเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในอินเดียและประเทศจีน และได้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกมาก
ขึ้นกว่า 50 ประเทศแล้ว

ต้นสะเดาอินเดียเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน มีคุณค่าทางการใช้ประโยชน์สูง การนำมาใช้งานด้านต่างๆร่วม 20 ชนิดนั้น
การนำมาใช้งานด้านกำจัดแมลงนั้นยังคงให้ประโยชน์กว้างขวางและสูงสุด นักวิทยาศาสตร์ยกให้ต้นสะเดาอินเดียเป็นพืชที่สมบูรณ์
แบบที่สุดในการนำมาใช้เป็นสารชีวภาพกำจัดแมลงปลอดสารพิษ มันมีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการตามมาตรฐานของยาป้อง
กันกำจัดแมลง ที่กำหนดไว้ว่าสามารถใช้ป้องกันกำจัดแมลงได้กว้าขวางหลายชนิด มีผลรบกวนต่อ ....น้อย มีพิษต่อสัตว์ที่มีกระดูก
สันหลังต่ำ สลายตัวในสภาพแวดล้อมได้รวดเร็ว วัตถุดิบมีทั่วไปและอุดมสมบูรณ์

ต้นสะเดาอินเดียมีความสูง 10 ~ 25 เมตร แตกกิ่งเร็ว ข้อสั้น (มีบ้างบางสายพันธุ์ที่มีข้อยาวแต่น้อยมาก) ทรงพุ่มใหญ่ กิ่งใบดก
รากหนาแน่น งอกง่าย โตเร็ว ในสภาพที่เหมาะสมชั่วเวลาหนึ่งปีมีความสูงร่วม 6 เมตร ออกดอกให้ผลในปีที่ 3 ให้ผลผลิต
สูงสุดในปีที่ 7 ~ 8 ผลผลิตประมาณ 30 ~ 35 กิโลกรัมต่อต้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 100 ปี สะเดาอินเดียขึ้นได้ดีที่
มีระดับน้ำฝนเฉลี่ย 350- 1,200 ซม.แม้แต่ในที่มีปริมาณน้ำฝนถึง 2,400 ซม. ก็ยังเติบโตได้ดี ชอบอากาศอบอุ่น ทนแล้งได้ดี
ขึ้นได้ในดินเกือบทุกสภาพ


......

........



ผลิตภัณฑ์ 0.1% .. ผลิตภัณฑ์ Azadirachtin กำจัดแมลง .... ยาสีฟันที่มี สารสะเดาเป็นส่วนผสม


http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=400954&Ntype=2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:37 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/12/2011 5:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,390. การใช้ประโยชน์มูลสัตว์เป็นปุ๋ยให้กับพืช อย่างมีประสิทธิภาพ


ของเสียที่ได้จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ ได้แก่ มูลสัตว์ ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นของแข็งนั้นประกอบด้วยเศษของพืชและสัตว์ซึ่งเป็นอาหาร
ที่สัตว์กินเข้าไปแล้วไม่สามารถย่อยหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้หมดจึงเหลือเป็นกากที่สัตว์ขับถ่ายออกมา โดยเศษอาหารเหล่านี้ได้ผ่าน
กระบวนการย่อยสลายไปบางส่วนแล้วในทางเดินอาหาร ดังนั้น ในส่วนที่เป็นมูลสัตว์จึงยังอุดมไปด้วยธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสาร
อินทรีย์ที่ละลายน้ำได้หลายชนิด ซึ่งเมื่อรวมกันเข้าก็จะมีองค์ประกอบที่สามารถใช้เป็นธาตุอาหารที่สมบูรณ์ของพืชได้ ส่วนมูลสัตว์แต่
ละชนิดจะมีธาตุอาหารชนิดใดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สัตว์ชนิดนั้น ๆ กินเข้าไปเป็นปัจจัยสำคัญ รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่
ระบบการย่อยอาหารของสัตว์ วิธีการให้อาหารรวมทั้งการจัดการรวบรวมมูลสุกรและของเสียในฟาร์มด้วย

จากการศึกษาปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ พบว่ามูลสัตว์แต่ละชนิดมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและ
จุลธาตุอาหารในปริมาณที่แตกต่างกัน

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารในมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ จะเห็นว่ามูลสุกรและกากตะกอนของมูลสุกรจากบ่อหมักก๊าซชีวภาพ รวม
ทั้งมูลของไก่ไข่มีปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง แมงกานีสและสังกะสีมากกว่ามูลโค
ขณะที่มูลโคมีปริมาณธาตุโพแทสเซียมและโซเดียมมากกว่ามูลสุกร อย่างไรก็ตามปริมาณธาตุอาหารเหล่านี้อาจมีความผันแปรไป
ตามชนิดของวัตถุดิบอาหารรวมทั้งแร่ธาตุที่เสริมลงในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์นั้นด้วย

การทำน้ำสกัดจากมูลสัตว์
น้ำสกัดมูลสัตว์ ได้จากการนำมูลสัตว์แห้ง เช่น มูลสุกร มูลโค บรรจุลงในถุงไนลอน (มุ้งเขียว) แล้วแช่ในน้ำ อัตราส่วนมูลสุกร 1 กิโลกรัม
ต่อน้ำ 10 ลิตร ปิดฝาถังให้สนิท และหมักไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วยกถุงที่บรรจุมูลสุกรออกจากถังจะได้น้ำสกัดมูลสัตว์สีน้ำตาลใส
ซึ่งควรบรรจุเก็บไว้ในถังหรือภาชนะที่มีฝาปิด น้ำสกัดมูลสัตว์ที่ได้สามารถหมักเก็บไว้ใช้ได้นาน ซึ่งจะทำให้น้ำสกัดใสยิ่งขึ้น และมีธาตุ
อาหารในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในปริมาณมากยิ่งขึ้น การทำน้ำสกัดมูลสัตว์จะทำให้ประหยัดกว่าการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ย
ทางดินโดยตรง เนื่องจากมูลสัตว์แห้ง 1 กิโลกรัม ทำน้ำสกัดได้ประมาณ 8 ลิตร นำน้ำสกัดส่วนใสที่ได้มาเจือจางกับน้ำได้ 10 – 20
เท่า เป็น 80 – 160 ลิตร เพื่อใช้เป็นปุ๋ยรดทางดินหรือฉีดพ่นทางใบ ส่วนกากของมูลสัตว์ที่เหลือ สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยทางดินได้
เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาหมักนานถึง 45 วัน เหมือนปุ๋ยหมักทั่วไป

น้ำสกัดมูลสัตว์มีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช สามารถใช้เป็นปุ๋ยรดทางดินและ
ฉีดพ่นทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การเพิ่มผลผลิตของพืช อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหารของพืชได้
น้ำสกัดมูลสุกรมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุเกือบทุกธาตุในปริมาณมากกว่าที่พบในน้ำสกัดมูลไก่ไข่และน้ำสกัด
มูลโคนม ยกเว้นโพแทสเซียมที่พบในน้ำสกัดมูลไก่ไข่มากกว่าเล็กน้อย และแคลเซียมที่พบในน้ำสกัดมูลโคนมมากกว่า ดังนั้น
หากต้องการใช้น้ำสกัดมูลไก่ไข่หรือโคนมเป็นปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ควรจะใช้ในอัตราส่วนมากกว่าน้ำสกัดมูลสุกร เนื่องจากน้ำสกัดมูลสุกร
มีปริมาณธาตุอาหารมากกว่าหรือเข้มข้นกว่าน้ำสกัดมูลโคนม

การใช้ประโยชน์มูลสัตว์ในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการทำนาข้าว
1.1 การหมักตอซังโดยไม่ต้องเผา มีประโยชน์ คือ สิ่งที่มีชีวิตในดินรวมทั้งจุลินทรีย์ดินทำกิจกรรมได้ตามปกติ ทำให้ดินมีอินทรีย์วัตถุ
และธาตุอาหารพืชเพิ่มขึ้น ส่วนของเนื้อดินละเอียดขึ้น เดินแล้วนุ่มเท้า ดินโปร่ง ทำให้รากต้นข้าวแผ่กระจายในดินได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็ง
แรง ซึ่งการหมักจะทำได้ทันทีหลักการเก็บเกี่ยว โดยเกลี่ยฟางให้กระจายทั่วแปลงและปฏิบัติดังนี้
- หว่านมูลสัตว์แห้ง เช่น มูลสุกร มูลโคอัตรา 250 กก.ต่อไร่ ให้ทั่วแปลง
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 (หมักจากเศษผัก ผลไม้หรือสัตว์) จำนวน 5 ลิตร/ไร่ผสมกับน้ำ 100 ลิตร พร้อมกับสารเร่ง พด.1 แล้ว
คนให้เข้ากัน นาน 15 นาที จากนั้นค่อย ๆ เทปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้นี้ไปพร้อมกับน้ำ ที่ปล่อยเข้าแปลงนา หรือสาดสารละลายปุ๋ยอินทรีย์
น้ำให้ทั่วแปลงนา โดยให้ระดับน้ำท่วมต่อซัง แล้วปล่อยให้ย่อยสลายประมาณ 10-15 วัน
- ทำเทือกเพื่อปรับพื้นที่ให้เสมอกัน แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ หรือปักดำครั้งใหม่ต่อไป

1.2 ใช้น้ำสกัดมูลสุกรแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว มีประโยชน์ ช่วยให้เมล็ดข้าวมีธาตุอาหารพืชสะสมในเมล็ดมากขึ้น อีกทั้งน้ำสกัดมูลสุกรมี
แคลเซียม ซึ่งช่วยในการงอกของเมล็ด สร้างเซลล์ใหม่ในส่วนของยอดและราก ทำให้ข้าวเจริญเติบโตได้เร็ว นอกจากช่วยเพิ่มการ
งอกของเมล็ด ทำให้ประหยัดเวลาในการแช่และบ่มข้าวแล้ว ข้าวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าวัชพืช ประกอบกับการหมักฟางจะทำ
ให้รากหญ้าและเมล็ดวัชพืชที่เหลืออยู่ในดินโดนหมักย่อยไปด้วยทำให้มีวัชพืชในแปลงน้อยลง

วิธีการแช่ข้าว
นำน้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วน 1 ลิตร ผสมน้ำให้ได้ 20 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์เป็นเวลา 8–12 ชั่วโมง (ขึ้นกับความหนาของเปลือกเมล็ด)
นำข้าวขึ้นจากน้ำเพื่อทำการบ่มเมล็ด ให้นำน้ำสกัดมูลสุกรที่เหลือจากการแช่ข้าวราดลงบนกระสอบที่บรรจุข้าวอยู่ ประมาณ 4–5
ชั่วโมงต่อครั้ง หรือ ไม่ให้ข้าวแห้ง จนกระทั่งเมล็ดข้าวงอกพร้อมที่จะปลูก หรือถ้าไม่สามารถแช่ข้าวจำนวนมากในน้ำสกัดมูลสุกรได้
ให้แช่ตามวิธีการปกติ แต่เมื่อนำกระสอบข้าวขึ้นจากน้ำแล้ว ให้นำน้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วน 1 ลิตร ผสมน้ำให้ได้ 20 ลิตร ราดลง
บนกระสอบที่บรรจุข้าว ประมาณ 4–5 ชั่วโมงต่อครั้ง เพื่อไม่ให้ข้าวแห้ง จนกระทั่งเมล็ดข้าวงอกพร้อมที่จะปลูก

1.3 ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ มีประโยชน์ ช่วยทำให้พืชได้รับธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารได้
เร็วขึ้นกว่าการให้ปุ๋ยทางดิน พืชได้รับธาตุอาหารครบซึ่งจัดเป็นการป้องกันความขาดธาตุอาหาร และช่วยเสริมธาตุอาหารที่พืช
ขาดได้ จะช่วยชะลอความเสื่อมของใบไปได้อีกระยะหนึ่ง ทำให้ใบพืชมีสีเขียวเข้ม ตั้งตรงและยังทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง
สร้างแป้งต่อไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ส่งผลให้เมล็ดข้าวสมบูรณ์ มีเมล็ดข้าวที่ลีบน้อยลง ขั้วเมล็ดข้าวยังสดและเหนียวอยู่ เมล็ด
ข้าวจึงไม่ค่อยร่วงหลุดในช่วงเก็บเกี่ยว

วิธีการฉีดพ่นทางใบ ทำได้โดย
- ข้าวมีอายุ 1 เดือน นำน้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 20 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3–5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบ ในช่วงเวลา
เช้าหรือเย็น การฉีดพ่นให้ได้ผลดีนั้นละอองปุ๋ยน้ำควรมีขนาดเล็กและสัมผัสกับผิวใบทั่วถึงทั้งด้านบดและด้านล่าง
- ข้าวมีอายุ 1 เดือนขึ้นไป นำน้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 10 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3–5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบ
ในช่วงเวลา เช้าหรือเย็น
- หากพบว่าข้าวในบางบริเวณไม่สม่ำเสมอ ให้ใช้น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 10 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3–5 ซีซี ฉีด
พ่นบริเวณดังกล่าวในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น ก็จะช่วยให้ข้าวเสมอกันได้

1.4 ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดให้พืชทางดิน มีประโยชน์ ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารผ่านทางรากได้ในระหว่างการเจริญเติบโตและเป็น
การให้ปุ๋ยที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและให้ผลเร็วกว่าการใช้มูลสุกรแห้งเป็นปุ๋ยทางดินกับพืช

วิธีการให้ปุ๋ย ทำโดยนำน้ำสกัดมูลสุกรเข้มข้นปล่อยลงสู่แปลงข้าว อัตราส่วน 100 ลิตรต่อ 1 ไร่ โดยให้พร้อมกับน้ำที่ปล่อยหรือ
สูบเข้าแปลง จำนวน 2 ครั้ง เมื่อข้าวอายุ 30 และ 60 วัน


ตารางที่ 4 การให้น้ำสกัดมูลสุกรในนาข้าว

ช่วงอายุ................................. การใช้

15 วัน ......... ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 20 ลิตร

30 วัน ......... ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 20 ลิตร ให้น้ำสกัดมูลสุกรทางดิน อัตรา 100 ลิตร/ไร่

45 วัน ......... ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 10 ลิตร

60 วัน ......... ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 10 ลิตร ให้น้ำสกัดมูลสุกรทางดิน อัตรา 100 ลิตร/ไร่

75 วัน .......... ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 10 ลิตร กรณีที่ข้าวออกรวงไม่สม่ำเสมอให้ฉีดน้ำสกัดมูล
สุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 20 ลิตร อีกครั้ง บริเวณที่ข้าวเจริญเติบโตช้า


ข้อดีของการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ในการเพิ่มผลผลิตข้าว
- ย่นระยะเวลาในการแช่และบ่มข้าว
- เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์สูง ข้าวที่งอกมีความแข็งแรง
- ต้นข้าวเจริญเติบโตได้เร็ว ทำให้หญ้าโตได้ช้ากว่า ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดหญ้าได้
- ต้นข้าวมีความแข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค และแมลง
- จำนวนเมล็ดต่อรวงมากขึ้น เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ เมล็ดเต่ง ได้น้ำหนัก
- ระยะเก็บเกี่ยว ใบธงของข้าวยังเขียวอยู่และข้าวจะมีขั้วเหนียว ทำให้ข้าวไม่ร่วงหล่นในระหว่างการเก็บเกี่ยว
- มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรในขั้นตอนการผลิตข้าว และข้าวที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากสามารถ
ลดหรืองดการใช้สารเคมีลงได้
- ลดต้นทุนการผลิต ในเรื่องของปุ๋ย สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช
- ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น


อ้อย
1. การใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ ใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตรา 1 ลิตรผสมน้ำ 10 ลิตร ผสมสารจับใบ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบในช่วงที่
ต้นอ้อยยังไม่สูงมากนัก
2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรปล่อยไปตามร่อง พร้อมกับการขึ้นน้ำให้อ้อย ประมาณ 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง นอกจากช่วยเร่งให้อ้อยโตเร็วแล้ว
ยังทำให้อ้อยมีความหวานเพิ่มขึ้นด้วย


พืชผัก
1. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรแช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ซึ่งจะทำให้เมล็ดผักงอกเร็วและเจริญตั้งตัวได้เร็วกว่าเมล็ดที่ไม่ได้แช่

วิธีการ ใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วน 1 ลิตร เติมน้ำให้ได้ 20 ลิตร แล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชที่ปลูกแช่น้ำเป็นเวลา 6-12 ชม. ก่อนหว่าน
หรืออาจผึ่งลมให้เมล็ดพันธุ์แห้งก่อน แล้วนำไปปลูก ซึ่งขึ้นกับเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด

2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ คือ ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น พืชจะมีสีเขียวเข้ม ใบมีขนาดใหญ่ หนา และยาวขึ้น
กาบใบหรือก้านใบแข็งและมีลักษณะตั้งขึ้น พืชมีน้ำหนักใบและลำต้นมากขึ้นอย่างชัดเจน

วิธีการ ใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตรา 1 ลิตรผสมน้ำ 10-20 ลิตรผสมสารจับใบ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบช่วงเวลาเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละครั้ง

3. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดให้พืชทางดิน ก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ หรือในช่วงเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตรา
1 ลิตรผสมน้ำ 10 ลิตร รดทางดิน


ไม้ผล
1. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ จะทำให้พืชมีการสร้างใบและทรงพุ่มใหม่ได้เร็ว ทำให้พืชออกดอก ผลได้เร็วขึ้น ให้ผลผลิตมากขึ้น
และมีรสชาติดีด้วย โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตรผสมน้ำ 10-20 ลิตรพร้อมสารจับใบ 3-5 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น
เดือนละ 1-2 ครั้ง จนกระทั่งพืชมีการสร้างทรงพุ่มเต็มที่ ให้หยุดฉีด เพื่อให้พืชสร้างดอกและผลต่อไป

2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดทางดิน โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกรเจือจางด้วยน้ำ 10 เท่า รดทางดิน ต้นละ 1-2 ลิตรเดือนละ 1-2 ครั้ง ในช่วง
เร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ หรือจะใช้น้ำสกัดมูลสุกรเข้มข้น ให้พร้อมกับการให้น้ำแบบระบบน้ำหยด


ไม้ดอก
1. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ จะทำให้พืชมีการสร้างดอกได้เร็วขึ้น ดอกมีความสมบูรณ์ ขนาดใหญ่ สีเข้มสดใส ก้านดอกแข็ง ยืด
อายุการเก็บได้นานขึ้น อีกทั้งต้นที่เก็บเกี่ยวไปแล้วไม่โทรม ยังสามารถให้ดอกได้เร็วขึ้น โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำ 10-20
ลิตรพร้อมสารจับใบ 3-5 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดทางดิน โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกรเจือจางด้วยน้ำ 10 เท่า รดทางดิน ต้นละ 1-2 ลิตรสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือจะใช้
น้ำสกัดมูลสุกรเข้มข้น ให้พร้อมกับการให้น้ำแบบระบบต่างๆ ในช่วงเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ

รูปประกอบผลงานวิจัย

http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch52/08-intregration/Uthai/intregration_00.html



คณะผู้วิจัย :
์อุทัย คันโธ และ สุกัญญา จัตตุพรพงษ์
หน่วยงาน :
ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์
สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
โทร. 034 – 352035 โทรสาร 034 - 352037

http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch52/08-intregration/Uthai/intregration_00.html



ปุ๋ยอินทรีย์

รายการ..............ไนโตรเจน..............ฟอสฟอรัส..............โปแตสเซียม

ปุ๋ยปลา............... 8.45 .................... 0 ....................... 4.73
ปุ๋ยอินทรีย์........... 1.42 .................. 2.05 .................... 0.42
ปุ๋ยคอก.............. 0.49 ................... 0.54 .................... 0.47
อุจจาระ.............. 3.25 ................... 2.95 .................... 0.40
กากผงชูรส.......... 1.98 ................... 0.41 ..................... 0.65
มูลไก่............... 2.28 ................... 0.49 .................... 0.30
มูลวัว................ 1.73 ................... 0.49 .................... 0.30
มูลสุกร.............. 2.83 ................... 16.25 ................... 0.15


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1749


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/12/2011 9:37 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/12/2011 5:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,391. ฤดูหนาว ดูแลพืชผักอย่างไรให้ปลอดโรค?





ปัจจุบัน การปลูกพืชฤดูหนาวของประเทศไทย โดยเฉพาะทางเหนือมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนไทยมีพืชฤดูหนาวทั้งพันธุ์ไทย
และพันธุ์ต่างประเทศรับประทานกันตลอด ทั้งปี นอกจากฤดูหนาวจะทำให้ผลผลิตพืช ผัก และไม้ดอก มีคุณภาพดีแล้ว แต่ปัญหาหนึ่ง
ที่เกษตรกรต้องเฝ้าระวังก็คือ โรคพืชในฤดูหนาว ที่จะส่งผลกระทบด้านราคาความเสียหายของผลผลิต ให้กับเกษตรกรทั่วถึงทุกพื้นที่
ทั้งพืชพื้นเมืองและพืชเศรษฐกิจ ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืชมาแนะนำเทคนิคการสังเกต การป้องกัน การกำจัดโรคพืชในฤดูหนาวนี้
เพื่อเตรียมตัวรับมือป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากปีหนึ่ง ๆ เกษตรกรที่ปลูกพืชผักจะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การพยากรณ์และการป้องกันโรคพืชที่จะเกิดขึ้นในอากาศหนาวที่เริ่มตั้งแต่
เดือนตุลาคมที่ผ่านมา อุณหภูมิจะเริ่มลดลงทำให้อากาศเย็นขึ้น โดย เฉลี่ยอากาศหนาวในประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 22-25 องศา
เซลเซียส ซึ่งสามารถแบ่งอุณหภูมิออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ ภาคเหนือจะมีอุณหภูมิค่อนข้างหนาว ส่วนภาคกลางอุณหภูมิค่อนข้างเย็น

ภาคเหนือในช่วงที่อากาศเย็นลงในฤดูหนาวนั้น สิ่งที่จะได้รับผลกระทบกับอากาศเย็นก็คือพืช ผัก และไม้ดอก ที่จะมีโอกาสเกิดโรค
ในผักจะมีโรคราน้ำค้าง ส่วนไม้ดอกก็จะมีปัญหาเรื่องราสนิม อาทิ เบญจมาศตัดดอก และราแป้งในกุหลาบซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่มี
ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะใน อ.พบพระ จ.ตาก ส่วนภาคกลาง ในฤดูหนาวพืชที่จะได้รับผลกระทบกับอากาศเย็นจะพบกับการ
เกิดโรคราน้ำค้าง โดยพืชที่ประสบกับโรคนี้ได้แก่ พืชจำพวกแตง พืชในตระกูลผักกะหล่ำ องุ่น และถ้าอากาศค่อนข้างเย็นข้าวโพดหวาน
ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้างเช่นกัน นอกจากนี้กลุ่มนาข้าวก็พบอาการของโรคเน่าคอรวง ที่พบในช่วงที่ความชื้นยังคงมีอยู่ในขณะที่ข้าว
ออกรวง และช่วงที่ข้าวใกล้แก่ก็อาจมีปัญหาเรื่องเมล็ดด่างได้ด้วย

ดร.ศรีสุข พูนผลกุล นักวิชาการโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ยกตัวอย่างโรคราในพืชต่าง ๆ ให้ฟังว่า

โรคราแป้งในกุหลาบ นั้นมีลักษณะอาการ คือ มีเชื้อราสีขาวลักษณะคล้ายแป้ง เกิดปกคลุมผิวใบ และอาจขยายลุกลามปกคลุมกิ่งและ
ลำต้น ทำให้ใบเหลือง ต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลใบและกิ่งแห้ง ส่วนการป้องกันทำโดย

1. เมื่อเริ่มพบอาการของโรค ให้พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโนแคป เบโนมิล ไตรฟลอรีน หรือพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช
ประเภทกำมะถันผงโดยเป็นชนิดละลายน้ำได้เพื่อ ฆ่าเชื้อ แต่กำมะถันมีข้อจำกัด เนื่องจากใช้แล้วจะทำให้ใบร่วง เมื่อแตกใบใหม่
จะไม่มีโรค ดังนั้นพืชจำพวกใบนิ่มไม่ควรใช้ ถ้าเป็นในผักก็ใช้ได้ในบางชนิดเท่านั้น

โรคราสนิมของเบญจมาศตัดดอก มีลักษณะอาการคือ ด้านบนใบเป็นจุดสีเหลืองอ่อน เมื่อพลิกดูด้านหลังใบจะเป็นตุ่มแผลนูน มีผง
สีขาวอมเหลืองและสีเทา ใบมีลักษณะพองหรือบิดเบี้ยว ถ้าเป็นกับดอกตูมจะทำให้กลีบเลี้ยงและกลีบดอกแห้ง ไม่คลี่บาน ระบาดรุน
แรงในฤดูหนาว การป้อง กันและกำจัด คือ

1. แช่ต้นพันธุ์ก่อนปลูกในสาร triadimenol 25% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร 20 ลิตร หรือ hexaconazole 15% SC อัตรา 20
มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร และพ่นสารดังกล่าวให้ทั่วต้นทุก 7 วันหลังจากปลูก

สุดท้าย ดร.ศรีสุข ได้ฝากถึงเกษตรกรว่า สาเหตุของโรคพืชในฤดูต่าง ๆ นั้น หากป้องกันไว้ก่อนก็จะทำให้ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
ลดน้อยลงได้ เกษตรกรควรกระจายความเสี่ยงด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนหลากหลายชนิดเพื่อลดความ เสี่ยงของการเกิดโรค และ
ปัญหาด้านราคาไปพร้อมกัน นอกจากนั้นเกษตรกรควรจะลดการใช้ปุ๋ยยูเรียโดยหันมาใช้สูตรเสมอ ซึ่งเป็นสูตรที่ดีและเหมาะสมต่อ
การปลูกพืชผัก เนื่องจากการใช้ยูเรียมากไปจะส่งผลให้พืชอ่อนแอแล้วมีอัตราการเกิดโรคได้ ง่ายขึ้น

สำหรับเกษตรกรที่สนใจข้อมูลด้านโรคพืชชนิดต่าง ๆ เพิ่มเติม หรือต้องการส่งตัวอย่างพืชให้ตรวจวิเคราะห์สามารถติดต่อได้ที่
คลินิกพืช กรมวิชาการเกษตร เบอร์โทร. 0-2579-9581-5.


http://xn--o3ce5bl3b5k.blogspot.com/2010/10/blog-post_8709.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/12/2011 8:44 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/12/2011 5:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,392. การทำยาฆ่าแมลงจากสมุนไพร





ส่วนผสม
1. สะเดา 1 กก.
2. ฟ้าทะลายโจร 1 กก.
3. ข่า 1 กก.
4. สาบเสือ 1 กก.
5. ยาสูบ 1 กก.
6. ตะไคร้หอม 1 กก.
7. ขมิ้น 1 กก.
8. ใบยอ 1 กก.
9. ฝักคูณ 1 กก.
11. ใบยูคา 1 กก.
12. กระเทียม 1 กก.
13. น้ำ 20 ลิตร

วิธีทำ
นำเอาสมุนไพรทั้งหมดมาสับให้ละเอียดเทใส่ปี๊บ นำกะละมังเติมน้ำแล้วต้มไฟอ่อนจนเดือดแล้วยกลงกรองเอาแต่น้ำ
แล้วใช้น้ำยาล้างจานหรือเอ็น 70 (สารทำฟอง) เทลงไปในถังน้ำยาสมุนไพรใส่ประมาณ 50 ซีซี คนให้เข้ากันเก็บไว้ใช้

วิธีใช้
ผสมน้ำยาที่ได้ 30-40 ซีซี/น้ำเปล่า20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 5-7 วัน


http://xn--o3ce5bl3b5k.blogspot.com/2011/08/blog-post.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/12/2011 8:45 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/12/2011 6:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,393. แนะวิธีดูแลผักฤดูหนาว ทำอย่างไรให้ปลอดโรค


ปัจจุบันการปลูกพืชฤดูหนาวของประเทศไทย โดยเฉพาะทางเหนือมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนไทยมีพืชฤดูหนาวทั้งพันธุ์ไทย
และพันธุ์ต่างประเทศรับประทานกันตลอดทั้งปี

นอกจากฤดูหนาวจะทำให้ผลผลิตพืช ผัก และไม้ดอก มีคุณภาพดีแล้ว แต่ปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรต้องเฝ้าระวังก็คือ โรคพืชในฤดูหนาว
ที่จะส่งผลกระทบด้านราคาความเสียหายของผลผลิตให้แก่เกษตรกรทั่วถึงทุกพื้นที่ทั้งพืชพื้นเมืองและพืชเศรษฐกิจ

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตรให้คำแนะนำถึงการป้องกันโรคพืชที่จะเกิดขึ้นในอากาศหนาวว่า ช่วงที่อากาศเย็น
ลงในฤดูหนาวนั้น สิ่งที่จะได้รับผลกระทบกับอากาศเย็นก็คือพืช ผัก และไม้ดอก ที่จะมีโอกาสเกิดโรค ในผักจะมีโรคราน้ำค้าง ส่วนไม้
ดอกก็จะมีปัญหาเรื่องราสนิมในเบญจมาศตัดดอก และราแป้งในกุหลาบ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ
ใน อ.พบพระ จ.ตาก

ส่วนภาคกลาง ในฤดูหนาวพืชที่จะได้รับผลกระทบกับอากาศเย็นจะพบกับการเกิดโรคราน้ำค้าง โดยพืชที่ประสบกับโรคนี้ได้แก่ พืชจำพวก
แตง พืชในตระกูลผักกะหล่ำ องุ่นและข้าวโพดหวานที่มีโอกาสเกิดโรคได้บ้างเช่นกัน นอกจากนี้กลุ่มนาข้าวก็พบอาการของโรคเน่าคอรวง
ที่พบในช่วงที่ความชื้นยังคงมีอยู่ในขณะที่ข้าวออกรวงและช่วงที่ข้าวใกล้แก่ก็อาจมีปัญหาเรื่องเมล็ดด่างได้ด้วย

ด้าน ดร.ศรีสุข พูนผลกุล นักวิชาการโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชยังฝากถึงเกษตรกรว่าจากสาเหตุของโรคพืชในฤดูต่างๆ นั้น
เป็นเรื่องที่เกษตรกรควรให้ความสำคัญ หากป้องกันไว้ก่อนก็จะทำให้ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นลดน้อยลงได้ อีกอย่างเกษตรกรควรกระจาย
ความเสี่ยงด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และปัญหาด้านราคาไปพร้อมกัน นอกจากนั้น
เกษตรกรควรจะลดการใช้ปุ๋ยยูเรียโดยหันมาใช้สูตรเสมอ ซึ่งเป็นสูตรที่ดีและเหมาะสมต่อการปลูกพืชผัก เนื่องจากการใช้ยูเรียมากไป
จะส่งผลให้พืชอ่อนแอแล้วมีอัตราการเกิดโรคได้ง่ายขึ้น

สำหรับเกษตรกรท่านใดที่สนใจข้อมูลด้านโรคพืชชนิดต่างๆ เพิ่มเติม หรือต้องการส่งตัวอย่างพืชให้ตรวจวิเคราะห์สามารถติดต่อได้ที่คลินิก
พืช กรมวิชาการเกษตร เบอร์โทร.0-2579-9581-5 ในวันและเวลาราชการ



ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 15 ธันวาคม 2551
http://www.komchadluek.net/2008/12/15/x_agi_b001_324349.php?news_id=324349

http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=798


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/12/2011 8:48 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/12/2011 6:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,394. อากาศหนาวผักให้ผลดี แต่มีศัตรูพืชรบกวนกินใบ








อุบลราชธานี- อุณหภูมิที่ลดลงต่อเนื่องของจังหวัดอุบลราชธานี ส่งผลดีต่อการปลูกผักหน้าหนาว แต่ต้องประสบปัญหาการ
ระบาดของศัตรูพืช ขณะที่สาธารณสุขจังหวัดเตือนให้ดูแลเด็กเล็กและคนชรา ป้องกันเจ็บป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ

นางสุดใจ ปะวิง เกษตรกรชุมชนกุดเป่ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งปลูกบร็อคโคลี่ และคะน้า กล่าวถึงสภาพ
อากาศที่หนาวเย็นและมีลดพัดแรง ส่งผลดีต่อการปลูกพืชผักทั้งสองชนิด เนื่องจากมีน้ำเลี้ยงใบและลำต้นได้ดีกว่าช่วงฤดู
ร้อน จึงได้ลงแปลงปลูกเต็มพื้นที่กว่า 5 ไร่ เพราะปัจจุบันบร็อคโคลี่ตลาดรับซื้อถึงกิโลกรัมละเกือบ 30 บาท ส่วนผักคะน้า
กิโลกรัมละ 10 บาท

แต่พืชทั้งสองชนิดก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดของตั๊กแตน และหนอนบุ้ง กัดกินใบทำให้ผักไม่สวยและมีน้ำหนักลดลง
จึงต้องหมั่นตรวจสอบแปลงปลูกผัก เพื่อกำจัดไข่ของศัตรูพืชทั้งสองชนิดที่จะวางไข่ไว้ตามใบใกล้โคนลำต้น ไม่ให้มีการ
ระบาดเป็นวงกว้าง

สำหรับสภาพอากาศของจังหวัดอุบลราชธานี วันนี้ มีอุณหภูมิต่ำสุด 20 องศาเซลเซียส กับมีลมพัดแรง และยังมีอุณห
ภูมิลดลงอีกในช่วง 2-3 วันนี้ ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ประกาศเตือนประชาชนที่มีเด็กเล็ก รวมทั้งคนชราอยู่
ในความดูแลให้หาเสื้อผ้าหนาสวมทับหลายชั้น เพื่อป้องกันป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจด้วย


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000153621


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/12/2011 8:55 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/12/2011 7:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,395. ม.เกษตรฯ - ปตท. วิจัยสบู่ดำ พืชพลังงานทดแทน




รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "การวิจัยและพัฒนา
เพิ่มผลผลิตของต้นสบู่ดำ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนในอนาคต" กับ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่
บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. โดยให้ทุนสนับสนุนการวิจัยรวมมูลค่า 60 ล้านบาท ณ อาคารสำนักงานใหญ่ ปตท.
เมื่อเร็วๆ นี้

อธิการบดี มก. กล่าวว่า มก. และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมมือ ในการศึกษา "วิจัยและพัฒนาเพิ่มผลผลิตของต้น
สบู่ดำ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนในอนาคต" ในระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่เดือนต.ค.2551-ต.ค.2556 เพื่อทำการ
ศึกษาและพัฒนาสายพันธุ์และการจัดการสบู่ดำ และการวิจัยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์พลอยได้และศึกษาระบบเก็บ
เกี่ยวและสกัดน้ำมันสบู่ดำที่เหมาะสม ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา "สบู่ดำ" ซึ่งเป็นพันธุ์พืชพลังงาน
ของไทย ให้ได้คุณภาพสูงและมีผลผลิตเทียบเคียงกับน้ำมันปาล์ม คือประมาณ 600-700 กิโลกรัมน้ำมัน/ไร่/ปี


ขอขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวสด
http://icare.kapook.com/caution.php?ac=detail&s_id=19&id=665




นักวิจัยสบู่ดำ ม.เกษตรคว้าทุน "ศาสตราจารย์ สวทช."




นักวิจัย ม.เกษตร คว้าทุน ”ศาสตราจารย์ สวทช.” ได้งบสนับสนุน 20 ล้านบาท เพื่อวิจัยและพัฒนาสบู่ดำสายพันธุ์ใหม่
สำหรับเป็นพลังงาน และอาหารสัตว์


เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่16 ธ.ค.ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เทเวศร์ มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วน
พระมหากษัตริย์ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มอบทุนศาสตราจารย์ สวทช.
หรือ NSTDA Chair Professor ประจำปี 2554 จำนวน 20 ล้านบาท ให้แก่ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ นักวิจัยจากภาค
วิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูก
เลี้ยงสบู่ดำสำหรับเป็นพลังงานและอาหารสัตว์” โดยมี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี, ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, ผู้อำนวยการ สวทช.
และ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมในการแถลงข่าวและมอบทุน

ดร.ทวีศักดิ์ เปิดเผยว่า โครงการทุน NSTDA Chair Professor หรือศาสตราจารย์ สวทช.จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้าง
“ศาสตราจารย์ผู้นำกลุ่ม” ที่เป็นผู้ทำงานภาควิชาการ พัฒนา และเชื่อมโยงกับภาคการผลิตและบริการ สนับสนุนและผลักดัน
ให้นักวิจัยที่มีความสามารถสูง สามารถทำงานวิจัย และผลิตผลงานที่มีศักยภาพเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่ง
จะเป็นการยกระดับความสามารถในการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยต่อไป

โดยในปีนี้คณะกรรมการได้พิจารณามอบทุนให้แก่ ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และคณะทำงานวิจัย จากม.เกษตรศาสตร์ ซึ่ง
เสนอโครงการวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำสำหรับเป็นพลังงานและอาหารสัตว์” เนื่องจากเป็น
การพัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำในรูปแบบที่ไม่มีทีมวิจัยที่ใดในโลกริเริ่มทำมาก่อน นั่นก็คือสร้างสบู่ดำสายพันธุ์ใหม่ให้สามารถ
ใช้ข้อเด่นของพืชชนิดอื่นๆ ที่นำมาทดลองร่วมได้ อาทิ ละหุ่ง ซึ่งมีผลออกเป็นช่อ เก็บเกี่ยวง่าย, สบู่แดง ซึ่งทนฝน หรือ
หนุมานนั่งแท่น ซึ่งให้ปริมาณน้ำมันมากเมื่อเทียบสัดส่วนกับขนาดของผล

ด้าน ศ.ดร.พีระศักดิ์ กล่าวว่า สบู่ดำเหมาะที่จะนำมาเป็นพืชพลังงาน เพราะคนบริโภคไม่ได้ ราคาจึงยังถูกและไม่ผัน
ผวนตามสภาวะขาดแคลนอาหารเหมือนพืชพลังงานประเภทอื่นๆ ดังนั้นหากสามารถวิจัยปรับปรุงพันธุ์จนได้สบู่ดำที่เหมาะกับ
การเป็นพืชพลังงานอย่างแท้จริง คือ เก็บเกี่ยวง่าย ให้ผลผลิตสูงและผลออกพร้อมกัน ประเทศไทยและโลกก็จะได้สบู่ดำ
สายพันธุ์ใหม่เป็นพลังงานทดแทนที่มีคุณค่า มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งนี้คาดว่าภายใน 3ปีจะสามารถพัฒนา
ให้สบู่ดำมีคุณสมบัติที่ไม่เคยมีมาก่อนได้ คือ การทนน้ำท่วม และมีสารพิษน้อยลง ส่วนระยะต่อไปจะเป็นการพัฒนาเพื่อให้มี
ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นและสามารถเก็บเกี่ยวพร้อมกันได้

ทั้งนี้ ศ.ดร.พีระศักดิ์ ถือเป็นผู้ที่อุทิศตนให้กับงานวิจัยและสร้างผลงานด้านพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธ์พืชมากที่สุด
ผู้หนึ่งในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับปรุงพันธุ์พืชตระกูลถั่ว ให้มีความต้านทานต่อโรคพืชและแมลง ผลงานวิจัย
ของท่านนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อวงวิชาการด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช และได้รับยกย่องให้เป็น “นักปรับปรุงพันธุ์ดีเด่น”
จากสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย คณะกรรมการมอบทุน NSTDA Chair Professor จึงมีความ
เชื่อมั่นว่างานวิจัยนี้จะทำให้วงการวิจัยพืชพลังงานของโลกก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง

http://www.dailynews.co.th/technology/3400




มทร.สุวรรณภูมิ พัฒนาสบู่ดำพันธุ์ใหม่ ปลูกพลังงานทางเลือก ใช้แทนน้ำมัน



นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศึกษาพัฒนาสบู่ดำพันธุ์ใหม่เป็นพืชทางเลือกทดแทนน้ำมัน โครงการ
วิจัยการศึกษาพันธุ์และการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตสบู่ดำในไร่เกษตรกร นำไปสู่ความมั่นคงด้านพลังงานของ
ประเทศอย่างยั่งยืน

วันนี้ (18 ก.ค.) รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย มัจฉาชีพ อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและ
อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า สบู่ดำเป็นพืชพลังงานทดแทน ในประเทศไทย
มีอยู่ 1 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์ที่มีพิษให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งพืชชนิดนี้ขึ้นอยู่ในทุกภาคของประเทศ แต่อาจมีลักษณะต่างกันเนื่อง
จากสภาพดิน ฟ้า อากาศ ของแต่ละแห่ง

จากการศึกษาวิจัย พบว่า สบู่ดำไทย สามารถให้ผลผลิตเพียง 500 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการวิจัยได้นำสบู่ดำสายพันธุ์ที่ไม่มีพิษ
และให้ผลผลิตสูง จากประเทศศรีลังกา และแมกซิโก มาผสมพันธุ์กับสบู่ดำไทย ด้วยวิธีการผสมเกษรเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์
ลูกผสมนำมาปลูกและดูแลโดยการให้ ปุ๋ย ให้น้ำ เปรียบเทียบกับปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ทดลองนำไปปลูกในไร่
เกษตรกรจังหวัดลพบุรีที่สภาพดินเป็นดินลูกรังผสมดินเหนียว และจังหวัดสระแก้วเป็นดินร่วน ซึ่งคาดหวังว่าจะสามารถเพิ่ม
ผลผลิตให้เกษตรกรได้ถึง 800 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ จะทราบผลการวิจัยใน 2 ปีข้างหน้า

รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย กล่าวอีกว่า ในอนาคตพลังงานจากฟอสซิล หรือน้ำมันดิบจะหมดไป ซึ่งทั่วโลกพยายามที่จะ
หาพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และสบู่ดำก็เป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถผลิต
น้ำมันได้โดยเป็นน้ำมันบนดินที่ ไม่ต้องรอการทับถมของฟอสซิลและหากสามารถเพิ่มผลผลิตของสบู่ดำได้มากขึ้น จาก
พืชพลังงานทดแทนที่ใช้ในครัวเรือนก็อาจกลายเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ ให้เกษตรกร หรือเป็นพืชที่สามารถสร้าง
พลังงานทดแทนให้กับภาคอุตสาหกรรม ลดการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต



รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย มัจฉาชีพ

ผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหา
วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โทรศัพท์/โทรสาร 035-709096 หรือเข้าไปที่ http://www.agri.rmutsb.ac.th

source : http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000088220


http://jamebond2507.blogspot.com/2011/07/blog-post_9827.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/12/2011 9:00 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/12/2011 7:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,396. โครงการปลูก "มะเยาหิน" พืชพลังงานทดแทน





มะเยาหิน (Candlenut)
ทำไม ? พลังงานทดแทนจึงเป็นธุรกิจที่มาแรงที่สุดในขณะนี้ ?
จากสถานการณ์น้ำมันของโลก ได้ขยับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุผลคงหนีไม่ผล 2 ประการเท่านั้น

1. น้ำมันที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติได้ถูกนำมาใช้มากขึ้นทุกวัน แน่นอนที่สุดจำนวนย่อมลดลงเป็นธรรมดาจากความจำเป็นใช้ทุกวัน
การขุดเจาะนำมาใช้อย่างไร้ขีดจำกัด และโอกาสที่จะเกิดน้ำมันใหม่ๆขึ้นมาอีกคงเป็นเรื่องที่ยากหรืออาจจะไม่เกิดขึ้นอีกเลย

2. จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต ยิ่งเพิ่มขีดความต้องการใช้พลังงานมากขึ้นไปอีก เครื่องจักรกลของมนุษย์ ได้พัฒนาการ
ผลิตที่เร็วมาก เพื่อตอบสนองความสะดวกสบายของคน จนกล่าวได้ว่า 1 นาทีสามารถผลิตรถยนต์ได้ 1 คันเลยทีเดียว

“โลกใบนี้ยังมีพืชน้ำมันอยู่อีกมากมายหลายชนิดที่ยังคงรอการเสาะแสวงหา และค้นพบจากมนุษย์... นอกจากพืชน้ำมันที่เรารู้จัก
กันโดยทั่วไป อาทิ ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ Reeo Seed ถั่วเหลือง งาและอื่นๆ ที่นำมาทำเป็นพลังงานทดแทนได้โดยเฉพาะ
ไบโอดีเซล (Bio Diesel)

มะเยาหิน (Candlenut)
พืชพลังงานตัวใหม่ “มะเยาหิน” (Candlenut) Aleurites Montana เป็นไม้ป่ายืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร
พบมากทางตอนเหนือของประเทศลาวและย่านเดียนเบียนฟูของเวียดนาม ชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า หมากเก๋า หมากเยาหิน
และหมากน้ำมัน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานในบางจังหวัด แต่พบในปริมาณน้อย มะเยาหินเป็น
พืชพลังงานที่มีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง โดยเฉพาะการให้น้ำมันในปริมาณที่สูง นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว ให้
ร่มเงาได้ดี ลักษณะสวยงามคือ

• ต้น เป็นไม้ยืนต้นรูปทรงสวยคล้ายต้นหูกวาง มีกิ่งแตกจากลำต้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมี 5 กิ่งมีหลายชั้นตามอายุของต้น
• ใบ มีขนาดใหญ่ก้านใบยาวเป็นแฉก 4 แฉกสวยงามเมิ่ออายุต้นมากขึ้นใบจะเล็กลงสีจะเขียวเข้ม แฉกใบจะเล็กลงและหายไป
• ดอก ออกช่อที่ปลายกิ่ง สีขาวอมชมพู สวยงาม
• ผล ขนาดเท่าลูกมะนาว มีลายเส้นนูนที่เปลือกผล ออกพู 3-4 พู 1 พูมี 1 เมล็ดสีเขียว เมื่อแก่จัดผิวจะออกนวล และเปลือก
ผลจะดำ และแห้งในที่สุด
• เมล็ด มีขนาดใหญ่เกือบเท่าหัวแม่มือลักษณะกลมแบนมีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็ง-บาง คล้ายกะลาทำให้รักษาเนื้อในเมล็ดได้ดี
โดยที่เปอร์เซนต์ของน้ำมันไม่หายไปนานรวม 2 ปี

วิธีการปลูก
สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ดอนและมีน้ำหากได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีหลังการปลูกจะให้ผลผลิตได้ภายใน 2 ปี โดย
• ปลูกแบบธรรมชาติ ตามบริเวณบ้าน หน้าบ้านข้างบ้านหลังบ้านหรือตามที่ว่างทั่วไป
• ปลูกแบบกึ่งธรรมชาติ ตามที่ส่วนบุคคลที่สาธาณะ
• ปลูกแบบพืชสวน เช่นพืชสวนอื่นๆ เช่น มะม่วง ลำใย ลิ้นจี่ ฯลฯมีการจัดการอย่างดี มีการจัดระยะ-ตัดแต่งกิ่งฯลฯ
• ปลูกแบบปลูกป่า เช่นเดียวกับการปลูกป่าทั่วไป และจะได้ป่าเศรษฐกิจ ป่าช่วยแก้สภาวะโลกร้อนป่าที่ให้ผลผลิตเป็นน้ำมัน

ข้อมูลทางด้านผลผลิต
• พืชน้ำมัน (มะเยาหิน พืชมหัศจรรย์บ่อน้ำมันบนดินของไทยตัวใหม่)

มะเยาหิน หรือภาษาจีนเรียกว่า มะเย้า ลาวเรียกว่า มะเก๋า ภาษาอังกฤษเรียกว่า Tung Oil Tree มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Botaniei สายพันธุ์ Montana นำเข้าจากซัมเหนือของลาว โดยทีมงานอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ม.สารคาม มหา
วิทยาลัยกลางแดด อ.สัมฤทธิ์ อัครปะชะ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ กำลังทำวิจัยพืชนิดนี้อยู่

เปรียบเทียบปริมาณน้ำ มันใน 1 เมล็ด
สบู่ดำ มีปริมาณน้ำมัน 25 %
ปาล์ม มีปริมาณน้ำมัน 30 %
มะเยาหิน มีปริมาณน้ำมัน 65 % 2 กก. ให้น้ำมัน 1 ลิตร


โปรดักส์ ผลิตภัณฑ์จากมะเยาหิน
1. ใช้ทำหมึกคอมพิวเตอร์
2. ใช้ทำหมึกปากกาลูกลื่นทั่วไป (โมนามิ)
3. ใช้ทำหมึกพิมพ์ธนบัตร
4. ใช้ทำสีน้ำมันทาไม้ทั่วไป
5. ใช้ทำน้ำมันเงา (ยูรีเทน)
6. ใช้ทำน้ำมันหล่อลื่น (ทนแรงกดได้ถึง 20 ตัน)
7. ทำน้ำมันตังอิ้วบริสุทธิ์ (ลิตรละ 80 บาท)
8. ใช้ทำน้ำมันไบโอดีเซล
9. เปลือกใช้ทำถ่านอัดแท่ง (เหมือนถ่านหิน)
10. กิ่งก้าน และใบใช้ทำเชื้อเพลิงเขียว
11. กากที่หีบน้ำมันแล้วใช้ทำปุ๋ยหมักตรึงธาตุ N ได้เยี่ยม

“มะเยาหิน เป็นพืชพลังงานที่มีศักยภาพสูง สามารถปลูกได้ในที่ที่มีน้ำในทุกพื้นที่
หากได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีหลัง
การปลูก สามารถให้ผลผลิตได้ภายใน 2 ปี และให้ผลผลิตปีละครั้งเป็นอย่างต่ำ ตลอดอายุต้น 60-70 ปี”



http://way4riches.com/mayaohin.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/12/2011 9:03 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/12/2011 8:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,397. เชียงราย มี “ข้าวญี่ปุ่น” ได้มาตรฐานสำหรับผู้บริโภค

เกษตรมหัศจรรย์

การุณย์ มะโนใจ


จังหวัดในภาคเหนือของไทย เป็นแหล่งปลูกข้าวพันธุ์ดีอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งนอกเหนือจากสายพันธุ์ที่ปลูกและคิดค้นโดยคนไทยเอง
กระจายการทดลองปลูกจนได้ผลผลิตเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศแล้ว เทคโนโลยีการปลูกและคิดค้นสายพันธุ์ข้าวยังคงไม่หยุดนิ่ง
ไม่เฉพาะสายพันธุ์ที่เติบโตภายในประเทศเท่านั้น ยังคงรวมถึงสายพันธุ์จากต่างประเทศ

ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย เป็นศูนย์วิจัยข้าวแห่งแรก ที่นำ “ข้าวญี่ปุ่น” เข้ามาทดลองปลูกในประเทศไทย





คุณทองมา มานะกุล ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย บอกว่า สถาบันวิจัยข้าวเริ่มดำเนินงานเพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น ตลอดจนความ
เป็นไปได้ในการปลูกข้าวญี่ปุ่นมา ตั้งแต่ ปี 2507 โดยได้ดำเนินการที่สถานีทดลองข้าวพาน จังหวัดเชียงราย ต่อมาในปี 2530 สถานี
ทดลองข้าวพาน ได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นจากแหล่งต่างๆ มาขยายเมล็ดพันธุ์ จากนั้นนำไปปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้น เมื่อปี 2531-
2532 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นสูงที่สถานีทดลองข้าวพานและสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง เมื่อปี 2532-2533 ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์
ระหว่างสถานี เมื่อปี 2533-2534

หลังจากนั้น นำไปปลูกทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก ชัยนาท สกลนคร และจังหวัด
หนองคาย พร้อมทั้งบันทึกผลผลิต ลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในช่วงฤดูปลูกตรวจสอบคุณภาพเมล็ดทาง
กายภาพและทางเคมี ตลอดจนทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลง เมื่อปี 2534-2538 ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิจัย
และพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2538 และให้ชื่อว่าพันธุ์ ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 และ
ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.2





ลักษณะประจำพันธุ์ ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 เป็นข้าวเจ้านาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 88 เซนติเมตร ต้นค่อนข้างแข็งแรง กอตั้งตรง
ใบแก่ช้าสีเขียวและมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงสั้น เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางมีขนสั้น ยอด
เมล็ดสีฟางและมีหางเล็กน้อย รูปร่างเมล็ดข้าวเปลือกสั้นป้อม ยาว 7.4 มิลลิเมตร กว้าง 3.5 มิลลิเมตร และหนา 2.2 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง
สีขาว ยาวเฉลี่ย 5.18 มิลลิเมตร มีท้องไข่ปานกลาง การร่วงของเมล็ดยาก มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน และให้ผลผลิตประมาณ 700
กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ดินนาเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าข้าวญี่ปุ่นพันธุ์อื่นๆ คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว
ประมาณ 48 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ตรงตามมาตรฐานสำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป




คำแนะนำ ให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

การปลูกในฤดูนาปรัง ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม จะให้ผลผลิตสูงกว่าฤดูนาปี เพราะเป็นช่วงฤดูหนาวซึ่งมีอุณหภูมิเหมาะสม
ในการเจริญเติบโต อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ 7-10 กิโลกรัม ต่อไร่ สำหรับนาดำ และ 15 กิโลกรัม ต่อไร่ สำหรับนาหว่านน้ำตม โดยเมล็ด
พันธุ์ต้องมีความงอกไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อายุกล้าที่เหมาะสมต่อการปักดำในฤดูนาปรัง ในเขตภาคเหนือตอนบน ประมาณ 25-
30 วัน และ 15-18 วัน สำหรับภาคเหนือตอนล่าง หรือเมื่อต้นกล้ามีใบ 3-5 ใบ ถอนกล้าอย่าให้ช้ำ และนำไปปักดำให้เสร็จภายใน
วันเดียว เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและตั้งตัวได้เร็ว โดยปักดำจับละ 6-8 ต้น ระยะปักดำ 30x15 หรือ 20x20 เซนติเมตร

ข้อควรระวัง ในสภาพที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูง ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 ไม่ต้านทานโรคไหม้ การปลูกข้าวให้ได้ผลดี ควรหลีกเลี่ยง
สภาพแวดล้อมดังกล่าว

ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 มีระแง้เหนียวมาก การนวดโดยการฟาดข้าวทำได้ยาก หลังจากเก็บเกี่ยวควรตากข้าว ในนา 3-4 วัน แล้วนวด
ด้วยเครื่องนวดทันที เมล็ดข้าวเสื่อมความงอกเร็ว การเก็บเมล็ดพันธุ์ควรลดความชื้นเมล็ดให้เหลือ 8-10 เปอร์เซ็นต์ และเก็บในปีบ
หรือภาชนะที่สามารถปิดผนึกได้ ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบสีส้ม ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น
สีเขียวและเพลี้ยกระโดดหลังขาว

ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.2 เป็นข้าวเจ้านาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 80 เซนติเมตร ต้นแข็ง ทรงกอตั้งตรง
ใบแก่ช้าสีเขียวและมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงสั้น เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขนสั้น
ยอดเมล็ดสีฟางและมีหางบ้างบางเมล็ด รูปร่างเมล็ดข้าวเปลือกสั้นป้อม ยาว 7.3
มิลลิเมตร กว้าง 3.3 มิลลิเมตร และหนา 2.2
มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว ยาวเฉลี่ย 5.13 มิลลิเมตร มีท้องไข่น้อย การร่วงของเมล็ดยาก มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 117 วัน และ
ให้ผลผลิตประมาณ 700 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ดินนาเขตภาคเหนือตอนบน คุณภาพการสีดีมาก
ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวประมาณ 52 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ตรงตามมาตรฐานสำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น
ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป

คำแนะนำ ให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน การปลูกในฤดูนาปรังช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมจะให้ผลผลิตสูงกว่า
ฤดูนาปี เพราะเป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่งมีอุณหภูมิเหมาะสมในการเจริญเติบโต อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ 7-10 กิโลกรัม ต่อไร่ สำหรับนาดำ และ
15 กิโลกรัม ต่อไร่ สำหรับนาหว่านน้ำตม โดยเมล็ดพันธุ์ต้องมีความงอกไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อายุกล้าที่เหมาะสมต่อการปัก
ดำในฤดูนาปรังในเขตภาคเหนือตอนบน ประมาณ 25-30 วัน หรือเมื่อต้นกล้ามีใบ 3-5 ใบ ถอนกล้าอย่าให้กล้าช้ำ ควรถอนกล้าและ
ปักดำให้เสร็จภายในวันเดียว เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและตั้งตัวได้เร็ว โดยปักดำจับละ 6-8 ต้น ระยะปักดำ 30x15 หรือ 20x20
เซนติเมตร

ข้อควรระวัง ในสภาพที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูง ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.2 ไม่ต้านทานโรคไหม้ การปลูกข้าวให้ได้ผลดีหลีกเลี่ยงสภาพ
แวดล้อมดังกล่าว ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.2 มีระแง้เหนียวมาก การนวดโดยการฟาดข้าวทำได้ยาก หลังจากเก็บเกี่ยวควรตากข้าวในนา 3-4 วัน
แล้วนวดด้วยเครื่องนวดทันที เมล็ดขาวเสื่อมความงอกเร็ว การเก็บเมล็ดควรลดความชื้นเมล็ดให้เหลือ 8-10 เปอร์เซ็นต์ และเก็บในปีบ
หรือภาชนะที่สามารถปิดผนึกได้ ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและโรคใบสีส้ม ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น
สีเขียวและเพลี้ยกระโดดหลังขาว



ในปัจจุบัน ข้าวญี่ปุ่น ได้มีภาคเอกชนในจังหวัดเชียงราย หลายรายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก และรับซื้อคืนในราคาประกัน แล้ว
แต่ฤดูกาล ในหลายอำเภอ เช่น อำเภอแม่จัน เมืองเชียงราย เวียงป่าเป้า พาน แม่ลาว ฯลฯ ผู้เขียนได้ขอความกรุณาจากผู้อำนวย
การศูนย์ว่า ในการจัดงาน “เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี-เทคโนโลยีชาวบ้าน 2012” ที่จะมีขึ้น ระหว่าง วันที่ 22-26
กุมภาพันธ์2555 ที่ชั้น 4 ห้องเอ็มซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์ บางแค จะนำข้าวญี่ปุ่นทั้ง 2 สายพันธุ์ มาจัดแสดงให้ชม สำหรับผู้ที่สนใจ
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามที่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ (053) 721-578 โทรสาร
(053) 721-916 หรือ crr.ricethailand.@hotmail.com


ขั้นตอนการปลูกข้าวญี่ปุ่น ฤดูนาปี





ขั้นตอนการปลูกข้าวญี่ปุ่น ฤดูนาปรัง





http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:31 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 17/12/2011 8:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,398. การขุดย้ายตาลขนาดใหญ่


การขุดย้ายต้นตาลที่มีขนาดใหญ่นั้น ค่อนข้างยุ่งยากและมีเปอร์เซ็นต์การตายสูง ควรทำในช่วงฤดูแล้งเลือกที่เป็นดินเหนียวได้ยิ่งดี
เพราะเวลาขุดกะเปาะดินจะได้ไม่แตก ตัดใบออกให้เหลือน้อยที่สุดประมาณ 1-3 ของใบทั้งหมด ข้อสำคัญจดจำทิศของใบที่เหลือให้
ได้ว่าอยู่ทิศใด เวลานำไปปลูกใหม่จะต้องปลูกตามทิศเดิมที่ใบนั้นเคยอยู่ ขุดดินรอบโคนต้นโดยขุดเพียงด้านเดียวและใช้น้ำยาเร่งราก
ราดบริเวณที่ขุดทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือน ขุดด้านที่เหลือและย้ายไปปลูกใหม่ได้เลย


ตาลแหยง
ตาลแหยง คือ ตาลที่ยอดไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรหรือไม่สมบูรณ์ มองดูไม่สมส่วน เช่น ลำต้นใหญ่ ยอดเรียวเล็กเหลืองและถ้าไม่ได้
รับการแก้ไขหาสาเหตุจะทำให้ต้นตายในที่สุด


ซึ่งพอจะสรุปหาสาเหตุของตาลแหยงได้ดังต่อไปนี้
1. เกิดจากน้ำแช่รากต้นตาลตลอดปี ทำให้รากขาดอากาศและชะงักการเจริญเติบโตในที่สุด

2. เกิดจากรากของต้นตาลสัมผัสดินเค็มจัด ทำให้ขบวนการดูดสารอาหารผิดปกติ

3. ต้นตาลอายุมากหรือหมดอายุ ส่วนใหญ่จะเกิดกับต้นตาลที่มีอายุเกิน 80 ปีขึ้นไป ระบบส่งน้ำและอาหารอาจไม่สมบูรณ์ บางต้น
ยอดจะหักก่อนเพราะถูกพายุ

4. แมลงศัตรูทำลาย เช่น หนอนแทะเปลือกต้นตาล หนอนกัดกินยอดต้นตาล ทำให้ยอดอ่อนหักพับฉีกขาด ถ้าระบาดมากๆ จะทำให้
ต้นตาลตายได้

5. เกิดจากความไม่สมดุลของปริมาณธาตุอาหารในดิน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากปลูกต้นตาลนานๆ หลายสิบปี ปริมาณธาตุอาหารใน
ดินจะลดลง และถ้าไม่มีการนำมาใส่เพิ่มเติมให้เพียงพอกับความต้องการอาจทำให้ต้นตาลแหยงได้

6. เกิดจากคันนามีขนาดเล็ก การยึดเกาะของรากและลำต้นถูกจำกัด ต้นตาลไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร



http://sites.google.com/site/sanaymuangpetch/meetpalmsugar/how-to-move-big-palmsugar-tree
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 17/12/2011 8:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,399. พันธุ์ตาลโตนด


พันธุ์ตาลโตนดที่นิยมปลูกมี 3 พันธุ์ด้วยกันคือ

1. ตาลหม้อ
เป็นตาลที่มีลำต้นแข็งแรงถ้าดูจากลำต้นภายนอกไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นตาลพันธุ์อะไร นอกจากต้นนั้นจะให้ผลแล้ว แบ่งออกเป็น

1.1 ตาลหม้อใหญ่ เป็นตาลที่ให้ผลใหญ่ ผิวดำมันแทบไม่มีสีอื่นปนเลย เวลาแก่มีรอยขีดตามแนวยาวของผล เมล็ดหนา ใน 1 ผล
จะมี 2-4 เมล็ด ใน 1 ทะลายจะมีประมาณ 1-10 ผล ่จะให้ผลเมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้น

1.2 ตาลหม้อเล็ก ลักษณะคล้ายตาลหม้อใหญ่ ผลมีขนาดเล็กสีดำ ผลจะมีรอยขีดเมื่อแก่ ใน 1 ผล จะมี 2-4 เมล็ด ใน 1 ทะลาย
จะมีประมาณ 1-20 ผล ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากผลมีขนาดเล็กและเต้าที่ได้จะมีขนาดเล็กตามไปด้วย


...


2. ตาลไข่
ลำต้นแข็งแรง ลูกมีขนาดเล็กสีค่อนข้างเหลืองแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน

2.1 ไข่เล็ก ลูกค่อนข้างเล็ก ใน 1 ทะลายจะมีผล 1-20 ผล เนื่องจากผลเล็กจึงทำให้เต้ามีขนาดเล็กตามไปด้วย จะให้ผลเมื่ออายุ 10 ปี

2.2 ไข่ใหญ่ ผลมีขนาดใหญ่กว่าไข่เล็ก สีค่อนข้างเหลือง ใน 1 ทะลายจะมีผล 1-10 ผล เต้ามีขนาดใหญ่กว่าไข่เล็ก 1ผลจะมี 2-3 เต้า
จะให้ผลเมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไป

3. ตาลพันธุ์ลูกผสม
ลำต้นตรงใหญ่แข็งแรง ลูกค่อนข้างใหญ่เกือบเท่าตาลพันธุ์หม้อ สีดำผสมน้ำตาล

(เหลืองดำ) ในผลจะมี 2-3 เต้า ให้ผลประมาณ
1-20 ผลต่อทะลายเป็นตาลที่มีจำนวนมากที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่จะให้ผลเมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไป


วิธีสังเกตต้นตาลตัวผู้หรือตัวเมีย
จากการสอบถามผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวกับตาลในจังหวัดเพชรบุรีพบว่า ก่อนที่ต้นตาลจะออกกระโปง ใบที่ยอดตาลประมาณชั้นใบที่ 4
จะแบะออก และใบจะยาวกว่าใบชั้นอื่นๆ ส่วนการสังเกตว่าต้นไหนเป็นต้นตัวผู้ หรือตัวเมียนั้น มีวิธีการสังเกตดังนี้


สังเกตการเรียงตัวของทางใบ ถ้ามีการเรียงตัววนไปทางขวามือจากโคนไปสู่ยอดจะเป็นต้นตาลตัวเมีย แต่ถ้าการเวียนของทางใบวน
ไปทางซ้ายมือจะเป็นตาลตัวผู้



http://sites.google.com/site/sanaymuangpetch/meetpalmsugar/kindpalmsugar
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 18/12/2011 12:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,400. พริกกะเหรี่ยง : การพัฒนาพันธุ์พื้นเมืองสู่พันธุ์การค้า





พริกกะเหรี่ยงจัดเป็นพริกขี้หนูที่นิยมปลูกกันมากชนิดหนึ่งโดยปลูกกันมากตามแนวเขตชายแดนไทย-พม่า เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี
และตาก เนื่องจากเป็นพริกพันธุ์พื้นเมืองที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถปรับตัวได้ดี มีระยะการเก็บเกี่ยวนาน 7-8 เดือน
มีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งในด้านรูปร่าง สีผิว รวมทั้งมีสารแคปไซซินที่ให้ความเผ็ดสูง และมีความหอมซึ่งเป็นลักษณะเด่นประจำพันธุ์
ทำให้เป็นที่นิยมของทั้งผู้บริโภคและโรงงานอุตสาหกรรม

จากศักยภาพและโอกาสทางการตลาดของพริกกะหรี่ยง สกว. จึงได้สนับสนุนโครงการ “การพัฒนาพันธุ์พริกโดยชุมชนมีส่วนร่วม”
โดยมี ผศ.ดร. จานุลักษณ์ ขนบดี สังกัดสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และคณะ
ซึ่งได้รวบรวมสายพันธุ์พริกพื้นเมืองในจังหวัดตากตั้งแต่ปี 2548 จนได้พริกจำนวน 192 สายพันธุ์ และได้ดำเนินการคัดเลือกพันธุ์ 2
ชั่วรุ่น โดยการปลูกลงแปลงของมหาวิทยาลัยในจังหวัดลำปาง และแปลงเกษตรกรในพื้นที่พบพระ จังหวัดตาก จนได้พริกสายพันธุ์ดี
14 สายพันธุ์ ที่มีศักยภาพทั้งในเชิงของปริมาณผลผลิต และปริมาณสารแคบไซซินที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังได้ผ่านการทดสอบ และ
ประเมินพันธุ์โดยนักวิจัย นักวิชาการ ตลอดจนภาคเอกชนแล้ว ในด้านการใช้ประโยชน์ ขณะนี้ได้มีหน่วยราชการในจังหวัดตาก
โครงการพระราชดำริ และบริษัทเอกชนมากกว่า 33 บริษัท ให้การยอมรับ และสนใจเมล็ดพันธุ์พริกสายพันธุ์ดีที่พัฒนาได้ (สาย
พันธุ์บริสุทธิ์และสายพันธุ์ลูกผสมเปิด) ทั้ง 14 สายพันธุ์ดังกล่าว ขอรับไปผลิตทั้งในเชิงของการสร้างอาชีพพริกและเมล็ดพันธุ์ และ
การผลิตในเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มโอกาสการส่งออกด้วย

ผลสำเร็จจากการพัฒนาพันธุ์พริกในครั้งนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ได้ คือ “พริกพันธุ์คีรีราษฎร์ 1” (อยู่ระหว่างการจดทะเบียบรับรองพันธุ์) ซึ่งเป็น
สายพันธุ์พริกลูกผสมเปิดที่สามารถปรับตัวได้ดี และให้ผลผลิตสูงมากกว่า 1.5 ตันต่อไร่ (พริกกะเหรี่ยงที่ผลิตได้ในปัจจุบันให้ผลผลิต
เฉลี่ย 200-300 กิโลกรัมต่อไร่) จากคุณสมบัติที่ดีของพริกพันธุ์ดังกล่าวและความพร้อมที่จะเผยแพร่ผลผลิตจากงานวิจัย สกว. และ
นักวิจัยจึงได้ส่งมอบเมล็ดพันธุ์พริกนี้คืนกลับสู่ชุมชนและเกษตรกรใน 12 หมู่บ้านของตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก รวม
102 ราย เพื่อให้นำไปเพาะและเพิ่มจำนวนเมล็ดพันธุ์เพื่อการผลิตและจำหน่ายเป็นพริกพันธุ์การค้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและ
ชุมชนต่อไป

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ อาชีพทางเลือกใหม่ในการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกเพื่อการค้า และเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง อบต. คีรีราษฎร์ ภาค
วิชาการ และเกษตรกรผู้ปลูกพริก ในการให้ความสำคัญ และสนับสนุนการปลูกพริกพันธุ์คีรีราษฎร์ 1 ในพื้นที่ ตลอดจนยังผลกระตุ้นให้
เกษตรกรผู้ปลูกพริกในตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีความสนใจในการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มการผลิต และเชื่อมโยงตลาด
ต่อไปในอนาคตด้วย


http://www.takchamber.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538785149&Ntype=3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 18/12/2011 1:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,401. ข้าวเชียงราย โกอินเตอร์ สร้างแบรนด์-รุกงานวิจัย


นายเฉลิมพล พงศ์ฉบับนภา พาณิชย์จังหวัดเชียงราย กล่าวว่าว่า จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดผู้นำในประเทศไทยที่มีการผลิตข้าวหอมมะลิ
และข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงรายที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วประเทศและต่างประเทศ จังหวัดเชียงรายจึงได้กำหนดตราสัญลักษณ์ข้าว
เชียงราย ภายใต้การบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารตราสัญลักษณ์ข้าวเชียงราย เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพและมาตร
ฐานข้าวเชียงรายให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล

ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าข้าวเชียงราย จึงได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ตราสัญลักษณ์ข้าวเชียงราย โดยผู้ขอต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้คือ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือ สถาบันเกษตรกร
หรือ ผู้ประกอบการค้าข้าว ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง จะต้องได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ คือ ต้องได้รับรอง
มาตรฐาน GMP หรือ GAP หรือ มาตรฐานสากลอื่นๆ และต้องเป็นสมาชิกของสถาบันที่ทางราชการให้การยอมรับและได้รับการ
เสนอชื่อจากสถานบันอื่นๆ เช่น สมาคมโรงสีข้าว หอการค้าจังหวัดเชียงราย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย เป็นต้น

สำนักงานพาณิชย์ จังหวัดเชียงรายจึงขอเชิญชวนผู้มีคุณสมบัติขอรับใบอนุญาตให้ตราสัญลักษณ์ข้าวเชียงราย ผู้สนใจขออนุญาตใช้
ตราสัญลักษณ์ข้าวเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ตำบลริมกก
อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทร.053-150-200 โทรสาร.053-177-349 หรือ ดาวน์โหลดรายละเอียดพร้อมใบสมัครได้ที่
http://pcoc.moc.go.th/wappPCOC/57 ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ทางด้านนายทองมา มานะกุล ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย กล่าวว่า สถาบันวิจัยข้าวฯได้ดำเนินงานศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น
ความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวญี่ปุ่นมา ตั้งแต่ ปี 2507 โดยได้ดำเนินการที่สถานีทดลองข้าวพาน จังหวัดเชียงราย และมีการปลูก
ทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก ชัยนาท สกลนคร และจังหวัดหนองคาย พร้อมทั้ง
บันทึกผลผลิต ลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญ ปัจจุบัน ข้าวญี่ปุ่น ได้มีภาคเอกชนในจังหวัดเชียงราย หลายรายส่งเสริมให้เกษตรกร
ปลูก และรับซื้อคืนในราคาประกัน แล้วแต่ฤดูกาล

ในหลายอำเภอ เช่น อำเภอแม่จัน เมืองเชียงราย เวียงป่าเป้า พาน แม่ลาว ฯลฯ
ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวของเชียงราย ซึ่งถือเป็นแหล่ง
ผลิตข้าวคุณภาพแหล่งใหญ่ในประเทศนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามที่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย
อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ (053) 721-578 โทรสาร (053) 721-916 หรือ crr.ricethailand.@hotmail.com



http://www.chiangmainews.co.th/page/?p=61088


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/12/2011 7:11 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/12/2011 7:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,402. สาหร่ายไทยกว่า 40 สายพันธุ์พร้อมทำไบโอดีเซล


การเปิดตัวโครงการ “มหัศจรรย์แห่งสาหร่าย...แหล่งพลังงานและอาหารเพื่ออนาคต” เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 53 ณ อาคารวิจัย
และพัฒนา 1 วว. เทคโนธานี โดยมี นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว., ดร.กันย์ กังวานสายชล นักวิจัยผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง ปตท.
และ ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รมว.วท. (เรียงจากซ้ายมาขวา) ได้อธิบายถึงที่มาที่ไปของโครงการนี้


วว.พัฒนาเทคนิคคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายน้ำมันแบบรวดเร็ว พบ 40 สายพันธุ์พร้อมสกัดพัฒนาเป็นไบโอดีเซล ด้าน ปตท.
ทุ่มทุน 140 ล้าน บ. ให้ วว.ผลิตเชื้อเพลิงสาหร่ายเชิงพาณิชย์ รมว.วท.คาดปี 58 ไบโอดีเซลสาหร่ายไหลเข้าสู่ตลาดได้ พร้อม
รณรงค์ให้เปลี่ยนทัศนคติจากการใช้น้ำมันปิโตรเลียมมาใช้พลังงานทดแทน อย่างสาหร่ายที่เพาะใช้งานได้ทุก 14 วัน

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้เปิดตัวโครงการ “มหัศจรรย์แห่งสาหร่าย...แหล่งพลังงาน
และอาหารเพื่ออนาคต” เมื่อวันที่ 11 ก.พ.53 ณ อาคารวิจัยและพัฒนา 1 เทคโนธานี อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดย ดร. วีระชัย
วีระเมธีกุล รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ทาง วว. กำลังศึกษาวิจัยหาทางนำสาหร่ายมาผลิตเป็นน้ำมัน
ไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์

"เนื่องจากสถานการณ์แหล่งปริมาณน้ำมันสำรองของโลกกำลังลดน้อยลง ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นทุกวัน นอกจากนี้ประเทศไทย
ยังเป็นผู้นำเข้าน้ำมัน ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งวิจัยและพัฒนาเพื่อหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆ ให้เพียงพอและรองรับสำหรับ
ในอนาคต โดยนักวิจัยต่างก็ทราบกันดีว่า สาหร่ายบางชนิดนั้นสามารถให้น้ำมันได้ และน้ำมันจากสาหร่ายเหล่านี้ยังสามารถมาทำน้ำมัน
ไบโอดีเซลได้อีกด้วย” รมว.วท. เผย

ดร.วีระชัย อธิบายว่า วว.ได้คัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายที่ผลิตน้ำมันได้รวดเร็วเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยใช้เทคนิคย้อม
สีไนล์ เรด (Nile Red staining) เป็นเทคนิคของการใช้สีที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถย้อมน้ำมันได้ และเป็นสีที่เรืองแสง รวม
ทั้งเป็นวิธีการย้อมแบบเปิดผนังเซลล์สาหร่าย ทำให้สีที่ย้อมไปจับตัวกับน้ำมันในสาหร่ายได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อมองผ่านกล้อง
ฟลูออเรสเซนต์ก็จะเห็นได้ชัดว่า สายพันธุ์ไหนมีน้ำมันมากน้อยแค่ไหน รูปแบบของเม็ดน้ำมันเป็นอย่างไร เพื่อง่ายต่อการศึกษา
วิเคราะห์และวิจัย

ทั้งนี้ เทคนิคดังกล่าวเป็นการคิดค้นที่สามารถดำเนินการคัดสาหร่ายได้เร็วขึ้น ถึงเดือนละประมาณ 50 สายพันธุ์ เมื่อเทียบจากวิธี
ดั้งเดิมที่สามารถคัดแยกสาหร่ายได้เพียงปีละประมาณ 100 สายพันธุ์ โดยค้นหาสายพันธุ์ที่มีน้ำมันในปริมาณที่มากกว่า 40 เปอร์
เซ็นต์ขึ้นไป เพื่อนำไปสกัด ซึ่งขณะนี้พบสายพันธุ์สาหร่ายที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันดังกล่าวแล้วกว่า 40 สายพันธุ์ จากกว่า 1,000 สาย
พันธุ์

การคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายนั้น จะคัดเลือกจากคลังสาหร่ายของ วว. โดย นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว. อธิบายว่า ทาง วว.
นั้น มีคลังสาหร่ายขนาดใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของเอเชียรองจากประเทศญี่ปุ่นและจีน โดยเก็บรักษาสายพันธุ์ที่แยกจากระบบนิเวศ
ต่างๆ ของประเทศไทยกว่า 1,000 สายพันธุ์ และมีระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายระดับขยายกลางแจ้งต้นแบบ ตั้งแต่ขนาด 100 –
10,000 ลิตร โดยการเพาะเลี้ยงสาหร่ายในบ่อขยายกลางแจ้งใช้เวลาเพียง 14 วันเท่านั้น

“โดยเทคนิคการเพาะเนื้อเยื่อและเพาะเลี้ยงสาหร่าย จะต้องมีการพัฒนาวิธีการในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเลี้ยงสาหร่ายนอกธรรม
ชาติ ซึ่งจะต้องทำให้ได้ในต้นทุนระดับต่ำ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ที่จะพัฒนาไปสู่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายผลิตน้ำมันในเชิงพาณิชย์อีกด้วย”
ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ทางด้าน ดร.กันย์ กังวานสายชล นักวิจัย ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเชื้อเพลงทางเลือก สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี
ปตท. และผู้จัดการเครือข่ายวิจัยพลังงานจากสาหร่ายขนาดเล็กแห่งประเทศไทย (คพท.) อธิบายว่า ภายหลังที่ วว. คัดเลือกสายพันธุ
สาหร่ายที่ผลิตน้ำมัน และพัฒนาการเพาะเลี้ยงในระดับเชิงพาณิชย์กลางแจ้งแล้ว ในส่วนของน้ำมันที่ได้นั้น ปตท.จะนำน้ำมันที่สกัดได้ ไป
วิเคราะห์คุณสมบัติเพื่อนำไปผลิตเป็นพลังงานเชื้อเพลิง และพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามความเหมาะสมต่อไป

นอกจากนี้ ปตท. ยังได้สนับสนุนทุนวิจัยจำนวน 140 ล้านบาท ในการดำเนินโครงการเครือข่ายวิจัยพลังงานจากสาหร่าย
ขนาดเล็กแห่งประเทศไทย (คพท.) ระยะเวลา 7 ปี (พ.ศ.2551-2558) โดยมีเป้าหมายเชิงพาณิชย์เพื่อให้ต้นทุนของน้ำมัน
จากสาหร่ายน้อยกว่า 150 เหรียญต่อบาร์เรล

อีกทั้ง ยังมีเป้าหมายเชิงเทคนิค ให้สาหร่ายมีผลผลิตสูงกว่า 30 กรัมต่อตารางเมตรต่อวัน และมีปริมาณน้ำมันประมาณ 40 เปอร์
เซ็นต์ หรือสามารถคิดเป็นผลผลิตน้ำมันสาหร่ายประมาณ 6 ตันน้ำมันต่อไร่ต่อปี ซึ่งเบื้องต้นมีการประเมินต้นทุนการผลิตมวลสาหร่าย
อยู่ที่ประมาณ 200 บาทต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง โดยมีปริมาณน้ำมันที่ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ ของสาหร่ายแห้ง ซึ่งยังคงเป็นต้นทุน
ที่สูงอยู่

อย่างไรก็ดี ดร.วีระชัย ได้ตั้งเป้าการทำการวิจัยและทดลองไว้ 7 ปี เพื่อให้การทำน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายเป็นไปในเชิงรูปธรรม
ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการไปกว่า 2 ปี แล้ว และอนาคตจะนำสู่ตลาด ก็จะมีการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเปลี่ยน
ทัศนคติมาใช้พลังงานทดแทน แทนน้ำมันปิโตรเลียมต่อไป

“ถึงแม้ว่าน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้มาจากการสกัดออกมาจากสาหร่ายจะมีราคาสูง เมื่อเทียบกับน้ำมันปิโตรเลียมที่ใช้แล้วก็หมดไป แต่น้ำมัน
ไบโอดีเซลจากสาหร่ายเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ สามารถเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสาหร่าย และนำมาผลิตเป็นน้ำมันได้ตลอดเวลา ถือ
ว่าเป็นแหล่งพลังงานชั้นยอด ที่มาจากฝีมือของคนไทยเป็นผู้คิดค้นเอง” ดร.วีระชัยกล่าว

สาหร่ายนอกจากจะสามารถสกัดน้ำมันเป็นไบโอดีเซล แหล่งพลังงานชั้นยอดแล้ว ยังสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าและได้
ประโยชน์อีกด้วย โดย รมว.วท. อธิบายว่า น้ำมันสาหร่ายสามารถนำไปเป็นอาหารเสริมในอนาคตได้อีกด้วย โดยสาหร่ายที่ใช้เป็น
แหล่งพลังงานทดแทน เป็นคนละสายพันธุ์กับที่ให้น้ำมันทำอาหารเสริมสุขภาพ จึงไม่ทำให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบต่อราคาสาหร่าย
ที่นำมาเป็นอาหารอย่างแน่นอน.


http://www.manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000019687
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/12/2011 9:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,403. นาโนสยบน้ำเน่า

โดย : กานต์ดา บุญเถื่อน





นักนาโนเทคโนโลยีทราบดีว่านาโนซิงค์ออกไซด์ที่ผสมในโลชั่นกันแดด เครื่องสำอาง ครีมแต้มหัวสิว สีทาบ้านทำความสะอาดตัวเอง

นักนาโนเทคโนโลยีทราบดีว่านาโนซิงค์ออกไซด์ที่ผสมในโลชั่นกันแดด เครื่องสำอาง ครีมแต้มหัวสิว สีทาบ้านทำความสะอาดตัวเอง
มีจุดเด่นในการยับยั้งการแบ่งเซลล์และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงระงับกลิ่นไม่พึงประสงค์ จึงเป็นที่มาของอีกทางเลือกในการบำบัดน้ำ
ท่วมขัง ซึ่งทั้งเหม็นและอุดมด้วยเชื้อโรค


จากเหตุการณ์น้ำท่วมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ตั้ง "ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
พระจอมเกล้าลาดกระบัง" พร้อมทั้งรับโจทย์วิจัยจากสำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ศึกษาหาวิธีบำบัดน้ำเสียจากน้ำ
ท่วมขัง เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประสบภัยนำไปใช้หลังน้ำลด


หลังจากได้โจทย์จากสำนักงานเขตลาดกระบังงานวิจัยตัวแรกที่ "รศ.จิติ หนูแก้ว" คณบดีวิทยาลัยนาโนพระจอมเกล้าลาดกระบัง สจล.
นึกถึงและหยิบมาปัดฝุ่นใช้งานโดยด่วนคือ อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์หรือคาลาไมน์ ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและลดกลิ่นเหม็น
ว่าจะใช้ได้ผลกับการบำบัดกลิ่นและฆ่าเชื้อแบคทีเรียในน้ำท่วมขังหรือไม่

ซิงค์ออกไซด์มีลักษณะเป็นผงสีขาว เป็นสารที่ใช้ยับยั้งแบคทีเรีย ไม่เป็นอันตรายต่อคน โดยซิงค์ออกไซด์ในรูปที่คนทั่วไปรู้จัก คือ
"คาลาไมน์" (ผดผื่นคัน) ส่วนซิงค์ออกไซด์นาโน ก็คือซิงค์ออกไซด์ที่ถูกทำให้เล็กลงอยู่ในระดับอนุภาคนาโนเมตร และใช้เป็นส่วน
ผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่เครื่องสำอาง ยาจนถึงเซรามิค


เรียนรู้จากของจริง
ทีมวิจัยทดสอบเติมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในพื้นที่น้ำท่วมขังเช่น ชุมชนวัดทิพพาวาส และซอยฉลองกรุง 59 โดยปริมาตรน้ำ 10
ลิตรต่ออนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ 10 กรัมต่อขนาดพื้นที่น้ำ 30 ตารางวา ระดับความลึก 30-40 เซนติเมตร พบว่าภายในคืนเดียว
น้ำที่ได้รับการเติมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์มีกลิ่นเน่าเหม็นลดลง

"ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการศึกษาด้านความเป็นพิษในระดับแล็บ เพื่อทำเป็นรายงานการวิจัยเพิ่มเติม" รศ.จิติ กล่าว

นอกจากแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นของน้ำท่วมขังในพื้นที่ลาดกระบังแล้วทีมวิจัยยังมีโอกาสส่งอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ไปช่วยโรงงานแห่งหนึ่ง
ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีน้ำท่วมขังประมาณ 1 เมตร เพื่อแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเช่นกัน ผลที่ได้พบว่าสามารถใช้บำบัดน้ำท่วมขังให้มี
กลิ่นเหม็นลดลงได้ดีเช่นกัน

"การศึกษาครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์ ชีวะและวิศวกรรมเคมี ของ สจล. เป้าหมายเพื่อให้ได้งานวิจัยใช้ได้
จริงและไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม"

อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ดังกล่าวเหมาะนำไปใช้บำบัดน้ำท่วมขังแบบน้ำนิ่ง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดตามคุณสมบัติของซิงค์ออกไซด์
นอกจากการบำบัดแล้ว ทีมวิจัยยังนำจมูกอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ทดสอบกลิ่นหลังการบำบัดอีกด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการวิจัยและเก็บข้อมูล
อย่างต่อเนื่อง


เริ่มจากฟาร์มกุ้งโกหมู
การศึกษาประสิทธิภาพของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์บำบัดน้ำของวิทยาลัยนาโนพระจอมเกล้าลาดกระบัง เกิดขึ้นเมื่อปี 2553 ในการ
บำบัดน้ำบ่อเลี้ยงกุ้ง ร่วมกับฟาร์มเลี้ยงกุ้งโกหมู ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

ทีมวิจัยผสมอนุภาคนาโนฯกับน้ำในอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับล้างบ่อกุ้งขาว ยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ตกค้างหลังการล้างบ่อ
ซึ่งเป็นสาเหตุโรคกุ้งและทำให้ผลผลิตแต่ละรอบจาก 100% เหลือเพียง 50%

ผลการศึกษาประสิทธิภาพของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์สำหรับบ่อกุ้งขาวของโกหมูพบว่า สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กุ้งได้เป็น
80-90% เนื่องจากฤทธิ์ของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในกุ้ง

นักวิจัยกล่าวต่อว่า จากความสำเร็จในการศึกษาวิจัยเรื่องประสิทธิภาพของอนุภาคนาโนฯในบ่อกุ้ง เป็นที่มาของการแก้ปัญหาน้ำเน่าจากน้ำท่วม
ในครั้งนี้ โดยหวังว่าจะเป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้กับครัวเรือนที่ประสบอุทกภัย นอกจากหลากหลายวิธีบำบัดน้ำท่วมขังที่ใช้กัน

อ้างอิงผลวิจัย
ทั้งนี้ นอกจากการศึกษาเรื่องอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์แล้วทีมวิจัยยังนำอีเอ็มที่แต่ละหน่วยงานส่งมอบไปให้ยังพื้นที่ลาดกระบังมาศึกษา
วิจัยในห้องปฏิบัติการ เพื่อหาคำตอบว่าอีเอ็มแต่ละตัวเหมาะกับการใช้งานรูปแบบไหน มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ก่อนที่จะกระจาย
ให้ประชาชนได้นำไปใช้งานอย่างถูกวิธี

"หลังได้ผลการวิจัยในแล็บสำหรับอีเอ็มและนาโนซิงค์ออกไซด์ ทีมวิจัยจะนำเสนอรัฐบาลในรูปแบบรายงานแนวทางการแก้ปัญหาที่ สจล.
ใช้ฟื้นฟูพื้นที่น้ำท่วมในเขตลาดกระบัง รวมถึงวางแผนจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน" คณบดี
วิทยาลัยนาโนพระจอมเกล้าลาดกระบัง กล่าว


http://www.bangkokbiznews.com


http://www.zincinfothailand.com


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:35 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/12/2011 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,404. ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร ครองแชมป์ งานวิจัยเด่น วว. 54




ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมิวซาสิด (Musacid)จากกล้วยและขิง ป้องกันแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง หนึ่งในงานวิจันเด่น วว. ปี 2554


นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวถึงการสรุปผลงานวิจัยเด่นของ
วว. ประจำปี 2554 ว่า กระแสความใส่ใจสุขภาพ รวมถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงโ๕รงสร้างประชากรที่ทำให้ผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนขึ้น
งานวิจัยจึงเน้นตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยมุ่งไปที่การวิจัยและพัฒนาด้านอาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
และอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ส่งเสริมด้านสุขภาพเป็นหลัก

"ตลอดปี 2554 เรามีงานวิจัยจำนวนมาก แต่สำหรับการคัดเลือกผลงานเด่น จะมองถึงงานวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยี นวัตกรรม
และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพทัดเทียมต่างประเทศ ลดการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าผลผลิตภายในประเทศ ที่สำคัญคือ เพิ่มศักยภาพใน
การแข่งขัน เสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ" ผู้ว่าการ วว. กล่าว ก่อนชี้ว่า 9 ผลงานเด่นของ วว. ในปีนี้
แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร 3 ผลงานคือ เครื่องบำบัดสารเคมีการเกษตรโดยใช้จุลินทรีนย์ ที่จะแก้ปัญหาสารปนเปื้อนในสินค้า
เกษตร, การเพิ่มผลผลิตเห็ดนางฟ้าภูฐานโดยใช้กากอ้อยโรงงาน, และการเพิ่มผลผลิตผักกาดหอมใบด้วยหลอดไดโอดเปล่งแสง

ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 5 ผลงานคือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเส้นใยผลไม้ ไขมันต่ำ ลดคลอเรสเตอรรอล เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหลาย
ด้าน, ไพลเจอร์สิก ประยุกต์ไพลเป็นผลิตภัณฑ์บรรเทาข้ออักเสบ, ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยจากสารสกัดธรรมชาติเห็ดนางรมทองและนางรมดอย,
เวชสำอางจากบอระเพ็ดพุงช้าง สำหรับสิวและช่องปากและแกงผักหวานป่าสำเร็จรูป

พลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม 2 ผลงานคือ งานวิจันคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายน้ำมันด้วยเทคนิคการย้อมสีแห่งแรกของไทย และโรงงาน
ต้นแบบผลิตไบโอดีเซลต่อเนื่องคุณภาพสูงแห่งแรกของไทย

"สิ่งที่น่าสนใจคือ งานวิจัยหลายชิ้นมีความน่าสนใจและเข้มแข็งพอที่จะลงแข่งในตลาด จนภาคเอกชนให้ความสนใจขอถ่ายทอดเทคโนโลยี"
นางเกษมศรีชี้

แกงผักหวานป่าสำเร็จรูปเป็นผลงานวิจัยของสถานีวิจัยลำตะคอง วว. ที่บริษัท เลิศธรรม ดิเว็ลลัพเม้นท จำกัดสนใจและขอรับถ่ายทอด
เทคโนโลยีระยะเวลา 3 ปีในการผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ โดยเป็นการอบแห้งยอดและใบอ่อนผักหวานป่าที่รสชาติดี แต่หากิน
ยากและราคาแพง ผสมกับการอบแห้งส่วนผสมอื่นทั้งมะเขือเทศ ปลาแห้งและพริกแกง โดยไม่มีผลต่อรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ
ของผักหวานที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งคาดว่าจะผลิตและจำหน่ายภายใน 3 เดือน

นอกจากนี้ บริษัท โรงงานเภสัชกรรม เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัดก็ให้ความสนใจงานวิจัยด้านสมุนไพรไทย และรับถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิต
ภัณฑ์ไพลเจอร์สิก สารสกัดไพลและขิง บรรเทาอาการอักเสบของข้อจากข้อเสื่อมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมิวซาสิด (Musacid) ซึ่งเป็น
สมุนไพรรวมจากกล้วยและขิง ช่วยป้องกันแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง โดยมีระยะเวลาถ่ายทอดเทคโนโลยี 5 ปี ซึ่งทางเกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า
จะใช้เวลา 1 ปีเพื่อเตรียมผลิตและยื่นขอขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา คาดว่าจะพร้อมจำหน่ายในช่วงปลายปี 2555

นอกจากผลงานวิจัยที่โดดเด่น ผู้ว่าการ วว. ชี้ว่า ทางสถาบันฯ ยังมีงานบริการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความร่วมมือทางวิชาการ
กับทั้งภาคการศึกษาและภาคเอกชน รวมถึงความร่วมมือระดับนานาชาติ มีสิทธิบัตร 40 เรื่อง อนุสิทธิบัตร 5 เรื่อง และยังมีการถ่ายทอด
เทคโนโลยีวิจัยสู่สังคมและเชิงพาณิชย์

"ถึงแม้ภาวะน้ำท่วมที่เราเผชิญจะทำให้อุปกรณ์เครื่องมือวิจัยขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้เสียหายกว่า 10 ล้านบาท ทำให้การวิจัย
บางส่วนชะงัก แต่เราก็จะพยายามเร่งซ่อมแซมและฟื้นฟู เพื่อให้การวิจัยและพัฒนาสามารถเดินหน้า และสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
และประเทศชาติอย่างไม่หยุดนิ่ง" นางเกษมศรีทิ้งท้าย


http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/425682
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/12/2011 9:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,405. นักวิชาการชู 'ปูนขาว' ดับกลิ่น เห็นผลเร็วกว่าจุลินทรีย์ อีเอ็ม

โดย : สาลินีย์ ทับพิลา





นักวิชาการเชียงใหม่แนะเทคนิคบำบัดน้ำเสียจากน้ำท่วมขัง เริ่มจากกำหนดอาณาเขตและค้นหาสาเหตุ ก่อนลงมือบำบัด
ระบุกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลสามารถแก้ปัญหาได้เกือบครึ่ง ส่วนกลิ่นเหม็นแก้ด้วย "ปูนขาว" ทดสอบเห็นผลเร็วกว่าจุลินทรีย์
อีเอ็ม ด้าน ม.ขอนแก่นอิงประสบการณ์แก้น้ำท่วมขังจากเขื่อนระบายน้ำเกินชู 3 เทคนิค "คลอรีน เครื่องเติมอากาศ จุลินทรีย์"

ผศ.ปฏิรูป ผลจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า พื้นที่
น้ำท่วมขังภาคกลางซึ่งคาดว่าจะมีพื้นที่น้ำเสียประมาณ 50% ของพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด ถือเป็นน้ำเสียแบบไม่รู้ที่มาชัดเจน เพราะ
มวลน้ำไหลมาเป็นระยะทางไหล พร้อมกวาดเศษซากนานาชนิดติดมาด้วย วิธีการบำบัดจึงต้องพิจารณาแบ่งเป็นโซนเพื่อดูสาเหตุ
ของน้ำเสียและลงมือบำบัดด้วยวิธีที่เหมาะสม

ยกตัวอย่างที่พักอาศัยในเขตดอนเมือง มีน้ำท่วมขัง 3-4 สัปดาห์ เริ่มเน่าและส่งกลิ่น จะต้องหาสาเหตุความเน่าเสีย ซึ่งพบว่าเป็น
สารอินทรีย์ที่ไหลมาพร้อมน้ำและท่วมขังอยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ซากพืช ซากสัตว์ สิ่งปฏิกูลจากบ่อเกรอะที่ไหลออกมาพร้อมน้ำท่วม
ขยะที่ทิ้งลงน้ำ รวมถึงพฤติกรรมส่วนตัว เช่น การปัสสาวะหรืออุจจาระลงในน้ำ

การแก้ไขเบื้องต้นควรจะเริ่มจากการลดสารอินทรีย์ในน้ำ ด้วยการขับถ่ายของเสียลงในห้องน้ำฉุกเฉินหรือถุงพลาสติก และลดการทิ้ง
ขยะลงน้ำ

ส่วนปัญหากลิ่นรบกวน ซึ่งเกิดจากออกซิเจนในน้ำหมด แต่กระบวนการย่อยสลายยังเกิดขึ้นโดยจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการ
ย่อย จึงเกิดเป็นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่า จึงต้องปรับค่าพีเอชหรือค่าความเป็นกรดด่างของน้ำเพื่อแก้ปัญหากลิ่น เมื่อค่า
พีเอช ของน้ำสูงขึ้นเป็น 8-8.5 จากค่ากลางที่ 7 ก๊าซไข่เน่าจะเปลี่ยนสถานะไปเป็นสารละลายในน้ำ ด้วยการเติมสารให้สภาพด่าง เช่น
ปูนขาว โซดาไฟ หากค่า พีเอช สูงขึ้นที่ระดับ 9-10 ก็จะมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การเติมปูนขาวในน้ำท่วมขัง เพื่อปรับค่า พีเอช ลดกลิ่น ยังไม่มีการกำหนดอัตราส่วนที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับพื้นที่และ
ปริมาณน้ำ และเมื่อกลิ่นเหม็นกลับมาอีกครั้ง ก็สามารถเติมปูนขาวเพิ่มได้อีก ปูนขาวเห็นผลในแง่การลดกลิ่นได้ดีกว่าจุลินทรีย์ อีเอ็ม
เพราะกระบวนการทางเคมีของปูนขาวจะให้ผลไวกว่ากระบวนการทางชีวภาพของจุลินทรีย์

ผศ.ปฏิรูป กล่าวอีกว่า การบำบัดน้ำเสียในระดับที่ใหญ่ขึ้น กล่าวว่า ปกติแต่ละจังหวัดจะมีท่อระบายน้ำจากครัวเรือนและน้ำฝนพุ่งตรง
สู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง จึงต้องดูว่าระบบได้รับความเสียหายจากอุทกภัยหรือไม่ และยังทำหน้าที่ได้ตามปกติหรือไม่

"แนวทางการบำบัดน้ำเสียของภาครัฐ ที่เร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลเพื่อให้น้ำเน่าเสียไหลลงไปเจือจางในน้ำปริมาณมหาศาล หรือการ
เร่งเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนในน้ำด้วยเครื่องเติมอากาศ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่สำหรับจุลินทรีย์ อีเอ็ม จะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
และรอบคอบ ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับเราเติมตัวบำบัดน้ำเสีย พร้อมกับตัวที่เป็นสาเหตุของน้ำเน่าลงไปด้วย" นักวิชาการเชียงใหม่ กล่าว

ด้านนายชัชชาย แจ่มใส อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กล่าวว่า จากการวิจัยและประสบการณ์บำบัดน้ำท่วมขังจากการระบายน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ที่มีมากเกินกว่าความสามารถกักเก็บ
ของเขื่อน พบว่าวิธีการบำบัดเบื้องต้นจะต้องพิจารณาระดับน้ำเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับคือ พื้นที่น้ำเฉอะแฉะ น้ำตื้น 10-30
เซนติเมตร และน้ำลึกมากกว่า 30 เซนติเมตร

พื้นที่น้ำเฉอะแฉะให้โรยผงคลอรีนฆ่าเชื้อโรคที่เกิดจากการขังของน้ำ พื้นที่น้ำตื้นให้ใช้เครื่องเติมออกซิเจนขนาดเล็ก ส่วนที่ระดับ
น้ำลึกให้ใช้วิธีทางชีวภาพ เช่น จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเก็บแบคทีเรียในแหล่งน้ำนั้นๆ มาเลี้ยงเพิ่มจำนวน
ในห้องปฏิบัติการ แล้วนำกลับไปเทลงไปในแหล่งน้ำเหมือนเดิม เพื่อเร่งให้เกิดกระบวนการตกตะกอนของสารอินทรีย์ในแหล่ง
น้ำ โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีใดๆ



http://www.bangkokbiznews.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:32 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/12/2011 10:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,406. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ
(Natural ways for Soil Improvement)






ดิน ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกนั้น จะต้องประกอบด้วยสมบัติ 3 ประการ คือ
1. สมบัติทางเคมี คือ ดินต้องมีความสมดุล ของแร่ธาตุอาหารพืช ซึ่งประกอบด้วย

ธาตุอาหารพืชหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซี่ยม
ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
ธาตุอาหารเสริมประกอบด้วย เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม แมงกานีส และ คลอรีน และ

มีปฏิกิริยา ของดิน ที่เป็นกลาง คือดินต้องไม่เป็นกรดเป็นด่างหรือมีความเค็มจนเกินไป

2. สมบัติทางกายภาพ คือ ดินต้องมีความสมดุล ของอากาศ และ น้ำ กล่าวคือ ดินต้องมีโครงสร้างที่ดี มีการร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี
มีความสามารถ ในการอุ้มน้ำได้ดี เม็ดดินเกาะกัน อย่างหลวมๆ เพื่อช่วยให้รากพืชสามารถแผ่ขยาย และ ชอนไชไปหาแร่ธาตุอาหารพืช
ได้ง่าย ในระยะที่กว้าง และ ไกล เป็นดิน ที่อ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง

3. สมบัติทางชีวภาพ คือ เป็นดิน ที่มีความสมดุล ของจุลินทรีย์ กล่าวคือ เป็นดิน ที่มีจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่มีชีวิตเล็กๆ ในดิน ที่เป็นประโยชน์
ในปริมาณมาก ซึ่งสามารถควบคุมจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่มีชีวิตเล็กๆ ในดิน ที่เป็นโทษ แก่พืชได้เป็น อย่างดี และ จุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์
ในดิน สามารถสร้างกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ แก่พืชได้ดี เช่น สามารถย่อยแร่ธาตุ ในดิน ที่ยังไม่เป็นประโยชน์ แก่พืช หรือ
ให้ประโยชน์น้อยให้เป็นประโยชน์ แก่พืช และ เพิ่มปริมาณ ที่มากขึ้น ตรึงธาตุอาหารพืชจากอากาศให้เป็นประโยชน์ แก่พืช สร้างสารปฏิชีวนะ
ปราบโรค และ ศัตรูพืช ในดินได้ เสริมสร้างพลังให้ แก่พืช และ ทำลายสารพิษ ในดินได้

ดิน ที่มีปัญหา
ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูกทั่วไป ของประเทศไทยส่วนใหญ่ มักจะขาด ความอุดม
สมบูรณ์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โครงสร้าง ของดินไม่ดี
แน่นทึบ ไม่อุ้มน้ำ มีจุลินทรีย์ ในดินน้อย เนื่องจากสภาพ ที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากได้ใช้ดิน เพื่อการเพาะปลูก อย่าง ต่อเนื่อง โดย
ขาดการปรับปรุง และบำรุงรักษา การทำการเกษตรกรรมที่ไม่เหมาะสม ใช้ที่ดินผิดประเภท ตลอดจนแหล่งกำเนิด ของดินเอง เช่น ดินทราย
ดินลูกรัง ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินด่าง เป็นต้น ทำให้ขาดความสมดุล ในด้านสมบัติทางเคมี กายภาพ และ ชีวภาพ จำเป็นต้องทำการปรับปรุง และ
หาทางแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ เพื่อการเพาะปลูก ต่อไป ต่อไปนี้ขอแนะนำให้ท่านทราบถึงดินที่มีปัญหาชนิดต่างๆ ในประเทศไทย
ซึ่งต้องหาทางปรับปรุงให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจากการสำรวจ ของกรมพัฒนา ที่ดินพบว่า ทรัพยากรดิน ของประเทศไทย มีปัญหาด้าน
กายภาพหรือด้านคุณภาพ ซึ่งจำแนกได้ดังต่อไปนี้



1. ปัญหาความอุดมสมบูรณ์ ของดินต่ำ และ เสื่อมลง จากรายงานการสำรวจ และ จำแนกชนิดดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน ที่ดำเนินการ ในจังหวัด
ต่างๆ ของประเทศไทยพบว่า ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยธรรมชาติ

ทั้งนี้เนื่องจาก ประเทศตั้งอยู่ ในเขตศูนย์สูตร อุณหภูมิสูง และ มีปริมาณฝนตกมาก การสลายตัว ของหินแร่ ที่เป็นวัตถุต้นกำเนิด ของดินเป็นไป
อย่างรวดเร็ว และ มีการชะล้างแร่ธาตุอาหารพืช ออกไปจากดิน ในอัตรสูง ในช่วง ฤดูฝน ถูกพัดพาไป กับน้ำ ที่ไหลลงสู่ ที่ต่ำ ได้ แก่ แม่น้ำลำ
คลอง และ ลงสู่ทะเล ในที่สุดจากการสลายตัว ของหินแร่ ในดินดำเนินไป อย่างมาก และ รวดเร็วนี้เอง ทำให้ดิน ในประเทศไทย ส่วนใหญ่
ประกอบไปด้วย แร่ดินเหนียว เคโอลิไนท์ (Kaolinite) แร่เหล็ก และ อลูมินัมออกไซด์ (hydrous oxide clay) ซึ่งแร่ดินเหนียว พวก
นี้มีบทบาท ในการดูดซับแร่ธาตุอาหาร และ การเปลี่ยนประจุบวกต่ำ (low activity clay) จึงทำให้ความอุดมสมบูรณ์ ของดินตาม
ธรรมชาติต่ำด้วย

2. ดินที่มีปัญหาพิเศษ (problem soils) จากการสำรวจ และ ทำแผนที่ดินของ กรมพัฒนาที่ดินพบว่ามีดินบางชนิดที่มีสมบัติทางกายภาพ
และ ทางเคมี เป็นอุปสรรคหรือข้อกำจัด ในการใช้ประโยชน์ ในการเกษตร โดยเฉพาะการเพาะปลูกพืช จำเป็นต้องมีการพัฒนาหรือปรับ
ปรุงแก้ไข เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต ของดินเหล่านั้น ดินที่มีปัญหาพิเศษที่กล่าวนี้ พอแยกออกได้ตามสภาพ ของปัญหาหรือข้อจำกัด
ดังต่อไปนี้

2.1 ดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดกำมะถัน (acid sulphate soils) เป็นดินที่มีค่า ของความเป็นกรด (pH) ต่ำกว่า 4.0 ตั้ง แต่ชั้นถัดจาก
ผิวดินลงไป (sud surface) และ ในชั้นที่มี สารสีเหลือง ฟางข้าว เกิดขึ้น (jarosite) ค่า ของ PH อาจลงต่ำถึง 3.5 หรือต่ำกว่า
ถ้าในกรณี เช่น นี้ดินไม่สามารถปลูกพืชอะไรขึ้นแม้ แต่ข้าว จึงมักถูกทอดทิ้งให้เป็น ที่ว่างเปล่า มีหญ้าขึ้นปกคลุม การที่ไม่สามารถปลูกข้าว
หรือพืช อย่างอื่นก็เนื่องจาก มีสารพวกเหล็ก และ อะลูมินัมละลาย ออกมาเป็น
พิษ ต่อพืช และ ยังทำให้ธาตุ ที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบ
โต ของพืชบาง อย่างไม่ละลายมาเป็นประโยชน์ ต่อพืชด้วย โดยเฉพาะ ธาตุฟอสฟอรัส จะถูกตรึงไว้ (fixation) และ อยู่ในรูป ที่
ไม่เป็นประโยชน์ ต่อพืช ดังนั้น จึงถือว่าเป็นดิน ที่มีปัญหาพิเศษ ที่จะต้องปรับปรุง และ แก้ไขให้เกิดประโยชน์ ในการใช้เพาะปลูกได้

ดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดกำมะถันทีกล่าว พบมีเนื้อที่ประมาณ 9.0 ล้านไร่ หรือร้อยละ 2.81 ของพื้นที่ประเทศ พบมาก ในที่ราบภาคกลาง
ตอนใต้ ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ พบกระจัดกระจาย บริเวณชายฝั่งทะเล ในสภาพพื้นที่ ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน

2.2 ดินเค็ม (saline and sodic soils) เป็นดิน ที่มีเกลือที่ละลายน้ำได้เป็นองค์ประกอบอยู่สูงจนเป็นอันตราย ต่อพืชที่ปลูก ดินเค็ม
ที่พบในประเทศไทยพบมากที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 17 ล้านไร่ หรือร้อยละ 5.5 ของพื้นที่ทั้งประเทศ นอกจาก
นี้ยังพบดินเค็มบริเวณชายฝั่งทะเล (coastal saline soils) มีเนื้อที่รวมกันแล้วประมาณ 3 ล้านไร่ รวม กับดินเค็มในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ มีเนื้อที่ถึง 20 ล้านไร่ ซึ่งดินเค็ม ที่กล่าวนี้ มีศักยภาพ ในการให้ผลผลิตพืช ที่ปลูกต่ำ บางแห่งไม่สามารถปลูกพืชได้เลย โดย
เฉพาะบริเวณดินเค็ม ที่กล่าว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีคราบเกลือ (salt crusts) ปรากฏ ขึ้น ที่ผิวดิน ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งแสดง
ว่าดินเค็มจัด ส่วนดินเค็มชายทะเลมีใช้ประโยชน์ ในการทำนาเกลือ ปลูกผลไม้ โดยการยกร่องเป็นต้นว่า มะพร้าว และยังคงสภาพป่าชาย
เลนปกคลุมอยู่ นอกจากนี้ บางพื้นที่ใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น กุ้ง หอย ปู และ ปลา เป็นต้น

2.3 ดินทรายจัด (sandy soils) ที่พบ ในประเทศไทย พอแบ่งออกได้เป็น 2ประเภท คือ ดินทรายธรรมดา ที่มีเนื้อที่เป็นทรายจัด
ลงไปลึก และ ดินทราย ที่มีชั้นดานจับตัวกันแข็ง โดยเหล็ก และ ฮัวมัส เป็นตัวเชื่อม เกิดขึ้นภาย ในความลึก 2 เมตร แต่ส่วนใหญ่
เกิดขึ้นต่ำกว่า 1 เมตร จากผิวดินบน ดินทรายทั้ง 2 ประเภทนี้ มีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติต่ำ และ มีความสามารถ ในการอุ้มน้ำ
ต่ำด้วย นอกจากนี้ดินทราย ที่มีชั้นดินดานแข็ง เมื่อน้ำไหลซึมลงไปจะไปแช่ขังอยู่ เพราะชั้นดินดาน ที่กล่าวน้ำซึมผ่านได้ยาก ทำให้
เกิดสภาพน้ำขัง รากพืชขาดอากาศ ทำให้ต้นพืช ที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโต

ในสภาพปัจจุบัน ดินทราย จัดมีศักยภาพ ในการผลิตต่ำ และ จำกัด ในการเลือกชนิด ของพืช ที่จะนำมาปลูก โดนเฉพาะดินทรายจัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ ในช่วงฤดูแล้งจะแห้งจัด และ ในช่วงที่ทิ้งช่วง ในฤดูฝน ก็จะแห้งเร็ว เช่น เดียวกัน สำหรับดิน
ทรายจัด ที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลนั้นมักมีความชื้นสูงกว่า และ สามารถปลูกไม้ผลบางชนิดให้ผลอยู่ ในเกณฑ์พอใช้ หรือค่อนข้างดี ใน
บางพื้นที่ โดยเฉพาะใช้ปลูกมะพร้าว แต่ อย่างไรก็ตาม ดินทรายจัดก็ยังนับว่าเป็นดิน ที่มีปัญหาพิเศษต้องทำการปรับปรุงแก้ไข เป็นต้น
ว่าด้านความอุดมสมบูรณ์ ความ
สามารถ ในการอุ้มน้ำ ของดิน และ การเลือกชนิด ของพืช ที่จะนำมาปลูก

2.4 ดินปนกรวด (skeletal soils) เป็นดิน ที่มีชั้นลูกรัง (laterite or iron stone) เศษหิน (rock fragment) กรวดกลม
(cobble) และ เศษหินอื่นๆ เกิดขึ้น ในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดินบน และในชั้น ที่มีดินปนกรวดนั้น จะประกอบไปด้วยกรวด
และ เศษหินต่างๆ ที่มีขนาด 2 มิลลิเมตร อยู่มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตรชั้นกรวดหินนี้จะเป็นอุปสรรค ต่อการชอนไช ของ
รากพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ดิน ที่มีชั้นกรวดหินอยู่มักเป็นดิน ที่ขาดความชุ่มชื้น ในดินได้ง่าย และ ปัญหาอีก
อย่างหนึ่งก็คือมีข้อจำกัด ในการเลือกชนิด ของพืชมาปลูกถ้านำมาใช้ปลูกพืชบางชนิด โดยเฉพาะไม้ยืนต้น ต้องจัดการเป็นพิเศษ
ในการเตรียมหลุมปลูก

ดินปนกรวด ที่พบ ในประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 52 ล้านไร่ หรือร้อยละ 16.3 ของพื้นที่ทั้งประเทศพบมาก ในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ และ ภาคเหนือ ปัจจุบันยังใช้ประโยชน์ ในการเพาะปลูกน้อยปกคลุมด้วยป่าแดงโปร่ง การที่ใช้ประโยชน์น้อยก็เนื่องจากพื้นที่
ส่วนใหญ่มีชั้นลูกรัง และ เศษหินอยู่ตื้น บางแห่งพบ ที่ผิวดินบน เป็นดิน ที่มีศักยภาพ ในการเกตรต่ำ ควรพัฒนาเป็นทุ่งหญ้า
เลี้ยงสัตว์ ซึ่งนับเป็นการใช้ประโยชน์ ที่เหมาะสม ที่สุด สำหรับดินประเภทนี้

2.5 ดินบริเวณพื้นที่พรุ หรือ ดินอินทรีย์ (organic soils) เป็นดิน ที่เกิด ในที่ลุ่มต่ำ (lagoon) มีน้ำเค็ม และ น้ำกร่อยจากทะเลเข้า
ท่วมถึง มีชั้นเศษพืชหรือชั้นอินทรียสาร ที่สลายตัวดีแล้วและกำลังสลายตัวสะสมกันเป็นชั้นหนตั้ง แต่ 50 เซนติเมตร ถึง 3 เมตร หรือ
หนากว่า เป็นดิน ที่มีศักยภาพเป็นกรดจัด (potential acidity) มีสภาพไม่อยู่ตัวขึ้นอยู่ กับระดับน้ำใต้ชั้นอินทรีย์สาร และ เป็นดินที่
ขาดธาตุอาหาร ที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโต ของพืชค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากข้อจำกัด ที่กล่าวนี้เองดินอินทรีย์ จึงนับว่าเป็นดิน ที่มี
ปัญหาพิเศษการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขค่อนข้างยาก และ ลงทุนสูง เมื่อเปรียบ กับดิน ที่มีปัญหา อย่างอื่น

ดินอินทรีย์ ที่พบมาก ในภาคใต้มีพื้นที่รวมกันประมาณ 5 แสนไร่ แต่ที่พบมาก และ เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ ได้ แก่ จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อ
ที่ประมาณ 4 แสนไร่ การใช้ประโยชน์มีน้อย จะใช้ ในการปลูกข้าวบริเวณริมๆ ขอบพรุเท่านั้น ส่วนใหญ่ ในจังหวัดอื่นๆ ของภาคใต้ และ
ภาคตะวันออกพบบ้างเป็นพื้นที่เล็กๆ และ กระจัดกระจายอยู่ ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล

2.6 ดินเหมืองแร่ร้าง (Tin – mined tailing lands) ถึงแม้จะพบเป็นเนื้อที่ไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบ กับดิน ที่มีปัญหาพิเศษ
ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนใหญ่พบ ในภาคใต้ โดยเฉพาะ ในจังหวัดพังงา ภูเก็ต และระนอง มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 159,000 ไร่ นอก
จากนี้ยังพบ ในภาคตะวันออก และ ภาคเหนือ ที่มีการทำเหมืองแร่ แต่ยังไม่ได้ทำการสำรวจหาพื้นที่ว่ามีปริมาณเท่าไร แ ต่ อย่างไร
ก็ตาม ดินเหมืองแร่ ่ร้างนับว่าเป็นดิน ที่มีปัญหา ต่อการใช้ทางการเกษตรเป็นอย่างมาก การปรับปรุงแก้ไขหรือการพัฒนาพื้นที่ และ
ดินเสื่อมคุณภาพลง อย่างมาก พื้นที่เป็น ที่ราบขรุขระสูงๆ ต่ำๆ เนื้อดินมีหิน ทราย และ กรวดปนอยู่มาก และ มักแยกกันเป็นส่วน
ของเนื้อดินหยาบปนกรวดทรายส่วนหนึ่ง และ เนื้อดินละเอียดจะไปรวมอยู่กัน ในที่ต่ำ (slime area) พวกแร่ธาตุอาหารพืชถูกชะ
ล้างออกไป ในระหว่างขั้นตอนการทำเหมืองแร่ ฉะนั้นความอุดมสมบูรณ์ของดินเหมืองแร่ร้าง จึงต่ำมาก การปรับปรุงดินเหมืองแร่
ร้างต้องคำนึงทั้งการปรับระดับพื้นที่ สมบัติทั้งด้านกายภาพ และ เคมี รวมทั้งการเลือกชนิด ของพืชมาปลูกให้เหมาะสมด้วย

3. ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน (soil erosion) ที่ทำให้ดิน เสื่อมโทรม นับว่าเป็นปัญหาสำคัญ อย่างหนึ่ง ในประเทศ และ
จำเป็นต้องมีการป้องกัน และ แก้ไข เพื่อรักษาคุณภาพ ของดินให้เหมาะสม และ ใช้ประโยชน์ ในระยะเวลายาวนาน การชะล้างพังทลาย
ของดิน ในประเทศไทยเกิดขึ้น ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การชะล้างพังทลาย ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (egologic erosion) เนื่องจาก
ประเทศไทยตั้งอยู่ศูนย์สูตร และ มีปริมาณฝนตกมาก ดินบริเวณ ที่ลาดเทจะถูกน้ำฝนกัดกร่อนชะล้างออกไปสู่ ที่ต่ำ เมื่อน้ำฝน ไหลบ่า
บนผิวดิน (run off) ในขณะฝนตก และ หลังฝนตกเกิดขึ้น ตามธรรมชาติ จะเกิดขึ้นมากบริเวณ ที่เป็นภูเขามีความลาดเท ของพื้นที่สูง
และ มีป่าไม้ คลุมไม่หนาแน่น ถ้าเป็นบริเวณ ที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น การชะล้างพังทลาย ในขณะนี้มัก
ไม่เกิดหรือเกิดขึ้นน้อยมาก แ ต่ อย่างไร ก็ตาม การชะล้างพังทลายแบบเกิดขึ้น ตามธรรมชาติจะน้อยขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลาย อย่าง
เช่น ชนิดหรือลักษณะ ของดิน ความลาดเท ของพื้นที่ ความหนาแน่นของพืชพรรณ ที่ขึ้นปกคลุม และ ปริมาณฝน ที่ตกลง สำหรับการชะ
ล้างพังทลาย อีกลักษณะหนึ่งนั้น เกิดขึ้นจากการกระทำ ของมนุษย์ หรือมนุษย์เป็นตัวเร่ง ให้เกิดหรือมากขึ้น (accelerated erosion
หรือ manmade erosion)

การชะล้างพังทลาย ในลักษณะนี้นับว่าเกิดขึ้นมาก และ รุนแรง ในประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ดินดอน ที่มีความลาดเทตั้ง แต่ 5
เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ที่ใช้ ในการเพาะปลูก โดยไม่มีการอนุรักษ์ดิน และ น้ำ ที่เหมาะสม และ จะมีความรุนแรงมากขึ้น ในบริเวณบนพื้นที่
ภูเขาที่เปิดป่าทำการเพาะปลูก หรือบริเวณ ที่ทำไร่เลื่อนลอย

ปัญหาการชะล้างพังทลาย ของดิน ในประเทศไทย นับว่าเป็นปัญหารุนแรง ที่ทำให้ทรัพยากรดิน และ ที่ดินเสื่อมโทรมทั้งสมบัติทางด้าน
กายภาพ และ เคมี นอกจาก นี้ยังก่อให้เกิดความเสื่อมโทรม ทางด้านสภาพ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เป็นต้นว่า ก่อให้เกิดสภาพความแห้ง
แล้ง ของดิน แม่น้ำ ลำคลองธรรมชาติ และ แหล่งน้ำ ที่พัฒนาขึ้นมา ตื้นเขิน อันเนื่องจากตะกอนดินถูกชะล้างลงมาตกตะกอน ในแหล่ง
น้ำ ที่กล่าว ทำให้อายุการใช้งาน ของแหล่งน้ำสั้นลง บางครั้งตะกอนดิน ที่ถูกชะล้างลงสู่ ที่ราบต่ำอาจทับถมทำให้พื้นที่การเกษตร และ พืช
ที่ปลูกเสียหาย ต้องมีการลงทุน เพื่อปรับปรุงแก้ไขไม่ใช่น้อย

แนวทางการปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ
ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูก ที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นดิน ที่เสื่อมค่า ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินทราย ดินกรวด
ดินลูกรัง ดนเหมืองแร่ ดินพรุ ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดิน ที่มีหน้าดินถูกชะล้าง ดินเหล่านี้ สามารถปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ใช้ ในการเพาะปลูก
ได้ การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติเป็นทางหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ได้ เป็นวิธี ที่ทำได้ง่าย เป็นการใช้วัสดุ ที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติ
หรือวัสดุเหลือใช้มาทำ ให้เกิดประโยชน์ ในการปรับปรุงบำรุงดิน เป็นการใช้พืช และ สัตว์เป็นแหล่ง ของธาตุอาหารพืช ในดิน ตลอด
จน การเขตกรรม และ ระบบการจัดการเกษตร ที่เหมาะสม เป็นการหลีกเลี่ยง การใช้สารเคมีสังเคราะห์มาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ทำ
ให้เกิดผลผลิต ที่บริสุทธิ์ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ผลิต และ ผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุนการผลิต และ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เป็นพิษอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาตินั้น จะต้องคำนึงถึง ความสมดุลทางเคมี ชีวะ และ กายภาพ เป็นหลัก ซึ่งสามารถดำเนิน
การได้ โดยวิธีต่างๆ ดังนี้

1. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ระบบพืชประกอบด้วย
1.1 การปลูกพืชต่างชนิดแบบผสมผสาน
1.2 การปลูกพืชหมุนเวียน
1.3 การปลูกพืชสดเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน
1.4 การปลูกพืชคลุมดิน

วิธีดังกล่าวจะให้ประโยชน์ดังนี้
1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้ แก่ดิน
2. สะสมธาตุอาหารให้ แก่ดิน
3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
4. ป้องกันดินเป็นโรค
5. ป้องกันการชะล้าง และ พังทลาย ของดิน
6. ลดศัตรูพืช ในดิน
7. รักษาอุณหภูมิดิน
8. ทำให้ดินร่วนซุยอ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง

2. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
2.1 การใช้ปุ๋ยคอกด
2.2 การใช้ปุ๋ยหมักด
2.3 การใช้เศษพืช

การใช้วัสดุดังกล่าวปรับปรุงบำรุงดินจะก่อให้เกิดประโยชน์คือ
1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้ แก่ดิน
2. เพิ่มธาตุอาหารพืชให้ แก่ดิน
3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
4. ช่วยลดความเปรี้ยว ความเค็ม ความเป็นด่าง ของดินให้น้อยลง
5. ลดศัตรูพืช ในดิน
6. ช่วยให้ดินร่วนซุย ดินอุ้มน้ำ ได้ดีขึ้น ดินไม่แข็ง
7. ช่วยดินมีพลังสามารถรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น
8. รักษาอุณหภูมิดิน
9. ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น


การทำนาที่บ้านม่วง จ.อุบลราชธานี ด้วยวิธีธรรมชาติ


3. การใช้จุลินทรีย์ (microorganisms) การใช้จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินจะช่วย
3.1 สร้างธาตุอาหาร
3.2 แก้ไขการขาดสมดุล ของจุลินทรีย์ ในดิน
3.3 ช่วยป้องกันดินเป็นโรค
3.4 ช่วยย่อยอินทรีย์สาร และ อนินทรีย์สาร ในดินให้เกิดประโยชน์
3.5 ลดสารพิษ ในดิน และ ทำให้ดินสะอาด

4. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้วัสดุ ที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติ
4.1 การใช้ปุ๋ยมาร์ล (Mar) โดโลไมท์ (Dolomite) หินฟอสเฟต (Rock phosphate) หินฝ่นปะการัง และ เปลือกหอย
กระดูกป่น (Ground bone) เป็นวัสดุปรับปรุงดินเปรี้ยว เพื่อลดความเปรี้ยว ของดินให้น้อยลง และ เป็นการเพิ่มธาตุอาหารพืช
เช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซียม และ ฟอสฟอรัสให้ แก่ดิน
4.2 การใช้แร่ยิปซัม (CaSO 4 2H2O) ลดความเค็ม และ เพิ่มธาตุอาหาร เช่น แคลเซียม และ กำมะถันให้ แก่ดิน



ในระยะเวลาที่เท่ากัน เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของข้าว ด้วยสารเคมี (บน) และ
การใช้ปุ๋ยชีวิภาพ (ล่าง)



5. การใช้เขตกรรม (Deep Cultivation) การไถพรวนลึก ช่วยปรับปรุงดินได้ คือ
5.1 ป้องกันการเกิดโรค ในดิน
5.2 ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ของดิน
5.3 เพิ่มชั้นดินให้สูงขึ้น

6. การใช้น้ำฝน (Rain water)
น้ำฝนเป็นน้ำ ที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติ ขณะ ที่ฝนตกมีฟ้าแลบ ทำให้ก๊าซไนโตรเจนทำปฏิกิริยา กับก๊าซไฮโดรเจนเป็นแอมโมเนีย
(NH3) ก๊าซนี้ละลายปะปนมา กับน้ำฝนช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ในดินเป็นประโยชน์ ต่อพืช ที่ปลูกได้

7. การปรับปรุงดิน โดยใช้ไส้เดือน (Eargth worm) ประโยชน์
7.1 พรวนดินทำให้ดินร่วนซุย
7.2 สร้างอินทรียวัตถุ
7.3 เพิ่มธาตุอาหารพืช
7.4 ป้องกันน้ำท่วม
7.5 เพิ่มช่องอากาศ ในดิน

กล่าวโดยสรุปพบว่า ดิน ที่ทำการเกษตรทั่วไป และ ดิน ที่มีปัญหา ถ้านำมาใช้
ในการเกษตรนั้น เราสามารถใช้วิธีธรรมชาติปรับ
ปรุงบำรุงดินได้ โดยเฉพาะ การเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์นำมาใช้ปรับปรุงบำรุงดิน การปรับปรุง
บำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติก็ยิ่งมีความจำเป็น เพราะเป็นวิธีการ ที่ช่วยให้เกิดความสมดุลภาย ในดิน เป็นการช่วยรักษาทรัพยากร
ดิน ให้เกิดประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ อย่างถาวร ผลผลิตทางการเกษตร ที่ได้ จะเป็นผลผลิต ที่มีคุณภาพบริสุทธิ์ และ ปลอดภัย
(Safety food) จะเป็นคุณประโยชน์ ต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุน ในการผลิต และ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นด้วย

ผังแนวทาง ในการปรับปรุงบำรุงดิน

จาก... วารสารชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย

http://www.asoke.info/04Agriculture/OFNT/Appendix/oat/oat01.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/12/2011 11:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,407. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว


การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ และเพิ่ม
ผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น ทำการค้นคว้าวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2519-2540 ทั้งในดินเหนียว ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปน
ทรายและดินทราย ที่จังหวัดนครราชสีมา ปทุมธานี พิษณุโลก ราชบุรี
สุรินทร์และปัตตานี พบว่าการใช้ปุ๋ยหมักจาก
ฟางข้าว ในนา 2 ปีแรก ไม่ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ กข. 7 เพิ่มขึ้นแต่จะแสดงผล
ในปีที่ 3 เป็นต้นไป ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ตาม
อัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวที่ใส่และจะเพิ่มอีก เมื่อใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000
กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัม
ของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ โดยใช้ติดต่อกัน 22 ปี ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 89-
146 เปอร์เซ็นต์ ปี 2530 - 2542 ทำการทด
ลองในดินร่วนปนทรายชุดร้อยเอ็ดที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ พบว่าอัตราปุ๋ยที่
เหมาะสมสำหรับข้าว กข. 23 คือใบและกิ่งอ่อน
ของต้นกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 81
เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อัตราปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุด คือ 600 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราปุ๋ยพืชสด 300 กิโลกรัมต่อ
ไร่ใส่ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจน 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ เพิ่มผลผลิตได้ 53 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2536 - 2541 การทดลองระบบการปลูกพืช
ควบโดยปลูกกระถินยักษ์เป็นแถวคู่ ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร ในแนวขวางทางลาดเทของพื้นที่สลับกับพื้นที่ปลูกข้าวสาลี โดยใช้
แถบต้นกระถินยักษ์ 1 เมตร ต่อแถบข้าวสาลี 3 เมตร แล้วตัดต้นกระถินยักษ์สูงจากระดับพื้น 50 เซนติเมตร นำส่วนที่ตัดออกใส่ลง
ในนาข้าวสาลีร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ ปี 2539 -
2541 ทดลองใช้กากสะเดาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีและสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ทำ
ให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพิ่มขึ้น 44 และ 56 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

ประเทศไทยมีดินเสื่อมโทรม 224.9 ล้านไร่ ดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 98.7 ล้านไร่ ดินส่วนใหญ่
มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นดินทรายมีอินทรียวัตถุเฉลี่ย 0.56 เปอร์
เซ็นต์ การเพิ่มอินทรียวัตถุโดยการใส่วัสดุอินทรีย์ลงไปในดิน เช่น การไถกลบตอซังข้าว เศษพืช ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือวัสดุเหลือใช้
ทางการเกษตร และอุตสาหกรรมจะช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น

ประเทศไทยปลูกข้าวได้ผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 20 ล้านตัน ซึ่งจะมีฟางข้าวประมาณ 10 ล้านตัน ฟางข้าวส่วนนี้จะออกไป
จากแปลงนา ทำให้ดินต้องสูญเสียอินทรียวัตถุเป็นปริมาณมากในทุก ๆ ปี ดังนั้น จึงควรนำเอาฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักใส่กลับลงดิน
ในแปลงนาข้าว เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินและเพิ่มผลผลิตข้าวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ยังมีกระถินยักษ์ซึ่งเป็นพืชตระกูล
ถั่วยืนต้นที่ขึ้นได้ดี โตเร็ว แตกกิ่งก้านมากมีใบดก ระบบรากลึกทนแล้งได้ดี และมีจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนจากอากาศที่ปมราก จึง
เป็นพืชที่เหมาะสมเป็นพืชสดบำรุงดิน การนำเอากระถินยักษ์มาปลูกบนคันนาแล้วตัดเอาใบและกิ่งอ่อนใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว หรือ
การปลูกกระถินยักษ์ในระบบพืชควบกับข้าวสาลี โดยตัดเอาใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดใช้ได้ตลอดไป โดยใช้ร่วมกับ
ปุ๋ยเคมีจะเป็นหนทางในการปรับปรุงบำรุงดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวสาลีได้ และจากการนำเอาเมล็ดสะเดามาสกัดเป็นสารกำจัดแมลง
ศัตรูพืช ทำให้มีกากสะเดา เป็นวัสดุเหลือใช้เมื่อวิเคราะห์พบว่ามีไนโตรเจนมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ควรนำมาเป็นปุ๋ยใช้ในนาข้าวได้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ได้อัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงเมื่อใส่อย่างเดียวหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีในระยะยาว
2. เพื่อให้ได้อัตราใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์ ที่ปลูกบนคันนาเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงและไวต่อช่วงแสง
เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี
3. เพื่อศึกษาระบบการปลูกพืชควบโดยใช้กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกข้าวสาลีในการเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี
4. เพื่อให้ได้อัตรากากสะเดาที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง
5. เพื่อศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา) ต่อการเปลี่ยนสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน)


ความเป็นมา
ในปีงบประมาณ 2524 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เห็นความสำคัญในการใส่ปุ๋ยหมักซึ่งเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากเศษพืช และมูลสัตว์
นำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดินและเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยหมักที่ผลิตขึ้นเอง
ตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ(ปุ๋ยหมัก) เกษตรกร 20 จังหวัดสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ 57.460 ต้น
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (2525-2529) รัฐบาลมีนโยบายในการลดต้นทุนการผลิตโดยดำเนินงาน
ตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดิน ส่งเสริมการเป็นประโยชน์
ของปุ๋ยเคมี ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักรวมถึงการเพิ่มผลผลิตและรายได้
ของเกษตรกร มีเป้าหมายผลิตปุ๋ยหมัก 690,000 ตัน ในพื้นที่ 72 จังหวัดในปี 2530 - 2534 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยหมัก 870,000 ตัน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด 32,054 ไร่ ในปี 2534
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดนโยบายด้านดินและปุ๋ย โดยเน้นความจำเป็นในการยกระดับความสำคัญของการบำรุงดิน
ให้เป็นนโยบายสำคัญ ในปี 2535 - 2539 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ส่งเสริมการทำและใช้ปุ๋ยหมัก
910,000 ตัน ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์และใช้ปุ๋ยพืชสด จัดอบรมผู้นำเกษตรกร เป้าหมายปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ
840,000 ไร่ โดยใช้ฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา และในปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน
จึงต้องสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวต่อไป


คุณลักษณะดีเด่นของเทคโนโลยี
1. ฟางข้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเมื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักจะทำให้การใช้วัสดุอินทรีย์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
2. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีธาตุอาหารพืชปริมาณมากพอสมควร กล่าวคือ มีไนโตรเจน 2.16 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 1.18 เปอร์เซ็นต์
โพแทสเซียม 1.31 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 2.29 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม 0.44 เปอร์เซ็นต์ และซัลเฟอร์ 0.41 เปอร์เซ็นต์
3. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีอัตราส่วนคาร์บอนและไนโตรเจนต่ำ ( C/N = 11.94 ) ทำให้ไนโตรเจนละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อ
ข้าวได้เร็ว ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น คือ ดินจับตัวเป็นเม็ดมากขึ้น ลดความแข็งของดินและลด
ความหนาแน่นรวม
4. ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ช่วยดูดปุ๋ยไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ช่วยลดการสูญเสีย
ไนโตรเจน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและช่วยในการเจริญเติบโต มีรากมากขึ้น ดัชนีพื้นที่ใบข้าวเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น
5. การปลูกกระถินยักษ์บนคันนา เพื่อนำมาเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว เป็นการนำพื้นที่ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์
6. กระถินยักษ์มีธาตุอาหารไนโตรเจนสูง 3.7 - 4.3 เปอร์เซ็นต์ และมีธาตุอาหารพืชต่าง ๆ (แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทส
เซียม และไนเตรท) ในระดับสูง
7. ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น รักษาธาตุอาหารในดิน ใบแล
ะกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของข้าว
8. ระบบการปลูกพืชควบกระถินยักษ์และข้าวสาลี ช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี จากการใช้กระถิน
ยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสด
9. การใช้กากสะเดาซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้มาเป็นปุ๋ยอินทรีย์กับข้าว ทำให้ดินมีสมบัติทางกายภาพดีขึ้นให้ธาตุอาหารและเพิ่มผลผลิตข้าว


การประเมินคุณค่าของเทคโนโลยี
1. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยเคมีติดต่อกัน 20 - 22 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 1,000
กิโลกรัมต่อไป ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 115 เปอร์เซ็นต์,
99 เปอร์เซ็นต์ และ 72 เปอร์เซ็นต์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถานีทดลองข้าวพิมาย และสถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ตามลำ
ดับ และผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 146 เปอร์เซ็นต์, 117 เปอร์เซ็นต์ และ 89 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา
2,000 กิโลกรัมต่อไป ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ตามลำดับ

2. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวติดต่อกัน 12 ปี ทำให้ดินมีอินทรียวัตถุที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น

3. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้นกล่าวคือ ทำให้การจับตัวของเม็ดดินเพิ่มขึ้น ความแข็งของ
ดินลดลง ความหนาแน่นของดินลดลง

4. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวช่วยเพิ่มการดูดธาตุอาหารในต้นและเมล็ดข้าว เพิ่มดัชนีพื้นที่ใบ ปริมาณรากและการดูดน้ำของราก

5. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ เพิ่มผลผลิต
ข้าว กข. 23 81 เปอร์เซ็นต์

6. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ หรือใบและ
กิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่อย่างเดียวเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 53 เปอร์เซ็นต์

7. การใช้กระถินยักษ์ติดต่อกัน 10 ปี ทำให้ดินมีสมบัติทางเคมีและกายภาพดีขึ้น ช่วยให้ข้าวดูดธาตุอาหารจากดินได้มากขึ้น
ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้น

8. การปลูกพืชควบระหว่างกระถินยักษ์กับข้าวสาลีร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ติดต่อ
กัน 6 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวสาลีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ และอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นด้วย

9. การใส่กากสะเดาอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินทรายปนดินร่วนและดินเหนียวปนทราย
44 และ 56 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


คำแนะนำวิธีการใช้
1. การทำปุ๋ยหมักฟางข้าว กองฟางข้าวในที่ร่มมีขนาดกอง 2x5 เมตร รดน้ำให้ชุ่มพร้อมกับเหยียบให้แน่นพอสมควร จนกองสูง
ประมาณ 25 เซนติเมตร โรยมูลสัตว์และปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟตเพื่อช่วยให้ฟางข้าวสลายตัวเร็วขึ้น แล้วกองชั้นต่อ ๆ
ไป ทำเช่นเดียวกันจนกองมีความสูง 1.00 -1.50 เมตร โดยใช้ฟางข้าว มูลสัตว์และปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 100 ต่อ 10 ต่อ 1
ควรกลับกองปุ๋ยทุก ๆ เดือน หลังกลับกองปุ๋ยครั้งที่สองแล้ว 2 อาทิตย์ จึงกลับอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นกองปุ๋ยหมักก็จะเหมาะแก่
การนำไปใช้แล้ว ปกติแล้วปุ๋ยหมักจะมีค่าของคาร์บอน/ไนโตรเจนประมาณ 20

2. ใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2 ตันต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงขณะเตรียมดินแล้วไถกลบลงไปในดินทันทีก่อนปักดำข้าว 20 วัน
ใส่ปุ๋ย 16-20-0 ในดินเหนียวหรือ 16-16-8 ในดินทรายอัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปักดำข้าว 1 วัน แล้วคราดกลบและ
ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับนาหว่านน้ำตมใส่ปุ๋ย 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 30
กิโลกรัมต่อไร่ หลังข้าวงอก 30 วัน และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก

3. การปลูกกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวใช้กระถินยักษ์พันธุ์เปรูหรือ K8 ปลูกบนคันนา ควรเริ่มปลูกในช่วงฤดูฝนหรือ
ในระยะที่ดินมีความชื้นพอ ถ้าเป็นคันนาแคบควรปลูกเป็นแถวเดียวระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ถ้าคันนากว้างควรปลูกเป็น
แถวคู่ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถวเท่ากับ 50 x 50 เซนติเมตร การตัดแต่งกิ่งเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด ถ้าฝนตกตามปกติ
กระถินยักษ์จะโตเร็ว เริ่มตัดใบและกิ่งอ่อนได้ใน 4-5 เดือนของปีแรก ควรตัดแต่งครั้งแรกเมื่อกระถินยักษ์สูง 2 เมตร โดยตัด
ให้เหลือตอสูงเหนือพื้นดิน 1 เมตร ส่วนของกระถินยักษ์ที่จะนำไปใส่เป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินให้เลือกตัดเอาเฉพาะใบและกิ่งอ่อน
และตัดแต่งทุก 2 เดือน หรือเมื่อต้นกระถินยักษ์สูง 2 เมตร

4. การใส่กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์หว่านในแปลงปลูกข้าวแล้วไถกลบก่อนปัก
ดำข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัมN ต่อไร่ (ยูเรีย 26 กิโล
กรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ส่วนข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์
หว่านแล้วไถกลบก่อนปักดำข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 12 กิโลกรัมNต่อไร่
(ยูเรีย 26 กิโลกรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอกหรือใช้ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างเดียวก่อนปัก
ดำข้าว 15 วัน

5. การปลูกกระถินยักษ์ร่วมกับข้าวสาลี โดยปลูกกระถินยักษ์ในปีแรก โดยปลูกเป็นแถบ 2 แถวคู่ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร ขวาง
ความลาดเทของพื้นที่สลับกับแถบของข้าวสาลีในอัตราส่วนกระถินยักษ์กว้าง 1 เมตร ข้าวสาลีกว้าง 3 เมตร ในปีที่ 2 และปีต่อ ๆ
ไป ตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 เซนติเมตร ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกข้าวสาลีร่วมกับการใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กิโล
กรัมต่อไร่ ที่ระยะหลังข้าวสาลีงอก 20 วัน และตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 เซนติเมตร ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกพืช
หลัก เช่น ข้าวไร่ เป็นต้น ปลูกสลับกับข้าวสาลี

6. ใส่กากสะเดา อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบก่อนปักดำข้าว 1 สัปดาห์
การเผยแพร่


เผยแพร่โดยกลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร ลาดยาว
จตุจักร กทม. 10900. หรือ โทร 02-5797515


http://www.ricethailand.go.th/brrd/tech/m3_2.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/12/2011 6:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/12/2011 6:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,408. การใช้อินทรียวัตถุปรับปรุงดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต


ปัญหาผลิตผลทางการเกษตรลดต่ำลง นับวันจะขยายตัวมากยิ่งขึ้น ประกอบกับรายได้หลักของประเทศยังต้องอาศัยผลิตผลทางการ
เกษตรอยู่เป็นอันมาก ดังนั้นการแก้ปัญหาของชาติจึงมุ่งอยู่ในกรอบของความพยายามที่จะเพิ่มผลผลิตทางการเกษรรให้สูงขึ้น
เพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกรเอง และนำเงินตราเข้าจากต่างประเทศ แนวทางการเพิ่มผลผลิตนั้นสามารถทำได้ คือ

1. เพื่อเพิ่มผลผลิตโดยการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถกระทำได้เพราะเหลือพื้นที่ป่าไม้เพียงเล็กน้อย
จำเป็นต้องรักษาสภาพไว้ให้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และรักษาสมดุลทางธรรมชาติ

2. เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาใช้ในการเกษตร มีการสำรวจสภาพปัญหา และวางแนวทางแก้ไข
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทั้งหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชนและตัวแทนเกษตรกรเอง


สาเหตุที่ทำให้ดินขาดอินทรีย์วัตถุ
ปัจจุบันสภาพพื้นที่เพาะปลูกโดยทั่วไปของประเทศไทยพบว่าดินมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินอยู่ในสภาพที่
ไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก หรือเพาะปลูกแล้วได้ผลผลิตลดน้อยกว่าที่ควร ทั้งนี้มีสาเหตุสำคัญ 5 ประการที่ทำให้ปริมาณอินทรีย
วัตถุในดินลดน้อยลง คือ

1. การใช้ดินที่เพาะปลูกติดต่อกันหลายปีโดยไม่ได้เพิ่มอินทรียวัตถุไปในดินหรือเพิ่มลงไปในปริมาณที่น้อย และการไถพรวนต่ละ
ครั้งก็เป็นการเร่งให้อินทรียวัตถุในดินสลายตัวเร็วขึ้น

2. การขาดการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นสาเหตุให้หน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุอาหารพืช และอินทรียวัตถุถูกชะล้างลงแม่น้ำ
ลำคลองตลอดเวลา

3. การหักร้างถางพง ทำลายป่าอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งปุ๋ยธรรมชาติที่มี่อยู่จากการทับถมของใบไม้และใบหญ้าลดน้อยลงไปทุกที

4. สภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทยซึ่งอยู่ในเขตร้อนและมรสุม กล่าวคืออากาศร้อนและมีฝนตกซุก ทำให้อินทรีย์วัตถุสลายตัว
สูญหายไปจากดินได้อย่างรวดเร็ว

5. ในบางท้องที่ดินเกิดขึ้นมาจากพวกหินทราย ซึ่งมีคุณลักษณะที่ขาดความอุดมสมบูรณ์โดยธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อสลายตัวเป็นดิน
ก็ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกเท่าที่ควร เพราะดินขาดธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุ


จากปัญหาดังกล่าวทำให้ดินที่ใช้ทำการเพาะปลูกอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม กล่าวคือเมื่อดินมีปริมาณที่เหมาะสมก็จะทำให้ดินแน่นทึบ น้ำ
ไม่สามารถซึมผ่านช่องว่างระหว่างเม็ดดินได้ทำให้น้ำไหลผ่านหน้าดินอย่างรวดเร็วพัดพาเอาแร่ธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยที่มีอยู่บริเวณผิว
หน้าดินสูญหายไปกับน้ำ เมื่อดินแน่นทึบปริมาณอากาศในดินมีน้อย และรากพืชก็ไม่สามารถชอนไซไปหาอาหารได้ไกล มักพบในดินเหนียว
ส่วนดินทรายที่ขาดอินทรียวัตถุ หรือมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ เม็ดดินไม่สามารถเกาะตัวกันได้ดี เพราะขาดสารเชื่อมเม็ดดิน การให้น้ำและ
ปุ๋ยเคมีจึงไม่ค่อยได้ผล พืชได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ เพราะน้ำและปุ๋ยจะสูญหายไปจากดินได้รวดเร็ว

จากการวิจัยพบว่า
ดินที่มีปริมาณอินทรีย์วัตถุต่ำมากในประเทศไทยส่วนพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากดินเกิดจากหินทรายเป็นส่วนใหญ่
ส่วนดินในดภาคเหนือก็มีปริมาณของอินทรียวัตถุอยู่ในเกณฑ์ต่ำเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ดินในในภาคนี้จึงสูญเสียหน้าดิน
จากการถูกน้ำชะล้างสูง ส่วนดินภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว แต่ก็ใช้ปลูกข้าวติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคนสภาพความอุดมสมบูรณ์
ของดินได้ลดน้อยลงและดินจับตัวแน่นไม่สะดวกต่อการไถพรวน สำหรับดินในภาคใต้ก็มีปริมาณของอินทรียวัตถุค่อนข้างต่ำ เนื่อง
จากเป็นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ หน้าดินตื้นเพราะถูกฝนที่ตกชะล้างไปเสียจำนวนมาก และอากาศร้อน จากข้อมูลดังกล่าวเป็นที่ยืนยันได้ว่า
ดินที่ใช้เพาะปลูกในบ้านเรานั้นต้องมีการเพิ่มอินทรียวัตถุค่อนข้างสูง จึงจะทำให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมในการเพาะปลูกและได้ผล
ผลิตสูง

อินทรียวัตถุ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการย่อยสลายตัวของสารอินทรีย์ ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ รวมทั้งสิ่งขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์
เศษขยะต่าง ๆ เป็นต้น การสลายตัวของสารอินทรีย์แต่ละชนิดมีความอยากง่ายแตกต่างกันไป ในทางเกษตร อินทรียวัตถุนับว่าเป็น
ปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเป็นตัวควบคุมคุณสมบัติทั้ง ทางเคมีและกายภาพของดิน กล่าวคือช่วยให้ดินเหนียว
ซึ่งมีเม็ดดินละเอียดและแน่นทึบจับตัวกันอย่างหลวม ๆ และดินทรายจับตัวกันดีขึ้น ช่วยให้ดินมีความสามารถให้การอุ้มน้ำได้ดี ราก
พืชสามารถแผ่ขยายออกไปหาแร่ธาตุอาหารในดินได้สะดวก

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างรีบด่วนที่ต้องเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความเจริญเติบโตของพืชในบ้าน
เรามีวัตถุดิบทีสามารถเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินมากมาย ซึ่งวัสดุเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกทอดทิ้งอย่างไร้ประโยชน์ และยังก่อให้เกิดปัญหา
ต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย จึงควรให้ความสนใจโดยนำมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้อย่างกว้างขวาง ช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้อย่าง
ดีอีกด้วย สามารถจำแนกออกได้ดังนี้

1. เศษพืชทางการเกษตรเหลือทิ้งในไร่นา ได้แก่ ฟางข้าว วังข้าวโพก เปลือกถั่วเขียว ถั่วลิสง ผักตบชวา ในไม้ทุกชนิด เศษขยะมูล
ฝอยและเศษหญ้าต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละปีจะมีเศษพืชเหลือทิ้งในไร่นาประมาณ 41 ล้านตัน

2. เศษพืชทางการเกษตรที่เหลือทิ้ง จากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ แกลบจากโรงสี กากอ้อยจากโรงงานน้ำตาล ขี้เลื่อยจากโรงเลื่อย
เปลือกผลไม้ และขุยมะพร้าว เป็นต้น ปีหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 11,120,000 ตัน

3. ประเภทมูลสัตว์และอุจจาระ ซึ่งเป็นสิ่งขับถ่ายจากคนและสัตว์ สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยธรรมชาติโดยตรงหรือนำไปผสมกับเศษพืช
ทำปุ๋ยหมักก็ได้ ซึ่งแต่ละปีมีประมาณ 76 ล้านตัน

4. ขยะเทศบาลและขยะสุขาภิบาล ขยะเหล่านี้ใช้เป็นแหล่งอินทรียวัตถุได้ดี แต่ต้องแยกเอกสิ่งเจือปน เช่น ถุงพลาสติก อิฐ หิน ไม้
เศษเหล็ก ออกเสียก่อน

เศษวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้สามารถนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุได้โดยตรง คือ นำไปคลุมดินและปล่อยให้เน่าเปื่อย
ผุผังหรือนำไปใส่ในดินแล้วไถกลบ ถ้าจะให้ได้ผลดีควรนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักเสียก่อน โดยใช้วิธีง่ายดังนี้

- กองโดยใช้เศษพืชอย่างเดียว แล้วคอยรดน้ำ และกลับกองทุก ๆ 7 วัน
- กองโดยใช้เศษพืชผสมด้วยมูลสัตว์หรือไนท์ซอย (อุจจาระ)
- กองโดยใช้เศษพืชมูลสัตว์และปุ๋ยเคมี (เพื่อช่วยให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในบรรยากาศบางชนิดทำการย่อยและเพิ่มปริมาณได้เร็วขึ้น)
- กองโดยสับเศษพืชให้เห็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ผสมด้วยมูลสัตว์ปุ๋ยเคมี และสารเชื้อตัวเร่งซึ่งสามารถทำปุ๋ยหมักให้ได้ในเวลาประมาณ
60 วัน ในกรณีที่ไม่มีสารเชื้อตัวเร่ง เกษตรกรสามารถทำได้ด้วยตนเองโดยหาถังปิ๊บ โอ่ง หรือกระป๋องเก็บมุลสัตว์ที่มีภายในบ้าน
นำมาใส่ไว้ครึ่งหนึ่งของภาชนะแล้วเติมน้ำธรรมดาหรือน้ำผสมปุ๋ยยูเรียที่ไม่เข้มช้นมาก แล้วปิดฝาภาชนะให้เรียบร้อย เพื่อกันแมลง
วันหรือยุงลงไปไข่ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็เอาไปรดกองปุ๋ยหมักได้เลย ต่อจากนั้นก็ปฏิบัติวิธีทั่วไป

5. ปุ๋ยพืชสด ได้จากต้นพืชและใบพืชสดที่ปลูกเอาไว้หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มที่คือเริ่มออกดอกจนถึงดอก
บานเต็มที่ จึงทำการตัดสับแล้วไถกลบลงไปในดินหรือไถกลบพืชทั้งต้นลงไปในดินเลยก็ได้ แล้วแต่ชนิดของพืช หลังจากนั้นทิ้งไว้
ให้เน่าเปื่อยผุพังหมด ก็จะให้ธาตุอาหารพืชและเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุลงไปในดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปลูกพืชที่ตามมาปุ๋ย
พืชสดได้มาจากพืชชนิดต่าง ๆ ซึ่งพืชที่ใช้ปลูกทำเป็นปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดนั้น ได้แก่ พวกพืชตระกูลถั่วทั้งหลาย เช่น ปอเทียน โสน
ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วลิสง เป็นต้น ทั้งนี้เพราะพืชตระกูลถั่วมีคุณสมบัติพิเศษกว่าพืชอื่น ๆ คือ ที่รากมีปมที่เรียกว่าปมรากถั่ว ในปมเหล่านี้
มีเชื้อจุลินทรีย์พวกไรโซเบียมอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถดึงไนโตรเจนอากาศมาใช้ได้


เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างไร
การนำวัสดุดังกล่าวข้างต้นมาใส่ในดิน ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุอย่างประหยัด เพราะวัสดุดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นวัสดุเหลือทิ้ง น้ำไปทิ้งเปล่าโดย
ไร้ประโยชน์ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้โดยไม่ต้องไปซื้อปุ๋ยเคมีหรือสารปรับปรุงดินอื่น ๆ ที่นับวันจะมีราคาแพงขึ้นทุกวัน



http://203.172.208.244/ta/din/agrilib/din/k1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/12/2011 9:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,409. ‘วาซาบิ’ ….ทำมาจากอะไร ?





“วาซาบิ” กล่าวกันว่าวาซาบิเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่น ถ้าบนโต๊ะอาหารไทยมีน้ำปลา พริก อาหารฝรั่งมีเกลือกับพริกไทย
บนโต๊ะอาหารญี่ปุ่นก็ขาดวาซาบิไม่ได้เช่นกัน คนญี่ปุ่นนิยมกินวาซาบิกับปลาดิบ ข้าวปั้นญี่ปุ่นหรือโซบะบางชนิด

วาซาบิ (wasabi) ทำมาจากอะไร?
วาซาบิ เป็นเครื่องปรุงที่ทำมาจากการบดลำต้นของพืชที่ชื่อ canola (Japanese horseradish) ซึ่งจัดเป็นไม้ยืนต้นที่อยู่
ในตระกูลเดียวกับพวกบรอกโคลีและกะหล่ำ เป็นสมุนไพรดั้งเดิมของญี่ปุ่น สามารถปลูกได้ทั้งบนดิน และพื้นน้ำ โดยปลูกบน
พื้นน้ำจะให้คุณภาพที่ดีกว่า ในหลายประเทศมักจะเรียกวาซาบิกันผิดๆ ว่าฮอร์สแรดิชญี่ปุ่น ฮอร์สแรดิชสีเขียว หรือแม้แต่
มัสตาร์ดญี่ปุ่นโดยนำส่วนโคนลำต้นที่มีความหนาออกมาใช้ และหลายๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นส่วนรากของมัน



ฝนวาซาบิด้วยแผ่นเหงือกปลาฉลาม

เวลาจะนำไปรับประทาน หรือประกอบอาหารนั้นจะต้องมีกรรมวิธีพิเศษ คือ นำวาซาบิไปฝนกับเครื่องฝนพิเศษที่ทำมาจากเหงือก
ปลาฉลาม (Wasabi Oroshi) ซึ่งจะมีปุ่มขนาดเล็กๆ จนทำให้ผลวาซาบิละเอียดจนมีลักษณะคล้ายครีมสีเขียว หลังจากนั้นก็
นำไปผสมกับโชยุใช้เป็นน้ำจิ้มสำหรับปลาดิบ (ซะชิมิ, sashimi) หรือ ซูชิ (sushi) เพื่อให้ได้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้น

เมื่อนำมาเสิร์ฟบนโต๊ะอาหาร จะมาในรูปของเครื่องปรุงรสที่มีกลิ่นฉุน รับประทานเข้าไปทำให้แสบจมูกในระยะสั้น ๆ ก่อนที่รสชาด
จะเปลี่ยนไปเป็นความกลมกล่อม ทั้งขมทั้งหวานผสมผสานกันไป

การปลูกวาซาบินั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องลงทุนค่อนข้างสูง พืชชนิดนี้มักจะปลูกในที่โล่ง แต่จะต้องมีการจำกัดปริมาณแสงแดด
ไม่ให้ส่งลงมาถูกต้นพืชโดยตรงในช่วงฤดูร้อน เมื่อไม่นานมานี้เกษตรกรชาวญี่ปุ่นถูกแย่งตลาดด้วยการสั่งนำเข้าต้นพืชที่มีกรรมวิธี
การปลูกสมัยใหม่และราคาถูกกว่าจากไต้หวันและฟิลิปปินส์ แม้ว่าผลิตผลจะมีรสเผ็ดเกินกว่าที่จะนำมารับประทานเดี่ยว ๆ แต่ก็
ได้รับการสั่งนำเขาจำนวนมากจากบริษัทใหญ่ ๆ ในญี่ปุ่น เพื่อที่จะนำมาผสมผสานกับเครื่องปรุงอื่น ๆ เช่น หัวไชเท้าและเครื่องเทศ
ที่เรียกกันว่า เนริวาซาบิ และตลาดของเครื่องปรุงเนริวาซาบิ มีมูลค่าถึง 16 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ในขณะที่วาซาบิแบบดังเดิม
มีมูลค่าในตลาด 36 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี


ลักษณะ
ใบของวาซาบิจะคล้ายกับดอกของต้นโฮลีฮอค ต้นมีความสูงแค่เข่า ส่วนโคนลำต้นที่ใช้ในการทำอาหารมีลักษณะเป็นหัวเหมือนหัว
ไชเท้าหรือบอระเพ็ดแต่เป็นสีเขียวอ่อนๆ เมื่อบดแล้วมีกลิ่นที่ฉุนรุนแรง ถ้ารับประทานจะให้ความรู้สึกแสบร้อนขึ้นจมูกใน
ระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นความกลมกล่อม ทั้งหวานและขมผสมกันไป


แหล่งเพาะปลูก
แหล่งที่ปลูกวาซาบิอยู่ที่ชิมิทสึ แปลว่า น้ำสะอาด การปลูกวาซาบินั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องลงทุนค่อนข้างสูง พืชชนิดนี้มักจะปลูก
ในที่โล่งแต่จะต้องมีการจำกัดปริมาณแสงแดดไม่ให้ส่องลงมาถูกต้นพืชโดยตรงในช่วงฤดูร้อน

เนื่องจากมีแหล่งปลูกที่จำกัดจึงทำให้วาซาบิมีราคาค่อนข้างสูง ที่ประเทศไทยนั้นตามร้านอาหารมีระดับ หรือตามโรงแรมบาง
แห่งเท่านั้นที่จะใช้โคนต้นวาซาบิสดบด เพราะต้องนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นด้วยราคากิโลกรัมละหลายพันบาท ดังนั้นจึงมี
วาซาบิเทียมซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีเขียวและปรุงแต่งกลิ่นและสีเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาผสมและกวนกับน้ำเย็นแล้วทิ้งไว้สักครู่ก็จะมีหน้า
ตาเหมือนกับวาซาบิของแท้แต่กลิ่นรสจะฉุนจัดจ้านกว่าเรียกว่า “ผงวาซาบิ”



การบริโภควาซาบิที่ถูกวิธี
ควรทาวาซาบิลงบนเนื้อปลาดิบแล้วจุ่มเนื้อปลาดิบด้านที่ไม่มีวาซาบิลงในซีอิ๊วญี่ปุ่น ทั้งนี้วาซาบิจะได้ไม่ลงไปปนเปื้อนอยู่ในถ้วยซีอิ๊ว
วาซาบิที่ดีจะต้องไม่ให้แต่รสเผ็ดเท่านั้น แต่จะต้องมีกลิ่นที่ช่วยทำให้ปลาดิบคำนั้นมีรสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามคน
ทั่วไปนิยมผสมวาซาบิลงในซีอิ๊วซึ่งเรียกว่า วาซาบิโซยุ แล้วใช้จิ้มปลาดิบ หรือบางคนนิยมใส่ลงไปในชามโซบะซึ่งก็อร่อยไปอีกแบบ


ประโยชน์
กลิ่นฉุนของรสชาติวาซาบินั้นจะช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลได้ทุกชนิด เพราะสารที่อยู่ในวาซาบิเมื่อฝนเป็นแป้งกระทบกับ
ออกซิเจนในอากาศ จะเกิดปฏิกิริยาเป็นทั้งกลิ่นและรสที่ฉุนรุนแรง สารนี้จะมีประโยชน์ในการกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ขับออก
มาช่วยในการย่อย อีกทั้งในวาซาบิยังอุดมด้วยวิตามินซี


สรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ
ในการรับประทานอาหารญี่ปุ่นครั้งหน้า เมื่อจะแต้มเครื่องปรุงรสสีเขียว ๆ ลงไปในปลาดิบที่คุณชอบ ลองนึกถึงประโยชน์ต่อร่าง
กายที่กำลังจะได้รับเข้าไปด้วย เพราะจากการศึกษาวิจัย พบว่า วาซาบิ เครื่องปรุงรสเผ็ดสีเขียวของชาวญี่ปุ่นนั้น มีคุณประโยชน์
ทางยาอย่างหลากหลาย อาทิเช่น

(1) ฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค พบว่าวาซาบิมีผลในการฆ่าเชื้อโรค และสามารถต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
(2) กำจัดพยาธิที่อาศัยอยู่ในปลาได้ เมื่อผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์
(3) ฤทธิ์ต่อต้านสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งของกระเพาะอาหาร
(4) ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน ฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
(5) ป้องกันฟันผุ ในอนาคตอาจนำไปประยุกต์เป็นส่วนผสมในยาสีฟัน


ผงวาซาบิ


ผงวาซาบิที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คิดว่าทำมาจากวาซาบิสดที่ถูกทำให้แห้งแล้วบดเป็นผง แต่ในความจริงแล้วเป็นวาซาบิเทียม
ที่ทำจากฮอร์สแรดิชผสมกับผงมัสตาร์ด (ซึ่งให้ความฉุนแบบเผ็ดร้อนขึ้นจมูกคล้ายวาซาบิ) แป้ง และ สีผสมอาหาร โดย
ไม่มีส่วนผสมของวาซาบิเลย แต่ให้รสชาติที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ว่าความฉุนนั้นจะหายไปรวดเร็วกว่า ผงวาซาบิทำขึ้นเพื่อทด
แทนวาซาบิบดสดที่มีราคาสูง และไม่สามารถเก็บรักษาได้นานเท่าผงวาซาบิ


วาซาบิ ช่วยบรรเทาอาการหวัดได้…จริงหรือ ?
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าวาซาบิสามารถช่วยให้หายใจโล่งขึ้น หรือบรรเทาอาการหวัด เนื่องจากเวลารับประทานวาซาบิแล้วจะรู้สึก
ฉุนและเผ็ดร้อนขึ้นจมูก

แต่มีผลการทดลองของนักวิจัยชาวสหรัฐอเมริกาค้นพบว่า วาซาบิแทนที่จะช่วยให้การหายใจดีขึ้น กลับอาจทำให้การหายใจที่
ติดขัดอยู่แล้วนั้นแย่ลง ศูนย์การแพทย์ Kaiser Permanente Medical Center ในเมืองโอคแลนด์ มลรัฐแคลิฟอร์
เนียได้ทำการศึกษาผลของวาซาบิ กับอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 22 คน โดยมีการให้รับวาซาบิหลายๆ ครั้ง และมีการวัดการ
ระบายในช่องจมูก เพื่อศึกษาผลต่อการหายใจในช่องจมูก…… หลังการศึกษาได้ผลสรุปว่าจริงๆ แล้ววาซาบิทำให้ทางเดินหายใจ
ติดขัด ซึ่งผู้รับประทานมักจะรู้สึกและเข้าใจเองว่า วาซาบิทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น แต่แท้ที่จริงแล้ววาซาบิจะเป็นตัวที่ทำให้
การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงในโพรงจมูกเพิ่มขึ้นซึ่งเลือดเหล่านี้จะทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น หรืออุดตันลง

ส่วนสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเหมือนจมูกโล่งขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดที่ว่านี้ ทำให้เกิดความเย็นของลม
หายใจที่ผ่านช่องโพรงจมูก หรืออาจเป็นเพราะการกระตุ้นที่โพรงจมูกในชั่วขณะหนึ่งเพื่อให้อากาศไหลผ่านกลับมาได้สะดวกเป็น
เหตุให้เกิดความรู้สึกจมูกโล่งขึ้นได้



ที่มา วิกิพีเดีย
http://www.tlcthai.com/education/knowledge-online/15293.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 27/12/2011 12:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,410. ข้าวและเกษตรกรไทย ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี


กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีส่วนร่วมในการสนับสนุน
การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการ ปรับปรุงพันธุ์และการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว โดยมีเป้าหมายให้คนไทย
ทุกภาคส่วนมีข้าวเพียงพอต่อการบริโภค รวมทั้งเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันที่นำไปสู่ความยั่งยืนของข้าวไทยทั้งระบบ

ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รองผู้อำนวยการ สวทช. เล่าว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ทุนทางธรรมชาติและทุนทางสังคมในการ
ผลิตข้าว ในอนาคตเราต้องปฏิรูปการผลิตข้าวไทยไปใช้ทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมมากขึ้น
เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ลดลง การขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ
อากาศ เช่น ภัยแล้งและอุทกภัย นอกจากนี้ คู่แข่งและคู่ค้าข้าวของประเทศไทยต่างเพิ่มการลงทุนการวิจัยและพัฒนา

จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เกี่ยวกับดีเอ็นเอ สวทช. ได้ใช้ความรู้ดังกล่าวในการ
ปรับปรุงพันธุ์ข้าวตั้งแต่ปี 2532 ภายใต้โครงการความร่วมมือของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และในปี 2542 ได้เข้าร่วม
“โครงการวิจัยจีโนมข้าวนานาชาติ” ที่นับว่าเป็นการวางรากฐานการวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านข้าวเชิงลึกของประเทศไทย มีบท
บาทสำคัญส่งผลให้การพัฒนาข้าวไทยเป็นไปอย่างก้าวกระโดด มีองค์ความรู้สะสมมากพอที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ
ได้ทันสถานการณ์ ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในกรณีของการพัฒนาข้าวหอมดอกมะลิให้ทนน้ำท่วม ที่ผ่านการทดสอบ
การยอมรับของเกษตรกรในหลายจังหวัดมาเป็นระยะเวลา กว่า 3 ปี ข้าวหอมดอกมะลิทนน้ำท่วมดังกล่าวได้ใช้ชื่อว่า
“ข้าวหอมชลสิทธิ์” ซึ่งนอกจากทนน้ำท่วมฉับพลันแล้วยังไม่ไวแสง ปลูกได้ในพื้นที่ภาคกลางที่มักประสบปัญหาน้ำท่วม
ฉับพลัน ในปี 2553 มีการปลูกพันธุ์หอมชลสิทธิ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในพื้นที่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
และได้เกิดภาวะน้ำท่วมทำให้แปลงข้าวพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์จมอยู่ใต้น้ำเป็น เวลา 12 วัน ถึงแม้ว่าข้าวหอมชลสิทธิ์ที่จม
อยู่ใต้น้ำไม่ตาย แต่เนื่องจากข้าวอยู่ในระยะตั้งท้องและเริ่มออกดอกพอดี ไม่สามารถผสมเกสรใต้น้ำ จึงทำ ให้เกิด
การสูญเสียผลผลิตเมล็ดบางส่วน ในขณะที่พันธุ์หอมปทุมตายทั้งหมด เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ นอกจากที่ อ.ผักไห่แล้ว
มีเกษตรกรที่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์เช่นกัน แปลงดังกล่าวได้รับผลกระทบจมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลา
7 วัน ภายหลังน้ำลดข้าวหอมชลสิทธิ์ฟื้นตัวได้ดีภายใน 3 วัน ขณะที่พันธุ์ กข 31 ที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียงกันไม่ฟื้นตัว

นอกจากการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สวทช. ยังได้ ปรับปรุงพันธุ์ข้าวเศรษฐกิจให้ทน
ต่อศัตรูพืช เช่น ข้าว กข 6 ต้านทานโรคไหม้ ที่ได้เผยแพร่ให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน เชียงราย และลำปาง และ
ได้รับพระราชทานชื่อพันธุ์ข้าวจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า “ธัญสิริน” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553

นอกเหนือจากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ความรู้ด้านดีเอ็นเอถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการค้าการปลอมปนของข้าวหอมดอก
มะลิ นำไปสู่วิธีมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์ยอมรับ ทำให้ประเทศไทยแก้ปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิ รวมถึงการสร้าง
มาตรฐานคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยทำให้ประเทศไทยส่งออกข้าวหอมมะลิได้เพิ่มขึ้น

สวทช. ให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านอาหารในระดับครัวเรือนด้วยการให้ความรู้ผ่าน การฝึกอบรมให้กลุ่มเกษตรกรเพื่อ
ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีไว้ใช้ เองในชุมชน ถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมในหลายพื้นที่ที่ประสบ
ปัญหาข้าว ไม่พอกินตลอดทั้งปี เช่น ในพื้นที่ของจังหวัดน่าน สกลนคร และเชียงราย เป็นต้น ผลของการดำเนินงาน
นำไปสู่การ “มีข้าวพอกิน” และ เกิดอาชีพ “การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว” จำหน่ายในชุมชน เป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกร
อีกทางหนึ่ง

ที่กล่าวมา เป็นเพียงตัวอย่างที่เป็นผลของความพยายามในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อความยั่งยืนของข้าวไทย
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องสร้างมวลวิกฤติทั้งด้านผลงานวิจัยและนักวิจัย เพื่อให้มีองค์ความรู้ด้านข้าวที่ครบ
วงจรเพียงพอที่จะรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม กองทุนวิจัยข้าว
ไทยจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับข้าวไทย.



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 20 ธันวาคม 2553
http://www.dailynews.co.th

http://www.phtnet.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:40 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 27/12/2011 1:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,411. เคล็บลับ ปลูกลองกองราคาดี สูตรสำเร็จ “โกกิม” แห่ง “ไร่อ่างทอง”









คมชัดลึก :ขณะ ที่ชาวสวนผลไม้หลายแห่งทั้งในภาคตะวันออกและภาคใต้ โดยเฉพาะ “ลองกอง” ต่างประสบปัญหารา
คาตกต่ำซากซาก ปีแล้วปีเล่า แต่ผลผลิตผลลองกองใน “ไร่อ่างทอง” ของโกกิม “สมคิด คงเสรีนนท์” เกษตรกรวัย
60 ปี ผู้กว้างขวางในวงการเกษตร จากหมู่ 1 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง กลับมีราคาดี ซื้อจากสวนกิโลกรัมละ 40-50 บาท
ปลูกในพื้นที่เพียง 23 ไร่ มีรายได้ปีละกว่า 2 ล้านบาท เนื่องจากผลผลิตดี รสชาติอร่อย เพราะยึดหลัก 3 ข้อ “ต้องสาย
พันธุ์ดี-ต้องดินดี-ต้องดูแลรักษาดี” ทำให้ผลผลิตสมบูรณ์จนได้รับรางวัลดีเด่นมากมาย

สมคิด หรือ “โกกิม” บอกว่า ได้บุกเบิกทำสวนผสมผสานมาตั้งปี 2531 หรือ 22 ปีก่อน ในพื้นที่ 23 ไร่ ใช้ชื่อสวนว่า
“ไร่อ่างทอง” มีลองกองมากที่สุดประมาณ 800 ต้น ส่วนที่เหลือก็จะเป็นมังคุด ประมาณ 30 ต้น รวมทั้งกล้วยและ
ผลไม้อื่นๆ อีกสารพัด ส่วนลองกองซึ่งเป็นผลไม้หลักในไร่แห่งนี้ เป็นพันธุ์หอม ซึ่งได้จากการที่เขาลงทุนไปตระเวนหา
จนกระทั่งได้พันธุที่คุณภาพดี แล้วนำยอดมาเสียบกับต้นพันธุ์ท้องถิ่น ปรากฏว่า ทำให้ลองกองชนิดนี้มีความเด่นกว่าพันธุ์
อื่นๆ อาทิ มีขนาดต้นที่ไม่สูงมาก เหมาะสำหรับการดูแลรักษา หรือเก็บเกี่ยวผลผลิต มีความแข็งแรงทนทาน ให้ผลผลิตได้
หลายสิบปี แถมยังสามารถอาศัยอยู่กับพืชชนิดอื่นได้ดีด้วย

ที่สำคัญก็คือ ลองกองพันธุ์หอม มีกลิ่นหอมสมชื่อ เมื่อปลิดผลออกมาจากต้นแล้ว สามารถแกะรับประทานได้ทันที โดย
มีรสชาติหวานอร่อย ต่างกับลองกองพันธุ์อื่น ที่บางครั้งต้องนำมาบ่มทิ้งเอาไว้ 2-3 คืน ให้ลืมต้นก่อนจะนำไปจำหน่ายได้
นอกจากนั้นหากเกษตรกรไม่ประสงค์ที่จะเก็บผล ก็สามารถปล่อยให้สุกบนต้นได้เลยเป็นระยะเวลาเกือบ 2 เดือน โดย
ที่ผลจะไม่เน่าหรือร่วงลงมา

“การทำสวนผลไม้ให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องยึดหลัก 3 ข้อ คือ 1.ต้องสายพันธุ์ดี 2.ต้องดินดี และ 3.ต้องดูแลรักษาดี
ผมโชคดีที่ไร่ผมเป็นเนิน หรือเป็นควน ต้นไม้จึงไม่อุ้มน้ำ ขณะเดียวกันด้านล่างก็เป็นสายน้ำที่ไหลลงไปสู่น้ำตก ฉะนั้นใน
ช่วงหน้าแล้งจึงมีน้ำเพียงพอในการรดต้นไม้ คือผมต่อท่อดูดขึ้นมาแล้วจ่ายผ่านระบบสปิงเกอร์จะให้น้ำอาทิตย์ละ
1-2 ครั้ง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย” สมคิด กล่าว

ส่วนการให้ปุ๋ย สมคิดบอกว่า ส่วนใหญ่จะเน้นปุ๋ยธรรมชาติ ด้วยการนำเศษไม้ เศษหญ้า มาสุมไว้ใต้โคนต้นลองกอง ให้
ย่อยสลายไปเอง แต่ปีหนึ่งๆ ก็อาจจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ให้ต้นไม้บ้างสัก 1 ครั้ง พร้อมทั้งตัดแต่งกิ่งที่ไม่จำเป็น
หรือแต่งผลที่ไม่ค่อยสวยงามทิ้งไป ซึ่งจะไม่ใช้ยากำจัดวัชพืช หรือยาปราบศัตรูพืช เพื่อให้ผลไม้ที่ออกมาจำหน่ายปลอด
สารพิษจริงๆ

“ในแต่ละปีสวนของผมจะมีผลผลิตลองกองประมาณปีละ 50-60 ตัน ในราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท ลองคิดเป็น
เงินก็กว่า 2 ล้านบาท ถือว่าได้ราคาดีกว่าสวนอื่นๆ ซึ่งขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 20-30 บาท ลูกค้าผมใน จ.ตรัง รวมถึงมา
จากกระบี่ นครศรีธรรมราช ให้ความสนใจสั่งลองกองไปรับประทาน คนในพื้นที่รู้จักผมดี แห่มาซื้อถึงไร่เลยทีเดียว”

เนื่องจากสวนผลไม้มีอายุกว่า 20 ปีแล้ว สมคิด ทดลองนำยางพาราปลูกในไร่อ่างทอง เป็นพันธุ์อาร์อาร์ไอที 251
ปลูกลงไประหว่างต้นลองกอง ตอนนี้มีอายุกว่า 3 ปีแล้ว มีทั้งหมด 1,600 ต้น ปรากฏว่า ไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบ
อะไรต่อการให้ผลผลิตของลองกอง ขณะที่ยางพาราก็โตวันโตคืนเหมือนกับสวนอื่นๆ นับเป็นแนวคิดของการทำการ
เกษตรแบบผสมผสานที่น่าสนใจยิ่ง

ด้วยความสำเร็จนี้จึงทำให้ “ไร่อ่างทอง” ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะรางวัลสวนเกษตรดีเด่น จากกรมส่ง
เสริมการเกษตร อีกทั้งยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการ เกษตรประจำอำเภอสิเกา
ทำให้มีเกษตรกรจำนวนมากเดินทางมาชมไร่ เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการเกษตรแบบผสมผสาน หากใครสนใจสามารถ
สอบถามได้ที่ 08-1326-7472

“เมธี เมืองแก้ว “


http://soclaimon.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:33 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 50, 51, 52 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 51 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©