-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 24 NOV
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 24 NOV

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/11/2011 6:52 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 24 NOV ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 24 NOV



**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

*********************************************************




จาก : (084) 339-74xx
ข้อความ : อยากให้กะหล่ำปลีเนื้อแน่นๆ น้ำหนักดี ใช้ฮอร์โมนตัวไหนครับ....เพชรบูรณ์

ตอบ :

เตรียมดิน :
1. ไถดินขี้ไถใหญ่ๆ ตากแดดจัด 10-15 แดดจัด เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. ใส่อินทรีย์วัตถุ (ขี้ไก่แหลบ-ขี้วัว-ขี้หมู-ยิบซั่ม-เศษพืชแห้ง) อัตรา 15-25% ของเนื้อดิน
3. ราดทับอินทรีย์วัตถุด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 3-5 ล./ไร่
4. ไถพรวนให้ "อินทรีย์วัตถุ-ปุ๋ยน้ำชีวภาพฯ" คลุกเคล้ากับเนื้อดิน ลึก 30-50 ซม.
5. ทำแปลง สันแปลงสูง 20-30 ซม. โค้งหลังเต่าหรือแบนราบ ตามความเหมาะสม
6. รักษาความชื้นหน้าดินโดยคลุมแปลงด้วยหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ
7. บ่มดินโดยรดด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพฯ 30-10-10 (1-2 ล.)/ไร่/7 วัน 3-4 รอบ รวมเวลา 1 เดือน
8. ตรวจสอบน้ำขังค้างบนสันแปลง หลังให้น้ำ (วันละ 3 รอบ) แล้ว น้ำในเนื้อดินระดับ "ชื้น" สม่ำเสมอ
9. ถอนวัชพืชบนสันแปลงและข้างแปลงแล้วทิ้งคลุมหน้าดิน สม่ำเสมอ


เตรียมแปลง :
- ติดตั้งระบบสปริงเกอร์แบบพ่นฝอย หริอเครื่องมือให้น้ำ เม็ดน้ำที่ใช้รดให้กะหล่ำปลีต้องเป็นเม็ดฝอยเล็กๆ ยิ่งเล็กยิ่งดี


เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- ตรวจสอบชนิดสายพันธุ์ ว่าเป็นสายพันธุ์ปลูกหน้าฝนหรือหน้าหนาว หรือปลูกได้ทุกฤดูกาล
- ตรวจสอบอายุเมล็ดพันธุ์ ที่เกี่ยวข้องกับระยะพักตัว หรือเก่าจนเสื่อมความงอก
- ตรวจสอบความน่าเชื่อเถือของบริษัทผู้ผลิต


- แช่เมล็ดพันธุ์ใน "น้ำ (พีเอช 6.0) 1 ล. + ไคโตซาน 1 ซีซี. + จิ๊บเบอเรลลิน 1 ซีซี. + สังกะสี อะมิโน คีเลต 1
ซีซี." นาน 6-12 ชม.
- นำเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการแช่แล้ว ห่มบนผ้าขนหนูชุบน้ำที่ใช้แช่จนชุ่ม

(ผ้าขนหนูชุบน้ำโชกๆ ปูบนถาดแบนราบ โรยเมล็ดที่แช่แล้วลงไป เกลี่ยเมล็ดอย่าให้ซ้อนทับกัน ปิดทับด้วยผ้าขนหนู
ชุบน้ำโชกๆ ด้านบนอีกชั้น กดผ้าขนหนูให้สัมผัสเมล็ดทั้งบนและล่าง แบบนี้จะทำให้เมล็ดได้รับอากาศที่ผ่านผ้าขนหนู
ลงไปอย่างทั่วถึง ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การงอกดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง ....ไม่มีผ้าขนหนู ใช้กระดาษชำระซ้อนกันหนาๆ
แทนได้....กรณ๊ที่ต้องเพาะหลายวัน จนผ้าขนหนูหรือกระดาษชำระแห้ง ให้พ่นฝอยด้วยน้ำเปล่าพอเปียกได้)

- เมื่อเมล็ดเริ่มมีรากงอกออกมาให้เห็น (ไม่ควรให้ยาวเกินไป เพราะรากอาจหักได้) ให้นำลงปลูก หลมละ 1-2 เมล็ด
ด้วยระยะห่างระหว่าง ต้น/แถว ตามความเหมาะสม
- ปลูกเมล็ดตื้น (1/2 ซม.) หรือวางกับพื้นแล้วกลบด้วยดินปลูกบางๆ จะงอกเป็นต้นได้เร็ว ดี ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง
คุณภาพ ดีกว่าการปลูกแบบลึกๆ


บำรุง :
**** ระยะต้นเล็ก (ตั้งแต่ได้ใบ 2-3 ใบ)
- เนื้อที่ 1 ไร่ ให้ "น้ำปริมาณตามความเหมาะสม (พีเอช 6.0) + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.)
+ 46-0-0 จี. (200 กรัม) + นมสดจืด 200 ซีซี. + สารสมุนไพร 500 ซีซี." ตอนเย็น ทุก 5 วัน ให้ผ่านใบลง
ถึงพื้นโคนต้น
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร สูตรรวมมิตร หรือสูตรเฉพาะ (ตามพยากรณ์ศัตรูพืช) ทุกวันเว้นวัน ตอนเย็น

**** ระยะต้นโตเริ่มเข้าปลี จนถึงเก็บเกี่ยว
- เนื้อที่ 1 ไร่ ให้ "น้ำปริมาณตามความเหมาะสม (พีเอช 6.0) + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 13-13-21 (1 ล.) +
นมสดจืด 200 ซีซี. + สารสมุนไพร 500 ซีซี." ตอนเย็น ทุก 5 วัน ให้ผ่านใบลงถึงพื้นโคนต้น
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร สูตรรวมมิตร หรือสูตรเฉพาะ (ตามพยากรณ์ศัตรูพืช) ทุกวันเว้นวัน ตอนเย็น


หมายเหตุ :
- สารอาหารพืชที่มีอยู่แล้วในปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง คือ สารอินทรีย์ (จากปลาทะเล, ไขกระดูก, เลือด, ขี้ค้างคาว,
นม, น้ำมะพร้าว, ฮิวมิก, .... สารสังเคราะห์ (แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม, 13-13-21) เป็นพื้นฐานแล้ว
เติมนมสดจืดก่อนใช้งาน จึงถือว่าเพียงพอสำหรับพืชสวนครัว กินใบ อายุสั้นฤดูกาลเดียวอย่างกะหล่ำปลีแล้ว จึงไม่จำเป็น
ต้องใส่เพิ่มปุ๋ยเคมีใดๆอีก

- ในดินปลูกที่ผ่านขั้นตอน "เตรียมดิน-บ่มดิน" ด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (สารอินทรีย์ + สารสังเคราะห์ + จุลินทรีย์)
ล่วงหน้ามานานนับเดือนแล้วนั้น สารอาหารต่างๆถูกเปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีมีอยู่แล้วจำนวนมาก
จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีใดๆเพิ่มอีก



เคล็ด (ไม่) ลับ :
- การให้ "โมลิบดินั่ม" ทางใบเพียง 1-2 ครั้ง ตั้งแต่เริ่มเข้าปลีจนถึงเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ได้คุณภาพดี น้ำหนักดี กลิ่นดี ปลีแน่น
ไม่มีเสี้ยน
- การให้ "น้ำ + ปุ๋ย" ตอนเย็น หลังพระอาทิตย์สิ้นแสง จะได้ประสิทธิภาพเหนือกว่าการให้ช่วงเวลาอื่น เพราะต้นพืชดูด
สารอาหาร
จากดินสู่ต้นในช่วงกล่างคืน ส่งผลให้ต้นโตเร็วกว่าปกติ
- กะหล่ำปลีแบบ "อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม" อายุหลังเก็บเกี่ยว (ฝากแผง) อยู่ได้นาน แม่ค้าชอบ จะสั่ง
ล่วงหน้า

- ........ ยังไม่จบ แล้วจะสืบเสาะมาเติมให้อีก ........



กะหล่ำปลีแจ๊คพ๊อต :
เพราะกะหล่ำปลีเป็นพืชสวนครัว กินใบ อายุสั้นฤดูกาลเดียว ปลูกได้ทุกฤดูกาล และทุกพื้นที่ของประเทศ .....

1. กำหนดวันเก็บเกี่ยวให้ตรงกับช่วงที่กะหล่ำปลีราคาดี ซึ่งมักจะราคาแพงประมาณ 2 เดือน นั่นคือ มี
ช่วงที่ 1 ประมาณครึ่งเดือนแรก ราคาเริ่มแพง
ช่วงที่ 2 ประมาณ 1 เดือนต่อจากช่วงที่ 1 ราคาแพง ถึง แพงมาก
ช่วงที่ 3 ประมาณ ครึ่งเดือนต่อจากช่วงที่ 2 ราคาเริ่มลง หรือพอๆกับช่วงที่ 1

2. บันทึกการปลูก ตั้งแต่เริ่มลงเมล็ด (เริ่มงอกแล้ว) ลงในแปลงปลูก ถึงวันเก็บเกี่ยวว่า ใช้ระยะเวลากี่วัน

3. นับวันจากวันเก็บเกี่ยวย้อนหลังถึงวันลงเมล็ด (กาในปฏิทิน) แล้วเริ่มลงเมล็ด ณ วันนั้น จากนั้นบำรุงตามปกติ

4. ทำ 4 แปลง กะคำนวนให้แต่ละแปลงเก็บเกี่ยวได้ห่างกัน 7-10 วัน โดยให้แปลงแรกเก็บได้ตรงกับวันที่ราคาเริ่มแพง
แล้วอีก 2 แปลงต่อมา เก็บอีกอาทิตย์ละแปลงก็จะตรงกับช่วงที่ราคาแพงสุด 2 อาทิตย กับอีก 1 แปลงสุดท้าย เก็บ
ช่วงสุดท้ายของช่วงที่ราคาเริ่มลง

สรุป :
- แปลงแรกตรงกับช่วงที่ราคาเริ่มแพง แปลงสุดท้ายตรงกับช่วงราคาเริ่มลง และ 2 แปลงตรงกลาง ตรงกับช่วงที่ราคา
แพงสุด .... แปลงแรกกับแปลงสุดท้าย แม้จะราคาต่ำลงมาบ้าง แต่ก็ยังแพงกว่าผักชีหน้าแล้ง หน้าหนาว อยู่ดี
- กำหนดวันเก็บเกี่ยวสามารถยืดหยุ่นเป็น +/- 3-5 วันได้

5. ทำ 5 แปลง ให้แต่ละแปลงเก็บเกี่ยวได้ห่างกัน 7-10 วัน โดยให้แปลงแรกตรงกับช่วงที่ราคาเริ่มแพง แปลง 2-3-4
ตรงกับช่วงที่ราคาแพงสุด และแปลงสุดท้ายตรงกับช่วงที่ราคาเริ่มลง ...... แบบนี้จะช่วยประกันว่าใน 2-3 แปลงนี้
อย่างน้อย 1 แปลง จะได้ราคาแพงมาก กับอีก 2 แปลง (หัว-ท้าย) ราคาต่ำลงมาบ้าง แต่ก็ยังแพงกว่าผักชีหน้าแล้ง
หน้าหนาว อยู่ดี

6. อย่าฝากอนาคตไว้กับกะหล่ำปลีเพียงแปลงเดียว แปลงใหญ่ กะรวยใหญ่ ว่างั้น เรื่องตลาดเอาแน่นอนไม่ได้ เพราะฉนั้นต้อง
เผื่อได้เผื่อเสียไว้บ้าง ผิดหวังเล็กๆ ดีกว่าผิดหวังใหญ่ๆ นะ




http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5




http://easy-vegetables.blogspot.com/2010_05_01_archive.html


คลิก...
http://www.thaicoconut-hub.com/index.php?mo=3&art=477412
ราคาเฉลี่ยขายส่งผักตลาดไท ณ วันที่ 1 มกราคา-18 มิถุนายน 2553 (บาท/ กก.)


-------------------------------------------------------------------------------------------





จาก : (083) 189-74xx
ข้อความ : ผมปลูกมะเขือ 5 ไร่ ใส่ปุ๋ย 1 กส./2 อาทิตย์ ใส่ขี้วัว ขี้หมู แล้วแต่จะหาได้ ขายแล้วได้กำไรนิดหน่อย แต่ขาดทุน
มากกว่า ตอนนี้โดนน้ำท่วมตายหมดแล้ว จะปลูกใหม่ ไม่เข็ด ขอคำแนะนำจากผู้พันด้วยครับ ขอให้รายการนี้อยู่คู่เกษตรกร
ไปนานๆ นะครับ.....หนุ่มสุพรรณ

ตอบ :
มะเขือเปราะ, มะเขือยาว, มะเขือพวง, มะเขือม่วง,

เตรียมดิน-เตรียมแปลง-ตรวจสอบเมล็ดพันธุ์......เหมือนกะหล่ำปลี-ผักชี-ต้นหอม

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน "น้ำอุ่น 50 องศา ซ. (พีเอช 6.0) 1 ล. + ไคโตซาน 1 ซีซี. + จิ๊บเบอเรลลิน 1 ซีซี. + สังกะสี
อะมิโน คีเลต 1 ซีซี." นาน 6-12 ชม.
- นำเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการแช่แล้ว ห่มบนผ้าขนหนูชุบน้ำที่ใช้แช่จนชุ่ม

(ผ้าขนหนูชุบน้ำโชกๆ ปูบนถาดแบนราบ โรยเมล็ดที่แช่แล้วลงไป เกลี่ยเมล็ดอย่าให้ซ้อนทับกัน ปิดทับด้วยผ้าขนหนู
ชุบน้ำโชกๆ ด้านบนอีกชั้น กดผ้าขนหนูให้สัมผัสเมล็ดทั้งบนและล่าง แบบนี้จะทำให้เมล็ดได้รับอากาศที่ผ่านผ้าขนหนู
ลงไปอย่างทั่วถึง ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การงอกดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง ....ไม่มีผ้าขนหนู ใช้กระดาษชำระซ้อนกันหนาๆ
แทนได้....กรณ๊ที่ต้องเพาะหลายวัน จนผ้าขนหนูหรือกระดาษชำระแห้ง ให้พ่นฝอยด้วยน้ำเปล่าพอเปียกได้)

- เมื่อเมล็ดเริ่มมีรากงอกออกมาให้เห็น (ไม่ควรให้ยาวเกินไป เพราะรากอาจหักได้) ให้นำลงปลูก หลมละ 1-2 เมล็ด
ด้วยระยะห่างระหว่าง ต้น/แถว ตามความเหมาะสม
- ปลูกเมล็ดตื้น (1/2 ซม.) หรือวางกับพื้นแล้วกลบด้วยดินปลูกบางๆ จะงอกเป็นต้นได้เร็ว ดี ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง
คุณภาพ ดีกว่าการปลูกแบบลึกๆ


บำรุง :
**** ระยะต้นเล็ก ตั้งแต่ได้ใบ 2-3 ใบ...
ทางใบ :
- น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ไบโออิ 100 ซีซี. + 46-0-0 จี. 200 กรัม" ทุก 5-7 วัน ช่วงเช้า
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร สูตรรวมมิตร หรือสูตรเฉพาะ (ตามพยากรณ์ศัตรูพืช) ทุกวันเว้นวัน ตอนเย็น

ทางราก :
- เนื้อที่ 1 ไร่ ให้ "น้ำปริมาณตามความเหมาะสม (พีเอช 6.0) + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.)
+ 46-0-0 จี. (200 กรัม) + นมสดจืด 200 ซีซี. + สารสมุนไพร 500 ซีซี." ตอนเย็น ทุก 5 วัน ให้ผ่านใบลง
ถึงพื้นโคนต้น


**** ระยะเริ่มต้นโตเริ่มให้ผลผลิต จนถึงเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + UN (ไบโออิ 50 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ไทเป 50 ซีซี. + ยูเรก้า 50 ซีซี.) ทุก 5-7 วัน ช่วงเช้า
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร สูตรรวมมิตร หรือสูตรเฉพาะ (ตามพยากรณ์ศัตรูพืช) ทุกวันเว้นวัน ตอนเย็น

ทางราก :
- เนื้อที่ 1 ไร่ ให้ "น้ำตามความเหมาะสม (พีเอช 6.0) + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) +
นมสดจืด 200 ซีซี. + สารสมุนไพร 500 ซีซี." ตอนเย็น ทุก 5 วัน


หมายเหตุ :
- สารอาหารพืชที่มีอยู่แล้วในปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง คือ สารอินทรีย์ (จากปลาทะเล, ไขกระดูก, เลือด, ขี้ค้างคาว,
นม, น้ำมะพร้าว, ฮิวมิก, .... สารสังเคราะห์ (แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม, 30-10-10 หรือ 8-24-24)
เป็นพื้นฐานแล้วเติมนมสดจืดก่อนใช้งาน จึงถือว่าเพียงพอสำหรับพืชสวนครัว กินใบ อายุสั้นฤดูกาลเดียวอย่างมะเขือแล้ว จึง
ไม่จำเป็นต้องใส่เพิ่มปุ๋ยเคมีใดๆอีก

- ในดินปลูกที่ผ่านขั้นตอน "เตรียมดิน-บ่มดิน" ด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (สารอินทรีย์ + สารสังเคราะห์ + จุลินทรีย์)
ล่วงหน้ามานานนับเดือนแล้วนั้น สารอาหารต่างๆถูกเปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีมีอยู่แล้วจำนวนมาก
จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีใดๆเพิ่มอีก

เคล็ด (ไม่) ลับ :
- การให้ "น้ำ + ปุ๋ย" ทางราก ตอนเย็น หลังพระอาทิตย์สิ้นแสง จะได้ประสิทธิภาพเหนือกว่าการให้ช่วงเวลาอื่น เพราะ
ต้นพืชดูดสารอาหาร จากดินสู่ต้นในช่วงกล่างคืน ส่งผลให้ต้นโตเร็วกว่าปกติ
- มะเขือแบบ "อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม" อายุหลังเก็บเกี่ยว (ฝากแผง) อยู่ได้นาน แม่ค้าชอบ จะสั่ง
ล่วงหน้า
- มะเขือที่ได้รับ "แม็กเนเซียม + สังกะสี" (ในไบโออิ) ประจำ ต้นจะโทรมช้ากว่าปกติ ถ้าต้นสูงมากๆ ให้ตัดแต่งกิ่ง
(เหมือน "ตัดแต่งกิ่งทำสาว" ไม้ผลยืนต้น) แล้วบำรุงทางใบด้วย "ไบโออิ + 46-0-0 จี." ควบคู่กับบำรุงทางรากด้วย
"ระเบิดเถิดเทิงฯ 30-10-10" มะเขือต้นนั้นจะแตกยอดใหม่ ให้ตัดทิ้งยอดที่ไม่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผลให้หมด
แล้วเก็บยอดที่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผลไว้ (ประมาณ 2 ยอด/1 กิ่งตัด) มะเขือต้นนั้นจะโตแล้วให้ผลผลิตต่อได้
โดยไม่ต้องปลูกใหม่


- ........ ยังไม่จบ แล้วจะสืบเสาะมาเติมให้อีก ........

-------------------------------------------------------------------------------------------





จาก : (087) 468-41xx
ข้อความ : ในนามีหญ้าข้าวนกมาก หญ้าอื่นๆก็มาก ใช้ยาฆ่ายาคุม 2 เที่ยว เอาไม่อยู่ ลุงคิมมีสารสกัดสมุนไพรอะไรไหม
เอามาแทนยาฆ่าหญ้า....ชาวนาเพชรบุรี

ตอบ :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร
"เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้

ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ไบโออิ 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี." ทุก 7-10 วัน
ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการ
ระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ฮอร์โมนไข่ไทเป 100 ซีซี. + 46-0-0 จี. 200 กรัม + สารสกัดสมุน
ไพรสูตรรวมมิตร 200 ซีซี." 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการ
ระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี."
ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการ
ระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าว
ก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย
- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว
นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง
- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา

-------------------------------------------------------------------------------------------




** ไบโออิ - ไทเป - ยูเรก้า - ระเบิดเถิดเทิง สูตรอยู่หน้าเว้บ **


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©