-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปลูกสะเดาเอาเนื้อไม้
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปลูกสะเดาเอาเนื้อไม้

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
roiet
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 10/11/2011
ตอบ: 11

ตอบตอบ: 16/11/2011 11:28 am    ชื่อกระทู้: ปลูกสะเดาเอาเนื้อไม้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม

ติดตามอ่านบทความในเว็ปของลุงระยะหนึ่งแล้ว อยากขอความคิดเห็นของลุงครับเรื่องการปลูกสะเดาเพื่อเอาเนื้อไม้ครับ

1. ผมมีที่อยู่ 4 ไร่ ว่าจะปลูกไม้สะเดาเอาไว้ขายเนื้อไม้ สักอีก 10 ปีข้างหน้าถือว่าเป็นเงินเก็บ

2. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก เก็บเอาเมล็ดจากสายพันธุ์ที่มีในท้องถิ่นดีไหม หรือมีสายพันธุ์ไหนที่ตลาดต้องการอยากให้ลุงแนะนำครับ

3. ที่เคยเป็นทุ่งนามาก่อนแต่ส่วนมากจะแล้งปลูกข้าวไม่ได้ผลน้ำไม่ค่อยขัง จะใช้วิธีปลูกแบบยกร่อง ลุงมีความคิดว่ายังไงครับ

4. ที่ตรงนี้แม่เขาว่าจะปลูกยางพาราแต่ผมว่ามันไม่เหมาะ ส่วนตัวแล้วผมว่าสะเดาน่าจะดูแลง่ายกว่าดูแลดีๆๆ 10 ปีน่าจะแปรรูปได้


ปล.1
ไม่ถามแต่อยากบอก ผมอยู่ร้อยเอ็ดนะครับ ชื่อกล้วยครับ และขอให้ลุงคิมมีสุขภาพที่ดี แข็งๆ-แรงๆ อยู่เป็นอมตะตลอดไป


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/11/2011 12:28 pm    ชื่อกระทู้: Re: ปลูกสะเดาเอาเนื้อไม้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มูลเหตุจูงใจ + จินตนาการ :


เมื่อหลายสิบปี (เน้นย้า....หลายสิบปี) ประเทศไทยเคยส่งออกไม้ใช้สอย มีรายได้จากการเข้าประเทศอันดับต้นๆ ถึงวันนี้
ประเทศไทยต้องระงับการส่งไม้ออก แล้วกลับเป็นประเทศนำเข้าไม้จากต่างประเทศ (พม่า อินโดเนเซีย ลาว เขมร) แทน

ความต้องการไม้ใช้สอยของตลาดต่างประเทศทั่วโลกในปัจจุบันเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมาก เพียงแค่ดูจากการลักลอบส่งออก
ไม้ก็จะเห็นชัดแล้ว

ด้วยเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ มีน้ำยาเคมีหลายชนิดช่วยรักษาเนื้อไม้ให้อยู่ได้น่านขึ้น เนื้อไม้แข็งขึ้น หรือดีขึ้นกว่า
การเป็นเพียงไม้เนื้ออ่อนธรรมดาๆ

การก่อสร้างใดๆเกือบทุกชนิดที่เคยใช้ไม้เป็นวัสดุ โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็ง เช่น สัก ตะเคียน เต็ง ยาง ฯลฯ ปัจจุบันเปลี่ยน
มาเป็นใช้ "พลาสติก-เหล็ก-กระดาษ" แทน เนื่องจากไม้มีราคาแพง และหายาก

ปัจจุบันสิ่งของเครื่องใช้ภายในอาคาร เช่น ตู้ โต๊ะ และเฟอร์นิเจอร์ภายในเกือบทุกชนิด ต้องเปลี่ยนมาใช้ "ไม้เนื้ออ่อน" แทน
แม้จะเป็นไม้เนื้ออ่อน การที่ไม้เหล่านี้อยู่ในร่ม ไม่ได้สัมผัสกับ แดด-ลม-ฝน บางครั้งกลับอยู่ในที่ควบคุมอุณหภูมิ (เครื่อง
ปรับอากาศ) อีกด้วย จึงมีทำให้มีอายุใช้งานได้นานไม่ต่างจากไม้เนื้อแข็ง

ด้วยความเป็นไม้ที่สะท้อนถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง แม้จะเป็นไม้เนื้ออ่อนแต่ก็มีลวดลายของไม้ปรากฏ สถาปนิกหรือ
นักออกแบบได้ดีไซน์รูปแบบอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆภายในอาคารให้ดูดี มีคุณค้าขึ้นมาได้

วันนี้หลายคนเคยเห็นหรือเคยขาย จะมีรถเล่ตระเวนไปตามหมู่บ้านแล้วเจรจาขอ "ตัด/ซื้อ" ต้นขนุน มะม่วง ด้วยราคาและ
เงื่อนไขที่เจ้าของรับได้ ไม้เหล่านี้ คนรับซื้อเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร

ไม้สะเดา เช่นเดียวกับไม้อื่นๆ เช่น สนประดิพัทธ์ ยูคาลิปตัส ตะกู สัตตบรรณ มะม่วง ขนุน ก้ามปู ไม่ใช่ไม้หวงห้าม
ตามกฏหมาย ผู้ปลูกจึงสามารถตัดเองได้โดยไม่ต้องขออณุญาติจากทางราชการ

ถ้า (เน้นย้ำ...ถ้า/IF) ลุงคิมมีที่ดิน 100 ไร่ จะลงไม้ใช้สอยโตเร็ว สะเดา-สน-ก้ามปู- (ตามลำดับความชอบ) ซัก 90 ไร่
ที่เหลือ 10 ไร่ แบ่งเป็น แหล่งน้ำ+บ้านเรือนแพ 1 ไร่, ก้านยาว+หวานป่า 3 ไร่, มะม่วงกินดิบระยะชิดพิเศษ 3 ไร่, โรงงาน
1 ไร่ รวมเป็น 8 ไร่ อีก 2 ไร่ที่เหลือเป็นสันทนาการ/รับแขก/ทำกิจกรรม

BUSINESS MODEL ......
- ไม้ 1 ต้น ความสูง 8 ม. ตัดลงมาเป็นซุงได้ 7 ม. เหลือตอติดพื้น 1 ม.
- ไม้ซุง 7 ม. ตัดหัวท้ายข้างละ 50 ซม. เหลือท่อนซุง 6 ม.
- ท่อนซุง 6 ม. ทำไม้กระดาน หนา 1 นิ้ว กว้าง 12 นิ้ว ยาว 6 ม. (ราคาดีสุด)

- ท่อนซุงก่อนทำไม้กระดานมีไม้ปีก เอามาทำปาเก้
- ปลายท่อนซุงที่ตัดหัวท้ายข้างละ 50 ซม. เอามาทำปาเก้
- รากแก่ในดิน กิ่งขนาดใหญ่ เอามาทำปาเก้
- ทำเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูป เน้นออกแบบสไตล์ประเทศที่ส่งออก หรือรับทำตามออร์เดอร์ ทั้งในและต่างประเทศ

- ตอติดพื้น ตัดขวางเป็นหน้าเขียงหนา 1 นิ้ว ทำโต๊ะมุมห้องในอาคาร
- กิ่งเล็กกิ่งน้อย ใบ ขี้เลื่อย เศษไม้ บดละเอียดแล้วอัดทำกระดาน หรือทำปุ๋ยอินทรีย์ หรือเพาะเห็ด


................ ยังไม่จบ ...................







roiet บันทึก:

สวัสดีครับลุงคิม

ติดตามอ่านบทความในเว็ปของลุงระยะหนึ่งแล้ว อยากขอความคิดเห็นของลุงครับ
เรื่องการปลูกสะเดาเพื่อเอาเนื้อไม้ครับ

1. ผมมีที่อยู่ 4 ไร่ ว่าจะปลูกไม้สะเดาเอาไว้ขายเนื้อไม้ สักอีก 10 ปีข้างหน้าถือว่า
เป็นเงินเก็บ

ตอบ :
- เนื้อที่ 4 ไร่ ลงครั้งแรก 2 x 2 ม. = 200 ต้น เลี้ยงไปก่อน 2-3 ปี ต้นฌโตเริ่ม
เบียดกัน ให้ตัดออกต้นเว้นต้น เหลือ 100 ต้น เลี้ยงต่อจนโตเต็มที่ ..... ต้นที่ตัด
ออก พิจารณานำไปใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม

- การปลูกชิดกัน เพื่อให้ต้นแข่งกันพุ่งขึ้นบนเพื่อแย่งแสงแดด แบบนี้จะทำให้ลำ
เปล้า (ต้น) ตรง-สูง และทิ้งแขนงเล็กเอง

- ติดสปริงเกอร์ ให้ "น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10" ทุก 2
เดือน จะช่วยให้ต้นโตเร็วกว่า "โตตามธรรมชาติ" 2-3 เท่า ด้วยอายุต้นเท่ากัน นั่น
หมายความว่า อายุต้น 10 ปี เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 10 (+) นิ้ว

- เมื่ออายุต้น 4-5 ปีแล้ว จัดรอบการบำรุงโดยรอบปี 12 เดือน ให้ "น้ำ + ปุ๋ยน้ำ
ชีวภาพ" 8 เดือน ๆละครั้ง ครั้นถึงเดือน ม.ค. เริ่มเข้าสู่ช่วงแล้ง เอาไฟเผาหญ้าโคน
ต้น พอให้ต้นรู้สึกร้อน แล้วปล่อยให้อยู่กับแล้งจนถึงเดือน เม.ย. จึงระดมให้น้ำใหม่
ต้นจะแตกยอดใหม่ เจริญเติบโตต่อ ..... ช่วงที่งดน้ำ 4 เดือนนั้น ต้นสะเดาจะสร้าง
ลายในเนื้อไม้

- หลังจากเหลือระยะ 4 x 4 ม. แล้ว ปลูกพืช แซม/แทรก ประเภทต้องการแสง
แดดน้อย เช่น ข่า พริกกะเหรี่ยง ผักหว่านป่า ดอกเยอบิร่า




2. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก เก็บเอาเมล็ดจากสายพันธุ์ที่มีในท้องถิ่นดีไหม หรือมีสาย
พันธุ์ไหนที่ตลาดต้องการอยากให้ลุงแนะนำครับ

ตอบ :
เมล็ดพันธุ์ไปคอยเก็บเอาตามต้นที่ทางหลวงปลูกไว้ข้างทางนั่นแหละ เอาพันธุ์นี้นี่
แหละ ง่ายๆ ปลูกไปเถอะ เรื่องสายพันธุ์สะเดาไม่สำคัญ สำคัญที่จะทำยังไงให้มันโต
เร็วๆ อายุต้น 10 ปี ให้ได้น้องๆคนโอบ

เมล็ดสะเดาไม่มีระยะพักตัว ได้เมล็ดมาแล้วต้องลงปลูกเลย วิธีการทำแบบผักหวายป่า
ที่ลิงค์มาให้ดูนั่นแหละ

ไม้ตะกูลเดียวกับสะเดาที่โตเร็วกว่าสะเดาแท้ๆ คือ "เหลียง" รูปร่างหน้าตาเหมือน
สะเดาเดี๊ยะ

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?
6. เทคนิคการเตรียมเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่า : (เหมือนสะเดา....)


3. ที่เคยเป็นทุ่งนามาก่อนแต่ส่วนมากจะแล้งปลูกข้าวไม่ได้ผลน้ำไม่ค่อยขัง จะใช้
วิธีปลูกแบบยกร่อง ลุงมีความคิดว่ายังไงครับ

ตอบ :
เนื้อที่ 4 ไร่ ต้องถือหลัก "เฮ็ดน่อย สิได้หลาย....เฮ๊ดหลาย สิได้น่อย" ปลูกสะเดา
ต้องใช้เวลา 10 ปี ถึงได้ขายสะเดา ถึงจะมีพืช แซม/แทรก ก็คงได้ไม่เท่าไหร่ ทำไม
ไม่มองอย่างอื่นบ้าง

อยู่อิสาน ปลูกผักส้มตำซี่ มะละกอ พริก ถั่วฝักยาว แบบอินทรีย์นำ เคมีเสริม ตาม
ความเหมาะสม น่าจะดีกว่ามั้ง....

แม้แต่ "แคนตาลูป" แบ่งพื้นที่เป็น 2 แปลง ๆละ 2 ไร่ ปลูกทีละโซน อีกโซนบ่มดิน
สลับกันอย่างนี้ ทำให้เป็น ให้คุณภาพดีๆ เชื่อเถอะ ไม่พอขาย




4. ที่ตรงนี้แม่เขาว่าจะปลูกยางพาราแต่ผมว่ามันไม่เหมาะ ส่วนตัวแล้วผมว่าสะเดาน่า
จะดูแลง่ายกว่าดูแลดีๆๆ 10 ปีน่าจะแปรรูปได้

ตอบ :
คนไม่เหมาะกับยาง หรือ ยางไม่เหมาะกับคน....ไม่มีพืชใดไม่เหมาะกับประเทศไทย
แต่คนไทยต่างหากที่ไม่เหมาะกับพืช

นึกอยากปลูกก็ปลูก เห็นเขาปลูกก็ปลูก เรียกว่า ปลูกตามกระแส ปลูกทั้งๆที่บำรุง
ไม่เป็น แล้วก็ว่าพืชนั้นไม่เหมาะ งั้นถามหน่อย พืชอะไรถึงจะเหมาะ....




ปล.1
ไม่ถามแต่อยากบอก ผมอยู่ร้อยเอ็ดนะครับ ชื่อกล้วยครับ และขอให้ลุงคิมมีสุขภาพ
ที่ดี แข็งๆ-แรงๆ อยู่เป็นอมตะตลอดไป


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/06/2020 5:41 am, แก้ไขทั้งหมด 33 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/11/2011 1:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รู้จักสะเดา



1. ลักษณะทั่วไป
สะเดามีชื่อเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่นเช่น เดา สะเลียม แต่มีชื่อสามัญทั่วไปว่า neem สะเดามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Azadirachta indica A. Juss ซี่งเป็นสะเดาที่รู้จักทั่วไปว่าสะเดาอินเดีย ส่วนสะเดาที่พบทั่วไปในประเทศไทยมี
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Azadirachta indica var.siamensis Valeton หรือสะเดาไทย นอกจากนี้ยังมีสะเดาอีกชนิด
หนึ่งซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปในแถบภาคใต้ของไทยและแหลมมาลายูในประเทศมาเลเซีย คือ เทียม สะเดาเทียม
หรือสะเดาช้าง Azadirachta excels (Jack) Jacobs สะเดาเป็นไม้ยืนต้นวงศ์เดียวกันกับมะฮอกกะนี ลักษณะ
ที่แตกต่างกันระหว่างสะเดาไทย สะเดาอินเดียและสะเดาช้างอาจดูได้คร่าว ๆจากลักษณะขอบใบ สีใบ ขนาดของ
เมล็ด ตลอดจนช่วงระยะเวลาการออกดอก





2. การขยายพันธุ์ มีหลายลักษณะ คือ
2.1 การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ เมล็ดสะเดามีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงและมีความสามารถแตกหน่อได้ดี ดังนั้นการ
ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการใช้เมล็ดจึงเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด นำเมล็ดงอกไปปลูกในพื้นที่เพาะปลูกโดย
ตรง นอกจากนี้เกษตกรยังสามารถเก็บผลสุกที่ร่วงอยู่ตามโคนต้นมาเพาะชำในถุงพลาสติกที่ใช้เป็นถุงเพาะกล้าซึ่ง
วิธีนี้เหมาะกับการปลูกเชิงพาณิชย์หรือปลูกเป็นสวนสะเดา เมล็ดสะเดาจะสูญเสียความสามารถในการงอกตามธรรม
ชาติราว 3-4 เดือน หลังผลสุกแก่ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเก็บรักษาเมล็ดเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ไว้ได้นาน การเก็บผล
สุกของสะเดาสามารถเก็บได้โดยตรงจากต้นในขณะที่ผลยังไม่แก่จัดถึงกับร่วงหล่น โดยใช้กรรไกรหรือตะขอตัดผล
ออกจากกิ่ง หรือเก็บผลสะเดาสุกที่ร่วงอยู่ตามโคนต้นมาปลูกก็ได้ ผลทีสุกแก่จะมีเนื้อหุ้มเมล็ดอยู่จึงต้องนำมาแกะเนื้อ
ผลออก โดยทั่วไปจึงนำผลสะเดาสุกไปขยำกับทรายให้เปลือกและเนื้อหุ้มผลหลุดออกจนหมด แล้วนำไปผึ่งลม
ในที่ร่มรำไรจนเมล็ดแห้งและสามารถเพาะให้งอกได้ทันที ราว 8-15 วันเมล็ดสะเดาจึงเริ่มงอกเป็นต้นอ่อน การย้าย
เมล็ดที่งอกเพื่อการเพาะปลูกหรือนำไปเพาะในถุงชำกล้าสามารถทำได้ทันทีหรืออาจผล่อยไว้ให้เป็นกล้าขนาดใหญ่
อายุราว 12 อาทิตย์จะได้กล้าความสูงขนาด 8-12 นิ้ว ก็สามารถย้ายลงถุงเพาะชำขนาดใหญ่ 6-8 นิ้วได้

2.2 การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ การขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งทำได้โดยขุดหน่อที่แตกออกมาจากรากของต้น
สะเดาซึ่งเป็นต้นแม่ ขนาดของรากที่เหมาะสมควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 3-5 ซม. ตัดท่อนรากของต้นแม่เป็น
ท่อนยาวประมาณ 5-10 ซม. นำมาเพาะชำในแปลงเพาะ ดูแลรักษาการให้น้ำประมาณ 1 เดือนจึงจะแตก
หน่อออกมา หลังจากนั้นจึงย้ายลงในถุงเพาะหล้าต่อไป


3. การปลูก
ต้นสะเดาสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศไทย สะเดาเป็นไม้ทนแล้งชนิดหนึ่ง สามารถเจริญเติบดต
ได้แม้จะมีปริมาณน้ำฝนเพียง 130 มิลลิเมตรต่อปี แต่ปริมาณน้ำที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตก็อยู่ระหว่าง 800-
1,200 มิลลิเมตรต่อปี

3.1 การเตรียมพื้นที่ปลูก พื้นที่ปลูกสะเดาที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตควรเป็นพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล
ประมาณ 50-150 เมตร และมีรายงานว่าสะเดาเติบโตได้แม้ว่าจะปลูกบนพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร
สภาพดินควรมีความเป็นกรดเล็กน้อย ค่าph ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 6.2-6.5 แต่ในสภาพดินที่เป็นกรดสูงสะเดาก็
สามารถเจริญเติบโตได้ดี ใบสะที่แก่และร่วงหล่นที่โคนต้นจะทำให้ดินบริเวณโดยรอบมีความเป็นด่าง (ค่าph ประมาณ
8.2) ทำให้สามารถปรับความสมดุลย์ของดินปลูกได้ ในทางตรงกันข้ามต้นสะเดามีการเจริญเติบโตทางลำต้นช้า
ในสภาพพื้นที่ฝนตกชุกและน้ำท่วมหรือในพื้นที่ดินเค็มจัด

3.2 ความถี่ห่างของระยะหลุมปลูก ระยะหลุมปลูกของสะเดาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก ปัจจุบันมีการปลูก
เพื่อการใช้ประโยชน์ของเนื้อไม้ การสร้างสวนป่าสะเดาแบบวนเกษตร ตลอดจนการเก็บเมล็ดผลิตสารสกัดสะเดา
ประสิทธิ์ ( 2537) เสนอข้อมูลระยะหลุมปลูกตามวัตถุประสงค์ไว้หลายประเภท รายละเอียดดังแสดงในตาราง 1.2
การเจริญเติบโตของไม้สะเดาทางลำต้นพบว่าระยะปลูก 4.0 x 4.0 เมตร จะทำให้สะเดามีลักษณะการเจริญเติบ
โตทางลำต้นดีที่สุด นั่นหมายถึงต้นพันธุ์ที่แข็งแรงสามารถออกดอกและทำให้ผลผลิตสูงตามไปด้วย

- ระยะระหว่างต้น x แถว 1 x 2 ม. จำนวน 800 ต้น/ไร่
- ระยะระหว่างต้น x แถว 2 x 2 ม. จำนวน 400 ต้น/ไร่
- ระยะระหว่างต้น x แถว 4 x 4 ม. จำนวน 200 ต้น/ไร่

ปลูกควบกับพืชอื่นในระบบวนเกษตร 2x8 100 อายุ 2 ปีแรก สามารถปลูกร่วมกับพืชไร่อื่นได้ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง
พอ 5 ปี ตัดสางเหลือ ระยะ 4 x 8 เมตรเพื่อเจริญเติบโตต่อไป



3.3 วิธีการปลูก ขนาดของกล้าไม้สะเดาที่นิยมใช้ในการย้ายปลูกมักใช้กล้าใหญ่อายุ 4-5 เดือน ความสูงของกล้าราว 8-12
นิ้ว (20-30 ซม.) ก่อนนำกล้าไปปลูกนิยมทำให้กล้าสะเดาแกร่ง เช่นเดียวกับการปลูกไม้ยืนต้นทั่วไปทั้งนี้เพื่อจะทำให้
อัตราการรอดตายสูงขึ้น โดยทั่วไปนิยมงดการให้น้ำกับกล้าเป็นระยะ ๆ การปลูกหลังช่วงวันที่ฝนตกหนักจะทำให้การตั้ง
ตัวของกล้าดี หลุมปลูกควรมีขนาดกว้างและลึกประมาณ 25 x 25 x 25 ซม.

ภายในหลุมปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ก่อนวางต้นกล้าลงในหลุม แล้วกลบดินโดยรอบให้แน่นและทำ
เป็นแอ่งลึกประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อกักน้ำไว้ให้ความชื้นแก่ต้นกล้าที่ปลูก ควรปักหลักและผูกกล้าติดไม้หลักไว้อย่างหลวมๆ
เพื่อไม่ให้กล้าสะเดาโยกเว ลมพัดแรง




4. การปฏิบัติดูแลรักษา
ความสำเร็จของการปลูกพืชหัวใจสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติ ดูแลรักษาได้แก่ การปลูกซ่อม การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย สำหรับการ
ปลูกไม้สะเดาทั่วไปนิยมปลูกในช่วงฤดูฝน ดังนั้นการให้น้ำ ตามธรรมชาติกับต้นสะเดาที่เพิ่งทำการย้ายปลูกจึงเป็นการ
เพียงพอ อย่งไรก็ตามอาจมีต้นกล้างบางต้นที่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีหรืออาจตายไปในระหว่างกานย้ายปลูกดังนั้น
จึงควรปลูกซ่อม การปลูกซ่อม ครั้งแรกควรทำหลังจากย้ายปลูกประมาณ 1-2 เดือนและอีกครั้งก่อนสิ้นสุดฤดูฝน กล้าที่
ใช้ปลูกซ่อมควรเป็นกล้าค้างปีและอาจปลูกว่อมอีกครั้งในปีที่ 2 ช่วงต้นฤดูและหลายฤดู ในปีที่ 3 ไม่ควรปลูกซ่อมอีกใน
กรณีที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้เพราะจะทำให้สะเดาเจริญเติบโตไม่ทันกับที่ปลูกในต้นฤดูแรก การให้ปุ๋ย กับสะเดา
ในการปลูกสร้างสวนสะเดาเพื่อการค้าหรือในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 20-20-20
ประมาณ 30 กรัมต่อต้น (ประมาณ 1 ช้อนกาแฟต่อต้น) นิยมใส่ปุ๋ยรอบโคนต้นแล้วพรวนดินกลบ ระยะเวลาการให้ปุ๋ย
ควรทำในช่วงต้นฤดูของการเจริญเติบโตคือในฤดูฝน นอกจากนี้หลังการให้น้ำและปุ๋ยกับกล้าสะเดาแล้วควรกำจัดวัชพืช
ที่ขึ้นรอบโคนต้นเพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหารและน้ำจากกล้าสะเดา ตลอดจนยังเป็นการป้องกันการเกิดไฟไหม้ใน
สวนปลูกได้อีกทางหนึ่งด้วย การป้องกันการเจริญเติบโตของวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีคือ การปลูกพืชแซมในช่วงร
ะยะปีแรก เช่นพืชตระกูลถั่ว อย่างไรก็ตามควรมีการดูแลการเจริญเติบโตของพืชแซมไม่ให้เจริญเติบโตพันเลื้อยต้นสะเดา
จนทำให้เกิดการชะงักงันการเจริญเติบโตของต้นสะเดา



5. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
เมล็ดสะเดามีประสิทธิ์ภาพในการป้องกันและกำจัดแมลงและโรคพืชหลายชนิดดังนั้นหากพูดกันอย่างผิวเผินแล้วต้นสะเดา
ไม่น่าจะมีโรคหรือแมลงศัตรูที่จะเข้าทำลายได้ ซึ่งเรื่องนี้มีคำตอบอยู่ในตัวว่า สารสกัดสะเดาที่ใช้ในการป้องกัน
และกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืชนั้นได้มาจากการสกัดเอาสารออกฤทธิ์อะซาไดแรคตินจากส่วนที่เป็นเนื้อในเมล็ดและ
พบน้อยมากในส่วนต่าง ๆของต้น ไม่ว่าจะเป็น ใบ กิ่ง ดอก ลำต้น ดังนั้นจึงพบรายงานเกี่ยวกับชนิดของแมลงศัตรู
และโรคของสะเดาโดยเฉพาะในระยะต้นกล้าหลายชนิดดังนี้

5.1 แมลงศัตรูสะเดา มด จัดเป็นศัตรูสำคัญของสวนป่าสะเดา มดจะกัดกินแผ่นใบเหลือไว้เพียงเส้นใบ ทำให้พืชสูญเสีย
พื้นที่ในการสังเคราะห์แสงมีผลทำให้การเจริญเติบโตชงักงัน หรืออาจทำให้ต้นกล้าตายได้ ปลวก ไม้สะเดาส่วนที่เป็น
เนื้อเยื่อไม้ที่มีชีวิตอาจพบการทำลายของปลวกทำให้กล้าชงักการเจริญเติบโต ตั๊กแตนและจิ้งหรีด มีการทำลายใบ
อ่อนจากตั๊กแตนหนวดสั้น และมีการทำลายบริเวณตาอ่อนโดยตั๊กแตนหนวดยาวและจิ้งหรีด เพลี้ยไฟ จะเข้าดูดกินน้ำ
เลี้ยงจากบริเวณช่อดอกทำให้ช่อดอกร่วงไม่ติดผล และยังเข้าทำลายใบและตาอ่อนอีกด้วย ด้วงปีกแข็ง ด้วงและแมลง
ค่อมทองสามารถกัดกินใบสะเดา หนอนผีเสื้อ พบการกัดกินทำลายยอดอ่อนของสะเดา มวน มวนเขียวทำลายโดย
ดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบ ทำให้ใบม้วนงอและการเจริญเติบโตของต้นผิดปกติฌโดยแมลงจะเข้าทำลายในช่วง
ฤดูฝนถึงช่วงหลังฤดูฝน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย จะดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ใบได้

5.2 โรคของสะเดา โรคจากแบคทีเรีย ลักษณะอาการของใบที่ถูกทำลายจะมีอาการใบจุด ลักษณะจุดทำทำให้เนื้อใบ
ถูกทำลายและลุกลามเป็นจุดขนาดใหญ่แต่จะหลุดลุกลามเมื่อชนเส้นใบหรือขอบใบ มีผลทำให้ใบเหลืองร่วง หรือปห้ง
หล่นก่อนเวลาอันสมควร โรคจากเชื้อรา ใบเกิดเป็นจุดโบ๋ อาการเกิดกิ่งต้นแห้ง โรคเกิดรากเน่า อนึ่งในประเทสไทยยัง
ไม่พบการระบาดของโรคหรือแมลงชนิดใดๆในสวนปลูกสะเดา ทั้งนี้ควรคำนึงถึงหลักสมดุลย์ตามธรรมชาติและสิ่งแวด
ล้อมในการจัดการสภาพนิเวศน์นั้น ๆด้วย


http://www.wasantproducts.com/web/?q=node/2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/11/2011 1:33 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/11/2011 1:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สะเดา....


สะเดา เป็นไม้โตเร็ว เจริญได้ดีในแถบร้อน ที่มีปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 400-1,200 มม. เป็นพืชทน อากาศแห้งแล้งได้ดี สามารถ
ขึ้นได้ในดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แต่จะเจริญเติบโตเร็ว ในสภาพดินที่ไม่ชื้นแฉะ และปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 800 มม.


การขยายพันธุ์สะเดา
ใช้วิธีเพาะเมล็ด ซึ่งสามารถทำได้จำนวนมาก เพราะปริมาณของ ผลสะเดามีมากในทุก ๆ ปี แต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้นาน เพราะ
เมล็ดจะสูญเสียเปอร์เซ็นต์ความงอกงามได้เร็วมาก หลังจาก เก็บผล สุกมาและเอาเนื้อออกหมดแล้ว ล้างเมล็ดให้สะอาด นำไปเพาะ
ทันที จะงอกได้ดีมาก เมื่อสะเดาเจริญเติบโตจะติดผลเมื่ออายุ 5 ปีขึ้นไป และให้ผลผลิต เต็มที่เมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไปปริมาณของ
ผลสะเดาจะอยู่ระหว่าง 10-50 กก./ต้น/ ปี



ชนิดของสะเดา
สะเดา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. สะเดาอินเดีย มีลักษณะขอบใบหยักเป็นฟีนเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลมโคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลมเรียวแคบมากคล้าย
เส้นขน ผลสุกในเดือน ก.ค.-ส.ค.

2. สะเดาไทย มีลักษณะของใบหยักเป็นฟันเลื่อย แต่ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม ผลสุก
ในเดือน เม.ย.- พ.ค.

3. สะเดาช้าง หรือต้นเทียม ไม้เทียม ขอบใบจะเรียบ หรือปัดขึ้นลงเล็กน้อย โคนใบเบี้ยว ปลายเป็นติ่งแหลม ขนาดใบและ
ผลใหญ่กว่า 2 ชนิดแรก ผลสุกในเดือน พ.ค.- ส.ค.

** ต้นสะเดาอินเดีย และสะเดาไทย เป็นชนิด (species) เดียวกัน แต่ต่างพันธุ์ (variety) ส่วนสะเดาช้างหรือต้นเทียม
ไม้เทียม จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับสะเดาไทย และสะเดาอินเดีย แต่คนละชนิด (species) สะเดาทั้ง 3 ชนิด นี้จะมี
ลักษณะ ใบและต้นแตกต่าง กันดังกล่าวมาแล้ว


ประโยชน์ของสะเดา
1. เนื้อไม้ เหมาะสำหรับนำไปก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสา เข็ม และ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ รวมทั้งเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดี

2. เป็นอาหารและพืชสมุนไพร เช่น ในดอก และยอดอ่อน ใช้เป็นอาหาร และยาเจริญอาหาร ดอกแก้พิษเลือดกำเดา บำรุงธาตุ
ผลแก้โรคหัวใจ ยางดับพิษร้อน เปลือกแก้ไข้มาลาเรีย และเป็นยาสมานแผล ผลอ่อนใช้ถ่ายพยาธิ เมล็ดใช้รักษาโรคเบาหวาน

3. เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลง สะเดามีสารชนิดหนึ่งชื่อ กะซ้าหอยแรคติหน สามารถนำมาสกัด เป็นสารป้องกันกำจัด
แมลงได้ พบมากที่สุดในส่วนของเมล็ด

4. ปลูกเพื่อเป็นแนวกันลมและให้ร่ม เนื่องจากมีใบหนาทึบ รากลึก ทนแล้ง ทนดินเค็ม และผลัดใบในเวลาสั้น

5. อื่นๆ เช่น น้ำมันจากเมล็ดสะเดาใช้ทำเชื้อเพลิงจุดตะเกียง เปลือกมีสารแทนนิน ใช้ในอุตสาหะกรรมฟอกหนัง กากสะเดา
ใช้เป็นปุ๋ย ผสมเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น



การปลูกสะเดา
- การเตรียมพื้นที่
ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบ เก็บเศษไม้และวัชพืช สุมเผาใน ช่วงฤดูร้อน แล้วปักหลักกำหนดระยะปลูก

- ระยะปลูก
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก เช่น
- ต้องการไม้ขนาดเล็ก ใช้ระยะปลุก 1 x 2 หรือ 2 x 2 เมตร
- ต้องการไม้ใหญ่ สำหรับใช้ในการก่อสร้าง
- ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ระยะปลูก 2 x 4 หรือ 4 x 4 เมตร
- ต้องการเมล็ดไปทำสารฆ่าแมลง ใช้ระยะปลูก 6 x 6 เมตร

แต่เพื่อไม่ให้เสียพื้นที่ อาจปลูกระยะถี่ก่อน เมื่อเรือนยอด เบียดชิดกันจึงตัดสะเดาบางส่วนไปใช้ประโยชน์ ให้ต้นสะเดาที่
เหลือ มีระยะห่างตาม
วัตถุประสงค์การปลูกต่อไป

- หลุมปลูก
ขนาดที่เหมาะสม คือ กว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 25 x 25 x 25 ซม.

- วิธีปลูก
หลังจากขุดหลุมปลูกแล้ว ตากดินประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรค ในดิน แล้วจึงใส่ปุ่ยร็อคฟอสเฟส รองก้นหลุม อัตรา 150-200
กรัมต่อหลุม หรือครึ่งกระป๋องนม แล้วนำกล้าไม้ที่เตรียมไว้ ย้ายลงปลูก ขนาดกล้าไม้ที่ เหมาะสมควรสูง 8-12 นิ้ว อายุประมาณ 4-5 เดือน

ฤดูปลูก
ควรเป็นฤดูฝน โดยเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตกหนัก ฉีกถุงพลาสติกใส่กล้าออก วางกล้าลงตรง กลางหลุม กลบดินและกด
รอบๆ โคนต้นให้แน่น



การดูแลรักษา
1. การกำจัดวัชพืช ในปีแรกจำเป์นต้องเอาใจใส่กำจัดวัชพืชออกบ้าง เพื่อไม่ให้สูงคลุมเบียดบังแย่งแสง และอาหาร ต้นสะเดา

2. การใส่ปุ๋ย เมื่อกล้าไม้ที่ปลูกตั้งตัวแล้ว ควรเร่งการเจริญเติบโตด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อน กาแฟ โดยการ
พรวนดินรอบโคนต้น แล้วปุ๋ยตาม

3. การริดกิ่ง หากต้องการให้สะเดามีลำต้นตรงเปลา ใช้ประโยชน์ในการแปรรูปได้มากขึ้น ควรหมั่นริดกิ่งอยู่ สม่ำเสมอ

4. การป้องกันไฟ ควรทำแนวกันไฟกว้างประมาณ 6-8 เมตร รอบแปลงปลูก เพื่อป้องกันไฟไหม้ ในฤดูแล้ง



การเก็บเกี่ยวผลสะเดา
สะเดาจะเริ่มติดผลเมื่ออายุ 3-5 ปี ให้ทำการเก็บผลสะเดาสุกจากต้นหรือผลที่ ร่วงใหม่ๆ รีบนำมาแยกเนื้อหุ้มผลออกจากเมล็ด
แล้วล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำ เมล็ดไปตากแดด 1-2 วัน แล้วนำไป ผึ่งลมในที่ร่มจนแห้งสนิท จึงค่อยบรรจุใส่ภาชนะ ที่มี
อากาศถ่ายเท ได้ดี เช่นกระสอบป่าน ถุงตาข่ายไนล่อน เป็นต้น เก็บไว้ในที่แห้งเย็น ไม่อับชื้น เพื่อป้องกันเชื้อรา





http://www.vegetweb.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B2/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/11/2011 1:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/11/2011 1:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สะเดาป่า ! !






สะเดาป่าเป็นไม้ต้น ไม้เนื้อแข็ง กลิ่นหอม ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ใบย่อยรูปไข่แกมรูปหอก เรียงสลับ ดอกช่อเป็นช่อแยกแขนง
ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีขาว ผลเป็นแบบกล้วย เมื่อผลแห้งแตก ผลเมล็ดเดียว เปลือก
แข็ง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ คือ เปลือกราก แก้ไข้ โรคผิวหนัง เปลือกต้นให้สีแดง และใช้ย้อมผ้า



ไม้สะเดาอายุประมาณ ๗- ๘ ปี โตเร็วมาก ๑ คนโอบ




สถานที่บ้านผู้ใหญ่ลำพอง ทองประทีป ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี




ความสูงเกือบ ๒๐ เมตร ถ้าแปรรูปแล้วราคาหลักหมื่น !!



การปลูกสะเดา
ลักษณะทั่วไป
สะเดาเป็นไม้ยืนต้นโตเร็วชนิดหนึ่ง เจริญได้ดีในแถบร้อน ทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้ง สามารถขึ้นได้ในดินทุกประเภท
ยกเว้นดินที่มีน้ำขัง ดินเค็ม เป็นกรดหรือด่างจัด ลำต้นสูง 15-20 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างรูปไข่ เปลือกไม้ค่อนข้างหนา
สีเทาแก่ แตกเป็นร่อง เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง ใบสีเขียวเข้ม ขอบใบหยักเล็กน้อย ผลัดใบช่วงสั้นๆ ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงออกดอก
ประมาณเดือนธันวาคม - มกราคม ผลมีลักษณะและขนาดคล้ายพวงองุ่น สุกประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
ผลสุกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด


ไม้สกุลสะเดาที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิดคือ สะเดาไทย สะเดาอินเดีย และสะเดาช้าง


ประโยชน์
1. เนื้อไม้ เหมาะสำหรับนำไปก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสาเข็ม และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ รวมทั้งเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดี

2. เป็นอาหารและพืชสมุนไพร เช่นใบ ดอก และยอดอ่อน ใช้เป็นอาหาร และยาเจริญอาหาร ดอกแก้พิษเลือดกำเดา
บำรุงธาตุ ผลแก้โรคหัวใจ ยางดับพิษร้อน เปลือกแก้ไข้มาลาเรีย และเป็นยาสมานแผล ผลอ่อนใช้ถ่ายพยาธิ เมล็ด
ใช้รักษาโรคเบาหวาน

3. เป็นสารป้องกันกำจัดแมลง สะเดามีสารชนิดหนึ่งชื่อ "อาซาดิแรคติน" สามารถนำมาสกัดเป็นสารป้องกันกำจัด
แมลงได้ พบมากที่สุดในส่วนของเมล็ด

4. ปลูกเพื่อเป็นแนวกันลมและไม้ให้ร่ม เนื่องจากมีใบหนาทึบ รากลึก ทนแล้ง ทนดินเค็ม และผลัดใบในเวลาสั้น

5. อื่นๆ เช่น น้ำมันจากเมล็ดสะเดาใช้ทำเชื้อเพลิงจุดตะเกียง เปลือกมีสารแทนนิน ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง กากสะเดา
ใช้เป็นปุ๋ย ผสมเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น


การขยายพันธุ์
วิธีที่นิยมคือ การเพาะเมล็ด โดยเก็บผลสุกจากต้นมาขยำกับทรายและล้างน้ำเพื่อให้เนื้อหุ้มผลหลุดออก แล้วนำไปผึ่งในที่
ร่มให้แห้ง อาจเพาะในถุงพลาสติกโดยตรงหรือลงแปลงเพาะ ขนาดแปลงเพาะกว้าง 0.75-1 เมตร ความยาวแล้วแต่สภาพ
พื้นที่ หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลง กลบดินหนา 0.5 ซม. ชั้นบนคลุมด้วยฟางบางๆ รดน้ำเช้าเย็น เมล็ดจะเริ่มงอก
ภายใน 5-7 วัน ขนาดของกล้าไม้ในการย้ายชำลงถุงพลาสติก สามารถย้ายชำได้ตั้งแต่รากเริ่มปริ แทงยอดอ่อนจนถึง
กล้าใหญ่ แต่ที่ให้ผลดีควรย้ายกล้าชำเมื่อมีใบจริงไม่ต่ำกว่า 2 คู่ กล้าที่ชำในถุงพลาสติกควรไว้ในที่ร่มพอสมควร
แล้วค่อยๆ เปิดให้รับแสงแดดทีละน้อย จนกระทั่งได้รับแสงเต็มที่ก่อนย้ายปลูกประมาณ 1 เดือน



การปลูก
การเตรียมพื้นที่
ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบเก็บเศษไม้และวัชพืชสุมเผาในช่วงฤดูร้อน แล้วปักหลักกำหนดระยะปลูก


ระยะปลูก
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก เช่น ต้องการไม้ขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 1 x 2 หรือ 2 x 2 เมตร ต้องการไม้ใหญ่สำหรับ
ใช้ในการก่อสร้างและทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ระยะปลูก 2 x 4 หรือ 4 x 4 เมตร ต้องการเมล็ดไปทำสารฆ่าแมลง ใช้ระยะปลูก
6 x 6 เมตร แต่เพื่อไม่ให้เสียพื้นที่อาจปลูกระยะถี่ก่อน เมื่อเรือนยอดเบียดชิดกัน จึงตัดสะเดาบางส่วนไปใช้ประโยชน์ ให้
ต้นสะเดาที่เหลือที่ระยะห่างตามวัตถุประสงค์การปลูกต่อไป



หลุมปลูก
ขนาดที่เหมาะสม คือ กว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 25 x 25 x 25 ซม.



วิธีปลูก
หลังจากขุดหลุมปลูกแล้ว ตากดินประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน แล้วจึงใส่ปุ๋ยร๊อคฟอสเฟตรองก้นหลุม อัตรา
150-200 กรัมต่อหลุมหรือครึ่งกระป๋องนม แล้วนำกล้าไม้ที่เตรียมไว้ย้ายลงปลูก ขนาดกล้าไม้ที่เหมาะสมควรสูง 8-12 นิ้ว
อายุประมาณ 4-5 เดือน ฤดูปลูกควรเป็นต้นฤดูฝน โดยเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตกหนัก ฉีกถุงพลาสติกใส่กล้าออก วาง
กล้าลงตรงกลางหลุม หลบดินและกดรอบๆ โคนต้นให้แน่น


การบำรุงรักษา
1. การกำจัดวัชพืช ในปีแรกจำเป็นต้องเอาใจใส่กำจัดวัชพืชออกบ้าง เพื่อไม่ให้สูงคลุมเบียดยัง แย่งแสงและอาหารต้นสะเดา

2. การใส่ปุ๋ย เมื่อกล้าไม้ที่ปลูกตั้งตัวแล้ว ควรเร่งการเจริญเติบโตด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนกาแฟ
โดยการพรวนดินรอบโคนต้นแล้วโรยปุ๋ยตาม

3. การริดกิ่ง หากต้องการให้สะเดามีลำต้นตรงเปลา ใช้ประโยชน์ในการแปรรูปได้มากขึ้น ควรหมั่นริดกิ่งอย่างสม่ำเสมอ

4. การป้องกันไฟ ควรทำแนวกันไฟกว้างประมาณ 6-8 เมตร รอบแปลงปลูก เพื่อป้องกันไฟไหม้ในฤดูแล้ง


การเก็บเกี่ยวผลสะเดา
สะเดาจะเริ่มติดผลเมื่ออายุ 3-5 ปี ให้ทำการเก็บผลสะเดาสุกจากต้นหรือผลที่ร่วงใหม่ๆ รีบนำมาแยกเนื้อหุ้มผลออกจาก
เมล็ดแล้วล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำเมล็ดไปตากแดด 1-2 วัน แล้วนำไปผึ่งลมในที่ร่มจนแห้งสนิท จึงค่อยบรรจุใส่ภาชนะ
ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เช่น กระสอบป่าน ถุงตาข่ายไนล่อน เป็นต้น เก็บไว้ในที่แห้งเย็นไม่อับชื้น เพื่อป้องกันเชื้อรา



การใช้สะเดาในการป้องกันกำจัดแมลง
วิธีสกัดสาร "อะซาดิแรคติน" เพื่อใช้ป้องกันกำจัดแมลงแบบง่ายๆ คือนำเมล็ดสะเดามาบด แล้วนำผงสะเดาจำนวน 1 กก.
แช่ผสมน้ำ 20 ลิตร กวนเป็นครั้งคราว แช่ทิ้งค้างคืน จากนั้นนำมากรองด้วยผ้าขาวบางเนื้อละเอียด สารที่ได้จะมีสีเหลืองขุ่น
กลิ่นฉุน เวลาฉีดควรผสมน้ำยาจับใบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ฉีดป้องกันแมลง เช่น หนอนผีเสื้อกัดกินใบชนิดต่างๆ หนอน
หลอดหอม หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนบุ้ง หนอนกระทู้ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ โดยใช้ติดต่อกันเป็น
เวลา 2-3 ครั้ง ระยะห่าง 5-7 วัน หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นในขณะที่มีแสงแดด จึงจะเห็นผลชัดเจน


ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก : ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่
รหัสไปรษณี 50290 โทร. 053-873938-9



http://www.kasetchonnabot.com/node/306
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/11/2011 1:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

























http://www.oknation.net/blog/print.php?id=71661
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/11/2011 1:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม้สะเดาแกะสลัก....

http://doors.igetweb.com/index.php?mo=14&newsid=49641
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/11/2011 1:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





http://www.pramool.com/classified/view.php3?katoo=F05096
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/11/2011 2:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





http://salethailand.com/advertise.php?

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/06/2020 5:43 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
roiet
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 10/11/2011
ตอบ: 11

ตอบตอบ: 16/11/2011 2:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อต้นสะเดาสูงตามขนาดที่เราต้องการแล้ว ถ้าเราตัดปลายออกการเจริญเติบโต
ของต้นจะออกด้านข้างหรือปล่าวครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/11/2011 7:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประสบการณ์ตรงที่เคยเห็นมา....

**** สะเดา ที่บ้านแพ้ว 30 ต้น ปลูกริมน้ำ เจ้าของตัดยอดประธาน ณ ความสูง
8 ม. กลายเป็นสะเดายอดด้วน วันที่ไปเห็น อายุต้นได้ 5 ปี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ทรงพุ่มที่ความสูงจากพื้น 1 ม. เกือบ 1 ฟุต (12 นิ้ว) สอบถามเจ้าของจึงทราบ
ว่า หลังจากตัดยอดประธานแล้วมันไม่แตกยอดใหม่ เป็นยอดประธานพุ่งขึ้นฟ้า แต่
แตกกิ่งสาขาธรรมดาๆ จากนั้นต้นเริ่มขยายโตทางข้าง เลยทำให้ได้ลำต้นโตเร็ว
มาก.....ที่โตเร็วมากอย่างบหนึ่ง น่าจะมาจากน้ำในร่องสวนซะมากกว่า


**** ยูคาลิปตัส ที่บ้านหนองจาน หัวลำ ท่าหลวง ลพบุรี 20 ต้น ปลูกริมน้ำ มีน้ำ
ตลอดปี เจ้าของตัดยอดประธาน ณ ความสูง 6 ม. กลายเป็นยูคายอดด้วน อายุ
ต้น 5 ปี โคนต้นที่ความสูงจากพื้น 1 ม. ใหญ่ขนาดคนโอบ เห็นชัดว่า เมื่อไม่
สามารถเจริญทางสูงได้ มันจึงเจริญทางข้างแทน ประมาณนี้....นี่ก็โตเพราะน้ำ
เหมือนกันอีกนั่นแหละ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
roiet
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 10/11/2011
ตอบ: 11

ตอบตอบ: 17/11/2011 7:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณครับลุง....ที่ให้ความรู้อย่างดีแก่ผู้รู้น้อยอย่างผม


เนื้อที่ 4 ไร่ ต้องถือหลัก "เฮ็ดน่อย สิได้หลาย....เฮ๊ดหลาย สิได้น่อย" อันผมเห็น
ด้วยกับลุงครับ แต่ที่คิดจะลงไม้เพราะเป็นที่ไกลตาสักหน่อย ถ้าปลูกของกินเห็นที
เจ้าของจะไม่ได้กิน

การทำเกษตรแบบ "อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม" น่าจะดีกว่ามั้ง....
อันนี้จะทำในที่อีกแปลง ประมาณ10 ไร่ แต่ที่ตรงนี้เป็นที่นา เลยทำนาทุกปี

ที่ตรงนี้ว่าจะปลูก มะนาว มะพร้าว ส้มโอ ฟักแฟง แตงโม ไชโยมะม่วง และปลูกข้าว
ไว้กินเอาแรงทำงาน

ไม่ได้มาถามลุงเล่นๆให้เสียเวลานะครับ ผมจะทำจริงๆ แต่ขออนุญาตไปฝึกวิทยา
ยุทธที่ไร่ของลุง เพื่อที่จะได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่มันจะเกิดกับการทำงาน ถือหลัก รู้พืชรู้
เรา ปลูกร้อยครั้ง รอดร้อยครั้ง ..... จะได้หรือปล่าวครับ

ไม่อยากให้คนมาดูถูกการเกษตรว่า "ยิ่งทำ-ยิ่งจน" ถึงคราวต้องปฎิวัติชักที ไม่ใช่ทำ
ตามเวรตามกรรม ทำตามกันๆไป รู้จักพืชที่ปลูกหรือปล่าวก็ไม่รู้...





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/11/2011 12:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

roiet บันทึก:

ขอบคุณครับลุง....ที่ให้ความรู้อย่างดีแก่ผู้รู้น้อยอย่างผม


เนื้อที่ 4 ไร่ ต้องถือหลัก "เฮ็ดน่อย สิได้หลาย....เฮ๊ดหลาย สิได้น่อย"
อันผมเห็นด้วยกับลุงครับ แต่ที่คิดจะลงไม้เพราะเป็นที่ไกลตาสักหน่อย ถ้าปลูกของ
กินเห็นทีเจ้าของจะไม่ได้กิน
ตอบ :
"เฮ็ดน่อย สิได้หลาย เฮ็ดหลาย สิได้น่อย" ..... หมายถึง ปลูกพืชอย่างเดียวกับ
คนอื่น แต่เนื้อที่น้อยกว่า จำนวนต้นน้อยกว่า ลงทุนน้อยกว่า พอถึงเวลาขาย ขายได้
ง่ายกว่า ค่าการตลาดน้อยกว่า โอกาสขายตลาดมากกว่า เมื่อคิดคำนวน "ราคา
ขาย- ต้นทุน = กำไร" กลับได้กำไรมากกว่า เช่น


**** นาข้าว 1 ไร่ ทำนาแบบตามประเพณี ได้ข้าว 1 เกวียน ลงทุน 7,000
(นายกสมาคมชาวนาแห่งประเทศไทย) หรือ 7,500 (อุปนายกสมาคมชาวนาแห่ง
ประเทศไทย) ได้ข้าวเปลือกมาแล้วไปขายที่โรงสี ตามราคาประกันจากรัฐบาล
15,000 แต่โรงสีหัก ค่าความชื้น, ค่าข้าวปน, ค่าข้าวลีบ, ค่าข้าวป่น แล้วเหลือให้
ชาวนาจริง 9,500 เหล่านี้ยังไม่รวมค่าต้นอื่นๆนะ

เปรียบเทียบกับ.....

**** นาข้าวสายพันธุ์เดียวกัน แปลงติดกัน ฤดูกาลเดียวกัน แต่ทำนาข้าวแบบ
ประณีต ได้ข้าว 1 เกวียนเท่ากัน ลงทุน 3,000 ได้ข้าวเปลือกมาแล้ว ขายเป็นข้าว
ปลูกได้ 25,000 (ถังละ 250 บาท) ขายเป็นข้าวกล้องโอทอปได้ 40,000 (กก.
ละ 40 บาท) หรือขายเป็นข้าวกล้องงอกได้ 60,000 (กก.ละ 60 บาท) ... ขาย
เป็นข้าวกล้องแล้วยังมี BIPRODUCT ที่สร้างรายได้อย่างอื่นอีกด้วย

ทำนาแบบตามประเพณี ได้กำไร 9,500-7,000 = 2,500/ไร่/รุ่น
ทำนาแบบประณีตขายข้าวปลูก ได้กำไร 25,000-3,000 = 22,000/ไร่/รุ่น

......... ถาม : จะเอาแบบไหน .............





การทำเกษตรแบบ "อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม" น่าจะดีกว่ามั้ง....
อันนี้จะทำในที่อีกแปลง ประมาณ10 ไร่ แต่ที่ตรงนี้เป็นที่นา เลยทำนาทุกปี

ตอบ :
- การเกษตรเป็นเรื่องของธรรมชาติแท้ๆ ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ
- การเกษตร ไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ยากอย่างที่กลัว อ่าน LINE ธรรมชาติออก
แล้วทำตาม LINE ของธรรมชาตินั้น
- ธรรมชาติเกษตร COPY ไม่ได้แต่ APPLY ได้

- ทำตามคนที่ประสบความสำเร็จ จะประสบความสำเร็จยิ่งกว่า
- ทำตามคนที่ล้มเหลว จะประสบความล้มเหลวยิ่งกว่า
- ระวังนะ ข้างบ้านเขาจะหาว่าบ้า เพราะทำแบบที่ไม่มีใครเขาทำกัน

- ...... คนบ้าไม่มีหนี้ คนดีหนี้เต็มบ้าน .....






ที่ตรงนี้ว่าจะปลูก มะนาว มะพร้าว ส้มโอ ฟักแฟง แตงโม ไชโยมะม่วง และปลูกข้าว
ไว้กินเอาแรงทำงาน

ตอบ :
ทุกอย่างที่ว่ามา ต่างมี ข้อดี-ข้อด้อย ประจำตัวเองทั้งนั้น....

- มะนาว : อิสานชอบกินเปรี้ยว ทำส้มตำ มะนาวหน้าแล้งลูกละ 10 บาทหน้า
สวน ... มะนาว 1 ต้น อายุต้น 5 ปี ได้ผลผลิต 1,000 ผล/ต้น เนื้อที่ 1 ไร่ ปีแรก
ลง 400 ต้น, ปีที่ 3 เอาออกเหลือ 200 ต้น, ปีที่ 5 เอาออกเหลือ 100 ต้น, ปี
ที่ 10 เอาออกเหลือ 50 ต้น คราวนี้เลี้ยงต่อไปเรื่อยๆ ถึง 100 ปี ..... (คนตาย
ก่อนมะนาว)

- มะพร้าว : ลงมะพร้าวน้ำหอม วันนี้ไม่พอส่งออก โคนมะพร้าวลงพืช แทรม/
แซก แปรรูปทำมะพร้าวแก้ว มะพร้าวสังขยา

- ส้มโอ : มีลูกตลอดปี วันนี้ไม่พอส่งออก อายุหลังเก็บเกี่ยวอยู่ได้นานนับเดือน
รอตลาดได้

- ฟักเขียว : (ฟักท่อน) ขายสด, แฟง ลูกใหญ่ ยิ่งใหญ่ยิ่งดี ยิ่งแก่ยิ่งดี อายุหลังเก็บ
เกี่ยวอยู่ได้นานร่วมปี รอตลาดได้ เขาเอาไปหทำไส้ขนมเปี๊ยะ

- แตงโม : ทำแตงโมไร้เมล็ด สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ปิรามิด หน้าฝนราคา
แพงกว่าหน้าแล้ง เพราะคนกินตลอดปี ทำแบบอิสราเอล (ซ้ำที่ ไม่ซ้ำดิน) ดีกว่า

- มะม่วง : สุดยอดมะม่วงกินดิบ เบา/ทะวาย ออกง่าย (แก้วลืมคอน, มันขุนศรี,
มันศาลายา) สุดยอดมะม่วงกินสุก (มะม่วงปี/พราห์มขายเมีย, น้ำตาล
ปากกระบอก, ยายกล่ำ) .... เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ออกนอกฤดู. คน
นิยม เท่านั้น ถ้าทำได้รวย .... เนื้อที่ 1 ไร่ ลง 400 ต้น เนื้อที่ 3 ไร่ ลงได้
1,200 ต้น ทำมะม่วงดิบ + น้ำปลาหวาน 1 โฟม ขายส่งโฟมละ 10 บาท ขาย
ปลีกโฟมละ 15 บาท วันละ 100 โฟม แรงงาน 3 คน ผัวเมียเมีย อยู่ได้สบายๆ

- "ปลูกข้าวไว้กิน" เป็นคำพูดลอยๆ เท่านั้น เพราะทำจริงๆน่ะไม่ได้หรอก ไหนจะ
ลงมือทำกว่าจะได้ข้าวเปลือก ได้ข้าวปลือกมาแล้วต้องเอาไปสีที่โรงสีอีก เนื้อที่ 1
ไร่ ปลูกข้าวไว้กินคุ้มกันเหรอ ..... ถ้าเอาเนื้อที่ 1 ไร่มาปลูกผักบุ้งจีน ได้ขายปีละ
6 รุ่น ขายผักบุ้งจีนเอาเงินมาซื้อข้าวหอมมะลิกินน่าจะประหยัดกว่านะ แถมยังส่ง
เสริมเศรษฐกิจชาวนาอีกด้วย.....ว่ามั้ย






ไม่ได้มาถามลุงเล่นๆให้เสียเวลานะครับ ผมจะทำจริงๆ แต่ขออนุญาตไปฝึกวิทยา
ยุทธที่ไร่ของลุง เพื่อที่จะได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่มันจะเกิดกับการทำงาน ถือหลัก รู้พืชรู้
เรา ปลูกร้อยครั้ง รอดร้อยครั้ง ..... จะได้หรือปล่าวครับ

ตอบ :
- ถามเล่น แต่ตอบจริง.... เจตนาต้องการสอน คนที่ไม่ได้ถาม
- มหาลัยอ๊อกฟอร์ด, ฮาวาร์ด, จุฬาฯ, ธรรมศาสาตร์, เกษตรศ่าสตร์, อัตตะ
ปือ. สอนเหมือนกันหมด คือ สอนแค่นับ 1 แล้วคนเรียนไปนับต่อ สอนให้คิดแล้วคน
เรียนไปคิดต่อ จะปริญญาตรี-โท-เอก เหมือนกันหมด ไม๋งั้นคนระดับ ศ.ดร.จะล้ม
เหลวรึ .... ที่มหาลัยอัตตะปือ วิทยาเขตกล้อมแกล้ม ก็เช่นกัน สอนให้แค่นับ 1 สอน
ให้คิดเป็น เท่านั้น คนที่นับต่อไม่เป็น คิดต่อไม่เป็น เห็นไปยืนอยู่ตามทางสามแพร่ง
เต้นเหย็งๆ "ด่า" ตาคิมอยู่นั่นแน่ะ.........มึง ด่า กู ให้ จบ นะ !

ฉนี้แล้ว ยังจะคิดไปเรียนที่ไร่กล้อมแกล้มอีกเหรอ.... คิดใหม่ คิดผิด ได้นะ






ไม่อยากให้คนมาดูถูกการเกษตรว่า "ยิ่งทำ-ยิ่งจน" ถึงคราวต้องปฎิวัติชักที ไม่ใช่
ทำตามเวรตามกรรม ทำตามกันๆไป รู้จักพืชที่ปลูกหรือปล่าวก็ไม่รู้...

ตอบ :
คนดูถูก ดีกว่า คนอิจฉา.....

เขาดูถูกเรา เพราะเรา "ด้อย" กว่าเขา....
เขาอิจฉาเรา เพราะมี "เด่น" กว่าเขา....

เรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่อง
ของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึง...........เรื่องของกู





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/11/2011 5:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
roiet
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 10/11/2011
ตอบ: 11

ตอบตอบ: 17/11/2011 4:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

...... คนบ้าไม่มีหนี้ คนดีหนี้เต็มบ้าน .

ที่ผ่านมาคงเป็นคนดีมากไป...หนี้ถึงได้เต็มบ้าน

แต่ตอนนี้ใกล้จะเป็นคนบ้าสงสัยหนี้กำลังจะหมด...ฮ่าๆๆๆๆๆๆ


คำพูดของลุง .... เรียนรู้จากคนสำเร็จย่อมสำเร็จกว่า เรียนรู้จากคนล้มเหลวล้มเหลวกว่า

ฉนี้แล้ว จะไปเรียนทำเกษตรกับคนข้างบ้านหรือสอนให้นับ 1 ให้คิดเป็น ดีกว่านับ 0
เดินเป็นวงกลมไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่มีทิศทางเดิน ให้ตายก็ไม่ถึงเป้าหมายหรอกครับ

ตอนนี้ขอแค่คนชี้นำทางที่ถูกต้องให้ต่อไปจะเดินเองอย่างมั่นคงตรงเป้าหมาย...

ขอบคุณที่ลุงตอบทุกคำถามจะดีหรือไม่ดีต้องพิสูจน์ให้เห็นกับตา สักวันจะได้พูดเต็ม
ปาก ว่า..ก..ทำกับมือ (ยืมใช้หน่อยนะครับ)



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©