-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เพิ่มเติมจากไร่กล้อมแกล้ม(เรื่องยีสต์)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เพิ่มเติมจากไร่กล้อมแกล้ม(เรื่องยีสต์)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
pongphat
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/10/2009
ตอบ: 11

ตอบตอบ: 17/10/2009 6:06 pm    ชื่อกระทู้: เพิ่มเติมจากไร่กล้อมแกล้ม(เรื่องยีสต์) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ผมพงศ์พัฒน์ จากสระบุรี

ขอเพิ่มเติมเรื่องยีสต์ที่ใช่ทำฮอร์โมนไข่ เนื่องจากยีสต์ถูกเก็บในสภาวะสูญกาศเปรียบได้กับยีสต์ถูกทำให้หลับอยู่ในถุง ก่อนใช้จึงต้องทำการปลุกให้มันตื่นเสียก่อน ดังนั้นการปลุกยีสต์ให้ใช้

น้ำอุ่นประมาณ 35-40 องศา C เติมกลูโคสนิดหน่อย ชิมแล้วให้มีรสหวานเติมยีสต์ลงไปแค่ครึ่งถุงก็พอกวนจนเข้ากัน ทิ้งใว้ 15-20 นาที ให้ยีสต์แข็งแรงแล้วค่อยเอาไปหมักจะทำให้เราประหยัดยีสต์ได้อีกครึ่ง
ถุง ส่วนยีสต์ที่เหลือให้พับขอบถุงรีดใล่อากาศให้หมด พับแล้วใช้ยางรัดให้แน่นเก็บในตู้เย็น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 17/10/2009 9:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดี...คุณน้อย สระบุรี

เอาข้อมูลมาเสริมให้ Very Happy

ที่มา คัดลอกจาก http://www.geocities.com/d15_vi/chapter2vi.html


ยิสต์

ลักษณะทั่วไปและโครงสร้างของยีสต์
ยีสต์ เป็นจุลินทรีย์พวกยูคาริโอต เซลล์ยีสต์ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลม หรือรี นอกจากนี้อาจมีรูปร่างเป็นรูปถั่ว รูปเลมอน ทรงกระบอก สามเหลี่ยม หรือยาวเป็นสาย ขนาดของยีสต์แตกต่างกันในแต่ละชนิด ลักษณะเด่นของยีสต์คือ เป็นพวกเซลล์เดียวและมีหน่อ การแตกหน่อบางครั้งไม่หลุดออกจากกัน แต่เกาะกันเป็นกลุ่ม บางครั้งมีการเปลี่ยนแปลงโดยเซลล์ตรงกลางยาวต่อกันเป็นสาย เรียกซูโดไมซีเลียม (pseudomycelium) โครงสร้างทั่วไปของยีสต์มีดังนี้คือ

ผนังเซลล์
หนา ประมาณ 25 นาโนเมตร หนัก 25% ของน้ำหนักแห้งของเซลล์ พบโปรตีนประมาณ 10 % ของน้ำหนักแห้งของผนังเซลล์ โดยอาจอยู่ในรูปเอนไซม์ที่ติดผนังเซลล์

เซลล์เมมเบรน
ส่วนใหญ่เป็นพวกลิปิดและโปรตีน คาร์โบไฮเดรตในปริมาณเล็กน้อย

นิวเคลียส
เห็นได้โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบเฟส-คอนทรัส นิวเคลียสของยีสต์มักอยู่ระหว่างแวคิวโอลและหน่อ

ไมโทคอนเดรีย
มีรูปร่างกลมหรือรูปท่อน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3-1 ไมโครเมตร ยาว 3 ไมโครเมตร

แวคิวโอล
ใน ยีสต์ที่โตเต็มวัย ภายในเซลล์จะเห็นแวคิวโอลขนาดใหญ่ หน้าที่ของแวคิวโอลยังไม่แน่ชัดแต่พบว่าในแวคิวโอลมี ไฮโดรไลติก เอนไซม์ พอลีฟอสเฟต ลิปิด สารตัวกลางที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ และโลหะไอออน จึงเชื่อว่าอาจทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมอาหารและไฮโดรไลติก เอนไซม์

โครงสร้างอื่นๆภายในเซลล์ยีสต์ ได้แก่ ไรโบโซม ซึ่งเป็นแบบ 80เอส เอนโดรพลาสมิก เรติคิวลัม กอลจิบอดี้ และ เม็ดไขมัน



สรีรวิทยาของยีสต์

อาหาร
อาหาร ที่ยีสต์ใช้ได้ดีได้แก่ น้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลกลูโคสและฟรักโทส ยีสต์บางชนิดสามารถใช้ไดแซ็กคาไรด์พวกมอลโทส ซูโคส หรือ แลกโทสได้ ส่วนพอลีแซ็กคาไรด์ที่ยีสต์บางชนิดใช้ได้ คือ แป้ง ยีสต์ที่สามารถใช้แป้งได้ เช่น Saccharomyces diastaticus, S. chevalieri, Endomycopsis fibuligera มียีสต์บางชนิดเท่านั้นที่สามารถให้น้ำตาลเพนโทสได้ดีกว่าน้ำตาลเฮกโซส เช่น Cryptococcus ยีสต์บางพวก เช่น ฟิล์มยีสต์สามารถใช้กรดอินทรีย์ได้

ยีสต์ มีกระบวนการไกลโคลไลติก 2 กระบวนการคือ สภาพที่ไม่มีออกซิเจน ยีสต์จะใช้กระบวนการเอมบ์เดน เมเยอร์ฮอฟ์ พาร์นาส ( EMP ) ถึง 90 % ( ใน Saccharomyces cerevisiae และ Candida utilis ) ส่วนในสภาพมีออกซิเจนนอกจากกระบวนการเอมบ์เดน เมเยอร์ฮอฟ์ พาร์นาส แล้ว ใน S. cerevisiae จะใช้กระบวนการเฮกโซสมอนอฟอสเฟต 6-30 % และใน C. utilis 30-50% ในสภาพไม่มีออกซิเจนน้ำตาลจะเข้าสู่กระบวนการหมักได้เอทานอลและคาร์บอน ไดออกไซด์ แต่การหมักให้ได้เอทานอลนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสภาพไม่มีออกซิเจนเท่านั้น อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเลี้ยงยีสต์ในน้ำตาลกลูโคสที่มีความเข้มข้นสูงแม้อยู่ใน สภาพที่มีออกซิเจน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกลูโคสที่มีความเข้มข้นมากกว่า 5 % จะยับยั้งการสังเคราะห์เอนไซม์ที่เกี่ยวกับการหายใจ แต่ถ้าหากไม่มีน้ำตาลในอาหารเลี้ยงเชื้อพบว่าเป็นการกระตุ้นหรือเพิ่ม กิจกรรมของเอนไซม์ในวัฏจักรเครบส์ นอกจากนี้การมีน้ำตาลยังยับยั้งการสร้างไมโทคอนเดรียอีกด้วย ในสภาพมีออกซิเจนและความเข้มข้นของน้ำตาลต่ำๆยีสต์จะใช้น้ำตาลไปเป็นคาร์บอน ไดออกไซด์และน้ำหรือเกิดกระบวนการหายใจเช่นเดียวกับในพืชและสัตว์

อุณหภูมิ
ยีสต์ แต่ละชนิดเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิแตกต่างกัน ยีสต์ส่วนใหญ่เป็นพวกมีโซไฟล์มีอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่ยีสต์ยังสามารถเจริญเติบโตได้ประมาณ35-47 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดที่สามารถเจริญเติบโตได้อยู่ระหว่าง 0-5 องศาเซลเซียส แต่ยีสต์บางชนิดที่เป็นพวกไซโครไฟล์สามารถเติบโตได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เช่น Candida frigida, C. gelida และ C. nivalis มี อุณหภูมิต่ำสุดที่ (-5) - (-7) องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตคือ 15 องศาเซลเซียส และไม่สามารถเติบโตที่อุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส หรือจัดเป็นพวก ออบลิเกต ไซโครไฟล์ สำหรับยีสต์ที่เป็นเทอร์โมไฟล์หรือสามารถเติบโตได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียสไม่พบ

นอกจากอุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตแล้ว ยังมีผลต่อการสร้างแอสโครสปอร์ของยีสต์อีกด้วย อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการสร้างแอสโครสปอร์ของยีสต์แต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น Saccharomyces cerevisiae อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 11-12 องศาเซลเซียส S. ellipsoideus ต่ำสุด 4-7.5 เหมาะสม 25 สูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส S. intermedius ต่ำสุด 0.5-4 เหมาะสม 25 สูงสุด 27-29 องศาเซลเซียส S. pastorianus ต่ำสุด 0.5-4 เหมาะสม 27.4 สูงสุด 29-31.5 องศาเซลเซียส S. turbidans ต่ำสุด 4.8 เหมาะสม 29 สูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส S. validus ต่ำสุด 4.8-5.0 เหมาะสม 25 สูงสุด 27-29 องศาเซลเซียส ส่วนพวก Schizosaccharomyces octosporus S. tombe, Kluyveromyces sp. Nadsonia fulvescens และ Hansenula saturnus สร้างแอสโคสปอร์ได้ดีที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

ออกซิเจน
ยีสต์ ส่วนใหญ่เป็นพวกเฟคัลเททีฟ แอนแอโรบิค แต่ยีสต์เติบโตในสภาพมีออกซิเจนได้ดี ส่วนในสภาพไม่มีออกซิเจนเติบโตได้ช้า ในสภาพมีออกซิเจนยีสต์ใช้น้ำตาล โดยการออกซิเดชันโดยสมบูรณ์ได้ คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ โดยมีออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย ส่วนในสภาพไม่มีออกซิเจนยีสต์ใช้น้ำตาล โดยการหมักส่วนใหญ่เป็นการให้ เอทานอล ในการหมักโดยยีสต์ให้ได้เอทานอลนั้น หากมีออกซิเจนยีสต์จะใช้น้ำตาลให้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ แทนการหมักให้เอทานอล หรือการหมักถูกยับยั้งโดยการหายใจเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Pasteur effect” ยกเว้นในยีสต์บางชนิด ได้แก่ Brettanomyces ซึ่งออกซิเจนช่วยกระตุ้นการหมัก (negative Pasteur effect)

ใน สภาพมีออกซิเจนแต่ถ้าหากมีน้ำตาลความเข้มสูง ยีสต์สามารถหมักน้ำตาลให้เอทานอลแทนการหายใจให้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ หรือการหายใจถูกยับยั้งด้วยการหมัก(revese Pasteur efect”,”Grabtree effect”)

ยีสต์บางชนิดสามารถเติบโตได้เฉพาะในสภาพมีออกซิเจนไม่มีความสามารถในการหมัก (oxidative yeast) ยีสต์พวกนี้ได้แก่ Rhodotorula, Sporobolomyces, Endomycopsis เป็นต้น

ค่าความเป็นกรด-เบส
ยีสต์ เติบโตได้ใน pH ช่วงกว้าง pH ต่ำสุดที่ยีสต์สามารถเติบโตได้คือ 1.5 ส่วน pH สูงสุด 8.0-8.5 สำหรับ pH ที่เหมาะสม สำหรับการเติบโตของยีสต์แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 4.0-4.5 ยีสต์ส่วนใหญ่จะเติบโตไม่ดีในสภาพที่เป็นด่าง

นอกจาก pH มีผลต่อการเติบโตแล้วยังมีผลต่อการสร้างแอสโคสปอร์ของยีสต์อีกด้วย pH ในการสร้างสปอร์ของยีสต์แต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น Saccharomyces cerevisiae pH สูงสุด 9.1-9.2 pH ต่ำสุด 2.4-2.6 Schzosaccharomyces pombe pH สูงสุด 8.0-8.2 ต่ำสุด 4.0-4.3

สกุลของยีสต์ที่มีความสำคัญด้านอาหาร เช่น
Saccharomyces
เซลล์ รูปกลม รูปรีทรงกระบอก หรือยาว สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อรอบเซลล์ อาจสร้างซูโดไมซีเลียม แต่ไม่พบไมซีเลียมจริง สร้างแอสโครสปอร์รูปกลมหรือรูปไข่ ส่วนใหญ่ผนังเรียบ มีบางชนิดที่ผนังสปอร์อาจมีปุ่ม โดยปกติมีจำนวน 1-4 สปอร์ต่อแอสคัส สปอร์หลุดออกจากแอสคัสได้ยากทุกชนิดหมักได้รวดเร็ว ไม่ใช้ไนเตรต

ยีสต์สกุลนี้แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่1 Saccharomyces sensu stricto กลุ่มนี้มีมากชนิดที่สุด สมาชิกในกลุ่มนี้เป็นพวกดิพลอยด์ ที่รู้จักกันดีได้แก่ S. cerevisiae และ S. uvarum

กลุ่มที่2 เดิมอยู่ในสกุล Zygosaccharomyces กลุ่มนี้เป็นพวกเฮพลอยด์ สมาชิกในกลุ่มนี้ประกอบด้วยพวกที่ชอบน้ำตาลหลายชนิด เช่น S. bailii var.osmophilis, S. bisporus var. mellis

กลุ่มที่3 เดิมอยู่ในสกุล Torulaspora และ Debarymyces giobosus สมาชิกในกลุ่มนี้เป็นพวกเฮพลอยด์ ส่วนใหญ่ผนังแอสโคสปอร์มีปุ่ม
ยีสต์สกุลนี้มีความสำคัญต่ออาหาร คือ

1) ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักข้าวมอลต์โดยไม่มีการก ลั่น แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ลาเกอร์ และเอล ลาเกอร์ผลิตโดยใช้บอททอมยีสต์คือเมื่อสิ้นสุดการหมัก ยีสต์เหล่านี้จะตกตะกอนและสะสมอยู่ที่ถังก้นหมัก ยีสต์ที่ใช้ในการหมักลาเกอร์ คือ S. uvarum (S. carlbergensis) ส่วนเอลผลิตโดยใช้ท้อปยีสต์(top yeast) ยีสต์พวกนี้จะรวมตัวกันหลวมๆ ลอยอยู่กับฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผิวหน้าน้ำหมัก ยีสต์ที่ใช้ในการหมักเอล คือ S. cerevisiae ยีสต์ทั้ง2ชนิดนี้แตกต่างกันที่การใช้น้ำตาลรัฟฟิโนสซึ่งเป็นไตรแซ็กคาไรด์ประกอบด้วย กาแล็กโทส-กลูโคส-ฟรักโทส โดย S. cerevisiae สามารถหมักรัฟฟิโนสได้เพียง 1 ใน 3 คือ มีเฉพาะเอนไซม์อินเวอร์เตส สลายรัฟฟิโนสเป็นเมลิไบโอส และฟรักโตส ในขณะที่ S. uvarum สามารถหมักรัฟฟิโนสได้โดยสมบูรณ์ คือ มีทั้งเอนไซม์อินเวอร์เตส และเมลิไบเอส ซึ่งจะสลายเมลิไบโอสเป็นกาแล็กโทสและกลูโคส นอกจากนี้อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเติบโตต่างกัน คือ S. uvarum จะอยู่ประมาณ 20-24 องศาเซลเซียส ในขณะที่ S. cerevisiae จะอยู่ประมาณ 28-32 องศาเซลเซียสดังนั้นในการหมักลาเกอร์จะอุณหภูมิต่ำกว่า คือ 6-15 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7-12 วัน ส่วนการหมักเอลใช้อุณหภูมิ 18-22 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5-7 วัน

ไวน์ เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักน้ำองุ่นโดยยีสต์ ไม่มีการกลั่นยีสต์ที่ใช้ในการหมักไวน์ควรมีลักษณะดังนี้ คือ สมมารถผลิตเอทานอลได้สูง ทนต่อซัลไฟต์ ทนต่อเอทานอล ทนต่อเทนนิน ทนต่อน้ำตาลความเข้มข้นสูง ทนต่อความร้อนให้กรดแอซิติกต่ำ ซึ่งยีสต์ที่ใช้ในการหมักไวน์ ได้แก่ S. cerevisiae สายพันธุ์ที่นิยมใช้คือ แชมเปญ (Champagne) และเบอกันดี (Burgundy) ส่วน Saccharomyces ชนิดอื่นๆที่เป็นไวน์ยีสต์ได้แก่ S. fermentati และ S. bayanus

นอกจากนี้ Saccharomyces ยัง มีบทบาทในการหมักเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์อื่นๆอีก เช่น สาเกของญี่ปุ่น ไซเดอร์ของอังกฤษซึ่งได้จากการหมักน้ำแอปเปิล วิสกี้ เป็นต้น

2) ใช้ในการผลิตอาหารโปรตีน โดยใช้ S. cerevisiae, S. uvarum โดยใช้วัตถุดิบเป็นพวกธัญพืช หรือกากน้ำตาล ยีสต์เหล่านี้มีประมาณ 50 % น้ำหนักแห้ง

3) ใช้ในการผลิตยีสต์ขนมปังชนิดที่ใช้คือ S. cerevisiae ยีสต์ขนมปังมี 2 แบบ คือ ยีสต์สด (compressed yeast) ซึ่งมีความชื้นประมาณ 70% ยีสต์แบบนี้ต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำจนกว่าจะใช้ และยีสต์แห้งซึ่งมีความชื้นอยู่ระหว่าง 7.5-8.5% ยีสต์แบบนี้สามารถเก็บไว้ได้นาน และไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำ

4) ใช้ในการผลิตเอนไซม์ และกรดอะมิโน เช่น S. cerevisiae และ S. uvarum ใช้ในการผลิตเอนไซม์อินเวอร์เตส หรือซูเครส ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมการทำลูกกวาด ทำน้ำผึ้งสังเคราะห์ ทำช็อกโกเลต และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ S. cerevisiae ใช้ในการผลิตไลซีน ซึ่งใช้เติมในแป้งสาลีที่ใช้ทำขนมปัง เติมในข้าวเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร

5) มีบทบาทในการหมักผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน เช่น S. rouxii มีบทบาทในการหมักมิโซ และโซยู อาหารหมักพื้นบ้านของญี่ปุ่นและจีน ซึ่งชนิดแรกทำจากข้าวและถั่วเหลือง หรือข้าวและธัญพืชอื่นๆ ชนิดที่สองทำจากถั่วเหลืองและข้าวสาลี โดย S. rouxii มีบทบาทในการทำให้เกิดกลิ่นรสในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว S. cerevisiae มีบทบาทในการหมักโอกิ (Ogi) อาหารหมักของไนจีเรีย แอฟริกาตะวันตกที่ทำจากข้าวโพด

6) ทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น S. rosea, S. globosus ทำให้เกิดฝ้าในแตงกวาดอง S. kuyveri, S. Oleaginosus ทำให้โอลีฟหมักเสีย โดยยีสต์พวกนี้เป็นพวกสลายเพกทิน S. cerevisiae, S. uvarum ทำให้เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เน่าเสีย S. rouxii, S. bisporus ทำให้ผลไม้แห้งเน่าเสีย S. rouxii ทำให้น้ำผลไม้เข้มข้น เช่น น้ำส้มเข้มข้นที่มีความหวานถึง63o บริกซ์ เน่าเสีย S. rouxii และ S. bisporus var. mellis ทำให้น้ำผึ้งเน่าเสีย โดยหมักให้เกิดแอลกอฮอล์ คาร์บอนไดออกไซด์และกรด ทำให้กลิ่นรสผิดปกติและมีสีเข้มขึ้น S. cerevisiae และ S. dairensis พบในไก่ที่ใช้คลอเตตราไซคลิน

การสลายน้ำตาลกลูโคส
น้ำตาล กลูโคสที่ได้จากการสลายคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ จะเปลี่ยนแปลงต่อไปหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาพมีออกซิเจน กลูโคสจะถูกออกซิไดส์ไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ละน้ำ รวมทั้งพลังที่จะใช้ในการเติบโต ส่วนการเปลี่ยนแปลงในสภาพไม่มีออกซิเจนจะเข้าสู่กระบวนการหมัก ซึ่งในจุลินทรีย์แต่ละพวกจะแตกต่างกันไป ดังจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป คือ

การหมักในแอลกอฮอล์ (alcoholic fermentation)
จุลินทรีย์ที่มีการหมักแบนี้ได้แก่ ยีสต์ เช่น Saccharomyces cerevesiae โดยยีสต์จะใช้น้ำตาลกลูโคสผ่านทางกระบวนการเอมบ์เทน เมเยอร์อฟ พาร์นาส (embden-Meyerhof-Parnas pathway )ในสภาพที่เป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อย และไม่มีออกซิเจน ได้ผลิตภัณฑ์หลักคือเมทิลแอลกอฮอล์ และคาร์บอนไดออกไซด์



ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงกลูโคสเป็นเอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์ มีดังนี้ คือ

1) กลูโคส +ATP → กลูโคส-6-ฟอสเฟต +ADP

2) กลูโคส-6-ฟอสเฟต → ฟรักโตส-6-ฟอสเฟต

3) ฟรักโตส-6-ฟอสเฟต+ATP → ฟรักโตส-1,6-ไดฟอสเฟต+ADP

4) ฟรักโตส-1,6-ไดฟอสเฟต → กลีเซอราลดีไฮด์-3-ฟอสเฟต+ ดีไฮดรอกซีแอซิโตน ฟอสเฟต

5) กลีเซอราลดีไฮด์-3-ฟอสเฟต+Pi+NAD+ → 1,3-ไดฟอสฟอกลีเซอเรต + NADH+H+

6) 1,3ไดฟอสฟอกลีเวอเรต + ADP → 3- ฟอสฟอกลีเซอเรต +ATP

7) 3-ฟอสฟอกลีเวอเรต → 2-ฟอสฟอกลีเวอเรต

Cool 2-ฟอสฟอกลีเวอเรต → ฟอสฟออีนอลไพรูเวต

9) ฟอสฟออีนอลไพรูเวต+ ADP → ไพรูเวต + ATP

10) ไพรูวเต → แอซิตัลดีไฮด์ + CO2

11) แอซิตัลดีไฮด์+NADH+H+ → เอทานอล

ดังนั้นปฏิกิริยาทั้งหมดในการหมักให้ได้เอทานอลของยีสต์เป็นดังนี้ คือ
C6H12O6 + 2Pi + 2ADP → 2C2H5OH + 2CO2 + 2H2O
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/10/2009 8:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

TO K.PONGPHAT

ใส่กลูโคสแล้ว (ถ้าไม่มีกลูโคส ให้ใช้นมข้นหวานแทนได้) ใส่น้ำมะพร้าวร่วมเข้าไปอีกหน่อย ระหว่างรอให้ยิสต์ตื่นจากหลับ ถ้ามีออกซิเจน.ให้ไปด้วย (36 ชม. ห้ามขาด-ห้ามเกิน) คราวนี้ละ สุดยอด


ขอบคุณมากๆ
ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/10/2009 6:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
uthanasamut
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/07/2009
ตอบ: 23
ที่อยู่: 366 ถ.ปัทมานนท์ อ.เมือง สุรินทร์

ตอบตอบ: 19/10/2009 1:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©