-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 9:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 25

ลำดับเรื่อง.....



629. เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรง
630. พันธุ์ข้าวลูกผสม ผ่าทางตันวิกฤตข้าวไทย

631. ข้าวโพด...เมล็ดจิ๋ว ประโยชน์แจ๋ว
632. สะตอ...ฉุน ดี มีประโยชน์
633. เวียดนามโอ่ ปลูกข้าวได้ผลผลิตต่อไร่สูงสุดในภูมิภาค
634. สุดยอด ! ข้าว ..ผลผลิตสูงสุดในประเทศไทย
635. เครื่องกระตุ้นเมล็ดข้าวไฟฟ้า เพิ่มผลผลิต-เปอร์เซ็นต์งอกสูง

636. สารไนเตรทตกค้างในสับปะรด
637. ไนเตรท ตกค้างในผักไฮโดรโปนิคส์มากไหม ?
638. กรมส่งเสริมการเกษตรแนะ ตัดสับปะรดสุกพอดี ป้องกันไนเตรทตกค้าง
639. ปลูกกล้วยกลับหัว
640. การตกค้างของสารไนเตรทและไนไตรท์

641. ปริมาณไนเตรท และไนไตรท์
642. ผักไฮโดรโพนิกส์ ปลอดภัยจริงหรือ ?
643. สารที่อยู่ในดินเรียก แร่ธาตุ..แต่พอมาอยู่ในขวดกับเรียก สารเคมี (ซะงั้น)
644. ดินมีหน้าที่อะไร และมีความสำคัญอย่างไร
645. ไฮโดรโปรนิคกับสารไนเตรทตกค้าง ...ปลอดภัยจริงเหรอ...กำจัดได้ไหม..

646. โสมกับสุขภาพ
647. กระชายดำ มีคุณค่ามากกว่าที่คิด
648. อาหารเสริมพลังทางเพศ
649. การจัดการสวนปาล์ม ให้ได้ผลผลิตดีตลอดทั้งปี
650. เทคนิคการเปลี่ยนเพศมะละกอ และทำให้มีลูกดก

651. ข้อควรคิดก่อน ''ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน''
652. การปลูกเผือกให้หัวมีขนาดใหญ่
653. การปลูกฟักทอง และเทคนิคการเพิ่มขนาดผล

------------------------------------------------------------------------------------






629. เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรง

เครื่องมือเตรียมดิน
» รถไถเดินตาม
» รถแทรกเตอร์ 4 ล้อ
» รถแทรกเตอร์ 4 ล้อขนาดเล็ก
» ขลุบหมุนติดรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก

เครื่องมือปลูกข้าว
» เครื่องพ่นหว่านเมล็ดข้าว
» เครื่องดำนา
» เครื่องหยอดข้าวแห้ง
» เครื่องปลูกข้าว 4 แถว แบบไม่เตรียมดินใช้ไถเดินตาม


เครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว
» เครื่องเกี่ยวข้าววางราย
» เครื่องนวดข้าว
» เครื่องเกี่ยวนวดข้าว


เครื่องมือเก็บรักษาข้าว
» เครื่องลดความชื้นแบบเมล็ดพืชบรรจุในกระสอบ
» เครื่องลดความชื้นแบบกระบะ
» เครื่องลดความชื้นแบบถังหมุนเวียน
» เครื่องลดความชื้นแบบคอลัมน์
» เครื่องลดความชื้นเมล็ดพืชแบบเมล็ดไหลคลุกเคล้า หรือแบบ แอล.เอส.ยู
» เครื่องลดความชื้นแบบฟลูอิดไดซ์ – เบด



คลิก.....ข้อมูลเยอะมากๆ...
http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/tool/
http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/tool/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:00 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 11:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

630. พันธุ์ข้าวลูกผสม ผ่าทางตันวิกฤตข้าวไทย


‘ราคาข้าวยังพุ่งไม่หยุด’ พาดหัวข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ ต่อเนื่องมานานหลายสัปดาห์ บ่งบอกถึงสัญญาณบางอย่างที่ทุกฝ่ายต้องเตรียมการรับมือ และหาทางแก้ไข ซึ่งทางแก้ที่ดีที่สุดในมุมมองของนักวิจัย คือการค้นหาพันธุ์ข้าวที่ให้ปริมาณผลผลิตสูง เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้เทคนิคปรับปรุงพันธุ์ “ข้าวลูกผสม”

สถานการณ์ราคาข้าวผันผวน เริ่มส่งสัญญาณตั้งแต่เดือนต้นปี 2551 จนถึงเดือนเมษายน และยังไม่มีวี่แววที่จะลดลง เหตุผลประการหนึ่งมาจากภาวะความแปรปรวนของสภาพอากาศ พายุไซโครน ทำให้ปริมาณผลผลิตในประเทศส่งออกข้าวเสียหาย ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม พม่า แม้กระทั่งอินเดีย ที่เจอกับภัยแล้ง ฝนฟ้าไม่เอื้ออำนวย เป็นสาเหตุให้ปริมาณสำรองข้าวในตลาดโลกลดลงอย่างเห็นได้ชัด


แต่สิ่งที่ทำให้ตลาดโลกตื่นเต้นกันยกใหญ่ มาจากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติเอลนีโญ อาจเวียนกลับมาอีกรอบในปีนี้ และส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวครั้งใหญ่ ทำให้ทุกประเทศเร่งกักตุนข้าว ดันให้ราคาข้าวในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นไปอีก


ดร.ปัทมา ศิริธัญญา นักวิจัยและรองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร



ดร.ปัทมา ศิริธัญญา นักวิจัยและรองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง กล่าวในงานเสวนาคุยกันฉันท์วิทย์ พันธุ์ข้าวลูกผสม...ความหวังที่อุดมด้วยผลผลิต ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทางออกที่จะสามารถแก้ปัญหาข้าวขาดตลาดได้นั้น คือการเพิ่มปริมาณผลผลิตด้วยการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งแนวโน้มของนักปรับปรุงพันธุ์หลายประเทศมุ่งหน้าพัฒนาคือ “ข้าวลูกผสม” จากเทคนิคผสมข้ามพันธุ์ เพื่อให้ได้ข้าวที่มีปริมาณผลผลิตสูงและต้านทานโรคแมลง




ศ.หยวนลองปิง บิดาแห่งเทคโนโลยีข้าวลูกผสม


จุดเริ่มต้นของข้าวลูกผสมมาจากประเทศจีน จากเหตุผลที่ปริมาณข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนในประเทศ ส่งผลให้ ศ.หยวน ลองปิง (Prof.Yuan Longping) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมแห่งจีน (China National Hybrid Rice R&D Center) ได้รับยกย่องให้เป็น บิดาแห่งพันธุ์ข้าวลูกผสม ซึ่งเป็นแนวทางให้นักวิจัยทั่วโลกหันมาทำการวิจัยเพื่อเพื่อพัฒนาพัฒนาข้าวลูกผสมมากขึ้น


สำหรับการพัฒนาพันธุ์ข้าวในประเทศไทย เริ่มต้นทำในหลายหน่วยงาน ทั้งมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ตลอดจนภาคเอกชน ที่ต้องการพัฒนาพัฒนาข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูง เนื่องจากที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก แต่ปริมาณข้าวที่ผลิตได้ยังถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น


จากสถิติระบุว่าผลผลิตข้าวของประเทศไทยโดยเฉลี่ย ระหว่างปี 2546-2548 อยู่ที่ประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งจัดอยู่อันดับที่ 6 ของโลก ต่ำกว่าประเทศเวียดนามที่ผลผลิตข้าวเฉลี่ยราว 750 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่จีนครองอันดับสูงสุดผลิตข้าวเฉลี่ยได้มากกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่


“แม้ไทยจะเป็นประเทศส่งออกข้าวติดอันดับหนึ่ง แต่อาจจะต้องเสียแชมป์ให้ประเทศคู่แข่งได้ หากผลผลิตต่อไร่ยังคงหยุดนิ่ง ตรงกันข้ามกับประเทศคู่แข่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงกว่า” นักวิจัยกล่าว





------------ข้าวลูกผสม ความหวังเพิ่มผลผลิต--------------

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสมในประเทศไทย เริ่มต้นจากการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีความโดดเด่น โดยในปี พ.ศ. 2543 ทีมวิจัยของ ดร.ปัทมา ได้คัดเลือกสายพันธุ์ข้าวหลากหลายสายพันธุ์มาทดสอบคู่ผสม อาทิเช่น สุพรรณบุรี 1, 2 และ 3, ปทุมธานี ข้าวขาวดอกมะลิ โดยใช้เวลาในการวิจัยกว่า 8 ปี จนกระทั่งได้สายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าเดิม 20% ตลอดจนต้านทานโรคแมลง โดยใช้ชื่อสายพันธุ์ลูกผสมนี้ว่า T6-4


ข้าวลูกผสม T6-4 เป็นพันธุ์แม่ที่ได้จากข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 3 ซึ่งเป็นพันธุ์พ่อ โดยผลจากการทดลองปลูกข้าวลูกผสม T6-4 พบว่าได้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,578 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้ข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตต่อไรมากกว่า 2 กิโลกรัมประมาณ 20 สายพันธุ์ ทั้งนี้คาดหวังว่าอีก 3 ปีจะสามารถพัฒนาจนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ชาวนาได้ลองปลูกเพื่อประเมินว่าคุ้มหรือไม่


“ทีมวิจัยได้อาศัยประสบการณ์จากการร่วมทำวิจัยกับ ศ.หยวนที่ประเทศจีน โดยคัดข้าวลูกผสมมา 20 สายพันธุ์จากทั้งหมด 400 สายพันธุ์ หลังจากทดลองปลูกในแปลงขนาดเล็ก พบให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า 2,000 กิโลกรัม จากที่ตั้งไว้ 1,000 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้เป็นระดับของงานวิจัย หากนำไปปลูกจริง ผลผลิตต่อไร่อาจจะไม่สูงเท่านี้ เพราะความผันแปรของปัจจัยแวดล้อม” ดร.ปัทมากล่าว



แปลงผลิตภัณฑ์ข้าวลูกผสม



เมื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมได้แล้ว จากนี้จะนำไปทดสอบปลูกในแปลงสถานี โดยจากนี้จะนำไปปลูกในแปลงทดลองขนาดใหญ่ จากนั้นจึงค่อยไปทดลองปลูกในแปลงเกษตร และให้เกษตรกรเป็นผู้ปลุกในที่สุด เพื่อศึกษาถึงวิธีการปลูกและเงื่อนไขต่าง อาทิ การใส่ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว คาดว่าขั้นตอนดังกล่าวจะทำเสร็จในเวลา 3 ปี


นักวิจัย กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ต้องผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปทดสอบที่สถานีทดลองข้าวในเขตภาคกลางอีกหลายสถานี โดยต้องทดลองปลูกอย่างน้อย 3 ฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี จากนั้นจึงนำไปทดสอบกับแปลงเกษตรที่ใหญ่ขึ้น และในขั้นตอนสุดท้ายคือปลูกในแปลงขนาดใหญ่แล้วให้ชาวนาเลือกว่าจะใช้พันธุ์ไหนดีที่สุด


นักวิจัย กล่าวต่อว่า เทคนิคผสมข้ามสายพันธุ์เป็นทางเลือกหนึ่งการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนอกเหนือจากเทคนิคทางพัฒนากรรมสมัยใหม่ หรือการดัดแปรพันธุกรรมในระดับยีน หรือ จีเอ็มโอ ซึ่งยังคงเป็นข้อถกเถียงถึงปัญหาด้านความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะระบบนิเวศน์ใกล้เคียง


"ทุกวันนี้ผลผลิตเฉลี่ยของข้าวไทยตลอดทั้งปีไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งพันธุ์ข้าวลูกผสมเป็นทางออกที่ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้ โดยไม่ต้องพึ่งจีเอ็มโอ" นักวิจัยกล่าว


การวิจัยพันธุ์ข้าวลูกผสมนอกจากจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่แล้ว การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคแมลง ยังเป็นเป้าหมายที่นักวิจัยต้องการ โดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกร ที่ทำให้ผลผลิตได้ไม่ตรงตามที่คาดการณ์ไว้


นอกจากนี้ทิศทางของงานวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวยังมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มคุณค่าด้านสารอาหารลงในข้าวสายพันธุ์ลูกผสม ให้มีคุณค่าเทียบเท่าข้าวหอมมะลิ มีปริมาณแป้งหรืออะไมเลส (Amylase) สูง เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการใช้ข้าวเป็นส่วนผสมหลัก เช่น อุตสาหกรรม แป้ง อุตสาหกรรมยา ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกของความต้องการผลผลิตข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม ทดแทนการผลิตเพื่อบริโภคเพียงอย่างเดียว



http://www.vcharkarn.com/varticle/37200
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 11:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

631. ข้าวโพด...เมล็ดจิ๋ว ประโยชน์แจ๋ว





นอกเหนือจากข้าวอันเป็นอาหารหลักที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันแล้ว ทุกคนคงเคยลิ้มลองรสชาติอันหวานมันของข้าวโพดซึ่งเป็นพืชที่นำประโยชน์มาใช้ได้แทบทุกส่วน ซึ่งเฉพาะเมล็ดนั้นวิธีการรับประทานก็สารพันจะสรรหากันแล้ว ไม่ว่าจะนำมาต้ม ปิ้ง คลุกเนย ทอด หรือการใช้ประโยชน์จากการนำมาแปรรูป เช่น แป้งข้าวโพด นม เหล้า เบียร์ วิสกี้ น้ำตาลผง สบู่ น้ำยาทำความสะอาด เครื่องสำอางค์ น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำสลัด เนยเทียมและมายองเนส เป็นต้น

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ข้าวโพดเป็นธัญพืชที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นอาหารนานาชนิดก็เนื่องจากเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง เพราะมีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก แถมยังมีโปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามินที่มีประโยชน์อีกมากมาย เช่นวิตามินซี เอในรูปเบต้าแคโรทีน อีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลูเทียน และซีแซนทิน ซึ่งเป็นสารคาโรตีนอย ช่วยป้องกันตาเสื่อมสภาพ





ส่วนประโยชน์ด้านอื่นๆ คงหนีไม่พ้นสรรพคุณทางยา ที่คนโบราณค้นพบและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่นเมล็ดของมันใช้ทานเพื่อบำรุงร่างกาย หัวใจ ปอดขับปัสสาวะ และนำมาบดพอกรักษาแผล นอกเหนือจากนี้ยังใช้ซังข้าวโพดต้มนำน้ำมาดื่มแก้บิด ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ต้น ราก และไหมข้าวโพด รสจืดหวาน ต้มเอาน้ำดื่ม ขับปัสสาวะได้ด้วย

สารอาหารในเมล็ดข้าวโพด 100 กรัมนั้น ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม โปรตีน 11.1 กรัม เกลือแร่ 1.7 กรัม ไขมัน 4.9 กรัม และเส้นไยหยาบอีก 2.1 กรัม แนะซักนิด สำหรับผู้ที่ชอบการรับประทานข้าวโพดเป็นชีวิตจิตใจว่า หากจะรับประทานข้าวโพดเมื่อใดก็ควรล้างน้ำเปล่าให้สะอาดเสียก่อน หากซื้อจากร้านค้าก็ควรเลือกชนิดที่ไม่ฟอกหรือขัดมากจนเกินไป เพราะจะเสียคุณค่าทางอาหารและอาจมีสารขัดสีตกค้างเป็นของแถม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ ที่ควรเลือกแต่สินค้าที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น

เห็นกันแล้วว่าการรับประทานข้าวโพดเพียงชนิดเดียวก็ได้รับประโยชน์อันมหาศาล ดังนั้นถ้าบ้านใครมีพื้นที่ว่างพอที่จะปลูกได้ล่ะก็อย่ารีรอกันอยู่เลย เพราะวิธีการปลูกนั้นง่ายนิดเดียว เพียงหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลงในหลุมดินร่วนที่ขุดไว้ 3-5 เมล็ด เมื่อต้นกล้างอกให้ถอนออกเหลือหลุมละ 1 ต้น เท่านี้ก็จะได้ข้าวโพดที่เป็นได้ทั้งอาหารและยาไว้รับประทานกันในบ้านโดยไม่ ต้องกังวลกับเรื่องสารพิษตกค้างอีกด้วย



http://www.vcharkarn.com/varticle/41214
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 11:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

632. สะตอ...ฉุน ดี มีประโยชน์


สะตอผัดกะปิกุ้งสด เมนูฮิตติดลมบนของหลายๆคน ปีหนึ่งจะได้รับประทานกันสักหน ประมาณช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน ทำให้สะตอราคาดีไม่มีตก เนื่องจากมีคนต้องการบริโภคมาก ราคาถูกที่สุดที่เคยซื้อจากทางภาคใต้ก็ตกฝักละ 3 บาท แต่ต้องซื้อร้อยฝักนะ ถ้าขายปลีกก็ฝักละ 5 บาท 10 บาท 15 บาท ไต่ระดับความต้องการขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ว่าสะตอจะมีกลิ่นฉุนรุนแรงทำให้หลายคนเบือนหน้าหนี แต่ก็มีอีกหลายคนยินดีอ้าปากอ้ำเข้าให้ ด้วยรสชาติที่ออกมันๆ ให้คุณค่าอาหารมากมาย ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน และวิตามินซี แต่สำหรับคนที่เป็นโรคเก๊าท์หรือมีกรดยูริกสูงเกิดเกณฑ์มาตรฐานก็ไม่ควรรับประทานสะตอเป็นอันขาด เพราะจะทำให้อาการกำเริบได้

สะตอเป็นพันธุ์ไม้ป่าตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ปลูกง่าย โตเร็ว สามารถเจริญเติบโตปะปนกับต้นไม้อื่นได้ สามารถปลูกแซมกับกาแฟ ทุเรียน ลองกอง ฯลฯ และแบ่งพันธุ์เป็น 2 ชนิด คือ

1. สะตอข้าว ฝักจะบิดเป็นเกลียว สีเขียวอ่อน เมล็ดมีขนาดเล็ก กลิ่นไม่ฉุนมากนัก เนื้อไม่ค่อยแน่น อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 3-4 ปี
2. สะตอดาน ฝักจะแบนตรง สีเขียวแก่ เมล็ดมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นฉุนจัด เนื้อแน่น อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 6-7 ปี





การขยายพันธุ์ ทำได้ด้วยการเพาะเมล็ดหรือติดตา เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่เพาะปลูกปลูกเสริมเพิ่มรายได้ไม่ต้องประกันราคา เพราะราคาดีอยู่แล้ว และเดี๋ยวนี้ทางภาคอีสานก็มีการปลูกสะตอ ขายฝักสะตอกันสองข้างถนน เหมือนทางภาคใต้ เริ่มกระจายความฉุนไปทั่วประเทศแล้วนะจ๊ะ


http://www.vcharkarn.com/varticle/41637
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 12:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

633. เวียดนามโอ่ ปลูกข้าวได้ผลผลิตต่อไร่สูงสุดในภูมิภาค


ASTVผู้จัดการออนไลน์-- ทางการเวียดนามกล่าวว่า ในปัจจุบันชาวนาในเวียดนามปลูกข้าวได้ผลผลิตต่อไร่สูงที่สุดในบรรดาประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นคือเฉลี่ย 5.3 ตันต่อเฮกตาร์ (6.25 ไร่) ผลิตได้มากขึ้นทุกปี แต่ประชากรก็มากขึ้นทุกปี ทำให้ยอกส่งออกเพิ่มได้ช้า

สำนักข่าวทางการเวียดนามวีเอ็นเอ รายงานเรื่องนี้โดยอ้างข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ที่เผยแพร่ในสัปดาห์นี้

นายบุ่ยบ่าบ๋อง (Bui Ba Bong) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงนี้ กล่าวว่า ผลผลิตต่อไรจะแตกต่างกันไปตามสภาพท้องถิ่น จังหวัดในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง คือ จ.ด่งท้าป (Dong Thap) นครเกิ่นเทอ (Can Tho) และ จ.อานซยาง (A Giang) ซึ่งเป็นเขตปลูกข้าวใหญ่ที่สุด ให้ผลผลิตสูงสุด 7.3 ตันต่อเฮกตาร์ เท่ากับที่ทำได้ต่อไร่ในเกาหลี และญี่ปุ่น นายบ๋องกล่าว

หลายปีมานี้เวียดนามได้ขยายทั้งเนื้อที่ และ หาทางเพิ่มผลผลิตให้ชาวนา ทั้งในด้านการคัดพันธุ์ข้าว นำข้าวพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงออกทดลองปลูก รวมทั้งเริ่มทดลองปลูกข้าวหอมคุณภาพดี ที่ให้ผลผลิตสูงอีกด้วย

เตื่อยแจ๋ (Tuoi Tre) รายงานในขณะเดียวกันว่า ปีนี้ชาวนาทั้งประเทศผลิตข้าวได้ทั้งหมด 39.9 ล้านตัน ในนั้น 23.5 ล้านตันผลิตได้ในจังหวัดภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งส่งออกใหญ่ที่สุด

กระทรวงเกษตรฯ เวียดนาม กล่าวว่า ราคาข้าวในตลาดโลกกำลังจะพุ่งขึ้นสูงในช่วงปลายปี เวียดนามไม่ควรจะขายข้าวในราคาต่ำกว่าตลาดโลกอีกต่อไป

อินโดนีเซียไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจาต่อรองราคากับไทย และ ต้องการขอซื้อข้าวจากเวียดนามอีก 200,000 ตัน ไต้ฝุ่นเมกี (Megi) เมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้ฟิลิปปินส์จะต้องนำเข้าข้าวอีก 500,000-600,000 ตัน เท่า กับที่จีนขอซื้อจากเวียดนามเมื่อเดือนก่อน

อย่างไรก็ตามเวียดนามมีข้าวเหลือในสต๊อกไม่มาก นอกจากนั้นยังไม่ได้ส่งมอบให้แก่ลูกค้าอีกกว่าล้านตัน

สมาคมอาหารเวียดนาม (VietFood) เพิ่งจะกำหนดราคาจำหน่ายข้าวขั้นต่ำในเดือนนี้ ข้าว 25% จำหน่ายตันละ 445 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 10 ดอลลาร์จากเดือน ก.ย. เนื่องจากตลาดโลกต้องการสูงขึ้น แต่ข้าว 5% ราคายังเท่ากับเมื่อเดือน ก.ย. คือ 475 ดอลลาร์ต่อตัน เตื่อยแจ๋กล่าว

จนถึงเดือน ต.ค.นี้ ผู้ส่งออกเซ็นสัญญากับลูกค้าเอาไว้รวม 6.8 ล้านตัน ช่วงเดียวกันนี้ส่งมอบแล้วทั้งหมด 5.66 ล้านตัน ทำรายได้รวม 2,630 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4.9% ในเชิงปริมาณ และ 9.24% ในเชิงราคา เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว

เชื่อว่าปีนี้เวียดนามจะส่งมอบได้ระหว่าง 6-6.5 ล้านตัน เท่านั้น แม้ว่าหลายฝ่ายจะตั้งเป้าเอาไว้ถึง 7.5 ล้านตันก็ตาม.



http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9530000153033
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 12:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

634. สุดยอด ! ข้าว ..ผลผลิตสูงสุดในประเทศไทย


ต้นเตี้ย ทนเพลี้ย เม็ดยาว ผลผลิตสูง ........ ข้าวเจ้าพันธุ์ - กข 41



ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข41 ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของ CNT85059-27-1-3-2 และสุพรรณบุรี 60 นำไปผสมพันธุ์กับ RP217-635-8 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาทในฤดูนาปี 2539 ปลูกข้าวชั่วอายุที่ 2 และ 3 จนได้เมล็ดชั่วอายุที่ 4 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท จากนั้นนำไปปลูกชั่วอายุที่ 5 - 6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2541 ถึง ฤดูนาปรัง 2542 จนได้สายพันธุ์ CNT96028-21-1PSL-1-1 ปลูกศึกษาพันธุ์ฤดูนาปรัง 2543 และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีฤดูนาปี 2544 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จากนั้นนำเข้าไปเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกและสถานีทดลองข้าวชัยนาทและลพบุรี ในฤดูนาปี 2545 ถึงฤดูนาปี 2550 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ที่นาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ตั้งแต่ฤดูนาปี 2546 ถึง ฤดูนาปี 2550 ทดสอบผลผลิตการยอมรับของเกษตรกรตั้งแต่ฤดุนาปี 2547-2550 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาทและกำแพงเพชร ทดสอบเสถียรภาพผลผลิตในฤดูนาปี 2550 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี และพัทลุง คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข41 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552


ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์ กข41 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อแสง อายุเก็บเกี่ยว 105 วัน ความประมาณ 104-105 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นแข็ง ใบและกาบใบสีเขียวและใบธงตั้งตรง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ความยาวรวงเฉลี่ย 29.0 เซนติเมตร รวงแน่นปานกลาง แตกระแง้ปานกลาง คอรวงยาง จพนวนเมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 73-85 เมล็ดต่อรวง น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ดเฉลี่ย 28.8 กรัม ข้าวเปลือกมีสีฟาง เปลือกเมล็กมีขนสั้น ข้าวเลปือกยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.53 มิลลิเมตร หนา 2.05 มิลลิเมตร คุณภาพการสีดีมาก ระยะฟักตัว 9-10 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียวยาว เฉลี่ย 7.73 มิลลิเมตร กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.81 มิลลิเมตร หนา 1.81 มิลลิเมตร อุณภูมิแป้งสุกต่ำ มีคุณภาพการสีได้ดีข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวสูงถึง 46.6 เปอร์เซ็นต์


ผลผลิต
เฉลี่ย 894 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 894 กก./ไร่ สูงกว่าสุพรรณบุรี 1 (795 กก./ไร่) พิษณุโลก 2 (820 กก./ไร่) สุพรรณบุรี 3 (768 กก./ไร่) กข29 (855 กก./ไร่) และชัยนาท 1 (812 กก./ไร่) คิดเป็นร้อยละ 12 9 16 5 และ 10 ตามลำดับ
2. ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล และโรคไหม้
3. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพ การสีดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 % ได้


พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อทดแทนพิษณุโลก 2 และชัยนาท 1 สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแนง การปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน - พฤศจิกายน จะกระทบอากาศเย็น ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเชตจังหวัดนครปฐม




http://www.narinta.com/news001.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/09/2011 12:17 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 12:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

635. เครื่องกระตุ้นเมล็ดข้าวไฟฟ้า เพิ่มผลผลิต-เปอร์เซ็นต์งอกสูง


จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ไทยส่งออกข้าวได้เพียง 422,156 ตัน ต่ำสุดในรอบ 3 ปี หรือลดลง 63% เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่ส่งออกได้ถึง 1.16 ล้านตัน


เนื่องจากข้าวไทยมีราคาสูงกว่าเวียดนาม และปากีสถาน ถึงตันละประมาณ 100 ดอลลาร์ โดยข้าวไทยมีราคาส่งออกตันละ 550 ดอลลาร์ ขณะที่เวียดนามส่งออกข้าวราคาตันละ 450 ดอลลาร์ ทั้งนี้ การส่งออกข้าวไทยที่มีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง สาเหตุหนึ่งมาจากจำนวนผลผลิตต่อไร่ต่ำ จึงทำให้ต้นทุนสูง และอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถต่อการแข่งขันในตลาดส่งออกข้าวของไทย


จากสาเหตุทั้งปวงดังกล่าว ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นำโดย รศ.ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล ผศ.นรเศรษฐ พัฒนเดช และตัวแทนทีมนักศึกษา นายบัญชา แย้มสอาด นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จึงได้คิดค้นเครื่องกระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้าขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น


การทำงานของเครื่องมือนั้น บัญชากล่าวว่า เครื่องกระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้าได้รับการออกแบบโดยใช้สนามไฟฟ้าที่มีความเข้มสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอเข้ากระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวในเวลาที่เหมาะสม โดยอาศัยทฤษฎีที่ใช้ในการเพิ่มประจุไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงคุณภาพเมล็ดข้าว เพื่อให้มีผลต่อองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบในทางที่ดีขึ้น บัญชายอมรับว่า 3 องค์ประกอบที่ว่า ก็คือ เปอร์เซ็นต์การงอกของต้นกล้า ความยาวของรากต้นข้าว และดัชนีการงอก ความแข็งแรงของลำต้น อันเป็นผลสืบเนื่องต่อความสมบูรณ์ของต้นข้าว ทำให้มีผลผลิตและคุณภาพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มมูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ที่สำคัญเจ้าเครื่องต้นแบบนี้มีราคาการผลิตอยู่ที่หลักหมื่นบาทต้นๆ เท่านั้น


จากการศึกษาพบว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวที่นำมาผ่านสนามไฟฟ้าที่มีความเข้มของสนามไฟฟ้า 3 กิโลโวลต์ต่อเซนติเมตร จะได้ความยาวรากเฉลี่ยสูงที่สุด โดยเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวจะใช้ระยะเวลาในการกระตุ้น 20 นาที และเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมปลูกจะใช้ระยะเวลาในการกระตุ้น 30 นาที และในกรณีอัตราการงอกไม่แตกต่างกันมากระหว่างเมล็ดพันธุ์พร้อมปลูกและเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่งเก็บเกี่ยว เนื่องจากนำเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์มาเพาะนั่นเอง “จากการศึกษาพบว่า การกระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้ามีผลต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ โดยส่งผลให้ทำให้ความยาวของราก และจำนวนรากแขนงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ผ่านสนามไฟฟ้า และเมื่อความยาวของรากเพิ่มขึ้น มีรากแขนงมากขึ้น จะส่งผลต่อการดูดซับแร่ภายในดิน ทำให้ต้นข้าวมีความแข็งแรงทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นในทางปฏิบัติ โดยยิ่งรากยาวยิ่งดูดซับอาหารได้ดี อัตรารอดสูง จากการที่กรมการข้าวนำไปทดลองปลูกที่ จ.สุรินทร์ พบว่าปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์” นายบัญชากล่าว


นักศึกษาจากรั้วลาดกระบัง กล่าวในตอนท้ายว่า ขณะนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.กำลังนำแนวคิดจากเครื่องต้นแบบดังกล่าวไปพัฒนาสู่เครื่องที่มีหลายขนาด เริ่มจากขนาดเล็กสำหรับการเกษตรแบบครัวเรือน ขนาดกลางสำหรับการปลูกข้าวในเชิงเศรษฐกิจระยะแรก และขณะนี้กำลังผลิตเครื่องต้นแบบขนาดใหญ่เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ โทร.0-2739-2359 และ 08-6368-9419



ที่มา : หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก
http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=09&id=5019
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 1:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

636. สารไนเตรทตกค้างในสับปะรด

สารไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิดจากสาเหตุใด ? และมีผลต่อผู้บริโภคหรือไม่ ?


คิดว่าทุกคนคงรู้สึกกังวลหากได้ยินว่าพบสารไนเตรทตกค้างในสับปะรด แต่ที่จริงแล้วสารไนเตรทในสับปะรดไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภคเลยค่ะ แต่มีผลต่อผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋อง เพราะว่า หากมีสารไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิน 25 ppm (พบสารไนเตรท 25 ส่วนในล้านส่วน) เมื่อนำไปแปรรูปบรรจุกระป๋องแล้ว สารไนเตรทจะกัดกร่อนสารเคลือบกระป๋อง ทำให้อายุการเก็บรักษาลดลงจาก 3 ปีเหลือเพียง 1 ปี ซึ่งเกิดผลเสียหายกับผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋องอย่างมาก



สำหรับสาเหตุของการมีสารไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้
1. เกิดจากการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตของสับปะรดไม่หมด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ โดยหลังจากการบังคับดอกแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตทางดิน แต่มาให้ปุ๋ยโดยการฉีดพ่นทางใบ เพราะสับปะรดจะสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้หมด ส่วนที่ตกค้างอาจจะอยู่ที่ใบหรือจุกสับปะรด แทนที่จะตกค้างในผล

2. เกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หากมีฝนตก สับปะรดจะได้รับสารไนโตรเจนซึ่งมาพร้มกับสายฝนโดยตรง จึงจำเป็นต้องทิ้งช่วงอย่าเก็บเกี่ยวสับปะรดในช่วงที่ฝนตกใหม่ๆ แต่ก็เป็นเรื่องยากเพราะหากสับปะรดสุกแล้ว เกษตรกรก็จำเป็นต้องเก็บเกี่ยวทันทีไม่สามารถยืดเวลาเก็บเกี่ยวได้ จึงเป็นปัจจัยที่เหนือการควบคุม


การแก้ไขปัญหานี้ จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของนักส่งเสริมการเกษตร ในการถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรสามารถผลิตสับปะรดอย่างถูกต้องได้คุณภาพตามที่โรงงานต้องการ ในขณะเดียวกัน ทางโรงงานก็ได้หาวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดสารไนเตรท ซึ่งเป็นการร่วมกันทำงานจนในปัจจุบัน ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จะเหลือแต่ก็ปัจจัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้เท่านั้นเอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 1:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

637. ไนเตรท ตกค้างในผักไฮโดรโปนิคส์มากไหม ?


ความจริงแม้สารอาหารที่ใช้ปลูกเลี้ยงผักไฮโดรโปนิคส์ จะมีไนเตรเจนในรูปไนเตรทมาก ก็จริงอยู่แต่ผักลงดินที่ใช้ไนโตรเจนทั้งรูปยูเรียรูปแอมโมเนียมและรูปไนเตรท ก็จะต้องถูกจุลินทรีย์ดินที่ชื่อไนโตรโซโมแนสและไนโตรแบคเตอร์เปลี่ยนไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมไปเป็นรูปไนเตรทเสียก่อนพืชจึงดูดไปใช้งานได้ แต่ข้อที่จะมีไนเตรทสะสมนั้นผักไฮโดรโปนิคส์ที่ปลูกในเมืองไทยและได้แดดเต็มที่จะมีการเปลี่ยนไนเตรทที่สะสมไปเป็นไนไตรท์ได้ เพราะแสงแดดจัดจะช่วยกระตุ้นเอ็นไซม์ไนเตรทรีดักเตส ซึ่งมีโมลิบดีนั่มเป็นโคแฟคเตอร์ ให้เปลี่ยนไนเตรทไปไปเป็นไนไตรท์และเปลี่ยนอีกทีละขั้นจนได้แอมโมเนียมแล้วเปลี่ยนเป็นสารอินทรีย์ในใบพืชผัก ก็จะลดไนเตรทได้


สรุปว่าหากกังวลว่าจะมีไนเตรทสะสม ก็มีวิธีแก้ดังนี้
1. จัดการให้พืชได้รับแสงแดดเพียงพอไม่ควรพรางแสงทำร่มให้ผักไฮโดรโปนิคส์เว้นแต่พืชนั้นไม่ต้องการแสงแดดจัดโดยธรรมชาติ

2. พืชดูดไนเตรททั้งกลางวันและกลางคืน แต่นำไนเตรทไปใช้ตอนกลางวันที่มีแสงแดด จึงควรเก็บผักในตอนบ่าย ตอนที่ไนเตรทถูกนำไปใช้แล้ว

3. ตอนกลางคืนอย่างน้อย12ชม.ควรเลี้ยงผักด้วยน้ำเปล่าไหลผ่าน โดยไม่มีสารอาหาร ก่อนเก็บผัก

4. ลดความเข้มข้นของสารอาหารปรกติลง5-7วันก่อนเก็บเกี่ยวและไปเพิ่มธาตุอาหารรองและอาหารเสริมโดยเฉพาะเหล็กและโมลิบดีนั่ม สำหรับโมลิบดีนั่มเติมเพื่อให้เอ็นไซม์ไนเตรทรีดักเตสทำงานได้ดี อาหารรองและอาหารเสริมเพื่อช่วยรักษาคุณภาพผักให้มีคุณภาพจนเก็บเกี่ยว



http://archeep.com/board/index.php?PHPSESSID=laqsvrqgbbik6nmh9g59d9e8g1&topic=1240.msg1619#msg1619
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 1:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

638. กรมส่งเสริมการเกษตรแนะ ตัดสับปะรดสุกพอดี ป้องกันไนเตรทตกค้าง





กรมแนะนำเกษตรกรไม่ให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังการบังคับดอกแล้ว ไม่ทำลายจุกสับปะรดก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดเร่งสับปะรดสุกก่อนกำหนด และเก็บสับปะรดสุกพอดีไม่น้อยกว่า 25% หรือสุกตั้งแต่ 2-3 ตาขึ้นไปมาจำหน่ายเท่านั้น อย่าเก็บสับปะรดดิบส่งโรงงาน เพราะการเก็บสับปะรดในระยะเวลาไม่เหมาะสมจะมีปัญหาสารไนเตรทตกค้าง


เนื่องจากเกษตรกรบางรายใช้สารหรือปุ๋ยเคมี ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบมากเกินความจำเป็น หากประเทศผู้นำเข้าสับปะรดกระป๋องตรวจพบสารไนเตรทเกินปริมาณที่กำหนดจะส่งสินค้าคืนทันทีประเทศไทยจะสูญเสียลูกค้าและถูกแย่งตลาดในอนาคตจากประเทศคู่แข่ง




สัปปะรด
ส่วนที่นำมาใช้
เนื้อในผล

สรรพคุณ
เนื้อมีรสเปรี้ยว อมหวาน ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยแก้อาการหลอดลมอักเสบ ความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันโรคไตอักเสบ ขับปัสสาวะ


วิธีการใช้
๑. รับประทานเนื้อในผล เป็นผลไม้ หลังรับประทานอาหาร

๒. คั้นเอาน้ำ ผสมเกลือเล็กน้อย เป็นเครื่องดื่ม หรือปั่นเนื้อสัปปะรดใส่น้ำแข็ง เป็นน้ำปั่นผลไม้ก็ชื่นใจดี เนื่องจากสัปปะรดเป็นผลไม้ที่คนไทยรับประทานกันอยู่แล้ว จึงไม่จำกัดขนาด แต่ถ้ารับประทานมาก กรดที่มีปริมาณสูงจะกัดเยื่อบุช่องปากได้



ที่มา:แนวหน้า
http://www.naewna.com/news.asp?ID=272775
ที่มา:สรรพคุณและภาพประกอบจากtratcc.ac.th
http://sa-ra1000.blogspot.com/2011/07/blog-post_9939.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 1:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

639. ปลูกกล้วยกลับหัว


กล้วยนั้นมีดีแค่ไหน...ปรับตัวได้อย่างไร...และอยู่กับธรรมชาติได้อย่างไร
ปลูกกันแบบบ้านๆ บรรยายกันแบบบ้าน ไ่ม่ต้องวิชาการไรมากมายค่ะ


เทคนิคการปลูกกล้วยแบบกลับหัว
ซึ่งเป็นเทคนิคการปลูกของเกษตรกรในภาคใต้มาปรับใช้
หน่อพันธุ์ที่ใช้สำหรับปลูก ควรเลือกจากต้นที่ตัดเครือกล้วยไปแล้ว
เพราะจะได้หน่อพันธุ์สมบูรณ์ตัดใบและลำต้นทิ้ง
ให้เหลือเฉพาะส่วนโคนสูงจากพื้นดิน 30-40 เซนติเมตร
ใช้เสียมแซะหน่อออกจากดิน โดยต้องให้มีรากติดอยู่ด้วย ก็สามารถนำไปปลูกได้
โดยขุดหลุมปลูกให้ลึก 50 เซนติเมตร
วางหน่อพันธุ์กล้วยแบบกลับหัวโดยให้ส่วนรากกล้วยชี้ขึ้นฟ้า แล้วกลบดิน

ส่วนการดูแลก็เหมือนกับการดูแลสวนกล้วยตามปกติ การปลูกกล้วยวิธีนี้
เพียงแค่ 1 เดือน ก็จะเริ่มแตกหน่อกล้วยใหม่ 2-4 หน่อ ต่อ 1 หลุมปลูก
หลังปลูกเพียงแค่ 3 เดือน...
ต้นกล้วยจะสูง 1 เมตรขึ้นไปให้ผลผลิตเมื่อต้นกล้วยมีอายุ 1 ปีครึ่ง
ในขณะที่การปลูกแบบเดิม ต้องใช้เวลา 1 ปี 8 เดือนจึงจะได้ผลผลิต
และต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี จึงจะได้ต้นกล้วย 3-4 ต้น ต่อ 1 หลุมปลูก

การปลูกกล้วยแบบกลับหัว เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ได้ และยังให้ผลผลิตเร็วกว่าเดิมอีกด้วยค่ะ เริ่มเลยนะคะ



หน่อที่นำมาปลูกต้องขุดมาทั้งรากและเหง้า ขุดดีๆ ระวังอย่าให้เป็นแผล



กลับหัวเอาปลายทิ่มลงหลุมรากชี้ฟ้าไปเลย โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม เพราะเค้าว่ามันจะกินอาหารจากต้นเดิมก่อน (โอววว...แทะตัวเองได้ด้วย )





กลบให้มิด รดน้ำให้ชุ่ม หาไม้ปักไว้ด้วยว่าตรงไหนจะได้รดน้ำถูกที่






แล้วทำไมต้องไปทำพิศดารกลับหัวกลับหางมันอย่างนี้ ก็เพราะว่า
1. หน่อแตกออกมาไล่เลี่ยกันถึง 3-4 ต้น 2 ต้นอย่างน้อย
2. ไม่ต้องใส่ปุ๋ยในตอนแรกเพราะมันกินตัวเองได้
3. ต้นจะเตี้ยกว่าปกติ แต่ให้ผลผลิตเร็วและมากกว่าเดิม


ขอให้เพื่อนๆสนุกกับการปลูกพืชผักนะคะ...





ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.numthang.org/content/
http://gotoknow.org/blog/mrschuai/
http://www.google.co.th/
http://atcloud.com/stories/93916


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:28 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 1:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

640. การตกค้างของสารไนเตรทและไนไตรท์


ในผักต่างชนิด ที่เพาะปลูกแบบเคมี แบบปลอดภัยจากสารพิษและแบบอินทรีย์

อัมพิกา ภูวนะเสถียรฐ์


การบริโภคผักเป็นแหล่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์ได้รับไนเตรทจากอาหาร เนื่องจากในการปลูกผักนิยมใช้ปุ๋ยเคมีปริมาณมาก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ทำให้เกิดการตกค้างของไนเตรทสูง


การศึกษานี้เป็นการหาปริมาณไนเตรทและไนไตรท์ในผักชนิดต่างๆ คือ ผักกินใบ, ผักกินผล, ผักกินฝัก และผักกินราก ที่มีการเพาะปลูก 3 รูปแบบ ได้แก่ เคมี ปลอดภัยจากสารพิษ และอินทรีย์ จากพื้นที่การเพาะปลูกเดียวกันและต่างกัน เพื่อศึกษาปัญหาการตกค้างของไนเตรทและไนไตรท์ในผัก และนำข้อมูลไปประเมินการได้รับไนเตรท


จากการบริโภคผักวิเคราะห์ไนเตรทและไนไตรท์ในส่วนที่กินได้ของผักโดยวิธี Cadmium reduction method และ Colorimetric method ตามลำดับ


ผลการศึกษาพบว่าในการเพาะปลูก 3 รูปแบบ

ปริมาณไนเตรทในผักทุกชนิดมีค่าสูงกว่าไนไตรท์มาก
ผักใบเป็นผักที่มีปริมาณไนเตรทสูง

ส่วนใหญ่มีค่าสูงกว่าเกณฑ์กำหนดปริมาณไนเตรทในอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข แต่มีค่าต่ำกว่ามาตรฐานปริมาณไนเตรท

ในผักของสหภาพยุโรป โดยผักใบ ได้แก่ กวางตุ้งฮ่องเต้ ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักบุ้งจีน กวางตุ้งดอก กุยช่ายใบ ผักกาดหอม และต้นหอม พบค่าเฉลี่ยปริมาณไนเตรทอยู่ระหว่าง 505.1-1573.4 มก./กก. ยกเว้น ผักบุ้งน้ำ

ส่วนผักผล ผักฝัก และผักกินราก ยกเว้น หัวไชเท้า มีปริมาณไนเตรทในส่วนที่บริโภคต่ำ โดยพบค่าเฉลี่ยปริมาณไนเตรทระหว่าง 22.7-310.6 มก./กก.

ซึ่งผักต่างตระกูลมีการสะสมไนเตรทต่างกัน โดยผักในตระกูล~iCruciferae~i มีการสะสมไนเตรทสูงกว่าตระกูลอื่น

การที่พบไนเตรทในผักแต่ละชนิดแตกต่างกันมากเนื่องจากปัจจัยที่ต่างกันในการเพาะปลูก ได้แก่ ชนิดผัก ชนิดและปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ลักษณะดิน และความเข้มของแสง

ในการศึกษานี้พบว่าการใช้ปุ๋ยปริมาณมากโดยเฉพาะปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงจัด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการตกค้างของไนเตรทสูงในผัก การใช้ปุ๋ยเคมีมีผลต่อการสะสมไนเตรทในผักใบมาก ขณะที่มีผลต่อ ผักผล ผักฝัก และผักกินรากน้อยมาก

การประเมินการได้รับไนเตรทจากการบริโภคผักเฉลี่ยต่อวัน พบว่า

ปริมาณการได้รับไนเตรทแต่ละวันในกลุ่มประชากรทั่วไปต่ำกว่าค่าปลอดภัย สำหรับการบริโภคในชีวิตประจำวัน คือ ค่า Acceptable Daily Intake มาก

แต่ในกลุ่มที่รับประทานมังสวิรัติที่บริโภคผักซึ่งมีไนเตรทสูงที่ระดับ 95 เปอร์เซ็นต์ไทล์ พบว่ามีโอกาสได้รับไนเตรทจากการบริโภคผักในปริมาณสูงส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน



http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1202548000646
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 2:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

641. ปริมาณไนเตรท และไนไตรท์

ในผักคะน้าอินทรีย์, ผักคะน้าที่ปลอดภัยจากสารพิษ และผักคะน้าเคมี

รสสุคนธ์ ทองศรีอ้น



ผักใบเขียวหลายชนิดโดยเฉพาะผักคะน้ามีการสะสมของไนเตรทสูง เนื่องจากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในแปลงผัก ทำให้เกิดการตกค้างของไนเตรทในผัก ไนเตรทถูกเปลี่ยนเป็นไนไตรท์ในพืช และในร่างกายมนุษย์ ซึ่งจะสามารถแสดงความเป็นพิษต่อร่างกายได้


การศึกษานี้เป็นการหาปริมาณไนเตรท และไนไตรท์ในผักคะน้าที่มีการเพาะปลูก 3 รูปแบบ ได้แก่ ผักคะน้าอินทรีย์ ผักคะน้าที่ปลอดภัยจากสารพิษ และผักคะน้าเคมี


ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนี้จะนำไปประเมินความปลอดภัยของการรับประทานผักคะน้า และประเมินความเสี่ยงของการได้รับไนเตรทจากการรับประทานผักคะน้า


นอกจากนี้ยังทำการศึกษาผลของรูปแบบการเพาะปลูก, ฤดูกาล และพื้นที่เพาะปลูกต่อปริมาณไนเตรทในผักคะน้า

ตัวอย่างผักคะน้าจะเก็บมาจากแปลงเพาะปลูกที่ต่างกัน ในพื้นที่เดียวกัน, พื้นที่ต่างกัน 3 พื้นที่ และฟาร์มเดียวกันในฤดูที่แตกต่างกัน ปริมาณไนเตรท และไนไตรท์ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ด้วยวิธี Internal Standard Organization no. 3091 และ 2918 ตามลำดับ

สำหรับข้อมูลการเพาะปลูกได้จากการสัมภาษณ์ผู้ปลูก ผลการศึกษาพบว่า

ผักคะน้ามีปริมาณไนเตรทที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (2100.3 mg NO('-)(,3)/kg) มากกว่าปริมาณในไตรท์ (4.9 mg NO('-)(,2)/kg) ปริมาณไนเตรทที่ได้จากผักคะน้าที่ปลูกในรูปแบบที่แตกต่างกันจะพบว่าผักคะน้าที่ปลอดภัยจากสารพิษมีปริมาณไนเตรทสูงสุด (2667.2 mg NO('-)(,3)/kg) รองลงมาคือ ผักคะน้าเคมี (2272.5 mg NO('-)(,3)/kg) ส่วนปริมาณไนเตรทต่ำสุดพบในผักคะน้าอินทรีย์ (1509.6 mg NO('-)(,3)/kg)


เนื่องมาจากความแตกต่างของชนิดและปริมาณการใช้ปุ๋ยในผักแต่ละรูปแบบ การเพาะปลูก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอนินทรีย์ในปริมาณมาก โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยสูตรที่มีไนโตรเจนสูง อาจทำให้เกิดการตกค้างของไนเตรทสูง ในผักคะน้าที่ปลอดภัยจากสารพิษและผักคะน้าเคมี

นอกจากนี้ความแตกต่างของฤดูกาล และพื้นที่เพาะปลูก ยังมีผลต่อปริมาณการตกค้างของไนเตรทในผักคะน้าด้วยเช่นกัน โดยพบว่า ผักคะน้าอินทรีย์, ผักคะน้าที่ปลอดภัยจากสารพิษ และผักคะน้าเคมี ที่ปลูกในฤดูร้อน มีปริมาณไนเตรทสูงกว่าผักคะน้าที่ปลูกในฤดูฝน และฤดูหนาว

รูปแบบการเพาะปลูกที่ต่างกันในแต่ละฤดู และปริมาณของแสงที่แตกต่างกันน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ

อย่างไรก็ตามพบว่ารูปแบบการเพาะปลูกที่คล้ายคลึงกันของผักคะน้าอินทรีย์ จะทำให้ปริมาณไนเตรทมีค่าใกล้เคียงกัน ถึงแม้จะทำการเพาะปลูกในพื้นที่ต่างกัน




http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1202546000209
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 3:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

642. ผักไฮโดรโพนิกส์ ปลอดภัยจริงหรือ ?


ผู้ช่วยศาสตราจาย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ
รองประธานชมรมปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแห่งประเทศไทย


เรื่องความปลอดภัยของการบริโภคผักที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร เป็นสิ่งที่ถูกถามกันมากคำถามหนึ่ง ด้วยความกังวลที่ว่าผักที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์นี้ต้องแช่หรือสัมผัสกับสารละลายธาตุอาหารซึ่งจัดเป็นสารเคมีอย่างหนึ่งอาจดูดเคมีนั้นขึ้นไปสะสม เมื่อผู้บริโภครับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้หรือไม่


โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะนำไปเปรียบเทียบกับการปลูกพืชในดินแบบให้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยคอก) แต่ในความเป็นจริงแล้ว พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดูดกินอาหารผ่านทางรากในรูปของแร่ธาตุที่อยู่ในรูปของอิออน หรือ ประจุ (ion) เท่านั้น ซึ่งมีทั้งธาตุประจุบวก ได้แก่ NH4+, K+, Ca+2, Mg+2 , Fe+2 เป็นต้น และธาตุประจุลบ ได้แก่ NO3-, SO4-2, H2PO4-, BO3-3


ดังนั้น แม้ว่าเราจะปลูกพืชลงในดินแล้วทำการให้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยนั้นจะยังไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจนกว่าจะถูกการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดินจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นแร่ธาตุต่างๆที่แตกตัวเป็นอิออนละลายอยู่ในน้ำในดิน หรือจนกว่าปุ๋ยเคมีเม็ด นั้นจะแตกตัวละลายกลายเป็นแร่ธาตุอยู่ในสารละลายดินเช่นกัน รากพืชจึงดูดไปใช้ได้


สรุปก็คือ ไม่ว่าเราจะปลูกพืชในดินหรือในสารละลาย พืชก็ดูดใช้อาหารในรูปของประจุของแร่ธาตุ (ซึ่งบางคนเรียกว่าเป็นเคมี) เหมือนๆกัน ก่อนที่แร่ธาตุเหล่านั้นจะถูกพืชนำไปใช้สร้างสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญ่อื่นๆ ได้แก่ เป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน ต่างๆ ให้มนุษย์นำมารับประทานอีกที ดังนั้น หากเราไม่กังวลที่จะรับประทานผักที่ปลูกจากดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เราก็ไม่ควรที่จะกังวลกับการบริโภคผักที่ปลูกในสารละลาย เช่นกัน


ส่วนเรื่องการสะสมของไนเตรทที่เป็นอนุมูลของไนโตรเจนที่มีอยู่มากในสารละลาย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มักมีผู้สงสัย ไนเตรทเป็นอนุมูลไนโตเจนที่พืชต้องการและดูดใช้มากในช่วงพัฒนาด้านลำต้น กิ่งใบ หากเราเก็บเกี่ยวพืชที่ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาทางด้านลำต้นอยู่ ไม่ว่าจะปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ หรือปลูกในดิน ก็จะต้องพบว่ามีไนเตรทอยู่บ้างไม่มากก็น้อย แต่หากมีไม่เกิน 2500-3000 มก.ต่อ 1 กก น้ำหนักสดของผัก ก็ยังถือว่าปลอดภัยครับ


เคยมีรายงานว่าพบการสะสมไนเตรทในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคทั้งการปลูกในสารละลาย (วุฒิพงษ์, 2545: ปัญหาพิเศษปริญญาโท มก) และที่ปลูกในดิน (Patcharaporn et al., 2001 : Thai J. Agric. Sci 35(3) )


ดังนั้นปริมาณการสะสมไนเตรทจึงไม่ได้ขึ้นกับว่าปลูกในอะไร แต่น่าจะขึ้นกับว่าปลูกอย่างไร กรณีปลูกในสารละลาย ปริมาณการสะสมไนเตรทในต้นพืชขึ้นกับความเข้มข้นของอนุมูลไนเตรทที่อยู่ในสารละลายที่ใช้ปลูกพืช และอัตราการใช้อนุมูลไนเตรทของพืชที่นำไปเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนกลูตามินซึ่งต้องใช้โมเลกุลของน้ำตาลที่มาจากการสังเคราะห์แสงร่วมด้วย


ข้อดีประการหนึ่งของประเทศไทย คือ ที่มีแสงแดดจัด พืชจึงอัตราการสังเคราะห์แสงจึงค่อนข้างสูง ทำให้อัตราการเปลี่ยนแปลงไนเตรทเป็นกรดอะมิโนกลูตาเมทเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว และในการปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ ในการปลูกที่ดีต้องมีการควบคุมระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมทุกๆวัน ถ้าพืชมีการจริญเติบโตและสังเคราะห์แสงที่เป็นปกติโอกาสที่จะเกิดการสะสมไนเตรทจนถึงระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคจึงไม่น่าเกิดขึ้น และยังสามารถลดไนเตรทก่อนเก็บเกี่ยวได้ง่ายๆ โดยการงดให้ธาตุอาหาร 1 -2 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว ในทางกลับกันการปลูกในดินกลับควบคุมได้ยากกว่า ครับ



http://th-th.facebook.com/note.php?note_id=221757411174561
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 3:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

643. สารที่อยู่ในดินเราเรียก แร่ธาตุ..แต่พอมาอยู่ในขวดกับเรียกว่า สารเคมี (ซะงั้น)


เชื่อไหม...ทุกครั้งที่เราไปออกงาน ตามงานโชว์ต่างๆ ลูกค้าที่สนใจส่วนใหญ่แล้ว เป็นลูกค้าที่ ห่วงใย รักสุขภาพ กันทั้งนั้น..หลายๆคน ควบคุม และ ระมัดระวังเรื่อง การบริโภคอาหาร คำถาม ต่างๆที่พรั่งพรูออกมาจากปากลูกค้า บางคำถามเราก็นึกไม่ถึง บางคำถาม ก็เหมือนๆกันซ้ำๆ แล้วก็มีอยู่คำถามนึง ที่เราได้รับจากลูกค้าเสมอๆ ก็คือ การที่เราต้องเติมสารอาหารให้กับพืชลงในน้ำ และเราก็ยังไปโฆษณาว่า ผักเราปลอดสาร...!


ซึ่งมันก็ไม่ถูก...ไม่ควรใช้คำว่าผักปลอดสาร เสียเลยด้วยซ้ำ... แม้แต่ผัก ออแกนนิก เองก็ ไม่สมควรใช้คำนี้...ลูกค้าส่วนใหญ่ พอเห็นเว่าเรา เติมสารอาหารลงในน้ำ ก็ กลัวกันไปยกใหญ่ หาว่า ไหนละปลอดสาร...! แล้วที่เติมลงไปในน้ำละเรียกอะไร..?



ผมเองก็ได้แต่ยกหลักสูตร ตอนสมัยเรียน ป.4 โดยเฉพาะ สาขาที่ผมจบคณะวิดยาฯมา เอกฟิสิกส์ โทเคมี มาอธิบายกับลูกค้ากันยกใหญ่...(สงสัย หลักสูตร เรื่องการเกษตร สมัยนี้ คงเปลี่ยนไปแล้วแน่เลย..?)

...จากที่ ครูประชาบาล ที่รร.บ้านโนนสูงลิบลิ่ว ของผม ได้เคยสอนผมว่า พืชอาศัย แร่ธาตุในดิน อากาศ และ น้ำ บวกกับแสงแดด ในการเจริญเติบโต ผมเองก็จำฝังใจตั้งแต่นั้นมา ว่าในดินนั้นมี แร่ธาตุที่ พืชใช้ในการเจริญเติบโต...? แต่ไอ้ คำว่า แร่ธาตุเนี่ย มัน อะไรบ้างละ.. คำๆนี้มันกว้างมากๆๆๆ เลย ไอ้เจ้าแร่ธาตุเนี่ย มันคืออะไร หน้าตาเป็นแบบไหน สูงตำดำขาว อย่างไร มิเคยเห็น..?



http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK18/chapter8/t18-8-l1.htm

เดี๋ยวจะหาว่าโม้..นี่ เป็นเวปความรู้เรื่อง ดินและปุ๋ย สารนุกรมสำหรับเยาวชนไทย เล่ม 18 ถ้าขี้เกียจอ่านกัน เด๋วผมจะสรุปให้ดังนี้ ครับ.. จากข้อ 2.ดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งนี้ ธาตุอาหารของพืชจะถูกปลดปล่อยออกจากอินทรีย์วัตถุและแร่ต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของดิน ให้อยู่ในรูปที่รากของพืชสามารถดูไปใช้ได้โดยง่าย..แล้วก็หัวข้อ ธาตุอาหารมีกี่ชนิดแบ่งเป็นอะไรบ้าง...? ในนั้น เขาบอกว่ามีทั้งหมด 3 กลุ่ม




กลุ่มที่ 1 เป็นธาตุ (เอ้...ถ้าผมจะเรียกว่า สารเคมี บ้างละจะเป็นไรไหม..?) ที่ พืชใช้ในปริมาณมาก..ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซี่ยม

กลุ่มที่ 2 เป็นธาตุ แคลเซียม แมกนีเซียม และ กำมะถัน (มันก็สารเคมีเหมือนกันละว้า....) ถ้าใครไม่อยากกินสารเคมี ขอแนะนำให้ กินแต่น้ำเปล่า..

กลุ่มที่ 3 เป็นธาตุ แมงกานีส โบรอน โมลิดินัม ทองแดง สังกะสี และอื่นๆ อีกเยอะแยะ ตาแป๊ะก่าย.. เป็นธาตุ (สารเคมี) ที่ พืชใช้น้อย แต่จำเป็นต้องมี ผู้คนส่วน ใหญ่ พวกนักเกษตร เขาจะเรียก กลุ่มนี้ ว่าพวกจุลธาตุ



แล้วที่นี้มาดูสารอาหาร ของพืชไฮโดรโปรนิก กันบ้างว่ามีอะไร..
ธาตุอาหาร ไฮโดรโปนิก (สารเคมี นะ..) ประกอบไปด้วย..
กลุ่มที่ 1 สาร...!โพเทสเซี่ยม+ไนโตรเจน+ฟอสฟอรัส จัดให้อยู๋ในรูปของไนเตรท...เพือให้มันเสถียร และง่ายต่อการดูดซับ..

กลุ่มที่ 2 สาร...!แมกนีเซียม +กำมะถัน+แคลเซี่ยม จัดให้อยู๋ในรูปของฟอสเฟต ...ก็เหมือนข้างบนแหละ..

กลุ่มที่ 3 สาร..!แมงกานีส+โบรอน+โมลิดินัม+เหล็ก+สักกะสี+ทองแดง+ทองม้วน..! อันนี้เป็นจุลธาตุ...



จะเห็นได้ว่า ธาตุอาหาร ในดิน หรือธาตุอาหาร ไฮโดรโปรนิก ก็เป็น สารเคมี หรือ จะเรียกว่า แร่ธาตุ ก็ได้ ชนิดเดียวกันคล้ายๆกัน เพียงแต่...ไฮโดรโปรนิก นักวิจัย หรือ ดร.ทางด้านการเกษตร เขาได้ทำการวิจัยแล้วว่า พืชใช้สารพวกนี้ อะไรบ้างและเป็นปริมาณเท่าไร จากนั้นก็นำ แร่ธาตุเหล่านี้ (สารเคมี) มาทำการผสมกันในอัตราส่วนที่ พืชสามารถนำไปใช้ได้เลยในทันที่ได้ง่าย ไม่ ต้อง มานั่งผัดแกงต้มตุ๊น หรือ เข้าเวฟ ก่อน (ฟาสฟู๊ส ว่างั้นเถอะ) (ทางการเรียกย่อยสะลาย) เพื่อให้พืชได้นำไปใช้ได้สดวกขึ้น และครบถ้วนตามที่พืชต้องการ..ในปุ๋ยหมัก ก็มีในโตเจนสูงเหมือนกัน แต่ มันดีกว่า ไนโตรเจนในปุ๋ยเคมีอย่างๆไร..มะ...เรามาดูกัน...



ปุ๋ยอินทรีย์ กับ ปุ๋ยเคมี 55555...ต่างกันไหม...? ถ้าตอบกันตรงๆ ก็แตกต่างกันครับ...แน่นอน..เพราะ (ยกตัวอย่างปุ๋ยยูเรีย หรือ ไนเตรต) ปุ๋ยอินทรีย์หรือ ปุ๋ยหมัก เองกว่าจะแตกตัวเป็น ไนเตรต ก็ใช้เวลานาน ทำให้พืชนำไปใช้ได้ครั้งละไม่มาก ทำให้ปริมาณสะสม ของในเตรตมีน้อยไปด้วย ผิดกับปุ๋ยเคมี ที่ มีเพียบพร้อมอยู่แล้ว มีเท่าไร พืชก็กินไม่อั้น...อย่าว่าแต่ พืชกินไนเตรตเลย แม้แต่คน อะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดีเหมือนกัน (ยกเว้นเงินเนอะ..!) แต่ ไนเตรตเอง ก็ย่อยสลายหรือ ถูกใช้หมดไปได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน จากการสังเคราะห์แสงของพืช..ดังนั้น...เมื่อรู้ดังนี้แล้ว..ก็อย่าใช้สารละลายเยอะเกินไป หรือ เข้มข้นเกินไป รวมไปถึง เมือเราต้องการสลายไนเตรตตกค้าง ก็ทำได้ง่ายมา คือ งดการให้ธาตุอาหารพืช 1-3 วัน ให้แต่น้ำเปล่าอย่างเดียว ..ปล่อยให้สังเคาะห์แสง กับน้ำเปล่าพืชก็จะใช้ไนเตรตสะสมในลำต้นหมดไปเอง...


ถ้าศึกษากันไปลึกๆ ก็จะพบว่า ในการเจริญเติบโตของพืช ไนโตรเจนเป็นสิ่งจำเป็นมากในการ สังเคาะห์แสง (ทำกับข้าว)ดังนั้นเวลาที่พืชดูธาตุอาหารขึ้นไปทางรากแล้ว ยังไม่ทันสังเคาะห์แสง ก็จะมี ไนโตรเจน หรือ ไนเตรท ตกค้างอยู่ใน รากพืช หรือ ลำต้น เป็ฯบางส่วน...ก็เลยมี นักโภชนาการ บางท่านแย้งกลับมาว่า กินผักไฮโดรโปรนิก เนีย...มันจะมีสารตกค้าง พวกไนเตรท แล้วถ้ามันสะสมกันมากๆ มันก็จะเป็นสารที่เอื้อกำนวยต่อการเกิดมะเร็ง นะจะบอกให้...

อันที่จริงแล้ว เรื่องนี้ เขารู้กันมาตั้งนานแล้วละลุง..! แล้วเขาก็มีบทความตอบโต้กัน เยอะแยะ รวมไปถึง วิธีการ กำจัดไนเตรทตกค้างในผักไฮโดรโปรนิด เยอะแยะไปหมด ลองไปหาอ่านเพิ่มเติมเอาละกัน...ใบ้ให้นิส.... ที่เวปนี้ ก็มีให้อ่านอยู๋เหมือนกัน.....ก็ลองไปหาอ่านที่อื่นดูบ้างก็ได้.. เดี่ยวมันจะนอกประเด็น ของหัวข้อนี้ไปซะ...




สรุป...ทั้งปุ๋ยหมัก น้ำจุลิทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหลายทั้งปวง เอง ก็ต้องทำการย่อยสลาย ออกมาเป็นธาตุอาหาร แต่ละตัว ก่อน พืชถึงนำไปใช้ได้ สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ปริมาณที่พืชได้รับ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ ถ้ามีปริมาณมากเกินไป ก็ก่อให้เกินสารสะสมในร่างกายได้เหมือนๆกัน..

เมื่อทราบดังนี้ แล้ว ท่านสมาชิก ไฮโดรฮ๊อบบี้ทั้งหลาย ก็ไม่ต้องกังวลจนเกินไป ถึงกับทำให้อด รับรู้ถึงรสชาติ ผักหวานๆกรอบๆ เวลาเคี้ยวสดๆ นะมันอร่อยขนาดไหน..!



http://www.thaihydrohobby.com/?cid=413907


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/09/2011 5:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 3:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

644. ดินมีหน้าที่อะไร และมีความสำคัญอย่างไร


หน้าที่และความสำคัญของดินที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชและการเกษตรกรรม กล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้

๑. ดินทำหน้าที่เป็นที่ให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำต้นของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคง แข็งแรง ขณะที่พืชเจริญเติบโต รากของพืชจะเติบโตชอบไชหยั่งลึกแพร่กระจายลงไปในดินอย่างกว้างขวางทั้งแนวลึกและแนวราบ ดินที่ร่วนซุยและมีชั้นดินลึก รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง สามารถเกาะยึดดิน ต้านทานต่อลมพายุไม่ทำให้ต้นพืชล้มหรือถอนโคนได้

๒. ดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งนี้เนื่องจากธาตุอาหาร พืชจะถูกปลดปล่อยออกจากอินทรียวัตถุ และแร่ต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดิน ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย

๓. ดินเป็นแหล่งที่เก็บกักน้ำหรือความชื้นในดิน ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดได้ง่าย เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงลำต้นและสร้างการเจริญเติบโต น้ำในดินจะต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสมเท่านั้น ที่รากพืชสามารถดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ การรดน้ำพืชจนขังแฉะรากพืชไม่สามารถดึงดูดน้ำขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้ จะทำให้พืชเหี่ยวเฉาและตายในที่สุด

๔. ดินเป็นแหล่งที่ให้อากาศในดิน ที่รากพืชใช้เพื่อการหายใจรากพืชประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต ต้องการออกซิเจนสำหรับการหายใจทำให้เกิดพลังงานเพื่อการดึงดูดน้ำ ธาตุอาหารและการเจริญเติบโต ดินที่มีการถ่ายเทอากาศดี รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง ดูดน้ำและ ธาตุอาหารได้มาก ทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตแข็งแรงและให้ผลิตผลสูง





เนื้อดินที่มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกเป็นอย่างไร ?

ความสำคัญของเนื้อดินที่มีต่อความเหมาะสมในการเพาะปลูก

๑. ด้านการเตรียมดิน กลุ่มดินเหนียวและกลุ่มดินค่อนข้างเหนียวจะไถพรวนลำบาก กล่าวคือ เมื่อเปียกจะเหนียวจัด ถ้าแห้งก็จะแข็งจัดการเตรียมดินเพื่อการปลูกพืชทำได้ลำบากกว่ากลุ่มดินร่วนและกลุ่มดินทราย ซึ่งจะไถพรวนง่ายกว่า

๒. ด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน กลุ่มดินเหนียวและค่อนข้างเหนียวจะมีความสามารถอุ้มปุ๋ย หรือธาตุอาหารพืชและน้ำไว้ในดินได้มากกว่ากลุ่มดินร่วนและดินทราย ดังนั้นถ้าเราสามารถทำให้ดินเหนียวและดินค่อนข้างเหนียวมีสภาพไม่แน่นทึบ ดินมีความโปร่งพอสมควร ดินพวกนี้จะปลูกพืชได้งามดี ไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก ตรงข้ามกับกลุ่มดินร่วนและดินทรายซึ่งจะอุ้มน้ำและปุ๋ยได้น้อย ถ้าดินไม่ได้รับปุ๋ย หรืออินทรียวัตถุในดินมีอยู่น้อย พืชที่ปลูกมักจะไม่ค่อยงาม ต้องรดน้ำบ่อยใส่ปุ๋ยบ่อยๆ พืชจึงจะงอกงามดี

๓. ความโปร่งและร่วยซุย ดินในกลุ่มดินเหนียวมักจะแน่นทึบต้องพรวนบ่อยๆ หรือต้องจัดการเรื่องการระบายน้ำให้ดี เพราะจะขังน้ำได้ง่าย ทำให้รากพืชเน่าและไม่สามารถดูดน้ำและปุ๋ยได้อย่างปกติ จึงต้องหาวิธีทำให้ดินพวกนี้โปร่ง เช่น ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักผสมดินตอนเตรียมดินให้มากๆ ส่วนดินร่วนและดินทรายจะมีคุณสมบัติโปร่ง การระบายน้ำดี อากาศถ่ายเทดี เหมาะกับการเจริญเติบโตและการดึงดูดปุ๋ยและน้ำในดินของราก แต่บางครั้งดินที่มีทรายปนอยู่มากจะโปร่งจนเกินไป พืชขาดน้ำง่ายเพราะดินแห้งเร็ว ต้องรดน้ำบ่อยๆ ทำให้การดูแลลำบาก เราสามารถเพิ่มความอุ้มน้ำของดินร่วนและดินทรายได้ โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรืออินทรียวัตถุต่างๆ ผสมกับดินให้มากๆ






ความเป็นกรด-ด่างของดิน มีความสำคัญอย่างไร ?

สภาพความเป็นกรด-ด่างของดินนั้นเราสามารถตรวจสอบได้ ปกติเรามักใช้บอกความเป็นกรด-ด่างด้วยค่าที่เรียกว่า พีเอช หรือนิยมเขียนสัญลักษณ์เป็นภาษาอังกฤษ pH ความหมายของค่าพีเอชนี้ขออธิบายดังนี้ ช่วงของพีเอชของดินโดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ระหว่างประมาณ 3.0-9.0 ค่า pH 7.0 บอกถึงสภาพความเป็นกลางของดิน กล่าวคือ ดินมีตัวที่ทำให้เป็นกรดและตัวที่ทำให้เป็นด่างอยู่เป็นปริมาณเท่ากันพอดี ค่าที่ต่ำกว่า 7.0 เช่น 6.0 บอกสภาพความเป็นกรดของดิน ในกรณีนี้เมื่อดินมี pH 6.0 เราก็จะทราบว่าดินเป็นกรดอย่างอ่อน มีสภาพเป็นกรดมากกว่าดินที่มี pH 7.0 (เป็นกลาง) สิบเท่า ค่า pH ของดินยิ่งลดลงเท่าใดสภาพความเป็นกรดก็รุนแรงยิ่งขึ้นเท่านั้น ดินที่มี pH 5.0 จะเป็นกรดมากกว่า pH 6.0 สิบเท่า และมากเป็น 100 เท่าของดินที่มี pH 7.0 แต่ละค่าของ pH ที่ต่างกันหนึ่งหน่วยจะบอกความเป็นกรดที่แตกต่างกันสิบเท่า เช่นเดียวกับดินที่มี pH สูงกว่า 7.0 ก็จะบอกสภาพความเป็นด่างของดิน ยิ่งมีค่าสูงกว่า 7.0 เท่าใด ความเป็นด่างก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และจะเป็นด่างมากขึ้นเป็นสิบเท่าต่อความแตกต่างกันหนึ่ง หน่วยของค่า pH ระดับความรุนแรงของความเป็นกรด-ด่างของดินสามารถบอกได้จากค่าของ pH ดังนี้

ค่าของ pH ของดินสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความเป็นกรดในภาคสนามสามารถใช้ชุดตรวจสอบชนิดใช้น้ำยาเปลี่ยนสีตรวจสอบเรียกwbr pH Test Kit หรือชุดตรวจสอบ pH




ธาตุอาหารในดินมีกี่ชนิด แบ่งเป็นอะไรบ้าง ?


ธาตุอาหารพืชในดิน 13 ธาตุ นั้นมีดังนี้คือ

กลุ่มที่ ๑ ไนโตเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สามธาตุนี้พืชมักต้องการเป็นปริมาณมาก แต่มักจะมีอยู่ในดินไม่ค่อยพอกับความต้องการของพืชที่ปลูก ต้องช่วยเหลือโดยใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ เฉพาะธาตุอาหารในกลุ่มนี้เท่านั้นที่จะขอกล่าวไว้พอสมควรในที่นี้

กลุ่มที่ ๒ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน สามธาตุนี้พืชต้องการมากเหมือนกัน บางธาตุก็ไม่แพ้กลุ่มที่หนึ่ง แต่ธาตุทั้งสามนี้โดยปกติมักอยู่ในดินค่อนข้างมากเพียงพอกับความต้องการของพืชทั่วๆ ไป เมื่อเราใส่ปุ๋ยสำหรับธาตุในกลุ่มที่ 1 ธาตุในกลุ่มที่ 2 นี้ก็มักจะติดมาด้วยไม่มากก็น้อย ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีปัญหาเกิดการขาดหรือมีไม่ พอเพียงกับความต้องการของพืช

กลุ่มที่ ๓ เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี และคลอรีน ธาตุทั้งเจ็ดนี้ พืชโดยทั่วไปมีความต้องการเป็นปริมาณน้อยมาก เราจึงเรียกธาตุในกลุ่มที่ 3 นี้ว่า จุลธาตุอาหาร ธาตุพวกนี้บางธาตุถ้ามีอยู่ในดินเป็นปริมาณมากเช่นเหล็กและแมงกานีส ก็จะกลับกลายเป็นพิษแก่พืชได้ อย่างไรก็ตามธาตุพวกนี้รวมทั้งในกลุ่มที่ 2 ต่างก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชเท่าเทียมกันหมด และมีความสำคัญเท่าเทียมกับกลุ่มที่ 1 ด้วยเช่นกัน ถ้ามีธาตุใดขาดไป หรือไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช พืชก็จะหยุดชะงักการเจริญเติบโตและจะตายไปในที่สุด ธาตุอาหารในกลุ่มที่ 3 นี้ก็เช่นเดียวกัน จะไม่ขอกล่าวเพราะเป็นเรื่องที่ยืดยาวมากถ้าจะกล่าวกันให้ครบถ้วน




http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK18/chapter8/t18-8-l1.htm#sect1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 3:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

645. ไฮโดรโปรนิคกับสารไนเตรทตกค้าง ...ปลอดภัยจริงเหรอ...กำจัดได้ไหม..

(โพแทสเซียมไนไตรท์ (KNO3) และ โซเดียมไนไตรท์ (NaNO3))


ก่อนจะเข้าหัวข้อ ขอเท้าความกันก่อนเล็กน้อย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ ถึงธรรมชาติชองพืช (แบบ ไม่เป็นวิชาการ ..เพราะ ผู้เขียนเองก็ไม่เป็นวิชาการเหมือนกัน..555)
กว่าพืชผัก 1 ต้น จะงอกออกมาเป็นผักและโตพอที่จะถูกมนุษย์ใจร้ายเคี้ยวกันกรวบกร๊าบ อยู่ทุกวันนี้ มันต้องทำไงบ้าง..


1. ต้องมีอากาศ ในที่นี้ ก็ อ๊อคซเจน และก็อากาศที่เราหายใจได้เนี่ยละ..
2. ต้องมีน้ำ เพื่อช่วยในการ นำพาธาตุอาหาร และเป็นส่วนประกอบหลักของ พืชผักเลยก็ว่าได้
3. ต้องมีแร่ธาตุ ธาตุอาหารต่างๆ 30 กว่าชนิด
4. ต้องมีแสงแดด เพื่อให้เกิดกิจกรรมสังเคราะห์แสง..(พอไม่มีแสงแดด ก็จะเกิดกิจกรรมอย่างอื่นแทน.......นอนไง..)
5. ต้องมีสิ่งที่ช่วยพยุงลำต้น ให้ตั้งตรงอยู่ได้ ...จะเป็นดิน หรือ รางปลูก หรือ ไม้ค้ำ หรือ หิน ก็ได้ทั้งนั้น..



แล้วของทั้ง 5 ข้อนี้ ก็ต้องมีอย่างเหมาะสมด้วย ไม่มากไม่น้อยเกินไปในแต่ละเรื่อง..อย่างไหนมากเท่าไร น้อยเท่าไร เอาไว้มีเวลาว่างๆ (จะเกษียร แล้ว..เย้..) จะมาเล่าให้ฟังอีกครั้งครับ.และถ้าทุกอย่างลงตัวพอดี กับความต้องการ ของพืชผักในแต่ละชนิดนั้นๆ มันก็จะเจริญงอกงาม ออกใบออกดอกออกผลได้อย่างเต็มที่...

ผู้รู้หลายๆท่านก็บอกมาว่า กินผักไฮโดรเนี่ย จะมี ไนเตรตตกค้างเยอะ..แล้วเจ้า สารไนเตรตและไนไตรท์ที่กินเข้าไปอาจถูกแบคทีเรียในลำไส้บางชนิดเปลี่ยนไปเป็นสารที่ก่อให้เกิดสาร ก่อโรคมะเร็งหรือคาร์ซิโนเจน (Carcinogen) เช่นหากเปลี่ยนไปเป็นไนโทรซามีน (Nitrosamine) แล้วอาจจะเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร


อนึ่งการสะสมไนเตรตนี้มิใช่จะเป็นปัญหาเฉพาะพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินเท่านั้น การปลูกพืชบนดินก็สามารถเกิดปัญหาดังกล่างได้เช่นกันถ้ามีการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก (เช่นแอมโมเนียมไนเตรต) ก่อนการเก็บเกี่ยวโดยที่ไนเตรตที่พืชดูดเข้าไปสะสมในเยื่อที่ยังไม่เปลี่ยนรูปเป็นสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน เช่น กรดอมิโนและโปรตีน ดังนั้นจึงไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเมื่อใกล้เก็บเกี่ยวพืช ก็เพื่อให้พืชใช้สารอาหารต่างๆที่สะสมอยู่ในลำต้นให้หมดเสียก่อน..




http://www.thaihydrohobby.com/?cid=413907
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 9:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

646.



โสม เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่นิยมใช้และยอมรับนับถือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยถือกันมานาน กว่า 5,000 ปีว่าเป็นยาวิเศษอันทรงคุณค่ายิ่ง ต่อมาการนิยมใช้โสม ได้แพร่หลายไปยังส่วนต่างๆของโลก และในปัจจุบันมีการเพาะปลูก โสมกันทั่วไปทั้งในประเทศ จีน ญี่ปุ่นเกาหลี รัสเซีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา

อย่างไรก็ตามโสมมีอยู่ด้วยกันหลายพันธ์ แต่ละพันธ์จะมีสรรพคุณ แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและท้องถิ่นที่ทำการเพาะปลูก โสมพันธุ์ดีที่สุดนั้นมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Panax ginseng C.A. Mayer เป็นพืชในตระกูล Araliaceae ซึ่งเป็นโสมพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากในประเทศจีน และเกาหลี คำว่า Panax มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกแปลว่า "รักษาได้สารพัดโรค"


การเพาะปลูก
การเพาะปลูกโสมมีกระบวนการที่ยุ่งยาก และซับซ้อน โสมสามารถขยายพันธ์ได้ โดยเพาะจากเมล็ดเท่านั้น ต้นโสมต้องการอุณหภูมิต่ำ สภาพาดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมและอุดมสมบูรณ์ การปลูกโสมใช้เวลายาวนานนับจากการเพาะเมล็ด ซึ่งจะต้องเป็นเมล็ดสุกและแก่เต็มที่จากต้นโสมที่มีอายุประมาณ 5 ปีเท่านั้น โสมที่จะเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตได้จะต้องมีอายุประมาณ 4-6 ปี ฤดูกาลที่เหมาะสมของการเก็บเกี่ยวโสมที่มีคุณภาพดีที่สุดคือระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมในแต่ละปี

รากโสม
รากโสมเป็นส่วนของต้นพืชโสมที่นำมาใช้ในการบำบัดรักษา รากโสมมีรูปร่างคล้ายคน คือ มีส่วนหัว ลำตัว แขน และ ขา จึงมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า โสมคน หรือที่ชาวจีนเรียกว่า "ยิ่นเซียม"人 参 ซึ่งก็คือ โสมเกาหลี นั่นเอง




ผลิตภัณฑ์จากรากโสมอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ
1. โสมชนิดสีขาว ได้มาจากรากโสมที่เก็บเกี่ยวมาสดๆ ล้างทำความสะอาดและตากแดดให้แห้ง รากโสมที่แห้งแล้วจะมีสีเหลืองปนขาว ชาวจีนเรียกว่า “ยิ่นเซียม” 人 参




2. โสมชนิดสีแดง ทำจากรากชนิดเดียวกับชนิดโสมสีขาวแต่ต่างกันที่วิะการผลิต คือจะนำเอารากโสมสดที่ล้างทำความสะอาดแล้วมาทำการฆ่าเชื้อโรค โดยการนึ่งด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 120๐C –130๐C เป็นเวลานาน 2-3 ชั่วโมง ทำให้รากโสมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดง จากนั้นจึงนำไปตากแดดให้แห้งสนิท ชาวจีนเรียกว่า โสมเกาหลี 红 参 นิยมใช้มากกว่าโสมสีขาว





สารออกฤทธิ
แม้รากโสมจะได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิผลในการบำบัดรักษาโดยไม่มีข้อโต้แย้งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลของโสมในด้านการบำรุงรักษาสุขภาพแต่ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราสามารถววิเคราะห์ และพิสูจน์โสมในเชิงวิทยาการและเทคโนโลยีได้ เมื่อมีผลการวิเคราะห์และพิสูจน์ ทำให้โสมได้รับความนิยมแพร่หลาย และเชื่อถือกันมากยิ่งขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในด้านประสิทธิ
ภาพ และประสิทธิผลในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคของโสม โดยไม่มีฤทธิข้างเคียงที่เป็นอันตรายหรือมีความเสี่ยงต่อการเสพติดเหมือนสารเคมีสังเคราะห์อื่นๆ

นักวิทยาศาสตร์ได้นำเอารากโสมและสารสกัดจากรากโสมมาทำการวิเคราะห์และตรวจพิสุจน์พบว่าสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเป็นพวก Interpene saponins ชนิดต่างๆ ที่มีชื่อเรียกว่า “Ginsenosides ”.

การวิเคราะห์และตรวจพิสูจน์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น High Performance Liquid Chromatography (HPLC), Mass Spectrometry (MS), Nuclear Magnetic Resonance Spectrometry (NMR) เป็นต้น สามารถแยกและจำแนกสาร Ginsenosides จ ากรากดสมและสารสกัดจากรากโสมได้อย่างน้อย 22 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาแตกต่างกัน เมื่อนำ Ginsenosidesทั้งหมดมาใช้รวมกัน จะมีฤทธิ์เป็นตัวปรับสภาพร่างกายให้มีความสมดุลย์ตามธรรมชาติ (หยิน-หยาง) ตามที่ร่างกายต้องการ เรียกว่า Adaptogenic agent
Ginsenosides ชนิดต่างๆที่พบในปัจจุบันนั้น มีสารสำคัญหลักอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re และ Rg ส่วนที่เหลือเป็นสารฤทธิ์รอง คือ Rb3, Ra, Ra1, Ra3, RO, R1,Rg2, Rg3, Rh1 และอนุพันธุ์เกลืออินทรีย์

นอกจาก Ginsenpsides ชนิดต่างๆ แล้วยังพบว่ารากโสมมีสารประกอบที่มีคุณประโยชน์ ์ต่อร่างกายอีกมากมายกว่าสองร้อยชนิดที่สำคัญได้แก่ สเตอรอล, น้ำมันหอมระเหย, แป้ง, น้ำตาล, วิตามินชนิดต่างๆ กรดอะมิโน และเป็ปไทด์

Ginsenosides เป็นตัวกำหนดคุณค่าของโสม จากการวิเคราห์และตรวจพิสูจน์ด้วย วิทยาการและเทคโนโลยีทันสมัย พบว่าในโสมต่างพันธุ์หรือแม้แต่ในโสมพันธุ์เดียวกัน แต่ปลูกต่างถิ่น และรากโสมมีอายุไม่เท่ากันจะมีส่วนประกอบของ Ginsenosides ต่างชนิดกัน และปริมาณ Ginsenosides ในแต่ละชนิดก็ไม่เท่ากัน นอกจากนั้นยังพบว่า Ginsenosides ที่สะสมอยู่ต่ามส่วนต่างๆ ของรากโสมก็มีจำนวนและปริมาณไม่เท่ากัน กล่าวคือในส่วนรากโสมใหญ่หรือส่วนลำตัว มี Total Ginsenosides เพียง 1.5% ขณะที่ส่วนรากแขนงและรากฝอยหรือส่วนที่เป็นแขนขามีอยู่ 3-4% และส่วนหัวมีมากถึง 5-9%

ดังนั้น คุณค่าของโสมจึงไม่ได้อยู่ที่รูปร่างลักษณะของรากโสม แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนและปริมาณของ Ginsenosides ที่มีอยู่ในรากโสม โดยสรรพคุณจะขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณ Ginsenosides ความครบถ้วนของ Ginsenosides แต่ละชนิดในอันตราส่วนที่เหมาะสม


โสมที่เป็นรูปแบบมาตรฐาน
โสมที่เพาะปลูกตามธรรมชาติจะมีจำนวน Ginsenosides ไม่เท่ากัน และมีปริมาณของ Ginsenosides แต่ละชนิดในอัตราส่วนไม่แน่นอน โดยอาจมีการขาด Ginsenosides บางชนิด หรืออาจมีอยู่บ้างในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจนไม่สามารถออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้ครบถ้วน

ปัจจุบัน เราสามารถแยกสารประกอบสำคัญของโสมได้จนครบถ้วนและมากขึ้น การทดลองนำ Ginsenosides ทั้ง 22 ชนิดมารวมกันในปริมาณและอัตราส่วนต่างๆกันเพื่อทำการศึกษาและวิจัยเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมและคงที่ เพื่อให้ได้คุณค่าและประโยชน์แก่ร่างกายมากที่สุด ตลอดจนทำการสดสอบเชิงคลินิกรวมถึงสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและความเป็นพิษ จนปรากฏใช้ได้ผล มีประสิทธิภาพและปลอดภัย จึงได้กำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งกรรมวิธีนี้เรียกว่า การจัดทำเป็นมาตรฐาน Standardization และเรียกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยกระบวนการนี้ว่า “สารสกัดมาตรฐานโสม ”



ผลของโสมต่อร่างกาย
1. เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย :
คุณสมบัติต่อต้านความเมื่อยล้า Antifatigue effect ของโสม ทำให้ร่างกายมีการปลดปล่อยพลังงานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะทำงานหรือออกกำลังกาย สารพลังงาน ATP และ Glycogen ที่มีอยู่ใน กล้ามเนื้อจะถูกใช้หมด อย่างรวดเร็วและเกิดกรดน้ำนม Lactic Acid เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้า สารสกัดจากโสมช่วยให้เยื่อเซลล์สามารถดูดซึมอ๊กกซิเจนเพิ่มขึ้นถึง 21% มีผลทำให้กระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้นร่างกายจึงปลดปล่อยพลังงานได้มากขึ้นขณะเดียวกับอัตราการเกิดกรดน้ำนมก็จะน้อยลง เนื่องจากได้รับการการสังเคราะห์ให้กลับเป็น Glycongen ใหม่ และมีการสะสม ATP รวดเร็วขึ้น ดังนั้นอัตราการเกิดความเมื่อล้าของกล้ามเนื้อจึงลดน้อยลงด้วย นอกจากนั้นสารสกัดจากโสมยังช่วยปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับคืนสู่สภาพปกติรวดเร็วยิ่งขึ้น ร่างกายจึงเหน็ดเหนื่อยช้าลง มีความอดทนต่อการทำงานได้ดีขึ้น

2. ต้านความเครียด :
ผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้ผู้คนมีอาการผิดปกติในลักษณะต่างๆ ที่ตรวจสอบหาสาเหตุได่ยาก เป็นต้นว่าอาการทางหัวใจ ปวดศรีษะ นอนหลับไม่สนิท ปัญหาการย่อยอาหารตลอดจน

ปัญหาข้อข้องใจในการปฏิบัติภาระกิจประจำวัน ที่ล้วนก่อให้เกิดความเครียดซึ่งส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจหากทิ้งไว้เป็นวลานาน อาจทำให้กลายเป็นอาการของโรคและอาการผิดปกติที่รุนแรงขึ้น

สารสกัดจากโสมมีคุณสมบัติต้านความเครียด Antistress Effect โดยช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้สามารถอดทนต่อความเครียดได้ในระดับหนึ่ง โดยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองจะเป็นตัวควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนต่อมหมวกใต ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันและต่อต้านความเครียด โดยเร่งกระบวนการเมตาบอลิสม Metabolism ต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานและสารออกมาต้านความเครียดได้

3. ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง :
Ginsenosides Rg1 จากโสมหรือในสารสกัดโสมมีคุณสมบัติกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว แต่จะเป็นการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยากระตุ้นประสาทจำพวก Amphetamine หรือ Cocaine จึงไม่ทำให้กระทบกระเทือน ต่อการนานหลับตามปกติ ส่วน Ginsenosides Rb และ Rc จะออกฤทธิเกี่ยวกับการระงับประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด สารสกัดจากโสมจึงมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเป็นทั้งตัวช่วยให้ประสาทตื่นตัวและระงับผ่อนคลายประสาท ทั้งนี้การออกฤทธิ์กระตุ้นหรือระงับนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพและความต้องการของร่างกาย

4. ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ :
เชื่อกันว่าโสมมีฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยค้นความด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ พิสูจน์ว่าโสมไม่ได้มีฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศ หากการบำรุงด้วยโสม ทำให้สมรรถภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง จึงส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศมีความสมบูรณ์ขึ้นไปด้วย

5. ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง :
จากากรทดสอบเชิงคลีนิก มีผลชี้ว่า สารสกัดจากโสมอาจทำให้ตับอ่อนหลั่ง อินซูลินออกมา ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดอาการชาตามนิ้วมือและปลายเท้า การเกิดแผลเน่าเปื่อย นอกจากนี้ Ginsenosides Rb1 และ Re ยังมีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน จึงอาจช่วยลดขนาดการใช้อินซูลินในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานได้

6. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย :
ผลการทดลองทางคลีนิกพบว่าสารสกัดโสมสามารถช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ทำการตรวจวิเคราะห์ปฏิกริยาตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ

7. ช่วยเร่งฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย :
จากการศึกษาวิจัยและผลทางคลีนิกพบว่าโสมสามารถต่อต้านโรคและอันตรายจากรังสีรวมถึงสารพิษต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโรค แทรกซ้อนบางชนิด ช่วยร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง และเพิ่มสมรรถภาพในการต้านความเครียดซึ่งส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวหายเป็นปกติจากอาการป่วยได้เร็วขึ้น

8. ช่วยชลอความแก่ :
กระบวนการเผาผลาญไขมันของร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงาน เรียกว่า Lipid oxidation นั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่สลายตัวจากอ๊อกซิเจน อนุมูลอิสระนี้จะทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างให้เสื่อสลายลง ตามกระบวนการของความชรา โสมและสารสกัดมาตรฐานโสม สามารถทำลายอนุมูลอิสระของอ๊อกซิเจนช่วยให้เนื่อเยื่อเสื่อสภาพช้าลงประกอบกับคุณสมบัติเป็นตัวปรับสภาพ "Adaptogenic agent” ของโสมทำให้ร่างกาย และจิตใจ มีความทนทานต่อความกดดัน ส่งผลในการชลอกระบวนการเสื่อมชราให้ช้าลงทำให้ร่างกายคงความสดใสเยาว์วัยอยู่ต่อไปได้เนิ่นนานขึ้น


พิษวิทยา
การวิจัยทางพิษวิทยาทั้งในเชิงเฉียบพลัน (Acute Toxicity) และเชิงเรื้อรัง (chronic Toxicity) ยังไม่ปรากฏรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงหรือพิษที่อาจเกิดจากการใช้สารสกัดมาตรฐานโสม แม้จะมีการใช้ติอต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้นการรับประทานโสมหรือการใช้สารสกัดมาตรฐาน จึงมีความปลอดภัยสูงมาก


ใครคือผู้ที่ต้องการโสม
1. ผู้ที่ร่างกายอ่อนล้า หมดกำลังวังชา
2. ผู้ที่ขาดความกระปรีกระเปร่า เชื่องซึม ,
3. ผู้ขาดสมรรถภาพร่างกาย
4. ผู้ที่ต้องการสมาธิ
5. ผู้ที่มีความเครียด
6. ผู้ที่ต้องการมีสุขภาพแข็งแรง มีความมั่นคงทั้งทางร่างกายและจิตใจ



http://www.schumit.com/default.asp?pgid=103
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

647. กระชายดำ มีคุณค่ามากกว่าที่คิด



อ้างอิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia pafiflora
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดินรากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นปุ่ม ๆ ไม่ยาวเป็นหางไหลเหมือนกับกระชายธรรมดาขณะต้นเล็ก จะมีแต่รากและรากนั้นเองจะเปลี่ยนเป็นหัวเมื่อโตขึ้นเนื้อในหัวอาจเป็นสีม่วงหม่น หรือสีดำดังผลลูกหว้าขึ้นอยู่กับดินที่ใช้แต่ถือกันว่ากระชายดำที่มีคุณสมบัติที่ดีต้องสีดำสนิท

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับคล้ายกระชายธรรมดา แต่มีใบใหญ่และเขียวเข้มกว่า ผลิแทงม้วนเป็นกรวยขึ้นมาจากรากไม่มีต้น

ดอก จะออกดอกจากยอดของต้น ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ริมปากดอกสีขาว เส้นเกสรสีม่วง และเกสรมีสีเหลือง


การขยายพันธุ์
ใช้วิธีการแบ่งเหง้า ฤดูกาลขยายพันธุ์ทำได้ทั้งปี แต่ถ้าต้องการผลิตหัวให้มีคุณภาพ ต้องปลูกขยายพันธุ์ตามฤดูกาลช่วงประมาณ เดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม และ ช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณ เดือนธันวาคม ถึง มกราคม กระชายดำ ชอบที่ร่มดินร่วนซุยหรือดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น


กระชายดำ หรือ โสมไทยเป็นพืชสมุนไพรที่มีการตื่นตัวในเรื่องการบริโภคมาก ในยุคปัจจุบันเนื่องจากว่ามีสรรพคุณที่เชื่อกันว่าเป็นยาสมุนไพรอายุวัฒนะชั้นหนึ่งของไทยมาแต่โบราณกาลและสามารถเพิ่มพลังทางเพศให้กับผู้รับประทานได้ซึ่งชายไทยที่เคยบริโภคต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เด็ดจริงๆ" กระชายดำยังเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญประจำเผ่าม้งและมักพกติดตัวไว้ในย่ามแทบทุกคนเพื่อใช้กินแก้ปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ หืดหอบ ที่สำคัญเชื่อว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นความลับประจำเผ่ามาหลายร้อยปี


ประวัติ
การปลูกกระชายดำที่จังหวัดเลย นั้น สายพันธุ์ต้นกำเนิดมาจาก ชาวเขาเผ่าม้ง ที่มาตั้ง ถิ่นฐาน ตรงบริเวณรอยต่อ ระหว่างอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก - อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย และรอยต่อกับสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สมุนไพรกระชายดำ นี้ชาวเขาเผ่าม้งหวงแหนมาก เพราะตระหนักดีในเรื่องของสรรพคุณเพื่อไม่ให้กระชายดำแพร่พันธุ์มาก เวลานำมาขายให้คนไทยพื้นราบจะนำไปนึ่งให้หัวกระชายดำตายเสียก่อน เมื่อนำมาปลูกจึงไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ต่อมา คนไทยพื้นราบ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลยติดต่อค้าขายกับชาวเขาเผ่าม้ง จึงได้แอบนำติดตัวและมาปลูกขยายพันธุ์ปัจจุบัน ที่อำเภอนาแห้วเป็นแหล่งปลูกกระชายดำแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ


สรรพคุณ
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นระบบประสาทแก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจโรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุลย์ โรคบิดโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด โรคหัวใจ สำหรับสุภาพสตรีทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทางเพศ ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้นผิวพรรณผุดผ่องสดใส แก้อาการตกขาว ประจำเดือนมาไม่ปกติ


"กระชายดำ" เพราะว่ามีสรรพคุณขึ้นชื่อลือชาในเรื่องเพิ่มพลังทางเพศ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "โสมไทย" ซึ่งที่จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดมักนิยมแนะนำให้เกษตรกรเพาะปลูกเพราะเป็นพืชที่มีอนาคต และราคาดี


ข้อมูลทั่วไป
กระชายดำมีลักษณะเหง้าหรือหัวคล้ายกับกระชายธรรมดาที่ใช้ปรุงอาหารอยู่ในครัวเรือนแต่ไม่มีรากขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "นิ้ว" เหมือนกระชายทั่ว ๆ ไปและเมื่อพิจารณาลักษณะใบจะพบว่า ใบของกระชายดำจะใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่ากาบใบมีสีแดงจางและหนาอวบ กระชายดำมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergiapandurata(Roxb.) อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัดกับกระชายธรรมดาก็คือเนื้อในของหัวกระชายดำจะมีสีคล้ายดั่งผลหว้า คือมีสีออกม่วงอ่อน ๆไปจนถึงสีม่วงเข้มถึงดำ จึงได้ชื่อว่า "กระชายดำ"กระชายดำเป็นพืชล้มลุกจัดเป็นว่านชนิดหนึ่ง ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 ซม.ส่วนกลางของลำต้นเป็นแก่นแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบมีกลิ่นหอมก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 ซม. ยาว 30-35 ซม. ลักษณะใบและลำต้นเหมือนกระชายเหลืองและกระชายแดงแต่ขอบใบและก้านใบของกระชายดำอาจมีสีม่วงแกมเล็กน้อย ดอกออกจากยอดช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกมีสีขาวกลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขนโคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาวเกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอกอับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อเกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขนการขยายพันธุ์การปลูกกระชายดำก็เหมือนกับการปลูกกระชายธรรมดาโดยทั่วไปสามารถปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำดีแต่ระวังอย่าให้น้ำท่วมขังเพราะจะทำให้หัวหรือเหง้าเน่าเสียได้ง่ายส่วนในดินเหนียวและดินลูกรังไม่ค่อยจะเหมาะสมนักโดยธรรมชาติแล้วกระชายดำชอบขึ้นตามร่มไม้ในป่าดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไปแต่ในที่โล่งแจ้งก็สามารถปลูกกระชายดำได้ผลดี


คุณสมบัติ
กระชายดำ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงจัดได้ว่า เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้คึกคักกระชุ่มกระชวย ช่วยสร้างความสมดุย์ของความดันโลหิตให้ไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใสและแก้โรคบิดแก้ปวดท้องเป็นต้น สำหรับสุภาพสตรีช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล แก้ตกขาว ขยายหลอดเลือด ขจัดไขมันในหลอดเลือด โรคกระเพาะ ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, โรคหัวใจ..อื่นๆ


สรรพคุณ
- บำรุงฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ชายเหนือชาย
- กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย
- บำรุงกำลัง
- เป็นยาอายุวัฒนะ ชลอความแก่
- ขับลม ขับปัสสาวะ
- แก้โรคกระเพาะอาหาร
- แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
- บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ


วิธีใช้
- ใช้รากเหง้า (หัวสด) ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี.
- ผู้ที่ดื่มสุราไม่ได้ ให้ฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำร้อนดื่มทุกวัน หรือจะดองกับน้ำผึ้งก็ได้


ปริมาณการผสม
- หัวสด ใช้ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด
- หัวแห้ง บดเป็นผงละเอียด ผสม น้ำผึ้ง พริกไทยป่น กระเทียมผง บอระเพ็ดผง
ในอัตราส่วน 10 : 5 : 2 : 1 : 0.5

หรือดองกับสุราขาว ในอัตราส่วน 30 กรัม ต่อสุราขาว 1 ขวด หรือใช้หัวสดหรือหัวแห้งก็ได้ ดองกับน้ำผึ้ง ในอัตราส่วน 1:1 ทานทุกวัน บำรุงกำลังดีนักแล...


ประโยชน์
กระตุ้นประสาททำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำลัง ขับลมแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เพิ่มฮอร์โมนทำให้สมรรถภาพทาง เพศเพิ่มขึ้นแก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ขยายหลอดเลือดหัวใจ


ส่วนประกอบ :
กระชายดำแท้ 100%


วิธีใช้ :
กระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.) ขนาดรับประทาน : รับประทานได้ตามต้องการ

ข้อแนะนำ :
หากต้องการรสชาติที่ดีขึ้น สามารถแต่งรสด้วยน้ำตาลหรือน้ำผึ้งตามชอบใจ


ขนาดบรรจุ :
บรรจุ 20 ซอง ๆ ละ 500 มก. น้ำหนักสุทธิ 10 กรัม


• ด้วยสรรพคุณเหล่านี้ชาวเขาจึงปลูกกันมาแต่โบราณกาล
ขณะที่ชาวพื้นราบเพิ่งตื่นเต้นกับกระแสสมุนไพรไทยไม่กี่ปีมานี้เองโดยเฉพาะบรรดาคุณผู้ชายที่เริ่มรู้ตัวว่าอ่อนเปลี้ยเพลียแรงไม่ซู่ซ่าส์เหมือนสมัยหนุ่ม ๆพอรู้ว่ากินแล้วเพิ่มพลังอย่างว่าเลยขวนขวายหาซื้อกันใหญ่ เนื่องจากราคาไม่แพงมีเงินเป็นร้อยก็หาซื้อได้ทำให้ตลาดกระชายดำมาแรงเพราะจะไปหาซื้อไวอะกร้าก็คง สู้ราคาไม่ไหวอย่างไรก็ตามถ้าไปถามนักวิชาการยังไม่กล้ายืนยันเรื่องสรรพคุณทางเพศเพียงแต่ บอกเป็นนัย ๆว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้กระชุ่มกระชวยและบำรุงกำลัง



การปลูกกระชายดำ
ฤดูปลูก
ปลูกได้ทั้งปี แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม


การเตรียมหัวกระชายดำสำหรับปลูก
หัวกระชายดำหัวหนึ่งจะมีหลายแง่ง ให้บิ (หัก) ออกมาเป็นแง่งๆถ้าแง่งเล็กก็ 2-3 แง่ง ถ้าแง่งใหญ่สมบูรณ์ก็แค่แง่งเดียวก็พอเพราะเมื่อกระชายดำโตขึ้น กระชายดำก็จะแตกหน่อและเกิดหัวกระชายดำหัวใหม่ขึ้นมาแทน และจะขยายหัวและหน่อออกไปเรื่อยๆจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาส่วนหัวหรือแง่งที่ใช้ปลูกในตอนแรกจะเหี่ยวและแห้งไปในที่สุด

ก่อนนำไปปลูกควรทารอยแผลของแง่งกระชายดำที่ถูกหักออกมาด้วยปูนกินหมากหรือจะจุ่มในน้ำยากันเชื้อราก็ได้ แล้วผึ่งในที่ร่มจนหมาดหรือแห้งแล้วจึงนำไปปลูก(น้ำยากันเชื้อรามีจำหน่ายตามร้านเคมีภัณฑ์การเกษตรทั่วไปขวดเล็กๆ ราคาไม่ถึงร้อยบาทก็มี)


การปลูกลงในกระถาง
ควรใช้กระถางที่มีขนาดกลาง -ใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-18 นิ้ว เพื่อให้มีพื้นที่ในการขยายหัวหรือเหง้า ใส่วัสดุปลูกให้มาก ๆประมาณ 3 ใน 4 ส่วน ของ
กระถาง (ปุ๋ยคอก 1 ส่วน/ดิน 2 ส่วน) จะทำให้ได้หัวที่มีคุณภาพและมีปริมาณหัวต่อต้นมากการปลูกในกระถางควรใช้หัวหรือเหง้า ประมาณ 3-5 หัว (แง่ง) แล้วแต่ขนาดของกระถาง


การปลูกลงแปลง
ต้องเตรียมแปลงปลูก โดยการพรวนดินตากแดดทิ้งไว้นาน 5-7 วันเพื่อปรับสภาพดิน ยกร่องกว้างประมาณ 1.50 เมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 10-15 ซม.ใส่ปุ๋ยคอกให้พอเหมาะ แล้วทำการปลูก ระยะห่างระหว่างหลุมและแถวประมาณ 30 X 30 ซม. ใส่หัวหรือเหง้า 2-3 หัว (แง่ง) ต่อหลุมแล้วกลบหลุมรดน้ำให้ชุ่ม


การปลูกในไร่ (กรณีปลูกปริมาณมากๆ)
การเตรียมดิน
ควรไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกไถพรวนเพื่อย่อยดิน ทำการยกร่องปลูกระหว่างต้นประมาณ 25-30 ซม.ก่อนปลูกควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 200-400 กก./ไร่ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน โดยฝังเง้าหรือหัวพันธุ์ลงในหลุมปลูกลึก ประมาณ 5-10 ซม.ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 160-200 กก.


การดูแลรักษา
เมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 1 เดือน ควรดายหญ้ากำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1,000 กก./ไร่ (ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพราะจะทำให้หน่อกระชายดำที่เกิดใหม่ยาวและสีของหัวกระชายดำไม่ดำ ทำให้คุณภาพเปลี่ยนไป) และเมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 2 เดือน ให้พรวนดินกลบโคนต้นควรมีการปลูกซ่อมในหลุมที่ไม่งอก


การเก็บเกี่ยว
เมื่อกระชายดำอายุได้ 10 -12 เดือน สังเกตจากใบและลำต้นจะเริ่มเหี่ยวแห้งและหลุดออกจากต้น ระยะนี้ คือระยะพักตัวของกระชายดำเพราะจะทำให้กระชายดำมีโอกาสได้สะสมอาหารและตัวยาได้เข้มข้นอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะขยายพันธุ์ต่อไปจึงเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้ดี ทำให้ได้กระชายดำที่มีคุณภาพดีกระชายดำที่ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอนาแห้ว - อำเภอภูเรือจะได้รับผลผลิตประมาณ 650-900 กก./ไร่


การเก็บรักษาพันธุ์
กระชายดำที่แก่จัดจะมีอายุประมาณ 11-12 เดือน หัวจะต้องสมบูรณ์ อวบใหญ่ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นนานประมาณ 1-3 เดือน จึงจะนำไปปลูกต่อได้


ความแตกต่างระหว่างกระชายดำกับกระชายม่วง
ความแตกต่างระหว่างกระชายดำ(ดำแท้)กับกระชายม่วง

กระชายดำ (ดำแท้) จะมีใบเขียวเข้มกว่าและเรียวยาวกว่า ส่วนใบของกระชายม่วงนั้น (รูปขวา) จะสีเขียวอ่อนและปลายค่อนข้างมน ที่ใต้ใบและที่ขอบใบของกระชายดำ (ดำแท้) จะมีสีม่วงแกมขึ้นมามากจนสังเกตเห็นได้ชัดเจน ส่วนที่ขอบใบและใต้ใบของกระชายม่วงนั้น (รูปขวา) จะมีสีม่วงแกมเล็กน้อยหรือบางต้นอาจจะไม่มีเลยก็ได้

หัวกระชายดำ (ดำแท้) เวลาฝานออกมา เนื้อในจะมีสีม่วงคล้ำไปจนถึงสีดำสนิท หัวกระชายม่วง เมื่อฝานออกมา จะมีสีชมพูอ่อนปนน้ำตาล เมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ

อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าลักษณะภายนอกของต้นกระชาย จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าต้นใหนคือกระชายดำ (ดำแท้) และต้นใหนคือกระชายม่วงเพราะลักษณะภายนอกของต้นกระชายดำจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม เช่น เมื่อนำหัวพันธุ์กระชายดำ (ดำแท้) ไปปลูกในที่แห่งใหม่ที่ไม่ใช่เขต อ.ภูเรือ หรือ อ.นาแห้ว จ.เลย แล้วที่ใต้ใบหรือที่ขอบใบของกระชายดำ อาจไม่มีสีม่วงให้เห็นเลยก็ได้แต่ใบยังคงเป็นสีเขียวเข้มและเรียวยาวเหมือนเดิม และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวเมื่อฝานหัวกระชายออกมาดูก็ยังเป็นกระชายดำอยู่ดี


ดังนั้นหากท่านใดอยากได้กระชายดำที่เป็นดำแท้จริงๆก็ควรจะหาหัวพันธุ์ที่เป็นดำแท้ไปปลูกจะทำให้มั่นใจว่าต้นกระชายที่งอกขึ้นมาใหม่นั้น เป็นกระชายดำสายพันธุ์ดำแท้จริงๆ


กระชายดำ (หัวสด)
• กระชายดำนั้นมีสรรพคุณหลายอย่างทั้งบำรุงกำลังเพิ่มฮอร์โมนทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาโรคความดันโลหิตสูงขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ

• การรับประทานนั้นหากไม่ใช่คอเหล้า ที่มักนิยมนำไปดองกับเหล้าขาวก็มักหั่นเป็นชิ้น นำไปตากแห้งแล้ว มาต้มกับน้ำรับประทานก็ได้บางตำราก็บอกให้นำหัวกระชายดำหั่นตากแห้งหรือหัวสดก็ได้ไปดองกับน้ำผึ้งแท้ 7 วันนำมาดื่มก่อนนอน วันละ 1 ครั้ง อาการมะเขือเผาก็จะทุเลาหรืออาจจะนำมาปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้

• ด้วยสรรพคุณเหล่านี้ชาวเขาจึงปลูกกันมาแต่โบราณกาล ขณะที่ชาวพื้นราบเพิ่งตื่นเต้น กับกระแสสมุนไพรไทยไม่กี่ปีมานี้เองโดยเฉพาะบรรดาคุณผู้ชายที่เริ่มรู้ตัวว่าอ่อนเปลี้ยเพลียแรงไม่ซู่ซ่าส์เหมือนสมัยหนุ่ม ๆพอรู้ว่ากินแล้วเพิ่มพลังอย่างว่าเลยขวนขวายหาซื้อกันใหญ่ เนื่องจากราคาไม่แพงมีเงินเป็นร้อยก็หาซื้อได้ทำให้ตลาดกระชายดำมาแรงเพราะจะไปหาซื้อไวอะกร้าก็คง สู้ราคาไม่ไหวอย่างไรก็ตามถ้าไปถามนักวิชาการยังไม่กล้ายืนยันเรื่องสรรพคุณทางเพศเพียงแต่ บอกเป็นนัย ๆว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้กระชุ่มกระชวยและบำรุงกำลัง


ลักษณะกระชายดำที่ดี
• ลักษณะของหัวกระชายดำ (ดำแท้) นั้นจะต้องหัวไม่อวบใหญ่มากนัก เมื่อผ่าดูเนื้อในจะมีสีม่วงคล้ำคล้ายลูกหว้าสุกว่ากันว่าหัวกระชายดำที่มีลักษณะที่ดีนั้นเนื้อในจะต้องมี สีดำสนิทแสดงถึงการมีสรรพคุณทางยาที่เพียบพร้อมนั่นเอง


รายละเอียดวิธีใช้
- ใช้รากเหง้า (หัวสด) ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี.
- ผู้ที่ดื่มสุราไม่ได้ ให้ฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำร้อนดื่มทุกวัน หรือจะดองกับน้ำผึ้งก็ได้ จะได้รสชาติหอมกลมกล่อม ทานง่าย


ปริมาณการผสม
หัวสด ใช้ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวดอาจแต่งรสด้วยน้ำผึ้งได้ตามใจชอบ หรือถ้าหากดองกับน้ำผึ้ง ใช้อัตราส่วน 1:1 ทานทุกวัน บำรุงกำลังดีนักแล


กระชายดำ (หัวแห้ง)
• กระชายดำนั้นมีสรรพคุณหลายอย่างทั้งบำรุงกำลังเพิ่มฮอร์โมนทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาโรคความดันโลหิตสูงขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ


• กรรมวิธีการผลิต :
การทำกระชายดำแบบฝานเป็นแว่นอบแห้งก็โดยการนำหัวสดของกระชายดำไปล้างทำความสะอาด นำมาฝานเป็นแว่นแล้วนำเข้าตู้อบ อบให้แห้งที่อุณหภูมิสูงจนแห้งได้ที่แล้วจึงนำมาเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้เก็บรักษากระชายดำได้นาน

• การรับประทานนั้นหากไม่ใช่คอเหล้าที่มักนิยมนำไปดองกับเหล้าขาวก็มักหั่นเป็นชิ้น นำไปตากแห้งแล้วมาต้มกับน้ำรับประทานก็ได้บางตำราก็บอกให้นำหัวกระชายดำหั่นตากแห้งสดก็ได้ไปดองกับน้ำผึ้งแท้ 7 วัน นำมาดื่มก่อนนอนอาการมะเขือเผาก็จะทุเลาหรืออาจจะนำมาปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้

• ด้วยสรรพคุณเหล่านี้ชาวเขาจึงปลูกกันมาแต่โบราณกาลขณะที่ชาวพื้นราบเพิ่งตื่นเต้น กับกระแสสมุนไพรไทยไม่กี่ปีมานี้เอง โดยเฉพาะบรรดาคุณผู้ชายที่เริ่มรู้ตัวว่าอ่อนเปลี้ยเพลียแรงไม่ซู่ซ่าส์เหมือนสมัยหนุ่ม ๆพอรู้ว่ากินแล้วเพิ่มพลังอย่างว่าเลยขวนขวายหาซื้อกันใหญ่ เนื่องจากราคาไม่แพงมีเงินเป็นร้อยก็หาซื้อได้ทำให้ตลาดกระชายดำมาแรงเพราะจะไปหาซื้อไวอะกร้าก็คง สู้ราคาไม่ไหวอย่างไรก็ตามถ้าไปถามนักวิชาการยังไม่กล้ายืนยันเรื่องสรรพคุณทางเพศเพียงแต่ บอกเป็นนัย ๆว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้กระชุ่มกระชวยและบำรุงกำลัง


รายละเอียดวิธีใช้
- หัวแห้ง ประมาณ 15 กรัม (1 กล่อง) ดองกับเหล้าขาว 1 แบนผสมน้ำผึ้งเพื่อรสชาดที่ดีขึ้น ได้ตามชอบใจ ดื่มก่อนนอนวันละ 30 ซีซี. (1 เป็ก )
-หรือ หัวแห้ง ดองกับน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1
- หรือ หัวแห้ง บดเป็นผงละเอียด ผสม น้ำผึ้ง พริกไทยป่นกระเทียมผง บอระเพ็ดผง ในอัตราส่วน 10 : 5 : 2 : 1 : 0.5 บำรุงกำลังดีนักแล...


กระชายดำ (แบบชาชง)
• กระชายดำนั้นมีสรรพคุณหลายอย่างทั้งบำรุงกำลังเพิ่มฮอร์โมนทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาโรคความดันโลหิตสูงขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ

• กรรมวิธีการผลิต : การทำกระชายดำแบบชาชง ก็เพียงแต่นำหัวกระชายดำที่ฝานเป็นแว่น อบให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วจึงบรรจุซองกระชายดำแบบชาชง จะไม่มีส่วนผสมอื่นอีก จะมีแต่กระชายดำแท้ 100% เท่านั้น

• เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ




http://www.doothaithai.com/simple/?t58.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/09/2011 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

648. อาหารเสริมพลังทางเพศ



อาหารเสริมพลังทางเพศ หรือ APHRODISIAC รากศัพท์มาจาก APHRODITE อะโฟรไดท์ ซึ่งเป็นนามของเทพธิดาแห่งความรัก ในยุคกรีกโบราณ ธิดาองค์นี้จุติจากพรายน้ำฟองคลื่นในท้องทะเล และเชื่อต่อมาว่าอาหารทะเลล้วนแต่เป็นยาบำรุงทางเพศชั้นเยี่ยม ในทางวิทยาศาสตร์ อาหารทะเลอุดมด้วยแร่ธาตุสังกะสีสูงกว่าอาหารอื่น เพราะเจ้าแร่ธาตุตัวนี้เองที่ร่างกายเราเอาไปผลิตฮอร์โมนหลักของเพศชายเพื่อเพิ่มพลังทางเพศชื่อเทสโทสเตอโรน ฉะนั้น คุณผู้ชายทั้งหลายมากิน “อาหารทะเล” กันเถอะ ไม่ว่าจะเป็นเป๋าฮื้อ หอยนางรม หอยกาบ กุ้งนาง ล็อบเตอร์ ปลาทะเลน้ำเย็นเช่นปลาค็อด ปลาแฮลลิบัท ไข่ปลาคาเวียร์ ไข่กุ้ง แต่ที่ขึ้นชื่อมากที่สุดเห็ดจะไม่พ้นหอยนางรม



1. หอยนางรม มีชื่อสามัญคือ Oyster ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Crassostrea Commercialis หอยนางรมเป็นอาหารทะเลที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เป็นอาหารที่จัดได้ว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีธาตุสังกะสีมาก เพื่อช่วยให้ต่อมลูกหมากทำงานปกติ ต่อมลูกหมากนี้โตง่ายตามวัยที่สูงขึ้น และตามฮอร์โมนเพศชายที่เปลี่ยนไป



2. สุดยอดแห่งยาอายุวัฒนะ-โสม หรือ PANAX GINSENG จัดให้เป็นอายุวัฒนะแขนงหนึ่งที่คนจีนนิยมใช้กันมากกว่า 5 พันปี และยกย่องให้โสมเกาหลีเป็นสุดยอดแห่งโสม งอกงามบริเวณภูเขาของเกาหลี, จีน และญี่ปุ่น PANAX มาจากภาษาละติน PANACEA แปลว่า สมุนไพรใช้บำบัดสารพัดโรคและ PANAKES ภาษากรีก แปลว่า แก้โรคได้ทุกโรคแบบยาครอบจักรวาล ส่วนคำว่า GINSENG นั้นเป็นภาษาจีน แปลว่า MAN-ROOT คือรากไม้ที่มีรูปร่างคล้ายคน เพราะรากอวบ มองดูคล้ายมีหัว แขน ขา เป็นพืชโตช้า เพาะเมล็ด ใช้เวลานานถึง 6 ปีถึงจะเก็บมาใช้เป็นยาได้ มีสรรพคุณเพื่อชะลอความแก่และเป็นยาบำรุงทางเพศ สมุนไพรตัวนี้จะมีโครงสร้างคล้ายออร์โมนเพศชาย “ ไฟโตรแอนโดนเจน ” ซึ่งจะไปกระตุ้นอวัยวะเพศที่ไม่แข็งตัวของฝ่ายชายให้เด้งดึ๋งได้ดังเดิม เนื่องจากโสมมีฤทธิ์อุ่น เป็นตัวกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทั่งร่างกาย รวมถึงเลือดบริเวณอวัยวะเพศ โสมสดย่อมดีกว่าโสมที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ แน่นอน แต่โสมสดนั้นกินยากเพราะมีรสขมมาก จึงนิยมเอาไปปรุงกับของข้างเคียงอื่น ๆ เพื่อลดความขมให้กลมกล่อมยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการต้มหรือตุ๋น เป็นต้น โดยเฉพาะการตุ๋นแบบโบราณ ที่ต้อใช้เวลานานประมาณ 10 ชั่วโมงนั้น เรียกว่า เจ๋งสุด ๆ ๆ ...สุดยอด... !! แต่วิถีเร่งรีบของคนในสังคมปัจจุบัน ใครจะมีเวลาเยื้อได้ปานนั้น

โสมที่มีคุณค่าต่อเรื่องอย่างว่านี้มีเพียง 2 ชนิด คือ โสมเกาหลี กับโสมอเมริกัน ส่วนโสมอื่น ๆ เอาเป็นสาระทางกามคุณไม่ค่อยได้ โสมที่ดีพร้อมคุณค่าจะมีมากในช่วง 2-3 เดือนแรกที่ขุดขึ้นมาเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงไป ทุกวันนี้มีโสมสกัดหลายยี่ห้อวางจำหน่ายกันเป็นที่เอิกเกริก

ข้อห้าม :
ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ไม่ควรดื่มพร้อมเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนหรือสารกระตุ้นอื่น ๆ ผสมอยู่



3. สุดยอดโสมไทย – กระชาย เรียกว่า โสมไทย เป็นทั้งพืชและสมุนไพรล้มลุก อายุยืน มีเหง้าและรากคล้ายโสม หรือพวงกุญแจจีน เรียกชื่อท้องถิ่นว่า กระเอน, ระแอน, ขิงทราย, ว่านพระอาทิตย์ ช่วยบำรุงกำลังและเพิ่มสมรรถนะทางเพศ กระชายมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Chinese Keeps ทางมาเลเซียเรียก Temu Kunchi ทางอินโดนีเซีย เรียก Temoo Koontji และถ้าขุดในคืนเดือนมืด รากกระชายจะเปล่งสีเรืองแสงได้ กระชายมีธาตุฟอสฟอรัสมาก สามารถรักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด เพราะมีสรรพคุณในการขับลม แก้ไข บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ และประจำเดือน คนไทยโบราณถือเป็นยาอายุวัฒนะ จึงนิยมนำเอามาเป็นส่วนผสมของสูตรยา



4. สุดยอดเครื่องเทศ – พริกไทยดำ ในหมู่เครื่องเทศนั้น ต้องยกให้พริกไทย เพราะนอกจากเป็นเครื่องชูรสในการปรุงอาหารของชาติต่าง ๆ แล้ว ยังมีประโยชน์ชนิดครอบจักรวาล ตั้งแต่การบำบัดโรคภัยไข้เจ็บสารพัด มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิตสูง, โรคกระเพาะ, ริดสีดวงทวาร, โรคหัวใจ, ห้ามเลือด, ลดความอ้วน, แก้หัวล้านและที่สำคัญที่สุดคือ มีสารไมริสทินซึ่งกระตุ้นทางเพศ สารตัวนี้ในกระเทียมก็มี แต่น้อยกว่าพริกไทย ต้นพริกไทยเป็นพืชเถายืนต้น เมืองร้อน เฉพาะที่เมืองไทย มีพันธุ์เด่น ๆ อยู่ 3 พันธุ์ คือ

1. พันธุ์ซาราวัก หรือพันธุ์คุซซิ่ง ชาวสวนพริกไทยเรียก พันธุ์มาเลเซีย ซึ่งนำมาจากรัฐซาราวัก
2. พันธุ์ซีลอนยอดแดง นำมาจากประเทศศรีลังกา นิยมปลูกเป็นพริกไทยสดมากกว่าพริกไทยดำหรือขาว
3. พันธุ์ซีลอนยอดขาว นำมาจากประเทศศรีลังกาเช่นเดียวกัน เป็นพันธุ์ลูกผสม

ส่วนภาคใต้มีพริกไทยพันธุ์พื้นเมืองอีก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ปะเหลียน (พันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดตรัง) และพันธุ์พื้นเมือง จ. กระบี่

พริกไทยนั้นเผ็ดร้อนบางคนจะรับประทานยาก แต่ปัจจุบันนี้พริกไทยชนิดแคปซูลมีจำหน่ายทั่วไป เรื่องสูตรยาบำรุงอันเกี่ยวข้องกับพริกไทยนั้นมีหลายอย่าง อาทิ เอาพริกไทยป่น 1 ช้อนชาพูน ๆ กับเกลือเล็กน้อยผสมไข่ลวก 2 ฟองกับน้ำร้อน ตีให้แตก รักษาโรคได้สารพัด สุขภาพดีเลิศ เห็นผลทันตาเลยทีเดียว



5. สุดยอดสมุนไพรเผ่าม้ง – กระชายดำ ชาวเขาเผ่าม้งถือกันว่าเป็นพืชสมุนไพรประจำเผ่าม้ง ซึ่งจะพกติดตัวไว้ในยามสะพายทุกคน และถือเป็นความลับประจำเผ่ามานานหลายชั่วอายุคนเพราะคุณสมบัติแก้ปวดเมื่อย เหนื่อย หืดหอบ และที่สำคัญยิ่งคือเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ดี กระชายดำ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia pandurata Holtt. อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-3 ฟุต มีกาบใบหุ้มลำต้นตลอด ใบกลมหอม ดอกช่อสีม่วงแดง มีรากเก็บอาหาร แยกเป็นกระเปาะจากเหง้า เรียกว่า กระโปกหรือนมกระชาย ใช้ขยายพันธุ์ด้วยส่วนที่เป็นเหง้า หรือหัวในดิน ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ภายในเนื้อหรือเหง้า จะมีสีม่วงเข้มจนเกือบดำ มีรสเผ็ดร้อน ขม มีสรรพคุณทางยาในด้านการเพิ่มฮอร์โมนทางเพศ 33% (มากกว่าโสมเกาหลี) เช่น แก้กามตาย ทำให้กระชุ่มกระชวยบำรุงความกำหนัด สรรพคุณอื่นคือ รักษาโรคเบาหวาน, ลดน้ำตาลในเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, ช่วยระบบการย่อยอาหาร, รักษาโรคลำไส้อักเสบช่วยระบบการหมุนเวียนของโลหิต รักษาโรคตกขาวในสตรี และโรคริดสีดวงทวารหนัก


หมายเหตุ
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากกระชายดำได้ผลิตและแปรรูปขึ้นมาในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแคปซูล, ชากระชายดำ และเม็ดอมกระชายดำ ที่ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้อีกด้วย



http://guru.sanook.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:29 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/09/2011 5:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

649. การจัดการสวนปาล์ม ให้ได้ผลผลิตดีตลอดทั้งปี

จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูล ของเจ้าหน้าที่ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร จ.ชุมพร ทำให้ได้พบกับสวนปาล์มน้ำมันของลุงหีต ซึ่งมีรายรับที่มากกว่าเกษตรกรท่านอื่นที่ทำสวนปาลฺมน้เทนเช่นเดียวกัน ซึ่งเคล็ดลับของรายรับที่มากขึ้นของลุงหีตก็คือ การจัดการสวนปาล์มน้ำมันที่ดี ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้นกว่าเดิมเกือบเท่าตัว






ทั้งนี้เลุงหีตจึงได้เผยเคล็ดลับในการจัดการสวนปาล์มอย่างง่ายๆ กับทางทีมงานว่า เราต้องทำความเข้าใจปาล์มน้ำมันให้ถ่องแท้เสียก่อน เราต้องรู้ว่าปาล์มน้ำมันต้องการอะไรบ้าง หลังจากนั้นจึงค่อยดูแลให้ตรงกับความต้องการของปาล์มน้ำมัน ซึ่งลุงหีตจะยึดหลักปฏิบัติเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันตามรายละเอียด ดังนี้

 ปาล์มน้ำมันต้องการน้ำมากแต่ต้องไม่มีน้ำขังที่โคนต้น
 คุณภาพดินต้องดี ร่วนซุย
 ปริมาณสารอาหารในดินครบถ้วน
 ระยะในการปลูกต้องเหมาะสม
 พันธุ์ปาล์มต้องดี


เทคนิคในการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน :
พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ต้องเป็นพันธุ์ที่ดี สามารถซื้อจากศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน (จะดีมาก)
ระยะในการปลูก ปาล์มน้ำมัน ต้องปลูกในระยะที่เหมาะสมคือประมาณ 9-10 เมตร เพราะถ้าหากว่าปลูกถี่กว่านี้จะทำให้ทะลายที่ได้เล็กไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าหากว่าปลูกห่างกว่านี้จะทำให้เสียพื้นที่และได้รับผลผลิตน้อยเช่นกัน


การตัดแต่งทางใบ ต้องมีการตัดแต่งทางใบที่ไม่จำเป็นออกให้ปีละประมาณ 3 ครั้ง (ให้เหลือทางใบประมาณ 28-30 ใบ)


การให้น้ำต้องให้น้ำตลอดในช่วงของฝนทิ้งช่วงหรือในช่วงฤดูแล้งโดยทำการขุดร่องน้ำระหว่างกลางของแถวปาล์ม ขนาดความกว้างของร่องประมาณ 50 ซม. ลึก 50 ซม. ให้ทั่วทั้งสวน หลังจากนั้นให้ทำการรดน้ำในตอนที่ฝนทิ้งช่วงประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง ตลอดทั้งปี


**สวนปาล์มน้ำมันโดยทั่วไปจะไม่ค่อยมีการรดน้ำในช่วงฤดูแล้ง**


การปรับปรุงคุณภาพดินให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จะช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย


การใส่ปุ๋ยเคมี นอกจากใส่ปุ๋ยคอกแล้วต้องใส่ปุ๋ยเคมีควบคู่ไปด้วย เพราะปาล์มน้ำมันต้องการปริมาณสารอาหารสูงมากจึงต้องใส่ปุ๋ยเคมี ปีละประมาณ 3 ครั้ง โดยใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 (บำรุงผล), 21-7-35, 21-0-0 (บำรุงต้น)


***ลุงหีตบอกว่าถ้าหากจัดการประเด็นดังกล่าวครบถ้วนก็จะทำให้ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตดี (ไม่ต้องเสียดายในเรื่องของการรดน้ำและใส่ปุ๋ยเพราะถึงอย่างไรก็ได้รับผลตอบแทนที่ดีแน่นอน)



ที่มา : นายประดิษฐ์ สมศรี หรือลุงหีต เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน
เขียนโดย Hatoli



http://bettertree.blogspot.com/2009/09/blog-post_6022.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/09/2011 5:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

650. เทคนิคการเปลี่ยนเพศมะละกอ และทำให้มีลูกดก


ในสมัยก่อนการปลูกมะละกอไว้หลังบ้านๆ ครอบครัวละต้นสองต้น เกษตรกรจะแสวงหาพันธุ์ที่ให้ลูกยาวเท่าแขนถึงแม้ต้นหนึ่งๆ ให้ลูกเพียง 3-4 ลูก ก็พอใจ ใครเห็นใครชม แต่ปัจจุบันนี้ครับการทำสวนมะละกอก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้อย่างดี ดังนั้นเกษตรกรจะต้องชื้อปุ๋ยและฮอร์โมนมาฉีดเร่งให้มะละกอ มีลูกดก





คุณพ่อสมพงษ์ ญาติบำเรอ เกษตรกรบ้านสวนสวรรค์ มีเคล็ดลับในการเปลี่ยนเพศมะละกอให้เป็นต้นกระเทย และติดลูกดกได้อีกด้วย โดยเริ่มจากการเตรียมดินให้มีความอุดมสมบรูณ์ก่อน และก่อนย้ายกล้าที่เพาะไว้ลงปลูกในแปลง คุณพ่อจะใช้ภูมิปัญญาเก่าๆ ที่สืบทอดกันมาทำให้มะละกอเป็นต้นกระเทยเสียก่อน โดยการตัดรากแก้วออกให้เหลือประมาณ 2 ข้อมือ แล้วนำต้นมะละกอลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ วิธีนี้นอกจากจะทำให้มะละกอติดลูกดกแล้ว ยังทำให้มะละกอโตเร็ว เก็บผลผลิตได้เร็วขึ้น 1 เดือน ทั้งยังติดลูกดกทุกต้นด้วย

เขียนโดย Hatoli



http://bettertree.blogspot.com/2009/09/blog-post_05.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/09/2011 5:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

651. ข้อควรคิดก่อน ''ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน''


“ปาล์มน้ำมัน” กลายเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ถูกจับตามองในฐานะแหล่งพลังงานทดแทน กอปรกับปาล์มเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์หลายด้านทั้งอุปโภค บริโภคและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมาก ส่งผลให้ในช่วงปีที่ผ่านมาภาครัฐได้พยายามกำหนด แนวทางการส่งเสริมการปลูกปาล์มในพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะในภาคอีสาน เพื่อพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันและช่วยขจัดปัญหาความยากจน แต่เนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่สูงมาก จึงเกิดคำถามว่า จริงๆ แล้วพื้นที่ในภาคอีสานซึ่งยังคงประสบปัญหาภัยแล้งนั้น เหมาะสมกับการปลูกปาล์มมากน้อยเพียงไร





นายธีระพงษ์ จันทรนิยม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า


การปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสานนั้นสามารถปลูกได้ แต่ต้องคำนึงถึงสภาพดินและน้ำเป็นหลัก เนื่องจากธรรมชาติปาล์มเป็นพืชที่ชอบขึ้นในบริเวณเขตร้อนชื้น ดินคุณภาพดี มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร/ปี และมีการกระจายตัวสูงอาทิ ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือบริเวณภาคใต้ของไทย ดินต้องดี และมีฝนตกตลอดปีผลผลิตจะมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับ ปริมาณปุ๋ยและธาตุอาหารที่ปาล์มได้รับเป็นหลัก


แต่สำหรับภาคอีสานปัจจัยหลักของการเพิ่มผลผลิตนั้นอยู่ที่ ดินและน้ำ เช่น พื้นที่เป็นดินทรายก็จะมีปัญหาเรื่องการอุ้มน้ำอีกทั้งหากต้องประสบภาวะฝนทิ้งช่วงนาน มีช่วงแล้งยาวจะทำให้ปาล์มเกิดสภาวะการขาดน้ำ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพผลผลิตของปาล์มได้ ทั้งนี้เนื่องจากผลวิจัยใน “โครงการผลของการให้น้ำต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมัน” ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


ซึ่งได้ติดตามศึกษาผลของสภาวะแล้งที่มีต่อการพัฒนาปาล์มถึงระบบการให้น้ำต้นปาล์มในช่วงฤดูแล้ง โดยมีการจัดระบบให้น้ำต้นปาล์มเปรียบเทียบกับกลุ่มปาล์มที่ไม่ได้รับน้ำ พบว่า การขาดน้ำมีผลต่อการเจริญเติบโต และปริมาณผลผลิตของปาล์มโดยในสภาพที่ไม่มีฝนตกต่อเนื่อง 2-3 เดือน ในช่วงแตกใบ จะทำให้ทางใบหักต้องมีการตัดใบทิ้ง การสังเคราะห์แสงเพื่อเป็นอาหารจึงไม่เพียงพอหากช่วงแล้งเกิดขึ้นในช่วงการกำหนดเพศนั้น จะทำให้มีสัดส่วนเพศผู้มากขณะที่เกษตรกรต้องการดอกเพศเมีย ซึ่งมีปริมาณการให้น้ำมันมากกว่าสำหรับในช่วงการผสมเกสร หากเจอภาวะแล้ง จะทำให้ประสิทธิภาพ ในการผสมเกสรลดลง การพัฒนาเป็นผลน้อย ปริมาณผลผลิตที่ได้จึงลดลง เนื่องจากจำนวนผลต่อทะลายต่ำน้ำหนักทะลาย ลดลง 10-15% มีผลให้ปริมาณการผลิตผลปาล์มน้ำมันโดยรวมลดลงเหลือเพียง 2 ตัน/ไร่/ปี ในขณะปาล์มซึ่งปลูกในบริเวณที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม ได้รับน้ำตลอดปีจะสามารถผลิตผลปาล์มได้สูงถึงประมาณ 3-3.5 ตัน/ไร่/ปี


นายธีระพงษ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ดีหากภาครัฐยังคงมีนโยบาย การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มในภาคอีสานก็สามารถปลูกได้ โดยแนะนำให้มีการเลือกพื้นที่การเพาะปลูกให้ดีดินจะต้องไม่เป็นดินทราย มีสภาวะเป็นเกลือ หรือเป็นดินลูกรังสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ มีระบบการจัดการน้ำที่ดีสามารถผันน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง


การติดตั้งระบบการให้น้ำปาล์มในภาคอีสาน:
ให้วางเป็นท่อยาวที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตรจากผิวดิน ควบคุมการให้น้ำให้มีความชื้นเพียง 70% หรือสังเกตได้จากการกำดินเป็นก้อนนั้นเพียงพอที่จะช่วยให้ปาล์ม มีศักยภาพในการผลิตมากที่สุด ขณะที่การให้น้ำมากเกินไปไม่เพียงสิ้นเปลือง ยังเป็นผลเสียทำให้น้ำชะปุ๋ยลงไปใต้ดินลึกมากขณะที่ราก ซึ่งทำหน้าที่ดูดอาหารจะอยู่ที่บริเวณ 15-20 เซนติเมตรเท่านั้น ส่วนวิธีการให้ปุ๋ยจากเดิมซึ่งใช้วิธีการหว่านให้เปลี่ยนเป็นการให้ปุ๋ยทางระบบน้ำ ซึ่งทำให้ปุ๋ยสามารถละลายไปพร้อมกับน้ำลงสู่ต้นปาล์มได้รวดเร็ว โดยใช้ได้กับการให้น้ำแบบหยด หรือมินิสปริงเกิล หากระบบการให้น้ำมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอ ธาตุอาหารก็จะกระจายทั่วทั้งแปลงดี ลดการสูญเสียจากการชะล้าง มีประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสูง ช่วยลดต้นทุนการผลิตคุ้มค่าในระยะยาว


ผลการวิจัย “โครงการจัดการระบบการให้น้ำและปุ๋ยทางระบบน้ำเพื่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน” โดยนายสมเกียรติ สีสนอง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พบว่า


การให้ปุ๋ยทางระบบน้ำจะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น โดยแปลงที่ให้ผลผลิตสูงสุดที่ระดับ 4.0 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุนการผลิต 0.72 บาท/กก. เมื่อเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ 2.72 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุน 1.52 บาท/กก. และผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศมาเลเซีย 3.01 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุนการผลิต 0.70–1.00 บาท/กก.


เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายในการจัดการแปลงในแต่ละปีแล้วค่าใช้จ่ายในส่วนของปุ๋ยลดลงประมาณ 45–60% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขณะที่ปริมาณผลผลิตและธาตุอาหารในดินและ ใบพืชยังอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ต้นทุนที่ลดลงก็สามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบน้ำได้


ข้อควรพิจารณาก่อนปลูกปาล์ม:
อย่างไรก็ดีการพิจารณาว่าควรจะปลูกปาล์มในภาคอีสานหรือไม่นั้นก็ควรคำนึงถึงสภาพพื้นที่เพาะปลูกเป็นสำคัญว่า มีสภาพแล้งรุนแรงมากน้อยเพียงใด มีแหล่งน้ำพอที่จะนำน้ำมาหล่อเลี้ยงต้นปาล์มได้ตลอดฤดูแล้งหรือไม่ ที่สำคัญ ต้องพิจารณาด้วยว่าผลกำไรที่ได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นคุ้มค่ากับต้นทุนค่าใช้จ่าย ในการวางระบบน้ำหรือไม่เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องใช้เวลาในการเพาะยาวนานกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต้องใช้เวลาหลายปีฉะนั้นการวางแผนการปลูกปาล์มจึงมีความจำเป็น ทั้งในเรื่องของสภาพของดิน การให้ปุ๋ยและระบบการให้น้ำ เพื่อให้การปลูกปาล์มของเกษตรกรประสบผลสำเร็จมากที่สุด.

เขียนโดย Hatoli


http://bettertree.blogspot.com/2009/09/blog-post_1945.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/09/2011 6:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

652. การปลูกเผือกให้หัวมีขนาดใหญ่


การปลูกเผือก หลายๆ ท่านอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าหากปลูกโดยขาดความรู้ความเข้าใจแล้วก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ คุณลุงยิ่งเกษตรกรบ้านคอกม้ามีวิธีการปลูกเผือกที่ให้ผลผลิตดี ได้เผือกขนาดใหญ่ซึ่งมีวิธีการปลูกง่ายๆไม่ยุ่งยาก ดังนี้





การเตรียมพื้นที่
1. ทำการตัดหญ้าและกำจัดวัชพืชออกไปให้หมด
2. จากนั้นให้ทำการไถและตากดินไว้ประมาณ 7 วัน
3. ทำการขุดหลุมให้มีขนาดกว้างประมาณ 20 ซม.ลึก 20 ซม. ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1 เมตร
4. ให้นำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก็ได้มารองก้นหลุมให้เกือบเต็มปากหลุมแล้วนำดินมากลบให้เต็มหลุมที่ขุดไว้


การปลูก
1. จากนั้นให้นำหัวเผือกอ่อน ( ขนาดหัวประมาณ 3 ซม )ที่เตรียมไว้มาปลูกโดยให้นำหัวเผือกมาวางบนปากหลุมแล้วนำดินมาโรยให้พอมิดหัวเผือก

**ห้ามปลูกเผือกในหลุมลึกเพราะจะทำให้เผือกหัวเล็ก**

2. จากนั้นให้นำฟางแห้งมาคลุมเพื่อรักษาความชื้นในดิน
3. ประมาณ 7 วันเผือกก็จะแตกต้นอ่อน






การดูแลรักษา
- การ “พูนโคน” เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการปลูกเผือกเพราะถ้าหากว่าเราคอยพูนโคนอยู่เสมอให้สูงจะทำให้หัวเผือกมีขนาดใหญ่ เนื่องจากหัวเผือกก็คือลำต้นใต้ดินที่ขยายออกเพื่อสะสมอาหาร จึงเจริญขึ้นบนมากกว่าลงหัวลึกลงไป โดยจะทำการพูนโคนครั้งแรกตอนใสปุ๋ยครั้งแรก และพูนโคนครั้งที่สองตอนที่ใส่ปุ๋ยรอบที่สอง และพูนโคนครั้งสุดท้ายเมื่อเผือกมีอายุ 120 วัน

- การใส่ปุ๋ยเมื่อปลูกได้ประมาณ 45 วันให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วพูนดินกลบโคน และเมื่อปลูกได้ 90 วันให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ต้นละ 1.5 ช้อนโต๊ะแล้วพูนดินกลบโคน

- การให้น้ำควรให้น้ำเมื่อฝนทิ้งช่วงประมาณ 2-3 วัน/ครั้ง ถ้าหากว่าปล่อยให้เผือกขาดน้ำมากจะทำให้เผือกใบเหลืองและหัวมีขนาดเล็ก

การเก็บเกี่ยว : จะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อเผือกมีอายุ 150 วัน หรือ 5 เดือนซึ่งจะได้เผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ ประมาณ 1 กก./หัว

เขียนโดย Hatoli


http://bettertree.blogspot.com/2009/09/blog-post_1216.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/09/2011 5:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

653. การปลูกฟักทอง และเทคนิคการเพิ่มขนาดผล


คุณนิภา นวลน้อย เกษตรกร บ้านวัดนอก ต.วิสัยเหนือ อ.เมือง จ.ชุมพร ปลูกฟักทองเป็นอาชีพเสริมในช่วงฤดูแล้ง โดยปลูกแซมในสวนปาล์มน้ำมันที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ 7 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณรอบละ 10 – 12 ตัน จำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท สามารถเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้ เป็นอย่างดี และมีเทคนิคและวิธีการปลูกฟักทองให้ได้ผลผลิตดี ดังนี้





ขั้นตอนการเตรียมดิน :
-ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 ซม. เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากลึก
-ควรตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืชได้บ้าง
-ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุย
-เก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด


ขั้นตอนการปลูก :
- โดยใช้ระยะปลูก 3x3 เมตรใช้วิธีหยอดหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกประมาณ 3-5 ซม. แล้วกลบหลุม

- ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ให้นำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน

- เมื่อต้นกล้างอกจะมีใบจริง 2-3 ใบแล้ว ควรถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และรดน้ำทุกวันเมื่อต้นกล้าเจริญจนมีใบจริง 4 ใบ

- ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อต้น

- เมื่อฟักทองเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 14-14-21โรยรอบๆ ต้น (ประมาณ 1 กำมือ) แล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน

- การรดน้ำต้องรดน้ำทุกวัน จนคะเนว่าอีก 15 วัน จะเก็บผลแก่ได้ จึงเลิกรดน้ำ


เทคนิคต่างๆในการปลูกฟักทอง :
- การผสมเกสร เมื่อดอกฟักทองกำลังบานให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบดอกออกให้หมด นำไป เคาะละออง เกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย ถ้าติดผลจะให้ผลอ่อน ถ้าไม่ติดผลดอกตัวเมียจะฝ่อไป

- การกำจัดแมลงวันทองโดยใช้กล้วยเล็บมือนางเป็นตัวล่อ โดยใช้ขวดน้ำพลาสติกเจาะรูขนาด 3x3 นิ้วทั้งสองด้าน จากนั้นนำกล้วยเล็บมือนางที่สุกจัดๆมาใส่ในขวด แล้วนำยาฆ่าแมลงมาใส่ในขวด เมื่อแมลงวันทองได้กลิ่น กล้วย ก็จะเข้ามากินก็จะทำให้โดนยาฆ่าแมลงตาย

- การทำให้ฟักทองผลโต เมื่อฟักทองติดผลอ่อนได้ประมาณ 5 วันให้ทำการตัดยอดฟักทองออกเพื่อให้น้ำเลี้ยงต่างๆ มา เลี้ยงที่ผลฟักทองได้เต็มที่ จะได้ผลฟักทองที่โตเต็มที่ (ประมาณ 7–10 กก./ ผล )


การเก็บเกี่ยว :
เมื่อผลแก่เก็บเกี่ยวได้ให้สังเกตสีเปลือก สีจะกลมกลืนเป็นสีเดียวกัน ไม่แตกต่างกันมากนัก ดูนวล ขึ้นเต็มทั้งผล คือมีนวลขึ้นตั้งแต่ขั้วไปจนตลอดก้นผล แสดงว่าแก่จัด การเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วยสักพอประมาณเพื่อช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้นสามารถเก็บผลไว้รอขาย ได้นานๆ จะทยอยเก็บผลได้ 5-6 ครั้ง จนหมด

เขียนโดย Hatoli



http://bettertree.blogspot.com/2009/09/blog-post_4674.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 25 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©