-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 22, 23, 24 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/09/2011 9:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 23

ลำดับเรื่อง.....



579. มข.อนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง กว่า 600 สายพันธุ์ เก็บรักษาธนาคาร
580. ข้าวหอมมะลิ มนต์เสน่ห์ข้าวหอมไทย

581. Jazzmen กับ Jasmine
582. Jazzman Aromatic rice จาก USA
583. นาข้าว 76 จ. มีเครื่องจักรช่วยทำงาน
584. ผลิต 'ปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง' เทคนิคลดต้นทุน-เลิกสารเคมี
585. สับปะรดพันธุ์ใหม่ ของดี จ.ระยอง

586. ปรับแผนแจกที่ดินเกษตรกร
587. เกษตรไทยใน 4 ปี ข้างหน้า
588. ปลูกปาล์มน้ำมัน แบบเกษตรอินทรีย์
589. ลดต้นทุน 'มันสำปะหลัง' ได้...ง่ายนิดเดียว
590. ใช้น้ำหมักจากสารเร่ง เลี้ยงไก่เนื้อ ทำน้ำหนักเพิ่ม

591. เร่งสำรวจน้ำบาดาล...แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ
592. ความมั่นคงด้านอาหาร
593. ข้าวนาปี - ข้าวนาปรัง ....
594. เรื่องข้าวน่ารู้
595. พันธุ์ข้าวเจ้า กข 41

596. ปทุมธานี 1
597. ขาวดอกมะลิ 105
598. สุพรรณบุรี 1
599. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์
600. ความมหัศจรรย์ของรังผึ้ง

601. วิธีเกี่ยวข้าวแปลงน้ำท่วม
602. ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ ให้ผลตอบแทนเท่า 3 ไร่
603. ร้อยเอ็ดปล่อยปลาบึก 180 ตัว กลับลงสู่บึงพลาญชัย

--------------------------------------------------------------------------------------------








579. มข.อนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง กว่า 600 สายพันธุ์ เก็บรักษาธนาคาร

poopeh:


ดร.จิรวัฒน์ สนิทชน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยว่า มข.ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองขึ้น 2 โครงการ
คือ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นเมือง และโครงการคัดเลือกพันธุ์ข้าวในที่ดอนสำหรับระบบปลูกอ้อย-ข้าวไร่

ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าว และเมื่อได้มีการปลูกข้าวติดต่อกันมาเป็นเวลานานก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นข้าวหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งข้าวไร่ ข้าวนาสวน และข้าวขึ้นน้ำ

และจากสภาพการปลูกข้าวในปัจจุบัน เกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือได้ละทิ้งข้าวพันธุ์พื้นเมืองซึ่ง เคยปลูกกันมาหลายชั่วอายุคน หันมาปลูกข้าวนาปี โดยใช้พันธุ์ข้าวอยู่เพียงไม่กี่พันธุ์ อาทิ ขาวดอกมะลิ 105 กข 15 และ กข 6 ซึ่งทั้ง 3 พันธุ์ดังกล่าวล้วนมีฐานทางพันธุกรรมมาจากพันธุ์เดียวกัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายจากโรคและแมลง ทำให้มีการใช้สารเคมีในการผลิตมากขึ้น ความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าวก็เริ่มลดลง จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นเมืองขึ้นมา โดยการเก็บรวบรวมข้าวไร่และข้าวนาสวนพันธุ์พื้นเมืองจากแหล่งปลูกของเกษตรกร ตามจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง เพียงบางส่วน สามารถเก็บรวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวทั้งข้าวไร่และข้าวนาสวนได้มากกว่า 600 พันธุ์ นำข้าวไร่มา ปลูกขยายพันธุ์ในแปลงทดลองหมวดพืชไร่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ส่วนข้าวนาสวนได้ปลูกในแปลงทดลองที่บ้านอัมพวัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในสภาพท้องที่ต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลการปรับตัวและความเหมาะสมกับท้องที่ รวมทั้งทดสอบคุณสมบัติพิเศษของพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ จัดเก็บรวบรวม บันทึกข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางพันธุกรรมของข้าวแต่ละพันธุ์ สกัดดีเอ็นเอ. ศึกษาลายพิมพิ์ดีเอ็นเอ. จัดทำเอกลักษณ์ของพันธุ์ สร้างธนาคารเชื้อพันธุกรรมเพื่อการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมข้าวของไทย และศึกษาการใช้ประโยชน์จากข้าวพื้นเมือง แต่ละพันธุ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกัน เช่น ความหอม ความนุ่ม คุณค่าทางเภสัช คุณค่าทางโภชนาการ เพื่อนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการ ใช้พันธุ์และงานด้านการปรับปรุงพันธุ์ต่อไปในอนาคต



ที่มา หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=130184.0;wap2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:26 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 7:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

580. ข้าวหอมมะลิ มนต์เสน่ห์ข้าวหอมไทย


กลิ่นหอมของข้าวถือเป็นมนต์เสน่ห์ที่ชวนรับประทานที่สุด ด้วยเพราะความนุ่มและความหอมหวานทำให้ความนิยมในข้าวหอมมะลิ มีมากขึ้นเรื่อยๆ กลิ่นหอมหวานของข้าวชนิดนี้เกิดจากการผสมผสานของสารระเหยมากกว่า 200 ชนิด แต่มีสารที่เป็นองค์ประกอบหลักคือสาร 2 เอพี (2-acetyl-1-pyrroline) ที่ผลิตเฉพาะในข้าวหอม ใบเตย ดอกชมนาถ เชื้อรา และแบคทีเรียบางชนิด ในเชิงวิทยาศาสตร์ ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงบทบาทของสารหอม 2 เอพี ในพืชและจุลินทรีย์ แต่เชิงโภชนาการแล้ว กลิ่นหอมของข้าวช่วยทำให้อยากรับประทานอาหารมากขึ้น


การผลิตสารหอมระเหยนี้เป็นผลมาจากการทำงานของขบวนการทางชีวเคมีใดยังไม่เป็นที่แน่ชัด จนในปี พ.ศ. 2547 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทยได้ค้นพบรหัสพันธุกรรมหรือยีนที่เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสารหอมในข้าวหอมมะลิไทย และเป็นยีนเดียวกันกับที่พบในข้าวหอมทุกพันธุ์ในโลก ดังนั้น รหัสพันธุกรรมของยีนความหอมจึงได้ถูกเปิดเผยขึ้นแล้ว









การถอดรหัสยีนความหอม
ยีนความหอมเป็นลักษณะด้อย กล่าวคือ เมื่อเอาข้าวหอมผสมกับข้าวไม่หอม ลูกที่ได้จะไม่หอม นั่นหมายถึง ยีนไม่หอมทำงานข่ม (dominant) ในอดีตนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศ เช่น ไทย, อเมริกา, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย ต่างพบว่ารหัสพันธุกรรมที่สำคัญนี้น่าจะอยู่บริเวณเล็กๆ ของโครโมโซมคู่ที่ 8 โดยวางตำแหน่งเอาไว้เทียบเคียงกันได้โดยใช้เครื่องหมาย ดีเอ็นเอ. แต่ไม่มีใครสามารถเข้าใกล้ยีนนี้ได้เนื่องจาก การแยกข้าวหอมจากไม่หอมทำได้ยาก จนนักวิทยาศาสตร์ไทยสามารถสร้าง “ ข้าวคู่แฝด “ (Isogonic’s line) ได้สำเร็จ และนำไปสู่การค้นพบยีนความหอมได้ในที่สุด นับเป็นการค้นพบครั้งแรกของโลก



Rice Science Center



http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์/ข้าวหอมมะลิ-มนต์เสน่ห์ข่าวหอมไทย.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 7:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

581. Jazzmen กับ Jasmine





ภายหลังการทดลองมาเป็นเวลายาวนานถึง 12 ปี ศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยหลุยเซียน่า ของสหรัฐ ก็ประกาศผลความสำเร็จในการค้นคว้าและพัฒนาพันธุ์ข้าวชนิดใหม่ จากการนำข้าวหอมของจีนสายพันธุ์หนึ่งมาผสมกับข้าวเมล็ดยาวของรัฐอาร์คันซอ ข้าวดังกล่าวมีชื่อทางวิชาการว่า แอลเอ2125 และชื่อสามัญหรือชื่อทางการค้าว่า "แจ๊ซแมน" (Jazzman) ทั้งนี้ ทางศูนย์วิจัยฯ จะได้นำเมล็ดข้าวแจ๊ซแมนไปให้เกษตรกรเพาะปลูกในฤดูกาลผลิต 2552/2553 นี้

ศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยหลุยเซียน่า อ้างว่าข้าวแจ๊ซแมนจะ มีคุณภาพและกลิ่นหอมใกล้เคียงกับข้าวจัสมินหรือหอมมะลิของไทย และมีความสามารถในการเป็นคู่แข่งขันกับข้าวจัสมินในตลาดสหรัฐได้ ที่สำคัญคือข้าวแจ๊ซแมนจะให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าข้าวจัสมิน คือประมาณไร่ละ 1,250 กิโลกรัม ขณะที่ข้าวหอมมะลิของไทยให้ผลผลิตไร่ละ 400 กิโลกรัม

เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้สหรัฐพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมแจ๊ซแมนขึ้น มา ก็เนื่องจากปริมาณคนอเมริกันที่นิยมบริโภคข้าวหอมมะลิจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ โดยปัจจุบันสหรัฐนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทย เป็นจำนวน 3.5-4 แสนตันต่อปี และคาดว่าจะสูงขึ้นถึง 1.5 ล้านตัน ในปี ค.ศ. 2017 ซึ่งหากชาวนาสหรัฐมีการปลูกข้าวหอมแจ๊ซแมนกันมาขึ้น ก็จะทำให้ข้าวแจ๊ซแมนเข้า มาแย่งตลาดข้าวหอมมะลิของไทยในสหรัฐ อันเป็นการลดปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิจากไทยไปยังสหรัฐโดยตรง และนั่นคือเหตุผลประการสำคัญ ที่สหรัฐจงใจใช้ชื่อข้าวพันธุ์ใหม่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับคำว่า จัสมิน

ขณะนี้สหรัฐได้จดทะเบียนข้าวแจ๊ซแมนกับ สหพันธ์ข้าวแห่งสหรัฐ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งประทับตราว่า “ปลูกในสหรัฐ” ซึ่งส่งผลให้ข้าวพันธุ์นี้เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของสหรัฐ และกำลังจะเป็นข้าวในเชิงพาณิชย์ชนิดที่สองของสหรัฐ ต่อจากข้าวเมล็ดยาว เทกซัส ลองเกรน ซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปในสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทย เปรียบเทียบกับกำลังการผลิตของข้าวแจ๊ซแมนแล้ว เป็นเรื่องที่ชวนให้คิดว่า สหรัฐต้องการเพียงแค่ลดการนำเข้าข้าวหอมมะลิเท่านั้น หรือต้องการที่จะเปิดศึกข้าวหอมกับไทยในตลาดโลก เพราะหากข้าวแจ๊ซแมนมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับข้าวจัสมินจริง จนผู้บริโภคปราศจากเงื่อนไขในการที่จะเลือกซื้อข้าวแจ๊ซแมนแทน ข้าวจัสมินแล้ว แน่นอนว่าสหรัฐย่อมสามารถใช้ความได้เปรียบในเรื่องผลผลิต ราคา การประชาสัมพันธ์ และการตลาด รวมทั้งกลยุทธ์ต่างๆ มาส่งเสริมการขายข้าวแจ๊ซแมนอย่าง เต็มกำลัง ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นไทยก็คงไม่ได้สูญเสียตลาดข้าวหอมเฉพาะในสหรัฐเพียงแห่ง เดียว หากแต่จะมีผลเชื่อมโยงไปถึงที่อื่นๆ ของโลกด้วย


เขียนมาถึงตรงนี้ ก็นึกถึงกลอนชื่อ “หอมข้าว” ที่ผมเคยเขียนไว้ เมื่อปี 2547 ซึ่งขอนำมาเล่าใหม่ไว้ตรงนี้ครับ

“พร่างฝนดั่งเพชรพราย ............... ที่ร่วงรายสู่พื้นดิน
คลื่นข้าวก็ลู่ริน ........................ ระเนนไหวในท้องนา
ชูรวงอันสีทอง ........................ ดุจสร้อยคล้องพสุธา
คมเคียวแห่งเหล็กกล้า ................ ก็เกี่ยวพารวงขาดพลัน

เม็ดขาวดุจมุกงาม ..................... เต็มจานชาม เต็มความฝัน
ของชาวนาผู้บากบั่น ................... และเติมฝันของนายทุน
ความฝันอันโหดร้าย ................... ของผู้ไร้ใครการุณย์
ความฝันอันอบอุ่น ..................... ของคุณคุณ หรือของใคร

หอมเอยหอมกลิ่นฝัน .................. กลิ่นข้าวอันอบอวลไป
ข้าวหอมก็หอมไกล .................... ชื่อข้าวไทยก็ลือชา
วันคืนตื่นจากฝัน ....................... อกใจสั่นขวัญผวา
ข้าวหอมถูกตีตรา ...................... เป็นสินค้าจากแดนไกล

ฝันพลันสิ้นกลิ่นฝัน ..................... สิ้นคืนวันอันสดใส
เม็ดข้าวจากโคลนไคล .................. ต่อนี้ไปคงขื่นคอ”


พาณิชย์เร่งหน่วยงานเกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้าวหอม "แจ๊ซแมน" ของสหรัฐ ชี้หากใช้ยีนจากข้าวหอมมะลิไทยไปพัฒนาถือว่า เป็นพวกขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ไทยต้องตอบโต้


กรณีที่สหรัฐมีการพัฒนาและยื่นจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าวหอมชนิดใหม่ ชื่อ “แจ๊ซแมน” ซึ่งมีหลายฝ่ายระบุว่าข้าวหอมพันธุ์ใหม่ที่สหรัฐพัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติคล้าย คลึงกับข้าวหอมมะลิไทย หรือ จัสมิน ทั้งรสชาติและรูปลักษณ์ของเมล็ดข้าว ว่าทางการไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้สั่งการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประสานไปยังกรมวิชาการเกษตร กรมการค้าข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทูตพาณิชย์ไทยในสหรัฐไปทำการตรวจสอบและติดตามเรื่องดังกล่าว ว่ามีการพัฒนาจากพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยหรือไม่

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังจะขอความร่วมมือสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (อีรี่) ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวด้วย หากพบว่าข้าวจัสแมนมีการนำยีนข้าวหอมมะลิไทยไปดำเนินการเพื่อผลิตและจำหน่าย ในเชิงพาณิชย์รัฐบาลไทยจะดำเนินการตอบโต้ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็น พฤติกรรมเหมือนพวกลักขโมย

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มีแนวทางส่งเสริมข้าวหอมมะลิไทยให้ทำตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งข้าวหอมมะลิไทยต่างเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก แต่จะทำอย่างไรยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยจะผลักดันและใช้งบประมาณของโครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนารูปแบบ ด้านบรรจุหีบห่อ หรือกระตุ้นการเป็นที่รู้จักของตราไทยหอมมะลิ ซึ่งน่าจะช่วยขับเคลื่อนการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐเพิ่มอีกเท่าตัว และเตรียมขยายไปถึงตลาดญี่ปุ่น จีน ด้วยการเพิ่มมูลค่าสินค้า เช่น นำชาเขียวมาผสมในข้าวหอมมะลิไทย เพื่อเพิ่มรสชาติให้คนญี่ปุ่นและผู้บริโภคที่ชื่นชอบการบริโภคชาเขียวอีก ด้วย



ที่มา: คมชัดลึก http://www.komchadluek.net/index.php
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/Jazzmen-กับ-Jasmine.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 7:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

582. Jazzman Aromatic rice จาก USA


ข้าวหอมพันธุ์ใหม่จากสหรัฐ สหรัฐฯพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ภายใต้ชื่อ "JAZZMAN" คุณภาพทัดเทียมข้าวหอมมะลิ เตรียมป้อนชาวนาปลูกขาย หวั่นอนาคตชิงส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทย พาณิชย์แนะผู้ส่งออกเร่งปรับตัว ลุยซื้อกิจการโรงสีสหรัฐ ใช้เป็นฐานขยายตลาดในระยะยาว


สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานมายังกระทรวงพาณิชย์ว่า ศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัย Louisiana State University มลรัฐหลุยส์เซียน่า สหรัฐฯประกาศเป็นทางการถึงผลการค้นคว้าและพัฒนาพันธุ์ ข้าวใหม่ LA2125 มีคุณภาพทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย โดยตั้งชื่อว่า JAZZMAN ที่จะผลิตออกมาแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทยในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีเมล็ดพันธุ์พร้อมให้ชาวนานำไปปลูกเพื่อการค้าแล้ว ในฤดูการปลูกข้าวปี 2552 นี้ ถือเป็นการก้าวกระโดดสำคัญของงานวิจัยเรื่องข้าวของสหรัฐฯ




ทั้งนี้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก ได้ศึกษาและติดตามจากข่าวสารและบุคคลในวงการข้าวของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการปลูกข้าวมีกลิ่นหอมในสหรัฐฯ พบว่าปัจจุบัน สหรัฐฯ ปลูกข้าวกลิ่นหอม (Aromatic Rice) หลายสายพันธ์ เช่น Della, Calmati,Jasmati, Delrose, Dellmati, A301 และ Jasmine 85 แต่ข้าวดังกล่าวมีคุณภาพและความหอมด้อยกว่าข้าวหอมมะลิไทยมาก


"ตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา ศูนย์วิจัยดังกล่าวจะเริ่มทดลองอย่างจริงจัง และ ได้เริ่มการทดลองผสมพันธุ์ข้าว โดยนำข้าวกลิ่นหอมของจีนสายพันธุ์ (96a-Cool มาผสมกับข้าวเม็ดยาวของรัฐอาร์คันซอส์ และใช้เวลา 12 ปี จึงเป็นผลสำเร็จและตั้งชื่อสายพันธ์ LA2125 หรือที่เรียกว่า JAZZMAN โดยอ้างว่ามีคุณภาพ ความหอมทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย และสามารถแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทยได้ ที่สำคัญมีผลิตต่อไร่สูงมากถึง 1,265 กิโลกรัม ซึ่งศูนย์วิจัยข้าวฯมีเมล็ดพันธุ์พร้อมให้ชาวนานำไปเพาะปลูกเพื่อการค้า สำหรับฤดูการเก็บเกี่ยว 52-53 แล้ว" รายงานข่าวระบุ


อย่างไรก็ตามหากชาวนาในรัฐหลุยส์เซียน่าหันมาปลูก JAZZMAN มากขึ้น เชื่อว่าผู้บริโภคในสหรัฐจะยกเลิกการสั่งซื้อข้าวหอมมะลิจากไทย โดยหันไปบริโภคข้าว JAZZMAN แทน และหากในอนาคตมีการเพาะปลูกจำนวนมาก ข้าวดังกล่าวอาจกลายเป็นคู่แข่งที่มีแย่งตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิของไทย จนส่งผลกระทบต่อข้าวหอมมะลิทำให้ราคาตกต่ำลงด้วย


"ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยต้องปรับกลยุทธ์เพื่อต่อสู้กับข้าว JAZZMAN ของสหรัฐฯเพื่อรักษาตลาดและราคาของข้าวหอมมะลิไทยไว้ โดยพิจารณาทำการค้าแบบสากล ด้วยการเข้าไปซื้อกิจการโรงสี หรือ กิจการการจำหน่ายข้าวในสหรัฐฯ เพื่อประโยชน์การขยายตลาดในระยาว ซึ่งจะได้รับรู้ถึงรายชื่อลูกค้า รวมถึงระบบการกระจายสินค้าที่ละเอียดและชัดเจน ช่วงนี้เป็นโอกาสดี เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ในภาวะถดถอย สามารถซื้อขายกิจการได้ในราคาที่ไม่แพงด้วย"




ที่มา:แนวหน้า
photo: http://lsuagcenterrice.blogspot.com/
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/Jazzman-Aromatic-rice-จาก-USA.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 8:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

583. นาข้าว 76 จ. มีเครื่องจักรช่วยทำงาน

b.chaiyasith:



เป็นที่ยอมรับกันว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรของเกษตรกรไทยยังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดแคลนเงินทุน และใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรกลได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ประกอบกับต้นทุนในการจ้างบริการเครื่องจักรกลการเกษตรค่อนข้างสูง และขาดแคลน

ฉะนั้นการปรับปรุงระบบบริหารจัด การการใช้เครื่องจักรกลตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือด้านการเกษตร ของเกษตรกร จึงเหมาะสมที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเครื่องจักรกลการเกษตรขั้นพื้นฐานที่ให้บริการสมาชิกและเกษตรกรโดยทั่วไป การจัดสรรเงินสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 1,000 ล้านบาท ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเพื่อการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลให้กับกลุ่มเกษตรกร นับเป็นแนวทางหนึ่งที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรให้มีศักยภาพในงานด้านการผลิต

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพหลัก ดูแลและเร่งดำเนินการในส่วนต่าง ๆ ของโครงการนี้ซึ่งคาดว่างบประมาณในส่วนนี้จะสามารถช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ทำการเกษตรทั่วประเทศที่มีการรวมกลุ่ม สามารถนำเครื่องจักรไปใช้ในการพัฒนาอาชีพเกษตรมากขึ้น เนื่องจากการมีเครื่องจักรที่ทันสมัย นอกจากจะนำไปสู่การผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย

ล่าสุดกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้มีการพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณ นำร่องใน 76 จังหวัด รวมจำนวน 190 ล้านบาท ให้กับกลุ่มเกษตร เพื่อใช้ไปในการจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรให้ทันกับฤดูกาลเพาะปลูก ในขณะนี้ โดยคาดว่าเงินจำนวนดังกล่าว ทางกลุ่มเกษตรกรจะสามารถนำไปใช้ในการซื้อเครื่องจักรกล เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่ เป็นอยู่

สำหรับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณที่ทางรัฐบาลอนุมัติให้มาครั้งนี้ ได้มีการมุ่งเน้นไปยังกลุ่มเกษตรกรที่เป็นองค์กรเกษตรกร เนื่องจากการรวมกลุ่มกันดำเนินงานจะก่อให้เกิดเป็นสถาบันเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง ส่งผลดีต่อการพัฒนาศักยภาพการผลิต และมีอำนาจต่อรองในส่วนของการจำหน่ายสินค้าเกษตรในอนาคต ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้การส่งเสริมการให้บริการเครื่องจักรกลของกลุ่มเกษตร กร จะไม่เสียดอกเบี้ย มีกำหนดชำระคืนเงินกู้ภายใน 7 ปี ระยะปลอดการชำระหนี้ 2 ปีแรก และเงินจ่ายขาดตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการ

โดยนำร่องกลุ่มเกษตรกร จำนวน 76 กลุ่ม จัดหาเครื่องจักร กลการเกษตร กลุ่มละไม่เกิน 2.5 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 190 ล้านบาท เมื่อการดำเนินการในระยะแรกได้ผลเป็นที่น่าพอใจทางกรมส่งเสริมสหกรณ์จึงจะขออนุมัติคณะกรรม การสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อดำเนินการต่อไป พร้อมออกระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อดำเนินการในโครงการนี้ให้รัดกุมและเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและเกษตรกรต่อไป

นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการให้การช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้มีอุปกรณ์ เพื่อช่วยเหลือในการทำการเกษตรแบบประหยัดและ คุ้มค่า และเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตได้อย่างเต็ม เม็ดเต็มหน่วยมากยิ่งขึ้นอันจะยังมาซึ่งรายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง




http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1574848/นาข้าว%2076%20จังหวัดจะมีเครื่องจักรช่วยทำงาน
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=59364.0;wap2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 4:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

584. ผลิต 'ปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง' เทคนิคลดต้นทุน-เลิกสารเคมี





การใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากจะทำให้โครงสร้างของดินเสีย สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมแล้ว ยังทำให้บรรดากบ เขียดในนาล้มตายไปด้วย เปรียบเสมือนการฆ่าช้างเอางา เพราะไม่เพียงแต่เราจะฆ่าหอยซึ่งเป็นศัตรูพืชในนาเราเท่านั้น เรายังทำให้สัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ละแวกใกล้เคียง อย่าง ปู ปลา ตายไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก” นี่คือคำพูดของ นายสมัคร ฟักทองอยู่ หมอดินอาสา

นายสมัคร เป็น หมอดินอาสาประจำตำบลวังกระจบ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ที่ประสบความสำเร็จในการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยใช้ หญ้าแฝก ปลูกขวางความลาดเทผสมผสานเทคโนโลยีชีวภาพ ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ ได้แก่ การสร้างบ่อดักตะกอนดิน เพื่อดักตะกอนดินลดความสูญเสียหน้าดิน ช่วยชะลอความเร็วของน้ำไหลบ่า ทำให้ดินมีความชุ่มชื้นมากขึ้น และปรับรูปแปลงนา โดยขุดและยกระดับคันดินรอบแปลงนา โครงสร้างทั้งหมดเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำหลากท่วมแปลงนาในฤดูฝนและยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง นอกจากนี้ ยังมีการรวมกลุ่มเกษตรกรกัน ผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง และสาธิตการผลิตปุ๋ยหมักจากฟางข้าว โดยใช้สารเร่งซูเปอร์ พด.1 และผลิตน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอร์รี่ โดยใช้สารเร่ง ซูเปอร์ พด.2 อีกทั้งยังประดิษฐ์เครื่องคลุกเคล้าวัสดุแทนการใช้จอบ และรถดัมพ์เพื่อขนวัสดุอีกด้วย

หมอดินสมัคร เล่าว่า ตนมีอาชีพในการทำนาเป็นหลักควบคู่กับปลูกพืชผักสวนครัว ทำการเกษตรแบบผสมผสาน และปลูกพืชสมุนไพรบ้าง ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีก็ทำการเกษตรแบบเกษตรกรทั่วไปที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเพาะปลูก จึงประสบปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นไม่คุ้มค่ากับรายได้ที่ตอบแทนมาสักเท่าไร จนกระทั่งได้สมัครเข้าเป็นหมอดินอาสากับกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ตลอดจนการใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนเทคนิคการปรับปรุงบำรุงดินด้วยวิธีต่าง ๆตนจึงได้นำแนวทางเหล่านี้มาปรับใช้กับพื้นที่ของตน โดยเฉพาะการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลงไม่น้อยกว่า 20% สิ่งแวดล้อมดีขึ้น หลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงเลิกใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด

เมื่อเห็นผลดีของการลด ละ เลิกการใช้สารเคมี โดยหันมาพึ่งพาปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถผลิตเองได้ จึงแนะนำให้เกษตรกรรายอื่นหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีด้วย ปัจจุบันพื้นที่ของหมอดินสมัคร จำนวน 8 ไร่ ได้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรกรในละแวกใกล้เคียงหรือเกษตรกรทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ โดยเฉพาะวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองที่ไม่ค่อยมีที่ไหนทำกัน จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

สำหรับวิธีการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง ของที่นี่เริ่มจากการหาเศษพืช อย่างเช่น เศษฟางข้าว เศษหญ้า หรือซังข้าวโพด ที่หาได้ในท้องถิ่น มาผ่านกรรมวิธีการบดให้ละเอียด หลังจากนั้นนำมาใส่ลงในรางที่เตรียมไว้ รางละประมาณ 4-5 ตัน ใส่น้ำให้ชุ่มเพื่อให้มีความชื้น แล้วนำไปเข้าเครื่องผสมหรือเครื่องโม่ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เพื่อคลุกเคล้าให้เขากัน แล้วใส่มูลสัตว์ลงไปผสมให้เข้ากันโดยใส่น้ำลงไปขณะผสมด้วย เพื่อให้มูลสัตว์ที่นำลงไปผสมมีความชื้น เมื่อคลุกเคล้าเข้ากันดีแล้ว จึงดัมพ์ขึ้น (เป็นเครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกแทนการใช้จอบกลับกอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและแรงงานได้มาก) เทลงพื้นแล้วจึงทำการบรรจุใส่กระสอบเพื่อเก็บไว้ใส่แปลงพืชที่ปลูกไว้ต่อไป

“อยากให้พี่น้องเกษตรกรทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นนาปี นาปรัง หรือพืชสวน ต่าง ๆ อยากให้หันกลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้นและใช้สารเคมีน้อยลง เพราะว่าสารเคมีนั้นเป็นมหันตภัยที่ใหญ่หลวง ต้องรู้จักวิธีใช้เพราะเมื่อใช้ไปแล้วมีแต่ผลกระทบต่าง ๆ มากมาย เปรียบเสมือนศัตรูเงียบที่คืบคลานเข้ามาทำร้ายเราอย่างเลือดเย็น ลองหันกลับมามองดูว่า ทำไมสมัยปู่ย่า ตายาย ถึงทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมีแล้วยังอยู่ได้ ดังนั้น เราเองก็ต้องอยู่ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม อยากให้หันกลับมามองวัตถุดิบในท้องถิ่นว่ามีอะไรบ้างที่จะมาทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ เช่น เศษฟางข้าว หรือตอซัง แทนที่จะเผาทิ้งให้เสียเปล่าอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมลพิษเราหันมาไถกลบซึ่งได้ประโยชน์มากกว่าคือเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ถึงแม้อาจจะเห็นผลช้าไปหน่อย แต่ถ้าทำอย่างต่อเนื่องจะเป็นการสร้างผลดีกับดินอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้อยู่คู่กับลูกหลานเราไปนาน ๆ ด้วย” หมอดินสมัคร ฝากแง่คิดทิ้งท้าย

สำหรับเกษตรกรรายใดที่สนใจการทำการเกษตรแบบเดียวกับ นายสมัคร ฟักทองอยู่ สามารถติดต่อขอความรู้เพิ่มเติมไปได้โดยตรงที่ 51 บ้านแก่งหิน หมู่ที่ 2 ต.วังประจบ อ.เมือง จ.ตาก หรือที่เบอร์โทรศัพท์ 08-4492-4406.



ที่มา : เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/944057/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2011 8:02 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 4:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

585. สับปะรดพันธุ์ใหม่ ของดี จ.ระยอง







เป็นประเทศที่มีการส่งออกสับปะรดแปรรูปบรรจุกระป๋องมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีส่วนแบ่งของตลาดสับปะรดกระป๋องมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของตลาดโลก ประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกสับปะรดมากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท สายพันธุ์สับปะรดที่ปลูกเข้าสู่อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องนั้นคือ สายพันธุ์ “ปัตตาเวีย” มีพื้นที่ปลูกเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศอยู่ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 300,000 ไร่ และพื้นที่อื่น ๆ อีก 300,000 ไร่ ปลูกกระจายอยู่ที่ จ.ระยอง, จ.จันทบุรี, จ.ชลบุรี, จ.เพชรบุรี, จ.ชุมพร ฯลฯ ปัจจุบันจากข้อมูลพบว่าผลผลิตสับปะรดที่ปลูกได้ในประเทศไทย 70-80 เปอร์เซ็นต์ ปลูกเพื่อส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเป็นสับปะรดกระป๋องและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสับปะรด เช่น น้ำสับปะรดเข้มข้น, สับปะรดกวน และสับปะรดสดแช่แข็ง เป็นต้น ส่วนที่เหลืออีก 20-30 เปอร์เซ็นต์ เป็นการใช้เพื่อบริโภคสดภายในประเทศ ประเทศไทยนั้นเป็นอันดับหนึ่งในการผลิตและส่งออกสับปะรดกระป๋อง แต่ถ้าพูดถึงการส่งออกสับปะรดในรูปสับปะรดผลสดนั้น ถือว่าไทยเรามีการส่งออกน้อยมาก

คุณสราวุธ เรืองเอี่ยม บ้านเลขที่ 82 หมู่ 5ต.แม่น้ำคู้ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง 21140 โทร. 08-1862-0073 เป็นบุคคลหนึ่งที่ทำงานด้านสับปะรดมากว่า 20 ปี ทั้งการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สับปะรดได้เปิดตัวสับปะรดบริโภคสดจากฮาวายชื่อพันธุ์ “MD2” ที่ทั่วโลกกำลังเร่งการปลูกและผลิตเพื่อแข่งขันกันในตลาดโลกในขณะนี้

สับปะรดพันธุ์ “MD2” เป็นสับปะรดที่พัฒนาขึ้นที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกา โดยมีคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งภายในและภายนอก เช่น ภายในคือเรื่องของรสชาติที่หวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อมีสีเหลืองเข้ม (คล้าย ๆ กับสับปะรดพันธุ์ภูเก็ตหรือตราดสีทองบ้านเรา) เนื้อตัน แน่น ไม่เป็นโพรง จากข้อมูลพบว่า มีวิตามิน ซี.สูงถึง 4 เท่า ของสับปะรดพันธุ์อื่น เมื่อทานแล้วไม่กัดลิ้น ผลแก่จะเปลี่ยนจากผิวสีเขียวเป็นสีเหลืองทองทั้งผล ทำให้เป็นที่ดึงดูดลูกค้าเป็นอย่างมาก จากการปลูกสับปะรดพันธุ์ “MD2” พบว่า สามารถบังคับให้ต้นสับปะรดออกดอกได้ง่ายและมีอายุการเก็บเกี่ยวที่เร็วกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย ลักษณะของใบพันธุ์ “MD2” จะมีสีเขียวตลอดทั้งใบ แต่ใบของสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียนั้นจะมีเส้นสีม่วงตรงกลางใบ และจุดเด่นอีกประการของสับปะรดพันธุ์ “MD2” นั้นคือ สามารถส่งออกทางเรือได้โดยไม่เป็น “ไส้สีน้ำตาล” เมื่อเปรียบเทียบกับสับปะรดปัตตาเวีย ตัวอย่างเช่น อยู่ในห้องเย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส นานสัก 10 วัน ผลสับปะรดจะเกิดไส้สีน้ำตาลโดยรอบ ๆ แกนสับปะรดมันจะเป็นสีน้ำตาล

ปัจจุบันนี้สับปะรดพันธุ์ “MD2” เป็นที่รู้จักและกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก เมื่อ 3 ปีที่แล้วลิขสิทธิ์คุ้มครองสายพันธุ์ได้หมดลงไป ทำให้หลาย ๆ บริษัทกำลังเร่งขยายสับปะรดสาย “MD2” เป็นการเร่งด่วนเพื่อแข่งขันทางการตลาดเพราะทราบดีว่าสับปะรด “MD2” ตลาดให้การยอมรับและมีแนวโน้มของความต้องการสูงขึ้นมากเป็นลำดับ.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/946358/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2011 9:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 4:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

586. ปรับแผนแจกที่ดินเกษตรกร


ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เปิดเผยว่า ส.ป.ก. ได้ดำเนินโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยใช้กลไกวิทยาลัยและเทคโนโลยีในสังกัด (สอศ.) เป็นฐานการฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความพร้อมในองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และในปีที่ผ่านมาได้สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่แล้ว 3,690 ราย และในปีนี้จะเร่งสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่อีก 7,380 ราย ใช้งบประมาณกว่า 33 ล้านบาท โดยการขับเคลื่อนเกษตรกรรุ่นใหม่นอกจากจะมุ่งเน้นการเรียนรู้ของเกษตรกร ยังให้ความสำคัญกับกระบวนการติดตามผลและพัฒนาต่อเนื่องเมื่อเกษตรกรเข้าสู่ที่ดิน เพื่อให้เข้าสู่อาชีพได้จริง

นอกจากนี้ภายใต้หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ยังมีแผนเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรได้เตรียมความพร้อมตนเองมากขึ้น หลังผ่านการฝึกอบรม ระยะเวลา 3 เดือนแล้วยังสามารถเข้าสู่ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ได้จัดเตรียมความพร้อมของสาธารณูปโภคทางการเกษตรไว้กว่า 6 แห่งทั่วประเทศให้เกษตรกรได้ทดลองทำกินในที่ดินร่วมกันในลักษณะกลุ่มในระยะเวลา 1 ปี เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลผลิตที่ผลิตนั้นมีความเหมาะสมและมีตลาดรองรับอย่างแน่นอน จนเกิดความเชื่อมั่นและชำนาญในอาชีพก่อนที่จะรับจัดสรรที่ดินเป็นรายบุคคลต่อไป.



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/944834/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2011 8:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 4:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

587. เกษตรไทยใน 4 ปี ข้างหน้า





นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายการบริหารราชการให้แก่ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันก่อน ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยเนื้อหาใจความพบว่า จะดำเนินการใน 4 ปีนั้นมุ่งไปที่การพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศที่มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล จำนวน 3 นโยบาย คือ นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก นโยบายเศรษฐกิจด้านนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร และ นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งหมด 10 โครงการ โดยใช้งบประมาณ 229,561.60 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. นโยบายที่เร่งดำเนินการในปีแรก คือ เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 3.35 ล้านไร่ และเร่งรัดช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติ โดยส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน เพื่อให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้น้ำและการผลิต ส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์

2. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการ การทำให้มูลค่าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น โดยจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก การลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต พร้อมทั้งเสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน

3. นโยบายที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายบริหารจัดการพื้นที่ทำการประมงและแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ ได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่าปีละ 8.8 ล้านไร่ และ 60 แห่ง โดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยการฟื้นฟูทะเลไทย จัดสร้างและขยายปะการังเทียมและหญ้าทะเล เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนและแก้ไขกฎระเบียบ สามารถใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนได้ การจัดที่ดินโดยให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า แผนงานและโครงการที่กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งรัดดำเนินการจะมีทั้งการต่อยอดโครงการเดิมให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่การเกษตรมากยิ่งขึ้น รวมถึงโครงการใหม่ที่มีทั้งแผนงานโครงการระยะสั้นและระยะยาวรวมทั้งหมด 10 โครงการ แบ่งเป็น แผนระยะสั้นที่มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (พ.ศ. 2555-2557) ประกอบด้วย
1. โครงการจัดระบบการปลูกข้าว วงเงิน 880.04 ล้านบาท
2. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วงเงิน 1,607.78 ล้านบาท

โครงการระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ.2555-2558) ประกอบด้วย
1. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาคเกษตร วงเงิน 4,615.80 ล้านบาท
2. โครงการป้องกันบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในระดับประเทศ วงเงิน 177,292.68 ล้านบาท
3. โครงการแหล่งน้ำในไร่นาและชุมชน วงเงิน 19,812.36 ล้านบาท.



http://thairecent.com/Agriculturist/2011/944832/
ที่มา: เดลินิวส์


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2011 8:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 4:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

588. ปลูกปาล์มน้ำมัน แบบเกษตรอินทรีย์





นิคมสหกรณ์หลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร นิคมการเกษตรพืชอาหารและพลังงานทดแทนในเขตนิคมสหกรณ์ แม่แบบบริหารจัดการรูปแบบขบวนการสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีเป้าหมายในการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศให้มีความยั่งยืน มั่นคง ทิศทางการพัฒนาในพื้นที่นิคมการเกษตร มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมวิธีคิด องค์ความรู้และการบริหารจัดการ การรวมกลุ่มในการสร้างรายได้ ลดรายจ่ายตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การผลิตเพื่อจำหน่าย จะเน้นรูปแบบการตลาด นำการผลิตปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มด้านการแปรรูป เชื่อมโยงสู่ระบบอุตสาหกรรมการเกษตรและพลังงานจากพืชทดแทนเพื่อลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิง

นายณรงค์ วชิรปาณี ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์หลังสวน เปิดเผยว่า การดำเนินงานของนิคมสหกรณ์โครงการแรกเป็นโครงการเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง โครงการที่สองเป็นโครงการของกระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะโครงการของนิคมการเกษตรที่มีการดำเนินงานให้ตรงกับหลักของสมาชิกสหกรณ์ ที่ผ่านมามีการพัฒนาทั้งสองด้าน จากการที่เกษตรกรไม่มีความรู้เรื่องปาล์มน้ำมัน แต่หลังจากผ่านการอบรมเพิ่มพูนความรู้แล้วก็สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้จริง และยังทำให้ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้นเป็นลำดับ นับได้ว่านิคมสหกรณ์สามารถบริหารจัดการเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะใน 3 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมปาล์มเพื่อการปฏิรูป การจัดหาวัสดุที่สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกร และในเรื่องของธุรกิจสินเชื่อ เป็นการช่วยเหลือสมาชิก เป็นการบูรณาการระหว่างนิคมสมาชิกและกรรมการให้สามารถทำงานร่วมกันได้

นางอุบล คงเหล่ ประธานกลุ่มชุมชนตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่โครงการนิคมสหกรณ์หลังสวน เกษตรกร หมู่ 2 ต.ทุ่งหลวง อ.ละแม จ.ชุมพร กล่าวว่า การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้กับภาคการเกษตรนั้น นับว่ามีความสำเร็จเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด มาใช้ในการบำรุงต้น และใช้ทะลายปาล์มมาคลุมโคนเพิ่มความชุ่มชื้น การเพาะปลูกพืชผักสวนครัว การทำขนม และกิจกรรมอื่น ๆ ตามโครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะในสวนปาล์มซึ่งเมื่อก่อนปาล์มไม่มีลูกเลย แต่การเข้าร่วมโครงการโดยการใส่ทะลายปาล์ม ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ ขี้วัว และใส่น้ำชีวภาพ จะทำให้ประหยัดต้นทุนได้ค่อนข้างมาก

สำหรับการตัดทะลายปาล์มเพื่อคลุมดินไว้จะทำให้สภาพดินมีความชุ่มชื้น ทะลายปาล์มยังช่วยล้อมปุ๋ยไม่ให้ออกนอกโคนปาล์มเวลาฝนตกดินก็จะไม่ชะล้างออกไป ปุ๋ยเคมีเราจะใส่น้อยลง อย่างเช่นปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมีเมื่อก่อนจะใส่ 6 กก. แต่ปัจจุบันลดลงเหลือแค่ 1 กก. เท่านั้น เป็นการลดปริมาณค่าใช้จ่ายปุ๋ยลงได้ แปลงทดลองของระบบเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้คัดเลือกเอาแปลงที่มีปัญหา เพื่อดูว่าหลังจากที่เราได้มีการเปลี่ยนแปลงการดูแลแล้วจะเป็นอย่างไร

ด้านนายสมบูรณ์ พูลสวัสดิ์ เกษตรกรแกนนำ ผู้เข้าร่วมโครงการนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน กล่าวถึงการได้รับการสนับสนุนจากนิคมสหกรณ์ว่า การดำเนินชีวิตโดยใช้ปุ๋ยคุณภาพ อาทิ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยหมัก เพื่อลดการใช้สารเคมี รวมถึงบริหารจัดการระบบน้ำเข้าสู่แปลงปลูกโดยการขุดสระน้ำ เพื่อใช้ในสวนปาล์ม ได้ปลูกปาล์มมากว่า 30 ปี แต่เพิ่งจะเห็นผลผลิตที่ชัดเจนเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้ตัดสินใจเข้าสู่โครงการเศรษฐกิจพอเพียง แม้การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลจริง แต่ก็ได้ผลเพียงระยะสั้น แต่การปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ ทำให้พืชผลดีขึ้นในระยะยาว.



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/944836/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2011 8:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 4:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

589. ลดต้นทุน 'มันสำปะหลัง' ได้...ง่ายนิดเดียว





ไทยเป็นแหล่งผลิต “มันสำปะหลัง” ที่มีศักยภาพสูง แต่ปัจจุบันผู้ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่ประสบปัญหาต้นทุนการผลิต ที่ขยับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีที่มีราคาค่อนข้างแพง ขณะที่การใช้ปุ๋ยของเกษตรกรยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าการลงทุน ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะหมดไปได้ หากเกษตรกรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำง่าย ๆ นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังแล้ว ยังสามารถช่วยลดต้นทุนได้อีกด้วย

นายสุกิจ รัตนศรีวงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีปัญหาการใส่ปุ๋ยไม่ถูกสูตร ไม่ถูกอัตรา ไม่ถูกเวลา และไม่ถูกวิธีส่วนใหญ่มีความเคยชินกับการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราตั้งแต่ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งไม่สอดคล้องกับปริมาณธาตุอาหารในดิน และไม่ตรงกับความต้องการธาตุอาหารของมันสำปะหลัง การที่เกษตรกรไม่ได้ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ถือเป็นการใช้ปุ๋ยในปริมาณมากเกินความต้องการของพืช ทำให้สิ้นเปลืองและมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น

ดังนั้น เกษตรกรจึงควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยก่อนปลูกมันสำปะหลังควรเก็บตัวอย่างดินและตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยได้ถูกสูตรและเหมาะสมกับสภาพดินแต่ละพื้นที่ เบื้องต้นมีสูตรปุ๋ยใกล้เคียง 4 สูตร ที่เกษตรกรสามารถเลือกใช้ให้สอดคล้องกับค่าวิเคราะห์ดินในแปลงของตนเอง ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 16-16-8, สูตร 16-8-8, สูตร 13-13-21 และปุ๋ยสูตร 15-7-18 แนะนำให้ใช้ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่เพียงครั้งเดียวหลังจากปลูก 1-3 เดือน เมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ โดยโรยปุ๋ยสองข้างของต้นมันสำปะหลังตามแนวกว้างของพุ่มใบ แล้วต้องพรวนดินกลบด้วย

จากการที่ได้ส่งเสริมให้ชาวไร่มันสำปะหลัง จำนวน 100 แปลง รวมพื้นที่ 760 ไร่ กระจายอยู่ใน 16 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เป็นแปลงต้นแบบการจัดการปุ๋ย โดยให้ตรวจวิเคราะห์ดินก่อนที่จะปลูกมันสำปะหลังด้วยชุดตรวจวิเคราะห์ดินแบบรวดเร็ว (Soil Test Kit) พร้อมแนะนำเทคนิคการใส่ปุ๋ยมันสำปะหลังให้สอดคล้องตามค่าวิเคราะห์ดินแต่ละแปลง โดยให้ใส่ปุ๋ยเพียงครั้งเดียวหลังปลูก 1-3 เดือน อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นกับปริมาณธาตุอาหารในดิน พบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจและยอมรับเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยนี้ เนื่องจากมันสำปะหลังในแปลงต้นแบบเจริญเติบโตดีกว่า ทั้งยังมีใบสีเขียวเข้มและมีความแตกต่างเมื่อเทียบกับแปลงข้างเคียงที่จัดการปุ๋ยแบบเดิมซึ่งเป็นวิธีของเกษตรกร (ไม่ตรวจวิเคราะห์ดิน)

การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใส่ปุ๋ยเพียงครั้งเดียว มีข้อดี คือ ช่วยประหยัดแรงงานในการใส่ปุ๋ย นอกจากนี้ยังใส่ปุ๋ยได้ทันเวลาตามความต้องการของต้นพืช ปุ๋ยไม่สลายไปกับน้ำหรือแสงแดดทำให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขณะเดียวกันยังสามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยได้ค่อนข้างมาก ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรได้ถึง 300-400 บาทต่อไร่ และทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 20-25%

หากว่าผู้ปลูกมันสำปะหลังสนใจเทคโนโลยี “การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน” สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โทร. 0-4432-5048 หรือศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน.



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/943319/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2011 8:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 4:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

590. ใช้น้ำหมักจากสารเร่ง เลี้ยงไก่เนื้อ ทำน้ำหนักเพิ่ม





เคยเห็นแต่เกษตรกรนำผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. ของกรมพัฒนาที่ดิน ไปใช้เพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีโดยลดการพึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร แต่มาวันนี้มีเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่ได้ริเริ่มนำสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ใช้ผลิตน้ำหมักชีวภาพได้นำมาใช้กับไก่เนื้อ ภูมิปัญญาซึ่งผลเป็นที่น่าพอใจด้วยอัตราแลกเนื้อที่เพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์รอดตายมีสูง

นายเจริญ วัตตา เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อด้วยน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 และในฐานะหมอดินอาสาประจำตำบลสระแก้ว อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เล่าว่า จากการสมัครเข้าเป็นหมอดินอาสากับทางสถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช ก็ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ สารเร่ง พด. ต่าง ๆ ในการผลิตสารปรับปรุงบำรุงดิน โดยเฉพาะสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่นำมาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งตนก็ได้นำมาใช้กับพืชผัก สวนปาล์มน้ำมัน ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจคือช่วยลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร อีกทั้งยังช่วยให้พืชผลเจริญเติบโตดีขึ้น มีความทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช เมื่อเห็นว่าสามารถใช้กับพืชได้ผล ก็ได้คิดค้นภูมิปัญญาของตนเองลองมาใช้กับปลาด้วยการนำไปผสมกับอาหารปลา ปรากฏว่าปลาไม่ตาย แถมยังโตและมีน้ำหนักดีขึ้น รวมทั้งน้ำไม่เน่าเสีย

จากนั้นจึงทดลองนำมาเลี้ยงไก่ โดยเริ่มจากคัดไก่มาจำนวน 10-15 ตัว แยกเลี้ยงด้วยน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ผสมกับน้ำ ในอัตรา 5 ซีซี ต่อน้ำ 5 ลิตร ให้ไก่กิน และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ขึ้น จนถึง 20 ซีซี ทดลองอยู่ประมาณ 3 รุ่น ปรากฏว่าไก่ที่กินน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 มีอาการเหงาหงอยลดลง อัตราการรอดสูงขึ้น

หลังจากเห็นผลเป็นที่น่าพอใจจากการแค่ผสมกับน้ำให้ไก่กิน จึงต่อยอดนำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ไปผสมกับอาหารเลี้ยงไก่ด้วย สำหรับสูตรอาหารไก่นั้น หมอดินเจริญ เผยว่า ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 หมักกับปลา 10 กิโลกรัม รวมทั้งขนุนหรือกล้วยน้ำว้า เปลือกสับปะรด แตงโม เรียกว่ามีอะไรที่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือในครัวเรือนก็สามารถนำมาผสมได้ทั้งนั้น แต่ด้วยพื้นที่ในละแวกฟาร์มจะมีการเลี้ยงกุ้งจำนวนมาก จึงมีกุ้งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่ไม่ต้องซื้อหารวมทั้งปลาที่เลี้ยงไว้เองมาหมักทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งจากการสังเกตพบว่า ไก่จะชอบส่วนผสมจากน้ำหมักชีวภาพที่เป็นกุ้งกับปลาเป็นวัตถุดิบมากกว่าผลไม้ แต่ถ้าพื้นที่ไหนไม่มีก็ไม่ต้องกังวลเพราะไก่ก็กินเหมือนกัน

ก่อนหน้านี้หมอดินเจริญ ไม่กล้านำวิธีนี้ไปถ่ายทอดให้คนอื่นเพราะกลัวว่าจะทำให้เขาเสียหาย จนกระทั่งได้นำภูมิ ปัญญาของตนเองทดลองเป็นที่แน่ชัดว่าไม่มีผลเสียแต่อย่างใด จึงเริ่มที่จะเปิดเผยข้อมูลให้กับเพื่อนเกษตรกรที่เลี้ยงไก่เนื้อ

ถ้าท่านใดสนใจภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่ด้วยน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ติดต่อได้ที่ นายเจริญ วัตตา บ้านเลขที่ 90/2 หมู่ 4 ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช.



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/943324/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2011 8:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 4:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

591. เร่งสำรวจน้ำบาดาล...แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ





ในการป้องกันและแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐ จะต้องดำเนินการวางแผน และบริหารจัดการน้ำทุกระบบในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำบาดาล โดยเฉพาะแหล่งน้ำบาดาล ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งน้ำสำรองที่สำคัญ จะต้องมีการวางแผนบริหารจัดการข้อมูลแหล่งน้ำบาดาลที่ถูกต้อง ชัดเจน ทันสมัย ครบถ้วน เพื่อที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงได้จัดทำโครงการสำรวจแหล่งน้ำบาดาลทางอากาศด้วยวิธี Airborne Electromagnetic(AEM) และด้วยวิธี Time-Domain Electromagnetic (TDEM) ครั้งแรกของ ประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะช่วยในการสำรวจได้รวดเร็วขึ้น และได้ข้อมูลที่ละเอียดครบถ้วน ไม่ถูกจำกัดด้วยสภาพภูมิประเทศเหมือนการสำรวจภาคพื้นดิน

นายสัมฤทธิ์ ชุษณะทัศน์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่าสำหรับ “โครงการนำร่องการสำรวจแหล่งน้ำบาดาลด้วยวิธีธรณีฟิสิกส์ขั้นสูงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการแพร่กระจายตัวความหนาที่แน่นอนของชั้นน้ำบาดาลแต่ละชั้น รวมทั้งศักยภาพแหล่งน้ำบาดาลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพทุกระดับชั้นน้ำบาดาล หลังจากนั้นจะนำข้อมูลมาจัดทำแผนดำเนินงานในการบริหารจัดการแหล่งน้ำบาดาลให้สมดุลและยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเทคนิคด้านงานสำรวจและระบบฐานข้อมูลธรณีฟิสิกส์ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลให้ทันสมัย นอกจากนี้ กรมฯ คาดว่าการจัดทำโครงการดังกล่าวจะสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพให้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งจุดมุ่งหมายของการดำเนินการที่เป็นการนำร่องครั้งนี้นอกจากการบินสำรวจ การแปลความหมาย เพื่อให้ได้ในเรื่องของน้ำต้นทุน เรื่องของสภาวะแวดล้อม และสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ ไอที แล้ว ยังมุ่งหวังที่จะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ทาง ไอที โดยไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในประเทศไทย ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้

สำหรับพื้นที่ดำเนินการนำร่องโครงการฯ นั้น เริ่มแรกได้ดำเนินการในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอไทรงามและอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร โดยพื้นที่สำรวจในโครงการจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีการใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีการนำน้ำจากระบบชลประทานซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร มาเสริมในช่วงฤดูแล้ง แต่การเสียสมดุลที่มีอยู่มาก เป็นเหตุให้น้ำบาดาลลดระดับทั่วไปในพื้นที่โครงการ ทำให้น้ำบาดาลไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้จำเป็นต้องสำรวจและเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้นคาดว่าการจัดทำโครงการสำรวจแหล่งน้ำบาดาลทางอากาศด้วยวิธี AEM และด้วย วิธี TDEM ครั้งนี้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ทุรกันดารของไทยได้ในอนาคต.



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/944052/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2011 8:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2011 4:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

592. ความมั่นคงด้านอาหาร



นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิเวศของนาข้าว ซึ่งก่อตั้งขึ้นภายใต้คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทยร่วมกับ เครือข่ายนานาชาติด้านน้ำและระบบนิเวศของนาข้าว (INWEPF) ได้จัดประชุมวิชาการ เรื่อง “Crucial Roles of Paddy Fields associated with Water Management and Environment”

ทั้งนี้การประชุมวิชาการดังกล่าวเป็นไปตามแผนงานและกิจกรรมที่ INWEPF วางไว้ที่จะดำเนินการในช่วงปี 2554-2555 เพื่อเป็นการบูรณาการความรู้ และข้อมูลของศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนเพื่อการจัดการน้ำและระบบนิเวศของนาข้าวอย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดทำแนวทางการสร้างความเข้าใจในระบบของนาข้าวที่มิได้เป็นเพียงแหล่งผลิตอาหารหลักเท่านั้น แต่นาข้าวยังเอื้อประโยชน์ต่อระบบนิเวศโดยรอบด้วย เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับนาข้าว

สำหรับสมาชิกของ INWEPF ในปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 17 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น กัมพูชา บังกลาเทศ จีน เนปาล อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา เวียดนาม อียิปต์ ปากีสถาน อินเดีย และไทย

ซึ่งในอนาคตคณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิเวศของนาข้าวจะส่งเสริมให้ INWEPF Thai Committee เข้าไปมีบทบาทในเวทีนานาชาติให้มากขึ้นเพื่อให้นานาชาติทราบถึงศักยภาพของประเทศไทยในด้านความมั่นคงทางอาหารและการบรรเทาความยากจน การใช้น้ำอย่างยั่งยืน และการเป็นหุ้นส่วน ซึ่งจะเห็นได้จากมติที่ประชุม 7th Steering Meeting ได้มอบให้ INWEPF Thai Committee เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม 10th Steering Meeting ที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2556.



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/944054/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 9:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

593. ข้าวนาปี - ข้าวนาปรัง ....


* ข้าวนาปี หรือ ข้าวนาน้ำฝน (rained rice)

* ข้าวนาปรัง (off-season rice)


การปลูกข้าวของไทยแบ่งฤดูการปลูกข้าวออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูนาปรัง ฤดูนาปี

โดยพันธุ์ ข้าวที่เกษตรกรนิยมปลูก มีทั้งข้าวพันธุ์ไวแสงและไม่ไวแสง พันธุ์ที่ปลูกได้ทั้งฤดูนาปี และฤดูนาปรัง

ในเขตที่สามารถควบคุมน้ำได้ทุกภาค เช่น กข 7 กข 21 กข 23 คลองหลวง 1 และสุพรรณบุรี 1

ส่วนพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมปลูกในฤดูนาปรัง จำนวน 2 กลุ่ม คือ ข้าวพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ราชการ เช่น กข 10 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 ชัยนาท 1 พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด คือ ชัยนาท 1 เพราะให้ผลผลิตต่อพืชไร่สูง


พันธุ์ที่ปลูกในฤดูนาปี แบ่งพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรใช้ปลูกออกเป็น 2 กลุ่ม เช่นเดียวกับนาปรัง คือ พันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ข้าราชการ เช่น พันธุ์ กข 6 กข 15 กข 27 ข้าวดอกมะลิ105 และสุพรรณบุรี 90 เก้ารอง 86 ขาวตาแห้ง ขาวปากหม้อ ปทุมธานี 60 เหลืองใหญ่ พัทลุง 60 นางนวลเอส-4 เหลืองประทิว 123 เหนียวสันป่าตอง พวงไร่ 2 นางพญา 132 ขาวตาแห้ง 17 และเมือกน้ำ

พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด คือ พันธุ์ กข 6 มีเนื้อที่ปลูกประมาณ 15.987 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.91 ของเนื้อที่ปลูกข้าวทั้งหมด จะปลูกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สิ่งที่จำเป็นในการปลูกและการเพิ่มผลผลิตข้าวต้องอาศัยการปฏิบัติที่ถูกต้องตั้งแต่-

- เมล็ดพันธุ์ข้าว
- การบำรุงรักษาดิน
- การเตรียมดิน
- การเตรียมแปลง
- การกำหนดเวลาปลูกข้าวให้เหมาะสม
- การป้องกันและกำจัดวัชพืชเวลา
- ปริมาณปุ๋ยที่ควรใส่ การดูแลรักษา
- เก็บเกี่ยว

ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปลูกและการเพิ่มผลผลิตของข้าว




แหล่งข้อมูล
http://www.agric-prod.mju.ac.th/agronomyi
http://iam.hunsa.com/benz1709/article/11361
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 9:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

594. เรื่องข้าวน่ารู้


ข้าวเป็นพืชอาหารหลักที่สำคัญของประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 50 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรของประเทศ ในการปลูกข้าวของไทยนั้นมีพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูก อยู่มากมาย ซึ่งแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะภายนอกแตกต่างกัน เช่น ขนาดและสีของเมล็ดข้าวเปลือก ขนาดและสี ของเมล็ดข้าวกล้อง สีของกาบใบและแผ่นใบ สีของข้อ ขนที่ใบ อายุและความไว ต่อช่วงแสง ความสูงของต้น ความกว้างของแผ่นใบ คุณภาพในการหุงต้มและรับประทาน ความสามารถในการทนน้ำลึกและขึ้นน้ำ
ความทนแล้งและอากาศหนาว ฯลฯ


เนื่องจากพื้นที่การปลูก ข้าวในบ้านเรามีอยู่ทั่วทุกภาค แต่ละภาคก็จะมีสภาวะแวดล้อมแตกต่างกัน จึงมีพันธุ์ข้าวที่ใช้ ปลูกในแต่ละภาคเป็นจำนวนมาก และจากการรวบรวมพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ พบว่าพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 3,000 พันธุ์


จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวทั้งโดยการศึกษา และคัดเลือกพันธุ์ของสถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยสูง เหมาะสมแก่สภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละท้องถิ่นและฤดูต่างๆ ของการปลูกข้าว

ซึ่งจากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวดังกล่าวทำให้ได้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมให้ปลูกในภาคต่างๆ หลายพันธุ์ด้วยกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของพันธุ์ข้าวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 11 พันธุ์ และพันธุ์ข้าวที่ยังมีการผลิตเพื่อการขยายพันธุ์และส่งเสริมแก่เกษตรกร จำนวน 41พันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่คัดเลือกจากพันธุ์พื้นเมืองจำนวน 21 พันธุ์ และพันธุ์ข้าวพันธุ์ผสมจำนวน 20 พันธุ์



การจำแนกประเภทของพันธุ์ข้าว

ก. แบ่งตามพื้นที่ปลูกได้ 3 ชนิด คือ
1. ข้าวไร่ (Upland Rice)
เป็นข้าวที่ใช้ปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำขัง มีสภาพเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ ซึ่งได้แก่ที่ๆ เป็นเนินสูง ภูเขา เพราะข้าวไร่มีการแตกกอ และให้ผลผลิตสูงในสภาพดังกล่าวหรือปลูกแซมในสวนยางที่ปลูกใหม่ในช่วง 1-2 ปีแรก ข้าวไร่ส่วนใหญ่จะปลูกด้วยวิธีหยอดผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 25-30 ถัง


2. ข้าวนาสวน (Lowland Rice)
เป็นข้าวที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ ที่มีระดับนำตั้งแต่ 5-I0 เซนติเมตรจนถึงพื้นที่ ที่มีระดับน้ำลึกไม่เกิน 80 เซนติเมตร ข้าวนาสวนส่วนใหญ่จะปลูกโดยวิธีปักดำ ผลผลิตเฉลี่ยข้าวนาสวนต้นสูงไร่ละ 30 ถัง ข้าวนาสวนต้นเตี้ยไร่ละ 50 ถัง


3. ข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวฟางลอย (Deep Water or Floating Rice)
เป็นข้าวที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับน้ำตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไปจนถึง 3-4 เมตร แต่พื้นที่ส่วนใหญ่จะมีระดับน้ำประมาณ 1-2 เมตร ข้าวนาเมืองส่วนใหญ่จะปลูกโดยวิธีหว่านข้าวแห้ง หรือที่ชาวนาเรียกว่า หว่านสำรวย ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 20-30 ถัง คุณภาพข้าวที่ได้จะต่ำกว่าข้าวนาสวน ทำให้ราคาข้าวเปลือก ต่ำกว่าตันละ 100- 200 บาท เพราะเมล็ดข้าวมีท้องไข่มาก



ข. แบ่งตามฤดู แบ่งออกได้เป็น 3 พวก คือ
1. ข้าวนาปี หรือข้าวไวต่อช่วงแสง (Photoperiod sensitive Varaities)
เป็นพันธุ์ข้าว ที่ต้องการช่วงแสงสั้นต่อวันในการที่จะเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบมาเป็นการเจริญเติบโตทางสืบพันธุ์ กล่าวคือ พันธุ์ข้าวดังกล่าวจะออกดอกในระยะเวลาที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน ซึ่งข้าวแต่ละพันธุ์จะต้องการช่วงแสงที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่จะสั้นกว่า 12 ชั่วโมง จึงมีการแบ่งพันธุ์ข้าวนาปีออกเป็นพันธุ์ข้าวเบา ข้าวกลางและข้าวหนัก

ข้าวเบา คือ ข้าวที่ออกดอกระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม
ข้าวกลาง คือ ข้าวที่ออกดอกระหว่างปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
ข้าวหนัก คือ ข้าวที่ออกดอกในระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม


2. ข้าวนาปรัง ข้าวนอกฤดูหรือข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง (Photoperiad insensitive Varieties)
เป็นพันธุ์ข้าวที่สามารถปลูกได้ตลอดปี เมื่อมีอายุครบตามกำหนดก็จะออกดอก ออก
รวงและเก็บเกี่ยวได้ แต่อายุของพันธุ์ข้าวเหล่านี้จะสั้นหรือยาวขึ้นก็ได้ตามช่วงวันที่ปลูก ถ้าปลูกในช่วงวันสั้นก็จะอายุสั้นลง และถ้าปลูกในช่วงวันยาวก็จะมีอายุยาวขึ้น


ค. แบ่งตามประเภทการบริโภค หรือประเภทของเนื้อแป้งในเมล็ดข้าวสาร
1. ข้าวเหนียว (glutinous rice or waxy rice) เป็นข้าวที่มีเมล็ดข้าวสารสีขาวขุ่น เมื่อนึ่งแล้วจะได้ข้าวสุกที่จับตัวติดกันเหนียวแน่นและมีลักษณะใส นิยมบริโภคกันมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียง-เหนือ ประกอบด้วยแป้งชนิดอะไมโลสเพ็คติน (amylopectin) เป็นส่วนใหญ่มีแป้งอะไมโลส (amylose) อยู่เพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย

2. ข้าวเจ้า (nonglutinous rice) เป็นข้าวทีมีเมล็ดข้าวสารใส ข้าวสุกมีสีขาวขุ่นและร่วนกว่าข้าวเหนียว ข้าวเจ้าแต่ละพันธุ์เมื่อหุงสุกแล้วมีความนุ่มเหนียวแตกต่างกัน นิยมบริโภคเป็นส่วนใหญ่ในภาคกลางและภาคใต้ ข้าวเจ้ามีปริมาณแป้งอะไมโลสประมาณ 7-33 % ที่เหลือเป็นอะไมโลเพ็คติน


การเจริญเติบโตของต้นข้าว (Plant Growth) ?แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
1. การเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ (Vegatative Growth) การเจริญเติบโตในช่วงนี้แบ่ง 2 ระยะ คือ
1.1 ระยะกล้า (Seedling stage) เริ่มตั้งแต่ต้นข้าวเริ่มงอกจากเมล็ด จนกระทั่งต้นข้าว เริ่มแตกกอ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 20 วัน ต้นข้าวจะมีใบ 5-6 ใบ

1.2 ระยะแตกกอ (Tillering stage) เริ่มจากต้นข้าวแตกกอจนกระทั่งเริ่มสร้างดอกอ่อน ระยะนี้ใช้เวลา 30- ?50 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว

2. การเจริญทางสืบพันธุ์ (Reproductive growth) เริ่มจากต้นข้าวสร้างดอกอ่อน (PanicleI nitiation) ตั้งท้อง (Booting) ออกดอก (Flowering) จนถึงการผสมพันธุ์ (Fertilization) เป็นการสิ้นสุดการเจริญทางสืบพันธุ์ กินเวลาประมาณ 30-55 วัน

3. การเจริญทางเมล็ด (Grain Development) เริ่มจากการผสมพันธุ์ของดอกข้าว เมล็ดเป็นน้ำนม (Milky) เป็นแป้ง (Dough) จนกระทั่งเมล็ดสุก (Ripening grain) จะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 25-30 วัน

ดังนั้น การเจริญเติบโตของต้นข้าวในการที่จะให้ผลผลิต ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวนาปรังจะใช้เวลาตั้งแต่งอกจนกระทั่ง เก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน ส่วนพันธุ์ข้าวนาปี จะใช้เวลา ประมาณ 120-140 วัน


ข้อกำหนดและคำจำกัดความเกี่ยวกับข้าวบางประการที่ควรทราบ
1. ข้าวพันธุ์ดี เป็นพันธุ์ข้าวรัฐบาลที่มีการขยายพันธุ์เผยแพร่ออกสู่ชาวนา เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง เมล็ดมีคุณภาพดี มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมบางชนิด และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น.

2. ความสูงของ ต้นข้าว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดพันธุ์ ความสมบูรณ์ของดิน ความสูงจากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ ฯลฯ แต่โดยทั่วไปกล่าวได้ดังนี้

- ข้าวต้นเตี้ย มีความสูงต่ำกว่า 120 เซนติเมตร
- ข้าวต้นสูงปานกลาง มีความสูงระหว่าง 120-140 เซนติเมตร
- ข้าวต้นสูง มีความสูงตั้งแต่ 141 เซนติเมตรขึ้นไป

3. ระยะพักตัว หมายถึง ช่วงเวลานับตั้งแต่เมล็ดแก่เต็มที่จนถึงเมล็ดงอกได้ร้อยละ 80 ความยาวในช่วงเวลานี้แตกต่างกันในแต่ละพันธุ์

4. ข้าวสุก หมายถึง คุณลักษณะของการรับประทานของข้าวสุก

5. ข้าวกล้อง หมายถึง เมล็ดข้าวที่กะเทาะเอาเปลือกออกเท่านั้น


ข้อเเนะนำในการเลือกใช้พันธุ์ข้าว
1. พิจารณาระดับน้ำ
- ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ส่วนใหญ่ต้นข้าวต้นเตี้ย ควรปลูกในที่ซึ่งควบคุมระดับน้ำในนาได้ น้ำไม่ควรลึกเกิน 25 เซนติเมตร
- ข้าวไวต่อช่วงแสง เป็นข้าวต้นสูง ควรปลูกในน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร
- นาที่มีระดับน้ำลึกกว่านี้ให้พิจารณาเลือกปลูกพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ


2. พิจารณาความต้านทานต่อโรคแมลง
ถ้าพื้นที่นาบริเวณใดมีโรคหรือแมลงชนิดใดระบาด ให้พิจารณาใช้พันธุ์ข้าวที่มี ความต้านทานต่อโรคหรือแมลงชนิดนั้น เช่น ท้องที่ใดมีโรคขอบใบแห้งระบาด ให้ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานโรคนี้ เช่น พันธุ์ กข 7 ถ้าท้องที่ใดมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และมีโรคจู๋ระบาดมากควรปลูกพันธุ์ กข 29 สุพรรณบุรี 3 เป็นต้น

3. พิจารณาความทนทานต่อสภาพแวดล้อม
- ท้องที่นาดินเค็ม ควรปลูกข้าวพันธุ์ทนดินเค็ม ได้แก่ พันธุ์น้ำสะกุย 9 พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์เหนียวสันป่าตอง

- ท้องที่นาดินเปรี้ยว ควรปลูกข้าวพันธุ์ทนดินเปรี้ยว ได้แก่ พันธุ์ดอกมะลิ 105 พันธุ์ กข 7 พันธุ์ตะเภาแก้ว 161 พันธุ์เล็บมือนาง 111 พันธุ์น้ำสะกุย 19

- ท้องที่นาน้ำฝน ซึ่งอาจจะประสบปัญหาฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วงในระหว่างการเจริญเติบโตควรปลูกข้าวทนแล้ง เช่น พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105


4. การปลูกข้าว ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง (พันธุ์ข้าวที่ปลูกได้ทั้งฤดูนาปี และนาปรัง) โดยวิธีหว่านน้ำตม จะเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าการปลูกโดยวิธีการดำประมาณ 10 วัน

5. ในด้านผลผลิต ถ้าชาวนาสามารถเลือกพันธุ์ได้เหมาะสมกับท้องที่ของตนและมีการบำรุงดูแลรักษาอย่างดี ในนาที่สมบูรณ์ ปลูกข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถให้ผลผลิตได้มากกว่า 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ในทำนองเดียวกัน ถ้าเป็นข้าวต้นสูง ไวต่อช่วงแสงจะสามารถให้ผลผลิตได้มากกว่า 600 กิโลกรัม/ไร่ อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ย ควรพิจารณาในด้านผลกำไรสูงสุดควบคู่ไปด้วย




http://nsw-rice.com/index.php/riceknowladge/64-generalrice/296-riceknowladge


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/09/2011 11:17 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 9:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

595. พันธุ์ข้าวเจ้า กข 41






ประวัติ
พันธุ์ข้าว กข41 ได้รับการรับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 จากสายพันธุ์ CNT96028-21-1-PSL-1-1 โดยการผสม 3 ทางระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของ CNT85059-27-1-3-2 กับสุพรรณบุรี 60 นำไปผสมกับ RP217-635-8 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทในฤดูนาปี 2539

ปลูกชั่วที่ 1-3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท และชั่วที่ 4-6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2541 ถึง ฤดูนาปรัง 2542

ปลูกศึกษาพันธุ์ฤดูนาปรัง 2543 และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีฤดูนาปี 2544 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก


จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก และศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทและลพบุรี ในฤดูนาปี 2545 ถึงฤดูนาปี 2550 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ตั้งแต่ฤดูนาปี 2546 ถึง ฤดูนาปี 2550

ทดสอบผลผลิตการยอมรับของเกษตรกร ตั้งแต่ฤดูนาปี 2547-2550 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาท และกำแพงเพชร

ทดสอบเสถียรภาพผลผลิต ในฤดูนาปี 2550 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี และพัทลุง

ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงให้ผลผลิตสูงสุด 1,104 กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำสุด 616 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกทุก 10 วัน ในรอบปี 2549

- อายุ 105 วัน
- ความสูง 104 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นแข็ง ใบสีเขียวตั้งตรง ใบธงตั้งตรง ยาว 35 เซนติเมตร กว้าง 1.6 เซนติเมตร
- ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดเรียว ยาว 10.4 มิลลิเมตร ขนาดข้าวกล้องยาว 7.73 มิลลิเมตร ข้าวสารยาว 7.3 มิลลิเมตร
- มีปริมาณแอมิโลสสูง 27.15 เปอร์เซ็นต์ ความคงตัวของแป้งสุกอยู่ในระดับแป้งอ่อน
- ระยะการไหลของแป้ง 77 มิลลิเมตร ข้าวเมื่อหุงสุกมีลักษณะร่วนและค่อนข้างแข็ง


ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 894 กิโลกรัมต่อ/ไร่ สูงกว่าสุพรรณบุรี 1 (795 กก./ไร่) พิษณุโลก 2 (820 กก./ไร่) สุพรรณบุรี 3 (768กก./ไร่) กข 29 (835 กก./ไร่) และชัยนาท 1 (812 กก./ไร่) คิดเป็นร้อยละ 23, ?5, 13, 4 และ 20 ตามลำดับ

2. ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้

3. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาว เรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้



พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล



ข้อควรระวัง
อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐม และปทุมธานี การปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน-พฤศจิกายน จะกระทบอากาศเย็น ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ



http://nsw-rice.com/index.php/riceknowladge/varity-rice/297-rd41


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/09/2011 11:18 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 9:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

596. ปทุมธานี 1





ข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นข้าวหอมลักษณะเหมือนข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปลูกได้ทั้งปีผลผลิตสูง


ลักษณะประจำพันธุ์:
• เป็นข้าวเจ้าหอม ไม่ไวแสง
• ความสูงเฉลี่ย 104-133 เซนติเมตร
• ทรงกอตั้งตรง ใบเขียวกาบใบมีขนปล้องเขียว รวงใต้ใบธง
• รวงยาว แน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ เมล็ดสีฟาง มีขน มีหาง
• คุณภาพข้าวสุก นุ่มคอนข้างเหนียว มีกลิ่นหอม


ลักษณะเด่น:
• คุณภาพเมล็ดคล้าย ข้าวหอมมะลิ
• ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว
• ต้านทานโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง
• ตอบสนองต่อปุ๋ยดี ผลผลิตสูง


พักตัว :
• 3-4 สัปดาห์


อายุเก็บเกี่ยว
• ประมาณ 104-126 วัน


ผลผลิต
• 650-774 กิโลกรัม/ไร่


ข้อแนะนำ
• พื้นที่นาชลประทานภาคกลาง


ข้อควรระวัง
• ไม่ควรใส่ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะ ไนโตรเจน (N) จะทำให้ต้นล้ม ผลผลิตลด
• ค่อนข้าง ไม่ต้านทาน เพลี๊ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม?



http://nsw-rice.com/index.php/riceknowladge/varity-rice/124-pt1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/09/2011 11:18 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 10:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

597. ขาวดอกมะลิ 105





ขาวดอกมะลิ 105 มีลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาว ค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกว้างกับรวง เมล็ดข้าว รูปร่างเรียว ข้าวเปลือกสีฟาง


ลักษณะประจำพันธุ์:
• เป็นข้าวเจ้าหอม ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี
• เมล็ดข้าวเปลือก สีฟาง เรียวยาว ก้นงอน
• ความสูงต้น 150 เซนติเมตร
• ออกดอกประมาณ 20 ตุลาคม


ลักษณะเด่น:
• คุณภาพการหุงต้ม ดีมาก ได้ข้าวที่นิ่มนวลมีกลิ่นหอม
• ทนแล้ง, ดินเปี้ยว, และดินเค็มได้ดี


พักตัว :
8 สัปดาห์


อายุเก็บเกี่ยว
• ประมาณ 160-180 วัน (20 พฤศจิกายน )





ผลผลิต
• 750-1,047 กิโลกรัม/ไร่


ข้อแนะนำ
ปลูกได้เฉพาะนาปี


ข้อควรระวัง
• ไม่ต้านทาน โรคใบสีส้ม
• โรคไหม้
• โรคขอบใบแห้ง
• โรคใบจุด
• โรคใบหงิก
• ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
• แมลงบั่ว



http://nsw-rice.com/index.php/riceknowladge/varity-rice/125-kdm105


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/09/2011 11:18 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 10:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

598. สุพรรณบุรี 1


ข้าวเจ้าสุพรรณบุรี 1 ทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้ม ใบมีสีเขียวเข้มมีขน การแก่ของใบช้า กาบใบและปล้อง สีเขียว ใบธงยาวค่อนข้างตั้งตรง คอรวงยาวค่อนข้าง แน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ เปลือกเมล็ดสีฟางมีขน ยอดเมล็ด สีฟางก้นจุดบ้าง กลีบรองดอกสีฟางสั้น ข้าวกล้องสีขาว มีท้องไข่น้อย





ลักษณะประจำพันธุ์:
• เป็นข้าวไม่ไวแสง
• ความสูงประมาณ 125 เซนติเมตร
• ทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้ม ใบสีเขียวเข้ม มีขนกาบใบและปล้อง สีเขียว ใบธงยาว ค่อนข้าง ตั้งตรง คอรวงยาว รวงค่อนข้างแน่น


ลักษณะเด่น:
• ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว
• ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และต้านทานโรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม
• ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี


พักตัว :
• 3 สัปดาห์ (22 วัน)


อายุเก็บเกี่ยว
• ประมาณ 120 วัน

ผลผลิต
• ประมาณ 806 กิโลกรัม/ไร่


ข้อแนะนำ
• เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคกลาง ใช้ปลูกร่วมกับ พันธุ์สุพรรณบุรี 90 เพื่อแก้ไขปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว


ข้อควรระวัง
• พบโรคใบขีดสีน้ำตาลในระยะออกรวง อาจเป็นสาเหตุของโรคเมล็ดด่างได้?



http://nsw-rice.com/index.php/riceknowladge/varity-rice/123-sp1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/09/2011 11:19 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 10:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

599. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์



การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งมีชีวิต การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จึงเป็นการรักษา ไม่ให้เมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพ หรือเป็นการป้องกันสิ่งที่ทำให้ เมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพ เช่น แมลง สัตว์ศัตรูในโรงเก็บ


ข้อแนะนำในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
1. ทำให้เมล็ดพันธุ์แห้งอยู่เสมอ
2. เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในที่มีอากาศเย็น มีการระบายอากาศดี?
3. อย่าวางเมล็ดพันธุ์ไว้ใกล้ปุ๋ย หรือสารเคมี
4. อย่าวางเมล็ดพันธุ์บนพื้นดิน หรือพื้นซีเมนต์ ควรมีแคร่ หรือวัตถุรองรับภาชนะ บรรจุเมล็ดพันธุ์
5. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใกล้แหล่งน้ำ
6. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ความชื้นสูงในภาชนะปิด
7. หมั่นตรวจสอบ ดูแล ป้องกัน กำจัดศัตรูของเมล็ดพันธุ์
8. ป้องกันไม่ให้เมล็ดพันธุ์ได้รับความกระทบกระเทือน



หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี
ความสำคัญของเมล็ดพันธุ์การเพาะปลูกข้าวในปัจจุบัน เกือบทั้งหมดปลูกเพื่อการค้า จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน ข้าวต้นหนึ่งเป็นเสมือนเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง เมื่อใส่วัตถุดิบเข้าไปในปริมาณที่เท่ากัน ผลผลิตที่ได้จากเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง จะมีการสูญเสียน้อย ได้ผลผลิตมากกว่า และมีคุณภาพที่ดีกว่า จึงสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. พันธุ์เป็นสิ่งจำกัดผลผลิตสูงสุด หากเปรียบเทียบการให้ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน การปฏิบัติดูแล ในปริมาณที่เท่ากัน ข้าวพันธุ์ดี ย่อมให้ผลผลิตที่มากกว่า และการเพิ่มปัจจัยต่างๆ มากขึ้น จนถึงจุดๆ หนึ่ง พันธุ์ที่ด้อยกว่า จะหยุดการให้ผลผลิตเพิ่ม ในขณะที่พันธุ์ที่ดีกว่ายังคงให้ผลผลิตเพิ่มได้ นั่นคือ ความสามารถให้การให้ผลผลิตสูงสุด ของพันธุ์ดีจะสูงกว่า



หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี
ความสำคัญของเมล็ดพันธุ์การเพาะปลูกข้าวในปัจจุบัน เกือบทั้งหมดปลูกเพื่อการค้า จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน ข้าวต้นหนึ่งเป็นเสมือนเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง เมื่อใส่วัตถุดิบเข้าไปในปริมาณที่เท่ากัน ผลผลิตที่ได้จากเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง จะมีการสูญเสียน้อย ได้ผลผลิตมากกว่า และมีคุณภาพที่ดีกว่า จึงสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. พันธุ์เป็นสิ่งจำกัดผลผลิตสูงสุด หากเปรียบเทียบการให้ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน การปฏิบัติดูแล ในปริมาณที่เท่ากัน ข้าวพันธุ์ดี ย่อมให้ผลผลิตที่มากกว่า และการเพิ่มปัจจัยต่างๆ มากขึ้น จนถึงจุดๆ หนึ่ง พันธุ์ที่ด้อยกว่า จะหยุดการให้ผลผลิตเพิ่ม ในขณะที่พันธุ์ที่ดีกว่ายังคงให้ผลผลิตเพิ่มได้ นั่นคือ ความสามารถให้การให้ผลผลิตสูงสุด ของพันธุ์ดีจะสูงกว่า

2. พันธุ์เป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพ การคัดเลือกผสมพันธุ์ เพื่อผลิตพันธุ์ใหม่แต่ละพันธุ์ จะต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาด หรือผู้บริโภค รวมถึงสภาพแวดล้อม ความต้านทานโรค แมลง การตอบสนองต่อปุ๋ย ตามวัตถุประสงค์ของผู้ผสมพันธุ์ เพื่อให้ผ่านการรับรองพันธุ์ของคณะกรรมการนั้น การผสมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ดังกล่าว วัตถุประสงค์หลัก ก็คือคุณภาพของผลผลิตที่ได้จากพันธุ์นั้น ต้องมีคุณภาพที่ดี ตรงตามความต้องการตลาดนั่นเอง

3. พันธุ์ดีจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ในการลงทุนที่เท่ากันหรืออาจสูงกว่า เมื่อหักต้นทุนแล้ว การใช้พันธุ์ที่ดีกว่า จะได้รับผลตอบแทนต่อหน่วยที่มากกว่า จึงเป็นการลดต้นทุนต่อหน่วยการผลิต ตัวอย่างเช่น การเลี้ยงโค (วัว) ที่มีสายเลือดของพันธุ์ที่มีความสูงใหญ่อย่าง ฮินดูบราซิล พร้อมๆ กับโคพื้นเมืองพม่า ซึ่งมีขนาดเล็กผอมแห้ง แม้การให้อาหารและสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน ความแตกต่างก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าโคพันธุ์ จะมีขนาดที่สูงใหญ่ เติบโตได้เร็วกว่า ผลตอบแทนหรือความคุ้มค่าของการเลี้ยง ย่อมสูงกว่า การใช้ข้าวพันธุ์ดีก็ได้ผลเช่นเดียวกัน

4. เพิ่มผลผลิต พันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์ที่ผ่านการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์จนได้รับการรับรองพันธุ์นั้น จะมีความสามารถ ในการต้านทานโรค แมลง ศัตรูพืช อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในพันธุ์เดียว หากเราเลือกใช้พันธุ์ที่มีความต้านทานโรค หรือ แมลง ได้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งเคยเกิดการระบาด พันธุ์นั้นจะยังคงให้ผลผลิตได้ มากกว่าพันธุ์ที่ไม่ต้านทาน และสิ่งสำคัญ พันธุ์ที่ผ่านการรับรองพันธุ์ จะต้องให้ผลผลิตสูงกว่าพั นธุ์มาตรฐานเสมอ มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการรับรองพันธุ์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ดี

หลักการสำคัญเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์
การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ให้ได้ตามมาตรฐานนั้น มีสิ่งที่สำคัญเป็นหลักในการปฏิบัติ คือ ต้องมีการป้องกันการปนพันธุ์ มีการกำจัดพันธุ์ และปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ดีผ่านมาตรฐาน ความหมายสำคัญของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและการผลิตเมล็ดพันธุ์ คือ

1. ต้องกำจัดพันธุ์ปน
เกิดจาก การผสมพันธุ์ระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย (เราพูดถือเรื่องของพืช) คือการถ่ายทอดลักษณะด้านพันธุกรรม (ภายใน DNA) ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะเกิดลักษณะที่เปลี่ยนไป อาจจะแสดงออกในชั่วชีวิตใดไม่แน่นอน หากลักษณะที่แสดงออก ไม่ตรงกับพันธุ์ที่เราปลูก ข้าวต้นนั้นก็คือ พันธุ์ปน

2. ต้องป้องกันการปนพันธุ์ คือ พืชพันธุ์อื่น ที่เราไม่ต้องการ มาเกิด เจริญเติบโต ในพื้นที่ปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์

3. ปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ดี ได้มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว มาตรฐานแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์

ตามพระราชบัญญัติเมล็ดพันธุ์ กำหนดให้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่สามารถจำหน่ายได้ ต้องมีคุณภาพตามลักษณะที่กำหนดใน พรบ.เมล็ดพันธุ์พืช และมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์จากแปลงขยายพันธุ์ข้าว จะมีพันธุ์ปน (พืชอืน) ได้ คือ


การผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว มีการผลิตตั้งแต่ปี 2519 เพื่อ วัตถุประสงค์ในการส่งเสริม สนับสนุนโครงการภาครัฐ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ดีแก่เกษตรกรทั่วไป และที่สำคัญคือการสำรองเมล็ดไว้ใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติ ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ การ ผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว จะผลิตจากแปลงขยายของเกษตรกรผู้มีความรู้ความชำนาญ โดยได้รับการอบรมจากศูนย์ฯ และการควบคุมติดตามโดยเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการเฉพาะด้านพืชและพันธุ์นั้นๆ และกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนจะควบคุมโดยการตรวจสอบจากนักวิชาการเกษตรของ ศูนย์ฯ


องค์ประกอบที่สำคัญในการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพที่ดี ได้มาตรฐานมี 3 ส่วน คือ
1. การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแปลง
2. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
3. การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์


1. การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแปลง
การผลิตเมล็ดพันธุ์ในไร่นา มีความสำคัญที่สุดในด้านคุณภาพ หากผลผลิตที่ได้จากไร่นา มีคุณภาพไม่ดี ไม่แข็งแรง มีพันธุ์ปนสูงไม่ได้มาตรฐาน เกิดการผสมข้ามกับพืชพันธุ์อื่นแล้ว เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวจะไม่สามารถปรับปรุงให้มีคุณภาพดีได้ ฉะนั้นเกษตรกรผู้ทำนา ผู้ปฏิบัติงานซึ่งรับจ้าง ใช้เครื่องจักรเครื่องมือ ในการเตรียมดิน การปลูก การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว ทุกคนทุกขั้นตอน จะเป็นผู้ที่มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ทั้งสิ้น

1) เกษตรกรผู้จัดทำแปลง
เกษตรกร ต้องเป็นผู้ที่มีความขยันในการปฏิบัติ ตั้งใจในการป้องกันการปนพันธุ์ และการกำจัดพันธุ์ปน รู้จักลักษณะของพืชพันธุ์ที่ปลูก และสังเกตลักษณะความแตกต่างของข้าวพันธุ์ปลูกข้าวพันธุ์ปน และข้าวพันธุ์อื่น มีจิตสำนึกที่ดี มุ่งมั่นจะผลิตเมล็ดพันธุ์ดีเป็นอันดับแรก โดยทำความเข้าใจถึงประโยชน์การใช้เมล็ดพันธุ์ดี และผลเสียหายที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่นำเมล็ดที่ไม่ได้มาตรฐานจำหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์ รวมถึงการดูแลป้องกันมิให้ผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกระทำในสิ่งที่มีผลเสีย ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วย

2) พื้นที่ทำแปลงที่เหมาะสม
การ จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ จะมีการปฏิบัติและการลงทุน ที่เพิ่มมากกว่าการเพาะปลูกทั่วไป โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกทำแปลงพันธุ์ จะต้องเป็นพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ซึ่งหมายถึงจะมีปริมาณน้อยส่วนมากมีไม่เพียงพอ และราคามักจะสูงกว่าพันธุ์ทั่วไป ฉะนั้น จำเป็นที่จะต้องคัดเลือกพื้นที่เพาะปลูกให้มีสภาพเหมาะสม ?มีความเสี่ยงต่อการเสียหายน้อยที่สุด และเพื่อป้องกันการปนพันธุ์จากข้าวเรื้อ ข้าวปลูกพื้นเดิมซึ่งปลูกพันธุ์อื่น ควรกำจัดข้าวเรื้อก่อนที่จะปลูกข้าว เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์


3) เมล็ดพันธุ์เพื่อจัดทำแปลง
การ เลือกพันธุ์ข้าวปลูกหรือเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นสิ่งสำคัญอันแรก ของการทำนา การเริ่มต้นด้วยสิ่งที่ดี ย่อมให้ผลตอบแทนที่ดี คุ้มกับการลงทุน ดังสำนวนคนโบราณกล่าวไว้ถึงการเลือกไว้ว่า จะดูวัวให้ดูที่หาง จะดูนางให้ดูที่แม่ จะเลือกให้ดีแน่ๆ ต้องดูถึงยาย เมล็ดพันธุ์ก็เป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งการสืบเชื้อสายแก่ลูกหลาน คือ การสืบทอดลักษณะพันธุกรรม (ลักษณะที่แสดงออก และลักษณะภายในที่ซึ่งแฝงอยู่ในสายเลือด) หรือที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือ DNA การ เลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อปลูกทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์นั้นง่ายกว่ามาก เพราะมีกฎหมายกำหนดมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ และมีผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เป็นมาตรฐานของหน่วยงานราชการ โดยมีการตรวจรับรองพันธุ์ว่าเมล็ดพันธุ์ การเริ่มจากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี มีความงอกสูง สิ่งเจือปนน้อย ความบริสุทธิ์สูงตรงตามสายพันธุ์มีพันธุ์ปนไม่เกินมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ปราศจากโรค แมลงปราศจาก วัชชพืช (โดยเฉพาะข้าววัชชพืช ห้ามมีโดยเด็ดขาด) และต้องเป็นพันธุ์ที่ต้องของผู้ปลูกและผู้ซื้ออีกด้วย

4) การป้องกันการปนพันธุ์ และการกำจัดพันธุ์ปน
สิ่ง สำคัญที่จะขาดไม่ได้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีการผสมพันธุ์แบบใช้เพศ(คล้ายกับของคนแหละครับ แต่ต่างกันช่วงของวิธีการที่จะแลกเปลี่ยน) ทั่วไปข้าวพันธุ์ของไทยเราจะผสมตัวเอง และมีอัตราการผสมข้ามเพียงร้อยละ .05 เท่านั้น แต่เมื่อมีการผสมพันธุ์จะมีการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรมของเพศผู้และเพศเมีย ฉะนั้น แปลงข้าวที่ เพาะปลูกทุกแปลงไม่ว่าจะใช้เมล็ดพันธุ์ดี ขนาดไหน หรือจากที่ใดก็ตาม ทุกครั้งที่ปลูกและทุกแปลงจะต้องมีพันธุ์ปน เกิดขึ้นเสมอ จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการผสมข้าม และลักษณะที่แสดงออกนั้น แตกต่างจากพันธุ์ปลูกของเรา วิธีที่จะช่วยลดพันธุ์ปน ทำได้โดยป้องกันธุ์มิให้มีข้าวพันธุ์อื่นปนเข้ามาในแปลงปลูกของเรา ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการผสมข้ามกับข้าวพันธุ์อื่นลดลง และต้องมีการกำจัดพันธุ์ปนก่อนมีการผสมพันธุ์


ลักษณะพันธุ์ปนในแต่ละครั้ง แต่ละพืช แต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันไปตามแต่สภาพแวดล้อม การจะระบุให้ชัดเจน ควรได้รับการฝึกปฏิบัติจริง และเห็นของจริงในไร่นา จะเป็นวิธีการที่ดีและถูกต้องที่สุด

5) การปฏิบัติดูแลรักษา
การ ปฏิบัติดูแล เหมือนการเพาะปลูกข้าวทั่วไป มีส่วนที่ต้องเพิ่มในเรื่องของการป้องกันการปนพันธุ์และการกำจัดพันธุ์ปน และที่ควรระวังเรื่องการใช้สารเคมีที่มีผลต่อความมีชิวิตของเมล็ด เนื่องจากเมล็ดที่ได้อย่างแรกต้องเป็นเมล็ดที่ยังไม่ตาย ต้องมีชีวิต และถ้ามีชีวิตที่แข็งแรงสมบูรณ์ก็ยิ่งดี สารเคมีที่ต้องระวัง เช่น สารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) ซึ่งนอกจากต้นข้าวจะตายแล้วยังจะมีผลต่อเมล็ดอาจถึงตายได้เช่นกัน

6) การเก็บเกี่ยว
ขั้น ตอนที่เกิดความเสียหายในการผลิตเมล็ดพันธุ์มากที่สุด และเกิดการปนพันธุ์มากที่สุด คือ ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวนี่เอง เครื่องเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ทำความสะอาด ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์ นั่นหมายถึง มีเมล็ดข้าวจากแหล่งอื่นมาปนในข้าวพันธุ์ของเรา 1-3 ถัง หมายความว่า การปฏิบัติ การป้องกันการปนพันธุ์ การกำจัดพันธุ์ที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นไม่มีเลย เพาะตอนเก็บเกี่ยวเรากับนำเมล็ดพันธุ์อื่นมาปนกับเมล็ดพันธุ์ที่เราผลิต ซึ่งอาจจะมากกว่าที่เรากำจัดออกเสียอีก

7) ลดความชื้นและการทำความสะอาดเบื้องต้น
ความชื้นของเมล็ดมีผลต่อความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์มากที่สุด กระบวนการเคมีภายในเมล็ดจะเกิดมากหรือน้อยมีผลจากความชื้น ความชื้นที่สูงจะช่วยให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นมาก และมีผลพลอยได้ เป็นความร้อนสะสมโดยรอบเมล็ดหากอุณหภูมิสะสมสูงเกิน 51 องศาเซนเซียส เป็นเวลานานติดต่อกัน เมล็ดจะตาย หากยังไม่ถึงตากอาหารภายในเมล็ดจะถูกใช้ไปกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้น จะลดน้อยลงจนมีผลต่อความแข็งแรงของเมล็ดและอายุการเก็บรักษาด้วย ถ้าความชื้นสูงเพียงพอต่อการงอก (ข้าวใช้ความชื้นเพื่อการงอก 45%ของน้ำหนักเมล็ด) เมล็ดจะงอกเป็นต้นใหม่

การทำความสะอาดเบื้องต้น โดยการคัดแยกเศษหิน ดิน ทราย และเศษพืช ที่ติดมากกับเมล็ด จะช่วยลดแหล่งอาศัยของ เชื้อโรค แมลงและไข่แมลง ได้อย่างมาก รวมทั้งลดแหล่งสะสมความชื้นอีกด้วย


2. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
1) การควบคุมเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามหลักวิชาการ เพื่อป้องการการปนพันธุ์และการกำจัดพันธุ์ปน ให้มีได้ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน พรบ.เมล็ดพันธุ์

ด้านการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสรรค์ จะมีคณะกรรมการตรวจติดตามควบคุมกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน และมีการตรวจรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์จากแปลงขยายพันธุ์ก่อนการเก็บเกี่ยวทุก แปลง โดยการตรวจสอบในกระบวนการผลิต ได้แก่

- การตรวจสอบเครื่องจักรเครื่องมือ สำหรับปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ หลังการทำความสะอาดในการเปลี่ยนพันธุ์พืช
- การตรวจรับรองมาตรฐานแปลงขยายพันธุ์ โดยคณะกรรมการ
- การตรวจสอบสภาพการเก็บรักษา อันได้แก่ สภาพแวดล้อม การทำลายของแมลง สัตว์ ศัตรูในโรงเก็บ และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ระหว่างการเก็บรักษา

2) การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้ทราบสถานะปัจจุบันของเมล็ดพันธุ์ ว่ามีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเมล็ดพันธุ์หรือไม่ ในการตรวจสอบคุณภาพนั้นทุกวิธีการจะใช้หลักสำคัญโดยการใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ในแต่ละกลุ่ม แต่ละชุด ด้วยหลักวิธีการสุ่มตัวอย่างตามหลักวิชาการ แล้วแบ่งตัวอย่างมาปฏิบัติการทดสอบ ได้แก่

- การทดสอบความชื้น เพื่อให้ทราบปริมาณน้ำในเมล็ด ว่ามีมากน้อยเพียงใด เหมาะสมกับการเก็บรักษาหรือไม่ ความชื้นที่เหมาะสมกับการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าว ควรอยู่ที่ ไม่เกินร้อยละ 14 ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นถึงความชื้นที่มีผลต่อปฏิกริยาเคมีภายในเมล็ด

- การ ทดสอบความงอก หรือความมีชีวิตของเมล็ด สิ่งมีชีวิตเมื่อเกิดแล้วก็จะมีแต่เสื่อมและตายในที่สุด การทดสอบความงอก โดยนำเมล็ดมาเพาะแล้วคำนวนหาว่ามีความงอกร้อยละเท่าไหร่ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนความงอกของเมล็ดที่เหลืออยู่ทั้งหมด

- การทดสอบความบริสุทธิ์ เพื่อค้นหาว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นมีส่วนของเมล็ดพืชพันธุ์ที่ระบุ และเมล็ดพืช พันธุ์อื่น หรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มากน้อยร้อยละเท่าไหร่

- การทดสอบสิ่งเจือปน สิ่งที่รวมอยู่กับเมล็ดพันธุ์นอกเหนือจากเมล็ดพันธุ์แล้ว สิ่งอื่นถือเป็นสิ่งเจือปนทั้งสิ้น ได้แก่ เศษดิน เศษหิน เศษชิ้นส่วนของพืช ฯลฯ การทดสอบโดยการคัดแยกส่วนที่เป็นเมล็ดพืช และสิ่งที่ปนมา คิดคำนวนหาสัดส่วนของน้ำหนักเป็นร้อยละ




3. การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์
1) คัดทำความสะอาดเบื้องต้น
เมล็ด ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในไร่นา มักจะมีส่วนที่ไม่ใช้เมล็ด ดังที่กล่าวไว้คือสิ่งเจือปน การคัดแยกในครั้งแรกนี้ จะใช้เครื่องคัดโดยใช้ตะแกรงและแรงลม วัตถุประสงค์เพื่อนำสิ่งที่ไม่ใช้เมล็ดออกก่อนจะนำเมล็ดเข้าอบลดความความ ชื้น ซึ่งจะไม่สูญเสียเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์

2) ลดความชื้น
การลดความชื้นเมล็ดพันธุ์นั้น ใช้หลักการโดยให้ความร้อนผสมกับอากาศ ทำให้อากาศขยายตัวลอยสูงขึ้น เมื่ออากาศผ่านไปตามช่องว่างระหว่างเมล็ดจะเกิดการถ่ายเทความชื้นจากเมล็ด ที่มีมากกว่าติดไปกับอากาศ มีผลให้ความชื้นของเมล็ดลดลง

3) คัดแยกทำความสะอาด และคัดขนาด
ความสม่ำเสมอของเมล็ด มีผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต เนื่องจาก การงอก ความแข็งแรง การเติบโตของพืชที่เป็นไปพร้อมๆ กัน ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน จะช่วยลดความเสียหายจากการตกหล่น เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคัดแยกทำความสะอาดและคัดขนาด จะมีขนาดสม่ำเสมอ สิ่งเจือปนทั้งที่มีขนาดใหญ่กว่าและเล็กกว่าเมล็ดพันธุ์รวมถึงเศษฝุ่นผง ละอองจะมีปริมาณไม่เกินมาตรฐาน

4) คัดแยกโดยน้ำหนัก
เมล็ดที่ได้จากการคัดแยกขนาดบางส่วน อาจจะมีเมล็ดที่ขนาดเท่ากัน แต่น้ำหนักไม่เท่ากัน จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ภายในเมล็ดมีเนื้อแป้งไม่เต็มเมล็ด (เมล็ดลีบ) หรือถูกแมลงทำลายภายในเมล็ด การคัดแยกโดยน้ำหนักจะช่วยให้เมล็ดมีความสม่ำเสมอยิ่งขึ้น

5) คลุกสารเคมี
สารเคมีสำหรับคลุกเมล็ดพันธุ์ มีประโยชน์ในการกำจัดเชื้อโรค แมลงซึ่งติดมา
กับ เมล็ด เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของโรค แมลง ระหว่างการเก็บรักษา จนถึงเวลาก่อนปลูกในไร่นา เป็นการประกันอย่างหนึ่งว่าเมล็ดพันธุ์นั้นๆ ปราศจากโรคแมลง ซึ่งอาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้

6) บรรจุถุง
เมล็ด พันธุ์ข้าวของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจะบรรจุถุงขนาดถุงละ 25 กิโลกรัม โดยมีสัญญลักษณ์ของกรมการข้าว และทุกถุงจะมีป้ายกำกับระบุ ชื่อ พืชพันธุ์ สถานที่ผลิตไว้ ซึ่งสามารถสอบทวนกลับได้

7) การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์
ศูนย์ฯจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้แก่โครงการของรัฐฯ ตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และเกษตรทั้วไป สามารถติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์ได้โดยตรงที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสวรรค์




http://nsw-rice.com/index.php/seedtechno/process/19-seedtechno-fund

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 5:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

600. ความมหัศจรรย์ของรังผึ้ง





ผึ้งสร้างรังเพื่อไว้ใช้อยู่อาศัย เก็บน้ำหวานและฟักตัวอ่อน แล้วเคยทราบกันไหมว่าภายใต้รังอันวกวนนั้น ซ่อนอะไรไว้บ้าง

ก่อนอื่นเราต้องทราบชนิดของผึ้งที่อาศัยอยู่ในรังก่อน โดยผึ้งที่ตัวใหญ่ที่สุดเรียกว่า "ผึ้งนางพญา" มีหน้าที่ในการออกไข่ โดยไข่จะถูกผสมโดยผึ้งตัวผู้ แล้วฟักเป็นตัวหนอนในลำดับต่อไป "ผึ้งงาน" เป็นผึ้งตัวเมีย แต่ไม่สามารถออกไข่ได้เหมือนผึ้งนางพญา โดยผึ้งงานจะฟักออกมาจากไข่ที่ผสมแล้ว พวกนี้ทำงานอย่างหนักทั้งสร้างรัง เก็บไข่ เก็บน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ เพื่อเป็นอาหารของตัวอ่อน สุดท้าย "ผึ้งตัวผู้" เกิดมาจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสม

เมื่อผึ้งงานรวบรวมน้ำหวานจากดอกไม้ได้มากพอ ก็จะสร้างขึ้ผึ้งทำเป็นรังผึ้ง จากต่อมผลิตไขผึ้งที่อยู่ส่วนท้องของลำตัว โดยใช้ส่วนปากทำไขเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วก่อตัวเป็นรวงรูป 6 เหลี่ยม แบบที่เห็น ๆ กันทั่วไป รังผึ้งหรือรวงผึ้ง ถูกสร้างอย่างมีระเบียบแบบแผน เพราะจากการพิสูจน์โดยนักคณิตศาสตร์ ปรากฎว่า รังผึ้งจะเป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่าเสมอ ๆ และจากการคำนวณอย่างละเอียดถี่ถ้วนจะพบว่า ผึ้งทุกชนิด ทุกประเภทสายพันธุ์ ไม่ว่าจะสร้างรังขนาดแค่ไหน รูปหกเหลี่ยมในช่องของรังผึ้งจะทำมุมป้าน 109 องศา 28 ลิปดา ทำมุมแหลม 70 องศา 32 ลิปดาทุกรัง ซึ่งการสร้างรูปทรงลักษณะนี้ จะทำให้รังผึ้งมีความจุมากที่สุด และสามารถเก็บน้ำผึ้งได้มากที่สุดนั่นเอง ก็ไม่รู้ว่าเหล่าผึ้งตัวน้อยไปเรียนเลขกันมาจากสำนักไหน ถึงได้คำนวณเท่ากันเป๊ะ ๆ แบบนี้ ทำให้มนุษย์ทึ่งกับความมหัศจรรย์จากโลกแมลงไปตาม ๆ กัน.


http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=424&contentID=164143
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 5:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

601. วิธีเกี่ยวข้าวแปลงน้ำท่วม

ลดความเสียหาย ผลผลิตข้าวระยะสุกในที่นาท่วมขัง


นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า จากรายงานของศูนย์ปฏิบัติการติดตามสถานการณ์ข้าว กรมการข้าว ระบุว่ามีหลายพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัยและส่งผลกระทบกับนาข้าว ดังนั้นกรมการข้าวจึงได้จัดทำคำแนะนำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่เกษตรกรชาวนาที่ได้รับผลกระทบ ดังกล่าว ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นได้

สำหรับคำแนะนำการเก็บเกี่ยวข้าวในสถานการณ์น้ำท่วมที่กรมการข้าวจัดทำนั้น เป็นการให้คำแนะนำเกษตรกรในการชะลอความเสียหายของข้าวระยะสุกแก่ในแปลงนาที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวข้าวเร็วก่อนกำหนดที่ระยะเวลา 21 วัน หลังข้าวออกดอก ร้อยละ 80 โดยสามารถปฏิบัติได้ 4 ลักษณะ คือ

1. การใช้รถเกี่ยวนวด โดยเมล็ดข้าวที่ได้จะมีความชื้นสูง (มากกว่า 25%) ให้รีบนำไปลดความชื้นทันที หรือภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความเสียหายจากการทำลายของเชื้อรา และเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ก่อนการขนส่ง ไปจำหน่ายให้แก่ ผู้ประกอบการหรือโรงสี โดยลดความชื้นตามวิธีการที่ถูกต้อง เช่น การใช้เครื่องอบ หรือการตากลาน เพื่อลดความชื้นข้าวให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย หากเกษตรกรไม่สามารถจำหน่ายได้ทันที หรือภายใน 24 ชั่วโมง ควรนำข้าวที่เก็บเกี่ยวมาผึ่งตากลดความชื้น

2. การเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน กรณีข้าวถูกน้ำท่วมขังในระยะสุกแก่ ไม่สามารถใช้รถเกี่ยวนวดได้ ให้เก็บเกี่ยวข้าวด้วยเคียว แล้วนำข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ มัดได้เป็นฟ่อนนำไปตากแขวนราวผึ่งลมและแดด การปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยชะลอการเสื่อมคุณภาพของข้าว เนื่องจากการตากแบบแขวนราว จะทำให้เกิดการระบายถ่ายเทของอากาศภายในฟ่อนข้าวได้ดี และหากมีฝนตกน้ำฝนจะหยดลงสู่พื้นดิน ไม่ถูกดูดซับหรือขังอยู่ในฟ่อนข้าว

3. ให้ทำการนวดเมื่อข้าวแห้ง แล้วลดความชื้นให้อยู่ในระยะที่ปลอดภัยอีกครั้ง

4. การเก็บรักษาเพื่อรอการจำหน่ายชั่วคราว และไม่ควรเก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูปลูกถัดไป เพราะเมล็ดไม่สมบูรณ์ ถ้าหากจะเก็บไว้เพื่อรอการจำหน่ายไม่ควรบรรจุในกระสอบป่าน เพราะการระบายอากาศไม่ดี ควรบรรจุกระสอบพลาสติกสานที่มีขนาดบรรจุน้ำหนัก 25 กิโลกรัม/กระสอบ และไม่ควรวางซ้อนกันหลายชั้น ควรเก็บไว้ในที่โล่งระบายอากาศได้ดี


http://www.naewna.com/news.asp?ID=279692
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 5:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

602. ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ ให้ผลตอบแทนเท่า 3 ไร่





"ปาล์มน้ำมัน” จัดเป็นพืชยืน ต้นที่มีอายุการให้ผลผลิตอย่างยาวนาน 20-25 ปี ดังนั้นการคัดเลือกสายพันธุ์, การเตรียมการปลูก และการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในช่วงแรกนับว่ามีความสำคัญที่สุด ต้นปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอนั้นขึ้นอยู่กับการเตรียมพื้นที่ และการจัดการสวนในระยะเริ่มปลูกสร้างสวน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้นปาล์มอยู่ในระยะอ่อนแอ ดังนั้นการปฏิบัติที่ถูกวิธีในการปลูก และการดูแลรักษา จะเป็นแนวทางอันหนึ่งที่ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิต และลดค่าใช้จ่ายในการผลิตในระยะยาวได้

ปัจจุบันปาล์มน้ำมันได้มีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือแม้แต่พื้นที่ลุ่มภาคกลางโดยเฉพาะบริเวณทุ่งหลวงรังสิต ได้มีการใช้พื้นที่ที่เคยปลูกส้มเขียวหวานมาก่อนมาปลูกปาล์มน้ำมันกันมาก ขึ้นในขณะนี้

มีข้อมูลว่ามีการปลูกปาล์มน้ำมันในทุ่งรังสิตมา 6 ปีแล้ว ซึ่งให้ผลผลิตมากกว่า 6,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คุณวิสันต์ สินธุนนท์ เกษตรกรดีเด่นภาคใต้ ปี 2540 ได้นำร่องใช้พื้นที่ 1,000 ไร่ ใช้ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ ทนแล้งปานกลางและมีคุณสมบัติพิเศษคือปลูกได้ในพื้นที่ที่มีแสงน้อยและ อุณหภูมิต่ำ ในพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิต ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นต้นแบบการปลูกปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ในพื้นที่เหมาะสมเพื่อผลประโยชน์ ตอบแทนและความคุ้มค่าสูงสุดในอาชีพ โดยมีเป้าหมายใช้พื้นที่ปลูก 1 ไร่ ให้ผลตอบแทนมากเท่ากับ 3 ไร่ โดยปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตสูง 5-6 ตันต่อไร่ต่อปี เมื่ออายุ 8 ปี, ผลผลิตสม่ำเสมอ ติดทะลายดก, น้ำหนักทะลายเฉลี่ย 18-22 กิโลกรัม, ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันมากกว่า 30%

การคัดเลือกสายพันธุ์ และต้นกล้าปาล์มน้ำมัน อายุของต้นกล้าปาล์มที่ใช้ปลูก ควรมีอายุ 10-18 เดือน และต้องผ่านการคัดต้นกล้าที่ผิดปกติทิ้ง เช่น ต้นเตี้ย และแคระแกร็น ทางใบทำมุมที่แคบกว่าปกติ ทางใบสั้น ต้นผอมชะลูด ซึ่งการดูแลรักษาต้นกล้าปาล์มน้ำมันในแปลงเพาะมีความสำคัญมากในการผลิตปาล์ม น้ำมัน ถ้ามีการนำต้นกล้าปาล์มที่ไม่แข็งแรงและไม่สมบูรณ์ไปปลูกจะให้ผลผลิตช้า และผลผลิตที่ได้จะต่ำในระยะยาว ดังนั้นการพิจารณาแหล่งพันธุ์ และแหล่งเพาะกล้าจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการทำสวนปาล์มน้ำมันให้ประสบ ความสำเร็จ

ไม่ควรใช้ต้นกล้าที่มีอายุต่ำกว่า 10 เดือนไปปลูก เพราะการใช้ต้นกล้าอายุน้อยจะทำให้มีอัตราการผิดปกติของต้นปาล์มในแปลงสูง และให้ผลผลิตต่ำ ควรเลือกใช้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 18 เดือนไปปลูกทั้งนี้ เพราะจะทำให้ต้นปาล์มตกผลเร็ว และให้ผลผลิตถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วกว่าใช้ต้นกล้าปกติเป็นจุดที่เกษตรกรควร ให้ความสำคัญ เพราะจะเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้.



ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ
http://www.2poto.com/component/option,com_kunena/Itemid,192/catid,67/func,view/id,6605/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/09/2011 6:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

603. ร้อยเอ็ดปล่อยปลาบึก 180 ตัว กลับลงสู่บึงพลาญชัย


เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดปล่อยปลาบึก 180 ตัว กลับลงสู่บึงพลาญชัย หลังจากขุดลอกบึงพลาญชัยและคุณภาพน้ำเหมาะสม

เช้าวันนี้ (6 ก.ย.54) เวลา 09.00 น ณ บริเวณภายในบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ดำเนินโครงการเคลื่อนย้ายปลาบึกขนาดใหญ่ น้ำหนักไม่น้อยกว่า 100 กิโลกรัม จำนวน 180 ตัว จากสระบริสุทธิ์ปล่อยลงสู่บึงพลาญชัย ภายใต้โครงการ “คืนพี่บึกคืนสู่บึงพลาญชัย”

นายเรืองรัตน์ รัตนโภคาสถิต รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด กล่าวว่า ขณะนี้เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้ดำเนินโครงการขุดลอกบึงพลาญชัย เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดจึงได้ประสานงานกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดร้อยเอ็ด ทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำในบึงพลาญชัย และผลการตรวจสอบคุณภาพ น้ำอยู่ในสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ น้ำได้เป็นอย่างดี เทศบาล เมืองร้อยเอ็ดจึงได้จัดทำการย้ายปลาบึกจำนวน 210 ตัว จากสระบริสุทธิ์ลงสู่บึงพลาญชัย ในระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2554 ซึ่งในวันนี้เป็นวันแรกในการดำเนินการได้รับความสนใจจากประชาชน ชมการเคลื่อนย้าย ปลาบึกที่มีขนาดใหญ่ และมีความแข็งแรง น้ำหนัก 100-200 ก.ก. จำนวน 180 ตัว


สำหรับการเคลื่อนย้ายปลาบึกลงสู่บึงพลาญชัย ต้องใช้เจ้าหน้าที่จากกองช่าง เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด กว่า 20 คน โดยใช้รถเครนยกปลาบึกลงสู่สไลเดอร์และฉีดยาปฏิชีวนะก่อนปล่อยในบึงพลาญชัย เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลาบึกขนาดใหญ่ที่หายากให้คงอยู่คู่บึงพลาญชัย ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด ต่อไป นับเป็นจังหวัดที่มีปลาบึกขนาดใหญ่ที่มากที่สุดของประเทศ



http://www.newsplus.co.th/NewsDetail.php?id=28765
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 22, 23, 24 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 23 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©