-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 21, 22, 23 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 22

ลำดับเรื่อง....



554. เดินหน้าสร้าง 'จุดเปลี่ยน' ใช้ปุ๋ยเคมีในประเทศไทย
555. สูตรการขยายเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis (บาซิลลัส ซับทิลีส)

556. เทคนิคการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์
557. เกษตรอินทรีย์ไทย จะถูกกีดกันอะไรบ้าง
558. แปรรูปเกษตรอินทรีย์คิดได้แล้ว
559. หัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 (Pro Bac 1)
560. บทบาทของจุลินทรีย์ในการเพิ่มธาตุอาหารพืช

561. เวียดนามทำสำเร็จ คัดพันธุ์ข้าวสู้ไต้ฝุ่น ภัยแล้ง และดินเค็ม
562. 'หอมมะลิ' แย่แน่ เวียดนามฉวยตั้งชื่อ 'จัสมิน ไรซ์'
563. ข้าวพันธุ์พิเศษ (specialty rice)
564. ทางเลือก...ข้าวพันธุ์ผสม
565. ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ของดีที่ (เกือบ) ถูกลืม

566. พัฒนาข้าวหอม มะลิ...แห่งทุ่งกุลาร้องไห้
567. หอมมะลิ ๘๐
568. บังกลาเทศเตรียมขายพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม ช่วยชาวนา
569. หอมชลสิทธิ์
570. ปิ่นเกษตร PinKaset

571. ข้าวเจ้าก่ำ
572. ชาวนาเวียดนาม รวยกว่า ชาวนาไทย
573. เวียดนามเพาะพันธุ์ข้าวแต่งพันธุกรรม ผลผลิตดี อุดมวิตามิน ต้านแมลง
574. ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
575. ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่จากเวียดนาม CH5 เป็นข้าวไร่ให้ลาวทดลองปลูก

576. ชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
577. ข้าวพื้นเมืองลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
578. ข้าวสังข์หยด

--------------------------------------------------------------------------------------------








554. เดินหน้าสร้าง 'จุดเปลี่ยน' ใช้ปุ๋ยเคมีในประเทศไทย


.
กรมส่งเสริมการเกษตร เดินหน้าจัดทำกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีปุ๋ยลดต้นทุน ให้กับเจ้าหน้าที่และเกษตรกร ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายจากการผลิตทั่วประเทศ นำร่องพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด

ข้าวนาปี
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ
มันสำปะหลัง

เผยไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีกว่า 20,000 ล้านบาท โครงการฯ จะช่วยลดต้นทุนได้กว่าร้อยละ 20


นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ดินคือ "รากฐาน" ของชีวิตเกษตรกร หรือคุณภาพของดินก็คือคุณภาพชีวิตของเกษตรกรนั่นเอง เพราะถ้าดินดีการใช้ปุ๋ยก็จะน้อยทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลงด้วย แม้ว่าปุ๋ยจะเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชก็ตาม แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับปุ๋ยเคมีที่ขายในท้องตลาดเป็นปุ๋ยสำเร็จรูป จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเกินความจำเป็น และราคาปุ๋ยเคมีก็มีแนวโน้มจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันจะก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของเกษตรกรและประเทศชาติในที่สุด โดยเฉพาะในปีเพาะปลูก 2553/2554 ประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีเป็นวงเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท

ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดต้นทุนการผลิตในพืช 3 ชนิด ประกอบด้วย ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ให้ได้ประมาณร้อยละ 20 ของต้นทุนปุ๋ยทั้งหมด กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการปุ๋ยลดต้นทุน "จุดเปลี่ยน" กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีปุ๋ยลดต้นทุนให้แก่เจ้าหน้าที่ และเกษตรกรขึ้น ภายใต้ความร่วมมือของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรมพัฒนาที่ดิน กรมการข้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน

โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตและยกระดับองค์ความรู้ในเรื่องการจัดการดินและปุ๋ย รวมทั้งทำให้การใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินเป็นไปอย่างยั่งยืน โดยจะดำเนินการในพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ประกอบด้วยข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ในปีเพาะปลูก 2554/2555 ที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ปี 2553/2554 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554-เดือนเมษายน 2555

ทั้งนี้ จะมีการชดเชยค่าปุ๋ย โดย ธ.ก.ส.จะช่วยเหลือค่าปุ๋ย สำหรับข้าวนาปี 2554/55 จำนวน 1.8 ล้านตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลังรวม 0.53 ล้านตัน รวมปริมาณปุ๋ยชดเชยทั้งสิ้น 2.33 ล้านตัน สำรองจ่ายเงินให้ 1,500 บาท/ตัน หรือ 1.50 บาท/กิโลกรัม และปริมาณปุ๋ยไม่เกิน 2.33 ล้านตัน

เทคโนโลยีการใส่ปุ๋ย เพื่อลดต้นทุนการผลิตจะใช้หลัก 4 ถูก คือ

ถูกชนิด คือ ............................ ใส่ปุ๋ยตามที่ดินขาด
ถูกปริมาณ คือ ......................... ใส่ปุ๋ยให้พอเพียง
ถูกเวลา คือ ............................ ใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่พืชต้องการปุ๋ยมาก
ถูกวิธี คือ .............................. ใส่ปุ๋ยเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด

ประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากโครงการนี้ คือ การได้รับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมกับพื้นที่ ได้รับความรู้เรื่องดินและการใช้ปุ๋ยเคมี ได้รับสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับใช้ซื้อปุ๋ยเคมี และได้รับเงินชดเชยค่าปุ๋ยเคมีกิโลกรัมละ 1.50 บาท หรือกระสอบละ 75 บาท ซึ่งจะช่วยในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้จำนวนมาก" นายอรรถ กล่าว



http://www.ryt9.com/s/bmnd/1236874


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:27 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 10:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

555. สูตรการขยายเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis (บาซิลลัส ซับทิลีส)


เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ซับทีลิส (บี เอส) มีคุณสมบัติสำหรับป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สาเหตุ และเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโรคพืชได้หลายชนิด เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โรคเหี่ยวเขียวในพริก มะเขือ ยาสูบ โรคใบจุดสีม่วงในต้นหอม โรคหัวเน่าเละในพืชพวกขิง ข่า เป็นต้น และยังเป็นจุลินทรีย์ ที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ สัตว์ และไม่มีพิษตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม



อุปกรณ์ในการขยายเชื้อ
1. หัวเชื้อ Bs. (เชื้อแห้งชนิดผง) ....... 60 กรัม
2. ถังหมัก ................................. 150 ลิตร
3. ไข่ไก่ .................................. 5 ฟอง
4. น้ำตาล ................................ 5 กิโลกรัม
5. น้ำเต้าหู้ ............................... 0.5 ลิตร
6. ปั๊มลมให้อากาศ



วิธีการขยายเชื้อ
1. เติมน้ำเปล่าลงในถังหมัก จำนวน 100 ลิตร
2. ละลายน้ำตาลกับน้ำในถัง จากนั้นใส่น้ำเต้าหู้ลงไปคนให้เข้ากัน
3. ตีไข่แล้วเติมลงไปในถัง คนให้เข้ากัน
4. ใส่หัวเชื้อผงของ Bs. ประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ
5. คนให้เข้ากัน ต่อปั๊มลมเพื่อเติมอากาศลงไป หลังจากนั้น 3–5 วัน สามารถนำไปใช้ได้


การนำเชื้อ บีเอส ไปใช้
นำเชื้อบาซิลัส ซับทีลีสไปผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 5 (เชื้อที่ทำการเพาะเลี้ยงไว้ 1 ส่วน ต่อ น้ำสะอาด 5 ส่วน) ราดรองก้นหลุมก่อนลงปลูก หรือใช้ราดบริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเหี่ยว และโรคเน่าของพืช

ข้อแนะนำ ควรใช้ให้หมดภายใน 15 วัน เพื่อประสิทธิภาพของเชื้อสด



http://hcsupply.blogspot.com/2008/10/b-subtilis.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/09/2011 1:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 10:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

556. เทคนิคการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์


เชื้อจุลินทรีย์ คือ กุญแจสำคัญของระบบนิเวศ การทำการเกษตรจำเป็นต้องอาศัยกิจกรรมของ จุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นแร่ธาตุอาหาร ซึ่งต้องให้อยู่ในรูปสารอนินทรีย์เพื่อจะละลายน้ำได้ง่ายและพืชสามารถดูดซึมเอาไปใช้ได้ทันที แต่ผลจากการทำการเกษตรที่ไม่ถูกวิธี คือ การเผาเศษพืช การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานานติดต่อกัน ประกอบกับประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นการสลายตัวของอินทรียวัตถุเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้ดินเสื่อมคุณภาพและปริมาณจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินน้อยลง จนไม่สามารถสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศในดินได้

การนำเอาหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นผลงานจากหน่วยงานทางราชการพัฒนาคิดค้นขึ้นใช้ในการปรับปรุงดินจึงเป็นแนวทางที่ช่วยเร่งการฟื้นฟูสภาพดินได้เร็วขึ้น แต่การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปผง หรือเป็นหัวเชื้อเข้มข้นที่บรรจุในขวดมีอายุการผลิตหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนมาแล้ว จะทำให้มีปริมาณจุลินทรีย์ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเนื่องจากจุลินทรีย์จะตายระหว่างการเก็บรักษาและรอจำหน่าย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพาะเลี้ยงขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อเพิ่มจำนวนมีปริมาณมากๆและเป็นการฟื้นฟูกำลังจุลินทรีย์ให้มีความแข็งแรง เมื่อนำไปใช้ทั้งใช้เร่งในกองปุ๋ยหมัก หรือราดลงดินก็พร้อมจะมีกิจกรรมได้ทันที



วิธีการเพาะเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์
วัสดุและอุปกรณ์
1) กากน้ำตาลปริมาณ 100 ลิตร (สามารถใช้น้ำตาลทรายแดงแทนได้ น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม)
2) หัวเชื้อจุลินทรีย์ของ พด. 20 ถุง หรือ อีเอ็ม 20 ลิตร
3) ถังหมักขนาด 150 ลิตร จำนวน 10 ใบ
4) ปั้มลมให้อากาศ สามารถใช้ปั้มลมที่ใช้กับตู้ปลาก็ได้ โดยต่อสายยางแยกใช้หัวทรายพ่นให้อากาศแก่จุลินทรีย์ในถังให้ครบ 10 ใบ

วิธีการ
1) เติมน้ำสะอาดลงในถังขนาด 150 ลิตร ให้ได้ปริมาณประมาณ 3 ใน 4 ของความสูงถังหรือประมาณ 100-120 ลิตร
2) เติมน้ำตาลหรือกากน้ำตาลประมาณ 10%-15% ของปริมาตรน้ำ
3) เทหัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร หรือ 1 ซองลงในถัง กวนผสมให้เข้ากัน
4) ต่อสายยางท่อให้อากาศจากปั้มลม โดยให้อากาศอย่างต่อเนื่องผ่านหัวทรายเป็นเวลา 5–7 วัน เชื้อจุลินทรีย์จะขยายเพิ่มจำนวนพร้อมนำเอาไปใช้





การนำเชื้อจุลินทรีย์ไปใช้
ใช้เป็นหัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักโดยการราดลงบนกองปุ๋ยระหว่างที่มีการคลุกผสมวัสดุต่างๆให้เข้ากัน หรือนำไปผสมกับกากน้ำตาล 1 ลิตรใช้น้ำ 20 ลิตร แล้วใช้หัวเชื้อเจือจางให้ได้อัตราส่วน 1 : 500 เพื่อราดลงดิน

หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงขยายไว้นี้สามารถใช้เป็นหัวเชื้อในการทำน้ำหมักชีวภาพได้อีกด้วย โดยใช้เติมลงในถังน้ำหมักชีวภาพถังละ 1 ลิตร


http://hcsupply.blogspot.com/2008/10/blog-post_08.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/09/2011 1:17 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 10:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

557. เกษตรอินทรีย์ไทย จะถูกกีดกันอะไรบ้าง



สิ่งที่เป็นประเด็นในการประชุมครั้งนี้ก็คือ การใช้สารในการต้านแมลง IFOAM ได้มีการพูดถึงสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการฆ่าแมลง เช่น สะเดา ซึ่งบ้านเราใช้ฆ่าแมลงตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากว่าสะเดาเองไม่มีในยุโรป ทางยุโรปจึงมีการออกกฎระเบียบ ห้ามไม่ให้เราใช้สารจากสะเดาในการฆ่าแมลง รวมทั้งสมุนไพรไทยตัวอื่นๆ ด้วย


"ยาสูบป้องกันแมลง ต้นหนอนตายยาก พืชสมุนไพรไทยทั้งหลาย ห้ามเราใช้ทั้งหมด ซึ่งในปีนี้ ทางสำนักนวัตกรรมเองก็ได้เตรียมยื่นเรื่องรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สะเดาและสมุนไพรไทยเพื่อเข้าไปเจรจาต่อรองในเวทีอีกด้วย"


ในส่วนของเมล็ดพันธุ์ที่มีการพูดกันมาก คือ สารเคมีที่นำมาใช้กันเชื้อรา เริ่มจากการใช้ในขั้นตอนการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ออกจำหน่าย ซึ่งที่ผ่านมาทาง IFOAM ได้ผ่อนผัน หรือปิดตาข้างหนึ่งมาตลอด แต่ในเวทีก็มีการพูดถึงกันอีกครั้ง โดยมีการระบุว่าภายในปี 2010 จะมีการตรวจสอบเรื่องเมล็ดพันธุ์อย่างเข้มข้น


อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องเมล็ดพันธุ์ เป็นความพยายามที่ยากยิ่ง เพราะเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่อยู่ในมือของบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้การพูดคุยในประเด็นนี้เป็นโอกาสของคนที่คิดพัฒนาเมล็ดพันธุ์ปลอดสารในอนาคตอีกช่องทางหนึ่ง


รวมทั้งความคืบหน้าในการที่จะเชื่อมโยง มาตรฐานของยุโรป คือ IFOAM และการจัดตั้งตัวแทนของ IFOAM ในแต่ละประเทศ เพื่อที่จะออกมาตรฐานรับรองเกษตรอินทรีย์ในประเทศนั้นๆ ได้เลย


สำหรับเมืองไทยและผู้ประกอบการไทย หากคิดจะทำบิสซิเนสโมเดลในตอนนี้จะต้องมองให้ไกลและมองให้คุ้มทุนอย่างที่สุด โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่จะก้าวจากการปรับสินค้าเกษตรที่ใช้สารเคมีในปัจจุบันไปสู่การเป็นฟาร์มเกษตรอินทรีย์ก็อาจจะช้าเกินไป และยังเป็นการลงทุนที่สูงด้วย ดังนั้นการมองโอกาสในธุรกิจนี้จึงต้องมองในระยะยาว วางแผนตั้งแต่การผลิต แปรรูป และการวิจัยพัฒนาเพื่อเชื่อมต่อและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า



ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
http://hcsupply.blogspot.com/2009/09/blog-post_10.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 10:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

558. แปรรูปเกษตรอินทรีย์คิดได้แล้ว


ตามที่ได้เกริ่นไว้ หากไทยยังยึดอยู่ที่การปรับความสมดุลในดินทำการเกษตรอินทรีย์เพื่อมูลค่าเพิ่ม ทำคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง (Contract farming) ปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ สร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทั้งในไทยและส่งออก เช่น มาตรฐาน IFOAM จากสภาพันธุ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ก็ดูจะช้าไปหน่อย เพราะคู่แข่งที่สำคัญก็คือประเทศที่เป็นเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมไม่ใช้สารเคมี เช่น ลาว เวียดนามมาแรง ฉะนั้นแล้วสิ่งที่ไทยควรจะมองข้ามชอตไปเลย ก็คือสินค้าแปรรูปจากเกษตรอินทรีย์ เช่น สแน็ก อาหารเสริม ขนม มีการพัฒนาไปค่อนข้างมากแล้ว แต่ก็ยังไม่พอเพียง



"เป้าที่สำคัญ คือเราไม่ควรที่จะขายแค่ของสด พืชเป้าหมายของคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ก็คือข้าว สมุนไพร ผัก และผลไม้ไทย หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน ซึ่งมีศักยภายที่จะมาแปรรูปได้ เราส่งของสดในบางส่วน แต่ผลผลิตในส่วนที่ขนาดยังไม่ได้มาตรฐาน เราก็นำมาแปรรูปทำอาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ"



ส่วนผู้ที่จะแปรรูปหรือต่อยอดเกษตรอินทรีย์ในบ้านเรามีผลการศึกษาและรวบรวมฐานข้อมูลของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย พบว่าปัจจุบันงานวิจัยและนวัตกรรมที่ผ่านมามีจำนวนเพียง 270 ชิ้น โดยเฉลี่ยมีงานวิจัยประมาณ 20-30 งานวิจัยต่อปีเท่านั้น ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะเกิดโอกาสใหม่ๆ ที่ผู้ประกอบการไทยสามารถที่จะนำมาต่อยอดได้อย่างถูกจุด



http://hcsupply.blogspot.com/2009/09/blog-post_10.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 10:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

559. หัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 (Pro Bac 1)





ความเป็นมา
การขยายตัวอย่างรวดเร็วต่อเนื่องของผลผลิตกุ้งทะเลของประเทศไทย เริ่มต้นจากความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ Black tiger shrimp มีผู้คนจากหลายสาขาอาชีพเข้ามาลงทุน เปรียบเทียบได้กับยุคตื่นทอง ต่อมาในระหว่างปี 2538-2540 เกิดปัญหาโรคระบาด ส่งผลให้ผลผลิตลดลง จากนั้น ในปี 2545 เกิดโรคระบาดซ้ำอีก ทำให้กุ้งกุลาดำโตช้า ในปีเดียวกันนี้เอง พื้นที่บางส่วนเปลี่ยนไปเลี้ยงกุ้งขาว Pacific white shrimp ผลผลิตกุ้งทะเลของไทยจึงฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จนในปัจจุบันเกษตรกรเปลี่ยนไปเลี้ยงกุ้งขาวเกือบทั้งหมด


การเลี้ยงกุ้งทะเลแบบพัฒนาโดยคาดหวังผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูง ย่อมเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดจากปรสิต การติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Vibrio และไวรัส ได้แก่ โรคตัวแดงดวงขาว (WSSV) โรคหัวเหลือง (YHV) และโรคแคระแกร็น (IHHNV) รวมทั้งมีการระบาดของโรคจากต่างประเทศ เช่น โรคทอรา (TSV) โรคกล้ามเนื้อตาย (IMNV) เกษตรกรพยายามหาวิธีการป้องกันแก้ปัญหาหลากหลายวิถีทาง เช่น ใช้ยาปฏิชีวนะ Oxytetracycline, Oxolinic acid, Nitroflurans, Chloramphinical และ ใช้สารเคมี Malachite green, Trichlophon แต่ยาและสารเคมีนั้นมาตรฐานสากลไม่ยอมรับ ธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้มีการค้นหาแนวทางเลือกอื่นๆ อีกมาก เช่น การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลภายในฟาร์ม การใช้พันธุ์กุ้งปลอดเชื้อ และการใช้จุลินทรีย์ เป็นต้น


Probiotics เป็นจุลินทรีย์ธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ พบได้ในลำไส้ของสัตว์ทั่วไป สามารถนำมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ เพื่อผลิตเป็นสินค้าเสริมสุขภาพได้ เช่น Lactobacillus ที่ใช้ในการผลิตนมเปรี้ยวและโยเกริต เป็นต้น ในลำไส้ของสัตว์น้ำก็มีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์หลายขนิดเช่นกัน ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับและนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย โดยเฉพาะในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบความหนาแน่นสูง


หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1)
ตั้งแต่ ปี 2551 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาครได้ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วประเทศไทย โดยนักวิชาการของกรมประมงร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้คัดเลือกจุลินทรีย์ในกลุ่ม Bacillus 3 ชนิด คือ B. subtilis, B. megaterium และ B. licheniformis ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ใช้สำหรับบำบัดสารอินทรีย์ที่ตกค้างสะสมในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ บรรจุซองละ 100 กรัม โดยมีปริมาณ Bacillus spp.ไม่ต่ำกว่า106cfu/กรัม มีการควบคุมคุณภาพโดยการสุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาเพาะเชื้อและนับจำนวนโคโลนี ตลอดจนตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อชนิดอื่นๆ ในทุกรุ่นการผลิต (ดาวน์โหลดรายละเอียดวิธีการผลิต)


วิธีใช้
ขั้นตอนที่ 1
การขยายปริมาณจุลินทรีย์ นำหัวเชื้อจุลินทรีย์จำนวน 1 ซอง (100 กรัม) มาผสมกับน้ำสะอาด (น้ำจืดหรือน้ำกร่อยที่สะอาด) จำนวน 250 ลิตร อาหารกุ้งทะเลจำนวน 0.5 กิโลกรัม และกากน้ำตาล 0.5 ลิตร คนให้เข้ากัน ปิดฝาถัง จากนั้นเติมอากาศเบาๆ ติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 36 ชั่วโมง จะได้จุลินทรีย์ขยายที่พร้อมนำไปบำบัดสารอินทรีย์ในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ขั้นตอนที่ 2
การทำให้จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นำจุลินทรีย์ที่ขยายปริมาณแล้ว ไปฉีดหรือราดพื้นบ่อที่ตากแห้ง ในอัตรา 100 ลิตรต่อไร่ จากนั้นไถพรวนเพื่อกลับหน้าดิน แล้วราดจุลินทรีย์ขยายซ้ำอีกครั้งในอัตรา 100 ลิตรต่อไร่ ตากแดดให้แห้งแล้วไถพรวนจนสารอินทรีย์ถูกย่อยสลายดีเรียบร้อยแล้ว จึงเตรียมการเพาะเลี้ยงในขั้นตอนต่อไป

การเก็บรักษา
เก็บไว้ในตู้เย็น หรือในที่ร่ม ได้นานประมาณ 10 เดือน



การขอรับหัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1)
สามารถติดต่อได้ที่หน่วยงานของกรมประมงทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หรือติดต่อโดยตรงที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร โทรศัพท์ 0-3485-7136 และ 0-3442-6220 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณเบ็ญยะมาศ บุญอบรม e-mail: bboonobrom@hotmail.com อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน





http://www.fisheries.go.th/cf-samutsa/index.php?option=com_content&view=article&id=48&Itemid=58
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 4:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

560. บทบาทของจุลินทรีย์ในการเพิ่มธาตุอาหารพืช


เกษตรธรรมชาติ
เกษตรธรรมชาติ หมายถึง การทำเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด แต่จะให้ความสำคัญของดินเป็นอันดับแรก ด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูกเหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพเป็นระบบเกษตรที่มีความยั้งยืนถาวร และเป็นอาชีพที่มั่นคง



หลักเกษตรธรรมชาติ
ถ้าเราศึกษาสภาพป่า เราจะสังเกตเห็นว่าในป่ามีต้นไม้นานาชนิดปะปนกันอยู่เต็มไปหมด ผิวดินถูกปกคลุมไปด้วยใบไม้ที่หล่นทับถมกัน สัตว์ป่าต่างๆ ถ่ายมูลไว้ผิวหน้าดินคลุกเคล้ากับใบไม้และเศษซากพืชที่ตายแล้ว โดยมีมูลสัตว์จำพวกไส้เดือน กิ้งกือ จิ้งหรีด ฯลฯ กัดกินเป็นชิ้นเล็กๆ และมีจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ช่วยย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์เหล่านี้จนกลายเป็นฮิวมัส ซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืช และช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน จึงช่วยให้ต้นไม้ในป่าเจริญเติบโตได้ดี ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่จำเป็นต้องเอาปุ๋ยไปใส่ในป่า นอกจากนี้เศษใบไม้ที่ปกคลุมผิวดินก็เป็นการคุมผิวหน้าดินไว้ป้องกันการสูญเสียความชื้นของดิน ทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไซซอนของรากพืช ถ้าศึกษาต่อไปจะพบว่า แม้ไม่มีใครนำเอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นให้แก่ต้นไม้ในป่า แต่ต้นไม้ในป่าก็อยู่ได้ นั่นก็คือต้นพืชที่ขึ้นอยู่บนดินที่ดีจะมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้มีโรคและแมลงมารบกวนบ้าง แต่ก็ไม่ถึงขั้นเสียหาย อีกทั้งพืชที่ปลูกอยู่ในป่าก็มิได้เป็นพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด แต่เป็นพืชนานาชนิดหลากหลายสายพันธุ์ขึ้นปะปนกันอยู่ ธรรมชาติของแมลงแต่ละชนิดย่อมกินพืชต่างชนิดกันเป็นอาหาร และพืชบางชนิดก็มีสารที่แมลงไม่ชอบ อีกทั้งแมลงบางชนิดก็ยังเป็นศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ฉะนั้นโอกาสที่แมลงชนิดใดชนิดหนึ่งจะระบาดจึงแทบจะไม่มี


ถึงแม้ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี ไม่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรใดๆ แต่ป่าก็อยู่ได้อย่างสมบูรณ์ เกษตรธรรมชาติก็เช่นกัน เราสามารถเรียนรู้และศึกษาจากสภาพธรรมชาติของป่า และใช้เป็นหลักการในการทำการเกษตรธรรมชาติได้ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน อันได้แก่ ดิน พืช และแมลง คือการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดี การใช้ระบบการปลูกพืชหลายชนิด และการอนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


1. การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ดี โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ การคลุมดินและการปลูกพืชหมุนเวียน


2. การใช้ระบบการปลูกพืชหลายชนิด โดยการปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชแซม เพื่อเป็นการจำลองป่าไว้ในไร่นา ซึ่งช่วยป้องกันการระบาดของโรคและแมลงและยังเพื่อประโยชน์
ของการปรับปรุงดินอีกด้วย


3. การอนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ โดยการไม่ใช้สารเคมีป้องกันและการกำจัดศัตรูพืช เพราะสารเคมีทำลายแมลงศัตรูพืชและทำลายตัวห้ำ และตัวเบียน ที่เป็นตัวทำให้เกิดสมดุลของแมลงตามธรรมชาติ (ทิพวรรณ สิทธิรังสรรค์)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพ
เมื่อประมาณ 500 ล้านปีก่อน มีจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เกิดขึ้น และจุลินทรีย์จะทำหน้าที่ย่อยสลายส่วนต่างๆของพืช ให้กลายเป็นธาตุอาหารพืชในดิน ดินขนาดเท่าหัวแม่มือจะมีจุลินทรีย์อยู่ประมาณ 5 พันล้านตัว จุลินทรีย์จะย่อยสลายใบไม้และยังย่อยสลายพวกหินพุ โดยเฉพาะหินเก่าๆที่อยู่ริมน้ำ


ปุ๋ยชีวภาพ หรือ ปุ๋ยจุลินทรีย์ หมายถึง การนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ ทางชีวเคมี และการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ตลอดจนการปลดปล่อยธาตุอาหารจากพืช จากอินทรีย์ หรือจากอนินทรีย์วัตถุ หรือหมายถึง จุลินทรีย์ที่นำมาใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือเพิ่มความต้านทานของโรคพืช ซึงจากความหมายของคำว่าปุ๋ยชีวภาพ จะเห็นว่าในดินทั่วไป ถ้ามีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อยู่แล้ว จะหมายความว่าในดินนั้นๆ จะมีปุ๋ยชีวภาพอยู่บ้างในปริมาณต่างกัน ดินที่มีลักษณะทางชีวภาพที่ดี จึงหมายถึงดินที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ต่างๆ ที่มีประโยชน์ในการเพิ่มการเจริญเติบโตให้กับพืชได้ดังนั้นวิธีการที่จะช่วยปรับปรุงดินได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง คือ การใส่ปุ๋ยชีวภาพ เช่นการใส่เชื้อไรโซเบียมหรือสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว สามารถเพิ่มไนโตเจนให้กับดินและพืช เป็นต้น ปุ๋ยชีวภาพที่เกษตรกรนำไปใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิดได้แก่ ไรโซเบียม แหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ไมคอร์ไรซา และหัวเชื้อปุ๋ยหมัก ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป (ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์)


ปัจจุบันสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมเมืองต้องเผชิญกับมลพิษนานาชนิดตั้งแต่ในน้ำ อากาศตลอดจนถึงอาหารที่นำมาบริโภค ซึ่งในส่วนของอาหารนี้เราสามารถหลีกเลี่ยงได้


หากเกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีในการผลิตลง โดยหันมาทำการผลิตด้วยวิธี เกษตรธรรมชาติขณะเดียวกันการผลิตด้วยวิธีธรรมชาตินี้ยังให้ประโยชน์ต่อเกษตรกร ผู้ผลิต ทั้งในด้านการลดต้นทุนการผลิตและการลดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมี


กิจกรรมหลักที่เกษตรกรสามารถทำได้เองเพื่อความก้าวหน้าไปสู่แนวทางเกษตรธรรมชาติ คือ

1. น้ำหมักชีวภาพเป็นจุลินทรีย์ธรรมชาติที่มีประโยชน์ สำหรับดินเป็นตัวเร่งปุ๋ยชีวภาพให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นสามารถใช้สารขจัดวัชพืช สารขับไล่แมลงและยังสามารถใช้ในกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะช่วยรักษาสภาพแวดล้อมของฟาร์มปศุสัตว์ให้ปราศจากแมลงวันและเชื้อโรคต่างๆ


2. ปุ๋ยชีวภาพเป็นอาหารทางธรรมชาติสำหรับพืช ช่วยฟื้นฟูสภาพดินให้สมบูรณ์มี ราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมีซึ่งต้องซื้อจากต่างประเทศ (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)


สรุป
น้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยชีวภาพเป็นสารธรรมชาติที่สนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ได้ในราคาถูก และที่สำคัญสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชผัก ผลไม้ หากใช้ปุ๋ยชีวภาพจะลดต้นทุนในการผลิตและน้ำหมักชีวภาพจะทำให้ได้ผลผลิตปลอดจากสารพิษซึ่งเป็นที่ต้องการ ของทั้งในประเทศและต่างประเทศ อันจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติให้มั่นคงยิ่งขึ้น


ปุ๋ยชีวภาพ หรือ ปุ๋ยจุลินทรีย์ หมายถึง การนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ ทางชีวเคมี และการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ตลอดจนการปลดปล่อยธาตุอาหารจากพืช จากอินทรีย์ หรือจากอนินทรีย์วัตถุ หรือหมายถึง จุลินทรีย์ที่นำมาใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือเพิ่มความต้านทานของโรค พืชปุ๋ยชีวภาพมีหลายชนิดหลายประเภท ซึ่งอาจแบ่งแยกได้ตามชนิดของจุลินทรีย์ หรือตามประเภทของธาตุอาหารที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้กับพืช ซึ่งธาตุอาหารหลักได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ธาตุอาหารเหล่านี้จะมีกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินหลายชนิดที่สามารถตรึงจาก อากาศ หรือดูดซับจากหินแร่ในดิน ทำให้ได้ธาตุอาหารที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ธาตุอาหารพืชที่ได้จากจุลินทรีย์สามารถแบ่งตามกิจกรรมของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้


1. กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุไนโตรเจน
จากการที่ธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญต่อพืชมาก ดินที่ทำการเพาะปลูกจึงมักขาดธาตุไนโตรเจน เนื่องจากธาตุไนโตรเจนสามารถสูญเสียจากดินได้ง่ายโดยธรรมชาติ และโดยการกระทำของจุลินทรีย์บางชนิดในขบวนการ Denitrification จะ ทำให้ธาตุไนโตรเจนในดินแปรรูปและสูญเสียในสภาพที่เป็นก๊าซ จึงควรมีการเติมไนโตรเจนลงในดินมีจุลินทรีย์ในดินหลายชนิดที่สามารถตรึง ไนโตรเจนจากอากาศให้เป็นธาตุไนโตรเจนที่มีประโยชน์กับพืช โดยขบวนการตรึงไนโตรเจนในเซลล์พืช ส่วนหนึ่งของธาตุไนโตรเจนได้จากสารที่จุลินทรีย์สามารถดูดซับธาตุได้เอง อีกส่วนหนึ่งจะปลดปล่อยในรูปไนเตรทเพื่อให้พืชนำไปใช้ได้หรืออยู่ในดิน ดังนั้น ถ้าดินมี จุลินทรีย์กลุ่มนี้อยู่ก็จะสามารถเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนได้ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีเอนไซม์ไนโตรจิเนส สามารถเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้กลายเป็นกรดอะมิโน และสารประกอบไนโตรเจนอื่นๆ ให้พืชนำไปใช้ได้ จุลินทรีย์พวกที่ตรึงไนโตรเจนได้นี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ


กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศโดยต้องอาศัยอยู่ร่วมกับพืช (Symbiotic N2 fixing microorganisms)
ได้แก่ เชื้อไรโซเบียม แฟรงเคีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน บางชนิด ไรโซเบียมจะอาศัยอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วทั้งพืชล้มลุกและไม้ยืนต้น เช่นถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง แค กระถินณรงค์ ก้ามปูเป็นต้น แฟรงเคียจะอาศัยอยู่ร่วมกับพืชสกุล Cassuarina ซึ่งได้แก่ สนทะเล และสนประดิพัทธ์ อะนาบีนาเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสกุลไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria)จะพบอาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง นอสทอค(Nostoc) เป็นสาหร่ายที่อยู่ร่วมกับรากของต้นปรง จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับพืชได้


กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้เอง (Free living microorganisms)
จุลินทรีย์ พวกนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกับพืช มีชื่อเรียกว่าจุลินทรีย์อิสระ ได้แก่ อะโซโตแบคเตอร์ อะโซสสไปริลลั่มเป็นต้น จุลินทรีย์อิสระเหล่านี้สามารถตรึงไนโตรเจนให้กับพืชพวกข้าวและพืชไร่ต่างๆ


2. กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัส เป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญอีกธาตุหนึ่งที่พืชต้องการมาก พืชมักจะได้รับธาตุฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ ทั้งที่บางครั้งในดินมีธาตุนี้อยู่เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากธาตุฟอสฟอรัสละลายไม่ดี และมักจะอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์แก่พืช ถ้าหากมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ต่ำหรือสูงไป นอกจากนี้ธาตุฟอสฟอรัสมีการเคลื่อนที่ในดินได้น้อยมาก รากพืชจะต้องชอนไชไปยังแหล่ง ที่มีธาตุนี้ละลายอยู่จึงจะได้รับประโยชน์ พืชที่มีระบบรากไม่ดีมักได้รับธาตุนี้ไม่เพียงพอ กิจกรรมของ จุลินทรีย์ บางชนิด เช่น เชื้อไมโคไรซ่าจะสามารถช่วยดูดธาตุฟอสฟอรัสให้กับพืชได้ และกิจกรรมของจุลินทรีย์บางชนิดจะสามารถช่วยย่อยละลายธาตุฟอสฟอรัสออกจากหิน ฟอสเฟต ทำให้พืชสามารถนำฟอสฟอรัสไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น


กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยดูดซับธาตุฟอสฟอรัสให้กับพืช (Phosphate absorbingmicroorganisms)
จุลินทรีย์ พวกนี้ได้แก่เชื้อไมโคไรซ่า ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในรากพืชในระบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน ส่วนของเส้นใยที่พันอยู่กับรากพืชจะชอนไชเข้าไปในดิน ช่วยดูดธาตุอาหารโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส ทำให้พืชที่มีเชื้อนี้อยู่จะได้รับธาตุฟอสฟอรัสในปริมาณที่เพียงพอ นอกจากนี้ไมโคไรซ่ายังช่วยป้องกันไม่ให้ฟอสฟอรัสที่ละลายออกมาถูกตรึงโดย ปฏิกิริยาทางเคมีของดินด้วย เพราะตัวเชื้อจะช่วยดูดซับเก็บไว้ในโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า อาบัสกูล และเวสวิเคิลที่อยู่ในเซลล์พืช เชื้อไมโคไรซ่าจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ วี-เอไมโคไรซ่า จะพบอยู่ในพืชพวกพืชไร่ พืชสวน พืชผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ และเอ็คโตไมโคไรซ่า จะพบอยู่ในพืชพวกไม้ยืนต้น ไม้ปลูกป่า เช่นสนเป็นต้น


กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายหินฟอสเฟต (Phosphate solubilizing microorganisms)
ประเทศ ไทยพบว่ามีหินฟอสเฟตอยู่ในปริมาณมาก แต่การนำมาใช้ยังไม่แพร่หลาย เพราะมีปริมาณฟอสเฟตที่จะละลายออกให้พืชได้ใช้น้อย การที่จะใช้หินฟอสเฟตให้เป็นประโยชน์ จะต้องทำการแปรรูปให้มีการละลายดีขึ้น ปัจจุบันได้มีการพบว่ามีจุลินทรีย์ดินหลายชนิด ทั้งแบคทีเรีย และเชื้อราที่สามารถทำให้หินฟอสเฟตละลายเป็นประโยชน์แก่พืชได้ เช่น Bacillus, Pseudomonas, Thiobacillus, Aspergillus, Penicilliumและ อื่นๆอีกมาก การที่จะทำให้หินฟอสเฟตละลายดี จะต้องทำให้เกิดสภาพกรด ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะเป็นตัวทำให้เกิดกรดออกมาละลายฟอสฟอรัสได้


3. กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุโพแทสเซียม
ธาตุ ที่สำคัญอีกธาตุหนึ่ง คือธาตุโพแทสเซียม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์พวกโปรตีน แป้งและไขมัน ซึ่งถ้าพืชขาดธาตุนี้ก็จะเกิดอาการอ่อนแอเช่นกัน ธาตุโพแทสเซียมนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในดินในลักษณะแร่ธาตุ (lattice potassium) ที่อยู่ใน 3 ลักษณะ คือ ถูกตรึงไว้ (fixed)ละลายน้ำได้ (dissolvable)และที่มีประจุแลกเปลี่ยนได้ (exchangeable)ในการที่จะทำให้โพแทสเซียมอยู่ในสภาพที่นำมาใช้ได้มี 3วิธีคือ I)สลายทางกายภาพ II)สลายทางเคมี และ III)สลายทางอินทรีย์ ซึ่งการสลายทางอินทรีย์ (organicweathering) จะมีผลเร็วและประหยัดที่สุดซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้จุลินทรีย์พวก bacteria เข้าช่วยย่อยจะทำให้พืชสามารถนำธาตุโพแทสเซียมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จุลินทรีย์พวกนี้ ได้แก่ พวก Bacillus บางชนิด เป็นต้น สามารถใช้ได้กับพืชหลายชนิด ทั้งพืชไร่และพืชสวน โดยเฉพาะไม้ผลจะทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้น


4. กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอื่นๆ
ธาตุ อาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี มักมีอยู่ในดินในสภาพที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ การใช้จุลินทรีย์เข้าช่วยย่อยจะทำให้ธาตุเหล่านี้ที่มีในดินเป็นประโยชน์แก่ พืชเพิ่มขึ้น เช่น เชื้อไมโคไรซ่า สามารถช่วยดูดซับธาตุอื่นๆ ที่พืชต้องการได้ ส่วนจุลินทรีย์พวก Silicate bacteria สามารถช่วยย่อยให้พืชนำ Silicon ไปใช้ได้ แร่ธาตุที่มีอยู่ในดินจะสามารถถูกย่อยละลายโดยกรด ที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์บางพวก เช่นพวกสารประกอบธาตุเหล็กบางชนิดซึ่งมักจะอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ ก็สามารถถูกย่อยละลายให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้โดยจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหารหลายชนิด โดยการย่อยอินทรียวัตถุการย่อยสลายอินทรียวัตถุแต่ละชนิด ในแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นจากจุลินทรีย์หลายกลุ่มและต่อเนื่องกันแบบลูกโซ่สนับ สนุนซึ่งกันและกัน กิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน นอกจากจะมีการทำให้เปลี่ยนแปลงธาตุอาหารพืชให้อยู่ในรูป ที่เป็นประโยชนได้แล้ว ยังทำให้เกิดสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น ฮอร์โมน และสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและรากพืช(กรมวิชาการเกษตร)


http://www.bionanothai.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 7:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

561. เวียดนามทำสำเร็จ คัดพันธุ์ข้าวสู้ไต้ฝุ่น ภัยแล้ง และดินเค็ม





ภาพแฟ้มรอยเตอร์ กระดูกสันหลังของชาติกำลังระบายน้ำออกจากผืนนาในช่วงที่ต้นกล้ากำลังขึ้นงาม ในเขตที่ชลประทานเข้าถึง แต่ข้าวพันธุ์ใหม่อาจจะช่วยแบ่งเบาภาระนี้ได้มาก เพราะเติบโตได้ในสภาพน้ำท่วมและพายุแรง ในภาคใต้เวียดนามยังมีข้าวอีกหลายพันธุ์ ที่เติบโตได้ในสภาพแห้งแล้งและดินเค็มจากน้ำทะเลได้



ASTVผู้จัดการออนไลน์ — เวียดนามประสบความสำเร็จในการพัฒนาข้าวพันธุ์ผสม เพื่อให้สามารถต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ที่กำลังเปลี่ยนแปลงสรรพสิ่ง ข้าวพันธุ์ใหม่ที่คัดพันธุ์โดยกลุ่มชาวนาใน จ.กว๋างนาม (Quang Nam) ในภาคกลาง เพิ่งได้รับประกาศนียบัตร และการจดทะเบียนลิขสิทธิ์จากทางการในสัปดาห์นี้

ขณะเดียวกัน ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงในภาคใต้ สถาบันวิจัยข้าวที่นั่นสามารถคัดพันธุ์ข้าวลูกผสม และทดลองปลูกตั้งแต่ปีที่แล้ว พบว่า สามารถขึ้นได้งอกงามดีในสภาพดินเค็ม อันเกิดจากน้ำทะเลที่เอ่อท่วมเข้าไปในนาข้าวของราษฎรกินอาณาบริเวณกว้างมาก ขึ้นทุกปี

สำหรับข้าวพันธุ์ใหม่ที่ จ.กว๋างนาม ที่ใช้รหัสว่า CT2 พัฒนาขึ้นมาโดยการสนับสนุนด้านเงินทุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาแห่งนอร์เวย์ (Norwegian Development Fund) มาตั้งแต่ปี 2549 ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าข้าวทั่วไปที่ชาวนาในท้องถิ่นใช้ปลูกกัน สื่อของทางการกล่าว

สหกรณ์เพาะปลูกของรัฐในจังหวัดดังกล่าวได้ซื้อลิขสิทธิ์ข้าว CT2 ไปในราคา 200 ล้านด่ง (10,500 ดอลลาร์) หลังจากใช้งบประมาณไปหลายร้อยล้านด่งในการคัดพันธุ์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จหนังสือพิมพ์ไซ่ง่อนหยายฟง (Saigon Giai Phong) กล่าว

สภาพภูมิอากาศในเวียดนาม ประเทศที่มีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,000 กม.เปลี่ยนแปลงไปมาก จึงต้องมีข้าวที่สามารถต้านทานน้ำท่วมและพายุได้ดี เนื่องจากในแต่ละปีจะมีไต้ฝุ่น 8-10 ลูกพัดเข้า

ปีที่แล้วไต้ฝุ่นสองลูก คือ เกดสะหนา (Ketsana) และ มิริแนะ (Mirinae) สร้างความเสียหายแก่นาข้าวในเขตภาคกลางยับไปหลายพันเฮกตาร์ มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่า 200 คน ข้าวพันธุ์ใหม่จะสามารถลดการสูญเสียลงได้มากในท่ามกลางพายุรุนแรง

ก่อนหน้านี้ ในเดือน ก.พ.สถาบันวิจัยข้าวเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta Rice Research Institute) ได้ประกาศผลการทดลองข้าวพันธุ์ใหม่ คือ OM6162 ที่สามารถต้านทานภัยแห้งแล้งกับสภาพดินเค็มได้ดีและได้จดสิทธิบัตรข้าว พันธุ์ใหม่แล้ว

ดร.เล วัน แบ๋ง (Le Van Banh) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวเขตปากแม่น้ำโขง ในนครเกิ่นเทอ (Can Tho) กล่าวว่า ปัจจุบันสามารถคัดพันธุ์ข้าวได้ 21 พันธุ์ที่เติบโตในภูมิอากาศแห้งแล้งได้ดี อีก 14 พันธุ์เติบโตในผืนนาที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลได้

ทั้งหมดให้ผลผลิตเป็นข้าวเปลือก 4-5 ตันต่อเฮกตาร์ (6.25 ไร่) ในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง และ 6-8 ตันต่อเฮกตาร์ในฤดูข้าวนาปี ดร.แบ๋ง กล่าว

ข้าว OM6162 กำลังปลูกอยู่ใน 9 จังหวัดเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ตั้งแต่นครเกิ่นเทอ ไปจนถึง จ..ด่งท้าป (Dong Thap) จ่าวีง (Tra Vinh) กับ จ.เบ๊นแจ (Ben Tre) และจะขยายพื้นที่ออกไปอีก

หัวหน้าศูนย์เมล็ดพันธุ์ จ.ด่งท้าป กล่าวกับไซ่ง่อนหยายฟง ว่า ข้าว OM6162 เป็นข้าวคุณภาพดี ได้มาตรฐานสำหรับส่งออก


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
http://dna.kps.ku.ac.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 7:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

562. 'หอมมะลิ' แย่แน่ เวียดนามฉวยตั้งชื่อ 'จัสมิน ไรซ์'





พาณิชย์ เผยข้าวหอมมะลิไทยแย่แน่ หลังเวียดนามฉวยตั้งชื่อข้าว "จัสมิน ไรซ์" เลียนแบบข้าวหอมมะลิไทย ออกตีตลาดทั่วอังกฤษ แถมดัมพ์ราคาขายต่ำกว่ามาก หวั่นไทยเสียตลาด

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. มีรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้ ประเทศเวียดนาม ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวเลียนแบบข้าวหอมมะลิของไทย

และใช้ชื่อเลียนแบบว่า จัสมิน ไรซ์ นำออกขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตเอเชีย ทั่วกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อตีตลาดข้าวหอมมะลิไทย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หากไทยไม่เร่งพัฒนา และส่งเสริมการตลาดอาจถูกข้าว จัสมินไรซ์ ของเวียดนามที่ราคาถูกกว่าแย่งตลาดไป

สำหรับข้าวจัสมิน ไรซ์ บริษัท โอเรียนท์ เมอร์ชานท์ จากออสเตรเลียเป็นผู้นำเข้าจากเวียดนามผ่านตัวแทนเนเธอร์แลนด์

โดยใช้ยี่ห้อว่า เชฟีส เวิลด์ พร้อม ระบุหน้าถุงว่า จัสมิน ไรซ์ ขายในราคาถูกกว่าข้าวหอมมะลิไทยถึง 50% โดยถุงขนาด 20 กิโลกรัม ขายเพียง 20 ปอนด์ หรือประมาณ 1,000 บาท ขณะที่ข้าวหอมมะลิไทยขนาดเท่ากันขายถึง 30 ปอนด์ ประมาณ 1,500 บาท

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยคงไม่สามารถฟ้องร้องเวียดนามละเมิดลิขสิทธิ์ชื่อข้าว จัสมิน ไรซ์ แปลว่าข้าวหอมมะลิ

เพราะชื่อดังกล่าวเป็นคำสามัญ ที่ใช้ได้ทั่วไป ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ ดังนั้นแนว ทางที่ไทยทำได้ คือ เน้นส่งเสริมให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย ที่มีเอกลักษณ์และเหมาะสมกับอาหารไทย เพื่อช่วยให้ผู้บริโภครู้จัก และเห็นถึงความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิไทย กับข้าวหอมมะลิจากประเทศอื่น



ที่มา ไทยรัฐ
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/หอมมะลิ-แย่แน่-เวียดนามฉวยตั้งชื่อ-จัสมิน-ไรซ์.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 7:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

563. ข้าวพันธุ์พิเศษ (specialty rice)


ข้าวพันธุ์พิเศษ (specialty rice) คือข้าวได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการนำไปใช้เฉพาะทางหรือในเขตเพาะปลูกที่มีปัญหาเฉพาะถิ่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้เล็งเห็นความสำคัญของพันธุ์ข้าวกับโอกาสของชาวนาไทย จึงได้ร่วมกันวิจัยจนเกิดเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวพิเศษสู่มือเกษตรกรอย่างรวดเร็วที่สุด อันประกอบไปด้วยข้าวนานาสายพันธุ์

ทั้งนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสนและหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว โดยมีผลงานหลัก คือ พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่รวมความต้านทานโรค, แมลง และสิ่งแวดล้อมที่มาจำกัดผลผลิตของข้าวหอมให้ลดต่ำลงกับโภชนาการสูงที่มีธาตุเหล็ก สังกะสี สารต่อต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งต้านเบาหวาน ข้าวเหล่านี้เป็นที่สนใจในหมู่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นข้าวเหล่านี้อาจกลายเป็นสินค้าส่งออกที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง

ในฐานะที่หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวและศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มีพันธุ์ข้าวใหม่ที่น่าสนใจจำนวนมาก

ดังนั้นจึงขอเผยแพร่ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวพิเศษนานาพันธุ์เหล่านี้ และส่งเสริมการปลูกบนแปลงเกษตรกรให้สอดคล้องกับตลาดผู้บริโภคต่อไป



วีดี ข่าวจากช่อง 7 เกษตรวันนี้
พบกับ รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร งานวิจัยพันธุ์ข้าวหอม


http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว/ข้าวพันธุ์พิเศษ-specialty-rice.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 7:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

564. ทางเลือก...ข้าวพันธุ์ผสม





ข้าว....เป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยเรา ซึ่ง เกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพสูง ปีหนึ่งประมาณ 900,000 ตัน ในขณะที่ประเทศ ไทยสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพประมาณปีละ 100,000 ตันเท่านั้น

การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่แฝงอยู่ในปัจจัยการผลิต ทำให้การแข่งขันเชิงการค้าในตลาดโลกค่อนข้างที่จะลำบาก ผลผลิตข้าว..

ไทยเฉลี่ยอยู่ที่ ...................... 454 กิโลกรัมต่อไร่
เวียดนาม ............................ 862 กิโลกรัมต่อไร่
อินโดนีเซีย .......................... 813 กิโลกรัมต่อไร่
จีนได้ถึง ............................. 1,054 กิโลกรัมต่อไร่

นอกจากภาครัฐ คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมการข้าว และ กรมวิชาการเกษตร ที่มีการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพแล้ว ในภาคเอกชนก็มีหลายองค์กรดำเนินการพัฒนาพันธุ์เช่นกัน อาทิ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้เป็น ทางเลือก และ ทางรอด ของเกษตรกร

นายธวุฒิ กับ นางสายฝน กำจัดภัย ทำนาอยู่ที่ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ได้ นำพันธุ์ข้าวลูกผสม C.P.304 ซึ่งผลิตโดย กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ปลูกในรุ่นแรกให้ผลผลิตสูงถึง 1,450 กิโลกรัมต่อไร่ ความชื้น 15% ขณะที่พันธุ์ข้าวทั่วไปในพื้นที่ใกล้เคียงเฉลี่ยที่ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่

และ...ใน รุ่น 2 ตรงกับช่วงนาปรังซึ่งได้รับผลกระทบจากอากาศที่ร้อนอบอ้าว ผลผลิตข้าวลูกผสม C.P.304 ก็เฉลี่ยได้ที่ 900 ถึง 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของพันธุ์ข้าวทั่วไปในแปลงใกล้เคียงอยู่ที่ 600 ถึง 700 กิโลกรัมต่อไร่

เกษตรกรเจ้าของแปลงนา ยังระบุด้วยว่า....ข้าวลูกผสม C.P.304 มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นเฉลี่ยเพียง 95 ถึง 100 วัน ไม่มีปัญหาเรื่องข้าวดีด ข้าวเด้ง และ มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดีกว่าพันธุ์ข้าวทั่วไป....จึงเหมาะกับ พฤติกรรมการปลูกข้าวในเขต เกษตรกรรม ภาคกลาง

คุณมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ บอกว่า....กลุ่มพืชฯ เดินหน้าพัฒนาสายพันธุ์ข้าว โดยวิธีการแบบดั้งเดิม
(conventionalbreeding) ในลักษณะเดียวกับการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม ไม่ได้ใช้การตัดต่อยีน หรือ พันธุกรรม...จึงไม่ใช่ข้าวจีเอ็มโอ (GMOs)

และ....พร้อมจับมือกรมการ ข้าว ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กข.29 และ กข.41 เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ออกจำหน่ายในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงฤดูนาปีประจำปี 2553...

....และขณะนี้ บริษัทฯอยู่ระหว่างการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสมพันธุ์ใหม่ อีก 4-5 สายพันธุ์ ก่อนเป็นการค้า (pre commercial seed) โดยจะนำไปปลูกทดลอง หากให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ C.P.304 ในอัตราเฉลี่ยกว่า 10%

ก็ จะ...ผลิตเมล็ดพันธุ์ออกสู่ตลาด เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร ในปีต่อๆไป..!!!



ดอกสะแบง
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์

http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/ทางเลือก...ข้าวพันธุ์ผสม.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 8:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

565. ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ของดีที่ (เกือบ) ถูกลืม





โดย : รัชดา ธราภาค

อาหารหลักของไทยที่กลายเป็นวัฒนธรรม แต่กลับถูกลืมเลือนในช่วงหลายสิบปี โชคดีที่วันนี้ ข้าวพื้นเมือง ถูกใส่ใจศึกษา เพื่อพบว่าคุณค่าสูงส่ง

วัฒนธรรมข้าวของไทย ก่อตัวมาพร้อม 'ข้าวพื้นเมือง' หลากสายพันธุ์ แต่เมื่อข้าวพัฒนาตัวเป็นผลิตผลการเกษตรที่สำคัญของชาติ ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคที่เริ่มลืมเลือนชื่ออย่าง สังข์หยด, เหลืองเลาขวัญ, กันตัง, กอเตี้ย, หอมหมาตื่น ฯลฯ เพราะแม้แต่ชาวนายุคนี้เองก็เหมือนจะรู้จักข้าวแค่พันธุ์ กข ไปจนถึงไม่รู้เลยว่าข้าวที่ปลูกอยู่มีชื่อพันธุ์ว่าอะไร

ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ได้รับความสนใจให้ความสำคัญอีกครั้งในยุคที่การดูแลสุขภาพและรักษ์สิ่งแวดล้อมกลายเป็นกระแส แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่เกือบจะสายเกินไปในเมื่อเกษตรกรของยุคนี้ต่างหันไปปลูกข้าวพันธุ์เดียวกันทั้งประเทศ

คุณวิลิต เตชะไพบูลย์ ทายาทตระกูลดัง ที่ทิ้งธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวของครอบครัวไว้เบื้องหลัง แล้วหันไปเป็นชาวนา กลายเป็นหนึ่งในน้อยรายของผู้ที่รื้อฟื้นและผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองออกสู่ตลาดให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค

"ตอนแรกผมคิดแค่การทำนาข้าวอินทรีย์ ที่ไม่ใช้สารเคมี แต่พอไปทำแล้วจึงพบว่าพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ก็คือข้าวพันธุ์พื้นบ้านเพราะมันเหมาะกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของแต่ละท้องที่ ทำให้ไม่ต้องอัดปุ๋ยหรือใช้ยาฆ่าแมลง"

'วิลิต' ย้อนความหลังเมื่อเกือบ 10 ปีมาแล้ว ที่เขาหันไปยึดวิถีเกษตรกรเลี้ยงชีพบนที่ดิน 8 ไร่ในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นการประกาศตัวเป็นเกษตรกร 'ออร์แกนิค' ท่ามกลางไร่นาเคมี แต่พันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เขาบอกว่าดีนั้น มีความหมายว่าต้องดั้นด้นไปเสาะหากันถึงท้องถิ่นชนบทห่างไกล ที่เหลือชาวบ้านเพียงไม่กี่รายที่ยังปลูกข้าวพันธุ์ 'ขาวนางพญา' เอาไว้กินกันเองในครัวเรือน





"ช่วงปีแรกค่อนข้างขลุกขลัก พยายามแบ่งโซนเพื่อแยกสายพันธุ์ไม่ให้ปะปนกัน" แม้จะไม่ได้ราบรื่น แต่นาของ 'วิลิต' ก็ให้ผลผลิตตอบแทนแรงกายและแรงใจแบบไม่น้อยหน้าไปกว่าที่ชาวนาในอดีตเคยสร้างทำ แม้ตัวเลข 50 ถัง ต่อไร่ จากนาของเขาจะน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิต 100-120 ถัง ของชาวนาทั่วไป แต่ต้นทุนต่ำกว่าหลายเท่าเมื่อไม่ต้องควักกระเป๋าเป็นค่าปุ๋ยและยาฆ่าแมลง

"ตัวที่หลอกเราคือพันธุ์ข้าว ข้าวพันธุ์ กข ทั้งหมดที่กรมการข้าวนำมา มันมาพร้อมกับการต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง เป้าหมายเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง จากที่เคยได้ 60-70 ถัง พอใช้ปุ๋ยใช้ยา อาจได้ถึง 100-120 ถัง ดูน่าตื่นเต้น"

แต่สิ่งที่ตามมาคือต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ๆ เพราะพื้นดินที่เสื่อมทรามลง กับโรคแมลงต่าง ๆ ที่พัฒนาตัวสู้กับยา ยิ่งทำให้เกษตรกรต้องหาซื้อปุ๋ยและยาฆ่าแมลงมาใช้ในไร่นาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนชาวนาพากันจมกองหนี้ ขณะที่ผู้บริโภครับสารเคมีไปเต็ม ๆ ...

ผ่านไปหลายปี 'นาวิลิต' ให้ผลผลิตพอเลี้ยงตัว พร้อม ๆ กับการทำหน้าที่เป็นแปลงทดลองสำหรับการปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ หนุ่มจากเมืองกรุงเริ่มแสวงหาพันธุ์ข้าวจากแหล่งต่าง ๆ มาซอยแปลง เพื่อลองปลูกในพื้นที่ เพื่อจะพบว่า..

"ข้าวพื้นบ้านแต่ละพันธุ์มีธรรมชาติที่แตกต่างกัน ข้าวภาคกลางส่วนมากเม็ดยาว หุงแล้วร่วน มีความหอมแตกต่างกัน"

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่ถูกปลูกในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันด้วย 'วิลิต' ส่งข้าวในนาไปตรวจสอบกับ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าในตัวอย่าง ข้าวกล้องเหลืองเลาขวัญ, ข้าวกล้องนางพญา, และ ข้าวกล้องกันตัง อย่างละ 100 กรัม จากที่นาของเขา มีธาตุเหล็กและไนอะซินค่อนข้างสูง คือ 1.4-6.60, 1.0-5.86 และ 1.1-5.24 ตามลำดับ


ข้าวพันธุ์ดี มีแบรนด์
จากการทดลองปล่อยข้าวพันธุ์พื้นเมืองสู่ตลาดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา วิลิต พบว่า กระแสนิยมเน้นข้าวนิ่ม หุงขึ้นหม้อ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของข้าวหอมมะลิ ที่กลายเป็นต้นแบบของข้าวไทยที่ได้รับความนิยมจากคนส่วนใหญ่ กระนั้น ข้อมูลจากการวิจัยด้านคุณค่าทางโภชนาการ และแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางธรรมชาติ รวมทั้งความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ ทำให้ตลาดสำหรับข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่ผลิตจากนาของเขาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และเริ่มขยายตัวทีละน้อย โดยมีเกษตรกรจากนาใกล้เคียงทยอยมาขอแบ่งพันธุ์ข้าวไปทดลองปลูกในนาของตัวเอง แม้จะเพียงจำนวนไม่เกินนิ้วนับ

วันนี้พันธุ์ข้าวจากนา 8 ไร่ของวิลิต ประกอบด้วย พันธุ์สันป่าตอง, กันตัง, ปทุมเทพ, เหลืองปะทิว, หอมดิน, หอมมะลิแดง, หอมนิล และ เหลืองเลาขวัญ, นอกจากนี้ ยังมีที่ปลูกไว้เพื่อคัดพันธุ์ ได้แก่ เหลืองทอง, แดงใหญ่, พวงเงิน, บาสมาติก, และมีที่คัดพันธุ์เก็บไว้แล้วอีกกว่า 10 สายพันธุ์

"ปลูกพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดในท้องที่เป็นหลัก เน้น 8 พันธุ์หลัก แต่ก็มีพันธุ์อื่น ๆ ที่พร้อมจะมาสลับเพื่อให้ได้ผลผลิตที่แตกต่างกันในแต่ละรอบปีการผลิต วิลิต พูดถึงพันธุ์ข้าวที่มีพร้อมผลิตสู่ตลาดอย่างหลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือกลิ้มลอง" เขายังมีแบรนด์ นาวิลิต และร้าน บ้านนาวิลิต ที่ตึกรีเจ้นท์ ถนนราชดำริ สินค้ามีทั้งที่มาจากไร่นาของเขาเอง และรับมาจากเกษตรกรในท้องที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นข้าวกล้อง ผัก-ผลไม้ น้ำตาลโตนด ธัญพืช ผลิตภัณฑ์นม น้ำผึ้ง ไข่ ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค

"ตลาดอินทรีย์สดใส มี 'ผู้บริโภคสีเขียว' ที่ใส่ใจสุขภาพและห่วงใยสิ่งแวดล้อมพร้อมจะให้การสนับสนุนผลผลิตเหล่านี้" วิลิต สรุปบทเรียนการเป็นผู้ผลิตในไร่นาอินทรีย์เกือบ 10 ปี ได้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ 'ตลาดสีเขียว' ซึ่งแตกต่างอย่างลิบลับกับเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว .... แต่ปัญหาวันนี้ 'วิลิต' ชี้ว่าอยู่ที่ภาคการผลิต

"เกษตรกรอยู่ในวังวนของหนี้สิน พวกเขาไม่กล้าเสี่ยงที่จะเปลี่ยนการผลิตจากที่เคยทำมา"

และนั่นจึงเป็นคำตอบของข้อสงสัยที่ว่า ทำไมผลผลิตการเกษตรที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่ถูกกล่าวขวัญถึงในวันนี้ จึงหาซื้อไม่ง่าย จนหลายคนท้อที่จะดิ้นรน ยกเว้น หนุ่มนาข้าวจากเมืองกรุงคนนี้...



• ข้าวพื้นเมือง เรื่องของสุขภาพ
ข้าวเป็นอาหารหลักไม่เฉพาะของไทย แต่รวมไปถึงอีกหลายประเทศในโลก นักวิจัยจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงเมล็ดข้าวให้ทำหน้าที่เหมือน 'เม็ดยา' ที่กินง่าย รสดี แถมมีสรรพคุณป้องกันโรคได้ด้วย และเมื่อไม่อยากใช้เทคนิคตัดต่อพันธุกรรม หรือ GMOs ที่มีกระแสต่อต้านทั่วโลก อีกทางเลือกที่เป็นไปได้คือการมองหาพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพ เพื่อหวังจะพัฒนาให้ได้คุณสมบัติตามต้องการต่อไปในอนาคต

ผศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำวิจัยเพื่อตรวจสอบสารอาหารในข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง ไม่ใช่แค่ประโยชน์สำหรับนักปรับปรุงพันธุ์พืช แต่ประชาชนทั่วไปก็จะได้ทราบข้อมูลเพื่อการบริโภค และที่เลือกข้าวพื้นเมืองก็เนื่องจากข้าวขาวมีปริมาณสารอาหารเหลืออยู่น้อยมากถึงขั้นไม่มีเลย แต่ข้าวกล้องพื้นเมืองกลับเป็นแหล่งของสารอาหารหลากชนิด ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน

จากการวิจัยครั้งนี้ ดร.รัชนี พบว่าข้าวแต่ละสายพันธุ์มีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นกับสิ่งแวดล้อม อากาศ ปุ๋ย ดิน น้ำ รวมทั้งพันธุกรรมของข้าวชนิดนั้นๆ อาทิ ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกทางภาคใต้ เช่น จังหวัดพัทลุง จะมีปริมาณธาตุเหล็กและสังกะสีสูงกว่าที่ปลูกในจังหวัดอื่น (ข้าวปทุมธานีหนึ่ง ที่ปลูกในจังหวัดพัทลุงมีธาตุเหล็ก 36 มิลลิกรัม/ 1 กิโลกรัมข้าวดิบ สูงกว่าข้าวพันธุ์เดียวกันซึ่งปลูกที่อื่น ที่มีธาตุเหล็กอยู่เพียง 25-27 มิลลิกรัม/ 1 กิโลกรัมข้าวดิบ)

ขณะที่ 'เบต้าแคโรทีน' ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยชะลอความเสื่อมของตาเนื่องจากวัย รวมทั้งลดความเสี่ยงเกิดต้อกระจก ผลวิจัยพบว่าข้าวกล้องอีก่ำจากอุบลราชธานีและข้าวเหนียวดำจากพัทลุง มีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงที่สุด คือ 30.04 และ 34.76 ไมโครกรัม/ 100 กรัมนอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าข้าวที่มีสีเข้มเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ อาทิ วิตามินอี เบต้าแคโรทีน และสารแคโรทีนอยด์ (ลูทีน) อีกด้วย



• 'ข้าวจีไอ' ของดี ตีทะเบียน
หน่วยงานภาครัฐมีความตื่นตัวเรื่องข้าวพันธุ์พื้นเมืองด้วยเช่นกัน โดยมีการส่งเสริมการนำข้าวพันธุ์พื้นเมืองจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือที่เรียกว่า จีไอ (GI - Geographical Indications) เพื่อที่ 'ชุมชน' ซึ่งเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบเฉพาะพื้นที่ได้รับประโยชน์ในการผลิตสินค้าท้องถิ่น ทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษ ที่ผู้ผลิตถิ่นอื่นไม่สามารถผลิตสินค้าในชื่อเดียวกันมาแข่งขันได้

ล่าสุด ข้อมูลถึงเดือนพฤษภาคม ปีนี้ พบว่ามี 'ข้าวจีไอ' หลายสายพันธุ์ อาทิ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์, สังข์หยดเมืองพัทลุง, ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้, ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี, นอกจากนี้ ยังมีข้าวที่อยู่ระหว่างดำเนินการจดทะเบียน จีไอ.อีก 5 รายการ ได้แก่ ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้, ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์, ข้าวหอมมะลิบุรีรัมย์, ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร และข้าวก่ำล้านนา

คุณสมบัติพิเศษของข้าวจีไอเหล่านี้ เช่น 'ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง' เป็นข้าวที่ปลูกในจังหวัดพัทลุงกันมากว่า 100 ปี เป็นข้าวที่มีความนุ่ม น่ากิน สีของเมล็ดข้าวกล้องเป็นสีแดง ถ้าขัดสีจนเป็นข้าวสารจะมีสีชมพูและขาว ปัจจุบันเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภครักสุขภาพ เพราะในข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงซ้อมมือ 100 กรัม มีธาตุเหล็ก 0.52 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 165 มิลลิกรัม, วิตามินบี 1 0.18 มิลลิกรัม และไนอาซิน 3.97 มิลลิกรัม

ส่วน 'ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร' เป็นพันธุ์ข้าวเก่าแก่ของอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูก 30 ราย ครอบคลุมที่นา 500 ไร่ เป็นข้าวที่หุงสุกจะแข็ง-ร่วน ขึ้นหม้อ เหมาะกับการทำข้าวราดแกง และเป็นวัตถุดิบสำหรับทำขนมจีน มีสารอาหารไนอะซีน (วิตามิน บี 3) สูงถึง 9.32%



ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
ภาพ : http://www.bangkokbiznews.com

http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/ข้าวพันธุ์พื้นเมือง-ของดีที่-เกือบ-ถูกลืม.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/09/2011 7:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 8:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

566. พัฒนาข้าวหอม มะลิ...แห่งทุ่งกุลาร้องไห้





ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการส่งออกข้าวเป็นสินค้าหลัก สามารถครองแชมป์อันดับหนึ่งมาตลอดกาล ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษามาตรฐานและส่งเสริมการส่งออกสินค้าข้าวให้มากขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดจัดทำโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลา ร้องไห้ ระยะที่ 2 ขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 ไปจนถึงระยะเวลาสิ้นสุดโครงการในปี 2556



นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีเป้าหมายที่จะดำเนินการพัฒนาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการผลิตให้เหมาะ สมต่อการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดที่จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จำนวน 1.27 ล้านไร่ เกษตรกรเป้าหมาย 87,400 ครัวเรือน และเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิจาก 250 กก.ต่อไร่ เป็น 470 กก.ต่อไร่ หลังสิ้นสุดโครงการ โดยงบประมาณในปี 2553 ที่จะเข้าไปพัฒนาโครงการประมาณ 484 ล้านบาท จากงบประมาณรวมทั้งสิ้น 8,230 ล้านบาท

ด้าน นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิ การสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือสศก.กล่าวว่า ขณะนี้ คณะอนุกรรมการบริหารโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐาน เพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ระยะที่สอง ปี 2552-2556 ได้มีมติเห็นชอบในการขยายขอบเขตเป้าหมายข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในโครงการฯโดย พิจารณาส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เพิ่มเติมอีก 4 แสนไร่ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด โดยประมาณการผลผลิตเป้าหมาย 2 แสนตัน ของ 5 จังหวัดในทุ่งกุลาร้องไห้ โดยแยกเป็นเป้าหมายรายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่นาจำนวน 986,807 ไร่ เป้าหมายพื้นที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 150,000 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 75,000 ตัน จังหวัดสุรินทร์ พื้นที่นาจำนวน 575,993 ไร่ เป้าหมายพื้นที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 150,000 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 75,000 ตัน จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่นาจำนวน 287,000 ไร่ เป้าหมายพื้นที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 50,000 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 25,000 ตัน จังหวัดมหาสารคาม พื้นที่นาจำนวน 193,890 ไร่ เป้าหมายพื้นที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 30,000 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 15,000 ตันจังหวัดยโสธร พื้นที่นาจำนวน 64,000 ไร่ เป้าหมายพื้นที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 20,000 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 10,000 ตัน

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ จะสนับสนุนเกษตรกรผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ให้สามารถผ่านเกณฑ์การ รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากลและตลาดต่างประเทศยอมรับและสามารถ ส่งออกได้สูงขึ้นกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไปในมาตรฐาน GAP ถึง 2 เท่า ซึ่งจะส่งผลทำให้เกษตรกรในทุ่งกุลาร้องไห้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกปีละ 700 ล้านบาท และหากคิดเป็นมูลค่าข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่เป้าหมาย 4 แสนไร่จะสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศกว่า 4,000 ล้านบาท ทีเดียว.



ที่มาข่าวจาก เดลินิวส์
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/พัฒนาข้าวหอม-มะลิ...แห่งทุ่งกุลาร้องไห้.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 8:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

567. หอมมะลิ ๘๐





ขาวดอกมะลิทนน้ำท่วม ทีมวิจัยดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 80 ผ่านบรูณาการวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเน้นการใช้เทคนิคโมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอในการคัดเลือก (DNA Marker Assisted Selection) ร่วมกับวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับ (Backcrossing) เพื่อถ่ายทอดยีนที่ทนน้ำท่วมซึ่งทีมวิจัยค้นพบบนโครโมโซมที่ 9 เข้าสู่ข้าวขาวดอกมะลิ 105 วิธีการดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกและย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ลง ผลจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพดังกล่าว ทำให้ได้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มียีนทนน้ำท่วมฉับพลันเพิ่มเติมเข้ามา โดยยังคงลักษณะคุณภาพการหุงต้มและความอร่อยของข้าวขาวดอกมะลิไว้


วิธีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 80
ข้าวหอมมะลิ 80 ได้มาจากการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับร่วมกับการคัดเลือกด้วยดีเอ็นเอเครื่องหมาย ของยีนควบคุมความทนทานต่อน้ำท่วมฉับพลัน จากนั้นนำสายพันธุ์ที่ได้ไปทดสอบความทนทานต่อน้ำท่วมในพื้นที่ซึ่งประสบปัญหาในจังหวัดต่างๆ พร้อมกับทำการประเมินการยอมรับของเกษตรกรที่เคยปลูกขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ดั้งเดิมในปี พ.ศ. 2550 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายสายพันธุ์หอมมะลิ 80 นี้แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงประทานช่วยเหลือหรือเป็นทางเลือกแก่เกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมฉับพลัน


ลักษณะประจำพันธุ์
- ทนน้ำท่วมแบบฉับพลันในทุกระยะการเจริญเติบโต
- ข้าวเจ้าหอม ความสูงประมาณ 155 เซนติเมตร
- พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี
- ลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณช่วงวันที่ 26-30 พฤศจิกายน ของทุกปี
- จำนวนรวงต่อกอประมาณ 10–12 รวง (นาดำ) .
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.2 x 1.7 มิลลิเมตร
- การเกิดท้องไข่ประมาณ 0.8
- ข้าวเปลือกสีฟางคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105





คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้อง
- ปริมาณอะไมโลส 14-15%
- ระดับค่าการสลายตัวในด่าง (1.7% KOH) ประมาณ 7 % เหมือนข้าวขาวดอก มะลิ 105
- ค่าการยืดตัวของแป้งสุกประมาณ 70-95 มิลลิเมตร ใกล้เคียงกับพันธุ์ขาว ดอกมะลิ 105 ซึ่งมีค่า 70–85 ม.ม.
- คุณภาพข้าวสุก ความนุ่ม และกลิ่นหอม คล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ105
- เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวประมาณ 63% ใกล้เคียงพันธุ์ขาวดอกมะลิ105



(ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ)


http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว/หอมมะลิ-๘๐.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 8:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

568. บังกลาเทศเตรียมขายพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม ช่วยชาวนา





บังกลาเทศเตรียมช่วยเหลือ เกษตรกรในประเทศที่ต้องประสบกับอุทกภัยอยู่ทุกปี ด้วยการนำพันธุ์ข้าวทนน้ำ 3 สายพันธุ์ เผยแพร่เชิงพาณิชย์ในต้นปีหน้า

สำนัก ข่าวต่างประเทศ รายงานว่าเจ้าหน้าที่บังกลาเทศ เผยเมื่อ 25 พ.ย. ว่าทางการเตรียมนำพันธุ์ข้าวทนน้ำ 3 สายพันธุ์ เผยแพร่เชิงพาณิชย์ในต้นปีหน้า ช่วยเกษตรกรนับล้านๆคนที่เผชิญอุทกภัยทุกปีช่วงฤดูมรสุมเดือน มิ.ย.-ก.ย. พันธุ์ข้าวทั้ง 3 ชนิด พัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิจัยพันธุ์ข้าว-นานาชาติ (IRRI) ในฟิลิปปินส์

ทั้ง นี้บังกลาเทศทดลองปลูกข้าวทนน้ำในแถบภาคเหนือตั้งแต่ปี 2548 จนได้ผลน่า พอใจ ข้าวทนอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 17 วัน จากที่ข้าวพันธุ์ธรรมดาทนได้ไม่เกิน 3 วัน นั่นหมายถึงลดเปอร์เซนต์พืชผลเสียหายจากน้ำท่วมขังได้มากขึ้น



ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/บังกลาเทศเตรียมขายพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วมช่วยชาวนา.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 8:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

569. หอมชลสิทธิ์





ข้าวหอมนาปรังทนน้ำท่วม เป็นลูกผสมของข้าวทนน้ำท่วมกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 หอมชลสิทธิ์ถูกคัดเลือกให้มีคุณสมบัติการหุงต้มแบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวมีกลิ่นหอม สามารถปลูกได้ทั้งปี และสามารถทนอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 2 อาทิตย์ ดังนั้นจึงเหมาะกับพื้นที่นาภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ง่าย หอมชลสิทธิ์มีผลผลิตข้าวเปลือกในระดับ 900 – 1000 กก./ไร่






ลักษณะประจำสายพันธุ์
- ทนน้ำท่วมแบบฉับพลันในทุกระยะการเจริญเติบโต
- ข้าวเจ้าหอม ความสูงประมาณ 107 เซนติเมตร
- พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงปลูกได้ทั้งปีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน
- ข้าวเปลือกสีฟางคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
- จำนวนรวงต่อกอประมาณ 15 รวง (นาดำ)
- ความยาวรวงประมาณ 15 ซม.
- ลำต้น ใบสีเขียวยาวกว้างปานกลาง
- ใบธงทำมุมกับคอรวง ทรงกอตั้งแบะเล็กน้อย
- เมล็ดข้าวขนาดกว้าง 2.5 ยาว 10.9 หนา 2.0 มิลลิเมตร


คุณสมบัติทางโภชนาการ
- ปริมาณอะไมโลส 14-15%
- ระดับค่าการสลายตัวในด่าง (1.7% KOH) ประมาณ 2 ซึ่งต้องการอุณหภูมิมากกว่า 74oC เพื่อทำให้แป้งสุก



http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว/หอมชลสิทธิ์.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

570. ปิ่นเกษตร PinKaset




ปิ่นเกษตร PinKaset
ข้าวหอมนุ่มเหนียว

ข้าวปิ่นเกษตรเป็นลูกผสมระหว่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 กับข้าวทนแล้ง เป็นข้าวขาว มีกลิ่นหอม นุ่มเหนียว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวล มีเมล็ดยาวกว่า 8 มม. และใสมาก มี % ต้นข้าวสูงเมื่อขัดสี ข้าวกล้องมีความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กดี เมื่อนำมาหุงสุกรวมกับข้าวพันธุ์อื่น จะช่วยให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กสูงขึ้นซึ่ง ให้ผลสอดคล้องกันทั้งการทดสอบในระดับเซลล์และในมนุษย์ด้วยคุณสมบัตินี้ข้าวปิ่นเกษตรจึงได้รับรางวัล ชนะเลิศอันดับ 3 จากการประกวดข้าวโลก (2nd World Rice Competition) เมื่อปี 2547




ลักษณะประจำพันธุ์
ความสูง 106 ซม.
อายุเก็บเกี่ยว 125-130 วัน
ผลผลิต >850 กก./ไร่
% ข้าวกล้อง (brown rice) 80 %
% ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice) 55 %
ความยาวของเมล็ด
ข้าวเปลือก 11 ม.ม.ข้าวกล้อง 8.2 ม.ม. ข้าวขัด 7.6 ม.ม.


คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้อง
ปริมาณ Amylose 19.5 %
อุณหภูมิแป้งสุก 70-74 องศา
ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็ก 9.45 ng Ferritin/mg-cell protein
ธาตุสังกะสี 21.6 mg/kg


http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว/ปิ่นเกษตร-PinKaset.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

571. ข้าวเจ้าก่ำ




ข้าวเจ้าก่ำ

พ่อแม่ ข้าวเหนียวดอยสะเก็ด x ข้าวเจ้าหอมนิล

คุณสมบัติ เป็นพันธุ์ที่คัดเลือกมาจากประชากรคู่ผสมระหว่างข้าวเหนียวดอยสะเก็ด x ข้าวเจ้าหอมนิล

ลักษณะ เป็นข้าวเจ้าที่มีลำต้น ใบและเมล็ดสีม่วงเข้ม-ดำ ไม่ไวแสง แตกกอดี สายพันธุ์ที่คัดเลือกมานี้ มีธาตุเหล็กในเมล็ดสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยสีของ pericarp ของข้าวสายพันธุ์นี้ประกอบด้วย สีน้ำตาลอ่อน (procyanidin), สีแดง (peonidin), และสีม่วง (cyanidin) โดยสีทั้งหมดของข้าวเป็นรงควัตถุ (pigments) ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ flavonoid ในต้นข้าว ซึ่งแบ่งออกเป็นการสังเคราะห์สารกลุ่ม anthocyanin ได้แก่ cyanidin และ peonidin นอกจากนั้นยังมีการสังเคราะห์สารกลุ่ม proanthocyanidin ได้แก่ procyanidin





http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว/ข้าวเจ้าก่ำ.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/09/2011 9:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

572. ชาวนาเวียดนาม รวยกว่า ชาวนาไทย


ในหนังสือ ไทยแลนด์ อีโคโมนิค แอนด์ บิซิเนส รีวิว ของมหาวิทยาลัยหอการค้า สภาหอการค้าไทย ฉบับล่าสุดได้สรุปประเด็นที่
ทำให้ ไทยแพ้เวียดนามในตลาดอาเซียนไว้อย่างน่าสนใจ สะท้อนให้เห็นแนวคิดวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารประเทศของรัฐบาลเวียด
นาม กับรัฐบาลไทยแตกต่างอย่างสินเชิง


เมื่อก่อนไทยครองตลาดข้าวในอาเซียน แต่มารัฐบาลนี้ ทำให้ไทยแพ้ อย่างหลุดลุ่ย เวียดนามมาคลองตลาดแทนไทยถึง
ร้อยละ 67.5 ขึ้นอันดับหนึ่ง

1. ผลผลิตข้าวต่อไร่ของเวียดนาม สูงกว่าไทย ปีนี้เวียดนามผลิต ได้ 853 กก.ต่อไร่ ไทยผลผลิตเฉลี่ยได้แค่ 447 กก.ต่อไร่

2. ต้นทุน เวียดนาม 4,978.9 บาทต่อไร่ ไทยเราต้นทุน 5,800 บาทต่อไร่

3. เวียดนามประกาศใช้นโยบาย 3 ลด 3 เพิ่ม คือ ลดเมล็ดพันธ์ข้าว ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และลดการใช้ยาปราบศัตรูพืช และ 3
เพิ่ม ของเวียดนาม เขาเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ เพิ่มกำไร

4. กระทรวงการคลังเวียดนามอุดนุนดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิต ยกเว้นภาษีค่าธรรมเนียม เพื่อลดต้นทุนให้
ชาวนามีกำไรการพลิตเพิ่ม และตั้งกองทุนการผลิตและส่งออก

5. รัฐบาลเวียดนามประกาศใช้นโยบาย ให้เกษตรกรเวียดนาม ต้องมีกำไร 30% เป็นอย่างน้อย


เขาว่ากันว่า
หากไทยเรายังได้รัฐบาลที่หาเงินไม่เป็น กำหนดนโยบายโหลยโท่ย ประชานิยมงมโข่ง ลอกตำราเขามาแต่ทำไม่เป็น ราคา
ข้าวตกต่ำ ไม่คุ้มการทำนา เทข้าวทิ้ง ประท้วงแบบชาวนครนายก เมืองไทยจะแพ้เวียดนามไปอีกนานแสนนาน

......... ฯลฯ ..............





http://nikonclub.fix.gs/index.php?topic=255.0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2011 9:00 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

573. เวียดนามเพาะพันธุ์ข้าวแต่งพันธุกรรม ให้ผลผลิตดี อุดมวิตามินและต้านแมลง


ผู้จัดการรายวัน- นักวิทยาศาสตร์เวียดนามประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีด้านพันธุกรรมในการตกแต่งยีนส์ (Genetically modified) ในข้าวจำนวน 3 สายพันธุ์ ทำให้ได้ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดี อุดมด้วยวิตามิน-แร่ธาตุ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ตลอดจนสารที่ช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือด นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติในการต่อต้านการคุกคามของแมลงรบกวนอีกด้วย

ตามรายงานของสำนักข่าวทางการเวียดนาม (วีเอ็นเอ) ความสำเร็จนี้เป็นผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันวิจัยข้าวกูลอง (Cuu Long Rice Research Institute- CLRRI) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงทางภาคใต้ของประเทศ การตกแต่งยีนส์ในข้าวพันธุ์ IR64 พันธุ์อินดิกา (MT1250) กับพันธุ์ไทเป 309 (Japonica)

ในปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศส่งออกข้าวใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศไทย ซึ่งเมื่อต้นปีนี้เพิ่งประกาศการส่งออกข้าวจำนวน 600,000 ตัน ไปยังฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กับประเทศในแอฟริกา ภายในไตรมาสแรกของปี 2549 นี้ ซึ่งจะเป็นการส่งออกล๊อตแรกของปี ดร.เจิ่น ถิ กิม กุก (Tran Ti Kin Cuc) หัวหน้าแผนกวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพของ CLRRI กล่าวว่า

ผลการตัดแต่งพันธุกรรมทำให้ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ มีลำต้นแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง เติบโตเร็วและได้ผลผลิตสูง นอกจากนั้นยังอุดมด้วยวิตามิน เอ. และวิตามิน อี. ธาตุเหล็ก สังกะสี และ อะรีซซานอล (aryzanol) ที่มีคุณสมบัติช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือด

ยังไม่มีการเปิดเผยว่าจะมีการพัฒนาข้าว จีเอ็มโอ (Genetically modified Organic) หรือข่าวที่ผ่านการตกแต่งยีนส์นี้เพื่อการส่งออกด้วยหรือไม่ แต่ ศ.ดร.บุ่ย จี๋ บือ (Bui Chi Buu) ผู้อำนวยการ CLRRI กล่าวว่า จะมีการนำข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ไปเพาะปลูกในพื้นที่ที่ห่างไกลและการปลูกข้าวพันธุ์ทั่วไปค่อนข้างจะมีปัญหา ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับสมาชิกของประชาคมด้วย

หนังสือพิมพ์ “ไซ่ง่อนปลดปล่อย” (Saigon Giai Phong) รายงานอ้างคำแถลงฉบับหนึ่งของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ในช่วงต้นเดือนนี้ว่า หลังฤดูเก็บเกี่ยวปี 2548-2549 กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ได้นำพันธุ์ข้าวชนิดใหม่ออกเผยแพร่ให้กับเกษตรกรของประเทศอีก 6 สายพันธุ์ เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของข้าวสำหรับการส่งออก โดยกระทรวงฯ ได้วางแผนที่จะส่งออกข้าวเป็นจำนวน 4.2 ล้านตัน สำหรับปี 2549 เวียดนามกำลังจะส่งข้าวงวดแรกจำนวน 342,500 ตัน ไปยังประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งยังคงเป็นคงเป็นประเทศนำเข้าข้าวเวียดนามรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่เวียดนามสามารถแย่งตลอดข้าวแห่งนี้จากได้ในช่วง 1-2 ปีมานี้

ส่วนจำนวนที่เหลือจะส่งไปยังตลาดในตะวันออกกลางและแอฟริกา ในปี 2548 แม้ทางการจะได้พยายามจำกัดโควตาการส่งออกเอาไว้แค่ 4.5 ล้านตัน แต่ยอดส่งออกจริงก็ทะลุกว่า 5.2 ล้านตัน ทำรายได้มูลค่ากว่า 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในขณะไทยสามารถส่งออกข้าวได้ในปริมาณ 7.25 ล้านตันในตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นผลทำให้ความแตกต่างของปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามตีตื้นใกล้เคียงปริมาณการส่งออกของไทยเข้ามาอีกขั้นหนึ่ง


http://sac.la.ubu.ac.th/search/display.asp?id=30572
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

574. ทำไมชาวนาไทยยังยากจน




นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลศึกษา ทางรอด
ข้าวไทยเพื่อการแข่งขันในตลาดอาเซียนว่า พบข้อด้อย 10 ข้อ ของข้าวไทยที่ทำให้สู้ข้าวเวียดนามไม่ได้ ประกอบด้วย


1. เวียดนามมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทย โดยปี 53/54 เวียดนามผลิตข้าวได้ 862.4 กก.ต่อไร่ สูงเป็นอันดับ 4 ของ
เอเชีย รองจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน และสูงเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ขณะที่ไทยผลิตข้าวได้ 448 กก. ต่อไร่ เป็นอันดับ 13
ของเอเชีย และอันดับ 7 ของอาเซียน อีกทั้งไทยมีผลผลิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 594.6 กก.ต่อไร่ และต่ำกว่ากัมพูชา
อีก ทั้งนี้จุดอ่อนต่อมา

2. ต้นทุนผลิตข้าวเวียดนามต่ำกว่าไทย 16.5% แต่ได้กำไรสูงกว่า 67%

3. เวียดนามส่งเสริมให้ชาวนาใช้นโยบาย 3 ลด ได้แก่
- ลดปริมาณเมล็ดพันธุ์
- ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และ
- ลดใช้ยาปราบศัตรูพืช

ขณะเดียวกันให้ 3 เพิ่ม ได้แก่
- เพิ่มผลผลิต
- เพิ่มคุณภาพ และ
- เพิ่มกำไร

4.ไทยสูญเสียตลาดส่งออกข้าวในอาเซียนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 48 อาทิ ฟิลิปปินส์ที่ย้อนหลัง 5 ปี เวียดนามส่งออก
ข้าวมากกว่าไทยแล้ว 23 เท่า

5. ราคาข้าวเวียดนามถูกกว่าไทยอย่างต่อเนื่อง โดยปี 48 ข้าวไทยสูงกว่าเวียดนาม 30 ดอลลาร์สหรัฐแต่ปี 52
ราคาข้าวเพิ่มเป็น 123 ดอลลาร์สหรัฐ

6. วิธีการทำตลาดเวียดนามใช้การทำตลาดแบบทีมเดียว โดยรัฐทำหน้าที่การตลาดและเจรจาขายแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี)
ส่วนเอกชนทำหน้าที่ส่งออก ทำให้ขยายตลาดส่งออกนอกอาเซียนได้เพิ่มขึ้น ทั้งฮ่องกง ออสเตรเลียและไต้หวัน

7. เวียดนามยังเน้นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการผลิตข้าวและแปรรูปสินค้าข้าว โดยตั้งบริษัทร่วมทุนกับกัมพูชา
และเตรียมร่วมมือกับพม่าต่อไป

8. รัฐให้การอุดหนุนลดต้นทุนการผลิต ทั้งยกเว้นภาษีค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และตั้งกองทุนช่วยเหลือ

9. รัฐบาลเวียดนามประกาศช่วยเหลือชาวนา บังคับให้พ่อค้าคนกลางเหลือกำไรให้ชาวนาอย่างน้อย 30% ของต้นทุนและ
จะมีเป้าหมายเพิ่มอีก 2.5-3 เท่าของต้นทุน

10. รัฐบาลเวียดนามเพิ่มการลงทุน ตั้งตลาดค้าข้าวและคลังสินค้าในต่างประเทศ ซึ่งทำแล้วในฟิลิปปินส์ แทนซาเนีย กานา
แอฟริกาใต้ และพม่า




นายอัทธ์กล่าวว่า เวียดนามทำตลาดเชิงรุกมาตลอด จึงทำให้ 5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ส่วนแบ่งการส่งออกข้าวเวียดนามใน
อาเซียนเพิ่มต่อเนื่องจาก 47% เป็น 59.9% หรือเพิ่มขึ้น 12% ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยลดลงจาก 49.5% เหลือ
39.6% หรือลดลง 10%

ซึ่งหากรัฐบาลไม่เร่งแก้ไขและปรับปรุงจุดอ่อน จะทำให้อีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 63 การส่งออกข้าวไทยจะถดถอย
ปริมาณส่งออกลดลง 14% หรือไม่เกิน 5.6 ล้านตัน จากปัจจุบัน 9.5-10 ล้านตัน ขณะที่เวียดนาม จะเพิ่ม 25% หรือ
จาก 6 ล้านตัน เป็นกว่า 7.5 ล้านตัน แซงหน้าไทยไปในที่สุด


นายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า พบปัญหาน่าห่วงต่ออาชีพเกษตรกร
ชาวนาไทยมีจำนวนลดลงต่อเนื่องเหลือเพียง 9% เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ ต่างจากอดีตที่เคยสูงถึง 40%
เพราะที่ผ่านมาไทยมุ่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนดึงแรงงานภาคเกษตรเข้ามามาก และหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป จะทำให้
ภาคเกษตรกรรมและชาวนาอ่อนแอ และกระทบต่อฐานะไทยในการเป็นแหล่งอาหารของโลก

ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ที่รัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นมีความเข้าใจและดูแลเกษตรกรในประเทศอย่าง
เต็มที่ ทำให้เกษตรกรของญี่ปุ่นมีคุณค่ามากและมีคุณภาพชีวิตที่ดี



http://www.gunsandgames.net/smf/index.php?topic=93348.220;wap2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2011 6:46 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

575. ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่จากเวียดนาม CH5 เป็นข้าวไร่ให้ลาวทดลองปลูก


ผู้จัดการรายวัน - ทางการเวียดนามได้มอบข้าวเจ้าหอมพันธุ์ใหม่ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพดี ให้ทางการลาวทดลองปลูกในแขวงสะหวันนะเขต เป็นข้าวที่ทนทานต่อสภาพอากาศแห้งแล้ง ดูแลง่ายและให้ผลผลิตสูง เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในขณะที่ทางการลาวกำลังพัฒนาข้าสายพันธุ์ใหม่ที่เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศในประเทศ

การส่งมอบพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสายพันธุ์ CH5 จำนวน 6 ตัน มีขึ้นในปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยทางการ จ.แท็งฮว๊า (Thanh Hoa) ในเขตภาคกลางตอนบนของประเทศ เพื่อทำการทดลองปลูกในเขตเมืองเซโปน ติดกับชายแดนเวียดนาม ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว (ขปล)

สำนักข่าวของทางการลาว รายงานแต่เพียงว่าข้าวเจ้าหอมพันธุ์ CH5 นี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ชาวนาเวียดนาม เนื่องจากมีคุณภาพดี มีกลิ่นหอม ปลูกง่าย ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้ง ปลูกด้วยการหยอดหลุมหรือหว่านเมล็ดแบบข้าวไร่ ข้าวเจ้าหอมพันธุ์ CH5 ดูแลง่าย ทนต่อแมลงและโรคพืช ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 100 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 1 เฮกตาร์ (ประมาณ 6.25 ไร่) จะให้ผลผลิตได้ 7-8 ตันต่อเฮกตาร์

การเพาะปลูกจะเริ่มขึ้นในช่วงฤดูฝนปีนี้ ขปล.กล่าว โดยมิได้ให้รายละเอียดอื่นใดเกี่ยวกับข้าวหอมสายพันธุ์ดีของเวียดนามชนิดนี้ ในเขตภาคเหนือของเวียดนามเคยเป็นถิ่นของข้าวหอมพันธุ์พื้นเมืองที่ชื่อ "ต๋ามเทิม 8" (Tam Thom Cool ซึ่งมีความหมายตรงๆ ว่า "ข้าวหอม 8" กับข้าวหอม "ต๋ามซวาน" (Tam Xoan) ที่เคยสูญพันธุ์ไป และได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่

เจ้าหน้าที่เวียดนามกล่าวว่า ข้าวเจ้าหอมทั้ง 2 สายพันธุ์ อยู่ในตระกูลเดียวกันกับข้าวหอมสายพันธุ์ญี่ปุ่น (Japonica Subspecies) ปลูกได้ผลดีใน จ.นามดิ่ง (Nam Dinh) ซึ่งอยู่ในเขตที่ราบปากแม่น้ำแดง ขายได้ราคาดีและส่งออกขายต่างประเทศเกือบทั้งหมด

อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท แถลงเมื่อต้นปีนี้เกี่ยวกับแผนการปูพรมปลูกข้าวหอมพันธุ์ดีใน 7 จังหวัด บริเวณที่ราบปากแม่น้ำโขงซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ ซึ่งได้แก่ จ.ด่งท้าป (Dong Thap) อานยาง (An Giang) เตี่ยนยาง (Tien Giang) ลองอาน (Long An) ซ็อกจาง (Soc Trang) เกียนยาง (Kien Giang) และ จ.เกิ่นเทอ (Can Tho)

เจ้าหน้าที่ของทางการเวียดนามกล่าวว่า มีการกันที่นาไว้จังหวัดละ 1,800,000 ไร่ เพื่อใช้ในการปลูกข้าวหอมคุณภาพสูง ช่วงฤดูเพาะปลูกต้นปี เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถผลิตข้าวพันธุ์คุณภาพดีให้ได้ 1 ล้านตันในต้นปีหน้า ซึ่งในนั้นจะส่งออกสู่ตลาดโลกถึง 500,000 ตันในปี 2550

ส่วนใน สปป.ลาวนั้น ก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออก ซึ่งล่าสุดสามารถพัฒนาข้าว "ท่าดอกคำ 9" เป็นสายพันธุ์ใหม่ได้สำเร็จ ตามรายงานของสื่อทางการลาว

ข้าวเหนียวท่าดอกคำ 9 เป็นพันธุ์ที่ไวต่อแสงต่ำ คุณภาพการสีที่ดี คงเมล็ดดี รสชาติอร่อย ออกรวงในช่วงต้นเดือน ต.ค.ถึงปลายปี หากเพาะปลูกในฤดูแล้งจะมีอายุเฉลี่ยราว 135 วันก็เก็บเกี่ยวได้ ลำต้นสูงประมาณ 138 ซ.ม. เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาดอน ที่มีดินทรายปนดินเหนียว หรือดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 3-4 ตันต่อเฮกตาร์ ข้าวเหนียวท่าดอกคำ 9 ทดลองปลูกเป็นรุ่นที่ 2 อยู่ที่ศูนย์วิจัยข้าว จ.อุบลราชธานีของไทย โดยมีชื่อสายพันธุ์ คือ IR 71510-TDK-1-2-1.



http://sac.la.ubu.ac.th/search/display.asp?id=36126
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/09/2011 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

576. ชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง


ข้าวที่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยคือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ที่ปลูกกันในประเทศนี้มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลักษณะพันธุ์อีกมาก จากผลการสำรวจพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของกรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้กล่าวถึงชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกในบริเวณต่างๆ ของประเทศไทยไว้หลายร้อยชื่อ ดังนี้




ข้าวเจ้า

ข้าวเจ้า เมื่อดูจากชื่อที่เรียกกันแล้ว อาจแบ่งตามชื่อได้เป็น ๓ พวกใหญ่ๆ คือ

๑. ชื่อพันธุ์ข้าวที่ขึ้นต้นด้วย "ขาว" ได้แก่ ขาวตาแห้ง ขาวเศรษฐี ขาวต่อ ขาวตามล ขาวมะลิ ขาวอำไพ ขาวหลวง ขาวกอเดียว ขาวเพชรบูรณ์ ขาวสุพรรณ ขาวตารัตน์ ขาวคัด ขาวแก้ว ขาวตาแป๋ขาวสูง ขาวนวลทุ่ง ขาวตาเจือ ขาวมานะ ขาวห้าร้อย ขาวเมล็ดเล็ก ขาวตาโห ขาวสะอาดนัก ขาวเหลือขาวดอเดียว ขาวใบลด ขาวปลุกเสก ขาวหลุกหนี้ ขาวตาไป่ ขาวเลือก ขาวมะนาว ขาวปลาไหล ขาวลอดช่อง ขาวประกวด ขาวลำไย ขาวสะอาด ขาวบุญมา ขาวเกษตร ขาวอุทัย ขาวล่ม ขาวปากหม้อ ขาวตาอ๊อด ขาวสงวน ขาวดอกมะลิ ขาวงาช้าง ขาวเม็ดยาว ขาวอากาศ ขาวละออ ขาวเสวย ขาวตาเพชร ขาวเขียว ขาวประทาน ขาวคุณแม่ ขาวเมืองมัน ขาวหลง ขาวเมือง ขาวนางจีน ขาวประเสริฐ ขาวขวา ขาวเก็บได้ ขาวมะแขก ขาวพวง ขาวกาบแก้ว ขาวมาเอง ขาวไม้หลัก ขาวตาโอ๊ต ขาวน้ำค้าง ฯลฯ


๒. ชื่อพันธุ์ข้าวที่ขึ้นต้นด้วยคำ "เหลือง" ได้แก่ เหลืองควายล้า เหลืองประทิว เหลืองปลากริม เหลืองระยอง เหลืองเศรษฐี เหลืองพวงล้า เหลืองหลวง เหลืองร้อยเอ็ด เหลืองตากุย เหลืองสงวน เหลืองอ่อนเหลืองพ่อ เหลืองระแหง เหลืองมัน เหลืองพานทอง เหลืองตาต๋อง เหลืองตาเอี่ยม เหลืองตาปิ้ง เหลืองทอง เหลืองสะแก เหลืองเตี้ย เหลืองในถัง เหลืองตาน้อย เหลืองใหญ่ เหลืองพระ เหลืองใบลด เหลืองเจ็ด เหลืองพวงหางม้า เหลืองชะเอม เหลืองตาหวน เหลืองทุเรียน เหลืองประทาน เหลืองลาย เหลืองสองคลอง เหลืองอีด้วน เหลืองหอม เหลืองสุรินทร์ เหลืองสะอิ้ง เหลืองควายปล้ำ เหลืองกอเดียวเหลืองทน เหลืองไร่ เหลืองสร้อยทอง เหลืองเบา ฯลฯ


๓. ชื่อพันธุ์ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ พานทอง พญาชม สามรวง สายบัว สองรวง หลงมา แม่พัด เปลือกไข่ รวงดำ พวงมาลัย แตงกวา ยาไฮ ทองระย้า ลูกผึ้ง ข้าวใบตก งาช้าง ทุ่งแหลม ข้าวหอม แก่นประดู่ หอมดง หอมมะลิ เขียวหนัก ดอกไม้จีน พลายงาม ใบลด พระยาลืมแกง หางหมาจอก เขียวนางงามสำรวง พวงนาค เขียวนกกระลิง กระดูกช้าง วัดโบสถ์ รากไผ่ หอมพระอินทร์ อบเชย แขนนาง นางระหงส์ กาบหมาก ทูลฉลอง ตับบิ้ง น้ำดอกไม้ ล้นครก สาวงาม นางงาม มะไฟ ช่อมะกอก ดอนเมือง นายยวน จำปา หลงประทาน เจ๊กเชย จำปาแป๋ พวงทอง สามรวงวัฒนา สายบัวหนัก แก่นจันทร์ หอมแก่นจันทร์ เทวดา พวงเงิน เขียวใหญ่ มะลิเลื้อย บางสะแก บางกะปิ บางเขียว หอมการเวก นาสะแกรอดหนี้ ข้าวมะตาด ข้าวหาง พวงหนัก ตามน นครนายก พวงหวาย ข้าวเขียว สองทะนาน นางพญารวงใหม่ ก้นจุด ล้นยุ้ง มะลิ เศรษฐีหนัก เหลือสะใต้ หลวงแจก ห้ารวง พวงหางหมู จำปาเทียม ร้อยสุพรรณ พวงพยอม เจ๊กสกิด (หนัก ) เทโพ นางดม จำปาขาว นางมล ทองพยุง พญาเททอง ห้ารวงเบาเจ็ดรวงเบา สระไม้แดง จำปาหนัก ก้นแก้ว เจ้ารวง ทองมาเอง สาหร่าย ก้อนแก้ว ปิ่นแก้ว ก้อนทอง ข้าวทุ่ง เจ็ดร่วง เก้ารวง พันธุ์เบื่อน้ำ จำปาสัก กาบเขียว ศรีนวล ท้องบะเอ็ง พระตะบอง พญาหยุดช้าง นางดำ ยาดง ยาบูกูนิง บูแม กาเยาะ โย๊ะกูนิง ลูกแก้วยือลาแป รีบกันตัง ช่อมะลิ เบาหอม บ้ากอ ไทรบุกหญ้า ไทรหอม ไทรขาว ทรายแดง นวลหมี รวงยาว เจ๊ะสัน รายทราย ปิ่นตัง เลือก ขาวปลอด พันธุ์ยะลา ลูกขาว ลูกอ่อน ดอกสน กลีบเมฆ จีนขาว ลูกขาว ลูกปลา นางเอก โป๊ะหมอ วัวเปียก ข้าวจังหวัดฯลฯ




ข้าวเหนียว
ข้าวเหนียว ชื่อพันธุ์ข้าวเหนียวมีน้อยกว่าพันธุ์ข้าวเจ้า เมื่อแบ่งประเภทตามชื่อจะแบ่งเป็น ๓ พวก ได้แก่

๑. ข้าวที่ขึ้นต้นด้วยคำ "ขาว” ได้แก่ ขาวขาวกรุง ขาวตับแรด ขาวนางแจ่ม ขาวภูเขา ขาวสุราษฏร์ ฯลฯ

๒. ข้าวที่ชื่อพันธุ์มีคำ "ดำ" เพื่อบอกว่าเป็นข้าวเหนียวดำ เช่น เหนียวดำ ดำทรง เหนียวดำวัว เหมยนองดำเป็นต้น

๓. ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ เขี้ยวงู ท้องพลู ข้าวกากหมาก ฟ้ามืด งาช้าง เกวียนหัก ประดู่ เหนียวประดู่ กาบยาง หางหมาจอก เหนียวกะทิ สันป่าตอง ประหลาด รอดหนี้ อีหม่อม โพธิ์เงิน เหลือง ป้องแอ้ว มักม่วย บางกอก ช่อไม้ไผ่ ข้าวเหนียวน้ำ ข้าวเหนียวเข้มเงิน เหลืองทอง เหนียวแดง ข้าวเหนียวกากน้อย ข้าวเหนียวหอยโข่ง ข้าวเหนียวดอกพร้าว ข้าวเหนียวละงู ข้าวเหนียวเบา ข้าวเหนียวสงขลา เหนียวลูกผึ้ง ตาล เหนียวเขมร เหนียวไทย เหนียวพม่า แม่โจ้ แก้ว ผา แก้วแม่โจ้ ดอเหล็ก ลายแก้ว ผาผึ้ง ผาเลิศ กันสัตว์ แก้วลาย ลายดอแพร่ ลายที่ ๑ กล้วยสาย ๑ ลอด มันเป็ด ดอลาย กล้วยขาว กาบทอง ผามืด สายหลวง ผาปลุก ผาแดง ดอเหลือง ผาด่าง ผาเหล็กดั่งหยวก เหมยนองพื้นเมือง ลายมะเขือ เหลือง เหลืองทอง หลาวหัก ผาเหนียว ดอกพุด สามรวง ข้าวดอก บุญมา จำปาทอง ข้าวนางราช ข้าวดอกหอม ดอกจันทร์ ดอนวล แดงน้อย อีมุม เขียวนอนทุ่ง ฯลฯ




http://www.culture.go.th/knowledge/story/rice/file02.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/09/2011 9:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/09/2011 9:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

577. ข้าวพื้นเมืองลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

............ ฯลฯ ..............



เวลาผ่านไปกว่า 20 ปีสถานภาพของข้าวพื้นเมือง ในพื้นที่ภาคใต้เป็นอย่างไรนั้น ทางศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ได้ดำเนินการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอีกครั้ง ซึ่งจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา รวมถึงพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จากคำบอกเล่าของชาวบ้านที่เคยทำนาข้าวพื้นเมืองนั้น สามารถรวบรวมรายชื่อได้ทั้งหมด (สำรวจเมื่อช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2550 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการสำรวจทั่วลุ่มน้ำ) ได้ 122 สายพันธุ์ และที่ชาวบ้านยังปลูกอยู่ในปัจจุบัน ที่สามารถเก็บตัวอย่างมาได้ จำนวน 21 สายพันธุ์ คือ

เข็มทอง, ดอกยอม, ไข่มดริ้น, ไอ้เฉี้ยง, นกเขา, ลูกขอนาดอน, หัวนา, เม็ดเขือ, เล็บนกบ้าน, เล็บนก, หอมจันทร์, จำปาเหลือง, หอมมะลิบ้าน, ดอกยอมนา, เหนียวเปลือกดำ, สังข์หยด, เหนียวสงขลา, เข็มทอง, ช่อจำปา, ช่อดาน, ช่องรี, อบบางแก้ว (คุณจักรกฤษณ์ สามัคคี หรือ หลวงอบ จากศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบางแก้วเป็นผู้พบในนาที่ปลูกข้าวสังข์หยด ลักษณะไม่เหมือนกับพันธุ์ข้าวอื่นๆ ผมจึงขออนุญาตตั้งชื่อให้เป็น "อบบางแก้ว" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้พบสายพันธุ์)


เมื่อพิจารณาการตั้งชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทยนั้นมีการตั้งชื่อกันในหลายลักษณะ โดยอาศัยข้อมูลการตั้งชื่อจาก สถานที่ ผู้พบหรือผู้นำมาเผยแพร่ ลักษณะเมล็ด หรือรวง เป็นต้น ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้ ชื่อสถานที่ เช่น เขาแดง, เบาเมืองงา, ช่อจังหวัด, ทรายขาว, มาเลลาย, หัวนา, ลูกขอนาดอน, ข้าวเหนียวสงขลาชื่อพืช เช่น ไทร, รากยาง, ช่อไม้ไผ่, ช่อกอ, ช่อตอ, ลูกโพธิ์ขี้มิ้น,สายบัวชื่อผลไม้ เช่นหยี, พวงกำ, ช่อหว้า, ทองหวาย, ลูกหวาย, พวงหวาย, ยอดม่วงช่อหลุมพีหนัก ชื่อดอกไม้ เช่น ดอกพะยอม, ดอกอ้อ, ดอกเหม่, จำปา, ช่อกุน, ดอกบอน, บัวอ่อนหอม, ช่อจำปี, ดอกพร้าว ช่อไพร, ดอกมุด, ช่อแป้งพวง, หอมมะลิบ้าน ชื่อสัตว์ เช่น ไข่มดริ้น, หงส์ทอง, นมวัว, เล็บนกพื้นเมือง, ลูกหมี, ลูกหนอน, นกเขา ลักษณะเมล็ด เช่น ลูกลาย, เบาท้ายงอย, น้ำค้าง, ลายโหนด, ลายหมาก, ท้ายดำ, ท้ายแดง, เม็ดเขือ, ลวดลาย ชื่อคน เช่น นางพญา, อุเด็น, นางเมือง, นางคำ, นางก้อง, นางนาค, นางขาว, นางฝ้าย,อ้ายแจ้, นางแก้ว, นางขม, ทองดี, นางมุ้ยมัดต้น, สาวน้อย, นางขาวใหญ่, นางเกิด, ไอ้เฉี้ยง, นิ้ง, โนรา, สี เช่น เบาเหลือง, เหนียวคำ, กาบดำ, เหลืองหนัก เครื่องประดับ เช่น เข็มทอง, ปิ่นแก้ว, เข็มทอง, ปิ่นพันธุ์เหลือง ลักษณะก้าน เช่น ช่อคอดำ, ช้อนช่อ, คอเขียว



ซึ่งจากคำบอกเล่าของชาวบ้านถึงการสูญพันธุ์ของข้าวพื้นเมือง จะให้เหตุผลตรงกันคือ การปลูกเพื่อสนองความ ต้องการของตลาดเป็นหลัก โดยผ่านการส่งเสริมจากหน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องทำให้ต้องเลิกการปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้าน แต่ก็เป็นที่น่า ยินดีเมื่อมีกลุ่มชาวบ้านที่สังเกตเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าว แล้วลุกขึ้นมารวมกลุ่มเพื่อสืบค้นหาพันธุ์ข้าว แลกเปลี่ยนและอนุรักษ์ เช่น กลุ่มเกษตรกรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำปากพนังตอนบน หรือ กลุ่มเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบางแก้ว เป็นต้น



ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่กำลังดำเนินการเพื่อการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นว่าด้วยเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นเมือง (ขณะนี้อยู่ในขั้นการลงพื้นที่เพื่อการรวบรวม) ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งที่อยู่ในระบบและนอกระบบการศึกษา ได้รู้จักอดีตของลุ่มน้ำเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป



------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้
http://www.focuspaktai.com
http://www.songkhlaportal.com/forums/index.php?topic=283.0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/09/2011 9:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/09/2011 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

578. ข้าวสังข์หยด

ข้าวพันธุ์สังข์หยดมีคุณสมบัติพิเศษในลักษณะของสีข้าวกล้องที่มีสีแดง รูปร่างเมล็ดเรียวความยาวเมล็ดข้าวกล้อง 6.70 มิลลิเมตร ข้าวซ้อมมือมีสีแดงปนสีขาว ข้าวจากรวงเดียวกันเมื่อขัดสีแล้วบางเมล็ดมีสีขาวใสแต่ส่วนใหญ่มีลักษณะขาว ขุ่น คุณสมบัติการหุงต้มดี ลักษณะข้าวหุงสุกนุ่ม มีความคงตัวของแป้งสุกอ่อน (94 มิลลิเมตร) ปริมาณอมิโลสต่ำ (15.28 +/- 2.08%)

ลักษณะทรงต้น
สูง 140 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณช่วงต้นเดือนมกราคม
เมื่อปลูกตามฤดูนาปีภาคใต้ ซึ่งจะปักดำกลางเดือนกันยายน

ข้าวสังข์หยดมีลักษณะแตกต่างจากข้าวพันธุ์อื่น
คือข้าวสารหรือข้าวกล้องที่มีเหยื้อหุ้มเมล็ดสีขาวปนสีแดงจางๆจนถึงสีแดงเข้ม
ในเมล็ดเดียวกันเมื่อข้าวหุงสุกมีความนุ่มมากและยังคงนุ่มอยู่เมื่อเย็นตัวลง
ข้าวสังข์หยดนอกจากมีความนุ่มอร่อยแล้วยังให้คุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวอื่นๆ
เนื่องจากข้าวสังข์หยดกล้อง มีโปรตีนสูง วิตามินสูง โดยเฉพาะไนอะซีนซึ่งมีมากเมื่อเทียบกับในข้าวสายพันธุ์อื่นๆ


คุณค่าทางอาหารของข้าวสังข์หยดต่อน้ำหนัก 100 กรัม
พลังงาน .................................... 375 กิโลแครอรี่
โปรตีน ...................................... 8.7 กรัม
คาร์โบไฮเดรท .............................. 73.3 กรัม
เส้นใย ..................................... 2.4 กรัม
แคลเซี่ยม ................................. 13 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส ................................. 317 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก ................................. 1.4 มิลลิกรัม
วิตามินบี 1 ................................ 0.60 มิลลิกรัม
วิตามิล บี 2 ............................... 0.01 มิลลิกรัม
ไนอะซีน ................................. 7.2 มิลลิกรัม

(ข้อมูลจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พศ. 2548)



ในส่วนของจังหวัดพัทลุง ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านจังหวัดพัทลุง
จัดจำหน่วย
- ข้าวกล้องสังข์หยด
- ข้าวซ้อมมือสังข์หยด
- รำข้าวและจมูกข้าวสังข์หยด มีสรรพคุณ แก้โรคเหน็บชา โลหิตจาง

วิธีรับประทาน ละลายในน้ำร้อน หรือผสมในเครื่องดื่ม เช่น โอวัลติน กาแฟ

สนับสนุนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านจังหวัดพัทลุง สนับสนุนข้าวสังข์หยด
ที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก
สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ที่ โทร. 080- 994 0912

การหุงข้าวกล้อง
ข้าวกล้องเมื่อหุงแล้วข้าวจะแข็งกว่าข้าวขาว มีทั้งสูตรแช่น้ำและไม่แช่น้ำ
หุงแบบไหนก็ได้ตามสะดวก ถ้าแช่น้ำไว้ก่อน 30 นาที ก็ใส่น้ำน้อยหน่อย
เคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งคือ บีบมะนาวลงไปสักเสี้ยวหนึ่งจะช่วยให้ข้าวนุ่มขึ้น

อัตราส่วนที่ใช้
ข้าวกล้องแช่น้ำ 1 ส่วน : น้ำ 1.5 ส่วน
ข้าวกล้องไม่แช่น้ำ 1 ส่วน : น้ำ 1.75 ส่วน

ปัจจุบันข้าวสังข์หยดเป็นข้าวเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ หาซื้อได้ที่ร้านโครงการหลวง ห้างสรรพสินค้าทั่วไป







ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ดูรายละเอียดทั้งหมด
ของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

http://www.rid.go.th/royalproject/index.php?option=com_content&view=article&catid=66%3A2009-05-04-07-29-58&id=34%3A2009-05-13-17-51-44&Itemid=9

http://www.sookjai.com/index.php?topic=20019.0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/09/2011 9:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 21, 22, 23 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 22 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©