-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/09/2011 10:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 21

ลำดับเรื่อง....


529. กฤษณา ( agalloch,eaglewood)
530. (เกร็ดความรู้ง่ายๆ) เรื่องไม้กฤษณา (agarwood)

531. เทคนิคและกระบวนการกลั่นน้ำมันกฤษณา
532. การเกิดสารในไม้กฤษณา
533. กระตุ้นสารหอมกฤษณา มก.วิจัยสำเร็จด้วยสารอินทรีย์
534. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม
535. แปรรูปไม้มะม่วง ส่งออก

536. ระเบียบใหม่ของญี่ปุ่นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง
537. นักวิจัยเกษตรฯ แปรรูปน้ำมะพร้าว เป็นผงหอม
538. สหฟาร์มทุ่มหมื่น ล. เพิ่มกำลังผลิต ประกาศขึ้นแชมป์ส่งออกไก่แปรรูป
539. ต่อยอดปุ๋ยอินทรีย์ หมักต่อได้ปุ๋ยชีวภาพ
540. ดินสอพอง

541. ทุ่ม 105 ล้าน พัฒนาทุ่งกุลาฯ
542. แปรรูปไม้ยางวุ่น ขาดวัตถุดิบต้องนำเข้า
543. ผลิตภัณฑ์จากไม้หอม ฮิโนกิ หมอนบำบัดโรค
544. ไม้จิ้มฟันจากตะไคร้ ไม้จิ้มฟันสมุนไพร
545. อาชีพเลี้ยงผีเสื้อ ฟาร์มเลี้ยงผีเสื้อ

546. วิธีเลี้ยงไก่เนื้อ ผสมน้ำหมักชีวภาพ
547. พืชสงวน ห้ามส่งออกพันธุ์
548. กระชายดำ (Kaempferia Pafiflora)
549. ความหมายและประเภทของจุลินทรีย์
550. เติมสีสันให้เส้นไหมด้วย “แบคทีเรีย”

551. มช. คิดค้นสารเร่งเจริญพันธุ์พืช ส่งเสริมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
552. สมุนไพรไล่หนู กะเพรา สะระแหน่ มะกรูด...ได้ผลชะงัด
553. จุลินทรีย์สร้างโรงปุ๋ย

-------------------------------------------------------------------------------------






529. กฤษณา ( agalloch,eaglewood)







ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น :
ต้นขนาดกลาง - ใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 25-30 ม. ลำต้นเปลาตรง แต่ต้นที่มีอายุมากๆ มักจะมีพูพอนที่โคนต้น มีขนคล้ายเส้นไหมเป็นมันตามปลายยอด เปลือกนอกเรียบสีขาวหรือเทา

ใบ :
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปมนแกมรูปขอบขนาน ขนาด 2.5-5 x 7-11 ซม. โคนใบรูปลิ่มปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น เนื้อใบเป็นมันเลื่อม คล้ายแผ่นหนังสีขาวเกลี้ยง ใบแก่สีเขียวเข้ม

ดอก :
ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง 4-6 ดอก มีขนนุ่ม มีสีเขียวอมเหลือง

ผล :
รูปโล่ หรือรูปตลับ เปลือกแข็ง มีขนนุ่มสีน้ำตาลเหลืองตามผิวผลหนาแน่น จะแตกอ้าตามรอยประสาน เมล็ดสีดำเป็นมันฝังอยู่ในเปลือกผล จำนวน 2 เมล็ด มีขนาด 5x10 มล

พันธุ์
ชื่อพื้นเมือง กฤษณา(ภาคตะวันออก) กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี) ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้)


การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด


การปลูก
วิธีปลูก:
เพาะต้นกล้าด้วยเมล็ด ระยะที่ใช้ปลูก คือ 4x4 ม. หรือ 2x2 ม. ขุดหลุมใหญ่กว่าถุง กระถาง หรือเข่งที่ปลูกต้นกฤษณา แยกดินชั้นบนไว้ใช้ทำดินผสม นำดินนี้มาใส่หินฟอสเฟตและโดโลไมท์ อย่างละ 50-100 ก. ปุ๋ยหมัก 1 ใน 3 ของดิน คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วหว่านใส่รองก้นหลุม 1 ใน 4 ส่วน ใส่โพลิเมอร์ (วุ้นอุ้มน้ำ) ไม่ต้องคลุกเคล้ากับดิน กรีดเอาถุงพลาสติกออกหรือทุบกระถาง ยกลงวางบนโพลิเมอร์ที่ก้นหลุม กลบดินผสมขึ้นมาจนถึงระดับต่ำกว่าปากหลุมเล็กน้อย


การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม
โดยทั่วไป จะทำการ แต่งกิ่ง ไม้กฤษณา ประมาณ 3 ปี หลังจาก นั้นจึง ปล่อยตาม ธรรมชาติ ข้อควร ระวัง อย่าให้ หญ้า ขึ้นรก บริเวณ โคนต้น (40 -50 cm.) จะทำ ให้ไม้ กฤษณา เจริญเติบ โตได้ ช้ากว่า ปกติ และหญ้า แห้ง ที่คลุม โคนต้น ต้องหนา พอสมควร


การให้ปุ๋ย
การใส่ ปุ๋ยควร ใส่ปุ๋ย อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงก่อน หน้าฝน และครั้ง ที่ 2 คือ หลังหน้า ฝนแล้ว ควรใส่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยอินทรี


การให้น้ำ
การให้น้ำ ระยะ ที่ปลูก คือ หน้าฝน ระหว่าง เดือน มิถุนายน - ตุลาคม ถ้าฝน ตก สม่ำเสมอ ไม่ทิ้ง ช่วงนาน กว่า 2 อาทิตย์ ไม่ต้อง รดน้ำ เลยก็ ได้ให้ สังเกต ที่ใบ ของต้นไม้ ถ้าใบ เริ่มเหี่ยว เฉาเพราะ ขาดน้ำ อาจจะ ช่วยรดบ้าง หลังจาก หมด หน้าฝน แล้ว ควรรด น้ำอาทิตย์ 1 - 2 ครั้ง จนไม้ หอม อายุได้ 3 ปี หลังจาก 3 ปี ขึ้นไป รดน้ำ อาทิตย์ ละ 1 ครั้ง จนกว่า จะเริ่ม ทำแผล ต้นไม้


ศัตรูพืช/วัชพืช
การกำ จัดวัช พืชอย่า ให้มี หญ้าขึ้น ตามโคน ต้นรัศมี 40-50 cm. หรือมี หญ้าเลื้อย พันโคนต้น จะทำให้ ไม้เติบ โตช้า ส่วนระหว่าง โคนต้น ถ้าหญ้า ขึ้นรก สามารถ ฉีดยา ฆ่าหญ้าได้ ซึ่งหลัง จากไม้ หอมอายุ 6 ปี ขึ้นไป หญ้าจะ ไม่ค่อย ขึ้นเพราะใบของต้นไม้จะคลุมกันเอง/เชื้อราที่ทำให้เกิดโคนเน่าราใบติดหรือเชื้อราลำต้นซึ่งเมื่อนำไม้หอมแยกไปปลูกแล้ว จะเกิดเชื้อราน้อยมาก ยกเว้นพื้นที่แฉะและน้ำท่วมขัง ป้องกันโดยใช้ยาจำพวกแบนเนป หรือแมนโคเซ็ป ราดหรือฉีดพ่นบริเวณโคนลำต้นและใบ แต่เมื่อไม้หอมอายุ 3 ปีขึ้นไปแล้วก็ไม่ต้องใช้ยาอะไรทั้งสิ้น


การเก็บเกี่ยว
การผลิตน้ำมันหอมระเหยให้ได้คุณภาพอย่างแรกขึ้นอยู่กับเนื้อไม้สีดำ สีน้ำตาล มีมากน้อยเพียงใดถ้าหนามากจะได้น้ำมันมาก คือ ไม้กฤษณา 16 กิโลกรัม จะได้น้ำมัน 4-5 โตลา (โตลาละ 12 กรัม จริงแล้วไม่ถึง 12 กรัม พอดี) ซึ่งกระบวนการผลิตมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1
กระบวนการเริ่มจากการเตรียมวัตถุดิบ คือนำไม้สับหรือชิ้นไม้กฤษณาที่ตากแห้งแล้ว นำไปโม่หรือบดให้ละเอียดลักษณะคล้ายขี้เลื่อย จากนั้นนำไปแช่น้ำหมักในถัง 10-15 วัน เพื่อให้น้ำมันในเนื้อไม้ละลายออกมากับน้ำและนำไปต้ม กลั่น ด้วยหม้อต้มกลั่น ที่ทำด้วยทองเหลือง

ขั้นที่ 2
การต้ม กลั่น ขั้นตอนนี้พิถีพิถันมากเพราะถ้าทำดีมีคุณภาพ จะได้ราคาสูง นำไม้กฤษณาไปใส่หม้อต้มกลั่น หม้อละ 16 กิโลกรัม ใส่น้ำสะอาดประมาณ 180 ลิตร ใช้ความร้อนจากเตาแก๊ส 100 องศาเซลเซียส ประมาณ 5-6 ชั่วโมง น้ำมันหอมระเหยจะถูกกลั่นออกปนมากับน้ำซึ่งมีน้ำปนอยู่ ใช้เวลาต้มนานประมาณ 10-15 วัน ทั้งวันทั้งคืน น้ำมันจะถูกกลั่นออกมาหมด จากนั้นนำไปแยกน้ำออกให้หมด

ขั้นที่ 3
การแยกน้ำออกจากน้ำมัน ซึ่งต้องพยายามให้มีน้ำมันบริสุทธิ์มากที่สุด และสะอาดไม่มีสิ่งเจือปน ทั้งนี้มีขั้นตอน 4 ขั้นตอนตามลำดับ คือ โดยขั้นแรกแยกน้ำมันใส่ขวดโดยวิธีใช้ก๊อกให้น้ำอยู่ที่ด้านล่างของขวด ส่วนน้ำมันจะลอยอยู่ส่วนบน นำขวดน้ำมันไปตั้งทิ้งไว้ 4-5 วัน จะเหลือน้ำเพียงเล็กน้อย นำน้ำไปทิ้ง จากนั้นนำไปกรองน้ำออกด้วยผ้าร่ม และนำไปกรองด้วยผ้าร่มและกระชอนให้น้ำมันสะอาดอีกครั้ง ใส่ขวดไว้ และขั้นสุดท้ายการนำไปอบโดยการใช้สปอตไลต์ส่อง หรือนำขวดไปวางไว้ที่บริเวณเตา เปิดฝาทิ้งไว้ให้ไอน้ำออก อย่างเร็ว 3-4 ชั่วโมง ถ้าจะให้ดี 8 ชั่วโมง ใช้เครื่องอบให้แห้งเป็นอันเสร็จเรียบร้อย


"กากไม้กฤษณาหรือผงไม้ที่ต้ม กลั่นแล้ว นำไปตากแห้ง แดดจัดประมาณ 3 วัน ขายได้กิโลกรัมละ 18-20 บาท ไต้หวัน ฮ่องกง จะซื้อไปทำธูป น้ำมันหอมระเหยนี้บางคนอาจจะมีการปลอมปนน้ำมันละหุ่งลงไป พ่อค้าก่อนจะรับซื้อจะเช็ก ทดสอบก่อน จะถูกกดราคา แตกต่างกันมาก เพราะถ้าเกรด เอ จะอยู่ในราคาโตลาละ 6,000-8,000 บาท และสามารถกำหนดราคาได้เองด้วย ในขณะนี้ที่โรงงานทั่ว ๆ ไป ถ้าไม่มีคุณภาพราคาโตลาละ 2,000-4,000 บาท"

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว/การเก็บรักษา
ทำเครื่องหอมและประทินโฉม เนื้อไม้กฤษณาเมื่อถูกเชื้อราชนิดหนึ่งเข้าทำลาย ตามบาดแผลเนื้อไม้ จะกลายเป็นสีน้ำตาลถึงดำ เรียกว่าเกิดกฤษณา สามารถนำมากลั่นเป็นน้ำมันที่หอมใช้ทำ เครื่องหอม เครื่องสำอางฯ
สุขลักษณะและความสะอาด
-
แหล่งปลูก
(เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง กระบี่ ตรัง พัทลุง ยะลา โดยเฉพาะที่เขาช่อง จังหวัดตรัง)

(ระยอง จันทบุรี ตราด โดยเฉพาะที่เขาสอยดาว)

(เชียงราย แพร่ น่าน กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ โดยเฉพาะพบมากที่สุดที่บ้านห้วยตะหวัก อำเภอน้ำหนาว บริเวณเขาค้อ)

และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครนายก ปราจีนบุรี กบินทร์บุรี โดยเฉพาะพบมากที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บริเวณดงพญาไฟ)

ผลผลิต
เนื้อไม้ (น้ำหนักแห้ง) กิโลกรัมละ 185 บาท




ศูนย์วิจัยพืชยืนต้นและไม้ผลเมืองร้อน
กลุ่มงานศูนย์วิจัย ฝ่ายวิจัยและบริการ
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร. 074-286147, 6147

http://natres.psu.ac.th/researchcenter/tropicalfruit/fruit/kredsana.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:28 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/09/2011 10:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

530. (เกร็ดความรู้ง่ายๆ) เรื่องไม้กฤษณา (agarwood)




1. ไม้เมืองร้อน
- ต้นไม้กฤษณามีการเจริญเติบโตได้ดี ในเขตป่าร้อนชื้น ไม่ชอบน้ำท่วมขัง

- นับเป็นเรื่องที่ดีที่ประเทศไทยมีสภาพอากาศที่ไม้กฤษณาต้องการ ทำให้ประเทศอื่นๆ บางประเทศไม่สามารถปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์อันมีค่า ของไม้กฤษณาได้

- นั่นคือโอกาสที่เราจะศึกษาและคิดจะปลูกไม้กฤษณาเพื่อจะเป็นอาชีพหรือหารายได้พิเศษ

- ที่สำคัญเป็นการอนุรักษ์ไม้กฤษณาที่มีอยู่ในธรรมชาติไม่ให้หมดไป (ปลูกทดแทน)




2. ตลาด marketing
- ตลาดของไม้กฤษณาในประเทศนับเป็นเรื่องยากในการขาย และนั่นคือจุดสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าคุณจะผลิตสินค้าได้ดีเพียงใด แต่ไม่มีการตลาดที่ดีถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ

- สำหรับท่านที่จะคิดตัดสินใจตั้งโรงงานกลั่นไม้กฤษณาหรือท่านที่คิดจะปลูกต้องตัดสินใจให้ดี นั่นคือผลประโยชน์และอาจมีผลเสีย ในภายภาคหน้าได้


* แต่เมื่อตัวผู้เขียนได้กลั่นน้ำมันออกมาแล้วนำน้ำมันที่ได้ไปขายยังตลาด นานา กรุงเทพ ฯลฯ กลับไม่เป็นอย่างที่คิดไว้

* ส่วนใหญ่แล้วทุกร้าน เขาจะมีผู้ส่งอยู่เป็นประจำ และมีโรงงานกลั่นเอง ไม่ซื้อ แล้วก็ไม่ถามด้วย แค่เพียงเราเข้าไปก็เป็นตัวประหลาดแล้ว บอกเพียงว่าไม่ซื้อ ถ้าจะซื้อให้ทิ้งน้ำมันไว้ถ้าพอใจหลังจากการ teat แล้วก็จะโทรกลับหรือ ขายเลย ณ เวลานั้นก็ตกประมาณโตล่าละ 2,000, 3,000, 4,000 ฟังแล้วรู้สึกหดหู่ ซึ่งบางท่านก็คงจะประสบปัญหาแบบนี้เช่นกัน นั่นจึงต้องคิดวางแผนการตลาดควรทำเช่นไร เช่น ตัวผมนั้นก็คิดไว้ตั้งแต่ทีแรกแล้วว่ายังไงก็ต้องเปิดเว็บไซด์ (อย่าลืมว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้นิยมไม้กฤษณา นั่นคือช่องทางที่สำคัญ และดีที่สุด เว็บไซด์ เพราะลูกค้าที่แท้จริงคือชาวต่างชาติ

* ลองคิดดูถ้าทุกโรงกลั่นมีเว็บไซด์ของตัวเอง ก็ไม่ต้องถูกเอาเปรียบ

สามารถกำหนดราคาเองได้ สุดท้ายก็วัดกันที่คุณภาพแค่เท่านั้น

ความจริงแล้วการทำธุรกิจมันก็เหมือนการชิงไหวชิงพริบจะไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ความลับหรือข้อมูลต่างๆ แต่ที่ผู้เขียนเองยินดีที่จะเปิดเผย อย่างน้อยคนไทยด้วยกันจะได้มีอาชีพอีกทางหนึ่ง ไม่ถูกเอาเปรียบอีกด้วย เราคนไทยด้วยกันไม่ช่วยกันแล้วใครจะช่วยเรา




3. เครื่องมือการเกษตร
- ในการปลูกไม้กฤษณานั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นที่ทราบกันดีว่า ไม้ตัว หรือแก่นไม้ของไม้กฤษณาให้มีราคาแพงและหายาก

- เกษตรกรทั่วไปจึงคิดค้นทำไม้ตัวให้ได้


* แต่เมื่อทำออกมาแล้ว ก็ไม่สามารถใช้ขวาน, มีด, หรือเลื่อยแซะแก่นออกมาได้ จึงมีการคิดค้นเครื่องมือในการแกะสลักทั่วไป แต่ต้องแตกต่างเพราะไม่สามารถใช้ค้อนตอกด้ามได้จะทำให้แก่นไม้นั้นทะลุจึงมักดัดแปลง ให้มีลักษณะดังนี้

ในภาพประกอบคำอธิบาย


4. วัชพืช
- โดยทั่วไปแล้วการปลูกไม้กฤษณาก็มีความจำเป็นที่จะต้องดูแล หลังการปลูก และการทำสาร

- ไม้กฤษณาเมื่อทำสารแล้ว โครงสร้างและการใช้ชีวิตของเขาจะเปลี่ยนไป จากที่เคยสามารถดูดซับธาตุอาหารต่างๆ ได้ดีก็จะลดประสิทธิภาพลงไป

- และก็จะมีปัญหา อุปสรรคต่างๆ ตามมาให้แก้ไข ยกตัวอย่างเช่น วัชพืช ฟังดูแล้วไม่เกี่ยวกันสักนิด แต่คุณจะปฏิบัติต่อเขาอย่างไร ถ้าจะกำจัดวัชพืชออก บางคนใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมาใช้ นั่นเป็นการกระทำที่ผิด เพราะจะทำให้โคนของเขาได้รับสารพิษตามไปด้วย เมื่อโคนของเขามีบาดแผลจากการเจาะทำสารอยู่ก่อนแล้ว

- จะทำให้ชีวิตของเขาสั้นลง เนื่องจากได้รับสารที่ไม่พึงประสงค์ แต่ถ้าปลูกไม้กฤษณาแซมภายในสวนผลไม้หรือยางพารา จะเป็นการเสียผลประโยชน์ต่อเจ้าของสวนไม่ว่าแรงงาน, เวลา ฯลฯ

* ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรถอนหญ้าบริเวณรอบๆ โคนของไม้กฤษณาก่อนกว้างประมาณ 1 เมตร แล้วจึงทำการใช้สารเคมีพ่นวัชพืช วิธีที่ดีที่สุด การตัดโดยใช้เครื่องตัดหญ้า ซึ่งแล้วแต่จะเลือกแบบใดขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่



5. ปุ๋ย, สารเคมี, ปุ๋ยชีวภาพ
- สรีระและสภาพโดยรวมของไม้กฤษณานั้นเมื่อผ่านการทำสารแล้วสุขภาพของต้นไม้จะลดประสิทธิภาพในการเจริญเติบโต

- บางคนคิดว่าใส่ปุ๋ยแล้วต้นไม้จะฟื้น นั่นคือการคิดที่ผิด และนั่นคือการเร่งให้เขาเสียชีวิตเร็วขึ้น สิ่งสำคัญคือน้ำ



การดูแลรักษาที่ดีที่สุด
* คือ การให้น้ำ ในช่วงระยะ 14 วันแรกหลังทำสาร เพราะเมื่อทำสารแล้วลำต้น ราก ใบ จะมีการชะงักการเจริญเติบโต, บางต้นใบร่วง, ใบเหลือง, และใบหู่

* แต่บางสวนไม่สามารถให้น้ำได้ ไม่ว่าจะกรณีใดๆ

- ก็ควรจะทำสารในช่วงที่มีฝน
- หรือเจาะฉีดสารให้น้อยลง (ปริมาณสารและรูที่จะเจาะ)
- แต่ก็มีข้อยกเว้น หรือเพิ่มเติมในกรณีบาง cate แล้วจะนำมาบอกกัน



6. แมลง
แมลงนั้นสำคัญไฉน ?
เกษตรกรรมนับเป็นสิ่งที่คู่กับคนไทยมานาน นวัฒกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอไม่ว่าในหรือต่างประเทศ บางสิ่งเราก็ตามแทบจะไม่ทัน และสิ่งที่มีผลตามมาก็คือ นวัฒกรรมใหม่ๆ แต่ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น นั่นคือ แมลง งงซิครับ แมลงมีนวัฒกรรมอะไรใหม่ด้วยหรือ

มันก็ไม่ใช่อะไรใหม่หรอกครับ เพียงแต่แมลง หรือศัตรูพืชในปัจจุบัน สามารถทนต่อสารฆ่าแมลงบางชนิด หรือไม่ว่าสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย มันสามารถปรับตัว หรือต่อต้านสารที่มันเคยได้รับ เช่น เราจะฆ่าหนอนที่กัดกินใบไม้กฤษณาโดยใช้ยาฆ่าแมลง เมื่อก่อนใช้ในปริมาณที่กำหนดหนอนก็ตาย แต่เมือครั้งต่อไปพ่นในปริมาณเดิม แต่หนอนบางตัวหรือแมลงบางชนิดกลับไม่ตาย นั่นคือสาเหตุ และเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน


* บางท่านอาจจะรู้จัก แมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำตัวเบียน เป็นแมลงที่กินแมลงด้วยกันและก็จะมีที่เก่งกว่านั้นคือพวก Hyper มันสามารถที่จะฝังไข่ของมันไว้ในท้องของ (ไข่) แมลง โดยฝังไว้ในไข่ของแมลงอีกทีหนึ่งและพอลูกของมันเกิดมาก็จะกัดกินแมลงตัวนั้นเป็นอาหาร และก็ดำรงชีวิตเป็นวัฎจักรของแมลง แต่วิธีนั้นคงจะนำมาใช้คงไม่เพียงพอ เจ้าของสวนไม้กฤษณาทราบดีว่า เมื่อหนอนเข้ากัดกินแล้ว เพียงไม่ถึงอาทิตย์ก็จะเหลือเพียงลำต้นให้เห็นกัน


เหมือนเส้นผมบังภูเขา !
วิธีง่ายๆ เพียงนำรังมดแดง ที่อาศัยอยู่ทั่วไป เช่น ต้นมะม่วงหน้าบ้าน ฯฃฯ ก็ตัดและเอาตาข่ายคลุมรังไว้ ไม่ให้มดออกนำไปมัดกับต้นไม้กฤษณาแล้วก็ค่อยๆ เปิดรูเมื่อมดแดงสร้างรังใหม่ที่ต้นไม้กฤษณาก็หาเชือกฟางมัดจากต้นที่มดอยู่ไปอีกต้นและไปต่อทั่วสวน แค่นี้ปัญหาก็จะหมดไป



7. อย่าให้หนอนกินใบกฤษณารอบ 2 (เสียชีวิต)
บางท่านที่ปลูกไม้กฤษณาอาจไม่ทราบว่าทำไมต้นไม้กฤษณาของท่านเสียชีวิต ทั้งๆ ที่ต้นก็ใหญ่ แล้วก็ยังไม่ได้ทำสาร

- ลองสังเกตนะครับ ถ้าต้นไม้ของท่านโดนหนอนครั้งที่ 1 กัดกินหมดต้น สักพักแล้วเขาก็จะลัดใบอ่อนขึ้นมา แตกใบใหม่สวยงามเต็มต้น (สมมุติต้นไม้มีอายุ 5 ปี)

- แต่นั่นคือ การที่จะบ่งบอกว่าเราจะต้องดูแลเขาเป็นพิเศษกว่าต้นอื่นๆ บางท่านมองว่ามันเกี่ยวกันตรงไหนทั้งๆ ที่ต้นไม้ก็ยังไม่ได้ทำสาร !

แต่ถ้าบังเอิญหนอนได้เกิดขึ้นที่ต้นไม้กฤษณาต้นนั้นครั้งที่ 2 กัดกินจนหมดต้นถึงจะพ่นยาให้น้ำใส่ปุ๋ยอย่างไรเขาก็จะเสียชีวิตลงทันที ! อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อยากทราบเหตุผลคุยกันต่อในข้อความหน้านะครับ แล้วจะนำข้อมูลมาฝากกันครับกระผม


แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 13:15 น.




http://www.wiriyakrisana.com/component/content/article/29-agarwood-article/69--agarwood-.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/09/2011 10:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

531. เทคนิคและกระบวนการกลั่นน้ำมันกฤษณา



(ที่มา : วิริยะกฤษณา)









กระบวนการกลั่นน้ำมันกฤษณาเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะน้ำมันกฤษณาที่กลั่นออกมาได้คุณภาพดี จะสามารถขายได้ราคาสูง ซึ่งจะมีเทคนิคต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล แต่หลักการโดยทั่วๆไป จะเป็นการต้มน้ำให้เดือดเป็นไอ เมื่อไอน้ำหรือน้ำร้อนสัมผัสแทรกตัวเข้าไปในผนังเซลล์ของเนื้อเยื่อไม้กฤษณา สารกฤษณาซึ่งอยู่ภายใต้เซลล์จะถูกไอน้ำดึงสารกฤษณาให้แพร่ผ่านผนังเซลล์ออกมา แล้วระเหยเป็นไอปนมากับไอน้ำ จากนั้นจะผ่านกระบวนการควบแน่น โดย การทำให้เย็นลงกลายเป็นของเหลวใหม่จะพบว่าน้ำมันกฤษณาและน้ำจะแยกออกจากกัน เป็นชั้น ๆ จึงสะดวกต่อการแยกเก็บอีกครั้งในขั้นตอนสุดท้าย
วิธีการกลั่นน้ำมันกฤษณาจากไม้กฤษณานั้น กระบวนการที่นิยมกัน คือ การต้มกลั่นแบบใช้น้ำ

ไม้กฤษณาเกรด 4 ที่มีปริมาณสารกฤษณาอยู่น้อยจะถูกนำมาผ่านกระบวนการกลั่นเพื่อเอาน้ำมัน กฤษณาผ่านกระบวนการต้มกลั่นแบบใช้น้ำ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนมากมักจะนิยมใช้ โดยอาศัยวิธีการเทคโนโลยีชาวบ้านอย่างง่าย ซึ่งเป็นเทคนิคที่นิยมใช้โดยทั่วไป นอก จากนี้ยังมีการกลั่นด้วยไอน้ำ ที่ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องมาอีกระดับหนึ่งก่อนที่จะได้รับการพัฒนา ต่อมาเป็นการกลั่นด้วยไอน้ำแบบต่อเนื่อง




กระบวนการต้มกลั่นแบบใช้น้ำ








(ที่มา : วิริยะกฤษณา)



กระบวนการต้มกลั่นแบบใช้น้ำ ใช้น้ำเป็นตัวสกัดโดยการใส่วัตถุดิบลงไปผสมกับน้ำวัตถุลอยตัวอยู่แล้วต้มน้ำในหม้อต้มโดยใช้แก๊สให้เดือด จากนั้นสารกฤษณาจะถูกพาออกมาในลักษณะที่รวมกับไอน้ำและถูกผ่านเข้าไปสู่ขั้นตอนการควบแน่นให้เป็นของเหลว ซึ่งมีการแยกชั้นชัดเจนระหว่างน้ำและน้ำมันกฤษณา ทำให้แยกออกมาได้อย่างง่ายมาก

การกลั่นด้วยวิธีนี้ถือว่ารวดเร็วสะดวกลงทุนน้อยกว่าวิธีอื่น ๆ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การกลั่นด้วยวิธีนี้โดยทั่วไปจะใช้เวลา 5-10 วัน ต่อการกลั่นหนึ่งครั้ง แต่มีข้อเสียคือ

1. การควบคุมความสม่ำเสมอของการให้ความร้อนอาจจะไม่กระจายดีนัก
2. เวลาที่ใช้ค่อนข้างจะนานกว่าปกติ
3. ประสิทธิภาพในการสกัด และการพาน้ำมันกฤษณาออกมายังน้อยอยู่


การต้มกลั่นด้วยวิธีนี้เกิดขึ้นที่อุณหภูมิและความดันไอน้ำต่ำ จึงเป็นทีนิยมมาตั้งแต่โบราณ การต้มกลั่นแบบนี้ยังเป็นที่นิยมตราบเท่าปัจจุบัน เนื่องจากลงทุนน้อย มีความเหมาะสมเชิงเศรษฐกิจมากกว่า สำหรับกระบวนการจากไม้กฤษณาจนถึงการต้มกลั่นจะเริ่มจาก


ลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1) การคัดเลือกไม้กฤษณาตามเกรดต่าง ๆที่ทำสารกระตุ้นไว้ โดยไม้เกรด 1 ,เกรด 2 และเกรด 3 ที่ทำเป็นไม้ไม่ตัวไว้ จะถูกคัดแยกเป็นไม้คุณภาพสูงขายเป็นชิ้นไม้จะได้ราคาดีกว่า โดยการนำไปแทงแต่งเนื้อไม้ให้เหลือส่วนที่เป็นสารกฤษณา สีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำไว้ ส่วนไม้เกรด 4 จะคัดเลือกเป็นไม้คุณภาพต่ำผ่านกระบวนการต้มกลั่นเป็นน้ำมันกฤษณาต่อไป

2) นำไม้กฤษณาที่จะทำการต้มกลั่นมาสับหรือถากเป็นชิ้นไม้เล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 x 1 เป็นแผ่นบาง ๆในกรณีเป็นไม้ตะเคียน หรือสับชิ้นไม้ตามขนาดของสารกฤษณาที่เกิดขึ้นบริเวณรอบ ๆ ตะปู หลังจากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง 2-3 แดด เพื่อไล่ความชื้นออกจากเนื้อไม้

3) หลังจากตากแดดให้แห้งเพื่อไล่ความชื้นออกจากเนื้อไม้แล้ว จะนำมาบดละเอียดขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เพื่อเพิ่มเนื้อที่ผิวการสกัดน้ำมันออกให้มากที่สุด

4) นำผงที่บดละเอียดของไม้กฤษณามาแช่น้ำไว้ประมาณ 7-15 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการกลิ่นของลูกค้าที่สั่งซื้อ ถ้ายิ่งนานวันจะทำให้กลิ่นของน้ำมันกฤษณาที่ได้เปลี่ยนไปตามเวลาที่แช่ในน้ำ

5) นำผงบดละเอียดของไม้กฤษณาจากในน้ำมาใส่หม้อต้มกลั่น ซึ่งจะทำการบรรจุลงในหม้อต้มกลั่นตามขนาดและปริมาณตามต้องการ โดยปกติจะใช้ประมาณ 10-15 กิโลกรัมต่อ 1 หม้อกลั่น แล้วจึงเติมน้ำลงไปในหม้อต้มให้เลยระดังผงไม้ประมาณ 5-6 นิ้ว ทำการปิดฝาหม้อ และจุดไฟให้ความร้อนแก่หม้อต้มกลั่นไม้กฤษณา 15 กิโลกรัม เมื่อนำมาต้มกลั่นแล้วจะได้น้ำมัน น้ำหนักประมาณ 12 กรัม (โตร่าเป็นชื่อเรียกหน่วยวัดที่นิยมใช้ในการซื้อขายน้ำมันหอมกฤษณา 1 โตร่า = 12.5 ซีซี. ) น้ำมันหอมกฤษณา 1 โตร่าขายในประเทศไทยได้ 3,500-4,000 บาท แต่ถ้านำออกไปขายต่างประเทศจะขายได้ราคา 3 เท่าของราคาในประเทศ

6) เมื่อหม้อต้มกลั่นได้รับความร้อนจนเลยจุดเดือดแล้วไอน้ำจะระเหยออกมาทางท่อพร้อมกับน้ำมันกฤษณาที่ออกมาในสถานะไอ จึงต้องทำการกลั่นตัวให้เป็นของเหลว ด้วยการปล่อยให้ไหลผ่านส่วนของการควบแน่นโดยผ่านน้ำเย็นเข้าไปในท่อที่อยู่รอบนอกในลักษณะสวนทางกับไอน้ำ

7) น้ำมันกฤษณาที่ได้ออกมาพร้อมกับน้ำ หลังจากกลั่นตัวจะลอยแยกชั้นกันอยู่ในหลอดแก้วที่รองรับซึ่งมีก๊อกสำหรับปล่อยน้ำออกไปแล้วแยกเก็บน้ำมันกฤษณาที่ อยู่ส่วนบน ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มให้ความร้อนต้มกลั่นกระทั่งน้ำมันกฤษณาเริ่มกลั่นตัวออก มาใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งน้ำมันกฤษณาที่ได้ออกมาครั้งแรกมักนิยมเรียกว่าน้ำมันเกรดเอ จะมีสีเหลืองอำพัน ค่อนข้างเข้ม มีกลิ่นหอมมาก ถ้าหากนำมาทาผิวหนังจะติดทนนานมากประมาณ 8 ชั่วโมง ราคารับซื้อตลาดเมืองไทยในปัจจุบัน โตร่าละ 4,500 – 5,500 บาท

Cool เมื่อปล่อยให้มีการกลั่นลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน ทั้งวันทั้งคืนน้ำมันกฤษณาถึงจะหมด ก็จะดับไฟ





9) หลังจากทำการเก็บน้ำมันแล้ว ต้องผ่านกระบวนการกรองน้ำมันอีกครั้งด้วยผ้ากรอง เพื่อกรองน้ำและสิ่งเจือปนออกให้หมด จากนั้นใส่ขวดแล้วนำไปอบไฟโดยเปิดฝาทิ้งไว้ให้ไอน้ำระเหยออกให้หมดจะได้น้ำมันกฤษณาที่มีคุณภาพสูง

10) กากที่เหลือจากการต้มกลั่น ยังมีกลิ่นของน้ำมันกฤษณาระเหยปนอยู่นำไปตากแห้ง แดดจัดประมาณ 3 วัน จะถูกนำไปป่นเป็นผงสำหรับทำธูปหอมต่อไป


สำหรับความเหมาะสมในการเลือกเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตการกลั่นน้ำมันกฤษณานั้น จะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ประกอบกันหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน ซึ่ง จะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจ รวมถึงความสามารถในการจัดหาไม้กฤษณาเพื่อให้เพียงพอกับระบบที่ใช้งาน เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย



http://www.wiriyakrisana.com/oil-refinery.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/09/2011 11:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

532. การเกิดสารในไม้กฤษณา


ชมรมธุรกิจสวนไม้กฤษณา (2549) กล่าวว่า สาเหตุการเกิดสารและสร้างสารกฤษณาที่ผ่านมามีการคาดเดาและกล่าวอ้างกันไปในลักษณะต่างๆ บางคนเข้าใจว่าเป็นแก่นของต้นกฤษณา บางคนเข้าใจว่าเกิดเฉพาะในต้นกฤษณาที่ตายแล้วหรือต้องตัดทิ้งให้ผุก่อน ทั้งนี้เนื่องจากผู้หาของป่าพบก้อนกฤษณาในต้นกฤษณาที่ผุแล้ว และเข้าใจกันว่าเชื้อราเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดสารกฤษณา ด้วยเหตุนี้การศึกษาเกี่ยวกับการเกิดสารกฤษณาที่ผ่านมาจึงได้เน้นไปที่การเกิดเชื้อราและความสัมพันธ์ของเชื้อรากับการเกิดสารกฤษณา และปัจจัยอื่นๆเช่น ปัจจัยพื้นฐานสภาพแวดล้อม การชักนำให้เกิดสารในไม้กฤษณา



1 ปัจจัยพื้นฐานสภาพแวดล้อม






ไม้กฤษณาเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในป่าดิบชื้น ในอดีตการปลูกไม้กฤษณาปล่อยให้มีการเจริญเติบโตเองแบบธรรมชาติ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยให้น้ำเหมือนพืชชนิดอื่น แต่ปัจจุบันนี้การปลูกไม้กฤษณามีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นไม้เศรษฐกิจ จำเป็นต้องมีการเรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการปลูกไม้กฤษณา การปลูกในปัจจุบันต้องการขนาดของลำต้นที่ใหญ่และสูงตรง สำหรับมีจุดมุ่งหมายที่จะนำมาต้มกลั่นเป็นน้ำมันกฤษณา ไม่ต้องการกิ่งก้านที่มากเกินไป การกระตุ้นสารจะได้ปริมาณของสารกฤษณามากตามไปด้วย ซึ่งจะคุ้มค่ากับการลงทุนปลูกและเวลาที่สูญเสียไปหรือไม่ผู้มีเงินทุนระยะยาว การปลูกไม้กฤษณาโดยให้มีกิ่งก้านมากพอสมควรโดยดูแลบำรุงรักษาต้นให้สมบูรณ์มีกิ่งก้านขนาดใหญ่ เพื่อแยกสัดส่วนเนื้อไม้จะเป็นประโยชน์สำหรับการทำไม้กฤษณา เกรด 1 และเกรด 2 (ภาณุเมศวร์, 2549)



2 การชักนำให้เกิดสารในไม้กฤษณา



การกระตุ้นสารกฤษณาเป็นขั้นตอนสำคัญท้ายของการปลูกไม้กฤษณา จากหลักการที่ว่ากฤษณาเกิดจากต้นกฤษณาหลั่งสารมาเพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดขึ้น จึงได้มีการคิดค้นวิธีการต่างๆ เพื่อทำให้เกิดบาดแผลบนต้นของกฤษณา ตลอดจนการใช้สารเคมีหรือเชื้อราบางชนิดเข้าไปกระตุ้นให้ต้นกฤษณาหลั่งสารกฤษณา ซึ่งวิธีการทำให้เกิดสารกฤษณามีวิธีการทำ 5 วิธี ได้แก่

การปล่อยให้แมลงเจาะตามธรรมชาติ
การสับถาก
ลอกเปลือก
การเจาะตอกตะปู
การใช้สาร

(ชมรมธุรกิจสวนไม้กฤษณา ( 2549) ; ภาณุเมศวร์ ( 2549) และ จำเนียน (2548)

2.1 การปล่อยแมลงเจาะตามธรรมชาติ วิธีการนี้เป็นการเลียนแบบการเกิดสารกฤษณาในต้นกฤษณาที่พบขึ้นอยู่ในป่าธรรมชาติ โดยการปล่อยให้แมลงบางชนิดเข้าไปเจาะลำต้นเพื่อชักนำให้เกิดสารกฤษณาในเนื้อไม้ เนื่องจากมีการพบว่าสวนผลไม้บางส่วนที่มีการปลูกกฤษณาแซมในพื้นที่ว่าง เมื่อต้นกฤษณาโตขึ้นจะพบรูที่ถูกแมลงหรือหนอนเจาะตามลำต้นหรือกิ่ง เกิดสารกฤษณาขึ้นเองได้

2.2 การสับหรือถาก กิ่งควรมีขนาดโตตั้งแต่ 2 นิ้ว ขึ้นไปใช้ขวานหรือมีดสับ ถากบริเวณลำต้นหรือกิ่ง แต่ถ้าทำแผลที่ลำต้นจะสะดวกกว่าเพราะมีขนาดใหญ่กว่า ความลึกของบาดแผลขึ้นอยู่กับขนาดของลำต้นหรือกิ่ง จำนวนบาดแผลไม่แน่นอน จะใช้วิธีการสับเปลี่ยนตำแหน่งของการทำแผลหมุนเวียนไปเรื่อยๆ วิธีการนี้จะเกิดสารกฤษณาปรากฏในระยะเวลา 3-4 เดือน แต่ให้กลิ่นของกฤษณาที่อ่อนมาก มีคุณภาพอยู่ในไม้เกรด 4 เท่านั้น

2.3 การตอกตะปูโดยใช้สาร การสร้างบาดแผลโดยการตอกตะปู สามารถสร้างสารกฤษณาในเนื้อไม้ได้ ไม้เกรด 1-3 เพราะมีการสะสมของสารกฤษณาสารกฤษณานี้จะอยู่ใกล้กับบริเวณตะปูที่ตอกลงไปในเนื้อไม้ เป็นไม้เกรด 1 หรือ 2 ส่วนไม้เกรด 3 จะพบลักษณะเป็นแถบสีดำของสารกฤษณาอยู่บริเวณรอบนอก และล้อมรอบบริเวณที่มีการสะสมสารกฤษณาปริมาณน้อยเอาไว้ เกิดขึ้นรอบๆ ตะปู การสะสมสารกฤษณาเป็นไม้เกรดใดจะขึ้นอยู่ระยะเวลาของการสะสมสารกฤษณา และปริมาณสารอาหารเสริมที่ใช้ในการกระตุ้นกฤษณาด้วย

(ที่มา : วิริยะกฤษณา)


..... คลิก ดูรูปการแทงต้น....
http://www.wiriyakrisana.com/factors-causing-oil-agarwood.html


2.4 การเจาะรูโดยใช้สารกระตุ้น การสร้างสารกฤษณาถูกสร้างขึ้น ต้นที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น การสร้างบาดแผลเป็นผลชักนำให้เกิดการสร้างสารกฤษณาได้ ฉะนั้นการสร้างบาดแผลด้วยวิธีการใดก็แล้วแต่จะสามารถสร้างสารกฤษณาขึ้นได้ ซึ่งปริมาณจะมากน้อยแตกต่างกันแล้วแต่วิธีการ จากผลการทดลองที่ผ่านมากแสดงให้เห็นว่า วิธีการเจาะรูด้วยสว่านเป็นลักษณะของการใช้แรงตัดเฉือน ในการกระตุ้นสารกฤษณาให้มีสารจำนวนมากและเกิดเร็วขึ้น กระบวนการเจาะรูด้วยสว่านจึงสามารถสร้างสารกฤษณาได้เพียงไม้เกรด 4 เท่านั้น เพื่อใช้ในการต้มกลั่นน้ำมันกฤษณา

2.5 การใช้สาร จากหลักธรรมชาติที่ว่ากฤษณาจะหลั่งสารกฤษณาออกมาเพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดขึ้น แต่การเกิดสารกฤษณาโดยธรรมชาติจะต้องใช้ระยะเวลานานมาก และสารกฤษณาเกิดขึ้นน้อย ยังไม่มากพอในเชิงเศรษฐกิจ จากการค้นพบว่าการมีสารกฤษณาซึมลงในเนื้อไม่เป็นการรักษาบาดแผล จึงได้มีการทดลองผลิตไม้กฤษณาโดยการใช้สารเคมีต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการใช้สารเคมีกันอย่างแพร่หลาย มีทั้งที่เป็นสารเคมี สารอินทรีย์ และเชื้อราบางชนิด โดยจะใส่สารเข้าไปในลำต้นเพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างสารกฤษณาขึ้นมา ซึ่งจากการใช้สารจะทำให้เกิดสารกฤษณาในเนื้อไม้ได้รวดเร็ว

จากที่ได้ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลสามารถสรุปได้ว่า การชักนำให้เกิดสารในไม้กฤษณานั้นสามารถทำใด้หลายวิธีดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแต่วิธีที่ดีที่สุดและให้ปริมาณผลผลิตที่ดีคือ การเจาะรูโดยใช้สารกระตุ้น เพราะสารกระตุ้นที่เจาะฝังลงไปจะไปทำปฏิกิริยากับเนื้อไม้ทำให้เกิดการสร้างสารในเวลาที่เร็วกว่าวิธีอื่นๆ



ปัจจัยที่ทำให้เกิดสารกฤษณา
ในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าสารกฤษณาจะเกิดขึ้นกับต้นกฤษณาที่ตายแล้ว โดยเป็นผลจากเชื้อรา ผู้หาของ ป่าจะใช้มีด ขวาน สับ คุ้ยหาสารกฤษณาบนต้นที่ตายแล้ว ต่อมาเมื่อมีความต้องการไม้สูงมากขึ้น จึงมีการโค่นต้นกฤษณาต้นใหญ่แล้วปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ เมื่อต้นเริ่มผุ จึงเริ่มขุดคุ้ยหาสารกฤษณา ซึ่งโอกาสที่ผู้หาของป่าจะพบสารกฤษณามีอยู่น้อยมาก

ในระยะต่อมาพรานป่าเริ่มจะใช้มีด ขวาน เฉาะ ตรวจสอบหาสารกฤษณาเข้าไปในส่วนต่าง ๆ ของเนื้อไม้ที่ยังมีชิวิตอยู่ เพื่อดูว่ามีสารกฤษณาอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็มักจะโค่นต้นไม้ลงมา ถ้าไม่มีก็จะเว้นต้นกฤษณาต้นนั้นไว้ก่อน แล้วเวียนมาตรวจสอบภายหลัง

จากการกระทำลักษณะนี้จึงทำให้เป็นการค้นพบโดยบังเอิญว่าบริเวณเนื้อไม้บาดแผลที่ถูกขวานฟันเอาไว้ ค่อย ๆ เกิดสารกฤษณาแทรกซึมลงในเนื้อไม้ทิ้งระยะเวลาไว้ 6-8 เดือน ก็จะเปลี่ยนเนื้อไม้จากสีขาวเป็นสีเหลืองแก่หรือน้ำตาลอ่อน พรานป่าจะใช้สิ่วเล็ก ๆ สกัดส่วนที่มีสารกฤษณาไปขาย แต่ จะได้สารกฤษณาจำนวนไม่มาก เนื่องจากสารกฤษณาสะสมบริเวณผิวของบาดแผลบาง ๆ เท่านั้น วิธีการนี้จึงเป็นการพัฒนาการการเก็บสารกฤษณาของชาวบ้าน เรียกว่า ไม้ปากขวาน

เนื่องจากต้นกฤษณาเป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม จะสะสมอยู่ในรูปของสารกฤษณา(resin) ภายในเนื้อไม้ ทำให้ไม้มีคุณค่ามากขึ้น จากเงื่อนไขนี้ทำให้ต้นกฤษณาในธรรมชาติถูกตัดโค่นมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากการคาดการณ์ของผู้หาของป่าว่าน่าจะมีสารกฤษณาอยู่ในเนื้อไม้ โดยถ้าหากไม่มีเนื้อสารกฤษณาอยู่ในเนื้อไม้ก็จะเป็นแค่ไม้เนื้ออ่อนธรรมดาชนิดหนึ่งเท่านั้น

ข้อมูลจากพรานป่าในการตัดฟันต้นไม้ในธรรมชาติ จะมีโอกาสในการเจอต้นที่มีแก่นกฤษณาจริง ๆ ประมาณ ไม่เกินร้อยละ 5 เท่านั้น นับว่าเป็นการสูญเปล่า และสูญเสียไม้กฤษณาในธรรมชาติอย่างยิ่ง พรานป่าจะมีวิธีการในการสังเกตลักษณะภายนอกของต้นกฤษณา พอจะสันนิษฐานว่าต้นไหนจะมีแก่นกฤษณาอยู่ ดังนี้

1) ดูลักษณะของลำต้น เช่น ลำต้นคด งอ บวมโป่งพอง ลำต้นไม่สม่ำเสมอ เป็นลักษณะร่องรอยอาการเป็นโรคของลำต้นหรือกิ่ง อาการเหมือนต้นจะตาย
2) รอยปริ หรือ รอยหักตามร่องกิ่งผุ หรือ ลำต้น แล้วมีน้ำขังตามรอยแตก หักนั้น
3) ร่องรอยของสัตว์แทะ หรือทำอันตรายแก่ต้นไม้ รวมทั้งรอยถากหรือตัดฟันต้นไม้ของผู้หาของป่า
4) ลำต้นหรือเรือนยอดโทรมลง ลักษณะใบเริ่มสีเหลืองคล้ายต้นไม้เป็นโรคหรือเป็นเชื้อรา
5) ตามลำต้นมีรอยเจาะของปลวก มด ไต่หรือทำรังในโพรงของลำต้นหรือตามกิ่งไม้

นอกจากนี้พรานป่าได้พบสารกฤษณาที่เกิดจากกระสุนปืนตามต้นกฤษณา บริเวณแนวชายแดนกัมพูชา ซึ่งสามารถพบสารทั้งในบริเวณราก ลำต้นรวมทั้งกิ่งก้านต่าง ๆ โดยส่วนที่พบมากที่สุด จะพบตามง่ามกิ่งที่มีน้ำขัง ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อกับลำต้นหรือรอยกิ่งหัก ตำแหน่งการพบสารกฤษณาในต้นกฤษณาจากธรรมชาติ (อิสระ 2545)


(ที่มา : วิริยะกฤษณา)



ตำแหน่งที่พบ ....................................... ร้อยละ

รอยหักของกิ่งและน้ำขัง .......................... 30.85
รอยฉีกขาดของกิ่ง ................................. 28.72
ปลวก แมลง เจาะไชลำต้น........................ 27.65
รอยบาก บริเวณลำต้น ............................. 5.31
โคนต้นผุจากเชื้อรา ................................ 3.19
ลูกปืนผังในลำต้น กิ่ง ............................. 2.13
รอยบากบริเวณราก ................................ 2.13


ปกติเนื้อไม้กฤษณาเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้จะมีสีขาวนวล แต่ถ้าหากเนื้อไม้มีสารกฤษณาแทรกอยู่ จะมีเนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนในระดับที่มีคุณภาพไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้าหากมีคุณภาพค่อนข้างดีจะมีสีน้ำตาลแก่ไปจนถึงดำเข้ม หากมีการวางในน้ำจะจมน้ำ และถ้าหากทดสอบโดยการจุดไฟ จะมีกลิ่นหอมมาก ดังนั้นการแบ่งระดับของไม้กฤษณาจะแบ่งกันโดยดูปริมาณส่วนที่เป็นสารกฤษณาที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ หากปริมาณสารกฤษณามาก ก็จะทำให้มาคุณภาพ และราคาดีขึ้นด้วย ชาวบ้านจะเรียกชื่อไม้ชนิดต่าง ๆ ตามลักษณะการเกิดตามธรรมชาติ




การแบ่งเกรดของไม้กฤษณา แบ่งออกเป็น 4 เกรด คือ
1. ไม้เกรด 1 จะมีคุณภาพสูงมาก เรียกว่า ไม้ลูกแก่น (super) แก่นไม้จะแข็งเป็นสีดำสนิทผิวค่อนข้างมัน ซึ่งสารกฤษณาเกิดจากการเจาะไชของแมลงเป็นบริเวณกว้าง ทำให้เกิดสารกฤษณาจำนวนมาก และเป็นเวลานานหลายปี อาจจะใช้เวลา 50-100 ปี เมื่อชั่งดูน้ำหนักจะมาก จมน้ำ มีราคาแพงมาก โดยมีราคามากกว่า 250,000 บาท ต่อกิโลกรัม ไม้บางชิ้นขนาดใหญ่รูปทรงสวยจะมีราคาถึง 1 ล้านบาท นิยมขายเป็นแก่นไม้ โดยชาวอาหรับจะใช้จุดในพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดกลิ่นหอมหรือ ซื้อเพื่อประดับบารมี โดยไม้ลูกแก่น จะแบ่งเรียกเป็นส่วนย่อย ๆ อีก ตามลักษณะตำแหน่งการเกิดกฤษณา คือ

1.1 ไม้พุดซ้อน เป็นไม้ที่พบว่าในบริเวณรากมีการเจาะไชของแมลง หรือสัตว์แทะเล็ม แล้วทำให้เกิดสารกฤษณาขึ้น

1.2 ไม้ลำเสา เป็นไม้ที่พบว่าในบริเวณลำต้นตั้งแต่ยอดจนถึงบริเวณโคน มีการเจาะไชของแมลง บางต้นอาจจะเป็นโพรงให้น้ำไหลผ่านจากกลางลำต้นถึงบริเวณโคนต้น แล้วเกิดสารกฤษณารอบ ๆ แนวเจาะ

1.3 ไม้มะเฟือง เป็นไม้ที่พบว่าในบริเวณลำต้นตามแนวขวางลำต้นถูกแมลงด้วงหรือนกเจาะแล้วทำให้เกิดสารกฤษณาตามมา

1.4 ไม้เสี้ยนตาล เป็นไม้ที่พบว่ามีลักษณะของแก่นไม้มีสีขาว และดำผสมสลับกันมองเห็นได้โดยทั่วไป เหมือนเสี้ยนของเนื้อไม้ต้นตาล ซึ่งเป็นความผิดปกติของเนื้อไม้เอง ไม้เกรด 1 จะมีน้ำหนักความถ่วงจำเพาะเป็น1.01 เท่า ของน้ำ หนักกว่าน้ำจึงจมน้ำ


2. ไม้เกรด 2 เป็นไม้คุณภาพสูง เรียกว่า ไม้ปากกระโถน เป็นไม้ปุ่มของเซลล์ เนื้อไม้ที่ตายแล้ว และเสื่อมสลายไป ทำให้มีน้ำขังอยู่ หรือ ไม้ขนาบน้ำ ซึ่งเป็นไม้ที่เกิดจากตาของกิ่งไม้ ส่วนที่ติดกับบริเวณต้นเกิดการฉีกขาดจากแรงลมหรือสัตว์ถึง ทำให้เกิดเป็นแก่นไม้ขึ้นมา ไม้ประเภทนี้มีราคาสูงและนิยมขายในรูปของเนื้อไม้ราคารองลงไปจากไม้ลูกแก่นโดยราคาตกอยู่ที่ 50,000-80,000 บาทต่อกิโลกรัม ไม้เกรด 2 จะมีน้ำหนักความถ่วงจำเพาะเกือบเท่ากับน้ำ คือ 1 จึงลอยอยู่ใต้ผิวน้ำ


3. ไม้เกรด 3 คุณภาพระดับปานกลาง เรียก ไม้ปากขวาน เกิดจากการที่ผู้หาของป่าใช้มีดพร้า หรือขวานไปถากฟันต้นไม้ในบริเวณกิ่งหรือลำต้น เมื่อ ทิ้งไว้นาน 2-3 ปี จะเกิดสารกฤษณาขึ้นส่วนใหญ่เป็นต้นกฤษณาที่มีอายุค่อนข้างมาก โดยจะพบสีน้ำตาลเข้มมาก ๆ บริเวณรอยฟันคุณภาพและราคาอยู่ในระดับปานกลาง ถ้ามีสีเข้มดำราคาจะประมาณ 15,000-30,000 บาทต่อกิโลกรัม ขายในรูปชิ้นเนื้อไม้แต่โดยมากมักจะใช้ในการกลั่นเป็นน้ำมันกฤษณา เมื่อทิ้งไว้ระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี เพราะต้นกฤษณาที่มีอายุมาก ในธรรมชาติทีมีอยู่ในปัจจุบันมีไม่มาก ไม้เกรด 3 มีน้ำหนักความถ่วงจำเพาะเป็น 0.62 เท่า ของน้ำ เบากว่าน้ำจึงลอยน้ำ (ส่วนจมน้ำมากกว่าส่วนลอยน้ำ


4. ไม้เกรด 4 จะมีคุณภาพต่ำ มีชื่อเรียกไม้ต่าง ๆ ดังนี้
4.1 ไม้ตกหิน เป็นไม้ที่พบในธรรมชาติ มีสีเหลืองถึงน้ำตาลอ่อนดูลักษณะคล้ายไม้ผุ

4.2 ไม้ตกตะเคียน เป็นไม้ที่เกิดจากรอยที่เนื้อไม้ถูกทำลายบริเวณผิวนอก ทำให้เนื้อไม้มีสีน้ำตาล เหมือนสีตะเคียนในบริเวณกว้าง

4.3 ไม่ตกฟาก เป็นไม้ที่เกิดจากต้นกฤษณา ถูกไม้อื่นล้มฟาด หรือทับทำให้เกิดรอยเสียดสีในบริเวณผิว รวมทั้งร่องรอยที่เกิดจากสัตว์ถูตามบริเวณลำต้น ไม้เกรด 4 นี้ ไม่นิยมขายในรูปของเนื้อไม้ แต่นิยมนำมาบดเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันกฤษณา โดยราคาจะตกประมาณ 50- 200 บาทต่อกิโลกรัม


ไม้เกรด 4 มีน้ำหนักความถ่วงจำเพาะ 0.39 เท่าของน้ำจึงลอยน้ำ (ส่วนลอยน้ำมากกว่าส่วนจมน้ำ) ส่วนเนื้อไม้ปากติที่ไม่มีสารกฤษณาสะสมอยู่ มีน้ำหนักความถ่วงจำเพาะประมาณ 0.3 เท่าของน้ำ

ในการซื้อขายไม้กฤษณาในตลาดปัจจุบันนี้ ยังไม่มีข้อกำหนดเป็นมาตรฐานแน่นอน ผู้รับซื้อจะเป็นผู้กำหนดราคา โดยดูจากสี น้ำหนัก รูปทรงของไม้ จุดดมกลิ่นของชิ้นไม้กฤษณา ถ้าเป็นน้ำมันกฤษณาจะพิสูจน์ความติดทนของน้ำมัน เมื่อทาที่ผิว รวมทั้งกลิ่นต้องเป็นที่ต้องการของตลาดอีกด้วย


วิธีทำให้เกิดการสร้างสารกฤษณา
การ ทำให้เกิดการสร้างสารกฤษณาหรือเกิดการลงสารในเนื้อไม้กฤษณานั้นไม่มีวิธีที่ แน่นอนตายตัวแต่จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้ของผู้ปลูก ซึ่ง แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนั้นวิธีการจึงอาจแตกต่างกันไปในเกษตรกรแต่ละรายแต่เท่าที่ทำการศึกษาพบ ว่าวิธีการต่าง ๆ ดังนี้


การสับหรือถาก
วิธีการนี้จะใช้ขวานหรือมีดสับถากบริเวณลำต้นหรือกิ่งของไม้กฤษณา ความลึกของบาดแผลขึ้นอยู่กับขนาดของลำต้นหรือกิ่ง จำนวนบาดแผลไม่แน่นอน จะใช้วีการสับเปลี่ยนตำแหน่งที่ทำแผลไปเรื่อย ๆวิธีการนี้จะเห็นสารกฤษณาปรากฏในระยะเวลา 3-4 เดือน แต่จะให้กลิ่นของสารที่อ่อนมากมีคุณภาพเพียงไม้เกรด 4 เท่านั้น แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ 2-3 ปีมีการสะสมสารกฤษณามากขึ้น บริเวณขอบของบาดแผลจะเข้มขึ้น เนื่องจากการสะสมาของน้ำมันในเซลล์เพิ่มมากขึ้นจะเป็นไม้เกรด 3 เรียกว่า ไม้ปากขวาน หลังจากทำแผลทิ้งไว้ก็จะเก็บเอาเฉพาะเนื้อไม้ที่มีสารกฤษณาไปขาย วิธีการนี้สามารถทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก แต่ข้อเสียคือ จะได้สารกฤษณาที่มีปริมาณน้อยยังไม่คุ้มกับระยะเวลาที่เสียไปจากการปลูกไม้กฤษณา


การใช้ตะปูเจาะลำต้น
จากหลักการที่ว่า การสร้างบาดแผลทำให้ต้นกฤษณาเกิดความเครียด ลักษณะของบาดแผลจะเป็นส่วนกำหนดปริมาณและระยะเวลาการเกิดสารกฤษณา การตอกตะปูเป็นลักษณะที่ทำให้ต้นกฤษณาเกิดความเครียดสูง เนื่องจากเนื้อไม้รอบ ๆ ตะปูมีแรงกดบีบมาก เมื่อตอกตะปูประมาณ 45 องศา กับลำต้นจะมีแรงต้านภายในเนื้อไม้ ต้านแรงที่ตอกลงบนตะปูในแนวขนานกับตัวตะปูและแรงต้านที่ตั้งฉากกับตัวตะปู เนื้อไม้มีการหดตัวทำให้ต้นกฤษณาเกิดความเครียดสูง การสร้างบาดแผลโดยการตอกตะปู สามารถ สร้างสารกฤษณาในเนื้อไม้ได้ไม้เกรด 1-3 เพราะมีการสะสมของสารกฤษณาภายในเซลล์มาก บริเวณเซลล์ที่มีสารกฤษณานี้จะอยู่ใกล้กับบริเวณตะปูที่ตอกลงไปในเนื้อไม้จะ พบเซลล์ที่ผิดปกติทุก ๆ เซลล์ เป็น ไม้เกรด 1 หรือ 2 ส่วนไม้เกรด 3 จะพบลักษณะเป็นแถบสีดำของสารกฤษณาอยู่บริเวณรอบนอก และล้อมรอบบริเวณที่มีการสะสมสารกฤษณาปริมาณน้อยเอาไว้ เกิดขึ้นรอบ ๆ ตะปู การสะสมสารกฤษณาเป็นไม้เกรดใดจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการสะสมสารกฤษณา

การเจาะรูโดยใส่สารกระตุ้น
ของคุณอาจินต์ กิตติพล ได้ทำการทดลองการเกิดการลงสารในเนื้อไม้กฤษณาโดยใช้สารบางชนิดที่ไม่เปิดเผย สูตร ปรากฏว่าเกิดการลงสารเป็นบริเวณกว้างทำให้เกิดเป็นเนื้อที่เรียกว่าไม้ ตะเคียน (ไม้กฤษณาที่มีสีเหมือนไม้ตะเคียน) ภายในเวลาเพียง 1 เดือนและเปลี่ยนเป็นเนื้อไม้สีดำภายในระยะเวลา 6 – 12 เดือน



http://www.wiriyakrisana.com/factors-causing-oil-agarwood.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/09/2011 11:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

533. กระตุ้นสารหอมกฤษณา มก.วิจัยสำเร็จด้วยสารอินทรีย์


กฤษณา….เป็นไม้ ยืนต้นที่มีการปลูกกันแพร่ หลายแทบทุกภาคในบ้านเรา ด้วยราคาของน้ำมันหอม ระเหยที่สกัดจากต้นกฤษณา มีราคาแพงมาก…จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหัน มาปลูกกันโดยคาดหวังในผลผลิตและผลประโยชน์…

…ด้วยเหตุผลนี้… รศ.ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์ อาจารย์ ศลิษา สุวรรณภักดิ์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีมวิจัย จึงทำการศึกษาวิจัยการใช้เชื้อราและสารอินทรีย์กับต้นกฤษณา เพื่อนำผลิตสารหอมระเหยได้ในปริมาณมากๆ




หัวหน้าทีมวิจัย บอกว่า…. ปัญหาของการปลูกไม้กฤษณาในแปลงทั่วๆไปคือ การสกัดสารหอมระเหยได้น้อยนิด หรืออาจไม่ได้ผลิตภัณฑ์ เลย….. จึงแทบจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

ทั้งนี้ เนื่องจาก…..ไม้กฤษณาที่จะให้สารหอมได้เมื่อต้นของมันเกิดแผล…!!!

ที่ผ่านมาเกษตรกรโดยทั่วไปจึงทดลองเจาะรูต้นกฤษณาประมาณ 1,000-2,000 รูต่อต้น เพื่อให้มันเกิดแผล ก็ยังให้ปริมาณน้อย และยังสร้างความสูญเสียคือส่งผลให้ต้นกฤษณาตายในระยะเวลาอันสั้น

ทีมวิจัยจึงได้ทำการทดลองด้วยการใช้สว่านเจาะเพียง 20-40 รู แล้วฉีดเชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัยเข้าไปในต้นกฤษณา ผลออกมาพบว่ากฤษณาทุกต้นสามารถสร้างสารหอมได้ หลังจากใส่เชื้อราและสารอินทรีย์ฯภายใน 1 เดือน จะเพิ่มมากขึ้นจนถึง 4-6 เดือน

บริเวณรูได้สร้างสารหอมในเยื่อไม้ของต้นกฤษณาออกเป็นวงรัศมีกว้าง 15-20 เซนติเมตร แล้วยังพบอีกว่า ไม้กฤษณายังสามารถสร้างสารหอมตามธรรมชาติต่อได้โดยไม่ต้องกระตุ้นอีก…. และไม้กฤษณาที่ผลิตสารหอมได้ดีควรมีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป







หลังจากนำมาสกัดสารหอมระเหยด้วยการกลั่น ไอน้ำแบบ Hydrodistilation แล้ววิเคราะห์สารหอมด้วยวิธี Gas-Chromatography-Mass Spectroscopy (GC-MS) พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากงานวิจัยนี้….. มีองค์ประกอบทางเคมีเทียบเท่ากับน้ำหอมกฤษณาเกรด A ในตลาดทั่วไป

เกษตรกรและผู้สนใจวิธีการกระตุ้นไม้กฤษณาให้เกิดสารหอม ติดต่อ รศ. ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์ 0-2942-5444 ต่อ 2139 หรือ 08-9828-7987 เวลาราชการ.

ไชยรัตน์ ส้มฉุน



http://www2.nurnia.com/3334/05/thai-social-political-economic/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/09/2011 6:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

534. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม


อภิชาติ วรรณวิจิตร 1
สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง 2
สรุพงษ์ สาคะรัง 3
ปนัดดา พีคะสูต 4 และ
สมหมาย อมรศิลป์ 4


ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 55 ล้านไร่ โดยประมาณ 70% ของพื้นที่ ี่ดังกล่าวมีโอกาสได้รับอุทกภัยเสมอ เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบต่ำ และไม่มีระบบการระบายน้ำที่ดีพอ กับปริมาณน้ำฝนที่บางครั้ง อาจตกหนักถึงหนักมากลักษณะการท่วมแบบนี้เรียกว่า น้ำท่วมฉับพลัน คือน้ำจะเอ่อขังอยู่เป็นระยะเวลา 1-2 อาทิตย์ แล้วจึงลดลงอย่างรวดเร็ว ลักษณะการท่วมแบบนี้ได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวอย่างมากมายในระยะเวลาอันสั้น และมีโอกาสเกิดขึ้นในทุกท้องที่ โดยไม่อาจคาดหมายได้ ซึ่งผิดกับพื้นที่ในเขตน้ำท่วมซ้ำซากดังเช่น พื้นที่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี และสระแก้ว ที่สามารถคาดการณ์การท่วมของน้ำได้ทุกปี


วิธีการแก้ปัญหาน้ำท่วมฉับพลันที่ดีที่สุด และลงทุนน้อยที่สุด คือการพัฒนาความทนน้ำท่วมในพันธุ์ข้าว ที่นิยมปลูกในเขตนั้น ความทนน้ำท่วมในข้าวหมายถึง ความสามารถของข้าวที่สามารถอยู่รอด ฟื้นตัว และสามารถให้ผลผลิต โดยได้รับ ความเสียหายเพียงเล็กน้อย ข้าวที่มีลักษณะดังกล่าวได้ต้องมีลำต้นแข็งแรงต้องมีความสามารถ ในการสะสมอาหารในรูปของคาร์โบไฮเดรตเพื่อนำไปใช้ในระหว่างอยู่ใต้น้ำ ซึ่งเป็นระยะที่ข้าวไม่สามารถหาอาหารได้ตามปรกติ และเหลือพอใช้สำหรับการฟื้นตัวภายหลังน้ำลด โดยการแตกกอและเจริญเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว (recovery) ลักษณะสำคัญที่ทำให้ข้าวเสียหาย มากขึ้นคือ ความพยายามในการยืดตัว (stem elongation) ระหว่างที่ข้าวถูกน้ำท่วม ทำให้อาหารสะสมถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากความเร็ว ในการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทำให้ข้าวไม่สามารถ ยืดตัวได้ทัน ฉะนั้น ข้าวอาจตายก่อนถึงผิวน้ำหรือเมื่อภายหลังน้ำลดข้าวที่ยืดตัวจะหักล้ม และมักจะไม่สามารถฟื้นตัวได้ดังเดิมได้ ซึ่งผิดกับข้าวทน น้ำท่วม จะไม่มีการยืดตัวมาก จึงไม่ใช้พลังงานโดยไม่จำเป็น แต่สามารถปรับขบวนการหายใจ และสังเคราะห์แสงให้พอเหมาะ เมื่อภายหลังน้ำลดลงจึงทำให้ต้นไม่หักล้มและฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากทำการเพิ่มเติมลักษณะทนน้ำท่วมเข้าไป ในข้าวที่ให้ผลผลิตและคุณภาพดีแล้ว ปัญหาความเสี่ยงของเกษตรกรก็จะหมดไป


ลักษณะที่ดีของข้าวทนน้ำท่วมดังกล่าวมีอยู่แล้วในข้าวพันธุ์ป่าที่พบในเขตน้ำท่วม ในประเทศอินเดีย พันธุ์ป่าดังกล่าวมีลักษณะไม่ดีที่สามารถถ่ายทอดไปให้รุ่นลูก เมื่อนำไปผสมกับข้าวพันธุ์ดีทำให้ได้พันธุ์ไม่เป็น ที่ยอมรับของเกษตรกร ทั้งนี้ เนื่องจากวิธีการผสมและคัดเลือกพันธุ์แบบมาตรฐานที่ทำกันอยู่ไม่มีเครื่องมือ สำคัญในการตรวจหายีน หรือหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุม ลักษณะทนน้ำท่วมได้โดยตรวจ ดังนั้น ชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความทนน้ำท่วม จึงติดเข้ามาในจีโนมของข้าวพันธุ์ดี พร้อมลักษณะที่ด้อยทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการพัฒนา เทคโนโลยีชีวภาพ ในการตรวจค้นยีนทนน้ำท่วมจึงเป็นก้าวที่สำคัญในอันที่จะนำไปสู่ระบบการถ่ายทอด ยีนสู่รุ่นลูกอย่างแม่นยำต่อไป


ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างความทนน้ำท่วม และความสามารถในการยืดตัวของ
ข้าวสายพันธุ์แท้รุ่นลูก (double haploid) ที่ได้รับหรือไม่ได้รับยีนควบคุมความทนน้ำท่วม



เพื่อการใช้ในการหาตำแหน่งของยีนควบคุมความทนน้ำท่วม double haploid จำนวนกว่า 500 สายพันธุ์ ได้ถูกผลิตจากการเพาะเลี้ยงอับละอองเกสรเพศผู้ระหว่างข้าวทนน้ำท่วม (FR134 กับ IR 49830 ) กับ ข้าวอ่อนแอ (CT 6241) โดยใช้ DNA markers ชนิดต่าง ๆ ทั้ง RFLP (Restiction Fragment Length Polymorphism) RAPD (Random Amplified Polymorphic DNA ) และ AFLP (Amplified Fragment Length Polymorhism) พบว่ายีนดังกล่าววางตัวอยู่บนโครโมโซมที่ 9 ระหว่าง RFLP markes R1164 กับ RZ698 ซึ่งห่างกันประมาณ 4 cM ในรูปภาพแสดงความแม่นยำ ในการคาดหมาย ความทนน้ำท่วมของข้าวหลายพันธุ์และ double haploid ที่ได้จากการผสมระหว่างข้าวทนและไม่ทนน้ำท่วม จะเห็นได้ว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นข้าวที่นิยมปลูกมากที่สุดในประเทศไทย และไม่ทนน้ำท่วม แสดง DNA pattern แบบข้าวไม่ทนน้ำท่วม เช่นเดียวกับข้าว double haploid รุ่นลูกทั้งหมดแสดงว่า DNA markers เหล่านี้สามารถนำมาใช้ใน งานการตรวจสอบการถ่ายยีนทอดยีนได้


ในปี 2539 ได้เริ่มทำโดยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยวิธีผสมกลับ (backcross breeding) โดยใช้ DNA markers ที่วางตัวใกล้กับยีนควบคุมความทนน้ำท่วม ความหอม ความเตี้ย และความไม่ไวแสง มาใช้ตรวจหารุ่นลูก ของการผสมกลับ (BF1) โดยไม่ต้องเสียเวลาตรวจสอบลักษณะดังกล่าวก่อน ตามโครงการดังกล่าว จะได้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มียีน ทนน้ำท่วม ต้นเตี้ยและไม่ไวแสง และยังคงรักษาคุณภาพหุงต้มเอาไว้ได้ ภายในปี 2541 ขณะเดียวกัน ก็จะได้ค้นหา ตัวยีนควบคุมความต้านทนน้ำท่วมจนสามารถแยกออกมาจากโครโมโซม เพื่อนำไปใช้สร้างพันธุ์ทนน้ำท่วมแบบ direct transformation ต่อไปได้


"โครงการหาตำแหน่งยีนควบคุมความทนน้ำท่วม" ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิ Rockefeller
"โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย" ได้รับ


การสนับสนุนจาก
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
1 ภาควิชาพืชไร่นา และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 หน่วยปฏิบัติการ DNA Fingerprint ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
3 สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ประเทศฟิลิปปินส์
4 สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร


http://web.ku.ac.th/nk40/apichat.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 12:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

535. แปรรูปไม้มะม่วง ส่งออก


หับเผย


คุณอุดม พัชรพนาวีร์ เจ้าของไอเดียร์ แปรรูปไม้มะม่วงเป็นเครื่องประดับเรือนที่สวยงาน แบบเก๋ๆ ถูกใจตลาดส่งออก ส่วนในตลาดเมืองไทยต้องทำใจ หลับตาไว้อีกข้าง เพราะราคาต่างกันลิบ

เจอโอกาส ส่งออกจากวิกฤต และแสวงหาโอกาสจากการขวนขวาย จากหน่วยงานของรัฐ อย่างกรมส่งเสริมการส่งออกและการเดินเข้ารวมกลุ่ม เป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เล่าว่า เข้าใจสินค้าประเภทหัตถกรรมได้ลึกซึ้ง ว่าหาก หน้าตา แนวทางเหมือนกัน ตลาดจะเป็นผู้กำหนดราคาให้ แต่หากแตกต่าง ราคาจะสามารถตั้งได้เองจากผู้ขายคิดได้ตามนั้นจึงต้องหาความต่างให้เจอ...

พบเสน่ห์ของไม้มะม่วงในร่องสวนของสวนมะม่วงส่งออกที่ถึงวัยที่จะต้องตัดอายุราว 20 ปี หลังเก็บขายเต็มที่แล้ว มีมากมายเวียนไปหลายสวน ชวนกันมาทำเป็นชุมชน กลายเป็นเวิ้งของงานไม้มะม่วง ที่ทำยอดขายได้ปีละนับร้อยล้าน

ฝากข้อคิดว่า ข้อผิดพลาดในอดีตจะเป็นบทเรียนที่ดีในอนคตและขจัดความท้อแท้เพื่อเป็นกำลังใจ ในการลุกขึ้นต่อสู้ในการทำงานอย่าหยุดที่จะมองความบาดเจ็บ ลุกเดินจะทำให้บาดแผล หายเร็วครับ...


http://www.ryt9.com/s/tpd/1220982


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 2:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Positive List System
536. ระเบียบใหม่ของญี่ปุ่นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง

โดย นฤมล คงทน
Positive List System


Food Sanitation Law ถือเป็นกฎหมายที่กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่นใช้เป็นกฎหมายหลักในการควบคุมทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอาหาร กฎหมายฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปกป้องสุขภาพของชาวญี่ปุ่นจากอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้จากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานความปลอดภัยด้านอาหารในญี่ปุ่น ซึ่งจากการปรับปรุงกฎหมาย Food Sanitation Law ครั้งที่ 2 กระทรวงสาธารณสุขฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบและรายการมาตรฐานสารเคมี สารเพิ่มเติมในอาหารสัตว์รวมถึงยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ ที่อนุญาตให้มีในอาหารจากระบบเดิมที่เรียกว่า Negative List System มาเป็นระบบใหม่คือ Positive List System โดยมีสาระสำคัญที่ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกไทยควรทราบดังนี้

สารเคมีที่ควบคุม คือ สารเคมีทางการเกษตร ยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์(196 รายการ) และสารเพิ่มเติมในอาหารสัตว์

อาหารที่ควบคุม คือ อาหารทุกชนิดรวมถึงอาหารสำเร็จรูป

การควบคุมสารเคมีตามระบบ Positive List

กำหนดสารเคมีจำนวน 65 รายการที่ไม่จำเป็นต้องกำหนดค่า MRLs เนื่องจาก พิจารณาแล้วว่ามีความปลอดภัย
กำหนดสารเคมี 15 รายการที่ไม่อนุญาต
ให้มีตกค้างหรือห้ามใช้ในอาหาร
กำหนดค่า MRLs ของสารเคมีทางการเกษตร ยาปฏิชีวนะ และสารเพิ่มเติมในอาหารสัตว์ จำนวน 799 รายการ
สารเคมีอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏรายชื่อในข้อ 1-3 กำหนดให้ใช้ค่า MRLs ที่ระดับ 0.01 ppm เป็นมาตรฐานทั่วไป (Uniform Limited)

การบังคับใช้ระบบ Positive List นั้นจะบังคับใช้กับสินค้าที่ผลิต ในประเทศญี่ปุ่นเอง และสินค้านำเข้าตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2549 นี้ ยกเว้นเฉพาะอาหารแปรรูปที่ผลิตก่อนวันที่ 29 พฤษภาคม 2549

ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ส่งสินค้าอาหารเข้าญี่ปุ่นเป็นอันดับ 5 ปี 2548 ไทยส่งอาหารเข้าตลาดญี่ปุ่นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 96,164 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.6 ที่สำคัญสินค้าอาหารไทยที่ส่งเข้าตลาดญี่ปุ่นล้วนเป็นสินค้ากลุ่ม เป้าหมายที่ต้องมีมาตรฐานตรงตามระบบ Positive List ทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารไทยจึงไม่อาจ หลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติให้ตรงตามข้อกำหนดในระบบใหม่นี้ได้

กฎระเบียบการควบคุมสารเคมีตกค้างในปัจจุบันเปรียบเทียบกับระบบ Positive List



ที่มา : Standard and Evaluation Division, Department of Food Safety, Ministry of Health, labour and welfare JAPAN.


ระบบและมาตรฐานการควบคุมสารเคมีตกค้างของประเทศญี่ปุ่นที่ใช้ในปัจจุบันหรือ Negative List System นั้นจะทำการควบคุมและตรวจสอบสารเคมีตามรายการที่มีการกำหนดค่า MRLs ไว้เท่านั้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 283 รายการ แต่จากการศึกษาของญี่ปุ่นได้พบว่าทั่วโลกมีการใช้สารเคมีทางการเกษตร ยาปฏิชีวนะและสารเคมีอื่นๆ กว่า 700 ชนิด ดังนั้นญี่ปุ่นจึงทำการทบทวนระเบียบนี้ใหม่เพื่อให้สามารถควบคุมการใช้สารเคมีในสินค้าอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค จึงเป็นผลให้เกิดระบบ Positive List System ขึ้นมา ระบบใหม่นี้มีการกำหนดค่า MRLs ของสารเคมีเพิ่มขึ้นจากเดิม 283 รายการเป็น 799 รายการ โดยนำเอาหลักการของการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) มาใช้ในการกำหนดค่ามาตรฐาน MRLs

แต่ทั้งนี้การนำหลักการ Risk Analysis มาใช้จำเป็นต้องทำการศึกษาการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ของสารเคมีแต่ละชนิดซึ่งใช้เวลานาน ส่งผลให้ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นสามารถกำหนดค่า MRLs ของสารเคมีได้เพียงปีละ 4 รายการเท่านั้น ดังนั้นจึงมีสารเคมีถึง 758 รายการจาก 799 รายการที่ญี่ปุ่นกำหนดค่ามาตรฐาน MRLs โดยอ้างอิงจากข้อมูลค่ามาตรฐาน Codex และค่ามาตรฐานของประเทศต่างๆ 5 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่กำหนดค่ามาตรฐานโดยการอ้างอิงผลการศึกษาด้านพิษวิทยาที่มีคุณภาพและมาตรฐานของขั้นตอนการศึกษาเทียบเท่ากับวิธีการของ Codex และเป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศทั้ง 5 นี้ยังเป็นประเทศผู้ผลิตสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลกอีกด้วย นอกจากนั้นสารที่ไม่อยู่ใน 799 รายการและไม่อยู่ในรายการสาร 65 ชนิดที่ปลอดภัย จะถูกกำหนดให้ใช้ค่า MRLs (Uniform Limited)ที่ระดับ 0.01 ppm


สารที่ญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้ใช้
สารเคมีทางการเกษตรและสารปฏิชีวนะ 15 รายการ ที่ระบบ Positive List ไม่อนุญาตให้ใช้ได้แก่ 2, 4, 5- T ,Azocyclotin and cyhexatin, Amitrol, Captafol, Carbadox, Coumaphos, Chloramphenicol, Chlorpromazine, Diethylstilbestrol, Dimetridazole, Daminozide, Nitrofuran, Propham, Metronidazole, Ronidazole


สารที่ญี่ปุ่นอนุญาตให้ใช้
รายการสารที่ระบบ Positive List อนุญาตให้ใช้ 65 รายการ โดยไม่มีการกำหนดค่า MRLs นั้นส่วนใหญ่เป็นแร่ธาตุ และวิตามินที่มีความปลอดภัยต่อร่างกาย ดังนี้

สารที่อนุญาตให้ใช้และไม่กำหนดค่า MRLs ลำดับ สารที่อนุญาตให้ใช้และไม่กำหนดค่า MRLs
1.Zinc........................................ 33 Sorbic acid
2 Azadirachtin ............................ 34 Thiamine
3 Ascorbic acid ........................... 35 Tyrosine ...........
4 Astaxanthin ............................. 36 Iron
5 Asparagine .............................. 37 Copper
6 beta-apo-8'-carotene acid ethyl ester ... 38 Paprika coloring
7 Alanine ..................................... 39 Tocopherol
8 Allicin ....................................... 40 Niacin
9 Arginine .................................... 41 Neem oil
10 Ammonium ............................... 42 Lactic acid
11 Sulfur ..................................... 43 Urea
12 Inositol ................................... 44 Paraffin
13 Potassium ................................ 45 Barium
14 Calcium ................................... 46 Valine
15 Calciferol ................................. 47 Pantothenic acid
16 beta-Carotene .......................... 48 Biotin
17 Citric acid ................................ 49 Histidine
18 Glycine .................................... 50 Hydroxypropyl starch
19 Glutamine ................................. 51 Pyridoxine
20 Chlorella extracts ....................... 52 Propylene glycol
21 Chlorine .................................... 53 Magnesium
22 Oleic acid .................................. 54 Machine oil
23 Silicon ...................................... 55 Marigold coloring
24 Diatomaceous earth .................... 56 Mineral oil
25 Cinnamic aldehyde ...................... 57 Methionine
26 Cobalamin ................................. 58 Menadione
27 Choline ..................................... 59 Folic acid
28 Shiitake mycelia extracts ............. 60 Iodine
29 Sodium bicarbonate ..................... 61 Riboflavin
30 Tartaric acid .............................. 62 Lecithin
31 Serine ....................................... 63 Retinol
32 Selenium .................................... 64 Leucine
..................................................... 65 Wax


ผลกระทบต่อการส่งออกอาหารไทย
กลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบสูง ได้แก่ สินค้าข้าว ในปี 2548 ไทยส่งข้าวเข้าญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่า 1,072 ล้านบาท ภายหลังจากวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 สินค้าข้าวที่ส่งเข้าตลาดญี่ปุ่นทั้งหมดต้องเพิ่มรายการการตรวจวิเคราะห์สารเคมีถึง 301 รายการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบ Positive List โดยสรุปจะต้องผ่านการตรวจวิเคราะห์สารเคมีถึง 4 ครั้ง ดังนี้

ทั้งนี้ผู้นำเข้าจะต้องจ่ายเงินค่าประกันตรวจสอบข้าวก่อนส่งออกในอัตรา 1.8 ล้านเยน ต่อรุ่นสินค้าข้าวที่นำเข้า 1,000 ตัน ซึ่งผู้นำเข้าสามารถนำค้าใช้จ่ายการตรวจสอบนี้บวกรวมเป็นราคาขายข้าวให้แก่กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่นได้


กลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบปานกลาง
สินค้าอาหารที่อาจได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง ได้แก่ สินค้าผักแช่แข็ง ผักสดแช่เย็น ผลไม้สด เช่น กล้วยหอม มะม่วง สับปะรดกระป๋องและสินค้าเครื่องเทศ เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่เกษตรกรไทยนิยมใช้สารเคมีทางการเกษตรในการเพาะปลูก และใช้สารเคมีบางชนิดเพื่อการถนอมรักษา ในปี 2548 ไทยส่งสินค้าผักแช่แข็ง ผักสดแช่เย็น ผลไม้สด สับประรดกระป๋อง และเครื่องเทศเข้าตลาดญี่ปุ่นรวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,076 ล้านบาท


กลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบน้อย
สินค้าอาหารที่อาจได้รับผลกระทบในระดับค่อนข้างน้อย ได้แก่ สินค้าประมงและผลิตภัณฑ์เนื่องจากรายการสารปฏิชีวนะที่ญี่ปุ่นห้ามใช้ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ไทยและผู้นำเข้าอื่นๆ ต่างก็ห้ามใช้ด้วย ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตและส่งออกสินค้าประมงไทยมีความตื่นตัวและปฏิบัติตรงตามข้อกำหนดดังกล่าวอยู่แล้ว ยกเว้นการตกค้างของ Pesticide บางชนิดในไก่ที่ไทยควรเฝ้าระวัง


ผลกระทบต่อหน่วยงานควบคุมของภาครัฐ
เมื่อพิจารณาภาพรวมของระบบ Positive List แล้วในทางปฏิบัติถือว่าการส่งสินค้าอาหารเข้าประเทศญี่ปุ่นหลังวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 สินค้าไทยต้องผ่านการตรวจสอบสารตกค้างเพิ่มขึ้นจากแต่ก่อนมาก ในส่วนของภาครัฐอาจได้รับผลกระทบในแง่ของการต้องปรับเปลี่ยนวิธีการควบคุม และตรวจติดตามที่สำคัญ 3 ส่วนดังนี้

การจัดระบบควบคุมการใช้สารเคมีในระดับไร่นา ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์และฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ การควบคุมการใช้สารเคมีในระหว่างการแปรรูปและระหว่างการเก็บรักษาเพื่อรอการขนส่ง เพื่อให้ผลผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรมีมาตรฐานตรงตามที่ญี่ปุ่นกำหนด รวมทั้งต้องเร่งดำเนินการขึ้นทะเบียนรับรองเกษตรกร ผู้ผลิตและผู้ส่งออกด้วย


ต้องศึกษาและติดตามถึงวิธีการเก็บตัวอย่างเพื่อการตรวจวิเคราะห์ตามที่ระบบนี้กำหนดว่ามีวิธีการเก็บตัวอย่างอย่างไร จำนวนเท่าใด ความถี่มากน้อยแค่ไหน
การสร้างความสามารถของห้องปฏิบัติการ และการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะและความชำนาญในการตรวจวิเคราะห์สารตกค้าง เนื่องจากการกำหนดค่า Uniform Limited หรือการกำหนดค่า MRLs ที่ระดับ 0.01 ppm นั้นถือว่าต่ำมาก ซึ่งหากทางการญี่ปุ่นกำหนดให้หน่วยงานที่มีอำนาจของไทยต้องเป็นผู้สุ่มและวิเคราะห์สารตกค้างในตัวอย่างอาหารในไทยก่อนการส่งออก ไทยก็จำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการในการตรวจวิเคราะห์สารดังกล่าวอีกหลายรายการ
ซึ่งทั้ง 3 ส่วนข้างต้นนี้ล้วนส่งผลให้ภาครัฐของไทยต้องมีการลงทุนเพิ่มทั้งสิ้น ทั้งในด้านของการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรไทยนำระบบ GAP, Coc ไปใช้ การจัดหากำลังคนให้เพียงพอต่อการสุ่มเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการ และการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะ ความชำนาญในการตรวจวิเคราะห์สารเคมีรายการที่ไม่เคยมีประสบการณ์การตรวจวิเคราะห์ในสินค้าอาหาร และสารเคมีที่มีการกำหนดค่า MRLs อีก 799 รายการ


การเตรียมพร้อมของผู้ส่งออกไทย
ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอาหารไทยควรต้องตื่นตัวและทำความเข้าใจระบบใหม่ที่ญี่ปุ่นจะบังคับใช้กับสินค้าอาหารนำเข้าในเร็ววันนี้อย่างเข้มข้น โดยควรต้องกลับมาพิจารณาในตัวสินค้าของตนว่ามีการใช้สารเคมีทางการเกษตร สารปฏิชีวนะและสารชนิดอื่นๆ ที่ญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้ใช้หรือไม่ และควรต้องนำรายการสารเคมีทางการเกษตร ยาปฏิชีวนะ และสารเพิ่มเติมอาหารสัตว์จำนวน 799 รายการ ที่ญี่ปุ่นกำหนดค่า MRLs ไว้มาประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจจัดซื้อวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน และควรตรวจสอบสินค้าของตนในระหว่างการผลิต และก่อนการส่งออกทุกครั้ง สำหรับสารเคมีที่ควรเฝ้าระวังการตกค้างในสินค้าอาหารของไทย ได้แก่ สาร EPN ในหน่อไม่ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว สาร Cypermethrin ในกล้วยหอม สาร Chlorpyrifos ในชะอมและมะม่วง สาร Ametryn, Alachor ในใบมะกรูด และ Flumioxazin ในพริกไทยอ่อน เป็นต้น

นอกจากนั้นผู้ประกอบการไทยควรติดตามว่าในกรณีที่ผู้มีอำนาจของญี่ปุ่นทำการตรวจสินค้า ณ ปลายทางนั้น มีการตรวจอย่างไรและมีการสุ่มตัวอย่างมากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญควรระวังในเรื่องของการสุ่มตรวจสารเคมีบางชนิดที่ญี่ปุ่นไม่เคยสุ่มตรวจมาก่อนด้วย สำหรับผู้ส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปก็ควรสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกระบบ Precertification system เพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้ตรงตามมาตรฐานของญี่ปุ่น และช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบก่อนการนำเข้า ซึ่งหากผู้ผลิตและส่งออกไทยมีการเตรียมพร้อม เร่งทำความเข้าใจต่อข้อกำหนด และสามารถปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในการผลิตอาหารให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่ญี่ปุ่นกำหนดได้อย่างรวดเร็วและปฏิบัติได้ก่อนประเทศคู่แข่ง จะส่งผลให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถผลิตสินค้าที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างสูงสุด และนำสินค้าออกสู่ตลาดได้ในจังหวะที่เหมาะสม



ที่มา : สถาบันอาหาร แผนกวิเคราะห์ข้อมูล ฝ่ายบริการข้อมูลและสารสนเทศ www.nfi.or.th
http://www.tistr-foodprocess.net/download/Food_Export/Positive_List_System.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:21 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 6:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

537. นักวิจัยเกษตรฯ แปรรูปน้ำมะพร้าว เป็นผงหอม



นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอมผง พกพาสะดวกสามารถชงได้ในน้ำเย็น และมีสารอาหารครบถ้วน …

นางวราภรณ์ บุญทรัพย์ทิพย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอมแปรรูปเป็นชนิดผง กล่าวว่า น้ำมะพร้าวอ่อนมีประโยชน์มากมาย แต่การบริโภคจากผลสดเป็นประจำอาจไม่สะดวก นอกจากนี้ประเทศที่ไม่สามารถทำการปลูกมะพร้าวได้จะอาศัยการนำเข้าของผลมะพร้าวสดมาจำหน่าย ทำให้ผู้บริโภคต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอมผง สามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ เนื่องจากสามารถชงดื่มได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา พกพาสะดวก และน้ำมะพร้าวในรูปผลิภัณฑ์แปรรูปชนิดผง ยังเหมาะกับการนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมยา

"งานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในการนำน้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอม มาแปรรูปให้เป็นน้ำมะพร้าวอ่อนชนิดผง ที่ความชื้นของผลิตภัณฑ์ เท่ากับ 4.43 % สามารถละลายในอุณหภูมิห้อง โดยใช้มะพร้าวอ่อนน้ำหอมผง 10 กรัม ละลายในน้ำ 250 กรัม สามารถทำการละลายกลับมาเป็นน้ำมาพร้าวอ่อนน้ำหอมที่มีลักษณะกลิ่น รส และความหอมเหมือนกับน้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอมสด" นางวราภรณ์กล่าว

นางวราภรณ์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกมะพร้าว การทำน้ำมะพร้าวแปรรูปเป็นชนิดผงเพื่อการบริโภค ส่งออก หรือนำไปเป็นส่วนผสมกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร นับเป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับมะพร้าวไทย โดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอมที่มีความนิยมในการบริโภคสูงทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ ในแต่ละปีมีการส่งออกในรูปแบบมะพร้าวน้ำหอมผลสดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการแปรรูปน้ำมะพร้าวน้ำหอมจะเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยอีกด้วย




ที่มา : ไทยรัฐ
http://th.88db.com/th/Knowledge/Knowledge_Detail.page?kid=2284248


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:21 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 7:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

538. สหฟาร์ม ทุ่มหมื่น ล. เพิ่มกำลังผลิตเท่าตัว ประกาศขึ้นแชมป์ส่งออกไก่แปรรูป


สหฟาร์ม ลั่นทุ่ม 1 หมื่นล. ลงทุนขยายโรงงานแปรรูปไก่เพิ่มอีก 3 แห่ง หวังขยายกำลังการผลิตอีกเท่าตัว พร้อมชิงตำแหน่งผู้นำตลาด ส่งออก ทั้งโซนยุโรปและญี่ปุ่น ตั้งเป้าปีแรกโกยเงินเข้ากระเป๋าไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นล. พร้อมคาดส่งออกไก่แปรรูปของไทยปีหน้า มีโอกาสทะลุเป้า 4 แสนตัน

น.พ.ปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการ บริษัท สหฟาร์ม จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกเนื้อไก่ และไก่แปรรูป เปิดเผยถึงแผนงานในปีนี้ โดยระบุว่า บริษัทมีแผนการลงทุนมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตเนื้อไก่เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว ประกอบด้วยการสร้างโรงงานใหม่ 2 แห่ง ที่จังหวัดลพบุรี และจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งคาดว่าจะเปิดในเดือนสิงหาคมนี้โดยมีกำลังการผลิตเบื้องต้นในโรงงานใหม่อยู่ที่แห่งละ 4,000 ตันต่อเดือน

ขณะเดียวกันยังขยายกำลังการผลิตโรงงานไส้กรอกที่จังหวัดเพชรบุรี เพิ่มขึ้นเป็น 8,000 ตัน ต่อเดือน จากเดิมที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 4,000 ตันต่อเดือน ทั้งนี้เพื่อมาสบทบกับกำลังการผลิตใน 2 โรงงานเดิมที่มีกำลังการผลิตโดยรวมอยู่ที่ 8,000 ตันต่อเดือน

ดังนั้น คาดว่าในอนาคตบริษัทจะมีกำลังการผลิตไก่สด และไก่แปรรูปโดยรวมอยู่ที่ 2.4 หมื่นตันต่อเดือน แบ่งเป็นไก่สด 1.6 หมื่นตัน ไก่ปรุงสุก 8,000 ตัน ซึ่งมีกำลังการผลิตมากกว่า กลุ่มแบรนด์ผู้นำในการผลิตไก่ และไก่แปรรูป ในปัจจุบัน

การขยายกำลังการผลิตดังกล่าว ก็เพื่อรองรับการส่งออกไปยังประเทศ ในโซนยุโรป และญี่ปุ่น โดยในช่วงครึ่งปีหลังนี้กำลังการผลิตส่งออกจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากครึ่งปีแรกที่มีปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 3.4 หมื่นตัน ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกของบริษัทอยู่ที่ 50% ของการผลิตซึ่งประกอบด้วยกลุ่มไก่สด 1 แสนตัน และกลุ่มไก่แปรรูป 7.5 หมื่นตัน ทั้งนี้บริษัทคาดว่าการขยายกำลังการผลิตดังกล่าวจะสร้างรายได้ให้บริษัทในปีแรกไว้ที่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท

สำหรับกรณีที่ปีนี้รัฐบาลได้ตั้งเป้าส่งออกไก่ไปต่างประเทศไว้ที่ 400,000 ตัน ซึ่ง 6 เดือนที่ผ่านมา ไทยส่งออกไก่ปรุงสุกแล้วประมาณ 1.8 แสนตัน ดังนั้น ในช่วง 6 เดือนที่เหลือของปีผู้ผลิตไก่ไทยทุกรายจะต้องเร่งส่งออกเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายสูงสุด

"การขยายโรงงานแต่ละแห่ง สหฟาร์มจะดำเนินการตามความต้องการของลูกค้า ที่จะเป็นผู้จัดหาเครื่องจักรและเทคโนโลยีให้สหฟาร์ม จะผ่อนชำระหนี้ภายหลัง จึงเป็นการผูกขาดให้ลูกค้ารายที่ต้องสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทในระยะยาว จึงไม่มีความเสี่ยงในการลงทุน สหฟาร์มไม่สนใจจะร่วมลงทุนกับใครขณะนี้แม้ว่าจะมีบริษัทติดต่อเข้ามามาก เนื่องจากเห็นว่าสหฟาร์มยังศักยภาพจะขยายตลาดได้โดยไม่ต้องรีบร้อน"

นพ.ปัญญา กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงขณะนี้สหฟาร์มไม่ห่วงเรื่องโรคระบาด เนื่องจากได้มีการพัฒนาระบบการเลี้ยงในขั้นความปลอดภัยสูงสุด สังเกตได้จากที่ไม่เคยมีปัญหาไข้หวัดนกระบาดเลยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาจากค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงทั้งเงินบาทและยูโร ที่มีปัญหาจากวิกฤติของกรีซ ทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงแต่ไม่มากนัก ขณะที่สินค้าของบริษัทที่มีคุณภาพทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นและไม่ต่อรองราคา เฉลี่ยยังสั่งซื้อที่ตันละ 4,000 ดอลลาร์

ทั้งนี้ หากรัฐบาลสามารถเจรจาให้เปิดตลาดไก่สดได้จะส่งผลให้สหฟาร์มส่งออกได้มากขึ้น มีความเป็นไปได้เพราะขณะนี้ไทยสามารถปลอดหวัดนกเกิน 90 วันตามมาตรฐานขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือโอไออีแล้ว เป็นไปได้ยากที่ไทยจะเกิดโรคระบาดดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากอยู่ในเขตร้อนปีนี้อุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียสคาดว่าเชื้อไขหวัดนกจะหายไปทั้งหมด

สำหรับยอดส่งออก 400,000 ตันปีนี้ จะเป็นยอดที่กลับไปสู่ยอดส่งออกสูงสุดที่เคยทำได้ในปี 2546 โดย 7 ปีที่ผ่านมา ไทยสามารถรักษาระดับการส่งออกไก่อยู่ที่ 3.5 แสนตัน หรือประมาณ 90 %ของยอดส่งออกของปี 2546

ส่วนคู่แข่งของไทยในการส่งออกไก่ รายสำคัญคือ บราซิล เนื่องจากมีต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ต่ำกว่าไทยมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยศักยภาพของไทยที่พัฒนาไก่สดแช่แข็งและไก่ปรุงสุกอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งการมีคู่ค้าที่ดี เชื่อว่าไทยจะรักษาตลาดเอาไว้ได้



ที่มา: ผู้จัดการ
http://thairecent.com/Business/2010/674296/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 7:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

539. ต่อยอดปุ๋ยอินทรีย์ หมักต่อได้ปุ๋ยชีวภาพ

นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ในฐานะโฆษกกรมฯ เปิดเผยว่า ตามที่คณะอนุกรรมการบริหารโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ ระยะที่ 2 (ปี 2552-2556) มีมติเห็นชอบให้ขยายขอบเขตเป้าหมายส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในช่วง 3 ปี คือปี 2554-2556 เพิ่มเติมอีก 400,000 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ในทุ่งกุลาร้องไห้ 157,000 ไร่ และนอกทุ่งกุลาร้องไห้ 243,000 ไร่ ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2554 กรมพัฒนาที่ดินได้จัดสรรงบประมาณ 105.42 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวฯ แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์เพื่อการส่งออก จำนวน 10,000 ไร่ และการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด จำนวน 100,000 ไร่ มีเป้าหมายในการยกระดับผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์จากเดิมที่ผลิต ได้ 250 กก.ต่อไร่ เป็น 470 กก.ต่อไร่

สำหรับรูปแบบการดำเนินการนั้นจะทำการก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยการปรับปรุงพื้นที่นา มีการทำระบบคูคลองเพื่อควบคุมการระบายเกลือและระบายน้ำควบคู่ไปกับระบบกักเก็บน้ำ ซึ่งจะสามารถช่วยได้ทั้งปัญหาน้ำท่วมขังและฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้ยังช่วยลดการแพร่กระจายของ พื้นที่ดินเค็มได้ด้วย ขณะเดียวกันยังใช้ดินที่ขุดขึ้นมาจากคูคลองต่าง ๆ มาจัดทำถนนในไร่นา ที่สำคัญกรมฯ ยังส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว ควบคู่กับ การส่งเสริมการใช้พืชปุ๋ยสดในการปรับปรุงบำรุงดิน.



http://thairecent.com/Agriculturist/2010/714447/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 7:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

540. ดินสอพอง


ชิ้นส่วนของมาร์ลสโตนดินสอพอง หรือ มาร์ล หรือ มาร์ลสโตน มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต หรือโคลนหรือหินโคลนที่อุดมไปด้วยเนื้อปูนที่มีองค์ประกอบที่แปรผันของแร่เคลย์และอาราโกไนต์ มาร์ลเป็นคำโบราณที่ถูกนำมาใช้เรียกวัตถุที่หลากหลายโดยส่วนใหญ่เป็นวัตถุเนื้อหลวมๆของดินที่มีองค์ประกอบหลักของเนื้อผสมระหว่างดินเคลย์และแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดแวดล้อมที่เป็นน้ำจืดเป็นวัตถุเนื้อดินประกอบด้วยแร่เคลย์ร้อยละ 65 และคาร์บอเนตร้อยละ 65-35 [1] คำเรียกที่ใช้ในปัจจุบันหมายถึงตะกอนที่ตกสะสมตัวในทะเลและในทะเลสาบที่แข็งตัวซึ่งเพื่อให้ถูกต้องแล้วต้องเรียกว่ามาร์ลสโตน มาร์ลสโตนเป็นหินที่แข็งตัวมีองค์ประกอบเดียวกันกับมาร์ลที่อาจเรียกว่าหินปูนเนื้อดิน มาร์ลมีการแตกแบบกึ่งก้นหอยและมีแนวแตกถี่ได้น้อยกว่าหินดินดาน คำว่า “มาร์ล” เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกกันอย่างกว้างขวางในทางธรณีวิทยา ขณะที่คำว่า “เมอร์เจิล” และ “ซีเกรด” (ภาษาเยอรมันเรียกว่า “ซีชอล์ค”) ถูกใช้เรียกกันในยุโรป

ทางด้านล่างของชั้นชอล์คไวต์คลิฟออฟโดเวอร์ประกอบไปด้วยชั้นมาร์ลเนื้อกลอโคไนต์ตามด้วยการแทรกสลับของชั้นหินปูนและชั้นมาร์ล การลำดับชั้นหินยุคครีเทเชียสตอนบนในเยอรมนีเปรียบเทียบได้กับแรงขับอันเกิดจากความแปรผันเป็นวัฏจักรของวงโคจรโลกแบบมิลานโกวิตช์ (Milankovitch orbital forcing)

มาร์ลเกิดในทะเลสาบพบได้ทั่วไปในตะกอบทะเลสาบปลายยุคน้ำแข็งโดยปรกติแล้วจะพบวางตัวอยู่ใต้ชั้นพีต มาร์ลมีประโยชน์เป็นตัวปรับสภาพดินและเป็นตัวการปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้มีสภาพเป็นกลาง มีลักษณะอ่อน ร่วนซุย และเป็นวัตถุเนื้อดินที่มีองค์ประกอบที่แปรผันของแคลเซี่ยมคาร์บอเนต เคลย์ และตะกอนขนาดทรายแป้งและพบเป็นปฐมภูมิภายใต้สภาพแวดล้อมแบบน้ำจืด (Hubbard and Herman, 1990)

[แก้] ดินสอพองในประเทศไทยพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามดินสอพองว่าเป็นหินปูนเนื้อมาร์ล (marly limestone) ที่เป็นดินที่เนื้อเป็นสารประกอบแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเอามะนาวบีบใส่ น้ำมะนาวมีกรดซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเกิดเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นฟองฟูขึ้น ดูเผินๆก็เห็นว่าดินนั้นพองตัว จึงเรียกกันว่า ดินสอพอง โบราณใช้ทำแป้งประร่างกายเพื่อให้เย็นสบาย เมื่อผสมน้ำหอมเข้าไปด้วยกลายเป็นแป้งกระแจะ ปัจจุบันนี้ใช้มากในการแก้ดินเปรี้ยว ผสมทำธูป ทำปูนซีเมนต์ เพราะเสียค่าขุดและค่าบดต่ำกว่าใช้หินปูนซึ่งมีเนื้อเป็นสารประกอบชนิดเดียวกัน แหล่งใหญ่ในประเทศไทยมีในท้องที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี


http://th.wikipedia.org/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:45 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 7:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

541. ทุ่ม 105 ล้าน พัฒนาทุ่งกุลาฯ


นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ในฐานะโฆษกกรมฯ เปิดเผยว่า ตามที่คณะอนุกรรมการบริหารโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ ระยะที่ 2 (ปี 2552-2556) มีมติเห็นชอบให้ขยายขอบเขตเป้าหมายส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในช่วง 3 ปี คือปี 2554-2556 เพิ่มเติมอีก 400,000 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ในทุ่งกุลาร้องไห้ 157,000 ไร่ และนอกทุ่งกุลาร้องไห้ 243,000 ไร่

ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2554 กรมพัฒนาที่ดินได้จัดสรรงบประมาณ 105.42 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวฯ แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์เพื่อการส่งออก จำนวน 10,000 ไร่ และการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด จำนวน 100,000 ไร่ มีเป้าหมายในการยกระดับผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์จากเดิมที่ผลิต ได้ 250 กก.ต่อไร่ เป็น 470 กก.ต่อไร่

สำหรับรูปแบบการดำเนินการนั้นจะทำการก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยการปรับปรุงพื้นที่นา มีการทำระบบคูคลองเพื่อควบคุมการระบายเกลือและระบายน้ำควบคู่ไปกับระบบกักเก็บน้ำ ซึ่งจะสามารถช่วยได้ทั้งปัญหาน้ำท่วมขังและฝนทิ้งช่วง

นอกจากนี้ยังช่วยลดการแพร่กระจายของ พื้นที่ดินเค็มได้ด้วย ขณะเดียวกันยังใช้ดินที่ขุดขึ้นมาจากคูคลองต่าง ๆ มาจัดทำถนนในไร่นา ที่สำคัญกรมฯ ยังส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว ควบคู่กับ การส่งเสริมการใช้พืชปุ๋ยสดในการปรับปรุงบำรุงดิน.



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2010/714451/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 7:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

542. แปรรูปไม้ยางวุ่น ขาดวัตถุดิบต้องนำเข้า


ผลพวงน้ำท่วมภาคใต้-ราคายางพาราแพง อุตฯแปรรูปไม้ยางพาราวุ่น เหตุขาดแคลนวัตถุดิบ เกษตรชะลอโค่นต้นทิ้ง ส่วนไม้ยางที่ส่งเข้าระบบใช้ไม่ได้เต็มร้อย มีความชื้นและเชื้อรา เบนเข็มนำเข้าวัตถุดิบจากเพื่อนบ้าน

นายเอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้หลายพื้นที่ รวมทั้ง จ.สุราษฎร์ธานี ในช่วงที่ผ่านมา แม้ขณะนี้สถานการณ์โดยภาพรวมดีขึ้น แต่อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารายังมีปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน เนื่องจากยางที่หมดอายุ หรือที่เกษตรกรต้องการโค่นมีน้อยมาก อีกทั้งต้นยางที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมก็ไม่สามารถใช้การได้ทั้งหมด เพราะมีความชื้นและเชื้อรา

นอกจากนี้ ราคายางที่ผันผวนตลอด ทำให้เกษตรกรชะลอการโค่นต้นยางพารา เพราะมองว่าการกรีดน้ำยางเพื่อขายน่าจะให้รายได้มากกว่า แม้ว่าตอนนี้โดยภาพรวมชาวสวนยางจะกรีดยางไม่ได้ตามเป้าหมาย ทำให้ผู้ประกอบการอาจต้องนำเข้าไม้ยางพาราจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้สามารถที่จะรักษาในระบบการตลาดได้

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการธุรกิจแปรรูปยางพาราเพื่อการส่งออกรายใหญ่ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ขณะนี้กิจการแปรรูปยางพาราเพื่อการส่งออก อยู่ในภาวะที่ชะลอตัวมาก เพราะวัตถุดิบมีราคาแพง ที่สำคัญคือชาวสวนยางไม่ต้องการขายต้นยางเหมือนในอดีต เว้นแต่กรีดยางไม่ได้น้ำยางจริงๆ เพราะรายได้หลักมาจากสวนยางพารา

ที่สำคัญช่วงน้ำท่วมการหาไม้ยางยุ่งยากยิ่งกว่าเดิม จนถึงตอนนี้บริษัทใช้วิธีการสต็อกไม้ยางที่เก็บไว้ก่อนหน้านี้ ทยอยแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ส่งออกให้ทันกับความต้องการ "บางช่วงต้องนำเข้าวัตถุดิบจากเพื่อนบ้านทั้งมาเลเซีย ลาว และจีน แต่คาดว่าเมื่อผ่านช่วงวิกฤติปีนี้ไปหากไม่เกิดภัยพิบัติซ้ำซ้อน คงจะมีวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น เพราะยางพาราที่ถูกน้ำท่วมส่วนหนึ่งจะทำให้คุณภาพของน้ำยางลดลง โดยสามารถนำไม้ยางมาแปรรูปได้ส่วนหนึ่ง แม้อาจจะไม่ดีเท่ากับไม้ยางที่เหมาะสำหรับการแปรรูปก็ตาม โดยขณะนี้การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยาง ถือว่ายังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะโซนยุโรปและอเมริกา แต่ที่เป็นอุปสรรคคือเรื่องของค่าเงินต่างประเทศยังไม่นิ่ง" แหล่งข่าวกล่าว




ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก
http://www.rubbernongkhai.com/index.php/component/content/article/1-newrubber/362--18082554


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 8:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

543. ผลิตภัณฑ์จากไม้หอม ฮิโนกิ หมอนบำบัดโรค


อนิรุทธิ์ แซ่จึง เจ้าของ เอ.ดี.วาย.ฟาร์ม ที่เริ่มจากส่งสินค้าเกษตรไปยังญี่ปุ่นนานกว่า 11 ปี ล่าสุดเขานำไม้หอม ฮิโนกิ ที่มีอายุกว่า 100 ปี จากฝั่ง ส.ป.ป.ลาว มาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ภายในครัวเรือน ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง โดยเฉพาะ หมอนไม้หอมฮิโนกิบำบัดโรค ขายดีจนผลิตไม่ทัน





อนิรุทธิ์ บอกว่า เมื่อครั้งที่ยังค้าขายอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ทราบว่าคนญี่ปุ่นชอบผลิตภัณฑ์จากไม้หอมฮิโนกิ เนื่องเนื้อไม้มีกลิ่นหอม ที่พบมากคือแก้วสี่เหลี่ยมที่คนญี่ปุ่นใช้สำหรับดื่มสุราพื้นเมือง ซาเก จึงพยายามมองว่าไม้ชนิดนี้มีที่ใดบ้างที่ใกล้กับประเทศไทย พอดีช่วงหนึ่งมีเพื่อนที่เข้าไปทำไม้ใน ส.ป.ป.ลาว จึงหันมาทำไม้บ้างในช่วงนั่นเองไปพบไม้หอม จึง จำได้ว่าเป็นไม้หอมฮิโนกิที่ชาวญี่ปุ่นนิยมนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ ภายในครัวเรือน จากนั้นเขาได้ประสานงานกับพรรคพวกที่ญี่ปุ่น เพื่อจะส่งออกผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากไม้หอมส่งไปยังญี่ปุ่น ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงนำเข้าไม้หอมฮิโนกิจากฝั่ง ส.ป.ป.ลาว เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตต่างๆ ส่งไปยังญี่ปุ่นเมื่อ 3 ปีก่อน





ไม้หอมฮิโนกิเป็นไม้ยืนต้นขึ้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,000 ฟุตขึ้นไป แถวๆ บ้านเราพบมากทางตอนเหนือของประเทศลาว ที่นำมาแปรรูปนั้นเป็นไม้หอมฮิโนกิที่มีอายุกว่า 100 ปี ซึ่งผมจะนำเข้าในรูปแบบของไม้ซุง นำมาแปรรูปเอง ทำได้ทุกอย่างครับ อย่างบ้านผม ที่บ้านไชยปราการ ผมใช้ไม้หอมทั้งหลัง เป็นหลังแรกและหลังเดียวในประเทศไทยครับ จะทำผลิตภัณฑ์อย่างอื่นก็ได้ ไม้ท่อนหนึ่งผมใช้ประโยชน์หมดแม้กระทั่งขี้เลื่อย นำมาผลิตเป็นหมอนไม้หอมฮิโนกิบำบัดโรคภูมิแพ้ แก้ความดันโลหินสูง และแก้โรคไมเกรน เป็นต้น อนิรุทธิ์ กล่าว

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากไม้หอมฮิโนกิส่งออกญี่ปุ่นนั้น อนิรุทธิ์ บอกว่า มีตั้งแต่สินค้าเล็กๆจำพวกของที่ระลึก พวงกุญแจ ขันตักน้ำ แก้วน้ำ เครื่องประดับรูปสัตว์ อาทิ ช้าง รวมถึงบาตร หิ้งบูชาพระ หมอนบำบัดโรค กล่องกระดาษเช็ดหน้า เป็นต้น สินค้าเหล่านี้ส่งออกไปญี่ปุ่น 90% แต่ละเดือนมูลค่าหลักล้านบาท ส่วนที่เหลือขายในไทยที่บ้านไชยปราการแห่งเดียว ราคาตั้งแต่ 50-400 บาท ขณะที่ส่งขายญี่ปุ่นถูกสุดชิ้นละ 1,000 บาท สูงสุดชิ้นละตก 3,000 บาท

ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ เขายอมรับว่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีอุปสรรค เพราะสินค้าบางอย่างผลิตตามออเดอร์ไม่ทันอยู่แล้ว โดยเฉพาะหมอนไม้หอมฮิโนกิบำบัดโรคซึ่งที่เมืองไทยจะขายใบละ 300 บาท แต่ที่ญี่ปุ่นใบละ 1,500 บาท และขายมากที่สุดด้วย เพราะมีคุณสมบัติคือสามารถบรรเทาโรคได้ อาทิ ไมเกรน ภูมิแพ้ และความดันโลหิตสูง ที่เกิดจากที่ดูดกลิ่นของเนื้อไม้นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม อนิรุทธิ์ ฝากบอกว่า สำหรับผู้ที่เดินทางกับคณะใน โครงการเกษตรทัศนศึกษา กับ คม ชัด ลึก ที่เดินทางไปดอยอ่างขางระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคมนี้ จะแวะดูการแปรรูปไม้หอมทำเป็นผลิตภัณฑ์ส่งญี่ปุ่น และในวันนั้นหากใครสนใจสินค้าจะลดให้พิเศษเท่าราคาส่งด้วย หากใครอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวการแปรรูปไม้หอมฮิโนกิ สอบถามอนิรุทธิ์ได้ที่โทร.08-9837-3373



ที่มา : คมชัดลึก
http://www.อาชีพเสริม.th/jobs-make-earning-1466


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 8:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

544. ไม้จิ้มฟันจากตะไคร้ ไม้จิ้มฟันสมุนไพร



กลุ่มอาชีพลูกประคบสมุนไพร ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร กลับมองเห็นมูลค่าทางการตลาดจำนวนมหาศาลที่มาจากจำนวนผู้ใช้ทุกคนในประเทศ จึงได้คิดพัฒนา ไม้จิ้มฟันจากตะไคร้ ไม้จิ้มฟันสมุนไพร





ทวินันท์ สีเนหะ ผู้นำกลุ่ม เล่าว่า ที่มาของ ไม้จิ้มฟันจากตะไคร้ ไม้จิ้มฟันสมุนไพร เกิดขึ้นมาจาก เมื่อครั้งหนึ่งตนเองนั่งทำสมุนไพรอบตัวอยู่ หลังจากมื้ออาหาร รู้สึกว่ามีอะไรมาติดฟัน แต่ด้วยความที่หาไม้จิ้มฟันไม่ได้ จึงได้นำก้านตะไคร้มาหักทำเป็นไม้จิ้มฟัน ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ได้เป็นความคิดที่แปลกใหม่อะไร เพราะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ทำอย่างนี้มาตั้งแต่โบราณ สังเกตได้จากคนเฒ่า คนแก่ ที่เวลากินเหมากเสร็จ หรือหลังมื้ออาหาร ก็จะไปหักก้านตะไคร้มาจิ้มฟัน

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เลยเกิดความคิดว่า ทำไมเราไม่ทดลองทำออกมาจำหน่าย เพราะยังไม่เคยเห็นใครทำมาก่อน โดยสามารถขายควบคู่ไปกับผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร ที่ตนเองทำอยู่ได้ เพราะเป็นสินค้าในแนวเดียวกัน และตะไคร้ก็เป็นสมุนไพรที่เราต้องนำมาใช้ในการทำลูกประคบอยู่แล้ว

ทั้งนี้ ข้อดีของ ไม้จิ้มฟันจากตะไคร้ ไม้จิ้มฟันสมุนไพร คือ ช่วยระงับกลิ่นปากได้ เพราะคุณสมบัติของตะไคร้เมื่อโดนน้ำลายในปากมันจะละลาย ทำให้เกิดกลิ่นหอมของตะไคร้ ช่วยดับกลิ่นในช่องฟัน และทำให้ปากหอมสดชื่นจากกลิ่นตะไคร้ และตัวตะไคร้เองก็เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นต้น นอกจากนี้ ไม้จิ้มฟันตะไคร้ ยังมีข้อดี เพราะมีขนาดเล็ก ทำให้จิ้มฟันได้แม้ในซอกฟันเล็กได้ และก้านก็จะไม่แหลมเหมือนกับการทำไม้จิ้มฟันในสมัยนี้ ซึ่งถ้าใช้อย่างไม่ระวังก็อาจจะทิ่มเหงือกได้

ที่สำคัญไม้จิ้มฟันส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ ทำให้ใช้ในซอกฟันเล็กไม่ได้ เชื่อว่าหลายคนประสบปัญหาเดียวและต้องแบ่งไม้จิ้มฟันออกเป็น 2 ซีก จึงจะใช้ได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ทางเราก็นำมาปรับให้ ไม้จิ้มฟันจากตะไคร้ ไม้จิ้มฟันสมุนไพร ตอบโจทย์ลูกค้าได้ และที่สำคัญเพิ่มคุณสมบัติความเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เราจึงมั่นใจว่า ไม้จิ้มฟันตะไคร้ของเราน่าจะไปได้ดีในตลาดของกลุ่มคนรักสุขภาพในปัจจุบัน ที่สำคัญราคาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากไม้จิ้มฟันที่ขายทั่วไปมากนัก

อ่านเพิ่มเติม ผู้จัดการ




http://www.อาชีพเสริม.th/jobs-make-earning-4962


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 8:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

545. อาชีพเลี้ยงผีเสื้อ ฟาร์มเลี้ยงผีเสื้อ





ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ก.ย.54 นายสมชาย ไชยธา เกษตรกรผู้เลี้ยงผีเสื้อ อยู่บ้านเลขที่ 18/1 ม.5 ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง เปิดเผยว่า ขณะนี้พบว่าทางเอกชนในประเทศอังกฤษได้สั่งออเดอร์ดักแด้ผีเสื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปปล่อยในสวนสาธารณะในหลายประเทศเพื่อสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติ ทำให้ตนต้องเร่งผลิตดักแด้เพิ่มขึ้นให้ได้เป็นจำนวนมากในแต่ละเดือน

แต่พบว่าการดำเนินการยังมีข้อจำกัด เนื่องจาก อาชีพเลี้ยงผีเสื้อ ฟาร์มเลี้ยงผีเสื้อ กับอาชีพอื่น ต้องใช้ความรัก ความอดทน รวมถึงขั้นตอนและกรรมวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ก็ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่ดี โดยปัจจุบันตนมีผีเสื้อกว่า 10 ชนิด ที่มีการนำมาขยายพันธุ์ และมีหนอนผีเสื้อที่กำลังอนุบาลกว่าแสนตัว

นายสมชาย เล่าว่า ก่อนหน้านี้เมื่อ 15 ปีที่ผ่านมาตนมีอาชีพทำนาที่ จ.เชียงราย ต่อมาได้รับการติดต่อจากญาติที่เดินทางมาทำงานที่ จ.ภูเก็ตว่ามี อาชีพเลี้ยงผีเสื้อ ฟาร์มเลี้ยงผีเสื้อ ของชาวต่างประเทศคนหนึ่งรับสมัครคนงาน ตนเห็นน่าสนใจ และกำลังว่างงานจึงได้เดินทางมายัง จ.ภูเก็ตเพื่อทำงานในฟาร์มเลี้ยงผีเสื้อ ซึ่งตำแหน่งงานแรกที่ได้รับมอบหมายคือหาต้นไม้ ใบไม้ที่ผีเสื้อกินได้

โดยมีชาวต่างประเทศซึ่งเป็นชาวอังกฤษเจ้าของฟาร์มนำไปขึ้นเขาใน จ.ภูเก็ต และแนะนำพันธุ์ไม้ ใบไม้ต่างๆ ให้ตนรู้จักว่ามีพืชชนิดใดบ้างที่ผีเสื้อชอบกิน ซึ่งตนก็ได้เรียนรู้เรื่อยมา โดยทำงานอยู่ในฟาร์มดังกล่าวประมาณ 10 ปี ทำให้ทราบถึงขั้นตอน และรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการ อาชีพเลี้ยงผีเสื้อ ฟาร์มเลี้ยงผีเสื้อ รวมถึงช่องทางด้านการตลาด โดยช่วงแรกที่เริ่มเลี้ยงมีพ่อแม่พันธุ์ผีเสื้อ 2-3 ชนิดที่ช่วยกันขึ้นไปจับบริเวณภูเขา และป่าในพื้นที่ อ.สุขสำราญ ต่อมาได้พบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ชนิดใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีกว่า 10 สายพันธุ์



อ่านเพิ่มเติม คมชัดลึก
http://www.อาชีพเสริม.th/jobs-make-earning-4998


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 8:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

546. วิธีเลี้ยงไก่เนื้อ ผสมน้ำหมักชีวภาพ



วิธีเลี้ยงไก่เนื้อผสมน้ำหมักชีวภาพ ลดต้นทุน เปอร์เซ็นต์รอดตายสูง และมีอัตราแลกเนื้อดี ไม่ต้องพึ่งพายาต่างๆ เพราะสูตรอาหารนี้จะเข้าไปช่วยปรับโครงสร้างกระบวนการย่อยอาหารให้ดีขึ้น เมื่อไก่มีสุขภาพดี ก็ไม่เครียด จึงไม่เป็นโรค




หลังเกษตรกรประสบผลสำเร็จในการนำผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. ของกรมพัฒนาที่ดิน ไปใช้เพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี โดยลดการพึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร แต่วันนี้มีเกษตรกรหัวก้าวหน้าได้ริเริ่มนำสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ใช้ผลิตน้ำหมักชีวภาพไปต่อยอดเพิ่ม โดยนำมาใช้กับ วิธีเลี้ยงไก่เนื้อผสม น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งผลเป็นที่น่าพอใจด้วยอัตราแลกเนื้อที่เพิ่มขึ้นและเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงอีกด้วย

เจริญ วัตตา ผู้ใช้ วิธีเลี้ยงไก่เนื้อผสม น้ำหมักชีวภาพ จากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 และในฐานะหมอดินอาสาประจำตำบลสระแก้ว อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งประสบผลสำเร็จในการนำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 มาใช้ทดลองเลี้ยงไก่ โดยเริ่มจากคัดไก่มาจำนวน 10-15 ตัว แยกเลี้ยงด้วยน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ผสมกับน้ำ ในอัตรา 5 ซีซี.ต่อน้ำ 5 ลิตร ให้ไก่กิน และค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ขึ้นจนถึง 20 ซีซี. ทดลองอยู่ประมาณ 3 รุ่น ปรากฏว่าไก่ที่กินน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 มีอาการเหงาหงอยลดลง อัตราการรอดสูงขึ้น

“จากการสมัครเข้าเป็นหมอดินอาสากับทางสถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช ก็ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ สารเร่ง พด.ต่างๆ ในการผลิตสารปรับปรุงบำรุงดิน โดยเฉพาะสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่นำมาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งได้นำมาใช้กับพืชผัก สวนปาล์มน้ำมัน ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ คือช่วยลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร”



อ่านเพิ่มเติม คมชัดลึก
http://www.อาชีพเสริม.th/jobs-make-earning-4994


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 8:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

547. พืชสงวน ห้ามส่งออกพันธุ์


กฎหมายพันธุ์พืช ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดพืชไว้ 11 ชนิดเป็นพืชสงวน ได้แก่

ทุเรียน
ส้มโอ
องุ่น
ลำไย
ลิ้นจี่
มะขาม
มะพร้าว
กวาวเครือ
ทองเครือ
สละ และ
สับปะรด



ซึ่งพันธุ์พืชเหล่านี้ห้ามส่งออก สงวนให้ใช้เพาะปลูกภายในประเทศ เนื่องจากเกรงว่าหากพันธุพืชที่ดีเหล่านี้ถูกนำไปปลูกในต่างประเทศแล้ว ก็จะกลับมาเป็นคู่แข่งทางการค้าได้ จึงห้ามส่งออก

หากเกษตรกรผู้ใดทราบแหล่งว่ามีการลักลอบส่งออกพืชสงวน ก็ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร และถ้าหากเป็นเพื่อนเกษตรกรด้วยกันก็ขอให้แนะนำ หรือชี้แจงถึงผลเสียที่จะตาม มาในอนาคต




การอ้างอิง
[1] พืชสงวน(เว็บ)
www.panyathai.or.th
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=11f8f8be9e829957


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/09/2011 9:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/09/2011 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

548. กระชายดำ (Kaempferia Pafiflora)


ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia Pafiflora
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน รากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นปุ่ม ๆ ไม่ยาวเป็นหางไหลเหมือนกับกระชายธรรมดา ขณะต้นเล็ก จะมีแต่รากและรากนั้นเองจะเปลี่ยนเป็นหัวเมื่อโตขึ้น เนื้อในหัวอาจเป็นสีม่วงหม่น หรือสีดำดังผลลูกหว้าขึ้นอยู่กับดินที่ใช้ แต่ถือกันว่ากระชายดำที่มีคุณสมบัติที่ดีต้องสีดำสนิท

ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับคล้ายกระชายธรรมดา แต่มีใบใหญ่และเขียวเข้มกว่า ผลิแทงม้วนเป็นกรวยขึ้นมาจากรากไม่มีต้น

ดอก : จะออกดอกจากยอดของต้น ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ริมปากดอกสีขาว เส้นเกสรสีม่วง และเกสรมีสีเหลือง

การขยายพันธุ์ : ใช้วิธีการแบ่งเหง้า ฤดูกาลขยายพันธุ์ ทำได้ทั้งปี แต่ถ้าต้องการผลิตหัวให้มีคุณภาพ ต้องปลูกขยายพันธุ์ตามฤดูกาล ช่วงประมาณ เดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม และ ช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณ เดือน ธันวาคม ถึง มกราคม กระชายดำ ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น

กระชายดำ หรือ โสมไทย เป็นพืชสมุนไพรที่มีการตื่นตัวในเรื่องการบริโภคมาก ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากว่ามีสรรพคุณที่เชื่อกันว่าเป็นยาสมุนไพรอายุวัฒนะชั้นหนึ่งของไทย มาแต่โบราณกาลและสามารถเพิ่มพลังทางเพศให้กับผู้รับประทานได้ซึ่งชายไทยที่ เคยบริโภคต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เด็ดจริงๆ" กระชายดำ ยังเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญประจำเผ่าม้งและมักพกติดตัวไว้ในย่ามแทบทุกคน เพื่อใช้กินแก้ปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ หืดหอบ ที่สำคัญเชื่อว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นความลับประจำเผ่ามาหลายร้อยปี

...


...



ประวัติ : การปลูกกระชายดำที่จังหวัดเลยนั้น สายพันธุ์ ต้นกำเนิดมาจาก ชาวเขาเผ่าม้ง ที่มาตั้ง ถิ่นฐาน ตรงบริเวณรอยต่อ ระหว่าง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก - อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย และรอยต่อกับ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สมุนไพรกระชายดำ นี้ ชาวเขาเผ่าม้งหวงแหนมาก เพราะตระหนักดีในเรื่องของสรรพคุณ เพื่อไม่ให้กระชายดำแพร่พันธุ์มาก เวลานำมาขายให้คนไทยพื้นราบ จะนำไปนึ่งให้หัวกระชายดำตายเสียก่อน เมื่อนำมาปลูก จึงไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ต่อมา คนไทยพื้นราบ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ติดต่อค้าขายกับชาวเขาเผ่าม้ง จึงได้แอบนำติดตัวและมาปลูกขยายพันธุ์ ปัจจุบัน ที่อำเภอนาแห้วเป็นแหล่งปลูกกระชายดำ แหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ

สรรพคุณ : ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นระบบประสาท แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุลย์ โรคบิด โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด โรคหัวใจ สำหรับสุภาพสตรีทานแล้ว จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทางเพศ ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใส แก้อาการตกขาว ประจำเดือนมาไม่ปกติ

"กระชายดำ" เพราะว่ามีสรรพคุณขึ้นชื่อลือชาในเรื่องเพิ่มพลังทางเพศ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "โสมไทย" ซึ่งที่จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดมักนิยมแนะนำให้เกษตรกรเพาะปลูกเพราะเป็นพืชที่มีอนาคต และราคาดี


ข้อมูลทั่วไป
"กระชายดำ" มีลักษณะเหง้าหรือหัวคล้ายกับกระชายธรรมดาที่ใช้ปรุงอาหารอยู่ในครัวเรือน แต่ไม่มีรากขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "นิ้ว" เหมือนกระชายทั่วๆ ไป และเมื่อพิจารณาลักษณะใบจะพบว่า ใบของกระชายดำจะใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่า กาบใบมีสีแดงจางและหนาอวบ กระชายดำมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia Pandurata (Roxb.)

อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัดกับกระชายธรรมดาก็คือ เนื้อในของหัวกระชายดำจะมีสีคล้ายดั่งผลหว้า คือมีสีออกม่วงอ่อน ๆ ไปจนถึงสีม่วงเข้มถึงดำ จึงได้ชื่อว่า "กระชายดำ" กระชายดำเป็นพืชล้มลุกจัดเป็นว่านชนิดหนึ่ง ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแก่นแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบมีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 ซม. ยาว 30-35 ซม. ลักษณะใบและลำต้นเหมือนกระชายเหลืองและกระชายแดง แต่ขอบใบและก้านใบของกระชายดำอาจมีสีม่วงแกมเล็กน้อย ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกมีสีขาว กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอกอับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน การขยายพันธุ์การปลูกกระชายดำก็เหมือนกับการปลูกกระชายธรรมดาโดยทั่วไป สามารถปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำดี แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วมขังเพราะจะทำให้หัวหรือเหง้าเน่าเสียได้ง่ายส่วนใน ดินเหนียวและดินลูกรังไม่ค่อยจะเหมาะสมนัก โดยธรรมชาติแล้วกระชายดำชอบขึ้นตามร่มไม้ในป่าดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป แต่ในที่โล่งแจ้งก็สามารถปลูกกระชายดำได้ผลดี

คุณสมบัติ
กระชายดำ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงจัดได้ว่า เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้คึกคักกระชุ่มกระชวย ช่วยสร้างความสมดุย์ของความดันโลหิตให้ไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใสและแก้โรคบิดแก้ปวดท้องเป็นต้น สำหรับสุภาพสตรีช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลแก้ตกขาว ขยายหลอดเลือดขจัดไขมันในหลอดเลือดโรคกระเพาะ ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน,โรคหัวใจ อื่น ๆ

สรรพคุณ
• บำรุงฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ชายเหนือชาย
• กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย
• บำรุงกำลัง
• เป็นยาอายุวัฒนะ ชลอความแก่
• ขับลม ขับปัสสาวะ
• แก้โรคกระเพาะอาหาร
• แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
• บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

วิธีใช้
• ใช้รากเหง้า (หัวสด) ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี.
• ผู้ที่ดื่มสุราไม่ได้ ให้ฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำร้อนดื่มทุกวัน หรือจะดองกับน้ำผึ้งก็ได้


ปริมาณการผสม
• หัวสด ใช้ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด
• หัวแห้ง บดเป็นผงละเอียด ผสม น้ำผึ้ง พริกไทยป่น กระเทียมผง บอระเพ็ดผง ในอัตราส่วน 10 : 5 : 2 : 1 : 0.5 หรือดองกับสุราขาว ในอัตราส่วน 30 กรัม ต่อสุราขาว 1ขวด หรือใช้หัวสดหรือหัวแห้งก็ได้ ดองกับน้ำผึ้ง ในอัตราส่วน 1:1 ทานทุกวัน บำรุงกำลังดีนักแล


ประโยชน์
กระตุ้นประสาททำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำลัง ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เพิ่มฮอร์โมนทำให้สมรรถภาพทาง เพศเพิ่มขึ้น แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ขยายหลอดเลือดหัวใจ

ส่วนประกอบ : กระชายดำแท้ 100%
วิธีใช้ : กระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.)
ขนาดรับประทาน : รับประทานได้ตามต้องการ
ข้อแนะนำ : หากต้องการรสชาติที่ดีขึ้น สามารถแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้งตามชอบใจ
ขนาดบรรจุ : บรรจุ 20 ซอง ๆ ละ 500 มก. น้ำหนักสุทธิ 10 กรัม


ด้วยสรรพคุณเหล่านี้ชาวเขาจึงปลูกกันมาแต่โบราณกาล ขณะที่ชาวพื้นราบเพิ่งตื่นเต้น กับกระแสสมุนไพรไทยไม่กี่ปีมานี้เอง โดยเฉพาะบรรดาคุณผู้ชายที่เริ่มรู้ตัวว่าอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ไม่ซู่ซ่าส์เหมือนสมัยหนุ่ม ๆ พอรู้ว่ากินแล้วเพิ่มพลังอย่างว่าเลยขวนขวายหาซื้อกันใหญ่ เนื่องจาก ราคาไม่แพงมีเงินเป็นร้อยก็หาซื้อได้ ทำให้ตลาดกระชายดำมาแรงเพราะจะไปหาซื้อไวอะกร้าก็คง สู้ราคาไม่ไหว อย่างไรก็ตามถ้าไปถามนักวิชาการ ยังไม่กล้ายืนยันเรื่องสรรพคุณทางเพศเพียงแต่ บอกเป็นนัย ๆ ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้กระชุ่มกระชวยและบำรุงกำลัง


การปลูกกระชายดำ
ฤดูปลูก
ปลูกได้ทั้งปี แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม

การเตรียมหัวกระชายดำสำหรับปลูก
หัวกระชายดำหัวหนึ่งจะมีหลายแง่ง ให้บิ(หัก)ออกมาเป็นแง่ง ๆ ถ้าแง่งเล็กก็ 2-3 แง่ง ถ้า แง่งใหญ่สมบูรณ์ก็แค่แง่งเดียวก็พอ เพราะเมื่อกระชายดำโตขึ้น กระชายดำก็จะแตกหน่อ และเกิดหัวกระชายดำหัวใหม่ขึ้นมาแทน และจะขยายหัวและหน่อออกไปเรื่อยๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ส่วนหัวหรือแง่งที่ใช้ปลูกในตอนแรกจะเหี่ยวและแห้งไปในที่สุด ก่อนนำไปปลูก ควรทารอยแผลของแง่งกระชายดำที่ถูกหักออกมาด้วยปูนกินหมาก หรือจะจุ่มในน้ำยากันเชื้อราก็ได้ แล้วผึ่งในที่ร่มจนหมาดหรือแห้ง แล้วจึงนำไปปลูก(น้ำยากันเชื้อรามีจำหน่ายตามร้านเคมีภัณฑ์การเกษตรทั่วไป ขวดเล็กๆราคาไม่ถึงร้อยบาทก็มี)

การปลูกลงในกระถาง
ควรใช้กระถางที่มีขนาดกลาง -ใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-18 นิ้ว เพื่อให้มีพื้นที่ในการขยายหัวหรือเหง้า ใส่วัสดุปลูกให้มาก ๆ ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของกระถาง (ปุ๋ยคอก 1 ส่วน/ดิน 2 ส่วน) จะทำให้ได้หัวที่มีคุณภาพและมีปริมาณหัวต่อต้นมาก การปลูกในกระถางควรใช้หัวหรือเหง้า ประมาณ 3-5 หัว (แง่ง) แล้วแต่ขนาดของกระถาง

การปลูกลงแปลง
ต้องเตรียมแปลงปลูก โดยการพรวนดินตากแดดทิ้งไว้นาน 5-7 วัน เพื่อปรับสภาพดิน ยกร่องกว้างประมาณ 1.50 เมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 10 - 15 ซม.ใส่ปุ๋ยคอกให้พอเหมาะ แล้วทำการปลูก ระยะห่างระหว่างหลุมและแถวประมาณ 30 X 30 ซม. ใส่หัวหรือเหง้า 2-3 หัว (แง่ง) ต่อหลุม แล้วกลบหลุมรดน้ำให้ชุ่ม

การปลูกในไร่ (กรณีปลูกปริมาณมาก ๆ)
การเตรียมดิน
ควรไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกไถพรวนเพื่อย่อยดิน ทำการยกร่องปลูก ระหว่างต้นประมาณ 25-30 ซม. ก่อนปลูกควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 200 - 400 กก./ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน โดยฝังเง้าหรือหัวพันธุ์ลงในหลุมปลูกลึก ประมาณ 5-10 ซม.ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 160-200 กก.

การดูแลรักษา
เมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 1 เดือน ควรดายหญ้ากำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1,000 กก./ไร่ (ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพราะจะทำให้หน่อกระชายดำที่เกิดใหม่ยาว และสีของหัวกระชายดำไม่ดำ ทำให้คุณภาพเปลี่ยนไป) และเมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 2 เดือน ให้พรวนดินกลบโคนต้นควรมีการปลูกซ่อมในหลุมที่ไม่งอก

การเก็บเกี่ยว
เมื่อกระชายดำอายุได้ 10-12 เดือน สังเกตจากใบและลำต้นจะเริ่มเหี่ยวแห้งและหลุดออกจากต้น ระยะนี้ คือ ระยะพักตัวของกระชายดำเพราะจะทำให้กระชายดำมีโอกาส ได้สะสมอาหารและตัวยาได้เข้มข้นอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะขยายพันธุ์ต่อไป จึงเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้ดี ทำให้ได้กระชายดำที่มีคุณภาพดี กระชายดำที่ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอนาแห้ว - อำเภอภูเรือ จะได้รับผลผลิตประมาณ 650-900 กก./ไร่

การเก็บรักษาพันธุ์
กระชายดำที่แก่จัดจะมีอายุประมาณ 11-12 เดือน หัวจะต้องสมบูรณ์ อวบใหญ่ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นนาน ประมาณ 1-3 เดือน จึงจะนำไปปลูกต่อได้


การแปรรูป
ในปัจจุบันนอกจากใช้กระชายดำเพื่อประกอบเป็นตัวยาโดยตรงแล้ว ยังนำไปบดเป็นผง บรรจุซองชงน้ำร้อนดื่มบำรุงสุขภาพ ใช้ดองดื่มเพื่อให้เกิด ความกระชุ่มกระชวย ทำลูกอมและที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ทำ ไวน์กระชายดำ

...


...


กระชายดำแบบหัวสด
การรับประทาน: ใช้รากเหง้า(หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี. ผู้ที่ดื่มสุราไม่ได้ ให้ฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำร้อนดื่มทุกวัน หรือจะดองกับน้ำผึ้งก็ได้ ในอัตราส่วน 1:1

กระชายดำหัวแห้ง
กรรมวิธีการผลิต:
การทำกระชายดำแบบฝานเป็นแว่นอบแห้ง ก็โดยการนำหัวสดของกระชายดำไปล้าง ทำความสะอาด นำมาฝานเป็นแว่น แล้วนำเข้าตู้อบ อบให้แห้งที่อุณหภูมิสูง จนแห้งได้ ที่แล้ว จึงนำมา เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ซึ่งวิธีการนี้ จะช่วยให้เก็บรักษากระชายดำได้นาน

การรับประทาน:
หากไม่ใช่คอเหล้าที่มักนิยมนำไปดอง กับเหล้าขาวก็มักหั่นเป็น ชิ้น นำไปตากแห้งแล้วมาต้มกับน้ำรับประทาน บางตำราบอกให้นำหัวกระชายดำหั่นตากแห้งสด ไปดองกับน้ำผึ้งแท้ 7 วันนำมาดื่มก่อนนอน อาจจะนำมาปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้

รายละเอียดวิธีใช้:
• หัวแห้ง ประมาณ 15 กรัม (1 กล่อง) ดองกับเหล้าขาว 1 แบน ผสมน้ำผึ้งเพื่อรสชาดที่ดีขึ้นได้ตามชอบใจ ดื่มก่อนนอนวันละ 30 ซีซี. ( 1 เป็ก)

• หัวแห้ง ดองกับน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1

• หัวแห้ง บดเป็นผงละเอียด ผสม น้ำผึ้ง พริกไทยป่น กระเทียมผง บอระเพ็ดผง ในอัตราส่วน 10 : 5 : 2 : 1 : 0.5



กระชายดำแบบชาชง
กรรมวิธีการผลิต:
นำหัวกระชายดำที่ฝานเป็นแว่น อบให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วจึงบรรจุซอง กระชายดำแบบชาชง จะไม่มีส่วนผสมอื่นอีก จะมีแต่กระชายดำแท้ 100% เท่านั้น

วิธีใช้:
กระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.)

ข้อแนะนำ:
หากต้องการรสชาติที่ดีขึ้น สามารถแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง ตามชอบใจ

ลูกอมกระชายดำ
ศูนย์การศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเลยร่วมกับกลุ่มโซนศรีสองรัก ได้จัดทำ ผลิตภัณฑ์ ลูกอมสมุนไพร เพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ นาแห้ว จ. เลย

ส่วนประกอบ:
1.กระชายดำ
2.นมสด
3.เนยอย่างดี
4.น้ำตาลทราย
5.แบะแซ

ไวน์กระชายดำ
ตามความหมายในภาษาอังกฤษนั้น ไวน์ (wine) หมายถึง "เหล้าองุ่น"เท่านั้น ตามกระแสนิยม สำหรับคนไทยนั้น คำว่า "ไวน์" หมายถึง ผลไม้ หรือสมุนไพรที่นำมาหมักแล้วได้แอลกอฮอล์ ไม่เกิน 15 ดีกรี ซึ่งกรรมวิธีผลิตก็ทำเช่นเดียวกับไวน์ในต่างประเทศ แต่ในกฎหมายไทยตามพระราชบัญญัติสุราฯ นั้นเรียกว่า "สุราแช่" ดังนั้น อนุโลมที่จะเรียกผลไม้หรือสมุนไพรที่นำมาหมักว่า "ไวน์" และต่อท้ายด้วยชื่อผลไม้หรือสมุนไพรที่นำมาทำเป็นวัตถุดิบนั้น เช่น ไวน์สัปปะรด ไวน์ลูกยอ ไวน์ลูกหม่อน เพราะไม่สามารถที่หาคำใดมาเรียก ได้เหมาะสม และเข้าใจได้ง่าย


ความแตกต่างระหว่างกระชายดำ (ดำแท้) กับกระชายม่วง
กระชายดำ (ดำแท้) จะมีใบเขียวเข้มกว่าและเรียวยาวกว่า ส่วนใบของกระชายม่วงนั้น (รูปขวา) จะสีเขียวอ่อนและปลายค่อนข้างมน ที่ใต้ใบและที่ขอบใบของกระชายดำ (ดำแท้) จะมีสีม่วงแกมขึ้นมามากจนสังเกตเห็นได้ชัดเจน ส่วนที่ขอบใบและใต้ใบของกระชายม่วงนั้น (รูปขวา) จะมีสีม่วงแกมเล็กน้อยหรือบางต้นอาจจะไม่มีเลยก็ได้

หัวกระชายดำ (ดำแท้) เวลาฝานออกมา เนื้อในจะมีสีม่วงคล้ำไปจนถึงสีดำสนิท หัวกระชายม่วง เมื่อฝานออกมา จะมีสีชมพูอ่อนปนน้ำตาล เมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าลักษณะภายนอกของต้น กระชาย จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าต้นใหนคือกระชายดำ (ดำแท้) และต้นใหนคือกระชายม่วง เพราะลักษณะภายนอกของต้นกระชายดำจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิ อากาศและสภาพแวดล้อม เช่น เมื่อนำหัวพันธุ์กระชายดำ (ดำแท้) ไปปลูกในที่แห่งใหม่ที่ไม่ใช่เขต อ.ภูเรือ หรือ อ.นาแห้ว จ.เลย แล้ว ที่ใต้ใบหรือที่ขอบใบของกระชายดำ อาจไม่มีสีม่วงให้เห็นเลยก็ได้ แต่ใบยังคงเป็นสีเขียวเข้มและเรียวยาวเหมือนเดิม และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว เมื่อฝานหัวกระชายออกมาดูก็ยังเป็นกระชายดำอยู่ดี

ดังนั้นหากท่านใดอยากได้กระชายดำที่เป็นดำแท้จริงๆ ก็ควรจะหาหัวพันธุ์ที่เป็นดำแท้ไปปลูก จะทำให้มั่นใจว่าต้นกระชายที่งอกขึ้นมาใหม่นั้น เป็นกระชายดำ สายพันธุ์ดำแท้จริง ๆ


สนใจ...พันธุ์กระชายดำ (ดำแท้), พันธุ์ขิง จากชาวเขาเผ่าม้ง ติดต่อได้ที่ 08-9206-6080



http://www.khaokhothailand.com/krachaidam.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

549. ความหมายและประเภทของจุลินทรีย์



จุลินทรีย์ หรือ จุลชีวัน หรือ จุลชีพ (microorganism)
เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจน


เื่รื่องจริงที่เพิ่งรู้
ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบต่อระบบการเพาะปลูกของประเทศไทย โดยตรงด้วยอุณหภูมิที่แปรปรวน และโดยทางอ้อมต่อปริมาณน้ำฝนและธาตุอาหาร โดยเฉพาะเมื่อฝนแล้งพืชจะดูดธาตุอาหารจากดินได้ยากขึ้น หากมีการจัดการในระบบเกษตรนิเวศให้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดน้อยลงก็จะมีส่วนช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนได้ทางหนึ่ง


ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงสนับสนุนทุนวิจัยแก่กลุ่มวิจัยทรัพยากรพันธุกรรมและธาตุอาหารพืช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งนำโดย ศ.ดร. เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ที่ได้ศึกษาถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพากับพืช และพบว่าทั้งเชื้อราและแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับพืชในท้องถิ่นหลายชนิด สามารถช่วยสู้โลกร้อนได้ทั้งในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยพืชดูดน้ำดูดอาหารในดินเลวยามที่เกิดแล้ง


จุลินทรีย์ที่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ มีทั้งเชื้อราและแบคทีเรีย เชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่าที่อยู่ร่วมกับไม้พื้นเมืองโตเร็วซึ่งเป็นพืชบำรุงดินในที่สูง เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่าต้นปะดะ หรือตีนเต้า หรือตองเต้า ช่วยในการสะสมธาตุอาหาร ประชากรของเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่าพื้นเมืองที่หลากหลาย ช่วยให้ต้นปะดะเจริญเติบโตได้ดี เท่ากับดินที่อุดมด้วยฟอสฟอรัส และดีกว่าเมื่อไม่มีเชื้อ และขาดฟอสฟอรัส ทำให้ป่าในพื้นที่ที่มีดินเลวฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกคาร์บอนไดออกไซด์ โดยสะสมมวลชีวะได้มากกว่าที่ไม่มีตัวช่วยถึงหนึ่งเท่าตัว


ศ.ดร. เบญจวรรณ กล่าวว่า จุลินทรีย์ที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่ง คือ แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในต้นอ้อย ซึ่งสามารถดึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ยอ้อยได้ จึงช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนในอ้อยให้เหลือเพียงหนึ่งในสามหรือหนึ่งในสี่ของที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในประเทศไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้ อ้อยเป็นพืชพลังงานที่หลายคนหวังว่าจะช่วยลดการเผาผลาญพลังงานปิโตรเลียมได้ส่วนหนึ่ง การลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในอ้อยนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตพลังงานเอทานอลแล้ว ยังจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ซึ่งมีฤทธิ์ในการก่อภาวะเรือนกระจกมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 320 เท่า


ในชั้นต้นนี้กลุ่มวิจัยฯ กำลังพัฒนาระบบการคัดเลือกท่อนพันธุ์อ้อย ให้มีความสามารถสูงในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และร่วมมือกับโครงการปรับปรุงพันธุ์อ้อย เพื่อคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่ประหยัดปุ๋ยไนโตรเจนและช่วยลดโลกร้อนไปพร้อมๆ กับการเลือกลักษณะดีอื่นๆ เช่น การให้ผลผลิตน้ำตาลสูง ทนต่อโรคและแมลงสำคัญ และการปรับตัวต่อพื้นที่ปลูกเฉพาะถิ่น


การปรับระบบการเพาะปลูกเพื่อสู้โลกร้อนอีกทางหนึ่ง คือ การลดผลกระทบจากภูมิอากาศที่แปรปรวนและเปลี่ยนแปลงไป กลุ่มวิจัยฯ ได้พบว่าเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่า ช่วยให้ต้นกล้าไม้ยืนต้นหลายชนิด ตั้งแต่พืชในตระกูลส้ม เช่น ส้มเขียวหวาน มะนาว ส้มโอ ตลอดจนกาแฟ และยางพารา เจริญเติบโตได้ดี นอกจากทำให้กล้าไม้โตเร็วแล้ว เชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่าที่อยู่ตามรากจะมีส่วนช่วยในการดูดน้ำและอาหาร ช่วยการตั้งตัวและอยู่รอดเมื่อนำกล้าออกลงปลูกในแปลง และช่วยให้ต้นไม้ทนต่อการขาดน้ำและขาดธาตุอาหารในยามฝนแล้งในปีต่อๆไป


การผลิตหัวเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่าเพื่อใช้ในการเพาะกล้าไม้ทำได้ง่ายๆ ในรากของพืชพื้นบ้านหลายชนิดที่ให้ผลดีไม่ต่างจากรากของต้นปะดะ ที่แม้จะปลูกยากเล็กน้อย เพราะเมล็ดงอกยากและต้นกล้าโตช้า แต่มีข้อดีคือเป็นไม้ยืนต้น อยู่ได้หลายปี อีกทั้งใบยังเป็นปุ๋ยอย่างดีด้วย เช่น ไมยราบเลื้อย หรือ ถั่วพุ่ม แต่บางพืชก็อาจไม่เหมาะสำหรับใช้ผลิตหัวเชื้อสำหรับเพาะกล้าไม้บางชนิด เช่น หัวเชื้อที่ผลิตในรากลูกเดือยไม่เหมาะกับกล้ายางพารา เพราะให้ผลแทบจะไม่ต่างจากการไม่ได้ปลูกเชื้อ จึงจำเป็นต้องทดลองก่อนว่าพืชชนิดใดเหมาะกับการผลิตกล้าของไม้ชนิดใด สำหรับภาคเหนือ ไมยราบเลื้อยที่ขึ้นอยู่ดาษดื่นนับว่ามีศักยภาพในการผลิตหัวเชื้อดีมากอย่างหนึ่ง เพราะหาง่าย ขึ้นง่ายติดเชื้อเร็ว และสร้างสปอร์ของสายพันธุ์เชื้อราที่หลากหลาย


ประเทศไทยร่ำรวยทรัพยากรพันธุกรรมทั้งพืชและจุลินทรีย์ที่รอให้นำมาใช้ เพียงแต่ตัวช่วยอาจซ่อนเร้นอยู่ไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด เหมือนในกรณีของเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่า ที่ช่วยดูดน้ำดูดธาตุอาหาร หรือแบคทีเรียที่ดูดไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ยอ้อยได้โดยไม่ต้องซื้อ ความรู้วิชาการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของเรา จึงสำคัญยิ่งในการปรับระบบการเพาะปลูกของประเทศในยุคโลกร้อน ศ.ดร. เบญจวรรณ กล่าวสรุป

ที่มาของข้อมูล : ฝ่ายงานสื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย www.trf.or.th





จุลินทรีย์แบ่งออกกลุ่มตามขนาด รูปร่าง และคุณสมบัติ

เราอาจแบ่งจุลินทรีย์ออกเป็นกลุ่มตามขนาด รูปร่างและคุณสมบัติอื่นๆ ได้ดังนี้

๑. เชื้อไวรัส
เป็นจุลินทรีย์ที่ขนาดเล็กที่สุดต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายเป็นหมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ เรายังไม่สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสได้ในอาหารเพาะเลี้ยง เชื้อไวรัสเจริญเพิ่มจำนวนได้เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ตัวอย่างโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ ไข้ทรพิษ พิษสุนัขบ้า ไขสันหลังอักเสบหรือโปลิโอ หัด คางทูม และอีสุกอีใส เป็นต้น

๒. เชื้อบัคเตรี
มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อไวรัส สามารถมองเห็นได้เมื่อส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา

๓. เชื้อรา (fungus)
มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อบัคเตรี พบว่ามีรูปร่าง 2 แบบ คือ ราแบบรูปกลม เรียกว่า ยีสต์ และราแบบเป็นสาย เรียกว่า สายรา ราบางชนิดจะมีรูปร่างได้ทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ เราอาจมองเห็นกลุ่มของเชื้อราได้ด้วยตาเปล่า ราบางชนิดจะสร้างสปอร์สำหรับสืบพันธุ์เกิดเป็นเห็ดขึ้น

๔. เชื้อปรสิต (parasite)
เป็นจุลชีพที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่าพืช ภายในเซลล์แยกออกเป็นนิวเคลียสและไซโทพลาซึม (cytoplasm) ชัดเจน แบ่งย่อยออกไปอีกเป็น สัตว์เซลล์เดียว หนอนพยาธิ และอาร์โทรพอด (arthropod) ตัวอย่างเชื้อปรสิต ได้แก่ เชื้อบิดอะมีบา เชื้อมาลาเรีย พยาธิตัวกลม พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ตัวหิดและตัวโลน เป็นต้น เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายระยะแรกจะมีจำนวนไม่มากพอที่จะก่อโรคจะต้องอาศัยช่วงระยะเวลาหนึ่งแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แล้วปรากฏอาการโรคภายหลังระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จนกระทั่งปรากฏอาการโรค เรียกว่า ระยะฟักตัว




บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร
เกษตรธรรมชาติ ถือว่า “ดินดี คือ ดินที่มีชีวิต” เป็นดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน สมดุลของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินสภาพธรรมชาติก็คือ ความเหมาะสมในด้านของจำนวนจุลินทรีย์ และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ดินที่เหมาะสมที่สุดในการทำการเกษตรคือ ดินที่มีจุลินทรีย์อยู่หลายกลุ่ม ตัวอย่างของดินดีชนิดหนึ่งคือ “ดินป่า” นั่นเอง


ในอดีตสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีอยู่ในดินป่า ในป่าซึ่งมีสารอินทรีย์ในรูปใบไม้หรือซากพืชซากสัตว์ที่เพิ่มลงไปกับประมาณธาตุอาหารพืชที่ถูกนำไปใช้และถูกเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตออกไปจากพื้นที่ที่สมดุลกัน ก็คือ มีธาตุอาหารพืชที่ถูกใช้ไปกับส่วนที่เพิ่มเติมลงมาในดินเท่ากัน จากการที่มีเศษซากอินทรียวัตถุหล่นลงดินหรือที่พืชตรึงไนโตรเจนจากอากาศลงสู่ดิน โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวช่วยในกระบวนการย่อยสลายและเปลี่ยนรูปธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์ เป็นกระบวนการที่เรียกว่าการนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ผลิดอกออกผลเป็นดอกไม้ ผัก ผลไม้ และอื่นๆ ส่วนสิ่งที่ถูกนำออกมาจากพื้นที่นั้นๆ คือธาตุอาหารพืชที่สูญเสียไปจากดิน ซึ่งในพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ เกษตรกรมักจะนำผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ออกมาจากพื้นที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงปริมาณธาตุอาหารพืชที่จะเพิ่มเข้าไปในพื้นที่ ทำให้พื้นที่ที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกิดความไม่สมดุลกัน จึงมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ


จุลินทรีย์มีบทบาทอย่างมากในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการแปรสภาพอินทรียวัตถุในดินให้กลายเป็นธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช โดยจุลินทรีย์จะมีขั้นตอนของความหลากหลายในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีปริมาณที่มาก ซึ่งมีหน้าที่และบทบาทต่อกระบวนการต่างๆ ในดินแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่าจุลินทรีย์ก็คือ ตัวการที่จะทำให้สารอินทรีย์จากซากพืชซากสัตว์ย้อนกลับไปเป็นธาตุอาหารพืชใหม่ได้อีกครั้ง นั่นคือทำให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชในดิน ดังนั้นดินป่าจึงมักมีอินทรียวัตถุอยู่สูงมีการหมุนเวียนในระบบนิเวศอย่างสมดุล แต่ในปัจจุบันการทำการเกษตรมีการใช้ปุ๋ยเคมีกันมากเพราะความต้องการผลผลิตที่มากขึ้น เมื่อต้องการผลผลิตมากขึ้นก็จำเป็นต้องนำเอาปัจจัยการผลิตอื่นๆ ใส่เข้าไปเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการใช้อย่างไม่สมดุล เป็นการใช้อย่างทำลายมากกว่า จะเห็นได้จากกรณีการเปิดป่า หรือการนำพื้นที่มาใช้จะเริ่มต้นด้วยการเผา ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ส่วนหนึ่งตายไป และอินทรีย์วัตถุส่วนหนึ่งหายไป ส่วนทีเคยอยู่ในระบบก็หายออกไปอยู่นอกระบบ เมื่อจุลินทรีย์หลายชนิดตายไปอีกหลายชนิดก็ลดจำนวนลง อัตราการเกิดกระบวนการหมุนเวียนย้อนกลับไปเป็นปัจจัยการผลิตก็ลดน้อยลง


ทันทีที่เปิดหน้าดินทำลายพืชที่ปกคลุมผิวดิน เกษตรกรก็จะเริ่มทำการเผาก่อน สิ่งทีหายไปคืออินทรียวัตถุในดิน ชนิดของจุลินทรีย์และปริมาณของจุลินทรีย์ เมื่อปลูกพืชต่อเนื่องไปได้ 2-3 ปี จะสังเกตเห็นได้ว่าผลผลิตที่ได้เริ่มลดลงและเพาะปลูกไม่ได้ผล ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะดินไม่ดี โรคแมลงศัตรูพืชมากขึ้นต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่สูงมากขึ้น นั่นคือการขาดความสมดุลในพื้นที่ การทำการเกษตรในบางพื้นที่จะทิ้งพื้นที่บริเวณนั้นไว้ 3-5 ปี จนกระทั่งอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้นพื้นดินจึงฟื้นกลับมามีความสมดุลอีกครั้ง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการปล่อยพื้นที่ไว้โดยไม่เข้าไปยุ่ง จะทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ เจริญเติบโต และตายลงสลายตัวกลายเป็นธาตุอาหารพืชย้อนกลับสู่ดิน และจากสารอินทรีย์ที่รากพืชปลดปล่อยออกมาในบริเวณใกล้ๆ ราก สิ่งเหล่านี้จะชักนำให้จุลินทรีย์เพิ่มจำนวนขึ้นและเกิดความหลากหลายของจุลินทรีย์อีกครั้ง นอกจากนี้ยังชักนำให้มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในดินตามมา ทำให้ดินในพื้นที่นั้นกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ฉะนั้นถ้าให้เวลาธรราชาติสัก 3-5 ปี ทุกอย่างจะพื้นคืนสภาพได้เอง แต่ในปัจจุบันเกษตรกรไม่สามารถรอเวลานั้นได้ เนื่องจากพื้นที่มีจำกัดและความต้องการผลผลิตที่รวดเร็วและปริมาณมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ ดังนั้นระบบเกษตรแผนปัจจุบันจึงเลือกใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการแก้ปัญหานี้ ในขณะที่ระบบเกษตรธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์จะใช้วิธีการที่ดีกว่าคือ เติมปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะอินทรีย์ต่างๆ ที่สามารถนำมากลับมาใช้ได้ใหม่ และเพิ่มจุลินทรีย์ธรรมชาติเข้าไปด้วย





จุลินทรีย์ที่มีบทบาทต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน
จุลินทรีย์มีหลายชนิดได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซีส และสาหร่าย แต่ละชนิดจะมีบทบาทและกิจกรรมต่อความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่

1. แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อรา โปรโตซัว และ สาหร่าย มีรูปร่างแบบง่ายๆ 3 รูปร่างคือ กลม (Cocci) ท่อน (Rod) เกลียว (Spiral) ไม่มีรงควัตถุภายในเซลล์ คือ เซลล์มักจะใส มีทั้งเคลื่อนที่ได้และไม่เคลื่อนที่ เราสามารถแบ่งชนิดของจุลินทรีย์ได้หลายประเภทดังนี้ 1.1 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามช่วงอุณหภูมิ

ก. พวก Psychophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ
ข. พวก Mesophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิปานกลางมีอยู่มากในดินส่วนใหญ่
ค. พวก Thermophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง


1.2 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามความต้องการออกซิเจน
ก. แบคทีเรียพวกที่ต้องการออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน
ข. แบคทีเรียพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่ไม่ออกซิเจน


1.3 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามลักษณะทางนิเวศวิทยา
ก. Autochthonous (Indigenous Group) เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ดั้งเดิมในธรรมชาติ ได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ อยู่ได้โดยไม่ต้องมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก แบคทีเรียกลุ่มนี้จะมีปริมาณคงที่ทุกฤดูกาล

ข. Zymogenous (Fermentation Producing Group) เป็นแบคทีเรียที่สามารถแปรรูปสารเคมีต่างๆ ได้โดยขบวนการหมัก (Fermentation) ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หลายอย่าง แต่กลุ่มนี้มีอยู่ตามธรรมชาติน้อยมาก จะเพิ่มจำนวนเมื่อมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก

1.4 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามการสร้างอาหาร
ก. Autotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอน (C) จากกาซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และสารประกอบอินทรีย์อื่นๆ เช่น HCO3

ข. Heterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอนจากอินทรีย์คาร์บอนหรือสารประกอบอินทรีย์ทั่วไป

ค. Chemotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมี และขบวนการออกซิเดชั่นของสิ่งมีชีวิต (Biological Oxidation)

ง. Chemoheterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากอินทรีย์สาร

จ. Phototrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้พลังงานจากการสังเคราะห์แสง
แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ที่พบเป็นจำนวนมากที่สุดในจุลินทรีย์ทั้งหมด โดยจำนวนแบคทีเรียคิดเป็น 50% ของน้ำหนักจุลินทรีย์ทั้งหมด และมีกิจกรรมคิดเป็น 95% ของจุลินทรีย์ทุกชนิดรวมกัน พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ จัดได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีบทบาทอย่างมากในธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต



2. เชื้อรา (Fungi)
2.1 ยีสต์
เป็นเชื้อราซึ่งมีลักษณะแปลกตรงที่ มีการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพเซลล์เดียว (Unicellular) แทนที่จะเจริญเป็นเส้นใยเหมือนเชื้อราอื่นๆ ทั่วไป จริงอยู่แม้ยีสต์บางชนิดมีการสร้างเส้นใยบ้าง แต่ก็ไม่เด่นเช่นเชื้อรา ปกติยีสต์เพิ่มจำนวนและแบ่งเซลล์โดยการแตกหน่อ (Budding) เซลล์ยีสต์จะใหญ่กว่าแบคทีเรียและมีนิวเคลียสที่เห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ในเซลล์ยีสต์เรามักจะสังเกตเห็นแวคคูโอล (Vacuole) ขนาดใหญ่ พร้อมทั้งเม็ดสาร (Granule) ต่างๆ ในไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) อยู่เสมอ

2.2 ราเส้นใย
เป็นจุลินทรีย์ที่มีการพัฒนามาดำรงชีวิตอยู่ในสภาพหลายเซลล์ (Multicellular) โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะการเจริญเป็นเส้นใย (Hyphae) ซึ่งอาจมีผนังกั้น (Septate Hypha) หรือไม่มีผนังกั้น (Non Septate Hypha หรือ Coenocytic Hypha) เชื้อราเป็นจุลินทีรย์ที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันมากในด้านขนาดรูปร่างของโครงสร้างและระบบการสืบพันธุ์ โดยทั่วไปเชื้อรามีการสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีทั้งสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Spores) และสปอร์แบบอาศัยเพศ (Sexual Spores)

3. แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes)
เป็นจุลินทรีย์จำพวกเซลล์เดี่ยวที่มีลักษณะคล้ายคลึงทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา โดยมีขนาดเล็กคล้ายแบคทีเรีย แต่มีการเจริญเป็นเส้นใยและสร้างสปอร์คล้ายเชื้อรา มีเส้นใยที่ยาวเรียวและอาจจะแตกสาขาออกไปเส้นใยเรียกว่า Hyphae หรือ Filaments

4. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue Green Algae หรือ Cyanobacteria)
แตกต่างจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นตรงที่มีคลิโรฟิลล์มักเห็นเซลล์เป็นสีเขียว เซลล์เป็น Procaryote ซึ่งเหมือนกับแบคทีเรีย และมีสาร Mucopeptide เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เช่นเดียวกับแบคทีเรีย สาหร่ายพวกนี้ไม่มีคลอโร พลาสต์ ดังนั้นคลอโรฟิลล์จึงกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์



บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร จุลินทรีย์มีหลายชนิต ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซิท สาหร่าย โปรโตซัว ไมโครพลาสมาโรติเฟอร์ และไวร้ส เป็นต้น บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์มีอยู่มากมายดังนี้

1. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การเป็นประโยชน์และการเกิดโรค จุลินทรีย์หลายชนิดอาจเป็น สาเหตุของโรคพืชและสัตว์ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร แต่ในสภาพธรรมชาติจุลินทรีย์ที่มีอยู่อย่างหลากหลายจะมีการควบคุมกันเองในวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ป้องกัน กำจัด และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นรวมทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช

2. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญในการหมุนเวียนทรัพยากรให้ใช้ประโยชน์ได้ใหม่ในวัฏจักรของธาตุอาหารโดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายวัสดุสารอินทรีย์ต่างๆ (Organic Decomposition) ให้เป็นธาตุอาหาร เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ของสารอินทรีย์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทางการเกษตร ให้กลับอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยกระบวนการย่อยสลายหรือสังเคราะห์สารชนิดอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ในธรรมชาติ เช่น การย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ในดินให้อยู่ในรูปฮิวมัส เปลี่ยนจากรูปสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ (Mineralization) เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชได้แก่ กระบวนการตรึงไนโตเจน (N2 Fixation) โดยจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เช่น แหนแดง และจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้ เช่น เชื้อไรโซเบียม

3. จุลินทรีย์หลายชนิดมีบทบาทในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เช่น จุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างกรดอนินทรีย์ที่สามารถละลายแร่ธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช บางชนิดสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชหรือฮอร์โมน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และยังสามารถผลิตสารต่างๆ รวมถึงสารปฏิชีวนะ เอนไซม์ และกรดแลคติค เช่นแบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Gramicidine และ Tyrocidine เชื้อราบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Pennicilin และ Gliotoxin เชื้อแอคติโนมัยซิทบางชนิดสามารถสร้างสาร Actinomycin และ Aureomycin ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถใช้ในการยับยั้งเชื้อโรคต่างๆ และยังช่วยสนับสนุนปฏิกิริยาทางเคมีในดินให้เกิดขึ้นเป็นปกติได้ โยถ้าปราศจากเอนไซม์ปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อนในดินก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น




ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย ดร.อานัฐ ตันโช
ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
http://kpgroup.siam2web.com/?cid=402741
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

550. เติมสีสันให้เส้นไหมด้วย “แบคทีเรีย”






อาจารย์ มรภ.พิบูลสงคราม เพิ่มทางเลือกใหม่ในการย้อมเส้นไหม ใช้แบคทีเรียพบได้ในดินย้อมสีสวยให้ผ้าไหม ประหยัดพื้นที่เพราะใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงในแล็บไม่กี่ตารางเมตร ต่างจากการใช้พืชและสัตว์เป็นแหล่งย้อมสีที่ต้องใช้พื้นที่มากและต้องรอฤดูกาลเหมาะสม

สืบเนื่องจากการนำเสนอผลงานวิจัยภายในงาน “การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554” (Thailand Research Expo 2011) ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่าง 26-30 ส.ค.54 ที่ผ่านมา ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้เห็นผ้าไหมสีสวยซึ่งไม่ได้ย้อมขึ้นจากพืชหรือสัตว์ แต่เป็นผ้าไหมที่ย้อมสีจาก “แบคทีเรีย” ทำให้เราสนใจเข้าไปพูดคุยกับเจ้าของผลงานดังกล่าว

นางนฤมล เถื่อนกูล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก เจ้าของผลงานผ้าไหมย้อมสีจากแบคทีเรีย บอกเราว่าได้ใช้สีจากแบคทีเรียในกลุ่มของแอคติโนมัยซีต (Actinomycetes) ซึ่งเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่มีลักษณะคล้ายเชื้อรา (bacteria like-fungi) เพื่อย้อมเส้นใยไหมโดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านในชุมชนได้ใช้ต้นครามและครั่งซึ่งเป็นแมลงชนิดหนึ่งเพื่อเป็นแหล่งสีย้อมผ้าไหม

“เราไม่ต้องใช้พื้นที่มากในการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย หมายถึงเราพื้นที่ในห้องแล็บแค่ไม่กี่ตารางเมตร ก็สามารถเพาะเชื้อแบคทีเรียขึ้นมาได้ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับพืชกับสัตว์แล้ว สำหรับพืชเราต้องปลูกพืชทดแทน ต้องตัดไม้ทำลายป่า สำหรับสัตว์เราต้องเพาะเลี้ยงซึ่งใช้ระยะเวลานาน ส่วนแบคทีเรียเราเพาะเลี้ยงจากห้องแล็บและไม่ต้องรอฤดูกาลเหมือนพืชและสัตว์ เราใช้พื้นที่น้อย ทำได้ตลอดและต่อเนื่อง”นางนฤมลกล่าว

ส่วนการคัดเลือกแบคทีเรียมาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ย้อมสีผ้าไหมนั้น นางนฤมลกล่าวว่าคัดเลือกแบคทีเรียจากดิน ซึ่งดินทุกส่วนในประเทศไทยจะมีเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้อาศัยอยู่ แต่เธอเจาะจงว่าต้องการเชื้อจากดินในรังต่อหมาร่า, ดันรังปลวก และดินรังมด เนื่องจากยังไม่มีใครศึกษาวิจัยแบคทีเรียในดินกลุ่มนี้มากนัก โดยอาจเป็นการศึกษาเพื่องานวิจัยในด้านอื่น แต่ยังไม่มีใครทำวิจัยเพื่อย้อมสี

เมื่อถามถึงแนวคิดในการใช้แบคทีเรียย้อมสีผ้าไหม นางนฤมล กล่าวว่าก่อนหน้านี้สนใจทำงานวิจัยเรื่องการใช้เชื้อราผสมในอาหารคนหรือสัตว์ แต่ต้องหยุดงานวิจัยดังกล่าวลงเพราะไม่สามารถพัฒนาต่อได้ จากนั้นสนใจการศึกษาเกี่ยวกับการทำยาปฏิชีวนะ แต่พบว่าแบคทีเรียกลุ่มนี้สามารถสร้างสีสันบนอาหารเลี้ยงเชื้อได้หลายเฉดสี จึงเกิดแนวคิดว่าน่าจะนำสีที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ และคิดว่าจะนำสีมาย้อมเส้นไหม เส้นฝ้ายหรือขนสัตว์ต่างๆ ให้เป็นผลงานที่จับต้องได้ และประสบความสำเร็จในการย้อมสีเส้นฝ้าย

“วิธีการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียนั้นเราจะนำดินจากแหล่งธรรมชาติซึ่งในที่นี้เราสนใจดินรังแมลง มาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อ โดยจะได้เชื้อหลากหลายทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา แต่เราจะเลือกเฉพาะกลุ่มแบคทีเรียที่มีเม็ดสี คัดแยกออกมาเก็บไว้อย่างดี โดยแบคทีเรียกลุ่มแอคติโนมัยซีตนั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์และแต่ละสายพันธุ์จะให้เฉดสีแตกต่างกัน เมื่อได้เชื้อบริสุทธิ์แล้วจะนำไปเพาะเลี้ยงในธัญพืช ซึ่งมีต้นทุนถูกกว่าอาหารเลี้ยงเชื้อทั่วไป และต้องเป็นธัชพืชที่ไม่มีสี เพื่อไม่ให้ปนกับเม็ดสีจากแบคทีเรีย และแบคทีเรียจะปล่อยสีออกมาเคลือบเม็ดธัญพืช จากนั้นนำธัชพืชไปอบให้เชื้อตายแล้ว แล้วบดเอาเม็ดสีออกมา เมื่อได้เม็ดสีที่ปะปนกับเม็ดธัชพืชที่บดละเอียดแล้วจะใช้เอทานอลความเข้มข้น 70% สกัดเอาสารละลายสีที่นำไปแช่ย้อมสีผ้าไหมได้” นางนฤมลอธิบาย

ส่วนความกังวลว่าแบคทีเรียจะเป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่ผ้าไหมนั้นอาจารย์จาก มรถ.พิบูลสงครามชี้แจงว่าเชื้อแบคทีเรียตายตั้งแต่ขั้นตอนการอบและในขั้นตอนการสกัดสีด้วยเอทานอล 70% แล้ว และทีมวิจัยย้อมผ้าไหมด้วยสารละลายสีที่แบคทีเรียปล่อยออกมาเท่านั้น นอกจากนี้กรรมวิธีในการย้อมยังใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยของผู้ย้อม

นางนฤมลบอกว่าประโยชน์จากงานวิจัยนี้คือเราได้แหล่งสีย้อมใหม่จากธรรมชาติ โดยทีมวิจัยได้เริ่มวิจัยการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรียกลุ่มแอคติโนมัยซีตมาตั้งแต่เดือน ต.ค.2551 และได้ปรับปรุงงานวิจัยเรื่อยมา ตอนนี้สามารถสร้างเฉดสีได้ทั้งหมด 6 เฉดสี คือ สีม่วง สีเหลือง สีเขียว สีชมพู สีเทาและสีส้ม ซึ่งต้องมีการวิจัยหาเชื้อจากแหล่งธรรมชาติเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มเฉดสีให้มากขึ้น

“ในการพัฒนาโครงงานวิจัยสีย้อมเส้นใยจากแอคติโนมัยซีตนั้น ต้องปรับปรุงการผลิตสีให้เพิ่มขึ้น ตอนนี้มีปัญหาที่ยังไม่สามารถผลิตสีในปริมาณมากๆ ได้ และยังมีปัญหาในเรื่องภาชนะที่ใช้เก็บสี ซึ่งตอนนี้เราใช้ถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังต้องอาศัยนักวิจัยรุ่นใหม่อย่างเช่นนักศึกษามาช่วยอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้เราไม่มีนักศึกษาปริญญาโทมาทำวิจัย และนักศึกษาที่มาทำวิจัยก็อยู่กับเราไม่นานแค่ปีถึงสองปี และมีแต่นักศึกษาปริญญาตรีปี 3-4 เท่านั้นที่มาทำวิจัยกับเรา” นางนฤมลกล่าว



http://www.anc.ac.th/index.php?option=com_blog_calendar&view=blogcalendar&Itemid=125


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/09/2011 9:45 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

551. มช. คิดค้นสารเร่งเจริญพันธุ์พืช ส่งเสริมธุรกิจเกษตรอินทรีย์


นักวิจัยคณะวิทย์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาพัฒนาหัวเชื้อจากรามายคอร์ไรซา จุลินทรีย์สร้างสารเร่งการเจริญของพืช นับเป็นวิธีปลูกเชื้อที่ดี เพื่อนำไปเป็นต้นกล้าป้อนธุรกิจเกษตรอินทรีย์

ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เพราะกลัวอันตรายสารตกค้างจากสารเคมีและยาปราบศัตรูพืช ที่ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางการแพทย์ การเกษตรและสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นผลตกค้างในดิน แหล่งน้ำและผลิตผล ทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการซื้อผลผลิตที่มีราคาแพง

การจัดการเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินและการเจริญเติบโตที่ดีของพืช อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการวิธีบำรุงดินที่มี ประสิทธิภาพสามารถทำได้หลายวิธี และสามารถช่วยลดผลกระทบจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์ดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน แต่การเพิ่มความแข็งแรงให้กับพืชโดยใช้จุลินทร์กลุ่มไรโซเบียมและหัวเชื้อ จากรามายคอร์ไรซา รวมทั้งการใช้จุลินทรีย์สร้างสารเร่งการเจริญของพืช ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการทำความเข้าใจโดยเฉพาะกลไกของความสัมพันธ์ของพืชและ จุลินทรีย์ซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมชาติแต่ถูกทำลายด้วยวิธีการทางการเกษตรที่ ไม่เหมาะสม นอกจากนี้การตอบสนองของพืชต่อมายคอร์ไรซาก็มีความแตกต่างกันทั้งชนิดของพืช เองและชนิดของมายคอร์ไรซ่า

ศ.ดร.สายสมร ลำยอง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในประเทศไทยมีการนำเข้ามายคอร์ไรซ่ามาจำหน่ายหลายบริษัท แต่ก็มีราคาแพงมาก เช่น เอนโดมายคอร์ไรซ่าที่ใช้กับกล้าส้ม กล้าสน และพืชผัก ราคากิโลกรัมละ 1,200 บาท

จากการสำรวจ พบว่ามี ความต้องการใช้มายคอร์ไรซ่ากับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดมากขึ้น แต่ปัญหาเรื่องราคาและไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์มายคอร์ไรซา ที่แน่นอนได้ จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาการนำไปใช้ในทาง ปฏิบัติต่อไป

ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่ ศ.ดร.สายสมร ลำยองและคณะ ในโครงการการพัฒนามายคอร์ไรซาเพื่อเกษตรอินทรีย์ โดยคณะวิจัยได้สำรวจความหลากหลายของเชื้อราอาร์คูบัสคูลาร์มายคอร์ไรซากับ สบู่ดำ ในพื้นที่ 6 จังหวัดของไทย รวมทั้งศึกษาเชื้อดังกล่าวกับกาแฟอราบิก้าในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย พบว่าพืชมีการเจริญเติบโตดี นอกจากนี้ยังเพิ่มปริมาณสปอร์ในกระถางโดยใช้ดินเป็นหัวเชื้อ มีข้าวโพด ข้าวฟ่าง และดาวเรืองเป็นพืชอาศัย พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณสปอร์ได้ดี

"คณะวิจัยยังได้ตรวจ เปอร์เซ็นต์การเข้ารากพืชของมายคอร์ไรซา 5 สกุล ในถั่วพุ่ม ข้าวโพด ลูกเดือย ข้าวไร่ ข้าวฟ่าง และต้นปะดะ พบว่ามีการติดเชื้อในรากสูงยกเว้นข้าวไร่ อีกทั้งได้สำรวจความหลากหลายของเชื้อดังกล่าวและความสัมพันธ์ที่มีต่อพืช ท้องถิ่นในป่าเขตร้อนของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพและดอยปุย พบว่าพืชพื้นเมือง 24 ชนิดมีความสัมพันธ์กับเชื้อดังกล่าว และเชื้อบางชนิดสามารถอาศัยร่วมกับพืชได้หลายชนิด" ศ.ดร.สายสมร กล่าวทิ้งท้าย

ขณะนี้มีบริษัทเอกชนจำนวนมากให้ความสนใจเชื้อรามายคอร์ไรซา และขอให้คณะวิจัยเพิ่มปริมาณการผลิตหัวเชื้อเพื่อนำไปเป็นส่วนผสมในการผลิต ปุ๋ยชีวภาพต่อไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายรายติดต่อให้คณะวิจัยผลิตหัวเชื้อและถ่ายทอดเทคโนโลยี วิธีปลูกเชื้อเพื่อนำไปเพาะต้นกล้า โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ สัก ยางพารา กฤษณา รวมทั้งผลิตหัวเชื้อเพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกรต่อไป จึงนับเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่ง



http://onknow.blogspot.com/2011/01/blog-post_2303.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/09/2011 9:45 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

552. สมุนไพรไล่หนู กะเพรา สะระแหน่ มะกรูด...ได้ผลชะงัด


แบ่งปัน

"หนู" เป็นศัตรูตัวฉกาจ ที่สร้างปัญหามากมาย ทั้งในบ้านเรือน เลือกสวนไร่นา แถมยังเป็น พาหะนำโรค และยิ่งเมื่อเร็วๆ นี้ที่ตกเป็นข่าวเกรียวกราวว่า มีนักการเมืองชื่อดังรายหนึ่ง ต้องติดอยู่ในรถหรูเป็นเวลานาน แต่ยังเคราะห์ดีที่สามารถออกมาได้ ซึ่งสาเหตุคาดกันว่าน่าจะมาจาก "หนู" ที่เข้าไปกัดสายไฟในรถนั่นเอง

ปัญหานี้เคย เกิดขึ้นมาแล้วกับหลายๆ บ้าน บางคนอาจใช้วิธีการวาง กับดัก หรือใช้ยาเบื่อล่อ แต่ก็ต้องมาคอยเก็บซากทิ้ง ถ้าหาเจอก็ดีไป แต่ถ้าไม่ ! ก็ต้องดมกลิ่นเหม็นไปหลายวันกว่าจะพบซาก จากปัญหานี้ "ลี-โอแรท" ซึ่งสกัดมาจากสมุนไพรไทยใกล้ตัว ภายใต้ความคิดของเด็กไทยหัวใส น.ส. เบญจมาศ ต้องประสิทธิ์ อดีตตัวแทนเยาวชนไทยเคมีโอลิมปิก ปี 1998 ซึ่งปัจจุบันเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น และ นายนพฤทธิ์ ต้องประสิทธิ์ น้องชาย จึงเกิดขึ้นซึ่งเป็นการนำปัญหาใกล้ตัว มาคิดวิเคราะห์เพื่อหาทางแก้ โดยยึดหลัก "ไม่ฆ่าแต่ใช้วิธีไล่"

นางสุรางค์ ต้องประสิทธิ์ บอกว่า "เบญจมาศจะเก่งเรื่องห้องแล็บ ส่วนน้องชายจะเก่งและชอบหาข้อมูล ชอบคิดค้น จึงได้เริ่มหาข้อมูลจากสื่อต่างๆ รวมไปถึงเน็ตด้วย โดยแรกๆ จะทำแบบลองผิด ลองถูก

สูตรแรกเริ่มส่วนผสม จะเป็นน้ำมันก๊าด ลูกเหม็น ซึ่งไม่ได้ผลเท่าใดนัก จึงมาศึกษาค้นคว้าจากตำราต่างๆ ที่ว่าหนูไม่ชอบกลิ่นอะไร ก็มาลองผิดลองถูกใหม่อีก กระทั่งมาได้ข้อสรุปที่พืชสมุนไพรไทย"

โดยแรกๆ ก็จะให้คุณพ่อลองเอาไปใช้ก่อน พร้อมทั้งเก็บข้อมูลเรื่อยๆ และแจกจ่ายให้กับเพื่อนๆที่มีปัญหาในเรื่องเดียวกัน ซึ่งหลายๆคนแนะว่า น่าจะทำออกมาขาย เพราะหนูเป็นปัญหาที่ทุกคนเจอ และยังเป็นการสานต่อความคิดของเด็กๆ ที่สำคัญไม่ต้องกลัวว่าแมวหรือสุนัขในบ้านจะกิน เพราะในส่วนผสมไม่ได้ใช้อาหารเป็นตัวล่อและยังทำมาจากสมุนไพรในบ้านเรา

สำหรับส่วนผสม ตัวหลักจะมี กะเพรา สะระแหน่ มะกรูด นำไปสกัดเอาน้ำมัน เพื่อใช้กลิ่นเปปเปอร์มิ้นต์ โดยส่วนหนึ่งจะเป็นออยล์ เมนทอลเกล็ด และส่วนผสมตัวอื่น ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยได้ทุกอย่าง เสร็จแล้วนำส่วนต่างๆ มาผสมจนกระทั่งเป็นเนื้อเดียวกัน เวลาใช้แต่ละชิ้นจะวางห่าง 1.5 เมตร โดยรัศมีส่งกลิ่นประมาณ 3 ตารางเมตร และอยู่ได้นาน 30 วัน

ที่ผ่านมานอกจากจะนำไปวางในห้องเก็บของ ฝ้าเพดาน และด่านตาชั่งน้ำหนัก ยังมีชาวสวนนำไปใช้ในแปลงผักปลอดสาร ซึ่งปลูกไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน

นอกจากผลิตสมุนไพรไล่หนูแล้ว สองพี่น้องยังได้ช่วยกันคิดสูตรผลิตยาเพื่อไล่แมลงวัน ตัวเบน มดแดง ยุง แมลงหวี่ โดยสามารถฉีดบนโต๊ะ อาหารซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้ เพราะทำมาจากสมุนไพรเช่นกัน และหากต้องการพิสูจน์ว่าแนวคิดเด็กไทย จะสามารถปราบน้องหนูได้จริง หรือไม่ติดต่อไปได้ที่ โทร.0-2651-6808.


เพ็ญพิชญา เตียว




http://onknow.blogspot.com/2008/04/blog-post_719.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/09/2011 9:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

553. จุลินทรีย์สร้างโรงปุ๋ย


จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีหลากหลายชนิด เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส กระทั่งไวรัส ต้นตอของสารพัดโรค

นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบจุลินทรีย์ด้วยการเฝ้าสังเกต และการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งสามารถขยายภาพได้หลายเท่า ทำให้มนุษย์สามารถเข้าถึงปมปริศนานี้ได้ และแยกแยะใช้จุลินทรีย์เป็นประโยชน์ได้


ในธรรมชาติมีจุลินทรีย์รอบๆ ตัว ซากพืชซากสัตว์มีจุลินทรีย์ทั้งนั้น ทำหน้าที่ย่อยสลายให้ผุพังเน่าเปื่อย เป็นประโยชน์ต่อดินและพืชพันธุ์

ผมเองก็เพิ่งรู้จากปากรองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน คุณฉลอง เทพวิทักษ์กิจ ว่า สารเร่งพด.สารพัดสูตรของกรมพัฒนาที่ดิน แท้ที่จริงคือจุลินทรีย์นั่นเอง จากปี 2529 ที่เริ่มนำสารเร่งพด.1 เข้าสู่ตลาดเกษตรกร เพื่อทำหน้าที่ช่วยสร้างปุ๋ยหมัก จนกระทั่งวันนี้กรมพัฒนาที่ดินมีสารเร่งพด.12

แต่ละสูตรก็มีจุลินทรีย์ต่างกันบ้าง ซ้ำซ้อนกันบ้าง เพื่อให้ทำหน้าที่สอดคล้องกับภารกิจที่เกษตรกรต้องการ เช่น เพิ่มธาตุอาหารในดินเพื่อให้พืชใช้ประโยชน์ได้ ช่วยควบคุมโรค อาทิ รากเน่า โคนเน่า เป็นต้น หรือกระทั่งช่วยชุมชน หรือภาคธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตร ในการแปรขยะให้เป็นทองคำ เช่น กำจัดของเสียในธุรกิจให้เป็นน้ำหมักชีวภาพ

ผมเพิ่งถึงบางอ้อว่า จุลินทรีย์จากการวิจัยพัฒนาของกรมพัฒนาที่ดินได้มีส่วนสำคัญในการขยายตัวในการใช้อย่างมโหฬารโดยไม่รู้มาก่อน โดยเฉพาะในหมู่เกษตรกร และแม้กระทั่งน้ำมหัศจรรย์ของป้าเช็งก็เอาหลักจุลินทรีย์มาใช้ แต่ป้าเช็งไปไกลเกินความเป็นจริง จนต้องเจอคดี

รองฯฉลองบอกว่า กรมพัฒนาที่ดินตั้งธงใหญ่ไว้ว่า จะใช้จุลินทรีย์ช่วยสร้างโรงปุ๋ยในดิน ผมฟังก็หูผึ่ง รองฯฉลองบอกต่อว่า ทุกวันนี้ กรมและเกษตรกรก็ใช้จุลินทรีย์ช่วยสร้างปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพอยู่แล้ว เลยคิดการณ์ไกลว่า อยากให้จุลินทรีย์ช่วยสร้างโรงปุ๋ยในดินโดยตรงเลยได้ไหม?โดยค้นหาจุลินทรีย์ตัวเก่งมาสร้างธาตุอาหารหลักในดินโดยตรง เช่นไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม หรือ N P K ที่พืชต้องการนั่นแหละ

นักวิจัยของกรมฯอย่าง ทีมคุณฉวีวรรณ เหลืองวุฒิวิโรจน์ ผอ.ศูนย์ผลิต และเก็บรักษาจุลินทรีย์ทางการเกษตรบอกว่า ในทางวิทยาศาสตร์มีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะศูนย์ฯเองได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์มาหลายขนานและยาวนาน ดังนั้นจึงเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อยู่เหมือนกัน ยกตัวอย่างจุลินทรีย์ที่ดึงไนโตรเจนมาได้นั้นต้องอิงอาศัยอยู่กับปมรากถั่ว แต่ต้องหาจุลินทรีย์ที่ทำงานอิสระได้โดยไม่พึ่งปมรากถั่ว และมีประสิทธิภาพในการดึงไนโตรเจนไม่แพ้กัน หรือดีกว่า

จุลินทรีย์นี้จะเป็นสายพันธุ์ใหม่ อาศัยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ในการปรับปรุงพันธุ์ที่มีอยู่เดิม ซึ่งคุณฉวีวรรณเรียกว่า Cell Fusion เอาเซลล์จุลินทรีย์มาเชื่อมหลอมเป็นหนึ่งเดียวจนกว่าจะได้สายพันธุ์ที่ต้องการคือตรึงไนโตรเจนได้ดี และเป็นอิสระ

ผมภาวนาให้ฝันไกลของรองฯฉลองในการสร้างโรงปุ๋ยในดินไปให้ถึง และกลายเป็นจริง เพราะจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างมากมาย

เอาแค่คิด (ดี) อย่างเดียวก็ว่ามากแล้ว ยิ่งทำ (ดี) ก็ต้องขออนุโมทนาสาธุให้สำเร็จด้วย



พรชัย สุขสมสันต์
http://www.ryt9.com/s/nnd/956175
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 21 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©