-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 15, 16, 17 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 16

ลำดับเรื่อง.....


406. ชี้ช่องต่อยอดเกษตรพื้นที่สูง เพิ่มรายได้-จูงใจเกษตรกรรุ่นใหม่
407. อาชีพเกษตรกรรม จี้รัฐเร่งจัดการน้ำ
408. ได้เปรียบดุลการค้า 7.5 หมื่น ล. ชี้รวมยางพาราทะลุแสนล้าน
409. หนุนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
410. ปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ สร้างรายได้ชาวบ้านเดือนละ 3 หมื่น

411. ฝ้ายใบขนพันธุ์ใหม่ ตากฟ้า 84-4
412 โซนนิ่งปลูกลำไยนอกฤดู สกัดปัญหาราคาตกต่ำ
413. เพชรรุ่งมะเขือเทศสีดาพันธุ์ใหม่ ทนแล้ง-ต้านไวรัสใบหยิกเหลือง
414. ทำปุ๋ยน้ำจากขึ้หมู
415. แหนแดง (Azolla)

416. ปุ๋ยทางใบจากมูลสุกร ม.เกษตรกำแพงแสน
417. สูตรปรับปรุงดินยางอายุน้อย ให้ทนแล้ง
418. ร่วมกันผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดี
419. ข้อแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช
420. ประวัติศาสตร์ปุ๋ย

421. แหล่งที่มาของอินทรีย์วัตถุในไร่-นา
422. ฮอร์โมนเร่งท่อนมันจากมูลสุกร
423. ใช้มูลสุกรพ่นข้าว-มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่ม-ลดต้นทุน ไร่ 3 พัน
424. เอสโตรเจน ในน้ำมะพร้าวอ่อน แก้อัลไซเมอร์
425. "เชื้อรา" สิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์

426. ปุ๋ยชีวภาพ กับ จุลินทรีย์
427. การใช้ขี้หมูในมันสำปะหลัง
428. ปุ๋ยอินทรีย์ ตรงกับความต้องการของต้นพืช
429. การใช้มูลสุกรแห้งในสูตรอาหารเลี้ยงสุกร
430. ขบวนการขี้หมูกู้ชาติ

-----------------------------------------------------------------------------------------





แนะสร้างแบรนด์ท้องถิ่นกาแฟ สศก.


406. ชี้ช่องต่อยอดเกษตรพื้นที่สูง เพิ่มรายได้-จูงใจเกษตรกรรุ่นใหม่



สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยเกษตรกรบนพื้นที่สูงที่ได้รับการส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบีก้า มีการรักษาและตัดแต่งกิ่งตามคำแนะนำของหน่วยงาน ช่วยให้ได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น และการผลิตได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) เนื่องจากไม่ใช้สารเคมี ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด พบเกษตรกรรุ่นใหม่ต้องการต่อยอดเพิ่มมูลค่าและสร้างแบรนด์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มรายได้แต่ขาดความรู้ประสบการณ์ วอนหน่วยงานช่วยส่งเสริมให้คำแนะนำ


โดย นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ศูนย์ประเมินผลได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์กาแฟที่ดอยผาฮี้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 15-19 สิงหาคม 2554 พบเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบีก้า ได้รับการอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปลูก ดูแลรักษาและตัดแต่งกิ่งเพื่อเพิ่มผลผลิตกาแฟอายุมาก เกษตรกรยอมรับและนำความรู้ไปปฏิบัติตามค่อนข้างมาก ซึ่งเห็นว่าสามารถเพิ่มผลผลิตได้จริง โดยเกษตรกรไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช การผลิตจึงได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร สำหรับตลาดกาแฟไม่มีปัญหา เนื่องจากมีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน โดยจำหน่ายเป็นกาแฟกะลาที่แกะเปลือกตากแห้งแล้วราคากิโลกรัมละ 95-110 บาท


นอกจากนี้เกษตรกรรุ่นใหม่ต้องการต่อยอดการตลาด เพราะนอกจากขายผลผลิตเป็นวัตถุดิบให้กับพ่อค้าแล้ว น่าจะมีการแปรรูปขายเป็นกาแฟคั่วบด และชงขายเป็นกาแฟสดในนามแบรนด์ท้องถิ่น สร้างชื่อเสียงและเพิ่มรายได้ให้ชาวดอย ซึ่งมีการทำสวนกาแฟเป็นอาชีพหลักเพียงอย่างเดียว


อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรหาแนวทางส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่บนพื้นที่สูง ซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ต้องการพัฒนาสินค้าของตนเอง แต่ขาดความรู้ประสบการณ์หากประสบความสำเร็จ นอกจากช่วยเพิ่มรายได้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตแล้ว ยังเป็นการใช้พื้นที่ ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการบุกรุกพื้นที่ป่า ต้นน้ำ ลำธาร ได้ด้วย


http://www.naewna.com/news.asp?ID=278156


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:43 am, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สศก.วัดดัชนีผาสุก คนอีสานพึงพอใจ


407. อาชีพเกษตรกรรม จี้รัฐเร่งจัดการน้ำ


นางวรรณภา ยงเจริญ ผอ.สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยว่า เมื่อวันที่ 11-15 มิถุนายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ได้ลงพื้นที่สอบถามความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับความพอใจและความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม หลังจากที่ได้มีการอบรม ฝึกวิชาชีพ และส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไประยะหนึ่งแล้ว เพื่อใช้ประกอบการจัดทำดัชนีความผาสุกของเกษตรกร

โดยช่วงแรกได้สอบถามความคิดเห็นของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร และมุกดาหาร พบว่า เกษตรกรมีความสุขในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 63.30 ระดับปานกลางร้อยละ 30.94 มีความชอบเล็กน้อยร้อยละ 4.32 และไม่ชอบเลยร้อยละ 1.44 มีความภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม ระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 67.63 ระดับปานกลาง ร้อยละ 28.78 ระดับเล็กน้อย ร้อยละ 2.16 และไม่ภูมิใจเลยร้อยละ 1.44 ปัญหาที่ต้องการให้เข้าไปช่วยได้แก่ ปัญหาเรื่องน้ำ โดยขอให้มีการสร้างระบบบริหารจัดการน้ำให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านเกษตรกรรมและการบริโภค

สำหรับประเด็นความคิดเห็นการให้ลูกหลานสืบต่ออาชีพเกษตรกรหรือไม่นั้น พบว่าเกษตรกรต้องการให้ลูกหลานสืบสานอาชีพต่อไปสูงถึงร้อยละ 86.33 ขณะที่ปัจจุบันมีลูกหลานช่วยงานในฟาร์มเพียงร้อยละ 57.55 และครัวเรือนเกษตรร้อยละ 82.73 มีการออมเงินสำหรับใช้จ่ายในอนาคต


http://www.naewna.com/news.asp?ID=66822
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ค้าเกษตรผ่านครึ่งปีแรกกระฉูด

408. ได้เปรียบดุลการค้า 7.5 หมื่น ล. ชี้รวมยางพาราทะลุแสนล้าน


นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ไทยได้ดำเนินการเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และเขตการค้าเสรีอื่นๆ มาระยะหนึ่งแล้ว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง พบว่า การค้าสินค้าเกษตรไทยยังคงรักษาความได้เปรียบดุลการค้าไว้ได้ในเกือบทุกคู่เจรจา โดยการค้าสินค้าเกษตรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่ได้ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ปี 2553 แล้วนั้น ปรากฏว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 การค้าสินค้าเกษตร (ไม่รวมยางพารา) ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 75,824 ล้านบาท และหากคิดรวมสินค้ายางพาราเข้าไว้ด้วยจะทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าสูงถึง 105,369 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2553 โดยสินค้าส่งออกสำคัญ คือ น้ำตาล ยางพารา ข้าว และสินค้านำเข้าสำคัญ คือ น้ำมันพืช/สัตว์ ปลาและสัตว์น้ำ

สำหรับความตกลง FTA อื่นๆ ของไทยที่มีผลบังคับใช้แล้ว พบว่า สถานการณ์การค้าในช่วงครึ่งปีแรก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ไทยยังคงได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรเกือบทุกคู่เจรจา โดยไทยได้เปรียบดุลการค้ากับ

ญี่ปุ่น 77,667 ล้านบาท
จีน 19,478 ล้านบาท
เกาหลี 8,238ล้านบาท
ออสเตรเลีย 2,676 ล้านบาท ตามลำดับ

แต่สำหรับนิวซีแลนด์ ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 4,796 ล้านบาท ซึ่งเป็นลักษณะเช่นเดียวกับก่อนมี FTA เนื่องจากต้องพึ่งพาการนำเข้านมผงและอาหารทารก

นอกจากนี้หลังจากการเปิด Early Harvest สินค้าเกษตร 11 รายการกับอินเดียนั้น ไทยเป็นฝ่ายขาดดุล 82 ล้านบาท (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย) เนื่องจากนำเข้าองุ่นสดเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากการติดตามการค้าในภาพรวมแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบระดับพื้นที่ โดยได้ตั้งคณะทำงานติดตามและเฝ้าระวังการนำเข้าสินค้าเกษตรระดับจังหวัด (Mobile Units) กระจายในทุกภาค ซึ่งสถานการณ์การนำเข้า-ส่งออกในระดับพื้นที่ยังอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติ และยังคงมีการลักลอบนำเข้า-ส่งออกในบางจังหวัด โดยสินค้าที่มีการลักลอบ เช่น ยางพารา ปลาสด น้ำมันปาล์ม น้ำตาล เป็นต้น แต่มีมูลค่าไม่มากนัก นายอภิชาต กล่าวทิ้งท้าย


http://www.naewna.com/news.asp?ID=277045


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/09/2011 7:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

409 หนุนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์


นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ รมช.เกษตรฯกล่าวภายหลัง เปิดประธานพิธีเปิดงาน OTOP ศรีสะเกษ@กทม.ครั้งที่ 2 ประจำปี 2554 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2554 ณ ศูนย์จำหน่ายสินค้า เจเจ มอลล์ จตุจักร ว่า โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) นับเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและความยากจน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชน มีการผลิตสินค้าจากวิถีชีวิต แนวคิด ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชองชุมชน พัฒนาต่อยอดจากระดับท้องถิ่นไปสู่สากล ก่อให้เกิดอาชีพ มีรายได้และสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชน โดยจังหวัดศรีสะเกษได้สนับสนุนนโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยใช้งบประมาณจากยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ ในปีงบประมาณ 2554 เพื่อเพิ่มศักยภาพกลุ่มทอผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ การแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ การคัดสรร สุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัด รวมทั้งการจัดหาช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับกลุ่ม OTOP


การจัดงาน OTOP ศรีสะเกษ@กทม.ที่จัดขึ้นในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 โดยได้บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มผู้ซื้อผู้ขายและผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ทำให้มียอดจำหน่ายและยอดสั่งจองสินค้าภายในงานจำนวนมาก สินค้าหลายชนิดเป็นที่ต้องการของตลาด อาทิ ข้าวหอมมะลิ ดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ และผ้าไหม เป็นต้น ส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดศรีสะเกษ มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นรวมไปถึงโอกาสทางการค้า และช่องทางการจำหน่ายที่มีมากขึ้นตามไปด้วย


“จังหวัดศรีสะเกษ ปลูกได้ทั้งข้าวหอมมะลิ ยางพารา หอม กระเทียม และผลไม้หลากหลายชนิดได้อย่างมีคุณภาพ และยังสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าเป็นสินค้า OTOP ที่มีคุณภาพ ระดับ 4-5 ดาว ส่งขายมีรายได้ปีละไม่น้อยกว่า 2,500 ล้านบาท อีกทั้งสินค้าดังกล่าว ยังได้รับการรับรองจากจังหวัดศรีสะเกษภายใต้เครื่องหมายรับรองศรีสะเกษแบรนด์ ซึ่งการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณค่า มีจุดเด่น และจุดขายได้จนเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชนให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญผู้ผลิต ผู้ประกอบการเองจะต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญในปี 2558 ประเทศไทยได้ร่วมกับกลุ่มอาเซียนเปิดการค้าเสรี ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าจากผลผลิตด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดอาเซียนและตลาดโลกมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าปลอดสารเคมีจะเป็นที่นิยมของตลาด เพราะในปัจจุบันทุกผู้บริโภคได้หันมาให้ความสนใจด้านสุภาพมากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิตสินค้าในชุมชนจึงต้องมีปรับตัวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภคด้วย” นายพรศักดิ์ กล่าว



http://www.naewna.com/news.asp?ID=278233
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

410. ปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ สร้างรายได้ชาวบ้านเดือนละ 3 หมื่น



ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร คณะอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า การวิจัยการผลิตปุ๋ย หมักระบบกองเติมอากาศ (Aerated Static Pile Commposting System) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) เพื่อให้ได้ระบบการผลิตปุ๋ยหมักในเชิงพาณิชย์ของชุมชนโดยไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ย พบว่า การหมักปุ๋ยระบบกองเติมอากาศสามารถหมักปุ๋ยได้เสร็จ ภายในระยะเวลา 1 เดือน ได้ปุ๋ยคุณภาพดี โดยไม่ต้องพลิกกลับกองปุ๋ยและมีค่าองค์ประกอบธาตุอาหารตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรฯ กำหนดนอกจากนี้ ยังสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ประมาณมากถึงเดือนละ 10 ตัน


ทั้งนี้ การหมักปุ๋ยทำโดยกองบนพื้นดินกลางแจ้งและไม่ต้องมีโรงเรือน ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยได้ทุกฤดูกาล มีการทำงานที่ง่ายและใช้พลังงานต่ำ ช่วยให้เกษตรกรสามารถนำระบบนี้ไปผลิตปุ๋ยหมักในเชิงพาณิชย์เป็นอาชีพเสริมได้ เป็นอย่างดี โดยการผลิตปุ๋ยหมัก นี้มีค่าการลงทุนขั้นต้นประมาณ 34,000 บาท ประกอบด้วย พัดลม ระบบท่อ และระบบ ไฟฟ้า แต่หากลงทุนชุดใหญ่เต็มรูปแบบใช้เงินลงทุนประมาณ 1 แสนบาท เกษตรกรจะ มีรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยหมักไม่ต่ำกว่าเดือนละ 30,000 บาท ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มเกษตรกรผลิตปุ๋ยหมักด้วยระบบนี้ไม่ต่ำกว่า 300 แห่งแล้ว


ผศ.ธีระพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เกษตรกรผู้ที่สนใจงานวิจัยดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่ ศูนย์สาธิตการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร.053-875563 หรือ www.compost.mju.ac.th



http://www.naewna.com/news.asp?ID=51925
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

411. ฝ้ายใบขนพันธุ์ใหม่ ตากฟ้า 84-4



ฝ้ายเป็นพืชเส้นใยที่มีบทบาท และมี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และหัตถกรรมสิ่งทอพื้นบ้าน แต่ฝ้ายกลับเป็นพืชที่เกษตรกรถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการปลูก เนื่องจากต้องใช้แรงงานและมีต้นทุนในการผลิตสูงกว่าพืชไร่ชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะในส่วนของการจัดการศัตรูฝ้ายที่สำคัญคือ เพลี้ยจักจั่นฝ้าย เป็นพาหะของ เชื้อไวรัส ที่ทำให้เป็นโรคใบหงิก ทำให้เกษตรกร ต้องใช้สารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัด ทำให้เพิ่มปัญหาของมลพิษ และอันตรายต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

สำหนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ (วช.) ได้ให้ทุนสนับสนุนแก่ศูนย์ วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในการพัฒนาพันธุ์ฝ้ายใบขน เพื่อลดการเข้าทำลายของเพลี้ย จักจั่นฝ้าย และให้มีความต้านทานต่อ โรคใบหงิก สำหรับปลูกในสภาพที่มีการจัดการโรคและแมลงศัตรูฝ้ายแบบผสมผสาน เพื่อลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูฝ้าย อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด

ดร.ปริญญา สีบุญเรือง นักวิชาการ เกษตร ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กล่าวว่าพันธุ์ฝ้ายที่เกษตรกรนิยมปลูกในปัจจุบันเป็นฝ้ายใบเรียบ ซึ่งมีการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นฝ้าย อย่างรุนแรงในสภาพที่ฝนทิ้งช่วง โดยเพลี้ยจักจั่น ฝ้ายเข้าดูดน้ำเลี้ยงที่ใบฝ้าย ทำให้การสังเคราะห์ แสงลดลง ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพเส้นใยฝ้ายลดลงมาก อีกทั้งเพลี้ยอ่อนฝ้าย ซึ่งนอกจากจะทำความเสียหายแล้ว ยังเป็นพาหะของเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคใบหงิก ซึ่งจัดเป็นโรคสำคัญอันดับหนึ่งของฝ้าย ทำให้ผลผลิตลดลงกว่า 60% เกษตรกรจึงจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณ และจำนวนครั้งในการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัด ทำให้เพิ่มปัญหาของมลพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อเกษตรกร และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

จากการศึกษาหาลักษณะสำคัญเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการพัฒนาพันธุ์ให้ต้านทานต่อโรคหรือแมลงศัตรูบางชนิดควบคู่ไปกับการจัดการโรคและแมลงศัตรูฝ้ายแบบ ผสมผสาน จะสามารถลดการใช้สารฆ่าแมลง อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด พบว่าฝ้ายที่มีลักษณะใบมีขนปกคลุมหนาแน่นมาก มีความสำพันธุ์กับการต้านทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่น โดยใบฝ้ายที่มีขน มีความต้านทานแบบต่อแมลงหลายชนิด ในอดีตที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายให้มีขนที่ใบ แต่ไม่เป็นที่นิยมปลูกกันแพร่หลาย เนื่องจากพันธุ์ฝ้ายใบขนที่พัฒนาแม้จะทนทานต่อเพลี้ยจักจั่น แต่มีเปอร์เซ็นต์เส้นใยต่ำ เช่น พันธุ์รัชดา 1 และรัชดา 2 ที่มีเปอร์เซ็นต์เส้นใยเพียง 33 และ 32%

ทางศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ จึงได้พัฒนาพันธุ์ฝ้ายตากฟ้า 84-4 โดยผสมข้ามระหว่างพันธุ์ IRMA 1243 และ GDPSR 38-136 หรือตากฟ้า 2 จากนั้นทำการคัดเลือกแบบเก็บรวม ใน ชั่วรุ่นที่ 2-4 และคัดเลือกแบบสายพันธุ์บริสุทธิ์ ในชั่วรุ่นที่ 5-6 ภายใต้สภาพที่มีการปลูกเชื้อใบหงิกในสภาพไร่ โดยไม่มีการพ่นสาร ป้องกันกำจัดเพลื้ยอ่อนและเพลี้ยจักจั่นฝ้าย จนได้สายพันธุ์ฝ้าย ซึ่งมีใบปกคลุมด้วยขน ทนทานเพลี้ยจักจั่นฝ้าย ต้านทานโรคใบหงิก ให้ผลผลิตและคุณภาพเส้นใยที่ดี แล้วจึงนำไปทำการประเมินผลผลิตและคุณภาพเส้นใยตามขั้นตอนปรับปรุงพันธุ์ ทั้งการเปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร

จากการเปรียบเทียบผลผลิตของฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 84-4 ในขั้นตอนการเปรียบเทียบเบื้องต้น มาตรฐาน ในท้องถิ่น และในไร่ เกษตรกรพบว่า ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 84-4 ให้ผลผลิตเฉลี่ยในระดับเดียวกับพันธุ์ตากฟ้า 2 คือ 260 กก.ต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบ เปอร์เซ็นต์หีบและคุณภาพเส้นใยของพันธุ์ตากฟ้า 84-4 จากการเปรียบเทียบ มาตรฐานในท้องถิ่นและไร่เกษตรกร พบว่าให้เปอร์เซ็นต์หีบ 38% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ในขณะที่ตากฟ้า 2 มีเปอร์เซ็นต์หีบเพียง 36.7 และมีความยาวเส้นใยสูงถึง 1.32 นิ้ว คุณภาพเส้นใยด้านความเหนียว ความสม่ำเสมอ และความละเอียดอ่อนอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์ตากฟ้า 2

ส่วนการประเมินปฏิกิริยาของพันธุ์ฝ้ายต่อเพลี้ยจักจั่นฝ้าย พบว่าเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในพันธุ์ตากฟ้า 84-4 น้อยกว่าพันธุ์ตากฟ้า2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าพันธุ์ตากฟ้า 84-4 มีปริมาณขนบนใบและบนเส้นใบ มากกว่าพันธุ์ตากฟ้า 2 อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ซึ่งทำให้มีปริมาณการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นฝ้าย น้อยกว่า พันธุ์ตากฟ้า 2 และการทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์ฝ้ายต่อโรคใบหงิก พบว่าพันธุ์ตากฟ้า84-4 ไม่เป็นโรคใบหงิก ซึ่งทำให้สามารถลดการ ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงดูดพวกเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยจักจั่น

ในระดับหนึ่ง ดังนั้นฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 84-4 จึงเหมาะสมที่จะส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูก ในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ที่ก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งเป็นระยะเวลานาน ในแหล่งปลูกฝ้ายในประเทศไทย พบว่า พันธุ์ตากฟ้า 84-4 ให้ผลผลิตและคุณภาพเส้นใยที่ดี และมี ความต้านทานต่อโรคใบหงิกระดับเดียวกับพันธุ์ตากฟ้า 2 แต่มีลักษณะ ที่ดีกว่าคือ ใบมีขนปกคลุมทำให้ทนทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่น มากกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ปุยสูงกว่า ทำให้มีผลผลิตเส้นใยสูงกว่า



http://www.naewna.com/news.asp?ID=277987
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

412 โซนนิ่งปลูกลำไยนอกฤดู สกัดปัญหาราคาตกต่ำ



ขณะนี้ผลไม้ที่กำลังออกสู่ตลาดในปริมาณมาก คือ ลำไย ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าปีนี้เป็นปีที่เกษตรกรชาวสวนลำไยค่อนข้างพอใจกับสถานการณ์ราคาจำหน่ายลำไยที่ไม่ตกต่ำเหมือนทุกปีที่ผ่านมา สาเหตุน่าจะมาจากการที่สภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวนทำให้ผลผลิตลำไยทยอยออกมาไม่กระจุกตัวจนทำให้ราคาตกต่ำ ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐที่มีการวางแผนมาเป็นอย่างดี

นายชวลิต ชูขจร รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า สถานการณ์ลำไยในพื้นที่ภาคเหนือในขณะนี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากน่าจะมีผลผลิตออกมาสู่ตลาดจำนวน 410,000 ตัน ซึ่งน้อยกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าจะมีผลผลิตออกมาไม่ต่ำกว่า 450,000 ตัน โดยขณะนี้ผลผลิตลำไยออกสู่ตลาดมาแล้วประมาณ 50% ราคาเกรด AA อย่ที่ประมาณ 25-30 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้สถานการณ์ลำไยในฤดูกาลผลิตนี้ไม่ค่อยมีปัญหา เนื่องมาจากคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคเหนือ ได้วางมาตรการการกระจายผลผลิตลำไยออกนอกแหล่งผลิต โดยมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายระหว่างผู้ผลิต เครือข่ายต่างๆ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม หอการค้า ช่วยกันกระจายผลผลิต

ประกอบกับการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ที่ขณะนี้มีความต้องการซื้อค่อนข้างสูง ที่สำคัญคือ ในช่วงที่ผ่านมาสภาพอากาศมีความแปรปรวน อากาศหนาวค่อนข้างนาน ทำให้ผลผลิตลำไยออกมาไม่พร้อมกัน และออกช้ากว่าทุกปี จึงไม่เกิดปัญหาผลผลิตออกมามากจนล้นตลาดอย่างเช่นที่เคยเป็นมาตลอด ดังนั้น จึงเชื่อมั่นว่าผลผลิตที่กำลังจะออกมาอีกในช่วงเดือนนี้อีกประมาณ 50% ที่เหลือจะไม่มีปัญหาเช่นเดียวกัน ราคาน่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาลำไยในพื้นที่ภาคเหนือในระยะยาว ทางอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคเหนือ ได้มีการเชิญตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกลำไย มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในคณะอนุกรรมการชุดนี้ เพื่อจะได้นำเสนอความคิดเห็นจากผู้มีประสบการณ์ตรง สำหรับเป็นแนวทางในการนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและเหมาะสมต่อไป

"เราไม่ต้องการแก้ปัญหาผลผลิตลำไยล้นตลาดแบบปีต่อปี ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาข้อมูลเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด โดยขณะนี้พบว่าทางออกนั้นคือการต้องทำให้ผลผลิตลำไยออกนอกฤดู เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตกระจุกตัว ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการทดลองเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ดังนั้น ทางอนุกรรมการฯ จะมีการตั้งคณะทำงานโดยมีการร่วมมือกันของภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนเกษตรกรผู้ปลูกลำไย โดยเบื้องต้นได้มอบหมายให้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปศึกษาเทคนิคการผลิตลำไยนอกฤดูจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไรบ้าง เมื่อมีความชัดเจนจะของบประมาณสนับสนุน และให้กรมส่งเสริมการเกษตรคัดเลือกพื้นที่เพื่อส่งเสริมเป็นโซนนิ่งต่อไป เนื่องจากการปลูกลำไยนอกฤดูจะต้องมีสภาพพื้นที่ที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ประกอบกับเกษตรกรต้องมีความรู้และประสบการณ์" นายชวลิต กล่าว

ด้าน นายประเทือง คงรอด รองประธานเครือข่ายผู้ผลิตลำไยภาคเหนือ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคเหนือ จะเห็นได้ว่าทางคณะอนุกรรมการชุดนี้มีการประชุมวางแผนขับเคลื่อนเรื่องการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทำให้สถานการณ์ลำไยในปีนี้ไม่ค่อยมีปัญหา และเกษตรกรก็ค่อนข้างพอใจกับการแก้ปัญหาของกระทรวงเกษตรฯ แต่ก็อยากฝากให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำคือ ภาคการผลิตอยากให้กรมส่งเสริมการเกษตรเข้ามาดูแลในเรื่องการถ่ายทอดเทคนิคในการผลิตลำไยนอกฤดู เพราะในฤดูมีผลผลิตออกมาแค่ช่วง 3 เดือน เหลืออีก 9 เดือนที่ไม่มีผลผลิต โดยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ มีพื้นที่ปลูกลำไยรวม 9 แสนไร่ เกษตรกร 1.5 แสนครัวเรือน

ดังนั้น ถ้าวางแผนกำหนดโซนนิ่งปลูกลำไยนอกฤดูแค่เพียง 5% ของพื้นที่ ก็ช่วยแก้ปัญหาลำไยกระจุกตัวในฤดูได้แล้ว โดยภาครัฐต้องมีแผนบริหารจัดการที่ดีกำหนดโซนนิ่งที่เหมาะสม ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งเชื่อมั่นว่าถ้าสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบก็จะช่วยให้ราคาลำไยมีเสถียรภาพ เกษตรกรผู้ปลูกลำไยก็จะมีรายได้ที่ดีขึ้น



http://www.naewna.com/news.asp?ID=277821
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

413. เพชรรุ่งมะเขือเทศสีดาพันธุ์ใหม่ ทนแล้ง-ต้านไวรัสใบหยิกเหลือง



มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศชนิดผลเล็กสีชมพู เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบของส้มตำ เมนูไทยที่โด่งดังไปทั่วโลก สำหรับเกษตรกรแล้ว มะเขือเทศสีดาเป็นผลผลิตที่ขายได้ราคาดี แต่การปลูกให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น กลับต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งอากาศที่ร้อนมากขึ้นทุกวัน ฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังต้องเจอกับโรคไวรัส ทั้งโรคใบจุดดวง โรคราแป้ง โรคใบด่างเรียวเล็ก และโรคเชื้อไวรัสใบหงิกเหลือง (Tomato yellow leaf curl virus (TYLCV)) ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดในขณะนี้ทำให้ใบม้วนงอ มีขนาดเล็กลง และต้นแคระแกร็น ซึ่งกำลังเป็นที่ระบาดอย่างหนักและเป็นปัญหาหลักของเกษตรกรในตอนนี้ ซึ่งล้วนส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง หรือ ต้องเสียเงินไปกับค่าบำรุงรักษาผลผลิตอย่างมหาศาล ซึ่งบางคราวก็ทำให้เกษตรกรหมดกำลังไปได้เหมือนกัน

บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ตราเครื่องบิน จึงได้คิดค้นพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศสีดาเพื่อแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการปลูกมะเขือเทศสีดาของเกษตรกรไทย จนได้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาค ของประเทศไทย นั่นคือ มะเขือเทศ สีดาพันธุ์เพชรรุ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทนต่ออากาศร้อนแล้งจัดได้ดี ให้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูง และที่สำคัญสามารถต้านทานเชื้อโรคต่างๆ ได้ดีมาก โดยเฉพาะโรคใบหงิกเหลือง ที่กำลังพบกันมากในกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศสีดาพันธุ์ทั่วไป

นายบุญเลิศ แก้วสามทอง เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศสีดา ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี กล่าวว่า ปลูกมะเขือเทศสีดามาเป็นเวลากว่า 24 ปี เริ่มต้นจากการปลูกมะเขือเทศพันธุ์น้ำเค็ม ซึ่งเป็นที่นิยมมากในตอนนั้น จนตอนหลังมีการพัฒนาพันธุ์ลูกผสมขึ้นมาใหม่ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามความนิยม ของตลาด ปัญหาที่พบมากในการปลูกมะเขือเทศ สีดาคือ

โรคจากไวรัสที่เกิดจากแมลงหวี่ขาว และโรคเหี่ยวเขียวที่เกิดจากแบคทีเรีย ในช่วงที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูง เมื่อแล้งมากๆ ไวรัสจะลงทำให้ยอดหยิก ติดลูกน้อยมาก แต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาได้รู้จักมะเขือเทศสีดาพันธุ์เพชรรุ่งซึ่งเป็นพันธุ์ของเจียไต๋ จึงทดลองปลูกสังเกตเห็นว่า ทนต่ออากาศร้อน ยอดใบสวยไม่เป็นโรค ติดดอกใหญ่เสมอกันหมด ให้ผลผลิตมากกว่าเดิมถึง 30% เปอร์เซ็นต์ และมีระยะเวลาการติดลูกยาวนานประมาณ 4-6 เดือน แถมคุณภาพ ของผลผลิตสูง คือ สีสวยน่ารับประทาน มีผลแข็งกว่า เนื้อแน่น ทำให้ยืดอายุการเก็บรักษาหลังการเก็บผลผลิต ไม่เสียหายขณะขนส่ง และมีน้ำหนักดีกว่าพันธุ์ทั่วไป

ในประเทศไทย มะเขือเทศสีดามีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ผลผลิตและผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับก็ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาของเกษตรกร และด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่เกษตรกรควรหันมาคำนึงถึงต้นทุนการผลิตและผลผลิตต่อไร่กันให้มากขึ้น หากมีตัวช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการบำรุงดูแลไปได้ ด้วยการเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความต้านทาน โรคสูง มะเขือเทศสีดาพันธุ์ เพชรรุ่งŽ จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีของเกษตรกร


http://www.naewna.com/news.asp?ID=275537
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 8:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

414. ทำปุ๋ยน้ำจากขึ้หมู





รศ.อุทัย คันโธ และ อ.สุกัญญา ?จัตตุพรพงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

ได้ศึกษาทดลองสกัดปุ๋ยจากมูลสุกร พบว่ามีธาตุอาหารพืช ทั้ง 13 ธาตุ เหมาะกับการปลูกพืช (ได้แก่ N, P, K, Ca, Mg, S, Fe, Mn, Cu, Zn, B, Mo และ Cl) มีฮอร์โมนพืชช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช และน้ำสกัดมูลสุกรจะไปคลุมจุลินทรีย์ที่เป็นเชื่อโรคกับต้นพืชด้วย ทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ไม่มีโรค แมลงรบกวน ไม่ต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงใดๆ เมล็ดข้าวมีคุณภาพดีมาก เมล็ดเต็ม น้ำหนักดี สีข้าวแล้วได้ข้าวสารมาก ปลายข้าวน้อย โรงสีพอใจมาก และได้ราคาเต็มไม่มีการตัดราคาเลย

ในระหว่างทดลอง ฝนทิ้งช่วงและอากาศแห้งแล้งกว่า 2 เดือน แต่ผลผลิตได้มากกว่าเดิม ซึ่งการปลูกข้าวแบบเดิมๆ ต้นข้าวแห้งตายหมดแล้ว

รศ.อุทัย แจงรายละเอียดว่า "นาข้าวที่ใช้ปุ๋ยน้ำสกัดเพิ่มผลผลิตมากกว่าแปลงใช้ปุ๋ยเคมี 166.6 กก.ต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตเพิ่ม 69% ลดต้นทุนการผลิตได้ 1,360 บาทต่อข้าว 1 ตัน (ลดลง 37.06%) และการปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มูลสุกรจะให้ผลผลิตสูงกว่าใช้ปุ๋ยเคมี โดยได้ผลผลิตเฉลี่ยถึง 1-1.3 ตันต่อไร่ เมล็ดมีน้ำหนักดีกว่าเดิม ขณะที่ต้นทุนการปลูกข้าวจะลดลงถึงไร่ละ 2,000-3,000 บาท?
สูตร วิธีทำน้ำสกัดมูลสุกร เพื่อใช้เป็นปุ๋ย
1. นำมูลสุกรแห้งบรรจุถุงไนล่อน แล้วแช่น้ำ ในถังหรือโอ่งดิน อัตราส่วนมูลสุกรแห้ง 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร

2. ปิดฝาให้สนิทหมักไว้ 24 ชั่วโมง

3. ยกถุงมูลสุกร ออกจากถัง นำน้ำสกัดส่วนที่เหลือประมาณ 8 ลิตรมาเจือจางกับน้ำ
- กากมูลที่เหลือนำไปทำปุ๋ยทางดิน
- กรณีพืชอายุสั้นหรือประเภทใบบาง เช่น ข้าว พืชผัก กล้วยไม้ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 20 ใช้ฉีดพ่น


การใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ ช่วยทำให้พืชได้รับธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารเร็วขึ้น ทำให้ข้าวมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ใบเขียว ใบตั้ง ส่งผลให้พืชมีการสังเคราะห์ด้วยแสงอย่างเต็มที่ อีกทั้งแมลงศัตรูพืชขาดแหล่งอาศัย นอกจากนี้ข้าวมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น เมล็ดข้าวเต่ง และผลผลิตได้มากขึ้น

การฉีดพ่นทางใบทำได้ดังนี้
- เมื่อข้าวมีอายุ 15 และ 30 วัน นำน้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 20 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3-5 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบอัตรา 40 ลิตรต่อไร่

- เมื่อข้าวมีอายุ 45, 60 และ 75 วัน นำน้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 10 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3-5 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบ อัตรา 40 ลิตรต่อไร่

- หากพบว่าข้าวบางบริเวณไม่สม่ำเสมอ ให้ใช้น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 10 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3-5 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบบริเวณที่ต้นข้าวเติบโตช้า จะช่วยให้ต้นข้าวโตสม่ำเสมอกันได้


http://nsw-rice.com/index.php/riceknowladge/fertirize/257-pig-ferti
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 8:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

415. แหนแดง (Azolla)





แหนแดงเป็นพืชน้ำเล็กๆพวกเฟิร์นชนิดหนึ่งเจริญเติบโตลอยอยู่ผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น

ทั่วไปแหนแดงที่พบในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดี่ยว คือ Azolla pinnata ต้นแหนแดงประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
ลำต้น (Rhizome)
ราก (Root)
และใบ (Lafe)

แหนแดงมีกิ่งแยกจากลำต้น ใบแหนแดงเกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไปแบ่งออกเป็น 2ส่วน คือ ใบบน (dorsal lafe) และใบล่าง (ventral lafe) มีขนาดใกล้เคียงกัน ใบล่างค่อนข้างโปร่งมีคลอโรฟิลน้อยมาก ใบบนเป็นสีเขียวมีคลอโรฟิลเป็นองค์ประกอบ ใบบนมีโพรงใบและใบสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiosis) สาหร่ายชนิดนี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียมให้แหนแดงเอาไปใช้ได้ ทำให้แหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง 3-5%

ประเทศไทยโดยกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสนใจทำการวิจัยค้นคว้าเรื่องแหนแดง พบว่าการเลี้ยงขยายแหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้พอๆ กับการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนตามอัตราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ

การขยายปริมาณแหนแดงสำหรับใช้เป็นเชื้อพันธุ์
การจัดการให้ได้ปริมาณของเชื้อพันธุ์แหนแดงตามต้องการและภายในระยะเวลาที่กำหนดขึ้นอยู่กับ


ปัจจัยหลัก คือ ปริมาณของเชื้อพันธุ์ที่ใช้เริ่มต้น ขนาดพื้นที่เลี้ยงเชื้อพันธุ์ และระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงขยายเชื้อพันธุ์ สำหรับเกษตรกรชาวนาทั่วๆไปซึ่งมีพื้นที่ทำนาไม่มากนัก พื้นที่ใช้สำหรับการเลี้ยงขยายเชื้อพันธุ์จึงใช้พื้นที่เล็กๆ เริ่มต้นใช้ประมาณ 500 กรัม/ตารางเมตร ปริมาณแหนแดงดังกล่าวจะกระจายคลุนที่ผิวน้ำบางๆและสามารถเจริญเติบโตเต็มพื้นที่ได้ภายในเวลา 4-6 วัน

การเลี้ยงขยายแหนแดงวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ได้ผลแน่นอน แหนแดงที่ขยายเต็มจะได้น้ำหนักแหนแดงสดประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม/ตารางเมตร ด้วยวิธีดังกล่าวแหนแดงจะเพิ่มปริมาณได้ตามต้องการโดยใช้พื้นที่ขยายเชื้อพันธุ์ให้สัมพันธ์บปริมาณที่ต้องการ





การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
1. แหนแดงมีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ขั้นตอนการปฎิบัติการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว มีดังนี้

2. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงใช้เป็นเชื้อพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 25-50 ตารางเมตร ต่อพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่

3. รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5-10 เซนติเมตร

4. ใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง โดยใช้แหนแดงที่ได้เตรียมขยายไว้แล้วอัตรา 50-100กิโลกรัม/ไร่

5. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 3 ก.ก./ไร่ ในวันใส่เชื้อพันธุ์แหนแดงใส่ปุ๋ยฟอสเฟตปริมาณเท่าเดิมหลังจากแหนแดงอายุ 7-10 วัน


ในสภาพเหมาะสม คือไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงรบกวน สิ่งแวดล้อมเหมาะสมแหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่นา ให้น้ำหนักสด 2-3 ตัน/ไร่ ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในการปฎิบัติเลี้ยงขยายแหนแดงเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวอาจจะเลี้ยงระยะก่อนปักดำ 3 สัปดาห์แล้วทำการไถกลบพร้อมกับการเตรียมแปลงปักดำข้าว หรือเริ่มเลี้ยงพร้อมปักดำเมื่อแหนแดงขยายเต็มพื้นที่แล้วปล่อยให้ตายเองตามธรรมชาติ

การใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนใส่ในนาแล้วไถกลบ มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใส่บนผิวดินโดยไม่มีการไถกลบ

ในกรณีแหนแดงก็เช่นเดียวกัน การเลี้ยงขยายแหนแดงก่อนปักดำแล้วไถกลบในระยะปักดำดีกว่าวิธีไม่ไถกลบ

และจากการทดลองของกรมวิชาการเกษตร พบว่าการเลี้ยงแหนแดงหนึ่งชุดก่อนปักดำแล้วไถกลบ ระยะปักดำกับการเลี้ยงปักดำโดยไม่ต้องมีการไถกลบแหนแดงสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ไม่แตกต่างกัน และไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 4.8-6.0 กิโลกรัม N/ไร่



http://nsw-rice.com/index.php/riceknowladge/fertirize/244-azolla
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 9:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

416 ปุ๋ยทางใบจากมูลสุกร ม.เกษตรกำแพงแสน


"สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์สัตว์" มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้วิจัยการใช้"น้ำสกัดจากมูลสุกร"เพื่อเป็นปุ๋ยทางใบแก่พืช จากแนวคิดว่า การให้อาหารแก่สุกรขุนซึ่งมีธาตุอาหารครบถ้วนในปริมาณสูง เมื่อผ่านกระบวนการย่อยของสุกร จะมีธาตุอาหารพืช 13 ชนิด ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และฮอร์โมนพืช สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยทางใบที่มีคุณภาพสูง


เกษตรกรสามารถผลิตน้ำสกัดมูลสุกรได้เองด้วยวิธีง่าย ๆ โดยนำมูลสุกรขุนตากแห้งแล้ว 1 กิโลกรัม มาใส่ในถุงตาข่าย แช่ในน้ำสะอาดปริมาณ 10 ลิตร ปิดฝาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก็จะได้น้ำสกัดมูลสุกรเข้มข้น นำไปใช้ได้ทันที หรือจะหมักทิ้งไว้อีก 2 สัปดาห์ ก็จะมีฮอร์โมนพืชที่มีประโยชน์มากขึ้น ส่วนกากมูลสุกรที่เหลือนำไปใช้เป็นปุ๋ยคอกทางดินได้เป็นอย่างดี วิธีการใช้ทางใบให้นำน้ำสกัดมูลสุกรผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 20 ฉีดพ่นให้พืชสัปดาห์ละครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี หรือจะใช้ร่วมกับปุ๋ยเกร็ดทางใบก็ได้


ในแปลงสาธิตการปลูกพืชโดยใช้น้ำสกัดมูลสุกรพ่นทางใบ พบว่า พืชผักสวนครัว เจริญเติบโตเร็ว มีใบใหญ่ เขียวเป็นมัน แตกหน่อดี ในพืชสมุนไพรเช่น ขมิ้น พบว่าให้หัวที่ใหญ่ขึ้น ส่วนไม้ผล เช่น มะละกอ มะนาว ส้ม และทุเรียน ให้ติดผลดี ผลดก ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 1 เท่าตัว ทั้งนี้หากต้องการให้ผลไม้มีรสชาติหวานขึ้น ให้ใส่ปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูงเช่น 0-0-60 ก่อนเก็บเกี่ยวเพียงเล็กน้อย


นักวิชาการแนะนำว่า การใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบนั้น ช่วยให้พืชดูดซึมและนำไปใช้ได้เร็ว คล้ายการให้อาหารทางเส้นเลือดแก่ผู้ป่วย ซึ่งเกษตรกรที่นำไปใช้จะลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยลงได้มาก




(ติดต่อ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จ.นครปฐม โทร.034-352035)

http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=144445
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 9:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

417. สูตรปรับปรุงดินยางอายุน้อย ให้ทนแล้ง


ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพาราในภาคเหนือ และภาคอีสาน โดยเฉพาะภาคอีสานนั้น มักจะพบปัญหาการเหี่ยวตายของต้นกล้ายางพาราในช่วง 1 - 2 เดือนแรก เนื่องจากไม่สามารถทนแล้งได้ เพราะรากของต้นยางพารายังไม่ยาวพอที่จะช่วยดูดซึมน้ำ

ตามทันเกษตรวันนี้ มีเทคนิคในการปรับปรุงคุณภาพดินในพื้นที่แห้งแล้ง"ด้วยสูตรปรับปรุงดิน"ที่คิดค้นขึ้นมา จนสามารถปลูกกล้ายางพาราได้ ซึ่งเป็นผลงานของนักวิจัย ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น มาแนะนำ

สูตรปรับปรุงดินที่ได้จากการศึกษานี้ ทีมวิจัยได้นำแร่ดินเหนียวหรือ"เบนโทไนท์" ที่มีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดี สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไป หรือเกษตรกรจะนำดินจอมปลวก มาใช้แทนแร่ดินเหนียวก็ได้โดยนำมาใช้ร่วมกับวัสดุปลูกที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทีมวิจัยแนะนำให้ใช้ร่วมกับขุยมะพร้าว จะใช้แร่ดินเหนียวเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรวมเท่านั้น หรือหากจะใช้ร่วมกับวัสดุปลูกอื่นๆ เช่น แกลบดิบ แกลบดำ หรือ เปลือกถั่ว ก็ให้ใช้แร่ดินเหนียวหรือดินจอมปลวก ผสมลงไปไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์

สำหรับการนำไปใช้ แนะนำให้ขุดหลุมปลูกลึก 50 เซนติเมตร แล้วรองก้นหลุมด้วยวัสดุปลูกหลุมละ 1 กำมือ ส่วนต้นยางอายุ 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ปี ให้ขุดเป็นร่อง รอบๆโคนต้น ห่างออกมาประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วจึงค่อยใส่วัสดุปลูกลงไป ต้นละประมาณครึ่งกิโลกรัม เพียงปีละครั้งเท่านั้น

นักวิจัยได้ศึกษาแล้วว่า การปรับปรุงดินด้วยวิธีการนี้ ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น ช่วยให้กล้ายางพารา มีโอกาสรอดตายสูงในสภาพแห้งแล้ง เกษตรกรที่พบกับปัญหานี้ สามารถนำไปปรับใช้ได้


http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=156063
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

418. ร่วมกันผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดี


เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่บ้านดงนุ่น อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รวมกลุ่มกันจัดตั้ง "ศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน"เพื่อร่วมกันผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดี แก้ปัญหาขาดแคลนเมล็ดข้าวที่จะนำไปปลูก

ปัจจุบัน ทางศูนย์ฯ มีสมาชิก 54 ราย พื้นที่ปลูกรวมประมาณ 180 ไร่ โดยเน้นผลิตเมล็ดข้าว 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สุพรรณบุรี 1 และ กข.31 มีเจ้าหน้าที่เกษตรเข้ามาให้ความรู้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมดินปลูก วิธีการปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว จนถึงการบรรจุและการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี ตามคำแนะนำของกรมการข้าว

เกษตรกรหมั่นตรวจสอบแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าว กำจัดข้าวดีดข้าวเด้งจากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบคุณภาพทุกระยะ หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาตาก แล้วลดความชื้นให้เหลือ 14 เปอร์เซ็นต์ นำไปคัดแยกให้เหลือเฉพาะเมล็ดข้าวพันธุ์ดี แล้วบรรจุใส่กระสอบ เก็บในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก

ทางศูนย์ฯ สามารถผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดี ได้ปีละมากกว่า 200 ตัน เน้นขายให้กับสมาชิกก่อน ส่วนที่เหลือจึงค่อยขายให้กับเกษตรกรทั่วไป กิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรสมาชิกแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าวพัฒนาการปลูกและดูแลแปลงข้าวของตนเองให้ดีขึ้นอีกด้วย



http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=155774
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 9:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

419. ข้อแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช


การผลิตพืชให้ได้ผลผลิตที่สามารถสร้างรายได้สูงสุดให้เกษตรกรอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีในการจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสม ปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้เป็นธาตุอาหารพืชจะต้องมีประสิทธิภาพ มีคุณค่าและต้นทุนเหมาะสมกับราคาผลผลิต จึงจะทำให้เกษตรกรมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน การใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการหมักจนย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์นั้น แม้จะมีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อย แต่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ธาตุอาหารแก่พืชอย่างช้าๆ และมีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบเกือบทุกชนิด ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม สามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพได้ด้วย ในขณะเดียวกันปุ๋ยเคมีก็มีข้อดีที่ประกอบด้วยปริมาณธาตุอาหารหลักมาก พืชใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว สะดวกในการใช้ในไร่นา


แต่ปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ดังนั้นหากเกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจในการนำวัสดุอินทรีย์เหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เศษพืช ผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร มูลสัตว์และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ มาผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์หรือทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้วัสดุอินทรีย์เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปเป็นธาตุอาหารพืชได้เร็วขึ้น พืชก็สามารถนำไปใช้ได้เร็วกว่าการใส่ในรูปของวัสดุอินทรีย์โดยตรง แต่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวจะต้องใส่ในปริมาณมาก เพราะมีธาตุอาหารน้อยและมีค่าใช้จ่ายค่าแรงงานในการใส่มาก ดังนั้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมผสานกับปุ๋ยเคมี หรือการผลิตปุ๋ยเคมีเป็นสูตรต่างๆ และหาวิธีการใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของดิน พืชและหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม จึงเป็นแนวทางที่สามารถใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืช เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรและแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงได้


การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เป็นรูปแบบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอหารพืชที่ยั่งยืนวิธีการหนึ่ง เพราะจะได้มีการนำส่วนที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ของพืชหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ธาตุอาหารซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่มีอยู่ในดิน ไม่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากดินทั้งหมด ทำให้มีการเติมปุ๋ยเคมีน้อยลงได้ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากอัตราปุ๋ยที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ ตัวอย่างในการปลูกอ้อย ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น ดินเหนียวในภาคกลาง มีความต้องการใส่ปุ๋ยน้อยกว่าดินร่วมปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างหนึ่ง ที่สามารถเพิ่มความสมบูรณ์ให้มีความเหมาะสม ในการปลูกพืช ช่วยในการใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น ดังผลงานวิจัยต่อไปนี้


การปลูกข้าว
การใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และใช้หินฟอสเฟต (P14) แทนปุ๋ยเคมีในดินเหนียว อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ช่วยให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 18% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12.7%


การปลูกข้าวโพดหวาน
การใช้ปุ๋ยหมักมูลวัว 1 ตัน ร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 23% อย่างไรก็ตามราคาปุ๋ยหมักมูลวัวสูงมาก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำเพียงอย่างเดียว


การปลูกยางพารา
การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ่ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตยางพาราสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 32% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12% ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า การไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 16% และพบว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ประมาณ 50% ในการปลูกยางพาราที่ จ. สงขลา



การปลูกอ้อย
การใช้ปุ๋ยหมักและมูลวัวร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% ของอัตราแนะนำในอ้อย ที่ปลูกในดินร่วนเหนียวชุดกำแพงเพชร ช่วยให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 56 และ 66% ตามลำดับ โดยสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 17 และ 27% ตามลำดับ แต่การใส่มูลวัวตากแห้งร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% อัตราแนะนำ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 13%


การปลูกมันสำปะหลัง
การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่เนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยหมักมากถึง 2 ตันต่อไร่ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง รายได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงไม่เพียงพอกับต้นทุนค่าปุ๋ยหมักที่ใส่ ทำให้การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า และมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี


การปลูกกระเจี๊ยบเขียว
การใช้ปุ่ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูง และมีรายได้ทั้งหมดมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยทุกชนิดไม่ได้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงอยู่แล้ว เกษตรกรจึงควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ยให้กับพืช



แนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
ข้อมูลจากการวิจัย สรุปได้ว่าการใช้ปุ่ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์ช่วยเพิ่มผลผลิตพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรต้องใช้ให้ถูกต้อง ในดินบางชุดและในการปลูกพืชบางชนิด เช่น ยางพาราและอ้อย จะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มทั้งผลผลิตและรายได้ ทั้งนี้เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกัน ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลดลง


ดังนั้น การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง มีแนวโน้มว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่เคยซื้อได้ เพราะการใช้วัสดุอินทรีย์ที่ไม่ได้หมักมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนค่าขนส่ง และไม่เหมาะสมในการใส่ให้กับพืชที่ปลูกแล้ว เพราะจะทำให้พืชมีอาการขาดไนโตรเจนชั่วคราว การส่งเสริมให้มีการหมักวัสดุอินทรีย์ในพื้นที่เกษตรกรเอง จนได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วผสมกับปุ๋ยเคมีใส่ให้กับพืชในอัตราที่เหมาะสม จะทำให้เกษตรกรมีต้นทุนค่าปุ๋ยลดลง มีความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ



http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n11/v_6-july/rai.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 9:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

420. ประวัติศาสตร์ปุ๋ย





มนุษย์รู้จักปุ๋ยได้อย่างไร ?
สันนิษฐานว่ามนุษย์รู้จักใช้ปุ๋ยจากการสังเกตุธรรมชาติ เช่น สังเกตุเห็นพืชบริเวณที่มีมูลสัตว์ สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าบริเวณใกล้เคียง เป็นต้น แล้วนำสิ่งที่เรียนรู้นั้นมาช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ของตน มนุษย์รู้จักทำการเกษตรเมื่อประมาณ 4500 ปี มาแล้ว


การใช้ปุ๋ยสมัยก่อนคริสต์กาล (0-400 ปี BC)
มนุษย์รู้จักใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด)
มนุษย์รู้ว่าน้ำช่วยในการเจริญเติบโตของพืช
มนุษย์รู้จักใช้วัสดุปรับปรุงดินบางชนิด เช่น ปูนมาร์ล ขี้เถ้า ดินประสิว (NaNO3) เป็นต้น

มนุษย์รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างสีดินกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยรู้ว่าพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่ดินมีสีเข้ม

มนุษย์รู้ว่าดินที่ดีเมื่อขุดขึ้นจากหลุมแล้วสามารถกลบลงหลุมเดิมได้พอดี เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะดินที่เนื้อแน่นทึบระบายน้ำและอากาศได้ยาก เมื่อขุดขึ้นมาดินจะร่วนมีปริมาตรมากขึ้น เมื่อกลบลงหลุมจะล้นหลุม


การใช้ปุ๋ยในศตวรรษที่ 17-18 (1600-1899)
เริ่มมีงานทดลองเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น Jan Baptiste van helmont ทดลองปลูกต้นหลิว (willow) ในกระถางบรรจุดิน 200 ปอนด์ ใช้น้ำฝนรดเป็นเวลา 5 ปี เขาพบว่า น้ำหนักดินลดลงเพียง 2 ปอนด์ ในขณะที่น้ำหนักพืชเพิ่มขึ้น 164 ปอนด์ 3 ออนซ์

Arthur Young (ชาวอังกฤษ) ทดลองใช้สารปรับปรุงดินหลายชนิด เช่น ถ่านบด น้ำมันรถไฟ มูลสัตว์ปีก เหล้าองุ่น ดินประสิว ดินปืน เปลือกหอย ฯลฯ

การใช้ปุ๋ยในศตวรรษที่ 17-18
ปุ๋ยที่ใช้สำหรับการเกษตรในช่วงนี้ ส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยอินทรีย์จากแหล่ง ใหญ่ ๆ 5 แหล่ง คือ

1. ผลผลิตจากการฆ่าสัตว์ (Animal by - product) เช่น เลือดแห้ง (Dried blood) นำเลือดสัตว์มาทำให้แห้งจะได้เลือดแห้ง 20-25% มีสีแดงเข้มถึงดำ มีกลิ่นฉุน ดูดความชื้นได้ดี มีธาตุอาหารโดย ประมาณ ดังนี้


ธาตุอาหาร ปริมาณ
ไนโตรเจน 8-13 %N
ฟอสฟอรัส 0.3-1.5 %P2O5
โพแตสเซียม 0.5-0.8 %K2O


เศษเนื้อบด (Meat meal) เป็นเศษเนื้อที่นำมาบดแล้วอบแห้ง มีธาตุอาหารโดยประมาณ ดังนี้
ธาตุอาหาร ปริมาณ
ไนโตรเจน 9 - 11 %N
ฟอสฟอรัส 0.1 - 3.5 %P2O5
โพแตสเซียม ? %K2O



Tankage ได้จากนำกระดูก หนัง เครื่องในมานึ่งไอน้ำที่ความดัน 56-60 psi เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง มีธาตุอาหารโดยประมาณ ดังนี้
ธาตุอาหาร ปริมาณ
ไนโตรเจน %N
ฟอสฟอรัส %P2O5
โพแตสเซียม %K2O



2. สิ่งขับถ่ายจากสัตว์ Animal excrete Bird guano เกิดจากนกทะเลถ่ายมูลรวมกันเป็นเวลานาน แล้วถูกน้ำฝนชะเอาส่วนที่สลายตัวแล้วลงไปทับถมในดินชั้นล่าง แหล่งใหญ่ของโลกพบที่ Chile และ Peru Guano ที่ยังใหม่มีสีออกขาวจึงเรียกว่า white guano มีธาตุอาหารโดยประมาณ ดังนี้
ธาตุอาหาร ปริมาณ
ไนโตรเจน ประมาณ 15 %N
ฟอสฟอรัส 10 - 12 %P2O5
โพแตสเซียม ประมาณ 2 %K2O



Guano ที่ทับถมอยู่นานจะมีสีออกแดง ถ้าหินที่รองรับอยู่ด้านล่างเป็นหินปูน ฟอสฟอรัสจาก guano จะทำปฏิกริยากับ Ca เกิดเป็น Apatite เช่น ที่พบบนเกาะปะการังในมหาสมุทรแปซิฟิก (Nauro island และ Ocean island) มีธาตุอาหารโดยประมาณ ดังนี้
ธาตุอาหาร ปริมาณ
ไนโตรเจน 4 - 6 %N
ฟอสฟอรัส ประมาณ 40 %P2O5
โพแตสเซียม 1.6 - 2.0 %K2O



Bat guano มักพบตามถ้ำหินปูน โดยเฉพาะในบริเวณที่มีฝนตกชุก มีธาตุอาหารโดยประมาณ ดังนี้
ธาตุอาหาร ปริมาณ
ไนโตรเจน 2 - 12 %N
ฟอสฟอรัส 10 - 12 %P2O5
โพแตสเซียม มีน้อย



3. Farm yark manure
ปุ๋ยชนิดนี้ได้จากมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ ปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกันตามชนิดของสัตว์ และอาหารที่สัตว์กิน
ชนิดของมูล ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม
มูลควาย 0.81 - 1.15 0.52 -0.92 0.52 - 3.73
มูลไก่ 1.90-3.19 2.98-11.14 0.51-3.52
มูลเป็ด 0.56-2.37 1.03-3.16 0.02-2.05



4. ผลผลิต (Plant product)
ปุ๋ยชนิดนี้ได้จากเศษเหลือจากการแปรรูปพืช เช่น การเมล็ดฝ้าย กากเมล็ดละหุ่ง กากถั่วเหลือง กากปาล์ม เป็นต้น



5. ปุ๋ยหมัก (Composed)
ปุ๋ยชนิดนี้ได้จากการแปรสภาพชิ้นส่วนของพืช มูลสัตว์และเศษอาหาร ปริมาณธาตุอาหารเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงกว้าง
ธาตุอาหาร ปริมาณ
ไนโตรเจน 1.72 - 4.86 %N
ฟอสฟอรัส 0.52 - 10.65 %P2O5
โพแตสเซียม 0.39 - 1.58 %K2O



การผลิตและการใช้ปุ๋ยในศตวรรษที่ 19
วิทยาการทางด้านดินและปุ๋ยได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วพร้อม ๆ กับความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ ในศตวรรษนี้มีงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น เริ่มมีการค้นคว้าทดลองผลิตปุ๋ยเคมี วิวัฒนาการในช่วงศตวรรษนี้พอสรุปได้ ดังนี้


1830 ค้นพบ Chilean saltpeter (NaNO3) และมีการใช้แร่นี้อย่างแพร่หลายในอีก 20 ปีต่อมา


1832 ค้นพบ Peruvian guano

1840 นักเคมีชาวเยอรมันชื่อ Justus von Liebig พบว่าถ้านำเอากระดูกมาทำปฏิกริยากับ H2SO4 แล้วจะทำให้ P เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น แต่เนื่องจากกระดูกมีปริมาณจำกัด เขาได้ทดลองผลิตปุ๋ยเคมีโดยนำ phosphate rock ปูนขาวและโพแตส มาทำปฏิกริยาที่อุณหภูมิสูง แต่สารที่ได้ละลายน้ำยาก ต่อมา Liebig ได้ทดลองนำ phosphate rock ไปทำปฏิกริยากับกรดต่าง ๆ และพบว่า phosphate ละลายน้ำได้ง่ายขึ้น วิธีนี้ได้พัฒนาเป็น Acidulation process สำหรับผลิตปุ๋ย superphosphate ในเวลาต่อมา


1849 เริ่มมีการผลิตปุ๋ยผสมขึ้นในเยอรมันและ อเมริกา

1852 เริ่มมีการผลิตปุ๋ย superphosphate ในอเมริกา โดยใช้กระดูกป่นทำปฏิกริยากับ H2SO4

1861 มีการทำเหมือง potash ครั้งแรกในประเทศ เยอรมัน

1867 มีการทำเหมือง phosphate ครั้งแรกที่รัฐ South Carolina อเมริกา



การผลิตและการใช้ปุ๋ยในศตวรรษที่ 20
ในช่วงต้นศตวรรษ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ทำให้วิทยาการด้านปุ๋ยพัฒนาไปได้ไม่เร็วเท่าที่ควร 1900 เริ่มทำเหมือง phosphate บนเกาะ Ocean

1906 เริ่มทำเหมือง phosphate บนเกาะ Nauru

1908 เริ่มทำเหมือง phosphate บนเกาะ Makatea

1910 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ Haber และ Nerst ค้นพบวิธีสังเคราะห์ NH3 โดยนำแก๊ส N2 และ H2 มาทำปฏิกริยากันที่อุณหภูมิและความดันสูง
N2 + 3H2 = 2NH3
แต่วิธีของ Haber & Nerst มักมีปัญหาการติดไฟและการระเบิด ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากปฏิกริยาระหว่าง
2H2 + O2 = 2H2O

ต่อมานักเคมีชาวเยอรมันชื่อ Carl Bosch และ ชาวฝรั่งเศสชื่อ Claude ได้ปรับปรุงวิธีของ Haber & Nerst โดยใช้สารเร่งปฏิกริยาเข้าช่วย ทำให้ประสิทธิภาพการผลิต NH3 สูงขึ้นมาก กระบวนการผลิต NH3 แบบนี้ปัจจุบันนิยม เรียกว่า Haber-Bosch process NH3 ถือเป็น สารตั้งต้นตัวสำคัญสำหรับผลิตปุ๋ยไนโตรเจน ชนิดอื่น

1930 มีการผลิตปุ๋ย diammonium phosphate (DAP) ขึ้นเป็นครั้งแรกในเยอรมัน

~ 1950 มีการผลิตปุ๋ย urea



http://webhost.wu.ac.th/msomsak/Fertech/History.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 02/09/2011 10:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

421. แหล่งที่มาของอินทรีย์วัตถุในไร่-นา


อินทรีย์วัตถุในสภาพไร่-นา มีแหล่งที่มาอยู่ 4 แหล่ง คือ
1. อินทรีย์วัตถุที่ได้จากพืช
พืชเป็นแหล่งผลิตอินทรีย์วัตถุที่มีจำนวนมากมาย แต่ที่ผ่านมาในประเทศไทยเราให้ความสนใจต่อการใช้ประโยชน์จากอินทรีย์วัตถุที่ได้จากพืชน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เศษเหลือจากการเก็บเกี่ยวพืช เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าวโพด เศษต้นพืช ใบไม้เปลือกของผลและเมล็ด เช่น แกลบ เปลือกถั่วลิสง ถั่วเขียว ฯลฯ ได้ถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงซึ่งก็อาจจะมีประโยชน์ในด้านการรับพลังงาน แต่อินทรีย์วัตถุเหล่านั้นเราเก็บมาจากดิน เราก็ควรจะเอาคืนลงไปในดินเพื่อให้ดินอยู่ในสภาพอุดมสมบูรณ์ต่อๆ ไป การที่เรากอบโกยเอาผลประโยชน์จากดินในรูปของผลผลิต คือ เมล็ด ผล เศษเหลือก็ยังเอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นจากการทำอย่างนี้ต่อๆไป ก็ย่อมแน่นอนว่าดินจะเสื่อมลงทุกวัน ฉะนั้นจึงควรจะให้ความสำคัญต่อการเอาอินทรีย์วัตถุที่เป็นเศษของพืชเหล่านั้นใส่กลับไปในดินในรูปของปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก หรือวัสดุคลุมดินให้เศษพืชเหล่านั้นป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์และค่อยๆ สลายตัวลงไปในดินต่อไป

1.1 ฟางข้าวอินทรีย์วัตถุที่มีประโยชน์สูงควรถนอมไว้ในนาข้าว
ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 63 ล้านไร่ (รวมพื้นที่นาปรังซึ่งปลูก 2 ครั้งในรอบปี) ผลผลิตข้าวของประเทศประมาณ 20-21 ล้านตัน มีฟางข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 30 ล้านตัน ฟางข้าวจำนวนดังกล่าวนี้จะถูกนำออกจากพื้นที่นาโดยเผาทิ้ง อาจตั้งใจและไม่ตั้งใจหรือนำออกไปใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ นำไปคลุมดินในแปลงปลูกผัก นำไปเพาะเห็ดฟางในแหล่งการเกษตรอื่น หรือแม้กระทั่งนำไปทำเชื้อเพลิง เช่น การอบไก่ เป็นต้น

การที่มนุษย์เราตักตวงเอาธาตุอาหารของพืชออกจากพื้นนาโดยไม่มีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้ดินเช่นนี้ ดินนาก็ย่อมจะเสื่อมคุณภาพลงอย่างแน่นอน บางท่านอาจจะคิดแต่เพียงว่าการทำเช่นนี้จะทดแทนได้ด้วยการเติมปุ๋ยเคมีลงไปแทนได้นั้น อาจจะเป็นความคิดที่ผิดอย่างยิ่ง เพราะการเพิ่มเติมลงไปเมื่อมีการใส่ปุ๋ยเคมีก็จะช่วยเร่งให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้หมดไปเร็วยิ่งขึ้น สภาพการณ์ดังกล่าวนี้จะทำให้ดินนาเกิดสภาพแข็งตัวมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีสภาพเป็นกรดมากขึ้นด้วย


ฟางข้าว เป็นอินทรีย์วัตถุที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงบำรุงดิน ด้วยเหตุผลดังนี้
1. ฟางข้าวจะช่วยทำให้ดินมีปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินนามากขึ้น จากการย่อยสลายคลุกเคล้าลงไปในดิน

2. ฟางข้าวจะช่วยทำให้พื้นนาที่ถูกฟางปกคลุมมีสภาพจุลนิเวศ (Microclimate) เหนือผิวดิน เหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตทั้งปวง เช่น จุลินทรีย์ ไส้เดือน กิ้งกือ ฯลฯ ที่สามารถจะมีชีวิตและขยายพันธุ์ทำให้เกิดกิจกรรมย่อยดินมีความสมบูรณ์

3. ฟางข้าวจะช่วยควบคุมวัชพืชหลายชนิดในนาข้าวไม่ให้งอกเจริญเติบโตได้ เนื่องจากถูกบังแสงแดดโดยการคลุมดินด้วยฟาง

4. ฟางข้าวจะช่วยอนุรักษ์ความชื้นในดินนาให้มีอยู่ได้นาน และสามารถทำให้ต้นข้าวมีน้ำเพียงพอแม้จะมีสภาพของสภาวะแห้งแล้งเป็นเวลานานติดต่อกัน ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวสามารถเจริญงอกงามได้ผลผลิตสูงกว่าการเปิดดินโดยปราศจากฟางข้าวคลุมดิน

5. ฟางข้าวเมื่อเน่าเปื่อยและถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายจะให้ธาตุอาหารแก่ข้าวเพื่อเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูง

6. ฟางข้าวสามารถเป็นอาหารโค-กระบือที่ใช้งานในนาข้าว เมื่อโค-กระบือถ่ายมูลก็เป็นปุ๋ยแก่ต้นข้าว

7. ฟางข้าวสามารถใช้เป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟางทำให้เกิดรายได้ต่อเกษตรกร เศษเหลือของฟางจากการเพาะเห็ดก็เป็นปุ๋ยหมักให้แก่ต้นข้าว

1.2 แกลบเป็นวัสดุที่ได้จากนาควรกลับคืนสู่นาข้าว
นอกจากฟางข้าวซึ่งเป็นเศษเหลือที่มีคุณค่าต่อการปรับปรุงบำรุงดินแล้ว ผลพลอยได้จากข้าวที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ แกลบ ถึงแม้ว่าแกลบจะมีคุณค่าทางอาหารพืชต่ำ แต่จะให้ธาตุซิลิก้าซึ่งมีความสำคัญในฐานะเป็นธาตุอาหารรองที่ทำให้ข้าวเจริญงอกงาม ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่าย ทำให้ต้นข้าวสามารถยืนและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ แกลบซึ่งโดยคุณสมบัติจะย่อยสลายช้าเมื่อผสมลงไปในดินก็จะช่วยให้ดินมีความร่วนซุย เกิดช่องอากาศในดินช่วยให้จุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดี

1.3 อินทรีย์วัตถุในดินที่ได้จากการปลูกพืชปุ๋ยสด
อินทรีย์วัตถุสามารถจะสร้างขึ้นได้ภายในพื้นที่ไร่-นา โดยไม่จำเป็นต้องไปขนย้ายมาจากที่อื่นให้เสียค่าใช้จ่าย แต่ปริมาณของอินทรีย์ที่จะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตดีนั้นจะต้องใช้ปริมาณมาก เฉลี่ยในระดับปริมาณ 2-4 ตันต่อไร่ ทำให้เกิดปัญหาต้องใช้แรงงานและค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสูงมาก

พืชที่นิยมนำมาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดส่วนใหญ่จะเป็นพืชตระกูลถั่ว (Leguminoceae) เนื่องจากได้ทั้งอินทรีย์วัตถุที่เกิดจากมวลชีวภาพของลำต้น ใบ ดอก แล้วยังได้ธาตุไนโตรเจนจากการตรึงโดยแบคทีเรียที่เกิดอยู่ในปมรากอีกด้วย

1.4 อินทรีย์วัตถุที่ได้จากการปลูกพืชคลุมดิน
เป็นวิธีการปลูกคล้ายคลึงกับพืชที่ใช้ทำปุ๋ยพืชสด แต่กรรมวิธีแตกต่างกันคือ อายุพืชที่จะติดคลุมดินไม่จำเป็นต้องอยู่ในช่วงออกดอกและไม่มีการไถกลบเพราะมิได้มุ่งหวังธาตุไนโตรเจนในระยะปลูกสั้นๆ เพียงปีหรือ 2 ปี แต่มุ่งหวังในการักษาหน้าดินไม่ให้ถูกรบกวนหรือกระทบโดยตรงจากแสงแดดและเม็ดฝน ดังนั้นพืชคลุมดินจึงมักเป็นพืชที่ปลูกไปพร้อมกับพืชหลัก โดยอาจเหลื่อมเวลากันเล็กน้อยแล้วแต่ลักษณะการเจริญของพืชคลุมนั้นๆ ว่าจะปลูกกับพืชหลักชนิดไหน ชนิดของพืชคลุมดินจึงอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด



พืชคลุมดินอายุสั้น
พืชคลุมดินชนิดนี้มักจะใช้ปลูกก่อนพืชหลัก เมื่อแก่และเก็บเมล็ดพันธุ์แล้วจึงปลูกพืชหลักตามแล้วตัดต้นพืชที่ปลูกรุ่นแรกคลุมดินให้กับพืชที่ปลูกตาม วิธีการเช่นนี้เพื่อเป็นการสงวนน้ำในดินให้กับพืชที่ปลูกตามในช่วงปลายฤดูปลูก นอกจากนั้นพืชคลุมตระกูลถั่วหลายชนิดเราสามารถใช้เป็นอาหารหรือส่งขายท้องตลาดได้ด้วย เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว และถั่วเหลืองที่ตัดฝักสดเป็นถั่วแระ หรือหลังกะเทาะเมล็ดแล้วเอาต้นใบกลับคืนมาคลุมดิน

อย่างไรก็ตามวิธีการเช่นนี้ การสะสมของอินทรีย์วัตถุเกิดได้ช้ามากเพราะการสลายตัวของเศษพืชที่อยู่บนผิวดินจะสลายตัวไปเพียงครึ่งเดียวในฤดูปลูก และอินทรีย์วัตถุที่เริ่มสะสมในปีที่ 2 และ3 ที่สามารถปลดปล่อยให้กับพืชในปีต่อๆไปเกือบจะไม่มีโอกาสสะสมไว้ได้เลย แต่สิ่งที่ได้มาคือดินจะมีความโอชะขึ้น อุณหภูมิค่อนข้างสม่ำเสมอยาวนานและสามารถควบคุมความชื้นไว้ได้นาน ทำให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์อีกหลายร้อยชนิดอยู่ในดิน


พืชคลุมดินข้ามปี
พืชคลุมดินชนิดนี้ส่วนใหญ่มักจะใช้ปลูกพร้อมกับพืชหลักปลูกเหลื่อมหลังพืชหลักไม่นาน พืชคลุมข้ามปีส่วนใหญ่มักจะโตช้าในช่วงแรก การเตรียมเมล็ดพันธุ์ต้องแช่น้ำที่อุณหภูมิสูง 60-70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5-10 นาที จนน้ำเย็นเท่าอุณหภูมิข้างนอกแล้วนำไปหว่าน จะมีเปอร์เซ็นต์การงอกดี นำไปปลูกกับไม้ผล ไม้ยืนต้น เช่น หม่อนไหมและยางพาราได้เป็นอย่างดี

นอกจากช่วยคลุมผิวดินไว้ตลอดแล้ว จำนวนมวลชีวภาพที่ได้ก็จะมีมากกว่าพืชคลุมดินอายุสั้น ป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินในระหว่างแถวปลูกพืชได้ดี นอกจากนี้ไม้ยืนต้นตระกูลถั่วบางชนิดสามารถนำมาปลูกเป็นพืชพี่เลี้ยงให้กับไม้ผลเพื่อเป็นร่มเงาหรือเป็นค้างของพริกไทย เช่น กระถินยักษ์ แคฝรั่ง ขี้เหล็ก และถั่วมะแฮะ เป็นต้น



2. อินทรีย์วัตถุที่ได้จากสัตว์
พืชเป็นแหล่งผลิตอินทรีย์วัตถุขั้นปฐมภูมิ สัตว์กินพืชเป็นอาหารเมื่อสัตว์ถ่ายมูล มูลสัตว์ก็จะใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยกับต้นพืช ซึ่งจะมีคุณค่าทางอาหารของพืชมากขึ้นกว่าเศษของพืชที่ใช้เป็นปุ๋ยโดยตรงเพราะพืชที่เป็นอาหารสัตว์จะผ่านการย่อยสลายของน้ำย่อยและจุลินทรีย์ในกระเพาะของสัตว์มาขั้นตอนหนึ่งแล้ว

ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมที่ผสมอยู่ในอาหารสัตว์ จะถ่ายทอดไปยังมูลสัตว์เป็นจำนวนมาก คือ ไนโตรเจนร้อยละ 72-79 ฟอสฟอรัสร้อยละ 61-87 และโปแตสเซียมร้อยละ 82-99 และพบว่าในปัสสาวะของสัตว์นั้นมีธาตุไนโตรเจนและโปแตสเซียมในปริมาณที่สูงกว่าในมูลสัตว์ นอกจากนี้ยังพบว่ามูลสัตว์ที่เลี้ยงขังกรงมีปริมาณธาตุที่เป็นเกลือแร่มากกว่ามูลสัตว์ที่เลี้ยงแบบปล่อย ปุ๋ยหมักที่ได้จากสัตว์เลี้ยงขังกรงโดยเฉพาะไก่จะมีปริมาณของเกลือสูงกว่าเลี้ยงแบบปล่อย ฉะนั้นอาจจะทำให้ดินเกิดเป็นดินเค็มได้ หากใช้ติดต่อกันในระยะยาว


3. อินทรีย์วัตถุที่ได้จากซากของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดิน
สัตว์ขนาดเล็กในดิน เช่น แมลง แมง ไส้เดือน และจุลินทรีย์ ถึงแม้จะมีขนาดเล็ก บางชนิดมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่มีจำนวนมากมายมหาศาล จุลินทรีย์มีจำนวนถึง 10 ล้านตัวต่อปริมาณดิน 1 กรัม สิ่งมีชีวิตในดินเหล่านี้เมื่อขยายพันธุ์มากขึ้น โดยเฉพาะในดินที่ไม่มีสารพิษจากปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชจะมีปริมาณมากมาย และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ดินได้รับอินทรีย์วัตถุจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถึง 1-2 ตันต่อไร่ ที่จะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุแก่ดิน โดยที่เรามองไม่เห็นความสำคัญเท่าที่ควร
แบคทีเรียในชนิด (Species) เดียวกัน เช่น อะโซโตแบคเตอร์ (Azotobacter) ช่วยตรึงไนโตรเจนในพืชตระกูลถั่ว อาจปรับเปลี่ยนรูปร่างและใบตามสภาพของรากพืชจนทำให้ดูเหมือนเป็นแบคทีเรียคนละชนิดกันได้ ฉะนั้นการที่จะจำแนกชนิดของจุลินทรีย์ให้ถูกต้องผู้ดำเนินการควรต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมที่จุลินทรีย์อาศัยอยู่ด้วย

พืชโดยทั่วไปจะผลิตสารขึ้นโดยรอบราก ซึ่งเรียกบริเวณที่มีสารนั้นว่า ไรโซสะเฟีย (rhizoshere) ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่มีการเจริญพันธุ์ของจุลินทรีย์จำนวนมาก ซึ่งสารที่ผลิตขึ้นมานี้มีคุณสมบัติในการส่งเสริมการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ ซึ่งในบรรดาสารต่างๆ ที่พืชผลิตขึ้นมาเหล่านั้น เช่น โปรตีน กรดอะมิโน วิตามิน ฮอร์โมน ฯลฯ ซึ่งจุลินทรีย์ได้ใช้ประโยชน์จากสารเหล่านี้รวมทั้งเศษซากพืชที่ตายและยังไม่ได้ย่อยสลายสมบูรณ์เป็นอาหารของมันด้วย




http://182.93.150.244/244/media/din/agrilib/inzee/05.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/09/2011 9:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

422. ฮอร์โมนเร่งท่อนมันจากมูลสุกร



กรมส่งเสริมการเกษตร ได้แนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังผลิตฮอร์โมนธรรมชาติเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง จากมูลหมูเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยนำมูลหมู ไปตากให้แห้ง แล้วผสมกับน้ำเปล่าในอัตราส่วนมูลหมูแห้ง 10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน จะได้น้ำหมักมูลหมู ที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก และใบสำปะหลังได้ดี ซึ่งน้ำหมักมูลหมูได้ผ่านการทดสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วว่ามีประโยชน์ เทียบเท่ากับการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สำหรับเร่งราก เนื่องจากหมูส่วนใหญ่ จะกินอาหารที่เร่งการเจริญเติบโต และมีคุณค่าทางอาหารสูงอยู่แล้ว ทำให้มูลที่ได้มีประโยชน์ไปด้วย

จากนั้นคัดเลือกมันสำปะหลังพันธุ์ดี ตัดให้ได้ท่อนพันธุ์ความยาว 6 ถึง 8 นิ้ว ใช้ปูนขาวหรือปูนกินกับหมากทาส่วนยอดของท่อนพันธุ์ เพื่อป้องกันการคายน้ำและฆ่าเชื้อโรค นำท่อนพันธุ์ส่วนที่จะมีรากงอก จุ่มลงในน้ำหมักมูลหมู นาน 6 ถึง 12 ชั่วโมง จึงนำไปปลูกลงดิน จะช่วยให้ท่อนพันธุ์เจริญเติบโตรวดเร็ว และมีปริมาณรากงอกออกมาใกล้เคียงกับที่ใช้ฮอร์โมนเร่งราก นอกจากนี้ยังไม่ทำให้ผู้ใช้มีอาการระคายเคืองผิวหนัง เหมือนกับฮอร์โมนสังเคราะห์ ที่บางรายอาจแพ้ได้

อ้างอิง

ข้อมูล : สำนักงานเกษตรอำเภอเสิงสาง นครราชสีมา ติดต่อนายทวีสิทธิ์ นามประเสริฐ

http://www.countryhome.site88.net/web/readarticle.php?article_id=118
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/09/2011 9:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

423. ใช้มูลสุกรพ่นข้าว-มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่ม-ลดต้นทุน ไร่ 3 พัน


ได้ผลดีเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ สำหรับการนำของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ไปใช้ในไร่นาของเกษตรกร อย่างงานวิจัยล่าสุดของ รศ.อุทัย คันโธ ผอ.สถาบันวิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจ เพื่อการค้นคว้าพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรื่อง “แนวทางการวิจัยเพื่อใช้ของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ในการผลิตพืชอย่างยั่งยืน” ที่ใช้มูลสุกรทดลองฉีดพ่นในแปลงนาข้าว ไร่มันสำปะหลังของเกษตรกร ผลปรากฏว่าพืชทั้ง 2 ชนิดให้ผลผลิตเพิ่ม แถมลดต้นทุนการผลิตได้ถึงไร่ละ 3,000 บาท

ในการประชุม “นักวิจัยรุ่นใหม่ พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ โดย รศ.อุทัย บอกแนวคิดการวิจัยเรื่องนี้ว่า เกิดจากประเทศไทยมีการเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นทุกปี จึงมีมูลสัตว์ที่มีธาตุอาหารพืชครบ 13 ชนิด เหมาะกับการปลูกพืช (ได้แก่ N, P, K, Ca, Mg, S, Fe, Mn, Cu, Zn, B, Mo และ Cl) มีฮอร์โมนพืชช่วยเร่งการเจริญเติบโต

รศ. อุทัย ได้ยกตัวอย่างการทดลองของสถาบันที่นำน้ำจากบ่อมูลสุกรสูบขึ้นมาใส่นาข้าว พื้นที่นำร่องใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ข้าวมีอายุ 1-2 เดือน ประมาณ 100 ลิตรต่อไร่ ผลที่ได้คือ ข้าวมีใบสีเขียวจัด ต้นข้าวแข็งแรงมาก ไม่ล้มง่าย ใบหนา ไม่มีแมลงรบกวน ทั้งที่ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลง รวงใหญ่และเหนียว เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์สูง น้ำหนักดี มีเปอร์เซ็นต์ข้าวหักน้อยเมื่อนำไปสีเป็นข้าวเจ้า

“การใช้มูลสุกร แห้งกับนาข้าวยังทำให้ข้าวออกรวงได้เร็วขึ้น 5-7 วัน โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเร่งรวงข้าว ซึ่งปริมาณมูลสุกรแห้งที่ใช้นา 1 ไร่ต่อ 200 กิโลกรัม แต่ถ้าไม่มีมูลสุกรก็ใช้น้ำล้างคอกแทนได้ ขณะเดียวกันใช้น้ำสกัดมูลสุกรจำนวน 220 ลิตรแช่เมล็ดข้าว ฉีดพ่นทางใบ และใส่ในดินติดต่อกัน 4-5 ปี พบว่าเกษตรกรที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม สามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตสูงอย่างต่อเนื่องรวม 12 ครั้ง”

รศ.อุทัย กล่าวสรุปว่า การปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มูลสุกรจะให้ผลผลิตสูงกว่าใช้ปุ๋ยเคมี โดยได้ผลผลิตเฉลี่ยถึง 1-1.3 ตันต่อไร่ เมล็ดมีน้ำหนักดีกว่าเดิม ขณะที่ต้นทุนการปลูกข้าวจะลดลงถึงไร่ละ 2,000-3,000 บาท นับว่าช่วยเหลือเกษตรกรได้มาก

อีก พืชที่ทดลองคือ มันสำปะหลัง ซึ่งช่วงแรกของการทดลองปรากฏว่าไม่ได้ผล คณะนักวิจัยประเมินว่า พืชได้ปัจจัย 4 คือ แสงแดด คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และธาตุอาหารไม่ครบ โดยพื้นที่ปลูกมันขาดน้ำ ดังนั้นเกษตรกรบางรายจึงใช้ระบบน้ำหยด รวมทั้งใช้น้ำมูลสุกรซึ่งมีธาตุอาหารครบฉีดพ่น อัตรารวม 500 กิโลกรัมต่อไร่

“เริ่มจากแช่ท่อนพันธุ์มันในน้ำสกัดมูลสุกรก่อน ปลูก 1 คืน เพื่อให้ท่อนพันธุ์ดูดธาตุอาหารเข้าไป เมื่อมันงอกและตั้งตัวได้แล้ว ก็ใช้น้ำสกัดจากมูลสุกรรดดินหรือผสมในระบบน้ำหยด รวมทั้งฉีดพ่นน้ำสกัดมูลสุกรทางใบทุก 15 วัน ต้นอ่อนมันสำปะหลังที่งอกออกมาโตเร็ว โดยผลการทดลองในพื้นที่ จ.นครปฐม กาญจนบุรี และ ราชบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ได้ผลผลิตสูงมาก”

ข้อ ควรปฏิบัติในการปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ระบบน้ำหมักมูลสุกรคือ การแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำปุ๋ยหมักร่วมกับการให้น้ำหลังปลูก จะทำให้มันออกรากมากกว่า 20 ราก ต่อมารากส่วนหนึ่งจะพัฒนาเป็นหัวซึ่งจะเพิ่มผลผลิตได้มาก โดยเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เกษตรกรจะปลูกกันมาก และรากจะเริ่มสะสมอาหารเดือนสิงหาคม-กันยายน ช่วงนี้ควรฉีดปุ๋ยหมักทางใบช่วยทุก 15 วัน จะทำให้หัวมันมีเปอร์เซ็นต์แป้งดีมาก ผลเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 16 ตัน

นอก จากนี้ สถาบันยังทดลองปุ๋ยหมักมูลสุกรกับพืชชนิดอื่นๆ เช่น อ้อย ผักชีฝรั่ง ถั่วเหลืองฝักสด พริก มะระขี้นก ไม้ดอก เป็นต้น พร้อมอยู่ระหว่างทำข้อตกลงร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินในการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ให้ มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทยให้มีความยั่งยืนต่อไป



ที่มา : http://www.komchadluek.net/2009/01/20/x_agi_b001_332775.php?news_id=332775

http://content.tarad.com/?p=2377
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/09/2011 10:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

424. เอสโตรเจน ในน้ำมะพร้าวอ่อน แก้อัลไซเมอร์

อาจารย์ มอ.หาดใหญ่ วิจัยพบฮอร์โมนเอสโตรเจนในน้ำมะพร้าวอ่อนมีสารชะลอโรคอัลไซเมอร์ เผย เตรียมพัฒนาเป็นอาหารเสริม เครื่องสำอาง และยาชะลออัลไซเมอร์ หวังช่วยหญิงวัยทองทั่วโลกที่มีโรคแทรกซ้อนหลังหมดประจำเดือน เร่งจดสิทธิบัตรให้เร็วที่สุดหวั่นซ้ำรอยต่างชาติตัดหน้าจดกวาวเครือ

ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผยว่า หลังจากศึกษาข้อมูลจนพบว่าในแต่ละปีมีผู้หญิงทั่วโลกเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนอย่างถาวรประมาณ 50 ล้านคน ขณะเดียวกันพบว่าผู้หญิงกลุ่มนี้ขาดฮอร์โมนจากรังไข่มากระตุ้นมดลูกจนเกิดผลข้างเคียงอันเกิดจากการหมดประจำเดือนคือ โรคหัวใจ กระดูกผุ เนื่องจากสตรีวัยทองมักได้รับฮอร์โมนทดแทนจนพบอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์สูงในสตรีกลุ่มนี้เพราะได้รับฮอร์โมนลดลง

“ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นับล้านคน ส่วนประเทศไทยนั้นพบผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์กว่าแสนคน และหากคนกลุ่มนี้ได้รับฮอร์โมนทดแทนมากกว่า 5 ปีขึ้นไปจะพบผลข้างเคียงอื่นๆ มากขึ้น ที่พบได้บ่อย ได้แก่ มะเร็งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ จนหลายฝ่ายต้องหาสารหรือพืชทดแทนจากธรรมชาติมาผลิตเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ให้รับประทานจนเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว” นักวิจัยรายเดิม กล่าว


ดร.นิซาอูดะห์ กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันมีงานวิจัยเกี่ยวกับถั่วเหลือง หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองซึ่งมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง เพื่อนำมาเป็นฮอร์โมนทดแทนและพบว่า สตรีวัยทองชาวอเมริกันที่เริ่มรับประทานอาหารจำพวกถั่วเหลือง หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองแล้วมีอัตราการเป็นมะเร็งต่างๆ ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้านมสูงกว่าสตรีวัยทองในประเทศจีนหรือญี่ปุ่น ซึ่งคุ้นเคยกับการทานอาหารจำพวกถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

ส่วนในประเทศไทยนั้นนักวิจัยได้ทำการศึกษาสารที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนปริมาณมากจนประสบผลสำเร็จแล้วคือผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือขาว ทั้งที่นักวิจัยของไทยได้ค้นคิดมาก่อนเป็นเวลานาน แต่แล้วประเทศญี่ปุ่นกลับได้จดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือขาวไปก่อนอย่างน่าเสียดาย

ดร.นิซาอูดะห์ กล่าวอีกว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าวตนจึงทำการวิจัยหาสารอื่นๆ นอกจากถั่วเหลืองและกวาวเครือขาวที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนมาทำการศึกษา ได้แก่ น้ำมะพร้าวอ่อนโดยใช้ความรู้ของภูมิปัญญาไทยที่ว่า... หากดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนขณะมีประจำเดือนจะมีผลทำให้ประจำเดือนหยุด หรือกลายเป็นประจำเดือนกะปริดกะปรอยและทำให้มีประจำเดือนครั้งต่อไปล่าช้ากว่าปกติ โดยทำการศึกษาวิจัยเรื่องผลของน้ำมะพร้าวอ่อนต่อการชะลอการเกิดพยาธิสภาพโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยจากสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี 2546-2548 จนผลงานดังกล่าวได้รับความสนใจสูงในระดับนานาชาติและได้รับคัดเลือกเป็นผลงานแบบโปสเตอร์ดีเด่น สาขาประสาทกายวิภาคศาสตร์ จากงานประชุมวิชาการกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทยประจำปี 2549 ครั้งที่ 29

“จากการทดลองพบว่าน้ำมะพร้าวอ่อนมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงและมีส่วนช่วยลดพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์ โดยใช้หนูขาวเพศเมียที่ถูกตัดรังไข่ออกทั้งสองข้างเป็นแบบจำลองแทนสตรีวัยทองพบว่าหนูขาวเพศเมียที่ถูกตัดรังไข่ออกและได้รับนำมะพร้าวเป็นเวลา 5 สัปดาห์มีพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่าหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำมะพร้าว” ดร.นิซาอูดะห์ กล่าวและว่า

นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมะพร้าวอ่อนมีผลทำให้การสมานแผลเร็วขึ้น ทั้งยังไม่มีแผลเป็นอีกด้วย ซึ่งจะได้ศึกษาและพัฒนาให้เป็นยาเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่แผลหายช้ากว่าปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จากความสำเร็จในครั้งนี้ ตนจึงได้รับเชิญให้ไปให้คำแนะนำห้องปฎิบัติการเพื่อศึกษาการชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์โดยใช้สมุนไพร Nigella Sativa สมุนไพรพื้นเมืองของแถบเมดิเตอเรเนียน มีชื่อภาษาไทยว่า “เทียนดำ” ซึ่งมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ณ มหาวิทยาลัยปุตระ ประเทศมาเลเซีย และได้รับข้อเสนอให้ไปทำการวิจัยเรื่องดังกล่าวในห้องปฎิบัติการอันทันสมัยในมาเลเซีย

ดร.นิซาอูดะห์ กล่าวด้วยว่า ได้ขอทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาให้น้ำมะพร้าวอ่อนเป็นอาหารเสริม เครื่องสำอาง และยาเพื่อชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์และยาเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นต่อไปในอนาคต และจะทำการจดสิทธิบัตรเพื่อพัฒนาเชิงพาณิชย์สำหรับประเทศไทยต่อไป “หากการศึกษาวิจัยประสบความสำเร็จจริง จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่มะพร้าว และจะทำให้ชาวสวนมะพร้าวมีรายได้ดีขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกรรมไทยโดยเฉพาะผู้ปลูกมะพร้าวซึ่งเป็นพืชทางการเกษตรของภาคใต้ และเชื่อว่าเป็นการลดการนำสินค้า เครื่องสำอาง และยาเข้าจากต่างประเทศได้อย่างมหาศาล” ดร.นิซาอูดะห์ กล่าว





เอกสารอ้างอิง

1. หนังสือพิมพ์คมชัดลึก. http://www.komchadluek.net/2006/09/03/x_it_h001.php

http://www.ipst.ac.th/biology/Bio-Articles/mag-content57.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/09/2011 4:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

425. "เชื้อรา" สิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์


เชื้อรา เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้ชิดกับคนเรา อย่างที่เราเองก็คาดไม่ถึง เมื่อมองไปรอบๆ ไม่ว่าจะเป็นใน ดิน น้ำ อากาศ ต้นไม้ สัตว์ สิ่งไม่มีชีวิตหรือแม้กระทั่งภายในร่างกายของเรา เชื้อราจะมีอยู่ทุกๆ ที่ ถึงตอนนี้หลายๆ คนคงจะนึกภาพเชื้อราไปในทางที่ให้โทษมากกว่า เรามักจะคุ้นเคยกับภาพเส้นใยเชื้อราที่ขึ้นพองฟูตามขนมปังและเมล็ดพืชต่างๆ รวมทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเชื้อราในหนังศีรษะ หรือ รังแค โรคน้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต แต่ทราบหรือไม่ว่าเชื้อรายังมีบทบาทต่อเราในด้านอื่นๆ อีกมากมาย


เชื้อราเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงสร้างอาหารเองได้ ดํารงชีวิตได้โดยการดูดซึมสารอาหารจากการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต และการอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เชื้อราส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส เชื้อราเป็นพวกที่ต้องการออกซิเจนและชอบความเป็นกรด

เชื้อราเดิมทีจัดอยู่ในอาณาจักรเดียวกับพืช ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ทําการศึกษาพบว่า มีคุณสมบัติต่างจากพืชและสัตว์ จึงจัดอาณาจักรใหม่เป็นอาณาจักรเห็ดรา โดยในปัจจุบันค้นพบเชื้อรามากกว่า 1 แสนชนิด แต่ที่กระจายอยู่ทั่วโลกน่าจะมีมากกว่า 2 ล้านชนิด

ลักษณะรูปร่างของเชื้อราเมื่อเจริญในอาหารจะมีลักษณะฟูคล้ายปุยฝ้าย ส่วนใหญ่สีขาว แต่บางทีมีสีสดหรือสีหม่นๆจนถึงดําซึ่งเป็นสีของสปอร์ โดยสีอ่อนแก่จะแสดงถึงการเจริญเติบโตเต็มที่ของราบางชนิดด้วย ส่วนใหญ่สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ เชื้อราจะสร้างเส้นใย ถ้าแบบเส้นใยเล็กๆ มักเรียกว่า เชื้อรา แต่ถ้าเป็นแบบกลุ่มเส้นใยเรียกว่า เห็ด เส้นใยเชื้อราจะฝังตัวอยู่ในดิน ในพื้นไม้หรือแหล่งอาหารต่างๆ ที่เชื้อราเกาะอยู่ เชื้อราบางชนิดมีการแบ่งตัววัดความยาวได้มากถึง 1 กิโลเมตรต่อวัน และเส้นใยนี่เองที่เป็นตัวดูดซึมสารอาหารพร้อมทั้งปล่อยสารต่างๆออกมาย่อย สลายสิ่งต่างๆ ที่เชื้อราเกาะอยู่ได้อย่างรวดเร็ว ทําให้เราเห็นว่า บางทีเพียงแค่หนึ่งคืนอาหารของเราก็เน่าเสียได้โดยง่าย แต่อย่างไรก็ตามเชื้อราก็ทําลายได้ง่ายๆ เพียงแค่ฆ่าเชื้อแบบ พาสเจอร์ไรส์ แต่ก็ไม่ทําให้เชื้อราสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ง่ายๆ เพราะสปอร์ของเชื้อราทนความร้อนได้สูงมาก ส่วนใหญ่เรารู้จักโทษของเชื้อรากันเป็นอย่างดีจาก


โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ภูมิแพ้ และเชื้อราบางชนิดยังสามารถสร้างสารพิษได้ เช่น สารอะฟลาทอกซิน เมื่อสารพิษนี้เข้าไปสะสมในร่างกายในปริมาณที่มากเกินจะทําให้เกิดโรคเนื้อเยื่อในสมองอักเสบ และมะเร็งในตับ โดยสารพิษนี้มีความสามารถในการทนต่อความร้อนได้ถึง 300 องศาเซลเซียส ซึ่งระดับความร้อนของการหุงต้ม ปรุงอาหารจะไม่สามารถทําลายสารพิษนี้ได้ จึงต้องป้องกันตนเองโดยเลือกอาหารที่ปลอดภัยจากเชื้อรา

นอกจากนี้เชื้อรายังเป็นตัวการในการทําให้อาหารต่างๆ เน่าเสียได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเชื้อราสามารถเจริญในอาหารที่ค่อนข้างแห้ง หรือมีความเป็นกรดเล็กน้อยได้ และยังเป็นศัตรูตัวร้ายของเกษตรกรเช่นกัน เพราะโรคพืชส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา ด้วยเหตุที่เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสิ่งแวดล้อมหลากหลาย โดยเฉพาะในที่มีอินทรีย์วัตถุสูงๆ เชื้อราจึงมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศในแง่ของการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทําให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุล นอกจากนั้นเชื้อรายังสามารถนํามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมาย เห็ด เป็นเชื้อราอีกชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันดีแต่น้อยคนที่จะรู้จักว่าเห็ดเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง


เห็ดเป็นเชื้อราที่มีเส้นใยแบบรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ เพราะเห็ดไม่มีคลอโรฟิลล์สร้างอาหารเองไม่ได้ จึงไม่จัดเป็นพืช ทั้งๆ ที่เห็ดบางชนิดมีขนาดใหญ่กว่าพืชบางชนิดด้วยซ้ำ เห็ดมีรูปร่างลักษณะที่หลากหลายมากมาย มีทั้งแบบที่รูปร่างสีสันสวยงามและแบบรูปร่างสีสันน่าเกลียดน่ากลัว บางชนิดรูปร่างอ้วนๆ กลมเหมือนลูกบอลนิ่มๆ เมื่อสปอร์แก่เต็มที่ลูกบอลก็จะแตกออก สปอร์ก็จะปลิวไปตกตามที่ต่างๆขยายพันธุ์ได้อีกมากมาย


สปอร์ของเห็ดบางชนิดเดินทางไปได้ไกลๆ หลายกิโลเมตร โดยอาศัยลมหรือแมลงพาไป เห็ดมีทั้งประโยชน์และโทษ เห็ดบางชนิดบริโภคได้มีรสชาติอร่อยมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมีสารอาหารมากมาย เห็ดสามารถนํามาประกอบอาหารได้มากมายหลายชนิด บางชนิดก็มีสรรพคุณทางยามากมาย รักษาโรคได้หลายชนิดบ้างก็เชื่อกันว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ และมีการนํามาใช้เป็นส่วนผสมในยาและเครื่องสําอางต่างๆ แต่เห็ดบางชนิด เมื่อกินเข้าไปก็ทําให้เมาหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน เห็ดที่นํามาปรุงอาหารได้มีหลายชนิด เช่น เห็ดฟาง เห็ดโคน เห็ดนางฟ้า เป็นต้น



ส่วนเห็ดที่นิยมนํามาสกัดเพื่อใช้เป็นสารผสมในอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เห็ดหลินจือ นอกจากนี้เชื้อรายังสามารถนํามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น ทางการแพทย์ มีการนําเชื้อรามาใช้ในการผลิตสารปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลิน ซึ่งใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อในสิ่งมีชีวิตต่างๆ

เนื่องจากสารปฏิชีวนะมีฤทธิ์ยับยั้งและทําลายเชื้อโรคได้ดี ยาปฏิชีวนะที่รู้จักกันดี เช่น กลุ่มเพนนิซิลลิน อีรีโทรมัยซิน เตตราซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล สเตรปโตมัยซิน ทางอาหาร มีการนําเชื้อรามาใช้ในการบริโภคและผลิตอาหารมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือพวกเห็ดที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ทางอ้อมคือการนําคุณสมบัติการย่อยของเชื้อรา โดยอาจใช้เชื้อราเดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับแบคทีเรียหรือยีสต์ เช่น การทําซีอิ้ว เต้าเจี้ยว จะใช้เชื้อราที่สามารถย่อยถั่วเหลืองได้ดีมาหมัก สีแดงบนเต้าหู้ยี้ก็ได้จากเชื้อราเช่นกัน การทําข้าวหมาก กระแช่ สาโท ก็จะใช้เชื้อราที่สามารถหมักแป้งให้เป็นน้ำตาล จากนั้นยีสต์และแบคทีเรียจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรด ทําให้ได้ข้าวหมักที่มีทั้งรสหวาน เปรี้ยว และมีกลิ่นหอมด้วย อาหารหมักอย่างอื่นก็คล้ายๆ กัน จะใช้ความสามารถในการย่อยสลายของเชื้อรามาประยุกต์ใส่ในอาหารที่ต้องการ ทําให้ได้อาหารที่มีรูปแบบเปลี่ยนไปจากเดิมและเพิ่มมูลค่าให้วัตถุดิบด้วย


ในทางการเกษตรเชื้อราสามารถย่อยอินทรียสารได้ดี จึงมีการนําเชื้อรามาใช้ทําดินหมักหรือปุ๋ยสําหรับใช้ในการปลูกพืช โดยเตรียมใบไม้ที่มีเชื้อราใบไม้ขึ้นอยู่มาผสมกับข้าวสุก น้ำตาลทรายแดง หมักทิ้งไว้ก็จะได้หัวเชื้อมาทําเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งนํามาใช้ผสมกับดินเพื่อไว้ใช้เพาะปลูก จะช่วยเพิ่มธาตุอาหารและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้แก่ดิน ทําให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตดีไปด้วย

ทางอุตสาหกรรม เชื้อราบางชนิดนํามาสกัดเป็นเอมไซม์ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมมากมาย แล้วแต่คุณสมบัติของเอมไซม์ที่สกัดได้ เช่น ใช้ในการผลิตเบียร์ ทําลูกกวาด ป้องกันการตกผลึกในการทําไอศกรีม ใช้เตรียมน้ำเชื่อมที่หวานจัด

นอกจากนี้ยังใช้เชื้อราในการผลิตกรดซิตริกหรือกรดส้ม ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในวงการแพทย์ เครื่องปรุงอาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหมึก สีย้อมและการทําแม่พิมพ์ จึงนับได้ว่า เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายทั้งประโยชน์ ในด้านอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร การรักษาโรค และในงานอุตสาหกรรมต่างๆ

แต่โทษของเชื้อราก็มีมากเช่นกัน ในรูปของโรคติดเชื้อต่างๆ ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงได้หากเราไม่ทําให้ร่างกายหรืออาหารของเราเหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา เพียงเท่านี้เราก็สามารถอยู่ร่วมกับเชื้อราได้อย่างมีความสุข เหล่านี้คือความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตตัวน้อยที่อยู่คู่มากับโลกและอยู่รอบๆ ตัวเราที่มีชื่อว่า เชื้อรา




ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากMy firstbrain

http://www.vcharkarn.com/varticle/42840
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/09/2011 8:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

426. ปุ๋ยชีวภาพ กับ จุลินทรีย์



ปุ๋ยชีวภาพ หรือบางครั้งเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำเอาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ต่อดินและพืชมาเพาะเลี้ยงจำนวนมาก ๆ แล้วใส่ลงในดินที่จะเพาะปลูกพืช เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ต้องการเหล่านี้ เจริญเติบโต เพิ่มปริมาณและสร้างสิ่งที่เป็นประดยชน์ต่อดินทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ จุลินทรีย์ที่ใช้ในการทำ ปุ๋ยชีวภาพนั้นมีหลายประเภท เช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เชื้อรา แบคที่เรีย โปรโตชัว เป็นต้น ปุ๋ยชีวภาพสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปุ๋ยชีวภาพที่ตรึงไนโตรเจนออกจากอากาศ และกลุ่มปุ๋ยชีวภาพที่ช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารอื่น


ปุ๋ยชีวภาพที่ตรึงไนโตรเจนในอากาศ มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้โดยอาศัยอยู่อย่างอิสระในดิน รากพืช หรือในน้ำ เช่น อะโซโตแบคเตอร์ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และแหนแดง จุลินทรีย์เหล่านี้ เมื่อตรึงไนโตเจนจากอากาศมาได้ก็จะปล่อยสารประกอบไนโตรเจนนั้นออกมา ซึ่งพืชที่ปลูกจะได้ใช้ประโยชน์จากสารประกอบไนโตรเจนนี้เป็นธาตุอาหาร

นอกเหนือจากธาตุอาหาร ไนโตรเจนแล้ว จุลินทรีย์ในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินยังปล่อยฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช และให้ออกซิเจน (จากการสังเคราะห์แสง) ทำให้มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดการย่อยสลาย อินทรียวัตถุอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญคือ ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซา ซึ่งใช้ประโยชน์หลักในการเพิ่มฟอสเฟต ที่มีอยู่แล้วในดิน ปุ๋ยชีวภาพชนิดนี้ผลิตจากจุลินทรีย์ไมโคไรซา ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดิน โดยเชื้อรากลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากฝอยที่สัมผัสกับดิน ทำให้รากพืชสามารถดูดธาตุอาหารได้มากขึ้น

นอกจากนี้ เชื้อราไมโคไรซายังช่วยสะสมน้ำและธาตุอาหารสำคัยไว้ให้กับพืช แต่ประโยชน์ที่นิยมนำ เชื้อรานี้มาใช้ก็คือ การที่เชื้อราสามารถย่อยสลายธาตุฟอสฟอรัสที่อยู่ในดินแต่อยู่ในรูปที่พืชนำมาใช้ไม่ได้ (ทั้งนี้อาจเนื่องจากฟอสเฟตถูกเม็ดดินยึดจับไว้จนแน่น) ให้เปลี่ยนมาอยู่ในสภาพที่พืชเอาไปใช้ประโยชน์ได้


วัตถุประสงค์หลักของการใช้ปุ๋ยชีวภาพ
1. ลดต้นทุนการผลิต
2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม
3. ผลผลิตสูง มีคุณค่าทางโภชนาการ รักษาสิ่งแวดล้อม
4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี
5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจของผู้ผลิตและผู้บริโภค
6. พัฒนาคุณภาพชีวิต
7. เป็นวิธีง่าย ๆ ใครก็ทำได้


คุณสมบัติจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในปุ๋ยชีวภาพ คือ
1. ผลิตธาตุอาหารและกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
2. เติบโตเร็ว เพาะเลี้ยงได้ง่าย
3. ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
4. ทนทานต่อสารเคมีทางการเกษตร คือ ยาหรือสารเคมีต่าง ๆ




ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับกับปุ๋ยหมัก
การใช้วัสดุและหัวเชื้อจุลินทรีย์ในการผลิตปุ๋ยหมัก ไม่ว่าจะผลิตใช้เอง หรือเพื่อการจำหน่ายควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. การเลือกมูลสัตว์
1.1 ควรเป็นมูลสัตว์ที่แห้งมีความชื้นน้อย
1.2 มูลสัตว์ต้องไม่ผสมโซดาไฟที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคในฟาร์มเพราะทำลายต้นพืช
1.3 มูลสัตว์ต้องไม่ใหม่เกินไป เพราะนอกจากจะมีความชื้นสูงแล้วยังมีเชื้อโรคปะปนอยู่มากด้วย
1.4 มูลสัตว์จะต้องไม่มีส่วนผสมอื่นเจือปนอยู่มากเกินไปเพราะจะทำให้มูลสัตว์มีค่าความเป็นปุ๋ยน้อย
1.5 มูลสัตว์ที่นำมาทำปุ๋ยต้องไม่ถูกเก็บไว้ในที่แจ้ง เพราะอาจจะถูกแดดเผาและถูกฝนชะล้างซึ่งจะทำให้มูลสัตว์มีค่าความเป็นปุ๋ยลดลง



2. สถานที่หมักปุ๋ย
2.1 ควรเป็นโรงเรือนที่มุงหลังคามิดชิด เพื่อกันแดดกันฝน สะดวกในการควบคุมอุณหภูมิ เพื่อกันฝนชะล้างกองปุ๋ยหมัก
2.2 พื้นโรงเรือนควรลาดปูนซีเมนต์ เพื่อกันการดูดซึมของน้ำ รักษาความชื้นกองปุ๋ยหมัก และสะดวกในการกลับกอง
2.3 โรงเรือนที่สามารถกันแดดกันฝนได้ จะช่วยในการเก็บรักษาปุ๋ย ไม่ให้เสื่อมคุณภาพเร็วเกินไป



3. การผสมปุ๋ย
3.1 การใช้วัสดุต่างๆมาหมักรวมในกองปุ๋ย จะต้องเป็นไปตามอัตราส่วนที่กำหนดควรจะชั่งหรือตวงให้ได้มาตรฐานตามสูตร เพื่อรักษาคุณภาพของปุ๋ย

3.2 การราดน้ำในกองปุ๋ยหมัก จะต้องราดให้เปียกชุ่มทั่วถึง วิธีทดสอบง่ายๆว่ามีความคามเปียก ชื้นเพียงพอหรือไม่ โดยใช้มือหยิบปุ๋ยหมักขึ้นมาปั้น ถ้าน้ำน้อยเกินไปหรือกองปุ๋ยไม่เปียกชุ่มทั่วกองจะทำให้ปุ๋ยหมักไม่ร้อน วัสดุไม่สลายตัว ทำให้ปุ๋ยหมักไม่มีคุณภาพ

3.3 การทำปุ๋ยหมักทุกครั้ง จำเป็นต้องใส่ดินร่วนหรือหน้าดินที่มีคุณภาพเป็นส่วนผสมด้วย จะทำให้การย่อยสลายของวัสดุที่เป็นส่วนผสมสลายตัวเร็วขึ้น และทำให้ปุ๋ยแทรกซึมลงในดินได้ดี

3.4 รำระเอียดที่ใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมักก็มีส่วนสำคัญ เพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ หากใส่น้อยเกินไปจะทำให้กองปุ๋ยหมักไม่ร้อน อาจทำให้การย่อยสลายของตัววัสดุช้าลง

3.5 หากเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษผัก หญ้าสด หรือ ขุยมะพร้าวไม่ควรหมักไว้หลายวันจึงจะกลับกองเพราะจะทำให้ความร้อนทำลายสารอาหารในมูลสัตว์ให้เหลือน้อยลงจะทำให้ปุ๋ยด้อยคุณภาพสามารถกลับกองได้ทุกวันเพื่อระบายความร้อน ก็สามารถรักษาคุณภาพของปุ๋ย ให้มรคุณภาพดีได้

3.6 การหมักปุ๋ยแต่ละครั้ง จะกำหนดแน่นอนตายตัวไม่ได้ว่ากองหนึ่งๆจะใช้เวลามักนานเท่าใดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเศษวัสดุที่นำมาเป็นส่วนผสม ในกรณีที่เศษวัสดุย่อยสลายได้ง่าย การหมักไม่เกิน5วันถ้าหากเศษวัสดุที่นำมาเป็น ส่วนผสมย่อยสลายได้ช้า ควรหมักไว้ไม่เกิน15วัน มิเช่นนั้น จะทำให้ปุ๋ยหมักมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากความร้อนจะทำลายสารอาหารที่มีอยู่ในมูลสัตว์ให้มีค่าต่ำลง

3.7 เมื่อหมักปุ๋ยจนได้ที่แล้วควรจะกระจายกองปุ๋ยให้คายความร้อนออกจนเย็นสนิท ประมาณ3-15วัน จึงบรรจุกระสอบเพื่อเก็บรักษาก่อนนำไปใช้ต่อไป วิธีเก็บรักษาให้ปุ๋ยมีคุณภาพดีอยู่เสมอ ควรเก็บไว้ในที่ร่ม ไม่โดนแดดโดนฝน



4. การใช้ปุ๋ย
4.1 ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วควรเก็บไว้ไม่ต่ำกว่า20วันจึงจะนำไปใช้เพื่อให้ปุ๋ยเย็นตัวลง และจุลินทรีย์หยุดทำปฏิกิริยาเสียก่อน ไม่ควรนำไปใช้ทันที เพราะจะเกิดผลเสียต่อพืชได้

4.2 การใช้ปุ๋ยหมักสูตรใช่แปลงผัก พืชผัก ให้ใช้ตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้หรือปริมาณเท่ากับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ จะทำให้ปุ๋ยเจริญงอกงามได้ดี หากใช้มากเกินขนาดจะทำให้พืชผลเหลืองเฉาและตายได้ เนื่องจากคุณภาพของปุ๋ยสูตรนี้ มีประสิทธิภาพและความเข้มข้นสูง แต่การใส่แต่ละครั้งควรใส่ให้บ่อยครั้งกว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เนื่องจากปุ๋ยหมักจะสลายตัวได้รวดเร็ว ระยะเวลาที่เหมาะสม คือสัปดาห์ละครั้ง

4.3 การใช้ปุ๋ยหมักกับพืชไม้ผลให้ได้ผลผลิตที่ดี พืชผลมีความสมบูรณ์ ควรจะใส่ปุ๋ยปีละ3ครั้งคือ
4.3.1 หลังการเก็บเกี่ยวพืชผล เพื่อบำรุงต้นและใบ
4.3.2 ปลายฤดูฝนก่อนออกดอก เพื่อเร่งให้ออกดอกเร็วขึ้น และให้มรลูกดก
4.3.3 เมื่อพืชผลติดลูกแก้ว เพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์ของผล และให้ผลมีรสหวานยิ่งขึ้น

4.4 เทคนิคในการให้ไม้ผลออกลูกนอกฤดูกาลและออกผลได้ทั้งปีให้นำปุ๋ยหมักทั้ง

กระสอบไปวางทิ้งไว้ที่โคนต้นไม้ผลปุ๋ยจะช่วยกระตุ้นให้ติดลุกทั้งปี โดยไม่ต้องใช้สารเร่ง และไม่ทำให้ไม้ผลเสื่อมโทรม

4.5 การใช้ปุ๋ยหมักใส่แปลงผัก จะสังเกตเห็นว่าแมลงรบกวนน้อยแต่หากเห็นวามีแมลงรบกวนมากในการทำปุ๋ยหมักมาใช้ควรใช้พืชที่เป็นสมุนไพรปราบแมลงมาใช้ในการผสมด้วย เช่น ใบสะเดา ใบข่า ใบตะไคร้ ใบตะไคร้หอม ใบชะพลู และใบสาบเสือ เป็นต้น

4.6 การใช้ปุ๋ยหมักในบ่อปลา บ่อกุ้ง หรือบ่อตะพาบน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำจืด น้ำเค็ม หรือน้ำกร่อย ปุ๋ยหมักจะช่วยปรับสภาพน้ำสร้างแฟรงด์ตอนและไรแดง ควรใส่อัตราส่วนในเนื้อที่ไร่ละ100กิโลกรัม จะใช้วิธีการหว่านปุ๋ย หรือใช้กระสอบวางกระจายที่ก้อนบ่อก็ได้



5. การหมักและการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ
5.1 การหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ ให้มีคุณภาพควรจะเปิดฝาภาชนะ2-3วัน ต่อ1ครั้ง เปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครั้งละ5นาที เพื่อให้ระบายแก๊สออกจากภาชนะหมัก มิฉะนั้นภาชนะที่บอบบางอาจจะระเบิดได้ เพราะความกดดันของแก๊สภายในภาชนะ

5.2 การเก็บรักษาหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพให้มีอายุยืนยาวนอกจากเปิดฝาภาชนะบรรจุแล้ว ให้เติมน้ำซาวข้าว หรือกากน้ำตาล หรือ น้ำตาลทรายบ่อยๆประมาณ7-10วันต่อ1ครั้งจะทำให้หัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ มีอาหารกินตลอดเวลาจึงไม่เสื่อมคุณภาพ

5.3 การใช้หัวเชื้อชีวภาพรดพืชผักและผลไม้ ให้ระมัดระวังส่วนผสมไม่ให้เข้มข้นมากเกินไปเพราะจะทำให้ต้นพืชเหลืองและตายในที่สุด อัตราส่วนที่เหมาะสมคือหัวเชื้อชีวภาพ1ส่วน ต่อน้ำเปล่า 300-500ส่วน

5.4 หมั่นสังเกตหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้บูดเน่าปกตอแล้วจะมีกลิ่นหอม แต่หากมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพบูดเน่า ห้ามนำไปใช้เพราะจะเป็นกรด ทำให้เกิดผลเสียต่อพืชได้

5.5 ปกติแล้ว หัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ ไม่มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ย แต่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายดิน ทำให้ไดดินดี เสริมสร้างจุลินทรีย์ และธาตุอาหารในดินให้เป็นธรรมชาติ ถ้าหากต้องการให้หัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพมีค่าเป็นปุ๋ยนั้น วัสดุที่ใช้หมักควรจะใส่มูลสัตว์หรือเนื้อสัตว์ เช่น เศษปลา หรือ น้ำล้างปลาผสมลงไปด้วย จะทำให้หัวจุลินทรีย์มีสารอาหารและคุณสมบัติเป็นปุ๋ยด้วย

5.6 การใช้ปุ๋ยน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ ให้ปุ๋ยต้นไม้ทางใบ เกษตรกรควรจะฉีดพ่นในเวลาใกล้ค่ำหรือกลางคืนจึงจะมีผลดี เนื่องจากปากใบพืชจะปิดในเวลากลางวันและจะเปิดในเวลากลางคืน เช้าพืชผักที่ใช้ใบรับประทาน หรือกล้วยไม้ที่ไร้ดิน เป็นต้น



http://www.triamudomsouth.ac.th/07_g/h40241/plan5_2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/09/2011 8:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

427. การใช้ขี้หมูในมันสำปะหลัง


นายภานุพงศ์ สิงห์คำ นักวิชาการเกษตร ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดพิษณุโลก

ที่อยู่เลขที่ 9 หมู่ที่ 10 ตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ได้คิดค้นวิธีการใช้มูลสัตว์กับต้นมันสำปะหลัง ซึ่งใช้เป็นปุ๋ยทางดินและใช้เป็นปุ๋ยฉีดพ่นทางใบก็ได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้


1. การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยทางดิน
มูลสัตว์ทุกชนิดเช่นมูลสุกร มูลไก่เนื้อ มูลไข่ไก่ มูลโคเนื้อ โคนม สามารถใช้เป็นปุ๋ยทางดินแก่ต้นมันสำปะหลังโดยปกติแนะนำให้ใช้ในอัตรา 500 กิโลกรัม มูลแห้งต่อไร่ ยกเว้นมูลไก่เนื้อที่มีแกลบดินผสมจะต้องเพิ่มอัตราการใช้เป็น 1,000 กิโลกรัม มูลแห้งต่อไร่ การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยควรใส่มูลสัตว์บนดิน หว่านกระจายให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบ ก่อนการปลูกพืช 1-2 เดือนเพื่อให้เกิดการย่อยสลายของธาตุอาหารในมูลสัตว์และเป็นประโยชน์ต่อต้นพืชทันที เมื่อปลูกต้นมันสำปะหลัง


2. การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยทางใบ
มูลสุกรมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นปุ๋ยทางใบแก่มันสำปะหลังมาก เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหาร สูงและสามารถหาได้ทั่วไป การทำน้ำสกัดมูลสุกรเพื่อเป็นปุ๋ยทางใบแก่ต้นพืชสามารถทำได้โดย การแช่มูลสุกรแห้งกับน้ำทั่วไปในอัตราส่วน มูลแห้ง : น้ำ = 1 : 10 โดยน้ำหนักบรรจุในมุ้งเขียว หมักแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำสุกรที่บรรจุในมุ้งเขียวออกจากถังแช่นำน้ำสกัดมูลสุกรไปใช้ได้เลย หรือเก็บไว้ใช้ได้นานๆ โดยใส่ถังหรือแกลลอน แล้วปิดฝาให้สนิท ซึ่งจะทำให้กลิ่นลดลงเรื่อยๆจนในที่สุดไม่มีกลิ่นเลยส่วนกากที่เหลือให้ใส่เป็นปุ๋ยดิน



น้ำสกัดมูลสุกรสามารถใช้เพิ่มผลผลิต ของมันสำปะหลังได้ดังนี้
1. การแช่ท่อนพันธุ์มันสำประหลังเป็นเวลา 1 คืนก่อนปลูกลงดิน ช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอ่หารให้ท่อนพันธ์มันสำปะหลัง ทำใหัอัตราการงอกของต้นดีขึ้นและเร็วขึ้น ต้นมันแข็งแรง โตเร็ว อัตราการรอดสูงการออกรากดี โอกาสผลผลิตสูงมีมาก

2. เมื่อต้นอ่อนงอกแล้วให้ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบอย่างต่อเนื่องทุกๆ 1 เดือนจนกระทั่งมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือนหรือถ้าขยันมากก็อาจฉีดพ่นต่อไปอีก ซึ่งจะทำให้มันสำปะหลังเติบโตร็ว ใบคลุมดินเร็ว มีการสะสมธาตุอาหารในใบมาก ใบมีสีเขียวจัด การเกิดรากสูง จึงมีโอกาสทำให้มันมันสำปะหลังมีหัวมาก และเกิดการสังเคราะห์แสง และการสร้างแป้งได้มากในมากในระยะท้ายด้วย



การให้ปุ๋ยแก่มันสำปะหลังจะได้ผลดีมากขึ้นหากต้นพืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอด้วย การให้ปุ๋ยในช่วงฤดูฝนจะให้การตอบสนองดีกว่าช่วงฤดูแล้ง แต่ถ้าให้ปุ๋ยในช่วงฤดูแล้งจะมีการให้น้ำ แก่ต้นพืชอย่างเพียงพอจะทำให้พืชให้ผลผลิตดีที่สุด



ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677

สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.พิษณุโลก

http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=70118&action=edit&joomla=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/09/2011 9:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

428. ปุ๋ยอินทรีย์ ตรงกับความต้องการของต้นพืช


การผลิตปุ๋ยหมักใช้เองโดยให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่จะใช้งานจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่พืชแต่ละชนิด การผลิตปุ๋ยจะต้องให้ตรงกับความต้องการของต้นพืช ในแต่ละช่วงระยะ เช่น

ช่วงการเจริญเติบโต
ระยะเวลาการออกดอก
ระยะเวลาการผลิตผล และ
การรักษา บำรุง ซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอของต้นพืช ให้มีความเจริญงอกงาม ตามระยะเวลาที่เมาะสม

การเพิ่มสารอาหารแก่ต้นพืช ต้องศึกษาว่าช่วงใดต้นพืชต้องการ ไนโตรเจน(N) สูงระยะเวลาใดต้องการ หรือไม่ต้องการ ฟอสฟอรัส (P) และโปตัสเซี่ยม (K)

การให้ปุ๋ยที่ตรงกับความต้องการของพืช จะต้องศึกษาว่าการผลิตปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพควรจะใช้ มูลสัตว์ชนิดใด ที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของพืชในระยะเวลาหนึ่งๆ เนื่องจากค่าไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปตัสเซี่ยม (K) ในมูลสัตว์แต่ละชนิดมีค่าแตกต่างกัน

การผลิตปุ๋ยหมักจึงต้องคำนึงถึงการนำมูลสัตว์และปริมาณการใช้ที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนการเลือกมูลสัตว์ที่จะนำไปใช้ในการผลิต ปุ๋ยหมัก จะต้องให้มีความชื้นน้อยที่สุด จะทำให้ค่าของมูลสัตว์ไม่เปลี่ยนแปลงในการคำนวณปริมาณการนำไปใช้



อัตราส่วนธาตุอาหารของมูลสัตว์ ที่ได้ศึกษาหาค่าเป็นร้อยละของ ความเป็นปุ๋ย วัดค่าได้ตามตารางต่อไปนี้..

มูลสัตว์..............ค่า N.................ค่า P...............ค่า K...........รวม
(%).................(%).................(%)...............(%)

มูลวัว.................1.1 ................ 0.4 .............. 1.6 ......... 3.1

มูลหมู................1.3 ................ 2.4 ............... 1.0 ......... 4.7

มูลไก่ (ไข่)......... 2.7 ................ 6.3 ............... 2.0 ........ 11.0

มูลค้างคาว ........ 3.1 ............... 12.2 .............. 0.6 ........ 15.9



จากตารางดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ค่าของปุ๋ยในมูลสัตว์แต่ละชนิด ให้ค่าเป็นปุ๋ยแก่พืชไม่เท่ากัน การทำปุ๋ยหมักให้มีคุณภาพและได้ผลดีแก่พืชแต่ละชนิด ให้ผลไม่เท่ากันด้วย การทำปุ๋ยหมักผู้ผลิตจะใช้มูลสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่ง อาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงต้องศึกษาว่าปุ๋ยหมักที่จะผลิตนั้น เพื่อจะนำไปเสริมสร้างส่วนใดของต้นพืช ดังนั้นการผลิตปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้ให้ตรงกับความต้องการ ควรปฏิบัติดังนี้

1. การทำปุ๋ยหมักเพื่อบำรุงลำต้น และใบ เพื่อใช้กับแปลงผักประเภทรับประทานใบ และลำต้น หรือพืชยืนต้นระยะเริ่มแรกที่ยังไม่ถึงระยะเวลาให้ผล การทำปุ๋ยหมักให้ใช้มูลสัตว์รวมหลายๆชนิด เพื่อเสริมสร้างส่วนต่างๆของพืชให้ครบถ้วน

2. การทำปุ๋ยหมักเพื่อเร่งดอก และให้มีผลดก การทำปุ๋ยหมักควรใช้ มูลไก่ (ไข่) และมูลค้างคาว เนื่องจากมูลสัตว์ 2 ชนิดนี้ ทีค่าฟอสฟอรัส (P) สูง หากผู้ผลิตไม่มีมูลค้างคาว เนื่องจากจะหายากในบางพื้นที่ ก็ให้ใช้มูลไก่ (ไข่) ชนิดเดียว แต่เพิ่มปริมาณ เป็น 2 เท่า จะทำให้พืชเร่งออกดอก และมีผลดกมาก

3. การทำปุ๋ยหมักเพื่อบำรุงให้ผลโตและความสมบูรณ์ มีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย การทำปุ๋ยหมัก สูตรนี้ให้ใช้มูลวัวและมูลไก่ (ไข่) เนื่องจากมูลสัตว์ 2 ชนิดนี้ มีธาตุอาหารประเภทโปรตัสเซี่ยม (K) มากกว่ามูลสัตว์ประเภทอื่นๆ



เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยหมักกับปุ๋ยเคมี
ในการทำการเกษตร ผู้ผลิตโดยทั่วไปมีความเชื่อว่า การใช้ปุ๋ยเคมีใส่ต้นพืช จะทำให้ต้นพืชมีความเจริญเติบโตงอกงามได้รวดเร็วแน่นอน และใช้ปริมาณน้อย ขาดความเชื่อมั่นในการใช้ปุ๋ยหมัก ซึ่งคิดว่า ต้องใช้ปริมาณมาก การทำยุ่งยาก และให้ผลต่อต้านพืชช้า จึงไม่นิยมใช้ปุ๋ยหมักในการปลูกพืช ระยะต่อมา ผลิตภัณฑ์จากพืชผลการเกษตรมีปัญหาด้านการตลาด ราคาตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูงประสบปัญหาการขาดทุน แต่ไม่มีทางเลือก เกษตรกรยิ่งผลิตมาก ยิ่งขาดทุนมาก เกิด ปัญหาหนี้สิน ที่ไม่สามารถชำระเงินคืนแก่สถาบันการเงินได้ เป็น ปัญหา ระดับชาติที่รัฐบาลทุกสมัยจะต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอยู่อย่าง ต่อเนื่อง

อีกประเด็นหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผลจากการทำเกษตรก้าวหน้านอกจาก จะทำให้ ดินเสียแล้ว ต้องใช้สารเคมีปราบแมลงและศัตรูติดต่อมาเป็น เวลานานสารตกค้างในดินที่โดนน้ำชะล้างลงแม่น้ำลำคลอง เป็นเหตุให้เกิดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษแก่พืช สัตว์ และมนุษย์ ผลกระทบต่อสุขภาพ เกษตรกรได้รับสารพิษจากสารเคมี ซึ่งใช้ฉีดพ่นในแปลงพืชเป็นระยะเวลาติดต่อกันนานๆ เป็นผลให้ร่างกายสะสมสารพิษไว้มาก เกิดอาการเจ็บป่วย เป็นโรคร้ายแรงถึงขั้นพิการและเสียชีวิต ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เป็นภาระแก่ครอบครัวที่อาจจะต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเงินทอง นอกจากนั้นผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีสารพิษตกค้าง เมื่อสะสมเป็นระยะเวลานาน ทำให้ต้องเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรอีกด้านหนึ่งด้วย จากผลกระทบดังกล่าวยังตกเป็นภาระของทางรัฐบาลที่ต้องทุ่มงบประมาณด้านสาธารณะสุข เพิ่มขึ้นปีละมากๆ ตามไปด้วย


การผลิตพืชผัก เกษตรกรเครือข่ายการผลิตผัก โครงการพัฒนาเกษตรยั่งยืน ในพื้นที่ จังหวัดสิงห์บุรี ใช้ไม่พบ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ในการผลิตผักรายละ 1 ไร่ ดังข้อมูลการผลิตในปี 2543 โดยปฏิบัติดังนี้


1. ไถดะและไถแปรอย่างละครั้ง แล้วตากดินไว้อย่างน้อย 7 วัน

2. ชักร่อง ย่อยดิน ใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ อัตราประมาณ 2 กิโลกรัม/ตาราเมตร ถ้าเป็นดินทราย ใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ อัตราประมาณ 4 กิโลกรัม/ตารางเมตร หากดินร่วน ใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ อัตรประมาณ 1.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน รดน้ำให้ชื้นแล้วใช้น้ำชีวภาพและกากน้ำตาลอย่างละ 5 ลิตรผสมกับน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่

3.ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพในอัตราเดียวกับข้อ 2 ซ้ำอีกครั้งในตอนเช้าหรือเย็นของวันถัดไป คลุมฟางหรือคลุมพลาสติก ให้ดินมีความชื้น นานประมาณ 7วัน

4. ผักกินใบและกินผล ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสูตร1 สูตรถั่วเหลือง สูตรนมสด สูตรใดสูตรหนึ่ง อัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร หลังเมล็ดงอกหรือย้ายกล้าประมาณ 7 วัน ในผักกินใบ ระยะออกดอกและติดผล ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตร 3 สูตร 4 สูตรนมสด สูตรถั่วเหลือง สูตรใดสูตรหนึ่ง อัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน กรณีมีโรคที่เกิดจากเชื้อราหรือแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสมุนไพรป้องกันกำจัดเชื้อราหรือปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชผสมรวมไปด้วย โดยใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพผสมรวมทั้งหมดในอัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหรือให้พร้อมกับน้ำระบบสปริงเกอร์ ทุก 5-7 วัน

5. ผักกินใบ โรยแต่งหน้าให้ทั่งแปลงด้วยปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ทุก 15 วัน หลังเมล็ดงอกหรือย้ายกล้า อัตราประมาณ 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร ส่วนผักกินผล ใช้ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพโรยบริเวณโคนต้นในระยะติดผลและหลังเก็บผลผลิตอัตรา 50-100 กรัม/ต้น


http://www.triamudomsouth.ac.th/07_g/h40241/plan5_1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/09/2011 8:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

429. การใช้มูลสุกรแห้งในสูตรอาหารเลี้ยงสุกร


ในภาวะปัจจุบันที่วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด ปลาป่น และกากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผสมเป็นสูตรอาหารเลี้ยงสัตว์มีราคาแพง ผู้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะผู้เลี้ยงสุกรจำเป็นต้องหาวิธีการลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ ซึ่งแนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนค่าอาหาร คือ การนำสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรกลับมาใช้เป็นอาหารสุกรอีกครั้ง

สำหรับมูลสุกรเป็นของเสียเหลือทิ้งจากการเลี้ยงสุกร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อมซึ่ง จากการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีของมูลสุกรที่นำมาตากแห้งพบว่า ยังมีคุณค่าทางโภชนะอยู่มากพอสมควร (ตารางที่ 1) สามารถที่จะนำกลับมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรใหม่ได้ เช่น มีโปรตีนสูงประมาณ 19% และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่างๆอยู่ในระดับสูง สามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนในสูตรอาหารเลี้ยงสุกรได้

อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบทางโภชนะในมูลสุกรตากแห้ง อาจผันแปรไปขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกร ขนาด และอายุของสุกร โดยทั่วไปแล้ว มูลสุกรที่ได้จากสุกรเล็กมักมีโปรตีนสูงกว่ามูลสุกรที่ได้จากสุกรขุน เนื่องจากอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรเล็กมีโปรตีนสูงกว่าอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรขุน จึงทำให้ปริมาณโปรตีนที่หลงเหลือออกมากับมูลสูงกว่าการใช้มูลสุกรแห้งผสมเป็นอาหารเลี้ยงสุกร

เนื่องจากมูลสุกรแห้งมีความน่ากินต่ำ และมีเยื่อใยค่อนข้างสูง จึงไม่เหมาะที่จะนำกลับไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงลูกสุกร หรือสุกรระยะเล็ก แต่สามารถนำมาใช้เลี้ยงสุกรรุ่น และขุนได้

จากข้อมูลที่มีผู้ศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า สามารถใช้มูลสุกรตากแห้งเป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารเลี้ยงสุกรรุ่น (สุกรน้ำหนัก 20-60 กิโลกรัม) ได้ถึงระดับ 10% ของสูตรอาหาร และในสุกรระยะขุน (น้ำหนัก 60-100 กิโลกรัม) สามารถใช้ได้ถึง 15% ของสูตรอาหาร โดยที่สุกรยังมีการเจริญเติบโตเป็นปกติ ในขณะที่ต้นทุนค่าอาหารต่ำลง สำหรับตัวอย่างสูตรอาหารที่ใช้มูลสุกรแห้งเป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงสุกรรุ่น และสุกรขุน


ข้อเสนอแนะ ในการที่เกษตรกรจะนำมูลสุกรตากแห้งมาผสมเป็นอาหารเลี้ยงสุกร สิ่งที่จะต้องพึงระวัง คือ
1. ต้องเป็นมูลสุกรที่มาจากฟาร์มที่ปลอดโรค และพยาธิ หรือควรใช้มูลสุกรแห้งที่ได้จากฟาร์มของตนเอง
2.ไม่ควรเปลี่ยนสูตรอาหารที่ใช้อยู่เดิมมาเป็นสูตรอาหารที่มีมูลสุกรแห้งเป็นส่วนประกอบ


ทันทีทันใด ควรจะค่อยๆเปลี่ยนสูตรอาหาร เพื่อให้สุกรมีระยะเวลาในการปรับตัวให้คุ้นเคยกับอาหารสูตรใหม่ ดังนั้น หากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจะหันมาใช้มูลสุกรแห้ง เป็นส่วนประกอบสูตรอาหารเลี้ยงสุกร ก็จะช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ได้ทางหนึ่ง และยังสามารถช่วยลดมลภาวะอันเกิดจากการระบายมูลสุกรสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ




เอกสารอ้างอิง
สมโภชน์ ทับเจริญ และคณะ.2535.การใช้มูลสุกรแห้งและมูลสุกรหลังการหมักก๊าซชีวภาพในอาหารสุกรรุ่น. สุกรสาส์น ปีที่ 19 ฉบับที่ 74 หน้า 19 - 22
อุทัย คันโธ. 2532. การใช้มูลสุกรเป็นอาหารสัตว์. สุกรสาส์น ปีที่ 16 ฉบับที่ 61 หน้า 21 – 25

http://www.ptg2552.com/index.php?mo=3&art=250981
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/09/2011 8:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

430. ขบวนการขี้หมูกู้ชาติ


ใครว่าขี้หมูเหม็น...ถ้าไปถามเกษตรกรบางท่านตอนนี้อาจได้คำตอบว่า ไม่จริง ?

เพราะนอกจากไม่เหม็นแล้วยังมีประโยชน์ต่อพืชเศรษฐกิจของเราอย่างมหาศาล ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ย แถมช่วยให้พืชเติบโตให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว นี่คือคำตอบของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการใช้น้ำสกัดจากมูลสัตว์ เช่น หมู ไก่ วัว โดยเฉพาะกับหมูมาใช้ฉีดพ่นทางใบทำให้พืชผลเจริญเติบโตงอกงามมีใบเขียว ก้านตรงแข็งแรงและให้ผลผลิตเพิ่มสูงกว่าเดิมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 สาเหตุเพราะ การเลี้ยงสัตว์แบบฟาร์มจะใช้ธาตุอาหารเช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ โซเดียม เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานีส เป็นต้น ลงในอาหารเพื่อเร่งการเจริญเติบโต แต่สัตว์สามารถย่อยหรือดูดซึมไปใช้ได้เพียง 30-50% ที่เหลือจึงถูกขับออกมาเป็นมูล ดังนั้นมูลสัตว์โดยเฉพาะมูลหมูจึงมีสารอาหารที่ดีที่สุด และพืชเช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน ก็ต้องการสารอาหารที่ว่านี้เช่นกัน

คุณลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. บอกว่าผลงานวิจัยดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับ ธ.ก.ส. ซึ่งได้มีการนำความรู้นี้ไปถ่ายทอดให้กับชาวบ้านทดลองทำ เพื่อเป็นการกำจัดของเสียจากฟาร์มหรือเป็นการนำของเสียมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเป็นการช่วยลดมลพิษทางกลิ่น ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืนในด้านการประกอบอาชีพและการลดต้นทุนการผลิตโดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี แต่ปีแรกไม่มีใครสนใจทำแถมยังค่อนแคะว่า เอางานไปเพิ่ม! เพราะเดิมปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลังไปแล้วทิ้งเอาไว้ให้เทวดาดูแล อย่างดีก็เอาปุ๋ยเคมีไปใส่ แค่นี้ก็เสร็จแล้ว นี่อะไร?ต้องคอยมาฉีดพ่นน้ำสกัดจากมูลหมูทุก 15 วัน ใครจะทำไหว? ชาวบ้านตั้งป้อมไม่ยอมรับ!!!! ธ.ก.ส.จึงขออาสาสมัครทดลองทำเปรียบเทียบให้ชาวบ้านคนอื่นเห็น ระหว่างแปลงที่ดูแลแบบใช้น้ำหมักมูลสุกรกับการปลูกแบบเดิม ผลออกมาต่างกันชัดเจน แต่คนก็ยังเข้าร่วมโครงการน้อยอยู่ดี

แต่อย่างว่าในวิกฤติย่อมมีโอกาส.....ภาวะภัยแล้งช่วงที่ผ่านมาผนวกกับโรคเพลี้ยระบาดในข้าวและมันสำปะหลังเป็นตัวกระตุ้นสำคัญให้ชาวบ้านหันมาปลูกข้าวโดยวิธีนี้ ยกตัวอย่างชาวบ้านที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ที่บอกว่า ธ.ก.ส.มาชวนทำหลายหนแต่ผลัดมาตลอด แต่คราวนี้โดนเพลี้ยลงเสียหายทั้งแปลง ยาฉีดฆ่าแมลงก็เอาไม่อยู่ เพื่อนบ้านรอบ ๆ ก็เสียหายหมด ยกเว้นของคนที่ปลูกข้าวแบบใช้น้ำสกัดมูลสุกร จึงไปขอมาฉีดพ่นควบคู่กับยาฆ่าแมลง ปรากฏว่าข้าวฟื้นและรอดเหลือให้เก็บเกี่ยว ...ในงานวันข้าวขาวดอกมะลิ 105 อำเภอพร้าว ซึ่งเป็นงานประจำปีในระดับท้องถิ่นจึงได้ยกเอาไฮไล้ท์เรื่องน้ำสกัดจากมูลสัตว์มาเป็นฐานความรู้สำคัญให้กับชาวบ้าน พร้อมกับเชิญเกษตรกรผู้ที่เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตจากการใช้น้ำสกัดมูลสุกรมาเป็นวิทยากรแบบเพื่อนช่วยเพื่อน หรือสอนชาวบ้านด้วยกันเองด้วย ไม่น่าเชื่อว่าจากความพยายามที่จะให้ชาวบ้านหันมามองหรือใส่ใจในเรื่องนี้อยู่เกือบ 2 ปี มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่ถึง 600 คน แต่ปีนี้มีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการถึง 3,210 คน ซึ่งปีหน้า ธ.ก.ส.ได้บรรจุเข้าเป็นหลักสูตรหนึ่งของศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงของ ธ.ก.ส. โดยตั้งเป้าหมายว่าจะมีผู้ร่วมโครงการประมาณ 7,600 ราย

น้ำสกัดจากมูลหมูหรือขี้หมูอาจจะไม่ใช่คำตอบแค่การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ หรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเท่านั้น แต่คำตอบที่แท้จริงอยู่ที่ความเอาใจใส่ต่องานที่ทำ เช่น คนเป็นครูต้องสอนนักเรียนทุกวัน คนเป็นตำรวจต้องหมั่นดูแลรักษาความสงบปลอดภัยให้ชาวบ้าน คนทำงานออฟฟิศต้องไปทำงานทุกวันและต้องทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย เกษตรกรลงมือทำการเกษตรแล้ว ถ้าจะให้เกิดผลดีก็ต้องหมั่นดูแล บำรุงรักษา หาวิธีการที่จะลดต้นทุน เพื่อที่จะได้มีกำไรเพิ่มมากขึ้น มิใช่ปลูกแล้วทิ้ง!! แล้วรอ!! รอการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ โดยลืมใส่ใจบางช่วงบางตอน ทำให้สูญเสียโอกาสที่ควรจะได้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย หลักการของขบวนการขี้หมูกู้ชาติจริง ๆ อยู่ตรงนี้นี่เอง

•พรพรหม จักรกริชรัตน์•


http://www.baac.or.th/content-news.php?content_id=011404&content_group_sub=0003&content_group=0003&inside=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 15, 16, 17 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 16 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©