-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 19/08/2011 6:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 10

ลำดับเรื่อง...

256. เครื่องกำจัดวัชพืชแบบ กวศ.-1
257. เครื่องหยอดเมล็ดพืช แบบล้อเอียง 2 วงหยอด
258. ไถจานพรวนติดพ่วงรถไถเดินตาม
259. ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรม อเมริกาเป็นประเทศเกษตรกรรม !
260. มูลสุกรพ่นข้าว-มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่ม-ลดต้นทุน ไร่ 3 พัน

261. การใช้มูลสุกรแห้งในสูตรอาหารเลี้ยงสุกร
262. หมูหลุม โคหลุม ประโยชน์สองต่อ ที่สามโก้
263. ทำฟางไร้ค่า ให้มีค่าสำหรับวัวคุณ
264. สมุนไพรป้องกันโรคสัตว์เลี้ยง
265. การเลี้ยงปลาในนาข้าว

266. ปรัชญาชีวิตแบบญี่ปุ่น
267. โรคพืชวิทยา (Plant pathology)
268. การวินิจฉัยโรคพืช
269. โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย (Plant disease caused by
270. ไคติน-ไคโตซาน

271. สารกันบูด
272. พาสเจอไรส์ (pasteurization)
273. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp)
274. เชื้อแบคทีเรีย
275. การจัดการโรคพืชในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่

276. การจัดการโรคพืชในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่
277. โรคข้าวไร่และการป้องกันกำจัด
278. ข้าวทอง
279. ข้าวสีทอง ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาขาดวิตามิน เอ
280. ทุนวิจัยข้าวสีทอง

--------------------------------------------------------------------------------------






256. เครื่องกำจัดวัชพืชแบบ กวศ.-1





การกำจัดวัชพืช นับเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่เกษตรกรจะต้องดำเนินการให้ทันต่อเวลาเพื่อป้องกันวัชพืชแย่งอาหารจากพืช ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง

การกำจัดวัชพืชอาจจะใช้แรงคน แรงสัตว์หรือเครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง ใช้สารเคมี หรือวิธีการอื่นๆ ในอดีตยนต์เป็นต้นกำลัง ใช้สารเคมี หรือวิธีการอื่นๆ ในอดีตจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันเนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน จึงทำให้เกษตรกรหันมาใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง หรือใช้อุปกรณ์ที่กำจัดวัชพืชพ่วงกับรถไถเดินตามหรือ รถแทรกเตอร์

เครื่องกำจัดวัชพืชที่มีใช้อยู่ทั่วไปนั้น ในการใช้แรงงานคนจะใช้จอบหรือมีด หรือเครื่องถากหญ้าแบบง่ายๆ ที่โรงงานท้องถิ่นผลิตจำหน่าย หรือใช้แรงสัตว์ลากอุปกรณ์กำจัดวัชพืช

ในกรณีเกษตรกรมีรถแทรกเตอร์ 4 ล้อ หรือรถไถเดินตามก็จะซื้ออุปกรณ์พ่วงกำจัดวัชพืชเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการกำจัดวัชพืชเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการกำจัดวัชพืช แต่การกำจัดวัชพืชโดยการใช้รถแทรกเตอร์ 4 ล้อ มีข้อจำกัดในการเข้าร่องระหว่างร่องแถวปลูกที่ต้นพืชสูง และระยะระหว่างแถวแคบ นอกจากนั้นแล้ว ยังทำให้ดินอัดตัวแน่นจากน้ำหนักรถ ส่วนรถไถเดินตามก็ยังมีน้ำหนักมาก (ประมาณ 300-400 กก.) และในกรณีที่จะใช้เฉพาะการกำจัดวัชพืช รถไถเดินตามก็ยังนับว่ามีราคาแพง

เครื่องกำจัดวัชพืชที่ใช้เฉพาะงานกำจัดวัชพืชที่ผลิตจากต่างประเทศ มีราคาค่อนข้างแพง (ประมาณ 40,000 บาท) และก็ยังมีข้อจำกัดในด้าน ความสูงของท้องรถน้อยเกิน (ประมาณ 18 ซม.) ทำให้เข้าทำงาน ในขณะต้นพืชสูงได้ยากและการปรับความกว้างช่วงล้อก็ได้ไม่มาก นอกจากนั้น ยังมีปัญหาในการซ่อมแซมเครื่อง ที่ค่อนข้างยุ่งยาก

เครื่องกำจัดวัชพืช กวศ.-1 เครื่องกำจัดวัชพืชขนาดเล็ก ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 5 แรงม้าเป็นต้นกำลัง สามารถสร้าง และซ่อมแซมได้ง่ายสามารถปรับความกว้างช่วงล้อได้มาก เพื่อให้เหมาะสมกับการปลูกพืชหลายชนิด และมีราคาไม่แพง เกษตรกรสามารถซื้อได้



ส่วนประกอบของเครื่องกำจัดวัชพืชแบบ กวศ.-1

เครื่องกำจัดวัชพืชแบบ กวศ.-1 ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
1. ต้นกำลัง เครื่องยนต์เบนซิน 5 แรงม้า

2. ชุดเฟืองโซ่ถ่ายทอดกำลัง ประกอบด้วยเฟืองโซ่ 2 ชุด ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลัง และทดรอบจากเครื่องยนต์มายังล้อ และมีเฟืองโซ่ชุดเกียร์ถอยหลัง 1 ชุด

3. เพลาล้อ ทำด้วยเหล็กเพลา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ซม. เพลาล้อสามารถเปลี่ยนได้เพื่อเพิ่มระยะช่วงล้อ สำหรับการใช้งานกำจัดวัชพืช ในระหว่างแถวของพืช และสามารถปรับช่วงล้อได้ 70-120 ซม.

4. ล้อ เป็นล้อเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 76 ซม. ครีบใบล้อจำนวน 24 ใบ ขนาดกว้าง 10 ซม. เพิ่มความสามารถในการขับเคลื่อนและฉุดลาก


5. อุปกรณ์กำจัดวัชพืช มี 3 แบบ คือ
• แบบใบกวาด มีลักษณะเป็นใบตัด วัชพืชขนาดหน้ากว้าง 10 ซม. สามารถเลือกใช้จำนวนใบกวาดให้เหมาะสมกับระยะระหว่างแถวของต้นพื

• แบบหัวหมูยกร่อง ใช้ในกรณีต้องการคราดดินออกด้านข้างเพื่อพูนโคนต้นพืช

• แบบใบตัดรากอ้อย ใช้ในการถากต้นวัชพืชขนาดเล็ก และช่วยในการตัดรากอากาศของอ้อยส่วนที่ติดอยู่กับผิวดิน เพื่อให้รากแก้วและแขนงเจริญเติบโตได้ดี เครื่องกำจัดวัชพืชแบบ กวศ.-1 นี้ มีน้ำหนักประมาณ 100 กก. (รวมเครื่องยนต์) ราคาประมาณ 15,000 บาท (รวมเครื่องยนต์)


การทำงาน
จากผลการทดสอบเครื่องกำจัดวัชพืช กวศ.-1 ในแปลงเกษตรกร ปลูกอ้อย ข้าวโพดและถั่วเหลือง สรุปผลได้ดังนี้
ก) ความเร็วในการทำงานของเครื่องกำจัดวัชพืชประมาณ 2.5 กม./ชม.

ข) ความสามารถในการกำจัดวัชพืชของเครื่องกำจัดวัชพืชประมาณ 1.2 ไร่/ชม. ในขณะที่กำจัดวัชพืช โดยใช้แรงคนและจอบ สามารถทำงานได้ประมาณ 0.08 ไร่/ชม.

ค) การปรับช่วงล้อได้มาก 70-120 ซม. ทำให้สามารถปรับช่วงล้อให้เหมาะสม และทำงานได้สะดวก

ง) เครื่องกำจัดวัชพืช สามารถเข้ากำจัดพืชระหว่างแถวของต้นข้าวโพดและอ้อยในขณะต้นสูงได้ในขณะที่เครื่องกำจัดวัชพืชอื่นไม่สามารถทำงานได้


ข้อแนะนำในการใช้งาน
1. ใช้ได้ในกรณีปลูกพืชเป็นแถว
2. สภาพดินควรเป็นดินร่วน หรือร่วนปนทราย จึงจะทำให้รถกำจัดวัชพืช สามารถทำงานได้ดี ในสภาพดินเหนียวที่ไถดินแล้ว มีก้อนดินโตจะทำงานได้ไม่ดี




http://kasetinfo.arda.or.th/north/machine_1.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 8:04 am, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 19/08/2011 6:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

257. เครื่องหยอดเมล็ดพืช แบบล้อเอียง 2 วงหยอด





กองเกษตรวิศวกรรม ได้พัฒนาอุปกรณ์หยอดของเครื่องหยอดเมล็ดเมล็ดพืชแบบล้อเอียง แบบติดท้ายรถไถเดินตาม ซึ่งใช้แพร่หลายในการปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าว ฯลฯ ให้แผ่นหยอดเปลี่ยนจากมี 1 วงหยอดให้เป็น 2 วงหยอด ทำให้เครื่องสามารถปลูกเพิ่มจาก 2 แถว เป็น 4 แถว ในช่วงระยะระหว่างแถว 25-30 เซนติเมตร โดยหยอดเมล็ดพืชได้ประมาณ 8-12 ไร่ต่อวัน ประหยัดเมล็ดพันธุ์ในการหยอดได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้มือหยอด

เครื่องหยอดเมล็ดพืชแบบล้อเอียง 2 วงหยอดสามารถใช้หยอดเมล็ดพืชขนาดเล็ก เช่น ปอ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ฯลฯ ได้โดยมีอัตราการหยอดเมล็ดที่แม่นยำ เปอร์เซ็นต์การแตกหักน้อย และยังสามารถเปลี่ยนแผ่นหยอดเพื่อเปลี่ยนระยะปลูกหรือปลูกพืชชนิดอื่นๆ ได้ตามต้องการ

เครื่องหยอดเมล็ดพืชแบบ 2 วงหยอด สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูก ช่วยให้เกษตรปลูกพืชได้ทันเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานปลูกประมาณไร่ละ 50 บาท และประหยัดเมล็ดพันธุ์มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้มือปลูก



คำแนะนำการใช้
• เลือกใช้แผ่นหยอดให้ถูกต้องขนาดของรู และจำนวนรูของแผ่นหยอดขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ดพืชและอัตราการหยอด

• การเตรียมดินสำหรับการปลูกด้วยเครื่องหยอดเมล็ดพืชแบบ 2 วงหยอดต้องไถพรวนให้เม็ดดินมีขนาดเล็ก เก็บเศษพืชในแปลงออกให้เรียบ และควรปลูกในขณะดินแห้ง เนื่องจากการปลูกในขณะดินเปียกจะทำให้ดินติดตามส่วนต่างๆ ของเครื่องหยอด ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

• แปลงปลูกควรมีขนาดพอที่จะให้รถไถเดินตามมีช่วงทำงานและเลี้ยวกลับหัวงานได้สะดวก



http://kasetinfo.arda.or.th/north/machine_1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 19/08/2011 6:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

258. ไถจานพรวนติดพ่วงรถไถเดินตาม





ปัจจุบันการใช้งานรถไถเดินตามมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในพื้นที่นา และในพื้นที่ไร่ โดยเฉพาะในพื้นที่ไร่ หลังจากการไถเปิดดินครั้งแรกแล้ว มีการใช้รถไถเดินตามย่อยดิน แต่อุปกรณ์ในการย่อยดินสำหรับรถไถเดินตามยังไม่มีความเหมาะสม ดังนั้นกองเกษตรวิศวกรรมจึงออกแบบและพัฒนาจานไถพรวนติดพ่วงกับรถไถเดินตาม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร และเป็นการปรับปรุง ยกระดับประสิทธิภาพการเตรียมดิน


ไถจานพรวนติดพ่วงกับรถไถเดินตามนี้ มีลักษณะเป็นจานไถร้อยอยู่ในแนวเดียวกัน ข้างละ 3 จาน มีลักษณะเป็นรูปตัววี ในการทำงานจะนำไถจานพรวนติดพ่วงกับรถไถเดินตามที่ตำแหน่งจุดพ่วงอุปกรณ์ของรถไถเดินตาม เมื่อรถไถเดินตามเดินหน้าไป จานพรวนที่อยู่ด้านหลังรถไถเดินตามจะทำการย่อยดิน ซึ่งมีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง


จากการทดสอบ พบว่า เมื่อใช้รถไถเดินตามซึ่งใช้เครื่องยนต์ขนาด 11.5 แรงม้า สามารถทำงานได้ 1.95 ไร่/ชม. อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ย 0.38 ลิตรต่อไร่




ที่มา: สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
http://210.246.186.28/fieldcrops/corn/mac/index.HTM

http://kasetinfo.arda.or.th/north/machine_1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 6:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

259. ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรม อเมริกาเป็นประเทศเกษตรกรรม !


บทความนี้เป็นบทความที่ผมได้อ่านนานมาแล้ว ไปพบเข้าใน www.pantip.com ก็เลยอยากนำมาให้เพื่อนๆได้อ่าน จะได้รู้ความจริงว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมเต็มตัวแล้ว ถ้าชาวต่างชาติถามต้องตอบว่า ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมไม่ใช่เกษตรกรรม และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสินค้าเกษตรไทยอีกหลายๆประการ ซึ่งเราในฐานะชาวไทยทุกคนควรรับรู้ไว้


โดย วสันตวิสุทธิ์

พูดไม่ผิดหรอกครับ พูดใหม่อีกทีก็ได้ “ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรม อเมริกาเป็นประเทศเกษตรกรรม!”

ฟังแล้วก็สวนทางกับความรู้สึก ผมก็เพียงแต่เอาข้อเท็จจริงและตัวเลขมาเล่าสู่กันฟัง เป็นมุมมองส่วนตัวทางเศรษฐกิจครับ ไม่ได้มีเจตนาตั้งใจจะคุยโม้โอ้อวดประเทศ หรือโจมตีว่ากล่าวประเทศอเมริกาแต่อย่างใด และก็ยังไม่ได้บอกว่าเราเจริญกว่าอเมริกานะครับ อย่าเพิ่งคิดไปไกล

ขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมเต็มตัวแล้ว โดยดูจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า จีดีพี (gdp ย่อมาจาก gross domestic products) สมัยก่อน ในยุค พ.ศ. 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองเรียกประชุมนั้น ผลผลิตภาคการเกษตรของไทยคิดเป็นร้อยละ 40 ของจีดีพี ส่วนภาคอุตสาหกรรมมีแค่ร้อยละ 13 มาถึงยุควิกฤตน้ำมันช่วงพ.ศ. 2523 ฝรั่งพบบ่อแก๊สในอ่าวไทย ภาคการเกษตรของไทยมีขนาดเท่าๆ กับภาคอุตสาหกรรมคือราวร้อยละ 23 ของจีดีพี ผ่านไปสิบปีให้หลัง จากยุคโชติช่วงชัชวาลย์ของป๋าเปรมต่อมาถึงยุคเปลี่ยนสนามการรบเป็นการค้าสมัยน้าชาติ ในพ.ศ. 2533 ภาคการเกษตรของไทยมีขนาดเหลือร้อยละ 13 ของจีดีพี ส่วนภาคอุตสาหกรรมกลายเป็นร้อยละ 27 ของจีดีพี พอมาถึง ยุคเกือบเป็นนิกส์ ฟองสบู่แตก เสือเอเชียกลายเป็นแมว และเกิดวิกฤตเศรษฐกิจพ.ศ. 2540 ที่เรียกว่าโรคต้มยำกุ้ง ระบาดไปทั่วเอเชีย และเข้าสู่ยุค 2000 คือพ.ศ. 2543 นั้น ภาคการเกษตรของไทยมีขนาดเหลือเพียงร้อยละ 10 ของจีดีพีเท่านั้น ส่วนภาคอุตสาหกรรมซึ่งขณะนี้ซบเซามากๆ ก็ยังมีขนาดถึงร้อยละ 44 ของจีดีพี

เรียกได้ว่าไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมเต็มตัว ชนิดถอยหลังไม่ได้แล้ว ส่วนภาคอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุถึง ก็มีภาคบริการ ซึ่งรวมภาคการเงิน ภาคการค้าขาย ทั้งค้าปลีกค้าส่ง ภาคขนส่ง ภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น แม้ว่าทั้งหมดรวมกันจะประมาณครึ่งหนึ่งของจีดีพี แต่ถ้าแยกรายการแล้ว แต่ละตัวก็จะเล็กกว่าภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด

การที่ภาคอุตสาหกรรมเติบใหญ่เป็นสัดส่วนที่มากของจีดีพี ไม่ได้แปลว่าภาคการเกษตรของไทยมีขนาดเล็กลงนะครับ ภาคการเกษตรของไทยก็ยังมีการเติบโตอยู่ และโตมาโดยตลอด ขนาดก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่โตช้ากว่าภาคอุตสาหกรรม ก็เลยโดนแซงหน้าไป ภาคอุตสาหกรรมก็เลยเป็นพระเอกมาเป็นตัวทำเงินให้กับประเทศในขณะนี้

แต่ภาคการเกษตรของไทยก็ยังมีความสำคัญอยู่นะครับ แต่เพราะขนาดของเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็วในอดีตที่ผ่านมา มีการขยายตัวสูงมากก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ เฉลี่ยถึงร้อยละ 8 ถึง 9 ต่อปี ส่วนภาคการเกษตรขยายตัวช้ากว่า เพียงร้อยละ 2 ถึง 3 ต่อปี เลยทำให้สัดส่วนต่อจีดีพีลดลง

จริงอยู่ ไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรม มาตั้งแต่สมัยโบราณ เราปลูกข้าวส่งออกไปเลี้ยงชาวโลกมานาน แต่ท่านทราบไหมว่าเราเพิ่งเริ่มการส่งออกข้าวในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ

แล้วก่อนหน้านั้นละ เรามีการค้าขายกับประเทศต่างๆ รวมทั้งฝรั่งตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ใช่หรือ จริงอยู่สมัยกรุงศรีอยุธยาเราส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ แต่ไม่ได้ส่งออกข้าวครับ จากการวิจัยทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ พบว่าสมัยก่อนเราส่งออกของหายากจากป่าเป็นหลัก เช่น งาช้าง กฤษณา ไม้แดง (เอาไปทำสีย้อมผ้าที่จีน) เป็นต้น เหตุผลเพราะว่า มันเบาและได้ราคาดี และเรือสำเภา สมัยก่อนลำเล็กมาก (ไปดูที่วัดยานนาวาได้) บรรทุกสินค้าได้น้อย ถ้าเทียบกับเรือสมัยนี้ ไม่มีคอนเทรนเนอร์ หรือปั้นจั่นยกของลงเรือ ต้องใช้กุลีแบกของลงเรือ การเดินทางก็นานกว่าเพราะใช้แรงลม ไปกลับได้ปีละครั้งเดียวเพราะต้องรอลมสินค้า ซึ่งพัดตามฤดูกาล บรรทุกข้าวไปขายก็ไม่คุ้ม เพราะมันหนักเรือ

การส่งออกข้าว เพิ่งเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะมีเรือกลไฟซึ่งบรรทุกของหนักได้ และลำใหญ่ เรียกว่าค่าระวางเรือถูกลงพอจะบรรทุกข้าวไปขายที่เมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษได้

แต่อังกฤษไม่ได้ชอบกินข้าวไทยหรอกนะ เพียงแต่ข้าวอินเดียกับข้าวพม่าขาดตลาด เอาไปกลั่นทำเหล้าถูกๆ ขายกรรมกรเหมืองถ่านหินที่ลิเวอร์พูลได้ไม่ทัน กรรมกรค่าแรงต่ำคงไม่ได้นั่งจิบเบียร์เย็นๆ ในผับหรอก คนทำงานหนักอย่างเราชาวกรรมาชีพ ต้องเหล้าโรงที่มีดีกรีความแรง 28 อย่างต่ำ

เหมือนตอนนี้ที่ประเทศจีนกำลังกว้านซื้อมันสำปะหลังราคาถูกของไทยไปทำแอลกอฮอล์ผสมทำเหล้าราคาถูกให้กรรมกรจีนกินกันใหญ่ เพราะเศรษฐกิจจีนกำลังขยายตัวมาก กรรมกรทำงานหนัก สร้างโรงงานกันแทบไม่ทัน

พูดได้ว่าประเทศไทยเริ่มส่งออกพืชผลทางการเกษตร ก็ตั้งแต่มีเรือกลไฟนี่แหละ สินค้าเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งก็คือข้าว และทำรายได้เข้าประเทศเป็นเนื้อเป็นหนังก็คงมาในยุคผู้ใหญ่ลีนี่แหละ ส่วนในปัจจุบันไทยก็ยังส่งออกข้าวอยู่และส่งออกเป็นปริมาณมากกว่าในอดีต แต่นับมูลค่าแล้ว แพ้แผงวงจรไฟฟ้าและอัญมณีซึ่งเป็นสินค้าส่งออกยอดนิยมของไทยไปนานแล้ว

ถ้าไปถามนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของไทย แทบทุกคนต่างลงความเห็นว่า ขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว

ทำไมพูดว่าอเมริกาเป็นประเทศเกษตรกรรม

เพราะอเมริกา เป็นและจะยังคงเป็น อู่ข้าวอู่น้ำของโลกต่อไปในอนาคต กล่าวคือ

ประชากรของโลก ในตอนนี้มีอยู่ราว 6 พันล้านคนประมาณว่าในปี ค.ศ. 2020 จะเพิ่มเป็น 8 พันล้านคน และปี 2040 จะเพิ่มขึ้น เป็นเท่าตัวคือ 12 พันล้านคน

หมายความว่าทุก 10 ปีเราจะมีประชากรเท่ากับประเทศจีนเพิ่มเข้ามาในโลกนี้

แล้วจะเอาอาหารที่ไหนไปเลี้ยงประชากรที่เพิ่มขึ้นมามากมายขนาดนั้น

ความหวังก็คือประเทศอเมริกาครับ

เอ๊ะ แล้วพี่ไทยไปไหนละครับ เราจะเป็นครัวของชาวโลกไม่ใช่หรือ

คงใช่ครับ แต่ปัจจุบันเราผลิตข้าวได้ พอเลี้ยงชาวโลกเป็นหลักสิบล้าน ร้อยล้าน ถ้ามาเป็นพันล้านเราคงจะรับไม่ไหว กล่าวคือเราปลูกข้าวได้พอเลี้ยงคนไทย 60 ล้านคนได้อย่างเหลือเฟือ คือคนไทยกินเองครึ่งหนึ่งส่งออกครึ่งหนึ่งก็สามารถเลี้ยงชาวโลกได้อีก 60 ล้านคนอย่างสบาย ประมาณ 5% ของประชากรจีน

แต่ถ้าเพิ่มเป็น 4 เท่าของประชากรจีน ครัวไทยคงจะแตกครับ เลี้ยงไม่ไหวต้องเลี้ยงแบบบุฟเฟ่ต์ คือให้ไปหา (ปลูก) กินกันเองบ้าง

แล้วทำไมต้องไปหวังพึ่งอเมริกาละครับ

คำตอบ คือ อเมริกาเป็นประเทศเกษตรกรรมครับ

อเมริกาไม่ใช่เป็นประเทศอุตสาหกรรมหรอกหรือ เพราะส่งออกโบอิ้ง 747 ขายให้การบินไทย ขายดาวเทียมให้ชินวัตรและทั่วโลก ขายเอฟ 16 ขายมือถือ ขายคอมพิวเตอร์ ขายจานดาวเทียม ฯลฯ และสินค้าอุตสาหกรรมอีกล้านชนิด (แปลว่าเยอะมากนับไม่ไหว)

แต่ผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของอเมริกา

เพราะว่าอเมริกามีการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรจำนวน 17% ทุกปี ในลักษณะของวัตถุดิบ

หนึ่งในสี่ของเนื้อวัวของโลกผลิตในประเทศอเมริกา

หนึ่งในห้าของธัญพืช (เมล็ดข้าวต่างๆ) รวมทั้ง นม และไข่ไก่ของโลก ก็ผลิตในประเทศอเมริกา

ทุกวันนี้ชาวนาอเมริกันหนึ่งคนสามารถผลิตอาหารเลี้ยงคนได้ 135 คน เป็นคนในอเมริกา 100 คน และคนอื่นๆ ในโลก 35 คน ถ้าดูจากผลิตภาพชาวนาอเมริกัน (ในตาราง) จะเห็นว่าชาวนาอเมริกันเก่งขึ้นเรื่อยๆ

ในตอนต้นศตวรรษที่แล้ว คือปี ค.ศ. 1930 ชาวนาในอเมริกาเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดได้ราว 100 บุชเชล (ถังข้าวของฝรั่งซึ่งจุ 8 แกลลอน หรือราว 30 ลิตร) ต่อหนึ่งวันทำงาน คือราว 9 ชั่วโมง

แต่ในปัจจุบันชาวนาอเมริกันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพด 100 บุชเชลได้ในเวลาเพียง 7 นาที

ด้วยกรรมวิธีการผลิตสมัยใหม่ พื้นที่ 1 เอเคอร์ (2 ไร่ครึ่ง หรือราวเท่ากับสนามฟุตบอล) ชาวนาอเมริกันสามารถผลิตพืชผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ดังต่อไปนี้

- สตรอเบอร์รี่ 42,000 ผล
- ผักกาดแก้ว 11,000 หัว
- มันฝรั่ง 25,400 หัว
- ข้าวโพดหวาน 8,900 ฝัก
- ใยฝ้าย 640 มัดกระสอบ


คนที่อยู่ในภาคการเกษตรของอเมริกาไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องเป็นชาวนาเสมอไป ผู้คนอาชีพต่างๆ ที่ทำการเกษตรในอเมริกา 100 คนจะจำแนกได้ดังนี้

- 30% ทำงานด้านการตลาด การขาย และการจัดหาพืชผล ผลิตภัณฑ์การเกษตร
- 29% เป็นนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และวิชาชีพอื่นที่ใกล้เคียง ในด้านการเกษตร
- 12% เป็นผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน
- 11% เป็นนักวิชาการทางการศึกษาด้านเกษตรและการสื่อสาร
- 10% เป็นผู้มีวิชาชีพให้บริการทางด้านสังคม
- และท้ายที่สุด ชาวนาตัวจริง 8% ที่เรียกกันโก้หรูว่า “ผู้ชำนาญการด้านการผลิต”


นอกจากนี้อเมริกายังเรียกได้ว่าผลิตพืชผลทางการเกษตรที่มีราคาที่ชาวบ้านหาซื้อกันได้ในราคาที่คุณพึงพอใจ (เป็นสำนวนที่คนในวงการโฆษณาของไทยใช้เพื่อเลี่ยงการถูกแบนโดยกบว. ที่ควบคุมการโฆษณาในอดีต ซึ่งแปลว่า “ราคาถูกมาก” แต่อาจจะไม่ได้ถูกที่สุดในโลก)

ถ้าเปรียบเทียบค่าครองชีพของคนทั่วโลกโดยดูว่าต้องใช้เงินรายได้เท่าใดในการหาซื้ออาหาร จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า คนอเมริกันใช้เงินซื้อหาอาหารน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับรายได้ (เพียง 10%) ซึ่งก็แปลว่าเหลือเงินไว้ใช้ซื้อข้าวของอย่างอื่นได้ตั้งมากมาย

ทางด้านการผลิต ปริมาณพืชผลทางการเกษตรของสหรัฐอเมริกาในปีหนึ่งๆ ปลูกได้มากมายมหาศาล ในปี 2001 ที่ผ่านมาชาวนาอเมริกันผลิตพืชผลทางการเกษตรได้ดังนี้ครับ

• ข้าวโพด 9.51 พันล้านบุชเชล
• ข้าวเจ้า 213 ล้านตัน
• ถั่วเหลือง 2.89 พันล้านบุชเชล
• ข้าวบาร์เลย์ 250 ล้านบุชเชล
• ข้าวโอ๊ต 117 ล้านบุชเชล
• ข้าวฟ่าง 515 ล้านบุชเชล
• ฝ้าย 20.1 ล้านเบล
• ใบยาสูบ 1.0 พันล้านปอนด์
• ข้าวไรย์ 6.97 ล้านบุชเชล
• ฟางข้าว 157 ล้านตัน
• หญ้าอัลฟัลฟา (ใช้เลี้ยงสัตว์) 80.3 ล้านตัน
• ถั่วลิสง 4.24 ล้านปอนด์ (ราว 2 ล้านกิโล)
• เมล็ดทานตะวัน 3.48 ล้านปอนด์
• ถั่วเหลือง 2.89 ล้านปอนด์
• เมล็ดละหุ่ง 11.5 ล้านบุชเชล
• เมล็ดพืชน้ำมันอื่นๆ 242 ล้านปอนด์
• เมล็ดฝ้าย 7.53 ล้านปอนด์
• ซูการ์บีท หรือ มันใช้ทำน้ำตาล 25.8 ล้านตัน
• อ้อย 34.8 ล้านตัน
• เมล็ดถั่วตากแห้งชนิดต่างๆ รวม 19.5 ล้านตัน

ยังมีอีกมากครับ เท่าที่หาข้อมูลมาได้ก็รู้สึกทึ่งมากครับ คงไม่ต้องเอาของประเทศไทยมาเทียบนะครับเสียเวลาเปล่าเพราะเราผลิตได้น้อยกว่าเขาเยอะ

ต่อๆ ไปเขาจะผลิตได้ยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณครับ ทำอย่างไรหรือ คำตอบคือ จีเอ็มโอ หรือวิศวพันธุกรรมศาสตร์ ครับ ตอนนี้เขาค้นคว้าสร้างพันธุ์ใหม่ๆ กับในห้องแล็ป หรือโปรแกรมกันบนเครื่องคอมพิวเตอร์เลย ไม่ต้องไปทดลองปลูกกันในแปลงผสมพันธุ์ ไม่ต้องผสมเกษรหรือทาบกิ่ง ตอนกิ่งกันให้เมื่อยมือ เรียกว่าวิธีทำแบบเมนเดล (พระนักบวชนักพันธุกรรมศาสตร์ชื่อดังสมัยโบราณ) ที่ใช้ผสมพันธุ์พืชกันมาสี่ร้อยกว่าปี เอาเก็บไว้บนหิ้งเลย เดี๋ยวนี้เขาใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์และจัดเรียงยีนได้แล้ว (หมายถึงรหัสพันธุกรรมนะครับ ไม่ใช่ กางเกง)


การที่อเมริกาเป็นประเทศเกษตรกรรมหมายถึงอะไรครับ
แปลว่านโยบายต่างๆ ของอเมริกาก็จะต้องปกป้องชาวนาอเมริกันเป็นหลัก จะเห็นได้ว่า เขาเพิ่งอนุมัติกฎหมายปกป้องการเกษตร ที่เรียกว่า farm act มูลค่าหลายพันล้านเหรียญ

การส่งสินค้าการเกษตรไปขายแข่งกับอเมริกาจะไม่ง่ายครับ ปัจจุบันเขาจะไม่ใช้วิธีขึ้นภาษีศุลกากรเพื่อกีดกันสินค้าต่างประเทศ แบบที่ประเทศไทยทำอยู่ ซึ่งถือว่าเชยและล้าสมัยแล้วครับ เพราะยุคนี้เป็นยุคส่งเสริมการค้าโลกที่ชาวโลกเขาจัดตั้ง wto หรือ world trade organization เพื่อส่งเสริมการค้าโลก ที่มีท่าน ดร.ศุภชัย ของไทยเป็นผู้อำนวยการในขณะนี้

แต่เขาจะใช้วิธีกีดกันแบบแนบเนียนไม่น่าเกลียด (แต่น่าหยิก) เช่น กุ้งแช่แข็งของไทย เขาจะไม่ให้เข้าประเทศก็อ้างว่า ไทยใช้อวนจับชนิดที่ไม่ได้ติดเครื่องป้องกันเต่าทะเล (โดยมีประตูกลให้เต่าหนีลอดออกไปได้) โถ! ก็กุ้งไทยจับในทะเลกันซะที่ไหน มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ส่วนใหญ่ก็เลี้ยงกันเห็นๆ อยู่ในนากุ้ง และนาข้าวที่เปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งนั่นแหละ เอาหละ การเปลี่ยนอวนกันทั้งประเทศ ชาวประมงไทยคงจะจุกแน่ พี่ไทยก็เลย เอาอวนธรรมดาไปลากในทะเลให้ฝรั่งดู เห็นไหม ไม่มีเต่าติดมาสักตัว (เพราะเต่าตายไปหมดแล้ว) เพราะฉะนั้นอวนที่เราใช้อยู่ไม่เป็นอันตรายต่อเต่า พูดไปเขาก็ไม่เชื่อยังคงพยายามให้เราใช้อวนจับชนิดติดเครื่องป้องกันเต่าทะเล ล่าสุดบอกว่ากุ้งไทยมีสารคลอแรมตกค้าง กินแล้วอันตราย คลอแรมก็คือยาปฏิชีวนะของคนที่ดันไปใส่ไว้ในอาหารกุ้ง คนก็น่าจะกินได้ แต่เขาไม่ยอม ต้องไม่ให้มีเลย หรือมีในปริมาณน้อยมากๆ แทบว่าต้องไม่ใช้สารนี้ในการเลี้ยงเลย

ขนาดข้าวซึ่งเขาขายแข่งกับไทยได้ยาก ยังบอกว่า ชาวนาไทยไม่ได้จ่ายค่าน้ำที่สูบจากแม่น้ำเจ้าพระยาในการปลูก ก็เลยทำให้ปลูกได้ถูกกว่าอเมริกา เป็นการอุดหนุนโดยรัฐบาลไทยที่ไม่ได้เก็บค่าน้ำจากชาวนา ทำให้เกิดความได้เปรียบที่ทำให้แข่งขันกันอย่างไม่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นเขามีสิทธิ์ที่จะตอบโต้ได้เพื่อเป็นการป้องกันตนเอง

ท่านทราบหรือไม่ว่าที่อเมริกา รัฐบาลจ้างชาวนาไม่ให้ปลูกข้าวเพราะกลัวราคาตก สมัยก่อนที่เมืองฮุสตัน เคยมีคนมาขอกู้เงินชวนให้ไปลงทุนซื้อที่นา นาปลูกข้าวเจ้านี่แหละ ถามว่าซื้อมาทำอะไร เขาบอกว่าซื้อมาไม่ต้องทำอะไร เพราะถ้าซื้อมาแล้วเลิกปลูกข้าว รัฐบาลก็จะให้เงินอุดหนุนเท่ากับราคาข้าวที่เคยปลูกได้ส่วนหนึ่ง ตอนนี้จะยังมีอยู่หรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่คงน่าจะมีการอุดหนุนลักษณะคล้ายๆ กันในกฎหมายใหม่


ถ้าหากเราเป็นลูกแกะก็จงอย่าได้ไปเถียงกับหมาป่า
ดังนั้น การที่อเมริกาเป็นประเทศเกษตรกรรมหมายถึง การปกป้องชาวนาอเมริกันอย่างสุดฤทธิ์ เพราะชาวนาที่นั่นก็เป็นฐานเสียงของรัฐบาลเหมือนกัน และธุรกิจข้ามชาติใหญ่ๆ ของอเมริกาก็มาจากภาคการเกษตรไม่น้อย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่ของโลกยี่ห้อมาร์ลโบโร มีอิทธิพลมาก เพราะใบยาสูบของอเมริกามีคุณภาพดีที่สุดและปลูกได้มากที่สุดในโลกและเป็นแหล่งต้นตอใบยาสูบ เพราะฉะนั้นอเมริกาโดยบริษัทบุหรี่ข้ามชาติจึงคงพยายามสนันสนุน ให้ชาวโลกสูบบุหรี่กันต่อไปโดยการโฆษณาแหลก แม้ว่าประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยจะออกกฎหมายห้ามสูบในที่สาธารณะและห้ามโฆษณาทุกชนิด แถมเก็บภาษีแพงลิบ แต่ภาพคาวบอยควบม้าสูบบุหรี่ก็จะยังคง ขายบุหรี่ให้กับบริษัทบุหรี่อเมริกันได้ต่อไป

ถ้าเราจะแข่งกับอเมริกาในด้านอุตสาหกรรมก็คงจะไม่เป็นไร แต่ถ้าคิดจะแข่งกับอเมริกาในด้านเกษตรกรรม ผลก็คืออย่างที่เห็นกันอยู่ เพราะอเมริกามีลักษณะความเป็นประเทศเกษตรกรรมมากกว่าการเป็นประเทศอุตสาหกรรมนั่นเอง



http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=46501&start=0?


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/08/2011 6:56 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 6:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

260. มูลสุกรพ่นข้าว-มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่ม-ลดต้นทุน ไร่ 3 พัน


ได้ผลดีเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ สำหรับการนำของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ไปใช้ในไร่นาของเกษตรกร อย่างงานวิจัยล่าสุดของ รศ.อุทัย คันโธ ผอ.สถาบันวิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจ เพื่อการค้นคว้าพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


เรื่อง "แนวทางการวิจัยเพื่อใช้ของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ในการผลิตพืชอย่างยั่งยืน" ที่ใช้มูลสุกรทดลองฉีดพ่นในแปลงนาข้าว ไร่มันสำปะหลังของเกษตรกร ผลปรากฏว่าพืชทั้ง 2 ชนิดให้ผลผลิตเพิ่ม แถมลดต้นทุนการผลิตได้ถึงไร่ละ 3,000 บาท

ในการประชุม “นักวิจัยรุ่นใหม่ พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ โดย รศ.อุทัย บอกแนวคิดการวิจัยเรื่องนี้ว่า เกิดจากประเทศไทยมีการเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นทุกปี จึงมีมูลสัตว์ที่มีธาตุอาหารพืชครบ 13 ชนิด เหมาะกับการปลูกพืช (ได้แก่ N, P, K, Ca, Mg, S, Fe, Mn, Cu, Zn, B, Mo และ Cl) มีฮอร์โมนพืชช่วยเร่งการเจริญเติบโต

รศ.อุทัย ได้ยกตัวอย่างการทดลองของสถาบันที่นำน้ำจากบ่อมูลสุกรสูบขึ้นมาใส่นาข้าวพื้นที่นำร่องใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ข้าวมีอายุ 1-2 เดือน ประมาณ 100 ลิตรต่อไร่ ผลที่ได้คือ ข้าวมีใบสีเขียวจัด ต้นข้าวแข็งแรงมาก ไม่ล้มง่าย ใบหนา ไม่มีแมลงรบกวน ทั้งที่ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลง รวงใหญ่และเหนียว เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์สูง น้ำหนักดี มีเปอร์เซ็นต์ข้าวหักน้อยเมื่อนำไปสีเป็นข้าวเจ้า

"การใช้มูลสุกรแห้งกับนาข้าวยังทำให้ข้าวออกรวงได้เร็วขึ้น 5-7 วัน โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเร่งรวงข้าว ซึ่งปริมาณมูลสุกรแห้งที่ใช้นา 1 ไร่ต่อ 200 กิโลกรัม แต่ถ้าไม่มีมูลสุกรก็ใช้น้ำล้างคอกแทนได้ ขณะเดียวกันใช้น้ำสกัดมูลสุกรจำนวน 220 ลิตรแช่เมล็ดข้าว ฉีดพ่นทางใบ และใส่ในดินติดต่อกัน 4-5 ปี พบว่าเกษตรกรที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม สามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตสูงอย่างต่อเนื่องรวม 12 ครั้ง"



รศ.อุทัย กล่าวสรุปว่า การปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มูลสุกรจะให้ผลผลิตสูงกว่าใช้ปุ๋ยเคมี โดยได้ผลผลิตเฉลี่ยถึง 1-1.3 ตันต่อไร่ เมล็ดมีน้ำหนักดีกว่าเดิม ขณะที่ต้นทุนการปลูกข้าวจะลดลงถึงไร่ละ 2,000-3,000 บาท นับว่าช่วยเหลือเกษตรกรได้มาก


อีกพืชที่ทดลองคือ มันสำปะหลัง ซึ่งช่วงแรกของการทดลองปรากฏว่าไม่ได้ผล คณะนักวิจัยประเมินว่า พืชได้ปัจจัย 4 คือ แสงแดด คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และธาตุอาหารไม่ครบ โดยพื้นที่ปลูกมันขาดน้ำ ดังนั้นเกษตรกรบางรายจึงใช้ระบบน้ำหยด รวมทั้งใช้น้ำมูลสุกรซึ่งมีธาตุอาหารครบฉีดพ่น อัตรารวม 500 กิโลกรัมต่อไร่

"เริ่มจากแช่ท่อนพันธุ์มันในน้ำสกัดมูลสุกรก่อนปลูก 1 คืน เพื่อให้ท่อนพันธุ์ดูดธาตุอาหารเข้าไป เมื่อมันงอกและตั้งตัวได้แล้ว ก็ใช้น้ำสกัดจากมูลสุกรรดดินหรือผสมในระบบน้ำหยด รวมทั้งฉีดพ่นน้ำสกัดมูลสุกรทางใบทุก 15 วัน ต้นอ่อนมันสำปะหลังที่งอกออกมาโตเร็ว โดยผลการทดลองในพื้นที่ จ.นครปฐม กาญจนบุรี และ ราชบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ได้ผลผลิตสูงมาก"

ข้อควรปฏิบัติในการปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ระบบน้ำหมักมูลสุกรคือ การแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำปุ๋ยหมักร่วมกับการให้น้ำหลังปลูก จะทำให้มันออกรากมากกว่า 20 ราก ต่อมารากส่วนหนึ่งจะพัฒนาเป็นหัวซึ่งจะเพิ่มผลผลิตได้มาก โดยเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เกษตรกรจะปลูกกันมาก และรากจะเริ่มสะสมอาหารเดือนสิงหาคม-กันยายน ช่วงนี้ควรฉีดปุ๋ยหมักทางใบช่วยทุก 15 วัน จะทำให้หัวมันมีเปอร์เซ็นต์แป้งดีมาก ผลเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 16 ตัน

นอกจากนี้ สถาบันยังทดลองปุ๋ยหมักมูลสุกรกับพืชชนิดอื่นๆ เช่น อ้อย ผักชีฝรั่ง ถั่วเหลืองฝักสด พริก มะระขี้นก ไม้ดอก เป็นต้น พร้อมอยู่ระหว่างทำข้อตกลงร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินในการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ให้มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทยให้มีความยั่งยืนต่อไป



ที่มา
http://www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=1118
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 6:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

261. การใช้มูลสุกรแห้งในสูตรอาหารเลี้ยงสุกร


ในภาวะปัจจุบันที่วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด ปลาป่น และกากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผสมเป็นสูตรอาหารเลี้ยงสัตว์ มีราคาแพง ผู้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะผู้เลี้ยงสุกรจำเป็นต้องหาวิธีการลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ ซึ่งแนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนค่าอาหารคือ การนำสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรกลับมาใช้เป็นอาหารสุกรอีกครั้ง สำหรับมูลสุกรเป็นของเสียเหลือทิ้งจากการเลี้ยงสุกร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อมซึ่ง จากการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีของมูลสุกรที่นำมาตากแห้งพบว่า ยังมีคุณค่าทางโภชนะอยู่มากพอสมควร (ตารางที่ 1) สามารถที่จะนำกลับมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรใหม่ได้ เช่น มีโปรตีนสูงประมาณ 19% และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่างๆอยู่ในระดับสูง สามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนในสูตรอาหารเลี้ยงสุกรได้

อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบทางโภชนะในมูลสุกรตากแห้ง อาจผันแปรไปขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกร ขนาด และอายุของสุกร โดยทั่วไปแล้วมูลสุกรที่ได้จากสุกรเล็ก มักมีโปรตีนสูงกว่ามูลสุกรที่ได้จากสุกรขุน เนื่องจากอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรเล็กมีโปรตีนสูงกว่าอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรขุน จึงทำให้ปริมาณโปรตีนที่หลงเหลือออกมากับมูลสูงกว่าการใช้มูลสุกรแห้งผสมเป็นอาหารเลี้ยงสุกร เนื่องจากมูลสุกรแห้งมีความน่ากินต่ำ และมีเยื่อใยค่อนข้างสูง จึงไม่เหมาะที่จะนำกลับไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงลูกสุกร หรือสุกรระยะเล็ก แต่สามารถนำมาใช้เลี้ยงสุกรรุ่น และขุนได้ จากข้อมูลที่มีผู้ศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า สามารถใช้มูลสุกรตากแห้งเป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารเลี้ยงสุกรรุ่น (สุกรน้ำหนัก 20-60 กิโลกรัม) ได้ถึงระดับ 10% ของสูตรอาหาร และในสุกรระยะขุน (น้ำหนัก 60-100 กิโลกรัม) สามารถใช้ได้ถึง 15% ของสูตรอาหาร โดยที่สุกรยังมีการเจริญเติบโตเป็นปกติ ในขณะที่ต้นทุนค่าอาหารต่ำลง สำหรับตัวอย่างสูตรอาหารที่ใช้มูลสุกรแห้งเป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงสุกรรุ่น และสุกรขุน

ข้อเสนอแนะ ในการที่เกษตรกรจะนำมูลสุกรตากแห้งมาผสมเป็นอาหารเลี้ยงสุกร สิ่งที่จะต้องพึงระวัง คือ

1. ต้องเป็นมูลสุกรที่มาจากฟาร์มที่ปลอดโรค และพยาธิ หรือควรใช้มูลสุกรแห้งที่ได้จากฟาร์มของตนเอง

2.ไม่ควรเปลี่ยนสูตรอาหารที่ใช้อยู่เดิมมาเป็นสูตรอาหารที่มีมูลสุกรแห้งเป็นส่วนประกอบทันทีทันใด ควรจะค่อยๆเปลี่ยนสูตรอาหาร เพื่อให้สุกรมีระยะเวลาในการปรับตัวให้คุ้นเคยกับอาหารสูตรใหม่ ดังนั้น หากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจะหันมาใช้มูลสุกรแห้ง เป็นส่วนประกอบสูตรอาหารเลี้ยงสุกร ก็จะช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ได้ทางหนึ่ง และยังสามารถช่วยลดมลภาวะอันเกิดจากการระบายมูลสุกรสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ



เอกสารอ้างอิง
สมโภชน์ ทับเจริญ และคณะ.2535.การใช้มูลสุกรแห้งและมูลสุกรหลังการหมักก๊าซชีวภาพในอาหารสุกรรุ่น. สุกรสาส์น ปีที่ 19 ฉบับที่ 74 หน้า 19 - 22
อุทัย คันโธ. 2532. การใช้มูลสุกรเป็นอาหารสัตว์. สุกรสาส์น ปีที่ 16 ฉบับที่ 61 หน้า 21 – 25



http://ptg.igetweb.com/index.php?mo=3&art=250981
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 7:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

262. หมูหลุม โคหลุม ประโยชน์สองต่อ ที่สามโก้


ด้วยการริเริ่มของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ที่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ได้ปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงหมู มาสู่การเลี้ยงในลักษณะหมูหลุม ได้ยังประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากทำให้เกิดแนวทางการเลี้ยงแบบใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องกลิ่น อันมาจากการเลี้ยงหมูกับชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างอาชีพใหม่ให้กับผู้เลี้ยงด้วยการนำวัสดุรองพื้นที่ผ่านการหมักเป็นอย่างดี จำหน่ายให้กับเพื่อนเกษตรกรเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว

ดังเช่น นายจำลอง พงษ์สุบาย ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลราษฎรพัฒนา อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง โทร. (086) 173-1474 ที่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงมาเป็นหมูหลุม และบอกถึงผลที่ได้ว่า

"รุ่นที่แล้ว ขายหมูขาดทุน แต่ยังมีเงินมาใช้ เพราะได้ขายปุ๋ยหมักให้เพื่อนบ้าน 8,000 กว่าบาท"

นั่นคือ ได้ทั้งการเลี้ยงหมูที่ปลอดกลิ่น แล้วได้ปุ๋ยมาใช้และจำหน่าย

จากการเข้ามาแนะนำของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสามโก้ ทำให้ผู้ใหญ่จำลองสนใจและทดลองทำเป็นรายแรก

"ผมทำอาชีพการเลี้ยงหมูขุนมานาน แต่ก็ประสบปัญหาเรื่องราคามาโดยตลอดเหมือนกัน แต่เมื่อได้รับคำแนะนำ ช่วงแรกๆ ก็ยังไม่มั่นใจว่าการเลี้ยงหมูหลุมจะให้ผลดีอย่างที่มาแนะนำหรือเปล่า เลยเลี้ยงเปรียบเทียบระหว่างการเลี้ยงหมูตามปกติกับหมูหลุม แต่ปรากฏว่าเลี้ยงหมูหลุมกลับได้กำไร เพราะต้นทุนต่ำกว่า และยังได้ปุ๋ยมาจำหน่ายด้วย ทำให้ตอนนี้เราจึงไม่ค่อยสนใจหรอกว่า ราคาหมูในท้องตลาดจะตกเท่าไร เพราะมีปุ๋ยขายได้เป็นรายได้เสริม"

อีกประการที่ได้จากการเลี้ยงหมูหลุมคือ น้ำหนักของหมูที่มาจากการเลี้ยงหมูหลุมจะดีกว่า อีกทั้งยังพบว่ามีเนื้อแดงมากกว่า ไขมันน้อย

"ผมว่าน่าจะเป็นเพราะหมูหลุมนั้นได้มีการออกกำลังมากกว่า อีกทั้งยังได้กินผัก หญ้าต่างๆ ที่เราเอามาให้ แต่ถ้าหมูที่เลี้ยงปกติ เอาหญ้ามาให้กินจะพบว่ามีอาการท้องเสียเลย"

สำหรับการเลี้ยงหมูหลุมที่ทำให้ต้นทุนต่ำกว่าการเลี้ยงหมูปกติ ผู้ใหญ่จำลองบอกว่า อยู่ที่การใช้อาหาร ซึ่งสามารถใช้อาหารหมักได้ ไม่ต้องซื้ออาหารเม็ดสำเร็จรูปมาเลี้ยง อีกทั้งยังใช้พืชผักจากไร่นา ไม่ว่า ผักบุ้ง ต้นกล้วย หญ้าขน มาให้เป็นอาหารเสริมได้ด้วย

"อาหารหมักที่ทำนั้นจะใช้การหมักในถุงดำ ซึ่งจะมีส่วนผสมต่างๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น พืชผัก หยวกกล้วย วัชพืชต่างๆ มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกกับกากน้ำตาล แล้วนำไปผสมกับปลายข้าวหรือรำอ่อนใช้เลี้ยงหมู โดยทั้งนี้ต้องหมักอาหารดังกล่าวนานประมาณ 5-7 วัน แล้วนำมาให้หมูกิน และเสริมด้วยพืชผักในช่วงกลางวันหรือตอนบ่าย"

ตอนนี้การเลี้ยงหมูหลุมกำลังได้รับความสนใจจากเพื่อนเกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยผู้ใหญ่จำลองจะเป็นวิทยากรไปให้ข้อแนะนำแก่ผู้สนใจ และยังได้รับการสนับสนุนจากทางจังหวัดอ่างทอง ให้อยู่ในโครงการอยู่ดีมีสุข เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้สนใจ

"ต่อไปในอนาคต การเลี้ยงหมูคงต้องเป็นหมูหลุมทั้งหมด เพราะนอกจากแก้ปัญหาเรื่องราคาได้แล้ว ยังช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมด้วย ทำให้การเลี้ยงไม่มีกลิ่นเป็นที่รบกวนชาวบ้าน"

การเลี้ยงหมูหลุมนั้น จะขุดพื้นคอกลงไปให้เป็นหลุม โดยลึกประมาณ 90 เซนติเมตร จากนั้นปรับขอบรอบๆ แล้วผสมวัสดุ แกลบหยาบ 100 ส่วน ดินที่ขุดออก 10 ส่วน เกลือ 0.3-0.5 ส่วน ลงไปแทนดินที่ขุดออกไป

ทั้งนี้ ในการใส่วัสดุต่างๆ นั้นต้องทำเป็นชั้น โดยให้มีความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วราดด้วยจุลินทรีย์ ประมาณ 3 ชั้น และสุดท้ายโรยแกลบดิบปิดหน้าให้หนาประมาณหนึ่งฝามือ

สำหรับต้นทุนค่าแกลบ ผู้ใหญ่จำลอง บอกว่า จะซื้อมาในราคาตันละ 800 บาท โดยการเลี้ยงรุ่นหนึ่งจะใช้แกลบประมาณ 3 ตัน

การสังเกตด้วยตาเปล่าว่าใช้ได้หรือไม่นั้น ผู้ใหญ่จำลองบอกว่า ให้ดูว่าแกลบที่คลุกเคล้านั้นมีลักษณะเหนียวหรือไม่ ถ้าจับขึ้นมาแล้วเหนียว แสดงว่าใช้ได้แล้ว

หลังจากตักมาจากคอกแล้ว ต้องเอามาตากให้แห้งสนิทก่อน โดยแดดดีๆ จะตากประมาณ 2-3 แดด จากนั้นก็นำไปใช้ หรือถ้ายังไม่ใช้ก็บรรจุลงในกระสอบปุ๋ย แล้วนำไปเก็บไว้ในที่ร่ม โดยปุ๋ยที่ได้นั้นจะนำไปใช้กับไร่นาสวนผสมต่างๆ อย่างได้ผลดี

จากความสำเร็จของหมูหลุม ที่ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสามโก้ ได้ดำเนินการส่งเสริมแนะนำให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้นำไปปฏิบัติ มาจนถึงวันนี้ ได้เป็นผลดีอย่างมากต่อเกษตรกร และได้เกิดการขยายผลไปสู่การเลี้ยงสัตว์อื่นภายใต้การประยุกต์แนวทางของการเลี้ยงหมูหลุมไปใช้

โคขุน เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เริ่มมีการนำแนวทางของการเลี้ยงหมูหลุมไปใช้ โดยในพื้นที่อำเภอสามโก้นั้นได้มีเกษตรกรหันมาเลี้ยงโคขุนกันมากขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากการได้จำหน่ายโคขุนแล้ว เกษตรกรผู้เลี้ยงยังได้มูลนำไปใช้ใส่ในไร่นาด้วย

คุณลุงพเยาว์ คงคา อยู่บ้านเลขที่ 158 หมู่ที่ 4 ตำบลอบทม อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง เป็นคนหนึ่งที่ได้เลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริม นอกเหนือจากการทำนา โดยผ่านประสบการณ์การเลี้ยงมาแล้วประมาณ 1 ปี ที่ผ่านมาอาชีพนี้สามารถสร้างรายได้เสริมให้ดีพอสมควร

"การเริ่มต้นนั้น ผมได้ติดต่อกับพ่อค้าที่จับโคก่อนว่า จะเลี้ยง เขาก็มาดูและแนะนำให้ใช้อาหารของทางเขา โดยจะมีสูตรอาหารให้ 3 สูตร ใช้ตั้งแต่นำโคเข้าจนจับ โดยต้นทุนการเลี้ยงตอนนี้รวมค่าอาหารด้วยแล้ว ตกตัวละ 5,000 บาท แต่ตอนนี้ราคาอาหารข้นก็ขึ้นมาอีก โดยราคาตกลูกละ 200 บาท ซึ่งยังไม่รู้ว่าต้นทุนการเลี้ยงจะเพิ่มอีกเท่าไร"

ส่วนอาหารหยาบ คุณลุงจะปลูกหญ้าแพงโกล่าไว้ให้โคกินเอง และอีกสิ่งที่การเลี้ยงโคขุนในพื้นที่นี้ต้องมีคือ มุ้งสำหรับกางให้โคที่เลี้ยง เพราะจะมีปัญหาเรื่องยุงมาก อันส่งผลให้โคที่เลี้ยงไม่เติบโตเท่าที่ควร ดังนั้น ในช่วงการเลี้ยงทุกๆ 17.30 น. คนเลี้ยงต้องเอามุ้งลงเพื่อป้องกันยุง

สำหรับโคที่นำเข้ามาเลี้ยงนั้น นอกเหนือจากการหาซื้อในพื้นที่อำเภอสามโก้แล้ว หากโคไม่พอก็จะไปซื้อโคที่ตลาดนัดจังหวัดกาญจนบุรี สำหรับโคที่นำเข้าขุน ขณะนี้ลุงมีโครงการที่จะเลี้ยงแม่พันธุ์และผลิตลูกเข้าขุนเอง เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงให้ต่ำลง

"หากสนใจอยากเลี้ยงก็ต้องมีทุนพอสมควร โดยโคขุนประมาณ 10 ตัว รวมค่าตัวและค่าอาหารแล้ว จะใช้เงินประมาณ 200,000 บาท"

เมื่อมาถึงคอกจะนำมาพักฟื้นแล้วถ่ายพยาธิ ฉีดวัคซีน จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการเลี้ยงขุน

สำหรับการเลี้ยงที่เลียนแบบหมูขุนนั้น คุณลุงบอกว่า ในส่วนของแกลบดิบที่ซื้อมาจากโรงสีนั้น จะนำมาใส่ในเดือนที่ 3 อันเป็นเดือนสุดท้ายของการเลี้ยง ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมาของการเลี้ยงโคขุนพบว่า น้ำหนักของโคที่ขุนจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีปัญหาว่าโคลุกขึ้นมากินอาหารยากขึ้น อีกทั้งบางครั้งเกิดบาดแผลที่ขาและกีบด้วย

โดยลักษณะการเลี้ยงโคขุนของคุณลุงนั้น ได้สร้างคอกเลี้ยงออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นที่ร่ม และส่วนกลางแจ้ง โดยส่วนที่เป็นที่ร่มนั้น บริเวณพื้นคอกจะเทปูนซีเมนต์ และมีบ่อใส่น้ำไว้ให้โคกิน ด้านหน้าจะมีรางหญ้าไว้ใส่อาหารหยาบและอาหารข้น

ดังนั้น เมื่อดัดแปลงการเลี้ยงที่เลียนแบบหมูหลุม คุณลุงจึงเพิ่มส่วนด้านข้างพื้นคอกด้วยการก่ออิฐบล็อคขึ้นมามีความสูง 1 ก้อน โดยล้อมทุกด้าน และบริเวณนี้จะนำแกลบดิบมาเทใส่ไว้ให้สูงประมาณครึ่งก้อนอิฐบล็อค และทยอยเติมแกลบไปเรื่อยๆ

แต่จากที่คุณลุงได้เล่าให้ฟัง ความสูงของอิฐบล็อคที่เหมาะสม ควรสูงประมาณ 2 ก้อน กำลังพอดี แต่ด้วยเหตุที่ทุนยังน้อยอยู่ คุณลุงจึงก่อขึ้นมาก้อนเดียวก่อนในเบื้องต้น

"ตอนนี้ของเราก็เป็นโคหลุมได้ แต่ยังเป็นหลุมตื้นๆ อยู่ ซึ่งต้องก่ออิฐขึ้นมาให้สูง 2 ก้อน จึงจะพอดี และจะสามารถใส่แกลบได้ตั้งแต่เดือนที่ 2 ของการเลี้ยงขุน จะทำให้ได้ปุ๋ยมากขึ้น"

สำหรับแกลบที่นำมาใช้นั้น คุณลุงบอกว่า จะซื้อจากโรงสีข้าวมาครั้งละประมาณครึ่งตัน แล้วนำมาทยอยปูพื้นคอก โดยครั้งแรกเป็นการปูรองพื้นก่อน จากนั้นก็นำแกลบมาใส่เรื่อยๆ

"สิ่งที่ต้องทำเป็นประจำคือ การกลับแกลบ โดยสองสามวันต้องมีการกลับแกลบครั้งหนึ่ง และจากที่ผมทำมาพบว่า แกลบที่ใส่นั้นไม่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความชื้น อันจะส่งผลกระทบแก่โคที่เลี้ยงเลย "

ทั้งนี้ ราคาแกลบที่โรงสีจำหน่ายนั้น อยู่ที่ตันละ 800 บาท โดยคุณลุงต้องไปขนแกลบมาเอง

โดยรวมระยะเวลาที่แกลบอยู่ในคอกจะนานประมาณ 1 เดือน ซึ่งมีทั้งมูลและเศษอาหารผสมกันอยู่ในนั้น และเกิดการหมักจนกลายเป็นปุ๋ยชั้นดี

สำหรับแกลบที่ผ่านกระบวนการจนกลายเป็นปุ๋ยหมักนั้น ลุงจะนำไปใส่ให้กับแปลงปลูกมันสำปะหลัง ที่อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่

"สำหรับปุ๋ยที่ได้ตอนนี้สามารถใช้ได้ในแปลงมัน ประมาณ 4 ไร่ โดยพอขนไปถึงแปลงก็ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่เอาไปราดที่หลังร่องแปลงมันเท่านั้นเอง มันสำปะหลังที่ปลูกก็จะได้ปุ๋ย ทำให้เจริญงอกงามดีมาก" คุณลุงกล่าว

นี่คือ อีกเรื่องราวหนึ่งของการประกอบอาชีพของคนอำเภอสามโก้ ที่ได้รังสรรค์การเลี้ยงให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผู้สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 697-760


http://ptg.igetweb.com/index.php?mo=3&art=252707
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 7:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

263. ทำฟางไร้ค่า ให้มีค่าสำหรับวัวคุณ


คุณสมบัติ
- ผลพลอยได้จากการปลูกข้าว มีมากหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับโค-กระบือในช่วงแล้ง

- มีคุณค่างทางอาหารต่ำ มีโปรตีน เยื่อใย และค่าโภชนะย่อยได้ทั้งหมด (TDN) ประมาณ 2.76%, 36.17% และ 45% ของวัตถุแห้งตามลำดับ

- อัตราการย่อยได้ต่ำ ทำให้ฟางอยู่ในกระเพาะนาน สัตว์จึงได้รับโภชนะต่าง ๆ น้อย ถ้าให้สัตว์กินฟางอย่างเดียวนาน ๆ จะทำให้น้ำหนักตัวลด


ข้อจำกัดและข้อแนะนำการใช้
- ฟางใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง และควรใช้ร่วมกับอาหารข้น หรือเสริมด้วยใบพืชตระกูลถั่วโปรตีนสูง

- การปรับปรุงคุณภาพของฟางข้าว เพื่อให้สัตว์ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น ได้แก่ การทำฟางหมักยูเรีย และฟางปรุงแต่งสด โดยใช้สารละลายยูเรีย-กากน้ำตาล ราดฟางให้ทั่ว(สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม)

- การใช้ฟางหมักเลี้ยงโค-กระบือ สามารถใช้ในสภาพเปียกหรือแห้งก็ได้ ฟางหมักที่เปิดจากกอง ใหม่ ๆ มีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย ควรทิ้งไว้สักพัก (ประมาณ 2 ชั่วโมง) ก่อนให้สัตว์กิน ถ้าใช้ฟางหมักยูเรีย เป็นอาหารหยาบอย่างเดียว ควรเสริมอาหารข้น เพื่อให้เกิดแหล่งพลังงานในการสังเคราะห์โปรตีนของ จุลินทรีย์ และควรมีน้ำสะอาดให้โค-กระบือกินตลอดเวลา


ขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพของฟางสามารถสรุปได้ดังนี้
การราดด้วยยูเรีย + กากน้ำตาลให้กินทันที
สูตร ฟาง 100 กิโล + ยูเรีย 1.5 กก.+ วีนัส (กากน้ำตาล) 8 กก.
กากน้ำตาล 10 ราดให้กินทันที ทำให้ย่อยได้เพิ่มขึ้น โปรตีนเพิ่มขึ้น
ฟางมีโปรตีน เท่ากับ 2.76 % โดยประมาณ
ยูเรีย (สูตร 46 ) มีโปรตีน 287%
วีนัส ( กากน้ำตาล ) มีโปรตีน 12% (กากน้ำตาลปกติมี 4%)

รวมแล้ว จะมีโปรตีน ไม่น้อยกว่า 8% ต้นทุนอยู่ที่ 2 บาท ครับผม

**คิดยูเรีย โลละ 16 บาท / วีนัส โลละ 5 บาท /ฟาง คิดที่ 1.5 บาท/ กก.
***แนะนำ วีนัส+มันเส้น+ฟาง+ยูเรีย....+รำ
**ใครได้ราคาเท่าไรก็ลองเทียบดูครับ
**รายละเอียดเพิ่มเติม อย่างได้ตัวไหนก็ลองแจ้งมา จริงๆ แล้ว ผมชอบ มันเส้น+วีนัส+ฟาง+ยูเรีย ... เข้าท่า

**ข้อมูลบางส่วนจาก http://www.dld.go.th/nutrition/exhibision/feed_stuff/hay.htm


http://ptg.igetweb.com/index.php?mo=3&art=268794
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 7:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

264. สมุนไพรป้องกันโรคสัตว์เลี้ยง



ขมิ้นชัน :
สรรพคุณ
มีฤทธิ์ลดการอักเสบ รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
ใช้รักษาโรคลําไส้อักเสบ
ลดจํานวนเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร
ใช้รักษาโรคบิดมูกเลือดในลูกสุกร โรคติดเชื้อในลําไส้ไก่
ใช้รักษาแผล ฝี หนอง
ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
ไม่มีการตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
เหง้าขมิ้นตําผสมกับพลูคลุกกับปูนกินหมาก ใช้รักษาแผลให้ช้างทั้งแผลสด แผลมีหนองและกันแมลงบริเวณแผล ผู้เลี้ยงไก่ชนใช้ขมิ้นกับสมุนไพรอื่นๆ เช่นส่วนผสมของสมุนไพรที่ใช้ต้มเป็นนํ้ายาสมุนไพรอาบให้ไก่ชนประกอบด้วย ใบมะขาม ใบส้มป่อย ไม้ฤาษีผสม ใบคุระ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไม้กระดูกไก่ เปลือกไม้โอน ต้มรวมกันในนํ้าเดือด นํานํ้าที่ต้มได้มาอาบให้ไก่ชนเพื่อให้ไก่มีหนังเหนียว ไม่ฉีกง่ายเวลาโดนจิกหรือตี หรือสูตรแก้ไก่เป็นหวัด บิด ท้องเสีย จะใช้ขมิ้นชัน 7 กรัม ผสมฟ้าทะลายโจร 144 กรัม ไพล 29 กรัม บดผสมอาหารลูกไก่ 100 กิโลกรัม




กวาวเครือ
มีการศึกษาการใช้กวาวเครือในสุกรโดยนํากวาวเครือบดแห้งมาผสมอาหารในอัตราส่วน 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ให้สุกรนํ้าหนัก 30-100 กิโลกรัมกินนาน 2.5-3 เดือนพบว่าสุกรทั้งเพศผู้และเพศเมียมีการเจริญเติบโตดีขึ้น สุกรที่กินกวาวเครือมีการกินอาหารได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินและช่วยชะลอการเป็นสัด เมื่อหยุดให้กวาวเครือ 1.5-2 เดือน สุกรตัวเมียกลับมาเป็นสัดตามปกติและสามารถผสมพันธ์ให้ลูกได้ การทดลองในสุกรเพศผู้เมื่อให้กินกวาวเครือผสมอาหารขนาด 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ปรากฏว่าให้เนื้อแดงสูง มีการเจริญเติบโตดีขึ้น





ฟ้าทะลายโจร

แก้หวัด ทอนซิลอักเสบ มีการทดลองนํ าฟ้าทะลายโจร ขมิ้นและไพลมาผสมอาหารให้ไก่กินในอัตราส่วน 50-75 กรัมต่ออาหาร 3 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคต่างๆในสัตว์
ฟ้าทะลายโจร แก้โรคท้องร่วงในไก่
ฟ้าทะลายโจรแก้ไข้ในสัตว์
ฟ้าทลายโจรแก้โรคขี้ขาวในไก่
ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ
ลดการอักเสบ
สร้างภูมิต้านทาน
ลดไข้ บรรเทาอาการหวัด



คูสมุนไพรอื่นๆ ที่น่าสนใจมาก สามารถหาใช้เองได้ที่นี่เลยครับ
http://www.google.co.th




สมุนไพรรักษาสัตว์สกัดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ขอขอบคุณ www.google.com มากครับ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด พงศธรวัตถุดิบ กรุ๊ป
179 หมู่ 3 ถนนโคกกรวด-ขามทะเลสอ ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30280
โทรศัพท์ 044-335369,081-9211569

www.ptg2552.com
Email : ptg2552@hotmail.com
โทร.081-9551732 และ 081-9211569


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 7:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

265. การเลี้ยงปลาในนาข้าว โดย นายเมฆ บุญพราหมณ์





การเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่มีอยู่ เพื่อผลิตอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้นตามปกติ นาข้าวจะมีระดับน้ำลึก ๕-๒๕ เซนติเมตร และดินพื้นท้องนาค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ในปริมาณสูง ทรัพยากรดังกล่าวเป็นอาหารอย่างดีสำหรับปลา

ข้าวเป็นพืชหลักในการทำนา ฉะนั้น การเลี้ยงปลาจึงต้องปรับให้เข้ากับการปลูกข้าว ก่อนอื่นควรจะวางท่อทางระบายน้ำไว้อย่างสมบูรณ์ และจะต้องมีที่ส่วนลึก ให้ปลาได้หลบอาศัยเมื่อระดับน้ำลดต่ำ

การเลี้ยงปลาในนาข้าวจะกระทำได้เฉพาะในท้องที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีการชลประทาน มีน้ำตลอดปีหรืออย่างน้อย ๓-๖เดือน ซึ่งพอเพียงสำหรับการเจริญเติบโตของปลาพอที่จะใช้เป็นอาหารได้

การเตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลา ควรขุดคูรอบแปลงนา มีความกว้าง ๐.๕๐-๑.๕๐ เมตร และลึก ๐.๒๕-๐.๔๐ เมตรนำดินจากคูดังกล่าวขึ้นไปเสริมคันให้สูง และกว้างตามปริมาณของดินที่ขุดขึ้น ภายในแปลงนาควรซอยคูเล็กๆ ติดต่อกับคูรอบนอกเพื่อความสะดวกในการระบายน้ำจับปลาและวางท่อระบายน้ำเข้าและออก

ปลาที่นำมาเลี้ยงในนาข้าวจะต้องเป็นปลาที่เจริญเติบโตเร็ว สามารถอยู่ได้ในน้ำตื้นซึ่งมีอุณหภูมิสูง และทนทานต่อความขุ่นของน้ำ ชนิดของปลาที่นิยมเลี้ยงในนาข้าว ได้แก่ ปลาไน ปลาหมอเทศ ปลาสลิด ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาหมอตาล

การเลี้ยงปลาในนาข้าวอาจดำเนินได้ ๒ ระยะด้วยกันคือ ระยะแรกเลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการทำนา การปล่อยปลาลงเลี้ยงต้องให้ต้นข้าวตั้งเป็นตัวก่อน ๑-๒ สัปดาห์ มิฉะนั้น ปลาจะว่ายหาอาหาร ทำให้ต้นข้าวหลุดลอยเสียหาย และระยะที่ ๒เลี้ยงปลาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว ในระยะข้าวสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวต้องลดระดับน้ำลง ปลาจะลงหลบอาศัยในส่วนลึก หลังจากเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลาต่อโดยเก็บตอซังข้าวในผืนนามากองไว้เป็นที่สำหรับเป็นปุ๋ย และระบายน้ำเข้าเพื่อเลี้ยงปลาต่อไป


ตารางแสดงอัตราการปล่อยปลาในนาข้าว

ชนิดปลา..........ขนาด (เซนติเมตร)..............จำนวนปล่อยต่อไร่
ปลาหมอเทศ .........๑-๓ ........................... ๑,๐๐๐-๑,๒๐๐
ปลาไน ...............๕-๖ ........................... ๕๐๐–๖๐๐
ปลานิล ...............๔-๕ ........................... ๕๐๐-๑,๒๐๐



การเลี้ยงปลาในนา เป็นการผลิตอาหารแป้งและอาหารโปรตีนในที่เดียวกัน ทำให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น และมีอาหารโปรตีนบริโภคอีกด้วย ประโยชน์จากการเลี้ยงปลาในนาข้าวพอสรุปได้ คือ

๑. เพิ่มผลผลิตข้าว
๒. ทำให้ดินดี มีปุ๋ย ไถง่าย
๓. ปลาช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง
๔. ช่วยให้อินทรีย์สารต่างๆ สลายตัว
๕. ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น

ในปัจจุบันการเลี้ยงปลาในนามีอุปสรรคหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยากำจัดแมลงศัตรูพืช และถูกศัตรูรบ-กวน หรือไม่ก็ถูกลักขโมย ประเทศไทยเราแม้จะมีที่ทำนาที่อยู่ในระบบชลประทานที่ดีถึง ๓๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร แต่การเลี้ยงปลาในนาข้าวก็ยังไม่ค่อยมีผู้นิยมเท่าที่ควร เพราะชาวนาพบปัญหาดังกล่าวข้างต้น



บรรณานุกรม
• นายเมฆ บุญพราหมณ์

http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1500
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 7:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

266. ปรัชญาชีวิตแบบญี่ปุ่น


ถึงคุณผึ้ง

ผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ก็อยากจะถ่ายทอดประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้รับและได้รู้มา เผื่อจะเป็นประโยชน์กับตัวคุณและคนในหมู่บ้านก็ได้

1...... คนญี่ปุ่นจะทำเป็นทีม ไม่ทำงานคนเดียวเด็ดขาด เช่น การรวมกลุ่มเกษตร สตรีแม่บ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯลฯ


2....... การทำงานแต่ละอย่างจะมีการวางแผนล่วงหน้าไว้อย่างดี และปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด


3...... มีการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรไว้ล่วงหน้าว่า ปีนี้ เดือนนี้ จะผลิตเท่าไร ตลาดมีความต้องการมากน้อยแค่ไหน ตัวสินค้าเกษตรจะได้ไม่มีปัญหาล้นตลาด และราคาถูก


4..... เรื่องสุขภาพสำคัญที่สุดสำหรับคนญี่ปุ่น เวลาฉีดยาเขาจะใส่ชุดแบบมนุษย์อวกาศ อะไรประมาณนั้น แถวบ้านคุณเวลาฉีดยาข้าว หรือผักผลไม้ ใส่ชุดแบบนี้หรือเปล่า


5..... มีการปลูกฝักจิตสำนึกที่ดีตั้งแต่เด็ก ๆ เช่น เด็ก ป.1 ถึง ม.3 จะต้องเดินไปโรงเรียนเอง ห้ามพ่อแม่ไปส่ง และห้ามนำเงินให้เด็กไปกินที่โรงเรียน เพราะที่โรงเรียนมีโครงการข้าวกลางวันแล้ว


6..... มีการคิดสร้างจุดเด่นให้กับชุมชน เพื่อเป็นทีรู้จักกับคนเมืองอื่น จังหวัดอื่น ตัวอย่าง เช่น หว่านปอเทืองพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน เพื่อเป็นการเติมปุ๋ยพืชสดให้กับดินทุกเดือนเมษายน พอดอกเริ่มเหลืองก็จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำหมู่บ้าน มีการประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปมาเที่ยวชมดอกปอเทืองกัน


7..... มีการจัดทำแผนชุมชน เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคและพัฒนาอาชีพของเกษตรกร ภายในตำบล ในระยะ 1 ปี 3 ปี 5 ปี


8..... จะทำอะไรเรื่องอะไรต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้ เราต้องเป็นเกษตรกรมืออาชีพ ไม่ใช่มีอาชีพเป็นเกษตรกรเท่านั้น ดังสุภาษิต "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" รู้ว่าพืชผักเป็นโรคอะไร ต้องแก้ไขอย่างไร แมลงศัตรูพืชระบาด ต้องทำอย่างไร ไม่ใช่เห็นข้างบ้านฉีดยาก็ฉีดตาม ใส่ปุ๋ยก็ใส่ตาม



9..... โครงการที่เขาทำกันดูแล้วนะจะนำมาใช้ได้คือ โครงการแลกเปลี่ยนระหว่างคนเมือง และชนบท ประมาณว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ คือ คนรวยที่เกษียณแล้ว หรืออายุเยอะแล้ว มาทำการเกษตรในชนบทช่วงเสาร์อาทิตย์ หรือต้นเดือน กลางเดือน ปลายเดือน มาปลูกผักรดน้ำใส่ปุ๋ยเอง เมื่อผลผลิตออกมาก็นำกลับไปทานที่บ้าน คนเหล่านี้จะได้พักผ่อนไปในตัว ได้ออกกำลังกาย ได้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าไม่ต้องนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่ในบ้าน อาจจะพาลูกหลาน มาพักผ่อนร่วมกันทำการเกษตรด้วยก็ได้ โครงการนี้น่าสนนะ ว่าไหม ลองทำสิ


10......ข้อนี้สำคัญที่สุด คือ คนเขียนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคือใคร และคนถือเงินในการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์คือใคร เช่น อบต. อบจ. จังหวัด. กรม. กระทรวง. รัฐมนตรี. ถ้าเขาให้ความสำคัญกับเราก็ดีไป ถ้าไม่เห็นความสำคัญก็ยากที่โครงการดี ๆ จะเกิดขึ้น





วงจรชีวิตคนเปลี่ยนไม่ได้ แต่ที่เปลี่ยนไป คือ วิถีชีวิตคน ตราบใดที่ไม่เริ่มนับ 1 อย่าหวังว่า 2..3..4.. จะตามมา คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะรวยหรือจนได้ อยู่ที่ว่าคุณพร้อมที่จะลุยทำมันให้เกิดขึ้นจริงหรือเปล่า อย่าปล่อยให้ปัญหา หรือ ความท้อแท้ มารุมเร้าจนคุณหยุดคิด หยุดทำสิ่งที่เคยวาดฝันไว้ จงมีจิตใจที่แน่วแน่ มุ่งมั่น ขยัน มัธยัสถ์ อดทน และมีกึ๋น เมื่อนั้นคุณจะเป็นนักเกษตรผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แค่เกษตรกรผู้โดดเดี่ยว หวั่นไหวและอ่อนแอ ไปตามกระแสธารแห่งคลื่นลมมรสุมแห่งลมปาก (เพื่อนบ้าน)



จงเป็นเหมือนเด็ก มีจินตนาการที่โลดแล่น เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดนอกกรอบ นำประสบการณ์จากหลายๆคนมาปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน เป็นกูรู (กูรู้) ในเรื่องที่เราทำให้ถ่องแท้ เหมือนการเจียวไข่ ใครๆก็เจียวได้ แต่..จะมีสักกี่คน ที่ออกปากชมว่าคุณเจียวไข่ได้อร่อยมาก..ลองดู



สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับความคิดของผมก็คือ ไปที่ไหนก็แล้วแต่จะมีแผนการพัฒนาสาธารณูปโภค ถนน น้ำ ไฟ เสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีเลยที่จะมีแผนการพัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนได้มีอาชีพที่มีรายได้ทำกัน ถนนดี น้ำดี ไฟดี แต่คนไม่มีอาชีพทำกัน ไม่มีเงินใช้ มีแต่หนี้สิน แล้วสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไรเล่า


ญี่ปุ่นเป็นเมืองหนาว ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนชื้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่ได้จะเป็นแค่ "แนวคิด" เท่านั้น วิธีการทำและการปฏิบัติลอกกันไม่ได้ นะจะบอกให้............




ที่มา : ไม่ระบุ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 9:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

267. โรคพืชวิทยา (Plant pathology)


โรคพืชวิทยา (Plant pathology) มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ pathos(suffering) หมายถึง การทนทุกข์ทรมาน ความเจ็บป่วยหรือความเสียหายและlogos (speech) หมายถึง การกล่าวถึง ดังนั้นโรคพืชวิทยาจึงหมายถึง การกล่าวถึงความเสียหายของพืช ส่วนคำว่าโรคพืช(plant disease) หมายถึงพืชที่มีอาการได้รับ ความเสียหาย

พืชปกติ หมายถึง พืชที่มีสรีรวิทยาต่างๆทำหน้าที่ปกติได้ดีที่สุดตามความสามารถของสายพันธุ์ เช่น การแบ่งเซลล์ การดูดซึมแร่ธาตุอาหาร การสังเคราะห์แสง เป็นต้น

โรคพืช ตามความหมายในพจนานุกรมธรรมดา อธิบายไว้ 2 ความหมาย คือ

1. โรคพืชจะแสดงลักษณะอาการ(symptoms) ออกมาให้เห็นในอาการของพืชที่ได้รับความเสียหาย(malady) การผิดไปจากปกติของพืช(disorder)

2. การเปลี่ยนแปลงใดๆที่ผิดไปจากพืชปกติ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของพืช โดยแสดงอาการออกมาให้เห็นทางด้านคุณภาพและ/หรือ คุณค่าทางเศรษฐกิจต่ำลง

ตามความคิดเห็นของนักโรคพืชต่างๆ ได้ให้ความหมายของโรคพืชไว้ว่า โรคพืชเป็นการเปลี่ยนแปลงขบวนการใช้พลังงานในระบบการดำรงชีวิตของ พืชไปจากปกติ ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่พืชทำให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำลง


สาเหตุของการเกิดโรค(Causes of plant diseases) แบ่งเป็น 2 สาเหตุคือ

1. สาเหตุที่เกิดมาจากสิ่งมีชีวิต(Biotic pathogen) ได้แก่
- พวกที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ไวรอยด์ เป็นต้น
- พวกที่ไม่ใช่เชื้อโคแต่ทำความเสียหายให้กับพืช เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างๆ นก แมลง ไร ไส้เดือนฝอย เป็นต้น
- พวกที่เป็นตัวนำเชื้อโรค เช่น กาฝาก ฝอยทอง เป็นต้น

2. สาเหตุที่เกิดมาจากสิ่งไม่มีชีวิต(Abiotic pathogen) ได้แก่
- สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ อุณหภูมิ แสงแดด ความชื้น ลม ดิน น้ำ เป็นต้น
- มลภาวะเป็นพิษ เช่น มลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน มลพิษจากการเผาหญ้า
- ปัจจัยทางเคมี เช่น ความเป็นกรด-ด่างของดิน,น้ำ

โรคพืชนั้นอาจเป็นทั้งโรคที่ติดเชื้อ(Infectious disease) ซึ่งหมายถึง โรคที่เกิดจากเชื้อที่มีชีวิตเป็นเชื้อก่อโรค พืชจะมีปฏิกิริยาตอบโต้การติดเชื้อและ สามารถแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นๆได้ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเป็นโรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ (Non infectious disease) ซึ่งหมายถึง โรคที่เกิดจากสาเหตุ นอกเหนือจากโรคติดเชื้อโรคจะไม่สามารถระบาดจากต้นที่เป็นโรค ไปยังพืชปกติได้





ส่วนประกอบของโรค (Disease components)
ส่วนประกอบของโรคเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจะการเกิดโรคจะไม่สมบูรณ์หรือไม่อาจเกิดโรคได้เลย

ส่วนประกอบของโรคเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ สามเหลี่ยมโรคพืช(Disease triangle) ได้แก่

1. พืชอาศัย(Host) ต้องมีพืชอาศัยที่เป็นโรคง่าย
2. เชื้อสาเหตุ(Pathogen) ต้องเป็นเชื้อสาเหตุที่รุนแรง
3. สภาพแวดล้อม(Environment) ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
4. เวลา(Time) ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ได้แก่ ระยะเวลาที่พืชอาศัยและเชื้อโรคสัมผัสกัน ระยะเวลาที่ใบเปีย

ในขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมต่อ การเกิดโรค ระยะเวลาที่เหมาะสม ต่อการแพร่กระจายของสปอร์ การงอกของสปอร์ การติดเชื้อ เป็นต้น




การจำแนกโรคพืช
1. การจำแนกโดยอาศัยอาการของพืชที่เป็นโรค จำแนกโดยการใช้อาการของพืชเป็นหลักเป็นชื่อที่ใช้ทั่วไป เช่น โรครากเน่า โรคใบจุด โรคราสนิม โรคเหี่ยว เป็นต้น การแบ่งดังกล่าว เป็นการซับซ้อนกันโดยชื่อโรคเดียวกันนั้นอาจเกิดจากจุลินทรีย์ได้หลายชนิด ซึ่งต่างก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันทำให้ในแง่ของ การปฏิบัติเช่นการควบคุมโรค ไม่ต้องสมบูรณ์ได้

2. การจำแนกโดยอาศัยส่วนของพืชที่เป็นโรค จำแนกออกเป็นกลุ่มโดยการใช้ส่วนของพืชที่เป็นโรค ได้แก่ โรคที่ผล โรคที่ลำต้น โรคที่ใบ โรคที่ราก การแบ่งแบบนี้ไม่เหมาะกับงาน ทางด้านวิทยาศาสตร์ เพราะไม่มีส่วนที่แสดงให้ทราบถึงโครงสร้าง สรีรวิทยาของพืชที่เป็นโรคและเชื้อสาเหตุ

3. การจำแนกโดยอาศัยแบบของพืชที่เป็นโรค เป็นการแบ่งอย่างกว้างๆโดยใช้แบบของพืชเป็นหลัก แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลยทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ โรคของพืชไร่ โรคของผัก โรค ของไม้ผล โรคของป่าไม้ โรคไม้ดอกไม้ประดับ โรคของสนามหญ้า เป็นต้น

4. การจำแนกโดยอาศัยความเสียหายและการแพร่ระบาดของโรค การทำความเสียหายของพืชแต่ละชนิดกันจะมีความแตกต่างกัน โรคบางชนิดจะทำลายพืชให้ตายอย่างรวดเร็ว โดยไม่ ทำความเสียหายแก่พืชอื่นเลย โรคที่ทำความเสียหายให้มากที่สุดนอกจากจะทำให้พืชตายหรือลดผลผลิต ให้ต่ำลงแล้วยังต้องแพร่ระบาดจากต้นที่เป็ฯโรคไปยังต้นอื่น ท้องที่อื่นๆอีกด้วย การแบ่ง แยกโรคลักษณะนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมมือในชาติและ ระหว่างชาติในการป้องกัน

5. การจำแนกโดยอาศัยแบบของสาเหตุของพืชที่เป็นโรค ได้แก่โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตและโรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต



ตัวอย่างโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายให้กับพืช
1. โรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ โรคราสนิม,โรคราเขม่าดำ, โรค ergot ของข้าวไรน์และข้าวสาลี, โรคใบไหม้มันฝรั่ง, โรคราน้ำค้างองุ่น, โรคใบจุด สีน้ำตาลข้าว
2. โรคที่เกิดจากไวรัส ได้แก่ โรคใบด่างอ้อย
3. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม
4. โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ได้แก่ โรครากปม





http://guru.sanook.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 9:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

268. การวินิจฉัยโรคพืช


ขั้นตอนในการวินิจฉัยโรคพืช
ตัวอย่างโรคพืชที่เก็บได้จากแหล่งระบาดในไร่ ที่ได้รับจากเกษตรกรนำมาด้วยตัวเอง หรือส่งมาทางไปรษณีย์ ควรมีการศึกษาสำรวจลักษณะอาการ และส่วนของเชื้อโรคที่พบเห็นจากตัวอย่างที่ได้เลือกเป็นตัวแทนโรคอย่างละเอียด เพื่อหาความสม่ำเสมอของโรคโดยสำรวจจากลักษณะอาการที่เป็นโรคน้อยจน ถึงเป็นโรคมาก มีขั้นตอนการวินิจฉัยดังนี้


1. สำรวจลักษณะอาการ (symptom)
ของโรคทั่วๆไปพบโรคกับส่วนไหนของพืช เช่น เป็นกับส่วนใบ ลำต้น ดอก ผล ส่วนหัวหรือราก อาการเกิดกับ เนื้อเยื่อผิวพืช หรือเป็นกับเนื้อเยื่อภายในพืชทำให้เกิดการเปลี่ยนสี ทำให้ซีดเหลือง (chlorosis) หรือทำให้เนื้อเยื่อตาย (necrosis) เนื่องจากสาเหตุของโรคมีความ แตกต่างกัน เช่น เชื้อไวรอยด์ ไวรัส มายโคพลาสมา แคทีเรีย รา สาหน่าย และไส้เดือนฝอย ทำให้เกิดโรคแสดงลักษณะอาการแตกต่างกัน มีบางชนิดทำให้เกิด โรคแสดงลักษณะอาการคล้ายกันจึงต้องทำการพิจารณาลักษณะอาการของโรคอย่างละเอียด


2. สำรวจหาชิ้นส่วนของเชื้อสาเหตุ (sign)
จากอาการผิดปกติโดยใช้แว่นขยายส่องดูบริเวณผิวพืช ที่เป็นโรคเพื่อตรวจส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อ (fruiting bodies) ที่ปรากฏบนผิวพืช การตรวจดูเชื้อสาเหตุของโรคพืชต้องทำจากหลายๆตัวอย่าง เพื่อค้นหาส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา สาหร่าย และตัวไส้เดือนฝอย ในการ ตรวจลักษณะอาการของโรคเมื่อไม่พบเห็นส่วนใดส่วนหนึ่งของเชื้อโรค ควรนำชิ้นส่วนของพืชที่ตรวจไปเก็บไว้ในภาชนะที่ชื้น เช่น ในจานเลี้ยงเชื้อที่บุด้วย กระดาษซับที่ชื้นหรือเก็บตัวอย่างพืชในถุงพลาสติกที่มีน้ำเล็กน้อย ปิดปากถุงแล้วเก็บไว้ข้ามคืน เชื้อราที่โตเร็ว เช่นพวกที่สร้างส่วนขยายพันธุ์โผล่ทางปากใบ มักจะสร้างส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อให้เห็นในวันต่อมา เชื้อราบางชนิดจะสร้างส่วนขยายพันธุ์บนเนื้อเยื่อพืชที่เริ่มเปื่อยและเน่าแห้งแล้วจึงต้องเก็บไว้หลายวัน การ ตรวจเชื้อที่เกิดจากการเก็บในภาชนะชื้น ต้องรีบตรวจดูให้ตรงกับระยะการเจริญของเชื้อรา เชื้อราบางชนิดเมื่อสร้างส่วนของเชื้อแล้วจะฝ่อแฟบไป ตัวอย่างเช่น ราน้ำค้างของข้าโพด หลังจากเชื้อสร้างสปอร์แล้วจะงอกและฝ่อแฟบไปภายใน 1-2 ชั่วโมง

ตัวอย่างโรคพืชที่ตรวจดูไม่พบเห็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา ควรตรวจสอบสาเหตุจากแบคทีเรีย ที่แสดงลักษณะเป็นน้ำเยิ้มของเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial exudates) เห็นได้ชัดเจนด้านใต้ใบของพืชบริเวณเนื้อเยื่อขอบแผลที่เป็นโรคในสภาพอากาศชื้น ส่วนโรคที่มีสาเหตุมาจากไส้เดือนฝอยบางชนิดอาจตรวจดูตัวไส้ เดือนฝอยบนใบ ลำต้น และรากพืช ตรวจดูไส้เดือนฝอยภายในเนื้อเยื่อที่เป็นโรคโดยนำไปแช่น้ำแล้วตรวจดูตัวไส้เดือนฝอยที่ว่ายน้ำออกมาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยาย ส่วนสาเหตุจากเชื้อไวรัส ไวรอยด์ และมายโคพลาสมา ไม่สามารถตรวจดูรูปร่างรายละเอียดด้วยสายตาและกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่ำ ต้องผ่าน ขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างเพื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและต้องใช้ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคแต่ละสาเหตุประกอบการวินิจฉัยเบื้องต้น

3. ทำการตรวจดูเชื้อที่พบเห็นบนตัวอย่างพืชด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยเขี่ยส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อที่พบเห็นมาวางในน้ำกลั่นบนกระจกสไลด์ส่องดูภาย ใต้กล้องจุลทรรศน์ทำการบันทึกลักษณะของเชื้อที่ตรวจพบ ลักษณะสปอร์และก้านชูสปอร์ แหล่งกำเนิดของสปอร์ชนิดต่างๆเช่น pycnidium , acervulus , perithecium และส่วนโครงสร้างอื่นๆของเชื้อราและควรถ่ายภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์ไว้ด้วย ตัวอย่างพืชบางชนิดที่มีส่วนของเชื้ออยู่ภายใต้ผิวพืชต้องมีการตัด Cross section เพื่อดูลักษณะของเชื้อภายใน โรคที่มีลักษณะแบบนี้ เช่น โรค tar spot ของพืชตระกูลหญ้า การตัดส่วนของพืชที่ ม่พบเชื้อราและอาจมี สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียอาจพบเห็นกลุ่มแบคทีเรีย (Bacterial oozes) ทะลักออกมาในน้ำ เมื่อสังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่ำหรือหรี่แสงแล้ว เมื่อนำหยด น้ำนี้ไปย้อมแบบแกรม (Gram stain) หากเป็นแกรมลบก็อาจเป็นสาเหตุโรคพืช ตัวอย่างโรคพืชบางชนิดที่เกิดจากเชื้อไวรัส บางชนิดอาจลอกผิวพืชเพื่อตรวจดู ผลึกของเชื้อไวรัส (Inclusion bodies) บางชนิดภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายธรรมดาได้ การตรวจดูรายละเอียดเพื่อจำแนกชื่อเชื้อไวรัสสาเหตุโรคมีวิธีที่ค่อน ข้างละเอียดซับซ้อน กว่าแบคทีเรีย และไส้เดือนฝอย เชื้อที่มีขนาดเล็ก เช่น ไวรอยด์ ไวรัส มายโคพลาสมา และแบคทีเรียบางต้องมีการตัดเนื้อเยื่อพืชผ่านกรรมวิธี ในการส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน


4.การแยกเชื้อให้บริสุทธิ์ในอาหารเลี้ยงเชื้อ
ในห้องปฏิบัติการณ์กระทำได้เฉพาะแบคทีเรียและเชื้อรา ส่วนสาเหตุชนิดอื่นๆ มีวิธีการเฉพาะอย่างต้องใช้ เครื่องมือและวิธีการจึงจะดำเนินการได้ การแยกแบคทีเรียให้บริสุทธิ์สามารถแยกได้หลายวิธี เช่น

1) Dilution agar plate method การทำเชื้อให้เจือจางก่อนการเลี้ยงเชื้อในอาหารทำได้โดยฆ่าเชื้อที่ผิวของเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรคจากแบคทีเรียแล้วนำ ไปบดในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อ แล้วนำไปทำให้เจือจางลงเป็น 10 100 1000 เท่า นำไปผสมกับอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียในจานเลี้ยงเชื้อก่อนจะแข็งตัว แล้วแยก โคโลนีเดี่ยวๆของเชื้อที่เป็นตัวแทนของเชื้อนำไปเลี้ยงให้บริสุทธิ์ในหลอดเลี้ยงเชื้อ

2) Streak plate method โดยการนำน้ำที่บดเนื้อเยื่อพืชซึ่งทำให้เจือจางแล้วไป streak หลายๆครั้ง บนอาหารเลี้ยงเชื้อ แบคทีเรียให้มีจำนวน แบคทีเรียน้อยลงจนเจริญแยกเป็นโคโลนีเดี่ยวๆ แล้วแยกนำไปเลี้ยงให้บริสุทธิ์



การแยกเชื้อราให้บริสุทธิ์ มีหลายวิธีแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อและชนิดอาหารที่ใช้แยกเพื่อให้ได้เฉพาะเชื้อราที่ต้องการ โดยทั่วไปใช้ water agar และ PDA ชิ้นส่วนของพืชที่จะแยกเชื้อราที่มีเชื้ออื่นปะปนมาก ต้องนำไปล้างหลายๆครั้ง ถ้าเป็นรากพืชอาจปล่อยในน้ำไหลนานๆ เพื่อให้ชะดินและจุลินทรีย์ที่ติด กับผิวรากออก ตัดเนื้อเยื่อที่เป็นโรคเป็นชิ้นเล็กๆนำไปแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ Clorox 10% นาน 2-3นาที ควรเติมเกล็ดสบู่หรือผงซักฟอกลงไปเล็กน้อยเพื่อลดความตึงผิว ของน้ำยาและทำให้ผิวชิ้นส่วนพืชเปียก ทำให้ฆ่าเชื้อที่ผิวได้ทั่วถึงก่อนนำไปซับด้วยกระดาษซับที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว นำไปวางบนอาหาร water agar ในจานเลี้ยง เชื้อซึ่งเทบางๆ การวางชิ้นส่วนพืชควรวางให้ห่างกันพอสมควร เพื่อให้เชื้องอกเป็นเส้นใยออกมาและแยกเป็นโคโลนีและตัดปลายเส้นใยบริเวณขอบโคโลนีไป เลี้ยงให้บริสุทธิ์ เชื้อแบคทีเรียละเชื้อราที่แยกได้บริสุทธิ์ต้องนำไปจำแนกเชื้อ และพิสูจน์การเป็นโรคต่อไป

สำหรับเชื้อสาเหตุที่ไม่สามารถแยกได้บริสุทธิ์ตามวิธีการดังกล่าวได้แก่เชื้อไวรัส มายโคพลาสมา แบคทีเรียบางชนิด และไวรอยด์ สามารถทดสอบได้ โดยการปลูกเชื้อลงบนพืชที่เป็นโรคได้ง่าย (Indicator plant) หรือใช้พืชอาศัยโดยตรงด้วยน้ำคั้นของพืชที่เป็นโรคโดยวิธี Mechanical transmission หรือ Insect transmission หรือวิธีอื่นๆที่เหมาะสม ลักษณะอาการที่พืชขาดแร่ธาตุอาหารบางชนิดแสดงอาการคล้ายกับเชื้อสาเหตุดังกล่าวมาแล้วอาจทำให้การวินิจฉัยผิดพลาด ได้ เช่น ขาดธาตุสังกะสี ในส้มมีลักาณะคล้ายกับโรคกรีนนิ่งของส้มซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง แต่ลักษณะอาการขาดแร่ธาตุอาหารไม่สามารถถ่ายทอด โดยวิธีใดๆโดยวิธีปลูกเชื้อไปยังต้นพืชอื่น

วิธีการวินิจฉัยตามขั้นตอนต่างๆดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการแยกเชื้อให้บริสุทธิ์เพื่อตรวจทดสอบร่วมกับเอกสารอ้างอิงเพื่อใช้ในการวินิฉัยโรคพืช ผู้วินิจฉัยจำเป็นต้องบันทึกขั้นตอนต่างๆขณะวินิจฉัยเพื่อป้องกันความผิดพลาดเมื่อมีตัวอย่างโรคที่ต้องวินิจฉัยจำนวนมาก



การพิสูจน์การเป็นโรค
ตัวอย่างเชื้อสาเหตุโรคพืชที่แยกได้บริสุทธิ์ตามวิธีการต่างๆที่ยังไม่ได้พิสูจน์ได้แน่ชัดว่าเป็นสาเหตุของโรคจริง บางชนิดอาจเป็นเชื้อที่เข้าทำลายพืชภาย หลัง (secondary infection) จึงมีความจำเป็นต้องทดสอบว่าเชื้อที่ตรวจแยกได้เป็นสาเหตุโรค (primary casual agent) หรือไม่ โดยอาศัยหลักการพิสูจน์โรคของ Kach (Koch’s Postulates) ซึ่งมี 4 ข้อ ดังนี้

1. สาเหตุของโรคที่พบบนพืชต้องมีความสัมพันธ์กับพืชที่แน่นอน (constantassociation of the pathogen and the host plant) หมายถึง โรคที่พบกับพืช ชนิดใดขนิดหนึ่งในต่างท้องที่กันแสดงอาการของโรคให้เห็นเหมือนกันย่อมมีสาเหตุจากเชื้อชนิดเดียวกัน เช่น โรคแคงเกอร์ของมะนาวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่พบในภาคกลางและภาคใต้ แสดงอาการของโรคเหมือนกัน ต้องมีสาเหตุจากเชื้อชนิดเดียวกัน

2. เชื้อสาเหตุโรคจะต้องแยกให้บริสุทธิ์เป็นเชื้อชนิดเดียวกันในอาหารเลี้ยงเชื้อ (Isolation in pure culture) ในกรณีของเชื้อสาเหตุโรคพืชที่เป็นเชื้อรา แบคทีเรีย และมายโคพลาสมา บางชนิด ส่วนไวรัส บางชนิดสามาถแยกได้บริสุทธิ์โดยการตกตะกอนด้วย Ultracentrifuge แต่ไม่สามารถเลี้ยงเชื้อในอาหารวุ้นได้ สำหรับไส้เดือนฝอยสาเหตุโรคพืชสามารถแยกมาเลี้ยงในต้นพืชที่ปราศจากเชื้ออื่น เชื้อสาเหตุของโรคบางชนิด เช่น เชื้อราที่เป็น Obligate parasite ไม่สามารถแยก เชื้อเลี้ยงในอาหารวุ้นให้ได้เชื้อบริสุทธิ์ได้ ต้องเลี้ยงเชื้อให้มีชีวิตอยู่โดยการปลูกเชื้อให้พืชเป็นโรคนั้นๆและเมื่อพืชอ่อนแอลงก็ย้ายไปปลูกเชื้อในต้นใหม่ๆต่อๆไป เชื้อโรคพืชที่แยกได้บริสุทธิ์ควรตรวจดูเปรียบเทียบจากที่พบบนส่วนพืชครั้งแรกที่ได้บันทึกไว้

3. เชื้อสาเหตุของโรคซึ่งแยกได้บริสุทธิ์เมื่อนำไปปลูกเชื้อบนต้นพืชที่สมบูรณ์ จะต้องทำให้เกิดโรคได้ (Inoculation into the healthy host plant) การปลูกเชื้อเพื่อให้เกิดโรคต้องอาศัยหลักบางประการ เช่น พืชต้องเป็นพันธุ์ที่เป็นโรคได้ง่าย พืชอยู่ในช่วงการเจริญเติบโตที่อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคและเชื้อโรคที่ใช้ปลูกเชื้อต้องเป็นสายพันธุ์ที่เป็นโรคได้รุนแรงและควรคำนึงถึงเชื้อโรคบางชนิดสูญเสียความสามารถในการทำให้เกิดโรคเมื่อเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อนานๆ โดยมีสภาพแวดล้อมต่างๆ (predisposing factors) ช่วยทำให้พืชอ่อนแอและเหมาะสมในการเข้าทำลายของเชื้อโรค เช่น การที่ได้รับความชื้นเพียงพอ กับการเกิดโรค พืชได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมากก็อ่อนแอต่อโรค เชื้อโรคต้องมีปริมาณมากพอจะทำให้แสดงอาการของโรคเร็วขึ้น เชื้อโรคจะต้องเข้าสู่ส่วนของพืช เฉพาะบริเวณที่พืชเป็นโรคได้ บางชนิดต้องนำขู่เนื้อเยื่อภายในพืช และต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเข้าทำลายและการเจริญของเชื้อโรคด้วย การปลูก เชื้อไม่เป็นผลสำเร็จนั้นยังสรุปไม่ได้ว่าเชื้อที่แยกไม่ใช่สาเหตุของโรค

4. พืชที่ได้รับการปลูกเชื้อแสดงอาการของโรคแล้วเมื่อนำไปแยกเชื้อต้องได้เหมือนเชื้อเดิมและเชื้อที่แยกได้ใหม่เมื่อนำไปปลูกเชื้อต้องทำให้พืชต้นใหม่ เป็นโรคได้อีก (Reisolatio and reinoculation)
อาการของโรคและเชื้อที่แยกได้ใหม่ต้องเหมือนกับครั้งแรก จะแสดงว่าเชื้อนั้นเป็นสาเหตุของโรคจริง



การวินิจฉัยโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต
สาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (Inanimate agent) เนื่อจากสภาพแวดล้อมของพืชหลายชนิด เช่น การขาดแร่ธาตุอาหาร การได้รับพิษจากสาร เคมีมากเกินไป และอาการที่พืชถูกเผาไหม้เนื่องจากแสงแดด อาการผิดปกติเนื่อจากสาเหตุเหล่านี้บางครั้งพืชแสดงอาการคล้ายกัน เช่น อาการขาดแร่ธาตุอาหาร บางชนิดแสดงอาการซีดเหลืองคล้ายกับโรคที่เกิดจากไวรัส และมายโคพลาสมา จึงมีความจำเป็นต้องทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด โรคพืชที่เกิดจากสาเหตุ จากสิ่งไม่มีชีวิตต้องไม่พบเชื้อสาเหตุ ยกเว้นเชื้อที่พบปนเปื้อนภายหลังบนเนื้อเยื่อที่แสดงอาการผิดปกติแล้ว และสาเหตุจากสิ่งไม่มีชีวิตไม่สามารถถ่ายทอดไปยัง ต้นอื่น

การขาดแร่ธาตุอาหารในพืช (Mineral deficiency) นับว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ทำให้พืชแสดงลักษณะอาการขาดธาตุ อาหาร (Hunger signs) เมื่อสภาพดินที่ปลูกขาดแร่ธาตุชนิดนั้นๆ หรืออยู่ในสภาพที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้เนื่องจากสภาพความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม แร่ธาตุที่พืชต้องการมากและเป็นแร่ธาตุอาหารหลักในการดำรงชีวิต (Major element) ได้แก่ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก ชนิดที่พบมากตามธรรมชาติ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนแร่ธาตุที่พืชต้องการน้อยเป็นแร่ธาตุอาหารรองแต่มีความจำเป็นในการ เจริญเติบโตของพืช (Minor elements) ได้แก่ แมงกานีส โบรอน สังกะสี ทองแดง โมลิบดินัม และคลอรีน

ส่วนประกอบของเนื้อเยื่อพืชมีแร่ธาตุอาหารมากน้อยต่างกันตามแต่ความต้องการของชนิดพืชนั้นๆ เช่น ธาตุไนโตรเจน ปกติรวมกับออกซิเจได้น้ำซึ่ง ช่วยในการลำเลียงแร่ธาตุอาหารทำให้เซลล์พืชเต่งตึงดำรงชีพอยู่ได้ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยในการสร้างคาร์โบไฮเดรตในขบวนการสังเคราะห์แสง ไนโตรเจนในรูปของเกลือแอมโมเนียม และไนเตรต จะถูกเปลี่นยเป็นกรดอะมิโนมในพืช ซึ่งทำหน้าที่สร้างโปรตีน ฟอสฟอรัสในพืชเป็นส่วนสำคัญใน การควบคุม การแบ่งเซลล์และการยับยั้งการสะสมน้ำตาลในพืช ฉะนั้นพืชที่ขาดฟอสฟอรัสมักแสดงอาการใบสีม่วง โปตัสเซียมช่วยในการลำเลียงแร่ธาตุอาหาร ในพืช ช่วยให้พืชต้านทานโรค กำมะถันเป็นส่วนสำคัญในกรดอะมิโน เมื่อขาดธาตุนี้พืชจะแสดงอาการเหลืองๆคล้ายกับขาดไนโตรเจน แมกนีเซียมถูกพืชนำไปใช้ เป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลด์ ถ้าพืชขาดธาตุชนิดนี้จะแสดงอาการเหลืองซีด ธาตุแคลเซียมถูกดูดซึมเข้าสู่พืชเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์พืชและ ยึดเซลล์เข้าด้วยกันในรูปของ Calcium pectate เหล็กเป็นอีดธาตุหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างคลอโรฟิลด์ แมงกานีสมีส่วนสำคัญเป็น catalyst ในขบวนการ ดำรงชีพของพืช โบรอนเป็นธาตุที่มีความสำคัญในการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อเจริญ สังกะสี ทองแดง และโมลิบดินัม เป็นส่วนสำคัญในขบวนการเมตาโบลิซึมในพืช




สรุปลักษณะอาการของพืชที่ขาดธาตุบางชนิด
ขาดธาตุไนโตรเจน : พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งต้นเริ่มจากใบล่างซีดเหลืองอ่อน

ขาดธาตุฟอสฟอรัส : พืชเจริญเติบโตช้า ในใบมีสีเขียวเข้มหรือม่วงบริเวณใบล่างๆลำต้นมียอดสั้น

ขาดธาตุแมกนีเซียม : ใบที่แก่ แสดงอาการซีดเหลืองหรือแดงบริเวณขอบใบและปลายใบก่อนขยายตัวลงไปที่โคน ใบมีสีซีดเหลืองเป็นรูปตัว V หัวกลับขอบใบม้วนงอขึ้น

ขาดธาตุโปตัสเซียม : ต้นพืชมียอดน้อย ใบล่างซีดเหลือง ขอบใบม้วนขึ้นปลายใบและขอบใบแห้งมีสีน้ำตาล ผลไม้มีขนาดเล็กลง

ขาดธาตุแคลเซียม : ใบอ่อนบิดงอชงักการเจริญเติบโต แสดงอาการบิดม้วน ขอบใบฉีกขาด ตายอดแห้งตาย ลำต้นมีรากน้อย ทำให้ผลแตกใน ผลไม้หลายชนิด

ขาดธาตุโบรอน : ทำให้ก้านใบอ่อนแตกและหัก ใบบิดงอ รากลำต้นและผล แสดงอาการเป็นแผลแตก ลำต้นแตกเป็นรูกลวงและเมล็ดลีบในผัก หลายชนิดขาดธาตุกำมะถัน : ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งใบ

ขาดธาตุเหล็ก : ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองแต่เส้นใบยังคงเขียว

ขาดธาตุสังกะสี : ใบด่างเหลืองระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กเกิดเป็นกระจุก

สภาพแวดล้อมต่างๆเกี่ยวเนื่องกับการขาดแร่ธาตุอาหาร ได้แก่สภาพทางฟิสิกส์ของดินที่มีความเหนียวจัดยับยั้งการแพร่กระจายของรากทำให้พืชดูดแร่ ธาตุได้น้อย อุณหภูมิในดินสูงทำให้อินทรียวัตถุสลายตัวให้ไนโตรเจนและแร่ธาตุอื่นๆในดินได้เร็ว การใส่ปูนขาวในดินที่มากเกินไปจะยับยั้งแร่ธาตุบางชนิด เช่น สังกะสี โบรอน และแมงกานีสทำให้รากพืชไม่สามารถนำไปใช้ได้

การวินิจฉัยการขาดแร่ธาตุในพืชอาจทำได้โดยการวิเคราะห์จากเนื้อเยื่อพืช (Tissue analysis) จากใบที่สร้างใหม่ๆแล้วเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่ วิเคราะห์ได้จากพืชปกติ การวิเคราะห์ดินและวัดระดับความเป็นกรดเป็นด่างในดิน จะช่วยในการเตรียมป้องกันการขาดธาตุอาหารในพืชได้

การศึกษาลักษณะอาการขาดธาตุอาหารในพืชในห้องปฏิบัติการและในเรือนกระจกสามารถทำได้โดยการปลูกพืชในน้ำยา (Nutrient solution) ที่มีสาร ผสมธาตุอาหารที่พืชต้องการครบถ้วน เปรียบเทียบกับพืชที่เลี้ยงในน้ำยาที่ขาดธาตุอาหารที่ต้องการศึกษา น้ำยาที่ปลูกพืชที่ใชโดยทั่วไปคือ Hoagland’s solution ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

KNO3 0.006 mole/ลิตร
Ca(NO3)2 4H2O 0.004 mole/ลิตร
MgSO4 7H2O 0.002 mole/ลิตร
NH4H2PO4 0.001 mole/ลิตร
FeCl3 (5%) 1 มล.
Microelement 1 มล.

ส่วนประกอบของ microelement 1 ลิตร มี
H3BO3 2.86 กรัม
MnCl2 4H2O 1.81 กรัม
ZnSO4 7H2O 0.22 กรัม
CuSO4 5H2O 0.02 กรัม และ
H2MoO4H2O 0.02 กรัม


การเตรียมน้ำยาปลูกพืชที่ขาดธาตุอาหาร (Incomplete nutrient solution) มีหลักเกณฑ์คือ เมื่อต้องการให้พืชขาดธาตุใดธาตุหนึ่งในน้ำยา Hoagland ก็ต้องเปลี่ยนเกลือของสารที่มีธาตุนั้น โดยใช้ โซเดียม(Na) แทนธาตุอาหารที่เป็นแคทไอออน (Cation) เช่น ต้องการให้ขาดโปแตสเซียม ก็เปลี่ยน KNO3 ไป ใช้ NaNO3 และในกรณีที่เป็นแอนไอออน (Anion) ก็ให้ใช้คลอไรด์ (Cl) แทน เช่น ต้องการให้ขาดไนโตรเจน (ไนเตรท) ก็ต้องเปลี่ยน KNO3ไปใช้ KCl

สรุปการให้ขาดธาตุชนิดหนึ่งในน้ำยาเลี้ยงพืชเพื่อศึกษาลักษณะอาการขาดแร่ธาตุในสูตรน้ำยาเลี้ยงพืชมีดังนี้

ถ้าต้องการให้ขาดธาตุไนโตรเจน ให้ใช้ KCl , CaCl2 และ NaH2PO4 แทน KNO3 , Ca(NO3)2 4H2O และ NH4H2PO4 ตามลำดับ

- ถ้าต้องการให้ขาดธาตุฟอสฟอรัส ใช้ NH4Cl แทน NH4H2PO4
- ถ้าต้องการให้ขาดธาตุโปแตสเซียม ใช้ NaNO3 แทน KNO3
- ถ้าต้องการให้ขาดธาตุแคลเซียม ใช้ NaNO3 แทน Ca(NO3)2 4H2O
- ถ้าต้องการให้ขาดธาตุแมกนีเซียม ใช้ Na2SO4 แทน MgSO4 7H2O
- ถ้าต้องการให้ขาดธาตุกำมะถัน ใช้ MgCl2 แทน MgSO4 7H2O
- ต้องการให้ขาดธาตุเหล็ก ไม่ต้องเติม FeCl3 ลงในสูตรน้ำยา


การบำรุงดูแลต้นพืชที่เลี้ยงในน้ำยาควรมีการให้อากาศ (aeration) ทุกวัน และเปลี่ยนน้ำยาทุกๆอาทิตย์ เพื่อไม่ให้น้ำยาเปลี่ยนสภาพความเป็นกรดด่าง มากเกินไป โดยทั่วไประดับความเป็นกรดเป็นด่างควรอยู่ระหว่าง 5.0-6.0

อาการขาดธาตุชนิดที่พืชต้องการมาก เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุปุ๋ย (Fertilizer element) จะแสดงอาการ ขาดธาตุปรากฏให้เห็นภายในเวลาอันสั้น เมื่อนำอาการขาดธาตุจากใบพืชที่ปรากฏตามธรรมชาติเปรียบเทียบก็จะเป็นการช่วยการวินิจฉัยได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ส่วนการ ทดสอบลักษณะอาการขาดแร่ธาตุที่เป็นธาตุรองมีวิธ๊ทำที่ยากเนื่องจาก ต้องทดสอบในปริมาณที่น้อยและแร่ธาตุเหล่านี้มักปนเปื้อนในธรรมชาติได้ง่าย ต้องใช้ ภาชนะแก้วและน้ำกลั่นชนิดพิเศษ



http://guru.sanook.com/pedia/topic/การวินิจฉัยโรคพืช/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 9:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

269. โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย (Plant disease caused by Nematode)



ไส้เดือนฝอย อยู่ใน Phylum Nematoda : Nematode มาจากภาษากรีกคำว่า Nema(แปลว่า เส้นด้าย)+oid (เหมือนหรือคล้าย) ดังนั้น Nematode จึงหมายถึง สัตว์ที่มีรูปร่างเหมือนเส้นด้าย (round-worm,thread-word) ไส้เดือนฝอยไม่มีระบบหายใจและระบบหมุนเวียนโลหิต


ไส้เดือนฝอยที่พบมี 4 ชนิดได้แก่
1. Marine nematode (ไส้เดือนฝอยน้ำเค็ม) มีประมาณ 50% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด

2. Soil and fresh-water nematode(ไส้เดือนฝอยในดินและน้ำจืด) เป็นอิสระอยู่ตามธรรมชาติ ไม่เป็นศัตรูพืชและเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์โดยเป็น อาหารให้กับสัตว์อื่นมีประมาณ 25% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด

3. Animal parasite nematode(ไส้เดือนฝอยปรสิตของสัตว์) เช่น พยาธิต่างๆ มีประมาณ 15% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด

4. Plant parasite nematode (ไส้เดือนฝอยที่เป็นศัตรูพืช) มีประมาณ 10% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด



หัวข้อ
รูปร่างลักษณะของไส้เดือนฝอย
การสืบพันธุ์
ชีพจักรของไส้เดือนฝอยรากปม
พืชอาศัย
ลักษณะอาการของโรค



รูปร่างลักษณะของไส้เดือนฝอย
1. เป็นสัตว์หลายเซลล์ ไม่มีกระดูกสันหลัง(Hydrostatic skeleton)ดำรงสภาพด้วยแรงดันของเหลวในตัวมันเองทำให้คงรูปร่างอยู่ได้
2. รูปร่างสมสาตร(Bilateral symmetry,cylindrical,filiform)
3. Sexual dimorphism ตัวเมียเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
4. เจริญเป็นตัวเต็มวัยได้โดยการลอกคราบ จะลอกคราบทั้งหมด 4 ครั้ง
5. มี Spear หรือ Stylet ช่วยในการเจาะเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืช




การสืบพันธุ์
1. Amphimixis เพศแยกกัน ผสมพันธุ์โดยอาศัยน้ำเชื้อจากตัวผู้กับไข่ของตัวเมีย

2. Parthenogenesis ตัวเมียสามารถวางไข่และออกลูกได้โดยไม่ต้องใช้น้ำเชื้อจากตัวผู้ ทำให้ขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น Meloidogyne incognita ไส้เดือนฝอยรากปม

3. Hermaphrodism ตัวเต็มวัยจะผลิตน้ำเชื้อ เองได้แล้วเก็บไว้ เมื่อไข่สุกก็จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสม




ชีพจักรของไส้เดือนฝอยรากปม
ไส้เดือนฝอยรากปมมีการเจริญเติบโตเป็นลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ระยะไข่ ไข่ไส้เดือนฝอยรากปมมีลักษณะกลมรี ผิวเรียบ ใส

ตัวอ่อนระยะที่ 1 ตัวอ่อนระยะนี้จะเกิดในไข่มีการลอกคราบภายในไข่ 1 ครั้ง กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2

ตัวอ่อนระยะที่ 2 ตัวอ่อนระยะนี้จะออกจากไข่แล้วอยู่ในดิน ระยะนี้เป็นระยะเดียวที่จะเข้าทำลายพืชได้ ตัวอ่อนเมื่อเข้าไปอยู่ในรากพืชจะเพิ่มขนาด และมีรูปร่างคล้ายไส้กรอก ไส้เดือนฝอยจะดูดกินน้ำเลี้ยงและสร้างน้ำลายไปกระตุ้นเซลล์พืชบริเวณนั้นให้มีขนาดโตขึ้น ทำให้ส่วนของพืชค่อย ๆ โตจนมีลักษณะ เป็นปุ่มปม สุดท้ายมีการลอกคราบครั้งที่ 2 กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3

ตัวอ่อนระยะที่ 3 ไส้เดือนฝอยระยะนี้จะมีขนาดโตขึ้น และเซลล์พืชจะโตกว่าเดิม และจะมีการลอกคราบครั้งที่ 3 กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 4

ตัวอ่อนระยะที่ 4 ตัวอ่อนระยะนี้เริ่มมีความแตกต่างระหว่างเพศผู้ และเพศเมีย ไส้เดือนฝอยเพศผู้จะมีลักษณะขดงอคล้ายพยาธิ ในขณะที่เพศเมีย มีลักษณะอ้วนป้อมกว่าเพศผู้

ตัวเต็มวัย ไส้เดือนฝอยเพศผู้จะลอกคราบครั้งที่ 4 กลายเป็นตัวเต็มวัยมีลักษณะเป็นเส้นยาว และออกจากรากพืชมีชีวิตอยู่อย่างอิสระ

ส่วนไส้เดือนฝอย เพศเมียจะลอกคราบครั้งที่ 4 กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีลักษณะ อ้วนกลมคล้ายลูกแพร์ ตัวจะค่อย ๆ พองเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีไข่เต็มท้อง ไข่จะถูกวางออกมานอก ลำตัวโดยมีเมือกห่อหุ้ม ไข่อาจจะผ่านการผสมจากเพศผู้หรือไม่ก็ได้

ตัวเต็มวัยเพศผู้มีขนาด 1.2-1.5 มม. X 30-60 ไมครอน เพศเมียมีขนาด 0.40-1.30 x 0.27-0.75มม.ชีพจักรของไส้เดือนฝอยรากปมอาจจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมปกติถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม (อุณหภูมิในดินประมาณ 27 องศาเซลเซียส) ไส้เดือนฝอยจะใช้เวลา 17-25 วัน แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำเพียง 15 องศาเซลเซียส อาจจะต้องใช้เวลาถึง 57 วัน จึงจะครบชีพจักร





พืชอาศัย
1. ธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี
2. พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง
3. พืชเส้นใย เช่น ฝ้าย ปอ หม่อน
4. ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เยอบีรา เบญจมาศ กุหลาบ
5. ไม้ผล เช่น ส้ม กล้วย องุ่น มะละกอ ฝรั่ง
6. พืชหัว เช่น มันฝรั่ง มันเทศ เผือก
7. พืชผัก เช่น ผักคะน้า กระเทียม ผักกาดหอม มะเขือเทศ




ลักษณะอาการของโรค
1. อาการเหนือดิน(Above ground symptoms)
- แคระแกรน โตช้า ลำต้นเหี่ยว
- ใบเปลี่ยนสี ใบผิดปกติ บิดเบี้ยว
- ตาดอกหรือจุดงอกของเมล็ดตาย ไส้เดือนฝอยทำลายตาได้แก่ Aphelenchoides besseyi กินตา กล้วยไม้ สตรอเบอรี่ ทำให้ตาดอกและจุดงอก เสียไป
- เมล็ดบิดเบี้ยวหรือพองบวมผิดปกติ (Seed gall) ส่วนมากมักจะเป็นกับเมล็ดธัญญพืช โดยที่พวกไส้เดือนฝอยเข้าไปอาศัยกินอยู่และออกลูกภาย ในเมล็ด ทำให้เมล็ดบวม พองโตผิดปกติ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการชนิดนี้ เช่น Anguina tritici


2. อาการใต้ดิน (Below ground symptoms)
- รากเป็นจุดหรือแผลสีน้ำตาล ( Root lesions ) อาการนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากเนื้อเยื่อพืชที่ส่วนรากถูกไส้เดือนฝอยดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้เกิดแผลได้ทั้ง ขนาดเล็ก จนถึงแผลขนาดใหญ่ซึ่งเกิดโดยรอบของรากได้ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้แก่ Pratylenchus spp.
- รากเป็นปุ่มปม (Root knots or gall) อาการนี้นับเป็นอาการของโรคที่พบมากที่สุด รากพืชถูกไส้เดือนฝอยเข้าไปดูดกินน้ำเลี้ยงจะพองโตเป็นปุ่ม เป็นปม ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการปุ่มปมเช่น Meloidogyne spp., Heterodera spp. เป็นต้น
- รากเน่า (Root rot) นอกจากไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายที่รากพืชแล้วยังมีเชื้อราและแบคทีเรีย ทั้งที่เป็นสาเหตุของโรคและเป็นแซโพรไฟต์ (saprophyte) เข้าทำลายซ้ำทำให้เกิดอาการรากเน่าได้
- รากกุด( Stubby root) ไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายโดยการดูดกินที่ปลายรากทำให้ปลายรากชงักการเจริญเติบโต กุดและสั้น




http://guru.sanook.com/pedia/topic/โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย_(Plant_disease_caused_by_Nematode)/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/08/2011 9:54 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 9:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

270. ไคติน-ไคโตซาน



ไคติน-ไคโตซาน เป็นวัสดุชีวภาพเกิดในธรรมชาติ จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตผสม ที่ประกอบด้วยอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสที่มีธาตุไนโตรเจนติดอยู่ด้วยทำให้มีคุณสมบัติที่โดดเด่น และหลากหลายมีประสิทธิภาพสูงในกิจกรรมชีวภาพ และยังย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงเป็นสารที่มีความปลอดภัยในการใช้กับมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม สารไคติน-ไคโตซานนี้ มีลักษณะพิเศษในการนำมาใช้ดูดซับและจับตะกอนต่างๆในสารละลายแล้วนำสารกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งเป็นการหมุนเวียนตามระบบธรรมชาติ

โครงสร้างทางเคมีของสารไคติน คล้ายคลึงกับเซลลูโลส คือเป็นเส้นใยที่ยาว ไคตินที่เกิดในธรรมชาติมีโครงสร้างของผลึกที่แข็งแรงมีการจัดตัวของรูปแบบของผลึกเป็น 3 ลักษณะได้แก่ แอลฟ่าไคติน, บีต้าไคติน, และแกมม่าไคติน ไคตินที่เกิดในเปลือกกุ้งและปู ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแอลฟ่าไคติน ส่วนไคตินที่อยู่ในปลาหมึกพบว่าส่วนใหญ่เป็นบีต้าไคติน ในการจัดเรียงตัวของโครงสร้างตามธรรมชาติ พบว่าแอลฟ่าไคตินมีคุณลักษณะของเสถียรภาพทางเคมีสูงกว่าบีต้าไคติน ดังนั้นจึงมีโอกาสที่บีต้าไคตินสามารถจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นแอลฟ่าไคตินได้ในสารละลายของกรดแก่ เช่น กรดเกลือ เป็นต้น ส่วนแกมม่าไคตินเป็นโครงสร้างผสมระหว่างแอลฟ่าและบีต้าไคติน

ไคตินเป็นโพลีเมอร์ที่มีสายยาวมีองค์ประกอบของหน่วยย่อยเป็นอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสมีชื่อว่า N-acetyl glucosamine ไคตินเป็นสารที่ละลายยากหรือไม่ค่อยละลาย ส่วนไคโตซานเป็นโพลีเมอร์ของหน่วยย่อยที่ชื่อว่า glucosamine มากกว่า 60% ขึ้นไป (นั้นคือมีปริมาณ N- acetylglcosamine) นั้นเอง

ในธรรมชาติย่อมมีไคตินและไคโตซาน ประกอบอยู่ในโพลิเมอร์ ที่เป็นสายยาวในสัดส่วนต่างๆกัน ถ้ามีปริมาณของ glucosamine น้อยกว่า 40 % ลงมา พอลิเมอร์นั้นจะละลายได้ในกรดอินทรีย์ต่างๆนั้นหมายถึงมีปริมาณไคโตซานมากกว่า 60 % นั้นเอง ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทำให้ไคตินเปลี่ยนไปเป็นไคโตซาน คือการลดลงของหมู่อะซีติลหรือเรียกว่า Deacetylation

ขณะที่มีการลดลงของหน่วยย่อย N-acetyl glucosamine ย่อมเป็นการเพิ่มขึ้นของ glucosamine ในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงไคตินให้เป็นไคโตซานนั่นเอง การจัดระดับของการ Deacetylation มีค่าร้อยละหรือเรียกว่า Percent Deacetylation (% DD) กล่าวคือเมื่อในพอลิเมอร์มีค่าเกิน %DD เกินกว่า 60% ขึ้นไป ของการกระจายไคโตซานในกรดอินทรีย์มากจะเพิ่มขึ้นของหมู่อะมิโนของ glucosamine ทำให้มีความสามารถในการรับโปรตรอน จากสารละลายได้เพิ่มขึ้นซึ่งช่วยในการละลายดีขึ้น เพราะมีสมบัติของประจุบวกเพิ่มขึ้น ฉะนั้นไคโตซานจึงสามารถละลายได้ดีขึ้นในกรดต่างๆ เช่น กรดน้ำส้ม กรดแลคติก และกรดอินทรีย์อื่นๆ

ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว ไคโตซานจะไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับเปลือกกุ้ง กระดองปู หรือเปลือกไม้ทั่วไป แต่ไคโตซานจะละลายได้ดีเมื่อใช้กรดอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย

สารละลายของไคโตซานจะมีความข้นเหนียวแต่ใสคล้ายวุ้น หรือพลาสติกใส ยืดหยุ่นได้เล็กน้อย จึงมีคุณสมบัติที่พร้อมจะทำให้เป็นรูปแบบต่างๆได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าต้องการทำเป็นแผ่นหรือเยื่อบางๆเป็นเจล หรือรูปร่างเป็นเม็ด เกล็ด เส้นใย สารเคลือบและคอลลอยด์ เป็นต้น

นอกจากนี้ไคโตซานยังย่อยสลายตามธรรมชาติ จึงไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต เมื่อกินเข้าไปและไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเติมลงไปในน้ำหรือในดินเพื่อการเกษตร

ไคโตซานที่ผลิตขึ้นมาใช้ในปัจจุบันนี้ มีหลายรูปแบบ และส่วนใหญ่จะผลิตมาจากบริษัทต่างประเทศ จึงมีราคาค่อนข้างสูง



ที่มา: กมลศิริ พันธนียะ http://www.nicaonline.com/articles9/site/view_article.asp?idarticle=158


หัวข้อ
รูปแบบของไคโตซานและสาเหตุการปนเปื้อน
การผลิตสารไคตินและไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
การใช้ประโยชน์จากไคโตซาน
การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของไคโตซาน


รูปแบบของไคโตซานและสาเหตุการปนเปื้อน
รูปแบบของไคโตซานที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายในขณะนี้มี 4 รูปแบบ ได้แก่
1. ไคโตซานที่เป็นเกล็ดหรือแผ่นบางเล็กๆ (flake)
2. ไคโตซานที่เป็นผงละเอียดคล้ายแป้ง (micromilled powder)
3. ไคโตซานในรูปแบบสารละลายเป็นของเหลวหนืด (solutions) ซึ่งความเข้มข้นอาจจะแตกต่างกันไปตาม ความต้องการของผู้สั่งซื้อ
4. ไคโตซานที่อยู่ในรูปเม็ดจิ๋วขนาดประมาณ 300-500 ไมโครเมตร (bead)


ผลิตภัณฑ์ไคโตซานที่อยู่ในรูป flake , powder , bead นั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงจะต้องมีความชื้นต่ำมากคือไม่เกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์ หากความชื้นสูงกว่านี้ก็อาจจะทำให้เกิดเชื้อราหรือมีสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ เข้าไปปะปนอยู่ทำให้คุณภาพด้อยลง หรืออาจจะเกิดความเป็นพิษ เนื่องจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียหรือสิ่งปนเปื้อนนั้นๆ ผลิตสารพิษออกมา ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อนของสิ่งไม่พึงประสงค์ในไคโตซานนั้นเนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาสกัดนั่นเอง

สาเหตุการปนเปื้อน
เนื่องจากไคโตซานผลิตมาจากไคตินซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเปลือกกุ้ง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเปลือกกุ้ง กระดองปูกระดองปลาหมึก และจากสัตว์น้ำอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ผลิตภัณฑ์ไคโตซานที่สกัดออกมาได้อาจจะมีการปนเปื้อนของสิ่งไม่พึงประสงค์ที่มาจากสิ่งแวดล้อม หากกุ้ง ปู หรือปลาหมึก เปลือกที่ถูกแกะกระดองแล้วนำมาสกัดนั้น ถูกจับมาจากแหล่งน้ำที่ไม่สะอาดนัก เช่น ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก , สารเคมี หรือยาปฏิชีวนะ ตลอดจนจุลชีพ ก่อโรคที่สำคัญได้แก่ E.coli , Salmolnella และ Vibrio spp. ซึ่งสิ่งเหล่านี้ปะปนอยู่ในน้ำทะเลบางแห่งที่ขาดการตรวจสอบ และเฝ้าระวังทางด้านสุขอนามัยและมลภาวะอยู่แล้ว การที่จะคัดเลือกไคโตซานที่มีคุณภาพดีทั้งทางด้านขบวนการผลิตและทางด้านสุขอนามัยนั้น จำเป็นต้องสืบหาข้อมูลและประวัติอันดีงามของบริษัทเสียก่อน


การผลิตสารไคตินและไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
ปัจจุบันการผลิตสารไคตินและไคโตซานจากเปลือกกุ้งทำโดยการใช้สารเคมีได้แก่ด่างและกรดโดยมีหลักการที่สำคัญคือ

1. กระบวนการกำจัดโปรตีน (deproteination) โดยการทำปฏิกิริยากับด่าง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้โซดาไฟ (NaOH) ในกระบวนการนี้ โปรตีนส่วนใหญ่จะถูกขจัดออกไปจากวัตถุดิบพร้อมกันนี้บางส่วนของไขมันและรงควัตถุบางชนิดมีโอกาสถูกขจัดออกไปด้วย การพิจารณาใช้กระะบวนการนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้

2. กระบวนการกำจัดเกลือแร่ (demineralization) โดยการนำวัตถุดิบที่ผ่าน กระบวนการกำจัดโปรตีนมาแล้ว มาทำปฏิกิริยากับกรดซึ่งส่วนมากใช้กรดเกลือ (HCL) ทำให้เกลือแร่ส่วนใหญ่ ได้แก่ หินปูน (calcium carbonate, CaCO3) ซึ่งจะถูกกำจัดออกไปโดยเปลี่ยนไปเป็นก๊าซ (chitin)

3. กระบวนการกำจัดหรือลดหมู่อะซีติล (deacetylation) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่ใช้ในการกำจัดหรือลดหมู่อะซีติล (CH3CO-) ที่มีอยู่บนโมเลกุลของไคติน เพื่อให้เกิดเป็นไคโตซาน(chitosan) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของหมู่อะมิโน (-NH2) บนโมเลกุลของไคตินและหมู่อะมิโนนี้มีความสามารถในการรับโปรตอนจากสารละลายซึ่งช่วยให้การละลายดีขึ้น เพราะมีสมบัติเป็นประจุบวก (Cation) ส่วนใหญ่เมื่อปริมาณของหมู่อะซีติล ถูกกำจัดไปมากกว่า 60% ขึ้นไป สารไคโตซานที่ได้สามารถละลายได้ในกรดอินทรีย์หลายชนิด การลดหมู่อะซีติลกระทำได้โดยใช้ด่างที่เข้มข้นสูงตั้งแต่ 40% ขึ้นไป ดังนั้นพารามิเตอร์ที่สำคัญในการพิจารณาสารไคโตซานก็คือค่าระดับการกำจัดหมู่อะซีติล (degree of deacetylation , %DD)

ไคโตซานได้จากปฏิกิริยาการกำจัดหมู่อะซีติล (deacetylation) ของไคตินซึ่งก็คือ พอลิเมอร์ของ(1-4)-2 amino-2 deoxy- b - D-glucan หรือเรียกง่ายๆว่าพอลิเมอร์ของ (glucosamine) การเกิดไคโตซานนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณของการเกิดปฏิกิริยาการกำจัดหมู่อะซีติล (deacetylation ) ซึ่งวัดจากค่าระดับการกำจัดหมู่อะซีติล (degree of deacetylation) การทำปฏิกิริยาการกำจัดหมู่อะซีติล คิดเป็นหน่วยร้อยละ (percentage of degree of deacetylation , %DD) กล่าวคือถ้า %DD เกินกว่า 50% ขึ้นไปแล้วสามารถใช้พอลิเมอร์นั้นทำให้เกิดอนุพันธ์ที่ละลายในกรดอินทรีย์ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่าการลดลงของหมู่อะซีติลในไคติน (chitin regenerated) ผลที่ได้คือ การเพิ่มหมู่อะมิโน ซึ่งเป็นการเพิ่มสมบัติการเป็นสารที่มีประจุเป็นบวก (polycationic activity) บนพอลิเมอร์ทำให้เกิดสภาพของการเป็นไคโตซานเพิ่มขึ้น (chitosan generation) เพราะฉะนั้นโครงสร้างของไคโตซานต่างจากไคตินตรงหน่วยที่เป็น glucosamine ในสายพอลิเมอร์เพิ่มมากเกินกว่า 50% ขึ้นไปนั่นเอง

ในอุตสาหกรรมปัจจุบันการผลิตสารไคตินและคโตซานจากเปลือกกุ้งโดยการใช้เคมีสารได้แก่ ด่างและกรด


สรุปขั้นตอนการผลิตสารไคตินและไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
1. ของเหลือจากกุ้ง
2. บดคัดขนาด
3. แยกโปรตีนออก ( โดยต้มกับด่าง 4-8 %)
4. ล้างน้ำให้หมดด่าง
5. แยกเกลือแร่ออก (โดยต้มกับกรด 4-8 %)
6. ล้างน้ำแล้วทำแห้ง
7. เป็นไคติน
8. ทำปฏิกิริยาลดหมู่อะซีติล (โดยใช้ด่างเข้มข้น 40-50 % ภายใต้อุณหภูมิสูง)
9. ล้างน้ำแล้วทำแห้ง
10. เป็นไคโตซาน



การใช้ประโยชน์จากไคโตซาน
ปัจจุบันไคโตซานถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในด้านวงการเกษตร อาหารเสริมสุขภาพ และอีกหลายวงการ เช่น

1. การใช้กับพืชผักผลไม้
ในด้านการเกษตรกรรมนั้นมีการนำไคโตซานมาใช้เป็นอาหารเสริมให้แก่พืชเพื่อช่วยควบคุมการทำงานของพืชผลไม้และต้นไม้ให้ทำงานได้ดีขึ้นคล้ายๆกับการเพิ่มปุ๋ยพิเศษให้แก่พืชผักผลไม้ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในการป้องกันโรคที่เกิดจากจุลินทรีย์ และเชื้อราบางชนิดอีกด้วย ซึ่งตามคำโฆษณาบอกไว้ดังนี้
- ช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น
- ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ต้นพืช ผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคซึ่งเกิดมาจากเชื้อจุลินทรีย์ในดิน
- ไปกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานให้แก่เมล็ดพืชที่จะนำไปเพาะขยายพันธุ์ทำให้มีอัตราการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น

ทุกวันนี้เกษตรกรได้นำเอาผลิตภัณฑ์ไคโตซานไปใช้ประโยชน์กับพืชผักผลไม้หลายชนิดแล้ว เช่น หน่อไม้ฝรั่ง , ต้นหอม , คะน้า , แตงโม , ข้าว , ถั่ว , ข้าวโพด ตลอดจนไม้ดอกไม้ประดับที่มีราคาสูงหลายชนิด เช่น ดอกคาร์เนชั่น ดอกเยอบีร่าพันธุ์นอก ดอกแคดิโอลัสและดอกบานชื่นฝรั่ง เป็นต้น

2. การใช้ไคโตซานในวงการประมง
ในวงการประมงนั้นขณะนี้ได้มีการนำไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในด้านการยืดอายุการรักษา และเก็บถนอมอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และในขั้นต้นนี้ ได้สกัดโปรตีนจากหัวกุ้งด้วยกระบวนการย่อยด้วยแบคทีเรีย กรดแล็คติด (lectic acid bacteria) เพื่อนำโปรตีนนั้นมาใช้ในแง่เป็นสารเสริมคุณค่าอาหารและของว่างที่ทำจากสัตว์น้ำ การปรุงแต่งรส และกลิ่นในอาหารขบเคี้ยวที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ฝ่ายเอกชนหลายแห่งได้นำไคโตซาน มาใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ วิธีการนั้นมีหลายรูปแบบ ได้แก่การคลุกกับอาหารเม็ด ในอัตราส่วนต่างๆกันเพื่อให้กุ้งกิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการไปกระตุ้นภูมิต้านทานโรคในตัวกุ้ง และเพื่อเป็นส่วนไปกระตุ้นการย่อยอาหารและการเจริญเติบโต ประโยชน์อีกด้านหนึ่งที่ผู้ขายโฆษณาไว้ก็คือ การช่วยให้เม็ดอาหารคงรูปอยู่ในน้ำได้นานกว่าโดยการเคลือบสารไคโตซานบนอาหารที่จะหว่านให้กุ้งกิน บางรายก็แนะนำให้เติมลงไปในน้ำเพื่อช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดีอยู่เสมอ

3. การใช้ไคโตซานในวงการแพทย์
ไคโตซานที่ใช้ในการแพทย์และมีผลที่เชื่อถือได้ ได้ดำเนินการมาหลายปีแล้ว เช่น การใช้ประโยชน์โดยนำมาประกอบเป็นอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ทำผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น ครีมทาผิว ทำเป็นแผ่นไคโตซานเพื่อปิดปากแผลที่เกิดจากการผ่าตัดเฉพาะที่ ซึ่งพบว่าแผ่นไคโตซานจะช่วยให้คนป่วยเกิดการเจ็บปวดแผลน้อยกว่าการใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำมันวาสลินมาปิดแผลเหมือนที่เคยปฏิบัติมาในสมัยก่อน นอกจากนี้เวลาที่แผลปิดดีแล้วและมีการลอกแผ่นไคโตซานออก ยังสะดวกและง่ายกว่าการลอกแถบผ้าก๊อชเพราะจะไม่มีการสูญเสียเลือดที่เกิดจากการลอกแผ่นปิดแผลออก ทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวดเท่ากับการใช้แถบผ้าก๊อซปปิดแผล นอกจากนี้ยังใช้ไคโตซานไปเป็นส่วนผสมของยาหลายประเภท เช่น ยาที่ใช้พ่นทางจมูกเพื่อบรรเทาอาการโรคทางเดินหายใจ



การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของไคโตซาน
ประการแรกที่จะดูว่าไคโตซานแท้หรือไม่นั้น ให้ดูที่ลักษณะของสาร ไคโตซานที่แท้หรือบริสุทธิ์นั้นจะต้องใสไม่เหนียวหนืดเกินไป และเมื่อเวลาเปิดขวดหรือภาชนะที่บรรจุไคโตซานจะต้องไม่มีลมออกมาเพราะหากมีลมออกมา ลมที่ออกมาคือการเน่าบูดของสารบางชนิด หรือพูดง่ายๆก็คือกระบวนการสกัดไคโตซานไม่บริสุทธิ์ ถ้านำไปใช้จะทำให้น้ำในบ่อเสียเร็วขึ้นและทำให้สัตว์น้ำติดเชื้อได้

ประการที่สองคือการทดสอบด้วยน้ำยาล้างจาน โดยการหยดน้ำยาล้างจานลงในไคโตซานในปริมาณที่เท่ากัน หากเป็นไคโตซานที่บริสุทธิ์ตัวไคโตซานจะจับตัวกันเหมือนไข่ขาว แต่ถ้าเป็นไคโตซานไม่บริสุทธิ์ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น


http://guru.sanook.com/pedia/topic/ไคติน-ไคโตซาน/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 10:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

271. สารกันบูด


สารกันบูด (preservatives) คือสารเคมีหรือของผสม ของสารเคมีที่ใช้ในการถนอมอาหาร โดยอาจจะใส่ลงในอาหาร พ่น- ฉาบรอบๆผิวของอาหารหรือภาชนะ บรรจุสารดังกล่าวจะทำหน้าที่ยับยั้ง หรือทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหาร เน่าเสียโดยอาจจะไปออกฤทธิ์ต่อ ผนังเซลล์รบกวนการทำงานของ เอนไซม์หรือกลไกทางพันธุกรรม (genetic mechanism) ในเซลล์ ยังผลให้จุลินทรีย์ไม่สามารถเพิ่ม จำนวนได้หรือตายในที่สุด

สารกันบูดที่ดีควรจะออกฤทธิ์ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้ อาหารเน่าเสียมากกว่าที่จะออกฤทธิ์ยับยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ ทำให้อาหารเป็นพิษ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิด สายพันธุ์ต้านทาน (resistant strain) นอกจากนี้สารกันบูดไม่ควรจะเสื่อมคุณภาพเพิ่มใส่ลงในอาหาร ยกเว้นสารกันบูดประเภทที่ฆ่าเชื้อได้ ควรจะถูกเปลี่ยนสภาพให้เป็นสาร ไม่มีพิษหรือถูกทำลายได้ด้วยการหุงต้ม

สารกันบูด (Preservatives) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัตถุกันเสีย คือวัตถุเจือปนอาหาร เป็นสารเคมีที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา ช่วยในการถนอมอาหารได้ เพราะช่วยชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุการเน่าเสียของอาหาร ตัวที่นิยมกันมากคือ พวกกรดอ่อนต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอท เพราะมีราคาถูกและไม่ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยน มักเติมลงในเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ ซอส ผักดอง แยม เยลลี่ ผลไม้แช่อิ่ม และเครื่อแกงสำเร็จรูป สำหรับกรดโปรปิโอนิก และเกลือโปรปิโอเนตเหมาะสำหรับใช้ป้องกันการเจริญของเชื้อรา และเกิดเมือกหรือยางเหนียวในโด (dough) หรือแป้งขนมปังที่ผ่านการนวดแล้ว จึงเหมาะที่จะใช้ในอาหารประเภทขนมปัง เค้ก และเนยแข็งชนิดต่างๆ ส่วนกรดซิตริกเป็นส่วนประกอบของผลไม้สามารถป้องกันแบคทีเรียและยีสต์ได้ดี เหมาะสำหรับใส่ในเครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม เยลลี่ แยม เป็นต้น

การใช้วัตถุเจือปนอาหารซึ่งรวมถึงวัตถุกันเสียด้วย จะต้องใช้ในปริมาณแค่มากพอทำให้เกิดผลตามต้องการ คือไม่ใส่เกินขนาด เพราะผู้บริโภคจะได้สารเหล่านั้นมากเกินความจำเป็น ดังนั้นจึงมีประกาศกระทรวงสาธาณสุข ห้ามใช้วัตถุกันเสียในอาหารที่ไม่จำเป็นที่ต้องใช้สารกันบูดเลยนั่นก็คืออาหารกระป๋องที่ผ่านการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์เรียบร้อยแล้ว สำหรับอาหารอื่นผู้บริโภคจะอ่านได้จากฉลากอาหารว่ามีการใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ มีส่วนประกอบอะไรเท่าไหร่



หัวข้อ
ชนิดของสารกันบูด
อันตรายจากสารกันบูด


ชนิดของสารกันบูด
1. กรดและเกลือของกรดบางชนิด เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดโปรปิโอนิก ฯลฯ และเกลือของกรดเหล่านี้ส่วนใหญ่นิยมใช้ในรูป เกลือของกรด เพราะละลายน้ำได้ง่าย เมื่อใส่ในอาหารเกลือเหล่านี้จะเปลี่ยน ไปอยู่ในรูปของกรด หากอาหารนั้นมีความเป็นกรดสูง กรดจะคงอยู่ในรูป ที่ไม่แตกตัว ซึ่งเป็นรูปที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำลายหรือยับยั้งเชื้อ ดังนั้นอาหารที่จะใช้สารกันบูดชนิดนี้ควรจะเป็นอาหารที่มีความเป็นกรด ประมาณ 4-6 ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของกรด เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม แยม ผักดองชนิดต่างๆ ขนมปัง ฯลฯ สารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะให้ผลยับยั้งราและ ยีสต์มากกว่าแบคทีเรีย ข้อดีของสารกลุ่มนี้คือมีความเป็นพิษต่ำ เพราะ ร่างกายคนสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นสารอื่นที่ไม่มีพิษและขับถ่ายออกจาก ร่างกายได้

2. พาราเบนส์ (parabens) เป็นสารกันบูดที่มีประสิทธิภาพยับยั้ง หรือทำลายราและยีสต์ได้ดีกว่าแบคทีเรีย และจะมีประสิทธิภาพสูงในช่วง ความเป็นกรดด่าง (pH) กว้างกว่าสารกลุ่มแรกคือประมาณ 2-9 อาหาร ที่นิยมใส่พาราเบนส์ ได้แก่ น้ำหวานผลไม้ น้ำผลไม้ แยม ขนมหวานต่างๆ สารปรุงแต่งกลิ่นรส ฯลฯ ร่างกายคนจะมีกระบวนการขจัดพิษของพาราเบนส์ ได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรลีซิส (hydrolysis)

3. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลไฟต์ กลไกในการทำลายเชื้อของ สารกันบูดชนิดนี้จะคล้ายคลึงกับสารกันบูดกลุ่มแรกและจะมีประสิทธิภาพสูง ในอาหารที่มีความเป็นกรดด่างปริมาณน้อยกว่า 4 ลงมา จึงนิยมใส่ในไวน์ น้ำผลไม้ต่างๆ ผักและผลไม้แห้ง ฯลฯ สำหรับความปลอดภัยต่อผู้บริโภคนั้น พบว่าแม้สารนี้จะถูกขับออกมาจากร่างกายได้ แต่หากร่างกายได้รับสารนี้ มากเกินไป สารดังกล่าวจะไปลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกายได้ นอกจากนี้สารกันบูดกลุ่มนี้ยังทำลายไธอามีน (thiamine) หรือวิตามิน B1 ในอาหารด้วย

4. สารปฏิชีวนะ ข้อดีของสารปฏิชีวนะคือ ความเป็นกรดด่างของ อาหาร ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของสาร ซึ่งอาหารที่นิยมใส่สารปฏิชีวนะ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ อาจจะพบว่าใช้กับผักและผลไม้สดด้วย สารปฏิชีวนะจะทำลายหรือยับยั้งจุลินทรีย์ได้หลายชนิดขึ้นกับชนิดที่ใช้ ข้อเสียของสารกันบูดชนิดนี้คือมักจะก่อให้เกิดสายพันธุ์ต้านทานขึ้น

สำหรับปริมาณของสารกันบูดที่ใช้นั้นจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับชนิดของอาหาร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้กำหนดปริมาณ ที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารได้ โดยทั่วไปปริมาณที่อนุญาตให้ใช้จะมีฤทธิ์แค่เพียง ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ในอาหารเท่านั้น ดังนั้นในระหว่างกรรมวิธีผลิต จะต้องระมัดระวังการปนเปื้อนของจุลินทรีย์สู่อาหารให้น้อยที่สุด เพราะ ถ้าหากมีจุลินทรีย์ปนเปื้อนมากหรืออาหารเน่าเสียมาก่อน การใส่สารกันบูด ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย



อันตรายจากสารกันบูด
นพ.เอี่ยม วิมุติสุนทร ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตอาหารมีการนำสารเคมีชนิดต่างๆ มาใช้ปรุงแต่งอาหาร และสารกันบูดก็เป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใส่ในอาหาร เพื่อช่วยป้องกันหรือช่วยทำลายเชื้อจุลินทรีย์ไม่ให้เจริญเติบโตทำให้อาหารนั้นอยู่ได้นาน

การใช้สารกันบูดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เช่น สารกันบูดในกลุ่มของดินประสิว ซึ่งนิยมนำมาใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หากใช้ในปริมาณที่เกินกำหนด จะมีผลทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะทำให้เม็ดเลือดแดงหมดสภาพในการพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย จะเกิดอาการตัวเขียวหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้ นอกจากนี้ดินประสิวยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย

"โซเดียมเบนโซเอต" เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยทั่วไปแล้วจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะคนที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้
นอกจากนี้การ ใช้ในปริมาณที่สูงจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร พิษกึ่งเฉียบพลันคือจะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อต่างๆเลือดออกในร่างกาย ตับ ไตใหญ่ขึ้น เป็นอัมพาตและตายในที่สุด ถ้าได้รับสารนี้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการก่อกลายพันธ ุ์และทารกในครรภ์มีรูปวิปริต

ดังนั้นผู้ผลิตอาหารที่ใช้สารกันบูดผสมลงในอาหารต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ ผู้บริโภค เลือกใช้สารกันบูดให้เหมาะสมกับชนิดของอาหารแต่ละประเภทในปริมาณที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้ใช้เท่านั้น ทั้งนี้ผู้ผลิตอาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งข้อแนะนำในการเลือกซื้ออาหาร

เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีในอาหาร ดังนี้ เวลาซื้ออาหารสำเร็จรูปที่บรรจุในกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ควรดูสลากอาหารและเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูด ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ไม่มีการระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ผนึกขายในถุงพลาสติก หรือกล่องพลาสติกที่ไม่ได้ขายหมดวันต่อวัน หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะใส่สารกันบูด เช่น แหนม หมูยอ เนื้อเค็ม เนื้อแห้ง กุนเชียง และน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการใช้วัตถุกันเสียในการถนอมอาหารตามสัดส่วนที่ อย.ระบุว่าปลอดภัยแม้ว่าจะไม่มีอันตราย แต่การหลีกเลี่ยงบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของวัตถุกันเสีย เช่นน้ำผลไม้ ,ซอสฯ ,ฯลฯ ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดต่อสุขภาพร่างกายของเรา ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆนอกจากจะดู วันผลิต วันหมดอายุแล้ว ควรอ่านฉลากอาหารว่ามีวัตถุกันเสียหรือไม่ มากน้อยเพียงใด การรับประทานอาหารที่มาจากธรรมชาติและให้ครบ 5 หมู่ ก็จะนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีได้



ที่มา
พุทธรินทร์ วรรณิสสร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
http://www.thaibike.com/news/read.php?id=57
http://www.bkkmenu.com/healthy/sodiam.html

http://guru.sanook.com/pedia/topic/สารกันบูด/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 10:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

272. พาสเจอไรส์ (pasteurization)


พาสเจอไรส์ (pasteurization) เป็นการฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อน การฆ่าเชื้อวิธีนี้สามารถทำลายเอนไซม์ต่าง ๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ทั้งนี้อุณหภูมิที่ใช้ในการฆ่าเชื้อต้องไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส โดยผู้ผลิตสามารถเลือกใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 63 องศาเซลเซียส และคงอยู่ที่อุณหภูมินี้ไม่น้อยกว่า 30 นาที (Low Temperature Long Time) แล้วทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า หรือใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 72 องศาเซลเซียส และคงอยู่ที่อุณหภูมินี้ไม่น้อยกว่า 15 วินาที (High Temperature Short Time) แล้วทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า ควรเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพาสเจอไรส์ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิตู้เย็น เพราะการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำสามารถยับยั้งการงอกของสปอร์ จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค


หัวข้อ
ประวัติความเป็นมา
วิธีการพาสเจอร์ไรส์
ประโยชน์และข้อควรปฏิบัติ



ประวัติความเป็นมา
พาสเจอร์ไรส์เป็นการตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ซึ่งเป็นคนแรกที่คิดค้นการฆ่าจุลชีพที่แปลกปลอมอยู่ในเหล้าไวน์ระหว่างปี พ.ศ. 2407-2408 โดยการใช้ความร้อนประมาณ 50 - 60 องศาเซลเซียส ซึ่งการค้นพบนี้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการผลิตเครื่องดื่มที่ต้องฆ่าจุลชีพ แต่ใช้อุณหภูมิสูงมากไม่ได้ เพราะจะทำให้รสและกลิ่นเปลี่ยนแปลงและในปี พ.ศ.2434 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ ซอกเลต (Soxhlet) จึงได้นำวิธีการนี้มาใช้กับนมสด




วิธีการพาสเจอร์ไรส์มี 2 วิธีคือ
1. วิธีใช้ความร้อนต่ำ - เวลานาน (LTLT : Low Temperature - Long Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 62.8 - 65.6 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที เมื่อผ่านความร้อนโดยใช้เวลาตามที่กำหนดแล้ว ต้องเก็บอาหารไว้ในที่เย็นซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 7.2 องศาเซลเซียส กรรมวิธีการนี้นอกจากจะทำลายแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคแล้วยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ย่อยไขมันชนิดไลเปส (Lipase) ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดกลิ่นหืนในน้ำนมด้วย

2. วิธีใช้ความร้อนสูง - เวลาสั้น (HTST : High Temperature - Short Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าวิธีแรก แต่ใช้เวลาน้อยกว่าคืออุณหภูมิ 71.1 องศาเซลเซียสคงไว้เป็นเวลา 15 วินาที อาหารที่ผ่านความร้อนแล้วจะได้รับการบรรจุลง กล่องหรือขวดโดยวิธีปราศจากเชื้อแล้วนำไปแช่เย็นที่อุณหภูมิ 7.2 องศาเซลเซียส




ประโยชน์และข้อควรปฏิบัติ
การพาสเจอร์ไรส์เป็นการถนอมอาหารแบบชั่วคราว เพราะสามารถป้องกันมิให้จุลชีพเจริญในชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่สารอาหารยังอยู่ครบถ้วนหรือเกือบครบถ้วน ดังนั้นจึงมีประโยชน์ต่ออาหารที่ต้องรับประทานเป็นประจำแต่ไม่เก็บไว้นาน ๆ เช่น นม น้ำผลไม้ ไอศกรีม ก่อนนำไปปั่นแข็ง เป็นต้น


ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์แล้วโดย เฉพาะนมดังนี้คือ

1. นมพาสเจอร์ไรส์ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเสมอ บุคคลทั่วไป เข้าใจว่านมสดเมื่อได้รับการฆ่าเชื้อแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น แต่ความเป็นจริงแล้วความร้อนที่ใช้เพียงแต่ฆ่าเชื้อที่เป็นสาหตุของโรคเท่านั้น แต่จุลชีพที่ไม่เป็นสาเหตุของโรคยังคงมีอยู่ในน้ำนมและจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหากไม่เก็บนมไว้ในตู้เย็นนมอาจจะเสียภายใน 1-7 วันเท่านั้น ดังนั้นพึงระลึกเสมอว่านมพาสเจอร์ไรส์นั้นต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่มี อุณหภูมิประมาณ 5 องศาเซลเซียส

2. ให้สังเกตลักษณะของนมก่อนดื่ม เพราะนมพาสเจอร์ไรส์จะมีกำหนดอายุ ผู้ผลิตที่ดีต้องพิมพ์วันหมดอายุของนมสดไว้บนถุงที่บรรจุทุกครั้งที่ผลิต โดยทั่วไป นมสดจะมีอายุประมาณ 7 วัน โดยที่นมสดต้องเก็บในสภาพเย็นตลอดแต่ถ้านมสดถูกทิ้งไว้ในอุณหภูมิธรรมดานอกตู้เย็นนาน ๆ โดยเฉพาะหน้าร้อน นมสดอาจจะเสียได้ภายใน 3 วันเท่านั้น ดังนั้นก่อนดื่มนมพาสเจอร์ไรส์ทุกครั้งควรรินใส่แก้ว สังเกตดูว่าถ้ามีตะกอนเป็นเม็ดขาว ๆ เกิดขึ้น แสดงว่านมนั้นเสียแต่ถ้าไม่มีเม็ดขาว ๆ ควรตรวจสอบด้วยการชิมถ้ามีรสเปรี้ยวเกิดขั้นไม่ควรดื่มนมนั้น

3. ไม่ควรเก็บนมสดไว้นานเกินไป ถึงแม้จะเก็บนมพาสเจอร์ไรส์ไว้ในตู้เย็นก็อาจเสียได้ หลายคนประหลาดใจที่พบว่าบ่อยครั้งโดยเฉพาะหน้าร้อน นมสดที่เก็บไว้ในตู้เย็นก็ยังเสียได้ ทั้งนี้เพราะหลังจากการบรรจุถุงพลาสติกแล้วกว่านมจะถูกนำมาส่งที่บ้านอาจจะมีอุณหภูมิสูงนานเกินไป จุลชีพจึงเจริญเติบโตจนทำให้นมเกือบจะเสีย แม้เก็บไว้ในตู้เย็นอีก 2 วัน จุลชีพก็ยังสามารถเจริญเติบโตพอที่จะทำให้นมเสียได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรดื่มให้หมดภายใน 1 วัน





http://guru.sanook.com/pedia/topic/พาสเจอไรส์_(pasteurization)/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 10:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

273. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp)


ไตรโคเดอร์มาเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง (เส้นใยมีผนังกั้นแบ่ง) มีประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืช

ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวางทั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ ได้แก่

เชื้อ Pythium spp สาเหตุโรคกล้าเน่าหรือโรคเน่าคอดิน
เชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรครากและโคนเน่า
เชื้อรา Rhizoctonia spp. สาเหตุโรครากและลำต้นเน่า
เชื้อรา Sclerotium spp สาเหตุโรครากและลำต้นเน่า
เชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคเหี่ยว



ภาพแสดง เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.)




ภาพแสดง เชื้อราไตรโคเดอร์มาบนเมล็ดข้าวฟ่าง




ภาพแสดง สปอร์เชื้อราไตรโคเดอร์มา



ประเทศไทย ได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเวลานาน โดยเฉพาะเพื่อควบคุมโรคเมล็ดเน่า (Seed rot) โรคเน่าระดับดิน (Damping off) โรคกล้าไหม้ (seedling blight) โรครากเน่า (Root rot) โรคโคนเน่า (Stem rot, trunk rot, basal stem rot) บนพืชหลายชนิด เช่น มะเขือเทศ ถั่วเหลืองฝักสด พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ส้ม ทุเรียน พบว่าประสิทธิภาพสูง ในการควบคุมดรคต่างๆ ดังกล่าวได้ดีี



รูปแบบหรือวิธีการของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมเชื้อราโรคพืช
1. แข่งขันกับเชื้อราโรคพืชในด้านแหล่งของที่อยู่อาศัย อาหาร อากาศ และปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
2. เส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะพันรัดและแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะผลิตน้ำย่อย หรือเอ็มไซม์มากกว่าหนึ่งชนิด ออกมาย่อยผนังเซลล์ของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
จึงกล่าวได้ว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงมากชนิดหนึ่ง



อัตราส่วนและวิธีการใช้
ก่อนที่จะนำเชื้อไตรโคเดอร์มาไปใช้ จำเป็นที่จะต้องนำมาผสมกับรำข้าว (รำใหม่ละเอียด) และปุ๋ยอินทรีย์เสียก่อน ตามอัตราส่วนโดยน้ำหนักดังนี้
หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา : รำข้าว : ปุ๋ยอินทรีย์ ....... 1 กิโลกรัม : 5 กิโลกรัม : 25 กิโลกรัม


ปัจจุบันมีชนิดที่จำหน่ายเป็นชุดให้ใช้อัตราตามคำแนะนำของผู้จำหน่ายได้ โดยผสมหัวเชื้อไตรดคเดอร์มา
คลุกเคล้าให้เข้ากับรำข้าวให้ดีเสียก่อน แล้วจึงนำไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปุ๋ยอินทรีย์ ก็จะได้ส่วนผสมที่พร้อมจะนำไปใช้โดยแนะนำให้
1. ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก
2. ใช้โรยรอบโคนต้น
3. ใช้ทั้งรองก้นหลุมและโรยรอบโคนต้น


ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช
1. pH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระว่าง 5.5 - 6.5 คือ เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งเป็นช่วง pH
ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการวัด pH ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน
2. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูง จึงถูกทำลายได้ด้วยสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดเชื้อราชั้นสูง โดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึม หากจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมี ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ เป็นอย่างต่ำ
3. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คือ ต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน เพราะถ้าอาหาร

สภาพแวดล้อม และปัจจัยอื่นๆ ในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการเจริญเติบโต




เอกสารใช้ประกอบการเรียบเรียง :
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2545. เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) สำหรับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ. กองส่งเสริมพืชสวน.

http://www.pmc07.doae.go.th/Guinea.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 10:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

274. เชื้อแบคทีเรีย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Bacillus thuringiensis (บาซิลลัส ทูริงเยนซิิส)

เชื้อ บีที. เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มศักยภาพชนิดหนึ่งที่ใช้ในการกำจัดแมลงโดยเมื่อแมลงกินอาหารที่มีแบคทีเรียชนิกนี้ติดอยู่เข้าไปในร่างกาย น้ำย่อย และเอนไซม์ในลำไส้ของแมลงจะเปลี่ยนผลึกที่อยู่ในเซลล์แบคทีเรียให้เป็นพิษ สารพิษนี้จะทำลายผนังลำไส้ของแมลง แมลงจะเคลื่อนไหว ช้าลงจนกระทั่งหยุดการเคลื่อนไหวและหยุดกินอาหาร


ภาพที่ 1 เซลล์รูปแท่งต่อกันเป็นลูกโซ่และผลึกโปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย


ที่มา : ดร.จริยา จันทร์ไพแสง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


เชื้อ บีที. ที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้มี 2 สายพันธุ์ (variety) คือ Kurstaki และ Aizawai ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่หนึ่ง หรือกลุ่มใหม่ เป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนใยผัก หนอนกระทู้ และหนอนคืบกะหล่ำ ได้แก่ แบคโทสฟิน เอชพี ดับเบิ้ลยูทีและเซ็นทารี่ ดับเบิ้ลยูดีจี เป็นต้น

กลุ่มที่สอง หรือกลุ่มเก่า มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนใยผักและหนอนคืบกะหล่ำเท่านั้น ได้แก่ ฟลอร์แบค เอชพี , และธูริไซด์ เอชพี เป็นต้น



ภาพที่ 2 ลักษณะหนอนกระทู้หอมที่ตายด้วยเชื้อบีที


ที่มา : บริษัท เทพวัมนาเคมี จำกัด



ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรีย (บีที)
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรีย (บีที) ที่ใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช มีดังนี้

1. สายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย แต่ละสายพันธุ์ของ บีที มีความรุนแรงในการทำลายแมลงไม่เท่ากัน จำเป็นต้องเลือกใช้สายพันธุ์ที่มีการทดสอบ แล้วว่าเหมาะสมต่อการที่จะนำมาใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช

2. ชนิด อายุ และขนาดของตัวแมลง แมลงศัตรูพืชที่อยู่ในระยะวัยอ่อนหรือตัวหนอน จะเป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดต่อการเข้าทำลายของ เชื้อแบคทีเรีย ส่วนระยะที่เป็นไข่ดักแด้และตัวเต็มวัย ของแมลงศัตรูพืชนั้น เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถที่จะเข้าทำลายได้

3. สภาพแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ แสงแดด และความชื้น แบคทีเรียถ้าถูกแสงแดดนานๆ ความมีชีวิตจะลดลง ดังนั้น จำเป็นต้องฉีดพ่น เชื้อแบคทีเรียในเวลาเย็น นอกจากนี้แล้วควรผสมสารจับใบเพื่อให้เชื้อแบคทีเรีนกระจายตัวอยู่บนพืชได้นานขึ้น

4. วิธีการฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรีย ต้องฉีดพ่นให้ครอบคลุมกระจายทั่วทั้งต้นพืช โดยเดินพ่นอย่างช้าๆ พ่นบนผิวใบและวนหัวฉีดเข้าใต้ใบ เพื่อแมลงจะได้รับเชื้อแบคทีเรียได้มากขึ้น



แมลง ชนิดพืช อัตราและวิธีการใช้ หมายเหตุ

หนอนใยผัก และหนอนคืบกะหล่ำ หนอนกระทู้หอม
- พืชผักตระกลูกะหล่ำและผักกาด
- พืชตระกูลกะหล่ำทุกชนิด


ใช้เชื้อแบคทีเรีย (กลุ่มใหม่) ในอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือกลุ่มเก่า 60-80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน ใช้เชื้อแบคทีเรีย (กลุ่มใหม่) ในอัตรา 60-70 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 3-5 วัน

ถ้าหากมีการระบาดมากควรเพิ่มอัตราใช้เป็น 60-80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่มใหม่) และอัตรา 80-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่มเก่า) หรือถ้าหากมีการระบาดรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้สารเคมีบางชนิด ตามความเหมาะสม



เอกสารใช้ประกอบการเรียบเรียง :
บริษัท เทพวัฒนาเคมี จำกัด. 2547. บีที ชีวินทรีย์เพื่อชีวิต.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2545. เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) สำหรับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ. กองส่งเสริมพืชสวน. 40 หน้า.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 10:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

275. การจัดการโรคพืชในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่


นักศึกษา นายเสรีพันธ์ ล่ำล่อง
การจัดการโรคพืชในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่


การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และพืชชนิดอื่นๆ ให้ปลอดภัยโรคหรือไม่ ต้องการให้มีเชื้อสาเหตุโรคพืชติดไปกับเมล็ดพันธุ์ หรือสามารถควบคุมโรคพืชในแปลงพืชได้นั้น เป็นสิ่งที่ถึงปรารถนาอย่างยิ่ง ในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ก่อนอื่นทั้งนี้ต้องมีความเข้าใจถึงข้อที่ควรปฏิบัติ และควรระวังทั้งก่อนการปลูกพืชและหลังการ

ข้อควรปฏิบัติก่อนการปลูกพืช
1. เลือกชนิดพืชที่เหมาะสมที่สุดในท้องที่นั้นๆ ซึ่งควรคำนึงถึงสภาพท้องถิ่นที่ปลูก รวมทั้งสภาพภูมิอากาศ และสภาพทางเศรษฐกิจ

2. ศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจถึงความต้องการของพืชที่ปลูก เช่น สภาพดินวิธีการปลูก การดูแลรักษา การให้ปุ๋ย การใช้สารเคมีหรือยาควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช ฯลฯ

3. เมื่อเกิดปัญหาหรือข้อสงสัย ให้สอบถามผู้รู้หรือผู้ประสบความสำเร็จจากการปลูกพืชชนิดนั้น
เมื่อเข้าใจหรือศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพืชที่ต้องการปลูกแล้ว การที่จะควบคุมโรคพืช ให้ประสบความสำเร็จสูงสุดนั้นมีข้อพึงปฏิบัติต่อไป


ข้อควรปฏิบัติหลังการปลูกพืช
1. หมั่นตรวจหรือสำรวจลักษณะอาการที่ผิดปกติ หรือสงสัยว่าพืชเป็นโรค ในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยที่สุดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

2. เมื่อพบว่าพืชแสดงอาการเป็นโรค ให้ทำการวินิจฉัยอาการขั้นต้น โดยการเปรียบเทียบอาการกับเอกสาร หนังสือที่ได้ศึกษาค้นคว้า การวินิจฉัยอาการขั้นต้นนี้ ถ้าเกษตรสามารถดำเนินการได้ทันท่วงที โดยรู้สาเหตุของเชื้อโรคที่แท้จริง จะทำให้สามารถเลือกการควบคุมโรค ที่มีประสิทธิภาพได้ดีและประหยัดที่สุด ในกรณีผู้ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกพืชชนิดนั้นมาก่อน ให้สอบถามผู้รู้ หรือส่งให้หน่วยงานราชการช่วยตรวจสอบให้ ทั้งนี้ต้องแสดงข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ประกอบการวินิจฉัยด้วย ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยหาสาเหตุโรคพืชที่แท้จริง


ข้อมูลการวินิจฉัยโรคพืช
1. แจ้งประวัติการปลูกพืชในบริเวณนั้นๆ รวมทั้งพืชที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียง

2. ข้อมูลทางการเขตกรรม เช่น การไถพรวน วิธีการปลูกพืช การให้น้ำ เป็นต้น

3. แจ้งสภาพแวดล้อมในการปลูกพืช เช่น สภาพดินเป็นกรด- ด่าง ดินเค็ม ความชื้น อุณหภูมิ เป็นต้น

4. ลักษณะการแพร่ระบาดของโรคที่พบ เช่น พืชตายขยายเป็นวงกว้าง หรือตายเป็นหย่อมๆ หรือระบาดตายเป็นแถว หรือตายเป็นร่องตามแนวปลูกพืช รวมทั้งระยะเวลาที่พืชแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น

5. ชนิดของสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมกำจัดโรคพืช แมลงศัตรูพืช รวมทั้งวัชพืช ปุ๋ยและฮอร์โมนที่เร่งการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนอัตราการใช้ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาว่าผู้ปลูกได้ใช้สารเคมีถูกต้องหรือไม่ หรือควรมีข้อระมัดระวังในการใช้สารเคมีเหล่านั้นอย่างไรบ้าง


พืชเป็นโรคได้อย่างไร
เมื่อปลูกพืชไปได้ระยะหนึ่ง เกษตรกรผู้ปลูกพืช มักประสบปัญหาเป็นโรค ทั้งนี้ควรทำความเข้าใจถึงสาเหตูที่ทำให้พืชแสดงอาการเป็นโรคเสียก่อน ซึ่งเรียกว่าวงจรชีวิตของการเกิดโรค มีดังนี้คือ
1. พืชที่ปลูกมีความอ่อนแอไม่เจริญเติบโตแข็งแรง เนื่องจากเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติขึ้น เช่น การมีสภาวะฝนตกหนัก หรือฝนตกแดดออก สภาพน้ำท่วมขัง หรือสภาพแห้งแล้ง เป็นต้น หรือเกิดขึ้นจากมนุษย์เราเป็นผู้กระทำ เช่น การให้ปุ๋ยไนโตรเจนเร่งการเจริญเติบโตเร็วเกินไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ผนังเซลล์พืชอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคสาเหตุโรค

2. เชื้อสาเหตุโรคพืชชนิดนั้นมีความแข็งแรงต่อการเข้าทำลายพืช

3. เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค เช่น ในช่วงอุณหภูมิ ความ
ชื้นเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อสาเหตุ

4. มีช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุของโรค


การแพร่ระบาดของโรค
แบ่งออกได้ 2 กรณี ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อสาเหตุโรคพืช
1. เชื้อสาเหตุประเภทปลิวหรือฟุ้งกระจายไปกับลมและฝนได้โดยง่าย เชื้อชนิดนี้ส่วนใหญ่เข้าทำลายพืชได้ทางใบ ลำต้น กิ่ง ก้าน ดอก ผล และเมล็ด

2. เชื้อในดินสาเหตุโรคพืช ส่วนใหญ่เชื้อสาเหตุทำให้เกิดอาการรากเน่าโคนเน่าในพืช การแพร่ระบาดโดยทางเดินน้ำฝน และเศษซากพืชที่เป็นโรค

3. อาศัยแมลงพาหะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นโรคไปสู่ต้นปกติ
หลักการจัดการโรคพืช



การควบคุมโรคพืชให้ประสบความสำเร็จนั้น ควรคำนึงถึง
1. การใช้พันธุ์ต้านทาน เป็นวิธีการป้องกันโรคพืชที่ดีที่สุด แต่ไม่สามารถจะหาสายพันธุ์พืชที่ต้านทานโรคได้ทุกโรค เนื่องจากสภาพในแต่ละท้องที่ มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคระบาดแตกต่างกัน ดังนั้นควรหาสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับปัญหาที่ประสบอยู่ในแต่ละท้องถิ่น

2. เลือกวิธีการและการจัดการปลูกพืชที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้พืชมีความแข็งแรงมากที่สุด

3. มีความร่วมมือกันต่อการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช หากมีการแพร่ระบาดของโรคและแมลงจากเพื่อนบ้านข้างเคียง เนื่องจากโรคพืชบางชนิดแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว เช่น อาศัยแมลงพาหะในการถ่ายทอดโรค บ้างปลิวไปได้ในอากาศ ไปตามน้ำ และเมล็ดพันธุ์

4. การใช้สารเคมี ขอให้ใช้อย่างถูกต้องกับชนิดของสาเหตุโรคและแมลงศัตรูพืช และใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมตลอดจนปฏิบัติตามคำแนะนำที่ติดมากับสลากอย่างเคร่งครัด


นอกจากนี้แล้ว การควบคุมศัตรูพืชให้ประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงการลงทุนในการควบคุมต่อการผลิต และการเสี่ยงจากปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย เพื่อให้คุ้มค่าในแง่เศรษฐกิจ



http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=23&bookID=258&read=true&count=true
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 10:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

276. การจัดการโรคพืชในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่


นักศึกษา นายเสรีพันธ์ ล่ำล่อง
การจัดการโรคพืชในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่


การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และพืชชนิดอื่นๆ ให้ปลอดภัยโรคหรือไม่ ต้องการให้มีเชื้อสาเหตุโรคพืชติดไปกับเมล็ดพันธุ์ หรือสามารถควบคุมโรคพืชในแปลงพืชได้นั้น เป็นสิ่งที่ถึงปรารถนาอย่างยิ่ง ในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ก่อนอื่นทั้งนี้ต้องมีความเข้าใจถึงข้อที่ควรปฏิบัติ และควรระวังทั้งก่อนการปลูกพืชและหลังการ


ข้อควรปฏิบัติก่อนการปลูกพืช
1. เลือกชนิดพืชที่เหมาะสมที่สุดในท้องที่นั้นๆ ซึ่งควรคำนึงถึงสภาพท้องถิ่นที่ปลูก รวมทั้งสภาพภูมิอากาศ และสภาพทางเศรษฐกิจ

2. ศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจถึงความต้องการของพืชที่ปลูก เช่น สภาพดินวิธีการปลูก การดูแลรักษา การให้ปุ๋ย การใช้สารเคมีหรือยาควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช ฯลฯ

3. เมื่อเกิดปัญหาหรือข้อสงสัย ให้สอบถามผู้รู้หรือผู้ประสบความสำเร็จจาก
การปลูกพืชชนิดนั้น

เมื่อเข้าใจหรือศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพืชที่ต้องการปลูกแล้ว การที่จะควบคุมโรคพืช ให้ประสบความสำเร็จสูงสุดนั้นมีข้อพึงปฏิบัติต่อไป


ข้อควรปฏิบัติหลังการปลูกพืช
1. หมั่นตรวจหรือสำรวจลักษณะอาการที่ผิดปกติ หรือสงสัยว่าพืชเป็นโรค ในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยที่สุดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

2. เมื่อพบว่าพืชแสดงอาการเป็นโรค ให้ทำการวินิจฉัยอาการขั้นต้น โดยการเปรียบเทียบอาการกับเอกสาร หนังสือที่ได้ศึกษาค้นคว้า การวินิจฉัยอาการขั้นต้นนี้ ถ้าเกษตรสามารถดำเนินการได้ทันท่วงที โดยรู้สาเหตุของเชื้อโรคที่แท้จริง จะทำให้สามารถเลือกการควบคุมโรค ที่มีประสิทธิภาพได้ดีและประหยัดที่สุด ในกรณีผู้ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกพืชชนิดนั้นมาก่อน ให้สอบถามผู้รู้ หรือส่งให้หน่วยงานราชการช่วยตรวจสอบให้ ทั้งนี้ต้องแสดงข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ประกอบการวินิจฉัยด้วย ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยหาสาเหตุโรคพืชที่แท้จริง



ข้อมูลการวินิจฉัยโรคพืช
1. แจ้งประวัติการปลูกพืชในบริเวณนั้นๆ รวมทั้งพืชที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียง

2. ข้อมูลทางการเขตกรรม เช่น การไถพรวน วิธีการปลูกพืช การให้น้ำ เป็นต้น

3. แจ้งสภาพแวดล้อมในการปลูกพืช เช่น สภาพดินเป็นกรด- ด่าง ดินเค็ม ความชื้น อุณหภูมิ เป็นต้น

4. ลักษณะการแพร่ระบาดของโรคที่พบ เช่น พืชตายขยายเป็นวงกว้าง หรือตายเป็นหย่อมๆ หรือระบาดตายเป็นแถว หรือตายเป็นร่องตามแนวปลูกพืช รวมทั้งระยะเวลาที่พืชแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น

5. ชนิดของสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมกำจัดโรคพืช แมลงศัตรูพืช รวมทั้งวัชพืช ปุ๋ยและฮอร์โมนที่เร่งการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนอัตราการใช้ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาว่าผู้ปลูกได้ใช้สารเคมีถูกต้องหรือไม่ หรือควรมีข้อระมัดระวังในการใช้สารเคมีเหล่านั้นอย่างไรบ้าง


พืชเป็นโรคได้อย่างไร
เมื่อปลูกพืชไปได้ระยะหนึ่ง เกษตรกรผู้ปลูกพืช มักประสบปัญหาเป็นโรค ทั้งนี้ควรทำความเข้าใจถึงสาเหตูที่ทำให้พืชแสดงอาการเป็นโรคเสียก่อน ซึ่งเรียกว่าวงจรชีวิตของการเกิดโรค มีดังนี้คือ
1. พืชที่ปลูกมีความอ่อนแอไม่เจริญเติบโตแข็งแรง เนื่องจากเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติขึ้น เช่น การมีสภาวะฝนตกหนัก หรือฝนตกแดดออก สภาพน้ำท่วมขัง หรือสภาพแห้งแล้ง เป็นต้น หรือเกิดขึ้นจากมนุษย์เราเป็นผู้กระทำ เช่น การให้ปุ๋ยไนโตรเจนเร่งการเจริญเติบโตเร็วเกินไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ผนังเซลล์พืชอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคสาเหตุโรค

2. เชื้อสาเหตุโรคพืชชนิดนั้นมีความแข็งแรงต่อการเข้าทำลายพืช

3. เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค เช่น ในช่วงอุณหภูมิ ความชื้นเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อสาเหตุ

4. มีช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุของโรค


การแพร่ระบาดของโรค
แบ่งออกได้ 2 กรณี ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อสาเหตุโรคพืช
1. เชื้อสาเหตุประเภทปลิวหรือฟุ้งกระจายไปกับลมและฝนได้โดยง่าย เชื้อชนิดนี้ส่วนใหญ่เข้าทำลายพืชได้ทางใบ ลำต้น กิ่ง ก้าน ดอก ผล และเมล็ด

2. เชื้อในดินสาเหตุโรคพืช ส่วนใหญ่เชื้อสาเหตุทำให้เกิดอาการรากเน่าโคนเน่าในพืช การแพร่ระบาดโดยทางเดินน้ำฝน และเศษซากพืชที่เป็นโรค

3. อาศัยแมลงพาหะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นโรคไปสู่ต้นปกติ


หลักการจัดการโรคพืช
การควบคุมโรคพืชให้ประสบความสำเร็จนั้น ควรคำนึงถึง
1. การใช้พันธุ์ต้านทาน เป็นวิธีการป้องกันโรคพืชที่ดีที่สุด แต่ไม่สามารถจะหาสายพันธุ์พืชที่ต้านทานโรคได้ทุกโรค เนื่องจากสภาพในแต่ละท้องที่ มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคระบาดแตกต่างกัน ดังนั้นควรหาสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับปัญหาที่ประสบอยู่ในแต่ละท้องถิ่น

2. เลือกวิธีการและการจัดการปลูกพืชที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้พืชมีความแข็งแรงมากที่สุด

3. มีความร่วมมือกันต่อการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช หากมีการแพร่ระบาดของโรคและแมลงจากเพื่อนบ้านข้างเคียง เนื่องจากโรคพืชบางชนิดแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว เช่น อาศัยแมลงพาหะในการถ่ายทอดโรค บ้างปลิวไปได้ในอากาศ ไปตามน้ำ และเมล็ดพันธุ์

4. การใช้สารเคมี ขอให้ใช้อย่างถูกต้องกับชนิดของสาเหตุโรคและแมลงศัตรูพืช และใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมตลอดจนปฏิบัติตามคำแนะนำที่ติดมากับสลากอย่างเคร่งครัด


นอกจากนี้แล้ว การควบคุมศัตรูพืชให้ประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงการลงทุนในการควบคุมต่อการผลิต และการเสี่ยงจากปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย เพื่อให้คุ้มค่าในแง่เศรษฐกิจ



http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=23&bookID=258&read=true&count=true
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 11:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

277. โรคข้าวไร่และการป้องกันกำจัด


โรคข้าวไร่ที่พบระบาดทั่วไปในปัจจุบัน เกิดจากสาเหตุใหญ่ 2 ประการด้วยกัน คือ
1. โรคที่เกิดจากเชื้อ
1.1 เชื้อรา
1.2 เชื้อแบคทีเรีย
1.3 เชื้อไวรัสและ/หรือไฟโตพลาสมา
1.4 ไส้เดือนฝอย

2. โรคไม่มีเชื้อ
2.1 สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม
2.1.1 อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป
2.1.2 สภาพ ดิน น้ำ และอากาศเป็นพิษ
2.1.3 ความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงหรือต่ำเกินไป
2.1.4 ความลึกของหน้าดินตื้นเกินไป
2.2 การขาดแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม

เชื้อรา คือพืชที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีขนาดเล็กตั้งแต่เป็นเส้นใย ที่ชอบขึ้นบนซากสัตว์จนถึงขนาดใหญ่ เช่น พวกเห็ดทั้งหลาย เชื้อราบางชนิดเป็นสาเหตุของโรค คน สัตว์และพืช

เชื้อแบคทีเรีย คือจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า มีรูปร่างตั้งแต่กลม กลมรี และส่วนใหญ่เป็นแท่ง มักมีหางตรงส่วนปลาย เป็นสาเหตุโรคคน สัตว์ และพืชมาก โรคที่เกิดจากเชื้อบักเตรีมักจะเกิดการเน่าส่งกลิ่นเหม็น

เชื้อไวรัส คือสิ่งที่มีตัวตนประกอบด้วย โปรตีนและนิวเคลียร์อิกแอสิค สามารถขยายจำนวนได้ภายในเซลล์ที่มีชีวิต มีขนาดเล็กจิ๋วมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าหรือแม้แต่กล้องจุลทัศน์ธรรมดา ต้องใช้กล้องอิเลคตรอน ไวรัสทุกชนิดอาศัยยังชีพอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง

ไส้เดือนฝอย คือสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ไม่มีสี อาจจะมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่ในดินและส่วนต่างๆ ของพืช มีทั้งพวกที่ยังชีพในสิ่งที่มีชีวิตและพวกที่ยังชีพในสิ่งที่ไม่มีชีวิต


1. โรคที่เกิดจากเชื้อ
1.1 เชื้อรา
1.1.1 โรคไหม้
1.1.2 โรคใบขีดสีน้ำตาล
1.1.3 โรคใบจุดสีน้ำตาล
1.1.4 โรคใบวงสีน้ำตาล


1.2 เชื้อแบคทีเรีย
1.2.1 โรคขอบใบแห้ง

1.3 เชื้อไวรัสและ/หรือไฟโตพลาสมา
1.3.1 โรคใบสีแสด

1.4 ไส้เดือนฝอย
1.4.1 ไส้เดือนฝอยรากปม


หลักการป้องกัน “โรคข้าว”
“ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการเกิดโรคดีกว่ารักษาเยียวยา”
ป้องกัน
- เลือกใช้พันธุ์ต้านทาน
- ทำลายแหล่งโรคและพาหะนำโรค
- ดูแลรักษาตรวจตราแปลงนา ให้ถูกสุขลักษณะ
กำจัดหรือรักษา
- ถอนทิ้ง เผาทำลาย ถ้าโรคร้ายเพิ่งเริ่มต้น
- ใช้สารป้องกันกำจัดโรค ถ้าคุ้มค่าต่อการลงทุน เลือกชนิดของสารและเวลาการใช้ให้ถูกต้องกับโรคนั้นๆ
- ระมัดระวังฤทธิ์และพิษตกค้างของสารป้องกันกำจัดโรคให้จงดี

2. โรคไม่มีเชื้อ
2.1 การขาดธาตุอาหารที่สำคัญ
2.1.1 ธาตุไนโตรเจน เป็นธาตุที่สำคัญในการเจริญเติบโตของต้นข้าว ข้าวที่ขาดธาตุไนโตรเจน ใบอ่อนจะมีสีเขียวซีดเริ่มจากปลายใบเข้ามา ส่วนใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วเป็น สีน้ำตาล ในที่สุดจะแห้งตายไป ต้นข้าวจะมีลักษณะแคระแกร็น แตกกอน้อยใบข้างจะแคบเล็กและบาง เมื่อพบอาการดังกล่าวมาแล้วในแปลงข้าว ควรจะรีบทำการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนโดยทันที
ในกรณีที่ธาตุไนโตรเจนมีมากเกินไป ต้นข้าวจะแตกกอมาก ต้นข้าวจะสูง ลำต้นอ่อนแอ ข้าวจะแก่ช้า และข้าวจะล้มง่าย นอกจากนี้ยังถูกแสงแดดหรือความแห้งแล้งทำความเสียหายให้โดยง่ายอีกด้วย

2.1.2 ธาตุฟอสฟอรัส เป็นธาตุอาหารที่สำคัญในการสร้างระบบรากของต้นข้าว และในระยะแรกของการเจริญเติบโตของต้นข้าว ต้นข้าวที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสใบจะมีสีเขียวเข้มใบเล็กและเรียวและตั้งตรง รากจะไม่ขยายเช่นปกติ

2.1.3 ธาตุโพแทสเซียม มีความสำคัญในการสร้างลำต้นของข้าวและเปลือกของข้าว ต้นข้าวที่ขาดธาตุโพแทสเซียมจะมีจุดสีน้ำตาลคล้ายตกกระบนใบข้าวส่วนมากเป็นกับใบแก่ การแตกกอน้อย



แมลงศัตรูข้าวไร่และการป้องกันกำจัด
แมลงศัตรูข้าวไร่มีหลายชนิด นอกจากจะเป็นแมลงศัตรูข้าวชนิดที่ระบาดทำลายในนาข้าว ทั่วไป ซึ่งมีปริมาณน้อยและจัดว่าไม่ค่อยมีความสำคัญในการเพาะปลูกข้าวไร่แล้ว ยังมีชนิดที่สำคัญและระบาดทำความเสียหายอยู่เสมอ โดยเฉพาะในการเพาะปลูกข้าวไร่ในภาคเหนือ ได้แก่ มดง่าม ปลวก แมลงวันเจาะยอด ด้วงหมัดดำ ด้วงแทะใบ แมลงค่อมทอง แมลงนูน ด้วงดีด เพลี้ยอ่อน หนอนใย ตั๊กแตน เพลี้ยแป้ง


1. มดง่าม (Ant : Pheidole sp.) วงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera
เป็นแมลงศัตรูที่ทำให้เกิดปัญหาในระยะหยอดเมล็ด เมื่อเกษตรกรหว่านโรยหรือหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ลงไปในดิน มดง่ามซึ่งอาศัยอยู่ในรังในดิน จะขนเมล็ดข้าวนำไปเป็นอาหารหรือเก็บสะสมเป็นอาหารในรัง ทำให้สูญเสียเมล็ดพันธุ์ที่ใช้เพาะปลูก ก่อปัญหาในด้านจำนวนกอต่อพื้นที่และการซ่อมเมล็ด ทำให้ผลผลิตลดลง


การป้องกันกำจัด
1. ถ้าพบรังหรือทางเดินของมดง่าม ใช้สารฆ่าแมลงคาร์บาริล (เซฟวิน 85 %) หรือเฮบตาคลอ (อาลามอน 40 %) ชนิดผงโรยที่รังหรือทางเดินของมดง่าม

2. ถ้าพบรังมดง่ามอยู่กระจัดกระจายทั่วแปลงเพาะปลูก หรือบริเวณใกล้เคียงใช้วิธีคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ด้วยสารฆ่าแมลงชนิดผง เช่น คาร์บาริล (เซฟวิน 85 %) เมทธิโอคาร์บ (เมซูโรล 50 %) เฟนวาลีเลต (ซูมิไซดิน 20 %) เตทตระคลอร์วินฟอส (การ์โดนา 50 %) ในอัตรา 1 % ต่อน้ำหนักเมล็ด (สารฆ่าแมลง 85 % ใช้อัตรา 12 กรัมต่อเมล็ดข้าว 1 กิโลกรัม สารฆ่าแมลง 50 % ใช้อัตรา 20 กรัมต่อเมล็ดข้าว 1 กิโลกรัม) ควรทำการคลุกให้สารฆ่าแมลงติดเมล็ดสม่ำเสมอที่สุดแล้วนำไปปลูกทันที


2. ปลวก
กัดกินทำลายส่วนรากของข้าวไร่ทุกระยะ และยังกัดกินทำลายโดยเริ่มจากส่วนใต้ดินขึ้นไปตามภายในลำต้น ต้นข้าวที่ถูกทำลายในระยะแรกจะมีลำต้นเหลืองหรือเหลืองซีดทั้งกอและแห้งตายในเวลาต่อมา

การป้องกันกำจัด
1. ขณะทำการเตรียมดิน ถ้าพบรังปลวกใต้ดินให้ขุดทำลายรังหรือไถพรวนดินหลายๆ ครั้ง เพื่อเป็นการทำลายรังและเปิดโอกาสให้มดและนกชนิดต่างๆ เข้าช่วยกินปลวก
2. ถ้าพบรังปลวกมากและอยู่กระจายในแปลงเพาะปลูก ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงชนิดผงละลายน้ำ เช่น เฮบตาคลอ (อาลามอน 40 %) อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ พ่นให้ทั่วแปลงแล้วพรวนให้เข้ากับดินหรืออาจใช้วิธีพ่นหรือโรยตามแถวปลูก

3. เพลี้ยอ่อน (Rice root aphid : Tetraneura nigriabdominalis Sasaki) วงศ์ Aphididae อันดับ Homoptera
(วิเคราะห์ตัวอย่างแมลง โดย อาจารย์วาลุลี โรจนวงศ์ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

เป็นแมลงขนาดเล็กเคลื่อนไหวช้ามีขนาด 1–2 มม. สีน้ำตาล หรือน้ำตาลแดงรูปร่างคล้ายผลฝรั่งผ่าครึ่ง และเป็นเพลี้ยอ่อนชนิดไม่มีปีก การทำลายพบอาศัยเกาะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่ส่วนรากในดินของต้นข้าว ในระยะเริ่มแตกกอและเกาะเป็นกลุ่มๆ บางครั้งพบเกาะดูดกินส่วนรากของต้นข้าวที่อยู่โคนต้นใกล้ระดับดิน ต้นข้าวมีอาการเหลืองซีดและเตี้ยแคระแกรนผิดปกติ ถ้ามีการระบาดรุนแรงต้นข้าวจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาและตายในเวลาต่อมา

นอกจากนี้เพลี้ยอ่อนชนิดอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณรากแล้ว ยังพบเพลี้ยอ่อนอีกชนิดหนึ่ง คือ Rhopalosiphum rufiabdominalis (วิเคราะห์ตัวอย่างแมลง โดย Dr.Hans Banziger ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) อาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงเมล็ดข้าวที่รวงในระยะน้ำนม ทำให้เมล็ดลีบไม่สมบูรณ์

การป้องกันกำจัด
เพลี้ยอ่อนที่อาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณราก การระบาดทำลายจะเป็นหย่อมๆ ควรใช้สารฆ่าแมลงพวกคาร์บาริล (เซฟวิน) ชนิดผงละลายน้ำ หรือชนิดน้ำ ซึ่งชนิดหลังมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดได้นานกว่าพ่นบริเวณโคนต้นข้าวและไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลงคลุมไปทั้งแปลง ควรพ่นเฉพาะบริเวณที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดเท่านั้น



4. ตั๊กแตน (Grasshopper, short horned grasshopper :
- Patanga succincta Linn
- Locusta migratoria malilensis Meyer
- Cyrtacanthacris tatarica Linn.
- Chondracris rosea brunneri Uvarov) วงศ์ Acrididae อันดับ Orthoptera

ที่พบเป็นประจำในแปลงเพาะปลูกข้าวไร่เป็นตั๊กแตนขนาดเล็ก (Hieroglyphus bnaian Fab.) ซึ่งมีปริมาณไม่มากนัก ทั้งตัวแก่และตัวอ่อนกัดกินใบข้าวทำให้ใบขาดแหว่ง ถ้ามีการทำลายมากจะกัดกินจนกระทั่งเหลือแต่เส้นกลางใบ ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ผลผลิตต่ำลงแต่ตั๊กแตนชนิดที่สำคัญ ซึ่งควรระวังการป้องกันการระบาดทำลาย ได้แก่ ตั๊กแตนปาทังกา ตั๊กแตน โลคัสตา ตั๊กแตนไซทาแคนตาคริส และตั๊กแตนคอนดาคริส ซึ่งจัดว่าเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญ

การป้องกันกำจัด
วิธีการป้องกันกำจัดตั๊กแตนให้ได้ผล ควรใช้วิธีการทุกอย่างที่สามารถลดประชากรของตั๊กแตนให้น้อยลง ทั้งนี้ควรจะทราบชนิด อุปนิสัย นิเวศวิทยา ฯลฯ ของตั๊กแตนที่จะป้องกันกำจัดเสียก่อน จึงจะสามารถวางมาตรการในการป้องกันกำจัดได้ทั่วๆ ไป ควรทำดังนี้
1. เกษตรกรควรร่วมกันดำเนินการจับตั๊กแตนในฤดูหนาว (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) ซึ่งถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 13 องศาเซลเซียสลงไป ตั๊กแตนจะเคลื่อนไหวช้าหรือแข็งตัวบินไม่ได้ซึ่งสามารถจับได้ง่ายด้วยมือเปล่า และยังนำตั๊กแตนที่จับได้ไปแปรรูปเป็นอาหารได้อีกด้วย

2. กำจัดวัชพืชที่เป็นอาหารหรือเป็นที่อาศัยของตั๊กแตนทั้งในไร่ และในบริเวณใกล้เคียง

3. ไถและพรวนดินในบริเวณที่มีตั๊กแตนอาศัยเพื่อตากดินและช่วยทำลายไข่ของตั๊กแตนที่อยู่ในดิน ซึ่งควรเริ่มดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน

4. ภายหลังการเก็บเกี่ยวควรเก็บตอซังและซากพืชให้หมด เพื่อมิให้เป็นที่อยู่อาศัยของตั๊กแตน

5. ปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง สลับกับแปลงเพาะปลูกข้าวไร่ เพื่อดึงดูดตั๊กแตนให้มาอาศัยร่มเงาหลบแสงแดด ในถั่วลิสงและทำการกำจัดโดยวิธีปล่อยลูกเป็ดเข้าไปกินหรือเกษตรกรจับมาใช้ประโยชน์หรือพ่นสารฆ่าแมลงคาร์บาริลผสมน้ำและกากน้ำตาลหรือน้ำอ้อยแดง

6. หมั่นตรวจแปลงเพาะปลูกอยู่เสมอ โดยเฉพาะในระยะต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป ซึ่งเป็นระยะที่ตั๊กแตนเริ่มฟักเป็นตัวอ่อน หากพบตั๊กแตนในระยะนี้อยู่รวมกันเป็นจำนวนมากควรรีบทำการกำจัด

7. การใช้สารฆ่าแมลงพ่นกำจัด ควรใช้ให้ถูกต้องตามชนิดและวัยของตั๊กแตน เช่นคาร์บาริล (เซฟวิน เซฟ 85 ดี เอส 85) 85% ชนิดผงละลายน้ำซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงชนิดกินตาย พ่นคลุมพื้นที่ที่มีตั๊กแตนซึ่งเป็นระยะตัวอ่อนอยู่หนาแน่น ในฤดูการเพาะปลูกในอัตรา 70–80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และผสมด้วยกากน้ำตาล (โมลาส) หรือน้ำอ้อยแดง 2–3 ช้อนแกง โดยพ่นบนใบข้าวหรือถั่วลิสงที่ปลูกเป็นพืชสลับ



5. เพลี้ยกระโดดหลังขาว
เพลี้ยกระโดดหลังขาว (Sogatella (= Sogata) furcifera) สามารถแยกชนิดออกจากเพลี้ยกระโดดชนิดอื่นในระยะตัวเต็มวัยได้ โดยมีแถบสีขาวตามยาวของด้านหลังส่วนอกอยู่ระหว่างฐานปีกทั้งสอง แมลงในสกุลนี้มีหลายชนิดที่พบในนาข้าว แต่ข้าวไม่ใช่พืชอาหารหลักและสามารถจำแนกแมลงแต่ละชนิดออกจากกันโดยดูที่ปีก ส่วนหัวและลักษณะอวัยวะเพศผู้ ยกเว้นเพศเมียของ S. panicicola และ S. longifurcifera

การเป็นศัตรูพืช
ถึงแม้ว่าไม่ได้เป็นแมลงพาหนะนำโรไวรัสแต่ก็พบเพลี้ยกระโดดหลังขาวได้ทั่วไป และอาจดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าวทำให้แห้งตายได้ แต่สามารถป้องกันกำจัดได้โดยใช้สารฆ่าแมลง เพลี้ยกระโดดหลังขาวระบาดได้ทุกสภาพแวดล้อม

การเจริญเติบโต
ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลถึงสีดำ ลำตัวสีเหลือง มีแถบสีขาวเห็นชัดอยู่ด้านหลังส่วนอกระหว่างปีกสองข้าง เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพศเมียมีทั้งชนิดปีกสั้นและปีกยาว ส่วนเพศผู้มีแต่ชนิดปีกยาวเท่านั้น เพลี้ยกระโดดหลังขาวจะอาศัยอยู่บริเวณโคนต้นข้าว ตัวเต็มวัยเข้ามาในแปลงข้าวช่วง 30 วัน แรกหลังจากเป็นต้นกล้า ใน 1 ฤดูปลูก เพลี้ยกระโดดหลังขาวเจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้น้อยรุ่นกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และชอบดูดกินน้ำเลี้ยงจากข้าวต้นอ่อน และขยายพันธุ์เป็นพวกปีกยาว จากนั้นอพยพออกจากแปลงข้าวก่อนที่ข้าวจะออกดอก กับดักแสงไฟสามารถดักจับตัวเต็มวัยเพลี้ยกระโดดหลังขาวได้จำนวนมาก และจับได้มากที่สุดในช่วงพระจันทร์เต็มดวง

ไข่ ไข่มีลักษณะและขนาดเหมือนกับไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่มีเปลือกหุ้มไข่ยาวกว่า เพศเมียแต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ 300 – 500 ฟองในช่วงชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์

ตัวอ่อน ตัวอ่อนระยะแรกของเพลี้ยกระโดดทุกชนิดจะเห็นเป็นสีขาว และไม่สามารถแยกความแตกต่างของตัวอ่อนแต่ละชนิดได้ในแปลงนา ตัวอ่อนระยะหลังๆ ของเพลี้ยกระโดดหลังขาวแยกความแตกต่างได้โดยมีจุดดำและขาวที่ส่วนท้องด้านบน
การทำลาย

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดหลังขาว ดูดกินน้ำเลี้ยงที่โคนกอข้าว และผลิตมูลหวานออกมาน้อยกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำให้มีราดำเกิดขึ้นน้อยตรงรอยทำลาย ต้นข้าวที่ถูกเพลี้ยกระโดดหลังขาวจำนวนมากทำลาย มีสีเหลืองส้มใบแห้ง ต่อมาใบจะเป็นสีน้ำตาล ในระยะแรกต้นข้าวแห้งตายเป็นหย่อมๆ จุดที่ถูกทำลายจะขยายกว้างถ้าประชากรแมลงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยทั่วไปเพลี้ยกระโดดหลังขาวเข้าทำลายข้าวในระยะตั้งท้อง เพลี้ยกระโดดหลังขาวไม่เป็นแมลงพาหนะนำโรคไวรัสมาสู่ต้นข้าว

การจัดการ
วิธีเขตกรรม วิธีการเขตกรรมที่ใช้ได้ผลดีกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สามารถใช้ได้กับเพลี้ยกระโดดหลังขาว เช่นกัน

พันธุ์ต้านทาน เนื่องจากเพลี้ยกระโดดหลังขาวแพร่ระบาดออกจากแปลงนาช่วงข้าวตั้งท้อง พันธุ์ข้าวที่เก็บเกี่ยวเร็วสามารถลดจำนวนรุ่นขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดหลังขาวได้ ข้าวพันธุ์แตกกอมาก เพลี้ยกระโดดหลังขาวทั้งตัวเต็มวัยและตัวอ่อนจะมีมากกว่าข้าวพันธุ์ที่แตกกอน้อย

การป้องกันกำจัดโดยชีววิธี
เพลี้ยกระโดดหลังขาวมีศัตรูธรรมชาติทำลายทุกระยะการเจริญเติบโต โดยทั่วไปประชากรของเพลี้ยกระโดดหลังขาวจึงมีน้อย การใช้สารฆ่าแมลงโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบอาจทำลายศัตรูธรรมชาติมากกว่าเพลี้ยกระโดดหลังขาว และทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดหลังขาวได้ ไข่ของเพลี้ยกระโดดหลังขาวถูกเบียนโดยแตนเบียนตัวเล็กๆ หรือถูกมวนเขียวดูดไข่ หรือไรตัวห้ำกิน ตัวอ่อนและตัวเต็มวันถูกเบียนโดยแตนเบียน dryinid หรือถูกเชื้อราทำลาย

ตัวห้ำของตัวอ่อนและตัวเต็มวัยรวมทั้งตัวห้ำที่อยู่ใต้ผิวน้ำได้แก่ แมลงเหนี่ยง ด้วงดิ่ง ตัวอ่อนแมลงปอบ้าน แมลงปอเข็ม พวกที่อยู่บนผิวน้ำ ได้แก่ จิงโจ้น้ำ ก็เป็นตัวห้ำที่สำคัญด้วยเช่นกัน ตัวห้ำที่อยู่ในน้ำเหล่านี้จะคอยจับกินเพลี้ยกระโดดที่หล่นลงบนผิวน้ำ และยังสามารถจับเพลี้ยกระโดดบนใบข้าวที่อยู่ใกล้ๆ ระดับน้ำได้อีกด้วย ด้วงก้นกระดก ด้วงดิน และมวนดอกรัก รวมทั้งแมงมุมต่างๆ จับตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพลี้ยกระโดดหลังขาวที่อยู่ตามใบข้าวกินเป็นอาหาร

แมลงปอเข็มตัวเต็มวัยจับกินเพลี้ยกระโดดที่เกาะตามใบข้าว ส่วนแมลงปอบ้านตัวเต็มวัยจับกินเพลี้ยกระโดดที่บินในนาข้าว


การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี
วิธีการใช้สารฆ่าแมลงสำหรับเพลี้ยกระโดดหลังขาวเหมือนกับของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สารฆ่าแมลงชนิดพ่นมีประสิทธิภาพดีกว่าชนิดเม็ด อย่าใช้สารฆ่าแมลงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการระบาดของแมลงเพิ่มขึ้น

การสำรวจ สำรวจนาข้าวหลังจากปลูกแล้ว 30 วัน ทุกสัปดาห์จนถึงช่วงข้าวออกดอก ตบต้นข้าวเพื่อให้เพลี้ยกระโดดเคลื่อนไหวตัวและตรวจนับจำนวน สุ่มสำรวจจากข้าว 20 กอหรือจุด ตามแนวทแยงมุมของแปลงนา

คำนวณค่าเฉลี่ยจำนวนแมลงต่อต้นของเพลี้ยกระโดดหลังขาวที่ตรวจนับได้ ถ้าตรวจพบเพลี้ยกระโดดดังกล่าว 1 ตัว/ต้น ให้สำรวจสัปดาห์ละ 2 ครั้ง พ่นสารฆ่าแมลงที่บริเวณโคนต้นข้าวเมื่อตรวจพบตัวอ่อนที่โตเต็มที่มากกว่า 1 ตัว/ต้น



6. แมลงสิง มวนในสกุล Leptocorisa เรียกว่าแมลงสิง มวนเหล่านี้มีลักษณะการระบาด ชีววิทยาและการทำลายข้าวคล้ายคลึงกัน

การเป็นศัตรูพืช
ปกติการสูญเสียผลผลิตเนื่องจากแมลงสิงมีน้อย เพราะประชากรแมลงสิงมีมากเป็นบางช่วง และทำลายข้าวเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ของการเจริญเติบโตของข้าว แมลงสิงพบได้ในทุกสภาพแวดล้อม แต่จะพบมากในนาน้ำฝนและข้าวไร่ ปัจจัยที่ทำให้แมลงสิงมีปริมาณมาก คือ อยู่ใกล้ชายป่า มีวัชพืชขึ้นอยู่มากมายใกล้นาข้าว และมีการปลูกข้าวเหลื่อมเวลากัน

การเจริญเติบโต
ตัวเต็มวัย รูปร่างเพรียว มีขาและหนวดยาว ลำตัวสีเขียวแกมน้ำตาล แมลงสิงเริ่มพบระบาดในต้นฤดูฝน และเจริญเติบโต ขยายพันธุ์ 1–2 รุ่น บนพืชอาศัย ซึ่งเป็นวัชพืชตระกูลหญ้าก่อนที่จะอพยพเข้ามาในแปลงนาข้าวระยะข้าวออกดอก เมื่อถูกรบกวน ตัวเต็มวัยจะบินหนีและปล่อยกลิ่นเหม็นออกจากต่อมที่อยู่ที่ท้อง ตัวเต็มวัยจะออกหากินช่วงบ่ายๆ และช่วงเช้ามืดและเกาะพักอยู่ที่หญ้าขณะที่มีแสงแดดจัด ในฤดูแล้งตัวเต็มวัยเคลื่อนย้ายไปอยู่แถบชายป่า และเกาะพักตัวอยู่บริเวณนั้น กับดักแสงไฟไม่สามารถดักจับแมลงสิงได้ เพศเมียแต่ละตัววางไข่ได้หลายร้อยฟองในช่วงชีวิตประมาณ 2–3 เดือน

ไข่ มีสีน้ำตาลแดงเข้ม ไข่มีรูปร่างคล้ายจานวางไข่เป็นกลุ่มมี 10–20 ฟอง เรียงเป็นแถวตรงบนผิวใบข้าวขนานกับเส้นกลางใบมี 2 – 3 แถว เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อน เปลือกไข่จะเปิดออกครึ่งหนึ่งเห็นเป็นรูออกได้ชัดเจน

ตัวอ่อน มีสีเขียวแกมน้ำตาลอยู่รวมเป็นกลุ่มบนต้นข้าวดูกลมกลืนกับใบข้าวอย่างแยกไม่ค่อยออก

การทำลาย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกิน endosperm ของเมล็ดข้าว และดูดกินน้ำเลี้ยงของต้นข้าวด้วยเช่นกัน แมลงสิงมีปากแบบเจาะดูดในการดูดกินมันจะขับของเหลวจากปากเพื่อทำให้ส่วนที่จะดูดกินเกิดการแข็งตัวและยึดส่วนของปากให้อยู่กับที่ ส่วนที่ถูกดูดกินมีสีขาวสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การทำลายของแมลงสิงไม่ทำให้เกิดรูบนเปลือกของเมล็ดข้าวเหมือนมวนชนิดอื่นที่ทำลายเมล็ดข้าว แต่มันจะเจาะผ่านช่องว่างระหว่างเปลือกเล็ก และเปลือกใหญ่ของเมล็ดข้าว ส่วนของเมล็ดที่ถูกแมลงสิงดูดกินตรวจพบได้ง่ายบนเมล็ดข้าว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินเมล็ดข้าวในระยะเป็นน้ำนม แต่ก็สามารถดูดกินเมล็ดข้าวทั้งเมล็ดอ่อนและเมล็ดแข็ง ตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตดูดกินเมล็ดข้าวมากกว่าตัวเต็มวัย แต่ตัวเต็มวัยทำความเสียหายมากกว่าเพราะดูดกินเป็นเวลานานกว่า การดูดกินน้ำนมจากเมล็ดข้าวทำให้ขนาดเล็กลง แมลงสิงไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เมล็ดลีบไม่มีเนื้อข้าว เพราะไม่ได้ดูดกิน endosperm จนหมดเมล็ด ขณะที่แมลงสิงดูดกิน endosperm ทั้งที่ยังอ่อนอยู่หรือแข็งตัว มันจะปล่อยน้ำย่อยเข้าไปเพื่อย่อยคาร์โบไฮเดรท และการดูดกินน้ำให้เมล็ดเกิดการปนเปื้อน เชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เมล็ดเปลี่ยนสีหรือเป็นตำหนิที่เมล็ด

ความเสียหายจากการทำลายของแมลงสิงทำให้เมล็ดข้าวเสื่อมเสียคุณภาพมากกว่าทำให้น้ำหนักเมล็ดข้าวลดลง เมล็ดข้าวที่ถูกแมลงสิงทำลาย เมื่อนำไปสีจะแตกหักได้ง่าย เกษตรกรโดยทั่วไป มักไม่ได้สูญเสียรายได้จากคุณภาพเมล็ดที่เสียหายดังกล่าว เนื่องจากโดยทั่วไปไม่มีการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดที่มีการซื้อขายกัน

การจัดการ
วิธีเขตกรรม กำจัดวัชพืชตระกูลหญ้าออกจากนาข้าว คันนา และรอบๆ แปลงนา หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวเหลื่อมเวลาในพื้นที่เดียวกัน

พันธุ์ต้านทาน ยังไม่มีพันธุ์ต้านทานแมลงสิง ข้าวพันธุ์ที่มีหางไม่ใช่พันธุ์ข้าวที่ต้านทานแมลงสิง

การป้องกันกำจัดโดยชีววิธี
ไข่แมลงสิง ถูกเบียนโดยแตนเบียน scelionid โดยจะเห็นเป็นรูทางออกของแตนเบียนได้ ชัดเจน ตั๊กแตนหนวดยาวเป็นตัวห้ำกินไข่ของแมลงสิง แมงมุมในนาข้าวกินตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลงสิง นอกจากนี้ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลงสิงยังถูกเชื้อราทำลายด้วยเช่นกัน

การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี
แมลงสิงสามารถป้องกันกำจัดได้โดยพ่นสารฆ่าแมลง สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดใช้ไม่ได้ผลในการป้องกันกำจัด

การสำรวจ
เริ่มทำการสำรวจนาข้าวในสัปดาห์แรกก่อนระยะที่ข้าวเป็นน้ำนม และสำรวจต่อไปสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จนกระทั่งถึงระยะที่เมล็ดข้าวแข็งตัวสุ่มตรวจนาข้าวในตอนเช้าตรู่หรือช่วงบ่ายๆ โดยสุ่มตรวจจากข้าว 20 กอ ตามแนวทแยงมุมของแปลงนา จดบันทึกจำนวนแมลงสิงต่อกอ และพ่นสารฆ่าแมลงเมื่อตรวจพบจำนวนแมลงถึงระดับเศรษฐกิจ



สัตว์ศัตรูข้าวไร่และการป้องกันกำจัด
1. หนูศัตรูข้าวไร่และการป้องกันกำจัด
หนูศัตรูข้าวไร่ที่พบมีอยู่ 3 สกุล คือ สกุลหนูพุก(หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก) หนูท้องขาวและหนูหริ่ง ซึ่งมักจะระบาดทำความเสียหายแก่ข้าวไร่อยู่เสมอๆ โดยจะทำลายทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าว โดยเฉพาะข้าวไร่ในระยะเป็นกล้าจะถูกทำลายมากกว่าปกติ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรหมั่นตรวจดูแปลงข้าวไร่อยู่เสมอๆ เมื่อพบร่องรอยหรือการทำลายของหนู ควรรีบกำจัดแต่เนิ่นๆ

1. การป้องกันกำจัดโดยไม่ใช้สารเคมี
1. การขุดรูหนู

2. การดักหนู โดยใช้กับดักหรือกรงดักก็จะช่วยในการกำจัดหนูได้อีกวิธีหนึ่ง

3. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมตามบริเวณข้าวไร่เกษตรกรควรปรับปรุงคันนาไม่ให้เหมาะสมกับการที่หนูจะเข้ามาขุดรูอยู่อาศัย โดยไม่ทำคันนาให้ใหญ่มากนัก หรือกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้หนูมีที่หลบซ่อน

4. การรักษาศัตรูธรรมชาติไว้ช่วยปราบหนู เกษตรกรมักจะทราบกันดีแล้วว่างูชนิดต่างๆ เช่น งูเห่า งูทางมะพร้าว งูสิง ฯลฯ พังพอน เหยี่ยว นกแสก นกเค้าแมว นกฮูก เป็นศัตรูธรรมชาติที่ช่วยกำจัดหนู ดังนั้นการรักษาศัตรูธรรมชาติเหล่านี้ไว้จะช่วยในการกำจัดหนูศัตรูข้าวไร่ได้ดีอีกด้วย ในบริเวณข้าวไร่ก็ควรจะทำคอนจากกิ่งไม้ทางมะพร้าวหรืออื่นๆ ไว้ให้นกที่หากินกลางคืนเกาะ เช่น นกแสก นกฮูก จะช่วยให้นกเหล่านี้มีโอกาสกำจัดหนูได้ง่ายขึ้น


2. การใช้สารเคมีกำจัดหนูก่อนการปลูกข้าวไร่
เนื่องจากหนูเป็นสัตว์ศัตรูข้าวที่ค่อนข้างฉลาด ดังนั้นก่อนการปลูกข้าวไร่ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงควรใช้สารเคมีกำจัดหนู เพื่อลดประชากรของหนูที่มีอยู่มากให้เหลือน้อยลงมากที่สุด โดยการใช้สารเคมีประเภทออกฤทธิ์เร็วซิงค์ฟอสไฟด์ผสมกับปลายข้าวในอัตราส่วนของซิงค์ฟอสไฟด์ 1 ส่วนกับปลายข้าว 100 ส่วน โดยน้ำหนักเป็นเหยื่อพิษ หรือใช้สารซิลมูรินผสมกับปลายข้าวในอัตราส่วนของซิลมูริน 1 ส่วนกับปลายข้าว 20 ส่วน โดยน้ำหนักเป็นเหยื่อพิษ นำเหยื่อพิษชนิดใดหนึ่งที่กล่าวแล้วไปวางตามร่อยรอยที่พบตามคันนาหรือตามรูหนูที่พบในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะทุกๆ ระยะ 5–10 เมตร ควรใช้กลบคลุมเหยื่อพิษที่วางเพื่อป้องกันความชื้นและล่อให้หนูมากินเหยื่อพิษมากขึ้น การใช้สารเคมีกำจัดหนูก่อนการปลูกข้าวไร่นี้นอกจากจะช่วยลดจำนวนประชากรของหนูได้โดยตรงแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้ข้าวไร่ที่จะหยอดเสียหายจากหนูได้


3. การใช้สารเคมีกำจัดหนูระหว่างการปลูกข้าวไร่
หลังจากใช้สารเคมีกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์เร็วไปแล้วประมาณ 3–4 สัปดาห์ คือเมื่อถึงระยะที่ตั้งตัวได้แล้ว ให้ใช้สารเคมีกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า เช่น คลีแร็ตหรือราคูมิน ซึ่งเป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปในก้อนขี้ผึ้ง ก้อนละประมาณ 5 กรัม หรือที่ผสมใส่ถุงพลาสติกขนาดเล็กถุงละประมาณ 15 กรัม นำเหยื่อพิษสำเร็จรูปนี้ไปวางตามแหล่งที่พบร่องรอยของหนูและในแปลงข้าวไร่ โดยแต่ละก้อนหรือแต่ละถุงห่างกันประมาณ 4–5 เมตร และให้วางเหยื่อพิษดังกล่าวนี้เดือนละ 1 ครั้งก็เพียงพอแก่การควบคุมประชากรของหนูได้ดี



2. นกศัตรูข้าวไร่และการป้องกันกำจัด
นกศัตรูข้าวไร่ที่พบมีอยู่ 5 ชนิดคือ นกกะติ๊ดขี้หมู นกกะติ๊ดตะโพกขาว นกกระจาบธรรมดา นกกระจอกตาล และนกจาบปีกอ่อนอกเหลือง โดยจะทำลายข้าวไร่ตั้งแต่ระยะข้าวเป็นน้ำนมไปจนถึงเก็บเกี่ยว ทั้งในนาและที่เก็บไว้ในยุ้งฉาง ในระยะข้าวใกล้สุกการเกาะคอรวงข้าวกินเป็นฝูงๆ ของนกเหล่านี้ อาจจะทำให้คอรวงข้าวหัก ซึ่งจะทำความเสียหายทางอ้อมแก่ข้าวไร่

การป้องกันกำจัด
1. การป้องกันกำจัดโดยวิธีกล ( mechanical control )
1.1 การใช้ตาข่ายคลุมแปลงหรือตาข่ายดักนกหรือกรงดักนก จะต้องเลือกใช้ขนาดของรูตาข่ายที่มีตาถี่พอที่จะไม่ให้นกบินลอดเข้าได้ อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้าเก็บรักษาตาข่ายดีๆ แล้วสามารถนำมาใช้เป็นเวลาหลายๆปีเช่นตาข่ายที่ทำด้วยเชือกพลาสติก เป็นต้น สำหรับโกดังยุ้งฉางที่มีช่องหรือรูที่นกสามารถเข้าไปทำลายผลิตผลทางเกษตรหรือเข้าไปทำรังได้ ก็ควรใช้ตาข่ายชนิดตาถี่ปิดกั้นช่องนั้น ๆ เสีย อีกประการหนึ่งการก่อสร้างโกดังหรือยุ้งฉาง ส่วนที่เป็นกันสาดหรือขอบคิ้วต่าง ๆ ควรจะใช้วัสดุที่มีผิวเรียบมันและควรมีความลาดเอียงประมาณ 45 องศา และไม่ควรจะมีส่วนที่ยื่นออกไปให้นกเกาะอาศัยได้ การไล่โดยใช้หุ่นไล่กาถ้าเป็นหุ่นไล่กาชนิดที่เคลื่อนไหวได้จะได้ผลดีกว่าหุ่นนิ่ง

1.2 การไล่โดยคน ในกรณีที่แรงงานมากพอ การใช้คนไล่นกก็จะได้ผลดี

1.3 การใช้เครื่องมือทำให้เกิดเสียงดัง เพื่อให้นกตกใจบินหนี เช่น การจุดประทัดเป็นระยะๆ การใช้ปืนยิง การใช้เครื่องระเบิดโดยใช้แก๊ส (gas exploder) การใช้ปี๊บน้ำมันคว่ำแล้วผูกเชือกห้อยของหนักไว้ภายในเหมือนกระดิ่ง แล้วคอยกระตุกไล่นก เป็นต้น

1.4 การใช้วัสดุที่ทำให้แสงสะท้อนวูบวาบ เช่น ใช้กระจกเงาหรือแผ่นอลูมิเนียมเงา หรือสายเทปคาสเซทที่ไม่ใช้หรือยืดแล้ว แขวนให้ทั่วบริเวณที่ต้องการไล่ อาศัยลมพัดตามธรรมชาติทำให้วัสดุนั้น ๆ หมุนและเกิดสะท้อนแสง ทำให้นกตกใจหนีได้

1.5 การใช้เครื่องขยายเสียงหรือเทปบันทึกเสียง โดยอัดเสียงตอนที่นกตกใจกลัวหรืออัดเสียงนกเหยี่ยวหรือนกล่าเหยื่อต่าง ๆ แล้วเปิดเพื่อให้นกตกใจกลัว


2. การป้องกันกำจัดโดยวิธีเขตกรรม ( cultural practice )
การจำกัดวัชพืชต่าง ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้นก มีแหล่งอาหารจากเมล็ดหญ้าเพิ่มขึ้นก่อนที่จะลงทำลายข้าวในนา เศษหญ้า ฟางข้าว หรือขยะอื่น ๆ ควรจะเก็บให้มิดชิดหรือทำลายเสียเพื่อไม่ให้นกนำมาใช้เป็นวัสดุทำรังพุ่มไม้ที่ไม่จำเป็นรอบๆ แปลงนาก็ควรทำลายเสียจะช่วยกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของนก ตลอดจนการปลูกข้าวไร่ควรจะปลูกเพื่อให้ข้าวสุกพร้อมๆ กัน เพราะตามปกติแล้วแปลงข้าวใดที่ออกรวงก่อนมักจะถูกนกทำลายเสียหายมากกว่า


3. การป้องกันกำจัดโดยชีววิธี (biological control)
เช่นการฝึกหัดสัตว์ศัตรูธรรมชาติ เช่น แมวหรือนกล่าเหยื่อต่างๆ เช่น เหยี่ยว คอย ขับไล่นกศัตรูข้าวไร่ การทำลายรังนก ไข่ หรือตัวอ่อน


4. การป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี (chemical control)
สารเคมีที่ทดสอบแล้วว่าใช้ได้ผลดี เป็นพวกสารไล่นก (bird repellent) ใช้พ่นให้ทั่วรวงข้าว เมื่อนกลงมากินจะเกิดอาการเข็ดและหนีไฟ สารเคมีดังกล่าวได้แก่ เมซูรอล (methiocarb 50% WP) ใช้ในอัตรา 120 กรัมต่อไร่ของสารออกฤทธิ์ หรือประมาณ 12 ช้อนแกงต่อไร่โดยผสมน้ำ 20 ลิตรหรือ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นครั้งแรกในระยะข้าวเป็นน้ำนม และหลังจากนั้นประมาณ 12 วัน จึงฉีดพ่นอีกครั้งหนึ่งจะได้ผลดีที่สุด


5. การป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน (integrated control)
เนื่องจากนกศัตรูข้าวเป็นสัตว์ที่มีการหาอาหารและครอบครองที่อยู่ได้มาก ดังนั้นการ
ป้องกันและกำจัดนก อาจจะต้องใช้หลายๆ วิธีดังกล่าวมาแล้วผสมผสานกันตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่และตามดุลยพินิจของผู้ที่จะทำการป้องกันและกำจัดแต่ละพื้นที่และตามดุลยพินิจของผู้ที่จะทำการป้องกันและกำจัด



3. กระต่ายป่าและการป้องกันกำจัด
กระต่ายป่าเท่าที่พบในเมืองไทยมี 1 ชนิด คือ Lepus siamensis โดยปกติแล้วกระต่ายเพศเมียจะให้ลูกปีละหลายครอก แต่ละครอกจะมีลูกอ่อนเฉลี่ย 3–4 ตัว มักจะทำลายข้าวไร่โดยเฉพาะช่วงที่ข้าวกำลังเป็นต้นอ่อน หรืองอกได้ประมาณ 1–2 สัปดาห์ โดยจะออกหากินในตอนเย็นและค่ำ ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือมูลที่หล่นอยู่ใกล้แหล่งอาหารที่ทำลาย

การป้องกันกำจัดอาจจะใช้ตาข่ายหรือกรงดัก กับดัก ตามทางที่กระต่ายป่าทิ้งร่องรอยไว้หรือทิศทางที่กระต่ายป่าเข้ามาหากินในแปลงข้าวไร่ อาจจะใช้ผ้าขาวหรือพลาสติกใสผูกติดปลายไม้แล้วปักเป็นระยะๆ ประมาณ 10–15 เมตรต่อ 1 จุด ตามแนวรอบๆ แปลงข้าวไร่ที่ติดชายป่า หรืออาจจะใช้กระดิ่งแขวนตามแนวรอบๆ แปลง เมื่อลมพัดเกิดเสียงดังทำให้กระต่ายป่ากลัวได้




http://www.brrd.in.th/rkb/data_002/rice_xx2-03_ricebreed_Hight05.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 4:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

278. ข้าวทอง

กระบวนการสร้างเบต้าแคโรทีนในเอนโดสเปิร์มของข้าวทอง เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องแสดงเป็นสีแดงข้าวทอง (golden rice) เป็นพันธุ์ข้าวที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยวิธีทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้ข้าวสามารถสังเคราะห์ สารเบต้าแคโรทีน (เป็นสารตั้งต้นของ วิตามินเอ) ได้ เพื่อใช้เป็นอาหารในแหล่งพื้นที่ที่มีการขาดไวตามิน เอ


การสร้างสายพันธุ์นายอินโก โปเตรคูส (Ingo Potrykus) แห่งสถาบันวิทยาการพืช สถาบันเทคโนโลยีสวิสเซอร์แลนด์ (the Institute of Plant Sciences at the ETH Zürich|Swiss Federal Institute of Technology) ร่วมกับ นายปีเตอร์ เบเยอร์ (Peter Beyer) แห่งมหาวิทยาลัยไฟรเบอร์ (Freiburg University) ได้ร่วมกันสร้างสายพันธุ์ข้าวทองขึ้น โดยโครงการได้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 และได้ตีพิมพ์ผลงานในปี ค. ศ. 2000 ซึ่งการสร้างสายพันธ์ข้าวทอง ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ ที่นักวิจัยสามารถปรับแต่งกระบวนการชีวสังเคราะห์ได้ทั้งกระบวนการ

พันธุ์ข้าวตามธรรมชาตินั้นมีการผลิตสารเบต้าแคโรทีนออกมาอยู่แล้วเพียงแต่สารนั้นจะอยู่ที่ใบ ไม่ได้อยู่ในส่วนของเอนโดสเปิร์ม ซึ่งอยู่ในเมล็ดข้าว พันธุ์ข้าวทองนั้นถูกสร้างขึ้นโดยการต้ดต่อยีนสังเคราะห์เบต้าแคโรทีน ไพโตนซินเตส (phytoene synthase) จาก ต้นแดฟโฟดิล (daffodil) และ ซีอาร์ทีหนึ่ง (crt1) จาก แบคทีเรีย เออวินเนีย ยูเรโดวารา (Erwinia uredovara) เข้าไปในจีโนมของข้าวตรงส่วนที่เกี่ยวข้องกับเอนโดสเปิร์ม จึงทำให้ข้าวที่ได้มีเบต้าแคโรทีน อยู่ในเอนโดสเปิร์ม

หมายเหตุ ยีนที่เกี่ยวกับไลโคเพน ไซเคลส (lycopene cyclase) ซึ่งเดิมเชื่อว่าจำเป็นในกระบวนการนี้ด้วย แต่ภายหลังเชื่อว่า ไลโคเพน ไซเคลส ถูกสร้างขึ้นในเอนโดสเปิร์ม ตามธรรมชาติ

[แก้] การพัฒนาสายพันธุ์ต่อมาข้าวทองได้ถูกผสมกับสายพันธุ์ข้าวท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และ ข้าวอเมริกาพันธุ์โคโคไดร์ (Cocodrie)[3] การทดลองภาคสนามในไร่ของพันธุ์ข้าวทองครั้งแรก ถูกดำเนินการโดยศูนย์การเกษตร มหาวิทยาลัยรัฐหลุยเซียร์น่า (Lousiana State University) ในปี ค.ศ. 2004 การทดลองภาคสนามจะช่วยให้ผลการประเมินคุณค่าทางอาหารของพันธุ์ข้าวทองได้แม่นยำขึ้น และจากการทดลองในขั้นต้นพบว่าพันธุ์ข้าวทองที่ปลูกจริงในไร่มีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนมากกว่าที่ปลูกในเรือนกระจกราวๆ 4 ถึง 5 เท่า

ปีค.ศ. 2005 ทีมนักวิจัยของบริษัทซินเจนต้า (Syngenta) ได้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวทองขึ้นมาอีกสายพันธุ์ ชื่อว่า พันธุ์ข้าวทอง 2 (Golden Rice 2) โดยการรวมเอาไฟโตนซินเตสยีนจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับซีอาร์ทีหนึ่งของพันธุ์ข้าวทองเดิม พันธุ์ข้าวทอง 2 นี้มีรายงานว่าสามารถให้คาโรตินอยด์ได้มากถึง 37 µg/g หรือ มากกว่าพันธุ์ข้าวทองดั่งเดิมได้ถึง 23 เท่า


นายอินโค โปไตรคูส คาดว่าสายพันธุ์ข้าวทองน่าจะผ่านปัญหาเรื่องการกฎระเบียบต่างและสามารถที่จะออกสู่ตลาดได้ในปี ค.ศ. 2012



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 4:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

279. ข้าวสีทอง ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาขาดวิตามิน เอ


กรีนพีซเปิดเผยรายงาน ณ การประชุมข้าวนานาชาติในวันนี้ ซึ่งระบุว่าข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่เรียกกันในชื่อ “ข้าวสีทอง” จะไม่ช่วยแก้ภาวะขาดวิตามิน เอ (VAD) ในรายงานยังได้ระบุถึงวิธีการที่ประสบผลสำเร็จในการลดผลกระทบของภาวะขาดวิตามินเอ ทั่วโลก รวมถึงรายละเอียดของ “ข้าวสีทอง” และเงินทุนที่เสียไปทั้งๆที่ควรจะนำมาใช้เพื่อลดปัญหาการขาดวิตามิน เอ ด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ข้าวสีทองถูกพัฒนามากว่า 20 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาภาวะขาดวิตามิน เอ ได้ นอกจากนี้ยังเป็นการใช้ทรัพยากรและเงินทุนจำนวนมหาศาล ทั้งๆที่สามารถนำทรัพยากรดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปัญหาที่แท้จริงได้ และยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการไร้ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอสามารถปนเปื้อนไปยังพืชปกติได้หากปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม

“การเข้ามาของข้าว จีเอ็มโอ ในภูมิภาคเอเชียจะส่งผลกระทบต่อสายพันธุ์ข้าวพื้นเมือง รวมถึงสายพันธุ์ข้าวป่าดั้งเดิมและยังลดศักยภาพในการใช้สายพันธุ์ข้าวพื้นถิ่นในอนาคต นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปยังวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวทั้งหมด” ดร. จาเน็ท คอตเตอร์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ห้องวิจัย กรีนพีซกล่าว

การดูดซึมวิตามิน เอ ในร่างกายต้องการมากกว่าการที่มีส่วนประกอบของสารประกอบโปรวิตามิน เอ pro-vitamin A compounds อยู่ในอาหาร (โปรวิตามิน เอ มีอยู่ในข้าวสีทอง) อย่างเช่นร่างกายต้องการไขมันเพื่อเปลี่ยนโปรวิตามิน เอ ให้เป็นวิตามิน เอ ก่อนที่ร่างกายจะนำไปใช้

ในทางกลับกัน ปัจจุบันได้มีวิธีการอื่นที่ถูกมาใช้เพื่อแก้ปัญหาการขาดวิตามิน เอ ทั่วโลก ความหลากหลายทางอาหารได้ช่วยขจัดการขาดแคลนสารอาหารเชิงซ้อน ในกรณีนี้ การปลูกผักในสวนสามารถช่วยให้มีความหลากหลายของอาหารขึ้นได้หรือแม้กระทั่งการทานอาหารเสริมอย่างวิตามินและแร่ธาตุ วิตามิน เอ เสริมในรูปแคปซูลก็สามารถทำได้อย่างมีระสิทธิภาพทั้งในระยะสั้นและในช่วงเวลาหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะขาดแคลนวิตามิน เอ ก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งไม่ใช่เกิดจากการขาดวิธีการรับมือกับปัญหาการขาดวิตามิน เอ แต่เป็นเพราะการขาดเสถียรภาพทางการเมือง การขาดเงินทุนและเจตจำนงทางการเมืองที่จะลงมือทำ

“กว่า 20 ปีและการสูญเสียเงินไปหลายล้านเหรียญฯ ข้าวสีทองก็ยังเป็นเพียงภาพลวงตา ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น โลกของเราได้รับมือกับภาวะขาดแขลนวิตามิน เอ ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแล้ว วิธีการดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ว่าประสบผลสำเร็จและพร้อมใช้งาน ส่วนข้าวสีทองนั้นเป็นเพียงมายา ซ้ำร้ายยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีความเสี่ยงด้านสุขภาพเหมือนกับพืช จีเอ็มโอ การสูญเสียเวลาและทรัพยากรด้านการเงินไปกับการพัฒนาข้าวสีทองนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นการไร้ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังก่อความเสียหายต่อมวลมนุษย์อีกด้วย” ดร. ชิโต เมดินา จาก MASIPAG กล่าว

IRRI หรือ สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ เป็นผู้นำในการพัฒนาข้าวสีทอง และสร้างเครือข่ายข้าวสีทองรวมทั้งยังอยู่ในตำแหน่งผู้ผลักดันอนาคตข้าว จีเอ็มโอ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวิตามิน เอ ที่ผิดโดยสิ้นเชิง

กรีนพีซต้องการให้ IRRI หยุดการทดลองข้าวสีทองในแปลงเปิดรวมถึงข้าวสายพันธุ์อื่นๆ มูลนิธิเกตส์ (Gates Foundation), ฮาเวสพลัส (HarvestPlus), มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ รวมถึงองค์กรและประเทศอื่นๆ ควรหยุดการให้เงินสนับสนุนเพื่อพัฒนาข้าวสีทองและข้าว จีเอ็มโอ สายพันธุ์อื่นๆ แล้วหันไปลงทุนกับการแก้ปัญหาการขาดวิตามิน เอ และเสริมสร้างศักยภาพของผู้ที่อยู่ในภาวะดังกล่าว


หมายเหตุ

1. ดาวน์โหลดรายงาน “Golden rice’s lack of lustre” ได้ที่ http://www.greenpeace.org/Golden-rice-report-2010

2. การประชุมข้าวนานาชาติ (The International Rice Congress) จัดขึ้นที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 12 พฤศจิกายน ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.ricecongress.com

3. MASIPAG เป็นองค์กรภาคประชาชนซึ่งนำโดยเครือข่ายเกษตรกร องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในประเทศฟิลิปปินส์ในประเด็นด้านควายั่งยืนและการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการควบคุมสายพันธุ์โดยเกษตรกรและทรัพยากรทางชีวภาพ ผลผลิตทางการเกษตรและภูมิปัญญา www.masipag.org



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000159584
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 20/08/2011 4:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

280. ทุนวิจัยข้าวสีทอง


ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 15-21 เมษายน 2554
ข่าวหมวดทุนวิจัย Golden rice funds


มูลนิธิบิล และ เมลินดา เกตส์ ได้มอบทุนวิจัยจำนวน 18.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการวิจัยการตัดต่อพันธุกรรมข้าวและมันสำปะหลังเพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางอาหาร องค์กรวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute, IRRI) ณ เมือง ลอส บายอส ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นหน่วยงานที่ชนะได้รับทุนวิจั จำนวน 10.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อวิจัยพัฒนาข้าวสีทอง เพื่อให้มีวิตามินเอเพิ่มข้น มีความหวังว่าข้าวชนิดนี้จะได้รับอนุมัติในกฎระเบียบของประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2013 และของประเทศบังคลาเทศ ในปี 2015

ส่วนอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับทุนวิจัย คือ Donald Danforth Plant Science Center ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี่ ได้รับทุนวิจัย 8.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อวิจัยในโครงการ BioCassava Plus ที่จะวิจัยให้เพิ่มสารอาหารวิตามิน เอ ธาตุเหล็ก และโปรตีน ศูนย์วิจัยนี้หวังว่าการปรับปรุงมันสำปะหลังให้ดีขึ้นนี้ จะได้รับอนุมัติจากประเทศเคนยา และประเทศไนจีเรีย ในปี 2017



อ้างอิง : . (2011). Seven days : The News in brief. Nature., 472 (7343),264 – 265.

http://www.nature.com/news/2011/110420/pdf/472264a.pdf



http://www.stks.or.th/blog/?p=9540
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 10 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©