-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 8, 9, 10 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 7:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 9

ลำดับเรื่อง....

231. ความหมายและประเภทของจุลินทรีย์
232. ดักจับเชื้อจุลินทรีย์ ศาสตร์แห่งภูมิปัญญา ที่ชุมชนตลุกมะไฟ
233. ความเป็นมาของปุ๋ยชีวภาพ
234. ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ
235. แนวทางการใช้ปุ๋ยชีวภาพในอนาคต

236. องค์ความรู้เรื่องอะตอมมิคนาโน จากท้องทุ่ง
237. นวัตกรรมอินทรีย์ชีวภาพที่ค้นพบ
238. กาแฟสดขี้ชะมดแก้วละ 500-1,500 บาท กก.ละ 1 แสน
239. "กาแฟขี้ชะมด" สุดยอดกาแฟ "แพงที่สุดในโลก" ทำอย่างไร ?
240. กาแฟขี้ชะมดป่า ดอยช้าง (Doi Chang Wild Civet Coffee)

241. การตัดข้าวปน (เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว)
242. การทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว
243. การปรับปรุงความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว
244. อนาคตข้าวขาวดอกมะลิในภาวะโลกร้อน
245. ทุ่งรวงทอง : ความหวังของผืนดิน

246. ไฮเบอร์รี่ Hiberry รำข้าวเมล็ด
247. สวยด้วยข้าวเหนียวดำ
248. ไทยขาดนักวิจัยข้าว
249. แหนแดง | ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
250. คนอีสานแชมป์ "เบาหวาน" ปิ๊งไอเดีย...ใช้ "พญาข้าว" ต้านโรค

251. เวียดนามทำสำเร็จ คัดพันธุ์ข้าวสู้ไต้ฝุ่น ภัยแล้ง และดินเค็ม
252. 10 พันธุ์ข้าว รัฐงดรับประกันฯ
253. ข้าววัชพืช หรือ ข่าวดีด
254. เครื่องปลิดฝักข้าวโพด
255. เครื่องกะเทาะข้าวโพดที่มีเปลือกหุ้ม


-----------------------------------------------------------------------------






231. ความหมายและประเภทของจุลินทรีย์


จุลินทรีย์ หรือ จุลชีวัน หรือ จุลชีพ (microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้อง
ใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภา
วะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือ
ภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือ
แม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจน



เื่รื่องจริงที่เพิ่งรู้
ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบต่อระบบการเพาะปลูกของประเทศไทย โดยตรงด้วยอุณหภูมิที่แปรปรวน และโดยทางอ้อมต่อปริมาณ
น้ำฝนและธาตุอาหาร โดยเฉพาะเมื่อฝนแล้งพืชจะดูดธาตุอาหารจากดินได้ยากขึ้น หากมีการจัดการในระบบเกษตรนิเวศให้ปลด
ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดน้อยลงก็จะมีส่วนช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนได้ทางหนึ่ง

ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงสนับสนุนทุนวิจัยแก่กลุ่มวิจัยทรัพยากรพันธุกรรมและธาตุอา
หารพืช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งนำโดย ศ.ดร. เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ที่ได้ศึกษาถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วม
กันอย่างพึ่งพากับพืช และพบว่าทั้งเชื้อราและแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับพืชในท้องถิ่นหลายชนิด สามารถช่วยสู้โลกร้อนได้ทั้งในการ
ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยพืชดูดน้ำดูดอาหารในดินเลวยามที่เกิดแล้ง

จุลินทรีย์ที่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ มีทั้งเชื้อราและแบคทีเรีย เชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่าที่อยู่ร่วมกับไม้พื้นเมือง
โตเร็วซึ่งเป็นพืชบำรุงดินในที่สูง เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่าต้นปะดะ หรือตีนเต้า หรือตองเต้า ช่วยในการสะสมธาตุอาหาร ประชากร
ของเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่าพื้นเมืองที่หลากหลาย ช่วยให้ต้นปะดะเจริญเติบโตได้ดี เท่ากับดินที่อุดมด้วยฟอสฟอรัส และดีกว่า
เมื่อไม่มีเชื้อ และขาดฟอสฟอรัส ทำให้ป่าในพื้นที่ที่มีดินเลวฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกคาร์บอนไดออกไซด์
โดยสะสมมวลชีวะได้มากกว่าที่ไม่มีตัวช่วยถึงหนึ่งเท่าตัว

ศ.ดร. เบญจวรรณ กล่าวว่า จุลินทรีย์ที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่ง คือ แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในต้นอ้อย
ซึ่งสามารถดึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ยอ้อยได้ จึงช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนในอ้อยให้เหลือเพียงหนึ่งในสามหรือ
หนึ่งในสี่ของที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในประเทศไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้ อ้อยเป็นพืชพลังงานที่หลายคนหวังว่าจะช่วยลดการเผาผลาญพลัง
งานปิโตรเลียมได้ส่วนหนึ่ง การลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในอ้อยนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตพลังงาน
เอทานอลแล้ว ยังจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ซึ่งมีฤทธิ์ในการก่อภาวะเรือนกระจกมากกว่าก๊าซคาร์บอน
ไดออกไซด์ถึง 320 เท่า


ในชั้นต้นนี้กลุ่มวิจัยฯ กำลังพัฒนาระบบการคัดเลือกท่อนพันธุ์อ้อย ให้มีความสามารถสูงในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และร่วมมือ
กับโครงการปรับปรุงพันธุ์อ้อย เพื่อคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่ประหยัดปุ๋ยไนโตรเจนและช่วยลดโลกร้อนไปพร้อมๆ กับการเลือกลักษณะดีอื่นๆ
เช่น การให้ผลผลิตน้ำตาลสูง ทนต่อโรคและแมลงสำคัญ และการปรับตัวต่อพื้นที่ปลูกเฉพาะถิ่น


การปรับระบบการเพาะปลูกเพื่อสู้โลกร้อนอีกทางหนึ่ง คือ การลดผลกระทบจากภูมิอากาศที่แปรปรวนและเปลี่ยนแปลงไป กลุ่มวิจัยฯ
ได้พบว่าเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่า ช่วยให้ต้นกล้าไม้ยืนต้นหลายชนิด ตั้งแต่พืชในตระกูลส้ม เช่น ส้มเขียวหวาน มะนาว ส้มโอ
ตลอดจนกาแฟ และยางพารา เจริญเติบโตได้ดี นอกจากทำให้กล้าไม้โตเร็วแล้ว เชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่าที่อยู่ตามรากจะมีส่วน
ช่วยในการดูดน้ำและอาหาร ช่วยการตั้งตัวและอยู่รอดเมื่อนำกล้าออกลงปลูกในแปลง และช่วยให้ต้นไม้ทนต่อการขาดน้ำและขาดธาตุ
อาหารในยามฝนแล้งในปีต่อๆไป


การผลิตหัวเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่าเพื่อใช้ในการเพาะกล้าไม้ทำได้ง่ายๆ ในรากของพืชพื้นบ้านหลายชนิดที่ให้ผลดีไม่ต่างจาก
รากของต้นปะดะ ที่แม้จะปลูกยากเล็กน้อย เพราะเมล็ดงอกยากและต้นกล้าโตช้า แต่มีข้อดีคือเป็นไม้ยืนต้น อยู่ได้หลายปี อีกทั้งใบ
ยังเป็นปุ๋ยอย่างดีด้วย เช่น ไมยราบเลื้อย หรือ ถั่วพุ่ม แต่บางพืชก็อาจไม่เหมาะสำหรับใช้ผลิตหัวเชื้อสำหรับเพาะกล้าไม้บางชนิด เช่น
หัวเชื้อที่ผลิตในรากลูกเดือยไม่เหมาะกับกล้ายางพารา เพราะให้ผลแทบจะไม่ต่างจากการไม่ได้ปลูกเชื้อ จึงจำเป็นต้องทดลอง
ก่อนว่าพืชชนิดใดเหมาะกับการผลิตกล้าของไม้ชนิดใด สำหรับภาคเหนือ ไมยราบเลื้อยที่ขึ้นอยู่ดาษดื่นนับว่ามีศักยภาพในการ
ผลิตหัวเชื้อดีมากอย่างหนึ่ง เพราะหาง่าย ขึ้นง่ายติดเชื้อเร็ว และสร้างสปอร์ของสายพันธุ์เชื้อราที่หลากหลาย


ประเทศไทยร่ำรวยทรัพยากรพันธุกรรมทั้งพืชและจุลินทรีย์ที่รอให้นำมาใช้ เพียงแต่ตัวช่วยอาจซ่อนเร้นอยู่ไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด
เหมือนในกรณีของเชื้อราอาร์บัสคูล่าร์ไมโคไรซ่า ที่ช่วยดูดน้ำดูดธาตุอาหาร หรือแบคทีเรียที่ดูดไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ย
อ้อยได้โดยไม่ต้องซื้อ ความรู้วิชาการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของเรา จึงสำคัญยิ่งในการปรับระบบการเพาะปลูกของประเทศใน
ยุคโลกร้อน ศ.ดร. เบญจวรรณ กล่าวสรุป


ที่มาของข้อมูล : ฝ่ายงานสื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย www.trf.or.th




จุลินทรีย์แบ่งออกกลุ่มตามขนาด รูปร่าง และคุณสมบัติ


เราอาจแบ่งจุลินทรีย์ออกเป็นกลุ่มตามขนาด รูปร่างและคุณสมบัติอื่นๆ ได้ดังนี้

๑. เชื้อไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่ขนาดเล็กที่สุดต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายเป็นหมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ เรายัง
ไม่สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสได้ในอาหารเพาะเลี้ยง เชื้อไวรัสเจริญเพิ่มจำนวนได้เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ตัวอย่างโรคที่
เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ ไข้ทรพิษ พิษสุนัขบ้า ไขสันหลังอักเสบหรือโปลิโอ หัด คางทูม และอีสุกอีใส เป็นต้น

๒. เชื้อบัคเตรี มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อไวรัส สามารถมองเห็นได้เมื่อส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา

๓. เชื้อรา (fungus) มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อบัคเตรี พบว่ามีรูปร่าง 2 แบบ คือ ราแบบรูปกลม เรียกว่า ยีสต์ และราแบบเป็นสาย เรียกว่า
สายรา ราบางชนิดจะมีรูปร่างได้ทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ เราอาจมองเห็นกลุ่มของเชื้อราได้ด้วยตาเปล่า ราบาง
ชนิดจะสร้างสปอร์สำหรับสืบพันธุ์เกิดเป็นเห็ดขึ้น

๔. เชื้อปรสิต (parasite) เป็นจุลชีพที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่าพืช ภายในเซลล์แยกออกเป็นนิวเคลียส
และไซโทพลาซึม (cytoplasm) ชัดเจน แบ่งย่อยออกไปอีกเป็น สัตว์เซลล์เดียว หนอนพยาธิ และอาร์โทรพอด (arthropod)
ตัวอย่างเชื้อปรสิต ได้แก่ เชื้อบิดอะมีบา เชื้อมาลาเรีย พยาธิตัวกลม พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ตัวหิดและตัวโลน เป็นต้น เมื่อเชื้อโรคเข้า
สู่ร่างกายระยะแรกจะมีจำนวนไม่มากพอที่จะก่อโรคจะต้องอาศัยช่วงระยะเวลาหนึ่งแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แล้วปรากฏอาการโรคภายหลัง
ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จนกระทั่งปรากฏอาการโรค เรียกว่า ระยะฟักตัว




บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร
เกษตรธรรมชาติ ถือว่า “ดินดี คือ ดินที่มีชีวิต” เป็นดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน สมดุลของจุลินทรีย์ที่
อยู่ในดินสภาพธรรมชาติก็คือ ความเหมาะสมในด้านของจำนวนจุลินทรีย์ และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ดินที่เหมาะสมที่สุดในการ
ทำการเกษตรคือ ดินที่มีจุลินทรีย์อยู่หลายกลุ่ม ตัวอย่างของดินดีชนิดหนึ่งคือ “ดินป่า” นั่นเอง



ในอดีตสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีอยู่ในดินป่า ในป่าซึ่งมีสารอินทรีย์ในรูปใบไม้หรือซากพืชซากสัตว์ที่เพิ่มลงไปกับประมาณธาตุ
อาหารพืชที่ถูกนำไปใช้และถูกเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตออกไปจากพื้นที่ที่สมดุลกัน ก็คือ มีธาตุอาหารพืชที่ถูกใช้ไปกับส่วนที่เพิ่มเติมลงมา
ในดินเท่ากัน จากการที่มีเศษซากอินทรียวัตถุหล่นลงดินหรือที่พืชตรึงไนโตรเจนจากอากาศลงสู่ดิน โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวช่วยในกระบวน
การย่อยสลายและเปลี่ยนรูปธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์ เป็นกระบวนการที่เรียกว่าการนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตและ
สร้างผลผลิต ผลิดอกออกผลเป็นดอกไม้ ผัก ผลไม้ และอื่นๆ ส่วนสิ่งที่ถูกนำออกมาจากพื้นที่นั้นๆ คือธาตุอาหารพืชที่สูญเสียไปจากดิน
ซึ่งในพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ เกษตรกรมักจะนำผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ออกมาจากพื้นที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงปริมาณธาตุอาหาร
พืชที่จะเพิ่มเข้าไปในพื้นที่ ทำให้พื้นที่ที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกิดความไม่สมดุลกัน จึงมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
เสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ



จุลินทรีย์มีบทบาทอย่างมากในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการแปรสภาพอินทรียวัตถุในดินให้กลายเป็นธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์
กับพืช โดยจุลินทรีย์จะมีขั้นตอนของความหลากหลายในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีหลายชนิด แต่
ละชนิดก็มีปริมาณที่มาก ซึ่งมีหน้าที่และบทบาทต่อกระบวนการต่างๆ ในดินแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่าจุลินทรีย์ก็คือ ตัวการ
ที่จะทำให้สารอินทรีย์จากซากพืชซากสัตว์ย้อนกลับไปเป็นธาตุอาหารพืชใหม่ได้อีกครั้ง นั่นคือทำให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารพืช
ในดิน ดังนั้นดินป่าจึงมักมีอินทรียวัตถุอยู่สูงมีการหมุนเวียนในระบบนิเวศอย่างสมดุล แต่ในปัจจุบันการทำการเกษตรมีการใช้ปุ๋ยเคมีกัน
มากเพราะความต้องการผลผลิตที่มากขึ้น เมื่อต้องการผลผลิตมากขึ้นก็จำเป็นต้องนำเอาปัจจัยการผลิตอื่นๆ ใส่เข้าไปเพิ่มมากขึ้น ทำ
ให้เกิดปัญหาการใช้อย่างไม่สมดุล เป็นการใช้อย่างทำลายมากกว่า จะเห็นได้จากกรณีการเปิดป่า หรือการนำพื้นที่มาใช้จะเริ่มต้น
ด้วยการเผา ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ส่วนหนึ่งตายไป และอินทรีย์วัตถุส่วนหนึ่งหายไป ส่วนทีเคยอยู่ในระบบก็หายออกไปอยู่นอกระบบ เมื่อ
จุลินทรีย์หลายชนิดตายไปอีกหลายชนิดก็ลดจำนวนลง อัตราการเกิดกระบวนการหมุนเวียนย้อนกลับไปเป็นปัจจัยการผลิตก็ลดน้อยลง



ทันทีที่เปิดหน้าดินทำลายพืชที่ปกคลุมผิวดิน เกษตรกรก็จะเริ่มทำการเผาก่อน สิ่งทีหายไปคืออินทรียวัตถุในดิน ชนิดของจุลินทรีย์
และปริมาณของจุลินทรีย์ เมื่อปลูกพืชต่อเนื่องไปได้ 2-3 ปี จะสังเกตเห็นได้ว่าผลผลิตที่ได้เริ่มลดลงและเพาะปลูกไม่ได้ผล ต้นทุน
การผลิตสูงขึ้นเพราะดินไม่ดี โรคแมลงศัตรูพืชมากขึ้นต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่สูงมากขึ้น นั่นคือการขาดความสมดุลในพื้นที่ การทำ
การเกษตรในบางพื้นที่จะทิ้งพื้นที่บริเวณนั้นไว้ 3-5 ปี จนกระทั่งอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้นพื้นดินจึงฟื้นกลับมามีความสมดุลอีกครั้ง ที่
เป็นเช่นนั้นเพราะการปล่อยพื้นที่ไว้โดยไม่เข้าไปยุ่ง จะทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ เจริญเติบโต และตายลงสลายตัวกลายเป็นธาตุอาหารพืช
ย้อนกลับสู่ดิน และจากสารอินทรีย์ที่รากพืชปลดปล่อยออกมาในบริเวณใกล้ๆ ราก สิ่งเหล่านี้จะชักนำให้จุลินทรีย์เพิ่มจำนวนขึ้นและ
เกิดความหลากหลายของจุลินทรีย์อีกครั้ง นอกจากนี้ยังชักนำให้มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในดินตามมา ทำให้ดินในพื้นที่นั้นกลับมาสมบูรณ์อีก
ครั้ง ฉะนั้นถ้าให้เวลาธรราชาติสัก 3-5 ปี ทุกอย่างจะพื้นคืนสภาพได้เอง แต่ในปัจจุบันเกษตรกรไม่สามารถรอเวลานั้นได้ เนื่อง
จากพื้นที่มีจำกัดและความต้องการผลผลิตที่รวดเร็วและปริมาณมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ ดังนั้นระบบเกษตร
แผนปัจจุบันจึงเลือกใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการแก้ปัญหานี้ ในขณะที่ระบบเกษตรธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์จะใช้วิธี
การที่ดีกว่าคือ เติมปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะอินทรีย์ต่างๆ ที่สามารถนำมากลับมาใช้ได้ใหม่ และเพิ่ม
จุลินทรีย์ธรรมชาติเข้าไปด้วย



จุลินทรีย์ที่มีบทบาทต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน
จุลินทรีย์มีหลายชนิดได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซีส และสาหร่าย แต่ละชนิดจะมีบทบาทและกิจกรรมต่อความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่

1. แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อรา โปรโตซัว และ สาหร่าย มีรูปร่างแบบง่ายๆ 3 รูปร่าง
คือ กลม (Cocci) ท่อน (Rod) เกลียว (Spiral) ไม่มีรงควัตถุภายในเซลล์ คือ เซลล์มักจะใส มีทั้งเคลื่อนที่ได้และไม่เคลื่อนที่
เราสามารถแบ่งชนิดของจุลินทรีย์ได้หลายประเภทดังนี้ 1.1 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามช่วงอุณหภูมิ

ก. พวก Psychophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ
ข. พวก Mesophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิปานกลางมีอยู่มากในดินส่วนใหญ่
ค. พวก Thermophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง


1.2 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามความต้องการออกซิเจน
ก. แบคทีเรียพวกที่ต้องการออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน

ข. แบคทีเรียพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่ไม่ออกซิเจน


1.3 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามลักษณะทางนิเวศวิทยา
ก. Autochthonous (Indigenous Group) เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ดั้งเดิมในธรรมชาติ ได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ อยู่ได้
โดยไม่ต้องมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก แบคทีเรียกลุ่มนี้จะมีปริมาณคงที่ทุกฤดูกาล

ข. Zymogenous (Fermentation Producing Group) เป็นแบคทีเรียที่สามารถแปรรูปสารเคมีต่างๆ ได้โดยขบวนการหมัก
(Fermentation) ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หลายอย่าง แต่กลุ่มนี้มีอยู่ตามธรรมชาติน้อยมาก จะเพิ่มจำนวนเมื่อมีการเพิ่มสารอาหารและ
แหล่งพลังงานจากภายนอก


1.4 แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามการสร้างอาหาร
ก. Autotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอน (C) จากกาซคาร์บอนไดออก
ไซด์ (CO2) และสารประกอบอินทรีย์อื่นๆ เช่น HCO3

ข. Heterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอนจากอินทรีย์คาร์บอนหรือสารประกอบอินทรีย์ทั่วไป

ค. Chemotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมี และขบวนการออกซิเด
ชั่นของสิ่งมีชีวิต (Biological Oxidation)

ง. Chemoheterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากอินทรีย์สาร

จ. Phototrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้พลังงานจากการสังเคราะห์แสง


แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ที่พบเป็นจำนวนมากที่สุดในจุลินทรีย์ทั้งหมด โดยจำนวนแบคทีเรียคิดเป็น 50% ของน้ำหนักจุลินทรีย์ทั้ง
หมด และมีกิจกรรมคิดเป็น 95% ของจุลินทรีย์ทุกชนิดรวมกัน พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ จัดได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีบทบาทอย่าง
มากในธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต



2. เชื้อรา (Fungi)
2.1 ยีสต์ เป็นเชื้อราซึ่งมีลักษณะแปลกตรงที่ มีการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพเซลล์เดียว (Unicellular) แทนที่จะเจริญเป็นเส้นใยเหมือน
เชื้อราอื่นๆ ทั่วไป จริงอยู่แม้ยีสต์บางชนิดมีการสร้างเส้นใยบ้าง แต่ก็ไม่เด่นเช่นเชื้อรา ปกติยีสต์เพิ่มจำนวนและแบ่งเซลล์โดยการแตก
หน่อ (Budding) เซลล์ยีสต์จะใหญ่กว่าแบคทีเรียและมีนิวเคลียสที่เห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ในเซลล์ยีสต์เรามักจะสังเกตเห็นแวค
คูโอล (Vacuole) ขนาดใหญ่ พร้อมทั้งเม็ดสาร (Granule) ต่างๆ ในไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) อยู่เสมอ

2.2 ราเส้นใย เป็นจุลินทรีย์ที่มีการพัฒนามาดำรงชีวิตอยู่ในสภาพหลายเซลล์ (Multicellular) โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะ
การเจริญเป็นเส้นใย (Hyphae) ซึ่งอาจมีผนังกั้น (Septate Hypha) หรือไม่มีผนังกั้น (Non Septate Hypha หรือ Coenocytic
Hypha) เชื้อราเป็นจุลินทีรย์ที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันมากในด้านขนาดรูปร่างของโครงสร้างและระบบการสืบพันธุ์
โดยทั่วไปเชื้อรามีการสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีทั้งสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Spores) และสปอร์แบบอาศัยเพศ
(Sexual Spores)


3. แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes) เป็นจุลินทรีย์จำพวกเซลล์เดี่ยวที่มีลักษณะคล้ายคลึงทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา โดยมีขนาด
เล็กคล้ายแบคทีเรีย แต่มีการเจริญเป็นเส้นใยและสร้างสปอร์คล้ายเชื้อรา มีเส้นใยที่ยาวเรียวและอาจจะแตกสาขาออกไปเส้นใย
เรียกว่า Hyphae หรือ Filaments

4. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue Green Algae หรือ Cyanobacteria) แตกต่างจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นตรงที่มีคลิโรฟิลล์มัก
เห็นเซลล์เป็นสีเขียว เซลล์เป็น Procaryote ซึ่งเหมือนกับแบคทีเรีย และมีสาร Mucopeptide เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์
เช่นเดียวกับแบคทีเรีย สาหร่ายพวกนี้ไม่มีคลอโร พลาสต์ ดังนั้นคลอโรฟิลล์จึงกระ
จายอยู่ทั่วไปในเซลล์




บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร
จุลินทรีย์มีหลายชนิต ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซิท สาหร่าย โปรโตซัว ไมโครพลาสมาโรติเฟอร์ และไวร้ส เป็นต้น บท
บาทและความสำคัญของจุลินทรีย์มีอยู่มากมายดังนี้

1. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การเป็นประโยชน์และการเกิดโรค จุลินทรีย์หลายชนิดอาจเป็น สาเหตุของโรคพืชและสัตว์
ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร แต่ในสภาพธรรมชาติจุลินทรีย์ที่มีอยู่อย่างหลากหลายจะมีการควบคุมกันเองในวัฏ
จักรของสิ่งมีชีวิต มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ป้องกัน กำจัด และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นรวมทั้งจุลินทรีย์ที่
เป็นสาเหตุของโรคพืช

2. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญในการหมุนเวียนทรัพยากรให้ใช้ประโยชน์ได้ใหม่ในวัฏจักรของธาตุอาหารโดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่
ย่อยสลายวัสดุสารอินทรีย์ต่างๆ (Organic Decomposition) ให้เป็นธาตุอาหาร เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ของ
สารอินทรีย์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทางการเกษตร ให้กลับอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
โดยกระบวนการย่อยสลายหรือสังเคราะห์สารชนิดอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ในธรรมชาติ เช่น การย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ในดินให้อยู่
ในรูปฮิวมัส เปลี่ยนจากรูปสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ (Mineralization) เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชได้แก่
กระบวนการตรึงไนโตเจน (N2 Fixation) โดยจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
เช่น แหนแดง และจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้ เช่น เชื้อไรโซเบียม


3. จุลินทรีย์หลายชนิดมีบทบาทในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เช่น จุลินทรีย์บางชนิดสามารถ
สร้างกรดอนินทรีย์ที่สามารถละลายแร่ธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช บางชนิดสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
หรือฮอร์โมน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และยังสามารถผลิตสารต่างๆ รวมถึงสารปฏิชีวนะ เอนไซม์ และกรดแลคติค เช่นแบค
ทีเรียบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Gramicidine และ Tyrocidine เชื้อราบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Pennicilin และ
Gliotoxin เชื้อแอคติโนมัยซิทบางชนิดสามารถสร้างสาร Actinomycin และ Aureomycin ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถใช้ใน
การยับยั้งเชื้อโรคต่างๆ และยังช่วยสนับสนุนปฏิกิริยาทางเคมีในดินให้เกิดขึ้นเป็นปกติได้ โยถ้าปราศจากเอนไซม์ปฏิกิริยาทางเคมีที่
ซับซ้อนในดินก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น




ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย ดร.อานัฐ ตันโช
ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
http://kpgroup.siam2web.com/?cid=402741


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 8:05 am, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 7:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

232. ดักจับเชื้อจุลินทรีย์ ศาสตร์แห่งภูมิปัญญา ที่ชุมชนตลุกมะไฟ


ชุมชนตลุกมะไฟ ต.แม่เปิน กิ่งอ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์ เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆที่คนทั่วไปยังไม่คุ้นชื่อ ทว่าหมู่บ้านนี้มีดีพอที่จะดึงดูดให้
คนที่มีใจใฝ่รู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ต้องเดินทางไปเรียนรู้แม้ระยะทางจะห่างไกลก็ต้องดั้นด้นมาให้ถึง

สองข้างทางก่อนถึงหมู่บ้านตลุกมะไฟเขียวขจีไปด้วยต้นไม้ขึ้นอยู่ตามสันเขารอบหมู่บ้าน ส่วนพื้นล่างมีพืชผลทางการเกษตรของชาว
บ้านขึ้นอย่างสมบูรณ์รอวันเวลาเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า มันเป็นเสมือนดั่งหนังตัวอย่างก่อนที่จะได้พบกับเรื่องราวจริงๆก่อนถึง
ที่หมาย

พี่สุด ลำภา ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม กล่าวว่า อันที่จริงหมู่บ้านตลุกมะไฟ เคยเป็นผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้าน
เริ่มต้นชีวิตอยู่กันอย่างพอเพียง ดินมีแร่ธาตุอาหารมากมาย จนกระทั่งชาวบ้านเริ่มรู้จักนำสารเคมีเข้ามาเพาะปลูก แรกๆได้ผลผลิตเต็ม
เม็ดเต็มหน่วยดี หลายๆปีต้องเพิ่มปริมาณการใช้เคมีกันอย่างเข้มข้น เกิดเป็นหนี้สินรุงรัง สุขภาพร่างกายอ่อนแอ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านได้หันกลับมาทบทวนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกครั้ง

หลังจากที่ได้ไปศึกษาดูงานจากหลายๆพื้นที่ เมื่อปี 2538 และเป็นจุดเริ่มต้นที่หันมาสนใจเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่การทำปุ๋ย
อินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ ทุกอย่างที่เกี่ยวกับสารอินทรีย์ แล้วนำกลับไปทดลองใช้ในแปรงจำนวน 1 ไร่ใช้เวลาเป็นปีดินจะร่วนรุยน้ำ
ซึมได้ง่ายปลูกพืชงอกงามดีเพราะมีธาตุอาหาร

จากจุดเริ่มต้นเล็กๆเมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้มีชาวบ้านให้ความสนใจแล้วรวมกันตั้งเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม
มีสมาชิกกว่า 600 กว่าคน มีหน่ายงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ต่างเข้ามาเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

พี่สุดบอกอีกว่า หัวใจสำคัญในการทำเกษตรอินทรีย์คือการผลิตสารอินทรีย์ใช้เอง ดังนั้นหัวเชื้อจุลินทรีย์เป็นส่วนผสมที่ขาดไม่ได้
และต้องใช้ในปริมาณมาก แต่หัวเชื้อจุลินทรีย์มีราคาแพง โดยสร้างปัญหาต่อเนื่องให้กับเครือข่ายฯมาโดยตลอด พวกเราจึงได้คิดค้น
หาวิธีที่จะช่วยลดรายจ่ายจากการซื้อหัวเชื้อจุลินทรีย์ การนำภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนมาใช้ นั่นก็คือการเพาะเชื้อราใบไม้สี
ขาวซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์พื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อการเพาะปลูกมาก

“เชื้อราใบไม้สีขาวมีลักษณะเป็นปุยสีขาวอาศัยอยู่ตามเศษซากพืช ทำงานร่วมกับมด ปลวก ไส้เดือน ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุให้
กลายเป็นธาตุอาหารของพืช ชุบชีวิตดินให้เป็นเหมือนป่าเปิดใหม่ มีธาตุอาหารที่สมบูรณ์ พบได้ตามป่าชื้นที่ไม่มีไฟไหม้ น้ำท่วม
ไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนใหญ่แล้วเราพบเห็นเชื้อจุลินทรีย์มากที่สุดในใต้ต้นไผ่ เพราะรากของไผ่มีรสหวานเป็นอาหารของ
เชื้อจุลินทรีย์” พี่สุดบอก และว่า

“การดับจับเชื้อจุลินทรีย์ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เริ่มจากการเปิดดูตามต้นไผ่หากพบราใบไม้สีขาว ให้นำข้าวหุงพอสุกๆดิบๆทิ้งไว้ให้
เย็น ตักใส่กล่องหรือกะลามะพร้าวปิดด้วยกระดาษขาว แต่ต้องเลือกกระดาษที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมี จากนั้นมัดปากกล่องให้สนิทนำ
ไปวางไว้ใกล้ๆกับเชื้อราใบไม้สีขาวใต้ต้นไผ่ เชื้อราใบไม้สีขาวจะเจาะเข้าไปกินข้าวในกล่องเอง

การดักจับเชื้อราใบไม้สีขาวถ้าจะให้ดีต้องจับช่วงหน้าหนาวหรือหน้าแล้ง ที่สำคัญทุกขั้นตอนต้องทำด้วยความสะอาด มิฉะนั้นเชื้อ
ราสีแดงหรือสีดำซึ่งเป็นเชื้อราที่ไม่มีประโยชน์จะเข้าไปกิน เมื่อวางกับดักครบกำหนด 4 วันให้เปิดกล่องดูหากพบเชื้อราใบไม้สีขาว
แสดงว่าการดักจับหัวเชื้อจุรินทรีย์ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์”

เมื่อได้เชื้อราใบไม้สีขาวแล้วให้นำมาผสมกับน้ำตาลสีรำคลุกเคล้าให้เข้ากันปิดฝาให้สนิท นำไปเก็บไว้ในที่ร่มไม่ให้โดนฝนหรือแสง
แดด ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน นำมาผสมกับน้ำสะอาดพอประมาณบีบเอาแต่น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ กรองเอาแต่น้ำซึ่งจะมีสีน้ำตาลเข้มที่
เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์อย่างดี หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้สามารถนำไปเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน สารไล่แมลง สารป้องกันเชื้อ
รา ฮอร์โมนสารเร่งการเจริญเติบโต

นางอัมพร บุตราช รองประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม บอกว่า จากการที่เราใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ไปเป็นส่วนผสมการทำ
แล้วจึงนำไปใส่นาข้าว สวนผลไม้ ผักสวนครัว ฯลฯ โดยเฉพาะเมื่อนำไปใส่ไร่ข้าวโพด โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมดินแล้วรองพื้นด้วย
ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินตามด้วยหยอดเมล็ดพันธุ์ เมื่อข้าวโพดงอกเป็นลำต้นให้หยอดปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินลงไปอีกประมาณ 3-4 ครั้ง ข้าว
โพดจะงามมากแต่ใบไม่เขียว ลำต้นแข็งแรง แล้วฉีดด้วยฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตและสารไล่แมลงประมาณ 3 ครั้ง จนถึงเก็บเกี่ยว
ข้าวโพดจะได้น้ำหนักดี รสชาดอร่อย เป็นที่ยอมรับของตลาดมาก

“นอกจากนี้เรายังนำหัวเชื้อจุลินทรีย์ไปเป็นส่วนผสมของสารดับกลิ่น โดยมีส่วนผสมของมะกรูด น้ำตาลสีรำ หมักทิ้งไว้ประมาณ 50
วันแล้วนำมาเติมน้ำสะอาดพอประมาณทิ้งไว้อีก 2-3 เดือน กรองเอาแต่น้ำ เท่านี้ก็ได้น้ำยาดับกลิ่นแล้ว จากนั้นก็นำไปล้างห้องน้ำ เท
ลงแหล่งน้ำเสีย นำไปซักผ้าหรือผสมน้ำล้างจานได้ผลดีเยี่ยม” นางอัมพร บอก

การดักจับเชื้อราใบไม้สีขาวมาทำเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์นั้น เป็นวิธีที่ง่ายๆอีกวิธีหนึ่งในการนำเอาความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไปผสมผ
สานกับวิถีทางธรรมชาติจนเกิดประโยชน์ การดักจับเชื้อจุลินทรีย์พื้นบ้านที่ศูนย์เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลมจึงเป็นตัวอย่าง
ที่น่าเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในชุมชนอื่นๆ ต่อไป



http://www.codi.or.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 8:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

233. ความเป็นมาของปุ๋ยชีวภาพ


ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก บนทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร พื้นที่ บางส่วนยื่นเข้าไปในทะเล
บางส่วนยื่นเข้าไปในแผ่นดิน จึงทำให้เกิดความหลากหลายทางภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์เรียกว่า ระบบนิเวศ มีความพร้อมด้วยทรัพยา
กรธรรมชาติ ที่ใช้ไม่หมด คือ แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น น้ำ ความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรเหล่านี้ ได้สั่งสมทรัพยากรอื่นๆให้เกิดขึ้น
และสั่งสมมาหลายล้านปี ก็คือ ความหลากหลายทางชีวภาพ มีสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ขนาดเล็กมากๆ จำพวกจุลินทรีย์ เชื้อรา พืชเซลล์เดียว
พืชชั้นสูง สัตว์ชั้นสูงต่างๆ

แม้ 40 กว่าปีที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศของเรา จะใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยและผิดพลาด จนแร่ธาตุต่างๆถูกนำไปจำหน่ายจนเกือบ
หมด ป่าไม้ถูกทำลาย จนเหลือเนื้อที่ป่าไม่ถึง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ จนทำให้พืช สัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ แต่ทรัพยากรที่มีคุณค่า หลาย
อย่างยังคงเหลืออยู่ อีกมาก หนึ่งในนั้น คือจุลินทรีย์

จุลินทรีย์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในการนำมาใช้ประโยชน์ในสังคมไทย เพราะมีการนำจุลินทรีย์มาใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ โดยวัฒนธรรม
การดำรงชีวิต ในด้านปัจจัยสี่ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย เพียงแต่ที่ผ่านมา การเรียนรู้และการถอดรหัสภูมิปัญญา
เหล่านี้ ไม่ได้รับความสนใจ ขาดการถ่ายทอด และถอดรหัสภูมิปัญญาไม่ถูกต้อง ด้วยแนวคิด วิธีการ และการให้คุณค่า

ในการทำเกษตรกรรม ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการใช้จุลินทรีย์ผ่านพิธีกรรมและความเชื่อในแต่ละสังคม
ได้ถูกถอดรหัสบิดเบี้ยวไป เช่น ป่าหัวไร่ ปลายนา หรือแหล่งจุลินทรีย์ธรรมชาติ ที่ชาวบ้านเรียกว่า ป่าดอนหอ ดอนปู่ตา โพนแม่ย่านาง
โพนเจ้าปู่ ที่ต้องนำแกลบไปให้แทนข้าวเปลือก เมื่อหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เป็นการต่อเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น ที่มีอยู่ในธรรมชาติ สอดคล้อง
กับการเลี้ยง จุลินทรีย์ ที่นำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

แนวคิดใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้การใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรกรรมของประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน และจุลินทรีย์ที่เหมาะสม ที่มีอยู่ใน
ประเทศไทย จึงทำให้เกิดนวัตกรรมการทำปุ๋ยจุลินทรีย์ ซึ่งได้มีการตั้งชื่อแตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยจุลินทรีย์นาโน ปุ๋ยจุลินทรีย์อะตอมมิกนาโน
ปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง ฯลฯ

เพื่อให้องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมนี้ เป็นนวัตกรรมที่เกิดการเรียนรู้และต่อยอด ในหมู่เกษตรกรไทย ผู้คิดค้น คือ อาจารย์กิตติ์ธเนศ
สังควรเศรษฐ์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเกษตรกร ในเครือข่ายสมาคมเครือข่ายวิสาห
กิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ และสมาคมเกษตรกร
ไทย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัดและภาคใต้ 3 จังหวัด และขยายผลสู่
เกษตรไทยทั่วประเทศต่อไป



ความหมายของปุ๋ยชีวภาพ
ก่อนจะกล่าวถึงปุ๋ยชีวภาพควรจะมีความเข้าใจถึงความหมายของคำว่าปุ๋ยก่อน ความหมายของปุ๋ยที่สั้นที่สุดนั้น ปุ๋ย หมายถึง วัสดุ
ที่ให้ธาตุอาหารแก่พืช ส่วนพระราชบัญญัติปุ๋ย 2518 ได้ให้คำจำกัดความปุ๋ยไว้ว่า “ ปุ๋ย” หมายถึง สารอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ไม่ว่า
จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใดหรือทำให้เกิดการเปลียนแปลงทางเคมี
ในดิน เพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช นักวิชาการปุ๋ยโดยทั่วไปสามารถจำแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ



ความเป็นมาและความสำคัญปุ๋ยอินทรีย์
สิบกว่าปีที่ผ่านมา อาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่เกษตรกรเอง ไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ เพราะราคาปุ๋ย ขึ้นลงตลอดเวลา
และมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคาผลผลิตทางการเกษตรอยู่กับที่ หรือถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง และระบบการค้าในปัจจุบัน

ช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ราคาปุ๋ยแพงมาก จึงมีกลุ่มเกษตรกร 9 จังหวัดภาคอีสาน รวมกันไปศึกษาการเกษตรต้นแบบ ที่ไม่
ใช้ปุ๋ยเคมี ที่สวนอินาดี จังหวัดตราด ที่ปลูกสละ จำนวนกว่า 400 ไร่ และบ่อเลี้ยงปลาทับทิม ขนาด 36 ไร่ อยู่กลางสวน เป็นสวน
ต้นแบบของการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำให้ลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยได้หลายเท่าตัว และยังส่งผลดีต่อผลผลิต ที่รสชาติหอมหวาน
ออกนอกฤดูกาล ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว

สวนอินาดี เป็นแปลงทดลองปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกว่า 7 ปี มีการขยายผลสู่การทำสวนส้มที่จังหวัดลำพูน การทำนากุ้งที่จังหวัด
ตราด และในปี 2549 นำมาทดลองใช้ในข้าว 9 จังหวัดภาคอีสาน มีจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด สกล
นคร ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และนครพนม ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นตามลำดับ และส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมในผืนนา ต้นข้าวเจริญเติบโต
แข็งแรง แตกกอดี รวงยาว เมล็ดเต็ม สมบูรณ์ ผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่า 600 กิโลกรัม ในปีที่ 2 และได้ผลผลิตสูงสุด 1200
กิโลกรัมต่อไร่ ที่ตำบลไร่ใต้ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ในปีที่ 3



ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง
ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสง เป็นการใช้จุลินทรีย์ให้เป็นผู้ผลิตปุ๋ยแก่พืช การทำปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ จึงเป็นการเลี้ยงจุลิน
ทรีย์ให้เจริญเติบโตเต็มที่และแตกตัวเป็นสปอร์จำนวนมากในปุ๋ย เพื่อนำไปใส่ลงในดินให้เจริญเติบโต แพร่พันธุ์ ทำงานร่วมกับจุลินทรีย์
ท้องถิ่น ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การเลี้ยงจุลินทรีย์ในดิน จึงต้องเตรียมอาหารให้สำหรับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไปใช้ระหว่างเจริญ
เติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ คืออินทรียวัตถุต่างๆ



การผลิตปุ๋ยอินทรีย์
จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง จึงไม่ใช่ การใช้จุลินทรีย์ไปย่อยอินทรียวัตถุ เพื่อให้เป็น แร่ธาตุที่จำเป็น คือ N P K ในการเจริญเติบโตของ
พืช เท่านั้น แต่เป็นการเลี้ยงจุลินทรีย์ไปสร้างอาหารให้กับพืช คือ กรดอะมิโน ที่พืชนำไปสร้างเป็นคลอโรฟิลล์ โดยตรง พืชจึงไม่ต้อง
นำไนโตรเจน (N) ไปสร้างกรดอะมิโนเอง จึงทำให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อการทำงานของจุลินทรีย์
ท้องถิ่น และสร้างความยั่งยืนของผืนดิน



ปัญหาเชิงวิชาการปัจจุบัน ทำให้เข้าใจว่า การตรึงไนโตรเจน คือการนำเอาก๊าซไนโตรเจนในอากาศ ที่มีอยู่มากถึง 79 % ให้
เป็นสารประกอบไนเตรท ให้พืชนำไปสร้างคลอโรฟิลล์ หรือสีเขียวของพืช โดยเชื้อรากลุ่มไรโซเบียม เป็นวิธีการใช้จุลินทรีย์ในดิน
สร้างปุ๋ยที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แต่การค้นพบ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ อีกชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ ที่เรียกว่า โปรโตซัว สังเคราะห์ด้วยแสงได้ สามารถนำ
เอาก๊าซไนโตรเจนในอากาศ มาเก็บไว้ในรูปของกรดอะมิโน ที่พืชสามารถนำไปสร้างคลอโรฟิลล์โดยตรง ไม่ต้องเสียพลังงานนำสาร
ไนเตรทมาสร้างกรดอะมิโนเอง จึงเป็นวิธีการตรึงไนโตรเจนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตของพืชมากกว่า


การเลี้ยงจุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ กลุ่ม Enterobacteria ที่ต้องการออกซิเจนน้อย 2 ชนิด คือ Klebsilla
variicola และ Enterobacter cowanii ตัวหนึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ อีกชนิดหนึ่งเป็นผู้อาศัย(Host)
ในวงจรชีวิต เพื่ออาศัยในช่วงเป็นสปอร์ มีวงจรชีวิต 72 ชั่วโมง อาหารที่เลี้ยงจะใช้อาหารที่มีน้ำตาล คือ กากน้ำตาล และอาหาร
ที่มีกรดอะมิโน คือ นม เพื่อเก็บรักษานมให้เก็บไว้ได้นานและย่อยโปรตีนและไขมันให้เล็กลง จึงหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง เรียกนม
ที่หมักแล้วนี้ว่า นมเปรียง กระตุ้นการเจริญเติบโต ระหว่างหมักด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่หมักด้วยผลไม้หลายชนิด แล้วนำมากลั่นที่
อุณหภูมิเหมาะสม เรียกน้ำที่กลั่นได้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระ


กระบวนการเลี้ยงจุลินทรีย์ เพื่อทำปุ๋ยจุลินทรีย์ มี 2 ขั้นตอน คือ
1. การทำน้ำหมักจุลินทรีย์
2. การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์


การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ เป็นขั้นตอนการเลี้ยงจุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อเพิ่มจำนวนและเจริญเติบโตต่อในปุ๋ยหมักจุลินทรีย์
โดยการหมักในถังทึบปิดสนิท เพราะเป็นช่วงที่จุลินทรีย์เจริญเติบโต โดยไม่ต้องการแสงและต้องการออกซิเจนน้อย


วิธีการทำปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง
วิธีการหมักน้ำหมักจุลินทรีย์ (ทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ได้ 1 ตัน)
1. เตรียมถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร ล้างทำความสะอาด สารเคมีตกค้างออกจากถัง

2. ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ ประกอบด้วย หัวเชื้อมิกซ์(ผง) 3 กิโลกรัม หัวเชื้อน้ำ 3 ลิตร และ จุลินทรีย์ก้อน 4 ก้อน มาใส่ลงในถัง 200 ลิตร

3. ชั่งนมเปรียง 20 กิโลกรัม กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม รำอ่อน 5 กิโลกรัม ใส่ลงไปในถัง ในข้อ 2

4. เติมน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น บ่อ สระ หรือหนองน้ำ ลงไปในถัง ประมาณ 1/3 ของถัง เขย่าให้สิ่งที่ใส่ลงไปผสมกัน แล้ว
เติมน้ำจนเกือบเต็มถัง เหลือช่องว่างไว้ ประมาณ 10 เซนติเมตร

5. เติมสารต้านอนุมูลอิสระลงไป 20 ซีซี. ปิดฝาให้สนิท วางไว้ในที่ร่ม 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง



วิธีการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ขยาย ( น้ำหมักจุลินทรีย์ 200 ลิตร จะได้น้ำหมักขยาย 4,000 ลิตร หรือ ทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ได้ 20 ตัน )
1. เตรียมถังปากกว้าง บรรจุน้ำขนาด 100–150 ลิตร
2. ตวงน้ำหมักจุลินทรีย์ จำนวน 1 ลิตร ต่อ น้ำ 20 ลิตร
3. ชั่งหรือตวงกากน้ำตาล นมเปรียง อย่างละ 2 ลิตร ต่อ น้ำหมักจุลินทรีย์ 1 ลิตร
4. คนให้เข้ากัน นำไปทำปุ๋ยหมัก หรือตั้งไว้ 1 คืน จะช่วยให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ดีขึ้น



การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ เป็นขั้นตอนการเลี้ยงจุลินทรีย์ลงในอินทรียวัตถุ ที่มีสารอินทรีย์และแร่ธาตุที่จำเป็นในการเจริญเติบโต
ของพืช ที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ และปรับตัวให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่จะนำปุ๋ยไปใส่ แหล่ง
สารอินทรีย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารอินทรีย์ที่จำเป็น ถ้าไม่มีอาจจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และการเจริญเติบ
โตของพืชที่ใส่ปุ๋ยนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก (มูลวัว มูลควาย มูลหมู) มูลไก่(แยกต่างหาก เพราะมีไนโตรเจนสูง) รำอ่อน และสารอินทรีย์
วัตถุอื่นๆที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น แกลบดิบ แกลบเผา หญ้าหรือฟางเน่า มูลตะกอนน้ำตาล ฯลฯ ในสัดส่วนที่เท่าๆกัน (ปริมาตร)
ผสมกับน้ำหมักจุลินทรีย์ หรือน้ำหมักจุลินทรีย์ขยาย ให้มีความชื้นเหมาะสม



วิธีการทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์
1. ชั่งหรือตวงวัตถุดิบหลัก ประกอบด้วย ปุ๋ยคอก มูลไก่ และรำอ่อน อย่างละ 1 ส่วน
2. ชั่งหรือตวงวัตถุดิบท้องถิ่น ที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น แกลบดิบ แกลบเผา กากตะกอนน้ำตาล ผักตบชวา ฟางเน่า ฯลฯ 1 ส่วน
3. คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ หรือน้ำหมักจุลินทรีย์ขยาย ให้เปียกชุ่ม ใช้มือกำแล้วเกาะกันเป็นก้อน ไม่มีน้ำไหล
เยิ้มออกมา
4. นำมากองบนพื้นซีเมนต์ เกลี่ยให้กองปุ๋ยสูง ประมาณ 15 เซนติเมตร หรือหมักในตะกล้าผลไม้ หมักไว้ 7–10 วัน ให้อุณหภูมิ
เย็นลงปกติ และมีเส้นใยสีขาว ขึ้นเต็มกองปุ๋ย นำไปใช้ได้



วิธีการใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์
การใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพแบบอื่นๆ เพราะเป็นการเลี้ยงจุลินทรีย์ ให้เจริญเติบโตในดิน จึงหลีกเลี่ยง

การใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืช มีวิธีการใช้ดังนี้
1. การหว่านปุ๋ยจุลินทรีย์อย่างเดียว ใช้ปุ๋ย 60–100 กิโลกรัมต่อไร่

2. การหว่านพร้อมกับคลุกน้ำหมักจุลินทรีย์ นำปุ๋ยจุลินทรีย์มาผสมกับน้ำหมักจุลินทรีย์ ประมาณ 5–6 ลิตร ต่อปุ๋ย 15 กิโลกรัม
นำไปหว่าน 60–100 กิโลกรัม(ปุ๋ยแห้งยังไม่ได้ผสมน้ำหมักจุลินทรีย์)

3. การหว่านและพ่นด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ หว่านปุ๋ย 60–100 กิโลกรัมต่อไร่ และพ่นด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ 20–30 ลิตรต่อไร่



ระยะเวลาในการหว่านปุ๋ยจุลินทรีย์
1. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยหว่านปุ๋ยให้ทั่วตามขนาดที่ต้องการ แล้วไถกลบ จะได้ปุ๋ยหมักไว้ในนาประมาณ 200 กิโลกรัม
2. ก่อนดำนาหรือหว่าน จึงไถ่พรวนหรือปั่น ก่อนดำหรือหว่าน
3. หลังดำ หรือหว่าน

ปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นการเลี้ยงจุลินทรีย์ให้เจริญเติบโตลงในดิน เพื่อสร้างอาหารให้พืช จะตรึงไนโตรเจนจากอากาศ เป็น
กรดอะมิโน สามารถสะสมไว้ในดินได้ ไม่ถูกทำลายง่าย เหมือนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศ โดยเชื้อรากลุ่มไรโซเบียม ที่ตรึงไนโตรเจน
อยู่ในรูปของ สารประกอบไนเตรท ยิ่งใส่ในดินนานและมีอินทรียวัตถุมากยิ่งเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์และอาหารพืช





http://www.saketnakorn.org/?name=knowledge&file=readknowledge&id=27


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/08/2011 9:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

234. ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ

นิยาม “ปุ๋ยชีวภาพ” คำว่า “ปุ๋ยชีวภาพ” (Bio-fertilizer) นั้นเป็นคำศัพท์ทางด้านปุ๋ยที่ใช้กันทั่วๆ ไปในหลักวิชาการปุ๋ยสากล โดยได้มี
การบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า biological fertilizer ซึ่งเป็นการนำคำว่า “ปุ๋ย” (fertilizer) หมายถึง ธาตุอาหารพืช กับ
คำว่า “ชีวภาพ” (Biological) หมายถึง สิ่งที่มีชีวิต มาสมาสกัน ดังนั้นเจตนาที่บัญญัติคำนี้ จึงให้หมายถึง “ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์
ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช” หรือเรียกว่า “ปุ๋ยจุลินทรีย์” ตามคำจำกัดความนี้จะเห็นได้
ว่าไม่ใช้จุลินทรีย์ทุกชนิดจะใช้ผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ แต่ต้องเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถสร้างธาตุอาหารขึ้นทางชีว
ภาพแล้วแบ่งให้พืชใช้ได้หรือมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะเจาะจงในการสร้างสารบางอย่างออกมา มีผลทำให้ช่วยเพิ่มปริมาณรูปที่เป็น
ประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุอาหารหลักที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม


ปุ๋ยชีวภาพสามารถแบ่งตามลักษณะการให้ธาตุอาหารแกพืช ได้ 2 ประเภท คือ
1. ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์สร้างธาตุอาหาร
พืช จุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารพืชได้ในปัจจุบันพบเพียงกลุ่มเดียว คือ กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน ประกอบด้วยแบคทีเรียและ
แอคทีโนมัยซีท จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้ มีชุดยีน ไนโตรจีเนส (Nitrogenase genses) เป็นองค์ประกอบในจีโนม มีหน้าที่สำคัญในการควบ
คุมการสร้างเอนไซม์ไนโตรจีเนส และควบคุมกลไกการตรึงไนโตรเจนให้กับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ให้มีขบวนการตรึงไนโตรเจนจากอากาศที่มี
ประสิทธิภาพ ปุ๋ยชีวภาพประเภทนี้สามารถแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์กับพืชอาศัยได้ 2 แบบ คือ

กลุ่มที่ 1
ปุ๋ยชีวภำที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) ปุ๋ยชีวภาพกลุ่มนี้มี
แบคทีเรียที่มีปริสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมาเป็นส่วนประกอบสามารถทดแทนไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีให้กับพืชอาศัยได้มากกว่า
50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ ชนิดของพืชอาศัย รวมทั้งระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนใหญ่มีการ
สร้างโครงสร้างพิเศษอยู่กับพืชอาศัยและตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพจากอากาศ ได้แก่ การสร้างปมของแบคทีเรียสกุลไรโซเบียมกับพืช
ตระกูลถั่วชนิดต่างๆ การสร้างปมที่รากสนกับแฟรงเคีย การสร้างปมที่รากปรงกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสกุลนอสทอค (Nostoc)
และการอาศัยอยู่ในโพรงใบแหนแดงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสกุลอะนาบีนา (Anabeana) ในกลุ่มนี้พืชอาศัยจะได้รับไนโตร
เจนที่ตรึงได้ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ไปใช้โดยตรง สามารถนำไปใช้ในการสร้างการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิตและคุณภาพพืชได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ


กลุ่มที่ 2
ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบอิสระ (non-symbiotic N 2-fixing bacteria)
แบคทีเรียกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนต่ำ จึงสามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชที่อาศัยอยู่เพียงระหว่าง 5-30
เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับสกุลของจุลินทรีย์และชนิดพืชที่จุลินทรีย์อาศัยอยู่ และพื้นฐานระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินชอบอาศัยอยู่บริเวณ
รากพืชตระกูลหญ้า สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม

1. แบคทีเรียที่อาศัยอยู่อย่างอิสระในดินและบริเวณรากพืช ได้แก่ อะโซโตแบคเตอร์ (Azotobacter) และสกุลไบเจอริงเคีย (Beijerinckia)

2. แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ได้ทั้งในดิน บริเวณรากพืช และภายในรากพืชชั้นนอก ได้แก่ สกุลอะโซสไปริลลัม (Azospirillum)

3. แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ภายในต้นและใบพืช เป็นแบคทีเรียบางสกุลหรือบางชนิดที่ค้นพบใหม่ๆ เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ได้แก่
สกุลอะซีโตแบคเตอร์ ชนิดไดอะโซโตรฟิคัส (Acetobacter diazotrophicus) ที่พบในอ้อยและกาแฟ สกุลเฮอบาสไปริลลัม
(Herbaspirillum spp.) ที่พบในข้าว อ้อยและพืชเส้นใยบางชนิด และสกุลอะโซอารคัส (Azoarcus spp.) ที่พบในข้าวและ
หญ้าอาหารสัตว์บางชนิด



2. ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช
2.1 ปุ๋ยชีวภาพแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Promoting
Rhizocacteria or PGPR) หรือ พีจีพีอาร์ เป็นปุ๋ยชีวภาพชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยแบคทีเรียกลุ่มเดียวกันหรือต่างกลุ่มกัน เช่น ประกอบ
ด้วยแบคทีเรียกลุ่มที่สามารถตรึงไนโตรเจน ช่วยละลายฟอสเฟต ผลิตฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และช่วยให้ธาตุอาหาร
เสริมบางชนิดเป็นประโยชน์ ซึ่งในแบคทีเรียบางสกุลมีความสามารถรวมกันหลายอย่าง เช่น แบคทีเรียสกุลอะโซสไปริลลัม
บางสายพันธุ์มีความาสามารถในการตรึงไนโตรเจน ช่วยละลายฟอสเฟต ผลิตฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญของรากพืช ช่วยเพิ่มประสิทธิ
ภาพการดูดธาตุอาหารพืช ปุ๋ยชีวภาพชนิดนี้ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ 1 สำหรับ
ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เป็นต้น

2.2 ปุ๋ยชีวภาพที่ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช ปุ๋ยชีวภาพในกลุ่มนี้ช่วยเพิ่มประโยชน์ธาตุอหารพืชบางชนิดที่ละลาย
น้ำยากให้เป็นประโยชน์กับพืชได้มากขึ้นโดยการเพิ่มพื้นที่ผิวรากสำหรับการดูดซึมให้กับพืชด้วยการเพิ่มปริมาณบริเวณรากพืชด้วยเส้น
ใยของจุลินทรีย์ ช่วยให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ได้ยาก เช่น ฟอสฟอรัส และแคลเซียม มีโอกาสได้สัมผัสรากและดูดมาใช้
ให้มากขึ้น จึงช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ให้กับพืช รวมทั้งจิลินทรีย์บางกลุ่มที่ส
ามารถสร้างกรดอินทรีย์หรือเอนไซม์บางชนิด ที่
สามารถช่วยละลายหรือย่อยฟอสเฟตให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ธาตุอาหารดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่ม
ขึ้น สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม


กลุ่มที่ 1
ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูดซึมธาตุอาหารพืช ซึ่งเป็นเชื้อรากลุ่มไมโคไรซ่าที่อาศัยอยู่กับพืชแบบพึ่ง
พาอาศัยซึ่งกันและกัน จะสร้างส่วนของเส้นใยพันกับรากพืชและบางส่วนขอชอนไชไปในดินช่วยดูดธาตุอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัส
ทำให้พืชได้รับฟอสฟอรัสที่ผ่านการดูดของเส้นใยไมโคไรซ่า ช่วยให้พืชมีปริมาณฟอสฟอรัสสำหรับใช้ในการเจริญเติบโตและสร้าง
ผลผลิตอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ไมโคไรซ่ายังช่วยป้องกันไม่ให้ฟอสฟอรัสที่ละลายอยู่ในดินถูกตรึง โดยปฏิกิริยาทางเคมีของดิน โดย
ไมโคไรซ่าจะช่วยดูดซับฟอสเฟตเก็บไว้ในโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า อาบัสกูลและเวสวิเคิลที่อยู่ระหว่างเซลล์พืช ไมโคไรซ่าแบ่งออก
เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1) วี-เอ ไมโคไรซ่า จะพบอยู่ในพืชสวนพืชไร่พืชผักและไม้ดอกไม้ประดับและ 2) เอ็คโตไมโคไรซ่า พบในไม้
ยืนต้นและไม้ป่าสกุลสน การใช้ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า
สำหรับพืชชนิดต่างๆ


กลุ่มที่ 2
ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยละลายฟอสเฟต เป็นปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยละลายหินฟอสเฟต หินฟอสเฟตพบ
ทั่วไปในประเทศไทยแต่มีปริมาณฟอสเฟตที่ละลายออกมาให้พืชใช้ได้น้อยปัจจุบันพบว่ามีจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและราหลายชนิดที่
สามารถช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสจากหินฟอสเฟตให้เป็นประโยชน์ได้ได้แก่BacillusPsaudomonas,Thiobacillus,
Aspergullus,Penicillium และอื่นๆ อีกมาก โดยจุลินทรีย์เหล่านี้จะสร้างกรดอินทรีย์ออกมาละลายฟอสเฟตออกจากหิน การ
ละลายฟอสเฟตจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์ และปริมาณอินทรียวัตถุที่ต้องใช้เป็นแหล่งน้ำตาลใน
การผลิตกรดอินทรีย์ หากสามารถคัดเลือกสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้ จะช่วยให้เกษตรกรได้ใช้ฟอสฟอรัสราคาถูกจากหิน
ฟอสเฟตทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีฟอสเฟตมากขึ้น ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต เป็นต้น


กลุ่มที่ 3
ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยเพิ่มประโยชน์ของโพแทสเซียม โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่สำคัญสำหรับพืชธาตุหนึ่ง
พืชปกติจะมีโพแทสเซียมเป็นส่วนประกอบประมาณ3-4 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก

โพแทสเซียมมีความสำคัญในการสร้างโปรดตีนสังเคราะห์แป้งและน้ำตาลโดยเฉพาะในพืชหัวบางชนิด ปกติพบโพแทสเซียมอยู่ในดิน
ในรูปของแร่ธรรมชาติ มี 3 รูป คือ
1) รูปที่ถูกตรึงไว้โดยอนุภาคของคอลลอยด์
2) รูปที่แลกเปลี่ยนได้ และ
3) รูปที่ละลายน้ำได้

โพแทสเซียมในธรรมชาติสามารถเป็นประโยชน์กับพืชได้ 3 วิธี คือ
1) การสลายตัวทางกายภาพ
2) การสลายตัวทางเคมี
3) การสลายตัวทางชีวภาพ

ในทางชีวภาพจุลินทรีย์บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียสกุลบาซิลลัง (Bacillus circulant)ซึ่งเป็นซิลิเกตแบคทีเรีย
สามารถสร้างกรดอินทรีย์ออกมาละลายโพแทสเซียมออกจากแร่ดินเหนียวบางชนิดได้สามารถใช้เป็นจุลินทรีย์สำหรับผลิตปุ๋ยชีวภาพ
ได้สามารถใช้ได้ผลดีทั้งในพืชสวนและพืชไร่มีการผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพให้เกษตรกรใช้แล้วในประเทศจีน



ข้อแนะนำในการใช้ปุ๋ยชีวภาพ
ดังได้กล่าวแล้วว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพ มีประโยชน์ในการให้ธาตุอาหารเพื่อบำรุงการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตพืช แต่ถ้าหากใช้ไม่ถูก
ต้องก็จะไม่เกินประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการใช้ปุ๋ยชีวภาพจะต้องคำนึงถึงปัจจัยโดยรวมดังนี้


1. ชนิดของปุ๋ยชีวภาพ
การใช้ปุ๋ยชีวภาพต้องเลือกชนิดของปุ๋ยชีวภาพ ให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่ปลูกปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพในการให้ธาตุ
อาหารแก่พืชแตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยชีวภาพ ไรโซเบียม จะใช้เฉพาะกับพืชตระกูลถั่วเท่านั้น และพืชตระกูลถั่วแต่ละชนิดก็จะต้องใช้สาย
พันธุ์แบคมีเรียสกุลไรโซเบียมที่มีความสามารถจำเพาะที่แตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเขียว จะต้องใช้แบคทีเรียไรโซ
เบียมชนิดสำหรับถั่วเขียว หรือปุ่ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองก็จะต้องใชแบคทีเรียสกุลไรโซเบียมชนิดสำหรับสำหรับถั่ว
เหลือง จึงจะเกิดประสิทธิผลในการใช้ ถ้าหากใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมถั่วเหลืองกับถั่วเขียวการใช้ปุ๋ยชีวภาพก็จะไม่ได้ผลอย่างมีประสิทธิ
ภาพปุ๋ยชีวภาพชนิดอื่นๆ ก็จะมีคุณลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกันนี้


2. ชนิดของธาตุอาหารที่ต้องการให้แก่พืช
ปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการให้ธาตุอาหารแก่พืชที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้จะต้องทราบว่าต้องการให้ธาตุอาหารอะรกับพืช
ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตในปัจจุบันประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้

2.1 ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม มีคุณสมบัติช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้พืชนำไปใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน สามารถใช้ได้
เฉพาะกับพืชตระกูลถั่วเท่านั้น

2.2 ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ประกอบด้วยแบคทีเรีย สกุลอะโซโตแบคเตอร์ สกุลไบเจอริงเคีย และสกุลอะโซสไปริลลัม มีคุณสมบัติในการ
ตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้พืชนำไปใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจนได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบาง
ชนิดได้ด้วย ใช้ได้กับข้าวโพดและข้าวฟ่าง

2.3 ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า มี 2 พวก คือ วี-เอไมโคไรซ่าและเอ็คโตไมโคไรซ่า ช่วยดูดซับธาตุอาหารในดินให้พืชนำไปใช้โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งธาตุฟอสฟอรัสใช้ได้กับพืชหลายชนิดทั้งพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักบางชนิด ยางพารา ไม้ป่าโตเร็วและสน

2.4 ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต เช่น แบคทีเรียสกุลบาซิลลัส (Bacillus) สกุลซูโดโมแนส (Pseudomonas) และรา
สกุลแอสเพอจิลลัส (Aspergillus) สามารถช่วยละลายฟอสฟอรัสจากหินฟอสเฟต ซึ่งมีราคาถูกและหาได้ง่ายภายในประเทศมาใช้
ทดแทนปุ๋ยฟอสเฟตราคาแพงบางชนิดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ


3. สมบัติของดิน
ก่อนใช้ปุ๋ยชีวภาพเกษตรกรควรรู้คุณสมบัติของดินที่จะทำการปลูกพืชและใช้ปุ๋ยชีวภาพด้วย เช่น ปฏิกิริยากรด-ด่าง ความชื้น
ของดิน เป็นต้น จุลินทรีย์บางชนิดหรือสายพันธุ์มีความทนทานต่อสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินต่างกัน เช่น ปุ๋ยชีวภาพไรโซ
เบียมบางสายพันธุ์เจริญได้ดีในสภาพเป็นกรดหากนำไปใช้ในดินที่เป็นด่างจะทำให้ประสิทธิภาพในการทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน
ลดลง สมบัติของดินทั้งทางเคมีกายภาพและชีวภาพ ต่างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ย
ชีวภาพ ในดินที่ร่วนซุยจุลินทรีย์มักจะมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าในดินเหนียวแน่นทึบ


4. ปริมาณจุลินทรีย์ในดิน

ถ้าในดินมีปริมาณของจุลินทรีย์ชนิดเดียวกับที่ใช้ผลิตปุ๋ยชีวภาพมากเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยชีวภาพชนิดนั้นให้กับพืชอีก
หรือบางครั้งถ้าดินมีจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดที่จะใส่เข้าไปควรจะมีการ
ทำลายจุลินทรีย์ให้โทษเหล่านั้นก่อน วิธีการกำจัดจุลินทรีย์อันตรายที่อยู่ในดินสามารถทำได้โดยง่ายๆ โดยการไพให้ดินร่วน
ซุยแล้วตากดินหรืออบดินโดยการคลุมดินด้วยพลาสติก เพื่อให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นโทษให้หมด
ไปก่อนที่จะใช้ปุ๋ยชีวภาพบางชนิด



5. ปริมาณความชื้นที่เหมาะสมในดิน
ปริมาณน้ำในดินก็มีความสำคัญในการใช้ปุ๋ยชีวภาพ จุลินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในปุ๋ยชีวภาพบางชนิดสามารถอยู่ได้ในสภาพ
น้ำขัง เช่น ปุ๋ยชีวภาพสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน จะเจริญได้ดีในน้ำหรืที่ชื้นแฉะมีน้ำขังไม่สามารถเจริญเติบโตและเกิดประโยชน์ได้ในที่
แห้งแล้ง แต่ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม และปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าเจริญเติบโตได้ไม่ดี และไม่สามารถตรึงไนโตรเจนได้ในสภาพที่มีน้ำขัง
แต่ต้องการความชื้นที่เหมาะสมสำหรับให้พืชอาศัยเจริญเติบโต เพื่อเป็นที่อาศัยของแบคทีเรียสกุลไรโซเบียม หรือรากลุ่มไรโคไรซ่า
ดังนั้น ก่อนจะใช้ปุ๋ยชีวภาพจึงต้องคำนึงถึงปริมาณความชื้นที่เหมาะสมในดินที่จะ
ทำการปลูกพืชด้วย


6. สารเคมีทางการเกษตร
การใช้ปุ๋ยชีวภาพในการผลิตพืช ควรมีข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรบางชนิด เช่น สารป้องกันกำจัดวัชพืช สาร
กำจัดโรคพืช เพราะสารบางชนิดจะมีผลยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยชีวภาพ เช่น ยากำจัดโรครากเน่า โคนเน่าบาง
ชนิด อาจมีแบคทีเรียหรือราเป็นเชื้อสาเหตุ ซึ่งสารป้องกันและกำจัดแบคทีเรียบางชนิดอาจจะมีผลยับยั้งและทำลายแบคทีเรียสกุล
ไรโซเบียมที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมหรือสารกำจัดเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าบางชนิด อาจจะมีผลยับยั้ง
หรือทำลายเชื้อรากลุ่มไรโคไรซ่า ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า


7. ปริมาณธาตุอาหารพืชบางชนิดในดิน
ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงหรือมีอินทรียวัตถุสูง มักจะมีความอุดมสมบูรณ์มักจะมีปริมาณธาตุอาหารบางชนิดสูงอยู่แล้วด้วย เช่น
ไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยชีวภาพบางชนิดจะไม่เห็นผลการใช้ที่เด่นชัด เช่น การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมในการปลูกถั่วในดินที่เปิด
ใหม่ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูงและมีระดับอินทรียวัตถุในดินสูง รากถั่วจะเกิดปมน้อยและมีศักยภาพในการตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพ
จากอากาศมาให้ถั่วใช้ได้ต่ำ ดังนั้น เมื่อใส่ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมากๆ
เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ในการปลูกถั่วก็จะช่วยให้ถั่วมีการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตได้สูงมาก
บางพื้นที่มากถึงกว่าเท่าตัว เช่น ถั่วเหลืองที่ปลูกโดยไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมและปุ่ยเคมีไนโตรเจนจะให้ผลผลิตเพียง 100–150
กิโลกรัมต่อไร่ การที่จะให้ถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืชที่มีโปรตีนสูง และมีความต้องการไนโตรเจนสูงมากให้ผลผลิตได้สูงถึง 300 กิโล
กรัมต่อไร่นั้น ถั่วเหลืองจะต้องได้รับปุ๋ยไนโตรเจนสูงถึงประมาณ 20 กิโลกรัม ดังนั้น ถ้าจะใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อให้ได้ผลผลิตมากเท่านี้
โดยไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมคงไม่คุ้มทุน เพระจะต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงในดินถึงประมาณ 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 200
กิโลกรัมของปุ๋ยเคมีแอมโมเนียมซัลเฟตต่อไร จากผลการทดลองที่ได้ดำเนินการในแหล่งต่างๆ ในประเทศไทยมากว่า 10 ปี โดยเฉลี่ยแล้ว
พบว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมในการปลูกถั่วเหลืองจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตของถั่วเหลืองได้ในแต่ละพื้นที่แตก
ต่างกันมาก คือ ในเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างสูงในภาคเหนือและภาคกลางสามารถเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองได้เพียง 11
และ 24 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ขณะที่ในเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองได้
ถึง 122 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพตามที่กล่าวมานั้นจะช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน
ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก


ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ควรถือปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยชีวภาพตามที่กล่าวมาแล้ว ผู้ใช้ควรจะต้องปฏิบัติตามฉลาก หรือเอกสารคำแนะนำการใช้
ที่มาพร้อมกับภาชนะใส่ปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดอย่างเคร่งครัดเนื่องจากปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดมีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกันไป

ข้อบ่งใช้ของปุ๋ยชีวภาพแต่ละชนิดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ผลิตควรให้รายละเอียดกับผู้ใช้ประกอบด้วย
ชื่อการค้าและมีคำว่า ปุ๋ยชีวภาพ
ชื่อวิทยาศาสตร์ระดับสกุลของจุลินทรีย์สำคัญที่ใช้ผลิตปุ๋ยชีวภาพ
ปริมาณจุลินทรีย์รับรองที่มีชีวิตที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อหน่วย
วัสดุรองรับของปุ๋ยชีวภาพ
วิธีการเก็บรับกษา
ประโยชน์และวิธีการใช้
วันเดือนปี ที่ผลิตและหมดอายุ
ชื่อและสถานที่ ผู้ผลิตและจำหน่าย
น้ำหนักสุทธิหรือขนาดบรรจุ



http://www.saketnakorn.org/?name=knowledge&file=readknowledge&id=27


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/08/2011 10:31 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 9:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

235. แนวทางการใช้ปุ๋ยชีวภาพในอนาคต


ในสภาวะที่มีแนวโน้มว่าต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีจะเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อให้เกิดระบบการผลิตพืชที่ยั่งยืนและปลอดภัยภายในประเทศรวมทั้งเป็นการ
สนับสนุนนโยบายการเป็นครัวของโลกของรัฐบาลการผสมผสานการใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตพืชอย่างเหมาะ
สมในอนาคตนั้นมีความสำคัญ เพราะนอกจากปุ๋ยชีวภาพจะเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่สำคัญกับพืชที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว ปุ๋ยชีวภาพบาง
ชนิดยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ด้วยทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีบางชนิดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นเพื่อให้การใช้ปุ๋ยในอนาคตเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรทำความเข้ารายละเอียดของปุ๋ยชีวภาพให้ชัดเจน
จนสามารถจัดจำแนกประเภท กลุ่ม หรือชนิดปุ๋ยชีวภาพได้ รู้ประโยชน์และวิธีการนำไปใช้ที่ถูกต้อง เพื่อจะได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับการ
ผลิตพืชแต่ละชนิด จะได้ช่วยลดต้นทุนการผลิตเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตพืชทำให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มมากขึ้น เสริมสร้างศักภาพ
ในการแข่งขันให้กับเกษตรกรไทย เพื่อเป็นครัวของโลกอย่างยั่งยืน



ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ
แบ่งออกตามชนิดของจุลินทรีย์หรือตามประเภทของธาตุอาหารที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้กับพืช ซึ่งได้แก่ธาตุอาหารหลักคือ ธาตุ
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม และในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะไรโซเบียมและไมโคไรซ่าเท่านั้น

ไรโซเบียม เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนที่อยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วต่าง ๆ ก้ามปู กระถินณรงค์ เป็นต้น ในแต่ละปีจุลินทรีย์
สามารถนำธาตุไนโตรเจนกลับมาสู่ดินได้ประมาณ 170 ล้านตันต่อปี จากผลการทดลองของกรมวิชาการเกษตรพบว่า การปลูกถั่วเหลือง
โดยไม่ใช้ไรโซเบียม หรือปุ๋ยเคมีจะให้ผลผลิต 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าใช้เชื้อไรโซเบียมจะให้ผลผลิต 200-300 กิโลกรัมต่อไร่
(ซึ่งเทียบเท่ากับต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 20 กิโลกรัมต่อไร่ ในการปลูกถั่วเหลืองนี้) หัวใจสำคัญที่ทำให้พืชตระกูลถั่วช่วยในการบำรุงดิน
ก็คือ ไรโซเบียม ใช้ไรโซเบียมร่วมกับพืชตระกูลถั่วสามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนได้

การเกิดปม
จะเห็นปมถั่วภายใน 5-10 วัน ถ้าปลูกในเรือนทดลอง
จะเห็นปมถั่วภายใน 15-25 วัน ในสภาพไร่
ปมที่ดีจะมีภายในปมเป็นสีแดงเข้ม
ปมที่แก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว
ปมที่มีสีขาวซีด หรือเขียวอ่อน จะไม่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน


อายุการเก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม
ที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 5-6 เดือน
ที่อุณหภูมิ 4-10 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 1 ปี
ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง (Freeze) เด็ดขาด เพราะเชื้อจะตาย และเชื้อไรโซเบียมไม่สามารถทนอุณหภูมิได้เกิน 40 องศาเซลเซียส


วิธีการคลุกเชื้อ
ใช้สารช่วยให้ติดเมล็ด เช่น น้ำมันพืช น้ำตาลทราย 30% แป้งเปียก เป็นต้น ใช้สารช่วยติดเมล็ด 300 ซีซี ต่อเชื้อ 1 ซอง
เชื้อ 1 ซอง หรือ 200 กรัม ใช้คลุกกับเมล็ดถั่วเหลือง 10 กิโลกรัม หรือเมล็ดถั่วลิสง 15 กิโลกรัม หรือเมล็ดถั่วเขียว 5 กิโลกรัม แต่ต้อง
ใช้ชนิดของเชื้อไรโซเบียมให้ตรงกับชนิดของเมล็ดถั่วนั้น ๆ


ข้อควรระวัง
1. ต้องใช้เชื้อไรโซเบียมให้ถูกต้องกับชนิดของถั่ว
2. ไม่ปล่อยให้เมล็ดที่คลุกเชื้อแล้วตากแดดตากลม ควรเก็บในถุงพลาสติก หรือภาชนะปิด และไว้ในที่ร่ม
3. ไม่ทิ้งเมล็ดที่คลุกเชื้อไรโซเบียมไว้ข้ามคืน ถ้าเหลือควรผึ่งเมล็ดไว้ในที่ร่มและแห้ง แล้วคลุกเชื้อใหม่เมื่อต้องการปลูก
4. ไม่ปลูกเมื่อดินแห้งมาก ๆ ควรปลูกเมื่อดินหมาด ๆ หรือปลูกแล้วให้น้ำได้ทันที
5. เมื่อหยอดเมล็ดแล้ว ควรกลบเมล็ดให้ดี เพื่อมิให้เมล็ดถูกแดดเผา และเชื้อจะตาย
6. อย่าใช้เชื้อไรโซเบียมที่หมดอายุแล้ว
7. สารป้องกันกำจัดโรคพืช แมลง และวัชพืช อาจมีผลต่อเชื้อไรโซเบียมได้
8. ปุ๋ยไนโตรเจนจะไม่ช่วยส่งเสริมการตรึงไนโตรเจนของไรโซเบียม ยิ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงดินมาก จะทำให้การตรึงไนโตรเจน
ลดลง
9. ดินร่วนซุยจะทำให้ไรโซเบียมเจริญได้ดีกว่าดินเหนียวและดินน้ำขัง


สถานที่จำหน่าย
สามารถสั่งซื้อเชื้อไรโซเบียมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา (ตึกไรโซเบียม) กรมวิชาการเกษตร ภายในเกษตรกลาง
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2579-0065 โทรสาร 0-2561-4763 ราคาถุงละ 10 บาท


เชื้อไมโครไรซ่า
เป็นเชื้อรากลุ่มหนึ่งที่อยู่ในดิน อาศัยอยู่ตามรากพืช โดยไม่ทำอันตรายกับพืช ทั้งนี้พืชและเชื้อราต่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน ได้รับผลประโยชน์
ร่วมกัน เซลล์ของรากพืชและเชื้อราสามารถถ่ายทอดอาหารซึ่งกันและกันได้ ช่วยให้รากเพิ่มเนื้อที่ในการดูดธาตุอาหารจากดินเมื่อมีไมโค
ไรซ่าเกิดขึ้นที่ราก ซึ่งเนื้อที่ที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากเส้นใยที่เจริญอยู่รอบ ๆ ราก ทำให้สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้มากกว่ารากที่ไม่มี
ไมโคไรซ่า เส้นใยที่พันอยู่กับรากพืชจะไชชอนเข้าไปในดิน ช่วยดูดธาตุอาหารโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส และช่วยป้องกันมิให้ธาตุ
ฟอสฟอรัสที่ละลายออกมาถูกตรึงโดยปฏิกิริยาทางเคมีของดินด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้ได้รับธาตุอาหารอื่น ๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก
และสังกะสี ไมโคไรซ่าที่มีความสำคัญทางเกษตรกรรม และมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรมี 2 พวกคือ

1. เอ็กโตไมโคไรซ่า จะพบในพืชพวกไม้ยืนต้น ไม้ปลูกป่า เช่น สน เป็นต้น
2. วี-เอไมโคไรซ่า ซึ่งอยู่ในพวกเอ็นโดไมโคไรซ่า และจะพบในพืชพวกพืชไร่ พืชสวน พืชผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ


สำหรับไมโคไรซ่าที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโต และช่วยเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐฏิจในประเทศไทยคือ วี-เอไมโคไรซ่า ซึ่งมีผู้นำมาใช้อย่าง
กว้างขวางกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วต่าง ๆ มะม่วง ลำไย ทุเรียน สับปะรด และมะเขือเทศ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อ
เป็นการลดค่าใช้จ่ายแทนการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพง


ประโยชน์ที่พืชได้รับจากไมโคไรซ่า
ไมโคไรซ่ามีประโยชน์ต่อการมีชีวิตอยู่ และการเจริญเติบโตของต้นไม้หลายทางด้วยกัน ที่สำคัญที่สุดคือ ไมโคไรซ่าสามารถช่วยเพิ่ม
ความเจริญเติบโตให้กับพืช และพอสรุปประโยชน์ของไมโคไรซ่าได้ดังนี้

1. เพิ่มพื้นที่ของผิวรากที่จะสัมผัสกับดิน ทำให้เพิ่มเนื้อที่ในการดูดธาตุอาหารของรากมากขึ้น

2. ช่วยให้พืชดูดและสะสมธาตุอาหารต่าง ๆ ไว้ และสะสมในราก เช่น ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน โปตัสเซียม แคลเซียม แร่ธาตุอื่นอีก

3. ช่วยดูดธาตุอาหารจากหินแร่ที่สลายตัวยาก หรืออยู่ในรูปที่ถูกตรึงในดิน เช่น ฟอสฟอรัสให้แก่พืช ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสที่
เป็นประโยชน์ต่อพืชในปริมาณที่ต่ำ ไมโคไรซ่ามีบทบาทสำคัญในการดูดซึมฟอสฟอรัสให้แก่พืช เนื่องจากฟอสฟอรัสละลาย
น้ำได้ดีในช่วง pH เป็นกลาง ในดินที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่าง ฟอสฟอรัสมักถูกตรึงโดยทางเคมี รวมตัวกับเหล็ก อะลูมินั่ม แคลเซี่ยม
หรือแมกนีเซี่ยม ทำให้ไม่ละลายน้ำ ซึ่งอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้ไมโคไรซ่ายังช่วยดูดพวกอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่สลาย
ตัวไม่หมดให้พืชนำไปใช้ได้

4. เชื้อราไมโคไรซ่าในรากพืช ทำหน้าที่ป้องกันและยับยั้งการเข้าสู่รากของโรคพืช

5. ทำให้โครงสร้างดินดี เนื่องจากมีการปลดปล่อยสารบางชนิด เช่น Polysaccharide และสารเมือกจากเชื้อราไมโค
ไรซ่า รวมกับเส้นใยของไมโคไรซ่า ทำให้เกิดการจับตัวของอนุภาคดิน ช่วยให้โครงสร้างของดินดี ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารจากดิน
เนื่องจากการชะล้างของน้ำและการพังทะลายของดิน และยังช่วยในการหมุนเวียนของธาตุอาหาร ทำให้ลดการสูญเสียของธาตุอาหารใน
ระบบนิเวศน์ได้

6. ทำให้พืชทนแล้ง เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่ผิวรากในการดูดน้ำ ทำให้พืชทนแล้ง และพืชสามารถฟื้นตัวภายหลังการขาดน้ำได้เร็วขึ้น


จากประโยชน์เหล่านี้ พืชที่มีไมโคไรซ่าจึงเจริญเติบโตได้ดีกว่าพืชที่ไม่มีไมโคไรซ่า สำหรับไมโคไรซ่านั้นในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่
มีจำหน่าย แต่เกษตรกรที่สนใจสามารถขอความอนุเคราะห์ได้ที่ ตึกไรโซเบียม ดังนั้นวิธีการนำไมโคไรซ่าไปใช้ เกษตรกรสามารถทำ
ได้ง่าย ๆ เช่น ไม้ผลจะขุดรอบ ๆ ทรงพุ่มลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ก็จะพบรากฝอย นำเชื้อไมโคไรซ่าไปโรยโดยรอบ แล้วกลบดิน
จะช่วยให้ไม้ผลเติบโตได้ดี



http://www.saketnakorn.org/?name=knowledge&file=readknowledge&id=27


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/08/2011 9:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 9:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

236. องค์ความรู้เรื่องอะตอมมิคนาโน จากท้องทุ่ง


1. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photo synthetic bacteria; PSB) พบทั่วไปในธรรมชาติ เป็นแบคที่เรียที่สามารถใช้แสงเป็นแหล่ง
พลังงาน และออกซิไดซ์ สารประกอบอินทรีย์โดยเฉพาะกรดอินทรีย์หลายชนิดในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนแต่มีแสงได้ จึงมีคุณประโยชน์
ในการเกษตร และปศุสัตว์ รวมถึง อุตสาหกรรมทางเคมี และปิโตเลียม เป็นต้น

2. พลังง้วนดินธรรมชาติ (แบคทีเรียสังเคราะห์แสง) สามารถนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้โดยการแบ่งอนุภาคอะตอมเดียว แบคทีเรีย
สังเคราะห์แสงบรรจุไว้ใน “อะตอมมิก”ซึ่งเป็นซากสัตว์สองเซลล์ที่มีรูพรุน มีขนาดโมเลกุลขนาดเล็ก ด้วยสารเคมีสูตรเข้มข้นโดยวิธีการ
หมัก สังเคราะห์ จะทำให้มีกลิ่นหอม สร้างกรดอะมีโน วิตามิน และน้ำตาลมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์

3. พลังแอนตี้ออกซิแดนท์ เกิดจากการที่แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดสนามคลื่นสั่นสะเทือนเท่ากัน ก่อให้เกิดความสมดุล คามกลมกลืน ผลผลิต
พืชและสัตว์โตสม่ำเสมอ

4. จุลินทรีย์ที่เกิดจากพลังงานง้วนดิน(อะตอมมิกนาโม) เป็นแบคทีเรีย ประเภทที่ตรึงไนโตรเจนอิสระประเภทต้องการออกซิเจน (O2) น้อย
อยู่ในตระกูลเอ็นเทอโรแบคทีเรียซีอี (Enterobacter) รวมกันอยู่ทั้ง 2 สกุล และเป็นชนิด เคล็บซิล่าวาริอิโคลา (Klebsilla cariicola)
อยู่รวมกับเอ็นเทอโรแบคเตอร์โควานิอิ (Enterobacter) เป็นสายพันธุ์แบคที่เรียที่ตรึงไนโตรเจนที่พบใหม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใน
ไร่นาเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้

5. วิธีเพาะเลี้ยง เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีนเข้มข้น โดยใช้ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1
นำเชื้อแบคทีเรียที่ได้จากธรรมชาติเรียกว่า “ง้วนดิน” มาเลี้ยงด้วยอาหารที่มีกรดโปรตีนเข้มข้น เช่นน้ำนม น้ำมะพร้าวอ่อน สาหร่าย
และเกลือสตุ แล้วบรรจุเชื้อแบคทีเรียไว้ในอะตอมสัตว์สองเซลล์เรียกว่า “อะตอมนามิกโน”

ขั้นที่ 2
นำอะตอมมิกนาโนชนิดผงและชนิดน้ำมาขยายผลต่อในกองจุลินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ รำอ่อน เศษวัสดุ พืชผักต่างๆ
ฟางข้าวและหญ้า เป็นต้น หรือนำมาหมักด้วยผลไม้อย่างน้อย 5 ชนิด เพื่อทำเป็นฮอร์โมนสกัด มาเป็นสารเร่งเจริญเติบโตของพืชและ
สัตว์ ซึ่งเป็นสารต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant)

ขั้นที่ 3 เ
มื่อนำเอาน้ำหมักที่ได้จากขั้นที่ 2 มากลั่นเป็นฮอร์โมนชนิดเข้มข้นผสมเจือจางกับน้ำธรรมชาติในอัตราส่วน 1: 500 และ 1: 1000 ใช้
เป็นอาหารเสริมทางใบและเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์


6. แนวปฏิบัติ
6.1 สูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ อะตอมมิกนาโน สำหรับผลิตหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์
1) เตรียมน้ำธรรมชาติ 200 ลิตรพร้อมถังพลาสติก
ขนาด150–200 ลิตรชนิดฝาปิด
2) หัวเชื้อแบคที่เรียชนิดเข้มข้น 10 กก. (10 x 200 = 2,000 บาท)
3) หัวเชื้อแบคทีเรียชนิดน้ำ 10 กก. (10 x 200 = 2,000 บาท)
4) ลูกอะโนบอลล์ 10 ลูก (10 x 15 = 150 บาท)
5) กากน้ำตาล 20 ลิตร (20x 15 = 200 บาท)
6) นมเปรียง 20 ลิตร (20 x 20 = 400 บาท)
7) สารสกัด Anti oxidant 100 ซีซี. (100 x 1 = 100 บาท)
Cool รำอ่อน 10 กก. (10 x 8 = 80 บาท)
9) หมักทิ้งไว้ 3 วันขึ้นไป

รวมมูลค่า 4,930 บาท เฉลี่ยลิตรละ 25 บาท


6.2 การผสมปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโนเพื่อทำหัวเชื่อปุ๋ยอินทรีย์
1) ปุ๋ยคอก 300 ก.ก. (300 x 1 = 300 บาท)
2) มูลไก่ 300 ก.ก. (300 x 2 = 600 บาท)
3) รำอ่อน 300 ก.ก. (300 x 4 = 1,200 บาท)
4) แกลบดิบ/ดำ 100 ก.ก. (100 x 0.50 = 50 บาท)
5) คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกันพร้อมผสมกับน้ำหมักตาม 5.1 ให้หมาดๆ
6) นำอินทรียวัตถุไปกองไว้บริเวณพื้นคอนกรีต ภายในร่ม หมักไว้ 7-15 วัน สามารถนำไปใช้ในไร่ได้นาได้
7) กระบวรการหมักให้มีคุณภาพควรบรรจุใส่กล่องผลไม้พลาสติกที่อากาศถ่ายเทได้ดี แล้วคลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด

9) สรุปต้นทุนในการทำหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิก-นาโน
8.1 ต้นทุนน้ำหมัก 4,930 บาท
8.2 ต้นทุนอินทรียวัตถุ 2,150 บาท
8.3 ค่าแรงงาน 300 บาท
รวม 7,380 บาท


หมักไว้ 15 วัน กองอินทรียวัตถุจาก 1,000 ก.ก. คงเหลือ 800 ก.ก. ค่าเฉลี่ย ก.ก. ละ 9.50–10 บาท

6.3 สูตรการผลิตน้ำหมักชีวะภาพสำหรับย่อยสลายฟางข้าวและทำปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิก -นาโน
1) หัวเชื้อแบคทีเรียชนิดเข้มข้น 2 ก.ก. (2 x 200 = 400 บาท)
2) หัวเชื้อแบคที่เรียชนิดน้ำ 2 ก.ก. (2 x 200 = 400 บาท)

* หากใช้น้ำหมักตามข้อ 5.1 ใช้ 10 ลิตร (10 x 25 = 250 บาท)

3) ลูกอะโนบอลล์ 3-5 ลูก (3 x15 = 45บาท), (5 x 15 = 75 บาท)
4) กากน้ำตาล 20 ลิตร ( 20 x 10 = 200 บาท)
5) นมเปรียง 20 ลิตร (20 x 20 = 400 บาท)
6) รำอ่อน 5 กก. (5 x 8 = 40 บาท)
7) สารสกัด Anti-oxidant 50 ซีซี (5 x 1 = 50 บาท)
Cool น้ำธรรมชาติ 200 ซีซี. (5 x 1 = 50 บาท)
9) หมักทิ้งไว้ 3 วันขึ้นไป นำไปใช้ได้

สรุป
1) มูลค่ารวม 1,635 บาท ลิตรละ 8 บาท

*2) มูลค่ารวม 1,415 บาท ลิตรละ 7 บาท

6.4 การทำปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิก-นาโน ใช้เอง
1) ปุ๋ยคอก 300 ก.ก. (300 x 1 = 300 บาท)
2) มูลไก่ 300 ก.ก. (300 x 2 = 600 บาท)
3) รำอ่อนผสม 300 ก.ก. (300 x 4 = 1,200 บาท)
4) แกลบ 100 ก.ก. ( 100 x 0.50 = 50 บาท)
5) แร่ฟอสเฟส, โดโลไม,อื่นๆ 50 ก.ก. (300 x 1 = 300 บาท)
6) หัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์นาโน 300 ก.ก. (50 x 10 = 500 บาท)
รวมน้ำหนักวัตถุดิบ 1,300 ก.ก. มูลค่า 2,950 บาท

ผสมน้ำหมักชีวภาพนาโน สูตร 6.3 จำนวน 200 ลิตร ผสมคลุกให้เข้ากันพอหมาดๆ ปั้นเป็นก้อนไข่ได้ บรรจุตามหลักการผสมหัวเชื้อ
ปุ๋ยอินทรีย์ ตามข้อ 6.2

รวมต้นทุน 2,950 + 1,635 = 4,485 บาท เฉลี่ย ก.ก. ละ 4.50 บาท

*+ 1,415 = 4,365 บาท เฉลี่ย ก.ก. ละ 4.30 บาท

หากหมักไว้ 15 วัน จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ 1,300 = 1,000 ก.ก. นำหนักจะสูญเสียไป เฉลี่ย300 ก.ก. ในเวลา 15 วัน ทดแทนโดยแร่
ที่ใส่ลงไป 300 ก.ก. จึงเหลือปุ๋ยอินทรีย์พร้อมใช้ 1,000 กิโลกรัม

6.5 การนำน้ำหมักชีวภาพอะตอมมิก-นาโน มาปรับใช้กับน้ำหมักธรรมชาติที่เกษตรกรมีอยู่เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1) ทำน้ำหมักชีวภาพเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีขั้นตอนการปรับใช้ดังนี้
1.1) น้ำหมักชีวภาพเดิม 100 ลิตร
1.2 ) เติมน้ำหมักชีวภาพนาโน ตามข้อ 6.3 จำนวน 10 ลิตร
1.3) ใส่ลูกอะโนบอลล์ 3 ก้อน
1.4) เติมกากน้ำตาล 10 ก.ก.
1.5) เติมนมเปรียง 10 ลิตร
1.6) ใส่สารแอนตี้ 50 ซีซี.

ใช้ไม้กวนให้เข้ากันปิดฝาถังหมักไว้หากไม่มีฝาควรใช้พลาสติกดำปิดฝาถังหมัก ใช้ยางรถจักรยานรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 3-7 วัน ก็จะได้น้ำหมัก
ชีวภาพที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เหมาะสำหรับนำไปรดน้ำต้นไม้ หรือราดฟางข้าวเพื่อย่อยสลาย

2.) ทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับฉีดพ่นทางใบเป็นอาหารเสริม
1.1 น้ำหมักชีวภาพเดิมที่หมักจากหอย หรือปลา จำนวน 100 ลิตร
1.2 เติมน้ำหมักชีวภาพนาโน ตามข้อ 6.3 จำนวน 10 ลิตร
1.3 ใส่ลูกอะโนบอลล์ 3 ก้อน
1.4 เติมกากน้ำตาล 10 ก.ก.
1.5 เติมนมเปรียง 10 ลิตร
1.6 ใส่สารแอนตี้ 50 ซีซี.

ใช้ไม้กวนให้เข้ากันปิดฝาถังหมักไว้หากไม่มีฝาควรใช้พลาสติกดำปิดฝาถังหมัก ใช้ยางรถจักรยานรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 3-7 วัน ก็จะได้น้ำ
หมักชีวภาพที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เหมาะสำหรับนำไปรดน้ำต้นไม้ หรือราดฟางข้าวเพื่อย่อยสลาย

จะได้น้ำหมักชีวภาพสำหรับฉีดพ่นทางใบพืชทุกชนิด วิธีการใช้น้ำหมักที่ปรับสภาพแล้วมา 1 ลิตร/10-20 ลิตร จะใช้ได้ผลดี

6.6 การผลิตฮอร์โมนบำรุงหมากผลเมล็ด โดยเทคโนโลยีอะตอมมิกนาโนมีกระบวนการขั้นตอนดังนี้
1. มะละกอสุก 20 กิโลกรัม
2. ฟักทองสุก 20 กิโลกรัม
3. แครอท 20 กิโลกรัม
4. กล้วยน้ำหว้าสุก 20 กิโลกรัม
5. ไข่เป็ด,ไก่ ต้มสุก 20 กิโลกรัม
6. ใส่ลูกอะโนบอลล์ 3-5 ก้อน
7. ใส่นมเปรียง 10-20 ลิตร
8. น้ำตาลทรายแดง 100 ซีซี
9. สารแอนตี้ 100 ซีซี
10. หมักทิ้งไว้ 30 วันเป็นอย่างน้อย

วิธีนำมาใช้ :
นำน้ำฮอร์โมนที่ผ่านการหมัก 30 วัน นำมากลั่น จะได้ฮอร์โมนที่มีความเข้มข้นสูงนำไปผสมน้ำธรรมชาติอัตราส่วน 1:50 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
หรือช่อดอก หากเป็นข้าวควรฉีดระยะข้าวกำลังตั้งท้องจะได้ผลผลิตสูง

หากนำมาใช้ในสภาพที่เป็นน้ำหมักฮอร์โมนควรกรองด้วยแพรเขียวเพื่อขจัดกาก แล้วนำมาผสมน้ำธรรมชาติอัตราส่วน 1:20 ลิตร ฉีด
บำรุงหมากผล

6.7 การผลิตเชื้อแบคทีเรียอะตอมมิกนาโน สำหรับปราบหอยเชอร์รี่มีวิธีการขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ขั้นตอนที่ 1 เตรียมแบคทีเรียธรรมชาติชนิด บูดเน่า โดยนำหอยเชอร์รี่สดมาทุบให้แตกใสภาชนะฝาปิดทิ้งไว้ในร่ม 5-7 วัน ให้มี
กลิ่นเหม็น

2. เติมกากน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนของหอยเชอร์รี่ที่หมักเน่า อัตรา 1:1 หรือ 1:2 เพื่อให้เชื้อแบคทีเรียชนิดบูดเน่า
ขยายพันธ์ให้มากขึ้น

3. นำหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโนที่ได้จากการผลิตตามข้อ 5.2 มาผสมลงในภาชนะที่หมักหอยเชอร์รี่ประมาณการให้เหมาะสม
(หากหมักหอย 10 ก.ก. ควรใส่หัวเชื้อปุ๋ยอะตอมิกนาโน 1/2-1 กิโลกรัม คลุกให้เข้ากันทิ้งไว้ 2-3 วัน)

4. ควรเติมนมเปรียงเพื่อเป็นอาหารของแบคทีเรียอะตอมมิกนาโน

5. ใส่สารแอนตี้ 30 – 50 ซีซี. เพื่อให้จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ได้มากขึ้น

6.นำวัสดุหอยเชอร์รี่ที่หมักไปหว่านลงในที่นาให้ประมาณการที่เหมาะสม โดยการหยุดลงในน้ำแปลงนาหรือสถานที่ที่มีหอยเชอร์รี่อาศัยอยู่
ก็จะสามารถทำลายหอยเชอร์รี่ได้โดยวิธีธรรมชาติไม่เป็นอันตรายแก่สัตว์ชนิดอื่นรวมทั้งตัวเกษตรกรด้วยในทางตรงกันข้ามกลับปุ๋ยตามธรรม
ชาติที่เกิดจากการตายของหอยเชอร์รี่อีกด้วย


6.8 ในกรณีที่ต้องปราบแมลงศัตรูพืช หนอนชนิดต่างๆสามารถปรับใช้วิธีการได้เพียงแต่หากต้องการทำลายสิ่งใดให้นำแมลงหรือสัตว์ชนิด
นั้นมาทำให้เน่าเสียก่อน แล้วขยายเชื้อตามกระบวนการของข้อ 2 ในข้อ 5.7 จนครบขั้นตอน เกษตรกรก็จะประหยัดและใช้วิธีธรรมชาติ
บำบัดธรรมชาตินั่นเอง

6.9 กระบวนการขั้นตอนการผลิตนมเปรียงใช้เอง ต้นทุนต่ำมีกระบวรการขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เตรียมภาชนะบรรจุนมสดที่มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนและโรงงานไม่ต้องการ ขนาดความจุ 200 ลิตร ที่มีฝาปิดมิดชิด

2. นำนมวัวที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมาบรรจุประมาณ 180-190 ลิตร

3. ใส่จุลินทรีย์ชนิดเฉพาะรหัส PR จำนวน 10-15 ลิตร บรรจุลงไปในถังนมที่ตกเกณฑ์ ทิ้งไว้ 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน ก็จะได้นมเปรียง
ที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ตามที่ต้องการ

4. ข้อควรสังเกต ให้ดูนมหากยังมีไขมันยังไม่สลายตัวและมีกลิ่นเหม็น บูดเน่า ให้เติมเชื้อจุลินทรีย์ PR ลงไปอีก เฝ้าสังเกตุดูว่าไขมันนม
ละลายหมดหรือไม่และมีกลิ่นหอมก็จะสามารถใช้ได้


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/08/2011 10:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 9:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

237. นวัตกรรมอินทรีย์ชีวภาพที่ค้นพบ


1. เทคนิคการทำนาหว่าน นาดำ ด้วยเทคโนโลยีอะตอมมิคนาโน พื้นที่ปลูก 1 ไร่ ให้ได้ผลผลิตเฉลี่ย 800-1,000 กิโลกรัม

1.1 เป้าหมาย ในการเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 800 กิโลกรัมขึ้นไป จะต้องมีกระบวนการขั้นตอนดังนี้ต่อไปนี้
1) การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ข้าวเปลือกที่ดี มีอัตรางอกสูง แต่ละเมล็ดมีอัตราการแตกกอได้ 15-35 ต้น/กอ

2) ทุกต้นต้องสามารถออกรวงให้เมล็ดข้าวเปลือกรวงละ 150-250 ในกรณีทำนาหว่าน และกรณีทำนาดำต้องให้เมล็ดข้าวเปลือก
รวงละ 300 เมล็ดต่อรวงขึ้นไป

3) ในการแช่เมล็ดพันธ์ ควรแช่ด้วยการผสมน้ำหมักชีวภาพอะตอมมิกนาโน ในอัตรา 1-3 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร หรือใช้สารแอนตี้ออก
ซิแดนท์ละลายน้ำ 1-2 ฝา เพื่อเร่งอัตราการงอกของเมล็ดข้าว

1.2 ขั้นตอนย่อยสลายฟางข้าว ซากวัชพืชและเมล็ดหญ้าด้วยเทคโนโลยีอะตอมมิกนาโน

1) ภายหลังเก็บเกี่ยว ในขณะที่ฟางข้าวและหญ้ากำลังสดมีความชื้น ให้ดำเนินการฉีดพ่นหรือราดด้วยน้ำหมักชีวภาพอะตอมมิกนาโน
ในอัตรา 30-50 ลิตร/ไร่

2) หว่านปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโนในอัตรา 50-60 กิโลกรัมต่อไร่ หากมีปุ๋ยคอกทุกชนิดควรหว่านเพิ่มยิ่งดี

3) ใช้รถแทรกเตอร์ปั่นฟางข้าวโดยโรยตารี่ 1-2 รอบ หรือ ไถกลบตอซังก็ได้ จะได้ปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโน 150-200 ก.ก. ต่อไร่
หมักทิ้งไว้ 7-14 วัน

1.3 ขั้นตอนในการปราบวัชพืชที่งอกขึ้นมา ควรพ่นน้ำหมักด้วยชีวภาพอะตอมมิกนาโน 15-20 ลิตร/ไร่ หรือใช้ปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิก
นาโน 5-10 ก.ก./ไร่ ไถ่พรวนดิน 1 รอบ หมักทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย ดินเป็นกลาง ค่าเฉลี่ย PH 6.5-7 เป็นวิธี
การกำจัดโรคแมลงตามธรรมชาติ

1.4 ขั้นตอนในการหว่านพันธ์ข้าว แช่พันธ์ข้าว 2 คืน หมักในกระสอบไว้ 1-2 วัน แล้วนำมาหว่านในแปลงนาใช้รถไถนาปั่นฟาง จำทำ
ให้เมล็ดข้าวงอกดี ปริมาณที่ใช้ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ แล้วใช้รถไถนา ทำแปลงข้าวที่เหมาะสมควรกว้าง 6 เมตร ความยามตามสภาพ
พื้นที่ มีช่องระบายน้ำกว้าง 30 ซ.ม.


กลวิธีในการทำช่องว่างระบายน้ำใช้ประโยชน์ดังนี้
1) เพื่อปรับระดับน้ำในนาข้าว
2) ป้องกันโรคแมลงได้ดี เพราะสภาพแปลงโล่ง
3) เวลาฉีดพ่นปุ๋ยทางใบและฮอร์โมนข้าวในแปลงไม่เสียหาย
4) มีช่องทางในการตรวจดูวัชพืชและแมลง


1.5 ขั้นตอนเสริมอาหารทางใบ ฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบ เพื่อให้ใบข้าวตั้งตรง แข็งแรงและทนทานต่อโรคแมลงกัดกิน เช่นหอยเชอร์รี่
ปูนา ด้วยการผสมหัวเชื้ออะตอมมิกนาโน ชนิดสกัด ปริมาณ 50 ซีซี. ต่อน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นในเนื้อที่ 1 ไร่ หรืออาจจะใช้น้ำหมักชีว
ภาพอะตอมมิกนาโนที่หมักส่วนผสมที่ประกอบด้วยเศษปลา หอย หรือสัตว์อื่นๆ ในอัตรา 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ใช้ฉัดพ่นทางใบ ระยะที่
1 ควรดำเนินการเมื่อข้าวอายุ 15-20 วัน

1) การฉีดพ่นทางใบระยะที่ 2 เป็นการเร่งเจริญเติบโตกอข้าวลูกให้กับต้นแม่ ควรฉีดระยะที่ข้าวอายุ 40 วัน โดยใช้อัตราและวิธีการ
เดียวกับขั้นตอนที่ 1

2) การฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบรอบที่ 3 เพื่อเร่งการตั้งท้องของข้าวให้สมบูรณ์ ควรดำเนินการไม่เกินวันที่ข้าวอายุ 60 วันเพราะจะทำ
ให้เมล็ดข้าวลีบโดยใช้อัตราส่วนเหมือนรอบที่ 1 ละ 2 หากมีโรคแมลงระบาดควรผสมน้ำหมักวีวภาพไล่แมลงลงไปด้วย เพื่อประหยัด
เวลาและแรงงาน

3) การฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อเพิ่มน้ำหนักข้าวให้ดำเนินการโดยสังเกตบริเวณก้านรองข้าวเมล็ดข้าวมีน้ำนม บริเวณกลางรวงเริ่มแก่และบริเวณ
ปลายรวงข้าวแก่พอดี ใช้ฮอร์โมนสกัดอะตอมมกนาโนชนิดเข้มข้นผสมน้ำอัตราส่วน 1/1,000 (1ลิตร ต่อ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นได้ 10
ไร่) จะได้เมล็ดข้าวน้ำหนักดีมีความสมบูรณ์ คุณภาพเมล็ดข้าวดี เปอร์เซ็นต์หักมีน้อย


สรุป การทำนาหว่าน หรือนาดำ ด้วยเทคโนโลยีอะตอมมิกนาโน
1. ผลผลิตเฉลี่ยสภาพดินทรายที่มีการบำรุงรักษาจะอยู่ที่ 800 กิโลกรัมขึ้นไป
2. ผลผลิตเฉลี่ยสภาพดินร่วนปนทราย-เหนียว ที่มีกี่บำรุงรักษาจะอยู่ที่ 1,000 ก.ก. ขึ้นไป
3.ควรเติมปุ๋ยคอกเป็นระยะในระหว่างข้าวกำลังเจริญเติบโตโดยให้สังเกตสีของใบข้าวหากเหลืองซีด ก็ควรเติมอินทรียวัตถุ คือการเพิ่มอาหาร
ให้กับจุลินทรีย์พลังง้วนดินนั่นเอง



2. เทคนิคการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อะตอมมิกนาโน ในการเลี้ยงปลาในนาข้าว
1) ใช้ท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100-120
ซม. จำนวน 3 ท่อ วางเรียงต่อกัน ฉาบด้วยปูนบริเวณท่อมิให้น้ำซึมออกได้

2) เทพื้นคอนกรีตวางด้วยท่อท่อ พี.วี.ซี. ขนาด 1-2 นิ้ว เจาะรูให้น้ำไหลผ่านได้ และมีวาร์วปิดเปิดได้

3) ใช้ท่อ พี.วี.ซี. ขนาด 1-2 นิ้ว เจาะรูภายในวางตรงขอบท่อ เพื่อทำท่อหายใจ เว้นระยะปากท่อให้สามารถใช้ยางรัดพลาสติกดำที่ปิด
ปากท่อเอาไว้



ขั้นตอนในการหมัก
1) ใช้เศษหญ้า หรือฟางข้าว หากเป็นไปได้ ควรใช้ใบไม้ของพืชตระกูลถั่วทุกชนิดจะได้ผลดีมาก เพราะมีค่าโปรตีนสูงหรือใช้หญ้าสำหรับ
เลี้ยงสัตว์ เช่น รูซี่ และอื่นๆ วางกองทับถมกันตามความสูงพอเหมาะ

2) โรยด้วยมูลสัตว์หนาประมาณ 1 ฝ่ามือ วางลูกอะโนบอล 3 ลูก โรยทับด้วยรำข้าวประมาณครึ่งฝ่ามือ

3) วางทับด้วยเศษวัสดุตามข้อ 1 กะพอประมาณให้ได้ถึงริมขอบท่อที่ 1 หากจะให้ย่อยเร็วควรทำเป็นชั้นที่ไม่หนาเกินไป หมายถึงวาง
ด้วยเศษหญ้าหรือใบไม้ที่มีอยู่โดยด้วยมูลสัตว์และรำอ่อนเป็นชั้นๆ แต่ให้วางลูกอะโนบอลล์ไว้ตรงกลางท่อ เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์
ขยายออกจากบริเวณกลางท่อ เมื่อวางเต็มท่อแล้วให้นำนมเปรียง 5 ลิตร กากน้ำตาล 5 กก. มาผสมกันเติมสารแอนตี้ 1 ฝา ละลายน้ำพอ
ประมาณราดลงบนวัสดุภายในท่อให้ชุ่มหมาดๆ ทำระบบเดียวกัน 3 ท่อ แล้วปิดปากท่อด้วยถุงพลาสติกหนาสีดำ หมักไว้ 14 วัน ปุ๋ย
อินทรีย์จะมีกลิ่นหอมแล้วนำมาใช้ได้ หว่านลงไปในนาจะเกิดแพลนตอนที่เป็นอาหารปลา ปลากินปุ๋ยหมัก ถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยชั้นดี ปลา
เจริญเติบโตโดยไม่ต้องให้อาหารเสริมแต่อย่างใด

4) เมื่อหมักได้ 14 วัน จะได้น้ำหมักชีวภาพอะตอมมิกนาโน ปล่อยลงแปลงนาก็จะได้ปุ๋ยชั้นดี หรือนำมาบรรจุในถังพลาสติกที่มีฝาปิด
เติมอาหารรำอ่อน นมเปรียง กากน้ำตาล หรือน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง เติมสารแอนตี้สัก 2-3 ฝา/ถัง 200 ลิตร และเติมน้ำธรรมชาติ
ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำอะตอมมิกนาโน

5) น้ำหมักชีวภาพมิกนาโน เมื่อนำไปละลายอัตราส่วน 1/50-100 ใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์จะทำให้สัตว์เจริญเติบโตมีภูมิคุ้มกันดี

6) ในการหมักเพื่อทำอาหารปลา ควรเลือกวัสดุที่ให้ค่าโปรตีนสูง เช่น พืชตระกูลถั่วทุกชนิด และหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรนิยมปลูก
จะเป็นปุ๋ยและอาหารปลาชั้นดี ประหยัดและ ได้ความสมดุลทางธรรมชาติ



บทสรุป
นาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีในการประกอบและผลิตสิ่งต่างๆ ขึ้นมาจากการจัดเรียงอะตอมหรือโมเลกุลเข้าด้วยกันด้วยความแม่น
ยำและถูกต้องในระดับนาโนเมตร ความรู้ทางกลศาสตร์ควอนตัมมิได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีนี้ ทั้งยังกลับเป็นประโยชน์
ในการช่วยพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้เกิดขึ้นอีกด้วย

คำถามที่ว่าเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นหรือไม่จึงมีคำตอบแล้วว่าต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน หากแต่เมื่อไหร่เท่านั้น รูปแบบของนาโนเทคโนโลยี
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่ยากจะทำนาย เนื่องจากความที่เทคโนโลยีมีลักษณะของการพัฒนาคล้ายพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตคือมี
Evolution อย่างไรก็ตามเราอาจจะยึดแนวทางของนาโนเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ เป็นตัวนำทางเพื่อนำไปสู่นาโนเทคโนโลยี
ฝีมือมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนองความต้องการของเรา คือ ความกินดีอยู่ดี ในท้ายที่สุด




http://www.saketnakorn.org/?name=knowledge&file=readknowledge&id=27


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/08/2011 9:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/08/2011 8:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

238. กาแฟสดผลิตจากขี้ชะมดแก้วละ 500-1,500 บาท


ตะลึง! ชาวเมืองกาญจนบุรีแห่ชิม

พบลูกค้าเข้าชิมจำนวนมาก บางรายยอมซื้อไปปรุงเองที่บ้านกิโลกรัมละ 1 แสนบาท เจ้าของร้านเผยค้นพบสูตรรสชาดเข้มข้นสำเร็จ
แห่งแรกของประเทศไทย และมีเพียงแห่งเดียวที่เมืองกาญจน์ ขณะที่ลูกค้าบอกรสดี หอม จึงยอมควัก 500 บาทต่อแก้ว

เมื่อเวลา 08.00 น.วันนี้ (7 มี.ค.54) ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่บริเวณร้านกาแฟสดจากไร่คุณหญิง เลขที่ 105 หมู่ 1 ถ.แสงชูโต ต.แก่ง
เสี้ยน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี หลังจากทราบข่าวว่ามีคอกาแฟทยอยเดินทางมาที่ร้าน เพื่อดื่มกาแฟสดที่ผลิตจากขี้ชะมดในราคาแก้วละ
500-1,500 บาท บางรายขอซื้อกลับบ้านเพื่อนำไปชงดื่มเองในราคากิโลกรัมละ 1 แสนบาท เมื่อไปถึงพบนายสุรเชษฐ์ ยุทธสุนทร
และนางสุจิตรา ยุทธสุนทร สองสามีภรรยาเจ้าของร้านและพนักงานกว่า 10 คนกำลังทำหน้าที่ต้อนรับลูกค้าอย่างขะมักเขม้น

นายสุรเชษฐ์ ยุทธสุนทร เจ้าของร้านกล่าวว่า ลูกค้าที่เดินทางมาที่ร้านมีทั้ง ข้าราชการ นักธุรกิจ รวมทั้งถึงประชาชนทั่วไป ส่วน
ใหญ่จะมีรสนิยมชอบดื่มกาแฟสดทั้งหมด ที่สำคัญลูกค้าจะสั่งกาแฟสดที่ผลิตขึ้นจากมูลของตัวชะมด (หรืออีเห็น) ที่เราเรียกกัน โดย
กาแฟชนิดนี้ขายราคาแก้วละ 500 บาทถึงแก้วละ 1,500 บาท อยู่กับลูกค้าว่าต้องการกาแฟรสชาดแบบไหน ส่วนปริมาณเท่ากับ
แก้วกาแฟตามร้านทั่วไป ถึงแม้ว่าจะมีราคาแพงแต่ลูกค้าก็พร้อมจะควักกระเป๋าจ่ายอย่างเต็มใจ และมีลูกค้าบางรายขอซื้อกาแฟ
สดซึ่งเป็นวัตถุดิบเพื่อนำไปชงดื่มที่บ้านในราคา กิโลกรัมละ 100,000 บาท เหตุที่กาแฟชนิดนี้มีราคาแพงก็เพราะว่าวัตถุดิบนั้นหา
ยากและขั้นตอนการผลิตก็มีความละเอียดอ่อนใน 1 ปีถึงจะมีกาแฟชนิดนี้ให้บริการลูกค้า





จุดเริ่มต้นคือเมื่อประมาณ 5 ปีที่ผ่านมาในความที่ตนเป็นคนชอบค้นหาสูตรกาแฟที่มีรสชาติที่แปลกใหม่ และได้ค้นพบในเว็ปไซต์ของ
ประเทศอินโดนีเซีย จึงรู้ว่าประเทศนี้มีวิธีการผลิตกาแฟที่แปลกมาก คือผลิตกาแฟจากมูลของตัวชะมด ซึ่งหลังจากที่ตนได้อ่านรายละเอียด
ในเว็บไซด์ จนเข้าใจ ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่าน่าจะลองทำดูบ้างจึงปรึกษากับภรรยา ซึ่งก็เห็นด้วย และเป็นความโชคดีอยู่อย่างหนึ่ง คือ
ก่อนหน้านั้นมีชาวบ้านนำตัวชะมด 2 ตัวเพื่อมาขายให้กับร้านอาหารแห่งหนึ่ง ตนเห็นเข้าเกิดความสงสารจึงขอซื้อชะมดทั้ง 2 ตัว และ
นำมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน จนในที่สุดก็ออกลูกเพิ่มมาอีก 4 ตัว รวมเป็น 6 ตัว ปัจจุบันมีตัวชะมดอยู่ประมาณ 20 ตัว

สำหรับกาแฟที่ตนปลูกไว้มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ เป็นสายพันธุ์ โรบัสต้า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ตัวชะมดชอบกินเมล็ดสุกเป็นอาหาร ตนจึงได้
ทดลองนำตัวชะมดไปปล่อยในไร่กาแฟ โดยใช้สูตรชะมด 1 ตัว ต้นกาแฟ 4 ต้น ใช้ตาข่ายกั้นเอาไว้กันการหลบหนี ปรากฏว่าหลังจาก
ตัวชะมดได้กินเมล็ดกาแฟเข้าไปจากนั้นได้ถ่ายมูลออกมามีลักษณะเป็นแท่งที่มีเมล็ดกาแฟติดกันเป็นเกรียว จะสังเกตเห็นว่าโดยรอบ
จะมีเอมไซม์และสารเคมีที่มีอยู่ในกระบวนการย่อยอาหารของมันติดออกมาด้วย และนั่นคือวัตถุดิบที่ต้องการนำมาผลิตเป็นกาแฟสด





แต่อย่างไรก็ตามกระบวรการการผลิตนั้นตนและภรรยาได้ลองผิดลองถูกมานานกว่า 3 ปี จึงสามารถนำออกมาจำหน่ายให้กับลูกค้าได้
ซึ่งสรรพคุณของกาแฟที่ผลิตจากมูลของตัวชะมด นอกจากมีรสชาดที่เข้มข้นเป็นที่ติดใจของบรรดาคอกาแฟทุกคนแล้วยังเชื่อว่าจะสามารถ
บำรุงรักษาอวัยวะภายในของคนเราได้

นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า ตนเป็นคนแรกของประเทศไทยที่สามารถคิดสูตรการปรุงกาแฟผลิตจากมูลชะมดที่มีรสชาติแปลกใหม่ และ
เข้มข้นได้สำเร็จ แต่ปัจจุบันได้กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ แต่ยังไม่มากนัก โดยเฉพาะจังหวัดทางภาคใต้ และภาคกลาง ส่วนจังหวัด
กาญจนบุรีมีที่ร้านของตนเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่มีกาแฟชนิดนี้ไว้บริการลูกค้า โดยกาแฟชนิดนี้เป็นความต้องการของชาวต่างชาติเป็น
อย่างมากโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เกหลีใต้ และทวีปยุโรป

"สำหรับตัวชะมด เป็นสัตว์คุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 แต่มีกฎหมายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมออกมาเมื่อ พ.ศ.2546 ให้ชะมดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดเพาะพันธุ์ได้ ในอนาคตตัวชะมดถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่
สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างดี และจะมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ประเทศมูลค่ามหาศาล ซึงปัจจุบันสำนักงานพัฒนาเศรษฐ
กิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) จะมีโครงการส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงตัวชะมดในเชิงพาณิชย์ เพราะสามารถสร้างรายได้ให้ประชาชนเป็น
อย่างดี" นายสุรเชษฐ์ เจ้าของร้านกาแฟสดจากไร่คุณหญิงกล่าว

ด้านนายยุตติ บุญสวัสดิ์ ลูกค้าประจำร้านดังกล่าว เปิดเผยว่า ตนชอบดื่มกาแฟและเป็นลูกค้าประจำ ซึ่งหลังจากทางร้านผลิตกาแฟที่
ทำจากมูลตัวชะมด ครั้งแรกก็ไม่กล้าดื่มเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเริ่มเห็นบรรดาคอกาแฟดื่มกันมากขึ้น จึงตัดสินใจควักกระเป๋าสตางค์ 500 บาท
ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ถูกที่สุด แต่แพงที่สุดเท่าที่ตนเคยซื้อกาแฟดื่มมาในชีวิต แต่หลังจากได้ทดลองดื่ม รู้สึกว่า กาแฟมีกลิ่นที่หอมหวน
รสชาติแปลกใหม่ และเข้มข้นขึ้น ทำให้เงิน 500 บาทที่จ่ายไปนั้นคุ้มค่าเป็นอย่างมาก







กาแฟขี้ชะมดแก้วละ 500-1,500 บาท กิโลกรัมละ 1 แสนบาท




ตะลึง! ชาวเมืองกาญจนบุรีแห่ชิมกาแฟสดผลิตจากขี้ชะมดแก้วละ 500-1,500 บาท พบลูกค้าเข้าชิมจำนวนมาก บางรายยอมซื้อ
ไปปรุงเองที่บ้านกิโลกรัมละ 1 แสนบาท เจ้าของร้านเผยค้นพบสูตรรสชาดเข้มข้นสำเร็จแห่งแรกของประเทศไทย และมีเพียงแห่ง
เดียวที่เมืองกาญจน์ ขณะที่ลูกค้าบอกรสดี หอม จึงยอมควัก 500 บาทต่อแก้ว


เมื่อเวลา 08.00 น.วันนี้ (7 มี.ค.54) ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่บริเวณร้านกาแฟสดจากไร่คุณหญิง เลขที่ 105 หมู่ 1 ถ.แสงชูโต ต.แก่งเสี้ยน
อ.เมือง จ.กาญจนบุรี หลังจากทราบข่าวว่ามีคอกาแฟทยอยเดินทางมาที่ร้าน เพื่อดื่มกาแฟสดที่ผลิตจากขี้ชะมดในราคาแก้วละ 500-
1,500 บาท บางรายขอซื้อกลับบ้านเพื่อนำไปชงดื่มเองในราคากิโลกรัมละ 1 แสนบาท เมื่อไปถึงพบนายสุรเชษฐ์ ยุทธสุนทร และ
นางสุจิตรา ยุทธสุนทร สองสามีภรรยาเจ้าของร้านและพนักงานกว่า 10 คนกำลังทำหน้าที่ต้อนรับลูกค้าอย่างขะมักเขม้น

นายสุรเชษฐ์ ยุทธสุนทร เจ้าของร้านกล่าวว่า ลูกค้าที่เดินทางมาที่ร้านมีทั้ง ข้าราชการ นักธุรกิจ รวมทั้งถึงประชาชนทั่วไป ส่วน
ใหญ่จะมีรสนิยมชอบดื่มกาแฟสดทั้งหมด ที่สำคัญลูกค้าจะสั่งกาแฟสดที่ผลิตขึ้นจากมูลของตัวชะมด (หรืออีเห็น) ที่เราเรียกกัน โดย
กาแฟชนิดนี้ขายราคาแก้วละ 500 บาทถึงแก้วละ 1,500 บาท อยู่กับลูกค้าว่าต้องการกาแฟรสชาดแบบไหน ส่วนปริมาณเท่ากับแก้ว
กาแฟตามร้านทั่วไป ถึงแม้ว่าจะมีราคาแพงแต่ลูกค้าก็พร้อมจะควักกระเป๋าจ่ายอย่างเต็มใจ และมีลูกค้าบางรายขอซื้อกาแฟสดซึ่งเป็น
วัตถุดิบเพื่อนำไปชงดื่มที่บ้านในราคา กิโลกรัมละ 100,000 บาท เหตุที่กาแฟชนิดนี้มีราคาแพงก็เพราะว่าวัตถุดิบนั้นหายากและขั้นตอน
การผลิตก็มีความละเอียดอ่อนใน 1 ปีถึงจะมีกาแฟชนิดนี้ให้บริการลูกค้า


จุดเริ่มต้นคือเมื่อประมาณ 5 ปีที่ผ่านมาในความที่ตนเป็นคนชอบค้นหาสูตรกาแฟที่มีรสชาติที่แปลกใหม่ และได้ค้นพบในเว็ปไซต์ของ
ประเทศอินโดนีเซีย จึงรู้ว่าประเทศนี้มีวิธีการผลิตกาแฟที่แปลกมาก คือผลิตกาแฟจากมูลของตัวชะมด ซึ่งหลังจากที่ตนได้อ่านรายละเอียด
ในเว็บไซด์ จนเข้าใจ ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่าน่าจะลองทำดูบ้างจึงปรึกษากับภรรยา ซึ่งก็เห็นด้วย และเป็นความโชคดีอยู่อย่างหนึ่งคือ
ก่อนหน้านั้นมีชาวบ้านนำตัวชะมด 2 ตัวเพื่อมาขายให้กับร้านอาหารแห่งหนึ่ง ตนเห็นเข้าเกิดความสงสารจึงขอซื้อชะมดทั้ง 2 ตัว และ
นำมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน จนในที่สุดก็ออกลูกเพิ่มมาอีก 4 ตัว รวมเป็น 6 ตัว ปัจจุบันมีตัวชะมดอยู่ประมาณ 20 ตัว

สำหรับกาแฟที่ตนปลูกไว้มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ เป็นสายพันธุ์ โรบัสต้า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ตัวชะมดชอบกินเมล็ดสุกเป็นอาหาร ตนจึง
ได้ทดลองนำตัวชะมดไปปล่อยในไร่กาแฟ โดยใช้สูตรชะมด 1 ตัว ต้นกาแฟ 4 ต้น ใช้ตาข่ายกั้นเอาไว้กันการหลบหนี ปรากฏว่าหลัง
จากตัวชะมดได้กินเมล็ดกาแฟเข้าไปจากนั้นได้ถ่ายมูลออกมามีลักษณะเป็นแท่งที่มีเมล็ดกาแฟติดกันเป็นเกรียว จะสังเกตเห็นว่าโดย
รอบจะมีเอมไซม์และสารเคมีที่มีอยู่ในกระบวนการย่อยอาหารของมันติดออกมาด้วย และนั่นคือวัตถุดิบที่ต้องการนำมาผลิตเป็นกาแฟสด


แต่อย่างไรก็ตามกระบวรการการผลิตนั้นตนและภรรยาได้ลองผิดลองถูกมานานกว่า 3 ปี จึงสามารถนำออกมาจำหน่ายให้กับลูกค้าได้
ซึ่งสรรพคุณของกาแฟที่ผลิตจากมูลของตัวชะมด นอกจากมีรสชาดที่เข้มข้นเป็นที่ติดใจของบรรดาคอกาแฟทุกคนแล้วยังเชื่อว่าจะ
สามารถบำรุงรักษาอวัยวะภายในของคนเราได้

นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า ตนเป็นคนแรกของประเทศไทยที่สามารถคิดสูตรการปรุงกาแฟผลิตจากมูลชะมดที่มีรสชาติแปลกใหม่
และเข้มข้นได้สำเร็จ แต่ปัจจุบันได้กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ แต่ยังไม่มากนัก โดยเฉพาะจังหวัดทางภาคใต้ และภาคกลาง ส่วน
จังหวัดกาญจนบุรีมีที่ร้านของตนเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่มีกาแฟชนิดนี้ไว้บริการลูกค้า
โดยกาแฟชนิดนี้เป็นความต้องการของชาวต่
างชาติเป็นอย่างมากโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เกหลีใต้ และทวีปยุโรป

"สำหรับตัวชะมด เป็นสัตว์คุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 แต่มีกฎหมายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมออกมาเมื่อ พ.ศ.2546 ให้ชะมดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดเพาะพันธุ์ได้ ในอนาคตตัวชะมดถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจ
ชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างดี และจะมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ประเทศมูลค่ามหาศาล ซึงปัจจุบันสำนักงาน
พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) จะมีโครงการส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงตัวชะมดในเชิงพาณิชย์ เพราะสามารถสร้างราย
ได้ให้ประชาชนเป็นอย่างดี" นายสุรเชษฐ์ เจ้าของร้านกาแฟสดจากไร่คุณหญิงกล่าว

ด้านนายยุตติ บุญสวัสดิ์ ลูกค้าประจำร้านดังกล่าว เปิดเผยว่า ตนชอบดื่มกาแฟและเป็นลูกค้าประจำ ซึ่งหลังจากทางร้านผลิตกาแฟ
ที่ทำจากมูลตัวชะมด ครั้งแรกก็ไม่กล้าดื่มเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเริ่มเห็นบรรดาคอกาแฟดื่มกันมากขึ้น จึงตัดสินใจควักกระเป๋าสตางค์ 500
บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ถูกที่สุด แต่แพงที่สุดเท่าที่ตนเคยซื้อกาแฟดื่มมาในชีวิต แต่หลังจากได้ทดลองดื่ม รู้สึกว่า กาแฟมีกลิ่นที่
หอมหวน รสชาติแปลกใหม่ และเข้มข้นขึ้น ทำให้เงิน 500 บาทที่จ่ายไปนั้นคุ้มค่าเป็นอย่างมาก



ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
http://travel.mthai.com/travel-blog/41443.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/08/2011 10:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/08/2011 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

239. "กาแฟขี้ชะมด" สุดยอดกาแฟ "แพงที่สุดในโลก" ทำอย่างไร ?





หนึ่งในกาแฟที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ชื่นชอบกาแฟ คือ " โกปิ ลูวะ" (กาแฟขี้ชะมด) มีที่มาจากอินโดนีเซีย รสชาติอันกลมกล่อมของกาแฟ
เกิดจากผลกาแฟที่ถูกตัวลูวัค หรือชะมดพันธุ์ Parado-
xurus ที่อาศัยอยู่ในประเทอินโดนีเซีย กินเข้าไป และขับถ่ายมูลออกมา




นายวายัน ดีร่า และนางซารี อาร์ตินี สองสามีภรรยา เลี้ยงชะมดไว้ 9 ตัว เป็นเวลากว่า 2 ปี






ผลกาแฟอยู่ในท้องของตัวชะมดจะผสมกับเอมไซม์และสารเคมีที่อยู่ในกระบวนการย่อย ทำให้โปรตีนในเมล็ดกาแฟแตกตัวเป็นโมเลกุล
ขนาดเล็ก เวลานำเมล็ดกาแฟชนิดนี้ไปคั่วบดจะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ ตัวชะมดจะถ่ายมูลซึ่งเหลือแต่เพียงเมล็ดกาแฟออกมา ซึ่งทำให้
สะดวกต่อการเก็บมูลของมัน







เมล็ดกาแฟที่เก็บได้ซึ่งมีมูลของตัวชะมดติดออกมาด้วยเล็กน้อย จะถูกนำมาตากแห้ง ก่อนที่จะนำไปล้างให้สะอาด และนำไปคั่วเพียง
เล็กน้อย






หลังจากที่มันเริ่มได้รับความนิยม แต่ละครัวเรือนก็จะผลิตอุปกรณ์ขึ้นเองในครัวเรือน และผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน






นายวายันกำลังตรวจสอบเมล็ดกาแฟ"โกปิ ลูวะ" ซึ่งผ่านการคั่วเพียงเล็กน้อย ต่างจากกาแฟทั่วไปที่ต้องทำการคั่วเป็นเวลานาน เพื่อให้
ได้สีน้ำตาลอ่อนหรือเข้มกว่าเพียงเล็กน้อย เพื่อคงรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์






กาแฟที่ผ่านการคั่วแล้วจะถูกนำมาผึ่งไว้บนพื้น






เม็ดกาแฟกำลังผ่านเครื่องบด






หลังจากนั้นจึงนำมาบรรจุในห่อ





เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ "โกปิ ลูวะ" สามารถจำหน่ายได้ถึง ปอนด์ละ 227 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6,969 บาท หรือกิโลกรัมละ
13,940 บาท) และตลาดใหญ่ที่สุดคือ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยรสชาติของมันได้รับการอธิบายว่า "มีเอกลักษณ์, นุ่มนวล เจือด้วย
กลิ่นของช็อคโกแลต ดินและโคลน"



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1298092776&grpid=&catid=
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/08/2011 10:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

240. กาแฟขี้ชะมดป่า ดอยช้าง(Doi Chang Wild Civet Coffee)





ได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างมานาน ว่า กาแฟอันดับ 1 ด้านรสชาดและราคาของโลก คือกาแฟขี้ชะมด ซึ่งมีชื่อมากจากประเทศ
อินโดนีเซีย และมีผลิตกันในประเทศฟิลิปปินส์ เวียตนาม โดยเลี้ยงชะมดหรืออีเห็นไว้ ให้มันกินผลกาแฟสุก พอมัน ขี้ ออกมา
ก็จะมีแต่เม็ดกาแฟ เอาไปล้าง หมัก ตาก สี แบบเดียวกับกาแฟทั่วไป จนคั่วออกมาบดทำกาแฟสด จะได้รสชาดสุดยอด ราคาจึง
แพงอย่างมาก และได้ข่าวว่ามีคนไทยมาทำขายแถวกาญจนบุรี ซึ่งขายกันถึงแก้วละ 500-1500 บาท ผมยังไม่เคยกินกาแฟที่
ว่านี้ และคิดจะไปกินที่กาญจนบุรีสักครั้ง ก็ยังไม่ได้ไปลองสักที

แต่ปรากฏว่า ผมบังเอิญได้ไปกินกาแฟขี้ชะมด อันดับหนึ่งของโลก เข้าแล้ว อย่างไม่ตั้งใจ กาแฟที่ว่านี้คือ กาแฟขี้ชะมดป่าดอยช้าง
ซึ่งนักชิมกาแฟขี้ชะมดระดับโลกในต่างประเทศหลายแห่งได้ยอมรับแล้วว่า รสชาดดีกว่าของอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์อย่างมาก
ส่วนแวียตนามนั้นยิ่งห่างไกลจนเลิกผลิตไปแล้ว

พอดีช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ได้โอกาสกลับไปเยี่ยมบ้านที่เชียงใหม่ ในวันสงกรานต์ 15 เม.ย. 54 ได้แวะไปกินกาแฟที่ร้านใกล้บ้าน
ชื่อ "บ้านไท คอฟฟี่" ประมาณ ก.ม. 8 ถนนเชียงใหม่-ฝาง หรือถนนโชตนา หน้าค่ายพระปิ่นกล้า(ป. พัน 7 เดิม) ซึ่งขายกาแฟ
ยี่ห้อดอยช้าง กาแฟอันดับหนึ่งของไทย ที่มีชื่ออยู่ในระดับเกรด A+ ซึ่งมีเพียง 3% ในโลก สำหรับผู้สนใจแต่ไปไม่ถูก โทรสอบ
ถามได้ที่ 053-122353 หรือ 081-8825887



ร้าน บ้านไทคอฟฟี่ เป็นของคุณ วิวรณ์ วาณิชบำรุง ซึ่งช่วงที่ผมเข้าไปในร้านนั้น ลูกสาวชื่อ เพียงสิริ หรือน้องแพรว กำลังดูแลร้านอยู่
เป็นร้านใหม่ เพิ่งเปิดมาได้ 5 เดือน เมื่อไปสั่งกาแฟก็พบว่าเขามีกาแฟขี้ชะมดป่าดอยช้างด้วย ก็เลยถือโอกาสสั่งมาลองดู 1 แก้ว ใน
ราคาแก้วละ 450 บาทเท่านั้น

ตอนแรกเจอคนขายเป็นคุณ แพรว ลูกสาวเจ้าของร้านคนเดียว พอสั่งกาแฟขี้ชะมด ลูกสาวบอกว่า กาแฟนี้ใช้เครื่องทำเอสเปรสโซ่
ทำไม่ได้ เพราะกลิ่นและรสมันจะเสียไป กลายเป็นเอสเปรสโซ่ ต้องทำพิเศษ จึงต้องให้คุณแม่มาทำให้

ก็ปรากฏว่า เมื่อเจอคุณแม่ กลายเป็นคนบ้านเดียวกันที่ผมรู้จักมาตั้งแต่ยังเด็กๆ ก็เลยได้โอกาส สอบถามอะไรกันมากมาย ทราบว่าเขา
ไปเรียนทำกาแฟมาจากดอยช้าง แล้วจึงมาลงทุนเปิดร้านกาแฟที่นี่ และได้ทราบจุดเด่นของกาแฟดอยช้างที่ไม่เหมือนใครหลายข้อ

ก่อนเขียนเรื่องนี้ ผมลองค้นอินเตอร์เน็ตดู ก็ได้ทราบอะไรอีกมากมาย ยืนยันได้ว่า ของเขาดีและมีชื่อระดับโลกจริง กาแฟขี้ชะมด
ป่าดอยช้าง เน้นตรงที่เก็บมาจากขี้ชะมดป่าแท้ๆ ไม่ได้เลี้ยงในกรงเหมือนที่อื่นๆ ชะมดป่าจะเลือกกินแต่เม็ดกาแฟที่ดีที่สุด รสชาด
ดีที่สุด และคงเพราะมันกินพืชและสัตว์อื่นๆ ด้วย เอ็มไซม์ในกระเพาะอาหารของมันจึงมีอะไรที่ดีกว่าชะมดเลี้ยง ทำให้รสชาดกาแฟที่
ผ่านกระเพาะลำใส้ของมันออกมาเหนือกว่าของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ อีกประการหนึ่งคงเป็นเพราะกาแฟที่นี่เป็นกาแฟอาราบิการ์
ไม่ใช่้โรบัสต้าแบบกาแฟขี้ชะมดในที่อื่นๆ สภาพดินและป่าที่ไร้สารฆ่าแมลงและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการผลิตแบบออแก
นิกส์ที่ได้รับการรับรองระดับโลก จึงทำให้รสชาดกาแฟที่นี่ยอดเยี่ยมกว่าหลายๆ แห่งในโลก

ที่น่ายินดีก็คือ กาแฟขี้ชะมดดอยช้าง เกิดได้เพราะชาวบ้านที่ปลูกกาแฟ ได้พยายามฟื้นสภาพป่า จากที่เคยถางป่าปลูกฝิ่นให้กลับมา
เป็นป่าอีกครั้ง โดยกาแฟที่ปลูกเป็นพันธุ์ที่ต้องการแสงแดดเพียง 50% จึงต้องปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้มัน เมื่อมีป่าสมบูรณ์มากขึ้น
ชะมดมันก็กลับมาอีก ตอนแรกชาวบ้านไม่รู้เรื่องก็พยายามขับไล่ จนถึงฆ่ามันทิ้งก็มี ทั้งนี้เพราะชะมดหรืออีเห็นมันมาขโมยกินผลสุก
ของกาแฟ และมันยังจับไก่ สัตว์เลี้ยงอื่นที่ตัวเล็กๆ กินด้วย เพิ่งมารู้ไม่นานมานี้ว่า ชะมดช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กาแฟอย่างมหาศาล



http://www.cowboylifeandsong.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:15 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 1:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

241. การตัดข้าวปน (เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว)





การตรวจตัดข้าวปน เป็นวิธีการกำจัดต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ข้าวอื่นๆที่ปนมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ปลูก การเกิดพันธุ์ข้าวปนอาจเกิด
จากเมล็ดที่ติดมากับเครื่องจักรที่ใช้เก็บเกี่ยวมาจากแปลงที่ปลูกข้าวพันธุ์อื่นๆ หรือจากการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่ปลูก และคงมีเมล็ดพันธุ์ข้าว
เดิมที่ตกเป็นข้าวเรื้อในนา
วิธีการตรวจตัดข้าวปน แปลงปลูกข้าวควรทำร่องทางเดินไว้สำหรับการลงตรวจแปลงไว้ด้วย การตรวจแปลงปลูกข้าวจะต้องลงตรวจแปลง
อย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบว่ามีข้าวพันธุ์อื่นปน จะต้องตัดข้าวที่ปนนั้นออกทั้งต้น หรือทั้งกอถ้าข้าวแตกกอแล้ว การตัดข้าวปนให้ตัดถึงโคนต้น
หรือใช้วิธีถอนทั้งกอ

ขั้นตอนการตรวจข้าวปน สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว สมควรลงตรวจตัดข้าวปน 4-5 ครั้ง ตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดังนี้

1. ระยะกล้า : ดูความแตกต่างของสีใบ ความสูง หรือเป็นโรค

2. ระยะแตกกอ : ดูความแตกต่างของความสูง สีของต้น และข้าวแดง

3. ระยะออกดอก : ดูเวลาออกดอกก่อน หรือหลังเปรียบเทียบกับพันธุ์ข้าวหลักที่ปลูก ดูสีของรวงที่ต่างออกไป ดูความสูงที่ต่าง จากข้าว
ที่ปลูก รวมทั้งทรงกอที่ต่างกัน

4. ระยะโน้มรวง : ดูสีของเมล็ด ดูหาง รวมทั้งลักษณะของเมล็ดและรวงข้าวที่ต่างกัน

5. ระยะก่อนเก็บเกี่ยว : ตรวจดูต้นข้าวที่มีลักษณะแตกต่างออกไปอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว

การตรวจตัดข้าวปนที่ดีจะทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้สามารถผ่านขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวตามมาตรฐานเมล็ดพันธุ์
ข้าวที่กำหนด ดังนี้

- ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ตรงตามพันธุ์ไม่ต่ำกว่า 95 %

- สิ่งเจือปนไม่เกิน 5 %

- ถ้ามี ข้าวแดง / ข้าวเหนียวปน ไม่เกิน 0.2 %

- เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้ผ่านการทดสอบความงอก จะต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า 85 %

- มีความชื้นเมล็ดพันธุ์ 14 %



http://cbr-rsc.ricethailand.go.th/famer_08.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 1:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

242. การทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว


1. การคัดเลือกพื้นที่ทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว
- พื้นที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ติดต่อกันหรืออยู่ใกล้เคียงกัน สะดวกในการดูแล และติดตามงาน
- ติดถนน การคมนาคมสะดวก
- มีแหล่งน้ำใช้พอเพียงตลอดฤดูการผลิต
- ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่อยู่ใกล้คอกสัตว์ และบ่อเลี้ยงปลา
- ไม่เป็นดินกรดจัด หรือด่างจัด
- อยู่ใกล้แหล่งรับซื้อและโรงงานปรับปรุงสภาพ


2. การคัดเลือกเกษตรกร
- มีความสนใจ ตั้งใจจริงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์
- ขยัน หมั่นตรวจถอนพันธุ์ปนสม่ำเสมอ
- ซื่อสัตย์ รักษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ไม่ปลอมปน หรือลักจำหน่ายเมล็ดพันธุ์
- มีการรวมกลุ่มช่วยกันถอนพันธุ์ปน
- มีพื้นที่ไม่มากเกินไป จะได้มีเวลาตรวจถอนพันธุ์ปน


3. การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่จะผลิต
- เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกและระดับน้ำ
- เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรสนใจและนิยมปลูก
- ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญในพื้นที่
- หลีกเลี่ยงพันธุ์ที่ไม่ทนทานต่อสภาพอากาศในบางฤดู
- เป็นพันธุ์ข้าวที่ตลาดต้องการ


4. การวางแผนการปลูกข้าว
- หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวต่างจากพันธุ์เดิม เพื่อลดปัญหาข้าวปนจากข้าวเรื้อ
- กำจัดข้าวเรื้อก่อนเปลี่ยนพันธุ์ใหม่
- ห้ามปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่ออากาศ หนาวเย็นในช่วงกันยายน-พฤศจิกายน
- หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนที่ระยะเก็บเกี่ยวตรงกับช่วงฝนตกชุก


5. การเตรียมดิน
- กำจัดข้าวเรื้อก่อนเปลี่ยนพันธุ์ข้าว หรือ เริ่มทำแปลงขยายพันธุ์ครั้งแรก โดย ตากหน้าดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวอย่างน้อย 2 สัปดาห์
แล้วใช้โรตารี่ย่ำกลบตอซัง จากนั้นระบายน้ำออกให้หน้าดินแห้ง 2 สัปดาห์ จนข้าวเรื้องอก จึงใช้ขลุบย่ำ กลบข้าวเรื้อ หมักไว้ 1-2 สัปดาห์
ก่อนคราด ทำเทือก ปลูก
- ปรับพื้นนาให้เรียบสม่ำเสมอ ทำร่อง ระบายน้ำทุก 4 เมตร


6. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
- ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
- สุ่มเมล็ดพันธุ์เพื่อตรวจสอบ ข้าวปน และความงอกก่อนปลูก
- ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปลูกแบบหว่านน้ำตม และ 5 กิโลกรัมต่อไร่่ สำหรับปลูกแบบปักดำ


7. วิธีการปลูกข้าว
- หว่านน้ำตม เหมาะสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานที่ขาดแคลนแรงงาน ทำนาหลายครั้งต่อปี ไม่มีการเปลี่ยนพันธุ์
- ปักดำ เหมาะสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำฝน หรือมีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าว เพื่อป้องกันปัญหาข้าวเรื้อ และกรณีที่มีเมล็ดพันธุ์จำกัด
แต่ต้องการขยายปริมาณมาก




8. การควบคุมหอยเชอรี่
- ปล่อยเป็ดกินช่วงเตรียมแปลง และใช้ตาข่ายดักจับขณะสูบน้ำเข้านา
- ใช้สารเคมีขณะหมักเทือกก่อนหว่านข้าว
* นิโคซามาย 50 กรัมต่อไร่
* เมทัลดีไฮด์ 150 กรัมต่อไร่
* สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่ 3 กิโลกรัมต่อไร่
- ระดับน้ำในนาขณะใช้สารไม่เกิน 5 เซนติเมตร


9. การควบคุมวัชพืช
- ใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชให้ถูกต้อง
* ถูกกับชนิดของวัชพืช (ใบแคบ ใบกว้าง กก )
* ถูกกับเวลาที่ใช้แล้วได้ผลดี (โดยนับจาก วันหว่านข้าว)
* ถูกอัตราที่สารนั้นกำหนด
- เปิดน้ำเข้านาหลังพ่นสารเคมี 3 วัน
- รักษาระดับน้ำ 5-10 เซนติเมตร หลังกำจัดวัชพืช เพื่อป้องกันวัชพืชงอกอีกครั้ง


10. การจัดการน้ำในนาข้าว
- รักษาระดับน้ำให้เหมาะสมกับอายุข้าว
* ระยะกล้า 5 เซนติเมตร.
* ระยะแตกกอ 5-10 เซนติเมตร
* ระยะตั้งท้อง-ออกดอก 10 เซนติเมตร
- ระบายน้ำก่อนเก็บเกี่ยว
* นาดินเหนียว 10-14 วัน
* นาดินทราย 7 วัน

11. การใส่ปุ๋ยในนาข้าว
- กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย
- ระดับน้ำขณะใส่ปุ๋ย 5-10 เซนติเมตร.
- ใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับชนิดของดิน ชนิดและระยะการเจริญเติบโตข้าว

ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง(ต้นเตี้ย)
1. ดินเหนียว แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 25-35 กิโลกรัม/ไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

2. ดินร่วน และดินทราย แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 25-35 กิโลกรัม/ไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่่


ข้าวไวต่อช่วงแสง (ต้นสูง)
1. ดินเหนียว แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 20 - 25 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่

2. ดินร่วน และดินทราย แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่

12. การกำจัดข้าวปน
- ระยะแตกกอ
- ระยะออกดอก
- ระยะโน้มรวง
- ระยะพลับพลึง

13. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว
- โรคข้าว
- แมลงศัตรูข้าว
- สัตว์ศัตรูข้าว


14. การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว
- เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ระยะสุกแก่พอดี ประมาณ 30 วันหลังข้าวออกดอก 80 %
- ทำความสะอาดรถเกี่ยวนวดก่อนเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์
- เกี่ยวข้าวขอบแปลงแยกออกเพื่อทำความสะอาดรถเกี่ยวนวดอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ุ์
- ทำความสะอาดภาชนะบรรจุ และรถบรรทุกก่อนเก็บเกี่ยว และชักลากเมล็ดพันธุ์



http://www.brrd.in.th/rkb/data_003/rice_xx2-03_ricetech0006.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 1:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

243. การปรับปรุงความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว


ความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว เมื่อเทียบกับธัญพืชอื่นๆ ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ถ้าการบริโภคข้าวเฉลี่ยของคนไทยอยู่ระหว่าง 200-250 กรัมต่อวัน และความต้องการธาตุเหล็กของร่างกายเฉลี่ยเท่ากับ 15 มก.ต่อวัน (RDA) ดังนั้นถ้าต้องการให้ข้าวสามารถให้ธาตุเหล็กระดับ 1 ใน 3 ของ RDA เมล็ดข้าวจะต้องมีความหนาแน่นของธาตุเหล็กถึง 5 มก.ต่อ 100 กรัม พันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปมีธาตุเหล็กต่ำกว่า 1.3-1.5 มก./100 ก.

ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ได้ดำเนินการค้นหาข้าวที่มีธาตุเหล็กสูงจากข้าวพื้นเมือง เพื่อใช้เป็นพันธุ์สำหรับให้ลักษณะธาตุเหล็กสูง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักพบในข้าวที่มีเมล็ดสีดำ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ข้าวจากฐานพันธุกรรมธรรมชาติยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณสารยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กพวก polyphenol และ phytic acid ซึ่งมีอยู่มากในส่วนของรำ ในขณะที่ข้าวสีขาวมีสารยับยั้งการดูดซึมในปริมาณที่ต่ำกว่า จึงได้มีความพยายามที่จะผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวสีขาวกับข้าวสีม่วง-ดำ เพื่อถ่ายทอดลักษณะธาตุเหล็กสูงให้กับข้าวสีขาว


ความสำเร็จในก้าวแรกได้ค้นพบข้าวสีขาวที่มีธาตุเหล็กในข้าวกล้อง 2.1 มก./100 ก. พันธุ์บริสุทธิ์ที่ได้ให้ชื่อว่า 313-19-1-1 เป็นข้าวที่มีกลิ่นหอม มีอมัยโลสปานกลาง ต่อมาได้ค้นพบข้าวเจ้าสีขาวธาตุเหล็กสูงระดับ 2.8 มก./100 ก. จากคู่ผสมระหว่างข้าวไร่ หอมพม่าและก่ำดอยช้าง ส่วนพันธุ์ข้าวที่มีธาตุเหล็กสูงสุดระดับ 5 มก./100 ก. ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวป่านิวาราและเจ้าหอมนิล การปรับปรุงพันธุ์ในขั้นต่อไปคือการเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กในเมล็ดให้สูงขึ้น


ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กเป็นเรื่องยากในการปรับปรุงธาตุเหล็กในเมล็ดธัญพืชให้มีความเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากความเป็นประโยชน์มีความเกี่ยวข้องกับ รูปแบบการสะสมเหล็ก, สัดส่วนของสารกระตุ้นและสารยับยั้งการดูดซึม โดยธาตุเหล็กจะดูดซึมได้ดีเมื่อจับอยู่กับ ferritin หรือ frataxin ดังนั้นจึงแน่ใจได้ว่าความหนาแน่นของ ferritin หรือ frataxin มีผลต่อความหนาแน่นของธาตุเหล็กและการดูดซึมธาตุเหล็ก

สำหรับสารที่พบในธรรมชาติ คือ polyphenol, condensed tannin และ phytic acid นับว่ามีผลต่อการยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กเป็นอย่างมาก

การลดสารเหล่านี้ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักของการผสมข้ามพันธุ์ ในปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าใจถึงปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กได้ชัดเจนทั้งหมด รู้แต่เพียงว่าตัวส่งเสริมการดูดซึม คือ วิตามิน ซี. กรดอะมิโน เช่น methionine, cysteine และ oligosaccharide สายสั้นๆ พวก inulin หรือใช้ polysaccharide fraction สำหรับช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กในข้าวขัดให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ภาพประกอบจากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวฯ | ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry



http://dna.kps.ku.ac.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 1:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

244. อนาคตข้าวขาวดอกมะลิในภาวะโลกร้อน


ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มีบริเวณ 2.1 ล้านไร่ กินพื้นที่ 5 จังหวัดในภาคอีสาน สถาบันวิจัย ม.ขอนแก่น ได้รายงานว่าสภาวะโลกร้อนสร้าง
ผลกระทบกับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิอย่างชัดเจนทำให้ผลผลิตของข้าวหอมไทยมีผลผลิตลดลงมากถึง 45 % เกษตรกรต้องเจอ
กับ ภัยน้ำท่วมสลับกับความแห้งแรงที่เกิดขึ้น

ดังนั้นอนาคตข้าวขาวดอกมะลิจึงอยู่ที่การปรับปรุงพันธุ์ให้มีความทนต่อสภาพ แห้งแล้ง น้ำท่วม แมลงนอกจากนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้น
เป็นอุปสรรคในการผสมเกสรทำให้เกสรตัวผู้เป็นหมันคือสาเหตุให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก





ในสภาวะโลกร้อนเกิดผลกระทบกับนาน้ำฝนอย่างรุนแรง นาน้ำฝนเป็นฝืนนาที่กว้างใหญ่ของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตั้งแต่ พม่าจรด
เวียดนาม ฝืนนาแห่งนี้ต้องรอน้ำฝนเพื่อการเพาะปลูกเท่านั้น ข้าวพันธุ์พื้นเมืองได้ปรับตัวเข้ากับสภาวะจำกัดการเจริญเติบโตจึง
จำเป็นต้องปรับปรุงพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้ให้มีความทนยิ่งขึ้น ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในภาวะโลกร้อนคือเเมลงจะปรับตัวได้ดีขึ้นจะ
ระบาดหนักเทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นคำตอบได้หรือไม่ ? ... ติดตามต่อในบทความนี้





พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens) เป็นหนึ่งในแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดต่ำลงทั้งในเขตนา
น้ำฝนและนาชลประทาน ซึ่งมีการระบาดทั้งนาปีและนาปรัง โดยที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายข้าว
โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำเลี้ยงและท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้ง
ลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก อาการไหม้ (hopperburn ) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ใน
ระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 (generation) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว นาข้าวที่ขาดน้ำ
ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจาก
นี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส
โรคใบหงิกหรือโรคจู๋ (rice ragged stunt ) และโรคเขียวเตี้ย (rice grassy stunt) ทำให้ข้าวเตี้ย แคระแกร็น ไม่ออกรวงหรือ
ออกรวงน้อย เมล็ดไม่สมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์


การปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เนื่องจากมีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลประจำทุกปีและในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ดังนั้นการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ต้าน
ทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจึงเป็นแนวทางที่สำคัญยิ่ง การสืบหาสายพันธุ์ข้าวที่มีการต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบกว้าง
โดยทดสอบพันธุ์ต่าง ๆ และใช้ประชากรแมลงที่มีชีวชนิด (biotype) ต่างกัน พบว่าสายพันธุ์ข้าว PTB33 และ Rathu Heenati
ต้านทานต่อทุกประชากรแมลงที่เก็บรวบรวมไว้ จากนั้นจึงนำข้าวทั้งสองสายพันธุ์นี้มาผสมกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 (KDML105)
ซึ่งเป็นข้าวที่มีคุณภาพหุงต้มและรับประทานเป็นที่พอใจของผู้บริโภค แต่ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แล้วทำการคัดเลือก
บริเวณยีนต้านทานเพลี้ยกระโดดที่โครโมโซม 6 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย ดีเอ็นเอ.ร่วมกับการทดสอบความต้านทานเพลี้ยกระโดด
และการผสมกลับ (backcross) จนได้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข6 ที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานโรคไหม้
โรคไหม้ข้าวเกิดจากเชื้อรา Pyricularia grisea ที่สามารถเข้าทำลายต้นข้าวได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ถึงระยะ เก็บเกี่ยว โดยสามารถ
พบอาการของโรคได้ทุกส่วนของต้นข้าวที่อยู่เหนือดิน และได้มีการประเมินไว้ว่าในแต่ละปีผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่
เป็นพันธุ์อ่อนแอโรคไหม้จะสูญเสียไปเนื่องจากโรคนี้ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตทั้งหมด ถึงแม้จะมีการปรับปรุงพันธุ์
ข้าวให้ต้านทานโรคไหม้ได้ แต่เมื่อแนะนำส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ได้ไม่นานเชื้อโรคก็จะมีการพัฒนาตัวเองให้สามารถ
เข้าทำลายข้าวพันธุ์ต้านทานนั้นได้ จึงมีความจำเป็น และเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่จะปรับปรุงพันธุ์ ข้าวให้มีความต้านทานอย่างยั่ง
ยืนต่อโรคไหม้นี้


การปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้านทานโรคไหม้
ข้าวเจ้าหอมนิล และข้าว IR64 เป็นพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพสูงในการต้านทานเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ของประเทศไทย ได้มีการศึกษา
หาตำแหน่งของยีนต้านทานโรคไหม้และมีการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลเพื่อนำมาใช้ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ซึ่งได้มีการดำเนิน
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว 2 วิธีด้วยกัน คือ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยการเพิ่มความต้านทานโรคไหม้ลงในข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้วย
วิธีการผสมกลับ และการรวบยอดยีนต้านทานโรคไหม้จากข้าวเจ้าหอมนิล และ IR64 เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่
มีการเพิ่มความต้านทานโรคไหม้


การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ105 ให้ทนแล้ง
ภัยแล้งเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่การเกษตรที่อาศัยน้ำฝนโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดย
แต่ละปีมักประสบปัญหาความไม่แน่นอนของปริมาณและการกระจายตัวของฝนจึง
เกิดสภาพแล้งและน้ำท่วมเป็นประจำความแห้ง
แล้งนี้จะเกิดได้ทุกระยะการปลูก คือ ต้นฤดูฝน กลางฤดู หรือปลายฤดูฝน ถ้าปีไหนแล้งจัดก็อาจจะแห้งแล้งทั้งต้นและปลายฤดูปลูก
เป็นต้น ซึ่งการเกิดสภาพแล้งในระยะที่ข้าวกำลังออกรวงนั้นทำให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก ซึ่งในปีที่แล้งจัดเกษตรกรอาจจะไม่
ได้ผลผลิตข้าวเลย


เป้าหมายของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนเเล้ง จึงเน้นที่การนำ QTL จากพันธุ์ข้าวทนแล้วเกี่ยวข้องกับการยก
ระดับของศักยภาพผลผลิต การเลี่ยงแล้งโดยมีอายุออกดอกที่เร็วขึ้น 1-2 สัปดาห์การทนต่อสภาพการขาดน้ำโดยกลไกทางสรีร
วิทยาและระบบรากคที่ลึกมาใส่ในพันธุ์ข้าวขาวดอกามะลิ 105 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยคัดเลือก (MAS)


ผลการทดลอง
จากการทดสอบพันธุ์ปรับปรุงของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีชิ้นส่วนของพันธุ์แล้ง บนโครโมโซมที่ 1,3,4และ8 ภายใต้สภาพแล้ง
ที่มีความรุนแรงในการทำให้ผลผลิตลดลง 50 % พบว่ามีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าและเปอร์เซ็นต์ความเป็นหมันลดลง อีกทั้งยังมี
การสะสมน้ำหนักในเมล็ดสูง ถึงแม้ว่าการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้ MAS จะแสดงถึงความสำเร็จระดับหนึ่ง ดังนั้นในระยะหลังของ
กระบวนการคัดเลือกจึงจำเป็นจะต้องคัดเลือกลักษณะทนเเล้งและผลผลิตภายใต้สภาพแล้งในแปลงทดลอง ซึ่งต้นที่แสดงลักษณะ
ที่ดีภายใต้สภาพแล้งนั้นเกิดจากการรวม QTL ที่ดีของพันธุ์ทนแล้งและพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เข้ากัน




http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว/อนาคตข้าวขาวดอกมะลิในภาวะโรคร้อน.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 1:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

245. ทุ่งรวงทอง : ความหวังของผืนดิน





ทุ่งรวงทอง : ความหวังของผืนดิน
โดย ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 25 พ.ค. 2554
ที่มา www.bangkokbiznews.com



ปิดท้าย ซีรีส์ "การเดินทางของเมล็ดข้าว" มองวันพรุ่งนี้ของผืนนาไทยผ่าน นวัตกรรมพันธุ์ข้าว โมเดลตลาดบ้านทุ่ง และความ
หวังของชาวนารุ่นใหม่

จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ทำให้รู้ว่า พื้นที่ภาคการเกษตรกว่า 131 ล้านไร่ของประเทศไทย
มี "นาข้าว" แซมพื้นที่อยู่ราว 57-69 ล้านไร่

แม้ในช่วง 10 ปีหลัง พื้นที่ปลูกข้าวจะถูกโรงงานอุตสาหกรรม ระบบสาธารณูปโภค และการขยายตัวของสังคมเมืองเบียดเบียน
ไปกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ หรือ ด้วยกลไกตลาดทำให้ชาวนากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ต้อง "เช่าทำกิน" ก็ตาม
แต่ "ข้าว" ยังคงถือเป็นอาหารหลัก และสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของประเทศอยู่ดี

ไม่ต่างกับ ชีวิตรันทดของชาวนา ดราม่าม้วนเดิม ที่วนฉายซ้ำไปซ้ำมา ไม่น้ำท่วมก็ฝนแล้ง หนี้ท่วมหัว และยากจนอยู่เป็นนิจ

แม้จะมีความพยายามแก้ปัญหาจากภาครัฐ แต่ตอนจบก็ยังคงเป็น "กระดูกสันหลังของชาติ" ที่ต้องหลั่งน้ำตา

คำถามถึงวันพรุ่งนี้ของเกษตรกรที่ราบลุ่ม (และปลูกข้าว) จึงมีมากกว่าแค่ทำอย่างไร ผลิตผลจึงจะได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อรูป
แบบการแข่งขันของตลาดโลกกำลังเปลี่ยนไป พร้อมกับฟ้าฝนที่กำลังเปลี่ยนแปลง


ข้าวครอบจักรวาล
ดูเหมือนสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงปี พ.ศ.2553 - 2554 จะพลิกความเข้าใจเรื่องภัยธรรมชาติของประเทศไทยไปพอสมควร
ยิ่งเมื่อถูกเชื่อมโยงกับกระแสภาวะโลกร้อนที่นับวันยิ่งเห็นชัดขึ้น ความวิตกเรื่องวิกฤติอาหารโลก (World Food Crisis)
ส่งผลให้ราคาอาหารปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีก่อน มาจนถึงไตรมาสแรกปีนี้

แม้ภาคธุรกิจส่งออกจะยืนยันถึงโอกาสในฐานะประเทศส่งออกอาหารเป็นหลัก แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่า ปัจจัยแวดล้อมเหล่า
นี้จะไม่ย้อนกลับมาส่งผลกระทบกับไทยเอง โดยเฉพาะพืชที่มีความละเอียดอ่อนสูงอย่าง "ข้าว" อาหารหลักของคนทั้งประเทศ

"ข้าวเป็นพืชที่ต้องการความสม่ำเสมออย่างมาก" รศ.ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร จากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว และหน่วยปฏิบัติการ
ค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว (Rice science center) ยืนยัน

ความสม่ำเสมอของ ดิน น้ำ อากาศ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ข้าว "ติดรวง" หรือ "ไม่ติดรวง" แทบทั้งสิ้น รวมทั้งโรคระบาด และ
ศัตรูพืช ด้วย

"ลักษณะทั่วไปของข้าวจะมีปัจจัยแวดล้อมที่ละเอียดอ่อนมาก เวลาออกรวง ข้าวจะออกรวงพร้อมกัน แต่หากเกิดการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศเฉียบพลันก็จะส่งผลกระทบต่อการผสมเกสรที่จะทำให้ติดเมล็ด ปีที่แล้วอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รวมถึงภัยธรรม
ชาติอย่างน้ำท่วม ส่งผลให้ผลผลิตออกมาไม่ดีเท่าที่ควร และเป็นที่รู้กันดีว่าประเทศไทยส่งออกข้าวในปริมาณมาก โดยเฉพาะ
ข้าวหอมมะลิ กลิ่นหอมของข้าวก็ดึงดูดแมลงเข้ามาทำให้นาเสียหาย หากบางพื้นที่ที่ปลูกข้าวได้เพียงปีละครั้ง หรืออย่างพันธุ์ข้าว
หอมฯ เองที่ปลูกได้ปีละครั้ง นั่นคือการเสียแล้วเสียเลย ทุกอย่างล้วนถือเป็นความเสี่ยงแทบทั้งสิ้น"

การปรับปรุงสายพันธุ์จึงกลายเป็นทางออกในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับข้าว โดยโจทย์สำคัญข้อแรกๆ อยู่ที่ การปรับปรุง
สายพันธุ์ให้สามารถรับมือกับสภาพอากาศ และสามารถต่อสู้กับโรคระบาด หรือแมลงได้

ขณะที่สิ่งที่ทำให้การปรับปรุงสายพันธุ์กลายเป็นเรื่อง "หิน" ขึ้นไปอีกอยู่ตรงที่ นอกจากจะพัฒนาสายพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพมาก
ขึ้นแล้ว แต่ก็ยังต้องคงสภาพความเป็นข้าวชั้นดีเอาไว้อย่างครบถ้วนด้วย

"พัฒนาอย่างไรไม่ให้คนรู้สึกว่าข้าวที่กินเปลี่ยนไป หอมมะลิก็ยังคงต้องเป็นหอมมะลิ ข้าวเรียงเม็ดสวย หอม อร่อยเหมือนเดิม
แต่มีภูมิต้านทานแมลงมากขึ้น ทนร้อนทนแล้งมากขึ้น"

ปัจจุบันถึงจะสามารถพัฒนาสายพันธุ์ข้าวทนน้ำ ข้าวทนโรค ข้าวทนแมลง ออกมาได้ แต่ก็จัดเป็นความสำเร็จระดับหนึ่ง เพราะสิ่ง
ที่ต้องมองต่อมาก็คือ การเสริมคุณค่าให้กับข้าวเพื่อให้สอดรับกับกระแสการบริโภคปัจจุบันที่เน้น

"สุขภาพ" เป็นสำคัญ พันธุ์ข้าวสีเหล็ก และ ข้าวไรซ์เบอรี่ จึงกลายเป็นคำตอบต่อมาสำหรับการเติม "โภชนาการ" และเทรนด์ "กิน
แล้วไม่อ้วน" ลงไปในข้าว

ขณะที่ในอนาคต รศ.ดร.อภิชาติยังมองถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาสายพันธุ์ให้ข้าวสามารถต้านทานกับภาวะโลกร้อนได้
อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

"แต่มันก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือ นโยบาย และความเอาจริงเอาจังของภาครัฐ เพราะเรื่องนี้ต้องทำความร่วมมือกันในระยะยาว
ไม่ใช่ต่างคนต่างทำไร้ทิศทางกันอยู่อย่างทุกวันนี้" สิ่งเหล่านี้ เขาถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำข้าวสายพันธุ์ดีๆ ออกสู่ตลาด
ได้ในที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีการมองข้าวในแง่มุมของการพัฒนานวัตกรรมที่มีข้าวเป็นฐานสำคัญไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัด
เพื่อความงาม หรืออาหารสำเร็จรูปที่มีข้าวเป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่ง ศ.ดร.อรอนงค์ นัยวิกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็น
เลิศแห่งนวัตกรรมข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์การันตีว่า มีงานวิจัยของไทยหลายชิ้นรองรับ และมีประสิทธิภาพเทียบ
เท่ากับระดับนานาชาติ แต่ก็ไม่ต่างกับที่รศ.ดร.อภิชาติให้ความเห็น ว่า รูปธรรม และความเอาจริงเอาจังยังเป็นเรื่องที่จับต้องไม่
ได้อยู่ในวันนี้

"รัฐก็เห็นความสำคัญ ทุกคนต่างพูดถึง แต่การลงมือทำจริงๆ กลับไม่เป็นรูปธรรม ไม่มีความต่อเนื่อง และเห็นเป็นผลสำเร็จออกมา"
เธอสรุป



"คุณธรรม" โมเดลร้านชำของชาวนา

ต้นน้ำ - รัฐออกมาตรการประกันราคาข้าว

กลางน้ำ - เกษตรกรรายย่อย (10-20 ไร่) เช่าที่เพิ่ม (บางราย 100 ไร่) ด้วยความเชื่อว่าไม่ขาดทุนเพราะรัฐอุ้ม เพิ่มอัตรา
การผลิตทั้งในแง่ความถี่ และพื้นที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งเรื่องน้ำ และคุณภาพ หรือกระทั่งโรคระบาด

ปลายน้ำ - ข้าวคุณภาพลดลง จิตวิญญาณชาวนาหายไป เงินตกในมือผู้มีอำนาจต่อรอง (แทนที่จะเป็นชาวนา) ข้าวไทยถูกข้าวนอก
(เขมร/เวียดนาม) สวมสิทธิ์ และแบรนด์ข้าวไทยจะถูกกลืนหายไปในที่สุด



เพราะความตระหนักถึงปัญหาระยะยาวที่จะเกิดขึ้นกับชาวนาไทย รศ.จุฑาทิพย์ ภัทรวาท ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์
จึงสังเคราะห์โมเดล "ข้าวคุณธรรม" หรือ Moral Rice ขึ้นมา โดยมีโจทย์ง่ายๆ เพียงข้อเดียวว่า ทำอย่างไร ชาวนาจึงจะไม่
สนใจนโยบายรัฐ ปลูกเอง กำหนดราคาเอง สร้างแบรนด์ตัวเอง

"ปลูกข้าวอินทรีย์ ทำอย่างไรคนจะเชื่อว่ามันเป็นอินทรีย์ ก็เขาถือศีล 5 ลดอบายมุข 3 ประการไม่สูบบุหรี่ ไม่กินเหล้า ไม่เล่นพนัน
มีกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจน และอยู่ในจิตสำนึกของความเป็นชาวนา" เธอจำกัดความสั้นๆ

กลยุทธเริ่มต้นที่ชวนชาวนาปลูกข้าวให้มีศักดิ์ศรี อีกด้านวางแผนแบรนด์ให้คนเกิด "ความรู้สึก" และ "คุณค่า" ของข้าว
แต่ละเมล็ดที่อยู่ในถุง

"ข้าวหัก ข้าวแหว่งก็ต้องกิน เพราะข้าวในถุงเป็นของชาวนาขนาดเล็ก และตั้งใจทำดี เอาข้าวคุณภาพดีการันตีโดยสหกรณ์ขายให้
กับประชาชน แค่ซื้อข้าวก็เกิดบุญแล้วเพราะคุณช่วยซื้อข้าวชาวนาขนาดเล็ก ไม่ปลอมปน"

เรื่องต่อมาที่เธอย้ำกับสหกรณ์คือการดูแลชาวนา ไม่ใช่เอาแต่รับนโยบายมาขัดแข้งขัดขา ทำให้ชาวนาแท้ๆ ตกเป็นรองอย่างเบ็ด
เสร็จในตลาดค้าข้าว ที่มีบริษัทใหญ่ๆ ควบคุมอยู่อีกที

"รัฐต้องหันมามอง นโยบายที่ลงไป ต้องให้ความยั่งยืนเป็นเป้าหมายที่ปลายทาง ชาวนาต้องมีอาชีพ และอยู่ได้ ชาวนาต้องมี
ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี แล้วจะดีได้อย่างไร ข้าวต้องเป็นที่ต้องการของตลาด ข้าวจะเป็นที่ต้องการ ข้าวต้องมีคุณภาพ ยังไง เมล็ด
พันธุ์ดี มีกระบวนการดูแลที่ดี ดูแลระดับน้ำ ปุ๋ยพอสมควร เก็บเกี่ยวในเวลาที่เหมาะสม ต้องมีความรู้ ไม่ใช่ให้ปลูกตลอดทั้งปี
ต้องเว้นวรรคบ้าง สิ่งแวดล้อมต้องดี รวมทั้งรัฐต้องมีองค์ความรู้ และมีตัวแบบสนับสนุน ไม่ใช่ทำสวนทางอย่างทุกวันนี้ นั่นเท่า
กับกินบุญเก่าไปเรื่อยๆ" เธออธิบาย

กลไกสำคัญอีกอย่างหนึ่งในความคิดของ รศ.จุฑาทิพย์ ก็คือ โครงสร้างทางการตลาดที่ไม่เอื้อ สหกรณ์ส่งข้าวสารราคาสูง
เพราะมีการเก็บค่าการตลาดสูง ทำให้ขาดทุนตลอด อีกทั้ง ตลาดผู้ซื้อโครงสร้างไม่เอื้อ เนื่องจากรัฐปล่อยให้ห้างสรรพสินค้า
ขนาดใหญ่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ขณะที่โชห่วยพากันตายเกือบหมด

"ตอนนี้ คนไทยติดแบรนด์ข้าวพอสมควร มีการแลกถุง เอาบริโภคนิยม พยายามประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจตามที่ตัวเองอยากจะ
ขาย เราถึงต้องพยายามสร้างแบรนด์เชิงคุณค่าเข้าไปทดแทน ถ้าคุณกินข้าวถุงนี้เงินจะถึงเกษตรกรรายย่อย"

ปัจจุบัน การรวมกลุ่มของชาวนาในโครงการ เครือข่ายคุณค่าข้าวหอมมะลิสหกรณ์ไทย ที่ใช้แบรนด์ "ข้าวเกิดบุญ" มีพื้นที่ 5
จังหวัด คือ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และยโสธร มีสหกรณ์การเกษตร 16 แห่ง มีชาวนาในโครงการราว 20,000
ราย กำลังเจริญงอกงามตามรอย ข้าวคุณธรรม อย่างมีความหวังอีกทางหนึ่ง

"ก็เหมือนบริบทโลกตอนนี้นั่นแหละค่ะ ต้องลดโลกร้อน ทรัพยากรต้องบริหารให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานอยู่ได้" เธอย้ำ


ชาวนารุ่นใหม่ จิ๊กซอว์ที่หายไป
ตั้งแต่เกิด สิ่งที่ ไพรัช แดนกระไสย หรือเก่ง เห็นตลอดมากับนาข้าว 11 ไร่ของครอบครัวที่ บ้านกู่ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม
ก็คือ หยาดเหงื่อที่ลงแรงบนผืนดินแห้งแล้ง ผลิตผลที่ได้ก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย จนกลายเป็นภาระผูกพัน พอกพูนเป็นหนี้สินในที่สุด

เมื่อบวกกับคำพูดของผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือว่าให้เรียนสูงๆ โตไปจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ไม่ต้องลำบากเหมือนพ่อแม่ยิ่งเหมือน
ตอกหมุดฝังหัว


โตขึ้นไปจะต้องไม่ทำนา เพราะ "ลำบาก" และ "ยากจน"
ถึงโชคชะตาจะขีดให้เขาเข้าเรียนที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สิงห์บุรี เพราะ ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ผืนนาก็ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
ของปริญญาใบนี้

"ส่วนใหญ่ที่เรียนจบไปก็จะไปทำงานตามโรงงาน ไม่ก็เข้าไปหางานทำในเมือง ไม่มีใครอยากกลับบ้านหรอกครับ" ไม่ว่าจะรุ่นพี่ รุ่นน้อง
เพื่อนๆ หรือตัวเขาเอง นั่นคือธรรมเนียมปฏิบัติ

ตำแหน่งงานในบริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรกลายเป็นความฝันของลูกหลานชาวนา นั่นก็เป็นอีกคำตอบสำคัญว่า ทำไม วันนี้ คน
หนุ่มสาวถึงพากันพลัดถิ่น

"มีแค่เด็กๆ ที่ยังเรียนประถมอยู่เท่านั้นแหละครับ โตกว่านี้ เขาก็ไปเรียน ไปหางานทำในเมืองกันหมด" เขาย้ำถึงวัยรุ่นกว่าครึ่งร้อย
ในหมู่บ้านที่พากันหายหน้าไป

จนวันที่ได้มีโอกาสไปเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสาน ในโครงการศึกษารูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการ
ประกอบอาชีพเกษตร ซึ่งเป็นโครงการของวิทยาลัยในช่วงปลายเทอมของชั้น ปวช. 3 ความลำบากของชาวนาที่จำฝังหัวจึง
ค่อยๆ ถูกถอนออก ระบบการจัดการ รวมทั้งแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพทำให้คนทำนาสามารถเลี้ยงชีพได้อย่างไม่ลำบาก

ที่สำคัญ สิ่งที่เห็นกับตา ท้าทายความเชื่อตัวเองอย่างยิ่ง

"เหมือนเป็นตัวจุดประกายเลยล่ะครับ" เขายอมรับ

ยิ่งลงสนามก็ยิ่งมองเห็นโอกาส เมื่อเรียนจบ เขาจึงเลือกกลับบ้าน แทนที่จะคว้าเงินเดือนประจำกว่า 30,000 บาทในโรงงานผลิต
อาหารสัตว์ของบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรยักษ์ใหญ่รายหนึ่ง

บ่อเลี้ยงปลา ฝูงไก่ และพืชกินใบ ต้นทุนที่เขามาลงแรงไว้ตั้งแต่ 2 ปีก่อนเริ่มออกดอกออกผล นำรายได้มาสู่ครอบครัว นั่นทำให้
เขามองหาตลาดขายตรงระหว่าง "คนปลูก" กับ "คนกิน" ให้เป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้น โดยเป้าหมายแรกวางแผนเอาไว้ที่ปากช่อง โคราช
และกรุงเทพมหานคร

"น่าจะเป็นรูปเป็นร่างได้ภายใน 2-3 ปีนี้ครับ" นั่นคือกำหนดเวลาที่เก่งสัญญาไว้กับตัวเอง

ถึงจะมีงานประสานงานโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นรายได้ประจำเดือน แต่เขาก็ยืนยันกับตัวเองว่า ชาวนานั่นแหละ คืออาชีพที่จะ
ติดตัวไปจนวันตาย

"ผมอยากให้ชุมชนในละแวกนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถขายข้าวได้ในราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น" ความมุ่งหวังนั้นยังรวมถึงการ
ปลดหนี้ของครอบครัวให้หมดไปอีกด้วย

ถึงเขาจะเป็นเพียง 1 ใน 2 คนของชั้นเรียนที่เดินกลับบ้าน สวนกับเพื่อนๆ ผู้เลือกตบเท้าเข้าสู่โรงงาน และความศิวิไลซ์ของเมืองใหญ่
แต่อย่างน้อยก็ยังพอเป็นประกายความหวังสำหรับชาวนารุ่นใหม่ที่จะเอาหลังสู้ฟ้าเอาหน้าสู้ดินอย่างที่บรรพบุรุษเคยทำมา

...หรือไม่ใช่ ?

ค้นหาบทความเกี่ยวข้อง Tag ทุ่งรวงทอง - รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร - ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว


http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/ทุ่งรวงทอง-ความหวังของผืนดิน.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 2:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

246. ไฮเบอร์รี่ Hiberry รำข้าวเมล็ด





การบริโภคข้าวกล้องมีส่วนที่ช่วยชะลอการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน แต่คนไทยยุคโลกาภิวัฒน์ไม่มีโอกาส
และเวลา ในการเตรียมข้าวกล้องเพื่อบริโภค จากการวิจัยพบว่ารำข้าวคือกุญแจสำคัญในการต่อต้านการปลดปล่อยน้ำตาล ดังนั้น
จึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากรำข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำขึ้นมา โดยใช้รำที่ผ่านการหีบน้ำมันโดยวิธี cold press ผสม
กับส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อทำให้เป็นรำข้าวเม็ด


ข้อดีของอาหารเสริมในรูปแบบนี้ คือ สะดวกในการพกพา สามารถทดแทนการรับประทานข้าวกล้องได้ ไฮเบอร์รี่ เป็นผลิต
ภัณฑ์เสริมอาหาร จากรำข้าว ที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือด,ลดคลอเรสเตอรอล เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และรักษาสภาวะหลอดเลือดแข็งอันเกิดจากการพอกพูนของกรดไขมัน
อิ่มตัว ไฮเบอร์รี่ อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภช
นาการมากมาย เช่น โปรตีน ไขมันไม่อิ่มตัว ใยอาหาร วิตามินบีหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ มีคุณสมบัติ
ที่สามารถเข้าไปช่วยปรับปรุง หรือ ขจัดอนุมูลอิสระ (free radical) ช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้, เม็ดเลือดขาวและเต้านม
ช่วยดูแลสุขภาพของตับให้หลั่งอินสุลินได้ปรกติขึ้น ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้น ลดอาการเลือดข้น นอกจากนี้ยังมีเยื่อใยสูง
ช่วยให้การขับถ่ายดี


“ไฮเบอร์รี่ ผลิตจากรำข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ ที่ได้จากโรงสีมาตรฐาน ‘ธัญโอสถ’
และผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ปราศจากเชื้อโรค
โดยห้างขายยาลี้บ้วนซัว(ตราตกเบ็ด)”



ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ



ตาราง ปริมาณสารอาหารเสริมรำข้าวเม็ด ไฮเบอร์รี่

Nutrition Fact .................. ปริมาณต่อ100กรัม
พลังงาน(กิโลแคลอรี) ................... 410
โปรตีน (กรัม) ............................ 8.9
ไขมัน (กรัม) ............................ 8.2
ไขมันอิ่มตัว (กรัม) ...................... 1.46
คาร์โบไฮเดรต (กรัม) ................... 64.2
ใยอาหารชนิดละลายน้ำ (กรัม) ......... 4.3
ใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ (กรัม) ...... 15.5
ธาตุเหล็ก (มิลลิกรัม) ................... 10.8
ธาตุสังกะสี (มิลลิกรัม) .................. 1.9
ทองแดง (มิลลิกรัม) ...................... 0.87
แคลเซียม (มิลลิกรัม) .................... 123
แมกนีเซียม (มิลลิกรัม) .................. 393
โซเดียม (มิลลิกรัม) ...................... 307
โปตัสเซียม (มิลลิกรัม) ................... 726
วิตามิน อี (มิลลิกรัม) ..................... 555.66
เบต้าแค-โรทีน (ไมโครกรัม) .............. 185.97
ลูทีน (ไมโครกรัม) ......................... 224.11
แกมมา โอไรซานอล (ไมโครกรัม) ........ 154
โคเอนไซม์คิวเท็น (ไมโครกรัม) ........... 233.3
โพลีฟีนอล (มิลลิกรัม) .................... 946.9
แทนนิน (มิลลิกรัม) ........................ 201
คาเทชิน (มิลลิกรัม) ........................ 439.3
พีโอนิดิน (มิลลิกรัม) ....................... 2.38
ไซยานิดิน (มิลลิกรัม) ...................... 9.13
FRAP (µmoleTE/g) ............ 45.8
H-ORAC (µmoleTE/g) ....... 189.6
L-ORAC (µmoleTE/g)......... 99.9

วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 15 เมล็ด ก่อน อาหาร 3 เวลา

คำเตือน : ไม่ควรบริโภคเกินค่าสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย
อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นประจำ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสเมีย
ควรปรึกษาแพทย์ก่อน


ผลการศึกษา ในหนูทดลองที่เป็นเบาหวาน
เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอาหารเสริมจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่จึงได้ทดสอบในหนูทดลองที่เป็นเบาหวาน โดยเปรียบเทียบกับ
โคเอนไซม์ คิวเท็นซึ่งมีผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด


การเสริมอาหารเสริมจากรำข้าวในหนูเบาหวานชนิดที่ 1 ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ
หนูซึ่งถูกกระตุ้นทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เมื่อได้รับอาหารเสริมจากรำข้าว 1.5% มีแนวโน้มที่จะลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
โดยดูได้จากแนวโน้มของระดับน้ำตาลที่ลดลงและระดับอินซูลินที่เพิ่มขึ้น โดยไม่มีผลเสียหรือเป็นพิษต่อตับและไต นอกจากนี้อาหาร
เสริมรำข้าวช่วยให้ระดับคลอเลสเตอรอลรวม และ LDL “คลอเรสเตอรอลชนิดเลว” ลดลง และมีแนวโน้มของอนุมูลอิสระในเลือดที่ดีขึ้น


อาหารเสริมรำข้าวสามารถลดน้ำตาลในเลือดสูงในหนูเบาหวานชนิดที่ 2
หนูซึ่งถูกกระตุ้นนำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือด
ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อได้รับอาหารเสริมลูกกลอนรำข้าว 3% มีการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด แต่ไม่มี
การเสริมฤทธิ์กับโคเอนไซม์คิวเท็น ยิ่งไปกว่านั้นอาหารเสริมรำข้าวสามารถเสริมฤทธิ์กับโคเอนไซม์คิวเท็นในการช่วยลดไขมันชนิด
LDL ลงได้ นอกจากนี้ทุกกลุ่มการเสริมอาหารมีแนวโน้มว่า สามารถลดอนุมูลอิสระลงได้ในตับ และตับอ่อน และไม่มีผลเสียต่อการ
ทำงานของไต


สารออกฤทธิ์เชิงเวชกรรมที่พบในรำข้าวไรซ์เบอร์รี่
การวิเคราะห์องค์ประกอบในส่วนสกัดทั้งหมด 9 ส่วน พบว่ามีสารที่ได้มีรายงานฤทธิ์ทางชีวภาพไว้ หรือจัดอยู่ในกลุ่มที่น่าจะมีฤทธิ์
ทางชีวภาพ สารที่สำคัญชนิดหนึ่ง คือ Lupeol ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของ Steroids มีรายงานเกี่ยวกับประโยชน์ของ Lupeol ใน
การยับยั้งเซลล์มะเร็งและแก้ปัญหาหลอดเลือดแข็งตัวได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก


ฤทธิ์ของสารสกัดจากรำข้าวต่อเซลล์มะเร็ง
สารสกัดจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ดังกล่าว ต่อการต้านการก่อมะเร็ง ในเซลล์มะเร็ง 3 ชนิด คือ เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านมและ
มะเร็งเม็ดเลือดขาว ผลการทดสอบสารสกัดของรำข้าวสีดำมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเซลล์ และเหนี่ยวนำให้เกิดการ
ตายได้ในเซลล์มะเร็งทั้งสามชนิด โดยสารสกัดจากDichloromethane ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีผลในการยับยั้ง
เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ดี



คณะผู้วิจัย
- ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยโกเบกากูอิน ประเทศญี่ปุ่น




http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว/ไฮเบอร์รี่-Hiberry-รำข้าวเมล็ด.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 2:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

247. สวยด้วยข้าวเหนียวดำ


ข่าวดีสำหรับผู้ชอบรับประทานข้าวเหนียวดำ นอกจากได้รับความเอร็ดอร่อยจากอาหารโปรดแล้ว ยังเพิ่มความงามให้
ผู้บริโภคอีกด้วย


เนื่องจากในข้าวเหนียวดำ โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า "จมูกข้าวดำ" อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน"
มีคุณสมบัติในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย
กระตุ้นการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง เรียบเนียนขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าจมูกข้าวสาลี นอกจาก
ได้ประโยชน์ในด้านความงามแล้ว ยังช่วยในเรื่องสุขภาพ กล่าวคือ สามารถต่อสู้กับโรคหัวใจและโรคมะเร็งบางชนิดได้ด้วย


ส่วน "วิตามิน อี" ในข้าวเหนียวดำก็ช่วยชะลอการแก่ของเซลล์ ให้การกระจายออกซิเจนในกระแสเลือดดีขึ้น เป็นสาร
หลักของสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการดูแลรักษาผิว รักษาแผลเป็น และลดริ้วรอยบนผิว จึงนิยมมาผสมเครื่องสำอาง
ประเภทต้านริ้วรอยด่างดำ ฝ้า กระ หรือชะลอความแก่ และเหมาะกับผู้ที่แพ้ง่าย


ถ้ารับประทานข้าวเหนียวดำเป็นประจำจะช่วยชะลอริ้วรอยก่อนวัยอันควรได้อย่าง ดีเยี่ยม ทำให้รักษาใบหน้าวัยหนุ่มสาวให้
อยู่กับตนเองไปนาน ๆ.



ขอบคุณ
ที่มาจากSite:www.dailynews.co.th

ค้นหาบทความเกี่ยวข้อง Tag ข้าวเหนียวดำ - สุขภาพ


http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/สวยด้วยข้าวเหนียวดำ.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:17 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 2:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

248. ไทยขาดนักวิจัยข้าว


ดร.พงศ์เทพ อัครธนกุล ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เปิดเผยเกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนเพื่องาน
วิจัยข้าวไทย โดยระบุว่า ปัจจุบันไทยกำลังขาดแคลนนักวิจัยข้าวเนื่องจากที่ผ่านมา นับแต่อดีตมีการสร้างนักวิชาการด้าน
ข้าวน้อยมาก ราว 200-300 คนเท่านั้น ปัจจุบันแต่ละปีมีบัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเรื่องข้าวไม่ถึงปีละ 10
คน ขณะที่ความต้องการนักวิจัยข้าวในสาขาวิชาการต่าง ๆ ในปัจจุบันถึง 10 ปีข้างหน้า ประมาณการได้ว่ามีความต้องการ
ราว 1,030 คน จากความต้องการจากภาครัฐ (กรมการข้าวและศูนย์วิจัยต่าง ๆ) 810 คน ความต้องการนักวิจัยในระดับ
มหา วิทยาลัยของรัฐ คณะวิชาเกษตรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 15 สถาบัน 150 คน ความต้องการจากภาคเอกชน
ประมาณ 50 คน ความต้องการจากหน่วยงานอิสระอื่น ๆ 20 คน โดยในจำนวนนี้เป็นสัดส่วนระหว่างปริญญาโทกับปริญญา
เอก คือ 3 ต่อ 1


ดร.พงศ์เทพ เสนอแนวทางแก้ปัญหาว่า ต้องทำให้เกิดความตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา ให้มีการลงทุนด้านทรัพยากร
ให้พอเพียง ยกเครื่องทั้งระบบ คือ มีการพัฒนาแผนงานวิจัยข้าว ผนวกระบบบัณฑิตผู้ช่วยวิจัยกับการวิจัยกับโครงการวิจัย
พัฒนาเครือข่ายบัณฑิตศึกษากับการวิจัยระดับชาติ สร้างเครือข่ายร่วมมือระหว่างหน่วยวิชาการภายในและภายนอกประ
เทศ การทำอย่างจริงจังจึงจะทำให้เราสามารถสร้างกำลังคนเพื่องานวิจัยข้าวได้ อย่างเพียงพอ.



http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/ไทยขาดนักวิจัยข้าว.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 2:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

249. แหนแดง | ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว





แหนแดงใช้ในนาข้าว

ลักษณะ
แหนแดงเป็นเฟิร์นน้ำ ขนาดเล็ก ลอยบนผิวน้ำ ต้นแก่ที่ได้รับแสงเต็มที่จะเป็นสีแดงคล้ำ ต้นอ่อนหรือได้รับแสงไม่เต็มที่จะเป็น
สีเขียว แตกกิ่งแบบขนนก รากเป็นรากพิเศษ ยาวอยู่ทางด้านใต้ของลำต้น ทั้งต้นและกิ่งมีใบขนาดเล็กปกคลุม เรียงสลับซ้อน
กัน ใบแต่ละใบแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบนหนา สีเขียวหรือสีแดง ส่วนล่างบางอยู่ใต้น้ำ ไม่ค่อยมีสี ใบล่างสุดสร้าง
sporocrap 2-4 อัน ที่แกนของใบด้านใต้ใบ ภายในมีเมกะสปอร์และไมโครสปอร์ในใบของแหนแดงมีโพรงขนาดใหญ่ ซึ่ง
เป็นที่อาศัยของ Anabenaeซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabenaeได้รับสารอาหารจากแหนแดง ส่วนแหนแดงจะ
ได้ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจนของ Anabenae


องค์ประกอบที่สำคัญ
ได้แก่โปรตีน ไขมัน และเซลลูโลส แร่ธาตุ แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักที่สำคัญได้แก่ ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปตัสเซียม
และจุลธาตุที่สำคัญได้แก่ เหล็ก และ โมลิบดินัม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ไนโตรจิเนส ในการตรึงไนโตรเจน
แหนแดงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 5–45 องศาเซลเซียส เจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 20–30 องศาเซลเซียส แหน
แดงจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่มีแสงประมาณ 50–70 เปอร์เซ็นต์ของแสงสว่าง พีเอชที่เหมาะสมที่แหนแดงเจริญเติบโตได้
ดีที่สุดคือ 4.0–5.5 ความลึกของน้ำความลึกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแหนแดงคือประมาณ 10 เซนติเมตร





การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
มีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวขั้นตอนการปฎิบัติการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว มีดังนี้
1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงใช้เป็นเชื้อพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 25-50 ตารางเมตรต่อพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5-10 เซนติเมตร
3. ใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง โดยใช้แหนแดงที่ได้เตรียมขยายไว้แล้วอัตรา 50-100กิโลกรัม/ไร่
4. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 3 ก.ก./ไร่ ในวันใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง
5. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตปริมาณเท่าเดิมหลังจากแหนแดงอายุ 7-10 วัน

ในสภาพเหมาะสม คือไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงรบกวน สิ่งแวดล้อมเหมาะสมแหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่นาให้น้ำหนักสด 2-3
ตัน/ไร่ ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในการปฎิบัติเลี้ยงขยายแหนแดงเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวอาจจะเลี้ยงระยะก่อนปักดำ 3
สัปดาห์แล้วทำการไถกลบพร้อมกับการเตรียมแปลงปักดำข้าว หรือเริ่มเลี้ยงพร้อมปักดำเมื่อแหนแดงขยายเต็มพื้นที่แล้วปล่อย
ให้ตายเองตามธรรมชาติการใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนใส่ในนาแล้วไถกลบ มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใส่บนผิวดินโดยไม่มีการไถกลบ
ในกรณีแหนแดงก็เช่นเดียวกัน





การเลี้ยงขยายแหนแดงก่อนปักดำแล้วไถกลบในระยะปักดำดีกว่าวิธีไม่ไถกลบ และจากการทดลองของกรมวิชาการเกษตร
พบว่าการเลี้ยงแหนแดงหนึ่งชุดก่อนปักดำแล้วไถกลบ ระยะปักดำกับการเลี้ยงปักดำโดยไม่ต้องมีการไถกลบแหนแดงสามารถ
เพิ่มผลผลิตข้าวได้ไม่แตกต่างกัน และไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 4.8-6.0 กิโลกรัม N/ไร่


ข้อสังเกต : (โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นันทกร บุญเกิด)
1. น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยง
แหนแดง ระดับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงไม่ควรสูงเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือ 10- 30 เซนติเมตร และแหนแดงจะตายเมื่อในนาขาดน้ำ

2. แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีน้ำนิ่ง หรือมีกระแสน้ำไหลเป็นเวลาอย่างช้าๆ บริเวณคลื่นลมจัดจะทำให้แหนแดงแตกกระจาย
ออกจากกัน ทำให้การเจริญเติบโต และการตรึงไนโตรเจนลดลงอย่างมาก

3. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae สามารถทำได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีไนโตรเจนต่ำ

4. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae จะมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และจะหยุดกระบวนการตรึง
ไนโตรเจนในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส




ข้อมูลจาก doe.go.th,wikipedia,clinictech.most.go.th
ค้นหาบทความเกี่ยวข้อง Tag แหนแดง

http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/แหนแดง-%7C-ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 2:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

250. คนอีสานแชมป์ "เบาหวาน" ปิ๊งไอเดีย...ใช้ "พญาข้าว" ต้านโรค





จากสถานการณ์สุขภาพของคนไทยในภาคอีสาน โดยสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ภายใต้การสนับสนุนของ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าประชากรในภาคอีสานช่วง 20 ปีให้หลังนี้ติดอันดับป่วยด้วย
"โรคเบาหวาน"สูงสุดของประเทศ

โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานสูงสุดของประเทศ คือ 32.51 รายต่อประชากร 1 แสนคน จึงมี
การตั้งข้อสังเกตถึงสาเหตุของการเจ็บป่วยที่น่าจะเกิดจากการบริโภคข้าว เหนียวสายพันธุ์เดียวคือ "กข.60"



ด้วยเหตุนี้ทาง เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคอีสาน โดยการสนับสนุนของ สสส. จึงร่วมกับ สถานีอนามัยนากระเดา และ องค์
การบริหารส่วนตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จัด ทำ "โครงการพันธุ์ข้าวต้านเบาหวาน" เพื่อหาคำตอบต่อข้อ
สงสัย โดยทดลองให้ผู้ป่วยเบาหวานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค "ข้าวหอมมะลิแดง" ซึ่งมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่าง
กายหลากหลายมากกว่า

จรินทร์ คะโยธา ผู้ประสานงานเครือข่ายภูมินิเวศน์จังหวัดกาฬสินธุ์และนครพนม เครือ ข่ายเกษตรทางเลือกภาคอีสาน
และผู้ประสานงานโครงการพันธุ์ข้าวต้านเบาหวาน เล่าว่า งานของเครือ ข่ายฯ มุ่งเน้นเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์
ข้าวพื้นบ้านและพันธุ์ผักพื้น ถิ่น ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรให้หันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน ลด ละ
เลิกการใช้สารเคมี โดยปัจจุบันในพื้นที่อำเภอนาคูมีเกษตรกรในเครือข่ายจำนวน 47 ครัวเรือน ซึ่งแต่ละบ้านจะแบ่งพื้นที่นา
ประมาณ 5 ไร่มาปลูกและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านหลายสายพันธุ์ และทำการเกษตรแบบผสม ผสาน

"มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุตรงกันว่าพันธุ์ข้าวพื้นบ้านมีสารอาหารและคุณค่า ทางโภชนา การสูงกว่าข้าวที่นิยมปลูกและบริโภค
ในปัจจุบันที่มีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ และเมื่อมองย้อนไปในอดีต พบว่าบรรพบุรุษของเรา มีการปลูกและบริโภคข้าวที่หลาก
หลายสายพันธุ์ ทำให้ไม่มีใครป่วยเป็นโรคเบาหวาน ประกอบกับเกษตรกรในเครือข่ายมีการปลูกข้าวหอมมะลิแดงอยู่แล้ว

จึงเกิดแนวคิดร่วมกับสถานีอนามัยนากระเดา ทดลองให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานกินข้าวหอมละลิแดงของเครือข่ายที่ส่งไป
ตรวจ ที่สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่ามีคุณ สมบัติป้องกันโรคเบาหวานได้ เพื่อหาข้อสรุปที่จะนำไปสู่การ
ขยายผลในการปลูกและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้น บ้านออกไปให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพราะข้าวเจ้าเป็นข้าวที่มีพื้นที่ปลูกมาก
ที่สุดและปลูกทั่วทุกพื้นที่ของ ประเทศ" จรินทร์ระบุ

พื้นที่ตำบลสายนาวัง มีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านประมาณ 10 สายพันธุ์ แต่ปัจจุบันเหลือยู่เพียง 4 พันธุ์เท่านั้นคือ ข้าวก่ำ ข้าวสัน
ป่าตอง ข้าวกอเดียว และข้าวหอมมะลิแดง ซึ่งพันธุ์ข้าวพื้นบ้านเหล่า นี้มีข้อดีคือทนต่อโรคและความแล้ง ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี
แต่ให้ผลผลิตและน้ำหนักดีมีรสชาติอร่อย และจากการสอบถามคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ พบว่าสมัยก่อนมีการกินข้าวไม่น้อยกว่า 7 สาย
พันธุ์สลับกันไปทำให้ไม่มีใครป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะ "ข้าวก่ำ" นั้นถือได้ว่าเป็น "พญาข้าว" จึงมีการบอกต่อๆ กัน
มาว่าทำนาอย่าลืมนำข้าวก่ำให้เอาไปหุงต้มผสมกินจะเป็นยาเพราะเป็นข้าวที่ ดีที่สุด

อำนาจ วิลาศรี ประธานเครือข่ายภูมินิเวศน์จังหวัดกาฬสินธุ์และนครพนมฯ เล่าว่าสาเหตุที่ทางเครือข่ายเลือกใช้ข้าวหอม
มะลิแดง ให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนทดลองกินนั้น เพราะมีผลการตรวจจากห้องทดลองถึงคุณประโยชน์ของข้าวชนิดนี้
แล้ว จึงต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้จริง โดยประสานกับทาง อบต. และสถานีอนามัยให้มีการตรวจ
ติดตามผลอย่างสม่ำ เสมอ

"หลังจากทดลองมา 6 เดือนก็พบว่าช่วยลดได้จริง แต่ปัญหาที่พบคือผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ชอบกินข้าวเจ้า บางคนกินไม่ครบ
ทุกมื้อตามที่ต้องการทำให้ผลที่ได้ยังไม่ชัดเจน ซึ่งต่อไปทางเครือ ข่ายก็จะทดลองนำข้าวก่ำไปผสมกับข้าวเหนียวให้อาสา
สมัครทดลองกินดูว่าจะมีผล อย่างไร" อำนาจกล่าว

จากการสำรวจของ สถานีอนามัยบ้านนากระเดา พบว่าในพื้นที่ 4 หมู่บ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบประกอบไปด้วยบ้าน
กุดตาใกล้ หมู่ 4 และหมู่ 7 บ้านนากระเดา หมู่ 5 และหมู่ 6 พบว่ามีประชากรป่วยด้วยโรคเบาหวานสูงถึง 70 คน และ
อีก 20 คนอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะน้ำตาลสูงที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งทั้งผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทำ
ให้คนในหมู่บ้านมีความเสี่ยงกับการเป็นโรคเบาหวานสูงมาก ประกอบกับทางเครือข่ายเกษตรทางเลือกฯ มีโครงการพันธุ์
ข้าวต้านเบาหวาน จึงหาอาสาสมัครจำนวน 18 คนมาเข้าร่วมโครงการ โดยให้ข้าวไปทดลองคนละ 5 กิโลกรัม และขอ
ความร่วมมือให้กินข้าวพันธุ์หอมมะลิแดงให้ได้ทุกวันๆ ละ 3 มื้อ

ดวงพร บุญธรรม หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านนากระเดา บอกว่าปัญหาคือบางคนกินบ้างไม่กินบ้าง ไม่ครบ 3 มื้อตามที่ขอ เกิด
จากการใช้พันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงซึ่งเป็นข้าวเจ้าที่ชาวบ้านไม่นิยม รับประทาน หลังจากนั้น 1 เดือนก็มาตรวจเลือดพบว่า
มีผู้ป่วย 8 คนที่มีน้ำตาลลดลง แต่อีก 8 คนกลับมีน้ำตาลเพิ่มขึ้นและ 2 คนมีค่าคงที่ ก็เลยทดลองต่ออีก 3 เดือนซึ่งพบ
ว่ามี 4 คนที่น้ำตาลลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้อาจจะยังไม่มีความแน่นอน แต่ถือว่าเป็นการนำร่องให้เกิดมีการขยายผล
การทดลองเพิ่มขึ้นกับชาวบ้านอย่าง จริงจังมากขึ้น

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้จัดการแผนงานฐานทรัพยากรอาหาร สสส. เปิดเผยว่าการส่งเสริมการปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ทำให้ต้อง
ใช้ปัจจัยการผลิตเช่น ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมากซึ่งมีต้น ทุนสูง ซึ่งการที่จะลดหรือเลิกใช้ปัจจัยการผลิต
เหล่านี้ลงได้ก็คือการหาพันธุ์ข้าว ที่เหมาะสมกับสภาพ สิ่งแวดล้อม ซึ่งการใช้พันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่ผ่านพัฒนาและรักษา
สืบทอดกันมาอย่างยาวนานจะ นำไปสู่การลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกและได้ผลผลิตที่ดี

"ข้าวพันธุ์พื้นบ้านสายพันธุ์ต่างๆ จะมีคุณค่าของสารอาหารในสัดส่วนที่สูงกว่าข้าวทั่วไปที่นิยมกันในปัจจุบัน อย่างเช่นข้าว
หอมมะลิแดงหรือข้าวก่ำ ที่มีเปอร์เซ็นต์ของสารต้านอนุมูลอิสระและมีวิตามินเอในอัตราส่วนที่มาก บางสายพันธุ์มีวิตามิน
อี สูงมากกว่าถึง 26 เท่าของข้าวทั่วๆ ไป นอก จากนี้ยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก" วิฑูรย์กล่าวสรุป

นับเป็นวิธีต้านโรคร้ายที่น่าสนใจทีเดียว... SCOOP@NAEWNA.COM



ที่มาข่าวจาก แนวหน้า
ค้นหาบทความเกี่ยวข้อง Tag ข้าวโภชนาการ - ข้าวพันธุ์พื้นเมือง
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/คนอีสานแชมป์-เบาหวาน-ปิ๊งไอเดีย...ใช้-พญาข้าว-ต้านโรค.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 2:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

251. เวียดนามทำสำเร็จ คัดพันธุ์ข้าวสู้ไต้ฝุ่น ภัยแล้ง และดินเค็ม





ภาพแฟ้มรอยเตอร์ กระดูกสันหลังของชาติกำลังระบายน้ำออกจากผืนนาในช่วงที่ต้นกล้ากำลังขึ้นงาม ในเขตที่ชลประทานเข้าถึง
แต่ข้าวพันธุ์ใหม่อาจจะช่วยแบ่งเบาภาระนี้ได้มาก เพราะเติบโตได้ในสภาพน้ำท่วมและพายุแรง ในภาคใต้เวียดนามยังมีข้าวอีก
หลายพันธุ์ ที่เติบโตได้ในสภาพแห้งแล้งและดินเค็มจากน้ำทะเลได้



เวียดนามประสบความสำเร็จในการพัฒนาข้าวพันธุ์ผสม เพื่อให้สามารถต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ที่กำลังเปลี่ยนแปลงสรรพสิ่ง ข้าว
พันธุ์ใหม่ที่คัดพันธุ์โดยกลุ่มชาวนาใน จ.กว๋างนาม (Quang Nam) ในภาคกลาง เพิ่งได้รับประกาศนียบัตร และการจดทะเบียน
ลิขสิทธิ์จากทางการในสัปดาห์นี้


ขณะเดียวกัน ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงในภาคใต้ สถาบันวิจัยข้าวที่นั่นสามารถคัดพันธุ์ข้าวลูกผสม และทดลองปลูกตั้งแต่ปีที่
แล้ว พบว่า สามารถขึ้นได้งอกงามดีในสภาพดินเค็ม อันเกิดจากน้ำทะเลที่เอ่อท่วมเข้าไปในนาข้าวของราษฎรกินอาณาบริเวณ
กว้างมาก ขึ้นทุกปี


สำหรับข้าวพันธุ์ใหม่ที่ จ.กว๋างนาม ที่ใช้รหัสว่า CT2 พัฒนาขึ้นมาโดยการสนับสนุนด้านเงินทุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาแห่ง
นอร์เวย์ (Norwegian Development Fund) มาตั้งแต่ปี 2549 ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าข้าวทั่วไปที่ชาวนาในท้องถิ่นใช้
ปลูกกัน สื่อของทางการกล่าว


สหกรณ์เพาะปลูกของรัฐในจังหวัดดังกล่าวได้ซื้อลิขสิทธิ์ข้าว CT2 ไปในราคา 200 ล้านด่ง (10,500 ดอลลาร์) หลังจากใช้
งบประมาณไปหลายร้อยล้านด่งในการคัดพันธุ์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จหนังสือพิมพ์ไซ่ง่อนหยายฟง (Saigon Giai Phong) กล่าว


สภาพภูมิอากาศในเวียดนาม ประเทศที่มีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,000 กม.เปลี่ยนแปลงไปมาก จึงต้องมีข้าวที่สามารถต้าน
ทานน้ำท่วมและพายุได้ดี เนื่องจากในแต่ละปีจะมีไต้ฝุ่น 8-10 ลูกพัดเข้า


ปีที่แล้วไต้ฝุ่นสองลูก คือ เกดสะหนา (Ketsana) และ มิริแนะ (Mirinae) สร้างความเสียหายแก่นาข้าวในเขตภาคกลาง
ยับไปหลายพันเฮกตาร์ มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่า 200 คน ข้าวพันธุ์ใหม่จะสามารถลดการสูญเสียลงได้มากในท่ามกลางพายุรุนแรง


ก่อนหน้านี้ ในเดือน ก.พ.สถาบันวิจัยข้าวเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta Rice Research Institute)
ได้ประกาศผลการทดลองข้าวพันธุ์ใหม่ คือ OM6162 ที่สามารถต้านทานภัยแห้งแล้งกับสภาพดินเค็มได้ดีและได้จดสิทธิ
บัตรข้าว พันธุ์ใหม่แล้ว


ดร.เลวันแบ๋ง (Le Van Banh) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวเขตปากแม่น้ำโขง ในนครเกิ่นเทอ (Can Tho) กล่าวว่า ปัจจุบัน
สามารถคัดพันธุ์ข้าวได้ 21 พันธุ์ที่เติบโตในภูมิอากาศแห้งแล้งได้ดี อีก 14 พันธุ์เติบโตในผืนนาที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลได้


ทั้งหมดให้ผลผลิตเป็นข้าวเปลือก 4-5 ตันต่อเฮกตาร์ (6.25 ไร่) ในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง และ 6-8 ตันต่อเฮกตาร์ในฤดู
ข้าวนาปี ดร.แบ๋ง กล่าว


ข้าว OM6162 กำลังปลูกอยู่ใน 9 จังหวัดเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ตั้งแต่นครเกิ่นเทอ ไปจนถึง จ..ด่งท้าป (Dong Thap) จ่าวีง
(Tra Vinh) กับ จ.เบ๊นแจ (Ben Tre) และจะขยายพื้นที่ออกไปอีก


หัวหน้าศูนย์เมล็ดพันธุ์ จ.ด่งท้าป กล่าวกับไซ่ง่อนหยายฟง ว่า ข้าว OM 6162 เป็นข้าวคุณภาพดี ได้มาตรฐานสำหรับส่งออก



ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/เวียดนามทำสำเร็จคัดพันธุ์ข้าวสู้ไต้ฝุ่น-ภัยแล้ง-และดินเค็ม.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/08/2011 3:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 2:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

252. 10 พันธุ์ข้าว รัฐงดรับประกันฯ





กรมการข้าวได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติให้ชี้แจงแก่เกษตรกรว่ามีพันธุ์ข้าวอายุสั้น
จำนวน 10 พันธุ์ที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี"52/53 รอบที่ 2 ได้ ซึ่งเป็นไปตาม
มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 ม.ค.53 ที่เห็นชอบให้ผ่อนผันให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวเปลือก
เจ้าพันธุ์อื่นๆ นอกเหนือจากพันธุ์ข้าว 29 พันธุ์ที่ทางราชการให้การรับรองสามารถเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตร
กรผู้ปลูกข้าว ปี"52/53 รอบที่ 2 ได้ ยกเว้นพันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้นต่ำกว่า 100 วัน ซึ่งเมื่อสีแปรสภาพได้ข้าวสารคุณภาพต่ำ
ซึ่งมีจำนวน 10 พันธุ์


สำหรับพันธุ์ข้าวเจ้า 10 พันธุ์ ที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการประกันรายได้รอบที่ 2 ได้แก่

- พันธุ์ 75
- พันธุ์ซี-75
- พันธุ์ราชินี
- พันธุ์พวงทอง
- พันธุ์พวงเงิน

- พันธุ์พวงเงินพวงทอง
- พันธุ์พวงแก้ว
- พันธุ์ขาวปทุม
- พันธุ์สามพราน 1
- พันธุ์มาเลเซีย

- และพันธุ์อื่นๆ ที่มีอายุต่ำกว่า 100 วัน


เนื่องจากพันธุ์ข้าว ดังกล่าวเป็นข้าวเมล็ดสั้น และเมื่อสีแปรสภาพแล้วได้ข้าวคุณภาพต่ำ ซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับที่ประกาศ
ยกเว้นไว้โดยให้เกษตรกรใช้สิทธิชดเชยราคาและปริมาณรับประกันต่อครัวเรือน เช่นเดียวกับชนิดข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ที่ทาง
ราชการรับรอง

ทั้งนี้พันธุ์ข้าวที่กรมได้แนะนำให้เกษตรกรนำไปปลูกนั้น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง
ที่สำคัญ มีคุณภาพการหุงต้มตามความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาสำคัญ



ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ข่าวสด
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/10-พันธุ์ข้าว-รัฐงดรับประกันฯ.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/08/2011 3:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2011 3:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

253. ข้าววัชพืช หรือ ข่าวดีด





ปัจจุบันปัญหาข้าวดีดกำลังระบาดพบเจอตามภาคต่่างๆ ระบาดไปหลายพื้นที่ ชาวนากำลังประสบกับวัชพืชชนิดใหม่ที่มีลักษณะ
เหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออกในระยะต้น กล้า วัชพืชชนิดนี้มีชื่อเรียกต่างๆกันในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะภายนอกที่ปรากฏ ว่า
“ข้าวหาง ข้าวนก ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวลาย หรือ ข้าวแดง” ซึ่งข้าวเหล่านี้จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงในนาข้าว มีชื่อสามัญ ว่า
“ข้าววัชพืช” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “weedy rice” ในระยะเริ่มต้นของการ ระบาด ข้าววัชพืชจะแฝงตัวเข้ามาในนาข้าวเพียง
ไม่กี่ต้น หากไม่มีการกำจัดในระยะเวลา 2-3 ฤดู เท่านั้น ข้าววัชพืชสามารถเพิ่มจำนวนเป็นหลายล้านต้นปกคลุมจนมอง
ไม่เห็นต้นข้าว


ประวัติการระบาดของข้าววัชพืช
พบการระบาดรุนแรงครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2544 ในนาหว่านน้ำตม ที่ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา
จังหวัดกาญจนบุรี และในนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี การระบาดเริ่มขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ
จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2548 ข้าววัชพืชกลายเป็นปัญหาร้ายแรงที่พบในพื้นที่ทำนาหว่านน้ำตมจำนวนหลายแสน ไร่ ทั้งใน
เขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี ชัยนาท นนทบุรี สิงห์บุรี นครนายก
ปราจีนบุรี อ่างทอง อยุธยา และพิษณุโลกทำความเสียหายต่อผลผลิตข้าวได้ตั้งแต่ 10-100%



ข้าววัชพืช..มาจากไหน?
ข้าววัชพืช เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าที่พบทั่วไปในธรรมชาติ กับข้าวปลูก เกิดเป็นลูกผสมที่มีการกระจายตัวของลูก
หลานออกเป็นหลายลักษณะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่ชาวนาไม่ต้องการ คือ เปลือกเมล็ดสีดำหรือลายน้ำตาลแดง
เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ปลายเมล็ดมีหางและเมื่อสุกแก่เมล็ดจะร่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว


ข้าววัชพืชสามารถจำแนกตามความแตกต่างทางลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด คือ ข้าวหาง ข้าวดีด และข้าวแดง ชนิดที่เป็น
ปัญหาร้ายแรงของชาวนาคือ ข้าวหาง และ ข้าวดีด เพราะเป็นข้าววัชพืชชนิดร่วงก่อนเกี่ยว เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และสูงข่มข้าว
ปลูกในระยะแตกกอ ข้าวหางและข้าวดีดจะออกดอกและเมล็ดจะสุกแก่ก่อนก่อนปลูกข้าวประมาณ 2 สัปดาห์ ชาวนาไม่สามารถ
เก็บเกี่ยวได้เพราะเมล็ดร่วงเกือบหมด ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหาย ระดับความเสียหายนั้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่น ของข้าวหาง
และข้าวดีด บางแปลงที่มีความหนาแน่นมาก ใน 1 ตารางเมตร มีข้าวหาง 800 ต้น เหลือต้นข้าวจริงเพียง 2 ต้น ชาวนาไม่
สามารถ เก็บเกี่ยวได้ ทำให้ผลผลิตเสียหาย 100% ส่วนข้าวแดงนั้นเป็นข้าววัชพืช
ชนิดเมล็ดไม่ร่วง

ชาวนาสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลผลิตจึงไม่เสียหาย แต่คุณภาพข้าวลดลงเพราะเมล็ดขาวสารแดงที่ปนอยู่ ชาวนา
ถูกโรงสีตัดราคาเกวียนละ 200-500 บาท ตามความมากน้อยของข้าวแดงที่ปนเพื่อเป็นการชดเชยผลผลิตที่จะต้องเสียไปบาง
ส่วนเพื่อจะขัดเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงออกให้เป็นเมล็ด ข้าวสารสีขาว

ข้าวหาง
ข้าวหาง หรือ มีชื่อเรียกในบางท้องถิ่นว่า ข้าวนก ข้าวป่า หรือข้าวละมาน เมล็ดมีหางยาว ร่วงเกือบหมดก่อนเกี่ยว เมล็ดข้าวสาร
มีทั้งสีขาว และแดง






ลักษณะที่ไม่ดีของข้าววัชพืช
• เจริญเติบโตได้เร็วกว่าจนสูงล้มทับต้นข้าว

• มีความสามารถในการปรับตัวให้รอดพ้นจากการกำจัดได้ดี เช่นปรับต้นให้เตี้ยลงเท่าข้าวปลูก เพื่อให้รอดพ้นจากการตัด
ออกดอก และสุกแก่เร็วกว่าข้าวปลูก

• สามารถผลิตเมล็ดได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมล็ดส่วนใหญ่ร่วงหล่นสะสมอยู่ในแปลง เมล็ดที่ไม่ร่วงจะถูกเกี่ยวไปพร้อมกับข้าวปลูก
จึงแพร่กระจายไปยังแปลงอื่นได้ง่าย โดยอาจติดไปกับรถเกี่ยวข้าว หรืออาจปะปนไปกับเมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์ ส่วน

• เมล็ดที่หล่นสะสมอยู่ในดินก็พร้อมที่จะงอกเป็นวัชพืชในฤดูต่อๆไป

• ปลายเมล็ดมีหางยาว ทั้งสีขาวและแดง

• เปลือกเมล็ดสีดำ หรือ น้ำตาลลายแดง

• เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ขาวขุ่น และมีท้องไข่มาก

• เมล็ดข้าววัชพืชสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นานตั้งแต่ 2-12 ปี และเมล็ดที่หล่นลงบนดินไม่ได้งอกขึ้นมาพร้อมกันทีเดียวกันทั้ง
หมด การกำจัดข้าววัชพืชจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและติดต่อกัน



สาเหตุการระบาดข้าววัชพืช
1.เมล็ดพันธู์ข้าวที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการปนเปื้อนของข้าววัชพืช
2.เมล็ดข้าววัชพืชติดไปกับอุปกรณ์ทำนา เช่น รถเกี่ยวนวดข้าว


แนวทางแก้ไขปัญหาข้าววัชพืช
1. หากมีการระบาดเล็กน้อย ควรรีบกำจัด โดยการถอนต้นออกจากแปลง

2. หากมีการระบาดรุนแรงควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่น หรืองดปลูกข้าว 1 ฤดู เพื่อปล่อยให้ข้าววัชพืชงอกและกำจัดโดยไถทิ้ง
อย่างน้อย 2 ครั้ง หากจำเป็นต้องปลูกข้าว ควรปล่อยให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ร่วงบนผิวดินงอกให้หมดก่อนจึงกำจัดทิ้ง จากนั้นให้
ไถเตรียมดินล่อให้ข้าววัชพืชงอกและกำจัดทิ้งอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหว่านข้าว

3. การตัดรวงข้าววัชพืช ควรเริ่มทำตั้งแต่ระยะตั้งท้องและระยะเริ่มออกดอก โดยตัดชิดโคนต้นเพื่อป้องกันการแตกต้นใหม่ ใน
ระยะที่เริ่มติดเมล็ดแล้ว ควรนำไปกำจัดทิ้งนอกแปลง

4. ใช้ตะแกรงกรองเมล็ดข้าววัชพืชที่มีลักษณะเหมือนข้าวลีบลอยน้ำมาจากแปลงที่ มีการระบาดทิ้งไปเพราะข้าววัชพืชสามารถ
งอกได้จากเมล็ดที่ยังไม่สุกแก่เต็มที่

5.หากมีการระบาดรุนแรงแต่ไม่สามารถงดปลูกข้าวได้ จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดข้าววัชพืช ซึ่งแนะนำให้ใช้ตั้งแต่ระยะทำเทือก
หลังหว่านข้าว และลูบรวงให้เมล็ดลีบในระยะที่ข้าววัชพืชเริ่มออกดอก





ที่มา กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่มา ข้าววัชพืช จรรยา มณีโชติ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/ข้าววัชพืช-หรือ-ข่าวดีด.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/08/2011 5:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

254. เครื่องปลิดฝักข้าวโพด





เนื่องจากในปัจจุบันมีการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในขั้นตอนของการปลูกและ
การเก็บเกี่ยว ซึ่งต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก สำหรับข้าวโพดจะมีปัญหาการเก็บเกี่ยวเพราะต้องใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ค่าใช้
จ่ายในการเก็บเกี่ยวเพิ่มสูงขึ้นและเก็บเกี่ยวได้ล่าช้ากว่าฤดูกาล ทำให้ผลผลิตเกิดการสูญเสียและเสื่อมคุณภาพขายได้ในราคาต่ำกว่าที่ควร
กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร จึงได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องปลิดฝักข้าว


โพดเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
เครื่องปลิดฝักและรูดเปลือกหุ้มข้าวโพดเป็นแบบเก็บเกี่ยวทีละแถว ใช้ต้นกำลังและต่อพ่วงแบบระบบกึ่งพ่วงลากกับรถแทรกเตอร์ขนาด
60-80 แรงม้า เครื่องปลิดฝักและรูปเปลือกหุ้มข้าวโพด มีส่วนประกอบหลัก 5 ส่วน คือ
(1) ระบบการปลิดฝักข้าวโพด
(2) ระบบลำเลียงสู่การรูดเปลือก
(3) ระบบการรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพด
(4) ระบบลำเลียงเพื่อการบรรจุกระสอบ และ (5) โครงตัวรถ


ระบบการปลิดฝักข้าวโพดประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก 4 ส่วน คือ
1. ลูกกลิ้งรูด เป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดสำหรับใช้ปลิดฝักข้าวโพด เป็นใบมีดสี่เหลี่ยมผืนผ้า 4 ใบ ติดตั้งบนแกนลูกกลิ้งรูด ซึ่งใบมีดสามารถ
ปรับระยะห่างระหว่างลูกกลิ้งได้ เพื่อใช้สำหรับปรับการปลิดฝักข้าวโพดตามความใหญ่เล็กของลำต้นข้าวโพด

2. โซ่ลำเลียง ใช้รวบต้นข้าวโพดเข้าสู่การปลิดฝักออกจากต้นโดยลูกกลิ้งรูด และลำเลียงฝักข้าวโพด ที่ปลิดออกแล้วส่งต่อไปยังระบบ
ลำเลียงสู่การรูดเปลือก โซ่ลำเลียงเป็นแบบครีบกวาด (Flight Conveyor) มีระยะห่างระหว่างครีบกวาด (Pitch) เท่ากับ 30 ซม.

3. ห้องเกียร์ ทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังของลูกกลิ้งรูดเปลือก และโซ่ลำเลียง

4. ฝาครอบ เป็นอุปกรณ์ครอบชิ้นส่วนเพื่อความปลอดภัย และช่วยยกต้นข้าวโพดที่ล้มให้ตั้งตรง (Crop Divider) เพื่อป้อนเข้าสู่ลูกกลิ้งรูด


ระบบลำเลียงสู่การรูปเปลือก
ทำหน้าที่ลำเลียงฝักข้าวโพดที่ถูกปลิดโดยระบบการปลิดฝักข้าวโพดต่อไปยังระบบรูดด้วยชิ้นส่วนหลัก 3 ส่วนคือ
1. ลูกกลิ้งรูดเปลือก เป็นเพลากลมหุ้มด้วยยาง มีจำนวนทั้งสิ้น 4 คู่ โดยแต่ละคู่จะมีระยะห่าง ระหว่างลูกกลิ้ง 0.5 ซม.

2. ลูกกลิ้งเหล็กลอกเปลือก ทำหน้าที่ลำเลียงต้นข้าวโพดและกาบใบข้าวโพดที่ปนมากับ ฝักข้าวโพดที่ถูกลำเลียงมาจากระบบลำเลียงสู่ก
ารรูดเปลือก เพื่อไม่ให้เข้าไปอยู่ในขั้นตอนของการรูด เปลือกหุ้มฝักข้าวโพด ลูกกลิ้งลอกเปลือกมี 2 คู่ โดยมีระยะห่างระหว่างลูกกลิ้ง 0.5 ซม.

3. พัดลม สำหรับทำความสะอาดในขั้นตอนของการรูดเปลือก โดยพัดลมจะอยู่ด้านข้างของ ลูกกลิ้งรูดเปลือก ดังนั้นลมจะถูกเป่าสวนทิศ
กับการเคลื่อนที่ของฝักข้าวโพด ซึ่งจะทำให้สิ่งเจือปนต่างๆ ที่ติดมากับฝักข้าวโพดออกไปทางลูกกลิ้งเหล็กลอกเปลือก พัดลมเป็นแบบ
ที่มีการไหลของอากาศตามแนวรัศมี (Centrifugal Flow Fan) มีใบพัด 4 ใบ

4. ลูกยางฉีกเปลือก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กับลูกกลิ้งรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพด โดยจะติดตั้งไว้ทางด้านบนของลูกกลิ้งรูดเปลือก เพื่อทำ
ให้ลูกกลิ้งรูดเปลือกสามารถรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือลูกยางฉีกเปลือกจะทำหน้าที่ฉีกเปลือกฝักข้าว
โพดทำให้เปลือกหุ้มฝักข้าวโพด เผยออก ทำให้ลูกกลิ้งรูดเปลือกมีโอกาสที่จะรูดเปลือกได้มากขึ้น ลูกยางฉีกเปลือกติดตั้งไว้บนเพลา (มีทั้งหมด 2 คู่)


ระบบลำเลียงเพื่อการบรรจุ
ทำหน้าที่ลำเลียงฝักข้าวโพดที่ถูกลอกเปลือกแล้วโดยระบบรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพดเข้าสู่ การบรรจุใส่กระสอบ ระบบการลำเลียงเป็น
แบบครีบกวาดมีระยะห่างระหว่างครีบกวาดเท่ากับ 30 ซม. ช่อทางออกเป็นแบบ 2 ช่องทาง ซึ่งสามารถควบคุมได้โดยใช้ลิ้นปิดเปิด เพื่อทำให้คนงาที่ทำหน้าที่บรรจุกระสอบสามารถเปลี่ยนกระสอบใหม่ได้ทันที
โครงตัวรถ


โครงตัวรถ
เป็นส่วนประกอบหลักที่ใช้เพื่อประกอบอุปกรณ์ของระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน โครงตัวรถได้ถูกออกแบบ เพื่อติดพ่วงทางด้านข้างของ
รถแทรกเตอร์


ผลการทำงาน
เครื่องเก็บเกี่ยวข้าวโพดนี้มีความสามารถในการทำงาน 9.8 ไร่ต่อวัน (คิดการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง) ประสิทธิภาพในการทำงาน
เฉลี่ยร้อยละ 45 การสูญเสียหัวเกี่ยวเนื่องจากการร่วงหล่นเฉลี่ยร้อยละ 2.9 การสูญเสีย เนื่องจากการรูดเปลือกหุ้มเฉลี่ยร้อยละ
10.4 ความสามารถในการปลอกเปลือกหุ้มฝักข้าวโพดเฉลี่ยร้อย 92.8 และการแตกหักของฝักข้าวโพด เนื่องจากอุปกรณ์รูดเปลือก
หุ้มเฉลี่ยร้อยละ 20.8


การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์
การวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ทำโดยการหาจุดคุ้มทุนของการใช้เครื่องปลิดฝักข้าวโพดเปรียบเทียบกับการเก็บเกี่ยวโดยใช้
แรงงานคน โดยการประเมินราคาขายเบื้องต้นของเครื่อง นี้ไว้เท่ากับ 300,000 บาท

เนื่องจากการทำงานของเครื่องนี้จะใช้ในการปลิดฝักข้าวโพดออกจากต้น ทำการรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพด และทำการบรรจุข้าวโพด

ไว้ในกระสอบ แล้วต้องใช้แรงงานคนบางส่วนในการขนย้ายเข้าไปเก็บไว้ในยุ้ง หรือบริเวณใกล้เคียงจนกว่าจะทำการซื้อขาย ส่วนขั้นตอน
ในการเก็บเกี่ยวข้าวโพด้วยแรงงานคนนั้น จะทำการ ปลิดฝักข้าวโพดออกจากต้นปอกเปลือก บรรจุใส่กระสอบ และขนย้ายเข้าไปเก็บไว้
ในยุ้งหรือบริเวณใกล้เคียง จนกว่าจะทำการซื้อขาย ดังนั้นในการวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนในการใช้เครื่องปลิดฝักข้าวโพดเปรียบเทียบกับการ
เก็บเกี่ยว โดยใช้แรงงานคน จึงทำการเปรียบเทียบถึงขั้นตอนของการบรรจุใส่กระสอบเท่านั้น เพราะในการขนย้ายเข้าไปเก็บไว้
ในยุ้งหรือบริเวณใกล้เคียงจนกว่าจะทำการซื้อขายนั้นมีขั้นตอนเหมือนกัน

ผลของการวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนการใช้เครื่องปลิดฝักข้าวโพดพบว่ามีค่าเท่ากับ 365 ไร่ต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บเกี่ยวข้าว
โพดใช้แรงงานคน หรือสรุปได้ว่าเกษตรกรหรือเจ้าของเครื่องจะต้องใช้เครื่องนี้ทำงานปีละอย่างน้อย 365 ไร่ จึงจะคุ้มค่ากับการลง
ทุน และถ้าสามารถใช้เครื่องนี้ทำงานได้ปีละ 1,000 ไร่ จะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาประมาณ 2 ปี


http://kasetinfo.arda.or.th/north/machine_1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/08/2011 6:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

255. เครื่องกะเทาะข้าวโพดที่มีเปลือกหุ้ม





จากการศึกษางานในอดีตที่ผ่านมา พบว่า เครื่องนวดข้าวโพดในประเทศไทยนอกจาก จะใช้นวดข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถ
ใช้กะเทาะถั่วต่างๆ และข้าวโพดได้อีกด้วย ดังนั้น ในการวิจัยพัฒนาเครื่องกะเทาะข้าวที่มีที่มีเปลือกหุ้มขั้นแรก คณะผู้ดำเนินงานจึงเลือก
ต้นแบบเครื่องนวดข้าวสาลีแบบของ กองเกษตรวิศวกรรมขนาด 4 ฟุต เพื่อใช้กะเทาะข้าวโพดที่มีเปลือกหุ้ม โดยมีการดัดแปลง


แก้ไขจากเครื่องต้นแบบน้อยที่สุด
• ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวลงได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานเพราะการเก็บทั้งฝักใช้แรงงานน้อย
กว่าและลดความเหนื่อยาก เนื่องจากเก็บได้ง่ายและเร็วกว่าแบบปอกเปลือก

• เกษตรกรสามารถดัดแปลง และปรับปรุงจากเครื่องนวดเมล็ดพืชที่มีใช้อยู่ เพื่อไปดัดแปลงใช้กะเทาะข้าวโพดที่มีเปลือกหุ้มได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
• เครื่องมีประสิทธิภาพสูง คือ มีประสิทธิภาพการกะเทาะสูง และอัตราการทำงานเหมาะสมคุ้มค่าใช้จ่าย

• เมล็ดข้าวโพดที่กะเทาะแล้ว มีเปอร์เซ็นต์ความสะอาดสูง โดยมีการสูญเสียและปริมาณเมล็ดข้าวโพดแตกหัก หรือบอบช้ำน้อยมาก
จึงสามารถใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ได้

• เครื่องสามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง คือ สามารถกะเทาะข้าวโพดได้ทั้งแบบมีเปลือกหุ้ม และปอกเปลือก ตามความเหมาะสม
กับขนาดพื้นที่ปลูก และสภาพการใช้งาน


ข้อจำกัด
เมื่อกะเทาะข้าวโพดที่มีความชื้นสูงมาก ทำให้เกิดการแตกหักของเมล็ดข้าวโพดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และอัตราการทำงานจะน้อยลง
หรืออาจเกิดการติดขัดในระบบกะเทาะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง


คำแนะนำการใช้
• ความชื้นของเมล็ดข้าวโพดควรต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
• ความเร็วรอบของลูกกะเทาะควรอยู่ระหว่าง 500-550 รอบต่อนาที
• ควรใช้เครื่องยนต์ต้นกำลังขนาดไม่ต่ำกว่า 11 แรงม้า




http://kasetinfo.arda.or.th/north/machine_1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 8, 9, 10 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 9 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©