-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/08/2011 6:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 8

ลำดับเรื่อง...


206. การวิจัยและพัฒนาข้าวโพดพิเศษชนิดอื่นๆ
207. วิจัยกล้วยไข่ให้ผิวสวย ใช้อุณหภูมิควบคุมการตกกระ
208. แมงดานาไล่ศัตรูด้วยกลิ่น แต่นำมาใช้กับมนุษย์ไม่ได้ผล
209. ปลูกมันเทศเพื่อขายยอด...ต่างชาตินิยมรับทาน
210. ทำไมถึงทำการตัดปลีกล้วยไข่

211. จะรู้ได้อย่างไรว่า เกิดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในแปลงนา
212. การผสมและคัดเลือกพันธุ์มะนาว เพื่อต้านโรคแคงเกอร์
213. พริกป่น-มะขามเปียก โดนขึ้นบัญชีดำ หลังพบสารปน
214. เก็บภาษีสุรา เต็มเพดาน ขวดละ 100 บาท
215. ประเภทของจุลินทรีย์

216. แหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ
217. การวัดการเจริญของจุลินทรีย์
218. ฮิวมัส คือ อะไร
219. พบแบคทีเรียที่ช่วยการเจริญเติบโตของต้นไม้
220. แบคทีเรียจากนรก

221. ดินฟ้าอากาศแปรปรวน มีผลกระทบกับลิ้นจี่
222. ดอกไม้เมืองผู้ดีบานเร็วเพราะอุณหภูมิสูง
223. วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย
224. อโรมา เธอราปี
225. การออกแบบบรรจุภัณฑ์

226. ผลไม้ไทยในหีบห่อมาตรฐาน
227. การเพาะถั่วงอกในขวดกาแฟไว้กินเอง

-------------------------------------------------------------






206. การวิจัยและพัฒนาข้าวโพดพิเศษชนิดอื่นๆ


สุรณี ทองเหลือง ยุพาพรรณ จุฑาทอง สำราญ ศรีชมพร, ธำรงศิลป โพธิสูง และ สมพร ทองแดง
สถานีวิจัยพืชไร่สุวรรณวาจกกสิกิจ และศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ
สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-4436-1770-4



ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ รัชตะ 1 (Waxy Corn Variety : Ratchata 1)
ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ รัชตะ 1 เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ผสมเปิด ที่ปรับปรุงพันธุ์โดยการนำข้าวโพดข้าวเหนียวที่รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และจากประเทศ ฟิลิปปินส์ มาปลูกคัดเลือกในปี พ.ศ. 2532 ได้พันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือก 23 พันธุ์ จากนั้นทำการผสมรวมไป 4 ครั้ง แล้วคัดเลือกต้นที่ดี ผสมพันธุ์แบบ half sib 2 ครั้ง คัดเลือกต่อในปี พ.ศ. 2534 ได้ 158 สายพันธุ์ นำพันธุ์ที่ได้มารวมกันแล้วคัดเลือกเป็นประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ composite #3 จากนั้นทำการคัดเลือกแบบ mass selection 1 ครั้ง ทดสอบในสถานี 2 ฤดูปลูก และในไร่เกษตรกรอีก 7 แห่ง ปรากฏว่า ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ composite #3 ให้ผลผลิตสูง คุณภาพและรสชาติดี จึงทำการทดสอบในแปลงเกษตรกร ซ้ำอีก 5 แห่ง ในปี พ.ศ. 2538 ผลปรากฏว่า เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร จึงแนะนำให้เป็นพันธุ์ปลูกในปี พ.ศ. 2540 โดยใช้ชื่อว่าพันธุ์ รัชตะ 1 ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์นี้ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคราน้ำค้าง มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ ความสูงต้น 166 ซม. ความสูงฝัก 85 ซม. อายุวันออกดอก 45 วัน อายุวันออกไหม 46 วัน จำนวนฝักต่อต้นเฉลี่ย 1.2 ฝัก ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 1,890 กก.ต่อไร่ ผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,098 กก.ต่อไร่ ความกว้างฝัก 4.4 ซม. ความยาวฝัก 17 ซม. จำนวน 14-16 แถวของเมล็ดต่อฝัก เปลือกหุ้มฝักมิดชิด เมล็ดสีขาว รสชาติหวานนุ่มเป็นที่ยอมรับของของผู้บริโภค









ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ Kwsx 107 (Single Cross Waxy Corn Hybrid : Kwsx 107)
ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยว พันธุ์ Kwsx 107 ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์แท้ Kwi #10 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แม่ กับ สายพันธุ์พ่อ Kwi #7 ซึ่งสายพันธุ์พ่อ-แม่ ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ ได้มาจากการสกัดสายพันธุ์แท้จากข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ผสมเปิด พันธุ์รัชตะ 1 (composite #3) ในปี พ.ศ. 2537 และได้ทำการทดสอบและคัดเลือกโดยการผสมพันธุ์แบบ diallele cross และ ทดสอบใน standard trial ในปี พ.ศ. 2541 ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยว พันธุ์ Kwsx 107 ให้ผลผลิตสูงมีลักษณะทางการเกษตรดี คุณภาพและรสชาติดี ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,321 กก.ต่อไร่ ผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,452 กก.ต่อไร่ อายุวันออกดอก และออกไหม 44 วันเท่ากัน ความสูงต้น 184 เซนติเมตร ความสูงฝัก 91 เซนติเมตร ความยาวฝัก 18.10 เซนติเมตร ความยาวส่วนที่ติดเมล็ดบนฝัก 17.45 เซนติเมตร เส้นรอบวงฝัก 14.05 เซนติเมตร ในปี พ.ศ. 2544 ได้ทำการทดสอบร่วมกับกรมวิชาการเกษตรที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และสถานีวิจัยพืชไร่ศรีสำโรง และทำการทดสอบร่วมกับบริษัทเอกชนที่ จังหวัดสุพรรณบุรี ปรากฏว่าข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยว พันธุ์ Kwsx 107 ให้ผลผลิตสูงในระดับหนึ่งในห้าของพันธุ์ที่นำมาทดสอบ มีรสชาติดี กลิ่นหอม เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร สามารถแนะนำเป็นพันธุ์ปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร









ข้าวโพดข้าวเหนียวหวานลูกผสม พันธุ์ Kswsx 2410 (Sweet Waxy Corn Hybrid : Kswsx 2410)
ข้าวโพดข้าวเหนียวหวานลูกผสม พันธุ์ Kswsx 2410 เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวหวานลูกผสมเดี่ยว (single cross hybrid) ที่ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์แท้ Kswi 24-4-1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แม่ กับ สายพันธุ์พ่อ Kwi #10 เป็นการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่าง แว๊กซี่ยีน(waxy gene) จากข้าวโพดข้าวเหนียว และ ยีนความหวาน ชรังเค่น 2 (shrunken 2) ซูการี่ 1(sugary 1) และ ซูการี่เอนฮานเซอร์ (sugary enhancer)จากข้าวโพดหวานโดยเริ่มทำการวิจัยในปี พ.ศ. 2538 เพื่อให้ได้ลูกผสมที่มีความหวานและเหนียวนุ่ม เป็นการเพิ่มความหลากหลายให้แก่ผู้บริโภค ข้าวโพดข้าวเหนียวหวานลูกผสม พันธุ์ Kswsx 2410 มีลักษณะทางการเกษตรดี สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ให้น้ำชลประทานได้ ให้ผลผลิตสูง ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,372 กิโลกรัมต่อไร่ ฝักสดปอกเปลือก 1,401 กิโลกรัมต่อไร่ อายุวันออกดอก และออกไหม 52 วันเท่ากัน ความสูงต้น 213 เซนติเมตร ความสูงฝัก 109 เซนติเมตร ความยาวฝัก 21.00 เซนติเมตร ความยาวส่วนที่ติดเมล็ดบนฝัก 19.75 เซนติเมตร เส้นรอบวงฝัก 13.75 เซนติเมตร รสชาติดี มีกลิ่นหอม สามารถแนะนำให้เกษตรกรใช้เป็นพันธุ์ปลูกเพื่อเพิ่มรายได้ และเพิ่มความหลากหลายให้แก่ผู้บริโภค









ข้าวโพดคั่วพันธุ์ Composite #3 (Popcorn Variety : Composite #3)
ข้าวโพดคั่วพันธุ์ composite #3 เป็นข้าวโพดคั่ว (popcorn) พันธุ์ผสมเปิด ที่ปรับปรุงพันธุ์โดยการนำข้าวโพดคั่วที่รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และจากโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของกรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ. 2532 นำพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมาผสมรวมไป 4 ครั้ง แล้วคัดเลือกต้นที่ดีจำนวน 158 สายพันธุ์ มาทำการผสมพันธุ์รวม คัดเลือกต่อในปี พ.ศ. 2534 ได้ ประชากรข้าวโพดข้าวคั่ว composite #3 จากนั้นทำการคัดเลือกแบบ mass selection 2 ครั้ง จึงนำไปทดสอบในสถานี 2 ฤดูปลูก และในไร่เกษตรกรอีก 2 แห่ง ปรากฏว่า ข้าวโพดคั่วพันธุ์ composite #3 ให้ผลผลิตสูง คุณภาพการแตกและรสชาติดี แนะนำให้เกษตรกรใช้เป็นพันธุ์ปลูกในปี พ.ศ. 2542 ข้าวโพดคั่วพันธุ์นี้ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคราน้ำค้าง มีโรคทางใบน้อย ต้านทานโรคทางใบได้ดีปานกลาง มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ ความสูงต้น 215 ซม. ความสูงฝัก 124 ซม. อายุวันออกดอก 54 วัน อายุวันออกไหม 55 วัน จำนวนฝักต่อต้นเฉลี่ย 1.2 ฝัก อายุเก็บเกี่ยว 110 วัน เปอร์เซ็นต์กะเทาะ 80% ให้ผลผลิตเฉลี่ย 523 กก.ต่อไร่ น้ำหนัก 10 กรัม มีจำนวนเมล็ดเฉลี่ย 69 เมล็ด เปอร์เซ็นต์คั่วแตก 94%






http://www.rdi.ku.ac.th/Techno_ku60/res-01/index01-05.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 8:05 am, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/08/2011 7:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

207. วิจัยกล้วยไข่ให้ผิวสวย ใช้อุณหภูมิควบคุมการตกกระ


กล้วยไข่...หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ถูกกดราคา หรือหนักสุดคือส่งขายไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ส่งออกมักประสบบ่อยครั้ง คือผิวของเปลือกเป็น กระ

เพื่อที่จะลดปัญหานี้ลง ศ.ดร.สายชล เกตุษา ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส ได้รับทุนสนับสนุน การวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ทำการศึกษาวิจัยกล้วยไข่ทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อหาสาเหตุ

ในการศึกษาเก็บข้อมูลได้ใช้ถุงพลาสติกคลุมเครือกล้วย ควบคู่กับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อโรคทั้งก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว อีกทั้งยังเก็บรักษาผลกล้วยให้สุกในสภาพปลอดเชื้อ-โรค แต่ก็ยังพบการตกกระของผลกล้วยไข่อยู่

ศ.ดร.สายชล...จึงสันนิษฐานว่า การตกกระของกล้วยไข่สุก สาเหตุเบื้องต้นไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคอย่างแน่นอน และ คงเกิดจากการที่ปล่อยทิ้งไว้ให้กล้วยงอมเต็มที่

ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดรอยตกกระเกิดรอยบุ๋ม ส่งผลให้น้ำบริเวณรอบข้างไหลเข้ามาทดแทน อันเป็นเหตุทำให้เนื้อเยื่อติดเชื้อได้ง่าย กระทั่งผิวของกล้วยไข่กลายเป็นสีดำ

ด้วยเหตุนี้ทางคณะวิจัยฯ จึงได้เริ่มศึกษาเปรียบ เทียบกับการเกิดสีน้ำตาล (browning) ของเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ อาทิ สีขาวของผลแอปเปิลที่ตากลมไว้เกิดสีน้ำตาล การเกิดสีผิดปกติของผลิตผลเขตร้อน เมื่ออยู่ภายใต้อุณหภูมิต่ำเหนือจุดเยือกแข็ง (chilling injury; 0-12 C) และการเกิดจุดสีน้ำตาลของผักกาดหอมห่อ (rusett spotting)

ผลที่ได้พบว่าเมื่อได้รับเอทิลีนที่อุณหภูมิต่ำ สีน้ำตาลที่เกิดขึ้นมาเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเอนไซม์ กับสารฟีนอลิก ในสภาวะที่มีออกซิเจน โดยเม็ดสีเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่และตกตะกอนอยู่ตามเนื้อเยื่อของพืช

และ...เมื่อนำกลับมาไว้ในห้อง กล้วยไข่จะยังคงตกกระเช่นเดิม หากนำไปไว้ที่อุณหภูมิ 42 ํC นาน 6-24 ชม.ก็จะสามารถยับยั้งการตกกระของกล้วยไข่ได้อย่างถาวร อีกทั้งความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ จะช่วยให้การตกกระเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีความชื้นมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์

เมื่อทราบถึงปัจจัยเหล่านี้ จึงได้คิดวิธีการชะลอการตกกระขึ้น ด้วยวิธีการเก็บรักษากล้วยไข่สุกในบริเวณที่มีอุณหภูมิ 12-18 C หรือช่องแช่เย็นปกติ ซึ่งจะช่วยลดการตกกระได้นาน 5 วัน ใช้พลาสติกฟิล์มพีวีซี (PVC Film) หรือพลาสติกที่ยอมให้อากาศถ่ายเท ห่อผลกล้วยไข่เพื่อควบคุมปริมาณออกซิเจนให้เหลือน้อยที่สุด การใช้สารเคลือบผิว เพื่อลดการหายใจด้วยออกซิเจนของผลกล้วยไข่

จากการวิจัยและศึกษาการตกกระของกล้วยไข่ ได้ถูกนำมาใช้ป้องกันผิวของผลกล้วย โดยมีการนำกล้วยไข่ไปบรรจุในภาชนะ จานโฟมและห่อด้วยพลาสติก หรือแช่เก็บในชั้นวางของที่มีอุณหภูมิ 12-18 C เหล่านี้ก็ “เพื่อชะลอการตกกระของกล้วยไข่และดึงดูดใจผู้บริโภค”

นอกจากจะลดปัญหาการตกกระแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่คณะวิจัยได้รับรู้ ต้องการ คือความเข้าใจในธรรมชาติของกล้วยไข่ว่าจุดตกกระเกิดขึ้น เมื่อกล้วยไข่นั้นสุกมิใช่เกิดจากโรคแต่อย่างใด.



http://www.kasetvirul.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=416270&Ntype=6


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2011 7:31 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/08/2011 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

208. แมงดานาไล่ศัตรูด้วยกลิ่น แต่นำมาใช้กับมนุษย์ไม่ได้ผล


อาหารการกิน......ปัจจุบันแม้จะมีให้เลือกหลากหลายทะลักเข้ามาในสังคมบ้านเรา ทั้งที่ประเภทแพงหูฉี่ราคาเทียบเท่าทองคำ จนถึงประเภททั้งประเภทกินสะดวกกินด่วนที่วัยรุ่นชอบแอ็กอาร์ตเปิบกันแล้วว่าทันสมัย

แต่ยังไง๋ยังไง....วัฒนธรรมการบริโภคของไทยเราก็ยังโหยหาน้ำ พริกกันอยู่วันยังค่ำ เพราะชื่อนี้ไม่ว่าจะชนิดใดภาคไหน รสชาติของมันประทับเข้าถึงโคนลิ้นเลยทีเดียว ยิ่งถ้าได้เหยาะแมงดาเข้าไปซักนิดแล้ว กลิ่นของมันจะช่วยปรุงรสให้แซบเหลือหลาย

แมงดานาที่ใช้ตำกับน้ำพริกจะเป็นแมงดานา ซึ่งสนนราคาที่ขายตามท้องตลาดยามนี้ก็อยู่ที่ตัวละ 5-10 บาท... และราคานี้ก็มิใช่ว่าจะหาซื้อได้ง่ายๆด้วย

แมงดานา....มีด้วยกัน 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์หม้อ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เราเห็นวางขายอยู่ตามท้องตลาด ลำตัวมีลักษณะขอบปีกมีลายสีทองคลุมไม่มิดส่วนหาง จะขยายพันธุ์รวดเร็ว ไข่ดก พันธุ์ลาย ขอบปีกมีลายสีทองและคลุมมิดหาง วางไข่แต่ละครั้งไม่แน่นอน และ พันธุ์เหลือง หรือ พันธุ์ทอง มีสีเหลืองทั้งตัว ชอบกินแมงดานาพันธุ์อื่นๆเป็นอาหาร....จึงไม่ควรเลี้ยงรวมกับพันธุ์อื่นๆ

แมงดานาตัวเมียลำตัวจะแบน ส่วนท้องใหญ่กว้าง เมื่อแง้มดูที่ปลายท้องจะเห็นอวัยวะวางไข่คล้ายเม็ดข้าวสาร ส่วน ตัวผู้ ลำตัวจะกลมป้อมเล็กกว่าตัว เมีย มีเดือยหาง ซึ่งส่วนนี้จะมีต่อมกลิ่นหอมฉุน

มันชอบออกบินในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะหลบซ่อนอยู่ตามหนอง คลอง บึง และในท้องนา ในเวลาฤดูฝนกลางคืนเมื่อมีฝนตกปรอยๆ ตัวแก่จะบินขึ้นมาวนเวียนอยู่ตามที่มีแสงไฟฟ้าโดยเฉพาะสีม่วง สีฟ้า สีน้ำเงิน แล้วปล่อยกลิ่นเพื่อเรียกความสนใจจากตัวเมีย ให้มาผสมพันธุ์ ปีหนึ่ง “จะฝากรัก” 3-4 ครั้ง เมื่อได้ความสุขสุดขีดแล้วมันก็จะตาย

ช่วงที่มันฝากรักปล่อยกลิ่นฉุนเรียกคู่มาหา แล้วมันก็จะเกาะบนหลังตัวเมีย ผสมพันธุ์ตามกอหญ้า กอข้าว เมื่อตัวเมียวางไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่มวางเรียงเป็นแถวตามต้นข้าวหรือต้นหญ้า หรือตามกิ่งไม้ขนาดเล็กในน้ำ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีประมาณ 100-200 ฟอง...ตัวผู้จะทำหน้าที่เฝ้าไข่ โดยว่ายน้ำขึ้น-ลงตลอดและเยี่ยวรดไข่

สัญชาตญาณในการป้องกันตัว เมื่อศัตรูมารุกรานจะส่งกลิ่นทำให้เหม็น แล้วไม่กล้าเข้าใกล้

...แต่มันก็ใช้ได้กับพวกสัตว์ด้วยกันเท่านั้น เพราะนำมาใช้กับมนุษย์ท้ายสุดก็ต้องลงไปอยู่ ในถ้วยน้ำพริก...เป็นอาหารถ้วยโปรดของใครหลายๆคนไปฉิบ.



เพ็ญพิชญา เตียว
http://www.kasetvirul.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=416277&Ntype=6
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/08/2011 7:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

209. ปลูกมันเทศเพื่อขายยอด...ต่างชาตินิยมรับทาน


ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้การปลูกมันเทศในประเทศไทยได้มีความก้าวหน้าไประดับหนึ่งคือ มีการพัฒนาสายพันธุ์มีการคัดเลือกพันธุ์จากต่างประเทศที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น พันธุ์เนื้อสีส้มจากประเทศออสเตรเลียและพันธุ์เนื้อสีม่วงจากประเทศญี่ปุ่น มันเทศทั้งสองสายพันธุ์นี้ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้นำมาเผยแพร่ปลูกได้ให้ผลผลิตและคุณภาพดีในบ้านเราไม่แพ้มันเทศที่นำเข้าจากต่างประเทศ คนไทยที่รักสุขภาพให้ความสนใจบริโภคมันเทศกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน (ในมันเทศเนื้อสีส้ม), สารแอนโทไซยานิน (ในมันเทศเนื้อสีม่วง) และวิตามินเอและวิตามินซี

ความจริงแล้วมันเทศไม่ได้บริโภคเฉพาะส่วนหัวเท่านั้น ส่วนของยอดอ่อนได้มีการนำเอายอดอ่อนของต้นมันเทศไปทำแกงส้ม, แกงเทโพหรือจะเอาไปผัด ลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก แต่ในบ้านเราจะเก็บยอดอ่อนจากต้นมันเทศสายพันธุ์ทั่วไปอาจจะพบปัญหาเรื่องปริมาณยางที่ยอดมาก ไม่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อการเก็บยอดโดยเฉพาะซึ่งแตกต่างจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีหน่วยงานศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับเรื่องมันเทศโดยเฉพาะ จีนได้มีการพัฒนาพันธุ์มันเทศที่ปลูกด้วยการผลิตยอดโดยเฉพาะอย่างกรณีของ คุณกิตติ ชุ่มสกุล บ้านเลขที่ 37/1 หมู่ 4 ต.ท่าตลาด อ.สามพราน จ.นครปฐม ได้สายพันธุ์มันเทศมาจากเมืองกุ้ยหลิน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2548 เมื่อนำมาทดลองปลูกเพื่อเก็บยอดและนำผัดไฟแดงเหมือนกับการผัดผักบุ้ง ผลปรากฏว่ารสชาติหวานมันอร่อยมากและหลังจากผัดแล้วไม่เหี่ยว หลายคนไม่รู้ว่าเป็นยอดมันเทศจึงตั้งชื่อว่า “ผักบุ้งมัน” ปัจจุบันยอดมัน เทศเป็นอาหารยอดฮิตของคนฮ่องกงและไต้หวัน ราคาขายถึงผู้บริโภคขีดละ 200 บาท (น้ำหนัก 100 กรัม)

ที่ประเทศญี่ปุ่นก็เช่นกันมีความก้าวหน้าในการผลิตยอดมันเทศด้วยการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ด้วยการนำหัวมันเทศมาวางในวงบ่อซีเมนต์ตั้งไว้ในที่ร่มและชื้น เช่น วางบนขี้เถ้าแกลบ, ดินและใช้ฟางข้าวคลุมเพื่อรักษาความชื้น เพื่อให้หัวมันเทศแตกยอดออกมาและเก็บยอดมาขายหรือนำมาบริโภค มีภัตตาคารหลายแห่งในญี่ปุ่นปลูกมันเทศพันธุ์กินยอดแบบนี้ในร้านเพื่อสร้างความมั่นใจว่าเป็นพืชผักที่ปลอดสารพิษ หลายคนยังไม่ทราบว่ายอดมันเทศนั้นอุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซี คนญี่ปุ่นบอกว่ากินยอดมันเทศแล้วบำรุงสายตาไม่แพ้กินแครอท จะต้องยอมรับกันว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าในเรื่องของการพัฒนาสายพันธุ์มันเทศ, พัฒนาเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และพัฒนาพันธุ์ที่จะนำมาปลูกเพื่อการผลิตยอดบริโภคที่มีวิตามินเอสูงที่สุด (คนญี่ปุ่นใช้คอมพิวเตอร์มากจะต้องหาอาหารบำรุง สายตา).



ทวีศักดิ์ ชัยเรือง
http://www.kasetvirul.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=416308&Ntype=6
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/08/2011 9:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

210. ทำไมถึงทำการตัดปลีกล้วยไข่



การตัดปลีกล้วยเขาจะทำการตัดเป็นระยะๆ ทำไมถึงทำการตัดปลีกล้วยไข่

การตัดปลีกล้วยไข่เป็นปัจจัยที่สำคัญ บางท่านก็จะบอกว่ามันเป็นเทคนิคหนึ่ง ที่จะควบคุมการแก่ของผลกล้วย สำหรับเกษตรกรที่มีความชำนาญในการทำสวนกล้วยไข่เขาจะบอกได้เลยว่า การตัดปลีกล้วยเขาจะทำการตัดเป็นระยะๆบางท่านก็จะบอกว่าเขาตัดปลีกล้วยกันเป็นรุ่นๆ เพราะว่าสามารถคำนวณได้เลยว่าหลังจากทำการตัดหัวปลีกล้วยไปแล้ว


นับไปอีกประมาณ 45 วัน ก็จะสามารถตัดเครือกล้วยได้ ในการตัดปลีกล้วยในแต่ละครั้ง มักทำการตัดเว้นระยะห่างกันประมาณ 7-8 วัน โดยทั่วไปเกษตรกร จะเรียกการตัดกล้วยไข่แต่ละครั้งว่าเป็นมีดๆไป คือตัดครั้งที่1 จะเรียกว่ามีด1 หากตัดครั้ง 2 ก็จะเรียกว่ามีด2 นับไปเรื่อยๆของการตัดเครือกล้วยในแต่ละครั้ง


หากจะสังเกตว่าควรจะทำการตัดปลีกล้วยเมื่อไร ข้อสังเกตที่ดีคอยดูหลังจากปลีกล้วยเริ่มบานประมาณ 7-10 วัน ก็จะเห็นผลกล้วยไข่เล็กๆเป็นจำนวนเรียงกันเป็นหวีๆ หากเป็นผลกล้วยที่ต้นกล้วยมีความสมบูรณ์ผลกล้วยไข่ก็จะมีผลสม่ำเสมอกัน ยกเว้นกล้วยตีนเต่า หากเรียกว่ากล้วยตีนเต่า หลายท่านคงจะเข้าใจหมายถึงกล้วยหวีที่ล่างสุดหลังจากการนับว่ากล้วยเครือนั้นเป็นกล้วย4 หรือกล้วย 5 หรือกล้วยตั้ง นั่นเองครับ


หลังจากที่เราเริ่มตัดปลีกล้วยทิ้งไปแล้ว ก็นับไปได้เลยว่าประมาณ 45 วัน บางท่านก็จะบอกว่าประมาณ 42-45 วัน ก็จะทำการตัดเครือกล้วยจำหน่ายได้แล้ว แต่ก็ต้องคำนึงว่าเราจะตัดเพื่อจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น ตลาดในกรุงเทพ หรือเพื่อส่งออกต่างประเทศ นี่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน


ผมเคยมีประสบการณ์อยู่ว่า หากเมื่อใดหลังจากเราทำการตัดปลีกล้วยทิ้งไปแล้ว ผลกล้วยไข่จะโตเร็วมาก หากมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอในช่วงนี้ ผลกล้วยจะเต่งตึง บางทีเราไม่มีเวลาตัดผลกล้วยก็จะแตกที่เรียกว่าผลกล้วยไข่อิ่มน้ำจนแตกนั่นเอง


หากเราไม่ทำการตัดปลีกล้วยเลยผลตามมาก็คือผลกล้วยจะไม่โต หรือโตก็ไม่สม่ำเสมอ แต่ที่สำคัญแก่ช้าครับ จะขายไม่ได้ราคาเลย ครับ



เขียวมรกต

http://www.gotoknow.org/blog/peekwong17/403408
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/08/2011 9:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

211. จะรู้ได้อย่างไรว่า เกิดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในแปลงนา


มีเกษตรกรบางพื้นที่ได้รับความเสียหายจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างต่อเนื่อง จะรู้ได้อย่างไรว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาแล้ว

ณ วันนี้ต้องยอมรับกันว่า 1-2 ปีติดต่อกันมา มีเกษตรกรบางพื้นที่ได้รับความเสียหายจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี2553 นี้ในจังหวัดกำแพงเพชร มีเกษตรกรที่ได้รายงานขอรับการช่วยเหลือจากทางจังหวัดและอปท.มีจำนวน ถึง 27,482 ราย รวมพื้นที่ที่ได้รับการช่วยเหลือประมาณ 605,253 ไร่



สถานการณ์ในปัจจุบันนี้ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ต่างให้ความสำคัญและเฝ้าคอยระวังว่าเมื่อไรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะเกิดการระบาดในแปลงนาของเกษตรกรอีก จากการลงไปปฏิบัติงานของKM TEAM จังหวัดฯด้านการป้องกันและกำจัดเพลี้ยกรโดดสีน้ำตาลในนาข้าวพบว่า ก็มีเกษตรกรส่วนหนึ่ง ต่างเฝ้าระวัง โดยสังเกตว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเกิดระบาดได้อย่างไร ก็พอจะนำมาบอกกล่าวให้ฟังดังนี้



วิธีการที่ 1. คอยสังเกตดูแสงไฟ ที่มีหลอดไฟติดอยู่ตามเสาไฟฟ้าใกล้แปลงนา หรืออยู่ในชุมชนต่างๆว่าตอนพลบค่ำจะมีเพลี้ยกระโดดสี้น้ำตาลมาเล่นแสงไฟมีปริมาณมาน้อยเพียงใด ก็เป็นตัวชี้วัดได้ดีตัวหนึ่ง ก่อนที่จะตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป



วิธีการที่ 2.
ในแปลงนาที่มีการวางกับดัก เช่นใช้ขวดน้ำเปล่า ที่ดัดแปลงทำการเจาะ เพื่อนำกากน้ำตาลเทลงไว้ในก้นขวด พอประมาณ แล้วนำไปปักหลักแขวนไว้ตามแปลงนา แล้วคอยสังเกตว่ามีตัวแมลงศัตรูข้าวโดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลลงมาอยู่ในขวดที่มีกากน้ำตาลนี้หรือไม่



วิธีการที่ 3.
การลงไปสำรวจโดยใช้สวิงโฉบแมลง โดยทำการสุ่มตรวจในแปลงนาของเกษตรกร โดยเฉพาะที่กลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนทำเป็นแปลงติดตามสถานการณ์ รวมทั้งการลงไปสุ่มตรวจดูเฉพาะตัวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตามกอข้าวว่ามีเกินกว่าระดับเศรษฐกิจหรือไม่


ทั้ง 3 วิธีดังกล่าวข้อสำคัญเกษตรกรที่ทำนา จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการติดตามสถานการณ์ว่าเพลี้ยกระโดดระบาดในแปลงนาหรือมันเกิดขึ้นอย่างไร จากการดำเนินการที่ผ่านมาเราจะพบในกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน ที่มีอยู่ในชุมชนต่างๆของจังหวัด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนมาแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าได้ผลระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีความจำเป็น ที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังจะต้องหาวิธีการ หาโอกาสลงไปปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและสนับสนุนเพื่อให้ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องต่อไป



วิธีที่ 4.
การสร้างและพัฒนาปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นแกนนำเครือข่ายการเรียนรู้ โดยภาครัฐ คอยหาเวทีให้เขามีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน คอยให้กำลังใจโดยลงไปพูดคุยเยี่ยมชมผลงาน โดยลงไปถึงแปลงนาของเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรแกนนำเหล่านี้ล้วนมีความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นอย่างดี และพร้อมยอมรับองค์ความรู้ใหม่ๆไปทดลองในการปฏิบัติจริงในแปลงนาของตนเองควบคู่กันไป ซึ่งก็มีเกษตรกรหลายรายที่สามารถต้นทุนการผลิตข้าวได้ไม่น้อยกว่า10 เปอร์เซ็นต์ สำหรับกิจกรรมที่ลดได้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่นกิจกรรมที่เกษตรกรสามารถผลิตและใช้เอง ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไปปลูก การลดปุ๋ยเคมีโดยผลิตปุ๋ยอินทรียที่ทำเอง รวมทั้งการใช้สารสกัดชีวภาพจากสมุนไพร การผลิตและใช้เชื้อราบิวเวอเรีย และเชื้อราเมตตาไรเซียม เป็นต้น

ณ.วันนี้เราต้องยอมรับความจริงกันว่า การที่หลายฝ่ายต้องการที่จะให้เกิดการแก้ไขปัญหาการป้องกันการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างยั่งยืนให้ได้ หน่วยงาน องค์กรภาคี ที่เกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง กำหนดพื้นที่เป้าหมายของแต่ละชุมชนให้ชัดเจน มีการวางแผนดำเนินการร่วมกัน สำคัญที่สุดต้องขอความร่วมมือจากอปท.และชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการถึงจะมีความสำเร็จได้ ท้ายสุดต้องให้ชุมชนเป็นผู้บอก.



เขียวมรกต
http://www.gotoknow.org/blog/peekwong17/398538
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/08/2011 7:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

212. การผสมและคัดเลือกพันธุ์มะนาว เพื่อต้านโรคแคงเกอร์



โรคแคงเคอร์นับเป็นโรคที่มีความสำคัญของพืชตระกูลส้ม โดยเฉพาะในกลุ่มของมะนาวจะอ่อนแอและเป็นโรคนี้มากที่สุด เกษตรกรที่ปลูกมะนาวในเชิงพาณิชย์ถ้าไม่มีวางแผนการป้องกันและกำจัดโรคแคงเคอร์ที่ดีในช่วงระยะเริ่มปลูกหรือช่วงมะนาวเล็กจะควบคุมโรคไม่ได้จะทำให้ต้นมะนาวแคระแกร็น ในบางพื้นที่ปล่อยให้มีการระบาดอย่างรุนแรง โรคลามถึงกิ่งและต้นอาจจะทำให้ต้นถึงตายได้ ปัจจุบันพันธุ์มะนาวไทยที่มีปลูกอยู่ในบ้านเราไม่ต้านทานต่อโรคแคงเคอร์ มีเพียงพันธุ์ตาฮิติซึ่งเป็นสายพันธุ์ต่างประเทศและเป็นมะนาวไม่มีเมล็ดต้านทานต่อโรคนี้แต่คนไทย ไม่นิยมบริโภค

คุณณรงค์ แดงเปี่ยม นักวิชาการเกษตร จากศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการผสมและคัดเลือกพันธุ์มะนาวลูกผสมเพื่อต้านทานโรคแคงเคอร์โดยได้ผสมพันธุ์มะนาว จำนวน 4 พันธุ์โดยใช้มะนาวแป้นเป็นแม่ (มะนาว แป้นเป็นพันธุ์ที่คนไทยนิยมบริโภคมากที่สุด) และใช้มะนาวน้ำหอม, มะนาวหนังคันธุลีและมะนาวตาฮิติ เป็นพ่อ (มะนาวทั้ง 3 พันธุ์ที่ใช้เป็นพ่อนั้นจะมีคุณสมบัติต้านทานโรคแคงเคอร์) ผลจากการผสมพันธุ์ได้มะนาวลูกผสมออกมาเป็นจำนวนมาก และได้ต้นที่มีคุณสมบัติต้านทานต่อโรคแคงเคอร์ดีในระดับสูงและยังให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีอีกด้วยซึ่งเป็นลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างมะนาวแป้นกับมะนาวน้ำหอม ในขณะที่การผสมระหว่างมะนาวแป้นกับมะนาวตาฮิติพบว่าไม่สามารถผสมติดเมล็ดได้

คุณณรงค์ยังได้อธิบายรายละเอียดถึงผลการคัดเลือกมะนาวลูกผสมที่ต้านทานโรคแคงเคอร์

มีคุณสมบัติดีอื่น ๆ ดังนี้ เริ่มจากตรวจสอบความต้านทานต่อโรคแคง เคอร์โดยการนับจำนวนจุดแผลและขนาดของจุดแผลที่ใบและผลพบว่าจุดแผลมีจำนวนน้อยและขนาดจุดแผลเล็ก (ในทางวิชาการการแสดงลักษณะความต้านทานของมะนาวต่อโรคแคงเคอร์ โดยที่มีจุดแผลในปริมาณน้อยอาจจะเป็นเพราะพืชมีขบวนการต่อต้านเชื้อไม่ให้เข้าสู่เซลล์พืชได้สะดวกและขนาดของจุดแผลที่เล็กนั้นน่าจะเป็นเพราะพืชมีขบวนการควบคุมการขยายของแผลที่เกิดขึ้น เช่น อาจสร้างสารบางอย่างขึ้นต่อต้านเชื้อหรือการที่มีเซลล์ตายล้อมรอบแผลไว้ จึงได้นำลักษณะความต้านทานโรคที่แสดงออกนี้นำมาใช้เป็นหลักในการคัดเลือกสายพันธุ์มะนาวลูกผสม) ส่วนอาการของโรคที่กิ่งและต้นพบว่าน้อยมากหรือไม่เป็นเลย เมื่อนำมาปลูกในแปลงพบว่ามีการเจริญเติบโตที่ดี, มีลักษณะทรงต้นโปร่ง มีหนามเล็กสั้นหรือไม่มีหนาม เมื่อดูถึงลักษณะของผลพบว่าทรงผลเป็นทรงแป้นหรือทรงรี ไม่มีสะดือที่ก้นผล ผิวผลเป็นมันและมีต่อมน้ำมันขนาดเล็ก เมื่อผ่าดูลักษณะภายในของผลจัดเป็นมะนาวที่มีเปลือกบาง, มีปริมาณน้ำมะนาวประมาณ 30% ของน้ำหนักผล มีกลิ่นหอม มีปริมาณของกรดและวิตามินซีที่เหมาะสม ที่สำคัญเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง เมื่อเกษตรกรได้สายพันธุ์มะนาวลูกผสมไปปลูกได้ต้นที่ต้านทานโรคแคงเคอร์จะช่วยลดการใช้สารเคมีไปได้มาก ที่สำคัญไปกว่านั้นผลผลิตที่ได้ตลาดจะต้องยอมรับในคุณภาพและรสชาติ.




ที่มา : http://www.dailynews.co.th/agriculture/each.asp?newsid=58443
http://www.news.cedis.or.th/detail.php?id=2267&lang=en&group_id=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/08/2011 6:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

213. พริกป่น-มะขามเปียก โดนขึ้นบัญชีดำ หลังพบสารปน





ส.อ.ท. เผยสถานการณ์ส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยลดลง พริกป่น-มะขามเปียกโดนตีท้ายครัว หลังถูกอียูขึ้นบัญชีดำ 16 ชนิด เนื่องจากพบสารปนเปื้อน ...

นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าอาหารในหมวดเครื่องปรุงรสของไทย ในช่วงนี้มีปริมาณการส่งออกลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจากสินค้าหลายตัวราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ประกอบกับผลผลิตที่เป็นวัตถุดิบทางการเกษตรน้อยลง ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าป้อนตลาดได้ โดยเฉพาะเครื่องปรุงรสประเภทผงชูรสประเภทพริกป่น มะขามเปียก และกะทิ ทั้งนี้ ผงชูรสเป็นเครื่องปรุงรสที่ไทยส่งออกมากที่สุดไปยังประเทศ เพื่อนบ้าน รวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งการที่ราคามันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผงชูรส มีราคาปรับตัวสูงขึ้น และผลผลิตน้อยทำให้ไทยส่งออกผลชูรสได้น้อยลง เพราะแข่งขันราคากับคู่แข่งไม่ได้ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย

“สิ่ง ที่น่าเป็นห่วงอีกหนึ่งชนิดคือพริกป่น เนื่องจากปัญหาการส่งออกผักสดจากไทยไปยังสหภาพยุโรป (อียู) 16 ชนิด ถูกขึ้นบัญชีจากอียูไว้ในเรื่องการตรวจพบสารปนเปื้อน โดยพริกสดถือเป็น 1 ใน 16 ประเภท ทำให้สินค้าที่มีส่วนผสมจากพริก ได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยในส่วนของพริกป่น แม้จะส่งออกไปในรูปแบบของพริกแห้ง ก็จะถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดเช่นเดียวกัน ทำให้ไทยส่งออกพริกป่นได้น้อยลง และอียูก็ถือเป็นตลาดหลักในการส่งออกเครื่องปรุงรสของไทย เนื่องจากมีร้านอาหารไทยอยู่เป็นจำนวนมาก”

นายวิ ศิษฎ์ กล่าวว่า ขณะเดียวกันยังมีมะขามเปียก ที่ปกติไทยจะส่งมะขามเปียกไปยังตะวันออกกลางมาก โดยลูกค้าจะนำมะขามเปียกไปแปรรูปเป็นสินค้าชนิดอื่นๆ รวมทั้งส่งออกไปพร้อมกับอาหารไทย แต่ช่วงนี้เริ่มส่งออกได้น้อยลง เนื่องจากมะขามเปียกมีราคาสูงถึง 100 กว่าบาทต่อกิโลกรัม และเคยขึ้นสูงขึ้นถึง 120 บาทต่อกิโลกรัม เพราะผลผลิตในประเทศน้อยลง เป็นผลมาจากอากาศเปลี่ยนแปลงมาก และเมื่อราคาสูง สินค้าจึงแข่งขันกับอินโดนีเซีย และมาเลเซียได้ยาก ลูกค้าหันไปซื้อสินค้าจากแหล่งที่ถูกกว่า นอกจากนี้ยังมีกะทิ อีกหนึ่งตัว ที่สถานการณ์ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะราคาสูงมาก อาจทำให้ปริมาณการส่งออกกะทิลดลง.



ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์
http://news.giggog.com/368633
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/08/2011 7:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

214. เก็บภาษีสุรา เต็มเพดาน ขวดละ 100 บาท





เก็บภาษีสุราเต็มเพดาน คอทองแดงอ่วมแน่!เหล้าขาวขวดละ100บาท

กระทรวงคลัง เตรียมปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตสุรากลั่นให้เต็มเพดาน ลิตรละ 400 บาท ส่งผลให้ราคาขายเหล้าขาวพุ่งขึ้นแตะขวดละ 100 บาท ส่วนสุราแบบผสมขยับไม่มาก อ้างจะทำให้คนดื่มเหล้าน้อยลง คาดมีผลก่อนสงกรานต์ เตรียมป้องกันผู้กักตุนสินค้า

นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับขึ้นอัตราภาษีสุรากลั่น ให้เต็มเพดานอัตราภาษี โดยในส่วนของสุราขาว จากเดิมที่เก็บตามปริมาณ 120 บาทต่อลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เพิ่มเป็น 400 บาทต่อลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ และสุราผสมตามปริมาณจาก 300 บาทต่อลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็น 400 บาทต่อลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ โดยขณะนี้กรมสรรพสามิตกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียด เพื่อเสนอให้นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาภายในสัปดาห์นี้

"ภาษีสุรากลั่นต้องมีการขึ้นแน่นอน เพราะเรื่องนี้สรรพสามิตศึกษามานาน เป็นการดูโครงสร้างภาษีสุราทั้งระบบ ในขั้นแรกจะนำภาษีสุรากลั่นมาพิจารณาก่อน หาก รมว.คลังเห็นชอบ ก็จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอแก้ไขกฎกระทรวง คาดว่าการปรับภาษีเต็มเพดานจะแล้วเสร็จก่อนเทศกาลสงกรานต์นี้"

รมช.คลัง กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีสุราขาวและสุราผสมเต็มเพดาน เป็นการสนับสนุนนโยบายการลดการบริโภคสุรา ซึ่งกระทรวงสาธารสุขขอให้คลังดำเนินการเรื่องนี้มานานแล้ว ขณะนี้เห็นควรให้มีการเสนอการปรับอัตราภาษีให้สูงขึ้น เพื่อลดการบริโภคสุราลง ประกอบกับสุราทั้ง 2 ประเภทยังมิได้มีการปรับอัตราภาษีมาในระยะหนึ่งแล้ว โดยปรับอัตราภาษีครั้งล่าสุดเมื่อเดือน พฤภาคม 2552

อย่างไรก็ตาม การขึ้นภาษีสุรากลั่นเต็มเพดาน กระทรวงการคลังก็จะดำเนินการอย่างระมัดระวังไม่ให้กระทบกับสุราชุมชน ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ที่แยกออกมาว่า หากสุรานั้นผลิตมาจากท้องถิ่น หรือเป็นสุราที่ผลิตมาจากข้าวหรือข้าวเหนียว ด้วยกรรมวิธีการหมัก ก็อาจไม่โดนปรับภาษีเพิ่ม แต่ถ้าเป็นสุราที่มาจากกรรมวิธีการกลั่น หรืออื่นๆ ก็เข้าข่ายที่ต้องเสียภาษีเต็มเพดาน ซึ่งยอมรับว่า หากปรับภาษีเต็มเพดานอาจมีผลกระทบให้ผู้ผลิตสุรากลั่นร้องเรียนเป็นจำนวนมาก

"ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้จัดเก็บภาษีสุราขาวและสุราผสม ได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปีงบประมาณ 2552 เก็บภาษี สุราขาว มีรายได้ 13,855 ล้านบาท และสุราผสม 10,889 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2553 ผลการจัดเก็บภาษี สุราขาว ได้ทั้งสิ้น14,333 ล้านบาท และสุราผสม เก็บได้ 14,727 ล้านบาท"

ทั้งนี้ หากมีการปรับขึ้นราคาสุรากลั่นจะมีผลต่อราคาขายค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสุราขาว ที่ปริมาณบรรจุขวด 630 ซีซี หากมีการปรับภาษีเพิ่มเป็น 400 บาทต่อลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ราคาสุราขาวต่อขวดจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 100 บาทต่อ 1 ขวด หรือเพิ่มขึ้นกว่าราคาขายปัจจับันกว่าเท่าตัว เชื่อจะลดพฤติกรรมการดื่มได้ค่อนข้างมาก ขณะที่สุราผสมราคาจะไม่เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ เพราะอัตราภาษีปรับขึ้นน้อยกว่า อย่างไรก็ดีเรื่องนี้จะต้องหาความชัดเจนโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาการกักตุนสินค้าสินค้า


http://news.giggog.com/363539
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/08/2011 8:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

215. ประเภทของจุลินทรีย์



จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วย Unicellular หรือ Multicellular ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเหมือนในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง

Prokaryote cell Bacteria , Cyanobacteria, Eukaryote cell Fungi , Protozoa , Algae

• Bacteria เป็นโปรคารีโอต ที่ประกอบด้วยเซลล์เดียว มีผนังหุ้มคงรูป รูปร่างหลายแบบ เช่น รูปแท่ง รูปกลม สืบพันธ์ทั้งแบบมีเพศ (Conjugation) และไม่มีเพศ (Binary fission, Budding) พบได้ทั่วไปเช่น Escherichia coli, Staphylococcus spp. , Streptococcus spp.

• Fungi เป็นยูคารีโอต มีทั้งเซลล์เดี่ยว (Yeast) สืบพันธุ์โดย Budding และหลายเซลล์ (Mold) มีรูปร่างเป็น Filamentous ส่วนของเส้นใยเรียก Hyphae ถ้ามาอยู่รวมกลุ่มกันเรียกว่า Mycelium เส้นใยมีทั้งมีผนังกั้นและไม่มี ผนังเซลล์ต่างจากของแบคทีเรีย ราบางชนิดมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Mushroom) ราทุกชนิดต้องการอากาศ เจริญได้ดีในที่มีความเป็นกรดสูง สืบพันธุ์ทั้งแบบมีเพศ และไม่มีเพศ ตัวอย่างเช่น Yeast Saccharomyces cerevisiae Mold Aspergillus spp. , Penicillium spp., Mushroom Volvariella volvaceae


จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วย Unicellular หรือ Multicellular ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเหมือนในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง

Prokaryote cell Bacteria , Cyanobacteria, Eukaryote cell Fungi , Protozoa , Algae

• Bacteria เป็นโปรคารีโอต ที่ประกอบด้วยเซลล์เดียว มีผนังหุ้มคงรูป รูปร่างหลายแบบ เช่น รูปแท่ง รูปกลม สืบพันธ์ทั้งแบบมีเพศ (Conjugation) และไม่มีเพศ (Binary fission, Budding) พบได้ทั่วไปเช่น Escherichia coli, Staphylococcus spp. , Streptococcus spp.

• Fungi เป็นยูคารีโอต มีทั้งเซลล์เดี่ยว (Yeast) สืบพันธุ์โดย Budding และหลายเซลล์ (Mold) มีรูปร่างเป็น Filamentous ส่วนของเส้นใยเรียก Hyphae ถ้ามาอยู่รวมกลุ่มกันเรียกว่า Mycelium เส้นใยมีทั้งมีผนังกั้นและไม่มี ผนังเซลล์ต่างจากของแบคทีเรีย ราบางชนิดมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Mushroom) ราทุกชนิดต้องการอากาศ เจริญได้ดีในที่มีความเป็นกรดสูง สืบพันธุ์ทั้งแบบมีเพศ และไม่มีเพศ ตัวอย่างเช่น Yeast Saccharomyces cerevisiae Mold Aspergillus spp. , Penicillium spp., Mushroom Volvariella volvaceae

• Protozoa เป็นยูคารีโอต มีเซลล์เดียว แต่ไม่มีผนังเซลล์ มีวิวัฒนาการของเซลล์มากที่สุด สืบพันธุ์ทั้งมีเพศและไม่มีเพศ รูปร่างแตกต่างกันมาก เช่น รูปกลม รูปไข่ รูปท่อน กินแบคทีเรียเป็นอาหาร เคลื่อนที่ได้ในบางช่วงของชีวิต มี 3 แบบ คือ 1. Pseudopodium ซึ่งเกิดจากการยืดหดของไซโตพลาสซึมเรียก Ameboid movement เช่น Amoeba 2. Flagella เช่น Euglena 3. Cilia เช่น Paramecium

• Algae เป็นยูคารีโอต มีทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ รูปร่างแตกต่างกัน เช่น รูปกลม รูปแฉก รูปกระสวย มีคลอโรฟิลล์ สามารถสังเคราะห์แสงได้ ยังมี pigment อื่น ทำให้มีสีต่าง ๆ กันไป พวกที่เคลื่อนที่ได้จะใช้ Flagella หรือ pseudopodium สืบพันธ์ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ พบได้ทั่วไปทั้งแหล่งน้ำ ดิน และที่ชื้นแฉะ

• Virus ไม่จัดเป็นเซลล์ โครงสร้างประกอบด้วย DNA หรือ RNA มีโปรตีนเรียก Capsid หุ้มอยู่ บางชนิดอาจมีเยื่อหุ้ม (Envelope) ไม่สามารถอาศัยอยู่อย่างอิสระได้ จัดเป็น Obligate intracellular parasite พบได้ทั่วไป โดยอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิต


L i n k :: http://csweb.bsru.ac.th/4034104/Detail3.html



ประเภทของจุลินทรีย์ที่รู้จัก จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่สนับสนุนหรือร่วมด้วยหากพบว่าจุลินทรีย์ 2 กลุ่มแรก กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีมากกว่า

ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่ง จุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป ประเภทของ


จุลินทรีย์ จัดแบ่งตามลักษณะความต้องการอากาศ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ


จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วย Unicellular หรือ Multicellular ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเหมือนในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง

Prokaryote cell Bacteria , Cyanobacteria, Eukaryote cell Fungi , Protozoa , Algae

• Bacteria เป็นโปรคารีโอต ที่ประกอบด้วยเซลล์เดียว มีผนังหุ้มคงรูป รูปร่างหลายแบบ เช่น รูปแท่ง รูปกลม สืบพันธ์ทั้งแบบมีเพศ (Conjugation) และไม่มีเพศ (Binary fission, Budding) พบได้ทั่วไปเช่น Escherichia coli, Staphylococcus spp. , Streptococcus spp.

• Fungi เป็นยูคารีโอต มีทั้งเซลล์เดี่ยว (Yeast) สืบพันธุ์โดย Budding และหลายเซลล์ (Mold) มีรูปร่างเป็น Filamentous ส่วนของเส้นใยเรียก Hyphae ถ้ามาอยู่รวมกลุ่มกันเรียกว่า Mycelium เส้นใยมีทั้งมีผนังกั้นและไม่มี ผนังเซลล์ต่างจากของแบคทีเรีย ราบางชนิดมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Mushroom) ราทุกชนิดต้องการอากาศ เจริญได้ดีในที่มีความเป็นกรดสูง สืบพันธุ์ทั้งแบบมีเพศ และไม่มีเพศ ตัวอย่างเช่น Yeast Saccharomyces cerevisiae Mold Aspergillus spp. , Penicillium spp., Mushroom Volvariella volvaceae

• Protozoa เป็นยูคารีโอต มีเซลล์เดียว แต่ไม่มีผนังเซลล์ มีวิวัฒนาการของเซลล์มากที่สุด สืบพันธุ์ทั้งมีเพศและไม่มีเพศ รูปร่างแตกต่างกันมาก เช่น รูปกลม รูปไข่ รูปท่อน กินแบคทีเรียเป็นอาหาร เคลื่อนที่ได้ในบางช่วงของชีวิต มี 3 แบบ คือ 1. Pseudopodium ซึ่งเกิดจากการยืดหดของไซโตพลาสซึมเรียก Ameboid movement เช่น Amoeba 2. Flagella เช่น Euglena 3. Cilia เช่น Paramecium

• Algae เป็นยูคารีโอต มีทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ รูปร่างแตกต่างกัน เช่น รูปกลม รูปแฉก รูปกระสวย มีคลอโรฟิลล์ สามารถสังเคราะห์แสงได้ ยังมี pigment อื่น ทำให้มีสีต่าง ๆ กันไป พวกที่เคลื่อนที่ได้จะใช้ Flagella หรือ pseudopodium สืบพันธ์ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ พบได้ทั่วไปทั้งแหล่งน้ำ ดิน และที่ชื้นแฉะ

• Virus ไม่จัดเป็นเซลล์ โครงสร้างประกอบด้วย DNA หรือ RNA มีโปรตีนเรียก Capsid หุ้มอยู่ บางชนิดอาจมีเยื่อหุ้ม (Envelope) ไม่สามารถอาศัยอยู่อย่างอิสระได้ จัดเป็น Obligate intracellular parasite พบได้ทั่วไป โดยอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิต


L i n k :: http://csweb.bsru.ac.th/4034104/Detail3.html



ประเภทของจุลินทรีย์ที่รู้จัก จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่สนับสนุนหรือร่วมด้วยหากพบว่าจุลินทรีย์ 2 กลุ่มแรก กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีมากกว่า

ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่ง จุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป ประเภทของ


จุลินทรีย์ จัดแบ่งตามลักษณะความต้องการอากาศ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ออร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้

กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิต สารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ

กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย



จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วย Unicellular หรือ Multicellular ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเหมือนในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง

Prokaryote cell Bacteria , Cyanobacteria, Eukaryote cell Fungi , Protozoa , Algae

• Bacteria เป็นโปรคารีโอต ที่ประกอบด้วยเซลล์เดียว มีผนังหุ้มคงรูป รูปร่างหลายแบบ เช่น รูปแท่ง รูปกลม สืบพันธ์ทั้งแบบมีเพศ (Conjugation) และไม่มีเพศ (Binary fission, Budding) พบได้ทั่วไปเช่น Escherichia coli, Staphylococcus spp. , Streptococcus spp.

• Fungi เป็นยูคารีโอต มีทั้งเซลล์เดี่ยว (Yeast) สืบพันธุ์โดย Budding และหลายเซลล์ (Mold) มีรูปร่างเป็น Filamentous ส่วนของเส้นใยเรียก Hyphae ถ้ามาอยู่รวมกลุ่มกันเรียกว่า Mycelium เส้นใยมีทั้งมีผนังกั้นและไม่มี ผนังเซลล์ต่างจากของแบคทีเรีย ราบางชนิดมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Mushroom) ราทุกชนิดต้องการอากาศ เจริญได้ดีในที่มีความเป็นกรดสูง สืบพันธุ์ทั้งแบบมีเพศ และไม่มีเพศ ตัวอย่างเช่น Yeast Saccharomyces cerevisiae Mold Aspergillus spp. , Penicillium spp., Mushroom Volvariella volvaceae

• Protozoa เป็นยูคารีโอต มีเซลล์เดียว แต่ไม่มีผนังเซลล์ มีวิวัฒนาการของเซลล์มากที่สุด สืบพันธุ์ทั้งมีเพศและไม่มีเพศ รูปร่างแตกต่างกันมาก เช่น รูปกลม รูปไข่ รูปท่อน กินแบคทีเรียเป็นอาหาร เคลื่อนที่ได้ในบางช่วงของชีวิต มี 3 แบบ คือ 1. Pseudopodium ซึ่งเกิดจากการยืดหดของไซโตพลาสซึมเรียก Ameboid movement เช่น Amoeba 2. Flagella เช่น Euglena 3. Cilia เช่น Paramecium

• Algae เป็นยูคารีโอต มีทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ รูปร่างแตกต่างกัน เช่น รูปกลม รูปแฉก รูปกระสวย มีคลอโรฟิลล์ สามารถสังเคราะห์แสงได้ ยังมี pigment อื่น ทำให้มีสีต่าง ๆ กันไป พวกที่เคลื่อนที่ได้จะใช้ Flagella หรือ pseudopodium สืบพันธ์ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ พบได้ทั่วไปทั้งแหล่งน้ำ ดิน และที่ชื้นแฉะ

• Virus ไม่จัดเป็นเซลล์ โครงสร้างประกอบด้วย DNA หรือ RNA มีโปรตีนเรียก Capsid หุ้มอยู่ บางชนิดอาจมีเยื่อหุ้ม (Envelope) ไม่สามารถอาศัยอยู่อย่างอิสระได้ จัดเป็น Obligate intracellular parasite พบได้ทั่วไป โดยอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิต


L i n k :: http://csweb.bsru.ac.th/4034104/Detail3.html



ประเภทของจุลินทรีย์ที่รู้จัก จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่สนับสนุนหรือร่วมด้วยหากพบว่าจุลินทรีย์ 2 กลุ่มแรก กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีมากกว่า

ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่ง จุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป ประเภทของ




จุลินทรีย์ จัดแบ่งตามลักษณะความต้องการอากาศ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)

2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ออร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้

กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิต สารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ

กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย


L i n k :: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=9d32a69343836d3db900d6684c8d7ccf&bookID=258&pageid=3&read=true&count=true


จุลินทรีย์มีบทบาทมากในอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งในทางที่ เป็นประโยชน์และในทางที่เกิดโทษ การศึกษาจุลชีววิทยาทางอุตสาห- กรรมเกษตร จึงเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เข้าใจบทบาทของจุลินทรีย์ใน อุตสาหกรรมเกษตร และนำไปสู่การประยุกต์อื่นๆ เช่น กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมเกษตร การควบคุมจุลินทรีย์ที่เป็นโทษไม่ ให้ส่งผลเสียต่อมนุษย์และผลิตภัณฑ์ ตลอดถึงการจัดการของเสียต่างๆ อย่างถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของมวลมนุษยชาติ


L i n k :: http://www.agro.cmu.ac.th/e_books/602120/E-learning%20HOME%20PAGE%202.html



http://biogat-08.blogspot.com/2007/10/blog-post_26.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/08/2011 9:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

216. แหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ


2. แหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ทางชีวภาพ
สิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืชและสัตว์ รวมทั้ง นก หนู และแมลง ซึ่งเป็นสัตว์ที่รบกวนและสร้างความเดือนร้อนรำคาญ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ ซึ่งบางทีก็พบอยู่ในทางเดินอาหาร ผิวหนัง ขน ปีก ขา มือ เป็นต้น หรือจุลินทรีย์บางชนิดอาศัยอยู่ตามส่วนต่างๆ ของพืชโดยไม่ทำให้เกิดโรค แต่บางชนิดก็ทำให้เกิดโรคแก่พืชดังจะได้กล่าวต่อไป

2.1 จุลินทรีย์ในพืช
พืชนอกจากเป็นอาหารของมนุษย์แล้ว ยังเป็นอาหารของจุลินทรีย์ด้วย โดยจุลินทรีย์ทั้งแบคทีเรีย รา และไวรัสสามารกก่อให้เกิดโรคกับพืชได้ เช่น แบคทีเรีย Erwinia carotovora ทำให้เกิดโรคเน่า- เละ (soft-rot) ในผัก แบคทีเรียจำพวกซูโดโมแนดส์ (Pseudomonads) สร้างเอนไซม์ย่อยเพคตินซึ่งเป็นสารที่เชื่อมเซลล์ของพืช ทำให้เซลล์แข็งแรง คงรูปร่างอยู่ได้ เมื่อเพคตินถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์ที่แบคทีเรียสร้างขึ้น ความแข็งแรงของเซลล์จะถูกทำลายลง ทำให้พืชเน่าเสียหาย เชื้อรา Fusarium ทำให้เกิดโรคใบไหม้ โรคราดำ ราแห้งในพืช ด้วยเหตุนี้การบำรุงรักษาพืช จึงจำเป็นต้องใช้ยาปราบปรามโรคพืช


2.2 จุลินทรีย์ในสัตว์
แบคทีเรียในลำไส้ อยู่ในตระกูลเอนเตอโรแบคทีเรียซิอี (Family Enterobacteriaceae) ประกอบด้วยแบคทีเรียที่ย้อมติดสีแกรมลบ (Gram-negative) มีรูปร่างเป็นแท่งสั้น (short-rod) เจริญได้ทั้งในที่ที่มีและไม่มีอากาศ เรียกว่า แฟคคัลเททีฟ อะนาโรป (facultative anaerobe) ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียจำพวก โคลิฟอร์ม (coliforms) อี. โคไล (E. coli) ซัลโมเนลลา เชื้อบิด เป็นต้น แบคทีเรียในตระกูลนี้อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์ และออกมาจากร่างกายทางอุจาระ ปนเปื้อนมากับสิ่งแวดล้อม ย้อนกลับมาในห่วงโซ่อาหาร จากนั้นจะผ่านอาหารเข้าสู่ลำไส้ของสัตว์และมนุษย์อีก วนเวียนอยู่เช่นนี้เรื่อยไป การสุขาภิบาลอาหาร สิ่งแวดล้อม และการบำรุงรักษาสุขภาพของสัตว์ โรงเรือน อาหาร ตลอดจนสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยง เป็นต้น เหล่านี้จะช่วยลดโอกาสที่แบคทีเรียเหล่านี้จะปนเปื้อนในอาหารลงได้


2.3 จุลินทรีย์ในมนุษย์
มนุษย์เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์เช่นเดียวกับสัตว์โดยเฉพาะแบคทีเรียในลำไส้ดังได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้แบคทีเรียที่มักจะอาศัยอยู่ตามฝี หนอง บาดแผล และทำให้แผลอักเสบ คือ เชื้อ Staphylococcus aureus เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษชนิดหนึ่ง มักปนเปื้อนมาในอาหารที่ทำให้สุกแล้ว แพร่กระจายไปได้ง่ายผ่านบุคลากรที่สัมผัส จัดเตรียมและขายอาหาร หรือในขณะที่พนักงานเป็นสิว เป็นโรคผิวหนัง เป็นหวัด เจ็บคอ ไอ หรือจามลงในอาหาร ผู้ค้าอาหารที่ต้องหยิบอาหารและเงินในเวลาเดียวกันก็สามารถแพร่เชื้อไปได้ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการฝึกอบรมพนักงาน ซึ่งทำหน้าที่จัดบริการอาหารให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในอาหารและพิษภัยที่อาจจะเกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ ถ้าพนักงานมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ พนักงานน่าจะมีความตระหนักในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำให้เกิดความร่วมมือแบบสมัครใจที่จะดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพอนามัยของตนเอง โดยมิต้องฝืนใจหรือถูกบังคับ

3. การแบ่งประเภทของแบคทีเรียตามสภาวะแวดล้อมต่างๆ
จากข้อมูลทางสถิติพบว่าแบคทีเรียเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษมากที่สุด ดังนั้น นักจุลชีววิทยาทางอาหารจึงจำเป็นจะต้องทราบถึงกลุ่มของแบคทีเรียต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจในสภาพธรรมชาติของแบคทีเรีย

3.1 การแบ่งประเภทของแบคทีเรียตามความต้องการสารอาหาร จากความต้องการสารอาหารต่างๆ ของแบคทีเรีย สามารถแบ่งแบคทีเรียออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
3.1.1 โฟโตลิโธโทรฟ เป็นจุลินทรีย์ที่ได้พลังงานจากแสงสว่างโดยอาศัยคลอโรฟิลล์พิเศษและใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นแหล่งคาร์บอน ใช้สารอนินทรีย์เป็นตัวให้อิเล็กตรอน

3..1.2 โฟโตออร์แกโนโทรฟ เป็นแบคทีเรียที่ได้พลังงานจากแสง ได้แหล่งคาร์บอนจากสารอินทรีย์ และใช้สารอินทรีย์เป็นแหล่งให้อิเล็กตรอน เช่น แอลกอฮอล์ กรดไขมัน

3.1.3 เคโมลิโธโทรฟ เป็นแบคทีเรียที่ได้พลังงานจากการออกซิเดชันของสารเคมี แหล่งของคาร์บอนและอิเล็กตรอนได้จากสารอนินทรีย์

3.1.4 เคโมออร์แกโนโทรฟ เป็นแบคทีเรียที่ได้พลังงานจากการออกซิเดชันสารอินทรีย์และแหล่งคาร์บอน และอิเล็กตรอนได้จากสารอินทรีย์

3.2 การแบ่งประเภทของจุลินทรีย์ตามอุณหภูมิ
จุลินทรีย์แต่จะชนิดมีความต้องการอุณหภูมิในการเจริญที่แตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ในอาหาร โดยอุณหภูมิที่จุลินทรีย์เจริญได้ จะอยู่ระหว่างอุณหภูมิสูงสุด และอุณหภูมิต่ำสุด ซึ่งถ้ามีอุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่านี้ จุลินทรีย์จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้

3.2.1 ไซโครไฟล์ (psychrophile)
เป็นจุลินทรีย์ที่เจริญได้ที่อุณหภูมิต่ำ คือสามารถเจริญได้ที่ 0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 15 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า กลุ่มของจุลินทรีย์กลุ่มนี้จัดเป็นไซโครไฟล์ที่แท้จริง (obligate psychrophile) อุณหภูมิสูงสุดที่เจริญ คือ 30 องศาเซลเซียส แต่บางพวกมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดในการเจริญ คือ 35 องศาเซลเซียส จึงจัดเป็นแฟคัลเตตีฟไซโครไฟล์ (facultative psychrophile)

3.2.2 มีโซไฟล์ (mesophile)
เป็นจุลินทรีย์ที่เจริญได้ที่อุณหภูมิปานกลางระหว่าง 25-40 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดที่จะเจริญได้ที่ 5–25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเหมาะสมที่ 37 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดที่เจริญได้ที่ 43 องศาเซลเซียส

3.2.3 เทอร์โมไฟล์ (thermophile)
เป็นจุลินทรีย์ที่เจริญได้ที่อุณหภูมิสูงระหว่าง 45-60 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเหมาะสมอยู่ระหว่าง 50–55 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่เจริญได้อยู่ระหว่าง 60-85 องศาเซลเซียส




3.3 ก๊าซ (gases)
ก๊าซที่จำเป็นต่อการเจริญของจุลินทรีย์ คือ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ เราสามารถจัดจำแนกจุลินทรีย์โดยอาศัยความต้องการออกซิเจนในการเจริญได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

3.3.1 จุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน (aerobic microorganisms) เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนในการเจริญและสร้างพลังงาน เนื่องจากไม่สามารถสร้างพลังงานโดยกระบวนการหมัก(fermentation)ได้ จึงถือได้ว่าเป็นพวกที่ต้องการออกซิเจนอย่างแท้จริง ได้แก่ Bacillus, Pseudomonas

3.3.2 จุลินทรีย์ที่เจริญในที่มีออกซิเจนหรือไม่มีก็ได้ (facultative microorganisms) เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างพลังงานได้จากกระบวนการหายใจหรือกระบวนการหมัก และไม่จำเป็นที่ต้องใช้ออกซิเจนในการสังเคราะห์สารต่างๆ เชื้อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ได้แก่ Escherichia, Proteus, Enterobacter

3.3.3 จุลินทรีย์ที่เจริญในที่มีออกซิเจนน้อย (anaerobic microorganisms)
พวกนี้มีความต้องการออกซิเจนน้อยกว่า 0.2 บรรยากาศ อาจเนื่องจากออกซิเจนเป็นพิษต่อจุลินทรีย์เหล่านี้ เช่น Lactobacillus, Neisseria

3.3.4 จุลินทรีย์ที่เจริญในที่ไม่มีออกซิเจน (anaerobic microorganisms)


พวกนี้มีเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนเนื่องจาก เมื่อออกซิเจนรวมตัวกับน้ำเป็นไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (H2O2) ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์จุลินทรีย์ เพราะจุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่มีเอนไซม์ คาตาเลส เชื้อจุลินทรีย์กลุ่มนี้ได้แก่ Clostridium, Methanobacterium, Bacteroides



ในการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ลงในอาหารแต่ละชนิดนั้น จุลินทรีย์จะเจริญและเพิ่มจำนวนจนสามารถก่อให้เกิดโรคได้ในอาหารบางชนิดเท่านั้น ซึ่งเหตุนี้เองนักจุลชีววิทยาทางอาหารจึงสามารถวิเคราะห์ถึงชนิดจุลินทรีย์ที่สามารถปนเปื้อนลงไปในอาหารและป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารได้



http://www.moomsci.com/msdata/index.php/2011-06-01-11-03-11/2011-06-01-11-15-16/121-2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/08/2011 9:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

217. การวัดการเจริญของจุลินทรีย์


การหาปริมาณหรือจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ มีอยู่หลายวิธี แต่ไม่มีวิธีหนึ่งวิธีใดที่ใช้ได้ตลอดในทุกกรณี ทุกสภาวะ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับชนิดของจุลินทรีย์ อาหารที่ใช้ จุดประสงค์ของการหา และเครื่องมือที่มีอยู่ โดยทั่วไปวิธีการวัดปริมาณจุลินทรีย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การวัดการเจริญของจุลินทรีย์โดยตรงและโดยอ้อม

2.2.1. การวัดการเจริญของจุลินทรีย์โดยตรง
2.2.1.1. การหาน้ำหนักเซลล์แห้ง (cell dry weight)
2.2.1.2. การนับจำนวนเซลล์ (total cell number)



การนับจำนวนเซลล์เหมาะสำหรับเชื้อที่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ ส่วนราไม่นิยมใช้วิธีนี้ ยกเว้นแต่การนับสปอร์เท่านั้น การนับจำนวนเซลล์มีหลายวิธีอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีร่วมกับ เช่น

2.2.1.2.1. การนับผ่านกล้องจุลทรรศน์ (microscopic count)
2.2.1.2.2. การนับจำนวนเซลล์ที่มีชีวิตบนจานเพาะเชื้อ (viable plate count)
2.2.1.2.3. การนับจำนวนเซลล์ที่มีชีวิตด้วยแผ่นสไลด์ (slide culture)
2.2.1.2.4. การนับจำนวนเซลล์การใช้เครื่องเคลาเตอร์ (coulter counter)
2.2.1.2.5. การวัดค่าความขุ่นของเซลล์ (turbidity)
2.2.1.2.6. การวัดปริมาตรเซลล์ที่อัดแน่น (packed cell volume)


2.2.2. การวัดการเจริญของจุลินทรีย์โดยอ้อม
ในบางครั้งการวัดการเจริญของจุลินทรีย์โดยตรงทำได้ยาก อาจเนื่องมาจากธรรมชาติของจุลินทรีย์เองหรือสารอาหารที่ใช้เลี้ยง และวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นใช้ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการวัดการเจริญโดยทางอ้อม เช่น

2.2.2.1. การวัดองค์ประกอบของเซลล์ (cell components)
2.2.2.2. การวัดปริมาณอัตราการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้วยสมการสตอยคิโอเมตริก
2.2.2.3. การแผ่ความร้อนตามกฎเทอร์โมไดนามิกส์ (thermodynamics)
2.2.2.4. การวัดค่าการดูดกลืนแสงฟลูออเรสเซนส์ (fluorescence)
2.2.2.5. การวัดความหนืด (viscosity)




การวัดค่าความขุ่นของเซลล์ (turbidity)

นิยมใช้กับจุลินทรีย์ประเภทเซลล์เดี่ยว ๆ เช่น แบคทีเรีย หรือยีสต์ ถ้าเป็นจุลินทรีย์ที่ต่อกันเป็นสายหรือเส้นใยหรือจับกันเป็นกลุ่มก้อน ต้องนำไปปั่นแยกให้เซลล์หลุดออกจากกันก่อนทำการวัด (Wang, 1979 อ้างโดย อัครวิทย์, 2538) ถ้าอาหารเหลวมีปริมาณของแข็งที่ไม่ละลายปะปนอยู่มากไม่ควรใช้วิธีนี้ อุปกรณ์ที่ใช้วัด คือ เครื่องวัดค่าความขุ่นของเซลล์ (spectrophotometer ) หรือใช้เครื่องนีฟาโลมิเตอร์ (nephalometer) ตัวอย่างที่นำมาวัดจะบรรจุในหลอดสี่เหลี่ยมที่ทำจากควอร์ซ (quartz cuvette) แล้วให้แสงส่องผ่าน อ่านค่าออกมาเป็นค่าการดูดกลืนแสง (absorbance; A) หรือร้อยละการส่งผ่านแสง (% transmittance) ดังแสดงในรูปที่ 2.7 วิธีการเหล่านี้จะใช้แทนการหาน้ำหนักเซลล์แห้ง แต่มีความคลาดเคลื่อนได้ หากเลือกใช้หลอดวัดค่าการดูดกลืนแสงไม่ถูกต้องหรือแต่ละครั้งแต่ละอัน หรือปริมาตรการเจือจางที่ไม่ถูกต้อง หรือความสะอาดของหลอดวัด

นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการนำเครื่องวัดความขุ่นของเซลล์ด้วยแสงเลเซอร์ (laser turbidity probe) อย่างต่อเนื่อง (Nohira and lwakura, 1988 อ้างโดย Yamane, et al., 1992) การวัดความเข้มข้นของของแข็งแขวนลอย (suspended solid concentration analyzer, SSCA) (lijima, et al., 1987 อ้างโดย Yamane, et al., 1992) การใช้อิเล็คโทรดสำหรับตรวจจับค่า resistance หรือค่า capacitance ของปริมาณเซลล์ขณะเพาะเลี้ยง (Harris, et al., 1987; Mishima, 1989 อ้างโดย Yamane, et al., 1992) ต่อมา lshihara และคณะ (1989) ได้มีการประยุกต์ใช้เครื่องวัดกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสจากเชื้อ Pseudomonas fluorescencs สำหรับควบคุมการป้อนสารอาหารที่เป็นน้ำมันมะกอกผสมอิออนเหล็ก




การวัดปริมาตรเซลล์ที่อัดแน่น (packed cell volume)

การวัดปริมาตรเซลล์ที่อัดแน่น เป็นวิธีการที่ที่สะดวก รวดเร็ว ใช้สำหรับวัดเชื้อพวกสร้างเส้นใย เช่น รา มีหลักการดังนี้ คือ นำตัวอย่างที่ต้องการวัดปริมาตรบรรจุลงในหลอดทดลองที่มีขีดบอกระดับปริมาตร นำหลอดทดลองที่บรรจุตัวอย่างที่ทราบน้ำหนักที่แน่นอนไปเหวี่ยงแยกเอาเฉพาะเซลล์แล้วอ่านปริมาตรของเซลล์ที่จับกันเป็นก้อนที่ก้นหลอด กรณีที่อาหารเหลวที่มีของแข็งที่ไม่ละลายปะปนไม่มากสามารถใช้วิธีนี้ได้ เพราะปกติของแข็งเหล่านี้จะตกตะกอนอยู่ที่ก้นหลอดก่อนเซลล์จุลินทรีย์ ซึ่งจะเห็นรอยแบ่งชั้นของทั้งสองได้ (Wang, et al., 1979 อ้างโดย อัครวิทย์, 2538)




การวัดความหนืด (viscosity)

การเปลี่ยนแปลงความหนืดของน้ำหมักสามารถติดตามการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ โดยความหนืดอาจมากจาก สารที่เป็นองค์ประกอบของน้ำหมัก เช่น สารกลีเซอรอลที่ลดลงเนื่องจากเซลล์ใช้ในระหว่างการเจริญ หรือความหนืดที่เกิดจากการเจริญของเซลล์จำพวกที่สร้างเส้นใย หรือความหนืดที่เกิดจากการสร้างผลิตภัณฑ์จำพวกโพลีแซคคาร์ไรด์ เช่น การสร้าง แซนแทนกัม จากเชื้อ Xanthomonas การวัดความหนืดจะใช้เครื่อง "viscometer" ได้ค่าออกมาเป็นอัตราการเฉือน (shear rate) ก็สามารถประเมินความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์และมวลจุลินทรีย์ได้ ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะการสร้างเครื่องมือที่จะวัดความหนืดของน้ำหมักสำหรับติดตามการเจริญพวกสร้างเส้นในแบบทราบผลทันที (on - line measurement) ซึ่งมีความหนืดสูงถึง 1,000 เซ็นติพอยส์ (Scragg, 1991)

ในกรณีที่ใช้สารอาหารแหล่งคาร์บอนเป็นแป้งหรือเซลลูโลส เมื่อทำการเลี้ยงแบคทีเรียหรือยีสต์พบว่า ความหนืดน้ำหมักจะลดลงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเจริญ และความสามารถในการย่อยของเอนไซม์ที่มีอยู่ในน้ำหมักนั้น




http://agro-industry.rmutsv.ac.th/bioreactor/lectures/ferm1/bioferm2_2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/08/2011 9:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

218. ฮิวมัส คือ อะไร


ฮิวมัสเป็นอินทรียวัตถุที่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนและคงทนต่อการสลายตัวมาก มีสีดำหรือสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นคอลลอยด์ มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของโมเลกุลประมาณ 10–100 อังสะตรอม มีธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน และธาตุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ


ฮิวมัสในดินเกิดขึ้นหลังจากที่จุลินทรีย์ในดินทำการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์แล้วจุลินทรีย์จะสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์จำพวก กรดอะมิโน โปรตีน และอะโรมาติก หลังจากที่จุลินทรีย์ได้ตายและทับถมกันเป็นเวลานานจะเกิดขบวนการรวมตัวระหว่าง กรดอะมิโน หรือโปรตีนกับสารประกอบ อะโรมาติก กลายเป็นฮิวมัสในดิน


การสลายตัวของฮิวมัสเกิดๆด้จาก
1. การไถพรวน การเพิ่มความชื้นให้แก่ดิน การใส่ปุ๋ยเพื่อปรับ พีเอช ของดิน ทำให้ดินมีความเหมาะสมต่อการทำกิจกรรมของจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฮิวมัสได้ดีขึ้น


2. การทำดินให้แห้งและชื้นสลับกันเป็นการทำให้บางส่วนของฮิวมัสซึ่งดูดยึดอยู่กับ
อนุภาคดินเหนียวหลุดออกมาอยู่ในสภาพแขวนลอยได้ ทำให้จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายฮิวมัสได้ง่ายขึ้น


3. การเติมอินทรีย์วัตถุที่สลายตัวได้ง่ายจำพวกซากพืชซากสัตว์ลงไปในดิน ซึ่งจะให้
พลังงานอย่างมากให้กับจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮิวมัสในดินถูกสลายตัวได้มากขึ้น



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=39cb665bbed1e99d&clk=wttpcts


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/08/2011 7:13 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/08/2011 9:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

219. พบแบคทีเรียที่ช่วยการเจริญเติบโตของต้นไม้


นักวิจัย นาย Daniel (Niels) van der Lelie และทีมงานจาก Brookhaven National Laboratory ประเทศสหรัฐฯ และจาก Hasselt University ประเทศเบลเยียม ค้นพบแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในต้นปอบลาร์ (poplar tree) ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกในบริเวณที่ดินเป็นมลพิษเพื่อกำจัดสารเคมีปนเปื้อนในดินเช่น สารโลหะหนัก สารเคมีจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ แต่นักวิจัยกลับไปค้นพบเกี่ยวกับความสามารถของแบคทีเรีย ที่มันสามารถช่วยในการเจริญเติบโตของต้นปอบลาร์ในพื้นที่ดินที่มีมลพิษได้ และเมื่อต้นสอบเพิ่มเติม แบคทีเรียก็ยังช่วยในการเจริญเติบโตของต้นปอบลาร์ แม้จะนำต้นปอบลาร์มาปลูกในดินดีปกติ (ที่ไม่มีสารปนเปื้อน) ก็ตาม

ต้นปอบลาร์ เป็นต้นไม้ต้นสูงชัน มีใบดก และขึ้นได้ในเกือบทุกบริเวณ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ทำการเกษตรไม่ได้ มันได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งในวงการวิจัยเรื่องการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลจากเซลลูโลส โดยเฉพาะในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากจะได้เป็นการนำเอาเซลลูโลสจากพืชมาผลิตเชื้อเพลิงโดยไม่เป็นการแย่งชิงอาหาร เช่น ข้าวโพด ถั่ว ฯลฯ จากคนและสัตว์

ในการทดลองในโรงเพาะชำ นักวิจัยได้ใช้แบคทีเรียเอนโดไฟติค (endophytic bacteria) ซึ่งพบได้ตามรากของต้นปอบลาร์และต้นวิลโล่ (willow tree) มาใช้ทดสอบการงอกรากของกิ้งปอบลาร์ ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ถูกควบคุม พบว่า แบคทีเรียนั้นช่วยเพิ่มการงอกของราก การแตกใบ และเจริญเติบโตของกิ่งปอบลาร์ที่ทดลองได้เป็นอย่างดี

ขั้นต่อมา นักวิจัยได้นำแบคทีเรียออกมาจำแนกลักษณะยีน เพื่อหาเอนไซม์ ฮอร์โมน หรือสารเคมีใดๆก็ตามที่มีคุณสมบัติช่วยในการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ซ่อนอยู่ในแบคทีเรีย

จากรากของต้นปอบลาร์และต้นวิลโล่ นักวิจัยจำแนกแบคทีเรียในกลุ่ม endophytes ได้ 78 ชนิด แต่มี 2 ชนิดเท่านั้นที่ช่วยเพิ่มการงอกงามได้อย่างมากคือ แบคทีเรีย Enterobacter sp. 638 และ แบคทีเรีย Burkholderia cepacia BU72

ผลการศึกษาจะถูกนำไปเผยแพร่ในวารสาร Applied and Environmental Microbiology ฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปีนี้

ผลงานการค้นพบนี้ อาจจะนำไปใช้ในการพัฒนาพืชเซลลูโลส (พืชที่ไม่ใช่อาหารและวัชพืชอื่นๆ) เพื่อการผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเอทานอล และ biofuel ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0c544c9b56ebfb67&clk=wttpcts
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/08/2011 9:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

220. แบคทีเรียจากนรก

มีการค้นพบแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในพุน้ำร้อนที่ร้อนที่สุดบนผิวโลก มันกินก๊าซมีเทนเป็นอาหาร นักวิจัยคาด พวกมันอาจช่วยลดปัญหาการเกิดภาวะโลกร้อน (Global warming) ผลการค้นพบของทีมงานนักชีววิทยาของมหาวิทยาลัยแห่งคาลการี (University of Calgary) ประเทศแคนาดา ที่เผยแพร่ในวารสาร Nature วันที่ 6 เดือนนี้

เราทราบกันดีว่าก๊าซมีเทนนั้นเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ร้ายกาจกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า ก๊าซมีเทนนั้นเกิดขึ้นและมีอยู่ในธรรมชาติ มันเกิดจาดการย่อยสลายของอินทรียวัตถุทั่วๆไปในธรรมชาติ ในหลุมขยะทั้งจากชุมชน และขยะอุตสาหกรรม ในเหมืองแร่ หรือแม้กระทั่งจากการเรอของ “เจ้ามอ” ที่เคยถูกตราหน้าว่าเป็นตัวดีที่ปล่อยก๊าซร้าย

ทีมงานนักชีววิทยานำโดย โปรเฟสเซอร์ Peter Dunfield มหาวิทยาลัยแห่งคาลการี (University of Calgary) ประเทศแคนาดา ได้ค้นพบแบคทีเรียสปีชีส์ใหม่ในบริเวณแหล่งพลังงานความร้อนใต้ภิภพที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของชาวเมืองกีวีว่า Hell’s Gate (หรือ ประตูสู่นรก) ใกล้เมืองโรโทรัว (Rotorua) ในประเทศนิว ซีแลนด์

“แบคทีเรียสปีชีส์ใหม่ที่ค้นพบนี้ เป็นชนิดที่กินก๊าซมีเทนเป็นอาหาร (Methanotrophic bacteria) แถมทนความร้อนได้อึดที่สุด (hardiest "methanotrophic" bacterium) เท่าที่มีการค้นพบมา (อึดกว่ากลุ่มที่อยู่ในพุน้ำร้อนของอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน ในสหรัฐฯ ที่นำเสนอไปเมื่อต้นเดือนค่ะ) โปรเฟสเซอร์ Peter Dunfield กล่าวว่า “เจ้าแบคทีเรียนี้อยู่ในครอบครัว Verrucomicrobia ซึ่งพบได้ทั่วไป แต่เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการกลับทำได้ยาก”

เรื่องแปลกแต่จริงก็คือ เจ้าแบคทีเรียมีแทนโนโทรฟิคนี้ ไม่กินอะไรเป็นอาหารเลยนอกจาก “ก๊าซมีเทน” เท่านั้นเป็นอาหารจานเดียว และจานโปรด ซึ่งต้องขอบคุณพวกมัน ที่ทำตัวเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการลดปริมาณก๊าซมีเทนที่จะขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งมีเทนส่วนหนึ่งก็เราๆ ท่านๆ นี่แหละร่วมกันผลิต

“กลุ่มนักวิจัยยังสนใจที่จะหาความกระจ่างต่อไปอีกว่า จะมีเงื่อนไขอะไรบ้างในสิ่งแวดล้อม ที่จะทำไปชะงัก และ/หรือกระตุ้นการบริโภคมีเทนของมัน น่าเสียดายที่มีแบคทีเรียจำนวนมากมายมหาศาลอยู่ในสิ่งแวด้อม แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดนั้นที่ถูกนำมาศึกษาอย่างใกล้ชิด” โปรเฟสเซอร์ Peter Dunfield กล่าว

ทีมงานได้ตั้งชื่อแบคทีเรียชนิดนี้ว่า Methylokorus infernorum เพื่อเป็นการบ่งบอกบ้านเกิดเมืองนอนว่ามันมาจากนรก (inferno n. แปลว่า นรก) ตามชื่อของแหล่งที่ค้นพบที่เรียก Hell’s Gate (ประตูสู่นรก) ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ที่มีสภาพเลวร้ายมาก คือน้ำในนั้นเดือดปุดๆและเต็มไปด้วยสารเคมี และเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่

ข้อมูลทางด้านพันธุกรรมของเจ้าแบคทีเรียนรกนี้ ถูกส่งไปเพื่อการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐฯและมหาวิทยาลัยนานไก ในประเทศจีน เพื่อที่จะพัฒนาเทคนิควิธีในการนำเอาพวกมันมาใช้ประโยชน์ในอนาคต

โปรเฟสเซอร์ Peter Dunfield ยังวางแผนที่จะรวบรวมแบคทีเรียชนิดอื่นๆที่อาศัยอยู่ในแหล่งอื่นๆ ที่มีเงื่อนไขหรือสภาพความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน เช่น หลุมความร้อนใต่ภิภพ (peatland) ทางตอนเหนือของอัลเบอร์ต้า และพุน้ำร้อน (hot spring) ทางตะวันตกของประเทศแคนาดา ซึ่งคาดว่าจะพบแบคทีเรียหน้าตาใหม่ๆจำนวนมาก เขาคิดว่า 95% ของแบคทีเรียทั้งหมดยังไม่เคยมีการนำศึกษาอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการเลย ฉะนั้น การค้นคว้าที่จะเกิดต่อไปก็ยังเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น



http://www.vcharkarn.com/vnews/132453
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/08/2011 9:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

221. ดินฟ้าอากาศแปรปรวน มีผลกระทบกับลิ้นจี่





ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมและสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ช่างเวลากลาวงวันจะสั้นและกลางคืนจะยาว คือ มืดเร็วแต่สว่างช้า 6 โมงเย็นก็มืดแล้วแต่ 6 โมงครึ่งเช้ายังไม่สว่างเลย อุณหภูมิโดยทั่วไปช่วงกลางคืนประมาณสิบกว่าองศาเซลเซียส กลางวันประมาณยี่สิบถึงสามสิบองศาเซลเซียส ในอดีตที่ผ่านมาฤดูกาลในประเทศไทยมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนก็จะร้อนจริงๆอาจมีฝนตกและลมแรงบ้างผสมผสานกันทำให้พื้นดิน คน สัตว์และพืชชุ่มชื้น ฤดูฝน ฝนก็ตกต่อเนื่องสม่ำเสมอ บางครั้งตกติดต่อกัน 3 วัน 3 คืน ตกเกือบทุกวัน ส่วนฤดูหนาวก็หนางติดต่อกัน ซึ่งสภาพอากาศที่หนาวเย็นจะส่งผลให้ไม้ผลหลายชนิดออกดอก เช่น มะปราง มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย โดยธรรมชาติของไม้ผลที่กล่าวมานี้จะเริ่มออกดอกเมื่อใบแก่เท่านั้น และช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมก็เป็นฤดูแล้งพอดี ความชื้นในดินและอากาศน้อย ประกอบกับไม้ผลเหล่านี้มีการผลิใบอย่างน้อย 2 ครั้งแล้ว และมีการสะสมอาหารเต็มที่ พร้อมจะออกดอกติดผลในฤดูหนาว

ปัจจุบันสภาวะแวดล้อม เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากมายสาเหตุมาจากมนุษย์ (คน)ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเช่น ดิน น้ำ อากาศ อย่างสุรุ่ยสุร่าย ใช้อย่างไม่บันยะบันยัง โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าของทรัพยากรเหล่านี้และยังเป็นการทำลายอีกด้วยซ้ำไป โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลองโดยไม่มีการบำบัด ปล่อยควันพิษออกสู่อากาศ เกษตรกรไม่รู้คุณค่าของน้ำ ใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำ ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ใช้ยาฆ่าหญ้า เผาตอซัง ทำให้ดินเสื่อมโทรม ประชาชนบุกรุกที่ป่าสงวน ต้นน้ำลำธาร ทำรีสอร์ท หรือบ้านพักตากอากาศ บุกรุกป่าชายเลน ชายหาด สร้างบ้านเรือนริมแม่น้ำลำคลอง โดยปล่อยของเสียลงในแม่น้ำ ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนทำให้สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลทำให้พืชและสัตว์ไม่สามารถปรับตัวเองได้ มีผลทำให้สุขภาพร่างกายผิด ปกติ หรือชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้ระบบสรีระเปลี่ยนไป

ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมปีนี้ ฝนตกประมาณ 2-3 ครั้ง แล้วมีผลอย่างยิ่งต่อการออกดอกของลิ้นจี่ เนื่องจากช่วงที่ลิ้นจี่สะสมอาหารใบแก่เต็มที่ รออากาศหนาวเย็นต่อเนื่องกันประมาณ 4 สัปดาห์ ลิ้นจี่ก็จะออกดอก แต่ช่วงฤดูหนาวในปีนี้มีฝนตกลงมาทำให้ความชื้นในดินและ อากาศเพิ่มขึ้น ลิ้นจี่แทนที่จะแทงช่อดอกกลับเปลี่ยนเป็นแตกใบอ่อน

จากการศึกษาช่วงอากาศหนาวเย็นช่วงอากาศหนาวเย็นประมาณ 1-2 เดือน ก่อนการออกดอกของลิ้นจี่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการชักนำการออกดอก โดยสังเกตได้จากปีไหนที่มีอากาศหนาวเย็นมากๆ และยาวนาน โดยไม่มีช่วงอากาศอุ่นเข้ามาแทรก ลิ้นจี่จะออกดอกได้มาก ...... มีการศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิต่อการออกดอกของลิ้นจี่พบว่าระดับอุณหภูมิที่ ชักการออกดอกต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส เป็นอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ทำให้ลิ้นจี่ออกดอกได้ดีที่สุด อุณหภูมิกลางวันต่อกลางคืน 15/10 องศาเซลเซียส

จากที่ได้ตระเวนไปใน พื้นที่ที่มีการปลูกลิ้นจี่มากในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา และบ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรปลูกลิ้นจี่พันธุ์ฮวงฮวยเป็นส่วนมาก และมีบางพื้นที่ของอำเภอแม่ใจปลูกลิ้นจี่พันธุ์อีดอ หรือ พันธุ์กะโหลกใบขิง พบว่าในปีนี้ลิ้นจี่พันธุ์ฮวงฮวยออกดอกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนเกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่พันธุ์อีดอหรือกะโหลกใบขิง พบว่าออกดอกและติดผลได้ดี คาดว่าผลผลิตลิ้นจี่ในปีนี้จะมีผลผลิตลดลงจากปีที่แล้วเป็นอย่างมากผลผลิต ประมาณ 30 เปอร์เซนต์เท่านั้น ส่งผลให้ลิ้นจี่ในปีนี้จะมีราคาแพงแน่ๆ



ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตร 8 ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9 ในวันและเวลาราชการ



http://www.tkc.go.th/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 7:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

222. ดอกไม้เมืองผู้ดีบานเร็วเพราะอุณหภูมิสูง


ช่วงเวลาผลิบานของดอกไม้ในเมืองผู้ดีออกดอกเร็วขึ้นในรอบ 25 ปี เพราะอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าปกติ

สัญญาณแห่งฤดูใบไม้ผลิเยือนอังกฤษแล้ว ต้นไม้และดอกไม้เริ่มผลิดอกสะพรั่งทำให้บรรยากาศในเมืองผู้ดีสดใสขึ้นเป็นกอง

ย้อนกลับไปศตวรรษที่ 18 นักวิทยาศาสตร์พบว่าต้นไม้และดอกไม้จะผลิดอกออกผลห้าวันก่อนที่อุณหภูมิ เพิ่มขึ้นหนึ่งองศาเซลเซียล แต่ริชาร์ด สมิทเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษพบว่าในช่วงเวลานี้ดอกไม้จะบานเร็วประมาณ 2-12 วัน ก่อนที่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น นับเป็นปรากฎการณ์ในรอบ 25 ปี ซึ่งถือว่าการบานของดอกไม้เป็นตัวบอกการเปลี่ยนอุณหภูมิ โดยงานวิจัยได้ใช้ดอกไม้กว่า 400 ชนิดในการสังเกตุการณ์ สมิทเตอร์ยืนยันการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิกับการบานของดอกไม้นั้นสัมพันธ์กัน อย่างเห็นได้ชัด

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิโลกกำลังเปลี่ยนแปลง นักวิทยาศาสตร์ต่างกังวลถึงผลกระทบจากการที่ดอกไม้บานเร็วเกินไป เพราะมันส่งผลกระทบต่อสายพันธุ์พืชและไม้ดอก เป็นที่รู้กันดีว่า พืชแต่ละสายพันธุ์ต้องใช้สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อกัน เมื่อพืชชนิดหนึ่งออกดอกไปแล้ว ก็ส่งผลกระทบต่อพืชพันธุ์อื่นๆ ซึ่งต้นไม้ดอกไม้จะตอบสนองอย่างรวดเร็วกว่าห่วงโซ่อาหารเสียอีก

งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เรามองเห็นถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ส่ง ผลโดยตรงต่อพืชบนโลก ดังนั้นจึงจัดการประชุมสัมมนาพืชพันธุ์นานาชาติในเดือนตุลาคมนี้ที่ประเทศ ญี่ปุ่นเพื่อหาทางแก้ไขหรือป้องกัน ก่อนที่จะสายเกินไป


http://archive.voicetv.co.th/content/11087
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 7:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

223. วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย


การสกัดกลิ่นหอมออกจากพืชหอม ได้มีการทำมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในสมัยโบราณ จะนิยมนำดอกไม้หอมมาแช่น้ำทิ้งไว้ และนำน้ำที่มีกลิ่นหอมนั้น ไปใช้ดื่มหรืออาบ ต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการสกัดกลิ่นหอม เพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพ และปริมาณสูงสุด วิธีการดังกล่าวนั้นมีหลายวิธี การที่จะเลือกใช้วิธีใดนั้น ต้องพิจารณาลักษณะของพืชที่จะนำมาสกัดด้วย


วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1. การกลั่นโดยใช้น้ำ
วิธีนี้สามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์สำหรับการกลั่น เช่น หม้อกลั่น, เครื่องควบแน่น และภาชนะรองรับน้ำมัน วิธีการก็คือ บรรจุพืชที่ต้องการสกัดน้ำมันหอม ระเหยลงในหม้อกลั่น เติมน้ำพอท่วม แล้วต้มจนน้ำเดือด เมื่อน้ำเดือดระเหยเป็นไอ ไอน้ำจะช่วยพาน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในเนื้อเยื่อของพืชออกมาพร้อมกัน

เมื่อผ่านเครื่องควบแน่น ไอน้ำและไอของน้ำมันหอมระเหยจะควบแน่นเป็นของเหลว ได้น้ำมันหอมระเหย และน้ำ แยกชั้นจากกัน

สำหรับการกลั่นพืชปริมาณน้อยๆ ในห้องปฏิบัติการ เราสามารถทำได้ โดยใช้ชุดกลั่นที่ทำจากเครื่องแก้ว เรียกว่า ชุดกลั่นชนิด Clevenger





ส่วนการกลั่นพืชปริมาณมาก ควรใช้เครื่องกลั่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจทำด้วยเหล็กสเตนเลส หรือทองแดง โดยอาศัยหลักการเดียวกัน








การกลั่นโดยใช้น้ำนี้ มีข้อดี คือ เป็นวิธีที่ง่าย อุปกรณ์ในการกลั่น ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ก็มีข้อเสีย คือ ในกรณีที่ต้องกลั่นพืชปริมาณๆ ความร้อนที่ให้สู่หม้อกลั่นจะไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งหม้อกลั่น พืชที่อยู่ด้านล่างใกล้กับเตา อาจเกิดการไหม้ได้ ทำให้น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ มีกลั่นเหม็นไหม้ติดปนมา

อีกทั้งการกลั่นโดยวิธีนี้ พืชจะต้องสัมผัสกับน้ำเดือดโดยตรงเป็นเวลานาน ทำให้องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย เกิดการเปลี่ยนแปลงไปบ้างบางส่วน




2. การกลั่นโดยใช้น้ำและไอน้ำ




วิธีนี้มีหลักการคล้ายกับการกลั่นโดยใช้น้ำ แต่แตกต่างตรงที่ ภายในหม้อกลั่นจะมีตะแกรงสำหรับวางพืชไว้เหนือระดับน้ำ เมื่อให้ความร้อน โดยเปลวไฟ หรือไอน้ำจากเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler), น้ำภายในหม้อกลั่น จะเดือดกลายเป็นไอ การกลั่นโดยวิธีนี้ พืชที่ใช้กลั่นจะไม่สัมผัสกับความร้อนโดยตรง ทำให้คุณภาพของน้ำมันหอมระเหยดีกว่าวิธีแรก



3. การกลั่นโดยใช้ไอน้ำ
การกลั่นโดยวิธีนี้ ก็คล้ายกับวิธีที่ 2 แต่ไม่ต้องเติมน้ำลงในหม้อกลั่น เมื่อบรรจุพืชลงบนตะแกรงแล้ว ผ่านความร้อนจากไอน้ำที่ได้จากเครื่องกำเนิดไอน้ำ ไอน้ำจะช่วยน้ำมันหอมระเหยในพืช ระเหยออกมาอย่างรวดเร็ว


วิธีนี้มีข้อดี คือ เวลาที่ใช้ในการกลั่นจะสั้นกว่า ปริมาณน้ำมันมีคุณภาพ และปริมาณดีกว่า แต่ไม่เหมาะกับพืชที่มีลักษณะบาง เช่น กลีบกุหลาบ เพราะไอน้ำจะทำ ให้กลีบกุหลาบรวมตัวกันเป็นก้อน น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในกลีบกุหลาบไม่สามารถออกมา พร้อมไอน้ำได้ทั้งหมด ทำให้ได้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยน้อยลง หรือไม่ได้เลย การกลั่นน้ำมันกุหลาบจึงควรใช้วิธีการกลั่นด้วยน้ำจะเหมาะสมกว่า



4. การสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้ที่ไม่สามารถใช้วิธีกลั่น โดยใช้ไอน้ำได้เนื่องจากองค์ประกอบของสารหอมระเหยในดอกไม้จะสลายตัวเมื่อ ถูกความร้อนสูง ดังนั้นจึงใช้ตัวทำละลาย เช่น เฮกเซน สกัดน้ำมันหอมระเหยออกมา หลังจากนั้นจะระเหยไล่ตัวทำละลายออกที่อุณหภูมิและความกดดันต่ำ ก็จะได้หัวน้ำหอม ชนิด concrete



5. การสกัดโดยใช้ไขมัน (enfleurage)
การสกัดโดยใช้ไขมันเป็นวิธีการสกัดแบบดั้งเดิม มักใช้กับดอกไม้กลีบบาง เช่นมะลิ ซ่อนกลิ่น โดยจะใช้ไขมันประเภทน้ำมันหมูเกลี่ยลงบนถาดไม้ แล้วนำ ดอกไม้มาเกลี่ยทับเป็นชั้นบางๆ จนเต็มถาด ตั้งทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนดอกไม้ ชุดใหม่ ทำซ้ำประมาณ 7-10 ครั้ง ไขมันจะดูดซับสารหอมไว้เรียกไขมันที่ดูดซับ สารหอมนี้ว่า pomade หลังจากนั้นใช้เอทธานอลละลายสารหอมออกจากไขมัน นำไประเหยไล่ตัวละลายออกที่อุณหภูมิและความกดดันต่ำ จะได้หัวน้ำหอมชนิด concrete เมื่อแยกส่วนที่เป็นไขมันออกโดยการนำมาละลายเอทธานอลแล้ว แช่เย็นเพื่อแยกส่วนที่เป็นไขออก หลังจากระเหยไล่ตัวละลายออกจะได้หัวน้ำหอมชนิด absolute ซึ่งจัดเป็นหัวน้ำหอมชนิดดีและราคาแพงที่สุด



6. วิธีบีบ
วิธีนี้มักใช้กับเปลือกผลไม้ตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด น้ำมันหอมระเหยที่ได้จะมีกลิ่นและคุณภาพดี



นอกจากนี้ ยังมีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้โดยใช้ คาร์บอนไดออกไซด์เหลว โดยเรียกวิธีนี้ว่า Supercritical carbondioxide fluid extraction ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ เหมาะสำหรับการสกัดสารที่สลายตัวง่ายเมื่อ ถูกความร้อน แต่สูญเสียค่าใช้จ่ายมาก



http://www.tistr.or.th/pharma/Essen_ext.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 7:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

224. อโรมา เธอราปี


อโรมาเธอราปี (AROMA THERAPY) หรือ สุคนธบำบัด เป็นศาสตร์และศิลป์ ในการใช้น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ (ESSENTIAL OIL) เพื่อบำบัดรักษาหรือบรรเทาอาการของโรค ทำให้สุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนช่วยเสริมความงาม โดยอาศัยคุณสมบัติที่มีกลิ่นหอมและระเหยได้ของน้ำมันหอมระเหย ซึ่งโมเลกุลเล็กๆ ของน้ำมันหอมระเหยสามารถถูกสูด (INHALE) เข้าทางช่องจมูก และแปรเป็นสัญญาณไฟฟ้าเคมี ส่งผ่านไปยังสมองส่วนกลาง หรือซึมผ่านผิวหนังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีผลทำให้การทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกายถึงจิตใจรวมถึงอารมณ์ได้สมดุล จึงสามารถบำบัดอาการต่างๆ ได้ เช่น ลดความเครียด ช่วยให้หลับสบาย หรือกระตุ้นให้สดชื่น มีพลัง ตลอดจนมีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิดได้

นอกจากนี้ผลทางร่างกายยังช่วยลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อโรค ลดอาการระคายเคืองของผิวหนัง ตลอดจนช่วยเสริมความงามทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น เต่งตึง การใช้สุคนธบำบัดจัดเป็นศิลปะในการรักษาโรค (HEALING ARTS) ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ ในการเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยกับอาการหรือผลที่ต้องการรักษา ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลด้วย เพราะน้ำมันหอมระเหยอาจมีผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป แม้จะมีผลต่อทางร่างกายหรือคุณสมบัติที่เหมือนกันก็ตาม


น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) คือ อะไร ?
น้ำมันหอมระเหยเป็นน้ำมันที่พืชผลิตขึ้นตามธรรมชาติ เก็บไว้ตามส่วนต่างๆ เช่น กลีบดอก ใบ ผิวของผล เกสร รากหรือเปลือกของลำต้น เวลาที่ได้รับความร้อนอนุภาคเล็ก ๆ ของน้ำมันหอมเหล่านี้จะระเหยออกมาเป็นกลุ่มไอรอบๆ ทำให้เราได้กลิ่นหอม อบอวลไปทั่ว

ช่วยดึงดูดแมลงให้มาผสมเกสรดอกไม้ ปกป้องการรุกรานจากศัตรู และรักษาความชุ่มชื้นแก่พืช สำหรับประโยชน์ต่อมนุษย์นั้น น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค บรรเทาอาการอักเสบหรือลดบวม คลายเครียด หรือ กระตุ้นให้สดชื่น ทั้งนี้ขึ้นกับองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด


องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย เป็นอย่างไร ?
องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยมีอยู่มากมายหลายร้อยชนิด แต่สามารถแยกเป็นกลุ่มของสารได้เป็น7 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะออกฤทธิ์ในการบำบัดที่แตกต่างกันดังนี้ กลุ่ม Alcohols สารในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติ ฆ่าเชื้อโรค ต้านเชื้อไวรัส ยกระดับจิตใจ ได้แก่ Linalol citronellol geraniol borneol menthol nerol teppineol ฯลฯ กลุ่ม Aldehydes สารในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการระงับประสาท ยกระดับจิตใจ ลดการอักเสบ ลดความอ้วน ขยายหลอดเลือด และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค ตัวอย่างได้แก่ Cidral citronellal neral geranial กลุ่ม Esters มีคุณสมบัติระงับประสาท สงบอารมณ์ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ และต้านเชื้อราได้แก่ linalyl acetate geranyl acetate bomyl acetate eugenyl acetate lavendulyl acetate กลุ่ม Ketones สาร Ketones มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดลม ละลายเสมหะ เสริมสร้างเนื้อเยื่อ และลดการอักเสบได้แก่ Jasmone fenchone camphor carvone menthone กลุ่ม Oxides ในสารกลุ่มนี้ มีคุณสมบัติในการขับเสมหะ ละลายเสมหะที่สำคัญได้แก่ Cineol

นอกนั้นก็มีสารที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และการกระตุ้นระบบประสาท ได้แก่ Linalol oxide ascaridol bisabolol oxide bisabolon oxide กลุ่ม Phenols มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นระบบประสาท และภูมิต้านทานของร่างกายได้แก่ Eugenol thymol earvacrol กลุ่ม Terpenesสารในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อและลดการอักเสบ ประกอบด้วย Camphene cadinene caryophyllene cedrene dipentene phellandrene terpinene sabinene mycrene

สาร sesquiterpenes เช่น chamazulene farnesol มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรีย สาร limonene มีคุณสมบัติต้านไวรัส pinene มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ เป็นต้น โดยปกติน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดจะมีสารประกอบทางเคมีตั้งแต่ 50-500 ชนิด องค์ประกอบทางเคมีแต่ละชนิด ก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ดังที่กล่าวแล้ว แต่เมื่อมาผสมผสานกันอยู่ มันก็ทำให้เกิดคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ ของน้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละชนิด ที่มีจุดเด่นความเหมือนและความแตกต่างในการบำบัดต่างกันออกไป


การสกัดน้ำมันหอมระเหยทำได้อย่างไร ?
วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชในปัจจุบันสามารถ ทำได้ใน 6 วิธีการ คือ

- การกลั่น (Distillation) เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดเพราะทำง่าย ประหยัด ได้น้ำมันหอมระเหยปนมากับน้ำ แยกเป็น 2 ชั้น ซึ่งแยกออกได้ง่ายจะได้น้ำมันหอมระเหย (essential oil) และน้ำปรุง (aromatic water, floral water หรือ hydrosol) ..... วิธีการกลั่นอาจแบ่งได้เป็นการกลั่นด้วยน้ำ (Water distillation)การกลั่นด้วยน้ำ และไอน้ำ (Water and steam distillation หรือ hydrofiffusion) และการกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam distillation)

- การบีบ (Mechanical Expression) ใช้สำหรับพืชที่มีถุงน้ำมันอยู่ใต้เปลือก ซึ่งมีองค์ประกอบที่สลายตัวโดยความร้อน

- วิธี Enfleurage เป็นวิธีที่เก่าแก่ มักใช้กับกลีบดอกไม้ ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยปริมาณน้อย ทำโดยใช้ fixed oil หรือไขมัน (fat) ชนิดที่ไม่มีกลิ่นมาแผ่เป็นฟิล์มบางๆ บนกระจก นำกลีบดอกไม้มาโปรยบนฟิล์มนี้ ตั้งทิ้งไว้หลายๆ ชั่วโมง เก็บกลีบดอกไม้ออก แล้วโปรยชุดใหม่ลงไปแทน ไขมันจะดูดซับน้ำมันหอมระเหยไว้ จากนั้นนำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ เพื่อแยกน้ำมันหอมระเหยออกมาแล้วกลั่นเพื่อแยกแอลกอฮอล์ออกไป

- การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extraction) เป็นการสกัดโดยใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมซึ่งเป็น Volatile hydrocarbon เช่น hexane, benzene หรือ petroleum ether สกัดเอาสารหอมออกมา วิธีนี้จะได้น้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นคงเดิม เพราะไม่เกิดการสลายตัว เหมาะสำหรับพืชที่ทนความร้อนสูงไม่ได้ เช่น มะลิ ซ่อนกลิ่น แต่ราคาแพง

ปัจจุบันนิยมใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมโดยการกลั่นแบบ Destructive distillation นิยมใช้ในการกลั่นน้ำมันจากพืชวงศ์ Pinaceae และ Cupressaceae โดยการนำพืชมาเผาในที่อากาศไม่เพียงพอ จะเกิดการสลายตัวได้สารระเหยออกมา

- สกัดโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวภายใต้ความดันสูง (Supercritical Carbon-dioxide Extraction) วิธีนี้จะได้น้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอมมาก เพราะประสิทธิภาพการสกัดสูง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้ความดันสูง (200 เท่าของความดันบรรยากาศและอุณหภูมิ 33 องศา C) จะกลายสภาพกึ่งเหลวกึ่งก๊าซเรียกว่า Supercritical state มีคุณสมบัติในการละลายสูง (solvent properties) จะสามารถสกัดสารหอมออกมาได้มาก ข้อดีคือ ไม่ใช้ความร้อน ดังนั้นสารหอมต่างๆจะไม่สลายตัว จะคงสภาพเหมือนในสภาวะธรรมชาติ แต่วิธีนี้ต้องใช้เครื่องมือราคาแพงและวิธีการยุ่งยาก



วิธีการบำบัดโดยใช้อโรมาเธอราปีทำได้อย่างไร
วิธีการบำบัดโดยใช้อโรมาเธอราปีสามารถทำได้มากมายหลายวิธี ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 6 วิธีหลัก ดังนี้ คือ

- การอาบ เป็นวิธีในการบำบัดโดยใช้อโรมาเธอราปี แบบ ง่าย ที่สามารถทำเองได้ ภายในบ้านโดยทำการ ผสมน้ำอุ่นในอ่างน้ำสำหรับลงแช่อาบ แล้วหยดน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างน้ำ แช่ทั้งตัวสักประมาณ 20 นาที ไอระเหยจากอ่างน้ำอุ่น และการซึมทางผิวหนังด้วยการแช่ จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นบรรเทาอาการปวดเมื่อยและคลายเครียด

- การประคบ เป็นวิธีการบำบัดโดยใช้อโรมาเธอราปี แบบง่าย อีกวิธีหนึ่งสำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อยโดยใช้ผ้าขนหนูสะอาด ชุบน้ำที่ผสมน้ำมันหอมระเหยประคบ ตามบริเวณที่ต้องการ ยกเว้นบริเวณดวงตา ในส่วนผสมที่ใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดต่อน้ำอุ่น 100 มล. การประคบนี้เป็นการบำบัดเฉพาะที่ จะช่วยทำให้รู้สึกดีขึ้นและหายปวดเมื่อย

- การสูดดม เป็นวิธีการทางอโรมาเธอราปีอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้กลิ่นหอม จากน้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัดด้วย การสูดดมกลิ่นหอมอย่างเดียวโดยไม่มีการสัมผัสทางผิวหนัง ทำได้ 2 วิธี คือ ใส่น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด ในชามที่เตรียมน้ำอุ่นไว้แล้วก้มลงสูดดมสัก 2-3 นาที หรือหยดน้ำมันหอมระเหย 1-2 หยด ในผ้าเช็ดหน้าแล้วสูดดม

ใช้บำบัดเพื่อการผ่อนคลาย เพื่อกระตุ้นให้สดชื่น และให้พลัง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมันหอมระเหยโดยตรง เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง

- การสูดไอน้ำ เป็นอีกวิธีหนึ่งในการบำบัดทางอโรมาเธอราปี แบบ ง่าย โดยอาศัยคุณสมบัติของน้ำมันระเหยบางชนิดที่ เป็น แอนตี้เซปติก (Anti septic) ฆ่าเชื้อโรคได้ เมื่อสูดดมไอน้ำจากน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้เข้าไป จะช่วยกำจัดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจได้

- การอบห้อง เป็นวิธีการทางอโรมาเธอราปีชนิดหนึ่ง ที่ใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัดด้วยการอบห้องให้หอม โดยใช้หลักการอบห้องเพื่อฆ่าเชื้อโรค ในโรงพยาบาล น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจะถูกอบอวล ในห้องที่ปิดมิดชิดสามารถฆ่าเชื้อโรคได้

ในกรณีที่ต้องการให้ห้องหอมตามกลิ่นที่ต้องการ ก็สามารถทำได้ โดย หยดน้ำมันหอมระเหย 3-4 หยด ในน้ำที่เตรียมใส่ในจานสำหรับเผา (Aroma Jar) แล้วจุดเทียนไว้ในห้อง ความร้อน จากเทียน จะทำให้กลิ่นหอม จากน้ำผสมน้ำมันหอมระเหย ส่งกลิ่นอบอวลไปทั่วห้อง ควรอบไม่เกิน 10 นาที ต่อครั้ง

- การนวด เป็นวิธีการทางอโรมาเธอราปีอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัด ด้วยการสัมผัสทางผิวหนัง เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะด้วยสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด จะสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคได้ ตัวยาจะซึมผ่านผิวหนังด้วยการนวด ส่วนกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้ประสาทสัมผัสรับกลิ่น ปรับอารมณ์ให้รู้สึกสบายขึ้นไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นการใช้น้ำมันหอมระเหย ที่มีคุณภาพดี และเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการในการบำบัด จะทำให้การนวดเพื่อการบำบัดนี้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น




บรรณานุกรม
1. พิมพร ลีลาพรพิสิฐ : “สุคนธบำบัด” คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนาคม 2545
2. คมสัน หุตะแพทย์ “มหัศจรรย์น้ำมันหอมระเหย : น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้และสมุนไพร” วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 3/2546 พ.ศ.2546
3. ประเทืองศรี สินชัยศรี : การสกัดน้ำมันหอมระเหย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4. วิรดี ศรอ่อน : การสกัดน้ำมันหอมระเหย วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 9/2543
5. http://www.deancoleman.com
6. http://www.essentialoils.co.za



http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue1/article/aroma.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 7:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

225. การออกแบบบรรจุภัณฑ์


......



การออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจแบ่งประเภทลักษณะการออกแบบได้ 2 ประเภทคือ
• การออกแบบลักษณะโครงสร้าง
• การออกแบบกราฟฟิค

การออกแบบลักษณะโครงสร้าง หมายถึง การกำหนดรูปลักษณะ โครงสร้างวัสดุที่ใช้ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต การบรรจุ ตลออดจนการขนส่งเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นับตั้งแต่จุดผลิตจนถึงมือผู้บริโภค

การออกแบบกราฟฟิค หมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ (To Communicate) ในอันที่จะให้ผลทางด้านจิตวิทยา (Psychological Effects) ต่อผู้บริโภค และอาศัยหลักศิลปะการจัดภาพให้เกิดความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้

1. กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์
ในกระบวนการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยต้องอาศัยความรู้และข้อมูลจากหลายด้านการอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการบรรจุ (PACKAGING SPECIALISTS) หลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมปรึกษาและพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งอิงทฤษฏีของ ปุ่น คงเจริญเกียรติและสมพร คงเจริญเกียรติ (2542:71-83) โดยที่ผู้วิจัยจะกระทำหน้าที่เป็นผู้สร้างภาพพจน์ (THE IMAGERY MAKER) จากข้อมูลต่าง ๆ ให้ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์จริง ลำดับขั้นตอนของการดำเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น จนกระทั่งสิ้นสุดจนได้ผลงานออกมาดังต่อไปนี้ เช่น

1. กำหนดนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ (POLICY PERMULATION OR ATRATEGIC PLANNING) เช่น ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการผลิต เงินทุนงบประมาณ การจัดการ และการกำหนดสถานะ (SITUATION) ของบรรจุภัณฑ์ ในส่วนนี้ทางบริษัทแด่ชีวิตจะเป็นผู้กำหนด

2. การศึกษาและการวิจัยเบื้องต้น (PRELIMINARY RESEARCH) ได้แก่ การศึกษาข้อมูลหลักการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมทางการผลิต ตลอดจนการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องสอดคล้องกันกับการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์

3. การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ ( FEASIBILITY STUDY ) เมื่อได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ด้วยการสเก็ต (SKETCH DESING) ภาพ แสดงถึงรูปร่างลักษณะ และส่วนประกอบของโครงสร้าง 2-3 มิติ หรืออาจใช้วิธีการอื่น ๆ ขึ้นรูปเป็นลักษณะ 3 มิติ ก็สามารถกระทำได้ ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ขั้นต้นหลาย ๆ แบบ (PRELIMINARY IDFAS) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเทคนิควิธีการบรรจุ และการคำนวณเบื้องต้น ตลอดจนเงินทุนงบประมาณดำเนินการ และเพื่อการพิจารณาคัดเลือกแบบร่างไว้เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ในขั้นตอนต่อไป

4. การพัฒนาและแก้ไขแบบ ( DESIGN REFINEMENT ) ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องขยายรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ (DETAILED DESIGN ) ของแบบร่างให้ทราบอย่างละเอียดโดยเตรียมเอกสารหรือข้อมูลประกอบ มีการกำหนดเทคนิคและวิธีการผลิต การบรรจุ วัสดุ การประมาณราคา ตลอดจนการทดสอบทดลองบรรจุ เพื่อหารูปร่าง รูปทรงหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการด้วยการสร้างรูปจำลองง่าย ๆ (MOCK UP) ขึ้นมา ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อการนำเสนอ (PRESENTATION) ต่อลูกค้าและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องให้เกิดความเข้าใจเพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นสนับสนุนยอมรับหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเช่น การทำแบบจำลองโครงสร้างเพื่อศึกษาถึงวิธีการบรรจุ และหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ก่อนการสร้างแบบเหมือนจริง

5. การพัฒนาต้นแบบจริง (PROTOTYPE DEVELOPMENT) เมื่อแบบโครงสร้างได้รับการแก้ไขและพัฒนา ผ่านการยอมรับแล้ว ลำดับต่อมาต้องทำหน้าที่เขียนแบบ (MECHANICAL DRAWING) เพื่อกำหนดขนาด รูปร่าง และสัดส่วนจริงด้วยการเขียนภาพประกอบแสดงรายละเอียดของรูปแบบแปลน (PLAN) รูปด้านต่าง ๆ (ELEVATIONS) ทัศนียภาพ (PERSPECTIVE) หรือภาพแสดงการประกอบ (ASSEMBLY) ของส่วนประกอบต่าง ๆมีการกำหนดมาตราส่วน (SCALE) บอกชนิดและประเภทวัสดุที่ใช้มีข้อความ คำสั่ง ที่สื่อสารความเข้าใจกันได้ในขบวนการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ของจริง แต่การที่จะได้มาซึ่งรายละเอียดเพื่อนำไปผลิตจริงดังกล่าวนั้น ผู้ออกแบบจะต้องสร้างต้นแบบจำลองที่สมบูรณ์ (PROTOTYPE) ขึ้นมาก่อนเพื่อวิเคราะห์ (ANALYSIS) โครงสร้างและจำแนกแยกแยะส่วนประกอบต่าง ๆ ออกมาศึกษา ดังนั้น PROTOTYPE ที่จัดทำขึ้นมาในขั้นนี้จึงควรสร้างด้วยวัสดุที่สามารถให้ลักษณะ และรายละเอียดใกล้เคียงกับบรรจุภัณฑ์ของจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เช่นอาจจะทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ดินเหนียว กระดาษ ฯลฯ และในขั้นนี้ การทดลองออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ ควรได้รับการพิจารณมร่วมกันอย่างใกล้ชิคกับลักษณะของโครงสร้างเพื่อสามารถนำผลงานในขั้นนี้มาคัดเลือกพิจารณาความมีประสิทธภาพของรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์

6. การผลิตจริง (production) สำหรับขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายผลิตในโรงงานที่จะต้องดำเนินการตามแบบแปลนที่นักออกแบบให้ไว้ ซึ่งทางฝ่ายผลิตจะต้องจัดเตรียมแบบแม่พิมพ์ของบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามกำหนด และจะต้องสร้างบรรจุภัณฑ์จริงออกมาจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่าง (PRE- PRODUCTION PROTOTYPES) สำหรับการทดสอบทดลองและวิเคราะห์เป็นครั้งสุดท้าย หากพบว่ามีข้อบกพร่องควรรีบดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงดำเนินการผลิตเพื่อนำไปบรรจุและจำหน่ายในลำดับต่อไป




http://www.mew6.com/composer/package/package_8.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 8:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

226. ผลไม้ไทยในหีบห่อมาตรฐาน

ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย




ผลไม้ไทยเป็นผลิตผลที่นำชื่อเสียงให้แก่ประเทศมาช้านาน นอกจากจะมีนานาชนิดให้เลือกซื้อหาแล้ว ยังมีคุณลักษณะพิเศษในด้านสีสวยกลิ่นหอม และรสอร่อยอีกด้วย แม้ว่าความชื่นชอบในรสชาติของผลไม้ไทยได้ขยายวงกว้างออกไปทุกที รวมทั้งลู่ทางการส่งออกที่ค่อนข้างแจ่มใส ดังเห็นได้จาก ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังประสบปัญหาหลายประการอันรวมถึงการหีบห่อที่ยังไม่เหมาะสมอีกด้วย

ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงมุ่งมั่นพัฒนากล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับส่งออกผลไม้สด เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้ มาตรฐาน เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดต่างประเทศ





จุดเด่นของกล่อง
ขนาดมาตรฐาน : กล่องมีขนาดเหมาะสมต่อการวางซ้อน การวางขาย การเรียงบนแท่นรองรับสินค้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง และช่วย ลดต้นทุน ขนาดกล่องที่นิยมใช้มากคือ มิติภายนอก 400 x 300 x 120 มิลลิเมตร สามารถบรรจุผลไม้ได้ 4–5 กิโลกรัม

ความแข็งแรง : วัสดุและโครงสร้างของกล่องมีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน สามารถคุ้มครองผลิตผลมิให้บอบช้ำหรือเสียหายจนถึงจุดหมายปลายทางได้

การรักษาคุณภาพ : ช่องระบายอากาศของกล่องมีความเหมาะสมต่อการหายใจและคายน้ำของผลิตผล และเอื้ออำนวยในการปฏิบัติการ หลังการเก็บเกี่ยว


....



ผลไม้ไทยบรรจุภัณฑ์ขายปลีก




นับเป็นเวลากว่าทศวรรษ ที่ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยได้ขานรับนโยบายส่งเสริมการส่งออกของรัฐ ด้วยการมุ่งมั่นพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ที่มีคุณภาพได้ระดับมาตรฐานสากล เพื่อส่งออกผลไม้สดของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

นอกเหนือจากการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายแล้ว ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยยังได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อการขายปลีก เพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตลาดใหม่ๆ อีกด้วย

ปัจจุบันตลาดของประเทศพัฒนาซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายใหม่ของไทยนั้น มีแนวโน้มนิยมการวางขายผลไม้แบบช่วย ตัวเอง ด้วยการแบ่งบรรจุในภาชนะขายปลีกมาจากต้นทาง เพื่อช่วยลดความเสียหายลดค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เมื่อถึงปลายทาง นอกจากนี้ภายในประเทศเอง ผลไม้ไทยก็เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมซื้อเป็นของฝากในหมู่นักท่อง เที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย จึงได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีกผลไม้สดให้ สอดคล้องกับความนิยมของผู้บริโภค อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และส่งเสริมการขยายตลาดผลไม้สด ของไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

จุดเด่นของบรรจุภัณฑ์
* รูปลักษณ์ดึงดูดใจผู้ซื้อ หิ้วถือได้สะดวก
* ขนาดเหมาะสมกับปริมาณบรรจุเพื่อการขายปลีก และวางได้พอดีในกล่องขนส่งขนาดมาตรฐาน
* ใช้กระดาษในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เหลือเศษตัดทิ้งน้อย




ดอกไม้สวยด้วยหีบห่อมาตรฐาน




ดอกไม้สดนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของความสดชื่นสวยงามแล้ว ยังเป็นสินค้าซึ่งสามารถนำเงินตราเข้าประเทศเป็นมูลค่ามหาศาลจากการ ส่งออกในแต่ละปีอีกด้วย แต่ถึงแม้ว่าความชื่นชอบดอกไม้จากไทยจะขยายวงกว้างออกไปในหมู่ชาวต่างประเทศมากขึ้นก็ตาม มักปรากฏว่าเมื่อถึง ปลายทางดอกไม้จะมีคุณภาพด้อยลง เนื่องจากขาดความพิถีพิถันในการดูแลรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดการหีบห่อที่เหมาะสม

ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย จึงได้ดำเนินการพัฒนากล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับส่งออกดอกไม้สด เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดต่างประเทศ

กล่องวางขาย มี 2 ขนาด
-ขนาดใหญ่มีมิติภายนอก 580 x 380 x 74 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับบรรจุกล้วยไม้ และดอกไม้อื่นที่มีความยาวของช่อไม่เกิน 550 มิลลิเมตร บรรจุกล้วยไม้สกุลหวายได้ 80 ช่อ มีน้ำหนักสุทธิ 1.2 กิโลกรัม
- ขนาดเล็กมีมิติภายนอก 580 x 190 x 74 มิลลิเมตร เป็นกล่องขนาดกระทัดรัด บรรจุกล้วยไม้สกุลหวายได้ 40 ช่อ มีน้ำหนักสุทธิ 720 กรัม

กล่องเพื่อการขนส่ง
- กล่องขนส่งมีมิติภายนอก 600 x 400 x 390 มิลลิเมตร เป็นขนาดมาตรฐานซึ่งจัดวางเรียงบนแท่นรองรับสินค้าขนาด 1200 x 1000 มิลลิเมตร ได้เต็มเนื้อที่ บรรจุกล่องวางขายได้ 5 และ 10 กล่องพอดี มีความแข็งแรงเหมาะสมต่อการขนส่งทางอากาศ โดยรับแรงกดทับได้ 370 กิโลกรัมแรง

จุดเด่นของกล่อง
-ขนาดมาตรฐาน : ภาชนะบรรจุเหมาะสมต่อการวางซ้อน การวางขาย การเรียงบนแท่นรองรับสินค้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง และช่วยลดต้นทุน
- ความแข็งแรง : การเลือกวัสดุและการออกแบบโครงสร้างทำให้กล่องมีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน ทั้งในสภาพปกติ และเมื่อลดอุณหภูมิ
- การรักษาคุณภาพ : ช่องระบายอากาศของกล่องมีความเหมาะสมต่อระบบลดอุณหภูมิและช่วยรักษาคุณภาพดอกไม้ได้อย่างสมบูรณ์



http://www.mew6.com/composer/package/package_29.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 9:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

227. การเพาะถั่วงอกไว้กินเอง


เรามาต่อกันในกับการเพาะถั่วงอกไว้กินเองนะครับวันนี้... ผมนำการเพาะถั่วงอกในขวดกาแฟมาให้เพื่อน ๆ ลองทำดูนะครับ...

การเพาะถั่วงอกในขวดกาแฟ เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอกกินเองในครัวเรือน 1 ขวดกาแฟ ก็จะได้ถั่วงอกประมาณ 1 มื้อ




อุปกรณ์
1.ขวดกาแฟชนิดใสหรือชนิดสีชาก็ได้
2.ผ้าไนลอนหรือผ้าขาวบาง กว้าง 4 นิ้ว ยาว 4 นิ้ว
3.ถั่วเขียว 1 กำมือ


ขั้นตอน
1. ล้างถั่วเขียวด้วยน้ำสะอาด แช่ในน้ำอุ่นทิ้งให้เย็น แช่ในน้ำนั้ต่อไปทิ้งไว้ 1 คืน หรืออย่างน้อยนาน 6-8 ชั่วโมง
2. หลังจากแช่ถั่วเขียวแล้ว เทถั่วเขียวใส่ขวดกาแฟ ใช้ผ้าไนลอนหรือผ้าขาวบางปิดปากขวด ใช้หนังยางรัดให้แน่น แล้วเปิดน้ำใส่ขวดให้ท่วมเมล็ดถั่ว แล้วเทน้ำทิ้ง





3. วางขวดในแนวนอนในถุงกระดาษหรือในที่มืด




4. หลังจากนั้น 3-4 ชั่วโมง ให้นำขวดที่เพาะถั่วนี้มาให้น้ำ โดยเทน้ำใส่ทางปากขวด แล้วเทน้ำทิ้ง








รูปแบบการเพาะถั่วงอกนั้น เป็นการนำถั่วไปเพาะในภาชนะที่มีความชื้นและความร้อนหรืออุณหภูมิที่พอเหมาะ โดยไม่ให้โดนแสงสว่าง ภายในระยะเวลา 2 -3 วัน ก็จะได้ถั่วงอกนำไปรับประทานหรือจำหน่ายได้

การเพาะถั่วงอกจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับอุปกรณ์ที่หลากหลาย ตามความพร้อมนะครับ... ถ้าต้องการทำเพื่อเป็นรายได้เสริมก็อาจหาอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่นอาจใช้ถังพลาสติก หม้อดิน หรือวัสดุอื่น ๆ ก็ได้นะครับ



ที่มา : สำนักพิมพ์เกษตรกรรมธรรมชาติ. คู่มือพึ่งตนเอง (ฉบับกระเป๋า).กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

http://saradee999.blogspot.com/search?updated-min=2010-01-01T00%3A00%3A00-08%3A00&updated-max=2011-01-01T00%3A00%3A00-08%3A00&max-results=9
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

228. การจัดการธาตุอาหารในดินเพื่อการเกษตรดีที่เหมาะสม


โดย อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์


แนวทางในการผลิตพืชตามแบบเกษตรดีที่เหมาะสม ( GAP ) เป็นแนวทางที่มีจุดประสงค์สำคัญที่ต้องการให้ผู้ผลิตมีการใช้เทคโนโลยีการจัดการระบบการผลิตแบบผสมผสาน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมทั้งในดิน น้ำ และอากาศ นอกจากนั้นหากเกษตรกรมีการผลิตพืชโดยใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


ดินถือว่าเป็นทรัพยากรการผลิตที่มีคุณค่า และหากดินสูญเสียคุณสมบัติที่ดีต่อการปลูกพืชแล้ว การแก้ไขให้ดินฟื้นคืนมาดังเดิมค่อนข้างทำได้ยาก หรือหากทำได้ก็ต้องใช้ทุนสูงมาก ตัวอย่างได้แก่ การเกิดดินเค็มในภาคกลางจากการทำนากุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด หรือการปนเปื้อนของโลหะหนักในพื้นที่ทิ้งขยะใน
บางบริเวณ ดังนั้นหากเราต้องการใช้ทรัพยากรดินที่เหมาะสมทางการเกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เป็นประโยชน์นานที่สุด จึงควรมีการจัดการดินอย่างเหมาะสม


ดิน คืออะไร
ดิน คือ เทหวัตถุธรรมชาติ ที่เกิดตามธรรมชาติรวมกันเป็นชั้น จากส่วนผสมของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยกับอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยผุพัง
อยู่รวมเป็นชั้นบาง ๆ ห่อหุ้มผิวโลก และเมื่อมีอากาศและน้ำเป็นปริมาณที่เหมาะสมแล้ว จะช่วยค้ำจุนพร้อมทั้งช่วยในการยังชีพและการเจริญเติบโตของพืช


การสูญเสียธาตุอาหารจากดิน
ธาตุอาหารในดินอาจสูญเสียไปได้จากหลายสาเหตุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการของเกษตรกร หากเกษตรกรมีการเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับพยายามลดการสูญเสียธาตุอาหาร ก็จะสามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้ สำหรับการสูญเสียธาตุอาหารอาจแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ทาง คือ

1. สูญเสียไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวไปจากดิน พืชที่มีสัดส่วนการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไป จากดินในสัดส่วนที่สูงมากต่อรอบปี จะช่วยเร่งให้มีการลดลงของธาตุอาหารไปจากดินในอัตราสูง


2. สูญเสียไปจากการชะละลายของน้ำ การใช้ปุ๋ยที่มีการละลายน้ำสูง เช่น ปุ๋ยเคมี หาก มีการให้น้ำที่มากเกินไป น้ำส่วนที่เกินกว่าดินจะอุ้มไว้ได้ก็จะไหลออกไปจากขอบเขตรากของพืช ซึ่งอาจไหลลงบนผิวดินตามความลาดเทของพื้นที่ลงไปสู่ที่ต่ำ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หรืออาจไหลลงไปในแนวดิ่งเคลื่อนที่ลงไปสู่น้ำใต้ดิน ก็อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของธาตุปุ๋ยในน้ำใต้ดินได้ าตุปุ๋ยที่มีการปนเปื้อนแล้วจะมีผลต่อมนุษย์สูง คือ ไนโตรเจนในรูปไนเตรท ซึ่งมีรายงานการศึกษากล่าวว่า น้ำที่มีการปนเปื้อนด้วยไนเตรทในปริมาณสูงอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้


3. การสูญเสียเนื่องจากการชะล้างพังทลาย หรือการกร่อนของดิน ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินจะอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้อยู่ในสารละลายดิน ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นของเหลวที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน และรูปที่เป็นอิออนที่ถูกดูดซับอยู่กับอนุภาคดิน ธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในสารละลายดินจะสูญเสียไปด้วยการ ชะละลายตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 ส่วนธาตุอาหารที่เกาะอยู่กับอนุภาคดินนั้น หากเกษตรกรมีการปลูกพืชบนพื้นที่ที่มีความลาดชันค่อนข้างสูง และไม่มีระบบอนุรักษ์ดินเพื่อลดการกร่อนของดินแล้ว หากดินถูกกัดเซาะพังทลายสูญหายไปจากพื้นที่แล้ว จะเกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืชได้


4. การสูญเสียจากการระเหย ธาตุปุ๋ยบางธาตุโดยเฉพาะไนโตรเจน สามารถสูญหายไปจากดินโดยการระเหยไปในรูปของก๊าซแอมโมเนียได้ ดังนั้นในการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนทั่วไปจึงมีข้อแนะนำเกษตรกรให้มีการพรวนกลบเพื่อลดการระเหิดของก๊าซแอมโมเนียไปสู่บรรยากาศด้วย


ความต้องการธาตุอาหารของพืช
พืชต่างชนิดกันจะมีความต้องการใช้ธาตุอาหารพืชแตกต่างกัน แม้แต่พืชชนิดเดียวกันแต่ต่างสายพันธุ์ เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ กับมะม่วงเขียวเสวย ที่มีอายุการบริโภคผลดิบและผลสุกแตกต่างกัน ก็ต้องมีความต้องการธาตุอาหารในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นความต้องการธาตุอาหารพืชในแต่ละช่วงอายุยังมีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งพอจะกล่าวโดยสรุปความต้องการธาตุอาหารพืชในแต่ละช่วงอายุได้ดังนี้

1. ระยะการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้าน ในระยะนี้มักเป็นช่วงแรกของการเจริญเติบโตของพืช พืชจะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้าน สร้างลำต้นและใบ ในช่วงนี้พืชจะมีความต้องการธาตุไนโตรเจน ( N ) ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับธาตุปุ๋ยชนิดอื่น


2. ระยะการสร้างดอก แต่เดิมมักมีความเข้าใจกันว่าธาตุฟอสฟอรัส ( P ) จะช่วยกระตุ้นการสร้างตาดอก แต่จากผลการทดลองในไม้ผลหลายชนิดของศูนย์วิจัยพืชสวน พบว่าการใช้ปุ๋ยที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสไม่มีผลต่อการกระตุ้นให้ไม้ผลสร้างตาดอก แต่ฟอสฟอรัสจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาของดอก ส่วนการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตาใบเป็นตาดอกนั้นจะเป็นอิทธิพลของระดับฮอร์โมนในต้นพืช


3. ระยะการสร้างผลและเมล็ด ในระยะนี้พืชจะมีการสะสมอาหารในผลและเมล็ด โดยสารอาหารที่พืชสะสมประเภทหนึ่ง คือ แป้งและน้ำตาล ธาตุปุ๋ยที่ช่วยส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล คือ โพแทสเซียม ( K ) เกษตรกรบางรายจึงเรียกปุ๋ยที่ให้ธาตุโพแทสเซียมว่าปุ๋ยหวาน เนื่องจากสมบัติในการส่งเสริมคุณภาพของผลผลิตทางด้านการส่งเสริมการสะสมน้ำตาลในผลผลิตนั้นเอง



http://donchedi.suphanburi.doae.go.th/opi.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 7:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

229. จุฬาฯ เปิดตัวไส้เดือนดินไทยแท้ 5 ชนิดใหม่ของโลก


คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – นักอนุกรมวิธานจุฬาเปิดตัวไส้เดือนไทยแท้ 5 ชนิดใหม่ของโลก หลังจากเริ่มสำรวจเมื่อปี 2552 เผยไทยเคยศึกษาและมีรายงานการพบไส้เดือนดิน 24 ชนิด เมื่อ 70 ปีก่อน หลังจากนั้นยังไม่พบรายงานชนิดใหม่ ชี้สิ่งมีชีวิตขนิดนี้เป็นโรงงานผลิตปุ๋ยในธรรมชาติ

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา นักวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยซิสเทมาติกส์ของสัตว์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไส้เดือนดินในประเทศไทยมีการรายงานครั้งแรกเมื่อประมาณ 70 ปีที่แล้ว โดยมีการรายงานไว้ทั้งสิ้น 24 ชนิด (Gates, 1939) หลังจากนั้นแม้ว่าจะมีการศึกษาเพิ่มเติมบ้างแต่เป็นการศึกษาในบางพื้นที่เท่านั้นและยังไม่เคยมีการรายงานชนิดใหม่เกิดขึ้น

จนกระทั่งปี 2554 จากการที่ได้สำรวจไส้เดือนดินที่จังหวัดน่าน พบว่าไส้เดือนส่วนใหญ่จัดอยู่ในวงศ์ Megascolecidae พบทั้งสิ้น 18 ชนิด โดยมีไส้เดือนที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่คือ Amynthas alexandri, Metaphire anomala, M. houlleti, M. peguana (ไส้เดือนขี้ตาแร่) และ M. posthuma (ไส้เดือนขี้คู้) ศ.ดร.สมศักดิ์และคณะได้มีการสำรวจเกี่ยวกับไส้เดือนมาตั้งแต่ปี 2552 และประสบความสำเร็จในการค้นพบและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติในปี 2554 อีก 5 ชนิดใหม่ของโลก


ไส้เดือน 5 ชนิดใหม่ของโลกที่ยังไม่มีการระบุชื่อสามัญ ได้แก่

1.Amynthas borealis Panha & Bantaowong, 2011 เป็นไส้เดือนดินขนาดเล็กยาว 4-5 เซนติเมตร มีจำนวนช่องรับสเปิร์ม (spermathecal pores) 1 คู่ ระหว่างปล้องที่ 7/8 ไคลเทลลัม (clitellum) อยู่ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้องที่ 14 ในขณะที่ช่องเปิดเพศผู้จำนวน 1 คู่ โดยระหว่างช่องเปิดเพศผู้บนปล้องที่ 18 จะนูนและมีสันยาวคมชัดขวางอยู่บนช่องเปิดเพศผู้ทั้งสอง

ลักษณะภายใน ถุงรับสเปิร์ม (spermatheca) มีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ diverticulum เป็นท่อยาว และไม่พบ genital marking glands (ช่องอวัยวะสืบพันธ์)

สถานที่พบ : ไส้เดือนชนิดนี้พบอาศัยอยู่บริเวณเขาหินปูนซึ่งเป็นภูเขาเล็กๆ ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน และพื้นที่ป่าส่วนใหญ่กำลังถูกบุกรุกด้วยการแผ้วถางและเผาป่า




2. Amynthas phatubensis Panha & Bantaowong, 2011 เป็นไส้เดือนดินขนาดปลานกลางยาว 8-15 ซม. มีจำนวน 85-114 ปล้อง ลักษณะสำคัญของไส้เดือนชนิดนี้คือ มีช่องรับสเปิร์ม (spermathecal pores) เพียง 1 คู่อยู่ระหว่างปล้องที่ 7/8 ไคลเทลลัม (clitellum) อยู่ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้องที่ 14 ช่องเปิดเพศผู้แม้ว่าจะมองเห็นได้ยากแต่ก็สามารถสังเกตได้จาก genital markings ที่จะพบเป็นจำนวนมากประมาณ 6 อันเรียงรายอยู่โดยรอบช่องเปิดเพศผู้ นอกจากนี้ยังพบ genital markings จำนวน 1 คู่ บนปล้องที่ 17 และบริเวณใกล้ๆ กับช่องรับสเปิร์ม คือ ปล้องที่ 7 และ 8 อีกด้วย

ลักษณะภายใน ลักษณะของถุงรับสเปิร์ม (spermatheca) เป็นถุงรูปไข่ขนาดใหญ่ และตรงโคน diverticulum จะคดงอแต่ส่วนปลายเป็นปุ่มกลม ลักษณะที่สำคัญก็คือ พบ genital marking gland มีลักษณะเป็นก้อนติดอยู่กับผนังลำตัวด้านในตรงปล้องที่ 7 และ 8

สถานที่พบ : ไส้เดือนชนิดนี้พบเป็นจำนวนมากอาศัยอยู่ตามเขาหินปูน บริเวณวนอุทยานถ้ำผาตูบ อ.เมือง จ. น่าน




3. Amynthas srinan Panha & Bantaowong, 2011 ไส้เดือนขนาดเล็กยาว 3-4 ซม. มีจำนวน 52-78 ปล้อง ลักษณะสำคัญของไส้เดือนชนิดนี้คือ มีช่องรับสเปิร์ม (spermathecal pores) 1 คู่อยู่ระหว่างปล้องที่ 7/8 ไคลเทลลัม (clitellum) อยู่ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้องที่ 14 ส่วนช่องเปิดเพศผู้อยู่ปล้องที่ 18 เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน และลักษณะเด่นของไส้เดือนชนิดนี้ก็คือ มี genital markings เป็นคู่ จำนวน 4 คู่ บนปล้องที่ 7, 8, 17 และ 18

ลักษณะภายใน ถุงรับสเปิร์ม (spermatheca) มีลักษณะคล้ายรูปไตอยู่ภายในปล้องที่ 8 และจะพบ genital marking glands มีลักษณะแบบมีก้านชูอยู่ตำแหน่งเดียวกับ genital marking ที่พบอยู่ด้านนอก

สถานที่พบ: เป็นไส้เดือนขนาดเล็กพบค่อนข้างชุกชุมในอุทยานแห่งชาติศรีน่าน โดยจะพบอาศัยอยู่ตามใต้ซากใบไม้ทับถมที่เปียกชื้น



4. Amynthas tontong Panha & Bantaowong, 2011 เป็นไส้เดือนขนาดเล็กยาวประมาณ 4 ซม. มีจำนวน 70-80 ปล้อง ลักษณะสำคัญคือมี มีช่องรับสเปิร์ม (spermathecal pores) 1 คู่อยู่ระหว่างปล้องที่ 7/8 ไคลเทลลัม (clitellum) อยู่ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้องที่ 14 ส่วนช่องเปิดเพศผู้อยู่ปล้องที่ 18 เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน และมี genital markings 1 คู่ อยู่ระหว่างปล้องที่ 18/19

ลักษณะภายใน : ถุงรับสเปิร์ม (spermatheca) มีลักษณะคล้ายรูปนิ้วหัวแม่มือ diverticulum เป็นก้านตรงยาวส่วนปลายเป็นปุ่มกลม

สถานที่พบ : พบที่น้ำตกต้นตอง อ. ปัว จ.น่าน



5. Metaphire grandipenes Bantaowong & Panha, 2011 ไส้เดือนขนาดปานกลางประมาณ 10 ซม. จำนวน 195 ปล้อง มีช่องรับสเปิร์ม (spermathecal pores) 3 คู่ ระหว่างปล้องที่ 5/6-7/8 ลักษณะเด่นของไส้เดือนชนิดนี้คือช่องเปิดเพศผู้ (male pores) ซึ่งอยู่บนปล้องที่ 18 ยื่นยาวออกมานอกลำตัวอย่างชัดเจน และมี genital markings ขนาดใหญ่อยู่บนปล้องที่ 19

ลักษณะภายใน ถุงรับสเปิร์ม (spermatheca) มีรูปไข่ค่อนข้างกลม diverticulum ขดไปมา และมี genital marking glands ขนาดใหญ่ติดอยู่บนปล้องที่ 19

สถานที่พบ พื้นที่ป่าชุมชน ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน




ศ.ดร.สมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การค้นพบไส้เดือนดินชนิดใหม่ในจังหวัดน่านครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของงานอนุกรมวิธานไส้เดือนของไทยที่ห่างหายและไม่เคยมีการรายงานมานานมากกว่า 70 ปี ที่สำคัญยังเป็นการค้นพบและรายงานโดยคนไทยอีกด้วย และคาดว่าประเทศไทยน่าจะมีความหลากหลายของไส้เดือนสูงไม่แพ้ประเทศอื่นเพราะบ้านเรามีความหลากหลายทางระบบนิเวศสูง

“ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์อย่างมากในการสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินและย่อยสลายซากอินทรียวัตถุต่างๆ จึงเท่ากับเป็นการพรวนดินและสร้างอินทรีย์สารให้กับดิน ทำให้ดินร่วนซุย เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ไส้เดือนจึงเปรียบเสมือน “โรงงานผลิตปุ๋ยเคลื่อนที่” ให้กับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี” ศ.ดร.สมศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้ เป็นการเปิดเผยระหว่าง การประชุมครั้งที่ 1 อนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ของไทยในประเทศไทย (The 1st Conference on Taxonomy and Systematics in Thailand) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 พ.ค.นี้ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอบแก่น และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีการนำเสนองานวิจัยทั้งที่เคยเผยแพร่ผ่านสื่อแล้ว และยังไม่เคยเผยแพร่มาก่อน

ภายในงานดังกล่าว มีนักอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ของประเทศไทย จำนวน 200 คน เข้าร่วมงานมีการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับ พืช 60 เรื่อง สัตว์ 100 เรื่อง และจุลินทรีย์ 40 เรื่อง นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการรวมรวมนักอนุกรมวิธาน เพื่อเป็นการหาแนวร่วมในการพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย


http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000053823
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/08/2011 7:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

230. เกษตรยั่งยืน กับแหล่งที่มาของธาตุอาหารในดิน


โดย สรสิทธิ์ วัชโรทยาน


ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชมี 2 ปัจจัยหลักๆ คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

พันธุกรรมเป็นลักษณะที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่พันธุ์

ส่วนสิ่งแวดล้อมนั้นประกอบด้วยสิ่งที่อยู่รอบตัวพืช ซึ่งเป็นทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต

สิ่งมีชีวิต ได้แก่ จุลินทรีย์ พืช สัตว์ และมนุษย์ ส่วนสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ เช่น แดด ฝน และอุณหภูมิ คุณสมบัติของดิน และอื่นๆ เป็นต้น

ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่ประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งแวดล้อมพืช ล้วนมีอิทธิพลที่เกี่ยวเนื่องกัน เมื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป ก็ย่อมส่งผลกระทบซึ่งกันและกันทั้งระบบโดยอาจมีผลในด้านบวกหรือด้านลบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชได้

ชนิดและปริมาณของธาตุอาหารในดินก็นับเป็นสิ่งแวดล้อมพืชที่สำคัญ แหล่งที่มาของธาตุอาหารในดินที่ใช้ทำการเกษตรมาจาก 2 แหล่ง คือ จากภายในดินเอง และนำเข้ามาจากภายนอก

ธาตุอาหารพืชที่เกิดขึ้นจากภายในดินเองนั้น เกิดจากการผุพังสลายตัวของแร่ธาตุและอินทรียวัตถุดั้งเดิมในดิน และจากบรรยากาศ เช่นการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของพืชตระกูลถั่วและธาตุอาหารพืชที่ละลายมากับน้ำฝน เป็นต้น

สำหรับธาตุอาหารพืชที่นำเข้าสู่ดินจากภายนอก ยังแบ่งย่อยออกได้ 2 ประเภท คือ ที่ได้มาในรูปอินทรีย์สาร ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ฟางข้าว เป็นต้น

ส่วนในรูปอนินทรีย์สาร ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ซึ่งผลิตจากธาตุไนโตรเจนจากอากาศ แร่ฟอสเฟต และแร่โพแทส

เกษตรธรรมชาติ เป็นวิธีการเกษตรที่เน้นเรื่องไม่มีการนำธาตุอาหารพืชจากภายนอกเข้าสู่ระบบ และไม่ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด จะเป็นระบบที่ยั่งยืนได้ก็ในสภาพของการปลูกป่าถาวรหรือการครองชีพที่ประหยัดแบบพอมีพอกินที่ไม่โลภและไม่เห็นแก่ตัว อันเป็นสภาพชีวิตในอุดมการณ์ของประชาชนที่สละแล้วซึ่งกิเลสทั้งปวง

เกษตรอินทรีย์เป็นวิธีการเกษตรที่มีการนำธาตุอาหารพืชจากภายนอกเข้าสู่ระบบ แต่ธาตุอาหารพืชที่นำเข้ามานั้น อยู่ในรูปอินทรียสารเท่านั้น เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ฟางข้าว ฯลฯ และไม่ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่เป็นสารเคมีในทุกกรณี รวมทั้งปุ๋ยเคมีเช่นกัน จะเป็นระบบที่ยั่งยืนได้ก็ในระดับของแต่ละไร่นา หรือตัวเกษตรกรคนใดคนหนึ่ง โดยเน้นการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของตนเอง และเพื่อการพอมีพอกินของตนเองเป็นหลัก

ดังนั้นแนวทางของเกษตรยั่งยืนซึ่งมองต่างมุมกันในลักษณะพูดกันคนละเรื่องเดียวกันนั้นเมื่อพิจารณาถึงวิธีการจัดการแหล่งของธาตุอาหารพืชในดินแล้วจึงอาจกล่าวได้ว่าทั้งแบบเกษตรธรรมชาติ และเกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช่เป็นคำตอบสุดท้าย

หลักการจัดการทรัพยากรดินตามแนวทางเกษตรยั่งยืน

หลักการ "เกษตรยั่งยืน" ที่ยอมรับกันในสากลนั้น จะต้องเป็นการเกษตรกรรมที่มีการจัดการทรัพยากรต่างๆ ให้การผลิตทางเกษตรที่จะสามารถสนองความต้องการที่จำเป็นของมนุษย์ได้ทั้งปัจจุบันและในอนาคต โดยมีการจัดการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อมกัน


หากพิจารณาตามหลักการนี้ การจัดการทรัพยากรดินตามแนวของการเกษตรยั่งยืนจะต้องประกอบด้วยแนวทางการปฏิบัติดังนี้คือ

1. มีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยเทคโนโลยีเพื่อให้ผลผลิตต่อไร่สูง หรือเพื่อให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดไป ทั้งนี้เพื่อให้มีปริมาณผลผลิตรวมมากพอที่จะเลี้ยงประชากรของประเทศที่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ เพราะปัจจุบันไม่อาจเพิ่มผลผลิตโดยการบุกรุกและขยายพื้นที่เพาะปลูกโดยการถางป่าได้อีกต่อไป จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการปรับปรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์พืชและระบบการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสม ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและน้ำ ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในแต่ละท้องที่

2. มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ที่ใช้ในการผลิตอย่างเหมาะสมร่วมด้วย หากเป็นระบบที่ไม่มีการอนุรักษ์ทรัพยากรควบคู่ไปด้วย จะทำให้ทรัพยากรเสื่อมสภาพ เช่น ดินเสื่อมโทรม และเกิดภาวะแห้งแล้ง ซึ่งจะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงจนไม่อาจทำการเกษตรได้อีกต่อไป

3. เป็นการปฏิบัติที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ เป็นระบบที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม และสามารถปฏิบัติติดต่อกันไปได้นานหรือตลอดไป โดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์

4. จะต้องมีมาตรการสงวนและควบคุมการใช้ที่ดินเกษตรกรรมชั้นหนึ่ง ให้คงไว้สำหรับการเพาะปลูกพืชเป็นการเฉพาะตลอดไป

หน้าที่ของเกษตรกรกับการใช้ทรัพยากรดินในแนวทางเกษตรยั่งยืน

ดินหลังจากเปิดป่าใหม่ๆ จะเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ ดินจะมีสภาพโปร่งและร่วนซุยซึ่งเรียกว่าดินมีสภาพโครงสร้างที่ดีเมื่อเกษตรกรปลูกพืช พืชก็จะเจริญเติบโตงอกงามและให้ผลผลิตสูง

เมื่อดินถูกใช้ทำการเพาะปลูกเป็นเวลานาน ดินจะมีสภาพเสื่อมโทรมลง กล่าวคือ ธาตุอาหารในดินหรือที่เรียกว่าปุ๋ยเดิมในดินจะหมดไป อีกทั้งสภาพโครงสร้างของดินจะค่อยๆ เสียไปจากดินที่เคยโปร่งและร่วนซุยก็จะกลับแน่นทึบและแข็งไถพรวนยาก ดินจะเปลี่ยนจากดินดีกลายเป็นดินเลว ซึ่งในสภาพดังกล่าวจะไม่สามารถปลูกพืชให้ได้ผลดีอีกต่อไป

เพื่อให้ดินอยู่ในสภาพที่สามารถให้ทำการเพาะปลูกในระบบเกษตรกรที่ยั่งยืนตลอดไป เกษตรกรจะต้องรับผิดชอบในการคืนสมดุลของธรรมชาติกลับสู่ดินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยจะต้องปรับปรุงดินให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ทั้งในด้านโครงสร้างของดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินด้วยวิธีต่างๆ เช่น ด้วยการหมั่นใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือการปลูกพืชบำรุงดิน และปลูกพืชหมุนเวียนต่างๆ และในด้านธาตุอาหารพืชในดินด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่ขาดอยู่ หรือชดเชยธาตุอาหารในดินที่สูญเสียไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวไปจากไร่นา

การคืนสมดุลของธรรมชาติทั้งในด้านโครงสร้างของดินและธาตุอาหารพืชกลับสู่ดินโดยวิธีดังกล่าวข้างต้น จึงถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญของเกษตรกรในแนวทางเกษตรยั่งยืน



http://www.ssnm.agr.ku.ac.th/main/Ac_News/Soil_Fertility.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 8 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©