-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มะลิวันแม่....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มะลิวันแม่....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 6:18 pm    ชื่อกระทู้: มะลิวันแม่.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พังงา - มะลิวันแม่ พุ่ง 1,000/กก.





ช่วงเทศกาลวันแม่แห่งชาติ สวนมะลิในพื้นที่จังหวัดพังงา ปรับราคาสูงกว่าเท่าตัวจาก กก.ละ 400 บาท เป็น 1,000/กก.
แม่ค้าดอกมะลิ เผยต้องสั่งซื้อในราคาที่สูงลิ่วอีกทั้งหาซื้อยาก

ผู้สื่อข่าวออกสำรวจร้านจำหน่ายดอกไม้สดในพื้นที่ต่างๆของจังหวัดพังงา โดยเฉพาะที่ตลาดสด บขส.ตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า
จังหวัดพังงา พวงมาลัยดอกมะลิหลายขนาดที่จำหน่ายในตลาดสดแห่งนี้ปรับราคาสูงขึ้นหลายเท่าตัว เนื่องจากสภาพอากาศใน
ระยะนี้ ทำให้มะลิออกดอกน้อยจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า และยิ่งใกล้วันแม่ทางร้านจำหน่ายดอกไม้สดมี
ความต้องการดอกมะลิสดกันมาก ทำให้สวนมะลิปรับราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 400 บาท เป็นกิโลกรัมละ 1,000 บาท
ทำให้ผู้จำหน่ายพวงมาลัยดอกมะลิต้องปรับขึ้นราคาตามไปด้วย

โดยมะลิพวงเล็กจาก 10-15 บาท เป็นพวงละ 20 บาท พวงกลาง 40 เป็น 50 บาท ขณะที่พวงใหญ่จาก 90 บาท เป็น
100 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่ซื้อดอกมะลิมาจากสวน ซึ่งแม้จะปรับราคาแต่จำนวนดอกมะลิก็ยังไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการของลูกค้าที่ยังมีมาก

ทางด้าน นางวีนา เกื้อสกุล แม่ค้าขายดอกไม้ตลาดสด บขส.ตะกั่วป่า เปิดเผยว่า ดอกมะลิที่สั่งจากอำเภอท้ายเหมือง
จังหวัดพังงา ถ้าเป็นมะลิสวนจะตกราคากิโลกรัมละ 400 บาทในช่วงวันธรรมดา แต่ขณะนี้ดอกมะลิเริ่มขาดตลาดและปรับร
าคา จำเป็นต้องสั่งดอกมะลิมาจากกรุงเทพฯในกิโลกรัมละ 1,000 บาท ซึ่งในตอนนี้มีลูกค้ามาสั่งจองพวงมาลัยหลายขนาด
เพื่อนำไปมอบให้แม่ ในวันที่ 12 สิงหาคม กันมากมายแล้ว ซึ่งในตอนนี้ทางร้านต้องสั่งดอกมะลิสดมาไว้จำนวนมากให้เพียง
พอต่อความต้องการของลูกค้า



http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/42394/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2-%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87-1-000-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97-%E0%B8%81%E0%B8%81-.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2011 7:01 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 6:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้อนรับวันแม่ ดอกมะลิราคาพุ่งพรวด





ดอกมะลิ ราคาพุ่งกระฉูดรับวันแม่ ลิตรละ 350 บาท หลังปชช.แห่ซื้อแสดงความรักแด่แม่บังเกิดเกล้า

วันนี้(9 ส.ค.) รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า ราคาดอกมะลิในช่วงวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.นี้ ที่ตลาดค้าส่งดอกไม้สดย่านปากคลองตลาด
มีราคาเพิ่มขึ้นเกินกว่า 100% แล้วเมื่อเทียบกับช่วงปกติ เนื่องจากมีความต้องการใช้เพื่อไปร้อยมาลัยมะลิในวันแม่เพิ่มขึ้น ประกอบ
กับดอกมะลิเริ่มออกดอกไม่ทัน หลังเกิดฝนตกชุกและมีโรคเชื้อราระบาด ทำให้ดอกมะลิราคาแพงราคาสูงขึ้น โดย ณ วันที่ 9 ส.ค.
อยู่ลิตรละ 350 บาท เพิ่มจากปกติ 150 บาท ส่วนพวงมาลัยดอกมะลิก็ปรับเพิ่มเช่นกัน ขนาดเล็ก 5 แฉก เพิ่มจากพวงละ 20-30
บาท เป็น 70 บาท พวงใหญ่ 8 แฉก จากเดิม 100 บาท เป็น 150-200 บาท ส่วนดอกรักก็ปรับขึ้นจากลิตรละ 20-30 บาท เป็น
50 บาท

สำหรับบรรยากาศการซื้อขายดอกไม้ในวันแม่แห่งชาติ ค่อนข้างคึกคักมีประชาชน นักเรียน นักศึกษาเลือกซื้ออย่างต่อเนื่องเพื่อนำ
ไปร้อยเป็นพวงมาลัย และคาดว่าในช่วงใกล้วันแม่การซื้อขายจะคึกคักขึ้นอีก โดยเฉพาะพวงมาลัยที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง จนอาจทำให้ราคาดอกมะลิและพวงมาลัยปรับขึ้นได้ โดยพ่อค้าแม่ค้าจำหน่ายดอกมะลิคาดการณ์ว่า ราคาดอกมะลิ
จะปรับขึ้นอีกเหมือนปีที่ผ่านมา อาจสูงถึงกก.ละ 600-700 บาท เนื่องจากในช่วงนี้ดอกมะลิ เริ่มออกไม่ทัน และมีโรคเชื้อราระบาด.



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=156199&categoryID=310


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2011 7:02 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 6:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ราคาดอกมะลิพุ่ง ลิตรละ 350 บ. รับวันแม่




ดอกมะลิวันแม่ ราคาพุ่ง 100% ลิตรละ 350 บาท จากปกติ 150 บาท ต้อนรับวันแม่แห่งชาติ พร้อมจับตาราคาผักสดใกล้ชิด
หลังน้ำท่วมทำผักแพง

นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ราคาผักสด ขณะนี้หลายรายการเริ่มขึ้นราคาแล้ว เพราะผลกระทบจาก
เหตุน้ำท่วมจนผลผลิตได้รับความเสียหาย จึงได้มอบหมายให้สำนักงานการค้าภายในจังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนในช่วงเทศกาลสารทจีน และหากพบราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือขาดแคลน กรมจะเชื่อมโยงผัก
สดราคาถูกจากแหล่งผลิตลงไปช่วยแก้ปัญหา ขายผ่านแหล่งชุมชนและห้างค้าปลีก
สมัยใหม่

ทั้งนี้ ราคาผักสดในตลาด กทม.และปริมณฑลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เพราะผักส่วนใหญ่ได้รับความเสีย
หายจากสภาพอากาศที่มีฝนตกชุก เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ผลผลิตมีออกสู่ตลาดน้อยลง ราคาจึงสูงขึ้น โดยผักบุ้งจีน
เพิ่มจาก กก. 18-20 บาท เป็น 22-25 บาท ผักกวางตุ้งจาก 12-15 บาท เป็น 20-22 บาท ผักกาดขาวปลี จาก 20-22
บาท เป็น 22-25 บาท ผักชีขีดละ 5-6 บาท เป็น 9-10 บาท และพริกขี้หนูจินดาจากขีดละ 4-5 บาท เป็น 5-6 บาท

ส่วนราคาดอกมะลิ ในตลาดค้าส่งดอกไม้สดย่านปากคลองตลาด เพิ่มขึ้นกว่า 100% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ เพราะมีความ
ต้องการใช้ในช่วงวันแม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับดอกมะลิ มีโรคเชื้อราระบาด ทำให้อาจแพงขึ้นอีก โดย ณ วันที่ 9 ส.ค. อยู่ที่ลิตร
ละ 350 บาท เพิ่มจากปกติ 150 บาท คาดว่าในช่วงใกล้วันแม่ ราคาดอกมะลิและ
พวงมาลัยปรับขึ้นอีก 20-30%



http://news.voicetv.co.th/business/16007.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2011 7:03 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 6:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดอกมะลิราคาพุ่งเท่าตัวก่อนถึงวันแม่



วันที่ 8 ส.ค. เว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า เนื่องจากใกล้ถึงวันสำคัญ 12 ส.ค. วันแม่แห่งชาติ ร้านจำหน่ายดอกไม้ พวงมาลัย
ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก พากันขึ้นราคา โดยเฉพาะย่านบริเวณศาลปู่ดำ ถ.เอกาทศรถ อ.เมืองพิษณุโลก พบว่าราคาดอกมะลิ
เริ่มปรับราคาแพงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวจากเดิมเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาราคาดอกมะลิ กิโลกรัมละ 150 บาท แต่วันนี้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 330
บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากเริ่มมีประชาชนมาซื้อดอกมะลินำไปร้อยพวงมาลัยให้แม่เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ปีนี้กันแล้ว ส่วนราคาพวง
มาลัยดอกมะลิก็เริ่มปรับราคาแพงขึ้น พวงเล็ก อยู่ 50 บาท จากเดิม 20 บาท ส่วนพวงใหญ่ 150-200 บาท จากเดิม 100 บาทเท่านั้น


นางจุรีรัตน์ อยู่เย็น แม่ค้าขายดอกไม้ กล่าวว่า ปีนี้คาดว่าราคาดอกมะลิจะปรับขึ้นอีกเหมือนปีที่ผ่านมา อาจถึงกิโลกรัมละ 600-700
บาท เนื่องจากในช่วงนี้ดอกมะลิเริ่มออกไม่ทันและมีโรคเชื้อราระบาด ทำให้ดอกมะลิอาจแพงขึ้นอีก ส่วนบรรยากาศในช่วงนี้เริ่ม
มีประชาชนมาเลือกซื้อพวงมาลัยดอกมะลิไปไหว้แม่กันบ้างแล้ว คาดว่าวันที่ 12 สิงหาคม นั้นจะขายดีมากเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312803715&grpid=&catid=19&subcatid=1906


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2011 7:04 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 6:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ราคาดอกมะลิขึ้น 100% รับวันแม่






“พาณิชย์” สั่งจับตาราคาผักสดใกล้ชิด หลังน้ำท่วมทำผักแพง ส่วนดอกมะลิวันแม่ ราคาพุ่ง 100% ลิตรละ 350 บาท
จากปกติ 150 บาท

เมื่อวันที่ 9 ส.ค. นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ราคาผักสด ขณะนี้หลายรายการเริ่มขึ้นราคา
แล้ว เพราะผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมจนผลผลิตได้รับความเสียหาย จึงได้มอบหมายให้สำนักงานการค้าภายในจังหวัด
ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนในช่วงเทศกาลสารทจีน และหากพบราคาสูงขึ้นอย่าง
รวดเร็ว หรือขาดแคลน กรมจะเชื่อมโยงผักสดราคาถูกจากแหล่งผลิตลงไปช่วยแก้ปัญหา ขายผ่านแหล่งชุมชนและ
ห้างค้าปลีกสมัยใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาผักสดในตลาด กทม.และปริมณฑลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เพราะผัก
ส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศที่มีฝนตกชุก เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ผลผลิตมีออกสู่ตลาด
น้อยลง ราคาจึงสูงขึ้น โดยผักบุ้งจีนเพิ่มจาก กก. 18-20 บาท เป็น 22-25 บาท ผักกวางตุ้งจาก 12-15 บาท เป็น
20-22 บาท ผักกาดขาวปลี จาก 20-22 บาท เป็น 22-25 บาท ผักชีขีดละ 5-6 บาท เป็น 9-10 บาท และพริก
ขี้หนูจินดาจากขีดละ 4-5 บาท เป็น 5-6 บาท

ส่วนราคาดอกมะลิ ในตลาดค้าส่งดอกไม้สดย่านปากคลองตลาด เพิ่มขึ้นกว่า 100% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ
เพราะมีความต้องการใช้ในช่วงวันแม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับดอกมะลิ มีโรคเชื้อราระบาด ทำให้อาจแพงขึ้นอีก โดย
ณ วันที่ 9 ส.ค. อยู่ที่ลิตรละ 350 บาท เพิ่มจากปกติ 150 บาท คาดว่าในช่วงใกล้วันแม่ ราคาดอกมะลิและพวง
มาลัยปรับขึ้นอีก 20-30%




ขอขอบคุณสำหรับเนื้อหาข่าว คุณภาพดี จาก : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.blogspot.espicker.com/news/eco/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99100%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2011 7:04 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 7:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อานิสงส์วันแม่ดันดอกมะลิพุ่ง





รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า ราคาดอกมะลิในช่วงวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.นี้ ที่ตลาดค้าส่งดอกไม้สดย่านปากคลองตลาด มีราคาเพิ่มขึ้นเกินกว่า
100% แล้วเมื่อเทียบกับช่วงปกติ เนื่องจากมีความต้องการใช้เพื่อไปร้อยมาลัยมะลิในวันแม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับดอกมะลิเริ่มออกดอก
ไม่ทัน หลังเกิดฝนตกชุกและมีโรคเชื้อราระบาด ทำให้ดอกมะลิราคาแพงราคาสูงขึ้น

โดย ณ วันที่ 9 ส.ค. อยู่ลิตรละ 350 บาท เพิ่มจากปกติ 150 บาท ส่วนพวงมาลัยดอกมะลิก็ปรับเพิ่มเช่นกัน ขนาดเล็ก 5 แฉก เพิ่มจากพวง
ละ 20-30 บาท เป็น 70 บาท พวงใหญ่ 8 แฉก จากเดิม 100 บาท เป็น 150-200 บาท ส่วนดอกรักก็ปรับขึ้นจากลิตรละ 20-30 บาท
เป็น 50 บาท

สำหรับบรรยากาศการซื้อขายดอกไม้ในวันแม่แห่งชาติ ค่อนข้างคึกคักมีประชาชนเลือกซื้อเพื่อนำไปร้อยเป็นพวงมาลัย คาดว่าช่วงใกล้วันแม่
การซื้อขายจะคึกคักขึ้นอีก โดยเฉพาะพวงมาลัยที่ได้รับความนิยมสูง จนอาจทำให้ราคาดอกมะลิและพวงมาลัยปรับขึ้นได้ โดยคาดการณ์ว่า
ราคาดอกมะลิอาจสูงถึง กก.ละ 600-700 บาท เนื่องจากในช่วงนี้

ดอกมะลิ เริ่มออกไม่ทัน และมีโรคเชื้อราระบาด นายตุลย์ วงศ์ศุภสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและทำตลาด
ซุปไก่สกัด ตราแบรนด์ และรังนก แบรนด์ กล่าวว่า ในเทศกาลวันแม่บริษัทได้ทุ่มงบ 40 ล้านบาท เปิดตัวแบรนด์ไวท์โกลด์รังนกแท้ในน้ำ
แร่ธรรมชาติจากประเทศฝรั่งเศส สูตรจัสมินอโรม่า ซึ่งผลิตจำนวนจำกัด 10,000 ชุด วางราคาขายไว้ที่ 1,990 บาท.





ที่มา เดลินิวส์

http://www.classifiedthai.com/content.php?news=25499


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2011 7:07 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 7:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'มะลิวันแม่' มหันตภัยสารพิษแฝง !

เปิดโปง 'สารพิษ' ใน 'ดอกมะลิ' สัญลักษณ์วันแม่ 'มหันตภัย' ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น

ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ บุกนครชัยศรี จ.นครปฐม แหล่งปลูกมะลิดอกไม้เศรษฐกิจสัญลักษณ์วันแม่ เปิดเบื้องหลังแห่งความความรักความห่วงใย ที่มีมหันตภัยจากยาฆ่าแมลง ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเคลือบอยู่ เกษตรกรยอมรับ ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ก่อนส่งลำเลียงสู่ตลาด โดยอ้างว่า ต้านแมลงศัตรูพืชไม่ไหว

บนกลีบขาวและหอมของ ‘ดอกมะลิ’ ที่ถูกมนุษย์นำไปร้อยรัดกับ ‘วันแม่’ คือด้านที่สวยงามของดอกไม้ แต่อีกด้านของความขาวและหอม ที่ร้อยรัดกับชีวิตจริงของเกษตร มะลิคือดอกไม้เศรษฐกิจ ที่มีวงจรชีวิตอบร่ำด้วยสารเคมีจำนวนมาก แต่ด้วยมะลิไม่ใช่ผักผลไม้ ที่ประชาชนหยิบเข้าปาก ทั้งยังมีอายุการใช้งานแสนสั้น การตรวจสอบระแวดระวังความปลอดภัยและพิษตกค้าง จึงไม่มีใครหรือหน่วยงานไหนวิตกกังวล

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สวนมะลิของไทยออกดอกเป็นเงินเป็นทองจากการส่งออกในปี 2553 ทั้งในรูปต้น ดอก และพวงมาลัย มีมูลค่า 3,711,854 บาท


บุกนครปฐมแหล่งปลูกใหญ่ใกล้กรุง
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมะลิประมาณ 6,900 ไร่ โดยมีแหล่งปลูกใหญ่อยู่ที่จังหวัดนครปฐม ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอนครชัยศรี โดยเฉพาะที่นครชัยศรี พ่อค้าแม่ค้าปากคลองตลาดจำนวนหนึ่งยอมรับว่า ดอกมะลิมีคุณภาพดีกว่าแหล่งอื่นๆ ด้วยดอกที่แข็งและหอมกว่า

นครชัยศรีจึงเป็นพื้นที่ที่เราเลือกเพื่อค้นหาคำตอบว่า มะลิแต่ละดอกผ่านสารเคมีมากน้อยแค่ไหน กว่าจะถึงมือผู้ซื้อ จากปากคำของเกษตรกรตัวจริงเสียงจริง

จิระวัฒน์ กรรัตนวิเชียร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอนครชัยศรี ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า แหล่งปลูกมะลิใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอเมืองนครปฐม ส่วนในอำเภอนครชัยศรี พื้นที่ปลูกมะลิส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางพระ ตำบลวัดละมุด และตำบลดอนแฝก โดยแต่ละตำบลมีพื้นที่ปลูกมะลิประมาณ 101 ไร่, 123 ไร่ และ 100 ไร่ ตามลำดับ ให้ผลผลิตประมาณ 10 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน โดยระดับราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปีตกที่ 100 บาทต่อลิตร (ประมาณ 7 ขีด)

ลัดเลาะไปตามถนนสายเล็กๆ ของตำบลบางพระ จุดหมายปลายทาง คือ สวนดอกมะลิเนื้อที่ 6 ไร่ของ นายวิรัตน์ ปักษาสุขวัย 57 เขาเป็นเกษตรกรที่ปลูกดอกมะลิมานานกว่า 20 ปี

วิรัตน์ เล่ากระบวนการจากผืนดินว่างเปล่า จนถึงการงอกงามเป็นดอกมะลิว่า เริ่มต้นจะต้องทำการเตรียมพื้นที่โดยการจ้างรถแบ็คโฮทำการยกร่องเพื่อปลูกและตากดินให้แห้ง

“ต้องตากดินให้แห้ง ให้สุก ถ้าทำดินไม่ดี ปลูกแล้วรากไม่ไป รากไม่งาม เราตากดินดีๆ มันจะร่วน สุก เราจะรู้ เตรียมดินยังไม่ต้องใส่ปุ๋ย จะทำก็เอาพวกขี้หมู ขี้ไก่ มาใส่”

จากนั้นจึงนำกิ่งชำที่เตรียมไว้มาปลูก เป็นกิ่งชำที่ซื้อจากคนทำกิ่งพันธุ์อีกต่อหนึ่ง ราคาประมาณกิ่งละ 3 บาท สำหรับเนื้อที่ 6 ไร่ เขาลงทุนค่ากิ่งชำไปหมื่นกว่าบาท ซึ่งนับว่าคุ้มเพราะลงครั้งเดียวอยู่ไปได้หลายปี และในช่วงเยาว์วัย มะลิยังไม่ต้องการการดูแลที่พิถีพิถันมากนัก เพียงคอยรดน้ำและให้ปุ๋ย แต่เมื่อผ่านไป 6-8 เดือน มะลิเริ่มโตและให้ผลผลิตพร้อมจะเก็บขายวันใด หมายความว่า เงินจำนวนไม่น้อยจะถูกดึงออกจากกระเป๋าเกษตรกรให้หมดไปกับค่าสารเคมี



แบกต้นทุนยาฆ่าแมลงปีละ5 แสน
‘หนอนเจาะดอก’ คือ ศัตรูร้ายกาจที่สุดของดอกมะลิที่ทำให้โรคและศัตรูพืชอื่นๆ เป็นแค่ตัวประกอบที่ไม่สลักสำคัญเท่า การไม่ป้องกันแต่เนิ่นๆ หรือนิ่งนอนใจอาจหมายถึงหายนะของดอกมะลิชุดนั้นๆ และรายได้ที่โดนหนอนกัดกิน เป็นประสบการณ์ที่ สถาพร โพธิ์อำพร ชาวสวนมะลิอีกคนหนึ่งเคยพบเจอมาแล้ว อันเป็นที่มาของต้นทุนค่าสารเคมีจำนวนมาก...ที่ยังไม่นับต้นทุนชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่วัดได้ยากกว่า

“ปีหนึ่งผมจ่ายค่ายาประมาณสี่ห้าแสน ฉีดวันเว้นวัน ปีหนึ่งขอได้เท่าค่ายาก็พอแล้ว”
คือ ต้นทุนค่ายาปราบหนอน ที่วิรัตน์ บอกกับเรา


“ส่วนมากใช้ยา 35 เปอร์เซ็นต์ เลนเนต ปนกับอาร์กิแม็ก มันต้องดูแลเยอะ ยาตัวไหนดีก็ต้องเอามาใช้กัน ยาขวดหนึ่งแพงด้วยนะ ขวดนิดเดียวแปดเก้าร้อย ไม่ถึงลิตร 35 เปอร์เซ็นต์ขวดละ 300 กว่าบาท ใช้ประมาณ 3 ขวด อย่างละขวด ขวดเล็ก 3 ขวด ขวดใหญ่ 1 ขวด หางยา (ยาอ่อน ราคาถูก) อีก 2 ขวด ขวดละ 150 บาท ฉีดครั้งเดียวหมดเลย เราก็เปลี่ยนยาอยู่เรื่อยๆ สี่ร้อยบ้าง ห้าร้อย หกร้อย แปดร้อยบ้าง ปีหนึ่งผมใช้ยาประมาณสี่ห้าแสน ฉีดแต่ละครั้งประมาณ 2 พันกว่าบาท”



ข้อมูลจากปากเกษตรกรดูจะขัดแย้งกับข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่บอกว่า ต้นทุนการผลิตมะลิต่อไร่ต่อปี อยู่แค่ประมาณ 57,000 บาทเท่านั้น


สถาพร ปลูกมะลิมาประมาณ 5 ปี บนเนื้อที่ 5 ไร่ เขายอมรับเช่นกันว่า ต้นทุนที่แพงที่สุดของการทำสวนมะลิ คือ ปุ๋ยกับยา

“ยาตามท้องตลาดที่ซื้อมา ฉีดแล้วศัตรูพืชก็ไม่ตายนะ คือ รัฐบาลเขาคุมยา บางคนก็เลิกกันหมด นี่อาศัยว่าใส่ยามาก สมมติว่า ที่ฉลากเขียนว่าใส่ยา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ปี๊บ แต่ถ้าใช้ตามที่เขาบอกนี่หนอนไม่ตาย เราก็ใส่ 2 เท่า ถึงจะอยู่ เพราะถ้ายาอ่อนๆ แล้วเอาหนอนไม่อยู่ ต้นทุนค่ายาปีหลายแสน เดือนหนึ่งก็สามสี่หมื่น อย่างที่บ้านนี่จะฉีดยาน้อยกว่าคนอื่นเขา ผมใช้เครื่องสะพายหลังฉีด มันก็จะเปลืองยาน้อยกว่า ผมฉีดครั้งละพัน เพราะผมใช้ประหยัดยาบางครั้งต้องฉีดทุกวัน อย่างวันแม่มะลิต้องแพงแน่ๆ ก็จะเตรียมการลงทุนมากๆ บางทีลิตร 400-500 บาท ต้องกล้าลงทุนค่ายา”



ใช้หลายยี่ห้อผสมสู้แมลง
เนื่องจากประสิทธิภาพของสารเคมีต่ำลงในความรู้สึกของเกษตรกร หนำซ้ำยังมีราคาแพงขึ้น ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องแบกรับต้นทุนสูงขึ้น โดยใช้สารเคมีหลายตัวผสมกันและใช้มากกว่าที่ฉลากกำหนด และแต่ละรายก็จะมีสูตรในการผสมของตนเอง ซึ่งมักไม่ค่อยบอกกัน แต่จะยึด ‘ความแรง’ เป็นหลัก คือ ฉีดทีเดียวหนอนต้องตาย

ขณะเดียวกัน สถานการณ์ทำนองนี้ก็เป็นช่องทางให้เกิดการจำหน่ายสารเคมีผิดกฎหมาย เพราะเกษตรกรต้องการยาที่แรงกว่าที่มีอยู่ในท้องตลาด สถาพรเปิดเผยว่า

“อย่างบริษัทยา เขามาดู เอายามาฉีด ถ้ามันอยู่ เขาก็จะทำยาของตัวเอง เหมือนเป็นยาที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ ฉีดแล้วมันแรง หนอนตาย แต่บริษัทก็ฉลาด ทำอ่อนลง คนก็เลิกใช้ มันจะดีแค่ครั้งสองครั้ง แต่ก็ไม่ใช่พวกบริษัทโดยตรง เหมือนเป็นพวกเซลล์เอามาขายเอง ไม่ผ่านบริษัท แล้วเราก็ซื้อจากเซลล์ บางทีเราก็เลิกซื้อเพราะเอากำไรมากไป คือ เรารู้ ฉีดดู นี่ยาอ่อน ก็เลิกซื้อ

ตอนนี้ไม่มีแล้ว มีบริษัทใหม่เข้ามาดู ปกติตอนนี้ผมไม่ได้ซื้อยาพวกนั้นแล้ว จะซื้อยาที่เขาควบคุม ที่ขายตามท้องตลาด แต่อาศัยว่าใช้มาก อย่างยาที่บริษัทส่งมาหรือเซลล์มาขาย บางทีก็หายไป นานๆ มาที เราก็ไม่มียาฉีด เราก็ต้องซื้อตามท้องตลาดนี่แหละ อาศัยว่าใส่เยอะๆ”

จากการขอดูขวดบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่า สารเคมีบางตัวระบุเพียงยี่ห้อ ‘โปร-แม็กนั่ม’ ประโยชน์ วิธีใช้ และวิธีการเก็บรักษาเท่านั้น ซึ่งขัดต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะต้องระบุ ชื่อการค้าของผลิตภัณฑ์, ชื่อสามัญ, ชื่อวิทยาศาสตร์ของสารสำคัญ, อัตราส่วนผสมและลักษณะของผลิตภัณฑ์, ประเภทการใช้, ประโยชน์ วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา พร้อมคำเตือน, อาการเกิดพิษ การแก้พิษเบื้องต้น คำแนะนำให้ไปพบแพทย์พร้อมฉลาก และคำแนะนำสำหรับแพทย์ (ถ้ามี), ชื่อผู้ผลิตและชื่อผู้จำหน่าย สถานที่ตั้งทำการ โรงงาน, ขนาดบรรจุ, เดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุการใช้ (ถ้ามี), เลขทะเบียนวัตถุอันตราย และเครื่องหมายและข้อความแสดงคำเตือนให้ระมัดระวังอันตราย

“ขวดเล็ก (โปร-แม็กนั่ม) 250 ซีซี .นี่เขาว่าเป็นหัวยา เขาว่าบางทีหนอนลงฉีดไม่ตาย แต่แมลงไม่เข้าสวน มันระคายอะไรของมันก็ไม่รู้ ก็เลยต้องเอามาบวกกัน ใส่ในถังเดียว คนๆๆ ซัดเลย ขวดละ 500 ใช้ครั้งเดียว เดือนหลายขวด นี่สวนเล็กนะ สวนใหญ่ใช้มากกว่านี้อีก” สถาพร กล่าว



ฝนตกต้องฉีดซ้ำ
วิรัตน์ บอกว่า ถ้าหนอนลงเยอะก็จะใช้หัวยาตัวนี้แบบไม่ผสมอะไรเลย เขาถึงกับบอกว่า ถ้าไม่ได้ตัวนี้ก็เอาหนอนไม่อยู่ด้วย ต้นทุนค่ายานับแสนบาทต่อปี การเก็บมะลิขายแต่ละรอบ บางครั้งก็ได้กำไร บางครั้งก็ขาดทุน เอามาหักกลบกันแม้จะไม่ถึงกับทำให้ร่ำรวย แต่ก็ถือว่ามีกำไรพอสมควร

และยิ่งเข้าใกล้วันแม่เช่นนี้ ปริมาณดอกมะลิที่ผลิตได้มีจำนวนไม่มากทำให้ราคาเคยพุ่งสูงถึงลิตรละ 500 บาท ช่วงก่อนถึงวันแม่ประมาณ 1 เดือน จึงเป็นช่วงที่เกษตรกรจะทำการ ‘หวด’ หรือ ริดยอดต้นมะลิออก เพื่อให้แตกยอดออกดอกชุดใหม่พอดีกับช่วงวันแม่ ผลพวงจากรายได้ที่รออยู่ เป็นเหตุให้ช่วงเวลานี้เกษตรกรจะต้องประคบประหงมดอกมะลิในสวนด้วยการระวังหนอนเจาะดอกเป็นพิเศษ ซึ่งหมายถึงปริมาณสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นย่อมมากขึ้นตามไปด้วย

แต่ก็ต้องคอยภาวนาไม่ให้ฝนตกลงมาชะยาที่เพิ่งฉีดไป ทั้ง “วิรัตน์” และ “สถาพร” ล้วนเคยผ่านประสบการณ์ฝนฟ้าไม่เป็นใจ ยาที่หวังจะฆ่าหนอนหายไปกับสายฝน วันรุ่งขึ้นก็ต้องฉีดซ้ำก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ บางครั้งการฉีดยาตอนเช้า ตอนเย็นเก็บ ตอนดึกขายที่ปากคลองตลาด ก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น

คงเห็นแล้วว่า กว่ามะลิสักดอกจะเดินทางจากสวนมาถึงปากคลองตลาด และถูกส่งผ่านถึงมือผู้บริโภคในวันสำคัญอย่างวันแม่ (หรือวันไหนๆ) จะต้องผ่านสารเคมีปริมาณมากเพียงใด ซึ่งดูจะเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเลือกมากนักทั้งผู้บริโภคและเกษตรกร ?



รู้จักดอกมะลิ
มะลิ เป็นพืชในสกุล Jasminumวงศ์ Oleaceae มีทั้งไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ไม้รอเลื้อย รวมทั้งสิ้นประมาณ 200 ชนิด โดยพืชตระกูลมะลิเป็นไม้พื้นเมือง ในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 25 ชนิด บางชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาคของประเทศ แต่พันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเป็นการค้า ได้แก่ มะลิลา ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน มีขน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสีขาว ช่อละ 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน มีกลิ่นหอม มะลิลาที่เป็นพันธุ์ส่งเสริม ได้แก่ พันธุ์แม่กลอง พันธุ์ราษฎร์บูรณะ และพันธุ์ชุมพร (ข้อมูลจากหนังสือ ‘เทคโนโลยีการผลิตมะลิ’ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร)


ดอกมะลิกลายเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่เมื่อคณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรัฐบาลได้กำหนดให้วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เมื่อปี 2519 อีกทั้งยังกำหนดให้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ แทนความหมายของความรักที่บริสุทธิ์




(หมายเหตุ : ที่มา : http://www.tcijthai.com/)

http://www.komchadluek.net/detail/20110810/105591/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%87!.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 7:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ ปลูกมะลิเขตพื้นที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ
1) ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและ สังคมบางประการของเกษตรกร
2) สภาพการปลูกมะลิของเกษตรกร
3) ความรู้เพื่อเพิ่มผลผลิตมะลิ ในฤดูหนาว
4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตและมะลิในฤดูหนาว และ
5) ความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล และสังคมของเกษตรกรกับความรู้เพื่อเพิ่มผลผลิตมะลิในฤดูหนาว

ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะลิในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 60 ครัวเรือน

เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ มัชฌิมเลข คณิต และค่าสหสัมพันธ์

ทดสอบหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้โดยวิธี Kuder Richardson-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.34

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ การปลูกมะลิ อาชีพรอง คือ การทำนาและการทำสวนแบบผสมผสาน

พื้นที่ปลูกมะลิเฉลี่ยครัวเรือนละ 8.58 ไร่ มีสมาชิกใน ครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน

เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตมะลิในฤดูหนาว

แหล่งความรู้ด้านการปลูกมะลิส่วนใหญ่ได้มาจากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งมี ประสบการณ์เฉลี่ย 7.68 ปี

พันธุ์มะลิที่นิยมปลูก คือ พันธุ์ราษฎร์บูรณะ
แมลงศัตรูที่พบมาก คือ หนอนเจาะดอกมะลิ (Hendecasis duplifascialis)

เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการ เพิ่มผลผลิตมะลิในฤดูหนาวอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีประเด็นความรู้เกี่ยวกับการเก็บรักษาผลผลิตและการขยายพันธุ์พืชมากที่สุด

ด้านการปฏิบัติพบว่า เกษตรกรมีการปฏิบัติด้านการ ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะลิมากที่สุด

ปัญหาที่สำคัญของเกษตรกร คือ การระบาดของหนอนเจาะดอกมะลิ (Hendecasis duplifascialis) รองลงมา คือ เรื่องปุ๋ย และสารเคมีมีราคาแพง

ข้อเสนอแนะ คือ เกษตรกรต้องการสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง และให้ส่วนราชการมีการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับ การเพิ่มผลผลิตและการควบคุมแมลงศัตรูมะลิโดยวิธีผสมผสาน ซึ่งควรให้เกษตรกรมีส่วนร่วมด้วย

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เพื่อเพิ่มผลผลิตมะลิในฤดูหนาวพบว่า จำนวนพื้นที่ถือครองทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับความรู้เพื่อเพิ่มผลผลิตมะลิในฤดูหนาวที่ระดับ .05




http://www.thaithesis.org/detail.php?id=29058


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/08/2011 9:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 8:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนวทางการแก้ไขปัญหาหนอนเจาะดอกมะลิ



มะลิ; ดอก; หนอนเจาะดอก; การป้องกันกำจัด; กับดักแสงไฟ; มุ้งตาข่าย

บทคัดย่อ : จากการศึกษาเกี่ยวกับหนอนเจาะดอกมะลิ (Jasmine flower borer : Hendecasis duplifascialis Hampson)

โดยรวบรวมข้อมูลจากผลงานปี 2528-2529 ที่ จ.ศรีษะเกษ สรุปได้ว่า หนอนเจาะดอกมะลิมีตัวเบียนหนอน 4 ชนิดด้วยกัน โดยมีแตนเบียน Phanerotoma hendecasisella มีบทบาทมากในการเป็นสาเหตุการตายของหนอน โดยทำให้หนอน (ทุกระยะ) ตายมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ โดยในธรรมชาติหนอนจะมี อัตราการอยู่รอด 0.5 เปอร์เซ็นต์

จากการติดตั้งกับดักแสงไฟสีฟ้าที่ระดับ 0.5 ม. เหนือต้นมะลิเป็นเวลา 4 เดือน จะจับผีเสื้อหนอนเจาะดอกมะลิได้ถึง 982 และ 1400 ตัว ในปี 2528 และ 2529 ตามลำดับ

รวมทั้งจับตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูมะลิอื่นๆ เช่น หนอนฟัก หนอนลายจุด หนอนม้วนใบ รวมทั้งแมลงศัตรูกุหลาบที่ปลูกอยู่ใกล้เคียงกัน เช่น ด้วงกุหลาบ ผีเสื้อหนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นต้น

การติดตั้งกับดักแสงไฟจะมีดอกถูกทำลายน้อยกว่าและมีศัตรูธรรมชาติมากในแปลงที่มีการพ่นสารฆ่าแมลง รวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาก

การปลูกมะลิในมุ้งตาข่ายสีขาว (ขนาด 16 ช่องต่อตารางนิ้ว) ระหว่างตุลาคม 2532 ถึง พฤษภาคม 2533 ที่ จ.กาญจนบุรี จะทำให้สามารถเก็บดอกมะลิส่งตลาดได้มากกว่าการปลูกตามปกติและไม่ต้องใช้สารฆ่าแมลงเลย



http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb4.exe?rec_id=002999&database=agdb4&search_type=link&table=mona&back_path=/agdb4/mona&lang=thai&format_name=TFMON
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 8:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การป้องกันและกำจัดศัตรู ไม้ดอกไม้ประดับ


การป้องกันกำจัดศัตรูไม้ดอกไม้ประดับในปัจจุบัน ผู้ปลูกนิยมใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดเป็นหลัก โดยใช้ในปริมาณสูงและใช้สารเคมีหลายชนิดผสมกันในการฉีดพ่นเนื่องจากวัตถุ ประสงค์ของการปลูกไม้ดอกไม้ประดับนั้นเพื่อความสวยงาม ไม่ให้มีร่องรอยการทำลายของแมลง สัตว์ศัตรูพืช หรือโรคพืช ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ สารเคมีจะก่อให้เกิดโทษต่อสุขภาพของผู้ใช้ และสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม ผู้ปลูกต้องเพิ่มต้นทุนซื้อสารเคมีในการผลิตมากขึ้น

นอกจากนี้ การใช้สารเคมีที่ไม่ตรงกับชนิดของศัตรูพืชจะเป็นการสิ้นเปลืองและไม่สามารถ ป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ และการใช้สารเคมี ชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นเวลานานนั้นจะทำให้ศัตรูพืชดื้อยา แม้ว่าจะมีการใช้สารเคมีในปริมาณสูงขึ้นก็ตาม

ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันกำจัดศัตรูไม้ดอกไม้ประดับให้มีประสิทธิภาพผู้ปลูกจะต้อง รู้สาเหตุของอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากศัตรูพืชชนิดใด แล้วจึงใช้วิธีการป้องกันกำจัดเสมอไป

เนื่องจากอาการผิดปกติของไม้ดอกไม้ประดับอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ เกิดจากการทำลายของแมลง สัตว์ศัตรูพืช โรคพืช วัชพืช การขาดธาตุอาหารสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม หือเกิดจากพิษ ตกค้างของสารเคมี เป็นต้น โดยวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูไม้ดอกไม้ประดับมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ดังนี้ คือ



1. วิธีเขตกรรม
เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชในการแก้ไขปัญหาศัตรูไม้ดอกไม้ประดับ ได้แก่

- การคัดเลือกพันธุ์ที่ปราศจากศัตรู ตัวอย่างเช่น โรคราสนิมขาวของเบญจมาศ เกิดจากเชื้อราสาเหตุของโรคติดมากับกิ่งพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ หากผู้ปลูกซื้อกิ่งพันธุ์ไปปลูกจะก่อให้เกิดการระบาดของโรคดังกล่าว ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรคัดเลือกกิ่งพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าไม่มี ปัญหาเกี่ยวกับโรคพืชการเข้าทำลายกุหลาบของไรแดง เพลี้ยไฟเยอบีร่า สร้างความเสียหายต่อคุณภาพไม้ดอกไม้ประดับ ผู้ปลูกจึงจำเป็นต้องคัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรคแมลงก่อนนำไปปลูก ซึ่งวิธีการนี้เป็นแนวทางป้องกันความเสียหายจากศัตรูไม่ดอกไม้ประดับที่ดี วิธีหนึ่ง

- การปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่เพาะปลูกเดิม เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของศัตรูพืช เช่น การปลูกดาวเรืองไม่ใช่พืชอาศัยที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนฝอย จึงทำให้การแพร่ระบาดของโรครากปมลดลง โรคหัวเน่าปทุมมาที่มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรค หรือโรคต้นเน่าแห้งมะลิจากเชื้อราต่างก็มีเชื่อสาเหตุอาศัยและแพร่กระจายได้ ในดินดังนั้น จึงควรปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัยของโรคดังกล่าวสลับ เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในดิน

- การตัดแต่งกิ่ง เป็นวิธีเขตกรรมวิธีหนึ่งที่น่าจะมีการนำมาใช้กันอย่างจริงจัง เพราะสามารถลดการทำลายของแมลงและการแพร่ระบาดของโรคได้หลายชนิด ซึ่งวิธีการปฏิบัติคือ ตัดแต่งหรือเก็บส่วนที่พบกลุ่มไข่หรือหนอนไปทำลาย ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกจากแปลงและนำไปเผาทำลาย นอกจากนี้ ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่งยังช่วยให้ทรงพุ่มโปร่ง มีอากาศถ่ายเทระหว่างต้นดี สะดวกต่อการดูแลรักษา และฉีดพ่นสารเคมี อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีได้อีกด้วย

- การไถพรวนและตากดิน เป็นการทำลายแหล่งอาศัยของโรคและแมลงในดินโดยใช้แสงแดดเผาทำลาย


2. วิธีกล ได้แก่
- ใช้มือจับ เช่น การใช้มือเก็บหนอนเจาะดอกมะลิ หนอนกระทู้ที่กัดกินกุหลาบออกจากแปลงและนำไปทำลายทิ้ง

- การใช้กับดักกาวเหนียว กับดักแสงไฟ เช่น การติดตั้งกับดักกาวเหนียวเพื่อดักจับผีเสื้อหนอนใยผัก 80 อันต่อไร่ จะช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงได้ถึงร้อยละ 50 การใช้กับดักแสงไฟจะช่วยลดตัวเต็มวัยของหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะดอกมะลิ และด้วงกุหลาบ เป็นต้น นอกจากนี้การติดตั้งกับดักแสงไฟในบริเวณบ่อเลี้ยงปลา แมลงที่ติดกับดักยังสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาได้ด้วย

- การใช้วัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น การทำหลังคาพลาสติก ลดการระบาดของโรคบิดเน่ากล้วยไม้และโรคใบจุดในกุหลาบ การกางมุ้งเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักหนอนกระทู้ผีก หนอนเจาะดอกมะลิ เป็นต้น


3. การใช้สารเคมี
เป็นวิธีที่ผู้ปลูกนิยมใช้มากที่สุด เพราะสะดวกรวดเร็วเห็นผลทันใจ แต่จะให้ได้ผลในการป้องกันกำจัดศัตรูไม้ดอกไม่ประดับเต็มที่นั้น ผู้ปลูกจะต้องทราบชนิดของศัตรูพืช ชนิดของสารเคมี ปริมาณการใช้ และระยะเวลาการใช้ที่ถูกต้อง


4. การใช้ชีวินทรีย์
เป็นวิธีการที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อม เช่น แมลง ตัวห้ำ ได้แก่ ตั๊กแตนตำข้าว แมลงปอ มวนเพชฌฆาต ด้วงดิน ต่อหมาร่า แมลงตัวเบียน ได้แก่ แมลงวัดก้นขน ต่อเบียน แตนเบียน แตนเบียนฝอย ตัวสไตโลปิคส์ เป็นต้น แมลงเหล่านี้จะทำลายกัดกินหรืออาศัยอยู่ภายในหรือภายนอกตัวแมลงชนิดอื่น ซึ่งรวมทั้งแมลงศัตรู ไม้ดอกไม้ประดับด้วย นอกจากนี้ยังมีเชื้อโรคาของแมลงหรือโรคพืชที่มีจำหน่ายในเชิงการค้าแล้ว ได้แก่ เชื้อไวรัส NVP ทำลายหนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย ไส้เดือนฝอยทำลายหนอกระทู้หอม ด้วยหมัดผัก เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าทำลายเชื้อราในดินที่เป็นสาเหตุของโรคพืช,เชื้อ แบคทีเรีย Bacillus thuringiensis Berliner หรือ Bt ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม เป็นต้น




ที่มา ตลาดกลางสินค้าเกษตรแห่งประเทศไทย

http://www.infoforthai.com/forum/index.php?topic=4836.0;wap2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 8:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคที่สำคัญของมะลิ


1. โรครากเน่า
เกิดจากเชื้อรา จัดได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง จะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการใบเหลือง เหี่ยวและทิ้งใบต้นแห้งตาย เมื่อขุดดูจะพบว่ารากเน่าเปื่อย และที่โคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว มักระบาดในสภาพดินที่เป็นกรด และพื้นที่ที่ปลูกซ้ำเป็นเวลานาน

การป้องกันกำจัด
- เมื่อพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนเผาไฟทำลายเสีย รวมทั้งเผาดินในหลุมด้วย แล้วใช้ปูนขาว หรือเทอราคลอผสมน้ำราดลงดิน
- ถ้าระบาดทั่วสวน ให้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นๆ ก่อนประมาณ 4-5 ปี
- ถ้าต้องการปลูกซ้ำที่เดิม ก็ควรมีการปรับดินด้วยการใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก



2. โรคแอนแทรกโนส
เกิดจากเชื้อรา โดยจะเริ่มมีจุดสีน้ำตาลอ่อนบนใบ และขยายลุกลามออกไป ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห็นได้ชัด แผลที่ขยายออกไปมีลักษณะเป็นรอยวงกลมซ้อนกัน เนื้อเยื่อขอบแผลแห้งกรอบ เวลาอากาศชื้น ๆ บริเวณตรงกลางจะพบสปอร์เกิดเป็นหยดสีส้มอ่อน ๆ ขนาดแผลขยายใหญ่ไม่มีขอบเขตกำจัด จนดูเหมือนโรคใบแห้ง เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดได้โดยปลิวไปกับลมหรือถูกฝนชะล้าง

การป้องกันกำจัด
ทำได้โดยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45



3. โรครากปม
เกิดจากไส้เดือนฝอย โรคนี้จะพบได้เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น คือใบจะมีสีเหลืองด่าง ๆ ทั่วทั้งใบ คล้ายกับอาการขาดธาตุอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากไส้เดือนฝอยจะไปอุดท่อน้ำท่ออาหารไว้ เมื่อถอนต้นดูจะพบว่ามีรากปมเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเฉือนปมนี้ออกดูจะพบถุงสีขาวเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดผักกาดฝังอยู่

การป้องกันกำจัด
- ปลูกมะลิหมุนเวียนสลับกับพืชชนิดอื่น ๆ
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น
- ขุดต้นที่เป็นโรคนี้เผาไฟทำลายเสีย
- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น ฟูราดาน ไวย์เดท-แอล




แมลงศัตรูที่สำคัญ
1. หนอนเจาะดอก
ลำตัวมีขนาดเล็ก สีเขียว ปากหรือหัวดำ ระบาดมากในฤดูฝน ทำให้ดอกเสียหายมาก โดยการเจาะกัดกินดอก ทำให้ดอกเป็นรูและผิดรูปร่าง เมื่อหนอนดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกจะทำให้กลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วง จะพบการทำลายของหนอนเจาะดอกนี้มากกว่าแมลงตัวอื่น ๆ หากป้องกันกำจัดไม่ทันจะเกิดความเสียหายมาก

การป้องกันกำจัด
1. เก็บเศษพืชที่หล่นบริเวณโคนต้นเผาทำลาย เพื่อป้องกันดักแด้ของหนอนเจาะดอก
2. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด เช่น แลนเนท
3. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของตัวแก่ได้
4. การใช้กับดักแสงไฟ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการทำลายของหนอนเจาะดอกมะลิ และช่วยลดปริมาณการพ่นสารเคมีอีกด้วย


กับดักแสงไฟที่นิยมใช้มี 3 ชนิด คือ
- หลอดไฟนีออน [Fluorescent] เป็นหลอดทั่วไปที่ใช้ในบ้านเรือน นิยมใช้ติดตั้งเพื่อจับแมลง เพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพงนัก
- หลอดไฟแสงสีม่วง [Black light] เป็นหลอดสีดำให้แสงสีม่วง มีประสิทธิภาพในการล่อแมลงดีกว่าหลอดไฟนีออน แต่หาซื้อยาก เนื่องจากราคาแพง และเป็นอันตรายต่อเยื่อบุนัยน์ตา
- หลอดไฟแสงสีฟ้า [Blue light) เป็นหลอดสีขาวเหมือนหลอดไฟนีออนให้แสงสีฟ้า นิยมใช้ล่อจับแมลงเช่นเดียวกับหลอดสีม่วงแต่ราคาถูกกว่า
จากการศึกษาของ นางพิสมัย ชวลิตวงษ์พร นักกีฏวิทยา กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร โดยการติดตั้งการดักแสงไฟสีฟ้าและสีม่วงพบว่า ให้ผลที่พอ ๆ กัน ฉะนั้น เราจึงควรเลือกใช้แสงสีฟ้าเพราะมีราคาถูก และการติดตั้งแสงสีฟ้าที่ความสูง 50 เซนติเมตร เหนือต้นมะลิจะช่วยให้จับตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูมะลิได้หลายชนิด ทำให้ดอกมะลิถูกแมลงทำลายได้น้อยกว่าแปลงที่พ่นสารเคมี



2. หนอนกินใบ
มักระบาดในฤดูฝน จะทำลายใบมะลิโดยพับใบเข้าด้วยกัน แล้วซ่อนตัวอยู่ในนั้น และกัดกินทำลายใบ

การป้องกันกำจัด
1. เก็บหนอนหรือดักแด้ทำลายเสีย
2. ใช้สารเคมีประเภทโมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือวิมลอร์ด 25% อีซี อัตรา 8-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4-6 วัน เมื่อมีการระบาด



3. หนอนเจาะลำต้น
หนอนจะเจาะตรงบริเวณโคนต้น ทำให้ต้นแห้งตาย อาการเริ่มแรกจะพบต้นมีใบเหลืองและหลุดร่วง ตรงบริเวณโคนต้น จะมีขุยไม้ที่เกิดจากการกัดกินของหนอนกองอยู่เห็นได้ชัด

การป้องกันกำจัด
- ถอนต้นที่ถูกทำลายเผาไฟทิ้งเสีย
- ใช้สารเคมีพวกไตโครวอส เช่น เดนคอล อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดเข้าไปในรูที่หนอนเจาะ แล้วเอาดินเหนียวอุดรูให้มิด

4. เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ส่วนที่ถูกทำลายหงิกงอ แคระแกร็น เสียรูปร่าง

การป้องกันกำจัด
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัด เช่น พอสซ์ คูมูลัส





อ้างอิง : http://www.doae.go.th/library/html/flow_all.html

http://www.vijai.rmutl.ac.th/kaewpanya/index.php?option=com_content&view=article&id=4467:2011-01-26-04-00-02&catid=204:02-
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 8:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประสิทธิภาพของสารสะเดาต่อแมลงศัตรูพืช



1. ใช้สารสกัดสะเดาได้ผลดี เช่น หนอน กระทู้ผัก หนอนหลอดหอม หนอนใยผัก หนอนม้วนใบ หนอนชอนใบ เพลี้ยจักจั่นฝ้าย หนอน กระทู้หอม เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ หนอนแก้วส้ม หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก

2. ใช้สารสะเดาได้ผลปานกลาง เช่น หนอนเจาะฝักถั่ว หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะดอกมะลิ หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว หนอนเจาะยอดและผลมะเขือเทศ หนอนเจาะยอดคะน้า และแมลงหวี่ขาวยาสูบ

3. ใช้สารสะเดาไม่ได้ผล เช่น เพลี้ยไฟ มวนแดง มวนเขียว หมัดกระโดด เต่าแตงแดง เต่าแตงดำ ด้วงกุหลาบ และแมลงปีกแข็งอีกหลายชนิด



สำหรับการใช้สารสะเดาเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชนั้น สามารถใช้ได้หลายทาง คือ การใช้ทางดิน ตัวอย่างเช่น

1. ควบคุมตัวอ่อนด้วงหมัดผักในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักกาดหัว คะน้า กะหล่ำดอก กวางตุ้ง เป็นต้น ให้หว่านเมล็ดสะเดาบดแห้ง หลัง ย้ายกล้าหรือหลังงอก 7-10 วัน อัตรา 20-25 กก. ต่อไร่ หรือโรยรอบโคนต้น อัตรา 2.5-3 กรัมต่อหลุม

2. ควบคุมหนอนแมลงวันเจาะโคนต้นถั่ว ในถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง ถั่วแระญี่ปุ่น ถั่วแขก ถั่วพู เป็นต้น ให้หว่านเมล็ดสะเดาบดแห้ง หลังจากถั่วงอกพ้นดิน 7-10 วัน อัตรา 10 หรือ 15 กก. ต่อไร่ หรือ 5 กรัมต่อหลุม

3. ควบคุมหนอนกระทู้ผักในแปลงหน่อไม้ฝรั่ง ให้โรยเมล็ดสะเดาบดรอบกอ อัตรา 5 กรัมต่อกอ ทุก 45-60 วัน



การหยอดยอด
ใช้เมล็ดสะเดาบดแห้ง ผสมทรายหรือดินหรือขี้เลื่อยอัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาณ เพื่อควบคุมหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดที่อาศัยหลบซ่อนบริเวณส่วนยอดในใบรูปกรวย แบ่งการหยอดเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อข้าวโพดอายุ 3-4 สัปดาห์ อัตรา 1 กรัมต่อยอด หรือ 8 กิโลกรัมต่อไร่ และหยอดอีกครั้งก่อนข้าวโพดออกดอกตัวผู้ในอัตราเดียวกัน

การพ่น นำเมล็ดสะเดาบด จำนวน 1 กิโลกรัม ห่อด้วยถุงผ้าแช่ในน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ ประมาณ 12 ชั่วโมง กวนเป็นครั้งคราว นำน้ำที่ผ่านการกรองแล้วไปผสมสารจับใบ พ่นที่ต้นพืชได้ทันที ทุก 5-7 วัน จนถึงใกล้เก็บเกี่ยว สามารถ ป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เต่าแตงแดง และดำ หนอนใยผัก หนอนหลอดหอม หนอนกระทู้ผัก หนอนคืบ หนอนแก้วส้ม หนอนเจาะฝักและผลได้



ข้อจำกัดของการใช้สารสกัดจากสะเดา
1. สารสกัดจากสะเดาไม่สามารถฆ่าแมลงได้ทุกชนิด โดยเฉพาะที่อยู่ในระยะตัวเต็มวัย

2. ในช่วงที่เกิดการระบาดรุนแรง การใช้สารสกัดสะเดาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลดความเสียหายได้ทันทีเนื่องจากสะเดาไม่สามารถฆ่าแมลงได้ตายทันทีเหมือนสารเคมี

3. สารสกัดจากสะเดา สลายตัวอ่อนค่อนข้างไว ดังนั้นช่วงระยะเวลาในการฉีดพ่นจึงสั้นลงประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง แต่ถ้าฉีดพ่นในโรงเก็บ ไม่ถูกแสงแดดสามารถออกฤทธิ์ป้องกันกำจัดแมลงได้อย่างน้อย 3 สัปดาห์

หมายเหตุ ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศ.ดร. ขวัญชัย สมบัติศิริ และสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี.





ขอบคุณที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์

ลิงค์ : http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=1009
เนื้อหา :การใช้สารสะเดาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช 2

http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=1009
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หนอนเจาะดอกมะลิ





รูปร่างลักษณะ
ตัวหนอนมีลำตัวขนาดเล็ก สีเขียว ปากหรือหัวมีสีดำ


การแพร่กระจายและการทำลาย
หนอนชนิดนี้จะระบาดมากในฤดูฝน ทำให้ดอกเสียหายมาก โดยการเจาะกัดกินดอก ทำให้ดอกเป็นรูและผิดรูปร่าง เมื่อหนอนดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกจะทำให้กลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วง หนอนเจาะดอกจะมีการระบาดมากกว่าแมลงตัวอื่น ๆ หากป้องกันกำจัดไม่ทันจะเกิดความเสียหายมาก


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
เชื้อสามารถเจริญได้ดีที่ช่วงอุณหภูมิค่อนข้างกว้าง คือ ระหว่าง 4 - 32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 70-90% จึงเป็นเหตุให้โรคนี้ระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน โดยเชื้อจะเข้าทำลายพืชผ่านทางปากใบเป็นสำคัญ


การป้องกันและกำจัด
1. ทำความสะอาดบริเวณโคนต้นโดยการเก็บเศษพืชนำไปเผาทำลายเพื่อป้องกันการเข้าดักแด้ของหนอนเจาะดอก
2. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของตัวเต็มวัย
3. ใช้กับดักแสงไฟดักล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย
4. ใช้สารเคมีจำพวกเมทโธมิล (แลนเนท) ฉีดพ่น



http://www.agriqua.doae.go.th/plantclinic/Clinic/plant/mali/cater.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/08/2011 9:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พ.ต.ท.วิญญู เทียมราช ปลูก "มะลิ" สร้างรายได้รายวัน และรายปี


พอผ่านพ้นแปลงมะเม่าที่ปลูกในเนื้อที่ 50 ไร่ ก็เห็นแปลงมะลิที่ปลูกอยู่บนสันร่องสวนมีน้ำล้อมรอบ ร่องสวนนี้เคยใช้ปลูกส้มมาก่อน พอส้มไม่ได้ผล ก็เปลี่ยนมาปลูกผักและปลูกไม้ผลกับปลูกมะลิดังปัจจุบันนี้

มะลิในสวน รองฯ วิญญูปลูกในเนื้อที่ 15 ไร่ รอบๆ บริเวณพื้นที่ทั้งหมดที่มีประมาณ 70 ไร่ รองฯ วิญญูเอาพันธุ์ฝรั่งลงมาปลูกโดยรอบ ทำให้ในสวนนี้นอกจากมีมะเม่า มะลิแล้ว ยังมีฝรั่ง ไม้ผลอีกชนิดหนึ่งด้วย

การที่ต้องปลูกมะลิไม้ดอกอีกอย่างหนึ่งนั้น รองฯ วิญญู กล่าวว่า หลังจากที่ปลูกมะเม่าได้ผลดี ก็มาคิดว่าน่าจะหาพืชมาปลูกเพื่อมีรายได้เป็นรายวันเข้ามาอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ก็เนื่องจากมะเม่าติดผลปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น พอเก็บมะเม่าหมดก็ไม่มีพืชหลักที่ทำรายได้อีก จึงมองเห็นมะลิที่สามารถเก็บดอกได้ทุกวัน จึงสนใจไปศึกษาเรื่องราวของมะลิอย่างจริงจัง

"ไปขอวิชาความรู้การปลูกมะลิจากเกษตรกรชาวสวนแถวนครชัยศรี ศึกษาจนมั่นใจว่าทำได้ ก็ซื้อต้นพันธุ์มะลิที่เป็นกิ่งชำจากแหล่งไม้ดอกไม้ประดับคลองสิบห้า นครนายก"

รองฯ วิญญู กล่าวและว่า พอได้ต้นพันธุ์มะลิมา 7,000 ต้น ราคาต้นละ 1 บาทกว่า ก็สั่งให้คนงานปรับพื้นที่ร่องสวนแล้วเอาต้นพันธุ์มะลิลงปลูกทันที ไม่ต้องรีรอ ไม่ต้องกังวลใดๆ ทั้งสิ้น คิดจะปลูกก็ลงมือปลูกเลย ปลูกทั้งๆ ที่ไม่เคยปลูกและไม่รู้ว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ฟังแค่เขาอธิบายมาเท่านั้นก็ปลูกเลย

ให้คนงานลงกิ่งพันธุ์ระยะห่าง 50x50 เซนติเมตร จนเต็มพื้นที่ รองฯ วิญญู บอกว่า หลังปลูกเสร็จก็ให้หัวหน้าคนงานซึ่งพอจะมีความรู้เรื่องการทำสวนเกษตรบ้างคอยดูแล สั่งกำชับให้รดน้ำใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอ ปุ๋ยที่ใส่ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวที่ตนนำออกมาจากถ้ำผลิตขาย เรียกว่าทำเองใช้เอง ใส่ปุ๋ยมูลค้างคาวทุก 15 วันครั้ง ใช้วิธีใส่น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง การให้น้ำก็ใช้เรือรดทุกวัน

มะลิจะแตกพุ่มออกมาเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ก็สามารถเก็บดอกขายได้แล้ว พอเก็บดอกครั้งแรกก็สามารถเก็บครั้งต่อๆ ไปได้ทุกวัน มะลิจะทยอยติดดอกให้เก็บตลอด ส่งขายร้านรับซื้อขาประจำที่ตลาดไท เป็นรายได้รายวันที่ทำได้สมเจตนารมณ์

รองฯ วิญญู กล่าวว่า มะลิเป็นพืชปราบเซียนที่ว่าแน่ๆ ล่มมามากแล้ว สาเหตุเพราะสู้กับหนอนเจาะดอกไม่ไหว ที่สวนตนก็เจอเหมือนกัน ปลูกใหม่ๆ พอต้นติดดอก โดนหนอนเจาะดอกเล่นงาน ให้คนงานฉีดสารเคมีคลุมหนอนเจาะดอกอย่างหนัก ฉีดจนคนฉีดจะแย่ก่อนหนอน

พอดีมีโอกาสได้รู้จักกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านสนใจในเรื่องการผลิตน้ำหมักชีวภาพไล่แมลง และสูตรต่างๆ พอท่านรู้เรื่องก็ให้น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพไล่หนอนมาให้ทดลองฉีดดู ปรากฏว่าได้ผลดีมาก ฉีดใหม่ๆ หนอนจะเบาบางลง ไม่ถึงกับหมดทีเดียว จะค่อยๆ หายไป จนทุกวันนี้ต้นมะลิในสวนไม่มีหนอนเจาะดอกรบกวนอีกแล้ว ใช้เวลา 3 เดือน ล้างสารเคมีออกจากต้นมะลิเปลี่ยนมาใช้จุลินทรีย์ชีวภาพแทน

"ผมกล้าพูดได้เลยว่า มะลิในแปลงผมปลอดสารเคมีโดยสิ้นเชิง อาจารย์ท่านนั้นถึงกับเด็ดดอกมะลิมาเคี้ยวเล่นเลย"

สิ่งที่ใฝ่ฝันในการทำสวนเกษตรปลอดสารเคมีเป็นจริงขึ้นมา รองฯ วิญญู บอกว่า ดอกมะลิที่เก็บส่งตลาดทุกวันนี้ดอกใหญ่ ขาวสด กลิ่นหอม ผู้ซื้อไปร้อยมาลัยบูชาพระก็ไม่เกิดอันตราย ผู้ที่ชอบซื้อมาลัยประดับไว้หน้ารถยนต์ก็สบายใจ ไม่ต้องสูดเอาสารเคมีเจือปนเข้าไปด้วย

รองฯ วิญญู กล่าวอีกว่า ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้มะลิเจริญเติบโตให้ผลผลิตดอกใหญ่ นั่นก็คือ ที่สวนใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว

"ปุ๋ยมูลค้างคาวนั้นผมไปเอามาจากในถ้ำค้างคาว มาผ่านกระบวนการตากและป่น ปั้นเม็ด และบรรจุถุงจำหน่ายเองเลย"

รองฯ วิญญู กล่าวและว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตนมีโอกาสไปเที่ยวถ้ำที่แถวปากช่อง พบว่าในถ้ำมีค้างคาวเยอะมาก พื้นที่ถ้ำอัดแน่นไปด้วยมูลค้างคาวผสมกับเศษหินปูน ซากค้างคาวที่ทับถมมานานจนเป็นหิน เขาเรียกว่า "ฟอสเฟต" จึงได้ติดต่อขออนุญาตนำเอามูลค้างคาวออกจากถ้ำมาบรรจุถุงจำหน่ายเกษตรกร ได้รับใบอนุญาตถูกต้องทุกประการ

เมื่อนำบรรจุถุงใช้เครื่องหมายการค้าตรา "ค้างคาวแดง" จำหน่ายเรื่อยมา แต่เนื่องจากตนรับราชการตำรวจ เวลาว่างที่จะไปติดต่อส่งปุ๋ยแทบไม่มี ไหนจะต้องดูแลสวนอีก ปุ๋ยมูลค้างคาวจึงจำหน่ายในวงแคบเฉพาะที่รู้จักเท่านั้น

พอได้ทำสวนเกษตรก็เอาปุ๋ยมูลค้างคาวที่ทำอยู่นี่แหละมาใส่ต้นไม้ ปรากฏว่าได้ผลดีมากๆ เพราะปุ๋ยมูลค้างคาวมีธาตุอาหารสูงอยู่แล้ว เกษตรกรชาวสวนรู้จักดี ใส่ไม้ผลทำให้ผลไม้มีรสชาติดีขึ้น ใส่ไม้ดอกก็ได้ดอกสวยและดกจากปุ๋ยมูลค้างคาวและจุลินทรีย์ชีวภาพสูตรไล่แมลงมารวมกัน จึงทำให้พืชผลในสวนให้ผลผลิตดี ติดผลดก ออกดอกใหญ่และสวย

รองฯวิญญู บอกว่า ทุกวันนี้มีกลุ่มเกษตรกรเดินทางมาดูสวนตลอดเวลา ก็ยินดีต้อนรับทุกท่าน เรื่องของปุ๋ยมูลค้างคาวนั้นจำหน่ายในนามของวิสาหกิจชุมชนหนองเสือ สนใจจะเที่ยวชมสวน อยากจะได้ข้อมูลหรือจะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันก็เชิญโทร.มาคุยกันได้ที่ (081) 559-2929 ยินดีต้อนรับ



http://siweb.dss.go.th/qa/search/search_description.asp?QA_ID=892
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©