-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/08/2011 10:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 7

ลำดับเรื่อง....


181. ใช้​ระบบ​ชีววิทยา​บำบัด​ลด​เคมี​ดิน-น้ำ ต้นทุน​ต่ำ​ปลอดภัย​กว่า​เผา​ฝัง
182. นำเข้ายากำจัดศัตรูพืช ปีละเกือบ 2 หมื่น ล. พิษตกค้างทำป่วยมะเร็ง
183. หน้าที่และความสำคัญของแคลเซียม
184. ดอกไพรีทรัม สารกำจัดแมลง
185. พืชโตไวด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน

186. เรื่องปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี
187. pH : ความเป็นกรด-ด่างของดิน
188. ยอดข้าวราชินี ให้ความเป็นหนุ่มสาวกระชุ่มกระชวย
189. สยบเพลี้ยแป้งในไร่มัน ด้วยแมลงช้างปีกใส ที่ เมืองกาญจน์
190. ความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้เครืองเกี่ยวนวด

191. กลุ่มสารสำคัญในสมุนไพร
192. สารสำคัญที่พบในพืชสมุนไพร
193. การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร (Havesting)
194. สารกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตรของประเทศไทย
195. การวินิจฉัยโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

196. โรคพืชวิทยา (Plant pathology)
197. สารเคมีที่ห้ามใช้ในแปลงมะม่วงส่งออก
198. "ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยกำจัดแมลง" ทางเลือกใหม่สวนผักอินทรีย์
199. ปลูกหญ้า ทำธุรกิจ
200. ปลูกตะไคร้หยวกแซมฝรั่ง สร้างรายได้เสริมดี ที่ชากังราว

201. ปลูกตะไคร้ 1 ไร่เศษ ทำเงินถึง 4 หมื่น
202. ปลูกสละแซมกับมะพร้าวน้ำหอม
203. เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตร
204. นักวิชาการเสนอรัฐห้ามนำเข้าเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด

---------------------------------------------------------------------------------






181. ใช้​ระบบ​ชีววิทยา​บำบัด​ลด​เคมี​ดิน-น้ำ ต้นทุน​ต่ำ​ปลอดภัย​กว่า​เผา​ฝัง


ปริมาณ​สาร​พิษ​ที่​ตกค้าง​ใน​สภาพ​แวดล้อม หาก​มี​การ​สะสม​ระยะ​เวลา​นาน​ย่อม​ส่ง​ผล​ต่อ​สิ่ง​มี​ชีวิต​ทั้งคน ​สัตว์​ และ​พืช พื้นที่​บาง​แห่ง​หาก​มี​ปริมาณ​สาร​พิษ​มาก ย่อม​ส่ง​ผล​ให้​เกษตรกร​​ไม่​สามารถ​ปลูก​พืช ไม้​ผล​เศรษฐกิจ​ได้

ฉะนี้…ดร.​อัญช​นา พัฒนสุ​พง​ษ์ นัก​วิชาการ​ประจำ​ฝ่าย​วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สถาบันวิจัย ​วิทยาศาสตร์​และ​เทคโนโลยี​แห่ง​ประเทศไทย (วว.) พร้อม​คณะ ได้​วิจัย การ​ใช้​วิธีการ​ทาง​ชีวภาพ (Bioremediation) มา​ใช้​ ลด​ปริมาณ​และ​ความ​เป็น​พิษ​จาก​การ​ปน​เปื้อน​ของ​สาร​เคมี​ทางการ​เกษตร​ใน​แหล่ง​น้ำ ขึ้น


นาง​เกษม​ศรี หอม​ชื่น ผู้​ว่า การ​ วว.​เผย​ว่า… Bioremediationเป็น​วิธีการ​ลด​ปริมาณ​และ​ความ​เป็น​พิษ​จาก​การ​ปน​เปื้อน​ของ​สาร​เคมี​ทางการ​เกษตร โดย​อาศัย​กิจกรรม​ที่​หลากหลาย​ของ​จุลินทรีย์​ใน​การ​ปรับ​เปลี่ยน​โครงสร้าง​ทาง​เคมี​ของ​สาร​อันตราย​ให้​อยู่​ใน​รูป​สารประกอบ​ที่​มี​ค่า​ความ​เป็น​พิษ​น้อย​ที่สุด

…ให้​สามารถ​แก้ไข​และ​ฟื้นฟู​ปัญหา​การ​ปน​เปื้อน​ของ​สาร​เคมี​อันตราย​ใน​สิ่งแวดล้อม ได้​รวดเร็ว​กว่า​การ​ปล่อย​ให้​สาร​เหล่า​นี้​สลาย​ตัว​ไป​เอง​ตาม​ธรรมชาติ ซึ่ง​ วิธีการ​ดัง​กล่าว​สามารถ​กำจัด​สาร​อันตราย​ตกค้าง​อย่าง​ถาวร​โดยที่​ไม่​ก่อ​ให้​เกิด​ผล​กระทบ​ต่อ​สิ่งแวดล้อม เมื่อ​เทียบ​กับ​การ​ใช้​สาร​เคมี​ชนิด​อื่น​ทำลาย การ​เผา หรือ​การ​ฝัง​กลบ ที่​สำคัญ​ใช้​ต้นทุน​ต่ำ​และ​มี​ความ​ปลอดภัย​มาก​กว่า

ดร.​อัญช​นา บอก​ถึง​ขั้น​ตอน​การ​วิจัย​ว่า เริ่ม​แรก​ทีม​งาน​ได้​สร้าง​ เครื่อง​บำบัด​สาร​เคมี​การ​เกษตร โดย​ใช้​ถัง​ปฏิกิริยา​แบบ​เติม​อากาศ​ที่​ใช้​กลุ่ม​จุลินทรีย์​ที่​มี​ประสิทธิภาพ​ใน​การ​ลด​ปริมาณ​ของ​สาร​ผสมคาร์-เบน​ดา​ซิม (MBC) และ​คาร์​โบ​ฟู​แ​รน (CB) ก่อน พร้อม​ทั้ง​นำ​จุลินทรีย์​ที่​คัด​แยก​ซึ่ง​มี​ประสิทธิภาพ​ย่อย​สลาย​สาร​ผสม Glyphosate,  Permethrin และ Chlorpyrifos ไป​ใส่​ไว้​ใน​ถัง​กวน​ช้า​ใน​ระบบ​บำบัด ทิ้ง​ไว้ 10-45 วัน




เครื่องบำบัดสารเคมีการเกษตร.
…แล้ว​นำ​ไป​ติดตั้ง​ที่​ร่องน้ำ​ใน​สวน​ส้ม​ที่​จังหวัด​พิจิตร​และ​กำแพงเพชร และ​สวน​องุ่น​ที่​จังหวัด​ราชบุรี ที่​สวน​มี​สภาพ​แบบ​ยก​ร่องน้ำ ปล่อย​ให้​เครื่อง​ดัง​กล่าวทำ​งาน​อย่าง​ต่อ​เนื่อง โดย​การ​ทำ​งาน​จะ​เป็น​แบบ​ปล่อย​ให้​ชีวภาพ​เป็น​ตัว​กัก​และ​กำจัด​สาร​ตกค้าง​ใน​ร่องน้ำ​ตลอด 24 ชั่วโมง…

หลัง​ติดตั้ง 1 ปี ทีม​วิจัย​ได้​เก็บตัว​อย่าง​ดินและน้ำ​จาก​ใน​สวน​ไปวิเคราะห์​ชนิด​และ​ปริมาณ​สาร​เคมี​การ​เกษตร​ ทั้ง​ใน​ส่วน​งาน​วิจัย​ใน​ห้อง​ปฏิบัติการ​กลาง (ประเทศไทย) จำกัด พบ​ว่า นอกจาก​สามารถ​ลด​ปริมาณ​สาร​คาร์​เบน​ดา​ซิม (MBC) ที่​ตรวจ​พบ​ว่า​ปน​เปื้อน​อยู่​ใน​ร่องน้ำ​ลง​ได้ 10 เท่า ภายใน​เวลา 1 เดือน​ได้​แล้ว เครื่อง​ดัง​กล่าว​ยัง​สามารถ​เก็บ​รักษา จุลินทรีย์​กลุ่ม​ดัง​กล่าว​ได้​นาน 1 ปี โดย​ยัง​คง​ประสิทธิภาพ​การ​ทำ​งาน​ไว้​ได้​ถึง 75-100 เปอร์เซ็นต์


สวนองุ่นและส้มของเกษตรกร.
จาก​การ​วิจัย​ดัง​กล่าว​คาด​ว่า​อนาคต​อัน​ใกล้​นี้​จะ​เป็น​ประโยชน์​อย่าง​ยิ่ง​ใน​การ​ดูแล​สุขภาพ​อนามัย​ของ​ประชาชน ลด​ความ​เสี่ยง​อันตราย​จาก​สาร​เ​คมี และ​เป็น​การ​ฟื้นฟู​สิ่งแวดล้อม ​แก้ไข​ปัญหา​มลภาวะที่​เกิด​ขึ้น​จาก​การ​ผลิต​ทั้ง​ใน​ภาค​เกษตรกรรม​และ​อุตสาหกรรม.

เพ็ญพิชญา เตียว

Credit: ไทยรัฐออนไลน์

http://www.siam2day.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 11:40 am, แก้ไขทั้งหมด 14 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/08/2011 10:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

182. นำเข้ายากำจัดศัตรูพืช ปีละเกือบ 2 หมื่น ล. พิษตกค้างทำป่วยมะเร็ง





เกษตรกรนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปีละเกือบ 2 หมื่นล้าน พิษตกค้างในอาหารเพียบ ส่งผลคนไทยป่วยมะเร็ง-ต่อมไร้ท่อพุ่ง…

เมื่อ วันที่ 3 เม.ย. 54 นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อํานวยการมูลนิธิชีววิถี (BioThai) กล่าวถึง สถานการณ์ปัญหาสุขภาพของเกษตรกรและการควบคุมสารกำจัดศัตรูพืชว่า ปัจจุบันมีเกตรกรจำนวนมาก ที่มีผลตรวจเลือดอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการใช้ปุ๋ย เคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาทิ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคต่อมไร้ท่อ ฯลฯ ซึ่งจากฐานข้อมูลผู้ป่วยจากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยจากสารเคมีดังกล่าว ประมาณ 8,546 ราย และมีการประมาณการว่าในความเป็นจริงตัวเลขผู้ป่วยจากสารเคมีอาจสูงถึง 200,000 ถึง 400,000 รายต่อปี สอดคล้องกับผลสำรวจเกษตรกร 6 จังหวัด จำนวน 606 ราย ในโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร ด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ ที่พบว่าเกษตรกรทั้งหมด 100% เคยมีอาการเนื่องจากพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดย 15% ใช้สารเคมีระดับความเป็นพิษร้ายแรงมาก 39% อยู่ในระดับความเป็นพิษร้ายแรง และ 14% มีการใช้สารเคมีที่เคยถูกห้ามนำเข้า ผลิต ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง


ผอ.มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า จากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดผลกระทบตามมา ที่เห็นได้ชัด คือ อัตราการเจ็บป่วยของคนไทยในปัจจุบัน ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งสูงขึ้นแซงหน้าโรคอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากอาหารสูงถึง 60% นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศไทยสูญเงินจากการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชประเภทต่างๆ ปีละ 137,594,393 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าประมาณ 16,815,769,077 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ 6 แห่ง โดยไม่ต้องเสียภาษี

นอกจากนี้ยังมีการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนการค้าสารเคมีไปแล้วถึง 27,000 ชื่อ ซึ่งสูงมากที่สุดในโลกและสูงกว่าจีนที่มี 20,000 ชื่อ โดยการขึ้นทะเบียนดังกล่าวขาดกลไกการควบคุม การตรวจสอบ ทั้งในด้านความเสี่ยงของผู้ใช้และสารตกค้างในผลผลิต รวมไปถึงขาดกลไกควบคุมการจัดจำหน่าย



http://kasetonline.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 11:40 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/08/2011 11:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

183. หน้าที่และความสำคัญของแคลเซียม


1) เป็นองค์ประกอบของเซลล์ เนื่องจากผนังเซลพืชต้องมีความเกี่ยวโยงกัน และการประสานกัน ทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง ดังนั้นถ้าพืชขาดแคลเซียมทำให้พืชอ่อนแอ ยอด และปลายรากไม่เจริญ และแคลเซียมยังช่วยให้พืชมีความต้านทานโรคและแมลงมายิ่งขึ้น

* ยิปซัม มีแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ได้ทันที่ถึง 33% และช่วยดูดซับธาตุอาหารพืช และค่อย ๆ ปลดปล่อยให้พืชใช้

* ดังนั้น ใช้ยิปซัมรองพื้นยางพารา ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพียงเล็กน้อย แทนหินฟอตเฟต ช่วยให้ยางพาราฟื้นตัวเร็วกว่า

2) ลดความเป็นพิษของสารบางอย่าง แคลเซียมสามารถทำปฎิกิริยากับกรด ทำให้ตกตะกอน และลดความเป็นพิษในลำต้นพืช

3) ต้านทานสารอ๊อกซิน แคลเซียมช่วยต้านทานสารอ๊อกซินไม่ให้พืชยืดมากเกินไป ทำให้พืชมีรูปร่างผิดปกติ ดังนั้นการที่พืชมีแคลเซียมมากทำให้พืชเจริญเติบโตในรูปร่างปกติ

4) ช่วยเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ในระยะพืชตั้งตัว สร้างเมล็ด สะสมแป้ง แคลเซียมมีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้าย สะสมคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน และยังช่วยให้พืชเคลื่อนย้ายไนโตรเจนเพิ่มขึ้นอีกด้วย

5) ส่งเสริมการสร้างปมรากถั่ว แคลเซียมเพกเตตเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของปมรากถั่ว ดังนั้นการมีแคลเซียมที่เพียงพอ จะมีปมรากถั่วมากกว่า

6) มีบทบาทช่่วยให้ละอองเกสรงอก และ Pollen Tube งอกแล้วยืดตัวได้ดี ดังนั้นการมีแคลเซียมที่เพียงพอ จึงช่วยให้การผสมติดมากกว่า ช่วยส่งเสริมการผสมเกสร และเพิ่มอัตราการผสมติดมากยิ่งขึ้น

7) มีบทบาทในการงอกเมล็ด เนื่องจากเอ็นไซม์ที่ช่วยส่งเสริมการงอกของเมล็ด ต้องอาศัยแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลัก ดังนั้นแคลเซียมจึงส่งเสริมการงอกของเมล็ดโดยตรง



http://kasetonline.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/08/2011 11:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

184. ดอกไพรีทรัม สารกำจัดแมลง





ไพรีทรัมเป็นไม้ดอกทรงพุ่ม ดอกสีเหลือง/ขาวคล้ายดอกเดซี่หรือเบญจมาศ อยู่ในสกุล Chrysanthemum ชนิด C. cinerariaefolium เป็นพืชยืนต้นที่ชอบอากาศหนาวเย็น ปลูกในระดับความสูง 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ชอบสภาพภูมิประเทศที่กลางวันอากาศร้อนจัดกลางคืนอากาศหนาวจัด ออกดอกตลอดทั้งปี ปลูกมากทางแถบแอฟริกาตะวันออก เช่น เคนยา แทนซาเนีย รวันดา เป็นต้น

เมื่อนำดอกมาตากแห้งแล้วนำมาสกัดจะได้สารไพรีทรินส์ (pyrethrins) ที่มีคุณสมบัติในการกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงเพราะสารออกฤทธิ์ดังกล่าว จะตรงเข้าทำลายระบบประสาทของแมลงทันที จะทำให้แมลงสลบอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และตายในที่สุด เนื่องจากสารชนิดนี้เป็น lipophilic esters จึงถูกดูดซึมเข้าระบบประสาทของแมลงอย่างรวดเร็ว แต่ทว่าสารนี้มีผลต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก เพราะในตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายไพรีทรินส์ ให้กลายเป็นสารไม่มีพิษจึงไม่มีการสะสมในร่างกาย และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติผ่านแสงแดดและความร้อน จึงทำให้สารสกัดจากดอกไพรีทรัมเป็นที่นิยมสำหรับกำจัดแมลงในบ้านเรือน ซึ่งแมลงที่สามารถกำจัดได้ผลอย่างดี คือ ยุง เพลี้ยอ่อน หมัดกระโดด ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนกะหล่ำใหญ่ เพลี้ยจักจั่นฝ้าย หนอนเจาะมะเขือ หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว แมลงวัน แมลงหวี่ ไร และ เรือด เป็นต้น โดยในประเทศจีนเองใช้สารสกัดจากดอกไพรีทรัมในการกำจัดยุงมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว ส่วนในยุโรปมีการนำมาเป็นส่วนผสมเป็นยาฉีดพ่นฆ่าแมลงในอุตสาหกรรมการผลิตไวน์ ส่วนในอุตสาหกรรมยาสูบก็ได้นำมาใช้ในการกำจัดแมลงเช่นกัน

โดยสารสกัดจากดอกไพรีทรัมนี้ องค์การอนามัยโลก WHO และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ FAO ให้การรับรองว่าปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงมากที่สุด ทำให้ความนิยมในสารไพรีทรินส์ของดอกไพรีทรัมได้รับความนิยมอย่างมากและมีราคาสูงอย่างต่อเนื่อง สำหรับในประเทศไทยเองต้องนำเข้ามาจากประเทศแถบแอฟริกาตะวันออกด้วยเช่นกัน นับว่าดอกไพรีทรัมเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากอนาคตสดใสแล้ว ยังปลอดภัยสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงอีกด้วย

สำหรับในประเทศไทยเองได้เคยมีการนำดอกไพรีทรัม สายพันธุ์ญี่ปุ่น ชื่อ ชิรายูกิ ทดลองปลูกที่ดอยอ่างขาง ตั้งแต่ปี 2516-2518 โดยโครงการหลวงพัฒนาภาคเหนือ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ได้ทดลองปลูกเพื่อหาพืชเศรษฐกิจมาปลูกทดแทนฝิ่น โดยทดลองปลูกแบบขั้นบันได ซึ่งในช่วงที่ออกดอกมากที่สุดเป็นช่วงฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคม–กรกฎาคม ซึ่งให้ผลผลิตเท่ากับ 335.25 กิโลกรัมต่อ 1 เอเคอร์ ในขณะที่ประเทศเคนยาที่ปลูกดอกไพรีทรัมเพื่อสกัดสารไพรีทรินส์เพื่อส่งออก เองสามารถปลูกและให้ผลผลิตดอกไพรีทรัมเพียง 200 กิโลกรัมต่อ 1 เอเคอร์ ซึ่งเป็นผลผลิตในปีแรก ส่วนในปีต่อมานั้นผลผลิตเริ่มลดลงเพราะสภาพอากาศของประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนสูง ทำให้โครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นของโครงการหลวงพัฒนาภาคเหนือบนดอยอ่างขางต้องระงับไป



http://www.sangkasi.com/make-money/218.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/08/2011 2:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

185. พืชโตไวด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปัจจัยการผลิตด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน


แนวทางหนึ่งในพัฒนาการผลิตทางการเกษตร ก็คือประยุกต์การใช้ แบคทีเรียในกลุ่มส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth promoting rhizobacteria) โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในกลุ่มแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนบริวณราก (diazotrophic N2 - fixing bacteria) งานวิจัยเรื่องนี้ มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาผลของการปลูกเชื้อแบคทีเรียสังเคราะห์แสง Rhodopseudomonas palustris และ เชื้อผสมของแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน Azospirillum brasilense และ Azospirillum amazonense ตลอดจน ศึกษาการประยุกต์ใช้แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนและแบคทีเรียสังเคราะห์แสงในรูปจุลินทรีย์ท้องถิ่น (indigenous microorganism, IMO) ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของข้าว ได้ทําการทดลองศึกษาข้อมูล typical time course ของการเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น (indigenous microorganism, IMO) เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการเตรียมหัวเชื้อผสมของแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน และแบคทีเรียสังเคราะห์แสงเพื่อใช้ในการทดสอบเชื้อในระดับกระถาง จากผลการทดลองพบว่า การเตรียมหัว เชื้อต้นแบบจุลินทรีย์ท้องถิ่นมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีบทบาทหลัก 4 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มแบคทีเรีย motile spirilla
2) กลุ่มแบคทีเรียแลคติก พวก lactobacilli
3) กลุ่มยีสต์พวก fission yeast ในจีนัส Schizosaccharomyces และ
4) กลุ่มยีสต์พวก budding yeast

โดยมีลําดับการเจริญเติบโตของแต่ละกลุ่มอย่างมีแบบแผน จากการศึกษาเชื้อบริสุทธิ์ต่อการเจริญเติบโตของข้าวที่ปลูกในสารละลายอาหาร ผลการทดลองพบว่า เมื่อทําการปลูกเชื้อบริสุทธิ์ของ Rhodopseudomonas palustris ในสารละลายอาหาร เมื่อเปรียบเทียบกับ ควบคุมและวพบว่า จะให้ผลดีกว่าควบคุมต่อเมื่อปลูกเชื้อในสารละลายอาหารที่ไม่ใส่แอมโมเนียมไนเตรท ส่วนการปลูกเชื้อ Azospirillum brasilense และ Azospirillum amazonense เมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่าให้ผลดีกว่าทั้งควบคุมและให้ผลดีกว่าการปลูกเชื้อ Rhodopseudomonas แก่ทั้งข้าวที่ปลูกในสารละลายอาหารใน สภาพที่ใส่แอมโมเนียมไนเตรทและไม่ใส่แอมโมเนียมไนเตรท ผลการทดลองการทดสอบการปลูกเชื้อในข้าวที่ปลูกในระดับกระถางดินเหนียว พบว่าเมื่อเปรียบ ระหว่าง การปลูกเชื้อผสมของเชื้อแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน Azospirillum brasilense และ Azospirillum amazonense กับเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMO) และพบว่าในแง่ของการเจริญเติบโตและพัฒนาการกลุ่มเชื้อ แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน Azospirillum ให้ผลดีที่สุดกว่าเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMO) และควบคุม อย่างชัดเจน

ส่วนจุลินทรีย์ท้องถิ่นเมื่อเทียบกับควบคุมนั้นในแง่การเจริญเติบโตพัฒนาการแล้ว ให้ผลไม้แตกต่างจากควบคุม นัก แต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในใบตลอดอายุการปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พบว่าการปลูกเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMO) ส่งผลให้มีปริมาณไนโตรเจนในใบสูงอย่างชัดเจน คําสําคัญ : แบคทีเรียสังเคราะห์แสง แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ท้องถิ่น Rhodopseudomonas palustris, Azospirillum brasilense, Azospirillum amazonense, การเจริญเติบโตและพัฒนาการของข้าว



http://www.lartc.rmutl.ac.th/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/08/2011 2:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

186. เรื่องปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี



ทำไมต้อง...เกษตรอินทรีย์ ?
จากกระแสของการไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในภาคการเกษตร มีนัยสำคัญที่น่าสนใจและชวนให้ศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด เนื่องจากมีการศึกษาและรายงานผลการวิจัยออกมามากมาย ถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรของนักวิชาการจากทั่วโลก ซึ่งมีทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศน์ของห่วงโซ่อาหาร ผลเสียต่อสถานะการณ์ของโลกโดยเฉพาะการทำลายชั้นบรรยากาศ ผลกระทบทำให้โครงสร้างและคุณภาพของดินเปลี่ยนแปลง ตลอดจนผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคอันเกิดจากการปนเปื้อน หรือสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร

ทั้งหมดที่กล่าวมา ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรของผู้บริโภค ตลอดจนผลักดันให้ปริมาณความต้องการสินค้าเกษตรที่ปลอดจากสารพิษตกค้างมีความคุ้มค่าทางการตลาดและการลงทุนสำหรับเรื่อง “เกษตรอินทรีย์ “ เกษตรอินทรีย์ คือ อะไร ?

สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (I.F.O.A.M.) ได้ให้คำอธิบายถึงความหมายและคำจำกัดความไว้ว่า


“เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เน้นที่หลักการปรับปรุงและบำรุงดิน ให้ความสำคัญต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศน์เกษตรกร ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติเพื่อการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคและศัตรูของพืชและสัตว์เลี้ยง “

ที่กล่าวมาในข้างต้น เป็นหลักสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพภูมิอากาศ และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน มีคำแนะนำที่แจกแจงเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่

หลีกเลี่ยงหรืองดการใช้สารเคมี หรือสารสังเคราะห์ใดๆ ในกระบวนการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี หรือ สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการไม่ใช้พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่มีการตัดต่อหรือดัดแปลงพันธุกรรม

เลี่ยงการสัมผัสโดยตรงหรือป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีตามร่างกาย ทั้งจากภายในครัวเรือนหรือจากภายนอก พัฒนาระบบการผลิตที่นำไปสู่แนวทางการเกษตรที่ยั่งยืน เน้นความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ในกระบวนการผลิตในระยะยาว พัฒนาระบบการผลิตที่เน้นการพึ่งพาตนเอง หรือการช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่มเรื่องปัจจัยการผลิต เช่น การจัดหาวัสดุทำปุ๋ยบำรุงดิน การจัดการเรื่องโรคศัตรูพืช พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แรงงาน และ เงินทุน เป็นต้น

ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจัดให้มีการหมุนเวียนธาตุอาหารในแปลงเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในระบบนิเวศน์ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ในไร่นา ตลอดจนลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและแมลง มีมนุษยธรรมในการเลี้ยงสัตว์

“เกษตรอินทรีย์“ มีประโยชน์อย่างไร ?
ต้องมองย้อนกลับไปดูว่า สิ่งที่พืชต้องการใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต คือ
ธาตุอาหารหลัก ซึ่งประกอบด้วย ไนโตรเจน (Nitrogen : N),
ฟอสฟอรัส (Phosphorus : P) และ
โปแตสเซียม (Potasium : K)

สำหรับการพัฒนาระบบราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ธาตุอาหารรอง ซึ่งประกอบด้วย
แคลเซียม (Calsium : Ca),
แมกนีเซียม (Magnesium : Mg) และ
กำมะถัน (Sulphur : S)

สำหรับการพัฒนาสีสรร รส และกลิ่นหอม ธาตุอาหารเสริม ซึ่งประกอบด้วย
เหล็ก ( Ferrus : Fe ),
มังกานีส ( Manganese : Mn ),
สังกะสี ( Zinc : Zn ),
ทองแดง ( Cupper : Cu ),
บอรอน ( Boron : Bo ),
โมลิบนัม ( Molibnum : Mo ), และ
คลอริน ( Chlorine : Cl )

สำหรับเสริมสร้างความแข็งแรงและภูมิต้านทานโรค ในขณะเดียวกัน ดิน ซึ่งเป็นวัตถุธาตุที่เกิดขึ้นเองเป็นชั้นๆตามธรรมชาติ จากแร่ธาตุต่างๆที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ผสมรวมกับอินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยผุและย่อยสลายรวมกันเป็นชั้นบางๆห่อหุ้มผิวโลก และเมื่อมีอากาศและน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยทำให้พืชมีการก่อกำเนิดและเจริญเติบโต


องค์ประกอบของดินที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของพืชที่ดี อนุมาณได้ ดังนี้
- อนินทรีย์วัตถุ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 45 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนที่สลายตัวทางเคมี ฟิสิกส์ และทางชีวเคมีของแร่และหินชนิดต่างๆ ประโยชน์หลัก คือ เป็นธาตุอาหารของพืช

- อินทรีย์วัตถุ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 5 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่จะเป็นชิ้นส่วนที่ได้จากการเน่าเปื่อยของเศษซากพืชซากสัตว์ที่ผุพังทับถมกันอยู่ในดิน ประโยชน์หลัก คือ เป็นตัวเชื่อมประสานอนินทรีย์วัตถุให้จับตัวกัน รวมทั้งดูดซับและรักษาระดับความชื้นในดินเอาไว้

- น้ำ หรือ ความชื้น ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 25 โดยปริมาตร ส่วนหนึ่งจะแทรกตัวอยู่ตามช่องว่างของก้อนดิน (เยื่อน้ำ) อีกส่วนหนึ่งจะซับอยู่ในอนุภาคของดิน

- อากาศ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 25 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่เป็น ก๊าซออกซิเจน, ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ประโยชน์หลัก คือ ช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ โดยการทำงานของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตหน่วยที่เล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่เป็นพวกเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ประโยชน์หลัก คือ ช่วยย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ให้เป็นอินทรีย์วัตถุ พร้อมกับปลดปล่อยแอมโมเนียม, ไนเตรท, และซัลเฟต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของพืช

ดังนั้น สรุปในใจความสำคัญได้ว่า “ดินที่ดีที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช คือ ดินที่มีธาตุอาหารครบตามที่พืชต้องการ มีอินทรีย์วัตถุ มีความชื้นในดินที่เหมาะสม สภาพดินร่วน โปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้ดี“ ซึ่งเกษตรอินทรีย์สามารถปรับสภาพทำให้ดินเกิดสภาพดังที่กล่าวมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของการคืนสภาพดังกล่าวให้กับดิน คือ “ปุ๋ยอินทรีย์“

ปุ๋ยอินทรีย์ กับ ปุ๋ยเคมี แตกต่างกันอย่างไร ?
ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยสังเคราะห์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์ต่างๆที่เป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ ซึ่งในที่นี้ก็คือธาตุอาหาร N – P – K โดยจะมีกรรมวิธีและกระบวนการผลิตที่จะปรุงแต่งสัดส่วนของธาตุอาหารหลักแต่ละตัวไปตามความชนิดและช่วงอายุของพืช ทั่วไปจะเรียกกันว่า “สูตรปุ๋ย” ซึ่งความหมายของสูตรปุ๋ยจะหมายถึงสัดส่วนของธาตุอาหารหลักแต่ละตัวที่มีอยู่ในเนื้อปุ๋ยรวมทั้งสิ้น 100 ส่วน ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยสูตร 15–15–15 ให้คำอธิบายได้ว่า ในเนื้อปุ๋ย 100 ส่วนจะมี ไนโตรเจน (N) อยู่ 15 ส่วน, ฟอสฟอรัส (P) อยู่ 15 ส่วน และมี โปแตสเซียม (K) อยู่ 15 ส่วน รวมเป็น 45 ส่วน และอีก 55 ส่วนที่เหลือจะเป็นสารเติมแต่งอื่นๆ ซึ่งในที่นี้คือ ดินขาว หรือ สูตร 16–8–8 จะหมายถึงว่ามีเนื้อปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารรวมแล้วเพียง 32 ส่วน ที่เหลือก็จะเป็นดินขาว ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าอย่างน้อย 40 ส่วนใน 100 ส่วนของปุ๋ยเคมีจะเป็นดินขาว เพราะดินขาวจะมีส่วนช่วยในการปั้นเม็ดให้กลมสวย ทำให้เม็ดปุ๋ยมีความแข็งไม่แตกร่วนในขณะเก็บไว้นานๆ รวมถึงช่วยเหนี่ยวรั้งไนโตรเจน (N) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักตัวหนึ่งในเนื้อปุ๋ย ไม่ให้สลายตัวไปกับอากาศเร็วเกินไป แต่ดินขาวเองไม่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืช ในขณะที่ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ หากจะให้นึกภาพได้ชัดเจนก็คือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เศษซากพืชซากสัตว์ เศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรและวัชพืช ที่ผ่านการหมักให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจนสลายตัวกลายเป็นอินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารที่พืชจะได้รับจากปุ๋ยอินทรีย์ มาจากแร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในมูลสัตว์ เศษซากพืชซากสัตว์ เศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรหรือวัชพืช ซึ่งจะมีธาตุอาหารสำหรับพืชอยู่ครบทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะเพียงธาตุอาหารหลักเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ธาตุอาหารที่ได้จากปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถกำหนดเป็นสูตรอาหารที่ชัดเจนและแน่นอนได้ ทั้งนี้เพราะสัดส่วนของธาตุอาหารที่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นปุ๋ยอะไรและได้จากอะไร เท่าที่มีการตรวจสอบคุณค่าทางอาหารของปุ๋ยอินทรีย์โดยกองเกษตรเคมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เคยวัดค่า N–P–K ได้สูงสุดไม่เกิน 6– 10–2 เท่านั้น

แล้วปุ๋ยเคมี ไม่ดีตรงไหน ?
สิ่งที่พืชต้องการมากที่สุดในการเจริญเติบโต ก็คือ ธาตุอาหารทุกๆกลุ่มอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะผลิตออกมาเป็นดอกเป็นผลให้กับเกษตรกรผู้ปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุอาหารหลักหรือ N–P–K ปุ๋ยเคมีเองก็สามารถให้ธาตุอาหารหลักที่เป็นประโยชน์แก่พืชได้มากเท่าที่พืชต้องการ สิ่งนี้เป็นส่วนที่ดีของปุ๋ยเคมี

แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ธาตุอาหารหลักไม่ได้เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ในปุ๋ยเคมี ในทางกลับกัน ปุ๋ยเคมีแต่ละสูตรที่ใช้กันในภาคการเกษตรมีสัดส่วนของธาตุอาหารหลักทุกตัวรวมกันแล้วไม่เกินร้อยละ 50 (ชี้แจงไว้แล้วในข้างต้น) ส่วนที่เหลือเป็นดินขาว (Clay) ซึ่งเป็นสารเติมแต่งทั้งหมด และดินขาวนี้เองที่เป็นข้อเสียของปุ๋ยเคมี เพราะดินขาวซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กจะแทรกตัวไปอัดแน่นอยู่ในช่องว่างของดิน เมื่อดินขาวได้รับหรือดูดความชื้นจากดิน ก็จะเปลี่ยนไปมีสภาพคล้ายน้ำแป้งและยึดเกาะเม็ดดินให้จับตัวกันแน่นขึ้น พร้อมกับขับไล่อากาศที่มีอยู่ในดินออกไปจนหมดหรือเหลืออยู่น้อยมาก

ดังนั้น แปลงเกษตรที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาโดยตลอด ดินจะมีการเปลี่ยนสภาพเป็นแข็งกระด้าง ระบบรากและลำต้นของพืชไม่แข็งแรง เพาะปลูกไม่ได้ผลผลิตที่ดี



เขียนโดย : http://www.som-network.com/articles/organic-chemistry.php

http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00189
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/08/2011 2:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

187. pH : ความเป็นกรด-ด่างของดิน

pH ใช้บอกความเป็นกรด-ด่าง ความหมายของค่าพีเอชนี้ขออธิบายดังนี้ ช่วงของพีเอชของดินโดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ระหว่างประมาณ ๓.๐-๙

สภาพความเป็นกรด-ด่างของดินนั้นเราสามารถตรวจสอบได้ ปกติเรามักใช้บอกความเป็นกรด-ด่างด้วยค่าที่เรียกว่า พีเอช หรือนิยมเขียนสัญลักษณ์เป็นภาษาอังกฤษ pH ความหมายของค่าพีเอชนี้ขออธิบายดังนี้ ช่วงของพีเอชของดินโดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ระหว่างประมาณ ๓.๐-๙.๐ ค่า pH 7.0 บอกถึงสภาพความเป็นกลางของดิน กล่าวคือ ดินมีตัวที่ทำให้เป็นกรดและตัวที่ทำให้เป็นด่างอยู่เป็นปริมาณเท่ากันพอดี ค่าที่ต่ำกว่า ๗.๐ เช่น ๖.๐ บอกสภาพความเป็นกรดของดิน ในกรณีนี้เมื่อดินมี pH 6.0 เราก็จะทราบว่าดินเป็นกรดอย่างอ่อน มีสภาพเป็นกรดมากกว่าดินที่มี pH 7.0 (เป็นกลาง) สิบเท่า ค่า pH ของดินยิ่งลดลงเท่าใดสภาพความเป็นกรดก็รุนแรงยิ่งขึ้นเท่านั้น ดินที่มี pH 5.0 จะเป็นกรดมากกว่า pH 6.0 สิบเท่าและมากเป็น ๑๐๐ เท่าของดินที่มี pH 7.0 แต่ละค่าของ pH ที่ต่างกันหนึ่งหน่วยจะบอกความเป็นกรดที่แตกต่างกันสิบเท่า เช่นเดียวกับดินที่มี pH สูงกว่า ๗.๐ ก็จะบอกสภาพความเป็นด่างของดินยิ่งมีค่าสูงกว่า ๗.๐ เท่าใด ความเป็นด่างก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และจะเป็นด่างมากขึ้นเป็นสิบเท่าต่อความแตกต่างกันหนึ่งหน่วยของค่า pH ระดับความรุนแรงของความเป็นกรด-ด่างของดินสามารถบอกได้จากค่าของ pH ดังนี้

ค่าของ pH ของดินสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความเป็นกรด ในภาคสนามสามารถใช้ชุดตรวจสอบชนิดใช้น้ำยาเปลี่ยนสีตรวจสอบเรียกว่า pH Test Kit หรือชุดตรวจสอบ pH

ความเป็นกรด-ด่างของดินมีผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกอยู่ในดิน แต่จะขอกล่าวโดยสรุปเป็นสังเขปเท่านั้น
ความเป็นกรดของดินจะมีสภาพเหมือนกับกรดอย่างอ่อน เช่น กรดน้ำส้มสายชู ตัวที่แสดงความเป็นกรดคือ ไฮโดรเจนไอออน (H+) ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเคมีของดิน กล่าวคือ ทำให้มีการละลายตัวของธาตุหรือสารต่างๆ ในดินออกมา บ้างก็เป็นประโยชน์ บ้างก็อาจเป็นพิษต่อพืช เช่น ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงจะทำให้มีธาตุพวกอะลูมิเนียม แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมาอยู่ในน้ำในดินมากเกินไป จนเกิดเป็นพิษขึ้นแก่พืชที่ปลูกได้ แมงกานีสและเหล็กแม้จะเป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญ แต่พืชต้องการในปริมาณน้อย ถ้ามีสะสมอยู่ในดินมากจนเกินไปก็จะเกิดเป็นพิษขึ้นกับพืชได้ ดินที่มีค่าพีเอช (pH) ต่ำกว่า ๔.๕ ลงไปเรามักพบปัญหาดังกล่าวข้างต้น

ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารต่างๆ ในดินที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้ได้ง่ายและมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพหรือระดับ pH ของดินเป็นอย่างมาก ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินจะคงสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีปริมาณมากที่ pH ช่วงหนึ่ง ถ้าดินมี pH สูงหรือต่ำกว่าช่วงนั้นๆ ก็เปลี่ยนสภาพเป็นรูปที่ยากที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ เช่น ธาตุฟอสฟอรัสจะอยู่ในรูปของสารละลายที่พืชดึงดูดไปใช้ได้ง่าย เมื่อดินมี pH อยู่ระหว่าง ๖.๐-๗.๐ ถ้าดินมี pH สูง หรือต่ำกว่าช่วงนี้ ความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสในดินก็ลดน้อยลง เพราะไปทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดินได้ง่ายขึ้น และแปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ปุ๋ยฟอสเฟตที่เราใส่ลงไปในดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้มากที่สุดก็เมื่อดินมี pH อยู่ในช่วงดังกล่าว ปุ๋ยฟอสเฟตที่ใส่ลงไปในดินจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งหมด แต่จะสูญเสียไปโดยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดิน แปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากเสียกว่า ๘๐% ซึ่งเราเรียกว่าฟอสเฟตถูกตรึง ปุ๋ยฟอสเฟตจะถูกตรึงได้ง่ายและมากขึ้นไปกว่านี้ได้อีก ถ้าดินมี pH สูงหรือต่ำกว่าช่วง pH ดังกล่าวข้างต้น

ธาตุอาหารพืชพวกจุลธาตุ (micronutrients) เช่น สังกะสี เหล็ก แมงกานีส โบรอน เป็นต้น จะละลายออกมาอยู่ในสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีอยู่ในดินอย่างพอเพียงกับความต้องการของพืช เมื่อดินมี pH เป็นกรดอย่างอ่อนถึงกรดปานกลางมากกว่าเมื่อดินมี pH เป็นกลางหรือเป็นด่าง แต่ในทางตรงกันข้ามธาตุอาหารโมลิบดินัม จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ดีขึ้น ถ้าดินมี pH เป็นกลางถึงด่างอย่างอ่อน อย่างไรก็ตามเมื่อสรุปความเสียเปรียบและได้เปรียบระหว่างความเป็นกรดและเป็นด่างของดินแล้ว ดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชควรจะมี pH อยู่ในช่วงเป็นกรดอย่างอ่อนถึงเป็นกรดปานกลาง

ความสำคัญของ pH ของดินยังเกี่ยวข้องอยู่กับการทำงานที่เป็นประโยชน์ของจุลินทรีย์ต่างๆ ในดินด้วย ปกติสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ในดินจะเน่าเปื่อยผุพังได้ก็โดยที่มีจุลินทรีย์ต่างๆ เข้าย่อยทำลาย ขณะที่สารอินทรีย์พวกนี้กำลังสลายตัวก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมาซึ่งรากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้ พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วทำให้พืชงอกงามดีขึ้นนั้น ก็เนื่องจากจุลินทรีย์พวกนี้เข้าย่อยและทำให้ปุ๋ยคอกสลายตัว และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกทีหนึ่ง การที่ปุ๋ยคอกมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ช้ากว่าปุ๋ยเคมี ก็เนื่องด้วยเหตุที่ปุ๋ยคอกต้องรอให้จุลินทรีย์เข้าย่อยให้สลายตัวเสียก่อน ซึ่งผิดกับปุ๋ยเคมีเมื่อละลายน้ำแล้วพืชก็สามารถดึงดูดเอาธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้ได้ทันที จุลินทรีย์ต่างๆ ที่เข้าย่อยสลายปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ต่างๆ ตลอดจนฮิวมัสในดินนั้นจะทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ เมื่อ pH ของดินอยู่ระหว่าง pH 6-7 ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงถึงกรดรุนแรงมาก จุลินทรีย์ในดินจะทำงานได้ช้าลง ปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ในดินจะสลายตัวและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ช้ามาก

เมื่อดินเป็นกรดรุนแรงและกรดรุนแรงมากนั้น มักจะพบว่าพืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโต และงอกงามเท่าที่ควร เราสามารถแก้ไขดินที่เป็นกรดมากจนเกินไปนี้ (pH ต่ำกว่า ๕.๐) ให้มีระดับ pH สูงขึ้น ได้โดยการใส่สารประกอบพวกปูนขาว (Ca(OH2)) หินปูนที่บดละเอียดเป็นฝุ่น (CaCO3) และปูนมาร์ล (marl) ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกันกับหินปูน สารประกอบพวกนี้เมื่อใส่ลงไปในดินจะมีฤทธิ์เป็นด่างและจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับกรด ทำให้สารพวกกรดในดินลดน้อยลง และมีสารพวกด่างสูงขึ้น



อ้างอิง : http://guru.sanook.com/

http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00408
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/08/2011 7:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

188. ยอดข้าวราชินี ให้ความเป็นหนุ่มสาวกระชุ่มกระชวย


ทุกประเทศทั่วโลกที่กินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลักต่างรู้กันดี สุดยอดข้าวเจ้าเยี่ยมที่สุดในโลกคือ ข้าวหอมมะลิของไทย กลิ่นหอมนุ่มนวลรสชาติอร่อยและให้คุณค่าทางอาหารสูง แต่ไทยเราไม่พอใจอยู่แค่นั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีบทบาทอย่างสำคัญทำให้ข้าวไทยมีคุณค่าทางอาหารและรสชาติดียิ่งขึ้นไปอีก โปรดให้ทำการค้นคว้าจนได้ยอดข้าว 5 ชนิด เอามาปรุงแต่งแล้วผสมกันตามสัดส่วนที่กำหนด หุงกินได้เลยโดยไม่ต้องซาวข้าว เป็นสุดยอดข้าว ยอดอาหารที่กินแล้วช่วยให้ดูเป็นหนุ่มเป็นสาวทั้งชะลอความชรา และเหมาะอย่างยิ่งกับผู้ต้องการควบคุมน้ำหนัก มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ข้าวกล้องปรุงเบญจกระยาทิพย์ “แรกผลิ 6”

องค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตยอดข้าวสมเด็จพระราชินีออกสู่ท้องตลาด ได้แก่ฟาร์มตัวอย่างมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางน้อย หมู่ที่ 1, 2 กม.ที่ 32 ถนนแจ้งสนิท ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี พื้นที่ 210 ไร่ ที่โน่นมีบทบาทอย่างเงียบน่ามหัศจรรย์มากมายหลายประการ ด้วยการค้นคว้าใช้ความรู้ก้าวหน้าที่ค้นพบใหม่มาใช้กับการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง ไม้ดอกไม้ประดับ พืชให้ผลและพืชสวน นับเป็นสถานที่น่าสนใจที่สุดทั้งการดูงานสาธิตวิธีการใหม่ๆ และการท่องเที่ยวที่น่าตื่นตาตื่นใจไปพร้อมกัน ใช้พื้นที่เพื่อการเกษตร 118 ไร่ เป็นป่าโปร่ง 64 ไร่ พื้นที่น้ำเพื่อการประมง 14 ไร่ นอกนั้นเป็นถนนและสิ่งก่อสร้าง น่าสังเกตว่าที่นั่นเป็นพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล อุณหภูมิสูงในหน้าแล้งและมีอากาศแห้ง

การผลิตยอดข้าวมหัศจรรย์ที่บริโภคแล้วทำให้ ร่างกายดูเป็นหนุ่มเป็นสาวกระชุ่มกระชวยเป็นหนึ่งในงานทั้งหมดเท่านั้น อยากเอ่ยถึง 2-3 โครงการ ที่น่าสนใจ ได้แก่ พัฒนาการเพาะเห็ดเศรษฐกิจและเห็ดป่า ผลิตพืชมีศักยภาพในระบบหมุนเวียน ปลูกพืชไร่เศรษฐกิจก่อนและหลังการทำนา ปลูกผักปลอดสารพิษราคาดีในตลาด อาทิ ถั่วฝักยาว ผักกวางตุ้ง ผักฮ่องเต้ การเพาะเลี้ยงหมูป่าและโครงการพัฒนาผลิตเส้นไหมไทยพื้นบ้าน ที่ทำครบวงจรตั้งแต่ปลูกต้นหม่อนเอง เลี้ยงไหมเอง สาวไหมเอง รวมตลอดไปถึงการฟอกย้อมจนถึงการทอและการขึ้นลายผ้าจนสำเร็จเป็นผืน น่าสังเกตมากตรงการย้อมผ้าไหม ใช้สีจากพืชเอามาย้อมทั้งหมดแบบโบราณ ถ้าต้องการสีเขียวจะใช้สีทำจากต้นเพกา สีชมพูอมม่วงทำจากลูกหม่อน สีเหลืองทำจากเปลือกต้นก้านขี้เหล็ก และสีเขียวอ่อนทำจากต้นขนุน



เฉพาะการผลิตยอดข้าวราชินีหรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ข้าวกล้องปรุงเบญจกระยาทิพย์ แรกผลิ 6” ทำกันอย่างพิถีพิถันมาก ต้องทำการคัดเลือกพันธุ์ข้าวชั้นยอดทั้ง 5 พันธุ์ จากหลายแหล่งหลายจังหวัด เริ่มด้วยเลือกข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข.6 ของอุบลราชธานี ข้าวหอมกุหลาบที่ปลูกในฟาร์มของศูนย์ศิลปาชีพฯเอง เลือกข้าวหอมแดงจากสุรินทร์ และเลือกยอดข้าวกํ่าชาวเขาเผ่ามูเซอ ที่ปลูกในหุบเขาความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 900-1,000 เมตร ในพื้นที่ที่ปราศจากมลภาวะจากเชียงใหม่และเชียงราย ด้วยเหตุผลข้าวก่ำมูเซอเป็นข้าวที่มีเส้นใยสูง มีโปรตีนสูง มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ มีวิตามินและแร่ธาตุสูง

จุดน่าพิศวงของยอดข้าวราชินีที่ต้องเพาะเมล็ดข้าวจนงอกเสียก่อนแล้ว จึงนำมาปรุงแต่งเป็นข้าวเบญจกระยาทิพย์ ได้รับการอธิบายในแง่วิชาการการเกษตรว่า เพื่อเป็นการเพิ่มสาร GABA ในเมล็ดข้าวทางชีวะธรรมชาติ ปรับปรุงโครงสร้างคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนให้ย่อยง่ายพร้อมเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้มีสารกลูตามีนออกมาจากเมล็ดข้าวด้วยวิธีธรรมชาติโดยจุลชีพ เพื่อที่จะให้ จมูกข้าวที่เพาะจนงอกมีโปรตีนมากสามารถสร้างกรดอะมิโน เหมาะแก่การสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยอาหาร ไวตามีน แร่ธาตุนำไปเลี้ยงต้นอ่อนที่งอก มีผลสร้างภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติของพืช วิธีการดังกล่าวจะทำให้ข้าวมีแทนนินสูงไม่มีรสขม มีปฏิกิริยาที่เป็นกรดเล็กน้อยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุได้ดีกว่าเดิม เมื่อนำข้าวมาหุงจะทำให้เกาะกันอุ้มน้ำได้ดี ได้ข้าวนุ่มนวลได้ปริมาณข้าวมากขึ้นโดยไม่แฉะ ด้วยวิธีหุงด้วยไฟปานกลางช้าๆ จะได้เมล็ดข้าวสุกสวยงามและไม่แตก ข้าวจะให้รสชาติอร่อยไม่จืดชืด



การค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์การเกษตรระบุว่า ยอดข้าวราชินีมีผลกระตุ้นฮอร์โมนให้ทำการระดับสม่ำเสมอทำให้ชะลอความชรา สำหรับสตรีมีผลต่อการสมานผิวโดยธรรมชาติ โดยเฉพาะสตรีที่มีปัญหาปวดท้องและเป็นสิวในรอบเดือน นอกจากนั้น ยังกระตุ้นให้ตับขับเอนไซม์ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด ช่วยขับสารแห่งความสุขใจพอใจ ป้องกันมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ลดโอกาสในการเป็นโรคไขข้ออักเสบ ส่งเสริมการหมุนเวียนของโลหิต ลดพลาสมาคอเลสเทอ�รอลในเลือด และกระตุ้นการขับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เพื่อสลายไขมัน ความจริงคำบรรยายมีคุณสมบัติมากกว่านี้ แต่คัดมาเท่าที่เห็นว่าเป็นที่น่าสนใจเท่านั้น.


กว่าจะมาเป็นยอดข้าว
เมื่อได้ยอดข้าว 5 พันธุ์ คัดอย่างดีมาจากหลายจังหวัดแล้ว การจะทำเป็นยอดข้าวราชินีให้คุณค่าทางอาหารสูง แถมทำให้ร่างกายดูเป็นหนุ่มสาวกระชุ่มกระชวย จะต้องผ่านกรรมวิธีเอาข้าวทั้ง 5 พันธุ์นั้น แช่น้ำไว้ 4-8 ชม. เมื่อแช่ครบตามเวลาแล้ว นำเอาข้าวไปเพาะหนึ่งคืนเพื่อให้รากงอก น่าสังเกตว่าข้าวที่นำเอาไปแช่น้ำ เพื่อเพาะให้รากงอกเป็นข้าวที่ผ่านการสีเป็นข้าวสารเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่แช่ข้าวทั้งที่ยังเป็นข้าวเปลือกอย่าได้สงสัยข้าวที่สีเป็นข้าวสารแล้ว เอาไปแช่น้ำเพาะให้รากงอกได้ ถ้าหากจมูกข้าวยังอยู่ครบ

ต่อจากนั้นนำเอาข้าวไปนึ่ง 5-7 นาที โดยนึ่งด้วยหวดนึ่งข้าวเหนียวแบบชาวบ้านนั่นแหละ ไม่ได้ใช้หม้อนึ่งแบบอุตสาหกรรมใหญ่โตแต่อย่างใด เมื่อเสร็จสิ้นจากขบวนการนำเอาไปนึ่งแล้ว เอาข้าวทั้ง 5 พันธุ์ไปตากแดดเพื่อให้ความชื้นลดลงเหลือเพียง 13-15% ต่อจากนั้นจัดการเก็บยอดข้าวไทยทั้ง 5 พันธุ์ที่ตากแล้ว โดยแยกแต่ละพันธุ์ข้าวไว้จัดส่งไปให้แผนกที่มีหน้าที่จัดการผสมข้าว 5 พันธุ์เข้าด้วยกัน โดยสูตรการผสมข้าวที่ผ่านการคิดค้นมานานจนเกิดความลงตัว จะให้ผลดีด้านโภชนาการมากที่สุด โดยขณะนี้ยังไม่เปิดเผยสูตร

เมื่อผสมยอดข้าวทั้ง 5 พันธุ์ที่ผ่านขบวนการปรุงแต่งเรียบร้อยแล้ว จัดการบรรจุถุงผ้าดิบถุงละ 1 กก. เพื่อนำออกจำหน่ายเป็นอันเสร็จพิธี การบรรจุนั้นหากเป็นข้าวที่จะต้องส่งไปขายยังต่างประเทศ หรือที่ต่างประเทศสั่งซื้อจะบรรจุในภาชนะบรรจุสุญญากาศ โดยส่วนหนึ่งส่งไปขายที่อังกฤษอย่างสม่ำเสมอ ในไทยเรานั้นข้าวกระยาทิพย์ ยอดข้าวสมเด็จพระราชินีมีขายที่สยามพารากอน เดอะมอลล์ และที่ห้างเซ็นทรัลในราคาถุงละ 70 บาท การหุงกินง่ายมาก ไม่ต้องซาวข้าวก่อน เพียงเติมน้ำลงไปแล้วก็หุงกินได้เลย.


"วีวา"


ที่มา นสพ.ไทยรัฐ :http://www.thairath.co.th

http://www.kubotaudon.com/news-farm3.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/08/2011 5:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

189. สยบเพลี้ยแป้งในไร่มัน ด้วยแมลงช้างปีกใส ที่ เมืองกาญจน์


แมลงช้างปีกใส - เพลี้ยแป้ง

ปัญหา การระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง นับวันจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างผลกระทบให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพราะมีอัตราการระบาดเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงต้องมีการประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติจากการเข้าทำลายของเพลี้ยงแป้งเลยที เดียว

ดังนั้น จึงนับเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

นอกเหนือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานหลักในการดูแลแก้ไขปัญหาเกี่ยว กับการเกษตรของเกษตรกรทั่วประเทศ ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งแล้ว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นับเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาด้วย เช่นกัน โดยการนำผลงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง เข้ามาส่งเสริมถ่ายทอดไปยังเกษตรกรที่ประสบปัญหาการระบาด ซึ่งในวันนี้เรียกได้ว่า มีหลายพื้นที่ที่สามารถแก้ไขปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งได้แล้ว

"การ ใช้ศัตรูธรรมชาติเพื่อการแก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังอย่าง ยั่งยืน" เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้ง ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

สำหรับ พื้นที่ดำเนินโครงการนั้น อยู่ในเขต 3 จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย ในเขตอำเภอพนมทวน อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ และอำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

โดยมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการดำเนิน โครงการคือ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ หนึ่งในหน่วยงานที่สังกัดอยู่ภายใต้สำนักงาน วช.

ศ.นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการการใช้ศัตรูธรรมชาติเพื่อการแก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งมัน สำปะหลังอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่นำวิธีการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังระบาดโดยลดการใช้สาร เคมี โดยใช้ศัตรูตามธรรมชาติมาควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง หรือที่เรียกว่า "ชีววิธี" ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553-กันยายน 2555

สำหรับวัตถุประสงค์ของ โครงการเพื่อใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพื่อให้เกิดการควบคุมที่ถาวรในสภาพไร่ สามารถลดประชากรของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังให้ระบาดไม่เกิน 30% ในปีที่ 1 และไม่เกิน 10% ในปีที่ 2 และลดปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังและลดการใช้สารฆ่าแมลงในพื้นที่ ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดกาญจนบุรี

"รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการ ใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติให้แก่เกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 200 คน ในพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ โดยจัดการอบรมเพื่อให้เกษตรกรทำการผลิตศัตรูธรรมชาติ ทั้งแมลงช้างปีกใส แตนเบียน และไรตัวห้ำ มวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ มวนตัวห้ำ และมวลตาโต ทดสอบการใช้ประโยชน์ของแมลงศัตรูธรรมชาติโดยการปลดปล่อยศัตรูธรรมชาติและ ติดตามประเมินผลการปลดปล่อยศัตรูธรรมชาติในพื้นที่โครงการ"

"หลังจาก ดำเนินการโครงการไปแล้วเป็นเวลา 1 ปี พบว่า ในพื้นที่ที่ทำการวิจัยและทดลองปล่อยศัตรูธรรมชาตินั้นมีปริมาณของเพลี้ย แป้งมันสำปะหลังลดลงจนเกษตรกรให้การยอมรับและนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปต่อยอด โดยการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อนำไปปล่อยในแปลงมันสำปะหลังต่อไป" เลขา วช. กล่าว

รศ.ดร. วิวัฒน์ เสือสะอาด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้พื้นที่การระบาดขยายวงกว้างขึ้นเกิดจากการขยาย พื้นที่ปลูกและมีการใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่มีไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยเพลี้ยแป้งติดไปกับท่อนพันธุ์ นอกจากนี้ ยังมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งกระจายไปสู่ต้นมันสำปะหลังต้นอื่นและแปลงข้าง เคียง

ทั้งนี้ ได้พบว่ามีการลงทำลายของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง สร้างความเสียหายรุนแรงในหลายจังหวัด ตั้งแต่ต้นปี 2551 และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นและขยายวงกว้างไปสู่พื้นที่ปลูกมัน สำปะหลังในหลายจังหวัด

"ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังไม่ให้เกิดการระบาดโดย หาวิธีการที่ทดแทนหรือลดการใช้สารเคมีในการกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังเพื่อ ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับแนวคิดการผลิตพืชปลอดภัย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือวิธีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (biological control) ซึ่งหมายถึง การใช้ประโยชน์จากศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ตัวห้ำ (predator) ตัวเบียน (parasite) ตลอดจนเชื้อโรค (pathogen) ในการควบคุมศัตรูพืช"

สำหรับ การดำเนินโครงการมาจนถึงขณะนี้ ได้มีการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกร ทำการผลิตศัตรูธรรมชาติ ชนิดต่างๆ อันได้แก่ แมลงช้างปีกใส Plesiochrysa ramburi (Schneider) และแมลงช้างปีกใส Mallada basalis (Walker) แตนเบียน Allotropa sp. และไรตัวห้ำ Amblyseius longispinosus (Evans) มวนตัวห้ำเพลี้ยไฟ Wollastoniella rotunda Yasunaga & Miyamoto มวนตัวห้ำ Orius maxidentex Ghauri และมวนตาโต Geocoris ochroterus

โดย ทั้งนี้ตัวที่ส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เพาะขยายพันธุ์และปล่อยในพื้นที่ของบ้าน รางยอม หมู่ที่ 8 ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่เคยประสบปัญหาระบาดของเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง และได้รับการส่งเสริมจากโครงการให้นำแมลงช้างปีกใสเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการ ระบาดจนประสบความสำเร็จ

ทุกวันนี้ต้นมันสำปะหลังสามารถเจริญเติบโต ให้ผลผลิตได้เป็นอย่างดี โดยปราศจากการระบาดถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ปล่อยแมลงช้างปีกใสทั้งหมด 1,000 กว่าไร่

ทั้งนี้ ด้วยความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ และสำนักงานเกษตรอำเภอพนมทวน ได้มีการเข้ามาส่งเสริมแนะนำทั้งวิธีการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และการเพาะเลี้ยงแมลงช้างปีกใสให้กับชาวบ้าน

คุณสายัณต์ บุญสวัสดิ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน ได้ย้อนอดีตถึงการเข้าระบาดของเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรในหมู่ บ้านรางยอม ว่าได้เริ่มเกิดการระบาดของเพลี้ยแป้งอย่างรุนแรงในปี 2551 เป็นต้นมา ซึ่งในระยะแรกนั้น ได้ใช้วิธีการป้องกันกำจัดด้วยการฉีดพ่นสารเคมี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ยังพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง จนต้องไถมันสำปะหลังที่ปลูกทิ้ง

"จนมา ได้รับการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 หน่วยงาน ที่เข้ามาให้ความรู้ และรวมกลุ่มชาวบ้านที่สนใจตั้งเป็นศูนย์ผลิตศัตรูพืชขึ้น โดยเน้นการเพาะขยายพันธุ์แมลงช้างปีกใสเป็นหลัก โดยทางศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์ ได้มอบพ่อแม่พันธุ์แมลงช้างปีกใสมาให้เพาะเลี้ยง"

ปัจจุบันโรงเรือน เพาะเลี้ยงแมลงช้างปีกใสของชาวบ้านรางยอมได้ตั้งอยู่ที่บ้าน คุณประทิน อ่อนน้อย หรือ คุณเจี๊ยบ ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเกษตรธรรมชาติบ้านรางยอม โดยสถานที่แห่งนี้ในปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกรในจังหวัด กาญจนบุรีและใกล้เคียง เพื่อนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง โดยที่ผ่านมามีเกษตรกรเข้ามาดูงานอย่างต่อเนื่อง

สำหรับภายในโรง เรือนจะมีการเพาะเลี้ยงแมลงช้างปีกใส จะมีกรงเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งภายในจะปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้กินเพลี้ยอ่อนเป็นอาหาร ซึ่งเพาะเลี้ยงไว้บนลูกฟักทอง ทั้งนี้ ฟักทองที่นำมาใช้เลี้ยงนั้นต้องเลือกแบบที่กำลังพอดี คือไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป

"หลักสำคัญที่สุดคือ ต้องมีเพลี้ยอ่อนเป็นอาหารให้กับแมลงช้างปีกใส ซึ่งแต่ก่อนนี้เราสามารถเก็บยอดต้นมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดมาให้ แมลงช้างปีกใสกินได้ แต่ตอนนี้เราไม่มีแล้ว หาเพลี้ยยาก ต้องไปขอเพลี้ยอ่อนจากตำบลอื่น จึงต้องเปลี่ยนมาเลี้ยงเพลี้ยอ่อนบนลูกฟักทองแทน โดยชาวบ้านที่ต้องการแมลงช้างปีกใสไปปล่อยในแปลงตัวเอง ต้องนำลูกฟักทองมาแลก" คุณประทิน กล่าว

ทั้งนี้ ในการเลี้ยงนั้นจะนำลูกฟักทองมาวางบนชั้นไม้ ซึ่งจะมียอดมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยแป้งเกาะอยู่ วางอยู่ด้านล่าง และนำลูกฟักทองไว้ด้านบน เพลี้ยแป้งจะขึ้นมาดูดกินน้ำเลี้ยงจากฟักทองเป็นอาหาร และขยายพันธุ์อยู่บนลูกฟักทองจนเต็มทั้งลูก

"หลังจากได้ฟักทองที่มี เพลี้ยแป้งเกาะอยู่จนเต็มแล้ว จะนำเข้าไปในกรงเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์แมลงช้างปีกใส ซึ่งจะบุด้วยมุ้งตาละเอียด พ่อแม่พันธุ์ที่ปล่อยจะใช้อัตราส่วน ฟักทอง 1 ลูก ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 5 คู่ ซึ่งพ่อแม่พันธุ์จะกินเพลี้ยแป้งเป็นอาหาร และวางไข่ โดยแม่หนึ่งจะวางไข่ 400-500 ฟอง

สำหรับฟักทองที่ใช้เลี้ยง เมื่อถูกดูดน้ำเลี้ยงหมดแล้ว จะไม่ถูกนำไปทิ้ง แต่จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก นำกลับมาใช้ในไร่มันสำปะหลังอีกครั้งหนึ่ง

"เนื่องจากการเลี้ยงแมลง ช้างปีกใสมีความละเอียดอ่อนมาก และต้องใช้เทคนิค เราจึงทำให้ง่ายขึ้น โดยการปล่อยนั้น แทนที่จะนำไข่ไปวางไว้ตามต้นมันสำปะหลัง เหมือนกับที่นักวิชาการทำ เราจะใช้วิธีการนำตัวโตเต็มวัยที่เติบโตอยู่ในกรงเลี้ยงไปปล่อยแทน โดยจะใช้วิธีการจับด้วยเครื่องมือจับแมลงช้างปีกใส แล้วนำไปปล่อยในแปลงปลูกมัน สำหรับในกรงนั้นตัวอ่อนที่เกิดมาจะโตขึ้นมาแทนตัวที่เราจับไปปล่อย โดยเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยคือ ช่วงเช้าและเย็น หากไปปล่อยตอนแดดจัด แมลงช้างปีกใสจะไม่รอด"

ทั้งนี้ ในการปล่อยแมลงช้างปีกใสนั้น คุณประทินบอกว่า ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15-30 วัน จึงจะเห็นผล ซึ่งต้องมีการไปตรวจดูแปลงปลูกมันสำปะหลังทุกวัน

"ถ้าได้ผล จะสังเกตได้จากยอดมันสำปะหลังที่เคยหงิกย่นจะคลายยืดตัวออกมาเหมือนปกติ" คุณประทิน กล่าว

"ทุก วันนี้แม้ไม่มีการระบาด แต่เราก็ยังคงมาตรการการป้องกันไว้อย่างเข้มข้น โดยจะนำแมลงช้างปีกใสไปปล่อยในแปลงปลูกอย่างต่อเนื่อง โดยดูจากจำนวนเพลี้ยแป้งที่พบในแปลง หากไม่มีเลยก็จะปล่อยประมาณ 30 วันครั้ง แต่หากพบว่ามีการระบาดเกิดขึ้นบ้างแล้ว จะปล่อยทุก 15 วัน นอกจากเรื่องการเพาะเลี้ยงแมลงช้างปีกใสแล้ว อีกสิ่งที่เรากำลังดำเนินการคือ การใช้วิธีชุบท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารเคมีป้องกันเพลี้ยแป้งก่อนปลูก ควบคู่ไปด้วย"

จากทั้งมีการจัดการป้องกันเรื่องการระบาดของเพลี้ย แป้งและมีการจัดการดูแลแปลงมันสำปะหลังเป็นอย่างดี ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 6 ตัน" คุณประทิน กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่มีปัญหาเรื่องเพลี้ยแป้ง สามารถติดต่อ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โทร. (02) 942-8252 หรือ เว็บไซต์ www.thaibiocontrol.org



ที่มา http://info.matichon.co.th
http://iwgarden.blogspot.com/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/08/2011 5:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

190. ความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้เครืองเกี่ยวนวด

โดย ... ดร.สมชาย ชวนอุดม
ศูนย์วิจัยเครื่องจักรกลเกษตรและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ข้าว เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทย การผลิตข้าวมีหลายขั้นตอน การเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต จากปริมาณการผลิตข้าวที่มีอยู่เป็นจำนวนมากของประเทศไทย หากเกิดความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวจะส่งผลต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันการใช้เครื่องเกี่ยวนวดกำลังได้รับความนิยมจากเกษตรกรอย่างแพร่หลายและมีการใช้งานขยายไปทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งเครื่องเกี่ยวนวดข้าวนี้เป็นเครื่องจักรที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนและทำงาน ประกอบไปด้วยกระบวนการตัด ลำเลียง นวด คัดแยกเมล็ดออกจากฟาง และทำความสะอาดข้าวเปลือก โดยมีถังรองรับข้าวเปลือกที่ผ่านกระบวนการทั้งหมดแล้ว หรือมีการบรรจุข้าวเปลือกลงในภาชนะบรรจุอื่น มีการทำงานที่เบ็ดเสร็จในตัวเอง มี สมรรถนะการทำงานที่ดีและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในบางพื้นที่ที่มีแปลงนาขนาดเล็กหรือมีต้นไม้มากไม่เหมาะแก่การใช้งานเครื่องเกี่ยวนวดก็ได้มีการรวมแปลงเพื่อให้เป็นแปลงที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและหรือมีการตัดและขุดต้นไม้ที่อยู่ในนาออก ทั้งนี้เพราะการใช้เครื่องเกี่ยวนวดช่วยให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายจากวิธีการเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน นอกจากนี้ยังเป็นการทำงานที่เบ็ดเสร็จ ไม่ยุ่งยาก รวดเร็ว และสามารถนำข้าวไปจำหน่ายได้ทันที อีกทั้งเกษตรกรหลายรายมีอาชีพอื่นนอกจากการเพาะปลูกข้าวจึงจำเป็นต้องเร่งรีบเก็บเกี่ยวเพื่อที่จะมีเวลาไปประกอบอาชีพนั้นๆ นอกจากนี้ผลพลอยได้อีกด้านหนึ่งจากการใช้เครื่องเกี่ยวนวดคือการมีโอกาสช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวหรือข้าวสารเต็มเมล็ดจากวิธีเก็บเกี่ยวโดยแรงงานคนอีกประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ (วินิต ชินสุวรรณ และคณะ, 2542) ทั้งนี้เพราะการเก็บเกี่ยวโดยแรงงานคนต้องมีการตากแผ่ฟ่อนข้าว ยิ่งตากนานเท่าไหร่ยิ่งทำให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าว ลดลงเนื่องจากความแตกต่างที่ค่อนข้างมากของสภาพอากาศในเวลากลางวันและกลางคืนในฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนการใช้เครื่องเกี่ยวนวดเกษตรกรนิยมขายข้าวทันทีภายหลังการเก็บเกี่ยว โรงสีที่รับซื้อจะต้องนำข้าวที่มีความชื้นสูงไปอบลดความชื้น ในการอบลดความชื้นจะทำให้เมล็ดข้าวไม่ถูกกระทบกระเทือนมากเท่ากับจากการตากแผ่ในแปลงนา ส่งผลให้ได้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวที่สูงกว่า ในปัจจุบันคาดว่ามีเครื่องเกี่ยวนวดข้าวใช้งานประมาณ 10,000 เครื่อง อยู่ภายในประเทศ โดยเกือบทั้งหมดผลิตในประเทศไทย และใช้งานในลักษณะของการรับจ้างเกี่ยวนวดแบบเหมาจ่ายต่อหน่วยพื้นที่

เครื่องเกี่ยวนวด เป็นเครื่องที่มีระบบการทำงานทั้งเกี่ยว นวด และทำความสะอาดอยู่ในเครื่องเดียว ประเทศไทยพัฒนาเครื่องเกี่ยวนวดมาจากเครื่องของต่างประเทศ ชุดหัวเกี่ยวและระบบลำเลียงพัฒนามาจากเครื่องเกี่ยวนวดของประเทศทางแถบตะวันตก โดยนำชิ้นส่วนทั้งของเครื่องเกี่ยวนวด รถยนต์หรือเครื่องจักรกลต่าง ๆ มาดัดแปลง ส่วนชุดนวดและชุดทำความสะอาดดัดแปลงมาจากเครื่องนวดแบบไหลตามแกนของไทยซึ่งเป็นการพัฒนาและปรับปรุงมาจากเครื่องนวดแบบไหลตามแกน ของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ หรือ International Rice Research Institute (IRRI) ประเทศไทยได้พัฒนาและปรับปรุงเครื่องเกี่ยวนวดข้าว จนเหมาะกับสภาพการทำงานในประเทศ

ความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด
เครื่องเกี่ยวนวดข้าวมีอุปกรณ์ที่ส่งผลต่อความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
1) ชุดหัวเกี่ยว ในการทำงานประกอบด้วย ล้อโน้มทำหน้าที่เกาะต้นพืชที่ล้มและหรือโน้มต้นพืชที่ตั้งให้เข้ามาหาชุดใบมีด ชุดใบมีดตัดต้น พืชและถูกล้อโน้มโน้มส่งต่อเข้ามายังเกลียวลำเลียงหน้าเพื่อรวบรวมต้นพืชมายังส่วนกลางของชุดหัวเกี่ยวสำหรับส่งเข้าชุดคอลำเลียงเพื่อกวาดพาต้นพืชส่งต่อไปยังชุดนวด

2) ชุดนวด เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการแยกเมล็ดให้หลุดจากฟาง โดยการทำการฟาดตีของลูกนวดและหรือหมุนเหวี่ยงข้าวให้ฟาดตีกับตะแกรงนวดเพื่อแยกเมล็ดออกจากรวง ส่วนเมล็ดที่ถูกนวดแล้วถูกแยกออกจากชุดนวดโดยผ่านตะแกรงนวดที่ทำหน้าที่ในการกรองฟางไม่ให้ไหลปนไปกับเมล็ด เมล็ดที่ผ่านตะแกรงนวดตกลงไปยังชุดทำความสะอาด

3) ชุดทำความสะอาด ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ตะแกรงทำความสะอาดทำหน้าที่แยกเศษหรือท่อนฟางหลังการนวดให้ออกจากเมล็ด ทำงานรวมกับชุดพัดลมที่อยู่ใต้ตะแกรงทำความสะอาด โดยชุดพัดลมเป่าเศษฝุ่น ข้าวลีบ เศษฟาง และสิ่งเจือปนอื่น ๆ ให้แยกจากเมล็ดออกไปท้ายเครื่อง

ในการผลิตข้าวของประเทศมีพันธ์ุข้าวที่ใช้ในการเพาะปลูกหลากหลายพันธ์ุ แต่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มพันธ์ุข้าวใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่มพันธ์ุข้าว คือ ข้าวพันธ์ุพื้นเมือง และข้าวพันธ์ุลูกผสม ซึ่งพันธ์ุข้าวเหล่านี้ก็มีผลต่อความสูญเสียเช่นเดียวกัน
จากการสำรวจความสูญเสียจากการใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวสำหรับข้าวพันธ์ุขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นพื้นเมืองที่สำคัญที่สุดของไทยในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ และข้าวพันธ์ุชัยนาท 1 ซึ่งเป็นข้าวพันธ์ุลูกผสมที่สำคัญของไทยในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม ดังแสดงในตารางที่ 1


ตารางที่ 1 ความสูญเสียเฉลี่ยจากการเก็บเกี่ยวข้าว โดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด

จากตารางที่ 1 เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุชัยนาท 1 พบว่าการทำงานของชุดนวดส่งผลต่อความสูญเสียมากที่สุดถึงร้อยละ 91 ของความสูญเสียรวมจากการเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุชัยนาท 1 หรือคิดเป็นความสูญเสีย 6.20 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต ซึ่งเป็นความสูญเสียที่ค่อนข้างสูง ส่วนการทำงานของชุดหัวเกี่ยว และชุดทำความสะอาดส่งผลต่อความสูญเสียไม่มากนักเท่ากับร้อยละ 4.8 และ 4.2 ของความสูญเสียรวมจากการเก็บ

เกี่ยวข้าวพันธ์ุชัยนาท 1 ตามลำดับ ผลของความสูญเสียแตกต่างจากการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวดสำหรับข้าวพันธ์ุขาวดอกมะลิ 105 ที่ความสูญเสียส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานของชุดหัวเกี่ยวที่มีความสูญเสียร้อยละ 58.8 ของความสูญเสียรวมจากการเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุขาวดอกมะลิ 105 หรือคิดเป็นความสูญเสีย 1.86 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต รองลงมาเป็นความสูญเสียที่เกิดจากการทำงานของชุดนวด และชุดทำความสะอาดเท่ากับร้อยละ 34.2 และ 7.0 ของความสูญเสียรวมจากการเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุขาวดอกมะลิ 105 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องมาจากข้าวพันธ์ุขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวพันธ์ุพื้นเมืองเมล็ดร่วงหล่นได้ง่ายเมื่อสุกแก่หรือข้าวพันธ์ุนวดง่าย จึงทำให้มีความสูญเสียจากชุดหัวเกี่ยวสูงกว่าการนวดและการคัดแยกในชุดนวด ส่วนข้าวพันธ์ุชัยนาท 1 ซึ่งเป็นข้าวนาปรังหรือข้าวพันธ์ุไม่ไวแสง และเป็นพันธ์ุลูกผสมเมล็ดร่วงหล่นได้ยากกว่าเมื่อสุกแก่หรือข้าวพันธ์ุนวดยากกว่าพันธ์ุพื้นเมืองจึงทำให้มีความสูญเสียจากการนวดและคัดแยกในชุดนวดสูงกว่าการเกี่ยว (วินิต และคณะ, 2546)

ดังนั้นในการใช้งาน ปรับแต่ง การพัฒนาและหรือการวิจัยเพื่อลดความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวดจึงควรเน้นปรับแต่ง และหรือศึกษาเฉพาะอุปกรณ์ที่มีผลต่อพันธ์ุข้าวในกลุ่มนั้นๆ คือ ควรเน้นปรับแต่งและหรือศึกษาชุดหัวเกี่ยวเมื่อทำการเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุพื้นเมือง และควรเน้นปรับแต่งและหรือศึกษาชุดนวดเมื่อทำการเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุลูกผสม


เอกสารอ้างอิง
• วินิต ชินสุวรรณ, นิพนธ์ ป้องจันทร์, สมชาย ชวนอุดม, วราจิต พยอม. 2546. ผลของอัตราการป้อนและความเร็วลูกนวดที่มีต่อสมรรถนะการนวดของเครื่องนวดข้าวแบบไหลตามแกน. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย. 10(1):9-14.
• วินิต ชินสุวรรณ, สมชาย ชวนอุดม, วสุ อุดมเพทายกุล, วราจิต พยอม, ณรงค์ ปัญญา. 2542. ความสูญเสียในการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโดยใช้แรงงานคนและใช้เครื่องเกี่ยวนวด. วารสารวิจัย มข. 4(2): 4-7.


http://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=42
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/08/2011 7:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

191. กลุ่มสารสำคัญในสมุนไพร


ดร. จักรพงษ์ ลิมปนุสสรณ์


การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้สามารถสกัดและแยกสารเคมีบริสุทธิ์ที่มีคุณประโยชน์ ทางยาในพืชสมุนไพรและได้สารสำคัญ จำแนกได้ดังนี้


1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrates)
เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนถูกสร้างขึ้นจากการสังเคราะห์แสงของพืช คาร์โบไฮเดรตนอกจากใช้เป็นอาหารแล้วยังนำมาใช้ประโยชน์ทาง ยา เช่น

1.1 แป้ง ใช้เป็นสารช่วยเพิ่มปริมาณ (diluent) ในการแตกตัวของเม็ดยา (disintegrating agent)

1.2 กัม (gum) เป็นสารที่ต้นไม้สร้างขึ้นเมื่อได้รับอันตรายหรือเป็นแผล ใช้ประโยชน์เป็นสารช่วยแขวนตะกอน (suspending agent) และสารช่วยยึดเกาะในยาเม็ด (binding agent) และสารที่ทำให้ชุ่มคอ (demulcent)

1.3 วุ้น (agar) เป็นสารที่สกัดได้จากสาหร่ายสีแดง วุ้นใช้ประโยชน์เป็นยาระบาย เป็นสารช่วยเพิ่มความคงตัวของผลิตภัณฑ์และ สารช่วยในการเตรียมอีมัลชัน

1.4 น้ำตาลทราย (sucrose) พบมากในอ้อย และในปาล์มชนิดต่างๆ เช่น มะพร้าว ตาล น้ำตาลทราย ใช้เป็นสารแต่งรสหวาน (sweetening agent) และใช้เป็นสารช่วยเพิ่มปริมาณในยาอม

1.5 แมนนิทอล (mannitol) เป็นชูการ์แอลกอฮอล์ (sugar alcohol) ที่ได้จากสาหร่ายสีน้ำตาล ใช้ประโยชน์เป็นสารแต่งรสหวานในผลิตภัณฑ์ยาใช้เป็นอาหารผู้ป่วยโรคเบาหวานและเป็นยาระบายสำหรับเด็ก

1.6 ซอร์บิทอล (sorbitol) เป็นชูการ์แอลกอฮอล์ ใช้ประโยชน์เป็นสารแต่งรสหวานในผลิตภัณฑ์ยาและเป็นอาหารผู้ป่วยในโรคเบาหวาน

1.7 เซลลูโลส (cellulose) เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์พืช เซลลูโลสที่ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ ได้แก่ สำลีที่ได้จากขนหุ้มเมล็ดฝ้าย อนุพันธุ์ของเซลลูโลสที่ใช้ประโยชน์ในทางเภสัชกรรม ได้แก่ เมทิลเซลลูโลส (methyl cellulose) และคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (carboxymethyl cellulose) อนุพันธุ์ทั้งสองชนิดนี้จะพองตัวเมื่อถูกน้ำ ใช้ประโยชน์เป็นยาระบายชนิดช่วยเพิ่มกาก (bulk laxative) และใช้เป็นสารช่วยแขวนตะกอน

1.8 วิตามินซี (ascorbic acid) เป็นชูการ์แอซิด (sugar acid) ใช้ประโยชน์ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน


2. น้ำมันหอมระเหย (essential oil)
น้ำมันหอมระเหย เป็นสารประกอบที่สลับซับซ้อน และระเหยได้ ในอุณหภูมิห้อง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า volatille oil พบได้ในส่วนต่างๆ ของ พืช เช่น ดอก ใบ ผล กลีบเลี้ยง เปลือกไม้ ราก สามารถสกัดน้ำมัน หอมระเหยออกจากส่วนต่างๆ ของพืชได้หลายวิธี เช่น การกลั่นด้วยไอน้ำ (steam distillation) การกลั่นด้วยการต้ม (water distillation) การกลั่นด้วย การใช้ตัวทำละลาย (solvent extraction) และการใช้ไขมันดูดกลิ่นหอมแล้วนำไปกลั่น ด้วยตัวทำละลาย (enfleurage) น้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นรสเฉพาะตัว มีทั้งเบาและหนักกว่าน้ำ มักเป็นส่วนประกอบของพืชสมุนไพรที่เป็นเครื่องเทศ ใน ด้านคุณสมบัติทางด้านเภสัชวิทยา มักเป็นด้านขับลมและฆ่าเชื้อรา พบในพืชสมุนไพร เช่น กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด ไพล ขมิ้น เป็นต้น


3. แอลคาลอยด์ (alkaloid)
เป็นกลุ่มสารที่พบในพืชชั้นสูง พบบ้างในพืชชั้นต่ำ ในสัตว์และในจุลินทรีย์ แอลคาลอยด์เป็นสารอินทรีย์ ที่มีรสขม ไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ มักจะมีสมบัติ ทางเภสัชวิทยาที่เด่นชัด ตัวอย่างเช่น สารควินิน (quinin) ในเปลือกต้นชิงโคนา (cinchona) มีสรรพคุณรักษาโรคมาลาเรีย เรเซอร์ปีน (reserpine) ในรากระย่อม มีสรรพคุณลดความดันเลือด มอร์ฟีน (morphine) ในยางของผลฝิ่นมีสรรพคุณระงับอาการปวด เป็นต้น


4. ไกลโคไซด์ (glycoside)
เป็นสารประกอบที่พบมากในพืชสมุนไพร มีโครงสร้างแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นน้ำตาลกับส่วนที่ไม่ได้เป็นน้ำตาล ที่เรียกว่า อะไกลโคน (aglycone) หรือ เจนิน (genin) ส่วนที่ไม่ใช่น้ำตาลมีโครงสร้างแตกต่างกันไปหลายประเภท ดังนั้นฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารประกอบในกลุ่มนี้จึงมีได้กว้างขวางแตกต่างกันออกไป ส่วนที่เป็นน้ำตาลไม่มีฤทธิ์ ทางเภสัชวิทยาแต่เป็นส่วนช่วยทำ ให้การละลายและการดูดซึมเข้าสู่ ร่างกายดีขึ้น อาจจำแนกไกลโคไซด์ตามสูตรโครงสร้างของอะไกลโคน (เนื่องจากเป็นส่วนที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา) ได้ดังนี้

4.1 คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ (cardiac glycoside) มีฤทธิ์ต่อ ระบบกล้ามเนื้อหัวใจ และระบบการ ไหลเวียนของโลหิต เช่น สารในยี่โถ

4.2 แอนทราควินโนนไกลโคไซด์ (anthraquinone glycoside) มีฤทธิ์เป็นยาระบาย สารนี้มีชุมเห็ดเทศ ใบขี้เหล็ก ใบมะขามแขก เป็นต้น

4.3 ซาโปนินไกลโคไซด์ (saponin glycoside) เมื่อเขย่ากับน้ำจะได้ฟองคล้ายสบู่ มักใช้เป็นสารตั้งตันในการผลิตยาประเภทสเตอรอยด์ เช่น สารในลูกมะคำดีควาย

4.4 ฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ (flavonoid glycoside) เป็นสีที่พบใน ดอกและผลของพืช ทำเป็นสีย้อมหรือสีแต่งอาหาร เช่น สารสีในดอกอัญชัน

4.5 ไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ (cyanogenic glycoside) เป็นไกลโคไซด์ เมื่อถูกไฮโดรไลส์ด้วยเอนไซม์ กรดหรือด่างจะให้ไฮโดรไซยานิกแอซิด (hydrocyanic acid) ซึ่งเป็นสารพิษต่อมนุษย์และสัตว์

4.6 แทนนิน (tannin) เป็นกลุ่มสารที่พบได้ทั่วไปพืชเกือบทุกชนิดเป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อน มีรสฝาด มีฤทธิ์เป็น กรดอ่อนและสามารถตกตะกอนโปรตีนได้ มีฤทธิ์ฝาดสมานและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย พบในใบฝรั่ง เนื้อของกล้วยน้ำว้าดิบ





--------------------------------------------------------------------------------
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
เทคโนธานี ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ประเทศไทย
โทรศัพท์ 0-2577-9000
โทรสาร 0-2577-9009

196 พหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 0-2579-1121..30,0-2579-5515,0-2579-0160,0-2579-8533
โทรสาร. 0-2561-4771,0-2579-8533 เทเลกซ์. 21392 TISTR TH
เว็บไซด์ : http://www.tistr.or.th
E-mail: hotline@tistr.or.th

กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี
ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0-2246-0064 , 0-2640-9600
โทรสาร: 0-2246-8106
เว็บไซด์ : http://www.most.go.th
อีเมล์ : helpdesk@most.go.th



สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2544 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=88&i2=25
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/08/2011 7:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

192. สารสำคัญที่พบในพืช



Alkaloid
แอลคาลอยด์ เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่าง เป็นกลุ่มที่มีอะตอมของไนโตรเจนอยู่ในโมเลกุล พบได้ในพืชบางวงศ์เท่านั้น เช่น พืชวงศ์ถั่ว FABACEAE แอลคาลอยด์ พบได้เกือบทุกส่วนของพืช เช่น ผล(พริกไทย), เมล็ด (แสลงใจ) , ใบ(ลำโพง), เปลือกต้น(ซิงโคนา) ,ราก(ระย่อมน้อย) ตัวอย่างสารในกลุ่มแอลคาลอยด์ ได้แก่ hyoscine, hyoscyamine มีฤทธิ์ลดการปวดเกร็งของลำไส้ ได้จาก ใบและเมล็ดของลำโพง

quinine ใช้รักษาโรคมาลาเรีย ได้จากเปลือกตันซิงโคนา

caffeine และ theobromine มีผลในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ได้จากใบชาและเมล็ดกาแฟ

resepine มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ได้จากรากระย่อมน้อย



Anthraquinone
แอนทราควิโนน มีฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ เช่น emodin, aloe-emodin, rhein, sennosides พบได้ใน ว่านหางจระเข้ มะขามแขก ชุมเห็ดเทศ โกฐน้ำเต้า


Cardiac glycoside
คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ มีการนำไปใช้ในเป็นยารักษาโรคหัวใจที่เต้นเร็วผิดจังหวะ เต้นไม่สม่ำเสมอ แต่ไม่สามารถใช้ในรูปสมุนไพรได้ เพราะขนาดที่ใช้ใกล้เคียงกับขนาดที่เป็นพิษ ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ ตัวอย่างสารเช่น oleandrin, thevetins A-B, nerifolin, mansonin, strophanthin, เป็นต้น พบได้ในพืชวงศ์ APOCYNACEAE เช่น ยี่โถ ตีนเป็ดน้ำ รำเพย


Coumarin
คูมาริน มีหลายชนิด มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต่างกัน เช่น bergapten มีฤทธิในการป้องกันการแพ้แสงแดด ได้จาก คื่นไช่ khellin มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ จากเทียน เยาวพาณี เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน



พักสายตากันซักครู่ครับ... แล้วค่อยอ่านกันต่อ.....



Cyanogenic glycoside
ไซยาโนจีนิคกลัยโคไซด์ เมื่อถูกย่อยจะได้สาร hydrocyanic acid หรือ prussic acid (HCN) ซึ่งจะเป็นพิษต่อระบบเลือด ทำให้เซลล์ต่างๆ ของร่างกายขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย มึนงง ไม่รู้สึกตัว ชักก่อนที่จะหมดสติ สารนี้จะสลายตัวได้ง่ายถ้าถูกความร้อน ดังนั้นก่อนนำมารับประทาน จะต้องผ่านกรรมวิธีที่ใช้ความร้อน ตัวอย่าสาร ได้แก่ linamarin, dhurrin พบได้ในพืชวงศ์ Euphorbiaceae เช่นมันสำปะหลัง ยางพารา พืชวงศ์ ARACEAE เช่น ผักหนาม พืชวงศ์ CAPPARACEAE เช่น กุ่มน้ำ ผักเสี้ยน


Flavonoid
ฟลาโวนอยด์ พบได้ทุกส่วนของพืช เป็นสารมีสีตั้งแต่ สีเหลือง แดง ม่วง น้ำเงิน ทำให้ดอกไม้มีสีสันสวยงาม บางชนิดมีฤทธิ์ ทางเภสัชวิทยา เช่น ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ต้านเชื้อไวรัส ลดการอักเสบ สารสำคัญกลุ่มนี้ได้แก่ hesperidin และ rutin ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ผนังเส้นเลือดฝอยแข็งแรง ไม่เปราะ แตกง่าย ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร


Saponin glycoside
ซาโปนินกลัยโคไซด์ มีคุณสมบัติลดแรงตึงผิว เมื่อเขย่าสารละลายของซาโปนินในน้ำ จะได้ฟองที่คงทนใช้สระผมได้ บางชนิดเป็นพิษ ถ้ารับประทานเข้าไปจะระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะลำไส้ และทำให้เม็ดเลือดแตกได้ สารนี้ มีสูตรโครงสร้าง 2 แบบ คือ triterpenoid และ steroid saponin พบได้ใน โสม ขะเอม บัวบก ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ กลอย เป็นต้น ตัวอย่างสารซาโปนินกลัยโคไซด์ที่สำคัญ ได้แก่ asiaticoside, glycyrrhizic acid เป็นต้น


Tannin
แทนนิน พบได้ในพืชเกือบทุชนิด ไม่มากก็น้อย แทนนิน มี 2 ชนิด คือ condensed tannins พบได้ในส่วนเปลือกต้น และแก่นไม้เป็นส่วยใหญ่ และ hydrolysable tannins พบมากในส่วนใบ ฝัก และส่วนทีปูดออกมาจากปกติ เมื่อต้นไม้ได้รับอันตราย(gall) แทนนิน มีคุณสมบัติตกตะกอนโปรตีน ทำให้หนังสัตว์ไม่เน่าเปื่อย แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน จึงใช้เป็นยารักษาโรคท้องเสียได้ แทนนินมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ ตัวอย่างแทนนินได้แก่ theogallin, gallic acid, ellagic acid


Volatile oil
น้ำมันหอมระเหย เป็นน้ำมันที่ได้จากการกลั่นพืชด้วยไอน้ำ หรือแยกได้จากพืชโดยใช้ตัวทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์, อีเทอร์ น้ำมันหอมระเหย จะพบได้เกือบทุกส่วนของพืช ใช้แต่งกลิ่นในยา ลูกอม บางชนิดมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยกระตุ้นการขับน้ำย่อย ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ ที่สำคัญได้แก่
จากส่วนดอก เช่น กุหลาบ มะลิ ซ่อนกลิ่น ส้ม กานพลู
จากส่วนใบ เช่น มะกรูด สะระแหน่ ยูคาลิปตัส
จากส่วนเปลือกต้น เช่น สน อบเชย
จากส่วนผล เช่น ผักชี พริกไทย พริกหาง กระวาน




http://rx12.wsnhosting.com/herb/activeplants.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/08/2011 7:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

193. การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร (Havesting)


การเก็บเกี่ยว หมายถึงการปฏิบัติการต่อพืชขั้นสุดท้าย ซึ่งเกี่ยวกับการเก็บเอาผลผลิตของพืชจากแปลงปลูกพืชเพื่อการบริโภค เพื่อการแปรรูปหรือจัดจำหน่ายต่อไป การปลูกพืชตั้งแต่ขั้นต้นผ่านการปฏิบัติ ดูแลรักษา มาจนถึงระยะของการเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้น ก็อาจเรียกว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการผลิตดังนั้นผู้ผลิตจะต้องรู้วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างถูกต้องและรวดเร็วทันต่อเวลา มิฉะนั้นอาจทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหายตลอดจนคุณภาพของผลผลิตพืชไม่ตรงกับความต้องการของตลาด


หลักเกณฑ์การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร
การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรเพื่อนำมาใช้เป็นยานั้นผู้เก็บจำเป็นต้องรู้ในเรืองรูปร่าง ลักษณะสัณฐานของพืชและยังต้องอาศัยความรู้ทางด้านสรีรวิทยาและขบวนชีวสังเคราะห์ในพืชด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้สารสำคัญ (Active constituents) ซึ่งมีฤทธิ์ในการบำบัดรักษาในปริมาณที่สูงที่สุด สรรพคุณของพืชสมุนไพรจะขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสารสำคัญในพืชสมุนไพรนั้นๆปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพของสมุนไพรได้แก่ การเก็บเกี่ยว ช่วงเวลาที่เก็บสมุนไพร และวิธีการเก็บสมุนไพร จะมีผลต่อปริมาณสารสำคัญในสมุนไพร นอกจากนี้การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรยังต้องคำนึงถึงการเก็บสมุนไพรให้ถูกต้นและเก็บให้ถูกส่วนอีกด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อปริมาณของสารสำคัญ ซึ่งจะเกี่ยวโยงถึงผลในการรักษาโรคของสมุนไพรนั้น ๆ


หลักสำคัญในการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร มีดังนี้
เก็บเกี่ยวถูกระยะเวลา ที่มีปริมาณสารสำคัญสูงสุด การนำพืชสุมนไพรไปใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุดนั้น ในพืชจะต้องมีปริมาณสารสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร ดังนั้นการเก็บเกี่ยวสมุนไพร จึงต้องคำนึงถึงทั้งอายุเก็บเกี่ยว และช่วงระยะเวลาที่พืชให้สารสำคัญสูงสุดด้วย

เก็บเกี่ยวถูกวิธี โดยทั่วไปการเก็บส่วนของพืชสมุนไพรแบ่งออกตามส่วนที่ใช้เป็นยาดังนี้

2.1 ประเภทรากหรือหัว เช่น กระชาย, ข่า, ขิง และ ไพล เป็นต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบและดอกร่วงหมด หรือเก็บในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่รากและหัวมีการสะสมปริมาณสารสำคัญไว้ค่อนข้างสูง ..... วิธีเก็บ ใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง ตัดรากฝอยออก

2.2 การเก็บเปลือกรากหรือเปลือกต้น เช่น เปลือกต้นของ เปลือกสีเสียด เปลือกทับทิม มักเก็บ ในช่วงระหว่างฤดูร้อนต่อกับฤดูฝน ซึ่งมีปริมาณสารสำคัญในเปลือกจะสูง และเปลือกลอกออกง่าย ส่วนเปลือกรากควรเก็บในช่วงต้นฤดูฝนเพราะจะลอกได้ง่าย ..... วิธีเก็บ การลอกเปลือกต้นอย่าลอกออกรอบทั้งต้นควรลอกออกจากส่วนกิ่งหรือแขนงย่อยหรือใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อระบบการลำเลียงอาหารของพืช และไม่ควรลอกส่วนลำต้นใหญ่ของต้นซึ่งอาจทำให้พืชตายได้

2.3 ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น เช่น กะเพรา ฟ้าทะลายโจร ชุมเห็ดเทศ ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด บางชนิดจะระบุช่วงเวลาที่เก็บ ซึ่งช่วงเวลานั้นใบมีสารสำคัญมากที่สุด เช่น เก็บใบแก่ หรือใบไม่อ่อนไม่แก่เกินไป (ใบเพสลาด) เป็นต้น ....วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือตัด

2.4 ประเภทดอก เช่น ดอกคำฝอย ดอกเบญจมาศโดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน แต่บางชนิด ก็ระบุว่าให้เก็บในช่วงที่ดอกยังตูมอยู่ เช่น กานพลู เป็นต้น ..... วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือตัด

2.5 ประเภทผลและเมล็ด โดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่เต็มที่แล้ว เช่น มะแว้ง ดีปลี ชุมเห็ดไทย แต่บางชนิดก็ระบุให้เก็บในช่วงที่ผลยังดิบอยู่ เช่นฝรั่ง เป็นต้น .... วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือวิธีตัด


พืชที่ให้น้ำมันระเหย ควรเก็บขณะดอกกำลังบานและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมควรจะเก็บในเวลาเช้ามืดเ พื่อให้สารที่เป็นยาซึ่งอยู่ในน้ำมันหอมระเหยนั้นไม่ระเหยหายไปกับแสงแดดเช่น กะเพรา เป็นต้น


วิธีการเก็บสมุนไพรที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น โดยทั่วไปไม่มีอะไรสลับซับซ้อนประเภทใบหรือดอก ใช้วิธีเด็ดธรรมดา ส่วนแบบราก หัว หรือเก็บทั้งต้น ใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง เพื่อประกันให้ได้ส่วนที่เป็น ยามากที่สุด สำหรับเปลือกต้นหรือเปลือกราก มีผลต่อการดำรงชีวิตของต้นพืชสมุนไพร ดังนั้นจึงควรสนใจวิธีการเก็บดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น



ตารางแสดงการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรบางชนิด พืช ส่วนที่เก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้สารสำคัญสูงสุด
อายุการให้ผลผลิต สภาพต้นพืช

ขมิ้นชัน เหง้า 9-10 เดือน เหง้าแกร่ง ต้นแห้งฟุบ

ขี้เหล็ก ใบ 1-10 ปีขึ้นไป เก็บใบอ่อน 5 ใบโดยนับจากยอด

คำฝอย เกสร เมล็ด 90-100 วัน 120 -150 วัน ลำต้น ใบ ช่อดอก แห้ง ไม่มีช่อดอก

ตะไคร้หอม ใบ 8 เดือน -3 ปี ต้นมีข้อเด่นชัด ระยะก่อนออกดอก

บุก หัวใต้ดิน หัวบนใบ 2-3 ปี 1 ปี ต้นแห้ง ไม่มีใบสด ประมาณเดือน ส.ค-ก.ย.

ไพล เหง้า 1-3 ปี อายุ 2 ปีขึ้นไป ต้นฟุบ ไม่เก็บช่วงฝนหรือเมื่อแตกหน่อใหม่

ฟ้าทะลายโจร ใบ 110-120 วัน เริ่มออกดอกไม่ควรให้เริ่มติดเมล็ด

มะขามแขก ใบ ฝัก 50-90 วัน 80-120 วัน เมื่อเริ่มออกดอก เก็บฝักอายุ 20-23 วัน เท่านั้น ฝักไม่แก่ เริ่มมีเมล็ดใส ๆ

มะแว้งเครือ ผล 8 เดือน ผลแก่แต่ยังไม่สุก เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม

ส้มแขก ผล 8-10 ปี ผลสุก แก่ขนาดโตเต็มที่

ดีปลี ผล 1-5 ปีขึ้นไป แก่จัดแต่ไม่สุก สีเหลืองอมส้ม




http://www.angelfire.com/ri2/rangsan/keep_hook.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/08/2011 1:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

194. สารกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตรของประเทศไทย


พาราคว็อท (Paraquat)
เป็นยากำจัดวัชพืชที่มีการใช้มากที่สุดในประเทศไทย[4] ทำงานโดยหยุดยั้งการเติบโตของเซลวัชพืช และทำให้เนื้อเยื่อของเซลนั้นแห้งตายลง


ไกลโฟเสต (Glyphosate)
เป็นยากำจัดวัชพืชโดยวิธีฉีดพ่นและดูดซึมทางใบ, วิธีฉีดเข้าลำต้น หรือหยอดที่ยอด



2,4-ดี (2,4-D)
เป็นฮอร์โมนพืช (ออกซิน) สังเคราะห์ โดยถ้าใช้ในความเข้มข้นต่ำจะกระตุ้นการเจริญเติบโต ถ้าใช้ในความเข้มข้นสูงจะเป็นสารกำจัดวัชพืชใบกว้าง เพราะมีฤทธิ์ของความเป็นออกซินสูงมาก โดยวัชพืชใบกว้างซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงคู่จะไวต่อการตอบสนองต่อ 2,4-ดี มากกว่าพืชใบแคบซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว



บิวตาคลอร์ (Butachlor)
เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้ป้องกันวัชพืชก่อนที่วัชพืชจะงอก เพื่อป้องกันวัชพืช เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว กกขนาก หนวดปลาดุก กกทราย และ ขาเขียด



โพรพานิล (Propanil)
เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืชพวกใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว



ฟีโนซาพรอพ-พี-เอ็ทธิล (Fenoxaprop-p-ethyl)
เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืชประเภทหญ้า เช่น หญ้าดอกขาว หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าแดง
เพนดิเมทธอลิน (Pendimethalin) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืช เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าดอกขาว หญ้าแดง กกขนาก กกทราย หนวดปลาดุก ขาเขียด ผักปอดนา



ไพราโซซัลฟูรอน-เอทิล (Pyrazosulfuron-ethyl)
เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืช เช่น กกขนาก หนวดปลาดุก ขาเขียด ผักปอดนา ผักแว่น




อ้างอิง
1.^ การกำจัดหรือการควบคุม โดย นางสาวอำไพ ยงบุญเกิด, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3[1]
2.^ สารกำจัดวัชพืช: หลักการและกลไกการทำลาย, ทศพล พรพรหม, สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, พ.ศ. 2545 ISBN 975-537-200-5
3.^ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5
http://www.brrd.in.th
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=52



http://th.wikipedia.org/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/08/2011 2:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

195. การวินิจฉัยโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต


สาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (Inanimate agent) เนื่อจากสภาพแวดล้อมของพืชหลายชนิด เช่น การขาดแร่ธาตุอาหาร การได้รับพิษจากสาร เคมีมากเกินไป และอาการที่พืชถูกเผาไหม้เนื่องจากแสงแดด อาการผิดปกติเนื่อจากสาเหตุเหล่านี้บางครั้งพืชแสดงอาการคล้ายกัน เช่น อาการขาดแร่ธาตุอาหาร บางชนิดแสดงอาการซีดเหลืองคล้ายกับโรคที่เกิดจากไวรัส และมายโคพลาสมา จึงมีความจำเป็นต้องทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด โรคพืชที่เกิดจากสาเหตุ จากสิ่งไม่มีชีวิตต้องไม่พบเชื้อสาเหตุ ยกเว้นเชื้อที่พบปนเปื้อนภายหลังบนเนื้อเยื่อที่แสดงอาการผิดปกติแล้ว และสาเหตุจากสิ่งไม่มีชีวิตไม่สามารถถ่ายทอดไปยัง ต้นอื่น

การขาดแร่ธาตุอาหารในพืช (Mineral deficiency) นับว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ทำให้พืชแสดงลักษณะอาการขาดธาตุ อาหาร (Hunger signs) เมื่อสภาพดินที่ปลูกขาดแร่ธาตุชนิดนั้นๆ หรืออยู่ในสภาพที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้เนื่องจากสภาพความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม

แร่ธาตุที่พืชต้องการมากและเป็นแร่ธาตุอาหารหลักในการดำรงชีวิต (Major element) ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก ชนิดที่พบมากตามธรรมชาติ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน

ส่วนแร่ธาตุที่พืชต้องการน้อยเป็นแร่ธาตุอาหารรอง แต่มีความจำเป็นในการ เจริญเติบโตของพืช (Minor elements) ได้แก่ แมงกานีส โบรอน สังกะสี ทองแดง โมลิบดินัม และคลอรีน


ส่วนประกอบของเนื้อเยื่อพืชมีแร่ธาตุอาหารมากน้อยต่างกันตามแต่ความต้องการของชนิดพืชนั้นๆ เช่น

- ธาตุไนโตรเจน ปกติรวมกับออกซิเจนได้
- น้ำซึ่งช่วยในการลำเลียงแร่ธาตุอาหารทำให้เซลล์พืชเต่งตึงดำรงชีพอยู่ได้
- ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยในการสร้างคาร์โบไฮเดรต ในขบวนการสังเคราะห์แสง
- ไนโตรเจนในรูปของเกลือแอมโมเนียม และไนเตรต จะถูกเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนมในพืช ซึ่งทำหน้าที่สร้างโปรตีน
- ฟอสฟอรัสในพืชเป็นส่วนสำคัญใน การควบคุมการแบ่งเซลล์และการยับยั้งการสะสมน้ำตาลในพืช ฉะนั้นพืชที่ขาดฟอสฟอรัสมักแสดงอาการใบสีม่วง
- โปตัสเซียมช่วยในการลำเลียงแร่ธาตุอาหารในพืช ช่วยให้พืชต้านทานโรค
- กำมะถันเป็นส่วนสำคัญในกรดอะมิโน เมื่อขาดธาตุนี้พืชจะแสดงอาการเหลืองๆคล้ายกับขาดไนโตรเจน
- แมกนีเซียมถูกพืชนำไปใช้ เป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลด์ ถ้าพืชขาดธาตุชนิดนี้จะแสดงอาการเหลืองซีด
- ธาตุแคลเซียมถูกดูดซึมเข้าสู่พืชเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์พืชและ ยึดเซลล์เข้าด้วยกันในรูปของ Calcium pectate
- เหล็กเป็นอีดธาตุหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างคลอโรฟิลด์
- แมงกานีสมีส่วนสำคัญเป็น catalyst ในขบวนการ ดำรงชีพของพืช
- โบรอนเป็นธาตุที่มีความสำคัญในการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อเจริญ
- สังกะสี ทองแดง และโมลิบดินัม เป็นส่วนสำคัญในขบวนการเมตาโบลิซึมในพืช




สรุปลักษณะอาการของพืชที่ขาดธาตุบางชนิด
ขาดธาตุไนโตรเจน : พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งต้นเริ่มจากใบล่างซีดเหลืองอ่อน

ขาดธาตุฟอสฟอรัส : พืชเจริญเติบโตช้า ในใบมีสีเขียวเข้มหรือม่วงบริเวณใบล่างๆลำต้นมียอดสั้น

ขาดธาตุแมกนีเซียม : ใบที่แก่ แสดงอาการซีดเหลืองหรือแดงบริเวณขอบใบและปลายใบก่อนขยายตัวลงไปที่โคน ใบมีสีซีดเหลืองเป็นรูปตัว V หัวกลับขอบใบม้วนงอขึ้น

ขาดธาตุโปตัสเซียม : ต้นพืชมียอดน้อย ใบล่างซีดเหลือง ขอบใบม้วนขึ้นปลายใบและขอบใบแห้งมีสีน้ำตาล ผลไม้มีขนาดเล็กลง

ขาดธาตุแคลเซียม : ใบอ่อนบิดงอชงักการเจริญเติบโต แสดงอาการบิดม้วน ขอบใบฉีกขาด ตายอดแห้งตาย ลำต้นมีรากน้อย ทำให้ผลแตกใน ผลไม้หลายชนิด

ขาดธาตุโบรอน : ทำให้ก้านใบอ่อนแตกและหัก ใบบิดงอ รากลำต้นและผล แสดงอาการเป็นแผลแตก ลำต้นแตกเป็นรูกลวงและเมล็ดลีบในผักหลายชนิด

ขาดธาตุกำมะถัน : ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งใบ

ขาดธาตุเหล็ก : ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองแต่เส้นใบยังคงเขียว

ขาดธาตุสังกะสี : ใบด่างเหลืองระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กเกิดเป็นกระจุก



สภาพแวดล้อมต่างๆเกี่ยวเนื่องกับการขาดแร่ธาตุอาหาร ได้แก่ สภาพทางฟิสิกส์ของดินที่มีความเหนียวจัด ยับยั้งการแพร่กระจายของราก ทำให้พืชดูดแร่ธาตุได้น้อย อุณหภูมิในดินสูงทำให้อินทรียวัตถุสลายตัวให้ไนโตรเจนและแร่ธาตุอื่นๆในดินได้เร็ว การใส่ปูนขาวในดินที่มากเกินไปจะยับยั้งแร่ธาตุบางชนิด เช่น สังกะสี โบรอน และแมงกานีสทำให้รากพืชไม่สามารถนำไปใช้ได้

การวินิจฉัยการขาดแร่ธาตุในพืชอาจทำได้โดยการวิเคราะห์จากเนื้อเยื่อพืช (Tissue analysis) จากใบที่สร้างใหม่ๆแล้วเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่ วิเคราะห์ได้จากพืชปกติ การวิเคราะห์ดินและวัดระดับความเป็นกรดเป็นด่างในดิน จะช่วยในการเตรียมป้องกันการขาดธาตุอาหารในพืชได้

การศึกษาลักษณะอาการขาดธาตุอาหารในพืชในห้องปฏิบัติการและในเรือนกระจกสามารถทำได้โดยการปลูกพืชในน้ำยา (Nutrient solution) ที่มีสาร ผสมธาตุอาหารที่พืชต้องการครบถ้วน เปรียบเทียบกับพืชที่เลี้ยงในน้ำยาที่ขาดธาตุอาหารที่ต้องการศึกษา น้ำยาที่ปลูกพืชที่ใชโดยทั่วไปคือ Hoagland’s solution ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

KNO3 0.006 mole/ลิตร
Ca(NO3)2 4H2O 0.004 mole/ลิตร
MgSO4 7H2O 0.002 mole/ลิตร
NH4H2PO4 0.001 mole/ลิตร
FeCl3 (5%) 1 มล.
Microelement 1 มล.


ส่วนประกอบของ microelement 1 ลิตร มี
H3BO3 2.86 กรัม
MnCl2 4H2O 1.81 กรัม
ZnSO4 7H2O 0.22 กรัม
CuSO4 5H2O 0.02 กรัม และ
H2MoO4H2O 0.02 กรัม


การเตรียมน้ำยาปลูกพืชที่ขาดธาตุอาหาร (Incomplete nutrient solution) มีหลักเกณฑ์คือ เมื่อต้องการให้พืชขาดธาตุใดธาตุหนึ่งในน้ำยา Hoagland ก็ต้องเปลี่ยนเกลือของสารที่มีธาตุนั้น โดยใช้ โซเดียม(Na) แทนธาตุอาหารที่เป็นแคทไอออน (Cation) เช่น ต้องการให้ขาดโปแตสเซียม ก็เปลี่ยน KNO3 ไป ใช้ NaNO3 และในกรณีที่เป็นแอนไอออน (Anion) ก็ให้ใช้คลอไรด์ (Cl) แทน เช่น ต้องการให้ขาดไนโตรเจน (ไนเตรท) ก็ต้องเปลี่ยน KNO3ไปใช้ KCl

สรุปการให้ขาดธาตุชนิดหนึ่งในน้ำยาเลี้ยงพืชเพื่อศึกษาลักษณะอาการขาดแร่ธาตุในสูตรน้ำยาเลี้ยงพืชมีดังนี้

ถ้าต้องการให้ขาดธาตุไนโตรเจน ให้ใช้ KCl , CaCl2 และ NaH2PO4 แทน KNO3 , Ca(NO3)2 4H2O และ NH4H2PO4 ตามลำดับ

ถ้าต้องการให้ขาดธาตุฟอสฟอรัส ใช้ NH4Cl แทน NH4H2PO4
ถ้าต้องการให้ขาดธาตุโปแตสเซียม ใช้ NaNO3 แทน KNO3
ถ้าต้องการให้ขาดธาตุแคลเซียม ใช้ NaNO3 แทน Ca(NO3)2 4H2O
ถ้าต้องการให้ขาดธาตุแมกนีเซียม ใช้ Na2SO4 แทน MgSO4 7H2O
ถ้าต้องการให้ขาดธาตุกำมะถัน ใช้ MgCl2 แทน MgSO4 7H2O
ถ้าต้องการให้ขาดธาตุเหล็ก ไม่ต้องเติม FeCl3 ลงในสูตรน้ำยา


การบำรุงดูแลต้นพืชที่เลี้ยงในน้ำยาควรมีการให้อากาศ (aeration) ทุกวัน และเปลี่ยนน้ำยาทุกๆอาทิตย์ เพื่อไม่ให้น้ำยาเปลี่ยนสภาพความเป็นกรดด่าง มากเกินไป โดยทั่วไประดับความเป็นกรดเป็นด่างควรอยู่ระหว่าง 5.0-6.0


อาการขาดธาตุชนิดที่พืชต้องการมาก เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุปุ๋ย (Fertilizer element) จะแสดงอาการ ขาดธาตุปรากฏให้เห็นภายในเวลาอันสั้น เมื่อนำอาการขาดธาตุจากใบพืชที่ปรากฏตามธรรมชาติเปรียบเทียบก็จะเป็นการช่วยการวินิจฉัยได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ส่วนการ ทดสอบลักษณะอาการขาดแร่ธาตุที่เป็นธาตุรองมีวิธ๊ทำที่ยากเนื่องจาก ต้องทดสอบในปริมาณที่น้อยและแร่ธาตุเหล่านี้มักปนเปื้อนในธรรมชาติได้ง่าย ต้องใช้ ภาชนะแก้วและน้ำกลั่นชนิดพิเศษ



http://guru.sanook.com#การพิสูจน์การเป็นโรค


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/08/2011 3:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

196. โรคพืชวิทยา (Plant pathology)

โรคพืชวิทยา (Plant pathology) มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ pathos(suffering) หมายถึง การทนทุกข์ทรมาน ความเจ็บป่วยหรือความเสียหายและlogos (speech) หมายถึง การกล่าวถึง ดังนั้นโรคพืชวิทยาจึงหมายถึง การกล่าวถึงความเสียหายของพืช ส่วนคำว่าโรคพืช(plant disease) หมายถึงพืชที่มีอาการได้รับ ความเสียหาย

พืชปกติ หมายถึง พืชที่มีสรีรวิทยาต่างๆทำหน้าที่ปกติได้ดีที่สุดตามความสามารถของสายพันธุ์ เช่น การแบ่งเซลล์ การดูดซึมแร่ธาตุอาหาร การสังเคราะห์แสง เป็นต้น

โรคพืช ตามความหมายในพจนานุกรมธรรมดา อธิบายไว้ 2 ความหมายคือ
1. โรคพืชจะแสดงลักษณะอาการ(symptoms) ออกมาให้เห็นในอาการของพืชที่ได้รับความเสียหาย(malady) การผิดไปจากปกติของพืช(disorder)

2. การเปลี่ยนแปลงใดๆที่ผิดไปจากพืชปกติ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของพืช โดยแสดงอาการออกมาให้เห็นทางด้านคุณภาพและ/หรือ คุณค่าทางเศรษฐกิจต่ำลง


ตามความคิดเห็นของนักโรคพืชต่างๆ ได้ให้ความหมายของโรคพืชไว้ว่า โรคพืชเป็นการเปลี่ยนแปลงขบวนการใช้พลังงานในระบบการดำรงชีวิตของ พืชไปจากปกติ ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่พืชทำให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำลง


หัวข้อ
สาเหตุของการเกิดโรค(Causes of plant diseases)
ส่วนประกอบของโรค (Disease components)
การจำแนกโรคพืช
ตัวอย่างโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายให้กับพืช


สาเหตุของการเกิดโรค(Causes of plant diseases) แบ่งเป็น 2 สาเหตุคือ
1. สาเหตุที่เกิดมาจากสิ่งมีชีวิต(Biotic pathogen) ได้แก่
- พวกที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ไวรอยด์ เป็นต้น
- พวกที่ไม่ใช่เชื้อโคแต่ทำความเสียหายให้กับพืช เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างๆ นก แมลง ไร ไส้เดือนฝอย เป็นต้น
- พวกที่เป็นตัวนำเชื้อโรค เช่น กาฝาก ฝอยทอง เป็นต้น

2.สาเหตุที่เกิดมาจากสิ่งไม่มีชีวิต(Abiotic pathogen) ได้แก่
- สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ อุณหภูมิ แสงแดด ความชื้น ลม ดิน น้ำ เป็นต้น
- มลภาวะเป็นพิษ เช่น มลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน มลพิษจากการเผาหญ้า
- ปัจจัยทางเคมี เช่น ความเป็นกรด-ด่างของดิน,น้ำ


โรคพืชนั้นอาจเป็นทั้งโรคที่ติดเชื้อ(Infectious disease) ซึ่งหมายถึง โรคที่เกิดจากเชื้อที่มีชีวิตเป็นเชื้อก่อโรค พืชจะมีปฏิกิริยาตอบโต้การติดเชื้อและ สามารถแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นๆได้ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเป็นโรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ (Non infectious disease) ซึ่งหมายถึง โรคที่เกิดจากสาเหตุ นอกเหนือจากโรคติดเชื้อโรคจะไม่สามารถระบาดจากต้นที่เป็นโรค ไปยังพืชปกติได้



ส่วนประกอบของโรค (Disease components)
ส่วนประกอบของโรคเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจะการเกิดโรคจะไม่สมบูรณ์หรือไม่อาจเกิดโรคได้เลย

ส่วนประกอบของโรคเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ สามเหลี่ยมโรคพืช(Disease triangle) ได้แก่

1. พืชอาศัย(Host) ต้องมีพืชอาศัยที่เป็นโรคง่าย
2. เชื้อสาเหตุ(Pathogen) ต้องเป็นเชื้อสาเหตุที่รุนแรง
3. สภาพแวดล้อม(Environment) ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
4. เวลา(Time) ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ได้แก่ ระยะเวลาที่พืชอาศัยและเชื้อโรคสัมผัสกัน ระยะเวลาที่ใบเปีย

ในขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมต่อ การเกิดโรค ระยะเวลาที่เหมาะสม ต่อการแพร่กระจายของสปอร์ การงอกของสปอร์ การติดเชื้อ เป็นต้น



การจำแนกโรคพืช
1. การจำแนกโดยอาศัยอาการของพืชที่เป็นโรค จำแนกโดยการใช้อาการของพืชเป็นหลักเป็นชื่อที่ใช้ทั่วไป เช่น โรครากเน่า โรคใบจุด โรคราสนิม โรคเหี่ยว เป็นต้น การแบ่งดังกล่าว เป็นการซับซ้อนกันโดยชื่อโรคเดียวกันนั้นอาจเกิดจากจุลินทรีย์ได้หลายชนิด ซึ่งต่างก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันทำให้ในแง่ของ การปฏิบัติเช่นการควบคุมโรค ไม่ต้องสมบูรณ์ได้

2. การจำแนกโดยอาศัยส่วนของพืชที่เป็นโรค จำแนกออกเป็นกลุ่มโดยการใช้ส่วนของพืชที่เป็นโรค ได้แก่ โรคที่ผล โรคที่ลำต้น โรคที่ใบ โรคที่ราก การแบ่งแบบนี้ไม่เหมาะกับงาน ทางด้านวิทยาศาสตร์ เพราะไม่มีส่วนที่แสดงให้ทราบถึงโครงสร้าง สรีรวิทยาของพืชที่เป็นโรคและเชื้อสาเหตุ

3. การจำแนกโดยอาศัยแบบของพืชที่เป็นโรค เป็นการแบ่งอย่างกว้างๆโดยใช้แบบของพืชเป็นหลัก แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลยทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ โรคของพืชไร่ โรคของผัก โรค ของไม้ผล โรคของป่าไม้ โรคไม้ดอกไม้ประดับ โรคของสนามหญ้า เป็นต้น

4. การจำแนกโดยอาศัยความเสียหายและการแพร่ระบาดของโรค การทำความเสียหายของพืชแต่ละชนิดกันจะมีความแตกต่างกัน โรคบางชนิดจะทำลายพืชให้ตายอย่างรวดเร็ว โดยไม่ ทำความเสียหายแก่พืชอื่นเลย โรคที่ทำความเสียหายให้มากที่สุดนอกจากจะทำให้พืชตายหรือลดผลผลิต ให้ต่ำลงแล้วยังต้องแพร่ระบาดจากต้นที่เป็ฯโรคไปยังต้นอื่น ท้องที่อื่นๆอีกด้วย การแบ่ง แยกโรคลักษณะนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมมือในชาติและ ระหว่างชาติในการป้องกัน

5. การจำแนกโดยอาศัยแบบของสาเหตุของพืชที่เป็นโรค ได้แก่โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตและโรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต



ตัวอย่างโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายให้กับพืช
1. โรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ โรคราสนิม,โรคราเขม่าดำ, โรค ergot ของข้าวไรน์และข้าวสาลี, โรคใบไหม้มันฝรั่ง, โรคราน้ำค้างองุ่น, โรคใบจุด สีน้ำตาลข้าว
2. โรคที่เกิดจากไวรัส ได้แก่ โรคใบด่างอ้อย
3. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม
4. โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ได้แก่ โรครากปม





http://guru.sanook.com/pedia/topic/โรคพืชวิทยา_(Plant_pathology)/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/08/2011 9:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

197. สารเคมีที่ห้ามใช้ในแปลงมะม่วงส่งออก


พิษตกค้างของคลอร์ไพริฟอส

คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) เป็นชื่อสามัญของสารกำจัดแมลงศัตรูพืช มีชื่อทางการค้านับร้อยชื่อ จัดเป็นสารในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate Insecticides) สารกลุ่มนี้เป็นสารอินทรีย์ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบสำคัญ ความเป็นพิษจะแตกต่างกันในสารแต่ละชนิด แม้ว่าจะมีกลไกการออกฤทธิ์เหมือนกัน โดยทั่วไปแล้ว ความเป็นพิษมากหรือน้อยของสารกำจัดแมลง หรือสารพิษใดๆ สังเกตได้จากค่า LD50 (LD50 หมายถึง ค่าความเข้มข้นของสารเคมีที่ทำให้สัตรว์ทดลองตายไปจำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ของสัตว์ทดองที่ได้รับสารเคมีนั้น) ถ้าค่ายิ่งต่ำแสดงว่ายิ่งมีความเป็นพิษสูง

สำหรับคลอร์ไพริฟอสจัดอยู่ในระดับ 2 ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรให้ใช้สารคลอร์ไพริฟอสในการกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย เสี้ยนดิน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น ด้วงงวงมันเทศ ผีเสื้อข้าวเปลือก ด้วงงวงข้าว ด้วงงวงข้าวโพด มอดแป้ง มอดสยาม หนอนเจาะลำต้น หนอนเจาะฝัก หนอนหน้าแมว หนอนร่านโพนีตา แมลงดำหนาม และด้วงงวงในกล้วย

พืชที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง มันเทศ ข้าวเปลือกที่ใช้ทำพันธุ์ นุ่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว และกล้วย ซึ่งจะเห็นว่าไม่มีคำแนะนำให้ใช้ในกลุ่มของพืชผักและไม้ผลแต่อย่างใด ปัจจุบันสารคลอร์ไพริฟอสที่กรมวิชาการเกษตรรับขึ้นทะเบียนมีทั้งหมด 3 สูตร คือ เป็นเม็ด 1 สูตร ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์และเป็นน้ำ 2 สูตร และ 40 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

เนื่องจากสารคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายที่มีพิษ ผู้ใช้จึงต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของการป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการสวมถุงมือ หน้ากาก แต่งกายให้รัดกุม ฉีดพ่นเหนือลด ระวังไม่ให้สารเข้าตา จมูก และปาก ชำระล้างร่างกายให้สะอาดทุกครั้งหลังการใช้สาร ห้ามคนหรือสัตว์เข้าไปในบริเวณที่ใช้สารอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เป็นต้น

นอกจากนี้ สารคลอร์ไพริฟอสยังเป็นพิษต่อปลา ต้องระมัดระวังการชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ รวมทั้งเป็นพิษต่อผึ้ง จึงห้ามใช้ในระยะที่พืชมีดอกกำลังบาน และมีความเป็นพิษต่อตัวห่ำและตัวเบียน จึงต้องใช้อย่างระมัดระวังเช่นกัน สำหรับระยะปลอดภัย หลังการใช้สาร ต้องเว้นระยะเวลาก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 7-14 วัน เป็นอย่างน้อย


อะบาเม็กติน (Abamectin) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อการค้าเอ.จี.บา, ไดเมทิน, แอ็กโกรติน และอบามานั้นเป็นสารกำจัดแมลง (Insecticide) ที่เกิดจากกระบวนการหมักแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินชื่อ Streptimyces avermitilis สารที่สกัดได้คือ avermectin B1a และavermectin B1b ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและความเป็นพิษคล้ายคลึงกัน แต่ตัวที่สามารถแสดงถึงประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงก็คือสาร avermectin B1a คือต้องมีมากกว่า 80 % ของสารออกฤทธิ์ ฉะนั้นสินค้า ที่มีคุณภาพส่วนใหญ่ที่ผลิตในรูปสารออกฤทธิ์ 1.8 % W/V EC นั้นต้องมีavermectin B1a อยู่มากกว่า 1.44 % นั่นเอง

ผลิตภัณฑ์อะบาเม็กตินส่วนใหญ่มีความเป็นพิษต่ำต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากการทดลองในสัตว์ทดลองสารพิษทำให้เกิดการระคายเคือง ต่อตาและผิวหนังเล็กน้อยและจะเกิดอาการขยายของรูม่านตา อาเจียน กล้ามเนื้อหดเกร็ง ตัวสั่นและหมดสติได้

ในแมลงอะบาเม็กตินจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท รวมถึงเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เป้าหมายการออกฤทธิ์เจาะจงต่อตำแหน่งไซแนป (synap) ในสมองและยับยั้งการนำเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้แมลงตายในที่สุด

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากใช้สารพิษในปริมาณมาก เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองจะเป็นสาเหตุของอาการ CNS depressing เช่น การทำงานของอวัยวะไม่ประสานกัน การสั่นของร่างกาย ความเฉื่อยชา การขยายของรูม่านตาและทำให้เสียชีวิตเนื่องจากระบบหัวใจล้มเหลว

อะบาเม็กตินไม่ซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังโดยตรง การซึมซับของอะบาเม็กตินจากผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดน้อยกว่า 1% จึงไม่ทำให้ผิวหนังแสดงอาการในลักษณะของภูมิแพ้ ผลิตภัณฑ์ในรูป 1.8% W/V EC ค่า LD50 ทางปากในหนูนา 300 มก./กก. และค่า LD50 ทางผิวหนังในกระต่ายมีค่าไม่น้อยกว่า 2,000 มก./กก.

คุณสมบัติอีกประการของอะบาเม็กตินคือละลายน้ำได้ดี และยึดเกาะกับอนุภาคของดิน ฉะนั้นจึงไม่มีการเคลื่อนย้ายจากดินไปปนเปื้อนในน้ำ นอกจากนี้ยังสลายตัวเร็วเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อม มีรายงานว่าเมื่อผิวดินกระทบแสงแดด อะบาเม็กตินจะสลายตัวภายใน 8-12 ชั่วโมง หรือภายใน 1 วัน สำหรับในพืชนั้นอะบาเม็กตินจะลดปริมาณลงเหลือครึ่งหนึ่งทุกๆ 4-6 ชั่วโมง จึงนับเป็นสารที่ปลอดภัยสูงสำหรับผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

ในด้านประสิทธิภาพการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชนั้น ทางกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตรได้แนะนำให้ใช้อะบาเม็กตินในการป้องกันกำจัดหนอนชอนใบส้ม, เพลี้ยไฟพริก, ไรแดงมะม่วง, ไรสองจุด, หนอนใยผัก, หนอนแมลงวันชอนใบกะหล่ำ, ไรขาวพริก, เพลี้ยไฟฝ้าย และหนอนเจาะดอกมะลิ

หากเกษตรกรท่านใดสงสัยว่าแมลงศัตรูพืชที่ท่านพบอยู่นั้น สามารถใช้สารอะบาเม็กตินในการป้องกันกำจัดได้หรือไม่ สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จำกัด โดยเรามีนักวิชาการคอยให้คำปรึกษากับท่านอยู่เสมอ

คาร์โบซัลแฟน สารพิษตกค้างของหน่อไม้ฝรั่งเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้างได้ดำเนินการทดลองในพื้นที่เกษตรกร ครั้งที่ 3 ที่อำเภอกำแพงแสนจังหวัดนครปฐมเดือนธันวาคม 2550 ถึงเดือน 2551 ครั้งที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2551 วางแผนการทดลองการทดลองตามแบบ Codex

แนวทางการนิเทศทดลองแต่ละการประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ
การทดลองที่ 1 ฉีดพ่นสารละลายคาร์โบซัลแฟนในอัตราความเข้มข้นตามคำแนะนำในฉลากคือ ความเข้มข้น 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (w พอสซ์ 20% / VEC) และ
การทดลองที่ 2 ฉีดพ่นด้วยน้ำเปล่าเป็นแปลงควบคุมโดยพ่นสารพิษจำนวน 4 ครั้งห่างกันครั้งละ 7 วันแต่ละการทดลองทำ 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธีแต่ละกรรมวิธี คือ ระยะเวลาเก็บเกี่ยวตัวอย่างหลังพ่นสารพิษครั้งสุดท้ายที่ 0 วัน (2 ชั่วโมงหลังการฉีดพ่น) 1, 3, 5, 7, 10 และ 14 วันตามลำดับผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างครั้งที่ 3 พบ คาร์โบซัลแฟนมีค่าเฉลี่ย 1.28, 0.81 และ 0.04 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมที่ระยะเวลา 0, 1 และ 3 วันตามลำดับ. และพบคาร์โบฟูรานมีค่าเฉลี่ย 1.12, 0.99, 0.81, 0.42 และ 0.05 มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัมที่ระยะเวลา 0, 1, 3, 5 และ 7 วันตามครั้งลำดับและที่ 4 พบคาร์โบซัลแฟนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.89, 0.41 และ 0.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมที่ระยะเวลา 0, 1 และ 3 วันตามลำดับและ พบคาร์โบฟูรานมีค่าเฉลี่ย 0.91, 0.71, 0.63, 0.34 และ 0.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมที่ระยะเวลา 0, 1, 3, 5 และ 7 วันตามลำดับ ส่วนแปลงควบคุมไม่พบสารพิษตกค้างค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษ ตกค้างของคาร์โบซัลแฟนและคาร์โบฟูรานไม่ได้กำหนดไว้ใน Codex จึงใช้เปรียบเทียบกับค่าคาร์โบฟูรานในมะเขือเทศเท่ากับ 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (/ WHO, 2000 FAO) แสดงให้เห็นว่าหลังจากฉีด พ่นคาร์โบซัลแฟนแล้ว 7 วันจึงสามารถเก็บเกี่ยวหน่อไม้ฝรั่งได้มาบริโภค


โพรพิโคนาโซล รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกประกาศใหม่เกี่ยวกับค่า MRL โดยกำหนดให้มี Positive List (รายการที่อนุญาตให้ใช้ได้) จะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2549 มีการกำหนดค่า MRL ของสารเคมีเพียงจำนวนหนึ่ง หากสารเคมีทางการเกษตรที่ไม่ได้กำหนดค่าไว้ในรายการดังกล่าว จะกำหนดไว้ค่าเดียว คือ 0.01 ppm ทุกรายการ สามารถดูรายการ Positive List ได้ใน MRL ของประเทศญี่ปุ่น



ไดโนทีฟูแรน ( dinotefuran) 1% GR
กลไกการทำงาน
สตาร์เกิล จี มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางของแมลงศัตรูพืช โดยจะเข้าไปยับยั้งการส่งผ่านคำสั่งของเซลล์ประสาทของแมลง ทำให้แมลงเป็นอัมพาต กินอาหารไม่ได้ และตายในที่สุด
คุณสมบัติและประโยชน์


* สารกำจัดแมลงชนิดดูดซึมเข้าทางระบบรากสำหรับรองก้นหลุมหรือโรยรอบโคนต้นหลังปลูกจากบริษัท มิตซุย เคมิคัล ประเทศญี่ปุ่น

* เป็นสารกำจัดแมลงมีลักษณะเป็นเม็ดทรายสีทับทิม (Magenta) เคลือบด้วยสารไดโนทีฟูแรน ซึ่งอยู่ในกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (Neonicotinoid) ที่พบในยาสูบทั่วไป และพัฒนามาจนถึงขั้นที่ 3 จึงทำให้ สตาร์เกิล จี มีความเป็นพิษต่ำมากต่อมนุษย์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก ปลา และสิ่งแวดล้อม

* ออกฤทธิ์ดูดซึมเข้าทางระบบรากสามารถป้องกันกำจัดแมลงที่หลบซ่อนอยู่บนต้นพืช และใต้ดินได้ดี

* มีประสิทธิภาพออกฤทธิ์ควบคุม และกำจัดแมลงได้ยาวนาน 30-45 วัน ป้องกันกำจัดแมลงบนดิน เช่น เพลี้ยจักจั่นฝ้าย, เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยแป้ง, แมลงหวี่ขาว,เพลี้ยไฟ, หนอนแมลงวันชอนใบ, หนอนแมลงวันจาะลำต้น, ด้วงเต่าแตง, และแมลงใต้ดิน เช่น มด, ปลวก, ด้วงดิน, เสี้ยนดิน เป็นต้น

* กำจัดแมลงปากดูดที่เป็นพาหะของโรคต่างๆ ได้ดีเยี่ยม เช่น โรคใบหดในยาสูบ, โรคเส้นเหลืองในกระเจี๊ยบเขียว, โรคไวรัสในมะเขือเทศ, แตงกวา, แคนตาลูป, มะละกอ ฯลฯ

* เหมาะสำหรับพืชผัก โดยเฉพาะพืชผักส่งออก และไม้ดอกไม้ประดับ ทั่วไป

มาตรฐานปริมาณสารพิษทางการเกษตรตกค้าง (pesticide residue) สูงสุดในมะม่วง





วัตถุอันตรายทางการเกษตร (pesticides)
ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด
(Maximum Residue Limits: MRLs)
(มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)

คาร์เบนดาซิม / เบโนมิล (carbendazim/benomyl)...... 5
แคพแทน (captan)......................................... 5
ไซเปอร์เมทริน (cypermethrin)............................ 0.5
เดลทาเมทริน (deltamethrin).............................. 0.5
ไดไทโอคาร์บาเมต (dithiocarbamates).................. ** 2
โพรฟิโนฟอส (profenofos)................................. 0.2
เฟนวาเลอเรต (fenvalerate)................................ 1
แลมบ์ดาไซแฮโลทริน (lambda-cyhalothrin)............. 0.1
อีเทฟอน (ethephon)........................................ 2
คาร์บาริล (carbaryl)......................................... 1

**/ วัตถุอันตรายทางการเกษตรกลุ่มไดไทโอคาร์บาเมต ได้แก่ ไซเนบ (zineb), ไทแรม (thiram), โพรพิเนบ (propineb) , มาเนบ (maneb) และแมนโคเซบ (mancozeb)



http://taladkaset.net/CropsBoard/index.php?option=com_content&view=article&id=19&Itemid=27
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/08/2011 7:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

198. "ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยกำจัดแมลง" ทางเลือกใหม่สวนผักอินทรีย์

ปัจจุบันผู้ผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉพาะพืชผัก และผลไม้มีความตื่นตัวค่อนข้างสูงในเรื่อง การลดการใช้สารเคมีควบคุมป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช เนื่องจากผู้บริโภคหันมาใส่ใจในสุขภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเกรงว่าอาจได้รับผลกระทบจากสารพิษตกค้างปนเปื้อนในอาหาร ทำให้กระ แสการใช้น้ำหมักชีวภาพ รวมถึงการใช้สารสกัดจากพืชเข้ามาทดแทนการใช้สารเคมี ได้รับความสนใจจากเกษตรกรมากขึ้น เพราะทำให้สินค้าเกษตรปลอดภัยจากสารตกค้าง ซึ่งจะช่วยเพิ่ม มูลค่าสินค้าและรองรับตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น

สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาสารชีว ภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำมาทดแทนหรือลดการ ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชลงในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ซึ่งงานวิจัย "ไส้เดือนฝอย สายพันธุ์ไทยกำจัดแมลง" ถือเป็นผลงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่กรมได้ขยายผลและถ่ายทอดสู่เกษตรกร แล้ว สามารถนำไปผลิตใช้เองในพื้นที่เพาะปลูกได้ ช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต ทั้งยังเป็นแนว ทางในการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ได้ผลผลิตเกษตรที่มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่ง แวดล้อมด้วย

ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด กลุ่มงานไส้เดือนฝอย สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรม วิชาการเกษตร ได้ค้นพบไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงชนิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2539 จากพื้นที่แปลงปลูกมะ พร้าวเขตจ.กาญจนบุรี ซึ่งจัดเป็นสายพันธุ์ทนร้อนเช่นเดียวกับไส้เดือนฝอยที่แยกได้จากรัฐเท็ก ซัสในสหรัฐอเมริกา ที่สามารถทนทานอุณหภูมิได้สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ในขณะเก็บรักษา รวมทั้งคงศักยภาพในการเข้าทำลายแมลงได้สูงถึง 38 องศาเซลเซียส

จากการนำมาทดสอบกำจัดแมลงหลายชนิดในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าสามารถฆ่าแมลง ศัตรูพืชที่สำคัญตายภายในเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอกระทู้ผัก หนอน เจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะดอกมะลิ ด้วงหมัดกระโดด หนอนด้วงกินรากสตรอเบอร์รี่ เพลี้ยอ่อน และหนอนในถุงเห็ด อีกทั้งยังสามารถใช้ฆ่าปลวกและแมลงสาบได้อีกด้วย

ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยสามารถเข้าทำลายและฆ่าแมลงเหยื่อได้ทั้งระยะตัวหนอน และตัว เต็มวัยของแมลง ผ่านทางปากหรือรูทวาร แล้วจะเคลื่อนที่ไปยังช่องว่างภายในลำตัวแมลงซึ่งมีน้ำ เลือด ต่อมาไส้เดือนฝอยจะปลดปล่อยแบคทีเรียซึ่งอาศัยอยู่ในลำตัวออกมาและร่วมกันสร้างสารพิษ มีผลทำให้แมลงเหยื่อเกิดอาการเลือดเป็นพิษและตายภายใน 24-48 ชั่วโมง จากนั้นไส้เดือน ฝอยจะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อยู่ภายในตัวแมลง ประมาณ 2-3 ชั่วอายุจนแมลงเหลือแต่ซาก แล้วไส้เดือนฝอยตัวอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งทนทานต่อสภาพแวดล้อมจะเคลื่อนที่ออกมาภายนอกซากแมลง รอเข้าทำลายแมลงเหยื่อใหม่ต่อไป

ไส้เดือนฝอยพันธุ์ไทยนี้สามารถเพาะเลี้ยง เพื่อเพิ่มปริมาณได้ในอาหารเทียมราคาถูก หลายชนิด เช่น การเพาะเลี้ยงในอาหารชนิดกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่ประกอบด้วยโปรตีนจากไข่ไก่หรือ ไข่เป็ดผสมกับน้ำมันหมู นำไปคลุกกับขี้เลื่อย หรือกากเส้นใยมะพร้าวแห้งตัดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือขุย มะพร้าวแห้ง หรือชิ้นฟองน้ำ บรรจุลงในภาชนะทนร้อน จากนั้นนำไปอบนึ่งฆ่าเชื้ออาหาร ตั้งทิ้งไว้ ให้อาหารเย็นแล้วใส่หัวเชื้อไส้เดือนฝอยลงไป ตั้งวางเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิห้องประมาณ 7-10 วัน ไส้เดือนฝอยจะขยายพันธุ์ในอาหารและเพิ่มปริมาณได้มากกว่า 500 เท่า ถ้าใส่หัวเชื้อเริ่มต้น 20,000 ตัว จะสามารถเพิ่มปริมาณได้ถึง 12-17 ล้านตัวต่อถุงเพาะ

เกษตรกรสามารถเลี้ยงไส้เดือนฝอยใช้เองได้ ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ค่อนข้างมาก หากเกษตรกรซื้อไส้เดือนฝอยในท้องตลาด 10 ล้านตัว ราคาจะตกอยู่ที่ 80 บาท แต่ถ้าผลิตเอง ใช้ต้นทุนเพียง 5 บาท เท่านั้น ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์การค้ามาใช้ไม่ต่ำกว่า 20 เท่า

ขณะนี้เกษตรกรชาวสวนผักอินทรีย์ในพื้นที่จ.ราชบุรี ได้มาฝึกอบรมการเลี้ยงไส้เดือน ฝอยอย่างง่ายแล้วนำไปผลิตใช้เอง สามารถกำจัดแมลงศัตรูในแปลงผัก ได้ผลทั้งในหนอนกระทู้ผัก และด้วงหมัดผัก โดยการฉีดพ่นไส้เดือนฝอยด้วยเครื่องพ่นสารชนิดสะพายหลัง ในช่วงเช้าหรือช่วง เย็นที่ไม่มีแสงแดดจัด และพยายามฉีดให้ถูกตัวแมลงมากที่สุด โดยใช้ไส้เดือนฝอยจำนวน 500- 800 ล้านตัวต่อพื้นที่ 1 ไร่

ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทยนี้ สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด และมี คุณสมบัติ คือ สามารถทนร้อน แถมเกษตรกรยังสามารถผลิตใช้เองได้ด้วยต้นทุนต่ำ ช่วยลดหรือทด แทนการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายได้ ถือเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ปลูกพืชผักอินทรีย์และผักปลอด สารพิษทั้งเพื่อบริโภคและเพื่อการค้า





ที่มา : http://www.phtnet.org/news/viewNews.asp?id=1375

http://www.news.cedis.or.th/detail.php?id=519&lang=en&group_id=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/08/2011 9:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

199. ปลูกหญ้า ทำธุรกิจ

ราคาก้อนละ 25 ฿

หญ้าแพงโกล่า
• เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตเร็ว และสามารถนำมาทำหญ้าแห้งได้ดี ตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
• พันธุ์มาจากต่างประเทศ ชอบสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 19-35 องศาเซลเซียส และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีฝนตกเฉลี่ยมากกว่า 1,000 มิลลิเมตร ต่อปี
• เป็นพันธุ์ที่มีใบดก แตกรากและหน่อตามข้อต่ออ่อนตั้งตรง เมื่ออายุมากขึ้นลำต้นจะทอดนอนไปตามผิวดิน

• หญ้าแพงโกล่านั้น มีโปรตีนประมาณ 6-10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าหญ้าพื้นบ้านมาก

• ลักษณะของลำต้นเล็ก ไม่มีขน ยาว 40-64 เซนติเมตร

• ตัวใบมีรูปร่างเรียว เล็ก ยาว 12-19 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร กาบใบยาว 2-6 เซนติเมตร

• ขยายพันธุ์ด้วยท่อนพันธุ์

• ปลูกได้ทั้งที่ลุ่มและดอน แต่ชาวบ้านบ้านหนองตูม นิยมปลูกกันในที่ลุ่ม เพราะว่าพื้นที่ของหมู่บ้านนี้ 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นนาข้าว

• เก็บเกี่ยวทุก 40 วัน ใช้แรงงานคนเป็นหลัก



สิ่งจูงใจ
• ปัจจุบันนี้หญ้าในธรรมชาติมีลดน้อยลงเรื่อยๆ แต่ปริมาณสัตว์กลับเพิ่มขึ้น ดังนั้น อาหารสัตว์เริ่มขาดแคลน

• ปลูกหญ้านี้มันเพิ่มรายได้ได้และประหยัดน้ำด้วย แต่ก็เหนื่อย

• เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นวัว ควาย ม้า ช้าง และแพะ มีความต้องการหญ้ากันมาก

• เขาขายหญ้าแห้งกิโลกรัมละ 2.50 บาท ซึ่ง 1 ก้อน จะมีน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 25 บาทเกษตรกรที่มาซื้อหญ้าไกลๆ อย่างเช่น สุราษฎร์ธานี หากว่าจ้างรถบรรทุก จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกประมาณ 2-3 บาท ต่อก้อน
กลุ่มลูกค้า

• สุราษฎร์ธานี สระบุรี ราชบุรี ลพบุรี นครปฐม และประจวบคีรีขันธ์ ซื้อหญ้าแห้งเพื่อนำไปเลี้ยงโคนม

• กาญจนบุรี ปทุมธานี อยุธยา และกรุงเทพฯ นิยมซื้อหญ้าแห้งไปเพื่อเลี้ยงแพะภูเก็ต ซื้อหญ้าแห้งเพื่อนำไปเลี้ยงม้าพื้นบ้าน

• มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดกาญจนบุรี ซื้อหญ้าเพื่อนำไปเลี้ยงช้าง

• ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะขับรถมาซื้อถึงแหล่งผลิตเลยทีเดียว


“ผมเคยถามลูกค้าเหมือนกันว่า ทำไมไม่ปลูกหญ้าเพื่อเลี้ยงสัตว์กันเอง ส่วนใหญ่พวกเขาบอกว่า ไม่ค่อยมีที่ดินเหลือ โดยเฉพาะแถวภาคใต้เดี๋ยวนี้มีสวนปาล์มน้ำมัน และยางพารา เกิดขึ้นเกือบเต็มพื้นที่แล้ว ฉะนั้นหญ้าคุณภาพในธรรมชาติมีหลงเหลืออยู่ค่อนข้างน้อย จำเป็นต้องซื้อจากเราไปเพื่อเลี้ยงสัตว์”

“หญ้าแพงโกล่านั้น มีโปรตีนประมาณ 6-10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าหญ้าพื้นบ้านมาก เกษตรกรที่ซื้อหญ้าจากเราไปก็ไม่ผิดหวัง เพราะว่าสัตว์ชอบกิน และเจริญเติบโตเร็วด้วย”

“เราลงซื้อเครื่องจักร ชุดเก็บเกี่ยว และอัดก้อน รวมทั้งรถแทรกเตอร์ เกือบ 3 ล้านบาท และโกดังสำหรับเก็บหญ้าแห้ง เพื่อรอการขายอีก 2-3 ล้านบาท เงินส่วนหนึ่งก็มาจากหุ้นของสมาชิก และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งกรมปศุสัตว์ สนับสนุนสมทบเงินช่วยเหลือ” ผู้ใหญ่ยุพินเล่าถึงความพร้อมในการทำงาน


ติดต่อ : คุณยุพิน คำหอม ประธานกลุ่มปลูกหญ้าบ้านหนองตูม และผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 ตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. (09) 800-8850 และคุณทรงชัย ปอศิริ หัวหน้าสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ฯ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด



ที่มา: library.dip.go.th/multim5/edoc/14412.doc
http://damnoen.in.th/page/2/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/08/2011 9:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

200. ปลูกตะไคร้หยวกแซมฝรั่ง สร้างรายได้เสริมดี ที่ชากังราว


ในการทำสวนผลไม้จะต้องใช้เวลาเป็นปีก่อนที่จะเก็บผลผลิตส่งขายได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นไม้ยืนต้นใหญ่ อาทิ ส้มโอ มะปราง มะม่วง ฯลฯ จะใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีถึงจะเริ่มให้ผลผลิต แต่ถ้าปลูกฝรั่ง มะละกอ กล้วย ฯลฯ จะใช้เวลาที่สั้นกว่า

คุณกุหลาบ ทรายแก้ว บ้านเลขที่ 10 หมู่ 9 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เป็นเกษตรกรอีกรายหนึ่งที่มีการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการปลูกต้นตะไคร้แซมในสวนฝรั่งแป้นสีทอง และมีประสบการณ์ในการปลูกตะไคร้มานาน 5 ปี ในพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี

คุณกุหลาบจะปลูกตะไคร้หยวก เนื่องจากมีลำต้นอวบอ้วน กลิ่นฉุนพอประมาณ ถึงแม้ตะไคร้จะปลูกง่ายแต่จะต้องรู้เทคนิคในการปลูก คือ จะต้องปักต้นตะไคร้ลงดินให้มีลักษณะเอียง 45 องศา ปักให้รอบเป็นวงกลมบริเวณ ขอบหลุมปลูก หลุมละ 4-6 ต้น ในขณะที่ความเข้าใจในการปลูกตะไคร้ของคนส่วนใหญ่มักจะปักต้นต้นตะไคร้ลงตรง ๆ บริเวณกลางหลุมปลูก ตามธรรมชาติของต้นตะไคร้จะแตกกอจากตรงกลางหลุมแล้วขยายกอออกไปหาขอบหลุม

เมื่อต้นตะไคร้แก่และเลือกเอาไปประกอบอาหาร ต้นตะไคร้แก่จะอยู่บริเวณกลางกอ (ในกรณีที่ปลูกตะไคร้กลางหลุม) จะแก่ก่อน เมื่อเราเก็บตะไคร้จะเก็บได้ยากเพราะใบตะไคร้จะบาดแขนบาดมือคนเก็บ นอกจากนั้นยังทำให้ต้นตะไคร้ใกล้เคียงบอบช้ำจากการดึงต้นตะไคร้อีกด้วย

ในการเตรียมแปลงปลูกตะไคร้เกษตรกรจะต้องไถพรวนดินให้เรียบร้อย หลังจากนั้นเตรียมหลุมโดยขุดหลุมเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกเก่าไปพร้อมกับการพรวนดิน

ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 1 x 1 เมตร ถ้าปลูกชิดกว่านี้ต้นตะไคร้จะไม่อวบ ต้นจะผอมสูง ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกตะไคร้ได้ประมาณ 1,600 กอ (แต่ถ้าปลูกเป็นพืชแซมจะได้จำนวนกอน้อยกว่านี้) คุณกุหลาบยังได้บอก

ถึงการเตรียมต้นพันธุ์ตะไคร้ก่อนปลูกควรจะเลือกจากกอที่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป ใช้จอบขุดยกทั้งกอแล้วนำมาแยกต้นออกจากกัน ใช้มีดตัดส่วนรากและใบทิ้ง นำไปปลูกในแปลงได้เลยหรืออีกวิธีหนึ่งคือมัดต้นพันธุ์ตะไคร้เป็นกำ ๆ พอที่จะตั้งได้และนำไปแช่น้ำลึกประมาณ 5 เซนติเมตร นานประมาณ 5-7 วัน รากตะไคร้จะงอกออกมาเมื่อรากมีสีเหลืองเข้มนำไปปลูกได้ จากที่กล่าวมาแล้วให้ปักต้นพันธุ์เอียง 45 องศา ปักลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ปัก 4 ต้นต่อ 1 หลุม

เกษตรกรจะขุดต้นตะไคร้ขายได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน-1 ปีครึ่ง หากอายุเกินปีครึ่งไปแล้วลำต้นจะเริ่มฝ่อ การขุดขายควรจะขุดทั้งกอ ต้นตะไคร้ 1 กอ จะได้น้ำหนักประมาณ 6-10 กิโลกรัมหลังจากนั้นให้นำมาตัดรากและใบออก ให้ต้นตะไคร้มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มัดเป็นกำ ๆ ใส่กระสอบหรือใส่ถุงพลาสติกน้ำหนัก 10 กิโลกรัมต่อถุง ราคาขายตะไคร้จะยืนพื้นอยู่ที่ 5 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงฤดูฝน ในช่วงฤดูแล้งเดือนมกราคม-เมษายน และช่วงเทศกาลราคาจะแพงขึ้นเฉลี่ย 8-10 บาทต่อกิโลกรัม.



ที่มา: www.ubmthai.com
http://damnoen.in.th/page/2/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/08/2011 9:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

201. ปลูกตะไคร้ 1 ไร่เศษ ทำเงินถึง 4 หมื่น


“ไม่มีความยากจน…ในหมู่คนขยัน” ท่านที่เคารพครับ ! ! ! ช่องทางการประกอบอาชีพทางการเกษตรนั้นมีอยู่เยอะแยะมากมายเลยทีเดียว อยู่ที่ว่าเราจะสนใจไขว่คว้าหามันหรือเปล่า

ตะไคร้ เป็นอีกพืชหนึ่งที่หลายคนมองข้าม ไม่คิดสนใจที่จะปลูกเพื่อการค้า ทั้งที่ตะไคร้นั้นเป็น “พืชคู่ครัวของไทย” ที่นิยมใช้ปรุงแต่งอาหารให้เอร็ดอร่อยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ แกง ยำตะไคร้ และอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีการนำเอาตะไคร้ไปเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเชิงอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก เช่น ตะไคร้ผง และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้เกษตรกรที่เห็นคุณค่าของมันหันมาปลูกเป็นการค้า ทำให้มีรายได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ

อย่างเช่น นายอภิสิทธิ์ บัวระบัดทอง อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 10 บ้านโนนหันใน ตำบลโนนหัน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ที่ปลูกตะไคร้เป็นอาชีพเสริมในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง และขายผลผลิตในช่วงแล้ง สามารถทำรายได้สูงประมาณ 40,000 บาท เลยทีเดียว

คุณอภิสิทธิ์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาและแรงบันดาลใจในการปลูกตะไคร้ว่า “มีอาชีพหลักคือทำไร่อ้อยและทำนา ต่อมาก็สนใจอยากจะปลูกส้มโอเพราะว่ามีหลายคนปลูกแล้วได้ผลดี จึงซื้อส้มโอมาปลูกในปี 2547 จำนวน 50 ต้น ในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง โดยใช้ระยะปลูก 6X8 เมตร หลังจากที่ปลูกส้มโอแล้ว จึงได้ตัดสินใจปลูกตะไคร้แซมช่องว่างระหว่างต้นและระหว่างแถวของส้มโอ เพื่อเสริมรายได้และลดการกำจัดวัชพืชในสวนส้มโออีกทางหนึ่งด้วย”

คุณอภิสิทธิ์ บอกว่า การปลูกตะไคร้นั้นไม่ยากเลย โดยเริ่มจากไถพรวนในช่องว่างระหว่างแถวของส้มโอ จากนั้นนำตะไคร้ลงปลูก จำนวน 3 ต้น ต่อหลุม ระยะปลูก 50X50 เซนติเมตร เมื่ออายุได้ 2 เดือน ก็กำจัดวัชพืช และก็ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ผสมกับยูเรีย (46-0-0) อย่างละเท่าๆ กัน หว่านให้ทั่วทั้งแปลง ซึ่งใช้ประมาณ 20 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ครึ่ง หากปลูกในช่วงฤดูฝนก็ไม่ต้องให้น้ำเลย จากนั้นไม่นานตะไคร้ก็จะเจริญเติบโตแตกกอใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ใบจะคลุมพื้นที่จึงไม่มีวัชพืชขึ้น ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชอีกเลย และเมื่ออายุได้ 5 เดือน ก็ใส่ปุ๋ยเคมีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน

การเก็บเกี่ยว โดยการขุดมาทั้งกอ นำมาตัดแต่งส่วนโคนและตัดปลายใบทิ้ง ให้ได้ความยาวของตะไคร้สำหรับส่งตลาดประมาณ 1 ฟุต จากนั้นบรรจุในถุงพลาสติก ถุงละ 10 กิโลกรัม ส่งขายให้กับแม่ค้าต่อไป

คุณอภิสิทธิ์ บอกว่า ขณะนี้เก็บผลผลิตทุกวัน วันละประมาณ 200 กิโลกรัม ขายส่งให้กับแม่ค้าที่ตลาดอำเภอชุมแพ วันละ 4-6 ราย สำหรับราคาขายนั้นในช่วงเดือนมีนาคม กิโลกรัมละ 5 บาท พอเดือนเมษายนได้ราคาดีขึ้นกิโลกรัมละ 8 บาท จึงคิดว่าช่วงฤดูแล้งเป็นช่วงที่ตลาดต้องการสูง ดังนั้น ในปีนี้จึงตั้งเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่ปลูกตะไคร้ให้มากขึ้น คือประมาณ 5 ไร่ และจะให้มีผลผลิตออกในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ขายได้ราคาดี เพียงแค่ขายกิโลกรัมละ 5 บาท ก็คาดว่าจะทำรายได้เป็นเงินหลักแสนบาทอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม การปลูกตะไคร้เพื่อให้ผลผลิตออกในช่วงฤดูแล้งนั้น ควรเป็นพื้นที่ที่ให้น้ำได้บ้าง โดยเฉลี่ยเดือนละ 2-3 ครั้ง จึงจะได้ผลดี

“ช่วงที่ผมปลูกตะไคร้ใหม่ๆ มีเพื่อนบ้านบอกว่า บ้าหรือเปล่าที่ปลูกตะไคร้เป็นไร่สองไร่ เพราะปกติแล้วจะมีคนปลูกกันเพียงไม่กี่กอ แต่ว่าตอนนี้ผมดีใจที่ตะไคร้สามารถทำรายได้เกินความคาดหมาย

” เป็นคำกล่าวของเจ้าของสวนตะไคร้แห่งอำเภอชุมแพ

ท่านที่เคารพครับ ! ! ! จะเห็นว่า ตะไคร้พืชสมุนไพรใกล้ตัวนี้ เป็นอีกพืชหนึ่งที่สามารถสร้างงานทำเงินแก่เจ้าของได้เป็นอย่างดี คือทำรายได้และให้ผลตอบแทนต่อไร่ดีกว่าการทำนา หรือทำไร่หลายเท่าตัว การปลูก การดูแลรักษาก็ง่าย ต้นทุนก็ต่ำ สามารถปลูกได้ในหลายๆ สภาพพื้นที่ เช่น ปลูกเป็นแปลง หรือแซมในช่องว่างของไม้ผลที่ยังเล็กอยู่ ปลูกบนคันบ่อหรือปลูกบนคันนาก็ได้ จึงนับว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับเกษตรกร ที่กำลังมองหาช่องทางการประกอบอาชีพทางการเกษตรอยู่ในขณะนี้



http://www.leksound.net/forum/index.php?topic=14570.0
http://damnoen.in.th/page/2/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/08/2011 9:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

202. ปลูกสละแซมกับมะพร้าวน้ำหอม


ปลูกสละแซมกับมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งสวนนี้ใช้ระยะห่างในการปลูกมะพร้าวประมาณ 7 เมตรโดยปลูกสละอยู่ระหว่างต้านห่างประมาณ 3.5 เมตร ทางเจ้าของสวนยืนยันว่าสละออกดอกออกผลได้ดี…

สละนั้นเป็นพืช ที่ไม่ชอบแดดเอาเลย เพราะหากสละต้นใดมีแสดงแดดส่องลงมามาก ๆ การเจริญเติบโตและการให้ผลจะไม่ดีเท่าที่ควร…

วิธีแก้ปัญหาก็คือทางสวนได้นำกล้วยซึ่งเป็พืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว มาปลูกแซมเพื่อที่จะบังแดดให้กับสละ สละเป็นพืชชอบน้ำ การให้น้ำในหน้าแล้งจะให้วันละสองครั้ง ครั้งละ 1-2 ชั่วโมงแล้วแต่จะแล้งมากหรือน้อย

สละออกดอกทั้งปี เจ้าของสวนจะเลือกเฉพาะดอกชุดใหญ่ ๆ ของเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม เอาไว้เท่านั้นซึ่งจะเก็บเกี่ยวได้ในเดือนมิถุนายนของปีถัดไป ดอกนั้นจะบานหลังจากเริ่มงอกประมาณหนึ่งเดือนให้หลัง ทางเจ้าของสวนจะทำการช่วยผสมเกสรให้ โดยจะใช้ดอกตัวผู้ของสละที่ปลูกจากเมล็ดไปเคาะใส่เกษรตัวเมียเพราะจะสามารถช่วยให้สละติดผลต่อทะลายได้มากขึ้น

สละเนินวงนั้นเจริญเติบโตดีมาก มีหน่อมาก ทางเจ้าของสวนจะเก็บเอาไว้เพียงสามต้นต่อกอเท่านั้นเพราะหากสละมีหน่อมากจะส่งผลให้ติดดอกน้อย

การบำรุง
ทางสวนให้ปุ๋ยคอกประมาณปีละ 2 ครั้ง และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณสามเดือนต่อครั้งซึ่งจะให้ในช่วยใกล้ ๆ การเก็บผลผลิต นอกจากนี้ก็จะให้ปุ๋ยสูตาร 13-13-21 แต่จะให้ในจำนวนที่ไม่มากนัก

การดูแล
ระหว่างที่สละติดผลแล้วนั้น ทางเจ้าของสวนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากสละนั้นเป็นไม้ผลที่มี ทั้งมอดและหนูคอยรบกวน ทำให้เจ้าของสวนต้องใช้เชือกฟากมัดกับทะลายและโยงให้สูงขึ้นจากพื้นดิน เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกหนูกัดและป้องกันความชื้นจากดินไม่ให้เข้าไปทำลายช่อดอกได้




ที่มา : สวนละอองน้ำ จ.ชลบุรี 038-292-432, 081-826-4336
http://damnoen.in.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 5:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/08/2011 9:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

203. เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตร

ยืนยันให้กรมวิชาการเกษตรยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารพิษร้ายแรง 4 ชนิด





ชื่อผู้แต่ง : เครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมีเกษตรประเทศไทย

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตรซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการหลายสาขา องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และเครือข่ายเกษตรกร แถลงยืนยันให้กรมวิชาการเกษตรประกาศยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4 ชนิด ได้แก่ อีพีเอ็น. คาร์โบฟูราน. เมโทมิล .ไดโครโตฟอส. ก่อนวันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ผู้ประกอบการจะต้องเอาสารเคมีการเกษตรมาขึ้นทะเบียนใหม่ตามกฎหมาย


หลังจากมีความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการสารเคมีการเกษตรให้ยืดระยะเวลาการขึ้นทะเบียนสารเคมีการเกษตรออกไปอีก 2 ปี และมีแนวโน้มว่ากรมวิชาการเกษตรซึ่งดูแลวัตถุอันตรายการเกษตรตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตรายเตรียมอนุญาตให้สารเคมีอันตรายหลายชนิดสามารถขึ้นทะเบียนได้นั้น

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตรร่วมกันแถลงข้อเรียกร้องต่อกรมวิชาการเกษตร โดยนายแพทย์ปัตพงษ์ เกษตรสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งมีพิษภัยร้ายแรงมากที่สุด 4 ชนิด ได้แก่ อีพีเอ็น. คาร์โบฟูราน. เมโทมิล. ไดโครโตฟอส. เพราะจากผลการศึกษาพบว่าสารเคมีดังกล่าวมีความเป็นพิษสูงมาก สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในเอเชียได้ห้ามใช้ไปแล้ว เนื่องจากมีพิษภัยร้ายแรงต่อมนุษย์ สัตว์ เช่นเดียวกับผลการทดลองในประเทศไทยโดย ดร.สุภาพร ใจการุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่พบว่าแม้สารเคมีทั้ง 4 ชนิด จะมีผลในการลดจำนวนแมลงศัตรูพืช แต่ก็จะได้ผลเพียงระยะสั้น เพราะสารพิษดังกล่าวได้ทำลายแมลงตัวห้ำตัวเบียนซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชในระยะยาว



ทั้งนี้ นายแพทย์ปัตพงษ์ ยังได้เรียกร้องให้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2551 อย่างเคร่งครัด โดยไม่ปล่อยให้มีการยืดเวลาการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชออกไปอีก 2 ปี ตามข้อเสนอของผู้ประกอบการ ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้เปิดเผยผลการสำรวจของสำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงใหม่ที่พบว่าผู้บริโภคกว่า 60% ตรวจพบสารเคมีการเกษตรตกค้างในเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัยซึ่งน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาหารที่บริโภค

ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุในการควบคุมการใช้ การนำเข้า การยกเลิกสารเคมีที่เป็นอันตรายควรจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระทรวงเกษตร เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคอยากเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรปฏิรูประบบการควบคุมการใช้ การนำเข้า การยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายให้เข้มงวด ให้โปร่งใส โดยต้องเปิดเผยข้อมูลการขึ้นทะเบียนสารเคมีของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และอนุกรรมการชุดต่างๆ ให้ผู้บริโภคทราบอย่างโปร่งใส

ทั้งนี้โดยให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2552 ที่ระบุว่า “ก่อนการประกาศขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรทุกประเภทให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยขั้นตอนการขึ้นทะเบียน และข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบก่อนการพิจารณา และให้เปิดเผยคำชี้แจงและเหตุผลประกอบการพิจารณาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย” และเรียกร้องไปถึงรัฐบาลให้เร่งผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อจะได้ช่วยสนับสนุนในการให้ความเห็นและตรวจสอบกระทรวงเกษตรตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ต่อไป หากองค์กรผู้บริโภคพบว่าการดำเนินการของหน่วยงานราชการดำเนินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจะพิจารณาฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป

ทางด้านนายนพดล มั่นศักดิ์ ผู้ประสานงาน มูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์ ได้ให้ข้อมูลภาคสนามโดยยืนยันว่า การยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารพิษทั้ง 4 ชนิดจะไม่กระทบต่อเกษตรกรแต่ประการใด เนื่องจากมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีกเป็นจำนวนมากที่สามารถใช้แทนสารดังกล่าวได้ และที่สำคัญเครือข่ายโรงเรียนชาวนาในจังหวัดนครสวรรค์สามารถพัฒนาทางเลือกการทำนาที่แทบไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงเลย โดยการศึกษาความรู้เรื่องแมลงในแปลงนาและจัดระบบการทำนาที่รักษาความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นา



ข้อเสนอนโยบายสารเคมีการเกษตรต่อรัฐบาล :
ปัญหาสารเคมีการเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก เกษตรกร และผู้บริโภคทั่วไปเป็นปัญหาใหญ่ระดับวิกฤตของประเทศ ปัญหาดังกล่าวยังได้ขยายและส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารและมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ความปลอดภัยทางอาหารของประเทศอย่างสำคัญด้วย ดังตัวอย่างเช่น ประเทศสหภาพยุโรปตรวจพบสารเคมีการเกษตรตกค้างในผักและผลไม้ของไทยสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกประเทศที่ส่งออกไปยังยุโรป ทั้งๆที่ปริมาณการส่งออกผักและผลไม้ของไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ หลายเท่า เช่น ต่ำกว่าจีน 29 เท่า และต่ำกว่าตุรกีประมาณ 46 เท่า เป็นต้น

จากการตรวจเลือดของเกษตรกรทั่วประเทศโดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพบว่ามีเกษตรกรที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยสูงมากขึ้นเป็นลำดับ โดยผลการตรวจเมื่อปี 2550 พบว่ามีสูงขึ้นเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ สูงขึ้นก้าวกระโดดกว่าปี 2540 ถึงสองเท่า

ในขณะเดียวกันผู้บริโภคทั่วไปก็ได้รับพิษภัยจากผลตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในผัก ผลไม้ ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าและบางครั้งอาจสูงกว่าในเกษตรกรด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่สุ่มตรวจเลือดของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี 2552 พบว่ามีผู้บริโภคถึง 61 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับสารเคมีการเกษตรในระดับที่ไม่ปลอดภัย

การศึกษาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังพบสารเคมีการเกษตรในเลือดจากสายรกและมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสติปัญญา (Asawasinsopon et al, 2006) ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าทารกแรกคลอดที่มีแม่เป็นเกษตรกรมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากกว่ามารดาที่มีแม่ไม่ใช่เกษตรกรถึง 9.8 เท่า (Bowkowski et al., 2011) ในขณะที่เด็กนักเรียนอายุ 12-13 ปีตรวจพบสารเคมีกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต.และไพรีทรอยด์.สูง โดยพบในแม้กระทั่งในเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้มีอาชีพเกษตรโดยตรงด้วย (Panuwet et al., 2009) และระดับที่ตรวจพบสูงกว่าที่รายงานของสหรัฐฯ (NHANES, 2001-2) และเยอรมัน (GerES IV, 2001–2002) ถึง 3 เท่า

ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าในกลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดในเวลาเดียวกันและมีผลต่อสุขภาพ อาทิ การแตกหักของสารพันธุกรรมซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ทั้งนี้ เกษตรกรมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีฯ สูงกว่าผู้บริโภคในพื้นที่เกษตรกรรม 3.4 เท่า และสูงกว่าผู้บริโภคในเมืองถึง 6.4 เท่า (ทิพวรรณ ประภามณฑล และคณะ 2549)

ผลของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในร่างกาย เป็นสาเหตุของปัญหาโรคมะเร็ง ความผิดปกติของเซลล์ พันธุกรรม ฮอร์โมน ระบบประสาทไปจนถึงผลกระทบต่อระบบการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ดังจะเห็นได้จากสถิติอัตราการตายของคนไทยที่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง แซงหน้าสาเหตุการตายที่เกิดจากโรคเอดส์ หลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงอุบัติเหตุ


ข้อเสนอต่อรัฐบาล :
1. ให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรสหกรณ์ยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งมีพิษภัยร้ายแรงมากที่สุด 4 ชนิด ได้แก่ อีพีเอ็น. เมโทมิล. ไดโครโตฟอส. และคาร์โบฟูราน (ฟูราดาน). โดยทันที เนื่องจากประเทศต่างๆ จำนวนมาก เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในเอเชียห้ามใช้ไปแล้วเนื่องจากมีพิษภัยร้ายแรงต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

2. ดำเนินการบังคับใช้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2551 อย่างเคร่งครัด โดยไม่ปล่อยให้มีการยืดเวลาการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชออกไปอีก 2 ปี ตามข้อเสนอของผู้ประกอบการ

3. ต้องเปิดเผยข้อมูลการขึ้นทะเบียนสารเคมีของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และอนุกรรมการชุดต่างๆ ให้ผู้บริโภคทราบอย่างโปร่งใส ทั้งนี้โดยให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2552 ที่ระบุว่า “ก่อนการประกาศขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรทุกประเภทให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยขั้นตอนการขึ้นทะเบียน และข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบก่อนการพิจารณา และให้เปิดเผยคำชี้แจงและเหตุผลประกอบการพิจารณาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย”

4. ปฏิรูประบบข้อมูลและการติดตามผลกระทบของสารเคมี โดยต้องจัดให้มีสถิติการเก็บ การจำหน่าย และการใช้ทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ ประเมินระดับสัมผัสสารเคมีในกลุ่มเสี่ยง และจัดทำสถิติผู้ได้รับพิษภัยทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติโดยต้องรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีและสาธารณช่นทุกปี

ข้อเสนอในการจัดการสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นข้อเสนอในระดับต้นทางที่จำเป็นที่สุดในการสร้างระบบเกษตรและอาหารที่ปลอดภัย เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของเกษตรกรผู้บริโภค และเด็กๆลูกหลานของเรา พร้อมๆ กับฟื้นฟูภาพลักษณ์ของสินค้าผัก ผลไม้ และอาหารไทยในสากลไปพร้อมๆ กัน




http://www.biothai.net/node/9667
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/08/2011 9:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

204. นักวิชาการเสนอรัฐห้ามนำเข้าเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด


เผยเป็นสารต้องห้าม มีพิษเฉียบพลันและรุนแรง ส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยา เสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง

"นักวิชาการ สธ." เสนอรัฐควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด ห้ามจำหน่ายและนำเข้าประเทศไทย หลังพบหลายประเทศกำหนดเป็นสารต้องห้าม ชี้มีพิษเฉียบพลันและรุนแรง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา และเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

ดร.พญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าผลการวิจัย "ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีเกษตร จากสารเคมี 3 ชนิด คือ Parathion Methyl, EPN, และ Endosulfan" พบสารเคมีทั้ง 3 ชนิด มีพิษเฉียบพลันเรื้อรัง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของยีน รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและความผิดปกติของสิ่งมีชีวิต ดังนั้น สมควรมีมาตรการห้ามจำหน่ายและห้ามใช้ในประเทศไทยเพื่อไม่ให้ลูกหลานตกเป็นหนูทดลอง เพราะในหลายประเทศทั่วโลกได้ประกาศให้เป็นสารต้องห้าม

"สาร Parathion Methyl ใช้กำจัดศัตรูพืชในถั่วเหลือง ปัจจุบันห้ามใช้ในญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และแทนซาเนีย ในจีนจำกัดการใช้โดยห้ามใช้ในพืชผัก ผลไม้ ชาและสมุนไพรจีน ในสหรัฐจัดเป็นสารเคมีที่มีสูตรและลักษณะการใช้ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง EPN ใช้กำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายและหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ซึ่งห้ามใช้ ตั้งแต่ปี 1987 และกำลังถูกพิจารณาห้ามใช้ในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ส่วน Endosulfan เป็นสารเคมีที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชในฝ้าย งา และกาแฟ" ดร.พญ.นุศราพร กล่าว

นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา ผู้ประสานงานวิชาการเพื่อการปฏิรูประบบสุขภาพ กล่าวว่า ในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เมื่อปี 2546 มีมติร่วมกันว่าอันตรายของวัตถุมีพิษด้านการเกษตรที่มีต่อสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภคไปจนกระทั่งสิ่งแวดล้อมนั้นมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จึงยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาลให้ออกประกาศห้ามการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรเพื่อเป็นการปกป้องเกษตรกรผู้บริโภคและห่วงโซ่อาหาร เพื่อให้ข้อเสนอปฏิบัติได้จริงในงานสมัชชาสุขภาพประจำปี 2547 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน นี้ สปสร.จะเสนอให้รัฐบาลนำร่องด้วยการขึ้นทะเบียนสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงสูง 3 ชนิด เป็นสารเคมีที่ต้องห้าม

นายสุขุม วงษ์เอก กองควบคุมพิษและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน เพื่อขึ้นทะเบียนสารเคมีทั้ง 3 ชนิด เป็นสารเคมีต้องห้าม ภายใต้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ซึ่งหมายถึงห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้าและส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง เนื่องจากกรรมการบางท่านเห็นว่า ไม่ควรจะห้ามทั้ง 3 ชนิด เรื่องจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ และไม่รู้ว่าจะได้ข้อสรุปเมื่อใด

นายชนวน รัตนวราหุ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า มาตรการในการลดเลิกการใช้สารเคมีจำกัดศัตรูพืชที่อยากเสนอ คือ ควรมีมาตรการด้านภาษีให้มีการนำเข้ายากขึ้น เพราะขณะนี้ รัฐไม่ได้เก็บภาษีนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช ขณะเดียวกันควรมีการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ที่ทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช



http://www.biothai.net/news/4166
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 11/08/2011 6:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่





ดร.กิตติภพ วายุภาพ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1 เดิมชื่อพันธุ์ CNW 80 เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ CNW4305(S)2-B-42-B-B ซึ่งต้านทานโรคราน้ำค้างดี กับสายพันธุ์แท้ทับกฤช (S) 2-B-B-14-B-B-80-1-1-B-B-B ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวพื้นเมืองที่มีรสชาติหวานและมีคุณภาพเหนียวนุ่ม โดยทีมนักวิจัยได้คัดเลือกสายพันธุ์ ทำการปลูกทดสอบในแปลงเปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน ทั้งยังปลูกเปรียบเทียบในท้องถิ่นและปลูกทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ด้วย ผลปรากฏว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจและให้การยอมรับในศักยภาพของข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์นี้

ดร.กิตติภพกล่าวอีกว่า ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทได้เร่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมชัยนาท 84-1 ไว้รองรับความต้องการของเกษตรกรโดยกำหนดราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 180 บาท ซึ่งถูกกว่าของภาคเอกชน และขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกและปลูกทดสอบข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ใหม่เพิ่มเติม มีทั้งสีขาว สีขาว-ม่วง และสีม่วงทั้งฝัก คาดว่า ภายใน 3 ปีข้างหน้า กรมวิชาการเกษตรจะได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพอีกไม่น้อยกว่า 2 พันธุ์

สนใจข้อมูลเกี่ยวกับ “ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1” สามารถสอบถามเพิ่มได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท โทร. 0-5640-5080-1 ในเวลาราชการ.



http://www.watnongmuang.com/news/detail.asp?id=2439
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 7 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©