-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 7:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 6

ลำดับเรื่อง....

156. ผศ.พัชรี มงคลวัย กับการเลี้ยงแมลงดานาในเชิงพาณิชย์
157. กรมประมงประสบความสำเร็จ เลี้ยงปลาทะเลระบบน้ำหมุนเวียน
158. ปลูก "ข้าวอินทรีย์" ในแปลงซีเมนต์ อยากรู้อยากลอง "สมพร บุญแก้ว"
159. ชีวิตชาวนายุคใหม่ ใช้คันนาคอนกรีต
160. การทำคันนาปลูกข้าวปลูกข้าวด้วยคอนกรีต

161. ปลูกข้าวด้วยคันนาหินอนุรักษ์น้ำที่เมืองน่าน
162. ธาตุสังกะสีจำเป็นสำหรับพืช
163. อีรี่ หนุนพัฒนาอุปกรณ์สุ่มเตือนต้นข้าวหิว
164. การค้นหาและศึกษาหน้าที่ของยีนความหอม
165. เพาะถั่วงอกในขวด (Green bean sprout)

166. ข้าวเกวียนละ 2 หมื่น
167. จีนประสบความสำเร็จในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวบำรุงโลหิต
168. ข้าวสังข์หยดเพาะงอก ตันละแสน
169. "มังคุด" ผลไม้ไทยสารพัดประโยชน์
170. วิจัย "มายคอร์ไรซา" ในดิน กระตุ้นราก พืชทนสภาพแวดล้อม

171. งานวิจัยของคนไทยพบ "ข้าวหอมมะลิ" ช่วยต้านริ้วรอย
172. คิดค้นปุ๋ยชีวภาพได้ผลดี ต่อถั่วลิสง อ้อย พริก มะละกอ
173. มะพร้าวสมุยใกล้สูญพันธุ์
174. มข.วิจัยคุณสมบัติของเชื้อรา ใช้ "โกมัส คาร์ลัม" เพิ่มผลผลิตถั่ว
175. ครั้งแรกของโลก นำน้ำมันรำข้าวมาผลิตเป็นเนยขาว

176. สาหร่ายทะเล
177. ติงกินหมามุ่ย เสริมพลังเพศ
178. หลักฐานใหม่ ไทยปลูกข้าวเป็นชาติแรก
179. ภาวะน้ำวิกฤต

------------------------------------------------------------------------






156. ผศ.พัชรี มงคลวัย กับการเลี้ยงแมลงดานาในเชิงพาณิชย์


"แมลงดานา" จัดเป็นแมลงที่อาศัยอยู่ในน้ำที่ชาวบ้านนิยมบริโภคอยู่ใน 10 อันดับแรกของบรรดาแมลงกินได้ นิยมบริโภคกันทุกภาคของประเทศไทย แหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงดานาคือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่เป็นน้ำนิ่ง อาทิ หนอง คลอง บึง และตามท้องนา เป็นต้น แมลงดานาจะออกหาอาหารในตอนกลางวัน ในเวลากลางคืนปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงจึงบินออกจากแหล่งน้ำบินวนเวียนอยู่ใกล้ๆ ที่อาศัย เมื่อใกล้สว่างจึงอาศัยแสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนผิวน้ำเป็นตัวนำทางในการบินกลับไปยังแหล่งอาศัย ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวบ้านมีวิธีการจับแมลงดานา ด้วยการงมและช้อนจับในน้ำ และการใช้หลอดไฟแบล็คไลต์ดักล่อให้แมลงดานาเข้ามาหา และนำน้ำใส่กะละมังวางไว้ใต้หลอดไฟในเวลากลางคืน หรือใช้ตาข่ายดักจับ เพื่อนำไปประกอบอาหารประเภทน้ำพริกต่างๆ เหลือนำไปจำหน่าย ปัจจุบันพบว่ามีการนำแมลงดานามาทอดกรอบปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทยจำหน่ายตามร้านขายแมลงได้รับความนิยมแพร่หลาย นอกจากนี้ ไข่ของแมลงดานาได้นำมาบริโภคด้วยเช่นกัน ทำให้แมลงดานาในธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ช่วงนอกฤดูกาลจะหาแมลงดานาในท้องตลาดได้ยากมาก อาจจะมีราคาแพงถึงตัวละ 10-20 บาท โดยเฉพาะแมลงดานาตัวผู้ซึ่งมีกลิ่นฉุนเป็นที่นิยมมากกว่าตัวเมีย



"แมลงดานา" ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจ

ที่มีมูลค่าการซื้อขายปีละหลายสิบล้านบาท
แมลงดานามักจะอาศัยอยู่ในสภาพธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีเฉพาะในบางฤดูกาลเท่านั้น ส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ตามท้องตลาดจะนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน คือพม่าและกัมพูชาเกือบทั้งหมด โดยตัวหนึ่งราคาขายอยู่ที่ตัวละ 8-10 บาท ปัจจุบันในบ้านเราจับได้ไม่มากนัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และพบว่ามีผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงแมลงดานาในเชิงพาณิชย์น้อยมาก เหตุผลหนึ่งของการเลี้ยงที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะผลการเลี้ยงมีอัตราการรอดต่ำ เนื่องจากแมลงดานามีพฤติกรรมในการกินกันเองสูง มีการกินกันเองได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต ดังนั้น หากมีการศึกษาวิธีการเลี้ยงแมลงดานาที่มีการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายสูง และมีการจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดแรงงานและต้นทุนการเลี้ยงได้เป็นผลสำเร็จแล้ว อาจทำให้การเลี้ยงแมลงดานาเพื่อการค้ามีผลตอบแทนการเลี้ยงได้อย่างคุ้มค่า และน่าสนใจไม่แพ้สัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้เช่นกัน


ผศ.พัชรี มงคลวัย อาจารย์ประจำคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับคณะผู้วิจัย จึงคิดค้นงานวิจัยเกี่ยวกับการตลาดและการเพาะเลี้ยงแมลงดานา โทร. (081) 320-0683, E-mail:patcharee.mo@hotmail.com เล่าว่า จากการสำรวจพบว่า แมลงดานาที่พบเห็นในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ แมลงดานาพันธุ์หม้อ แมลงดานาพันธุ์ลาย และแมลงดานาพันธุ์เหลืองหรือพันธุ์ทอง ซึ่งพันธุ์หม้อมีลักษณะที่สังเกตได้คือ ขอบปีกมีลายสีทอง และคลุมไม่มิดส่วนหาง ขยายพันธุ์ได้เร็วและมีไข่ดก ซึ่งจะพบพันธุ์นี้วางขายอยู่มากในท้องตลาด พันธุ์ลาย มีลักษณะที่สังเกตได้คือ ขอบปีกมีลายสีทองเช่นเดียวกัน แต่จะคลุมมิดส่วนหาง มีการวางไข่แต่ละครั้งไม่แน่นอน และพันธุ์เหลือง (พันธุ์ทอง) มีลักษณะที่สังเกตได้คือ จะมีสีเหลืองทั้งตัว และจำนวนไข่ไม่แน่นอนเช่นเดียวกับพันธุ์ลาย ตลอดจนมีนิสัยชอบกินแมลงดานาพันธุ์อื่นๆ เป็นอาหาร ดังนั้น ควรแยกพันธุ์นี้ออกไปเลี้ยงต่างหาก โดยผู้เลี้ยงอาจเก็บรวบรวมลูกแมลงดานาจากแหล่งน้ำในธรรมชาติมาเลี้ยง หรือจับแมลงดานาตัวเต็มวัยมาเพาะพันธุ์ภายในบ่อดิน โดยรวบรวมแมลงดานาในช่วงต้นฤดูฝน เดือนเมษายน-พฤษภาคม และช่วงปลายฤดูฝนเดือนกันยายน-ตุลาคม ชีพจักรของแมลงดานาตั้งแต่ไข่จนถึงตัวแก่มีอายุประมาณ 32-43 วัน โดยมีการลอกคราบ 5 ครั้ง และระยะตัวแก่จนถึงเริ่มไข่ได้ใช้เวลาประมาณ 30-40 วัน รวมใช้เวลาตั้งแต่ฟักออกจากไข่จนถึงระยะการผสมพันธุ์วางไข่ประมาณ 62-83 วัน



แมลงดานาจะมีอายุได้ประมาณ 2 ปี เท่านั้น
ดังนั้น หลังจากที่แมลงดานาวางไข่ในปีที่ 2 แล้วจะต้องนำตัวไปจำหน่าย จากการศึกษาวงจรชีวิตแมลงดานาจะวางไข่ไว้ในระดับที่สูงจากน้ำตั้งแต่ 5-10 นิ้ว จากนั้นตัวเมียจะปล่อยวุ้นออกมาสำหรับให้ไข่ยึดติดกับกิ่งไม้ กอหญ้า กอกก หรือกอข้าว และวางไข่รอบๆ บริเวณที่มันเกาะ รังหนึ่งจะมีไข่ประมาณ 100-200 ฟอง หรือมากกว่านี้แล้วแต่ความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์ การเร่งให้แมลงดานาผสมพันธุ์และวางไข่ทำได้โดยลดระดับน้ำเดิมที่มีอยู่ในบ่อที่ระดับ 70-80 เซนติเมตร ให้เหลือ 40-50 เซนติเมตร เพื่อหลอกให้แมลงดานาเข้าใจว่าจะเข้าฤดูแล้งแล้วจะได้วางไข่ จากนั้นทดน้ำเข้าไปในบ่อ โดยให้ระดับน้ำสูง 90 เซนติเมตร หรือเกือบเต็มบ่อซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการหลอกให้แมลงดานาคิดว่าฝนตกหรือเข้าฤดูฝนแล้ว จากนั้นอีกประมาณ 2-3 วัน แมลงดานาก็จะมาวางไข่ที่บนหลักไม้ที่ปักไว้ ควรจะทำในเดือนเมษายน หรือฝนแรกที่ตกลงมาในพื้นที่นั้นๆ และถ้าต้องการให้แมลงดานาวางไข่ก็ควรหลีกเลี่ยงในวันที่ครึ้มฟ้า ครึ้มฝน

โดย ผศ.พัชรี มงคลวัย เล่าว่า ได้นำแนวคิดและเทคนิคของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนำมาใช้กับแมลงดานา และเหตุผลที่เลือกแมลงดานาก็เพราะมองว่าสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี พื้นที่ไม่มากและงบประมาณไม่มากนัก เพียงมีถังไฟเบอร์และใช้ขวดน้ำพลาสติคเลี้ยง เพียง 40 วัน เกษตรกรก็จะมีรายได้ที่แน่นอนแล้ว



ขั้นตอนการเลี้ยงแมลงดานา
1. การเตรียมบ่อพ่อแม่พันธุ์แมลงดานา เตรียมถังไฟเบอร์แบบมีขาตั้ง ขนาดความจุ 1 ตัน จำนวน 1 ถัง พร้อมทำตะแกรงมุ้งเขียวปิดด้านบนเพื่อป้องกันการหลบหนีและติดตั้งอุปกรณ์ทำฝนเทียม ระบบให้อากาศ และระบบประตูระบายน้ำ พร้อมทั้งจัดเตรียมสภาพแวดล้อมภายในถังเพาะฟักเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกิ่งไม้และพรรณไม้น้ำใส่ลงไป เพื่อเป็นที่เกาะอาศัยและหลบซ่อนจากแมลงดานาตัวอื่น แล้วเติมน้ำสูง 25 เซนติเมตร และใส่ลูกปลาขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร ลงไปประมาณ 100 ตัว และใส่เพิ่มลงไปเป็นครั้งคราวเพื่อรักษาปริมาณอาหารให้พอเพียงตลอดการเลี้ยง

2. การเพาะไข่แมลงดานา รวบรวมพ่อแม่พันธุ์แมลงดานาจากธรรมชาติ หรือรับซื้อพ่อแม่พันธุ์จากผู้จับแมลงดานา เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์ภายในบ่อที่จัดเตรียมไว้ กระตุ้นให้เกิดการผสมพันธุ์วางไข่ โดยการทำฝนเทียม (เฉพาะเวลา 07.00-08.00 น.) แบบให้ฝนเทียม 3 วัน เว้น 1 วัน และการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 50 เปอร์เซ็นต์ ทุก 3 วัน เมื่อได้ไข่แมลงดานาแล้วให้ปล่อยทิ้งไว้ในถุงเพาะต่อไป จนถึงวันที่ 6 แล้วจึงย้ายช่อไข่มาฟักโดยปักช่อไข่ใส่ไว้ในขวดปากแคบหรือบนก้อนหิน นำไปวางไว้ในกะละมัง เมื่อแมลงดานาฟักออกเป็นตัวจะหล่นลงในน้ำ แล้วจึงนำลูกแมลงดานาไปทำการศึกษาต่อไป

3. นำขวดน้ำพลาสติค ขนาด 1 ลิตร ตัดส่วนคอขวดออกให้เหลือเฉพาะส่วนล่างให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร และเจาะรูขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร กระจายให้ทั่วทั้งขวด เพื่อให้น้ำมีการถ่ายเทได้อย่างสะดวก ใส่พรรณไม้น้ำขนาดพอเหมาะลงในขวดเพื่อให้แมลงดานาใช้เป็นที่เกาะพัก

4. นำลูกแมลงดานาที่มีอายุเท่ากัน ใส่ลงไปขวดละ 1 ตัว ชนิดของอาหารที่ใช้ในการทดลองคือ ลูกปลาดุกมีชีวิต ลูกปลาดุกตาย ลูกอ๊อดกบมีชีวิต และลูกอ๊อดกบตาย โดยคัดขนาดลูกปลาดุกและลูกอ๊อดขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร แบ่งลูกปลาดุกและลูกอ๊อดจำนวนหนึ่งไปแช่ในตู้เย็นเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับการทดลองที่ใช้อาหารไม่มีชีวิต เริ่มให้กินอาหารตั้งแต่วันแรกที่แมลงดานาฟักออกจากไข่ อาหารที่จัดเตรียมไว้ในแต่ละการทดลองในช่วงเช้าของทุกวัน จำนวนเท่ากับสัตว์ทดลอง จดบันทึกน้ำหนักรวมอาหารของแต่ละการทดลองก่อนการให้ และเก็บซากอาหารเก่าออกทุกครั้ง เพื่อป้องกันน้ำเสีย นำไปชั่งน้ำหนักซากรวม เพื่อนำไปหาน้ำหนักอาหารที่กิน และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 2 วัน


ข้อแนะนำการเลี้ยง
ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงแมลงดานานั้นจากการทดลองเลี้ยงคือ ลูกอ๊อดมีชีวิต ลูกอ๊อดตาย ลูกปลาดุกมีชีวิต ลูกปลาดุกตายให้ผลการเจริญเติบโตตลอดการเลี้ยงไม่แตกต่างกัน แต่การทดลองใช้ลูกอ๊อดตายเลี้ยงมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงที่สุด รองลงมาคือ ลูกอ๊อดมีชีวิต ส่วนลูกปลาดุกทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตมีอัตราการรอดต่ำมาก ดังนั้น ชนิดของอาหารที่เหมาะสมในการเลี้ยงแมลงดานาคือ ลูกอ๊อดกบ แมลงดานายอมรับเหยื่อทั้งในสภาพมีและไม่มีชีวิต ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการเลี้ยงสามารถสำรองเหยื่อโดยการเก็บรักษาในตู้เย็นได้ เมื่อพิจารณาต้นทุนการเลี้ยงในเรื่องค่าอาหารแล้ว พบว่าการใช้ลูกอ๊อดกบเลี้ยงตลอดการทดลองเป็นเงินประมาณ 2-3 บาท และถ้าให้ลูกปลาดุก ขนาด 2-3 เซนติเมตร เป็นอาหาร คิดเป็นเงินประมาณ 4 บาท ต่อตัว จึงควรมีการศึกษาเหยื่อชนิดต่างๆ เช่น กุ้งฝอย หรือหอยขม ซึ่งมีราคาถูกกว่าลูกปลาดุก และลูกอ๊อด ว่าสามารถใช้เลี้ยงแมลงดานาได้ในช่วงใดของการเจริญเติบโตจึงจะทำให้แมลงดานามีการเจริญเติบโตที่ดี และในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นศัตรูของแมลงดานาด้วย สำหรับระบบการเลี้ยงแบบเดี่ยวมีต้นทุนเริ่มแรกค่อนข้างสูง แต่สามารถใช้เลี้ยงหมุนเวียนได้หลายครั้ง การจัดการดูแลเปลี่ยนถ่ายน้ำทำได้โดยสะดวก

ผลงานวิจัยในการเลี้ยงแมลงดานาในเชิงพาณิชย์นี้ เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ทำให้ผลงานวิจัยในครั้งนี้ได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดผลงานวิจัยดีเด่น เมื่อปี พ.ศ. 2551 ของการประชุมราชมงคลวิชาการ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วมสัมมนา เนื่องจากการเพาะเลี้ยงแมลงดานาเชิงพาณิชย์ถือเป็นเรื่องใหม่ และไม่มีใครประกอบอาชีพนี้เป็นเรื่องเป็นราวมาก่อน




http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05014010753&srcday=&search=no

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,597.0/prev_next,next.html#new


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 8:06 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 31/07/2011 9:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

157. กรมประมงประสบความสำเร็จ เลี้ยงปลาทะเลระบบน้ำหมุนเวียน











บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งทางด้านอ่าวไทยและชายฝั่งด้านทะเลอันดามัน นอกจากจะเป็นแหล่ง เพาะพันธุ์และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำกร่อยแล้ว ยังเป็นแหล่งที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในรูปแบบกระชังหนาแน่นอีกด้วย ทั้งนี้เพราะการเลี้ยงปลาในกระชัง มีการลงทุนต่ำกว่าการขุดบ่อและไม่ต้องใช้พื้นที่มาก ขณะที่ผลผลิตค่อนข้างสูง ง่ายต่อการจับขึ้นจำหน่าย

การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นวิธีที่มีมานานแล้ว โดยเฉพาะที่ประเทศกัมพูชา บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในประเทศไทยได้มีการบันทึกไว้ว่าการเลี้ยงปลาในกระชังแถบชายฝั่งทะเลมีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ปลาที่นิยมเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นปลากินเนื้อที่ต้องการออกซิเจนต่ำ กระชังที่ใช้เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นกระชังอวน เพื่อความคงทนและเหมาะสมกับชนิดปลาที่เลี้ยง ปัจจุบันจำนวนผู้เลี้ยงปลาในกระชังมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากการเลี้ยงได้ผลผลิตมากกว่าการเลี้ยงในบ่อหลายเท่าตัว และตลอดมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้มีการพัฒนาขบวนการเพาะเลี้ยงอย่างต่อ เนื่องเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร

ล่าสุดมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงปลาทะเล ระบบน้ำหมุนเวียนที่ระดับความหนาแน่นสูงได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้ด้วยคุณภาพน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลานั้นมีความสำคัญมากเช่น ระดับออกซิเจนในน้ำ ถ้าระดับออกซิเจนลดต่ำลงกว่าระดับที่ปลอดภัยต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ก็จะทำให้สัตว์น้ำเติบโตช้าหรือตายได้ ดังนั้น การติดตามและควบคุมออกซิเจนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

นายยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยระบบและการจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา กรมประมงเปิดเผยว่า ระบบติดตามและควบคุมออกซิเจนในบ่อเลี้ยงปลาเป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาของ สถาบันฯ โดยการนำอุปกรณ์ เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถเขียนโปรแกรมได้มาเชื่อมโยงเข้ากับเครื่อง วัดออกซิเจนเขียนโปรแกรมควบคุมให้ทำงาน โดยการกำหนดเงื่อนไข ให้สั่งการไปยังปั๊มลมทำงาน ออกซิเจนในน้ำจะค่อย ๆ สูงขึ้น จนถึงจุดที่กำหนดอุปกรณ์ชิ้นนี้จึงสั่งการให้ปั๊มลมหยุดทำงาน ระบบนี้สามารถติดตามและเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงน้ำไม่ให้ต่ำกว่าระดับที่ กำหนดให้ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ปลอดภัยสำหรับสัตว์น้ำ ระบบนี้สามารถทำงานแทนเจ้าหน้าที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่าย และสามารถทดแทนการนำเข้าเครื่องมือราคาแพงจากต่างประเทศ

นอกจากนี้สถาบันฯ ได้นำระบบติดตามและควบคุมออกซิเจนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำไปติดตั้งให้กับ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง บริเวณเกาะยอ อำเภอเมือง และ คลองนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งมักจะประสบกับปัญหาปลาตายเนื่องจากการขาดออกซิเจน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาปลาตายได้ในระดับที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง

หากเกษตรกรท่านใดสนใจข้อมูลดังกล่าว สามารถติดต่อเข้าชมได้ทุกวัน หรือขอความรู้เพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.สงขลา กรมประมง โทร. 0-7444-2053 หรือ 0-7431-8895.




tidtangkaset@dailynews.co.th

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=582&contentID=74052

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,568.0/prev_next,next.html#new
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 01/08/2011 5:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

158. ปลูก "ข้าวอินทรีย์" ในแปลงซีเมนต์ อยากรู้อยากลอง "สมพร บุญแก้ว"





โดยปกติแล้วข้าวจะปลูกกันในทุ่งนาผืนใหญ่และมักจะปลูกกันเมื่อถึงช่วงฤดูทำนาถึงจะให้ผลผลิตดีมีคุณภาพ แต่สำหรับ "สมพร บุญแก้ว" หรือ "บังสมพร" วัย 49 ปี อดีตลูกชาวนาแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งมีถิ่นฐานบ้านเกิดเดิมใน อ.ระโนด จ.สงขลา ก่อนย้ายมาเป็นเขยหมู่บ้านตะเคียนเภา ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา ทิ้งนาข้าวหันมาจับมีดกรีดยางแทน นานกว่า 20 ปี

แต่ด้วยเลือดเนื้อเชื้อไขลูกชาวนาที่มีมาแต่กำเนิด ทำให้เขาลุกขึ้นมาปลูกข้าวไว้รับประทานในครัวเรือนอีกครั้ง เมื่อช่วงประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา แต่การปลูกข้าวครั้งนี้ต่างจากอดีตที่ต้องใช้รถไถนาไถหน้าดิน เดินย่ำดินเหนียวเฉอะแฉะ ก้มๆ เงยๆ นำต้นกล้าปักดำลงในผืนนาท่ามกลางแสงแดดร้อนจ้า เพราะวันนี้บังสมพร ได้ศึกษาเรียนรู้และอยากทดลองการปลูกข้าวลงในแปลงซีเมนต์ โดยใช้บริเวณลานดินหน้าบ้านพักเลขที่ 86/3 หมู่ 4 บ้านตะเคียนเภา ต.ปริก อ.สะเดา ซึ่งเป็นบ้านอาศัยที่อยู่ปัจจุบันกับครอบครัว เป็นสถานที่ศึกษาและเรียนรู้ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง

ผ่านระยะเวลาร่วม 2 เดือน ต้นข้าวที่บังสมพร ได้ทดลองปลูกในแปลงซีเมนต์ มีสภาพงอกงามเขียวขจี อ้วนท้วนสมบูรณ์ไม่ต่างไปจากต้นข้าวที่ปลูกในผืนนากว้าง แต่สำหรับผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวในอนาคตอันใกล้นี้จะดีมีคุณภาพเทียบเท่าปลูกในนาข้าวปกติหรือไม่นั้น อีกประมาณ 1 เดือนเศษ คงจะทราบผล และวันนั้นคงจะเป็นสิ่งยืนยันได้ดีว่า สิ่งที่บังสมพรอยากรู้ อยากทดลอง มันดีหรือได้ผลมากน้อยเพียงใด

บังสมพร เผยถึงแนวคิดดังกล่าวว่า หลังมีโอกาสได้เดินทางไปดูงานในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วไทยและจุดเริ่มต้นจากการปลูกข้าวในแปลงซีเมนต์ ก็เกิดจากการได้เห็นข้าวที่งอกงามในกระบะเล็กๆ ที่ได้ไดูงานด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ต่างๆ จึงเกิดไอเดียนี้ขึ้น เพราะต้องการอยากรู้อยากลองด้วยว่าจะสามารถปลูกข้าวในแปลงซีเมนต์ได้หรือไม่ เนื่องจากเคยเป็นชาวนามาก่อน ฉะนั้นพื้นฐานเรื่องปลูกข้าว ทำนาข้าวมันมีอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว

บังสมพร บอกอีกว่า สำหรับแปลงซีเมนต์ที่ทำนั้นมีความกว้าง 3.5 เมตร ยาว 5 เมตร และตอนนี้ก็ทดลองปลูกข้าวไปแล้ว 2 แปลง แต่ความตั้งใจนั้นจะให้ได้ 3 แปลง ซึ่งคงจะดำเนินการหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว 2 แปลงนี้ก่อน เพื่อประเมินดูผลผลิตที่ได้ หากได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ อนาคตก็จะปลูกข้าวในแปลงซีเมนต์ภายในสวนยางพารา แต่จะไม่ทำเพื่อการค้า ทำเฉพาะนำมารับประทานในครัวเรือนเท่านั้น

"ผมทดลองมาประมาณ 2 เดือนเศษ สำหรับต้นข้าวที่ปลูกไว้ ไม่มีปัญหากวนใจอะไรมากนัก ปุ๋ยที่ใส่ก็จะเป็นปุ๋ยจากสมุนไพรที่นำมาหมักเอง ซึ่งต่างจากอดีตที่ผมทำนาจะใส่แต่ปุ๋ยเคมี ส่วนเรื่องปลาที่ปล่อยเลี้ยงในแปลงด้วยนั้น ตอนนี้สังเกตเห็นข้อแตกต่างระหว่างปลา 2 ชนิดพันธุ์ที่ปล่อยไว้ โดยเฉพาะปลาดุก ค่อนข้างไม่เป็นผลดีต่อต้นข้าว เนื่องจากมันจะขุดคุ้ยต้นข้าวจนล้ม น้ำขุ่น ส่วนปลาทับทิม จะไม่ขุดคุ้ยต้นข้าว แถมไม่ทำให้น้ำขุ่นด้วย ทำให้ผมได้ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งแล้ว"

เจ้าของแนวคิดปลูกข้าวในแปลงซีเมนต์ ย้ำด้วยว่าการปลูกข้าวในแปลงซีเมนต์ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ได้เห็นข้อดีคือ เราสามารถควบคุมระดับน้ำได้ตามความต้องการ และปลูกได้ทุกฤดูตลอดทั้งปี ส่วนข้อเสียเบื้องต้นยังไม่พบ แต่ที่กังวลอย่างเดียวคือ แมลงกัดกินต้นข้าว ซึ่งตรงนี้ก็จะหาทางป้องกันต่อไป หากการทดลองนี้ได้ผล ต่อไปในอนาคตใครที่อยากจะปลูกไว้กินในครัวเรือน ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีผืนนากว้างใหญ่ อีกทั้งสามารถใช้พื้นที่เล็กๆ บริเวณบ้านได้อย่างสะดวกสบาย เฝ้าระวังดูแลง่ายด้วย


"ธรณิศวร์ พิรุณละออง"



http://www.komchadluek.net/detail/20110407/94127/ปลูกข้าวอินทรีย์ในแปลงซีเมนต์อยากรู้อยากลองสมพรบุญแก้ว.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/04/2013 3:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/08/2011 5:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

159. ชีวิตชาวนายุคใหม่ ใช้คันนาคอนกรีต





การทำนามักมีปัญหาในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น หนู เพลี้ย หอย หรือน้ำแห้งแล้ง ส่งผลทำให้ผลผลิตลดลง

แต่คุณลุงสมนึก ชูศรี อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที่ 87/1 หมู่ 3 ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี ยืนยันว่าไม่มีปัญหาเลย

เกษตรกรเมืองลิงบอกว่า การทำนาของชาวนาทุกวันนี้ต้องใช้ยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช มาคิดดูว่าเราต้องลงทุน เริ่มแรกเกี่ยวกับการทำนาโดยที่ไม่ให้น้ำหายไปจากนาเราจนหมด เมื่อฝนไม่ตกเราก็ต้องไม่เดือดร้อนเรื่องน้ำ และถ้าเราทำคันนาคอนกรีตทีเดียวคุ้มไปหลายสิบปี

เดิมทำคันนาดิน พัฒนามาทำเป็นคันนาคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นคันนาคอนกรีตกว้าง 6 นิ้ว ฝังดินอีก 50 ซ.ม. สูงเหนือดินไม่เกิน 20 ซ.ม. คันนาคอนกรีต สามารถป้องกันศัตรูที่จะมากัดกินข้าวในนาได้ เช่น หนูไม่สามารถจะอาศัยทำที่อยู่ (รูหนู) เพราะวิถีชีวิตของหนูจะเจาะรูอาศัยตามคันนา และไม่ต้องถางหญ้า หรือใช้ยาฉีดให้หญ้าตาย เพราะจะทำให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม เช่นคนก็จะไม่ได้รับสารพิษ


สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันน้ำไม่ให้รั่วซึมออกไปและไหลเข้าท่วมนาได้ง่าย ตั้งแต่ทำนาด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กมานับสิบปี ไม่เคยใช้ยาฆ่าแมลงเลย แต่ก็สามารถทำนาอยู่ได้และไม่ขาดทุนอีกด้วย

ลุงสมนึก ยังบอกอีกว่า พยายามทำนาแบบธรรมชาติ ไม่ใช้ปุ๋ย ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช เริ่มต้นคิดค้นหาวิธีปราบศัตรูพืช และฆ่าแมลงด้วยธรรมชาติ เนื่องจากเลี้ยงเป็ดมานาน จึงเห็นว่าเป็ดนั้นมีประโยชน์ต่อชีวภาพมาก เพราะเป็ดนั้นนอกจากจะใช้ประโยชน์ในด้านกำจัดหอย ไล่แมลง เป็ดนั้นยังจะไข่ออกมาให้เราขายได้อีก

ถ้าเราใช้ปุ๋ยทำนา 100 ไร่ จะใช้ปุ๋ยไม่ต่ำกว่า 6,000 ก.ก. เฉลี่ยแล้ว 100 ไร่ ใช้เงินซื้อปุ๋ยไป 9 หมื่นบาท และค่ายาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าอีก เป็นการลงทุนมหาศาล เห็นว่าเป็ดนั้นมีประโยชน์มากมายจึงนำมาเลี้ยงในนา เป็ดจะต้องถ่ายออกมา ขี้เป็ดก็เป็นปุ๋ยชีวภาพ เรื่องปุ๋ยตัดปัญหาไปได้เลย


"เมื่อเราเลี้ยงเป็ดในนาข้าว เป็ดจะไล่แมลงที่มาเกาะกินอยู่กับข้าว หากินหอยเป็นอาหาร เพลี้ย พอเป็ดเข้าไปเพลี้ยก็บินหนี ทุกวันจะพาเป็ดไปกินหอยในนา ตั้งแต่เวลา 06.00-17.00 น. เย็นก็จะไปรับเป็ดกลับ เป็ดจะรู้หน้าที่ของเขาเองเมื่อเรานำรถไปจอด โดยนำสะพานพาดกระบะรถลงให้เป็นทางขึ้นรถ เป็ดก็จะพากันเดินขึ้นรถอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย"

ลุงสมนึกบอกอีกว่า ทุกวันนี้เลี้ยงเป็ดไว้ไล่แมลงและกินหอยในนาข้าว อยู่ถึง 2,500 ตัว นอกจากจะใช้เป็ดเป็นตัวกำจัดหอย กำจัดแมลงแล้ว เรายังจะมีรายได้จากการขายขี้เป็ดอีกเดือนละ 3-4 พันบาท การทำนาทุกวันนี้เลยกลายเป็นการทำนาปลอดสารพิษไปเลย

ลุงสมนึก ยังเล่าอีกว่า ทุกวันนี้ลดภาระค่าอาหารเป็ดไปได้มาก ไม่ต้องเสียเงินซื้ออาหารมาเลี้ยง เพียงแต่เหนื่อยต่อการนำเป็ดไปปล่อยในนาเท่านั้น ทุกวันนี้นอกจากจะทำนาปลอดสารพิษแล้ว ยังจะมีรายได้จากการขายไข่เป็ดอีกด้วย จึงอยากแนะนำเกษตรกรว่า พยายามอย่าไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยอื่น ต้นทุนมันสูงและข้าวก็ไม่ได้คุณภาพ พยายามทำนาโดยใช้วิธีธรรมชาติมีประโยชน์กว่า และรับประทานข้าวเข้าไปก็ปลอดสารพิษอีกด้วย

หากผู้ใดอยากจะลองทำตามสอบถามที่โทร.0-3661-7058 หรือมือถือ 08-9086-1706 แล้วลุงสมนึกจะอธิบายให้เอง


http://www.esanclick.com/news.php?No=21932
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/08/2011 5:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

160. การทำคันนาปลูกข้าวปลูกข้าวด้วยคอนกรีต


ประเภทเทคนิค : เทคนิคพิเศษอื่น ๆ
สาขา : ลพบุรี สำนักงานจังหวัด : ลพบุรี
ชื่อ นายสมนึก ชูศรี
ชื่อคู่สมรส : เพ็ญแข จำนวนบุตร : 3 คน
วันเกิด : 2487
ที่อยู่ : 87/1 หมู่3 บ้านวัดสำราญ ต. โพธิ์เก้าต้น อ. เมืองลพบุรี จ. ลพบุรี
รหัสไปรษณีย์ 15000 โทร (036) 617058
การศึกษา : ประถมศึกษา

การอบรม/ประสบการณ์ : 1. ผ่านดูงานการทำนา และเครื่องอบข้าวที่ประเทศไต้หวัน 2. ผ่านดูงานการเลี้ยงสุกรที่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
ปีที่เข้าเป็นลูกค้า : 2534
อาชีพที่ประสบความสำเร็จ : ข้าว
ที่ตั้ง :ตำบล โพธิ์เก้าต้น อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัด ลพบุรี
ช่วงเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาด : ก.ย., ก.พ.
ช่วงเวลาที่ใช้เทคนิคพิเศษ : ก.พ.-ต.ค.
การจัดการด้านการตลาด : สีข้าวขายเองเนื่องจากมีโรงสีขนาดเล็กเป็นของตนเองโดยสีเป็นข้าวสารขาย


ขั้นตอนการผลิต :
วิธีการเหมือนกับการผลิตข้าวโดยทั่วไป แต่ได้เน้นการประหยัดน้ำ และลดการใช้สารเคมีให้ได้น้อยที่สุด และหมั่นตรวจสอบขั้นตอนการผลิตด้วยความเอาใจใส่


แนวคิด
1. ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด
2. ทดสอบเมล็ดข้าว ฝัดเอาเมล็ดแกร่ง และร่อนเอาหญ้าออก
3. ลดการใช้สารเคมีที่จำเป็นโดยใช้วิธีการอื่นช่วย





ขั้นตอนการทำเทคนิคพิเศษ :
การทำคันนาด้วยคอนกรีต โดยการเทปูนจากคันนาสูงราว 35-50 ซ.ม. รอบนา

ข้อดี
1. คันนาคอนกรีตใช้พื้นที่น้อยกว่าคันนาดิน 2. ทำแล้วจะได้พื้นที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากคันนาเล็กลง
3. คันนาไม่ต้องเสียค่าแรงตัดหญ้า ไม่ต้องฉีดยาฆ่าหญ้า
4. ไม่มีหนูอยู่อาศัย เก็บหอยเชอรี่ง่ายเนื่องจากหอยชอบเกาะอยู่กับปูน
5. สามารถกักเก็บน้ำได้ ซึ่งใช้น้ำน้อยลงกว่าครึ่งหนึ่ง ข้อเสีย การลงทุนสูง แต่มีวิธีประหยัดโดยการซื้อเหล็กใหม่ที่มีตำหนิ เกรด B ราคาจะถูก และลงทุนออกแบบเอง และใช้แรงงานของตนเอง

แผนการพัฒนาการผลิต :
1. มีโครงการที่จะหาวิธีการกำจัดหอยเชอรี่ที่ระบาดมากโดยนำต้นยางและหนอนตายยากมากำจัด
2. มีโครงการที่จะหาวิธีการทำนาอย่างประหยัดน้ำให้มากที่สุด
3. มีโครงการที่จะหาวิธีการกำจัดแมลงและศัตรูพืชรบกวน

ข้าวโดยปลอดจากสารเคมีให้น้อยที่สุด
สถานภาพทางสังคม : ได้รับการยกย่องจากชาวบ้านให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี และเป็นที่ยอมรับของคนในหมู่บ้านเรื่องความรู้และความสามารถในการประกอบอาชีพและดูแลทุกข์สุขของประชาชนเป็นอย่างดี

บทบาทและการมีส่วนร่วมในสังคม :
1. เป็นแหล่งศึกษาดูงาน และถ่ายทอดความรู้และเทคนิคพิเศษแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
2. ได้รับเลือกเป็นหัวหน้ากลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. ตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน
3. คอยดูแลลูกบ้านที่เกิดปัญหาน้ำไม่มี โดยการขุดเจาะบ่อบาดาลโดยหางบประมาณจากทางราชการมาให้เพื่อเพาะปลูกพืชระยะสั้น

ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ ธ.ก.ส. :
- เป็นแหล่งเงินทุนที่ให้การสนับสนุนด้านการเงินที่มีดอกเบี้ยต่ำ ทำให้เกษตรกรไม่ต้องกู้เงินนอกระบบซึ่งดอกเบี้ยค่อนข้างสูง
- ช่วยสนับสนุน และพัฒนาการเกษตรทั้งในด้านการประกอบอาชีพ และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น
- ปัจจุบัน ธ.ก.ส. มีการขยายวัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อมากขึ้นกว่าเดิม
- ทางธนาคารได้มีการปรับปรุงในเรื่องการให้การบริการที่สะดวกรวดเร็วขึ้น เช่น การกู้เงิน, การชำระหนี้และที่สำคัญมีการดูแลกำกับการให้กู้เงินเป็นไปอย่างใกล้ชิด และมีความเข้าใจเป็นอันดีต่อเกษตรกร




http://www.pandintong.com/ViewContent.php?ContentID=1052
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/08/2011 6:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

161. ปลูกข้าวด้วยคันนาหินอนุรักษ์น้ำที่เมืองน่าน





โครงการอนุรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน มีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพป่าต้นน้ำลำธารให้ใช้ ประโยชน์อย่างยั่งยืน เน้นการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างพอ เพียง มีความสมดุลกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้เกษตรกรและชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ จัดการทรัพยากรการผลิต การบริหารทุนขององค์กรเกษตรกรให้เกิดความเหมาะสมและยั่งยืน บนพื้นฐานการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ดังเช่นเกษตรกร "บ้านสะจุก" และ "บ้านสะเกี้ยง" อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ได้ดำเนินการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพป่าต้นน้ำลำธาร โดยการสนับสนุนของสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านสะจุก-สะเกี้ยง ซึ่งนายชิดชนก สุขมงคล หัวหน้าสถานี ฯ และส่วนราชการในพื้นที่ อันได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัด สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด สำนักงานชลประทานจังหวัด สถานีวิจัยข้าวแพร่ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

พื้นที่ดังกล่าว เกษตรกรเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลั๊วะ วิถีชีวิตจะต้องมีการทำนาเพื่อให้มีข้าวบริโภคตลอดทั้งปี แต่หลายปีที่ผ่านมา การทำนานั้น เป็นการทำนาตามความลาดชันของไหล่เขาเพื่อปลูกข้าวไร่ ส่งผลให้เกิดการชะล้างหน้าดิน เกิดการพังทลายของไหล่เขาทุกปี พื้นที่หลายแห่งเป็นหินก้อนและแผ่นหิน แหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำจากน้ำฝน มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช ได้ผลผลิตน้อยกว่า 10 ถังต่อปี เพราะส่วนใหญ่ต้นข้าวจะลีบ ปีต่อไปจะเว้นที่ว่างไว้หันไปปลูกแหล่งอื่นแทน แต่ในขณะเดียวกับบริเวณเชิง เขา มีแหล่งน้ำที่ไหลมาจากต้นน้ำลำธาร คือลำห้วยงัด

ด้วยเหตุนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ จึงมีพระราชดำริให้พยายามปรับเปลี่ยนเป็นการทำนาแบบนาดำ นายสือ อุ่นทิน ผู้ใหญ่บ้านสะจุก จึงได้รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มผู้ริเริ่มทำนาดำ เมื่อปี 2548 สมาชิก 25 คน และเพิ่มขึ้นทุกปีจนถึง 40 ราย ร่วมกันปรับพื้นที่ลาดชันให้เป็นนาแบบขั้นบันได ใช้ดินและหินผสมกันเป็นคันนาป้องกันน้ำไว้ในนา บางส่วนไหลออกไปลงลำห้วยงัด ขณะเดียวกัน กรมพัฒนาที่ดิน ได้ให้ความช่วยเหลือโดยดำเนินการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปูนโดโลไมด์ แก้ไขปัญหาดินเป็นกรด ขณะที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้นำพันธุ์ข้าวไร่ที่เหมาะสมกับพื้นที่เข้าไปส่งเสริม คือพันธุ์น้ำกึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวไร่ข้าวเหนียว ได้ผลผลิตประมาณ 60 ถัง เกษตรกรเริ่มยอมรับการทำนาแบบขั้นบันได จึงขยายพื้นที่ออกไปประมาณ 200 ไร่ สามารถเป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรชาวไทยภูเขาหลายแหล่งที่มีสภาพพื้นที่คล้าย คลึงกัน ที่สำคัญคือการมีข้าวไว้บริโภคอย่างพอเพียงตลอดทั้งปี มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง





เชียงใหม่นิวส์
http://www.vijai.rmutl.ac.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:14 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/08/2011 7:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

162. ธาตุสังกะสีจำเป็นสำหรับพืช


ปุ๋ย
ปุ๋ยถูกนำมาใช้ในการเกษตรและพืชสวนเพื่อให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืชและดิน โดยธรรมชาติดินจะมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชอยู่แล้ว แต่มีความผันแปรค่อนข้างมาก และพบเสมอว่ามีความเหมาะสมต่อความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของพืชที่ต่ำ การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินมีผลมาจากการทำให้ดินเกิดการเสื่อมลงอย่างช้าๆของธาตุอาหารพืช โดยไม่มีการใส่ทดแทน ปัญหานี้มักเกิดขึ้นมากโดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ที่มีการใช้ปุ๋ยในพืชอาหารหลักในปริมาณที่ต่ำ ปุ๋ยสามารถใช้ทดแทนในดินที่ขาดธาตุอาหารและทำให้สภาพแวดล้อมในการปลูกพืชดีขึ้น ได้มีการแนะนำในฟาร์มมากว่าหนึ่งร้อยปีมาแล้วว่า ปุ๋ยจะช่วยให้ผลผลิตและคุณภาพของพืชเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการเพิ่มการผลิตทางการเกษตรอย่างมากมาย ซึ่งนำไปสู่อาหารที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณที่มากสำหรับมนุษย์และสัตว์


ธาตุอาหารพืช
พืชต้องการทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง (จุลธาตุ) ที่จำเป็นต่อความสมบูรณ์ การเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ธาตุอาหารหลัก เช่น ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม (K) ถูกใช้ในปริมาณที่มาก ส่วนจุลธาตุ (ธาตุอาหารรอง) แม้ว่าจะมีความต้องการในปริมาณที่น้อย แต่ก็มีความสำคัญต่อความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน และหนึ่งในจุลธาตุที่จำเป็นเหล่านี้ คือ ธาตุสังกะสี


การขาดธาตุสังกะสี
เมื่อพืชได้รับธาตุสังกะสีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ การทำงานทางด้านชีวเคมีของพืชจะลดลง ก่อให้เกิดผลเสียต่อความแข็งแรงและการเจริญเติบโตของพืช มีผลทำให้ผลผลิตลดลง และมีคุณภาพไม่ดี ในกรณีที่มีการขาดธาตุสังกะสีอย่างรุนแรง พืชจะแสดงอาการเครียดให้เห็น เช่น พื้นที่ใบจะเหลืองซีด ใบมีสีบรอนซ์ ใบมีขนาดเล็กแคระแกรน ซีดขาว และอยู่รวมเป็นกระจุก ส่วนอาการที่แฝงอยู่และไม่ปรากฏอาการให้เห็น เช่น ผลผลิตลดลงอย่างมาก ซึ่งไม่สามารถตรวจหาสาเหตุได้เป็นเวลาหลายปี ถ้าไม่มีการนำดินหรือพืชไปวิเคราะห์และจัดการแก้ไข

การศึกษาขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แสดงให้เห็นว่าสังกะสีเป็นจุลธาตุที่มีการขาดมากที่สุด มีการแพร่ขยายอย่างกว้างขวางในดินชนิดต่างๆ ในหลายๆ พื้นที่ทางเกษตร โดยเฉพาะในแถบเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง เช่นเดียวกับในเม็กซิโก อเมริกา และออสเตรเลีย

พืชหลายๆชนิดรวมทั้งพืชอาหารหลัก (ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง) ผลไม้ชนิดต่างๆ (ส้ม แอปเปิ้ล ฝรั่ง สับปะรด) ถั่ว กาแฟและชา ผัก (แครอท มันฝรั่ง มะเขือเทศ) รวมทั้งพืชที่ไม่ใช่พืชอาหาร (ฝ้าย ปอป่าน) ได้รับผลกระทบจากการขาดธาตุสังกะสี


ธาตุอาหารและความสมบูรณ์แข็งแรงของพืช
พืชจัดเป็นแหล่งให้อาหารและธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับมนุษย์และสัตว์ ประชาชนดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการบริโภคพืชธัญพืช ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพดเป็นอาหารหลัก โดยปกติพืชเหล่านี้จะมีธาตุสังกะสีในปริมาณน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปลูกในดินที่ขาดธาตุสังกะสี เกือบ 50% ของดินปลูกพืชธัญพืชทั่วโลกพบว่ามีการขาดธาตุสังกะสี และ 1 ใน 3 ของประชากรโลก คาดว่าเสี่ยงต่อการขาดธาตุสังกะสี ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพรวมถึงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เลวลง ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการลดลง ในพื้นที่เหล่านี้การขาดธาตุสังกะสีจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับที่ห้า ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และเป็นอันดับที่ 11 ของปัจจัยเสี่ยง 20 อันดับแรกของโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้อ้างว่าการตายของประชากรทั่วโลกในแต่ละปีจำนวน 800,000 คน มีสาเหตุมาจากการขาดธาตุสังกะสี และชี้ให้เห็นว่าการขาดธาตุสังกะสีมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการบริโภคอาหารที่มีปริมาณธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ การปรับปรุงสภาวะของธาตุอาหารสังกะสีของพืชที่ใช้เป็นอาหาร โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ดินมีการแพร่ขยายการขาดธาตุสังกะสี ถูกจัดไว้เป็นอันดับแรกในการต่อสู้กับภาวการณ์ขาดสารอาหารหรือ “ความหิวโหยที่ซ่อนอยู่” ในมนุษย์และสัตว์



การแก้ไขการขาดธาตุสังกะสีในพืช
การแก้ปัญหาการขาดธาตุสังกะสีในพืชและดินที่รวดเร็วและได้รับผลตอบแทนที่ดีคือ การใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของธาตุสังกะสี วัสดุที่ใช้ให้ปุ๋ยสังกะสีมี 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
-สารประกอบอนินทรีย์
-สารประกอบอินทรีย์

ในระหว่างสารประกอบอนินทรีย์ทั้งหมด ซิงก์ซัลเฟตจัดว่าเป็น วัสดุที่นำมาใช้ในการให้ธาตุสังกะสีมากที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติละลายได้สูง และใช้ประโยชน์ได้ทั้งในรูปผลึกและเม็ด คุณสมบัติในการละลายจัดเป็นกุญแจสำคัญต่อประสิทธิภาพของปุ๋ย สารประกอบอนินทรีย์ชนิดอื่นที่ใช้ในการให้ปุ๋ยสังกะสี ได้แก่ ซิงก์ไนเตรท ซัลเฟอรัสซิงก์ ซิงก์ซัลเฟตชนิดต่างๆ และซิงก์ออกไซด์

ส่วนสารประกอบสังกะสีอินทรีย์ที่ใช้ในการให้ธาตุสังกะสี ได้แก่ chelate สังเคราะห์ชนิดต่างๆ เช่น Zn-EDTA , Zn-HEDTA, ซิงก์โพลีฟลาโวนอยด์ และซิงก์ลิกโนซัลโฟเนต

ธาตุสังกะสีอาจใช้ได้ทั้งในรูปปุ๋ยเดี่ยว หรือปุ๋ยผสมที่ประกอบด้วยหนึ่งชนิดหรือมากกว่าของธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม นอกจากนี้ ธาตุสังกะสียังจัดเป็นธาตุที่สำคัญสำหรับปุ๋ยชนิดพิเศษที่ประกอบด้วยสัดส่วนของธาตุอาหารทั้งหมดที่จำเป็นเฉพาะสำหรับพืชแต่ละชนิด แต่ละสถานที่และแต่ละเวลา




วิธีการใส่ปุ๋ยสังกะสี
การใส่ปุ๋ยสังกะสีแก่พืชและดินมีหลายวิธี ดังนี้
1.โดยการฉีดพ่นทางใบ - เพื่อให้พืชดูดซึมผ่านทางใบ
2.การใส่ลงในดิน - เพื่อให้รากดูดธาตุไปใช้ประโยชน์
3.ให้ในช่วงการให้น้ำ - ธาตุอาหารจะให้ผ่านระบบการให้น้ำ
4.ให้กับเมล็ดพืช


การให้ธาตุสังกะสีในแต่ละวิธีจะมีประโยชน์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ลักษณะของดิน ชนิดและส่วนประกอบของปุ๋ย นอกจากนี้การผสมผสานวิธีการให้ปุ๋ยหลายรูปแบบเข้าด้วยกันมีความเป็นไปได้ และนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต และคุณภาพที่ดีของพืช การใส่ปุ๋ยสังกะสีจะช่วยสร้างสมดุลของธาตุอาหารที่จำเป็นชนิดอื่นๆอีกด้วย ดังนั้นการวางแผนการสร้างสมดุลของปุ๋ยระหว่างธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง (จุลธาตุ) ควรมีการจัดการให้เหมาะสมเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ดินและพืช


การใช้ปุ๋ย
ปุ๋ยจะใส่ลงในดินและพืชเพื่อป้องกันการขาดธาตุ อย่างไรก็ตามการใช้ปุ๋ยจะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสูง ในสภาวะที่มีการขาดแคลนทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง ปริมาณพืชลดลง แต่ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น เสบียงอาหารของโลกโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องผลิตให้เพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชมีจำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตของพืชต่อพื้นที่ให้มากขึ้น ในพื้นที่ที่จุลธาตุมีจำกัด การนำปุ๋ยจุลธาตุมาใช้จะสามารถช่วยในการเพิ่มผลผลิตพืชและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและคุณภาพของพืช



สรุป
สังกะสีจัดเป็นปุ๋ยที่สามารถเพิ่มคุณภาพและผลผลิตของพืชอย่างเห็นได้ชัด การเพิ่มธาตุสังกะสีให้แก่พืช มนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา จะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น จะต้องมีการเพิ่มระดับความต้องการของธาตุสังกะสีด้วย


http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539265970&Ntype=10
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 6:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

163. อีรี่ หนุนพัฒนาอุปกรณ์สุ่มเตือนต้นข้าวหิว


ชาวนารู้เวลาแม่นยำเติมปุ๋ย - ประหยัดค่าสารอาหาร

นักวิจัยไทยจับมือสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ พัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดความต้องการธาตุอาหารของต้นข้าวในรูปแบบแผ่นเทียบสี ช่วยให้เกษตรกรรู้ช่วงเวลาเติมปุ๋ยในนาได้แม่นยำ ลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองจากการให้ปุ๋ยโดยไม่จำเป็น พร้อมเร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีและแนะนำการใช้งานให้เกษตรกรทั่วประเทศ



ดร.ลัดดาวัลย์ กรรณนุช นักวิชาการสถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรร่วมกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (อีรี่) พัฒนา

"แผ่นเทียบสี" สำหรับใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดความต้องการธาตุอาหารของต้นข้าว ซึ่งช่วยการตัดสินใจของเกษตรกรในการให้ปุ๋ยตรงตามระยะเวลาที่ต้นข้าวต้องการอย่างแท้จริง ส่งผลช่วยลดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองจากการให้ปุ๋ยโดยไม่จำเป็น ขณะที่ปริมาณผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

"เนื่องจากปัญหาของเกษตรกรไทยส่วนใหญ่จะมาจากต้นข้าวขาดธาตุไนโตรเจน จึงได้ทำการพัฒนาแผ่นเทียบสีอาหารข้าว (Life Colour Chart : LCC ) เพื่อวัดปริมาณไนโตรเจนเป็นอันดับแรก โดยแผ่นเทียบสีดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรทราบระดับความต้องการอาหารของต้นข้าว โดยแบ่งตามระดับสีที่เปลี่ยนแปลงบนช่องของแผ่นเทียบสี" ดร.ลัดดาวัลย์ กล่าว

สำหรับแผ่นเทียบสีดังกล่าวพัฒนาขึ้นเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว โดยใช้วัสดุเลียนแบบใบข้าว คือมีร่องยาวบริเวณกลางแผ่น ซึ่งในรุ่นแรกจะมีช่องเทียบสีประมาณ 10 ช่อง ความยาวประมาณ 1 ฟุต และรุ่นถัดมาได้ลดปริมาณช่องแทบสีให้ลดลงเหลือ 6 ช่อง และ 4 ช่องตามความเหมาะสม โดยแผ่นเทียบสีที่ใช้ในปัจจุบันมีจำนวน 4 ช่อง ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 20 บาทต่อ 1 ใบ

โดยแนวคิดในการพัฒนาแผ่นเทียบสี ได้สังเกตพฤติกรรมการให้ปุ๋ยต้นข้าวของเกษตรกรในแบบเดิม จะให้ตามระยะเวลาคือหลังปลูกข้าว 20 วัน และหลังจากที่ข้าวออกรวงแล้ว ซึ่งระยะเวลาการให้ปุ๋ยนั้นไม่สามารถกำหนดได้อย่างแน่นอน บางครั้งพืชอาจไม่ต้องการธาตุอาหารหรืออาจได้รับมากเกินไป ทำให้ไม่เกิดประโยชน์ เพราะจะส่งผลให้ข้าวเสี่ยงต่อการเกิดโรคใบกรอบ รวมถึงโรคจากแมลงรบกวนอื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ



ทั้งนี้ จากการศึกษาปริมาณธาตุอาหาร ที่ส่งผลต่อการแสดงออกของสีบริเวณใบข้าว พบว่า ต้นข้าวที่ขาดธาตุไนโตรเจน สีของใบที่แสดงออกจะมีสีเหลือง แต่หากต้นข้าวขาดธาตุฟอสฟอรัสใบข้าวจะมีสีเขียวเข้ม ในขณะที่ต้นข้าวที่ขาดธาตุโพรแทสเซียมสีของใบจะเป็นสีเขียวอมม่วง จึงนำหลักการดังกล่าวมาพัฒนาแผนเทียบสีอาหารข้าว โดยเน้นเพื่อทดสอบใบข้าวที่ขาดธาตุไนโตรเจนเป็นหลัก


ดร.ลัดดาวัลย์ อธิบายว่า อุปกรณ์ดังกล่าวจะใช้ประกอบกับคำแนะนำในการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร โดยใช้แผ่นเทียบสีเพื่อวัดสีใบข้าว โดยครั้งแรกจะวัดหลังจากที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยต้นข้าวไปแล้ว 1 สัปดาห์ โดยเลือกวัดข้าวใบอ่อนที่เจริญเติมวัยหรือใบที่ 3-4 ถัดจากยอดของลำต้น โดยสุ่มวัดเพียงแค่ 10 ใบต่อไร่เพื่อวัดค่าเฉลี่ยของสีใบที่เปลี่ยนแปลงจากการขาดธาตุอาหาร จากนั้นให้วัดสีใบเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยสังเกตสีใบที่เปลี่ยนไปตามความต้องการอาหารของต้นข้าวตามช่องที่ระบุ

"หลังจากได้นำร่องใช้แผ่นเทียบสีข้าวกับเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าการให้ปุ๋ยตามเวลาที่พืชต้องการ จะช่วยลดต้นทุนในการปลูกข้าวได้ถึง 17% ในขณะที่ผลผลิตที่ได้ก็เพิ่มขึ้นเป็น 20% ต่อไร่ ทั้งยังช่วยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการทำนาของเกษตรกรให้เป็นระบบ โดยกำหนดวันเวลาที่ชัดเจนในการให้ปุ๋ยกับต้นข้าวให้ตรงตามช่วงเวลาที่ข้าวต้องการ" นักวิจัยกรมวิชาการเกษตร กล่าว

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยมีแนวคิดที่จะเพิ่มประโยชน์แผ่นเทียบสีดังกล่าว สำหรับวัดปริมาณธาตุโพรแทสเซียมในต้นข้าว แต่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงความสมดุลของธาตุไนโตรเจนในต้นข้าว รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของสีของใบที่แสดงออกถึงโรคพืช สีที่แสดงออกถึงคุณภาพพันธุ์ข้าวแต่ละชนิด


http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/archives/Jan_05/News/12010501.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 7:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

164. การค้นหาและศึกษาหน้าที่ของยีนความหอม


ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักสำคัญของประเทศไทยที่นำรายได้เข้าประเทศกว่าปีละแสนล้านบาท ในจำนวนนี้ ข้าวหอมกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดส่งออกข้าวของโลก โดยประเทศไทยนับเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ ประเทศนำเข้าจากไทยที่สำคัญได้แก่ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา และประเทศในกลุ่ม ตะวันออกกลาง เป็นต้น ข้าวหอมไทยส่งออกไปสู่ตลาดโลกปีละประมาณ 1 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20-25% ของยอดการส่งออกข้าวของไทยทั้งหมด


ข้าวหอมมะลิมีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นแหล่งเชื้อของพันธุ์ข้าวหอม ข้าวหอมมะลิของไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก เป็นเพียงหนึ่งในอีก หลายร้อยพันธุ์ที่มีเก็บอยู่ในศูนย์เชื้อพันธุกรรมแห่งชาติ ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวหอมชนิดที่เรียกว่า Jasmine rice ซึ่ง มีกำเนิดในประเทศไทยเอง โดยพบปลูกเป็นครั้งแรกที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา มีชื่อเดิมว่า ข้าวขาวดอก มะลิ 105 โดย นายจรูญ ตัณฑวุฒ ได้นำมาปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 เป็นที่นิยมในท้องถิ่น ต่อมา นายสุนทร สีหะ เนิน เกษตรอำเภอบางคล้า ได้เก็บรวบรวมข้าว 199 รวง ในฤดูทำนาปี 2493-2494 ส่งไปคัดพันธุ์ที่สถานีข้าว โคกสำโรง เมื่อปี 2498



ยีนความหอม: ทรัพย์สินที่ควรเป็นของไทย
ในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตข้าวหอมได้เช่นกัน เช่นข้าวหอมที่มีเครื่องหมายการค้าว่า ข้าว หอมจัสมาติ (Jasmati rice) ทั้งนี้ข้าวจัสมาติเป็นข้าวที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาจากข้าวพันธุ์ เดลลา (Della) ข้าวพื้น เมืองพันธุ์หนึ่งซึ่งมีต้นกำเนิดในอิตาลีกับพันธุ์ข้าวจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) การจดเครื่องหมายการค้า จัสมาติ คือเครื่องบ่งชี้ว่าข้าวหอมมะลิของไทย เป็นเป้าหมายสำคัญ ของบริษัทต่างชาติที่ต้องการครอบครองทั้งพันธุกรรมและยึดครองตลาดข้าวหอม ดังนั้นสำหรับประเทศไทย วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการปกป้องและคุ้ม ครองผลประโยชน์ของข้าวหอมมะลิ คือ ประเทศไทยซึ่งเป็นต้นกำเนิดของข้าวหอมมะลิเอง ควรที่จะได้มาและเก็บ รักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับยีนความหอมของข้าว


การค้นหายีนความหอม
จากการศึกษาทางพันธุศาสตร์ พบว่าลักษณะความหอมในข้าวเป็นลักษณะที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยถูกควบคุมด้วยยีนด้อย (recessive gene) 1 ยีน ยีนความหอมน่าจะทำหน้าที่ในขบวนการเปลี่ยนกรดอะมิโน “โพรลีน” (proline) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นให้เป็นสารหอม 2AP โดยกระบวนการที่ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัด ในประเทศ ไทยโครงการค้นหายีนความหอมข้าวได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 แนวทางการค้นหายีนแบบ positional cloning จึงถูกนำมาใช้ สำหรับแนวทางนี้จะเริ่มต้นด้วยการหาตำแหน่งของยีนในมวลสารพันธุกรรมทั้งหมด (genome) ของ ข้าว คล้ายกันกับการหาตำแหน่งที่ตั้งของหมู่บ้านเล็กๆในแผนที่ประเทศ สามารถแบ่งความสำเร็จได้เป็น 3 ช่วงตาม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจีโนม ได้แก่ ช่วงก่อนจีโนม (pre-genomics) คือตั้งแต่ปี 2537-2542 ซึ่งในขณะนั้น ข้อมูลรหัสพันธุกรรมของข้าวยังมีไม่มากนัก การศึกษาเน้นหนักในการสร้างแผนที่โครโมโซม (genetic map) ทั้ง 12 แท่งของข้าว และพัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมาย (DNA marker) เพื่อใช้เป็นหลักกิโลบอกตำแหน่งในแผนที่นั้น พบว่ายีนความหอมวางตำแหน่งอยู่บนโครโมโซมแท่งที่ 8 ระยะที่สองคือ ช่วงจีโนม (genomics) ตั้งแต่ปี 2543- 2544 เป็นช่วงที่ประเทศไทย โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ได้เข้าร่วมในความร่วมมือนานา ชาติเพื่อถอดรหัสพันธุกรรมข้าว ได้มีการส่งนักวิจัยไปร่วมงานกับโครงการจีโนมข้าวประเทศญี่ปุ่น (Rice Genome Project, RGP) เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมข้าวโดยเฉพาะโครโมโซมที่ 8 และได้ส่งนักวิจัยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างห้องสมุดชิ้นส่วนดีเอ็นเอขนาดใหญ่ (BAC library) จากสารพันธุกรรมของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และใน ระยะที่สาม (2545-ปัจจุบัน) ที่เรียกว่า ช่วงหลังจีโนม (post genomics) ซึ่งมวลสารพันธุกรรมของข้าวได้ถูกถอด รหัสออกมาจนครบสมบูรณ์ มีการสร้างแผนที่โครโมโซมอย่างละเอียดละออด้วยดีเอ็นเอเครื่องหมายมากกว่า 3000 เครื่องหมาย จึงสามารถวางตำแหน่งของยีนความหอมที่อยู่บนโครโมโซมที่ 8 ได้ในบริเวณขนาด 82.7 กิโลเบส (ข้าวมีมวลสารพันธุกรรมทั้งสิ้น 430,000 กิโลเบส) เมื่อศึกษาบริเวณดังกล่าวอย่างละเอียดโดยการวิเคราะห์ข้อมูล รหัสพันธุกรรม (genome annotation) พบว่ามียีนต่างๆวางตัวอยู่ในบริเวณนี้ทั้งสิ้นประมาณ 9 ยีน (ยีนความหอม อาจเป็นยีนหนึ่งยีนใดใน 9 ยีนนี้) โดยมียีนที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่าอาจเป็นยีนความหอมจำนวน 3 ยีน และหนึ่งในสาม ยีนนี้เป็นยีนที่พบว่าน่าจะมีหน้าที่ใกล้เคียงกับยีนที่อยู่ในกระบวนการสลายโพรลีน (proline catabolism)


จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบพันธุ์ในปี 2500-2502 ในที่สุดคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าวพบว่าข้าวขาว ดอกมะลิรวงที่ 105 เป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในเรื่องความหอมและคุณภาพของ เมล็ด จึงอนุญาตให้ใช้ขยายพันธุ์ได้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2502 เป็นต้นมา ลักษณะสำคัญโดยทั่วไปของข้าวหอมมะลิ จะเป็นข้าวเมล็ดยาว (โดยมี ความยาวเฉลี่ยของข้าวเต็มเมล็ดที่ไม่มีส่วนใดหัก ต้องไม่ต่ำกว่า 7.0 มิลลิเมตร และมีอัตราส่วนความยาวเฉลี่ยต่อ ความกว้างเฉลี่ยของเมล็ดทีไม่มีส่วนใดหัก ต้องไม่ต่ำกว่า 3.0 มิลลิเมตร) มีปริมาณแป้งอมิโลส (Amylose) ต่ำ (อยู่ ระหว่าง 12-19 เปอร์เซ็นต์ ที่ระดับความชื้น 14.0 เปอร์เซ็นต์) เมื่อหุงสุกจะได้เมล็ดข้าวสุกที่อ่อนนุ่ม ยาวเรียว และ มีกลิ่นหอม แม้ข้าวหอมมะลิ จะเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีเยี่ยม แต่เป็นข้าวที่มีความต้านทานต่อโรคใบแห้งได้ปานกลาง และไม่สามารถต้าน ทานโรคใบไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบไหม้สีเหลืองส้ม และโรคจู๋ได้ รวมทั้งไม่สามารถต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยจักจั่นหลังขาว หนอนกอ และแมลงบั่วด้วย นอกจากนี้ยัง ไม่สามารถปลูกเป็นข้าวนาปรัง หรือปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีได้ เนื่องจากมีลักษณะไวต่อช่วงแสง (photoperiod sensitive) คือออกดอกในวันที่กลางคืนยาวกว่ากลางวันเท่านั้น นั่นก็คือในฤดูหนาว


สารหอมในข้าว
ลักษณะที่สำคัญของข้าวหอมคือความสามารถพิเศษในการผลิตสารหอมชนิดที่เรียกว่า popcorn-like scent แล้วเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของต้น โดยเฉพาะเมล็ด จากการศึกษาวิเคราะห์สารเคมีในเมล็ดข้าว พบว่า สารที่ทำให้เกิดความหอมในต้นและเมล็ดข้าวคือสารเคมีที่มีชื่อว่า 2-acetyl-1-pyrroline หรือ 2AP สารเคมีชนิดนี้ ถูกค้นพบในข้าวหอมเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1982 โดยเป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างแบบวงแหวน (heterocyclic) มี กลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย หรือ กลิ่นข้าวโพดคั่ว โดยพบสารดังกล่าวปรากฏอยู่ในทุกส่วนของพันธุ์ข้าวหอมยกเว้น ราก ส่วนในข้าวไม่หอมพบน้อยมากจนไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์


สายพันธุ์แฝดของข้าวหอม
เพื่อพิสูจน์ว่ายีนในบริเวณ 82.7 กิโลเบสดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการผลิตสารหอมในข้าวจริง จึงได้พัฒนาและ คัดเลือกสายพันธุ์ ‘แฝด’ (isogenic line) สำหรับลักษณะความหอมจำนวน 12 สายพันธุ์จากทั้งหมดมากกว่า 600 สายพันธุ์ สายพันธุ์แฝดเหล่านี้มีพื้นฐานพันธุกรรมเหมือนกัน แตกต่างกันเฉพาะสารพันธุ กรรมบริเวณยีนความหอม สายพันธุ์แฝดเหล่านี้มีรูปร่างทรงต้น และลักษณะภายนอกเหมือน กันทุกประการ ยกเว้นแต่ลักษณะความหอมที่แตกต่างกัน โดยแบ่งได้ 3 แบบคือ หอมมาก, หอมปานกลาง, และไม่หอม เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารหอมในสายพันธุ์แฝดเหล่านี้ พบว่า ปริมาณสารหอมมีความสัมพันธ์กับรูปแบบของสารพันธุกรรมในบริเวณ 82.7 กิโลเบส กล่าว คือ หากในบริเวณดังกล่าว สายพันธุ์แฝดได้รับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมมาจากข้าวหอม (สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ105) สายพันธุ์แฝดนั้นจะแสดงลักษณะหอมมาก (มีการสะสมสาร หอมในทุกเมล็ดข้าว), หากสายพันธุ์แฝดได้รับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมมาจากข้าวไม่หอม สายพันธุ์แฝดนั้นจะแสดงลักษณะไม่หอม (ไม่มีการสะสมสารหอมอยู่เลย) และหากสายพันธุ์ แฝดได้รับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมจากข้าวหอมและข้าวไม่หอมอย่างละครึ่ง (heterozygous) สายพันธุ์แฝดนั้นจะแสดงลักษณะหอมปานกลาง (มีการสะสมสารหอมใน เมล็ดข้าวบางเมล็ด) สายพันธุ์แฝดเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการหาตำแหน่งยีนความ หอม กล่าวคือ หากสามารถพัฒนาสายพันธุ์แฝดที่มีความแตกต่างของสารพันธุกรรมบริเวณ ยีนความหอมขนาดเล็กที่สุด (มียีนอยู่เพียงยีนเดียว) ได้ในทุกตำแหน่งยีน ก็จะสามารถรู้ได้ ว่ายีนใดกันแน่ที่เป็นยีนความหอม โดยขณะนี้สายพันธุ์แฝดอีกมากกว่า 1000 สายพันธุ์ กำลังถูกคัดเลือกอย่างคร่ำเคร่ง


บทสรุป : ยีนความหอม ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
หน่วยฯ ได้ทำการถอดรหัสพันธุกรรมของข้าวขาวดอกมะลิ105 ในบริเวณที่ยีนความหอมวางตัวอยู่และนำ ข้อมูลรหัสพันธุกรรมไปเปรียบเทียบกับของข้าวไม่หอม (สายพันธุ์นิพพอนบาเล: ที่เพิ่งถอดรหัสพันธุกรรมเสร็จ สมบูรณ์) พบความแปรปรวนระหว่างข้าวสองสายพันธุ์ ตรวจพบการเปลี่ยนเพียงรหัสเดียว (single nucleotide polymorphism; SNP) หลายตำแหน่งในบริเวณที่คาดว่าเป็นยีนความหอม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวพบว่ามี ความสัมพันธ์กับปริมาณสาร 2AP ในต้นและโดยเฉพาะเมล็ดข้าวด้วย การวิเคราะห์การแสดงออกของยีนแสดงให้ เห็นว่ายีนบางยีน มีการแสดงออกแตกต่างกันในข้าวสายพันธุ์แฝดที่มีความแตกต่างในลักษณะความหอม ขั้นตอน สุดท้ายคือต้องยืนยันหน้าที่ของยีนใน ‘ข้าวจำลองพันธุ์’ (transgenic rice) โดยแบ่งแนวทางศึกษาเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีแรกถ่ายฝากยีนจากข้าวไม่หอมเข้าไปในพันธุ์ข้าวหอม โดยคาดว่าผลการแสดงออกของยีนจะทำให้ข้าว หอมเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นข้าวไม่หอม ส่วนอีกกรณีคือการทำให้ยีนที่เคยแสดงออกได้ดีในข้าวไม่หอม แสดงออกได้น้อยลงโดยการขัดขวางการแสดงออก (antisense) โดยคาดว่าผลการขัดขวางนี้จะทำให้ข้าวไม่หอม เกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นข้าวหอมซึ่งขณะนี้การศึกษาทั้งสองแนวทางกำลังรุดหน้าไปอย่างมาก

นอกจากนี้ทางหน่วยฯ ยังได้พัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมายที่สามารถใช้ตรวจติดตามยีนความหอมขึ้นมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในการนำมาช่วยคัดเลือกในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีลักษณะความหอม


http://www.sininrice.com/insightsub_aroma.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 9:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

165. เพาะถั่วงอกในขวด (Green bean sprout)






พอดีจะทำถั่วเขียวต้มน้ำตาล แต่แช่ถั่วเยอะเกิน เห็นขวดโหลวางอยู่เลยเกิดความคิดนี้...ไม่ได้ตั้งใจ แต่มันก็งอกดีจัง

ตามนี้น่ะค่ะ

ถั่วเขียวล้างน้ำ ช้อนเมล็ดที่ลอยออกทิ้ง แล้วแช่น้ำหนึ่งคืนค่ะ

หาขวดโหลขวดแก้วก้นกว้างหน่อย จะเป็นหม้อ หรือกล่องพลาสติคก็ได้ค่ะแล้วแต่
เปเปอร์ทาวเออร์, ทิชชู หรือกระดาษออร์แกนิคที่ไม่มีสีก็ได้ค่ะ แล้วชุปน้ำหมาดๆวางที่ก้นขวด จากนั้นหว่านถั่วเขียวลงไปให้เสมอกัน ปิดฝา เอาขวดใส่ถุงกระดาษที่สีทึบมองผ่านไม่เห็น หรือเอาผ้าหนาๆคลุมก็ได้ค่ะ อย่าให้แสงเข้า แล้วเอาไปวางในที่อุ่นๆ เหยาะน้ำวันละครั้ง...ประมาณ สาม-สี่ วัน (แล้วแต่อุณภูมิ) ก็จะได้กินถั่วงอกแล้วค่ะ






http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=iamamm&month=01-2008&date=18&group=15&gblog=16
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 9:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

166. ข้าวเกวียนละ 2 หมื่น


ส่งไปใน FB ของคุณแนวโน้มราคาข้าว พุ่งกว่า 2 หมื่นบาท เจ้าสัวธนินท์ ชี้ปีนี้สินค้าเกษตรดี ดันจีดีพีโตถึง 10% หากการเมืองนิ่ง จี้รัฐบาลเร่งแก้มาบตาพุด ฟื้นลงทุน

บลูมเบิร์กรายงาน อ้าง นาย ซามาเรนตู โมฮันตี นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศว่า มีความเป็นไปได้ว่าราคาข้าวส่งออกจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 600 เหรียญสหรัฐ (ราว 2.04 หมื่นบาท) ต่อตันในเวลาอันใกล้ หลังเกิดภาวะแห้งแล้งและอุทกภัยทำให้พื้นที่เพาะปลูกในอินเดียและฟิลิปปินส์ เสียหาย

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า เพราะแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรดี เศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมาแน่ ขอให้การเมืองนิ่ง จีดีพีประเทศไทยอาจเติบโตถึง 10% ได้ ปัจจุบันราคาสินค้าเกษตรดีต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศอื่นมีปัญหา เช่น อินเดียมีปัญหาข้าวขาดแคลน ส่วนราคายางพาราปรับตัวดีขึ้นตามราคาน้ำมัน

ทั้งนี้ เมื่อราคาสินค้าเกษตรดี กำลังซื้อต่างจังหวัดจะดีตาม ส่งผลต่อยอดขายอุตสาหกรรมให้ปรับตัวดีขึ้นไปด้วย เพราะฉะนั้นแม้การเมืองจะไม่ดี แต่เศรษฐกิจปีนี้ดีกว่าปีก่อนแน่นอน แต่จะดีเท่าไหร่ให้ดูที่การเมือง โต 5% น่าจะได้

“ตอนนี้ขอให้การเมืองนิ่งอย่างเดียว ประเทศไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ มาก วิกฤต ปี 2540 เงินตราต่างประเทศเราหายหมด แต่ วันนี้เรามีเงินตราต่างประเทศสำรองไว้กว่าแสนล้านบาท ธนาคารมีเงินฝากกว่า 10 ล้านล้านบาท ปล่อยกู้ไปเพียง 6 ล้านล้านบาท เหลืออีก 4 ล้านล้านบาท หากนำมาปล่อยกู้ให้เอกชนจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้” นายธนินท์ กล่าว

สำหรับกรณีปัญหามาบตาพุดทำให้นักลงทุนต้องทบทวนศึกษาใหม่ เชื่อว่ารัฐบาลแก้ไขได้ ขณะนี้ปัญหามาบตาพุดอาจกระทบต่อบริษัทใหม่ๆ ที่จะเข้ามาลงทุน หากรัฐบาลปล่อยให้ผลิตและสร้างต่อไปและค่อยมาปรับปรุงจะดีกว่า หากปัญหาไม่จบไทยจะเสียโอกาสและก้าวช้า

นายธนินท์ กล่าวว่า การเปิดเสรีทางการค้าส่งผลดีต่อไทย เพราะสิทธิพิเศษต่างๆ จะทำให้นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น เช่น จีน เมื่อมีสิทธิพิเศษด้านการลงทุนในไทย ก็เหมือนลงทุนในจีน ขณะที่ท่องเที่ยวไทยได้ประโยชน์จากส่วนสินค้าบางกลุ่ม หากไทยสู้ไม่ได้ รัฐบาลต้องช่วยเหลือ เปลี่ยนไปผลิตสินค้าที่เหมาะสม


http://www.food-resources.org/news/13/01/10/1630
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 9:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

167. จีนประสบความสำเร็จในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวบำรุงโลหิต


ส่งไปใน FB ของคุณศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรเซี่ยงไฮ้ ได้ประกาศข่าวดีเกี่ยวกับความสำเร็จในการพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ที่ให้พลังงาน และน้ำตาลในปริมาณที่ต่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน


ดร.โพ่ จง เจ๋อ จากสถานีวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืชไร่ของสถาบันดังกล่าวได้แนะนำว่า ทางสถานีได้มีโครงการความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่าง ประเทศกับสำนักงานพัฒนาการเกษตรสาธารณรัฐเกาหลี โดยประสบความสำเร็จในการพัฒนาข้าวเมล็ดกลมที่มีคุณสมบัติลดไขมันและน้ำตาลใน เลือดเป็นครั้งแรก ถ้าข้าวสายพันธุ์นี้ได้รับการส่งเสริมให้มีการปลูกแล้ว จะทำให้ได้ข้าวที่สามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคที่เกิดกับโลหิตอันได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคเบาหวาน ทั้งยังสามารถช่วยแก้ปัญหาในการรับประทานข้าวให้กับผู้ป่วยอีกด้วย


ในปัจจุบันนี้ ประเทศจีนมีแนวโน้มของอัตราการเกิดโรคที่เกิดจากการกินอาหารไม่สมดุลและมี สารอาหารมากจนเกินความต้องการ หรือ “โรคคนรวย” เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นต้น เป็นโรคหลักๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คน จากข้อมูลสถิติ ในขณะนี้ประเทศจีนมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานมากกว่า 20 ล้านคน และเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานมากเป็นอันดับสองของโลก และมีการคาดการณ์ว่า จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานนี้จะมีจำนวนมากถึง 60 ล้านคนในปี 2568 นอกจากนี้ประเทศจีนยังมีจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงถึง 160 ล้านคน ทุกปีจะมีคน 2.5 ล้าน ถึง 3 ล้านคนที่เสียชีวิตด้วยโรคของเส้นเลือด โรคชนิดนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนเมืองและคนชนบทเสียชีวิต โดยในประเทศจีน มีจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีมากกว่า 100 ล้านคน และเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 ล้านคนในแต่ละปี


ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวจีน เป็นแหล่งที่มาของคาร์โบไฮเดรตและพลังงานหลัก อาศัยการปรับปรุงส่วนประกอบของสารอาหารที่มีอยู่ในข้าว ลดการดูดซึมพลังงานของร่างกาย ก็จะช่วยให้สามารถลดอัตราการเกิด “โรคคนรวย” นี้ ได้


จากการทดลองกับหนูทดลองที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิด 2 พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองที่กินข้าวพันธุ์ใหม่นี้ น้อยกว่าหนูทดลองที่กินข้าวธรรมดาร้อยละ 19.2 Triglyceride ลดลงร้อยละ 52.9 คอเลสเตอรอลลดลงร้อยละ 89.9 HDL-C ลดลงร้อยละ 38.1 LDL-C ลดลงร้อยละ 43.2 จะเห็นได้ว่า เมื่อบริโภคข้าวชนิดนี้ จะช่วยให้สามารถป้องกันและควบคุมการเกิดโรคชนิดเดียวกันนี้ในมนุษย์ และมีคุณสมบัติช่วยบำรุงโลหิตอีกด้วย


คณะผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันว่า โครงการดังกล่าวได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายในแต่ละข้อของสัญญาที่กำหนดไว้ และเสนอแนะให้ทางคณะกรรมการวิทยาศาสตร์นครเซี่ยงไฮ้ได้สนับสนุนให้เงินทุน ต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องของการสาธิตการเพาะปลูกข้าวพันธุ์ที่มีความต้านทานสูงใน หลายๆ จุด เทคโนโลยีการเพาะปลูกอย่างครบวงจร ตลอดจนการส่งเสริมการเพาะปลูกหลังจากที่ได้ผ่านการยื่นตรวจสอบสายพันธุ์แล้ว


ดร.โพ่ จง เจ๋อ เป็นนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงของจีน มีผลงานในหลายๆ ด้าน เช่น ข้าวพันธุ์ “แสงจันทร์” เป็นข้าวที่มีความอร่อย มีคุณค่าทางอาหารสูง และให้ผลผลิตสูง จึงเป็นที่นิยมมาก โดยในระหว่างที่ ดร.โพ่และทีมงานได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอยู่นั้น พวกเขาได้มุ่งเน้นไปยังการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่สามารถช่วยป้องกันโรคภัยไข้ เจ็บ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงยิ่งขึ้น และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ในเวลาเดียวกัน พวกเขายังได้ใช้หลักการนี้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชไร่ชนิดอื่น ๆ อีกด้วย โดยขณะนี้ ทางทีมงานของโครงการนี้ยังได้ทุ่มเทให้กับการวิจัยเทคนิคในการเพาะปลูกข้าว ลดไขมันและน้ำตาลในเลือดในเชิงอุตสาหกรรมอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว การพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว ยังต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคธุรกิจการเกษตรของเอกชนที่มีศักยภาพ มีการผลิตที่ครบวงจร จึงจะทำให้โครงการนี้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด



http://www.food-resources.org/news/17/03/10/135
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 9:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

168. ข้าวสังข์หยดเพาะงอก ตันละแสน


ส่งไปใน FB ของคุณนายจักรกฤษณ์ สามัคคี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบางแก้ว จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาข้าวสังข์หยดที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางแก้วเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 20,000-26,000 บาท/ตัน และยังมีแนวโน้มที่จะขยับสูงขึ้นอีก เนื่องจากตลาดมีความต้องการมาก เพราะข้าวสังข์หยดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางแก้วประมาณ 250 ไร่ ผลิตตามกระบวนการจีไอทั้งหมด

ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดพัทลุงกำหนดให้ทุกอำเภอปลูกข้าวสังข์หยด ในเบื้องต้นอำเภอละ 200 ไร่ คาดว่าในปีนี้จะมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นประมาณอีก 30% จากพื้นที่เพาะปลูกที่มีอยู่แล้วประมาณ 20,000 ไร่ ซึ่งข้าวสังข์หยดไม่มีปัญหาการตลาด เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่เน้นด้านสุขภาพ

นายจักรกฤษณ์กล่าวว่า ในปีนี้ทางกลุ่มได้เริ่มผลิตข้าวสังข์หยดเพาะงอกแล้ว โดยระยะแรกผลิตได้ประมาณ 300 กิโลกรัม/ เดือน โดยข้าวสังข์หยดเพาะงอกราคา ตันละ 100,000 บาท หรือกิโลกรัมละ 100 บาท เนื่องจากเป็นข้าวที่มีสารบากา มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยป้องกันโรค เช่น โรคมะเร็ง เส้นโลหิตในสมองแตก คลายเครียด โรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่ง ข้าวสังข์หยดบากาได้ผ่านการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว

"เมื่อก่อนคนจะนิยมบริโภคข้าวสังข์หยดซ้อมมือ แต่ตอนนี้ได้หันมาบริโภคข้าวสังข์หยดกล่อง เพราะให้คุณค่าทางอาหารได้ดีกว่า แต่ผู้บริโภครายใหม่ๆ ก็เพิ่งมาบริโภคข้าวสังข์หยดซ้อมมือ แนวโน้มต่อไปจะมีการหันไปบริโภคข้าวสังข์หยดเพาะงอกเพิ่มขึ้นแน่นอน"

นาย จักรกฤษณ์กล่าวอีกว่า การปลูกข้าวสังข์หยดต้องครบถ้วนตามกระบวนการจีไอ และปราศจากสารเคมี ล่าสุดนี้ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบางแก้ว ได้รับมอบโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 1 โรง จากกรมวิชาการเกษตรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ประมาณ 40 ตัน/เดือน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือผู้ผลิตข้าวสังข์หยด

ด้านนายไพรวัลย์ ชูใหม่ นักวิชาการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดพัทลุงกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ได้แก่ ข้าวสังข์หยด ข้าวเล็บนก และข้าวเฉี้ยง เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในปี ที่ผ่านมามีการนำพันธุ์ข้าวหอมนิลจากภาคกลางเข้ามาทำตลาดในจังหวัดพัทลุง ด้วย ซึ่งได้รับความนิยมจาก ผู้บริโภคมากขึ้นเช่นกัน โดยราคาจะต่ำกว่าข้าวสังข์หยดประมาณกิโลกรัมละ 3-5 บาท แต่มีสินค้าไม่ต่อเนื่อง และบางครั้งก็ขาดตลาด


http://www.food-resources.org/news/2/08/10/1106
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 10:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

169. "มังคุด" ผลไม้ไทยสารพัดประโยชน์


"มังคุด" ถือเป็นราชินีแห่งผลไม้ เพราะนอกจากจะรสชาติอร่อยหอมหวานกลมกล่อมแล้ว ผลไม้ไทยชนิดนี้ยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมายสารพัด

คนไทยสมัยโบราณรู้จักนำ "มังคุด" มาแปรรูปเป็นยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรค ไม่ว่าจะเป็น "เปลือกมังคุด" ใช้ฝนกับน้ำปูนใส เพื่อทาแผลให้หายเร็วขึ้น และช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า หรือ ถ้านำไปต้ม ก็สามารถดื่มแก้อาการท้องร่วง ขณะที่เนื้อมังคุดมีกากใยช่วยเรื่องขับถ่าย และยังอุดมด้วยสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่นับไม่ถ้วน ไล่ตั้งแต่ น้ำตาล กรดอินทรีย์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก

จนถึงปัจจุบันมีการนำ "มังคุด" ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท ทั้งมังคุดอบแห้ง น้ำมังคุด ไวน์มังคุด อาหารเสริมจากมังคุด ยาสระผม ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น โดยผลจากการศึกษาของศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย ภายใต้การนำของ

ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา,
รศ.ดร.วิลาวัลย์ มหาบุษราคัม,
รศ.ดร.เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร และ
รศ.ดร.อำไพ ปั้นทอง

ซึ่งทำการวิจัยเรื่องคุณประโยชน์ ของมังคุดมานานกว่า 3 ทศวรรษ ค้นพบว่า มังคุดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์สูงมากในเชิงสุขภาพ โดยสามารถปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุล ด้วยการลดการหลั่งสาร "Interleukin I" และ "Tumor Necrosis Factor" ซึ่งตามหลักวิชาของศาสตร์ภูมิคุ้มกัน จะช่วยลดอาการที่เกี่ยวกับการแพ้ภูมิตัวเอง และการอักเสบ พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ตับเสื่อม, ไตวาย, ข้อเข่าอักเสบ, ความดันโลหิต, โรคพาร์กินสัน, ไทรอยด์เป็นพิษ และความผิดปกติของสมอง อันเกิดจากการอักเสบ ขณะเดียวกัน มังคุดก็สามารถเพิ่มการหลั่งสาร "Interleukin II" ของเม็ดเลือดขาว ช่วยให้ร่างกายสามารถต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น ไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย หรือเซลล์มะเร็ง

จากการร่วมวิจัยกับค่าย Henkel KGa ของประเทศเยอรมนี ทางคณะวิจัยจากศูนย์วิจัย และพัฒนามังคุดไทย ยังค้นพบด้วยว่า สารจากมังคุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือสาร GM-1 ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต และฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และระงับปวด โดยมีความแรงกว่ายาแอสไพรินถึง 3 เท่า จากจุดนี้เองได้มีการต่อยอดการวิจัยพัฒนาไปสู่การทำเครื่องสำอางต่างๆจาก สารสกัดเปลือกมังคุดเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อช่วยเหลือคนที่มีปัญหาสิวเรื้อรัง และอาการแพ้

ขณะที่ใน ปัจจุบัน ทางคณะวิจัยดังกล่าวได้ร่วมมือกับเครือข่ายทางการแพทย์ในระดับนานาชาติ ทำการศึกษาถึงคุณประโยชน์ของการดื่มน้ำมังคุดสกัดเข้มข้น เพื่อช่วยเยียวยาอาการป่วยของผู้ป่วยมะเร็งขั้นสุดท้าย ซึ่งหากงานวิจัยชิ้นนี้บรรลุผลสำเร็จจริงๆ ก็น่าจะสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยไปทั่วโลก

"มังคุด" ยังมีคุณประโยชน์ดีๆอีกนับไม่ถ้วน สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.mangosteenrd.com


http://www.food-resources.org/news/14/08/10/2409
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 10:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

170. วิจัย "มายคอร์ไรซา" ในดิน กระตุ้นราก พืชทนสภาพแวดล้อม


เพ็ญพิชญา เตียว

เปรียบเทียบรากพืชที่ใช้เชื้อรามายคอร์ไรซาและไม่ใช้. -โครงสร้างเชื้อราดังกล่าวกับชุดควบคุม.

เมื่อกลุ่มผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญกับเกษตรที่เป็น"อินทรีย์"มากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตทั้งที่เป็นเกษตรกรมืออาชีพ และภาคเอกชนผู้ส่งออกต่างหันหาวิธีแนวทางการผลิตที่ปลอดสาร ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม โดยที่พืชมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง

ฉะนี้....เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ศ.ดร.สายสมร ลำยอง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ทำการวิจัย "การพัฒนามายคอร์ไรซาเพื่อเกษตรอินทรีย์" ขึ้น โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สนับสนุนทุน

...สำหรับ "เชื้อรามายคอร์ไรซา" มีประโยชน์ต่อการช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคทางระบบรากของกล้าไม้ และต้นไม้ ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของราก ทำให้มีประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำ อาหารมากกว่าปกติ ช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารในดินดีขึ้น ช่วยเปลี่ยนแปลงแร่ธาตุอาหารในดิน ช่วยทำให้ระบบรากของต้นไม้ มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง อาทิ ความแห้งแล้ง ร้อน หนาว และสารพิษ ความเป็นกรดด่างที่มากหรือน้อยเกินไปในดิน...

ศ.ดร.สายสมร บอกว่า...วิธีบำรุงดินที่มีประสิทธิภาพสามารถทำได้หลายวิธี อย่างการใช้จุลินทรีย์กลุ่มไรโซเบียมและหัวเชื้อจากรามายคอร์ไรซา ซึ่งนอกจากจะช่วยลดผลกระทบจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์อย่างยั่งยืน ต้นพืชยังมีความแข็งแรง ซึ่งยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรมากนัก สาเหตุเป็นเพราะยังขาดความเข้าใจกลไกความสัมพันธ์ การทำหน้าที่ของพืชกับจุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ แต่ถูกทำลายไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากแนวทางการผลิตที่ผ่านมา

"...ที่ผ่านมามีบริษัทเอกชนหลายรายสั่งนำเข้า "มายคอร์ไรซา" เพื่อมาใช้บำรุงกล้าส้ม กล้าสน และพืชผัก

โดยเชื้อดังกล่าวสนนราคาซื้อขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 1,200 บาท ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าเชื้อดังกล่าวสามารถนำมาใช้กับพืชเศรษฐกิจได้หลายชนิด แต่บ้านเรายังติดปัญหาทั้งเรื่องราคาและการตรวจสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การวิจัยเพื่อใช้เป็นพื้นฐานพัฒนาการนำไปใช้ในทางปฏิบัติจึงนับว่าเป็นสิ่ง สำคัญ..."

ในส่วนของแนวทางการวิจัย ศ.ดร.สายสมรบอกว่า เริ่มแรกทีมงานได้ออกสำรวจเพื่อเก็บความหลากหลายของเชื้อราฯ ซึ่งพบว่ามีมากในสบู่ดำ และพื้นที่ที่มีการปลูกกาแฟอราบิก้าแถบจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย พร้อมทั้งเก็บหัวเชื้อดังกล่าวเพื่อมาเพิ่มปริมาณสปอร์ ด้วยการใช้ดินเป็นหัวเชื้อ ในกระถางข้าวโพด ข้าวฟ่าง และดาวเรืองเป็นพืชอาศัย ร่วมกับถั่วพุ่ม ข้าวโพด ลูกเดือย ข้าวไร่ ข้าวฟ่าง และต้นปะดะ ในเวลาที่ทีมงานกำหนดไว้

...ทั้งนี้ การผลิตหัวเชื้อด้วยวิธีที่ทีมวิจัยคิดค้นในเวลาที่เหมาะสมพบว่า ที่รากมีการผลิตเชื้อสูงในกลุ่มพืชทดลองทุกชนิด ยกเว้นข้าวไร่ และเพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลาย ทีมวิจัยยังได้ทำการสำรวจความหลากหลายของเชื้อดังกล่าวที่มีต่อพืชท้องถิ่น ในป่าเขตร้อนของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ดอยปุย พบว่าสามารถอาศัยร่วมกับพืชได้หลายชนิด

การวิจัยดังกล่าวนอกจากเป็น การเพิ่มทางเลือกให้กลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ยังช่วยลดการนำเข้าเชื้อรามายคอร์ไรซาจากต่างประเทศ และคาดว่าในอนาคตไทยเราจะสามารถผลิตเชื้อดังกล่าวส่งออกให้กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่เปลี่ยนแนวทางมาทำเกษตรอินทรีย์ได้อีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทร. 0-5394-1947 ต่อ 144, 0-5394-3346-8 ในวันและเวลาราชการ


http://www.food-resources.org/news/27/09/10/6699
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 10:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

171. งานวิจัยของคนไทยพบ "ข้าวหอมมะลิ" ช่วยต้านริ้วรอย


ศ.ดร.อรัญญา มโนสร้อย นักวิจัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าโครงการแถลงข่าวถึงผลงานวิจัย ในการผลิตเครื่องสำอางต้านริ้วรอยจากข้าวกล้องหอมมะลิด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีนาโนสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

ผลงานวิจัยดังกล่าว เป็นการนำคุณค่าของข้าวตามธรรมชาติและภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาด้วยเทคโนโลยี ระดับสูง ช่วยป้องกันร่างกายจากอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดริ้วรอย ได้แก่ แกมมา ออไรซานอล กรดไฟติกและกรดเฟอรูลิค ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ทำให้เนื้อเยื่อ เสื่อมสภาพ รวมทั้งยังมีสารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง

ศ.ดร.อรัญญากล่าวว่า ในข้าวหอมมะลิไทยเกือบทุกสายพันธุ์ มีชีวภาพโมเลกุลที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้สีผิว คล้ำลง นอกจากนั้นยังมีสารที่ขัดขวางการย่อยสลายคอลลาเจนด้วย แต่ตัวชีวภาพโมเลกุลนี้ไม่คงที่ จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีนาโนขนาดอนุภาคนาโนเมตรที่เล็กมากมองด้วยตาเปล่า ไม่เห็นมาเป็นตัวเชื่อมให้คงที่ และเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังให้ดียิ่งขึ้น จากนั้นก็นำมาผลิตเป็นเจล เซรั่ม และเอสเซนส์ ทดลองใช้กับผิวคน พบว่าประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำใ คือให้ ผลลดเลือนริ้วรอยสูงถึง 70% แต่ในอนาคตสามารถวิจัยให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม โดยขณะนี้ได้มีบริษัทผลิตเครื่องสำอางชั้นนำของเมืองไทยสนใจนำสารสกัดจาก ข้าวไปเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวเร็วๆ นี้

สำหรับวิธีการผลิต ทีมวิจัยได้นำผงสารสกัดที่ได้จากการหมักข้าวหอมมะลิไทยมาหมักด้วยกระบวนการ ทางเทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งนำเทคโนโลยีนาโนมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้านริ้วรอย โดยนำวัตถุดิบดังกล่าวมาเก็บในถุงขนาดนาโนเมตร (นีโอโซม) เพื่อช่วยเพิ่มความคงตัวทางเคมีและกายภาพของสารให้อยู่ได้นาน เพิ่มประสิทธิภาพของสารสำคัญในการแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังในการต้านริ้วรอย

http://www.food-resources.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:15 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 10:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

172. คิดค้นปุ๋ยชีวภาพได้ผลดี ต่อถั่วลิสง อ้อย พริก มะละกอ


ผศ.ดร.โสภณ บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยถึง โครงการศึกษาวิจัยเรื่องปุ๋ยชีวภาพจากจุลินทรีย์กลุ่มดูดซับและละลายฟอสเฟต ว่าได้ค้นพบคุณสมบัติพิเศษของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า ซึ่งเป็นเชื้อราที่พบได้ตามดินทั่วไป โดยมีคุณสมบัติทำให้เกิดความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับพืช อาศัย เชื้อรานี้ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยเพิ่มการดูดซับธาตุอาหารในดินให้กับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น มะละกอ อ้อย พริก และถั่วลิสง

ส่วนแบคทีเรียละลายฟอสเฟต (phosphate solubilizing bacteria, PSB) พบได้ทั่วไปในดินเช่นเดียวกันแต่มีคุณสมบัติในการผลิตกรดอินทรีย์ที่สามารถ ย่อยสลายฟอสเฟตที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ในรูป ที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้ฟอสฟอรัสละลายออกมาสู่ดิน จากนั้นเชื้อราไมคอร์ไรซ่าจึงช่วยดูดซับฟอสฟอรัสให้กับพืชได้มากขึ้น จึงทำให้พืชมีการเจริญเติบโตที่สูงและให้ผลผลิตดี ในการศึกษาวิจัย ได้นำเชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ไปใช้กับการปลูกถั่วลิสงในสภาพแปลงปลูกทดลองเสร็จสมบูรณ์แล้ว และพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ทั้งนี้ กระบวนการทดลอง ผศ.ดร. โสภณ เปิดเผยว่า โดยปกติแล้ว ถ้าจะทำการทดลองในพืชชนิดใดนั้น ก็จะไปเก็บดินที่ อยู่บริเวณรอบ ๆ รากของพืชนั้นมา จากนั้น ก็จะนำมาแยกสปอร์ของเชื้ออาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า ด้วยวิธีการร่อนแบบเปียก คือ ร่อนผ่านน้ำในตะแกรง ถึง 4 ชั้น รูของตะแกรงมีขนาดเล็กแตกต่างกัน ในระดับไมโคร เมตร นำสปอร์ที่ได้มาตรวจสอบคุณลักษณะ ว่าใช่เชื้อราอาบัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า หรือไม่ โดยส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอไมโครสโคป พร้อมทั้งคัดเลือกสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์นี้ และนำมาเพิ่มปริมาณ โดยใช้พืชอาศัย เช่น ข้าวโพด ที่มีระบบรากจำนวนมาก มีวงจรชีวิตสั้น ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ก็สามารถเพิ่มปริมาณสปอร์ของเชื้อได้ดี

สำหรับแบคทีเรียละลายฟอสเฟต นำมาแยกโดยใช้อาหารจำเพาะที่ผสม ไตรแคลเซียมฟอสเฟต แล้วเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว และผสมกับพาหะซึ่งใช้ผงซีโอไลท์ ทำให้แห้งแล้วนำไปใช้ทดลองต่อไป และเมื่อได้ เชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มในปริมาณที่เพียงพอแล้ว ก็จะนำไปทดสอบกับพืชเป้าหมาย ในขั้นแรกจะนำไปทดสอบในระดับกระถางก่อน โดยใช้ถั่วลิสงที่มีสายพันธุ์แตกต่าง กัน มาทดสอบกับเชื้ออาบัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า ร่วมกับแบคทีเรียละลายฟอสเฟต ในแต่ละชนิด ซึ่งพบว่าเชื้ออาบัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า ชนิดโกมัส คาร์ลัม เป็นเชื้อที่ดีที่สุด สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของถั่วลิสงได้ดีที่สุด ส่วนพันธุ์ของถั่วที่มีให้ผลการเจริญเติบโตที่ดีต่อเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า ชนิด โกมัส คาร์ลัม นั้น คือพันธุ์ไทยนาน 9 ซึ่งตอนนี้ก็เป็นพันธุ์ถั่วที่เกษตรกรได้รับการส่งเสริมให้ปลูกโดยการคัดสาย พันธุ์ถั่ว รวมถึงการทดลองในระดับแปลงได้รับความร่วมมือจาก รศ.ดร.สนั่น จอกลอย อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์

จากการศึกษาพบว่า ต้นถั่วลิสงพันธุ์ไทยนาน 9 ที่ใส่เชื้อราอาบัสคูลาร์ ไมคอร์ ไรซ่า ชนิด โกมัส คาร์ลัม ร่วมกับแบคทีเรียละลายฟอสเฟตในการปลูกถั่วทำให้ถั่วลิสงมีเมล็ดโต น้ำหนักดี เมื่อเปรียบเทียบกับถั่วที่ ไม่ได้ใส่ปุ๋ยชนิดใดเลย และได้ผลดีเทียบเท่ากับถั่วลิสงที่ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า ยังเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถดูดซับฟอสฟอรัสให้กับพืชได้ดี ส่วนแบคทีเรียละลายฟอสเฟต ช่วยละลายฟอสเฟตในรูปที่ไม่ละลายน้ำให้เชื้อราไมคอร์ไรซ่า นำไปสู่พืช ดังนั้นการใช้เชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่ม จึงเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของถั่วลิสง เนื่องจากการทำงานของเชื้อร่วมกันนี้และยังช่วยรักษาสภาพดินให้ร่วนซุยได้ดี อีกด้วย

สำหรับผู้สนใจงานวิจัยดังกล่าวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4320-2377 หรือ www.kku.ac.th/research

http://www.food-resources.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:16 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 10:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

173. มะพร้าวสมุยใกล้สูญพันธุ์


เกษตรฯชี้หายปีละ 2 หมื่นต้น อีก 10 ปี หมดเกาะ-เร่งรณรงค์ปลูกด่วน

นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ปัจจุบันการผลิตมะพร้าวของไทย มีแนวโน้มลดลงทั่วประเทศมีเหลือพื้นที่ปลูกประมาณ 1.53 ล้านไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 1.48 ล้านตัน โดยผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ภายในประเทศ ซึ่งตลาดมีความต้องการสูงโดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวกะทิน้ำหอม ขณะที่ปริมาณการผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคที่ เพิ่มสูงขึ้น

โดยเฉพาะพื้นที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีมะพร้าวเป็นสัญลักษณ์ของเกาะจนได้รับขนานนามว่า Coconut island มีพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่พบว่ามีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งหมด 84,310 ไร่ ลดลงโดยประมาณปีละ 20,000 ต้น คิดเป็นประมาณ 800 ไร่ต่อปี ซึ่งคาดว่า อีก 10 ปีข้างหน้ามะพร้าวอาจจะไม่เหลือให้ลูกหลานได้พบเห็น เนื่องจากราคาของผลผลิตมะพร้าวตกต่ำ เกษตรกรไม่มีการขยายพื้นที่ปลูก และมีการปลูกพืชนิดอื่นทดแทน นอกจากนี้ยังพบการระบาดแมลงศัตรูพืชที่มาจากภายนอก เช่นแมลงดำหนาม หนอนหัวดำมะพร้าว ด้วงงวง ด้วงแรด ก็มีส่วนทำให้มะพร้าวเกาะสมุยลดลง โดยแต่ละปีเฉลี่ยคิดเป็นพื้นที่การระบาดประมาณ 5,980ไร่

ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรจึงร่วมกับเทศบาลเมืองเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยสำนักงาน ตลอดจนองค์กรภาคีทุกภาคส่วน ด้วยการสนับสนุนจาก บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ร่วมกันจัดงาน "โครงการ 1 ล้านกล้า ถวายพ่อ" จัดกิจกรรมปลูกมะพร้าว 99,999 ต้น ขึ้นที่เกาะสมุย ในวันที่ 18 กันยายน โดยศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จะรวบรวมสายพันธุ์มะพร้าวพื้นเมืองดั้งเดิม ซึ่งมีต้นจะสูงใหญ่เหมาะแก่การปลูกบริเวณริมชายหาด มาแจกจ่ายให้นำไปปลูกในครั้งนี้

"ในงานดังกล่าวจะมีขบวนแห่ Coconut Carnival มีการปลูกมะพร้าวบริเวณริมหาดวัดหน้าพระลาน จำนวน 9,999 หน่อ เพื่อสร้างภูมิทัศน์มะพร้าวแถวแรกของเกาะ ส่วนที่เหลือจะนำไปปลูกทั่วเกาะ พร้อมกันนี้กรมส่งเสริมการเกษตรยังสนับสนุนแตนเบียนอะซีโคเดสให้เกษตรกร ปล่อยออกสู่ธรรมชาติ เพื่อกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าวแทนการใช้สารเคมี" นายอรรถ กล่าว

http://www.food-resources.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:16 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

174. มข.วิจัยคุณสมบัติของเชื้อรา ใช้ "โกมัส คาร์ลัม" เพิ่มผลผลิตถั่ว


ไชยรัตน์ ส้มฉุน

นักวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ได้ค้นพบคุณสมบัติพิเศษของ เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซา ซึ่งเป็นเชื้อราที่พบได้ตามดินทั่วไป ทำให้เกิด ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับพืชอาศัย และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยเพิ่มการ ดูดซับธาตุอาหาร ในดินให้กับพืชเศรษฐกิจ เช่น มะละกอ อ้อย พริก และ ถั่วลิสง

ทั้ง นี้ยังค้นพบว่า แบคทีเรียละลายฟอสเฟต (phosphate-solubilizing bacteria, PSB) ก็พบได้ทั่วไปในดินเช่นเดียวกัน แต่มีคุณสมบัติ ในการผลิตกรดอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายฟอสเฟต ที่ถูกตรึงอยู่ในดินในรูปที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้ฟอสฟอรัสละลายออกมาสู่ดิน จากนั้นเชื้อราไมคอร์ไรซาจึงดูดซับฟอสฟอรัสให้กับพืชได้ มากขึ้น จึงทำให้เจริญเติบโตและผลผลิตดี

ในการศึกษาวิจัยโดยทดลองนำเชื้อ จุลินทรีย์ 2 กลุ่มนี้ ไปใช้ ปลูกถั่วลิสงในสภาพแปลงปลูกเสร็จสมบูรณ์แล้ว พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดย ผศ.ดร.โสภณ บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มข. เผยว่า โดยปกติการทดลองในพืชชนิดใดนั้น ก็จะไปเก็บดินที่อยู่บริเวณรอบๆรากของพืชนั้นมา จากนั้นก็จะนำมา แยกสปอร์ของเชื้ออาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ด้วยวิธี การร่อนแบบเปียกผ่านน้ำในตะแกรงถึง 4 ชั้น รูของตะแกรงมีขนาดเล็กแตกต่างกันในระดับไมโครเมตร นำสปอร์ที่ได้มาตรวจสอบคุณลักษณะโดยส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ แบบสเตอริโอไมรโคร สโคป พร้อมทั้ง คัดเลือกสปอร์ และนำมาเพิ่มปริมาณโดยใช้พืชอาศัย เช่น ข้าวโพดที่มีระบบรากจำนวนมาก มีวงชีวิตสั้น ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ก็สามารถเพิ่มปริมาณสปอร์ของเชื้อได้ดี

...สำหรับ แบคทีเรียละลายฟอสเฟต นำมาแยกโดยใช้อาหารจำเพาะที่ ผสมไตรแคลเซียมฟอสเฟต ก่อนจะ เพาะเลี้ยงในอาหารเหลว และ ผสมกับพาหะซึ่งใช้ผงซีโอไลท์ทำให้แห้ง แล้วนำไปใช้ทดลองต่อไป เมื่อได้ เชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่ม ในปริมาณที่เพียง พอแล้ว ก็จะนำไปทดสอบกับพืชเป้าหมาย...

ในขั้นแรกจะนำไปทดสอบในระดับกระถาง ก่อน โดยใช้ถั่วลิสงที่มีสายพันธุ์แตกต่างกันมาทดสอบกับเชื้ออาบัสคูลาร์ไมคอร์ไร ซา ร่วมกับแบคทีเรียละลายฟอสเฟตในแต่ละชนิด ซึ่งพบว่าเชื้ออาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาชนิด "โกมัส คาร์ลัม" เป็นเชื้อที่ดีที่สุด สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของถั่วลิสงได้ดีที่สุด ส่วนพันธุ์ ของถั่ว คือ พันธุ์ไทยนาน 9 ซึ่งต่อมาก็นำพันธุ์ถั่วส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกทดลองในแปลง

...โดยมีการคัดสายพันธุ์ถั่วรวมถึงการทดลองในแปลงจาก รศ.ดร.สนั่น จอกลอย อาจารย์ประจำภาค วิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มข. สำหรับแนวทางในการพัฒนาต่อยอดนั้น ต้องการให้ออกมาในรูปแบบของ ปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพสูง รวมทั้งยัง ต้องพัฒนาการเก็บรักษาที่ถูกต้อง เพื่อให้ จุลินทรีย์ที่ใส่เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ชนิด โกมัส คาร์ลัม และ แบคทีเรียละลายฟอสเฟต อยู่ในปุ๋ยมีความพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ...

ผู้สนใจงาน วิจัยชิ้นนี้ สอบถามเพิ่มเติมที่ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 0-4320-2377 หรือคลิก www.kku.ac.th/research

http://www.food-resources.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:17 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 10:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

175. ครั้งแรกของโลก นำน้ำมันรำข้าวมาผลิตเป็นเนยขาว


ครั้งแรกของโลกที่นักวิจัยไทยนำน้ำมันรำข้าวมาผลิตเป็นเนยขาว ไขมันต่ำ ซึ่งผลงานนี้สามารถคว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรมข้าวไทยประจำปีนี้ด้วย

การประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทย ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว โดยปีนี้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ คือ คิง เนยขาวจากน้ำมันรำข้าว เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดนำน้ำมันรำข้าวผ่านกระบวนการผลิตด้วยความร้อนตกผลึก ด้วยอุณหภูมิต่ำ กรองและบีบอัดไข ได้เป็นเนยขาวเทรนด์สุขภาพ ไขมันต่ำ และปราศจากไขมันทรานส์ ซึ่งกระบวนการผลิตดังกล่าวไม่ทำให้น้ำมันรำข้าวสูญเสีย ผู้บริโภคยังได้สารสำคัญต่อร่างกาย คือ โอรีซานอล และไฟโตสเตอรอล ไม่มีกลิ่น รสธรรมชาติ เตรียมวางขายในปีหน้า ราคาประมาณ 150 บาทต่อกิโลกรัม

นายประวิทย์ สันติวัฒนา นักวิจัยเนยขาวจากน้ำมันรำข้าว กล่าวว่า เป็นครั้งแรกของโลกที่นำน้ำมันรำข้าวทำเป็นเนยขาว การที่ไทยสามารถผลิตเนยขาวจากน้ำมันรำข้าวได้เอง เชื่อจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทยมากกว่า 3 เท่าของน้ำมันรำข้าวเกรดปกติ นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวชนิดอื่น ๆ ได้รางวัลรองชนะเลิศ คือ น้ำสลัดไร้ไขมัน ที่ทำมาจากปลายข้าวขาวดอกมะลิ 105 เครื่องดื่มให้พลังงานจากข้าว ทำจากข้าวเปลือกที่ผ่านการงอกมากะเทาะเปลือก อาหารว่างจากข้าว และสารเคลือบไข่สดจากสตาร์ชข้าวเจ้า

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การประกวดนวัตกรรมข้าวไทย เชื่อจะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยหันมาให้ความสำคัญการผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าว ไทยเพิ่มมากขึ้น โดยปีหน้าเตรียมเปิดให้เกษตรกรส่งผลงานผลิตภัณฑ์ข้าวเข้าประกวดเพื่อส่ง เสริมให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ ในระดับท้องถิ่น

http://www.food-resources.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:18 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 10:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

176. สาหร่ายทะเล


สาหร่ายทะเล เป็นพืชชนิดหนึ่งในทะเล เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศวิทยา เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในฐานะผู้ผลิตหรือผู้สร้างอาหาร หน่วยแรกของห่วงโซ่อาหาร จัดเป็นทรัพยากรจากทะเลที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและมีความสำคัญทาง เศรษฐกิจสามารถขึ้นได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ สาหร่ายทะเลที่สามารถเพาะเลี้ยงเพื่อการอุตสาหกรรมได้จัดอยู่ในกลุ่ม สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้ำตาลและสาหร่ายสีแดง

มีบันทึกไว้ว่า ชนชาติที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะชาวจีนและญี่ปุ่นได้รู้จักใช้ สาหร่ายทะเลมาเป็นอาหารนานกว่า 4,000 ปี ชาวโรมันรู้จักนำสาหร่ายทะเลมาสกัดทำเครื่องสำอาง ชาวยุโรปรู้จักนำสาหร่ายมาสกัดเป็นยารักษาโรค ใช้ทำปุ๋ยและอาหารสัตว์ ใช้ในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ใช้ผลิตแก๊สเชื้อเพลิง ใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมและการพาณิชย์

ในประเทศไทยมีสาหร่ายหลายชนิด เช่น สาหร่ายผมนาง, สาหร่ายมงกุฎหนาม, สาหร่ายโพรง และสาหร่ายพวงองุ่น โดยเฉพาะสาหร่ายวุ้น หรือที่เรียกแตกต่างตามท้องถิ่นว่า สาหร่ายผมนาง สาหร่ายเขากวาง สาหร่ายข้อ และสาหร่ายหิน ขึ้นงอกตามธรรมชาติมากกว่าชนิดอื่น ๆ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จัดส่งสาหร่ายทะเลเป็น สินค้าออกประมาณปีละ 20-200 ตัน โดยน้ำหนักแห้ง คิดเป็นมูลค่า 4-10 ล้านบาทเศษ

สาหร่ายทะเลแห้งส่วนใหญ่จะเป็นสาหร่ายผมนาง ซึ่งส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น เยอรมันตะวันตก และฮ่องกง สาหร่ายผมนางจะได้รับการแปรูป เป็นวุ้นส่งกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอีกประมาณปีละ 200-300 ตัน คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 50-100 ล้านบาท สาหร่ายที่แปรรูปเป็นวุ้นเหล่านี้บางส่วนจะนำมาใช้ประโยชน์และบริโภคใน ประเทศ บางส่วนจะนำมาปรุงแต่งและแยกบรรจุส่งออกจำหน่ายต่างประเทศต่อไป

สาหร่ายทะเลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ได้จากการเก็บเกี่ยวจากท้องทะเล ซึ่งในปัจจุบันสาหร่ายทะเลมีจำนวนและปริมาณลดลงมาก การขยายการเพาะเลี้ยงโดยทำเป็นระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงจึงมีความจำเป็นอย่างมาก โดยในปัจจุบันได้มีการนำสาหร่ายทะเลขึ้นมาเพาะเลี้ยงกันบ้างแล้ว และหลายแห่ง เริ่มประสบความสำเร็จอย่างน่าสนใจทีเดียว

หากมีความสนใจในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายก็ลองแวะเข้าไปดูที่ศูนย์วิจัยและพัฒนา ประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก็ได้ที่นั่นมีงานเกี่ยวกับเรื่องนี้นอกเหนือจากเรื่องอื่น ๆ ให้ได้เรียนรู้

http://www.food-resources.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:20 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 10:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

177. ติงกินหมามุ่ย เสริมพลังเพศ


อาจารย์เภสัชมหิดลเตือนอย่ากินเมล็ดหมามุ่ยสุ่มสี่สุ่มห้าหลังมีข่าวเพิ่มพลังเพศ ชาย ระบุหมามุ่ยไทยเป็นคนละสปีชีส์กับหมามุ่ยในจีนและอินเดียที่มีผลวิจัยรับรอง

รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร กล่าวเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมนี้ ถึงกรณีมีข่าวการนำเมล็ดหมามุ่ยมาคั่วรับประทานจะออกฤทธิ์เพิ่มสมรรถภาพทาง เพศแก่ผู้ชายว่า มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากฝั่งประเทศจีนและอินเดีย เมล็ดหมามุ่ยมีสารที่ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายได้จริง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ หมามุ่ยในจีนและอินเดียเป็นหมามุ่ยคนละสปีชีส์กับหมามุ่ยที่ขึ้นอยู่ใน ประเทศไทย ดังนั้นจึงอยากฝากเตือนไปยังผู้ที่กำลังสนใจและต้องการจะกินเมล็ดหมามุ่ยว่า อย่ากินแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะไม่แน่ใจว่าเมล็ดที่นำมากินนั้นเป็นหมามุ่ย สปีชีส์ใด และมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหรือไม่

ก่อนหน้านี้ เภสัชกรหญิงสุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้าเภสัชกร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์จากเมล็ดหมามุ่ย พืชตระกูล ถั่วที่คนไทยรู้จักกันดีในด้านกินบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ตามที่มีการเผยแพร่ในเอกสารวิชาการของประเทศอินเดีย ทั้งนี้ หมอพื้นบ้านของไทยมีการใช้เมล็ดหมามุ่ยเป็นยาเพิ่มพลังทางเพศชายมานาน แล้ว โดยการกินมี 2 วิธี คือ เอาเมล็ดไปคั่ว หรือเอาไปนึ่งกิน วันละไม่เกิน 5 กรัม

http://www.food-resources.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:19 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 03/08/2011 10:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

178. หลักฐานใหม่ ไทยปลูกข้าวเป็นชาติแรก


นักวิชาการ ม.เกษตรเผยคนไทยปลูกข้าวเจ้าเป็นชนชาติแรกในโลก อ้างหลักฐานโบราณคดีของประเทศจีนที่ค้นพบซากฟอสซิลข้าวเจ้าอายุประมาณ 12,000 ปี เตรียมนำเสนอในงานประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ

อาจารย์อรไท ผลดี ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ม.เกษตรศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดประชุมวิชาการ ข้าวแห่งชาติครั้งปฐมฤกษ์เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยข้าวสู่นวัตกรรม ในวันที่ 17 ธันวาคมนี้ จะมีการนำเสนอผลงานวิจัยเรื่องหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจาก ข้าวป่า 14,000 ปีถึงข้าวเจ้าปลูก 12,000 ปี โดยเสนอองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับหลักฐานทางโบราณคดีในการนำข้าวป่ามาเป็น อาหาร ที่บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง จากการค้นพบซากฟอสซิลโปรตีนพืชข้าวป่าอายุไม่ต่ำกว่า 14,000 ปี ที่แหล่งโบราณคดีมณฑลเจียงซี ประเทศจีน

อาจารย์อรไทระบุว่า ส่วนหลักฐานการเพาะปลูกข้าวเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดของบรรพ ชนเผ่าไทในปลายยุคหินเก่า บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนกลาง โดยพบซากฟอสซิลข้าวเจ้าปลูกอายุเก่าแก่ที่สุดประมาณ 12,000 ปี จำนวน 3 เมล็ด และข้าวป่า 1 เมล็ด ที่แหล่งโบราณคดีมณฑลหูหนาน การค้นพบครั้งนี้ทำให้อารยธรรมการปลูก ข้าวเจ้าของมนุษย์เก่าแก่มากขึ้นอีก 3,000 ปี เนื่องจากหลักฐานเดิมค้นพบซากฟอสซิลข้าวเจ้าปลูกบริเวณปากแม่น้ำแยงซี เกียง ที่แหล่งโบราณคดีมณฑลเจ้อเจียง มีอายุประมาณ 9,000 ปี

"หลักฐานโบราณคดีเกี่ยวกับการปลูกข้าวดังกล่าว เป็นการสำรวจขุดค้นของประเทศจีนซึ่งได้ทุ่มเทงบประมาณมหาศาล เพื่อศึกษา วิจัยแหล่งโบราณคดีในการค้นหาอารยธรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดิฉัน ได้ติดต่อนายฟานจูน นักประวัติศาสตร์ชาวจีนที่เป็นอาจารย์สอนภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ให้เป็นผู้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารจีนแล้วแปลเป็นภาษาไทย เพราะเห็นว่าเป็นองค์ความรู้ใหม่และควรที่จะนำมาเผยแพร่ผ่านเวทีการประชุม วิชาการข้าวครั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวเจ้า สู่ความมั่นคงทางอาหารในอนาคต" อาจารย์อรไท จากภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ เผย

จากหลักฐานดังกล่าว อาจารย์อรไทได้เปิดประเด็นใหม่ว่า คนไทยเป็นชนชาติแรกในโลกที่เริ่มปลูกข้าว เจ้าเป็นอาหาร โดยตั้งข้อสันนิษฐานว่าบริเวณต้นแม่น้ำ 2 สาย ประกอบด้วย แม่น้ำเหลืองหรือฮวงโห และแม่น้ำแยงซีเกียงที่อยู่ในประเทศจีน เคยเป็นถิ่นอาศัยของคนไทยยุคหินเก่า ประมาณ 20,000 ปีก่อน และได้อพยพย้ายถิ่นฐานลงมาตามแม่น้ำคงหรือแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน ส่วนคนจีนสมัยโบราณมีหลักฐานว่านิยมกินข้าวสาลีและข้าวฟ่าง จึงไม่น่าจะปลูกข้าวเจ้าเป็นชนชาติแรกได้

"บรรพชนเผ่าไทบางส่วนอพยพลงมาตามลำน้ำโขง พบหลักฐานการปลูกข้าวในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 5,500 ปี จากหลักฐานการพบซากฟอสซิลรอยแกลบข้าวติดอยู่ที่เครื่องปั้นดินเผาฝังไว้ให้ แก่ผู้ตาย ที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบซากฟอสซิลเมล็ดข้าวปลูกอายุประมาณ 5,600 ปี ในภาชนะดินเผาที่ฝังใกล้กับโครงกระดูกมนุษย์" อาจารย์อรไทกล่าว

http://www.food-resources.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:19 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/08/2011 7:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

179. ภาวะน้ำวิกฤต






สภาวะโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดภาวะวิกฤตภัยพิบัติทางธรรมชาติหลากหลายและรุนแรง ทำให้ผู้คนล้มตาย
บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สูญเสียเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ภัยจากแผ่นดินไหว พายุหิมะถล่ม พายุฝนฟ้าคะนอง
น้ำท่วมในประเทศต่าง ๆ ทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตเรีย แม้แต่เอเชียของเราก็หนีไม่พ้น ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ประสบ
กับภัยพิบัติทางธรรมชาติอันเลวร้ายที่กล่าวมาข้างต้น แต่ประเทศไทยเราก็พบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค
บริโภค ที่กล่าวกันว่าภัยแล้ง น้ำเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของคน สัตว์ พืช และระบบนิเวศน์วิทยา น้ำมาจาก
ธรรมชาติ มีได้ก็หมดได้ หลาย ๆ ประเทศมีกฎเกณฑ์กติกาควบคุมการใช้น้ำของประชาชนตัวเอง เพื่อให้ใช้น้ำอย่าง
มีประสิทธิภาพสูงสุด ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนคนไทยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคิดและตระหนักในการควบคุม ดูแล
ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัดและมีคุณค่าสูงสุด การใช้วัสดุคลุมดินในการปลูกพืชมีความสำคัญและมีประโยชน์ นอก
จากจะเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้กับดินแล้ว ยังป้องกันวัชพืชต่าง ๆ ไม่ให้งอกและที่สำคัญคือสามารถป้องกันการระเหย
ของน้ำจากผิวดินได้เป็นอย่างดี เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลในช่วงนี้ เช่น มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ กำลังติดผลต้องการน้ำในการ
เจริญเติบโตของผลอย่างมาก แต่น้ำในห้วยหนอง คลอง บึง กลับไม่มีน้ำอยู่เลย ถึงมีก็น้อยมากจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตร
กรต้องมีวิธีการให้น้ำอย่างประหยัด เพื่อที่จะผ่านหรือฝ่าวิกฤติน้ำในช่วงนี้ไปให้ได้

ปัจจุบันเกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกไม้ผลสู่ที่ดอนและพื้นที่ไหล่เขาหรือเนินเขามากขึ้น ในพื้นที่แบบนี้หาน้ำได้ยากกว่า
ในที่ลุ่ม นอกจากนี้แรงงานยังขาดแคลนและค่าแรงแพงขึ้น เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจำนวนมากจึงนิยมวิธีการให้น้ำชลประ
ทานทางท่อโดยระบบสปริงเกลอร์หรือระบบน้ำหยด นอกจากประหยัดทั้งน้ำและแรงงานแล้ว การให้น้ำชลประทานทาง
ท่อทำให้สามารถให้ปุ๋ยเคมีไปพร้อมกับการให้น้ำ

ปัจจุบันมีสวนองุ่นในออสเตรเลียและอเมริกาใช้เทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น” การให้น้ำโดยเทคนิคนี้ใช้
น้ำเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของการให้น้ำเต็มพื้นที่ทรงพุ่มโดยไม่มีผลต่อปริมาณผลผลิต และยังทำให้คุณภาพผลผลิต
องุ่นดีขึ้นด้วย มีรายงานผลจากการทดลองในออสเตรเลียว่า เมื่อเปลี่ยนวิธีให้น้ำจากการปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแถว
ของต้นองุ่นเป็นวิธีให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด ทำให้ประหยัดน้ำได้ถึงครึ่งหนึ่ง และเมื่อใช้เทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้าง
ทีละครึ่งต้น” ในระบบน้ำหยด ก็สามารถประหยัดได้อีกครึ่งหนึ่ง คือ ใช้น้ำเพียง 1 ใน 4 ของการให้น้ำแบบดั้งเดิม โดย
ทำให้ผลผลิตลดลงไม่เกิน 5 % แต่ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้น







หลักการของเทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น” คือการให้น้ำทีละครึ่งหนึ่งของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม ด้วยความถี่
ของการให้น้ำตามปรกติ เช่น 3-5 วัน/ครั้ง และปล่อยให้อีกครึ่งของ


พื้นที่แห้ง เมื่อดินในครึ่งที่แห้งใกล้แห้งสนิท ก็สลับข้างให้น้ำ ซึ่งโดยปรกติสลับข้างให้น้ำเช่นนี้ทุกระยะ 12-15 วัน
เมื่อมีรากส่วนหนึ่งอยู่ในดินแห้งพืชจึงเหมือนถูกหลอกว่ากำลังอยู่ในภาวะแห้งแล้ง พืชจึงต้องลดการคายน้ำ ทำให้น้ำที่พืช
ได้รับเพียงประมาณครึ่งหนึ่งจากพื้นที่ด้านเปียกเพียงพอให้พืชเติบโตและให้ผลผลิตใกล้เคียงกับที่ได้รับน้ำตามความต้อง
การปรกติ จุดอ่อนของเทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น” คือ ในระยะที่ครึ่งหนึ่งของระบบรากอยู่ในดินแห้ง
รากจะดูดกินปุ๋ยได้ยาก เพื่อแก้จุดอ่อนนี้จึงต้องให้ปุ๋ยผ่านระบบสปริงเกอร์หรือระบบน้ำหยด ที่เป็นวิธีให้ปุ๋ยทีละน้อยแต่
ให้บ่อยและกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วบริเวณที่ได้รับน้ำ การให้ปุ๋ยแบบนี้ทำให้ปุ๋ยแพร่กระจายสัมผัสระบบรากมากที่สุด
ปุ๋ยเคมีมาตรฐานสำหรับการให้ผ่านระบบให้น้ำมีราคาแพงกว่าปุ๋ยทางดินทั่วไป 2-3 เท่า

จากการทดลองในสวนเกษตรกร 2 สวน ที่เป็นดินร่วนและดินทรายที่จังหวัดลำพูนเป็นเวลา 3 ปี พบว่าต้นลำไยที่ได้
รับน้ำตามเทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น” ซึ่งใช้น้ำเพียง 67 % มีปริมาณผลผลิตของใกล้เคียงกับต้น
ลำไยที่ได้รับน้ำ 100 % ของการให้น้ำตามวิธีมาตรฐาน โดยที่คุณภาพผลผลิต ได้แก่ ขนาดผล ความหนาเนื้อ
ความหนาเปลือก และความหวาน ไม่แตกต่างกัน วิธีการให้น้ำโดยเทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น” นี้
นอกจากทดลองได้ผลดีกับลำไยแล้ว นักวิจัยของเยอรมันยังได้ทดลองที่เชียงใหม่ พบว่าใช้ได้ผลดีกับมะม่วงด้วย

ใบลำไยที่ถูกตัดแต่งกิ่ง มีธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมอยู่ 9-30 % ของความต้องการธาตุอาหาร
ของต้นลำไย เมื่อถูกทิ้งให้คลุมดินอยู่ใต้ทรงพุ่ม ใบลำไยจะสลายตัวได้เร็วช้าต่างกันตามวิธีการให้น้ำ การให้น้ำด้วย
สปริงเกลอร์ทำให้ใบเหล่านี้สลายตัวได้มากถึง 68 % ในเวลา 1 ปี ต้นลำไยจะดูดธาตุอาหารได้ระหว่าง 54-94 %
ซึ่งมากกว่าการให้น้ำแบบปล่อยน้ำขังในคันดินรอบพื้นที่ทรงพุ่ม ทั้งนี้น่าจะเนื่องจากความถี่ของการให้น้ำและการเปียก
ของใบเหล่านี้จากวิธีการให้น้ำที่ต่างกัน

เมื่อประเมินความคุ้มค่าจากเทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น” ในพื้นที่ดอนในภาคเหนือทั่วไป พบว่าการ
ประหยัดน้ำ 33 % นั้น ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำได้ 2.12 % ของมูลค่าผลผลิต แต่ถ้าเป็นสวนผลไม้ใน
ภาคตะวันออก ในปีที่เกิดภาวะฝนแล้งในเดือนมีนาคม - เมษายน การให้น้ำวิธีนี้จะประหยัดน้ำได้ 33 % โดยเทคนิค
“การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น” สามารถลดต้นทุนการผลิตลำไยได้ถึง 11.66 % ของมูลค่าผลผลิต จากผลการ
วิจัยดังกล่าว รองศาสตราจารย์สมชาย องค์ประเสริฐและคณะได้ให้คำ


แนะนำแก่เกษตรกร ไว้ดังนี้
1. ในกรณีที่มีระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์อยู่แล้ว ควรให้ปุ๋ยผ่านระบบให้น้ำโดยใช้ปุ๋ยเคมีที่ให้ทางดินธรรมดา คือ ใช้ปุ๋ย
ยูเรียหรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตเป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน และปุ๋ย

โพแทสเซียมคลอไรด์หรือโพแทสเซียมซัลเฟตทางระบบให้น้ำควบคู่กับการให้ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตทางดิน แทนปุ๋ยเคมี
มาตรฐานของการให้ปุ๋ยผ่านระบบให้น้ำ ซึ่งแพงกว่า 2-3 เท่า โดยให้ในอัตรา 1.5 เท่าของความต้องการธาตุ
อาหารรายปี

2. การให้ปุ๋ยผ่านระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ ช่วยให้ปุ๋ยกระจายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่โคนต้นจนถึงขอบทรงพุ่ม มีผลให้
ระบบรากพัฒนาอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่โคนต้นจนถึงขอบทรงพุ่มเช่นกัน เมื่อมีระบบการให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ เกษตรกรจึง
ควรพิจารณาหาความรู้เพิ่มเติมและจัดการให้ปุ๋ยผ่านระบบให้น้ำ

3. ในสวนที่มีน้ำต้นทุนจำกัด เจ้าของสวนผลไม้จำเป็นต้องบริหารจัดการการใช้น้ำที่มีในสวนในฤดูแล้งให้เพียงพอใช้ตลอด
ระยะ 4-5 เดือน การประหยัดน้ำในช่วงต้นฤดูแล้งด้วยเทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น” จะช่วยลดความ
เสี่ยงในการขาดแคลนน้ำในช่วงปลายฤดูแล้งได้

4. การปลูกต้นลำไยจากกิ่งตอนอาจจะมีข้อดีที่กิ่งพันธุ์ราคาถูก แต่งานศึกษาระบบรากในครั้งนี้แสดงให้เห็นชัดว่าต้น
ลำไยจากกิ่งพันธุ์เสียบยอดมีระบบรากที่หนาแน่นกว่าและลงลึกกว่าต้นที่ปลูกจากกิ่งตอนมาก เพื่อประโยชน์ในระยะยาว
เกษตรกรจึงควรพิจารณาปลูกต้นลำไยจากกิ่งเสียบยอด

5. ใบที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งมีคุณค่าที่เกษตรกรควรจะจัดการให้เป็นประโยชน์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แทนการเผา
ทิ้งตามความเคยชิน การจัดการอย่างง่ายที่สุดคือการปล่อยทิ้งไว้คลุมพื้นที่ใต้ต้นลำไย









เกษตรกรหรือท่านผู้อ่านท่านใด ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่รองศาสตราจารย์สมชาย องค์ประเสริฐ
โทรศัพท์ 053-873470 ต่อ108 ในวันและเวลาราชการ

นำเสนอข่าวโดย
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9



http://www2.it.mju.ac.th/dbresearch/rae/index.php?option=com_content&view=article&id=1219:water&catid=105:2553-02-04-04-m-s&Itemid=496
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 04/08/2011 10:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

180. วว. เปิดตัวเครื่องบำบัดสารเคมีการเกษตร

โดยใช้จุลินทรีย์ แก้ปัญหาสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมสำหรับภาคเกษตร/อุตสาหกรรม....ครั้งแรกของประเทศไทย



สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดตัวเครื่องบำบัดสารเคมีการเกษตรโดยใช้จุลินทรีย์ แก้ปัญหาสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมสำหรับภาคเกษตร/อุตสาหกรรม..ครั้งแรกของประเทศไทย ระบุผลการทดลองในสวนส้ม ลดปริมาณสารเคมีตกค้างปนเปื้อนในร่องน้ำได้ถึง 10 เท่า ใช้เวลาเพียง 1 เดือน พร้อมต่อยอดเทคโนโลยีดังกล่าวในระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตสารกำจัดศัตรูพืช พบช่วยลดปริมาณของสารกำจัดศัตรูพืชได้ 14 ชนิด ลดลงถึง 80-100 เปอร์เซ็นต์ หวังขยายผลต่อเนื่องในการใช้บำบัดสารเคมีการเกษตรตกค้างในพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจแบบยกร่องและโรงงานผลิตสารเคมีทางการเกษตร คาดช่วยลดความเสี่ยงสุขอนามัยประชาชนจากสารเคมีปนเปื้อน ช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหามลภาวะอย่างยั่งยืน


นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า จากการที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ชีวภาพร่วมกับฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร วว. ดำเนินงานโครงการวิจัยการลดปริมาณและความเป็นพิษของสารเคมีการเกษตรปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นผลกระทบจากการทำสวนส้มโดยชีววิธี จัดสร้างเครื่องบำบัดสารเคมีการเกษตรตกค้างบริเวณร่องน้ำโดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบเติมอากาศ ที่ใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณของสารผสมคาร์เบนดาซิม (MBC) และคาร์โบฟูแรน (CB) ที่พบว่ามีการปนเปื้อนอยู่ในร่องน้ำของสวนส้มที่จังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร เพื่อเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาการใช้ประโยชน์ของกลุ่มจุลินทรีย์คัดเลือกในการแก้ปัญหาสารเคมีการเกษตรปนเปื้อนในสภาพแวดล้อม โดยเครื่องบำบัดสารเคมีการเกษตรนี้มีกระบวนการทำงานแบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน ทั้งนี้ วว.ได้รับความร่วมมือจากสวนส้มฟ้าประทาน จ.พิจิตร เป็นพื้นที่ทดลองนำร่องโครงการ ผลการวิจัยพบว่า สามารถลดปริมาณสารคาร์เบนดาซิม (MBC) ที่ตรวจพบว่าปนเปื้อนอยู่ในร่องน้ำลงได้ 10 เท่า ภายในเวลา 1 เดือน

นอกจากนี้ วว.ยังได้ต่อยอดความสำเร็จดังกล่าวร่วมกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในระบบบำบัดน้ำทิ้งของโรงงานผลิตสารกำจัดศัตรูพืช โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท เคมแฟค จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตสารกำจัดศัตรูพืช ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปู โดยเริ่มจากการคัดแยกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารผสม ไกรโครเซส (Glyphosate), เพอร์มิติน(Permethrin) และ คลอไพริฟอส(Chlorpyrifos) ซึ่งตรวจพบว่ามีปริมาณสูงในระบบบำบัด หลังจากนั้นจึงนำกลุ่มจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ ไปใส่ไว้ในถังกวนช้าในระบบบำบัด ภายหลังจากการเติมกลุ่มจุลินทรีย์ไป 10-45 วัน พบว่า สามารถลดปริมาณของสารกำจัดศัตรูพืชได้ถึง 14 ชนิด ปริมาณลดลง 80-100 เปอร์เซ็นต์

“...เทคโนโลยีชีวภาพการบำบัดสารเคมีการเกษตรปนเปื้อนในน้ำนี้ นับเป็นความสำเร็จครั้งแรกของประเทศไทย ที่ วว.สามารถนำจุลินทรีย์ที่แยกได้จากธรรมชาติและมีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารพิษได้ดีในระดับห้องปฏิบัติการ มาใช้ประโยชน์จริงในการย่อยสลายสารพิษที่ปนเปื้อนในสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ ทั้งนี้ผลจากการวิจัยทั้งในภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมพบว่าสามารถลดปริมาณของสารเคมีการเกษตรที่ปนเปื้อนได้ ซึ่งผลการวิเคราะห์ในส่วนงานวิจัยในห้องปฏิบัติการ น้ำในสวน ตลอดจนน้ำในระบบบำบัดของโรงงาน ดำเนินการโดยบริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งสามารถยืนยันได้ถึงค่าความถูกต้องและเชื่อถือได้ วว.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลสำเร็จจากโครงการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนด้วยการลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีลง ช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เป็นการแก้ไขปัญหามลภาวะ ที่เกิดขึ้นจากการผลิตทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน...”ผู้ว่าการ วว.กล่าวเพิ่มเติม

ดร.อัญชนา พัฒนสุพงษ์ นักวิชาการประจำฝ่ายวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วว.ในฐานะหัวหน้าโครงการ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า วว. ยังประสบความสำเร็จในการเก็บรักษาประสิทธิภาพของกลุ่มจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารผสม Glyphosate, Permethrin และ Chlorpyrifos ไว้ได้นาน 1 ปี โดยยังคงประสิทธิภาพไว้ได้ถึง 75-100 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ วว. อยู่ระหว่างดำเนินการขยายผลเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อใช้ประโยชน์ในการบำบัดสารเคมีการเกษตรที่ตกค้างในพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจแบบยกร่องโดยใช้ถังปฏิกรณ์ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี รวมทั้งการบำบัดสารอันตรายตกค้างในระบบบำบัดน้ำทิ้งของบริษัทไทยเฮอร์บิไซด์ จำกัด ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปู และจะประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์แก่พืชเศรษฐกิจอื่นทั้งประเภทพืชผักและไม้ผลต่อไปในอนาคต

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วว. Call Center โทร. 0 2577 9300 ในวันและเวลาราชการ www.tistr.or.th

E-mail : tistr@tistr.or.th



http://www.newswit.com/gen/2011-04-22/13742141492f0a96d9573c6ee164ef66/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 6 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©