-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 9:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 3

ลำดับเรื่อง....

81 ปุ๋ยนาโนเทค ประสิทธิภาพสูงไร้สารตกค้าง
82. เปิดโฉมหน้าโรดแมพปุ๋ยนาโนเทค นำร่องใช้บำรุงพืชเศรษฐกิจอ้อย-กล้วยไม้
83. นาโนเทคโนโลยี ... คือ อะไรกันแน่ ?
84. สวทช.ส่ง 'นาโน' ช่วยเกษตรกร ยืดอายุผลไม้-ปุ๋ยธาตุอาหารสูง
85. ต่างชาติตอบรับมะม่วง R2 E2 "ซีพี" เล็งเดินหน้าขยายตลาด

86. วิจัยแบบไหน ไม่ขึ้นหิ้ง
87. เร่งวิจัยข้าวรับสภาวะภูมิอากาศโลก
88. ก.เกษตรฯ หนุนสร้างนครพนม เป็นเมืองข้าวหอมมะลิ
89. พัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ อัตราการงอกดี..เก็บไว้ได้นาน
90. วิจัยฟักทองมีน้ำมันในเมล็ดสูง

91. สศก. เผยเกษตรกรไทย 7 ล้านครอบครัว โคตรจน
92. "แมลงดำหนาม" ศัตรูร้าย ชาวสวนมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน
93. นำเข้ายากำจัดศัตรูพืช ปีละเกือบ 2 หมื่น ล. พิษตกค้างทำป่วย
94. ไทย-ฟิลิปปินส์ จับมือขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอินทรีย์ สู่ตลาดโลก
95. จับตาบรรษัท 'ซีพีเอส' ติดลมบนข้าวลูกผสม

96."ซีพี" ฟุ้งพัฒนาสายพันธุ์ข้าว ให้ผลผลิตสูง 1,000 ก.ก.ต่อไร่
97. เปิดโมเดล เจริญ"รุกเกษตร งัดสต๊อกที่ดินแสนไร่ปลูก "ยาง-อ้อย-ข้าว"
98. นาโนเทคโนโลยี มีอิทธิพลต่อภาคการเกษตรไทย
99. นาซาชี้อีก 20 ปี “นาโนเทค” จะครองโลก แนะไทยร่วมแชร์ด้านการเกษตร
100. ซิลิกาจากแกลบ

101. ประวัติการปลูกพืชไร้ดิน
102. สกัดสาหร่ายกำจัดวัชพืช ประยุกต์ทำความสะอาดตู้ปลา
103. วิจัยโซลาร์เซลล์จากแก้วมังกร พลังงานต้นทุนต่ำ ในพื้นที่การเกษตร
104. นาโนเทคจับมืออภัยภูเบศร พัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนสมุนไพรไทย
105. 10 พันธุ์พืชที่หายากที่สุดในโลก


---------------------------------------------------------------------------------


81 ปุ๋ยนาโนเทค ประสิทธิภาพสูงไร้สารตกค้าง

โดย : กานต์ดา บุญเถื่อน





ศูนย์นาโนเทคโนโลยีร่วมกับกรมวิชาการการเกษตร ระดมสมองร่างแผนพัฒนาปุ๋ยประสิทธิภาพสูงสำหรับพืชเศรษฐกิจ

ดร.วิยงค์ กังวานศุภมงคล นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) กล่าวว่า หลังจากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกรมวิชาการเกษตร และผู้ประกอบการอ้อยและกล้วยไม้ ที่ประชุมตกลงคัดเลือกอ้อยและกล้วยไม้เป็นพืชนำร่องสำหรับปุ๋ยรุ่นใหม่ที่ควบคุมการปลดปล่อยสารเคมีส่งถึงพืชได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“จากการจัดเวิร์คช็อปเมื่อเดือนพฤษภาคม ผู้ประกอบการและเกษตรกรประสงค์ให้มีงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับระบบควบคุมการปล่อยปุ๋ยสำหรับอ้อยและกล้วยไม้ ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญเป็นอันดับต้น เพื่อเสริมศักยภาพในการส่งออกผลิตผลจากพืชทั้งสองชนิดและลดการนำเข้าปุ๋ยที่มีเทคโนโลยีดังกล่าวจากต่างประเทศในราคาแพง" นักวิจัย กล่าว

ที่ผ่านมา กล้วยไม้และอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส่งออกจำนวนมาก การเพาะปลูกยังต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต่อการปลูกมากกว่า 1 ครั้ง และเกิดโอกาสสูญเสียสารเคมีไปกับดินมากกว่าต้นไม้ ขณะที่ต้นไม้ดูดซึมปุ๋ยได้น้อย

นักวิจัย กล่าวต่อว่า การพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยคาดจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีเป็นอย่างต่ำ ในการพัฒนารูปแบบที่จะใช้ โดยวางแผนพัฒนาเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบขึ้นรูปปุ๋ยพร้อมกับวัสดุดูดซึม และแบบใช้วัสดุดูดซึมเป็นตัวห่อหุ้มปุ๋ย เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงแข่งขันกับต่างประเทศได้

หลังจากนั้นทีมวิจัยและพัฒนามีกำหนดลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากภาคเกษตรกรเกี่ยวกับชนิดของปุ๋ย สภาพดิน อุณหภูมิ เพื่อเป็นข้อมูลปรับปรุงปุ๋ย ทดสอบสมบัติและนำไปทดสอบใช้ในแปลงสาธิตให้มีคุณภาพสูงสุด

ดร.วิยงค์ กล่าวว่า หากงานวิจัยดังกล่าวประสบความสำเร็จจะเป็นทางเลือกในการเพาะปลูกอ้อยและกล้วยไม้ให้กับเกษตรกรและผู้ค้าปลีกของไทย ช่วยลดการนำเข้าปุ๋ยสูตรควบคุมการปลดปล่อยจากต่างประเทศที่ปัจจุบันมีราคาสูงมาก

ห้องปฏิบัติการที่ร่วมวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและนาโนคอมพอสิต และห้องปฏิบัติการระบบนำส่ง ในสังกัดศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ รวมถึงกรมวิชาการเกษตรรับหน้าที่ช่วยตรวจสอบคุณภาพของปุ๋ยให้ได้ตามมาตรฐานที่มีอยู่ ก่อนส่งไปทดสอบในแปลงสาธิตเพื่อดูประสิทธิภาพของปุ๋ยในขั้นตอนสุดท้าย

ดร.อภิชัย ดาวราย นักวิชาการจากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มองว่า แนวโน้มในอนาคตภาคเกษตรกรรมมีต้องการใช้สารเคมีเพาะปลูกมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคของประชากรโลก โดยพัฒนาการของสารเคมีในอนาคตจะเน้นไปที่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีประสิทธิภาพในการทำลายศัตรูพืชที่จำเพาะเจาะจง รวมถึงสลายตัวได้เร็วไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมรอบนอกหรือการส่งออก

“ต่อไปเราจะหาปุ๋ยที่มีการพัฒนาสูตรขึ้นใหม่ยาก เพราะต้องใช้เวลาพัฒนานานมากกว่า 5 ปีกว่าจะได้ปุ๋ยแต่ละชนิดที่มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานจริง สิ่งที่จะเห็นต่อไปเป็นการนำปุ๋ยสูตรเดิมไปปรับคุณสมบัติ เช่น การนำสารเคมี 2-3 ชนิดที่มีอยู่มาผสมเป็นผลิตภัณฑ์เดียว เพื่อลดจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยและเกิดความคุ้มค่าที่สุด" นักวิชาการด้านเกษตรกล่าว

สำหรับการจัดเวิร์คช็อปครั้งที่ 2 กำหนดขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน เพื่อระดมความคิดในการกำหนดทิศทางเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้พัฒนาปุ๋ยสำหรับอ้อยและกล้วยไม้ให้มีประสิทธิภาพสูง ตลอดจนเทคโนโลยีที่มีการใช้งานอยู่เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ



http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20100619/338411/ปุ๋ยนาโนเทค-ประสิทธิภาพสูงไร้สารตกค้าง.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/07/2011 12:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 9:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

82. เปิดโฉมหน้าโรดแมพปุ๋ยนาโนเทค นำร่องใช้บำรุงพืชเศรษฐกิจอ้อย-กล้วยไม้

โดย : SMEs Creative By iTAP


ศูนย์นาโนเทคโนโลยีร่วมกับกรมวิชาการการเกษตรระดมสมองร่างแผนพัฒนาปุ๋ยประสิทธิภาพสูงสำหรับพืชเศรษฐกิจ

ช่วยพืชดูดซึมสารสำคัญบำรุงต้นพืชดีขึ้น ลดภาระสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมโดยปริยาย

ดร.วิยงค์ กังวานศุภมงคล นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) กล่าวว่า หลังจากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกรมวิชาการเกษตร และผู้ประกอบการอ้อยและกล้วยไม้ ที่ประชุมตกลงคัดเลือกอ้อยและกล้วยไม้เป็นพืชนำร่องสำหรับปุ๋ยรุ่นใหม่ที่ควบคุมการปลดปล่อยสารเคมีส่งถึงพืชได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“จากการจัดเวิร์คช็อปเมื่อเดือนพฤษภาคม ผู้ประกอบการและเกษตรกรประสงค์ให้มีงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับระบบควบคุมการปล่อยปุ๋ยสำหรับอ้อยและกล้วยไม้ ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญเป็นอันดับต้น เพื่อเสริมศักยภาพในการส่งออกผลิตผลจากพืชทั้งสองชนิดและลดการนำเข้าปุ๋ยที่มีเทคโนโลยีดังกล่าวจากต่างประเทศในราคาแพง" นักวิจัย กล่าว

ที่ผ่านมา กล้วยไม้และอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส่งออกจำนวนมาก การเพาะปลูกยังต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต่อการปลูกมากกว่า 1 ครั้ง และเกิดโอกาสสูญเสียสารเคมีไปกับดินมากกว่าต้นไม้ ขณะที่ต้นไม้ดูดซึมปุ๋ยได้น้อย

นักวิจัย กล่าวต่อว่า การพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยคาดจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีเป็นอย่างต่ำ ในการพัฒนารูปแบบที่จะใช้ โดยวางแผนพัฒนาเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบขึ้นรูปปุ๋ยพร้อมกับวัสดุดูดซึม และแบบใช้วัสดุดูดซึมเป็นตัวห่อหุ้มปุ๋ย เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงแข่งขันกับต่างประเทศได้

หลังจากนั้นทีมวิจัยและพัฒนามีกำหนดลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากภาคเกษตรกรเกี่ยวกับชนิดของปุ๋ย สภาพดิน อุณหภูมิ เพื่อเป็นข้อมูลปรับปรุงปุ๋ย ทดสอบสมบัติและนำไปทดสอบใช้ในแปลงสาธิตให้มีคุณภาพสูงสุด

ดร.วิยงค์ กล่าวว่า หากงานวิจัยดังกล่าวประสบความสำเร็จจะเป็นทางเลือกในการเพาะปลูกอ้อยและกล้วยไม้ให้กับเกษตรกรและผู้ค้าปลีกของไทย ช่วยลดการนำเข้าปุ๋ยสูตรควบคุมการปลดปล่อยจากต่างประเทศที่ปัจจุบันมีราคาสูงมาก

ห้องปฏิบัติการที่ร่วมวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและนาโนคอมพอสิต และห้องปฏิบัติการระบบนำส่ง ในสังกัดศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ รวมถึงกรมวิชาการเกษตรรับหน้าที่ช่วยตรวจสอบคุณภาพของปุ๋ยให้ได้ตามมาตรฐานที่มีอยู่ ก่อนส่งไปทดสอบในแปลงสาธิตเพื่อดูประสิทธิภาพของปุ๋ยในขั้นตอนสุดท้าย

ดร.อภิชัย ดาวราย นักวิชาการจากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มองว่า แนวโน้มในอนาคตภาคเกษตรกรรมมีต้องการใช้สารเคมีเพาะปลูกมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคของประชากรโลก โดยพัฒนาการของสารเคมีในอนาคตจะเน้นไปที่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีประสิทธิภาพในการทำลายศัตรูพืชที่จำเพาะเจาะจง รวมถึงสลายตัวได้เร็วไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมรอบนอกหรือการส่งออก

“ต่อไปเราจะหาปุ๋ยที่มีการพัฒนาสูตรขึ้นใหม่ยาก เพราะต้องใช้เวลาพัฒนานานมากกว่า 5 ปีกว่าจะได้ปุ๋ยแต่ละชนิดที่มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานจริง สิ่งที่จะเห็นต่อไปเป็นการนำปุ๋ยสูตรเดิมไปปรับคุณสมบัติ เช่น การนำสารเคมี 2-3 ชนิดที่มีอยู่มาผสมเป็นผลิตภัณฑ์เดียว เพื่อลดจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยและเกิดความคุ้มค่าที่สุด" นักวิชาการด้านเกษตรกล่าว

สำหรับการจัดเวิร์คช็อปครั้งที่ 2 กำหนดขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน เพื่อระดมความคิดในการกำหนดทิศทางเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้พัฒนาปุ๋ยสำหรับอ้อยและกล้วยไม้ให้มีประสิทธิภาพสูง ตลอดจนเทคโนโลยีที่มีการใช้งานอยู่เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/creativeenterprise/creativeenterprise/20100617/338082/เปิดโฉมหน้าโรดแมพปุ๋ยนาโนเทค-นำร่องใช้บำรุงพืชเศรษฐกิจอ้อย-กล้วยไม้.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 6:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

83. นาโนเทคโนโลยี ... คือ อะไรกันแน่ ?


ปัจจุบันมีกระแสความสนใจในเรื่อง นาโนศาสตร์ (Nanoscience) และนาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เป็นอย่างมาก หลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นได้เริ่มทุ่มเงินงบประมาณอย่างสูงเพื่อการวิจัยด้านนี้ ประเทศไทยก็เช่นกัน เริ่มมีการสนับสนุนจากทางรัฐบาลในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีการเข้าใจไปต่าง ๆ กันว่านาโนเทคโนโลยีคืออะไร เช่น การย่อของให้มีขนาดเล็กลง หรือ หุ่นขนาดจิ๋วที่จะไปทำงานในระดับอะตอม ซึ่งไม่ใช่ว่าจะผิด แต่มันไม่ใช่ความหมายที่แท้จริงของนาโนเทคโนโลยี มันแค่เป็นการมองในมุมด้านตัวผลิตภัณฑ์หรือวัตถุที่คนส่วนใหญ่จะนึกภาพออกได้

นอกจากนี้การใช้นาโนเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ได้เริ่มมีผลิตภัณฑ์ทางนาโนเทคโนโลยีออกมา ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกฟิล์มชนิดบางของสารต่างๆที่มีความหนาในขนาดนาโนเมตร เช่น OLED (Organic Light Emitting Device) ซึ่งเป็นจอแสดงผลที่ทำจากสารอินทรีย์ และพวกสารเคลือบผิวต่างๆ ตัวอย่างเช่นในผ้าที่เปื้อนยากที่สามารถกันหยดน้ำหรือของเหลวไม่ให้ซึมเข้าใยผ้าได้ โดยอาศัยความไม่ชอบน้ำ (Hydrophobicity) ของสารที่เคลือบใยผ้ามาและรวมกับความตึงผิวของหยดน้ำหรือของเหลวเองมาเป็นแรงผลักตัวหยดน้ำไม่ให้ซึมผ่านชั้นเคลือบไปได้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ที่เริ่มออกมาเหล่านี้ไม่ใช่ภาพลักษณ์โดยรวมของนาโนเทคโนโลยีและไม่ได้บ่งชี้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของมัน อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่อ้างใช้คำว่า นาโน มาเป็นจุดโฆษณาขาย ซึ่งเราควรต้องระมัดระวังไว้ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะมาศึกษาให้รู้ถึงเบื้องหน้าและเบื้องหลังของนาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยีอย่างจริงจัง

คำว่า นาโน (Nano) แปลว่าคนแคระในภาษากรีก แต่โดยมากจะเป็นคำที่เรียกกันติดปากและย่อมาจากคำว่า นาโนเมตร (Nanometre) ซึ่งหมายถึง สิบกำลังลบเก้าเมตร หรือ 1 ส่วนพันล้านของ 1 เมตร

คำนิยามอย่างคร่าว ๆ ของ นาโนศาสตร์ (Nanoscience) ก็คือการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของวัตถุที่มีขนาดในช่วงนาโนเมตร (ประมาณ 1-100 นาโนเมตร) ส่วนนาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) ก็จะหมายถึงการสร้างและประยุกต์วัตถุนาโนนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์

จุดมุ่งหมายสูงสุดของนาโนเทคโนโลยีก็คือความสามารถที่จะสร้างและจัดเรียงอนุภาคต่างๆได้ตามความต้องการ เพื่อสร้างสสารหรือโครงสร้างของสารในแบบใหม่ๆที่ให้คุณสมบัติพิเศษที่อาจจะไม่เคยมีก่อน

ในเชิงเปรียบเทียบ ขนาด 1 นาโนเมตรนี้จะใหญ่กว่าขนาดของอะตอมประมาณสิบเท่าขึ้นไป แต่เล็กกว่าขนาดของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตัวไมโครชิพวงจร (IC microchip)ในปัจจุบันประมาณร้อยเท่า ถ้าจะอ้างถึงของใกล้ตัว เช่น เส้นผมของคนเราซึ่งขนาดประมาณ 0.1 มิลลิเมตร ขนาด 1 นาโนเมตรก็จะเล็กกว่าเส้นผมประมาณหนึ่งแสนเท่า

ที่กล่าวมานี้บางทีก็ยังนึกภาพไม่ออกว่านาโนเมตรมันเล็กแค่ไหน โลกของเราที่มีขนาดประมาณ 10,000 กิโลเมตร หรือ 10,000,000 เมตร มีขนาดใหญ่เป็นประมาณหนึ่งแสนเท่าของสนามฟุตบอล (100 เมตร) ถ้าสมมุติว่าเราย่อส่วนโลกใบใหญ่ที่เราอยู่กันนี่ให้มีขนาดเท่าเส้นผม ตัวสนามฟุตบอลก็จะย่อส่วนลงไปในช่วงของ 1 นาโนเมตร ซึ่งน่าจะพอเห็นได้ว่าการไปสร้างวัตถุนาโนในโลกใบจิ๋วขนาดเท่าเส้นผม ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย



http://www.vcharkarn.com/varticle/189
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 7:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

84. สวทช.ส่ง 'นาโน' ช่วยเกษตรกร ยืดอายุผลไม้-ปุ๋ยธาตุอาหารสูง


ศูนย์นาโนเทคร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ดึงผลวิจัยจากแล็บนาโนสู่เกษตรกร เล็งพัฒนาถุงนาโนห่อผลไม้กันเชื้อรา-ยืดอายุนานขึ้น 2 เท่าตัว และปุ๋ยนาโนนำส่งธาตุอาหารตามที่พืชต้องการ คาด 5 ปีผลิตผลงานวิจัยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมเกษตร ลดปัญหากีดกันทางการค้าได้สำเร็จ

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ศูนย์นาโนเทคและกรมวิชาการเกษตรได้ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาอย่างเป็นทางการ ระยะ 5 ปี เป้าหมายเพื่อต่อยอดงานวิจัยพื้นฐานด้านนาโนเทคโนโลยี สู่การประยุกต์ใช้จริงในมุมของเกษตรกร เช่น วัสดุห่อหุ้มผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณสมบัติยืดอายุหรือคงสภาพสดของสินค้า รวมถึงปุ๋ยประสิทธิภาพสูงสามารถนำส่งธาตุอาหารตามที่พืชต้องการ

"เกษตรกรต้องการใช้ถุงพลาสติกหรือถุงกระดาษควบคุมการสุกของผลไม้ ป้องกันแสงอาทิตย์และแมลงศัตรู เพื่อให้ผลไม้มีผิวสวยงามเป็นที่ต้องการของตลาด แต่เทคโนโลยีนาโนจะเพิ่มคุณสมบัติให้ถุงดังกล่าวสามารถป้องกันเชื้อราจากแบคทีเรีย และยืดอายุผลไม้ได้นานขึ้น 2 เท่าตัว เทคโนโลยีนาโนยังสามารถควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารจากปุ๋ยให้ตรงกับความต้องการของพืช ทดแทนปุ๋ยนาโนจากต่างประเทศ คาดว่าความร่วมมือนี้จะก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า"

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า งานวิจัยด้านการเกษตรและเทคโนโลยีการผลิตพืช มีความหลากหลาย ตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ แปรรูป เครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยว ทั้งหมดพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของเกษตรกร ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทั้งจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ และความต้องการอาหารที่เปลี่ยนไป

"คุณภาพและความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ซึ่งเรามองว่าวัสดุห่อหุ้มผลไม้ในขั้นตอนการปลูกจนถึงขนส่งเพื่อนำไปขาย ที่สามารถป้องกันเชื้อรา แบคทีเรีย สาเหตุที่ทำให้ผลไม้เน่าเสียได้นั้น จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ท่ามกลางมาตรการกีดกันทางการค้าที่อุตสาหกรรมเกษตรจำต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน"

ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร มีศูนย์วิจัยกว่า 110 ศูนย์ทั่วประเทศ ซึ่งพร้อมประสานกับนักวิจัยของ สวทช. รวมถึงมองหาโจทย์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อหาวิธีการแก้ไขร่วมกัน ตลอดจนผลักดันให้เกิดกลไกการทำงานที่ชัดเจน พร้อมทั้งนำผลงานต้นแบบที่ได้จากห้องปฏิบัติการไปขยายผลทดลองใช้ในพื้นที่จริง เช่น แปลงสาธิต ของศูนย์วิจัยทางการเกษตร เป็นต้น--จบ--



ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com

http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?p=519&sid=4ef48feac361b609971fdac0daaed3cc


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/07/2011 8:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 7:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

85. ต่างชาติตอบรับมะม่วง R2 E2 "ซีพี" เล็งเดินหน้าขยายตลาด

โดย kmag


นายเกรียงไกร วัฒนาสว่าง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธุรกิจพืชสวน กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า งานแสดงสินค้าอาหาร 2554 หรือ THAIFEX-World of Food Asia 2011 ถือเป็นงานแสดงสินค้าอาหารและผลไม้ระดับโลก ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการทั่วโลกนำสินค้ามาจัดแสดงและเปิดเจรจาการค้ากว่า 1,000 บูธ โดยในส่วนของกลุ่มพืชฯผลไม้ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากผู้ประกอบการต่างชาติ คือ มะม่วงพันธุ์ R2E2 เนื่องจากเราเป็นผู้ประกอบการไทยเพียงรายเดียวที่มีมะม่วงพันธุ์ R2E2 ที่พร้อมส่งมอบ ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯได้มีการส่งออกไปยังประเทศรัสเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกงแล้ว

"มะม่วงพันธุ์ R2E2 เป็นมะม่วงที่ชาวต่างชาติรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยมีประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะออกในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ดังนั้นกลุ่มพืชฯ จึงได้นำพันธุ์มะม่วงดังกล่าวมาปลูกที่สวนที่ จ.ชลบุรี และราชบุรี แต่เน้นการผลิตนอกฤดูเพื่อให้ได้ผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมแทน ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประเทศคู่ค้า เพราะมีคุณภาพดีและมีต้นทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันกับมะม่วง R2E2 จากออสเตรเลียได้ โดยในปี 2554 นอกจากจะส่งออกไปยังตลาดเดิมที่มีลูกค้าประจำแล้ว บริษัทฯมีแผนขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ซึ่งเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูง คาดว่าจะสามารถส่งออกได้ทั้งหมด 150 ตัน" นายเกรียงไกร กล่าว

ส่วนการส่งออกผลไม้ไปยังประเทศญี่ปุ่น ในปี 2554 กลุ่มพืชฯ เน้นการส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้เป็นหลัก เบื้องต้นคาดว่า จะสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 10 ขณะเดียวกันยังเตรียมส่งมะม่วงพันธุ์มหาชนก ซึ่งมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวและกลิ่นหอม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ไม่นิยมผลไม้รสหวานจัดด้วย โดยจะวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำและตลาดค้าส่งผลไม้ทั่วประเทศญี่ปุ่น



ที่มา: http://www.naewna.comkmag
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1161#p1165
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 7:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

86. วิจัยแบบไหน ไม่ขึ้นหิ้ง

อาจารย์ยักษ์ มหา'ลัยคอกหมู

เมื่อกล่าวถึงงานวิจัย หลายคนพอได้ยินก็ส่ายหัว เพราะรู้กันดีอยู่ว่าการจะทำงานวิจัยให้ได้ผลในเชิงปฏิบัตินั้นยาก แสนยาก ไหนจะต้องมีเงื่อนไขมากมาย ทั้งความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มากมาย แต่อาจารย์ยักษ์อยากเสนอแนะแนวทางการวิจัยที่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และที่สำคัญผู้ปฏิบัตินั้นมีส่วนร่วมกับงานวิจัยนั้นด้วย

งานวิจัยที่อาจารย์ยักษ์เห็นว่าเป็นแนวทางที่ควรจะเป็นของงานวิจัยทางสังคมในปัจจุบัน และไม่ถูกนำไปเก็บไว้ขึ้นหิ้ง คือ งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อค้นหายุทธศาสตร์ในการปรับตัว หรือตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษไว้ว่า “PAR (Participatory Action Research) for Crisis Adaptation Strategy” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของนักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย กับชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วในมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งโครงการนี้ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อทำการค้นหายุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม แต่ก็เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และสามารถขยายผลไปยังงานวิจัยในรูปแบบเดียวกันได้

กรอบแนวคิดของการวิจัยนั้นมาจากการที่มหาวิทยาลัยควรจะได้มีหน้าที่ในการค้นหาคำตอบ โดยอาศัยเครื่องมือคืองานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมองถึงความเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมในหลายๆ ด้านที่จะมีผลกระทบต่อพื้นที่ซึ่งมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ โดยจะต้องหยิบเอาประเด็นที่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนสิ่งแวดล้อม เช่น เมื่อจีนเทเงินลงมาแสนล้านดอลลาห์ ก็หมายถึงสามสิบกว่าล้านล้านบาท จะไหลเข้ามาในพื้นที่ จะมีผลกระทบอะไรบ้าง ทั้งทางบวกและทางลบ ก็จะต้องหยิบยกประเด็น หรือ issue เหล่านี้ขึ้นมาเป็นหัวข้อการวิจัย โดยเอาวางร้อยเรียงกัน ให้ครบทั้งมิติ เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ความมั่นคงด้านอาหาร

โดยมีมิติที่สำคัญ 2-3 ด้าน คือ

- มิติที่เกิดจากภูมิอากาศของโลกแปรปรวน ผู้คนในสังคมจะต้องปรับตัวอย่างไร (Climate Change Adaptation)
- มิติด้านสังคม (Social Change Adaptation) และ
- มีติด้านเศรษฐกิจ (Economic Change Adaptation)

ทั้ง 3 ด้านนี้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงและรุนแรงต่อสังคม จะต้องมีงานวิจัยออกมาบอกกับคนทั้งภูมิภาคนี้ว่า คุณจะอยู่ไม่ได้ถ้าคุณไม่ปรับตัว แม้กระทั่งในระดับมหาวิทยาลัยเอง

มหาวิทยาลัยก็จะต้องตระหนักว่า มหาวิทยาลัยจะได้รับผลกระทบไหม หากเกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ หากมีมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ ลงมาเปิดสาขาในประเทศ ในพื้นที่ใกล้เคียง สอนและให้ความรู้ด้วยวิชาที่ปรับเปลี่ยนให้ทันกับยุคสมัย ด้วยภาษาที่เป็นสากล แล้วมหาวิทยาลัยในพื้นที่ หรือมหาวิทยาลัยท้องถิ่นจะอยู่ได้อย่างไร

แน่นอนว่า มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ที่มีเครือข่ายกับต่างประเทศ เขาก็ปรับตัวได้ เอาตัวรอดได้ แต่มหาวิทยาลัยที่ไม่มีเครือข่าย หรือไม่สามารถปรับตัวได้จะอยู่ได้อย่างไร มหาวิทยาลัยต้องตระหนักว่า ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วนี้จะสอนวิชาอะไร ที่สามารถผลิตบัณฑิตที่เมื่อจบมาแล้วเหมาะสมกับความจำเป็นในอนาคต

ทั้งนี้ อาจารย์ยักษ์หมายถึงความจำเป็น ที่มีความหมายถึง need ไม่ใช่ want ที่แปลได้ว่า ความต้องการตลาดอย่างที่เป็นอยู่นี้ และหนทางเดียวที่มหาวิทยาลัยจะรู้ว่าตัวเองจะต้องปรับตัวอย่างไร ก็คือ การทำงานวิจัยที่สามารถชี้นำได้ นำไปกำหนดยุทธศาสตร์ได้ ปรับลงสู่การปฏิบัติได้ เป็นหนึ่งในแนวทางการปรับตัวของมหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยเองรอดได้ ปรับตัวได้เช่นกัน

ทว่า หากมหาวิทยาลัยจะไม่ปรับตัว จะสอนวิชาเดิมๆ วิทยาลัยต่างๆ ก็จะสอนวิชาเดิม ครูที่สอนอยู่ในภูมิภาคทั้งหมด กี่ร้อยกี่พันโรงเรียนก็ไม่ยอมปรับตัว ถ้าเป็นแบบนี้ อาจารย์ยักษ์มองไม่เห็นเลยว่าเราจะรอดจากความเปลี่ยนแปลงที่ห้ามไม่ได้นี้ได้อย่างไร แต่หากยอมที่จะเหนื่อย ยอมที่จะฮึด เพื่อรับมือความเปลี่ยนแปลง
อาจารย์ยักษ์ก็ฟันธงว่ามีทางรอด และรอดได้อย่างภาคภูมิใจแน่นอน !


คมชัดลึก
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1151


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/07/2011 9:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 7:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

87. เร่งวิจัยข้าว รับสภาวะภูมิอากาศโลก

โดย kmag


ก.เกษตรฯ จับมือ สวก. และ IRRI แลกเปลี่ยนความคิดควบคู่เร่งวิจัยด้านข้าว มุ่งต่อยอดผลผลิต รับสภาวะภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง

นายเฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาพิเศษ เรื่อง "ก้าวใหม่งานวิจัยข้าว" ว่ากระทรวงเกษตรฯ เล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก ที่ส่งผลต่อการผลิตข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนในประเทศและคนส่วนใหญ่ในโลก และเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลก ซึ่งหากการผลิตข้าวของไทยได้รับความเสียหาย ก็จะมีผลต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกด้วย จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ นักวิชาการ นักวิจัยสถาบันการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและเร่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับข้าวเพื่อหาทางป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ภาคเกษตรกร

นายเฉลิมพร กล่าวต่อว่า การสัมมนาพิเศษในครั้งนี้จะเป็นเวทีให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งนักวิชาการ นักวิจัยและบุคลากรด้านการเกษตรได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เพื่อพัฒนาการวิจัยด้านข้าวและเกิดกระบวนการคิดที่จะนำไปสู่งานวิจัยใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มผลผลิต รวมถึงคุณภาพข้าวตลอดจนลดความสูญเสียต่างๆ และที่สำคัญเข้าใจถึงภัยของภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงว่า ส่งผลกระทบอย่างไรบ้างกับการผลิตข้าว นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนางานวิจัยข้าวอีกด้วย

"ประเทศไทยมีนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องข้าวอยู่เป็นจำนวนมาก แต่หากนักวิจัยไทยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิชาการของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำวิจัยเรื่องข้าวมานาน ก็จะเป็นโอกาสที่ดีของนักวิจัยที่จะได้ทราบถึงสถานการณ์การวิจัยในปัจจุบัน และทิศทางการวิจัยข้าวในอนาคต" นายเฉลิมพรกล่าวทิ้งท้าย


ที่มา: http://www.komchadluek.net
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1164


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/07/2011 9:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 7:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

88. ก.เกษตรฯ หนุนสร้างนครพนม เป็นเมืองข้าวหอมมะลิ

โดย kmag

นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังเป็นประธานพิธีมอบปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรอำเภอต่างๆ ของผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ปี 54 จ.นครพนม ว่า

การพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตข้าวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการสร้างสถานะความมั่นคงต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภาพรวม ทุกรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและพยายามวางยุทธศาสตร์เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาอาชีพการทำนาให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ภารกิจในการพัฒนาการผลิตข้าว จึงเป็นภารกิจที่สำคัญและสามารถที่จะช่วยให้ปัญหาอื่นๆ ในสังคมบรรเทาเบาบางลง

ทั้งนี้ การเข้าร่วมปลูกข้าวอินทรีย์ ถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อกระบวนการพัฒนาการผลิตข้าวของ จ.นครพนม เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพทางด้านการผลิตข้าว โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 1.3 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดี 500,000 กว่าไร่

โดยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศมาแล้วต่างๆ มากมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่า จ.นครพนม มีศักยภาพและมีโอกาสมาก ในการเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีแห่งหนึ่งของประเทศ

จ.นครพนม ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 54 ให้ดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิ ภาพการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 42 กลุ่ม เกษตรกร 1,260 ราย พื้นที่ 6,300 ไร่ ซึ่งกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 และในปี 54

กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับปัจจัยการผลิต ได้แก่ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี วัสดุผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น



ที่มา: http://www.naewna.com
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1137


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/07/2011 9:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 8:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

89. พัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ อัตราการงอกดี..เก็บไว้ได้นาน

โดย kmag


ปัจจุบันวงการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพภูมิอากาศในบ้านเราเหมาะแก่การผลิต เกษตรกรหลายรายต่างหันมาเก็บเมล็ดพันธุ์ขยาย เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งมุ่งที่จะส่งออกด้วยเช่นกัน

ฉะนี้...เพื่อยกระดับสินค้า เมล็ดพันธุ์ให้มีความทัดเทียมเทียบกับบริษัทต่างประเทศ รศ.ดร.บุญมี ศิริ และ น.ส.ธิดารัตน์ แก้วคำ นักศึกษา คปก.สังกัดภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ร่วมกันพัฒนา สูตรสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่ใช้กับพืชตระกูลแตง เพื่อใช้ในธุรกิจเมล็ดพันธุ์ รวมทั้งศึกษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลแตงหลังจากการเคลือบเมล็ด และอายุการเก็บรักษาในภาชนะบรรจุและสภาพแวดล้อมขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

รศ.ดร.บุญมี เปิดเผยว่า...
ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาไทยเราส่งเมล็ดพันธุ์ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด คือ เมล็ดพันธุ์พืชไร่ รองลงมาเป็นเมล็ดพันธุ์ผักมากเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นอันดับที่ 12 ของโลก คิดเป็นมูลค่าโดยรวมเฉลี่ยที่ 7,000 ล้านบาท/ปี

เพื่อยกระดับสินค้าให้มีความทัดเทียมเทียบกับบริษัทต่างประเทศ จึงนำวิทยาการใหม่ๆ อย่างการเคลือบเมล็ดพันธุ์ (seed coating) ที่พัฒนามาจากการเคลือบยา โดยใช้พอลิเมอร์ที่มีความเหนียวและมีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ชนิดต่างๆ ประกอบด้วยธาตุอาหาร สารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อโรค จากนั้นจึงเคลือบชั้นนอกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้การเคลือบเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีดังกล่าวช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีในช่วงระยะต้นกล้า เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและแมลงให้กับเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกได้

น.ส.ธิดารัตน์ กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาสูตรสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่ใช้กับพืชตระกูลแตงว่าเริ่มแรกนั้นศึกษาตัวพอลิเมอร์ที่มีความเหมาะสมที่สุดในการเคลือบ พร้อมทั้งทำการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวา และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ศึกษาถึงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการเคลือบหลังจากการเก็บรักษา แล้วเตรียมสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ประกอบด้วย โพลีเอทิลีน ไกลคอล 600 (Polyethylene glycol 600) สารก่อฟิล์ม ทัลคัม (Talcum) ไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2) และ สี

...แล้วนำมาประเมินผลในลักษณะต่างๆ เช่น ค่า pH ความหนืดของสารเคลือบ เป็นต้น ก่อนนำไปเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงลูกผสมด้วยเครื่องเคลือบ SKK08 จากนั้นนำเมล็ดเคลือบสารไปลดความชื้นด้วยเครื่องลดความชื้นแบบลมแห้ง แล้วจึงนำไปตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในห้องปฏิบัติการ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในสภาพโรงเรือน ดัชนีการงอก ความชื้นของเมล็ดพันธุ์หลังจากการเคลือบ...

นอกจากนี้ยังต้องมีการทดลองเคลือบกับสารป้องกันโรคและศึกษาประสิทธิภาพของการป้องกันโรคของเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบสารทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและในโรงเรือน พบว่าเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วยพอลิเมอร์ชนิดละลายน้ำมีเปอร์เซ็นต์ความงอกที่เพาะในสภาพห้องปฏิบัติการและในสภาพโรงเรือนไม่มีความแตกต่างกันกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เคลือบสาร ส่วนอายุการเก็บรักษาอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน ความงอก 80-90 เปอร์เซ็นต์

...งานวิจัยดังกล่าวนอกจากเป็นการสร้างเอก-ลักษณ์ของพันธุ์พืช ยังทำให้เกษตรกรทั้งในและต่างประเทศต่างให้ความสนใจ...

เพ็ญพิชญา เตียว



ที่มา: http://www.thairath.co.thkmag
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1104


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/07/2011 8:21 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 8:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

90. วิจัยฟักทองมีน้ำมันในเมล็ดสูง

โดย kmag


ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยแก่ ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ทำการศึกษาพันธุ์ฟักทองที่ให้ผลผลิตเมล็ดที่มีปริมาณและคุณภาพของน้ำมันในเมล็ดสูง เป็น ผลสำเร็จสามารถที่จะเข้าสู่ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางได้ ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัจจุบันฟักทองที่ปลูกทั่วไปเป็นฟักทองที่กินเนื้อ ยังไม่มีพันธุ์ฟักทองที่ให้เมล็ดโดยตรง คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาคัดเลือกพันธุ์ฟักทองแบบสกัดสายพันธุ์

การคัดเลือกแบบวงจร และการคัดเลือกแบบจดบันทึกประวัติเพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตเมล็ด ทั้งนี้ผู้วิจัยมีการคัดเลือกสายพันธุ์จำนวน 144 สายพันธุ์เพื่อสร้างสายพันธุ์และพัฒนาพันธุ์ที่สามารถผลิตน้ำมันต่อไร่สูงเท่ากับพันธุ์ฟักทองจากต่างประเทศ และสามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้มีสายพันธุ์ลูกผสม ที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อไร่สูง และสามารถผลิตฟักทองเพื่อส่งออกในภาคอุตสาหกรรมที่สามารถทำเป็นสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าในการผลิตต่อไป

สำหรับการดำเนินการต่อจากนี้ วช. จะเผยแพร่ผลงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจะให้การสนับสนุนและส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมในการพัฒนาพันธุ์ฟักทองเพื่อสกัดน้ำมันที่นำมาใช้ทางด้านเภสัชวิทยา คลินิกวิทยา และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมากขึ้น เพื่อเป็นการผลักดันสินค้าเกษตรเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางมากยิ่งขึ้น และเป็นการต่อยอดผลงานวิจัยให้เป็นที่แพร่หลายในเชิงพาณิชย์ต่อไป.



ที่มา: http://www.dailynews.co.thkmag
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1154


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/07/2011 11:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 8:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

91. สศก. เผยเกษตรกรไทย 7 ล้านครอบครัว โคตรจน

โดย kmag


สศก. แจงภาวะความยากจนของครัวเรือนในภาคเกษตร สศก. แจงผลการศึกษาภาวะความยากจนของครัวเรือนในภาคเกษตร ปีเพาะปลูก2551/52 พบ ครัวเรือนประมาณ 7.211 ล้านคน หรือร้อยละ 29 มีรายได้ต่ำกว่าระดับเส้นความยากจน โดยเฉพาะครัวเรือนเกษตรในภาคอีสานและยังมีความเหลื่อมล้ำของรายได้ค่อนข้างสูงแนะขยายโอกาสทางด้านศึกษาให้กับครัวเรือนในภาคเกษตรและสนับสนุนการใช้ที่ดินให้เต็มพื้นที่และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)เปิดเผยถึงผลการศึกษาภาวะความยากจนของครัวเรือนในภาคเกษตร ปีเพาะปลูก2551/52 พบว่า ครัวเรือนร้อยละ 29 หรือประมาณ 7.211 ล้านคน มีรายได้ต่ำกว่าระดับเส้นความยากจน โดยครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกลุ่มครัวเรือนยากจนมากที่สุด และเมื่อแบ่งระดับรายได้ของครัวเรือนเกษตรออกเป็นระดับจนมาก จนน้อย และเกือบจน

พบว่า ในจำนวนคนจนทั้งหมด อยู่ในระดับจนมากร้อยละ 21และระดับจนน้อยร้อยละ 8 ของคนจนทั้งหมด ส่วนครัวเรือนที่เกือบจนประมาณร้อยละ 9 ของครัวเรือนที่หลุดพ้นจากความยากจน (มีรายได้มากกว่าเส้นยากจน) คิดเป็นจำนวน 1.560 ล้านคน ถือว่าเป็นกลุ่มประชากรเสี่ยงต่อการตกอยู่ในภาวะความยากจนในอนาคต ถ้าแบ่งครัวเรือนเกษตรทั้งหมดออกเป็น 5 กลุ่ม สัดส่วนระหว่างกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด (20% แรกที่จนสุด) มีรายได้เฉลี่ยร้อยละ 3 กับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด (20% สุดท้ายที่รวยสุด) มีรายได้แฉลี่ยร้อยละ 58 ซึ่งแตกต่างกันถึง 18 เท่า แต่หากจำแนกรายได้ของครัวเรือนออกเป็นชั้นรายได้ 10 ชั้น พบว่าเมื่อเวลาผ่านไป รายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกชั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 ชั้นแรก ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเส้นยากจน ในขณะเดียวกันสัดส่วนครัวเรือนที่อยู่ในชั้นรายได้ดังกล่าว มีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำรายได้ของครัวเรือนเกษตรไปคำนวณหาดัชนีความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้พบว่า อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง หมายความว่า มีความแตกต่างหรือมีความเหลื่อมล้ำของรายได้ค่อนข้างสูง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำในรายได้ของครัวเรือนเกษตร คือ ประเภทฟาร์ม ขนาดการถือครองที่ดินและการอยู่ในเขตและนอกเขตชลประทาน

ทั้งนี้ การหาทางช่วยเหลือกลุ่มครัวเรือนเกษตรยากจนและเกือบจนเพื่อยกระดับการดำรงชีพให้ดีขึ้น แนวทางในการปรับปรุง คือ ขยายโอกาสทางด้านศึกษาให้กับครัวเรือนในภาคเกษตร สนับสนุนการใช้ที่ดินให้เต็มพื้นที่ และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

สนับสนุนการจัดหาที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรที่ยากจนในฟาร์มขนาดเล็ก ควรเลือกทำกิจกรรมฟาร์มให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่และสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมีบางส่วน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการทำกิจกรรมฟาร์มเสริมสร้างกิจกรรมการผลิตนอกการเกษตรของครัวเรือน ควบคู่ไปกับกิจกรรมฟาร์มเพื่อเป็นแหล่งรายได้เสริมเสริม สร้างระบบการจัดการแหล่งน้ำ เพื่อให้เกิดการจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนกับรัฐใน การดูแลรักษาและในกลุ่มครัวเรือนเกษตรที่ยากจนควรเสริมกิจกรรมการผลิตแบบพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพาตลาดเพื่อการบริโภคของครัวเรือน



ที่มา: http://www.komchadluek.net
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1084#p1088
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 9:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

92. "แมลงดำหนาม" ศัตรูร้าย ชาวสวนมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน

โดย kmag


ตัวเต็มวัย
ปัจจุบัน "มะพร้าว" ในท้องตลาดเริ่มมีปริมาณที่ลดน้อยถอยลง นอกจากสภาวะภัยแล้ง สาเหตุหนึ่งมาจากศัตรูพืชอย่าง "แมลงดำหนาม" ที่เข้าทำลายกัดกินน้ำเลี้ยง ส่งผลให้ต้นมะพร้าวในพื้นที่หลายแห่ง "ยืนต้นตาย"

....และจากนั้นอีกไม่ช้านานคาดว่ามันคง "ยกฝูงบิน" ลง "พื้นที่เป้าหมาย" แห่งใหม่อย่าง "ปาล์มน้ำมัน" เป็นแน่ หากเกษตรกรยังไม่สามารถหาวิธีกำจัดมันได้....

แมลงดำหนามมะพร้าว (Two-coloured coconut leaf beetle) พบการแพร่กระจายในแถบประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ในหมู่เกาะซามัว รวมทั้ง ประเทศไทย ทั้งตัวหนอน ตัวเต็มวัย จะอาศัยอยู่กับยอดอ่อน ใช้เป็นทั้งแหล่งอาหารและที่พักอาศัย

...กระทั่งใบเดิมคลี่ออกจึงย้ายไปหาใบอ่อนใหม่ หากเกษตรกรเปิดใบที่ถูกทำลายออกดูจะพบรอยสีน้ำตาลแห้งเป็นทางยาว ลักษณะดังกล่าวส่งผลทำให้ยอดอ่อนของมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต และหากเกิดการทำลายรุนแรงทั่วทั้งยอดมองเห็นเป็นสีขาวโพลนชัดเจน ซึ่งชาวสวนเรียกว่า "โรคหัวหงอก"

ทั้งนี้ ในช่วงประมาณ ปี’47 พบว่า มีแมลงดำหนามที่คาดว่าอาจเป็นสายพันธุ์ใหม่ อันมีสาเหตุมาจากการใช้สารเคมีในอดีตและสภาพอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้น ทำให้พวกมันพัฒนาสายพันธุ์เพื่อความอยู่รอด เข้ามาระบาดทำลายมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน หมากเขียว หมากเหลือง และหมากแดง ได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่ทางภาคใต้ และอีกหลายจังหวัดในภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก

...ตัวเต็มวัย ของแมลงดำหนาม เป็นด้วงปีกแข็ง ลำตัว ค่อนข้างแบน ขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร ส่วนหัว ท้อง มีสีน้ำตาล อก เหลืองปนส้ม ปีก มีสีน้ำตาลเข้มปลายดำ 2 คู่ ยาว 1 ใน 2 ของลำตัว
วงจรชีวิตแมลงดำหนาม.

ตัวเมีย ทั้งชีวิตวางไข่เฉลี่ยที่ 100 ฟอง แต่ละครั้งจะวางเป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นแถว 2-4 ฟอง ลักษณะยาว ค่อนข้างแบน รูปร่างคล้ายแคปซูล มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใต้ใบมะพร้าวที่ยังไม่คลี่ทั้งต้นเล็กและต้นสูงที่ให้ผลผลิต

จากนั้น...ประมาณ 5 วัน จึงฟักเป็นตัวหนอน สีขาว บริเวณด้านข้างของลำตัวมีลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมา ปลายสุดของส่วนท้องมีหนาม รูปร่างคล้ายคีมยื่นออกมา 1 คู่ ในวัยนี้จะกัดกินดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ อันเป็นช่วงที่ทำลายได้รุนแรงกว่าตัวเต็มวัย โดยเฉพาะในช่วงอากาศแห้งแล้งขาดน้ำ จะเอื้อต่อการระบาดเป็นอย่างยิ่ง แล้วใช้เวลานาน 30-40 วัน จึงเข้าสู่ดักแด้ หนอนที่เจริญเติบโตเต็มที่จะหยุดกินอาหารและเข้าดักแด้ในกาบใบมะพร้าวประมาณ 4-7 วัน แล้วจึงออกมาดูโลก และเข้าสู่วัฏจักรวงจรชีวิต

สำหรับศัตรูคู่อาฆาตที่สามารถปราบกำจัดพวกมันได้ก็คือ แมลงหางหนีบ แตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าว และเชื้อราเขียวเมตตาไรเซียม.เพ็ญพิชญา เตียว



ที่มา: http://www.thairath.co.thkmag
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1065#p1069
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 9:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

93. นำเข้ายากำจัดศัตรูพืช ปีละเกือบ 2 หมื่น ล. พิษตกค้างทำป่วย

โดย kmag


เกษตรกรนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปีละเกือบ 2 หมื่นล้าน พิษตกค้างในอาหารเพียบ ส่งผลคนไทยป่วยมะเร็ง-ต่อมไร้ท่อพุ่ง...

เมื่อวันที่ 3 เม.ย. นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BioThai) กล่าวถึง สถานการณ์ปัญหาสุขภาพของเกษตรกรและการควบคุมสารกำจัดศัตรูพืชว่า ปัจจุบันมีเกตรกรจำนวนมาก ที่มีผลตรวจเลือดอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาทิ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคต่อมไร้ท่อ ฯลฯ

ซึ่งจากฐานข้อมูลผู้ป่วยจากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยจากสารเคมีดังกล่าว ประมาณ 8,546 ราย และมีการประมาณการว่าในความเป็นจริงตัวเลขผู้ป่วยจากสารเคมีอาจสูงถึง 200,000 ถึง 400,000 รายต่อปี สอดคล้องกับผลสำรวจเกษตรกร 6 จังหวัด จำนวน 606 ราย

ในโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร ด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ ที่พบว่าเกษตรกรทั้งหมด 100% เคยมีอาการเนื่องจากพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดย 15% ใช้สารเคมีระดับความเป็นพิษร้ายแรงมาก 39% อยู่ในระดับความเป็นพิษร้ายแรง และ 14% มีการใช้สารเคมีที่เคยถูกห้ามนำเข้า ผลิต ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง

ผอ.มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า จากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดผลกระทบตามมา ที่เห็นได้ชัด คือ อัตราการเจ็บป่วยของคนไทยในปัจจุบัน ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งสูงขึ้นแซงหน้าโรคอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากอาหารสูงถึง 60%

นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศไทยสูญเงินจากการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชประเภทต่างๆ ปีละ 137,594,393 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าประมาณ 16,815,769,077 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ 6 แห่ง โดยไม่ต้องเสียภาษี

นอกจากนี้ ยังมีการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนการค้าสารเคมีไปแล้วถึง 27,000 ชื่อ ซึ่งสูงมากที่สุดในโลกและสูงกว่าจีนที่มี 20,000 ชื่อ โดยการขึ้นทะเบียนดังกล่าวขาดกลไกการควบคุม การตรวจสอบ ทั้งในด้านความเสี่ยงของผู้ใช้และสารตกค้างในผลผลิต รวมไปถึงขาดกลไกควบคุมการจัดจำหน่าย



ที่มา: http://www.thairath.co.th
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1086
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 09/07/2011 9:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

94. ไทย-ฟิลิปปินส์ จับมือขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอินทรีย์ สู่ตลาดโลก

โดย kmag



นางจิราวรรณ แย้มประยูร ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังหารือกับนายวิคเตอร์ เอ ยาพ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาร์เลซ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ถึงความร่วมมือด้านการพัฒนาการเกษตร และการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจด้านอุตสาหกรรมการเกษตรว่า ฟิลิปปินส์สนใจพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย ที่กระทรวงเกษตรฯมีนโยบายเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลก เช่นเดียวกับ ฟิลิปปินส์ที่มีการพัฒนาด้านเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจังหวัดตาร์เลซ ที่มีศักยภาพทางการผลิตระดับประเทศ

ดังนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันที่จะสร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งฝ่ายไทยโดยกระทรวงเกษตรฯยินดีที่จะร่วมมือกับจังหวัดตาร์เลซในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเกษตรอินทรีย์ และยินดีเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาร์เลซได้ให้ความสนใจการพัฒนาคุณภาพดิน โดยเฉพาะการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ เพื่อจะนำมาใช้พัฒนาและปรับปรุงดิน เบื้องต้นประสงค์จะให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิชาการ เพื่อนำไปปรับปรุงหรือเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติ สำหรับประเทศไทยนั้น ประกาศตัวเป็นผู้นำเกษตรอินทรีย์แห่งแรก โดยมีแผนพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติปี 2551-2554 ในการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติตามกรอบการพัฒนาในระยะ 4 ปีอีกด้วย



ที่มา: http://www.naewna.comkmag
http://kmag.ku.ac.th/phpbb3/viewtopic.php?f=4&t=1055
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/07/2011 3:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

95. จับตาบรรษัท 'ซีพีเอส' ติดลมบนข้าวลูกผสม


"ซีพีเอส" เครือ ซีพี ติดใจตลาดพันธุ์ข้าวลูกผสม หลังพันธุ์ ซีพี 304 และ 388 ไปได้สวย ซุ่มวิจัยอีก 5 สายพันธุ์ คาดทยอยออกสู่ตลาดได้เร็วๆ นี้ พร้อมเล็งชิงแชร์ตลาดอินเดีย หลังรัฐบาลภารตประกาศเพิ่มผลผลิตข้าวเป็น 112 ล้านตัน/ปี ภายในปี 2558

ดร.เอนก ศิลปพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ฝ่ายวิจัยและพัฒนา กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร (ซีพีเอส) เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับงานวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชของเครือ ซีพี ซึ่งรับผิดชอบโดยกลุ่มพืชครบวงจร (ซีพีเอส) ว่า ภายหลังจากที่ ซีพีเอส ประสบความสำเร็จงานวิจัยพันธุ์ข้าวลูกผสมพันธุ์ ซีพี 304 และ ซีพี 388 โดยได้รับการตอบรับจากกลุ่มเกษตรกรตามเป้าหมาย คือ กลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ ทำนาในเขตชลประทาน ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่นาในเขตชลประทานประมาณ 20 ล้านไร่ (นาปี 11 ล้านไร่ นาปรัง 9 ล้านไร่) มีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 100,000 ตัน ซีพีเอส ตั้งเป้าจะมีส่วนแบ่งตลาดได้ประมาณ 10% หรือราว 10,000 ตัน โดยปี 2554 ตั้งเป้าจำหน่าย 100 ตัน ปี 2555 จำหน่าย 600 ตัน หลังจากนั้นเพิ่มเป็น 1,000 ตัน

ซีพีเอส จึงได้เดินหน้างานวิจัยพันธุ์ข้าวลูกผสมอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้มี 5 สายพันธุ์ที่อยู่ระหว่างการทดสอบขั้นสุดท้าย คาดว่าจะทยอยออกสู่ตลาดได้เร็วๆ นี้ โดยงานวิจัยพันธุ์ข้าวลูกผสม ซีพีเอส ให้ความสำคัญมีความทนทานต่อความแห้งแล้ง และต้านทานการระบาดของศัตรูพืช โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เนื่องจากการทำนาในอนาคตมีแนวโน้มเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยแล้งและเพลี้ยระบาดสูง เพราะ การทำนาในประเทศไทยไม่ได้ปลูกและเก็บเกี่ยวพร้อมกัน ผืนนาติดกันมีทั้งข้าวเริ่มปลูก ข้าวออกรวง และข้าวที่อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยว ซึ่งการปลูกในลักษณะนี้มีผลต่อการระบาดของศัตรูพืชได้ง่ายมาก ดังนั้น งายวิจัยของ ซีพีเอส จึงวิจัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์

"ปัจจุบันเกษตรกรมีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปีละประมาณ 800,000 ตัน แต่มีเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีราว 100,000 ตัน ซีพีเอส มีความจำเป็นต้องมีส่วนร่วมการพัฒนาเมล็ดพันธุ์และเห็นว่าเมล็ด ชพันธุ์ลูกผสมให้ผลผลิตต่อไร่สูง คือ 1,200 กก. ขณะนี้ที่พันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้ผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศ 450-500 กก.ต่อไร่ แต่หากปลูกพื้นที่ภาคกลางในเขตชลประทานจะได้ประมาณ 700 กก.ต่อไร่ โดย ซีพีเอส จะเน้นงานวิจัยพันธุ์ข้าวลูกผสมเท่านั้น ยังไม่ได้มองไปถึงพันธุ์ ข้าวตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) เพราะรัฐบาลไทยยังไม่มีนโยบายปลูกพืช จีเอ็มโอ"

ดร.เอนก กล่าวเพิ่มเติมว่า เวลานี้เกือบทุกประเทศให้ความสำคัญกับการปลูกข้าว ด้วยพันธุ์ข้าวลูกผสมเช่นเดียวกัน นอกเหนือจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เป็นผู้นำการปลูกข้าวด้วยพันธุ์ข้าวลูกผสมแล้ว โดยจีนมีการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมถึง 60% ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ ขณะที่ประเทศอินเดียได้ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะใช้พันธุ์ข้าวลูกผสมเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้อินเดียมีพื้นที่ปลูกข้าวที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม 4.5% ปี 2554 เพิ่มเป็น 7% และปี 2558 จะใช้เพิ่มเป็น 16% เพราะรัฐบาลอินเดียมีเป้าหมายจะเพิ่มผลผลิตข้าวเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภค ในประเทศเป็น 112 ล้านตัน จากปัจจุบันที่ผลิตได้ 89 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นอีก 23 ล้านตัน จึงมีความจำเป็นต้องใช้พันธุ์ข้าวลูกผสมเพราะให้ผลผลิตต่อไร่สูง

"จากการที่อินเดียมีแผนเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้ 112 ล้านตัน ข้าวเปลือกในปี 2558 ขณะนี้มีบริษัทข้ามชาติได้เข้าไปลงทุนวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมในอินเดียจำนวนมาก รวมถึง ซีพีเอส ด้วย โดยขณะนี้ ซีพีเอส อยู่ระหว่างทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสมในอินเดีย คาดว่าจะวางจำหน่ายได้ 3-4 ปีข้างหน้า"

ดร.เอนก กล่าวตอนท้ายว่า งานวิจัยพันธุ์ข้าวผสมไม่ยาก แต่ความยากอยู่ที่ทำอย่างไรให้การผลิตได้ต้นทุนต่ำ เพราะเวลานี้ ต้นทุนพันธุ์ข้าวลูกผสมอยู่ที่ประมาณ กก.ละ 120 บาท แม้ว่าจะให้ผลผลิตต่อไร่สูง แต่หากเทียบกับพันธุ์พื้นเมืองทั่วไปจำหน่ายอยู่ที่ กก.ละ 25 บาท เกษตรกรที่มีความคุ้นเคยกับการใช้พันธุ์พื้นเมืองจะมองว่าพันธุ์ลูกผสมแพงเกินไป แต่มีความโชคดีที่ปัจจุบันมีเกษตรกรรุ่นใหม่มีความคิดการทำนาเชิงธุรกิจจึง หันมาใช้พันธุ์ลูกผสมมากขึ้น


http://www.food-resources.org [/color]


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:01 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/07/2011 3:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

96."ซีพี" ฟุ้งพัฒนาสายพันธุ์ข้าว ให้ผลผลิตสูง 1,000 ก.ก.ต่อไร่
ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล



คุณนายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญร่วมกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า

แต่ละปีเกษตรกรไทยมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพสูงถึง 900,000 ตัน/ปี ขณะที่ประเทศไทยสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพประมาณปีละ 100,000 ตันเท่านั้น ซึ่งปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวไทยค่อนข้างต่ำเฉลี่ยที่ 454 กก./ไร่ ขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยข้าวของประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน อยู่ที่ 862, 813 และ 1,054 กก./ไร่

นอกจากนี้ทั้ง 3 ประเทศยังให้ความสำคัญกับการนำพันธุ์ข้าวลูกผสม มาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ซึ่งในอนาคตอาจจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันและการค้าข้าวของประเทศไทย ได้

ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง โดยส่งเสริมการปลูกพันธุ์ข้าวลูกผสม C.P.304 ที่ ต.บางภาษี อ.บางเลน จ.นครปฐุม พบว่า ผลผลิตข้าวลูกผสม C.P.304 ฤดูปลูกแรกในแปลงของเกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 1,200 กก./ไร่ ขณะที่พันธุ์ข้าวทั่วไปในพื้นที่ใกล้เคียงเฉลี่ยที่ 1,000 กก./ไร่

ส่วนฤดูที่ 2 ตรงกับช่วงนาปรัง 2 ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวได้รับผลกระทบจากอากาศที่ร้อนอบอ้าว ผลผลิตข้าวลูกผสม C.P.304 เฉลี่ยที่ 900-1,000 กก./ไร่ ขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของพันธุ์ข้าวทั่วไปในแปลงใกล้เคียงอยู่ที่ 600-700 กก./ไร่เท่านั้น

อีกทั้งเกษตรกรยังระบุด้วยว่า พันธุ์ข้าวลูกผสมไม่มีปัญหาเรื่องข้าวดีด ข้าวเด้ง และมีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดีกว่าพันธุ์ข้าวทั่วไป

นาย มนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯมีแผนที่จะช่วยภาครัฐในการขยายพันธุ์ข้าวของทางราชการ ได้แก่ พันธุ์ กข.29, กข.41 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จำหน่ายในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงฤดูนาปีประจำปี 2553 เพื่อเป็นทางเลือก และลดความเสี่ยงให้เกษตรกรในเขตที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลขั้นรุนแรง

โดยเบื้องต้นได้นำเมล็ดพันธุ์สายพันธุ์แท้ของข้าวทั้ง 2 พันธุ์จากกรมการข้าวมาดำเนินการผลิตตามหลักวิชาการการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้องแล้ว ทำให้เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ ทั้งเรื่องของความต้านทานโรคแมลง และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่


http://www.food-resources.org/news/18/06/10/665
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/07/2011 3:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

97. เปิดโมเดล "เจริญ" รุกเกษตร งัดสต๊อกที่ดินแสนไร่ปลูก "ยาง-อ้อย-ข้าว"


สวนเกษตรกรรมขนาดใหญ่ของเจ้าสัวเจริญในนาม บริษัท เทอราโกร จากการต่อยอดพัฒนาที่ดินในเครือ ทีซีซี แลนด์ ทั่วประเทศ ลงมือเนรมิตทั้งสวนยางพารา 100,000 ไร่, อ้อย 20,000 ไร่ ทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าว สวนส้ม ข้ามเข้าไปใน สปป.ลาว-เขมร ปลูกกาแฟอาราบิก้า ปาล์มน้ำมัน เตรียมลงทุนครั้งใหญ่สร้างโรงงานแปรรูปรองรับผลผลิต ทั้งโรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตยาง และโรงสกัดน้ำมันปาล์ม

นาย วินิจ วสุนธราธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทอราโกร จำกัด ในเครือกลุ่มบริษัทพรรณธิอร ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการดำเนินการของบริษัทในปัจจุบันว่า บริษัทวางเป้าหมายที่จะสร้างผลผลิตทางการเกษตรในกลุ่มให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยเชื่อมโยงกับบริษัทในเครือพรรณธิอร ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตปุ๋ย โรงงานน้ำตาล และอุตสาหกรรมการเกษตรของกลุ่มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

"เทอราโกร เป็นบริษัทที่ลงทุนทางด้านการเกษตรจากที่ดินในเครือ ทีซีซี แลนด์ ทั้งในและนอกประเทศ เราพัฒนาที่ดินขึ้นมาเพื่อทำการเกษตร โดยขณะนี้ได้ปลูกพืชไปแล้วหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นยางพารา อ้อย ข้าว กาแฟ ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้ได้ผลผลิตสูงสุด มีการบริหารจัดการที่ดี ทั้งในด้านของสวน แหล่งน้ำ และการตลาด อีกทั้งยังเข้าไปส่งเสริมเกษตรกรในเครือข่ายของเรา ทำอย่างไรจะได้ผลผลิตสูงสุด ในต้นทุนที่ต่ำ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เราก้าวไปพร้อม ๆ กัน เกษตรกรอยู่ได้ เราก็อยู่ได้" นายวินิจกล่าว


เริ่มต้นสวนยางพารา-อ้อย
บริษัทเทอราโกร เริ่มต้นธุรกิจพืชสวนขนาดใหญ่ (Plantation) จากการปลูกยางพาราในปี 2547 พร้อม ๆ กับโครงการส่งเสริมการปลูกยางล้านไร่ของรัฐบาล ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางพารารวมทั้งสิ้น 56,000 ไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี, นครสวรรค์, หนองคาย, พะเยา, เชียงราย, อุดรธานี, เพชรบูรณ์, อ.ด่านซ้าย จ.เลย, อ.ปลวกแดง จ.ระยอง, ชลบุรี และปราจีนบุรี ใช้เงินลงทุนสร้างสวนยางเฉลี่ยไร่ละ 15,000 บาท ทั้งโครงการมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท ในอนาคตบริษัทวางแผนที่จะขยายพื้นที่ปลูกยางพาราให้ครบ 100,000 ไร่

"สวนยางของบริษัทเน้นพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่และเรายังได้เข้าไปส่งเสริมการปลูกยาง ในระบบคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง เพื่อรับซื้อผลผลิตป้อนโรงงานแปรรูปยาง ทั้งโรงงานผลิตน้ำยางข้น โรงงานผลิตยางแท่ง โรงงานผลิตยางแผ่นรมควัน ที่บริษัทจะลงทุนตั้งโรงงานขึ้นในอนาคต หลังจากที่ต้นยางโตพอที่จะกรีดได้ ขณะนี้เราได้เข้าร่วมกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) จัดโครงการอบรมการกรีดยางในพื้นที่ภาคเหนือ-อีสาน เพื่อเตรียมแรงงานกรีดยางไว้รองรับสวนของเราในอีก 2-3 ปีข้างหน้า" นายวินิจกล่าว

นอกจากการลงทุนทำสวนยางแล้ว ในกลุ่มพรรณธิอร ยังมีกิจการโรงงานน้ำตาลอีก 3 โรง และกำลังจะตั้งขึ้นมาใหม่อีก 2 โรง ทำให้บริษัทต้องเข้าไปส่งเสริมการปลูกอ้อยพื้นที่ 20,000 ไร่ ในระบบ Contract-farming บริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ตั้งโรงงานน้ำตาลในจังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย และอุตรดิตถ์ โดยนำเทคโนโลยีและวิทยาการเกษตรสมัยใหม่มาปรับใช้พัฒนาชลประทานอย่างเหมาะสม เช่น ระบบน้ำหยดบนดิน ระบบน้ำหยดใต้ดิน ระบบ Center Pivot และระบบ Furrow

ผลการนำเทคโนโลยีมาช่วยเหล่านี้ทำให้ได้ผลผลิตอ้อยต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น ยกตัวอย่าง อ้อยที่ปลูกในระบบ Furrow ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18 ตัน/ไร่ ส่วนอ้อยที่ปลูกในระบบน้ำหยดให้ผลผลิตเฉลี่ย 21 ตัน/ไร่ ทั้ง ๆ ที่พันธุ์อ้อยที่นำมาปลูกก็เป็นพันธุ์อ้อยที่ กรมวิชาการเกษตรแนะนำ

"ในอุตสาหกรรมอ้อยโดยทั่วไปจะมีการส่งเสริมการปลูกโดยแจกจ่ายพันธุ์อ้อยหรือที่เรียกว่า เกี๊ยวอ้อย ด้วยการจ่ายเงินให้ชาวไร่อ้อยไปก่อนเพื่อบำรุงพันธุ์อ้อย หรือ ที่เรียกว่าการปล่อยเกี๊ยว แต่บริษัทไม่ได้ปล่อยเกี๊ยวอ้อยอย่างเดียว เรายังนำระบบการปล่อยเงินกู้เพื่อการชลประทาน หรือที่เรียกว่า เกี๊ยวน้ำ เข้ามาใช้ด้วย ยกตัวอย่าง ชาวไร่อ้อยที่สนใจสร้างระบบชลประทาน น้ำหยดต้องใช้เงินลงทุนเฉลี่ยไร่ละ 11,000 บาท ส่วนการติดตั้งระบบ Furrow ใช้เงินลงทุนเฉลี่ยไร่ละ 5,000 บาท เราก็เข้ามาช่วยปล่อยเงินให้ตรงนี้ แปลงอ้อยก็จะได้รับการจัดการที่ดี ผลผลิตสูงขึ้น เราก็รับซื้อผลผลิตนั้นส่งเข้าโรงงานน้ำตาลของเราที่โรงงานน้ำตาล อุตรดิตถ์-แม่วัง-สุพรรณบุรี และยังมีแผนเปิดโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่อีก 2 แห่งที่ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และกำแพงเพชร" นายวินิจกล่าว

ทั้งนี้โมลาสที่ได้จากกระบวนการหีบอ้อยยังถูกส่งไปทำเหล้าให้กับกลุ่มบริษัทใน เครือไทยเบฟเวอเรจ และผลิตแอลกอฮอล์ของบริษัทไทยแอลกอฮอล์ จำกัด (มหาชน)


จำหน่ายพันธุ์ข้าวด็อกเตอร์
นอกจากการปลูกยางพาราและอ้อยแล้ว บริษัทเทอราโกร ยังได้เริ่มธุรกิจผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ในเนื้อที่ 15,000 ไร่ แบ่งเป็นแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในพระนคร ศรีอยุธยาประมาณ 10,000 ไร่ จังหวัดหนองคายประมาณ 2,000 ไร่ ที่เหลือกระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี พะเยา โดยธุรกิจพันธุ์ข้าวนี้จะบริหารงานภายใต้ชื่อ บริษัท ลานช้าง ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด ทำการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว เช่น ข้าวชัยนาท ข้าวปทุมธานี 1 จากกรมข้าวเพื่อนำมาส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตในระบบ Contract-farming และรับซื้อคืนเพื่อจำหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์ขยาย ในปีนี้เป็นปีแรกภายใต้เครื่องหมายการค้า "ข้าวด็อกเตอร์" ให้กับชาวนาที่สนใจ โดยตั้งเป้ายอดขายในปีนี้ไว้ที่ 3,000 ตัน

ส่วนธุรกิจที่เหลือบริษัทมีการทำสวนส้มบนเนื้อที่ 3,600 ไร่ ตั้งอยู่ใน อ.แม่จัน จ.เชียงราย ดำเนินภายใต้ชื่อบริษัทเอ็กเวิล์ด จำกัด ขณะนี้เริ่มมีผลผลิตส้มวางจำหน่ายในท้องตลาดแล้วในชื่อแบรนด์ "ส้มดอยแก้ว" โดยวางจำหน่ายส้มในห้างสยามพารากอน เดอะมอลล์ ธุรกิจนี้ถือเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่การลงทุนก็มีความเสี่ยงสูงจากปัญหาโรคระบาดเช่นกัน


ปลูกกาแฟในลาว ทำสวนปาล์มในเขมร
ทางด้านการลงทุนทำสวนเกษตรในต่างประเทศนั้น บริษัทมีการปลูกและผลิตเมล็ดกาแฟอาราบิก้า ที่เมืองปากซอง สปป.ลาว ในพื้นที่ 15,000 ไร่ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก สปป.ลาว ในนามบริษัทปากซอง ไฮแลนด์ สามารถถือครองที่ดินเป็นระยะเวลา 90 ปี ปัจจุบันสวนกาแฟถูกปลูกในเขตภูเขาระดับความสูง 1,300 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส ผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟของโลกได้มาดูสวนกาแฟของเราแล้วบอกว่า พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งปลูกกาแฟอาราบิก้าที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ปัจจุบันสวนกาแฟแห่งนี้มีอายุครบ 3 ปีแล้ว จะเริ่มเก็บผลผลิตกาแฟครั้งแรกได้ในช่วงเดือนธันวาคม 2553

ส่วนการลงทุนในกัมพูชานั้น บริษัทได้ดำเนินการตั้งบริษัทปาล์มมิลล์ ทำสวนปาล์ม น้ำมัน เนื้อที่ประมาณ 5,200 ไร่ และกำลังก่อสร้างโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มที่ เกาะกง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่จังหวัดชุมพรอีกประมาณ 1,000 ไร่แล้ว



http://www.food-resources.org/news/14/06/10/604


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/09/2011 9:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/07/2011 7:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

98. นาโนเทคโนโลยี มีอิทธิพลต่อภาคการเกษตรไทย


ปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรไทยเป็นอย่างมาก นักวิชาการ ชี้ หากช่วยกันผลักดันนำนาโนมาประยุกต์ใช้ภาคอุตสาหกรรมเกษตร เชื่อ ไทยจะกระโดดเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในลำดับต้น ๆ ของโลก

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติจัดสัมมนา นาโนเทคโนโลยีด้านการเกษตร เพื่อเพิ่มศักยภาพความรู้ให้กับผู้ประกอบการและนักวิชาการ ด้านนาโนเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันมีอิทธิพลต่อวงการธุรกิจ อุตสาหกรรมอาหาร และการเกษตรไทยทุกประเภท เพราะช่วยลดต้นทุนการผลิต ด้านวัตถุดิบ พลังงาน และลดขั้นตอนการผลิตให้น้อยลง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติดีขึ้น หากมีการนำนาโนเทคโนโลยีมาประยุกต์ผลักดันใช้ในภาคอุตสาหกรรมเกษตรไทย ไม่ว่าจะเป็น ด้านอาหารและการเกษตร อุตสาหกรรมเคมีเกษตรซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรมากมาย อาจส่งผลให้ไทยกระโดดเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในลำดับต้น ๆ ของโลกได้ คาดอีก 5 ปีข้างหน้าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนาโนทั่วโลกจะมีมูลค่ามากกว่า 40 ล้านล้านบาท. -สำนักข่าวไทย


http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/67785.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/07/2011 7:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

99 นาซาชี้อีก 20 ปี “นาโนเทค” จะครองโลก แนะไทยร่วมแชร์ด้านการเกษตร

นักวิจัยนาซาบรรยายในสัปดาห์วิทย์ 49 เชื่ออีก 20-30 ปีข้างหน้า นาโนเทคฯ จะมาแรง ประยุกต์ใช้ในศาสตร์หลายแขนง ชี้ประเทศไทยพอมีส่วนแบ่งด้านอาหาร เกษตร สิ่งทอ และชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะที่อุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์และสุขภาพดูท่าจะหมดหวัง

ดร.ธวัช วิรัตติพงศ์ นักวิจัยจากนาซา

เหลืออีกเพียง 2 วัน งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2549 ระหว่างวันที่ 11-22 ส.ค. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค กรุงเทพฯ ก็จะรูดม่านปิดฉากลง สำหรับผู้ที่ยังไม่มาร่วมงานจึงต้องรีบหน่อย เนื่องจากโอกาสชมงานกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีเนื้อหาครบถ้วนในบ้านเรามีค่อนข้างน้อย

เช้าวานนี้ (20 ส.ค.) ในบูธของศูนย์นาโนเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้เชิญ ดร.ธวัช วิรัตติพงศ์ นักวิจัยผู้จัดการฝ่ายออกแบบและติดตั้งระบบการสื่อสารบนยานอวกาศไร้คนขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) มาให้ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีแก่ผู้ร่วมงาน

เมื่อเริ่มการบรรยาย ดร.ธวัช ได้กล่าวทักทายและอวยพรให้ผู้มาร่วมฟังการบรรยายทุกคนมีสุขภาพที่ดี และมีอายุยืนยาว เพื่อมีโอกาสได้พบกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีในช่วง 20-30 ปีข้างหน้าที่จะก้าวกระโดดจากปัจจุบันมากมาย เช่นความก้าวหน้าด้านนาโนเทคโนโลยีที่ปัจจุบันมีการใช้งานบ้างแล้วในด้านเสื้อผ้าสิ่งทอคุณสมบัติพิเศษ และเครื่องสำอาง เช่น ลิปสติก และครีมทากันรังสี

ส่วนการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีในอนาคต เราอาจได้เห็นความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีชนิดนี้ไปใช้กับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ อย่างแพร่หลาย เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีความฉลาดมากกว่าปัจจุบันนับล้านเท่า, การออกแบบยานอวกาศอัจฉริยะที่คิดแก้ปัญหาได้โดยลำพัง, หรือแม้แต่การนำโลหะอนุภาคนาโนมาใช้กับการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้มีความยืดหยุ่นและรองรับแรงกระแทกได้มาก ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วจะมีความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินน้อยลง

ทั้งนี้ นักวิจัยนาซารายนี้ เผยด้วยว่า นาโนเทคโนโลยีมีหลักการพื้นฐานอยู่เพียงสั้นๆ เท่านั้นว่า “คุณสมบัติของสสารจะเปลี่ยนไปอย่างมากเมื่อขนาดของสารนั้นลดลงถึงระดับนาโนเมตร” อาทิ มีความแข็งแรงมากขึ้น นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ความสำเร็จของงานด้านนี้จะขึ้นอยู่กับว่า เราจะมีความสามารถสร้างเครื่องมือควบคุมความแม่นยำในระดับอะตอมได้หรือไม่, สามารถออกแบบ ผลิตตัวต้นแบบ และทดสอบได้หรือไม่ รวมถึงสามารถทำการผลิตระดับอุตสาหกรรมได้หรือไม่

“ส่วนประเทศไทย เราควรเลือกทำในสิ่งที่เชื่อว่าเราทำได้ และจะต้องทำให้ได้ถึงผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เช่น อาหาร ด้านสิ่งทอ เกษตรกรรมและปศุสัตว์ เครื่องสำอาง และชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะที่การผลิตในสายอิเล็กทรอนิกส์และสุขภาพค่อนข้างจะมีความเสี่ยงและต้องใช้ความระมัดระวังมาก โดยหลายชาติในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี ได้พัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ไปมากแล้ว” ดร.ธวัช กล่าวทิ้งท้าย


Ref:--> ( http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000105946 )
http://www.azooga.com/content_detail.php?cno=555


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/07/2011 7:09 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/07/2011 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

100. ซิลิกาจากแกลบ


ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีสินค้าจากภาคการเกษตรหลายชนิดติดอันดับต้นๆในตลาดโลก และหนึ่งในนั้นก็คือ “ข้าว” ซึ่งข้าวจากประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและนิยมกันมาก ด้วยคุณภาพและมาตรฐานที่ขึ้นชื่อ ทำให้ในแต่ละปีประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกข้าวเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นสินค้าอันดับหนึ่งของประเทศก็ว่าได้ ประกอบกับปริมาณความต้องการบริโภคข้าวของคนไทยเองก็มีมากเช่นกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่อุตสาหกรรมการผลิตข้าว จะเป็นอุตสาหกรรมใหญ่อีกประเภทหนึ่งที่มีวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตข้าวในแต่ละขั้นตอน โดยเฉพาะในขั้นตอนของการสีข้าวเปลือก ซึ่งจะมีแกลบเป็นวัสดุเหลือทิ้งในปริมาณค่อนข้างมาก เฉลี่ยในแต่ละปีจะมีปริมาณแกลบเหลือทิ้งถึงปีละกว่า 7 ล้านตัน

แกลบ วัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการสีข้าวเปลือกนั้น นับได้ว่าได้สร้างปัญหาให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมมาก แม้ว่าจะได้มีความพยายามที่จะนำแกลบไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล อาหารสัตว์ วัสดุปรับปรุงดิน วัสดุเพาะกล้าไม้ แต่ยังมีแกลบอีกจำนวนมากที่ต้องนำไปกำจัด ซึ่งปัจจุบันใช้วิธีฝังกลบ ซึ่งทำให้เกิดปัญหามลภาวะทั้งทางน้ำและอากาศ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้มีศึกษาองค์ประกอบและโครงสร้างของแกลบ พบว่า แกลบมีซิลิกาเป็นองค์ประกอบถึง 30% และสามารถสกัดออกมาเพื่อนำไปใช้ทดแทนซิลิกาทางการค้าได้ จากองค์ความรู้นี้นอกจากจะลดปริมาณแกลบที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับแกลบอีกด้วย เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้นำซิลิกาจากแกลบมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์วัสดุที่มีองค์ประกอบเป็นซิลิกา เช่น ซีโอไลท์ ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างซิลิกาให้มีการจัดเรียงโมเลกุลอย่างเป็นระเบียบ ประกอบด้วยรูพรุนที่มีขนาดและรูปร่างตามต้องการ ซึ่งวัสดุชนิดใหม่ที่เราเรียกว่าวัสดุนาโนนั้นจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวและมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน มีรูพรุนขนาดนาโนเมตรตามที่ต้องการ

นอกจากเทคนิคการควบคุมโครงสร้างแล้ว ก็ยังมีเทคนิคการปรับผิวสัมผัสของวัสดุนาโนให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การเพิ่ม-ลดการมีขั้ว การฝังตัวเร่งปฏิกิริยาบนผิว เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันวัสดุนาโนที่ผ่านการปรับสภาพผิว มีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยใช้เป็นวัสดุดูดซับเพื่อบำบัดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม วัสดุแลกเปลี่ยนอิออน ซึ่งงานด้านการวิเคราะห์และบำบัดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม นิยมใช้วัสดุดูดซับทางการค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ รวมมูลค่าหลายร้อยล้านบาทต่อปี ดังนั้น การผลิตวัสดุดูดซับจากซิลิกาแกลบจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดการนำเข้า และประหยัดเงินตราของประเทศได้ ดร.สิริลักษณ์ เจียรากร และคณะนักวิจัยสายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยการสนับสนุนทุนวิจัยของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการวิจัยและพัฒนาวัสดุนาโน MCM-41 จากแกลบที่เหลือใช้จากภาคการเกษตร โดยวัสดุนาโนชนิดใหม่นี้ มีโครงสร้างเป็นซิลิกอนไดออกไซด์ มีขนาดรูพรุน 3 นาโนเมตร จัดเรียงตัวลักษณะคล้ายรังผึ้ง มีพื้นที่ผิวสูง ทนความร้อนได้ดี เหมาะสำหรับใช้เป็นวัสดุดูดซับ ซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าวได้พัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับสารระเหยซึ่งเป็นมลพิษในอากาศ โดยวิธีปรับปรุงผิว ลดการมีขั้วของวัสดุ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสามารถเข้ามาปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพ หรือสังเคราะห์วัสดุใหม่ๆ ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการเพิ่มมูลค่า และช่วยลดการนำเข้าของสินค้าบางประเภทแล้ว ในอนาคตเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ก็จะถูกนำมาดัดแปลงและใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ หรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน




ข้อมูล: ดร.สิริลักษณ์ เจียรากร
เรียบเรียง: ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิชาการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
http://www.nanotec.or.th/nanotec_th/index.php?status=knowledge&s_status=k_02#


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/07/2011 9:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/07/2011 9:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

101. ประวัติการปลูกพืชไร้ดิน


การปลูกพืชไร้ดิน(hydropoincs) การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว โดยชาวไต้หวัน นำเข้ามาแนะนำให้ผู้ประกอบการคนไทยทำเป็นการค้าที่เรียกว่า "ผักลอยฟ้า" ไฮโดรโพนิคส์ เข้ามามีบทบาทเพื่อแก้ปัญหาของการปลูกพืชในดิน ซึ่งมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช รวมทั้งเชื้อโรคพืชที่อาศัยอยู่ในดิน ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและตัวเกษตรกรผู้ปลูก นอกจากนี้การปลูกพืชในดินยังต้องใช้น้ำมาก ถ้าปราศจากแหล่งน้ำก็ก่อให้เกิดปัญหาในการเพาะปลูกอีกการปลูกพืชในดินต้องมีการเตรียมดิน ปรับสภาพดิน และต้องใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ตามอายุพืช "ไฮโดรโพนิคส์" จึงเป็นระบบการปลูกพืชที่เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไฮโดรโพนิคส์ก็เหมาะสมสำหรับพืชบางชนิดเท่านั้น ไฮโดรโพนิคส์ เป็นการปลูกพืชไร้ดิน ในรูปแบบของการปลูกพืชให้รากพืชแช่อยู่ในน้ำ หรือสารละลายธาตุอาหารพืช


เทคโนโลยีการเกษตร การปลูกพืชไร้ดิน
การปลูกผักอนามัยในสารละลายธาตุอาหาร" ว่า การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน หรือ Soilless culture เป็นการปลูกผักโดยให้รากอยู่ในวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดิน ได้แก่ การปลูกให้รากแช่อยู่ในน้ำ (water culture หรือ hydroponics) ปลูกให้รากอยู่ในอากาศ (aeroponics) และปลูกให้รากอยู่ในวัสดุปลูกอื่น ๆ (substrate culture) ได้แก่ วัสดุอินทรีย์ เช่น ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ ขี้เลื่อย วัสดุผสมต่าง ๆ และวัสดุอนินทรีย์ เช่น ทราย กรวด ฟองน้ำ ใยหิน (rock wool) เพอไลท์ (perlite) และเวอร์มิคูไลท์ (vermiculite) เป็นต้น ซึ่งการปลูกในวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดินเหล่านี้ ต้องให้สารละลายธาตุอาหารแก่พืชอย่างพอเหมาะและต่อเนื่อง จึงจะทำให้พืชเจริญเติบโต การปลูกผักในลักษณะนี้ ถือเป็นการปลูกพืชแบบไร้ดิน (Soilless culture) อีกวิธีหนึ่งการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืชมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน วิธีที่ง่ายและสะดวก เป็นที่นิยมกันมี 2 วิธี คือ

- การปลูกพืชในสารละลายแบบไม่ไหลเวียน เป็นการปลูกแบบให้รากแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่มีเครื่องพ่นอากาศ เป่าอากาศลงในสารละลายนั้น การปลูกในระบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายมาก เหมาะสำหรับปลูกในครัวเรือน เป็นงานอดิเรก หรือเป็นงานทดลองภาชนะที่ปลูกอาจจะเป็นภาชนะเดี่ยวหรือเป็นกระบะรวม การปลูกในภาชนะเดี่ยวมีข้อดี คือ ไม่ต้องเสี่ยงกับความเสียหายทั้งหมด ในกรณีที่มีโรคติดมากับรากพืชที่ปลูก ความเสียหายจะเกิดเฉพาะต้นที่เป็นโรคเท่านั้นและการเคลื่อนย้ายภาชนะปลูกสามารถทำได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ อาจต้องสิ้นเปลืองแรงงานมากกว่า

- การปลูกในสารละลายแบบไหลเวียน (Nutrient Flow Tecnnique หรือ NFT) เป็นวิธีให้รากแช่อยู่ในสารละลายที่ไหลเวียนภายในภาชนะปลูกรวม โดยใช้ปั๊มทำการผลักดันให้สารละลายเกิดการไหลเวียน มี 2 แบบ คือ แบบสารละลายไหลผ่านรากพืชเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ตามความลาดชันของรางปลูก (Nutrient Flow Tecnnique) และระบบสารละลายไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่อง (Natrient Flow Tecnnique) การปลูกในระบบนี้ สารละลายธาตุอาหารที่ไหลผ่านรากพืชจะไหลลงสู่ถังภาชนะบรรจุ แล้วถูกสูบด้วยปั้มน้ำขึ้นมาให้พืชได้ใช้ใหม่ โดยวิธีนี้จะสามารถใช้ประโยชน์จากสารละลายธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำสารละลายธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีที่ประหยัด และไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากสารละลายเหลือใช้ แต่ข้อเสียของระบบนี้คือ ถ้าเกิดโรคที่ติดมากับรากพืช จะทำให้แพร่กระจายได้มากและรวดเร็ว จากการที่รากแช้อยู่ในสารละลายเดียวกัน ซึ่งยากที่จะกำจัด หรือรักษาให้หายได้ การแพร่ระบาดของโรคอย่างรุนแรงทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกไว้ทั้งหมด


ข้อดีและข้อเสีย
การปลูกพืชโดยไร้ดินได้รับการพัฒนาในต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการปลูกพืชในโรงเรือนโดยการใช้ดินที่มีความยุ่งยากและสิ้นเปลืองแรงงานในการปฏิบัติและเสี่ยงต่อการระบาดของโรค-แมลง ดังนั้นการปลูกพืชโดยไร้ดินนี้จึงอาจไม่ได้มีประโยชน์หรือเกิดผลดีต่อการปลูกพืชในสถานการณ์อื่น ๆ เสมอไป จึงควรต้องพิจารณาแล้วแต่ความจำเป็นและเหมาะสมกับสภาพปัญหาในแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตามการปลูกพืชโดยไร้ดินโดยทั่วไปก็มีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง ดังต่อไปนี้

ข้อดี
• เป็นระบบที่ช่วยให้สามารถปลูกพืชในแหล่งที่ดินอาจไม่เหมาะแก่การปลูกพืชหรือขาดน้ำได้
• เป็นระบบที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เพราะได้รับน้ำและอาหารอย่างพอเพียงและตลอดเวลา
• เป็นระบบที่สามารถให้จำนวนต้นต่อพื้นที่ได้มาก ทำให้ประหยัดพื้นที่และยังได้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูง
• เป็นระบบที่ให้ผลผลิตที่สะอาด เนื่องจากไม่มีการใช้ดิน สามารถลดขั้นตอนการทำความสะอาดที่ทำให้ผลผลิต ต้องโดนน้ำและมีโอกาสเน่าเสียได้
• เป็นระบบที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือลดการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ ทำให้ผลผลิตปลอดภัยต่อสารเคมีตกค้าง
• เป็นระบบที่ไม่ต้องมีการเตรียมดิน ใส่ปุ๋ย ฉีดยา ทำให้ประหยัดค่าแรงงานและเวลา

ข้อเสีย
• เป็นระบบที่ต้องลงทุนสูง เพราะต้องการวัสดุอุปกรณ์เฉพาะหลายอย่างในตอนเริ่มต้น
• เป็นระบบที่ต้องพึ่งพาพลังงาน เช่น พลังงานไฟฟ้าตลอดเวลา ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงและหากไฟฟ้าขัดข้องเป็น เวลานานเกินไปและไม่ มีระบบไฟฟ้าสำรอง จะทำให้พืชขาดน้ำและตาย
• เป็นระบบที่ต้องการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดและต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ในการดูแล รักษาระบบจึงจะประสบความสำเร็จ



ประโยชน์ของการปลูกพืชไร้ดิน
1. ช่วยป้องกันมลพิษที่จะบังเกิดขึ้นแก่พื้นดินจากสารเคมี เช่น ปุ๋ยยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารปราบวัชพืช

2. ช่วยประหยัดปุ๋ย เพราะการใส่ปุ๋ยลงในดินโดยตรง ย่อมมีส่วนที่สูญเสียไปกับดินอย่างเปล่าประโยชน์ และยังมีผล ทำให้คุณสมบัติของดินเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติอีกด้วย

3. ช่วยประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่ายในด้านเครื่องมือกล

4. เป็นระบบที่ประหยัดน้ำในการปลูกพืชน้ำที่เก็บไว้ในภาชนะปลูกจะถูกใช้ไปในการเจริญเติบโตของพืช อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีทางรั่วไหลน้อยที่สุด

5. สามารถควบคุมการเจริญเติบโต การออกดอกออกผลของพืชให้เป็นไปตามเวลาที่ต้องการได้

6. ใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกน้อยแต่ได้ผลผลิตสูง

7. พืชผักที่ปลูกโดยวิธีนี้จะสด สะอาด มีแร่ธาตุสูง และไม่มีพิษตกค้างจากสารฆ่าแมลงข้อดีและข้อจำกัดของการปลูกพืชไร้ดิน




จัดทำโดยครู วรกฤษณ์ บุญทวิโรจน์
โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/warakirt_b/pehlidin/sec01p04.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/07/2011 9:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

102. สกัดสาหร่ายกำจัดวัชพืช ประยุกต์ทำความสะอาดตู้ปลา

ทีมนักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สกัดสารจากสาหร่ายใช้กำจัดวัชพืชแปลงเกษตร สามารถประยุกต์ใช้กำจัดตะไคร่น้ำในตู้ปลาได้ด้วย คาดไม่เกิน 2 ปีพร้อมใช้งาน

โครงการดังกล่าวดำเนินการศึกษาโดย ผศ.ดร.สุนีรัตน์ เรืองสมบูรณ์ อาจารย์จากภาควิชาวิทยาศาสตร์การประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

“สาหร่ายที่นำมาใช้สกัดมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากหาได้จากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือในทะเล ไม่ว่าจะเป็นสาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้ำตาล หรือสาหร่ายสีแดง ใช้เวลาสกัดระยะสั้น เนื่องจากวงจรสาหร่ายจะเกิดทุก 15 วัน ต่างจากพืชที่มีฤทธิ์กำจัดวัชพืช ต้องใช้เวลาเพาะปลูกนาน 6-7 เดือน” นักวิจัย กล่าว

ก่อนหน้านี้เคยมีงานวิจัยการออกฤทธิ์กำจัดศัตรูพืชของสาหร่ายมาแล้ว แต่ยังไม่มีงานวิจัยเชิงลึกเพื่อศึกษาปริมาณการออกฤทธิ์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพืชที่เพาะปลูก

นักวิจัยทดลองนำสาหร่ายชนิดต่างๆ แช่น้ำทิ้งไว้ 2-3 วัน จากนั้นนำน้ำสาหร่ายไปคลุกเคล้ากับดินเพื่อเตรียมดิน และทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้สารสกัดที่คลุกเกิดการเจือจางก่อนนำไปปลูกต้นไม้ต่อไป

จากการทดสอบพบว่า เมื่อนำดินที่เตรียมไว้ไปปลูกต้นไม้ ไม่เพียงแต่สารสกัดสาหร่ายหยุดการเติบโตของวัชพืชเท่านั้น ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของพืชเกษตรด้วย อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยต้องคำนวณค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่เหมาะสมต่อชนิดพืช เพราะความเข้มข้นที่มากเกินไปอาจส่งผลให้พืชไม่เติบโต หรือตายได้

ปัจจุบัน นักวิจัยอยู่ระหว่างศึกษาหาสารเคมีสำคัญที่ออกฤทธิ์ โดยทีมนักวิจัยจากภาควิชาเคมี และภาควิชาพืชสวน เป็นผู้รับเทคโนโลยีไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์กำจัดวัชพืชที่พร้อมจะใช้งานได้จริงทั้งกลุ่มเกษตรพืชไร่ พืชสวน และนาข้าว

นอกจากนี้ สารสกัดที่ได้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตู้ปลาสวยงาม เพื่อกำจัดตะไคร่น้ำได้ด้วย เพียงนำสารสกัดที่ได้ไปหยดใส่ในตู้ปลา ระหว่างนี้ทีมวิจัยกำลังศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมกับปลาแต่ละชนิด ได้แก่ ปลาทอง ลูกปลานิล ลูกปลาดุก และลูกปลาตะเพียน

การศึกษาและพัฒนาสารสกัดสาหร่าย เพื่อใช้กำจัดวัชพืชและตะไคร่น้ำในตู้ปลาสวยงาม ได้ทุนการวิจัยจากภาควิชาวิทยาศาสตร์การประมง เป็นทุนเริ่มต้น และมีทีมวิจัยจากภาควิชาเคมีและภาควิชาพืชสวนเข้ามาช่วยในการพัฒนาร่วมกัน โดยปัจจุบันโครงการเดินหน้าไปแล้ว 40% และอยู่ระหว่างการศึกษาค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมกับพืชและปลาแต่ละชนิด คาดว่าจะใช้เวลาต่อจากนี้ประมาณ 2 ปีในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมใช้เพื่อเกษตร


http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=3525&Key=hotnews
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/07/2011 7:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

103. วิจัยโซลาร์เซลล์จากแก้วมังกร พลังงานต้นทุนต่ำ ในพื้นที่การเกษตร




ศูนย์นาโนเทคพัฒนาตัวเคลือบแผงโซลาร์เซลล์จากผักผลไม้ ทดแทนสีเคลือบสังเคราะห์ราคาแพง พบแก้วมังกรประสิทธิภาพดูดซับแสงอาทิตย์ดีสุด อีกทั้งกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน ความหวังพลังงานทางเลือกต้นทุนต่ำในพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ที่มีของเหลือทางการเกษตร

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายอานนท์ จินดาดวง ผู้ช่วยนักวิจัยห้องปฏิบัติการอุปกรณ์นาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ทีมงานศึกษาหาสารไวแสงหรือสารเคลือบ จากธรรมชาติ สำหรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง เพื่อทดแทนสีสังเคราะห์ที่ราคาแพง และพบว่าสารละลายจากแก้วมังกรมีประสิทธิภาพสูง ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

“อิเล็กโทรดของโซลาร์เซลล์ชนิดสีย้อมไวแสงที่เป็นกระจกรับแสงนั้น ปกติจะย้อมด้วยสีสังเคราะห์จากสารรูทีเนียม ซึ่งมีราคาสูง ต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง ก็มีหลักการทำงานคล้ายคลึงกับการสังเคราะห์แสงของพืช นักวิจัยจึงสนใจหาตัวสีย้อมจากพืชผักในธรรมชาติ เพื่อทดแทนแทนสีสังเคราะห์" นายอานนท์กล่าวในงานสัมมนา นาโนไทยแลนด์ ซิมโพเซียม 2008

ทีมวิจัยได้ศึกษาหาสารเคลือบในผัก ผลไม้และดอกไม้ที่มีสี ไม่ว่าจะเป็น มะละกอ แก้วมังกร ใบบัวบก กะหล่ำปลีม่วง มะเขือเทศ ดอกอัญชันและดาวเรือง มาสกัดเอาสีด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้ตัวทำละลาย จากนั้นแยกเนื้อออกไป ก็จะได้สารละลายจากพืชเหล่านั้นมาทำสีย้อมสำหรับโซลาร์เซลล์ จากการทดสอบประสิทธิภาพด้วยเครื่องวัดกระแสและศักย์ พบว่าสารละลายจากแก้วมังกรให้ประสิทธิภาพดีที่สุดที่ 1% ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

สำหรับประสิทธิภาพเพียง 1% อาจจะดูด้อยลงเมื่อเทียบกับผลวิจัยอื่นของศูนย์นาโนเทค ที่พัฒนาโซลาร์เซลล์ชนิดสีย้อมไวแสงจากสารรูทีเนียมได้ประสิทธิภาพ 10-11% ใกล้เคียงกับโซลาร์เซลล์ราคาแพงที่ทำจากซิลิกอน แต่ตัวเคลือบจากแก้วมังกรมีจุดเด่นที่ต้นทุนต่ำ กระบวนการทำไม่ซับซ้อน จึงเหมาะกับพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่มีของเหลือทางการเกษตร

ก่อนหน้านี้ศูนย์นาโนเทคและศูนย์โซลาร์เทค สวทช. ได้ร่วมกันพัฒนาเซลล์ย้อมสีไวแสง ที่มีประสิทธิภาพเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 10.4% ในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่าห้องปฏิบัติการเซลล์แสงอาทิตย์ย้อมสีไวแสงชั้นนำของโลก (ขณะที่เซลล์แสงอาทิตย์ทั่วไปที่ใช้ทั่วไปมีประสิทธิภาพราว 5%) โดยมีเป้าหมายที่พัฒนาต่อไปให้ได้ถึง 12% ภายใน 4 ปีข้างหน้า และสามารถผลิตใช้งานได้จริงในระดับอุตสาหกรรม

นอกจากงานวิจัยตัวเคลือบจากสารธรรมชาติของศูนย์นาโนเทคแล้ว ก็มีผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่วิจัยแบ่งสีธรรมชาติเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสีรวมของพริก (สีแดง) แครอท (สีส้ม) มังคุด (สีม่วง) และสะเดา (สีเขียว) กลุ่มสีเขียวล้วนจากสาหร่ายสไปรูลิน่า ฟ้าทลายโจร ดอกปีบและดอกอัญชัน แต่ผลที่ได้จากทั้ง 2 กลุ่มสีธรรมชาติพบว่า การนำมาย้อมเพื่อทำเป็นโซลาร์เซลล์ สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ต่ำกว่า 0.1%


ขอบพระคุณข้อมูลจาก คมชัดลึกออนไลน์
http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=977.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/07/2011 7:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

104. นาโนเทคจับมืออภัยภูเบศร พัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนสมุนไพรไทย


ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดพิธีลงนามความร่วมมือกับ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อต่อยอดผลงานวิจัยของโครงการโปรแกรมวิจัยร่วมด้านนาโนเวชสำอางสมุนไพรไทย ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดตัวผลงานวิจัยต้นแบบในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 5 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3-5 กันยายน ศกนี้ โดยใช้นาโนเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบสมุนไพรไทย

การร่วมมือกันระหว่างศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติและมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ถือว่าเป็นโครงการนำร่องในการใช้ทรัพยากรที่เป็นจุดแข็งของทั้งสองฝ่าย เพื่อช่วยพัฒนาให้เกิดเป็นนวัตกรรมด้านนาโนเวชสำอางสมุนไพรไทยที่ยั่งยืนในอนาคต

ดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าความร่วมมือระหว่างศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติและมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทย ทั้งในรูปยาสมุนไพร เครื่องสำอางสมุนไพร และอาหารเสริมสมุนไพร อีกทั้งสถิติการส่งออกเครื่องสำอางของไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกกว่า 50,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการร่วมมือกันในโครงการนี้ จะส่งผลให้งานวิจัยพัฒนาสมุนไพรโดยใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้ง เป็นการเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการเป็นผู้นำด้านเวชสำอาง และผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการต่อยอดการวิจัยพัฒนาในโครงการโปรแกรมร่วมด้านนาโนเวชสำอางสมุนไพรไทยซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้อย่างแน่นอน

ศ.ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เล็งเห็นถึงคุณค่า และประโยชน์ของสมุนไพรไทย ในด้านของการรักษา และการบำรุงร่างกาย ในขณะที่การเจิรญเติบโตทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางไทยสูงขึ้นทุกปี

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงได้มีนโยบายจัดตั้งเป็นโครงการโปรแกรมในการวิจัยร่วมด้านนาโนเวชสำอางสมุนไพรไทยขึ้น โดยพัฒนากระบวนการวิจัยอย่างครบวงจร เพื่อให้งานวิจัยเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำผลงานวิจัยส่งให้ ภาคเอกชนนำไปผลิตและจัดจำหน่าย และสร้างรายได้ให้กับประเทศ

“ดังนั้นศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงร่วมมือกับภาคเอกชน ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตสู่ระดับอุตสาหรรม โดยมี มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตเครื่องสำอางสมุนไพรที่มีชื่อเสียง มาร่วมกันนำงานวิจัย ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและผลิตในเชิงพาณิชย์” ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทค กล่าว

ดร. ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ผู้ริเริ่มโครงการนี้ กล่าวว่า ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้มีแผนแม่บทศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2550-2554 และแผนกลยุทธ์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2550-2556 เป็นแนวทางในการวิจัยและพัฒนา หนึ่งในแผนแม่บทและแผนกลยุทธ์นั้น ได้มุ่งเน้นในเรื่องระบบนำส่งยาและสารสกัดสมุนไพร และจากการที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้มีการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยทั้ง 5แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยมหิดล ส่งผลให้ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ คาดหวังว่าจะได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่สามารถนำไปต่อยอดการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง จึงได้ประสานงานและติดต่อกับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในฐานะผู้นำในการพัฒนาและผลิตเครื่องสำอางโดยใช้สมุนไพรเป็นหลักที่มีศักยภาพในการผลิตและจัดจำหน่วยผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพร จนเป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มศักยภาพการผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากโครงการโปรแกรมการวิจัยร่วมด้านนาโนเวชสำอางสมุนไพรไทย ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและสามารถนำออกสู่ท้องตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยด้วยนาโนเทคโนโลยีให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลด้วย

ดร. ธีระชัย กล่าวว่า ผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากโครงการโปรแกรมการวิจัยร่วมด้านนาโนเวชสำอาง ได้แก่ สมุนไพรพริก โดยใช้เทคโนโลยี Nano Encapsulation ที่ช่วยควบคุมอัตราการปลดปล่อยของสารเผ็ดในพริก และรักษาคุณสมบัติของสารให้คงทนและมีประสิทธิภาพ ทำให้ตัวยาสามารถซึมสู่ผิวได้เร็ว แก้เคล็ดขัดยอก และฟกช้ำ

สำหรับแนวทางในการพัฒนานาโนเทคโนโลยีของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ จะมุ่งไปที่อุตสาหกรรมอาหาร และบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มอาหาร เพื่อไม่ให้อาหารเน่าเสีย และยังคงรสชาติเดิม ซึ่งจะต้องมีการทดสอบหลายด้านทางด้านความปลอดภัย Sensibility และ Orientation Test ก่อนที่จะผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ รวมทั้งทางด้านพลังงาน Bio Medical Engineering โดยใช้ Nano Catalyst เพื่อกลั่นไบโอดีเซลให้ได้มากที่สุด ขณะนี้ทางศูนย์ฯกำลังศึกษาอยู่ ส่วน Fuel Cell ใช้นาโนเทคโนโลยีในการพัฒนาให้เกิดปฏิกิริยาเคมี-ไฟฟ้า ระหว่างออกซิเจนกับไฮโดรเจน ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นพลังงานไฟฟ้าเร็วมากขึ้น

ปัจจุบันศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติมีจำนวนนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยรวมทั้งสิ้น 100 คน แบ่งเป็นนักวิจัย 50 คนและผู้ช่วยนักวิจัย 50 คน เนื่องจากทางศูนย์ฯเพิ่งก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2545 ทั้งนี้ หากมีนักวิจัยเพิ่มขึ้นเป็น 100 คน จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีได้หลายเท่าตัว


http://www.engineeringtoday.net/news/newsview.asp?id=1627


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/07/2011 9:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/07/2011 11:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

105. 10 พันธุ์พืชที่หายากที่สุดในโลก

ตอนนี้นำเสนอภาพ ของพันธุ์ไม้ที่หายากที่สุดในโลก และใกล้สูญพันธุ์เต็มที ภาพชุดที่พบในเว็บมานั้นไม่มีเรื่องประกอบเลย ผมเลยค้นคว้ามาเพิ่มเติมให้ได้อ่านประดับความรู้กัน แต่ด้วยความที่มันหายากนี่เอง การค้นคว้าก็หายากไปด้วยเช่นกัน บางต้นก็หารายละเอียดไม่ได้เลย หรือบางต้นก็เป็นพันธุ์ที่อยู่ใน Species เดียวกัน ก็พอจะให้ความกระจ่างได้ส่วนหนึ่งครับ อาจไม่สมบูรณ์นัก แต่อย่างน้อย ก็พอได้เห็นหน้า ค่าตาของมัน ก่อนที่จะสูญพันธุ์หรือมีแนว โน้มใกล้จะสูญพันธุ์ ในอนาคตอันใกล้ ถ้าสาเหตุที่ทำให้ประชากรของพืช ชนิดนี้ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่องยังมีต่อไป ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากถิ่นอาศัยตามธรรมชาติลดลง เช่นการระเบิดเขาหินปูนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือการทำเหมือง การนำออกจากถิ่นอาศัยตามธรรมชาติเพื่อการค้าเป็นจำนวนมากเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้พืชหลายชนิดลดจำนวนลงอย่างมาก






1. Amorphophallus titanum ( titan arum) มีขนาดดอกใหญ่ที่สุดในโลกอย่างหนึ่ง รองจากดอกบัวผุด ภายในโคนดอก ประกอบด้วยดอกเล็กๆ จำนวนมากอยู่ภายใน โดยดอกตัวผู้อยู่ด้านบนของดอกตัวเมีย กล่าวได้ว่าดอก Titan Arum เป็นดอกรวมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ดอกเดี่ยวใหญ่ที่สุดในโลก คือดอกบัวผุด) มีต้นใบเดี่ยวใหญ่มากเช่นกัน ดอกของมันจะสูงถึง 3 เมตร กลีบของดอกไม้ศพด้านนอกเป็นสีเขียว ส่วนด้านในเป็นสีแดงอมม่วง มีช่อดอกสูงชะลูดห่อหุ้มเกสร ดอกที่ทั้งใหญ่และเหม็นมากนี้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ดอกไม้ศพ

Amorphophallus titanum เป็นพืชในเขตป่าร้อนชื้น ในพืชตระกูล "บัวผุด" (Rafflesia) เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร เรียกว่าสูงกว่าคนเสียอีก เป็นธรรมชาติที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด ขณะเดียวกัน กลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่ว กลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวาน และผสมเกสรให้มัน กล่าวกันว่ากลิ่นของดอก Amorphophallus titanum คล้ายกับเนื้อเน่าสำหรับคน แต่กลับเป็นกลิ่นหอมยั่วน้ำลายแมลงเต่าที่ชอบกินของเน่าและแมลงวันให้มาช่วย ผสมเกสร กลีบดอกสีแดงเข้มยังช่วยลวงตาให้สัตว์นึกว่าเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่น่าตอม ด้วย

Titan Arum หรือ บุกยักษ์ มีถิ่นกำเนิดเพียงแห่งเดียวในโลก ในป่าดิบชื้นพื้นล่างในเกาะสุมาตราตอนกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus titanum อยู่ในวงศ์ Araceae ชื่อวิทยาศาสตร์แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า ต้น "ลึงค์ยักษ์แปลง" คือแปลงกายให้เหมือนลึงค์แต่ไม่ใช่ลึงค์ ในเมืองไทย มีสวนนงนุชได้นำเข้ามาจากสวนพฤกษศาสตร์โบกอร์ (Bogor the botanic garden) ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อมาทดลองปลูกภายในสวนเมื่อห้าปีก่อน แต่หลังจากบุกยักษ์ออกดอกเป็นครั้งแรกแล้ว นักพฤกษศาสตร์ไม่อาจตอบได้ว่า อีกกี่ปีบุกยักษ์ต้นนั้นจึงจะออกดอกอีกครั้งหนึ่ง

---------------------------------------------------------------------------------------------------






2. Dracunculus vulgaris ต้นและใบลายๆ คล้ายต้นบุกของเราแต่เป็นคนละสายพันธุ์ มีอีกชื่อว่า Voodoo Lily หรือ Dragon Lily เป็นดอกไม้ รูปทรงแปลกๆ อย่างกับใบไม้ยักษ์

--------------------------------------------------------------------------------------------------------




3. Nepenthes Tanax เป็นพวกหม้อข้าวหม้อแกง พันธุ์หนึ่ง หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes) เป็นพืชกินแมลงประเภทหนึ่ง เนื่องจากเราสามารถพบเห็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงได้ไม่ยากนัก ประกอบกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีสายพันธุ์ (Species) อยู่ประมาณ 90 กว่าชนิด ทั่วโลก ตามเขตโซนร้อนทั่วไป โดยเฉพาะบนเกาะบอร์เนียวพบถึง 30 กว่าชนิด

ส่วน ที่เป็นหม้อ(Pitcher) ของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง คือ เครื่องมือหรือกับดักที่ใช้หลอกล่อ เหยื่อที่เป็นสัตว์ หรือแมลง สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ให้เดินเข้าหากับดัก โดยอาศัยกลิ่นเลียนแบบของเหยื่อ ที่อาจเป็น น้ำหวาน กลิ่นแมลงตัวเมีย หรือสีสันที่สะดุดตาบวกกับกลิ่นที่เย้ายวนเร้าใจ ที่จะเป็น เครื่องดึงดูดเหล่าสัตว์หรือแมลงทั้งหลาย มาสู่กับดักมรณะนี้ ด้านในและใต้ส่วนที่งุ้มโค้งของปากหม้อ (peristome หรือ lip) เป็นส่วนที่สร้างน้ำหวาน เมื่อเหยื่อหลงเข้ามาตอมน้ำหวานบริเวณปากหม้อที่ถูกเคลือบด้วยสารที่มี ลักษณะมันลื่น ประกอบกับผิวเป็นคลื่นตามแนวลงภายในหม้อ เหยื่อจึงมีโอกาสลื่นพลัดตกลงไป ในหม้อ ได้อย่างง่ายดาย และภายในหม้อจะมีน้ำย่อยอยู่

----------------------------------------------------------------------------------------------------






4. Aigrette มีฉายานกกระสา มีลักษณะต้นและดอกคล้ายดอกหญ้า เพราะดอกของมันดูคล้ายฝูงนกที่กำลังโบยบิน

------------------------------------------------------------------------------------------------------





5. Venus flytrap ฉายาเทพธิดาดักแมลง เป็นพวกพืชกินแมลง ต้นนี้มีสีสันสวยงามกว่าพันธุ์อื่น เมืองไทยเราเรียก กาบหอยแครง เจ้า venus flytrap นี้ ต้นกำเนิดของมันอยู่ที่อเมริกาเท่านั้น และจะพบมันได้ใน 2 รัฐเท่านั้น คือทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ North carolina และทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐ south carolina เท่านั้น venus flytrap จะมีการพักตัวด้วยเมื่อถึงฤดูหนาว วิธีการดักแมลงกันของมัน จะใช้บริเวณกาบนี่แหละที่จะงับแมลงได้ เมื่อแมลงบินมาเกาะที่กาบเพื่อกินน้ำหวานที่ผลิตออกมาจากต่อมน้ำหวาน ขณะที่มันกำลังเพลิดเพลินกับการบริโภคอยู่นั่นเอง ตัวของมันก็จะบังเอิญไปสัมผัสกับขนเล็กๆ ที่อยู่บริเวณด้านในกาบ ในเวลาไม่ถึงวินาที กาบก็จะปิดลงทันที เมื่อแมลงยิ่งดิ้นกาบก็จะงับแน่นขึ้น แน่นขึ้น หลังจากหุบไปหลายวัน เพื่อย่อยเหยื่อ แล้วเจ้ากาบใบนั้นก็จะค่อยๆ เปิดออกเพื่อต้อนรับแมลงตัวใหม่ที่จะมาเยือนอีกครั้ง venus flytrap เป็นที่นิยมมากในหมู่นักเล่นไม้กินแมลงเมืองไทย

----------------------------------------------------------------------------------------------





6. Drosera capensis เป็นพันธุ์หนึ่งของไม้ประเภท หยาดน้ำค้าง เพราะที่ขนบนใบจะมีตุ่มอยู่บนยอดคล้ายน้ำค้างเกาะ ที่เมืองไทยเราพอมีเลี้ยงกันอยู่จะเป็น species - Drosera binata ที่เรียกกันว่า "หยาดน้ำค้างใบส้อม" หรือ “หยาดน้ำค้างเขากวาง” มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และสามารถทนอุณหภูมิได้ค่อนข้างสูง จนนิยมจัดไว้ในกลุ่มไม้เมืองร้อน โดยไม่ทิ้งใบเลยทั้งปี

------------------------------------------------------------------------------------------------





7. Rafflesia arnoldii ถือได้ว่าเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 70-80 เซนติเมตร เป็นกาฝากชนิดหนึ่งที่อาศัยกินน้ำเลี้ยงจากรากและลำต้นของไม้เถาที่ชื่อว่า ย่านไก่ต้ม ( Tetrastigma papillosumplanch ) จะโผล่เฉพาะดอก ซึ่งเป็นดอกเดี่ยวสีแดงคล้ำหรือน้ำตาลปนแดงคล้ำ ขึ้นมาจากพื้นดินในระหว่างฤดูฝนหรือในระยะที่อากาศและพื้นดินยังมีความชุ่ม ชื้นสูงคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ยามที่มันออกดอกสีปูนแดงสดใสอยู่กลางป่าดิบเขียวชอุ่มนั้น ถือเป็นภาพที่น่าตื่นตามาก บัวผุดหรือที่ชาวบ้านทางภาคใต้ของไทยเรียกว่า "บัวตูม" จริงๆแล้วเป็นพืชกาฝาก ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยอาศัยอยู่ในรากและลำต้นของเถาไม้เลื้อยวงศ์องุ่นป่า ชื่อ "ย่านไก่ต้ม" โดยบัวผุดจะอาศัยดูดกินแร่ธาตุและน้ำจากย่านไก่ต้ม โดยต้นแม่ก็ยังคงมีชีวิตอยู่ พวกเราจะเห็นบัวผุดได้ก็เฉพาะยามเมื่อมันต้องการผสมพันธุ์กัน คือ จะเริ่มมีตาดอกเป็นปุ่มกลมเล็กๆ โตขึ้นที่ผิวของย่านไก่ต้ม แล้วใช้เวลา 9 เดือน ขยายขนาดจนเท่ากับหัวกะหล่ำยักษ์ จากนั้นก็ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน ในรอบปีให้ดอกบาน ทว่าดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่ จึงต้องได้เวลาเหมาะเหม็งมากในช่วงเวลาบาน แมลงวันจึงจะช่วยผสมเกสรให้ได้ จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการสูญพันธุ์

ใน เมืองไทยจะพบบัวผุดได้ตั้งแต่คอคอดกระ จังหวัดระนอง เรื่อยลงไปตามแนวเทือกเขาภูเก็ต จนสุดชายแดนที่นราธิวาส โดยอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งชมบัวผุดแหล่งใหญ่ที่สุด มีบัวผุดทยอยบานให้ชมทั้งปี แต่เป็นที่นิยมไปชมกันมากในฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน- เมษายน เพราะเดินป่าง่าย แต่เขาสกก็ได้ผ่านบทเรียนอันเจ็บปวดมาแล้วจากอดีต ในการสูญเสียบัวผุดที่ควนลูกช้าง เพราะในอดีตยังขาดความเข้าใจในชีวิตอันเปราะบางของมัน จึงมีผู้แห่กันไปชมบัวผุด โดยมีการเหยียบย่ำเถาย่านไก่ต้ม เหยียบย่ำดอกอ่อน และเหยียบย่ำตาดอกขนาดเล็กที่เพิ่งผุดขึ้นมา (โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์) ทั้งนี้เพื่อเข้าไปชมและถ่ายรูปกับดอกบัวผุดให้ใกล้ชิดที่สุด ส่งผลให้บัวผุดตาย และสาบสูญไปจากควนลูกช้าง แม้ปัจจุบันบัวผุดบริเวณกิโลเมตรที่ 111 และที่เขาสองน้องก็มีจำนวนดอกลดน้อยลง และขนาดดอกในรอบ 2 ปี (พ.ศ. 2545-2546) ที่ผ่านมาก็เล็กลงจนน่าตกใจทีเดียว อุทยานแห่งชาติเขาสก และทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นความเร่งด่วนของสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ออกมาตรการป้องกันรักษาดอกบัวผุด โดยออกสำรวจ เมื่อพบดอกใกล้บานจะทำการล้อมรั้ว ติดป้ายห้ามเข้าใกล้ดอก และสร้างสะพานไม้ยกระดับให้ยืนชมดอกอยู่ห่าง ๆ บนสะพานไม้ ไม่ให้มีการลงไปเหยียบย่ำพื้นดินหรือเถาย่านไก่ต้มอีกต่อไป นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านเป็นไกด์ท้องถิ่นพานักท่องเที่ยวเข้าชมบัว ผุด เพื่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอันจะนำมาซึ่งความรัก ความเข้าใจ ความหวงแหน และการอนุรักษ์แหล่งชมดอกบัวผุดได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

----------------------------------------------------------------------------------------------





8. Tacca chantrieri เป็นไม้จำพวก Black Lily ที่เรามาประดับบ้าน มีชื่ออื่นๆอีกเช่น ว่านหัวฬา ว่านพังพอน (ยะลา) ว่านนางครวญ (นครศรีธรรมราช) และค้าวคาวดำ ลำต้น เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก ขอบขนานแผ่ใบกว้าง 7-15 เซนติเมตร ยาว 20-60 เซนติเมตร ปลายและโคนแหลม ก้านใบค่อนข้างเล็ก กลม ยาวประมาณ 1 คืบ เส้นใบคล้ายใบกล้วย แต่ร่องลึกและแคบกว่า ดอกมีสีม่วงดำคล้ายหัวค้างคาว กลีบเหมือนหูโตๆ ใบประดับกลมยาวเหมือนหนวดแมว สีม่วงดำ 10-25 เส้น เกิดในป่าดงดิบชื้น สูง 500-1500 เมตร

-------------------------------------------------------------------------------------------------





9. Strangler fig คือกาฝากชนิดหนึ่ง เป็นไม้เถาวัลย์อาศัยดูดซับสารอาหารจากต้นไม้อื่นและเจริญเติบโตขึ้นอย่าง ช้าๆ เหมือนกาฝาก แต่ขนาดใหญ่กว่ามาก พอๆกับต้นที่มันเกาะอาศัยอยู่ทีเดียว รากของมันไม่ได้แค่เกาะไปกับต้นไม้ที่มันอาศัย แต่จะพันรัดไปรอบทั้งลำต้นเลยทีเดียว จนในที่สุดโอบรัดต้นไม้ใหญ่และสังหารต้นที่มันอาศัยเสีย เมื่อตัวมันเติบโตเต็มที่ ทำให้ได้ฉายา Strangler (สแทรงเกลอร์ฟิก) หรือนักบีบรัด นั่นเอง ที่จริงพฤติกรรมโหดๆแบบนี้ ไม่น่าหายาก หรือใกล้สูญพันธ์เลยนะ

------------------------------------------------------------------------------------------------





10. Lunaria annua มีลักษณะใบที่แปลกกว่าใบไม้อื่นๆ แต่ค้นรายละเอียดไม่ได้เลยครับ ดูแต่รูปไปก่อน ถ้าค้นเจอเมื่อไหร่จะตามมาเล่าให้ฟังครับ



http://forum.mthai.com/view_topic.php?table_id=1&cate_id=34&post_id=45369


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/07/2011 12:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 3 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©