-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 6:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 2

ลำดับเรื่อง....

56. ปลูกไม้กระถางใน 'ออฟฟิศ' ดีต่อสุขภาพ-ลดความเตรียด
57. ไล่ยุง โดยวิธีธรรมชาติ
58. เบาบับ : ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ของแอฟริกา
59. มะกันอนุมัติแล้ว “ข้าวตัดต่อยีนมนุษย์” ได้ปลูกลงนาแม้แรงหนุนน้อยนิด
60. อาหารผีดิบเตรียมอาละวาด มะกันเล็งอนุมัติข้าวตัดต่อยีนมนุษย์

61. ประวัติเงาะไทย
62. ปลาทับทิม (ปลานิล + ปลาหมอเทศ)
63. ประวัติมังคุด
64. ประวัติลำไย
65. ปุ๋ยพืชสด (Green Manure)

66. หลักการทำเกษตรธรรมชาติเกาหลี
67. เกษตรธรรมชาติเกาหลี ตามแนวทางของเกาหลี
68. แนวคิดเกษตรธรรมชาติ ตามแนวของฟูกูโอกะ
69. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร
70. จุลินทรีย์สร้างปุ๋ย ทำได้อย่างไร

71. แบคทีเรียที่มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ย ฮอร์โมนพืช และฆ่าเชื้อโรคพืช
72. เกษตรอินทรีย์ : การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบเกษตรอินทรีย์ (4)
73. 12 ปี ศูนย์ฉายรังสีเกษตรศาสตร์
74. นานาประเทศเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพมากแค่ไหน ?
75. พืชใบเลี้ยงคู่ พืชใบเลี้ยงเดียว

76. นักวิชาการหนุนยึดจีนต้นแบบ ‘ข้าวลูกผสม’
77. 'หอมมะลิ' แย่แน่ เวียดนามฉวยตั้งชื่อ 'จัสมิน ไรซ์'
78. เร่งยกเครื่อง 'หอมมะลิ'
79. สหรัฐฯ โวย ข้าวไทยปลอมปน !!
80. กลุ่มนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว มก. "นักเทคโนโลยีดีเด่น 53"



------------------------------------------------------------------------------------------------




56. ปลูกไม้กระถางใน 'ออฟฟิศ' ดีต่อสุขภาพ-ลดความเตรียด

โดย mootie



การปลูกต้นไม้กระถางในออฟฟิศดีต่อสุขภาพนักวิจัยพบช่วยลดความเหนื่อยล้า ความเครียด อาการปวดศีรษะไอ
และผิวแห้งได้

การศึกษานี้นำโดย ดร.ทีนา บริงสไลมาร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา และทีมนักวิจัยจากนอร์วีเจียน ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ
ไลฟ์ไซนส์ และมหาวิทยาลัยอุปป์ซาลาในสวีเดน

ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ตัวอย่างเป็นพนักงานออฟฟิศ 385 คน นักวิจัยพิจารณาสถิติการลาป่วยและจำนวนต้นไม้ที่
พนักงานแต่ละคนสามารถมองเห็นได้จากโต๊ะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่า ยิ่งมีต้นไม้มากเท่าไหร่ พนักงานมีแนวโน้มลาป่วยน้อยลงเท่านั้น

คำอธิบายหนึ่งคือต้นไม้และจุลินทรีย์ในดินช่วยในการขจัดสารระเหยและสารอินทรีย์ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ

"นอกจากนี้ ยังอาจมีคำอธิบายทางจิตวิทยาในแง่ที่ว่า คนเราเชื่อว่าต้นไม้มีสุขภาพดี และมีแนวโน้มประเมินสุขภาพ
ของตนเองในแง่บวกมากขึ้น" ดร.บริงสไลมาร์กเสริม

การศึกษานี้ ยังสอดรับกับผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สเตท, สหรัฐอเมริกา ที่มีข้อสรุปว่า ไม้กระถาง
มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับสำนักงานที่ไม่มีหน้าต่าง

ในการวิจัยของทีมนักวิจัยอเมริกันนั้น พนักงานถูกจับเวลาในการทำภารกิจหน้าจอคอมพิวเตอร์ในห้องที่ไม่มีต้นไม้
ซึ่งพบว่าเมื่อนำต้นไม้มาไว้ในห้องทำงาน พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น และตอบสนองเร็วขึ้น 12%
รวมถึงยังเครียดน้อยลงและมีระดับความดันโลหิตต่ำลง

"การศึกษาชิ้นนี้ยืนยันว่า ต้นไม้ที่ปลูกทั่วไปภายในบ้านช่วยลดระดับความเครียดได้" ดร.เวอร์จิเนีย ลอร์ ผู้นำการ
วิจัยกล่าว

งานศึกษาของลอร์ยังพิสูจน์ว่า สามารถลดระดับฝุ่นในที่ทำงานได้ถึง 20% เมื่อปลูกไม้ใบในออฟฟิศ

ดร.บริงสไลมาร์กเห็นด้วยว่า ไม้ใบอาจเป็นประโยชน์มากกว่าไม้ดอก
"ไม้ใบต้นใหญ่ผลิตออกซิเจนมากที่สุด และช่วยย่อยสลายสารพิษในอากาศ"





ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/22810


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/10/2011 3:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 7:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

57. ไล่ยุงโดยวิธีธรรมชาติ

โดย mootie

ยุงกัดปัญหาระดับชาติ อยู่บ้านหรือไปไหนก็ต้องเจอ แต่ถ้าใครไม่อยากตบ ไม่อยากฆ่าสัตว์ มีวิธีธรรมชาติในการไล่ยุงมาฝาก

มนุษย์ดึงดูดยุงให้เข้ามาหาจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากลมหายใจ กลิ่นเหงื่อ กลิ่นตัว และความร้อนจากร่างกาย
คนเราไม่สามารถกำจัดยุงให้หมดไปจากโลกนี้ได้ และคนบางคนก็มีสารเคมีในร่างกายไม่เหมือนกัน ทำให้สูตรการไล่ยุงสูตร
หนึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลกับทุกคน วันนี้เราเลยมีเคล็ดลับไล่ยุงโดยวิธีธรรมชาติที่หลากหลายมาฝากไปให้เลือกใช้กัน

วานิลลา... ให้ใช้ทาที่จุดชีพจร หรือถ้ามีปริมาณมากให้ทาทั่วผิวหนัง และแต้มลงบนเสื้อผ้า จะเลือกใช้แบบเข้มข้น หรือผสมน้ำ
ก่อนแล้วฉีดบนผิวก็ได้

กระเทียม .... เวลาไปแค้มป์ปิ้ง ไปเที่ยวนอกสถานที่ที่มียุงชุม ให้ลองใช้กระเทียมผงซึ่งหาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ต ผสมกับน้ำ
ทาลงที่จุดชีพจร หรือบนใบหน้า แต่ระวังอย่าให้เข้าตา

น้ำมันหอมระเหย .... ใช้ผสมกับแอลกอฮอล์เช็ดแผลหรือน้ำกลั่น แล้วฉีดลงบนร่างกายหรือผ้าแล้วใช้เช็ดบริเวณผิวที่โดนยุงตอม
หรือเติมน้ำมันหอมระเหยสองสามหยดลงในเบบี้ออยล์ หรือน้ำมันมะกอกแล้วทาบนผิว แต่ระวังอย่าให้เข้าตาและปาก ก็จะแก้ปัญ
หายุงกัดได้ โดยกลิ่นน้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ คือ ลาเวนเดอร์ ยูคาลิปตัส มะนาว ตะไคร้ ทีทรีไธม์ เปปเปอร์มินต์ และเบซิล

กระเทียม ..... ส่วนที่บ้านถ้ายุงเยอะ ให้ฉีดกระเทียมผงผสมน้ำตามสนามหญ้าและพุ่มไม้ เพื่อไล่ยุง ควรทำสองสัปดาห์ต่อ 1
ครั้ง หรือหลังจากฝนตกหนัก จะลดปริมาณยุงได้

เปลือกส้ม ..... หลังจากที่ปลอกส้มแล้ว อย่าทิ้ง ให้นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาเผาในชามอ่าง ตั้งไว้บริเวณที่ยุงชุม กลิ่น
จากเปลือกส้มจะช่วยกำจัดยุงไม่ไห้มารบกวนได้ และยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/22386


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/07/2011 7:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 7:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

58. เบาบับ : ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ของแอฟริกา

โดย sunisa-nan



ต้นเบาบับ (Baobab Tree) เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นขนาดใหญ่ สามารถกักเก็บน้ำได้เป็นจำนวนมาก บางต้นเก็บน้ำได้มากถึง
กว่า 100,000 ลิตร โดยทั่วไปมีอายุมากถึง 1,000-3,000 ปี ต้นเบาบับที่โตเต็มที่อาจมีขนาดรอบลำต้นใหญ่มากกว่า 50
คนโอบ เอกลักษณ์พิเศษของต้นเบาบับคือด้านบนของต้นมีกิ่งแตกแขนงออกมาคล้ายรากต้นไม้ จึงเป็นที่มาของอีกชื่อ
เรียกหนึ่งว่า ต้นไม้กลับหัว (Upside Down Tree)


ต้นเบาบับมีแหล่งกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาและออสเตรเลีย ชาวแอฟริกันใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของต้นเบาบับ
อาทิ ใบรับประทานได้แทนผักสด เนื้อสีขาวภายในผลมีรสเปรี้ยว นิยมนำมาผสมนมหรือข้าวต้มเพื่อรับประทานเป็นอาหาร
หรือทำขนม รากใช้สกัดทำยา และเปลือกของต้นใช้ทำเชือก แห เสื่อ และกระดาษคุณภาพดี






นอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า เนื้อของผลเบาบับมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก เนื่อง
จากมีวิตามิน C สูงกว่าส้มราว 6 เท่าและมีแคลเซียมมากกว่านม 2 เท่า อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคมะเร็งและเบาหวาน ได้มากกว่ากีวีและแอปเปิลถึง 4 เท่า รวมทั้งยังอุดม
ไปด้วยวิตามิน B1 B2 B3 B6 โซเดียม และแมงกานีส


ทั้งนี้ เบาบับสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลายชนิด ทั้งเครื่องดื่ม แยม ขนมขบเคี้ยว และ
ขนมปัง นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมันสกัดจากเมล็ดเบาบับอุดมด้วยวิตามินซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดริ้วรอยและไม่ทำ
ให้รูขุมขนอุดตัน เบาบับจึงเป็นที่ต้องการมากในวงการอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเช่นกัน โดยนิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสม
ของครีมบำรุงผิว แชมพู และโคลนพอกหน้า


ท่ามกลางกระแสรักสุขภาพซึ่งผู้บริโภคหันมาเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ในการ
รักษาและป้องกันโรคต่างๆ ทำให้เบาบับซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีรสชาติอร่อย เป็นที่ต้องการมากขึ้นในวงการ
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของโลก โดยเฉพาะหลังจาก EU ซึ่งเป็นผู้นำตลาดอาหารเพื่อสุขภาพอนุญาตให้นำเข้า
เนื้อเบาบับแห้งเพื่อเป็นส่วนผสมในอาหาร เครื่องดื่ม และอาหารเสริมได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 และสหรัฐฯ กำหนด
ให้เบาบับเป็นพืชที่บริโภคได้อย่างปลอดภัย และอนุญาตให้ใช้เนื้อเบาบับแห้งเป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่มได้
ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552


คณะกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลก อนุมัติให้ใช้เบาบับเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มอย่างเป็นทางการสำหรับนักกีฬาและผู้
เกี่ยวข้องในการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2553 ที่ประเทศแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ คาดว่าจะทำให้เบาบับเป็นที่รู้จัก
มากขึ้นในตลาดโลกและกระตุ้นให้ผู้บริโภคทั่วโลกหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์จากเบาบับมากขึ้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์
เบาบับยังเหมาะสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการช่วยเหลือสังคม เนื่องจากการบริโภคเบาบับนับได้ว่ามีส่วนช่วยเหลือ
ชาวแอฟริกาจำนวนมากที่มีฐานะยากจนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการเก็บผลเบาบับมาขาย


ปัจจุบันนอกจากประเทศในทวีปแอฟริกาจะผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเบาบับแล้ว ยังผลิตและส่งออกวัตถุ
ดิบเบาบับหลากหลายรูปแบบไปทั่วโลก เพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ หันมาใช้เบาบับเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์
ต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวแอฟริกา การที่เบาบับสามารถตอบโจทย์กระแสการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคที่หันมา
สนใจป้องกันโรคมากขึ้น ด้วยการใช้พืชจากธรรมชาติแทนสารสังเคราะห์จนประสบความสำเร็จในการเจาะตลาด EU
และสหรัฐฯ ได้ในระดับหนึ่งนั้น เป็นตัวอย่างที่ผู้ประกอบการไทยควรใช้เป็นแนวทางพัฒนาการผลิตและส่งออกพืชผัก
ผลไม้ และสมุนไพรที่เรามีอยู่มากมายหลากหลายชนิด โดยอาศัยความเชี่ยวชาญในการแปรรูปสินค้าเกษตรของไทย
ซึ่งเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก



อย่างไรก็ตาม การจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการขยายตลาดพืชผักสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ต้องหันมาพัฒนาพืชผักสมุนไพรไทยอย่างจริงจัง โดยนอกจากส่งเสริมการวิจัยถึงประโยชน์และสรรพคุณ รวมถึงข้อมูล
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการบริโภค รวมถึงประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์
ดังกล่าวให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในตลาดโลกแล้ว การหาแนวทางแปรรูปพืชผักสมุนไพรไทยให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
และการทำให้ประเทศผู้บริโภครายสำคัญ โดยเฉพาะ EU สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งมีกฎระเบียบการนำเข้าเข้มงวดมากยอม
รับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยในเบื้องต้นอาจพัฒนาเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางซึ่งกฎระเบียบการนำเข้าเข้ม
งวดน้อยกว่า ก่อนจะพัฒนาต่อเนื่องเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และอาหารเสริมต่อไป



ที่มา : ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/21830


------------------------------------------------------------------------------------------------







http://www.thaionlinemarket.com/แหล่งขายต้นเบาบับ/PR174611.html

http://search.babylon.com/imageres.php?iu=http://www.thaionlinemarket.org/picproduct/11-69/thumbnailshow174611.jpg&ir=http://www.thaionlinemarket.com/question.asp?QID=174611&ig=http://images.google.com/images?q=tbn:ANd9GcTMM-shtKe2Wr8MKVjdwGo2HDh_cGkk8z3pHUkKepy6uFz8vcZHgmsvKIU:www.thaionlinemarket.org/picproduct/11-69/thumbnailshow174611.jpg&h=300&w=200&q=ต้นเบาบับ&babsrc=HP_ss

----------------------------------------------------------------------------------------------------





ต้นเบาบับ ต้นจริงที่ปลูกในไทย




http://www.flickr.com/photos/iwisdom/4931189601/

http://farm5.static.flickr.com/4073/4931189601_28581c28c7.jpg

---------------------------------------------------------------------------------------------------






เบาบับแต่ละต้นมีอายุไม่ต่ำกว่า 800 ปี สูงประมาณ 15 เมตรขึ้นไป ทนความแห้ง
ได้ดี ภายในลำต้นเป็นที่เก็บน้ำจำนวนมหาศาล เบาบับ 1 ต้นอาจเก็บน้ำได้ถึง
120,000 ลิตร




เบาบับเป็นไม้เนื้ออ่อนจัดอยู่ในวงศ์เดียวกับต้นนุ่น ต้นงิ้ว ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ผล
และใบเป็นอาหารหรือทำยารักษาโรค เปลือกใชทำเชือก อวน แห ฯลฯ




มหัศจรรย์แห่งเบาบับ ยักษ์ใหญ่ใจดี

เช้าวันรุ่งขึ้น เราออกจากเมืองตานามุ่งสู่นอกเมือง ตลอดสองข้างทางมีโรงงานเกิดใหม่ผุดขึ้นมากพอควร จีโน่เล่าว่าช่วงหลังรัฐบาลจีนให้ความช่วยเหลือและมาลงทุนในมาดากัสการ์มากขึ้น มีทั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และสิ่งทอ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศในปัจจุบันพอๆ กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และท่องเที่ยว

ในทางการเมือง ประเทศในแถบแอฟริกาเคยอยู่ภายใต้อิทธิพลและความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต จนเมื่อมหาอำนาจหมีขาวล่มสลายลง ประเทศจีนซึ่งกำลังกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารจึงได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในแอฟริกาแทน โดยอาศัยการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นทัพหน้าในการสร้างความสัมพันธ์

เราขึ้นเครื่องบินมุ่งหน้าสู่เมืองโมรอนดาวาทางตะวันตกของประเทศ เมืองนี้เป็นเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตก เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งบนเกาะนี้ ก่อนเครื่องจะร่อนลง เราพยายามสังเกตดูต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาดากัสการ์ ว่ากันว่ามีมากที่สุดในเมืองนี้ สักพักจึงเห็นภาพจากมุมสูงว่าต้นเบาบับที่อยากเห็นมานานและเป็นไฮไลต์ในการมาเยือนประเทศนี้อยู่ข้างล่างนี้เอง มองจากมุมนี้เราก็ยังไม่เข้าใจว่า เหตุใดต้นไม้นี้จึงได้รับฉายาว่า ต้นไม้กลับหัว

หลังอาหารกลางวันในเบาบับคาเฟ่ รีสอร์ตเล็กๆ ใกล้ปากน้ำออกสู่ทะเลใหญ่บริเวณที่เรียกว่าช่องแคบโมซัมบิก กั้นระหว่างทวีปแอฟริกากับเกาะมาดากัสการ์ เราออกมาเดินเล่นตรงชายหาด เห็นเรือใบของชาวมาลากาซีกลับจากการออกทะเลหาปลา คนแถวนี้เป็นมุสลิมสืบเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย อาหรับ และแอฟริกัน เราสังเกตเห็นมีสุเหร่า มัสยิดหลายแห่งในเมืองนี้ ที่นี่มีประชากรไม่มากนัก ผู้คนไม่พลุกพล่าน แต่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้พอควร จากถนนสายหนึ่งที่อยู่ห่างไปไม่ไกล เรียกว่า ถนนสายเบาบับ

เราเช่ารถขับเคลื่อนสี่ล้อมุ่งหน้าไปตามท้องถนนที่เป็นดินทรายออกไปนอกเมือง สองข้างทางเป็นภูมิประเทศกึ่งทะเลทรายอันแห้งแล้ง แม้ว่าระยะทางแค่ไม่ถึง ๒๐ กิโลเมตร แต่สภาพถนนที่เป็นลูกคลื่นสลับหลุมบ่อ คนบนรถต้องโยกหน้าโยกหลังตลอดทาง ทำให้ใช้เวลาถึงเกือบชั่วโมงกว่าเราจะมาถึง Avenue de Baobab หรือถนนสายเบาบับ ที่ถือว่าเป็นดงเบาบับ มีต้นเบาบับมากที่สุดบนเกาะมาดากัสการ์




ต้นเบาบับบริเวณ Avenue de Baobab เมืองโมรอนดาวา ส่วนใหญ่เป็นชนิด Adansonia grandidieri เพราะต้นเบาบับที่โตเต็มที่อาจต้องใช้คนนับสิบโอบรอบต้น จึงได้ฉายาว่าต้นไม้ขวด(bottle tree) และด้วยรูปร่างประหลาดของมัน บางคนจึงเรียกเบาบับว่า "ต้นไม้กลับหัว"

ไม่ผิดหวังกับการเดินทางแสนทุลักทุเล ต้นไม้ยักษ์ของโลกที่มีอายุยืนที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดของทวีปแอฟริกาปรากฏอยู่ต่อหน้า เบาบับมีขนาดใหญ่มาก เป็นต้นไม้ประหลาดราวกับต้นไม้ในเทพนิยาย ลำต้นอวบใหญ่คล้ายปาล์ม ต้นตั้งตรง ด้านบนมีกิ่งขนาดใหญ่แตกแขนงออกมาคล้ายรากต้นไม้ เรามาในช่วงที่ต้นไม้ผลัดใบพอดี จึงเห็นแต่กิ่งล้วนๆ สมกับที่ได้รับฉายาว่า ต้นไม้กลับหัว

มีนิทาน เรื่องเล่า และตำนานมากมายเกี่ยวกับต้นเบาบับ อาทิ เรื่องเล่าเก่าแก่ของคนอาหรับบอกไว้ว่า นานมาแล้ว มีปีศาจตนหนึ่งถอนต้นเบาบับขึ้นมาและคิดจะปลูกกลับลงไปใหม่ แต่ปลูกผิดดันเอารากชี้ฟ้า เบาบับจึงกลายเป็นต้นไม้กลับหัว นิทานของชาวแอฟริกันเล่าว่า เมื่อพระเจ้าสร้างโลกเสร็จ ได้แจกต้นไม้ให้แก่สัตว์ทุกชนิดไปปลูก สัตว์ทุกตัวปลูกต้นไม้ได้ถูกต้องเหมือนกันหมด แต่ปรากฏว่าไฮยีน่าดันปลูกต้นไม้กลับหัว จึงเกิดเป็นต้นเบาบับขึ้นมา

อีกตำนานกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าสร้างโลกพร้อมสรรพชีวิตขึ้นมา ต้นเบาบับไม่พอใจสิ่งที่พระเจ้าสร้างให้ อยากสูงแบบต้นปาล์ม พระเจ้าก็ประทานให้ อยากมีดอกสวยงาม พระเจ้าก็ประทานให้ พอเห็นต้นมะเดื่อมีผลสีแดง จึงอยากเป็นแบบต้นมะเดื่ออีก คราวนี้พระเจ้าคิดว่าชักมากเกินไป จึงสั่งสอนด้วยการถอนรากถอนโคน เอาหัวปักดินรากชี้ฟ้า

ยังมีตำนานความเชื่อของชาวแอฟริกันอื่นๆ อาทิ สิงโตจะกินคนที่บังอาจปีนขึ้นไปเก็บดอกเบาบับ เพราะถือว่าดอกไม้ชนิดนี้เป็นที่สถิตของภูตผีปีศาจ ผู้ที่ได้ดื่มน้ำที่แช่เมล็ดเบาบับจะป้องกันสัตว์ร้ายอย่างจระเข้ได้ และใครที่ดื่มน้ำแช่เปลือกเบาบับจะแข็งแรงและเตะปี๊บดัง (ฮา)

หากเบาบับเป็นต้นไม้ขนาดเล็กหรือกลางๆ คงไม่มีใครสนใจมาก แต่ต้นเบาบับถือว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่เก๋ากึ้กมีอายุเก่าแก่มาก บางต้นมีอายุถึง ๓,๐๐๐ ปี รุ่นราวคราวเดียวกับพีระมิดในอียิปต์เลยทีเดียว ว่ากันว่าในประเทศแอฟริกาใต้ เจ้าของฟาร์มแห่งหนึ่งที่มีต้นเบาบับได้สร้างร้านขายเหล้าในลำต้นเบาบับต้นหนึ่งที่มีความสูงถึง ๒๑ เมตร และมีเส้นรอบวง ๔๖ เมตร มีอายุถึง ๖,๐๐๐ ปี เก่าแก่พอๆ กับอารยธรรมสมัยแรกของมนุษย์ทีเดียว

สองข้างทางที่เราขับรถผ่านมีต้นเบาบับขึ้นอยู่เป็นระยะ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Adansonia grandidieri ชื่อนี้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ Alfred Grandidier (ค.ศ. ๑๘๓๖-๑๙๒๑)นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสำรวจเกาะมาดากัสการ์เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๖๕ เขาเดินทางมากว่า ๕,๐๐๐กิโลเมตรทั่วเกาะเป็นเวลาหลายปี และกลับไปเขียนหนังสือจนถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่บุกเบิกและวางรากฐานการศึกษาธรรมชาติวิทยาบนเกาะแห่งนี้

เบาบับแต่ละต้นมีอายุไม่ต่ำกว่า ๘๐๐ ปี ความสูงประมาณ ๑๕ เมตรขึ้นไป มีลำต้นอวบใหญ่ วัดเส้นรอบวงได้ ๖-๗ เมตรต้นเบาบับที่โตเต็มที่อาจต้องใช้คนกว่า ๕๐ คนโอบรอบต้นจึงได้ฉายาว่า ต้นไม้ขวด (bottle tree) ดูไกลๆ ไม่ต่างจากขวดน้ำยักษ์ตั้งเรียงรายอยู่กลางทุ่ง

เบาบับเป็นไม้ยืนต้นสกุล Adansonia ทั่วโลกมีต้นเบาบับทั้งหมด ๘ ชนิด พบเฉพาะในทวีปแอฟริกาและออสเตรเลีย ในมาดากัสการ์พบถึง ๖ ชนิด ได้แก่ A. grandidieri, A. madagascariensis, A. suarezensis, A. perrieri, A. rubrostipa และ A. za ที่พบในทวีปแอฟริกาคือ A. digitata และ A. gregorii ในทวีปออสเตรเลีย เบาบับเป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้เป็นอย่างดี ภายในลำต้นยังเป็นที่เก็บน้ำปริมาณมหาศาล กล่าวกันว่าต้นเบาบับ ๑ ต้นอาจเก็บน้ำได้ถึง ๑๒๐,๐๐๐ ลิตร หรือเท่ากับแท็งก์น้ำมาเรียงกัน ๑๒๐ ใบ เบาบับกักเก็บน้ำเพื่อความอยู่รอดในสภาพภูมิประเทศแห้งแล้งแบบกึ่งทะเลทรายที่แล้งนานถึง ๙ เดือน ในช่วงฤดูฝนเก็บน้ำไว้ในทุกส่วนของต้น พอหน้าแล้งต้นเบาบับจะสลัดใบหมดเหลือแต่กิ่งจนดูเหมือนรากไม้ยืนต้น ช่วยลดการคายน้ำเพื่อความอยู่รอด และมนุษย์ยังได้อาศัยน้ำจากต้นเบาบับในช่วงหน้าแล้งด้วย

หากมนุษย์มีพฤติกรรมเหมือนต้นเบาบับ เป็นต้นไม้ใหญ่ใจดีและยังเสียสละให้ผู้อื่น สังคมน่าจะดีกว่านี้แน่

เราลงจากรถมาพิจารณาต้นไม้เก่าแก่อย่างใกล้ชิด พอเอามือไปสัมผัสยักษ์ใหญ่ใจดีนี้ เปลือกต้นเบาบับนิ่มกว่าที่เราคิด เบาบับเป็นไม้เนื้ออ่อนอยู่ในวงศ์เดียวกันกับต้นนุ่น ต้นงิ้ว มีคุณสมบัติในการเก็บน้ำได้มาก ลักษณะเยื่อเปลือกไม้สามารถฉีกเป็นเส้นๆ ได้ ชาวมาลากาซีจึงนิยมนำเปลือกไม้ที่มีคุณสมบัติเหนียวเป็นพิเศษมาทำเชือก แห อวน ทอเป็นเสื่อ หรือมาทำกระดาษเบาบับคุณภาพสูง และแม้ลำต้นจะถูกถากเอาไปใช้ทั้งต้น แต่ต้นเบาบับก็ไม่ตาย มันจะสามารถสร้างเส้นใย
ใหม่ขึ้นมาทดแทนได้อีกดังเดิม

คุณค่าของต้นเบาบับไม่ได้มีเพียงแค่นั้น เพราะต้นไม้ยักษ์นี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน

ชาวบ้านนำทุกส่วนของต้นเบาบับมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ใบเบาบับกินได้เหมือนผักสด หรือเอามาป่นเป็นผงทำน้ำซุป ผลมีสีขาว รสเปรี้ยวคล้ายลูกหยี นำมาทำเป็นอาหาร เมล็ดเอามาทำน้ำมันและส่วนผสมของเครื่องสำอาง เพราะมีการพบว่าสารในเมล็ดทำให้ผิวเนียน ใบหน้าไม่เหี่ยวย่น และไม่ทำให้ต่อมตามรูขุมขนอุดตัน นอกจากนั้นยังนำเมล็ดมาคั่วกาแฟ ใช้เป็นยารักษาโรค หรือมาดองเหล้า เปลือกมาทำบ้าน เส้นใยมาทอผ้า

ไม่เพียงมนุษย์เท่านั้นที่ใช้ประโยชน์จากต้นเบาบับ บรรดาสัตว์ต่างๆ ก็มากินใบกินผลจากต้นไม้นี้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นช้าง ยีราฟ และโดยเฉพาะลิงที่ใช้ประโยชน์จากต้นไม้นี้มากที่สุด จนเบาบับมีชื่ออีกอย่างว่า Monkeys' bread tree

ทุกวันนี้มีบริษัทต่างชาติมาร่วมทุนกับคนพื้นเมือง เอาเมล็ด ผล ต้น และรากเบาบับมาสกัดทำอาหาร ยา เครื่องสำอาง ส่งไปขายในยุโรป แม้กระทั่งยาแก้ปวดหัว พาราเซตามอลก็นิยมใช้สารสกัดจากใบเบาบับเป็นส่วนผสมหนึ่งด้วย

อากาศเริ่มเย็นลง พระอาทิตย์ใกล้อัสดงแล้ว เราตระเวนไปดูต้นเบาบับชนิดต่างๆ บ้างก็ขึ้นกลางหมู่บ้าน บ้างก็อยู่กลางทุ่งนา บ้างก็อยู่กลางป่ารกร้าง แต่เราเห็นชัดเจนว่าป่าแถวนี้ถูกทำลายไปมาก ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ หลายสิบปีที่ผ่านมา ผืนป่าบนเกาะมาดากัสการ์จำนวนมากถูกทำลายเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ป่าแถวนี้ถูกแผ้วถางเพื่อเปลี่ยนเป็นไร่อ้อยเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ต้นเบาบับยังโชคดีที่ไม่ค่อยถูกทำลายมาก เพราะชาวบ้านยังเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์

เย็นนั้นทุกคนมารวมตัวกันบริเวณหนองน้ำแห่งหนึ่งเพื่อมาดูพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าและถ่ายรูป ด้านหลังเป็นดงเบาบับหลายสิบต้น ภาพตรงหน้าเราคือชาวมาลากาซีกำลังเดินกลับบ้านหลังจากลงแรงในผืนนามาทั้งวัน เด็กน้อยบางคนเอากิ้งก่าคามีเลียนเกาะบนกิ่งไม้มาเสนอให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูป ก่อนจะแบมือขอตังค์ คนพื้นเมืองชี้ให้เราดูโพรงต้นเบาบับที่มีนักท่องเที่ยวเดินเข้าไปสำรวจและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

ต้นเบาบับยังเป็นที่พักอาศัยของชาวแอฟริกันมาช้านาน ชาวบ้านจะเจาะโพรงเข้าไปทำความสะอาดอาศัยเป็นบ้าน หรือเป็นที่คุมขังนักโทษ เป็นยุ้งฉางเก็บพืชผล หรือที่หลบภัยจากสัตว์ร้าย ในทวีปออสเตรเลีย ๑ ใน ๒ ทวีปของโลกที่มีต้นเบาบับมีการพบว่าในทศวรรษ ๑๘๙๐ คนขาวใจร้ายได้ใช้ลำต้นเบาบับเป็นที่คุมขังพวกอะบอริจิน ชนพื้นเมืองของออสเตรเลียมาเป็นเวลานาน (ต้นเบาบับที่ใช้ขังชาวอะบอริจินคือชนิด A. gregorii) จนเมื่อเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนปัจจุบันได้ประกาศขอโทษชาวอะบอริจินอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จากอดีตอันโหดร้ายที่ทำให้ชนพื้นเมืองเหล่านี้แทบสูญสิ้นเผ่าพันธุ์

เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานข่าวจากประเทศในทวีปแอฟริกาว่า ขณะนี้เด็กแอฟริกันกว่า ๓๐ ล้านคนเป็นโรคขาดสารอาหารและวิตามินเออย่างรุนแรง แต่ละปีมีเด็กเสียชีวิตถึง ๕ แสนคน เพราะขาดสารอาหาร ทางองค์การสหประชาชาติจึงได้วางแผนคัดเลือกต้นไม้ป่าหลายชนิดที่มีคุณค่าทางอาหาร ให้วิตามินและสารอาหารสูง โตเร็ว ทนทานในที่แห้งแล้ง เพื่อส่งเสริมให้คนแอฟริกันได้ปลูกต้นไม้เหล่านี้ให้แพร่หลายแทนผืนป่าที่ถูกทำลายลงไปมาก เพื่อให้คนแอฟริกันได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากขึ้น เรียกโครงการนี้ว่า Tree of Change ต้นเบาบับเป็นหนึ่งในต้นไม้ในโครงการนี้ เพราะเป็นต้นไม้ป่าที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก โดยเฉพาะผลของเบาบับมีวิตามินเอและซีสูงมาก กล่าวกันว่าผลเบาบับมีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง ๖ เท่าทีเดียว

ก่อนมาเยือนประเทศนี้ เพื่อนคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ที่เมืองไทยมีคนนำต้นเบาบับไปปลูกได้สำเร็จในลักษณะดินฟ้าอากาศแบบไทย ลักษณะใบและลำต้นคล้ายต้นนุ่น โตเร็ว สูงเกิน ๕ เมตรภายในปีเดียว ลำต้นยังไม่อวบแบบต้นพื้นเมืองแถวนี้ แต่การนำเข้าต้นไม้ชนิดนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ด้าน
โภชนาการให้แก่เด็กๆ ที่ขาดแคลนอาหาร หากเป็นเพียงไม้ประดับราคาแพงตามบ้านเศรษฐี สนามกอล์ฟ หรือรีสอร์ต

อาทิตย์อาบแสงสีแดงทั่วขอบฟ้า เรานั่งมองฟ้าเปลี่ยนสีไปเรื่อยๆ จนมืดสนิท ดาวเริ่มพราวฟ้า เห็นดงต้นเบาบับสูงร่วม ๒๐ เมตรที่มีกิ่งก้านแตกแขนงออกมาเป็นเงาทะมึนกลางหมู่ดาวระยิบระยับ ลมเย็นๆ พัดโชยมาเรื่อยๆ เรานอนลงกลางทุ่งแหงนดูต้นไม้ที่มีรูปทรงไม่เหมือนใคร เห็นดาวตกพาดผ่านท้องฟ้า ชวนให้นึกถึงตอนหนึ่งในหนังสือ เจ้าชายน้อย ที่กล่าวถึงเจ้าต้นไม้ยักษ์นี้ว่า เจ้าชายน้อยกลัวว่าต้นเบาบับยักษ์จะเจริญเติบโตขึ้นมาบนดาวเคราะห์เล็กๆ ของเขา และทำให้บนดาวไม่มีที่ว่างพอ

ใครจะรู้ ดาวบนท้องฟ้าดวงใดดวงหนึ่ง อาจเป็นที่อยู่ของเจ้าชายน้อยกับต้นเบาบับก็ได้

เราออกจากป่าเบาบับกลับที่พัก กะว่าจะหาเครื่องดื่มน้ำเบาบับที่ทำจากผลเบาบับแก้กระหาย เพิ่มวิตามินในร่างกาย แต่บริกรบอกว่าน้ำผลไม้เบาบับหมดแล้ว ครั้นเหลือบไปเห็นขวดเหล้าดองเมล็ดพืชชนิดหนึ่งบนเคาน์เตอร์ เขาก็เฉลยให้เราฟังว่า เป็นเหล้าดองเมล็ดเบาบับ

http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=860

------------------------------------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 10:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

59. มะกันอนุมัติแล้ว “ข้าวตัดต่อยีนมนุษย์” ได้ปลูกลงนาแม้แรงหนุนน้อยนิด


เนเจอร์/เอเจนซี – สหรัฐฯ ไฟเขียวให้เอกชนปลูกข้าว จีเอ็ม.ตัดต่อยีนจากมนุษย์ลงทดลองในนาแบบเปิด แม้จะมีผู้เห็นดีด้วยไม่ถึง 30 รายจากผู้แสดงความเห็นกว่า 2 หมื่นราย แจงไม่หวั่นปนเปื้อน เพราะห่างจากนาอื่นหลายร้อยกิโล นับเป็นครั้งแรกที่มีการปลูกพืชตัดต่อยีนมนุษย์ลงในนาจริง

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (United States Department of Agriculture : USDA) อนุมัติให้เวนเทรีย ไบโอไซนส์ (Ventria Bioscience) ที่มีฐานอยู่ในแคลิฟอร์เนีย นำข้าวดัดแปรพันธุกรรมที่ตัดต่อยีนมนุษย์ลงปลูกที่ไร่แห่งหนึ่งในเกียรีเคานตี แคนซัส (Geary County, Kansas) หลังผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเป็นเวลา 1 เดือน

แม้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ยูเอสดีเอ.ไฟเขียวให้ปลูกพืชที่ตัดต่อโปรตีน แต่นับเป็นครั้งแรกที่พืชตัดต่อโปรตีนมนุษย์ได้รับอนุมัติให้ปลูกลงดินในระดับไร่นาขนาดใหญ่ ขณะที่พืช จีเอ็ม.ส่วนใหญ่ยังคงถูกจำกัดให้ปลูกแค่ในห้องทดลองหรือในโรงเรือนระบบปิด

ข้าว จีเอ็ม.ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกครั้งนี้ มี 3 พันธุ์ ประกอบด้วยยีนดั้งเดิมของมนุษย์ 3 ชนิดได้แก่

1.แลกโตเฟอร์ริน (lactoferrin)
2.ไลโซไซม์ (lysozyme ) และ
3.โปรตีนในน้ำเหลือง

ซึ่งเหล่านี้เป็นโปรตีนที่ต้านทานแบคทีเรียพบในน้ำนมแม่ โดยยีนเหล่านี้ถูกเพาะและลอกเลียนแบบในห้องวิจัยเพื่อผลิตเวอร์ชั่นสังเคราะห์ ก่อนนำไปตัดต่อในแบคทีเรียที่อยู่ในต้นอ่อนของข้าว

ทั้งนี้ เวนเทรียอ้างว่า พวกเขาตั้งใจจะนำข้าว จีเอ็ม.ที่ปลูกได้ไปพัฒนาเป็นเครื่องดื่มเพื่อป้องกันโรคท้องร่วงที่คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกเป็นจำนวนมากในแต่ละปี อีกทั้งจะทำเป็นเครื่องดื่มเสริมอาหารให้แก่ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง

อย่างไรก็ดี หลังจากเวนเทรียได้พัฒนาข้าวสายพันธุ์นี้ขึ้นในห้องทดลองที่เปรูแล้ว ก็ได้ขออนุญาตปลูกในไร่นาแบบเปิดกับทางยูเอสดีเอ ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา โดย ยูเอสดีเอ. ได้เปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อกรณีนี้เป็นเวลา 1 เดือนเต็ม ปรากฏว่า มีผู้เห็นด้วยเพียง 29 คนหรือกลุ่มจากผู้ส่งความเห็นทางจดหมายมากว่า 20,000 รายต่อการปลูกข้าวตัดต่อยีนมนุษย์

ทว่าในที่สุด ยูเอสดีเอ.ก็ยังคงเดินหน้าอนุมัติ พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณคำตักเตือนจากประชาชนที่แสดงความกังวลว่าข้าว จีเอ็ม.เมื่อปลูกลงดินแล้วจะปนเปื้อนไปในสภาพแวดล้อม โดย ยูเอสดีเอ. จะส่งข้อสังเกตเหล่านี้ให้เวนเทรียระมัดระวังเป็นพิเศษ บนพื้นที่ 3,200 เอเคอร์ (ประมาณ 13 ตารางกิโลเมตร) แต่เวนเทรียอ้างว่าจะปลูกข้าว จีเอ็ม.แค่ 250 เอเคอร์ (ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร)

พร้อมกันนี้ ยูเอสดีเอ.ยังแจกแจงเองว่าแปลงทดลองปลูกข้าว จีเอ็ม.ที่ได้รับอนุญาตนี้ห่างจากนาข้าวอื่นๆ ที่ปลูกเพื่อการค้าถึง 480 กิโลเมตร ส่วนพวกสัตว์หรือนกต่างๆ ที่อาจจะเข้ามาคาบข้าวออกไปสู่ที่นาอื่นนั้น ประเมินแล้วไม่มีความเสี่ยงที่เป็นนัยสำคัญ อีกทั้งโอกาสที่ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ลมแรงหรือทอร์นาโดจะพัดพาข้าวพวกนี้ไปตกที่อื่นนั้นก็มีโอกาสน้อย แต่ ยูเอสดีเอ.ก็ให้ทางบริษัทเตรียมแผนฉุกเฉินไว้รับมือหากเกิดขึ้นจริง

ทั้งนี้ หน่วยบริการตรวจสอบสภาพสัตว์และพืช ของกระทรวงเกษตร (Department of Agriculture's Animal and Plant Health Inspection Service : APHIS) เป็นผู้มีหน้าที่ในการพิจารณาให้ปลูกพืช จีเอ็ม.ลงไร่นาจริง โดยเมื่อ 2 ปีก่อนมีรายงานถึงความหละหลวมในการพิจารณา แต่กลับพบเมล็ดข้าว จีเอ็ม. พันธุ์ลิเบอร์ตีลิงค์ไรซ์ 601 (Liberty Link Rice 601) ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกลงนาไปปนอยู่กับข้าวพันธุ์อื่นๆ ที่จะส่งขายต่างประเทศ

ส่วนปีที่แล้ว ตามข้อมูลของยูเอสดีเอมีเอกชนขอปลูกข้าว จีเอ็ม.ในที่โล่งแจ้งถึง 14 ราย โดยผ่านการอนุมัติไป 10 ราย ส่วน 3 รายกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา และอีก 1 รายถอนคำขออนุมัติไป ซึ่งทั้ง 10 รายที่ผ่านการอนุมัติเตรียมจะปลูกข้าว จีเอ็ม.ลงนาภายในปีนี้ แต่ทุกรายที่ได้รับการอนุมัติจะต้องขอใบอนุญาตใหม่ทุกๆ ปี



http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=20&s_id=58&d_id=57
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 10:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

60. อาหารผีดิบเตรียมอาละวาด มะกันเล็งอนุมัติข้าวตัดต่อยีนมนุษย์



บีบีซีนิวส์/เทเลกราฟ - พี่ใหญ่อเมริกาเตรียมอนุมัติการผลิตเพื่อจำหน่ายข้าวที่ตัดต่อพันธุกรรมมนุษย์ลงไป ซึ่งบริษัทผู้พัฒนาอวดอ้างว่าใช้รักษาอาการท้องร่วงในเด็กได้ ท่ามกลางกระแสคัดค้านจากสองฟากฝั่งแอตแลนติก

ข้าวตัดต่อพันธุกรรม (GM) ดังกล่าวถือเป็นก้าวย่างสำคัญของ "อาหารผีดิบ" ซึ่งหมายถึงการตัดต่อพันธุกรรมมนุษย์ไปใส่ในพืช กระนั้น กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (U.S. Department of Agriculture : USDA) ส่งสัญญาณชัดเจนแล้วว่า ร่ำๆ จะอนุมัติให้มีการปลูกในเชิงพาณิชย์เร็ววันนี้

ข่าวนี้สร้างความกังวลในหมู่ผู้คัดค้านเทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) ตลอดจนถึงกลุ่มปกป้องผู้บริโภคในสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก

ยีนวอตช์ ยูเค (GeneWatch UK) ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของอาหารจีเอ็ม วิจารณ์ว่า เรื่องนี้รบกวนจิตใจอย่างมาก เพราะเป็นอันตรายใหญ่หลวงต่อสุขภาพ

กลุ่มเฟรนด์ส ออฟ ดิ เอิร์ท (Friends of the Earth) โจมตีว่า การใช้พืชที่เป็นอาหารและพื้นที่เพาะปลูกเป็นโรงงานผลิตยา เป็นพัฒนาการที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เนื่องจากหากพืชเวชภัณฑ์เหล่านี้ปนเปื้อนสู่วงจรอาหารของผู้บริโภค จะก่อเกิดผลร้ายแรงต่อสุขภาพ ที่สำคัญที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพยังล้มเหลวในการป้องกันไม่ให้ข้าวจีเอ็มปนเปื้อนสู่วงจรอาหาร

ที่สหรัฐฯ สหภาพนักวิทยาศาสตร์ที่มีจิตสำนึกทางสังคม (Union of Concerned Scientists) เตือนว่าการผลิตยาในพื้นที่เกษตรกลางแจ้งเป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดเลย เพราะเกือบจะไม่สามารถควบคุมปริมาณโปรตีนที่เข้าสู่ร่างกายของผู้บริโภคได้ และบางคนอาจแพ้โปรตีนที่ถูกตัดแต่งไว้ในข้าว

นอกจากกังวลเรื่องการปนเปื้อนแล้ว หลายฝ่ายยังวิตกในประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับการแทรกแซงกระบวนการธรรมชาติ


ทศวรรษที่แล้ว ผู้คนจำนวนมากตื่นตระหนักเมื่อนักวิจัยด้านอาหารเปิดเผยถึงความเป็นไปได้ในการตัดต่อพันธุกรรมจากปลาลิ้นหมาใส่ในมะเขือเทศเพื่อต้านทานอากาศเย็นจัด

ข้าวตัดต่อ จีเอ็ม.ล่าสุดเป็นผลงานของเวนเทรีย ไบโอไซนส์ (Ventria Bioscience) ที่มีฐานอยู่ในแคลิฟอร์เนีย ที่มีแผนสกัดโปรตีนจากข้าวเหล่านี้ไปใส่ในเครื่องดื่ม ของหวาน โยเกิร์ต และธัญหารอัดแท่ง

เวนเทรียพัฒนาข้าว จีเอ็ม.ออกมา 3 พันธุ์ ประกอบด้วยยีนดั้งเดิมของมนุษย์ที่แตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ และทำให้ข้าวผลิตโปรตีน 1 ใน 3 ที่ร่างกายมนุษย์ผลิต โปรตีนสองชนิดในนั้นได้แก่ แลกโตเฟอร์ริน (lactoferrin) และไลโซไซม์ (lysozyme ) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ต้านทานแบกทีเรีย พบในน้ำนมและน้ำลาย ยีนเหล่านี้ถูกเพาะและลอกเลียนแบบในห้องวิจัยเพื่อผลิตเวอร์ชั่นสังเคราะห์ ก่อนนำไปตัดต่อในแบกทีเรียที่อยู่ในต้นอ่อนของข้าว

เดิมทีเวนเทรียหมายมั่นปลูกข้าวเหล่านี้ทางใต้ของรัฐมิสซูรี ติดที่อันเฮาเซอร์-บุช (Anheuser-Busch) ผู้ผลิตเบียร์และผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ ขู่บอยคอตต์รัฐดังกล่าว เพราะกลัวปัญหาการปนเปื้อนและกลัวกระแสต่อต้านจากผู้บริโภค

แต่ตอนนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ออกมาการันตีว่า ข้าวของเวนเทรียไร้ความเสี่ยง และอนุมัติเบื้องต้นให้ปลูกบนพื้นที่กว่า 3,000 เอเคอร์ในแคนซัส ซึ่งไม่มีพื้นที่เกษตรเชิงพาณิชย์ นอกจากนั้น บริษัทยังเตรียมใช้อุปกรณ์จัดเก็บและแปรรูปที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันเมล็ดพันธุ์ปนเปื้อนกับพืชธรรมชาติ

เวนเทรียอ้างว่า ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้โปรตีนจากข้าวของบริษัทเป็นส่วนผสม สามารถช่วยชีวิตเด็ก 2 ล้านคนต่อปีจ ากการเสียชีวิตเพราะโรคท้องร่วง การขาดน้ำ และอาการแทรกซ้อนอื่นๆ

งานวิจัยในเปรูเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้ทุนสนับสนุนจากเวนเทรีย พบว่าเด็กที่มีอาการท้องร่วงรุนแรงจะหายเร็วขึ้น 1 วันครึ่งหากได้รับน้ำเกลือที่ผสมโปรตีนจากข้าวของบริษัท

สก็อตต์ ดีเทอร์ (Scott Deeter ) ประธานบริหารเวนเทรีย ยังบอกว่าความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและการปนเปื้อนเกิดจากการคาดเดากันไปเองโดยไม่มีมูลความจริง และว่าการปลูกข้าวจีเอ็มมีต้นทุนถูกกว่าวิธีอื่นๆ จึงเป็นประโยชน์ต่อการบำบัดรักษาเด็กๆ ในประเทศกำลังพัฒนา



http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=20&s_id=58&d_id=57
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 10:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

61. ประวัติเงาะไทย

by Volwar



ประวัติเงาะไทย :
คนไทยเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า "เงาะ" เพราะลักษณะภายนอกของผล มีขนขึ้นตามเปลือกคล้ายกับผมบนหัวของคนป้าที่มีผมหยิกหยอยที่เราเรียกกว่า "เงาะป่าซาไก" เงาะมีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมลายูทางเขตที่ราบตะวันตก จากนั้นจึงแพร่ขยายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเขตร้อนอื่น ๆ เช่น ศรีลังกา และไปไกลถึงเกาะซานซิบาร์ ทวีปแอฟริกา ชาวมลายูเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า "rambut" ซึ่งหมายถึง "ผมหรือขน" ต่อมามีการเรียกเพี้ยนไปเป็น "rambutan" แต่ก่อนชาวตะวันตกเห็นเงาะก็บอกว่า "ประหลาดมาก" จึงเปรียบเป็น "เชอร์รีมีขน" เงาะจากมลายูถูกน้ำเข้ามาปลูกทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าตั้งแต่เมื่อใด



ประวัติเงาะสีชมพู :
เงาะพื้นเมืองจันทบุรีที่กลายพันธุ์มาจากเงาะพื้นเมืองกรุงเทพ
เงาะสีชมพู มีถิ่นกำเนิดที่บ้านครูกี เมธาวัน ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ให้ผลดกมีผิวและขนเป็นสีชมพูสด เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ บอบช้ำง่าย ไม่ทนทานต่อการขนส่ง

เมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ก่อน จังหวัดจันทบุรีแทบจะไม่มีผลไม้พื้นถิ่นของตัวเองเลย แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศเหมาะแก่การทำสวน และอุปนิสัยคนจันทน์ที่ขยัน ช่างสังเกต และชอบการเพาะปลูก เมื่อพบเห็นผลไม้แปลกๆก็มักจะนำเมล็ด กิ่งตอน กลับมาปลูกที่บ้าน

ซึ่งเมื่อประมาณกว่า 80 ปีที่ผ่านมา ชาวสวนจันทบุรีหลาย ๆ คน นิยมนำกิ่งตอนและเมล็ดของเงาะบางยี่ขันจากกรุงเทพฯ กลับมาปลูกยังเมืองจันทน์ ที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง ก็บังเอิญมีชาวสวนไปพบเงาะต้นหนึ่งที่งอกออกมาจากเมล็ดเงาะบางยี่ขัน เมื่อสังเกตดูก็เห็นว่ามีลักษณะต่างออกไปจากเงาะบางยี่ขัน คือเป็นเงาะที่มีสีชมพูสด สวยงาม เนื้อมีรสหวานกรอบ และร่อนจากเมล็ดดีมาก ชาวบ้านจึงเรียกเงาะพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์มาจากเงาะบางยี่ขันว่า เงาะพันธุ์หมาจู

เนื่องจากว่าเงาะพันธุ์นี้มีขนยาวสวยงามคล้ายหมาจู ซึ่งเงาะพันธุ์หมาจูนี่มีลักษณะแตกต่างไปจากเงาะบางยี่ขันก็คือ เงาะบางยี่ขันเนื้อไม่ร่อน และผลมีสีส้ม ส่วนเงาะพันธุ์หมาจู เนื้อหวาน ร่อน กรอบ และมีผลเป็นสีชมพูเข้ม แลดูสวยงามโดยเฉพาะยามที่ขึ้นดกเต็มต้น

จากนั้นมาเงาะพันธุ์หมาจูปลูก ก็ได้มีการปลูกเพิ่มมากขึ้นแพร่หลายไปทั่วจังหวัดจันทบุรี พร้อมกันนี้ชาวสวนก็ได้เรียกชื่อเงาะพันธุ์นี้เสียใหม่ตามลักษณะสีสันของผลเงาะว่า “เงาะพันธุ์สีชมพู” หรือ “เงาะสีชมพู” หรือ “เงาะสี” ในภาษาชาวบ้าน




ประวัติเงาะโรงเรียน :
เงาะโรงเรียน คือเงาะที่รอดพ้นจากการสูญพันธุ์ของเงาะปีนัง
เงาะโรงเรียน หรือ เงาะพันธุ์โรงเรียน เป็นเงาะพันธุ์ดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นเงาะพันธุ์ดีที่สุดในโลก เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน

เงาะโรงเรียน มีชื่อมาจากสถานที่ต้นกำเนิดของเงาะ คือ โรงเรียนนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เงาะต้นแม่พันธุ์มีเพียงต้นเดียว ปลูกด้วยเมล็ดเมื่อ พ.ศ. 2469

ผู้ปลูกเงาะต้นแม่พันธุ์นี้ เป็นชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค หว่อง (Mr. K Wong) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอนาสาร ตั้งอยู่บนฝั่งคลองฉวาง ตรงข้ามกับที่ตั้งของโรงเรียนนาสารในปัจจุบัน นายเค หว่อง ได้ซื้อที่ดินริมทางรถไฟด้านทิศตะวันตก จำนวน 18 ไร่ สร้างบ้านพักของตนและได้นำเมล็ดพันธุ์เงาะจากปีนัง มาปลูกทางทิศเหนือของบ้านทั้งสิ้น 4 ต้น (ขณะนี้เงาะพันธุ์นี้ที่เมืองปีนังสูญพันธุ์แล้ว) แต่มีเพียงต้นที่สองเท่านั้นที่มีลักษณะพิเศษ เมื่อสุกแล้วรสชาติหวาน หอม เนื้อกรอบ เปลือกบาง

เงาะต้นนี้ก็คือ “เงาะพันธุ์โรงเรียน” พ.ศ. 2479 เมื่อ นายเค หว่อง เลิกกิจการเหมืองแร่กลับเมืองปีนัง ได้ขายที่ดินผืนนี้พร้อมบ้านพักแก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ทางราชการจึงปรับปรุงให้เป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนนาสารจากวัดนาสารมาอยู่ที่อาคารแห่งนี้ เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 แต่เงาะพันธุ์โรงเรียนก็ไม่ได้แพร่หลาย เนื่องจากการส่งเสริมด้านการเกษตรไม่ดีพอ และทางโรงเรียนสงวนพันธุ์ไว้ ไม่ให้แพร่หลาย ในระหว่าง พ.ศ. 2489-2489 มีผู้ตอนกิ่งไปขยายพันธุ์ได้เพียง 3-4 รายเท่านั้น สาเหตุที่สงวนพันธุ์น่าจะเนื่องมาจาก กลัว “ต้นแม่พันธุ์” จะตาย

ต่อมาปี พ.ศ. 2499 นายคำแหง วิชัยดิษฐ์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาสาร และพิจารณาแล้วว่า เงาะต้นนี้เป็นเงาะพันธุ์ดี ควรให้มีการขยายพันธุ์อย่างแพร่หลาย จึงอนุญาตให้คนทั่วไปตอนกิ่งแพร่พันธุ์ได้

ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว" ตั้งแต่นั้นมา เงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า "เงาะโรงเรียน" อย่างเป็นทางการ

อนึ่ง เพื่อความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดงาน วันเงาะโรงเรียน ขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคมของทุกปี



http://historyclubsite.forumotion.com/t115p15-topic


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/07/2011 12:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 11:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

62. ปลาทับทิม (ปลานิล + ปลาหมอเทศ)





ประวัติปลาทับทิม :
เป็นปลาที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้น เป็นปลาที่ผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลานิลและปลาหมอเทศ อีกนัยหนึ่งหมายถึง สายพันธุ์หนึ่งของปลานิลที่มีสีแดงอ่อน (ปลานิลจิตรลดา)

ประวัติความเป็นมาของปลาทับทิมก็น่าสนใจไม่แพ้ปลานิลญาติผู้พี่ เริ่มจากที่ประเทศไทยได้กำเนิดปลานิลสีแดง ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้ว ภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้องยังเป็นสีขาวเงินคล้ายผนังช่องท้องของปลากิน

เนื้อและสีของเนื้อปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายเนื้อปลาทะเล เรียกว่า ปลานิลแดง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว คือ ลูกปลานิลธรรมดาที่เกิดการกลายพันธุ์ โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสีของลำตัวเท่านั้น แต่ยังคงรูปร่างของปลานิลไว้เช่นเดิม แต่ลูกที่ผิดพ่อผิดแม่ของปลานิลชนิดนี้กลับมีผลในทางบวกหรือมีผลดีแก่ตัว

ปลาทับทิมเป็นปลาที่มีสีสวย เป็นสีชมพูอมแดง ซึ่งปลานิลแดงนี้ สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ เมื่อนำปลานิลแดงมาประกอบอาหารแล้ว พบว่าปลานิลแดงกลับให้รสชาติและคุณภาพสูงกว่าปลานิลธรรมดา

ปลานิลแดงที่กำเนิดในเมืองไทยนั้น พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 ที่สถานีประมงน้ำจืดอุบลราชธานี แต่ลักษณะสีของลำตัวปลายังไม่เด่นชัดนัก โดยเฉพาะที่ส่วนหัวยังมีสีกระดำกระด่าง และอาศัยปะปนอยู่กับฝูงปลานิลธรรมดา

ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์จนกลายเป็นปลานิลแดงที่มีสีสันนิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 คุณวนิช วารีกุล อธิบดีกรมประมงในขณะนั้นได้น้อมเกล้าฯ ถวายลูกปลานิลแดง 810 ตัว แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ทรงเลี้ยงไว้ในบ่อวังสวนจิตรลดา ใช้เวลาเพียง 3 เดือน ก็ทรงพระราชทานลูกปลานิลแดง จำนวน 14,509 ตัว คืนแก่กรมประมงเพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อไป



จาก
th.wikipedia.org
www.bestfish4u.com
www.bsnnews.com

http://historyclubsite.forumotion.com/t115p15-topic
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 12:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

63. ประวัติมังคุด


มังคุด เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เป็นผลไม้จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับความนิยมมาก มังคุดได้รับขนานนามว่าเป็น "ราชินีของผลไม้" อาจเป็นเพราะด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติด อยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินีส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด

มังคุดในภาษาไทยอาจจะแผลงมาจากภาษาพวก ชวา, มาเลย์, อินโด คำว่า “แมงกีส” (Manggis) แปลว่ามังคุดนั่นเอง ส่วนในภาษาอังกฤษที่เรียกมังคุดว่า แมงโก้สทีน/แมงโก้สตีน (Mangosteen) อาจแผลงมาจากคำว่า แมงกีส ในภาษาพวก ชวา, มาเลย์, อินโด เช่นกัน

นอกจากนี้มังคุดยังเป็นผลไม้ที่แปลกเพราะมีพันธุ์เดียวเท่านั้น ไม่เหมือนผลไม้ชนิดอื่นที่มีหลายหายพันธุ์ เช่น ทุเรียนมี ชะนี ก้าวยาว หมอนทอง ฯลฯ หรือ มะม่วงมี แรด กะเทย เขียวเสวย ฯลฯ แต่ในทางกลับกันมังคุดเป็นผลไม้ที่แปลกมากเพราะมีแค่พันธุ์เดียวเท่านั้น ขนาดนำไปปลูกต่างถิ่นต่างประเทศยังไม่กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ เลย

ส่วนถิ่นกำเนิดของมังคุดนั้นเชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตก เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน

มังคุดจะนำมาปลูกในประเทศไทยเมื่อไรไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีมีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีแถบที่ตั้งโรงพยาบาลศิริราช ณ บัดนี้ เดิมเรียกว่า วังสวนมังคุด สมัยเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นผลไม้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี บางกอกเป็นเมืองที่ปลูกผลไม้มากมาย เพราะปรากฏในจดหมายเหตุของทูตชาวลังกา ที่มาขอพระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทชาวลังกา เมื่อประมาณ 200 กว่า ปีมานี้ เมื่อคณะทูตมาถึงฝั่งธนบุรีในปัจจุบัน ข้าราชการหลายแผนกได้นำทุเรียน มังคุด มะพร้าว และอื่นๆ ให้คณะทูต แล้วจึงเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา




ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย ภาษาไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ชวา
gotoknow.org
science.sut.ac.th
www.bloggang.com
www.chrc.ob.tc
www.super70s.com

http://historyclubsite.forumotion.com/t115p15-topic


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/07/2011 2:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 12:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

64. ประวัติลำไย


ลำไยมาจากภาษาจีนกลางคำว่า หลงเยี่ยน (龙眼 long yăn) แปลตามตัว่า “มังกร” ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศรีลังกา อินเดีย พม่า ตั้งแต่ทางใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้ง ฟุกเกี้ยน และลิงนาน จนถึง

แต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีน ในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ 1,766 ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือ RuYa ของจีนเมื่อ 110 ปีก่อน ค.ศ. ได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปี พ.ศ. 1514 ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปี พ.ศ. 1585 แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน

ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชีย ลังกา พม่า และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปลายพุทธศตวรรษที่ 25

ในประเทศไทย ลำไยคงแพร่เข้ามาในประเทศพร้อมๆ กับประเทศในเขตนี้ แต่ไม่ปรากฏหลักฐาน หลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญสรรพเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทน์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ใกล้วัดปริวาศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นลำไยที่ขยายพันธุ์มาจากเมล็ดเพาะ แสดงว่าลำไยมีในประเทศไทยมาก่อนแล้ว และมีการพัฒนาพันธุ์ตามลำดับตามสภาพภูมิอากาศ

มีหลักฐานที่แน่ชัดอีกว่าลำไยเริ่มนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2439 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้มีชาวจีนนำกิ่งตอนลำไยมาถวายพระราชชายา เจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 5 ต้น ทรงปลูกไว้ที่กรุงเทพฯ 2 ต้น อีก 3 ต้น นั้นต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำลำไยจากกรุงเทพฯ ทรงมอบให้พระอนุชา คือ เจ้าน้อยคำตั๋น ณ เชียงใหม่ (เจ้าชื่น สิโรรส) พระญาติสาย ราชวงศ์เม็งราย มาดูแลควบคุมพัฒนาการเกษตร นำไปปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่ โดย พระราชชายาฯ ได้ทรงโปรดให้ใช้ พระตำหนักดาราภิรมย์ ณ สวนเจ้าสบาย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแปลงทดลองการเกษตรส่วนพระองค์ขนาดใหญ่

เมื่อลำไยได้ขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นก็ขยายพันธุ์สู่ภูมิภาคต่างๆ ในล้านนา โดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการแปรพันธุ์ (Mutation) เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสม และเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผลิตผลต่อต้นได้ 40-50 เข่ง

พัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูน ถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเมื่อปี พ.ศ.2457 จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืน เมื่อปี พ.ศ 2511 ขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากถึง 157,220 ไร่


http://historyclubsite.forumotion.com/t115p15-topic
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 2:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

65. ปุ๋ยพืชสด (Green Manure)


ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากการไถกลบพืชที่ปลูกอยู่ในแปลงซึ่งส่วนมากจะเป็นพืชตระกูลถั่ว ในขณะที่พืชนั้นกำลังเจริญเติบโตและยังสดอยู่ในระยะเริ่มออกดอก เมื่อพืชนั้นถูกไถกลบแล้วก็จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน และปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา

พืชที่เหมาะสมจะนำมาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ควรเป็นพืชที่เจริญเติบโตรวดเร็ว ไม่ต้องดูแลมาก ทนแล้งทนต่อโรคแมลงศัตรูพืชดี แข่งขันกับวัชพืชได้ดี มีระบบราก ใบ และลำต้นที่เจริญแพร่กระจายสามารถสังเคราะห์แสง และเก็บสะสมธาตุอาหารได้เร็วและดี เติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และไม่เป็นพิษต่อพืชปลูกชนิดอื่นๆ เมล็ดราคาไม่แพง และหาได้ง่าย ตัวอย่างเช่น พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วอัญชัน ถั่วแปบ ถั่วลาย ปอเทือง โสนอัฟริกัน โสนอินเดีย เป็นต้น และพืชที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไรย์ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และพืชตระกูลหญ้าชนิดอื่นๆ

การปลูกพืชที่จะทำเป็นปุ๋ยพืชสดจะไม่ค่อยพิถีพิถันมาก โดยทั่วไปจะทำการปลูกโดยใช้เมล็ดหว่านประมาณ 3-4 กิโลกรัมต่อไร่ (โดยจำนวนเมล็ดต่อไร่ที่ใช้อาจแตกต่างกันตามขนาดของเมล็ด ลักษณะทรงพุ่มและอัตราการงอก) ไถกลบแล้วให้ความชื้นตาม เพื่อให้เมล็ดงอกและเจริญเตอบโต เมื่อถึงระยะที่พืชใกล้ออกดอกจึงจะใส่ธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมลงไปเล็กน้อย โดยไม่จำเป็นต้องดูแลในเรื่องวัชพืชหรือโรคและแมลง


การไถกลบจะทำการไถกลบในขณะที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ และกำลังจะออกดอก ซึ่งเป็นระยะที่พืชจะมีการสะสมธาตุอาหารพืชอย่างเต็มที่ โดยจะมีธาตุไนโตรเจนในระยะนี้สูงสุด และเป็นระยะที่พืชไม่แก่มาก เนื้อเยื่อจะเน่าสลายตัวได้ง่ายเมื่อทำการไถกลบ เมื่อไถกลบแล้วจะปล่อยพืชดังกล่าวให้เนาสลายประมาณ 15-20 วัน จึงปลูกพืชหลักตาม สำหรับพืชที่ไม่ใช่พืชในตระกูลถั่ว เมื่อไถกลบแล้วควรเติมธาตุไนโตรเจนประมาณ 4-5 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อใช้เป็นสารอาหารให้แก่จุลินทรีย์ในการช่วยย่อยสลายเศษพืชสดที่ไถกลบ สำหรับพืชตระกูลถั่วไม่จำเป็นต้องเพิ่มธาตุไนโตรเจน เนื่องจากมีไรโซเบียมในบริเวณรากที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้เพียงพออยู่แล้ว


การใช้ปุ๋ยพืชสดจะเป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ แร่ธาตุ และความอุดมสมบูรณ์แก่ดินในเวลารวดเร็ว การสลายตัวของพืชจะได้กรดคาร์บอนิก ซึ่งช่วยให้แร่ธาตุอาหารพืชต่างๆ ละลายได้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังได้สารอินทรีย์ที่คงความเป็นประโยชน์ได้นาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในส่วนใต้ดินส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช




ที่มา : แนวคิด หลักการ เทคนิคปฎิบัติในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติ ประยุกต์ โดย รศ. ดร.อานัฐ ต้นโช

http://www.maejonaturalfarming.org
http://www.oknation.net/blog/kontan/2008/03/17/entry-2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/07/2011 10:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 2:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

66. หลักการทำเกษตรธรรมชาติเกาหลี

1.) เข้าใจบทบาทของสิ่งมีชีวิตและทำงานร่วมกับธรรมชาติ หลักการของการทำเกษตรธรรมชาติของ ฮาน คิว โช คือ การทำงานร่วมกับธรรมชาติ เข้าใจกฎการทำการเกษตร รวบรวมองค์ความรู้ของมนุษย์ร่วมกับกรใช้แรงงานในการผสมผสานสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ ธาตุอาหารพืช แสงแดด อาหาร ดินและน้ำ สิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นในการทำเกษตรธรรมชาติ คือ การสังเกตและยอมรับในบทบาทของธรรมชาติ เพราะทุกชีวิตมีหน้าที่และมีบทบาทของตัวเอง โดยทุกชีวิตจะแยกจากกันไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยกันอยู่ร่วมกันเป็นระบบนิเวศ

ดังนั้นเราต้องเข้าใจถึงวัฎจักรของสิ่งมีชีวิตและยอมรับในความสามารถของพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่รอบๆ ตัวตามศักยภาพที่มีอยู่อย่างเหมาะสมที่สุด คงเหลือไว้ให้มนุษย์รุ่นต่อๆ ไปได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติได้เช่นกัน

การทำเกษตรธรรมชาติของ ฮาน คิว โช จะเน้นให้เกษตรกรรู้จักบทบาทของตัวเองในการทำการเกษตร ในขณะเดียวกันก็ควรยอมรับในบทบาทของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ซึ่งแตกต่างจากระบบเกษตรแผนใหม่ในปัจจุบันที่เน้นการผลิตพืชและสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น โดยความสำคัญของการเกษตร คือ การทุ่มเทแรงงานไปเพื่อการผลิตอาหารสำหรับมนุษย์ และการมีสุขภาพที่ดีจากการทำงานร่วมกับธรรมชาติ


2.) รู้จักใช้สิ่งที่มีอยู่รอบๆ ตัวให้เป็นประโยชน์ ประเทศเกาหลีเป็นประเทศในเขตหนาว ซึ่งในรอบปีจะสามารถทำการเกษตรได้เพียง 4-5 เดือน ดังนั้นผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาไว้ในรูปของหมักดอง ซึ่ง ฮาน คิว โช ได้ค้นพบโดยบังเอิญว่า น้ำที่ได้จากการทำผักดองของเกาหลีที่เรียกว่า “กิมจิ” เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ จากการสังเกตว่าเมื่อเทน้ำเหล่านี้ทิ้งลงแปลงพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี ซึ่งถ้าพิจารณาส่วนประกอบในน้ำหมักดองจะพบว่ามีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อยู่เป็นจำนวนมาก

ในน้ำผักดองนั้นประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมัก และสารอินทรีย์ต่างๆ ที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นมากมาย และสารอินทรีย์เหล่านั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ เอนไซม์ ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่างๆ เช่น กรดอะมิโน และวิตามิน เป็นต้น ทำให้เกิดความคิดการทำน้ำหมักจากเศษวัตถุดิบที่เหลือใช้หรือมีอยู่มากรอบๆ ตัวมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่เน้นการซื้อหามาจากแหล่งจากอื่น

นอกจากนี้ยังพบว่าจุลินทรีย์มีอยู่รอบๆ ตัวเรา ซึ่งสามารถทำการเก็บเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้ในการทำเกษตรธรรมชาติ และสามารถเก็บได้เองในพื้นที่ โดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและปรับตัวทำงานได้ดีที่สุด จุลินทรีย์ที่ดีควรมีความหลากหลาย เกษตรธรรมชาติเกาหลีไม่เน้นการใช้จุลินทรีย์เฉพาะตัวใดตัวหนึ่งและไม่สนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ต่างถิ่นที่ต้องซื้อหามาใช้เป็นปัจจัยในการผลิต


3.) ให้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต กระบวนการผลิตมีความสำคัญมากกว่าในการผลิต เนื่องจากรูปแบบของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จะมีลักษณะเฉพาะ การทำเกษตรสมัยใหม่จะมีเป้าหมายอยู่ที่ปริมาณการผลิต โดยไม่ใส่ใจลักษณะเฉพาะและความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว เช่น การเลี้ยงไก่ในกรงตับ การเลี้ยงสุกรหรือวัวที่เป็นคอกพื้นซีเมนต์ ฯลฯ เกษตรกรควรใส่ใจ และยอมรับในความสุขของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รู้จักสังเกตสิ่งที่เป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของพืชที่ปลูก และสัตว์ที่เลี้ยง สิ่งนี้คือ หัวใจของเกษตรธรรมชาติที่แท้จริง


4.) เชื่อในพลังของธรรมชาติ และมุ่งเน้นการผลิตโดยคำนึงถึงคุณภาพ เกษตรธรรมชาติมีอิทธิพลอย่างมาก ในการกระตุ้นในเกษตรกรเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ในการผลิตพืชและสัตว์ แนวคิดของเกษตรธรรมชาติเป็นอะไรที่จะฟังดูแปลก และมีความเสี่ยง ไม่มีเหตุผล หรือไม่สามารถอธิบายข้อสงสัยของเกษตรกรได้หมด ความเชื่อในวิธีเกษตรธรรมชาติปรากฏออกในลักษณะที่เกษตรกรไม่คุ้นเคย เนื่องจากหลักการและสมมุติฐานนี้ใหม่ดูแล้วไม่น่าจะถูกต้อง แต่ในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมีความเป็นไปได้ ถ้าเกษตรกรเชื่อในพลังของธรรมชาติ เข้าและทำงานร่วมกันกับธรรมชาติ มนุษย์ต้องทำการเกษตรให้กลมกลืนอยู่กับธรรมชาติ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นหวังที่จะให้ได้ผลผลิตจากการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้ได้ประมาณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตที่ได้


5.) ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ช่วยเหลือกันเอง และช่วยเหลือตัวเองก่อน เกษตรกรควรให้ความช่วยเหลือ และดูแลให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมและใช้วิธีการถูกต้อง เช่น ถ้ามีแมลงรบกวนก็ควรจะควบคุมตัวอ่อนของแมลง ถ้าวัชพืชเป็นปัญหาก็ควรใช้วิธีหยุดการงอกของเมล็ดวัชพืช การปล่อยให้วัชพืชต้องแข่งขันกันเองในแปลงปลูก จนเกินจุดสมดุลของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่รอบๆ ก็เป็นวิธีการควบคุมวัชพืชวิธีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าวัชพืชบางชนิดก็มีประโยชน์เช่นกัน




ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org
http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/12/30/entry-2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 3:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

67. เกษตรธรรมชาติเกาหลี ตามแนวทางของเกาหลี


ได้รับการเผยแพร่โดย ฮาน คิ โซ ผู้อำนวยการสถาบันเกษตรธรรมชาติจานอง (Janong Natural Farming Institute) เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลี ก่อนเกษียณได้มีการนำแนวคิดการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ชุมชน เพื่อใช้เป็นปัจจัยการผลิตในระบบเกษตรธรรมชาติ

โดยเริ่มต้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง โดยฮาน คิว โซ เป็นคนหนุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ทำให้ต้องหยุดเรียนหนังสือ เนื่องจากมหาวิทยาลัยต้องปิดยาว ฮาน คิว โซ ได้สังเกตเห็นว่า เทคนิคการหมักพืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ในถังหมักของชาวเกาหลี เป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง (การทำคิมจิ) โดยเมื่อนำของหมักดองไปรับประทานหมดแล้วก็จะเหลือแต่น้ำหมัก ซึ่งชาวเกาหลีมักจะเททิ้งก่อนทำความสะอาดถังหมักใหม่

ฮาน คิว โซ สังเกตว่าพืชผักที่ในนาและต้นไม้ข้างโรงหมักจะเจริญงอกงามดี เมื่อได้รับน้ำหมักจากการถนอมอาหาร ฮาน คิว โซ จึงได้รวบรวมสิ่งที่ได้จากการสังเกตและนำภูมิปัญญาของเกษตรกรเกาหลีมารวบรวมไว้เพื่อเผยแพร่มากกว่า 50 ปี โดยมีแนวคิดว่าการเกษตรที่พึ่งพาตนเองโดยใช้วัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่นจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้เกษตรกรสามารถะพึ่งพาตนเองได้


เกษตรธรรมชาติตามแนวทางเกาหลีเป็นรูปแบบเกษตรธรรมชาติวิธีหนึ่งที่มีแนวทางแตกต่างจากแนวทางของฟูกูโอกะ และโอกาดะ โดยจะมีความแตกต่างกัน ในส่วนของรูปแบบการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในพื้นที่ในป่าหมู่บ้าน หรือชุมชนใกล้เคียง มาเป็นตัวเพิ่มความหลากหลายของธรรมชาติในพื้นที่เกษตรกรรม


มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ดินแดงในป่า รำข้าว รวมถึงมูลสัตว์ มาหมักร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น แล้วนำไปใช้ปรับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นทั้งในรูปของ จุลินทรีย์และวัสดุต่างๆ มาใช้ร่วมกันด้วยวิธีการหมักที่เห็นความรวดเร็ว โดยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถสลายตัวได้รวดเร็วใช้แรงงานน้อยลง จึงเป็นแนวทางที่แตกต่างกับวิธีของฟูกูโอกะ และมีผลทำให้ได้มูลค่าตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สูงขึ้น ในระยะเวลาที่ไม่แตกต่างกับระบบการเกษตรแผนปัจจุบัน จึงทำให้ระบบเกษตรธรรมชาติเกาหลีแพร่หลายเป็นที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยและทั่วโลกมากกว่าวิธีของฟูกูโอกะที่เน้นการฟื้นฟูโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติเช่นกัน แต่ไม่เน้นการทำปุ๋ยหมักจากวัสดุต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารและขยายปริมาณจุลินทรีย์


ดังนั้นวิธีของฟูกูโอกะ จึงใช้ระยะเวลาเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนที่มากกว่า จึงทำให้ไม่ทันใจเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนจากระบบเกษตรแผนปัจจุบันไปเป็นเกษตรธรรมชาติ


เกษตรธรรมเกาหลีจะเน้นการใช้จุลิทรีย์ท้องถิ่น (ไอเอ็มโอ หรือ Indigeneous Microorganism : IMOs) โดยมีหลักการที่ว่า จุลินทรีย์จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีความสมดุลในระบบนิเวศของชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากมีการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมานับเป็นเวลาหลายพันปี



ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org
http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/12/30/entry-1



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/07/2011 10:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 3:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

68.


มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการชาวไทยเป็นอย่างดี ภายหลังจากที่หนังสือ One Rice Straw Revolution หรือในชื่อไทย คือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ได้รับการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2530 ฟูกูโอกะได้รับรางวัล แมกไซไซ ในปี 2531 จากผลงานเกษตรธรรมชาติซึ่งมีหลักการสี่ประการได้แก่ การไม่ไถพรวน การไม่ใช้ปุ๋ยเคมี การไม่กำจัดวัชพืช และการไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลักการของฟูกูโอกะได้สวนทางกับการเกษตรกรรมแผนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ฟูกูโอกะเป็นนักโรคพืชวิทยาที่ผันตัวเองไปเป็นเกษตรกรมาไม่ต่ำกว่า 50 ปี โดยพยายามที่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศในไร่นาให้กลับมามีชีวิตดังเดิม สร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผลในทางคุณภาพและปริมาณอีกด้วย

มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะซิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และจบการศึกษาทางจุลชีววิทยาสาขาโรคพืชวิทยา เคยทำงานเป็นนักวิจัยทางการเกษตรของกรมศุลกากรเมืองโยโกฮาม่า ในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ได้ตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท


เขาใช้เวลากว่า 50 ปี ไปกับการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ


ฟูกูโอกะเป็นผู้นำงานจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาอธิบายว่า ชาวนาเชื่อว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกันทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย เพียงแต่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง

ทฤษฎีของฟูกูโอกะ นี้เป็นการเดินตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ และเป็นวิธีบำรุงธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยมุ่งเน้นวิธีการคลุมดิน ไม่มุ่งเน้นในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก เพราะการคลุมดินจะช่วยปรับสภาพดินได้เป็นธรรมชาติกว่า



วิธีการทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะ มีดังนี้
1.) ไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรกล

2.) ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะใช้วิธีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน โดยไม่สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แต่ให้ใช้ฟางข้าวโรยคลุมดินแทน

3.) ไม่มีการกำจัดวัชพืช แต่ใช้หลักการคุมปริมาณวัชพืช โดยใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้ฟางข้าวคลุมดิน

4.) ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง แต่อาศัยการควบคุมโรคและแมลงด้วยกลไก การควบคุมกันเองของ สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ โดยเชื่อว่าวิธีการควบคุมโรคและแมลงที่ดีที่สุด คือ การปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา



ฟูกูโอกะเชื่อในการบำรุงรักษาดิน และการปล่อยให้สภาพแวดล้อมคงอยู่ตามธรรมชาติ ไม่แยกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันตามธรรมชาติออกจากกัน โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าเราเปลี่ยนแปลงวิธีการเพาะปลูกธัญญาหารของเราเท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะอาหาร เปลี่ยนแปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนวิถีชีวิตค่านิยมของเราไปด้วย”

การทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะไม่ได้ปล่อยให้ธรรมชาติจัดการทุกอย่างเอง โดยที่เกษตรกรนั่งดูอยู่เฉยๆ โดยไม่ลงมือปฏิบัติอะไรเลย แต่ตัวเกษตรกรเองจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และทำการเกษตรกรรมโดยประสานความร่วมมือกับธรรมชาติ มากกว่าพยายามที่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติ และเพื่อลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่จำเป็นลง มีจุดมุ่งหมายของการทำการเกษตรไม่ใช่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต ฟูกูโอกะได้กล่าวว่า “การทำเกษตรกรรมด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระในแต่ละวัน คือ วิธีดั้งเดินของเกษตรกรรม ซึ่งมนุษย์เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว”




ข้อดีและข้อจำกัดของการทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ

ข้อดี
1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ
5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย

ข้อจำกัด
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5.) ไม่สามาถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ




ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้
http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/10/30/entry-1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/07/2011 10:15 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 3:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

69. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร


1. จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing Microorganisms) ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มแบคทีเรีย เพราะทำงานเร็วและมีจำนวนอยู่มาก โดยครึ่งหนึ่งของมวลจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกคือ แบคทีเรีย แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องอยู่ร่วมกับตัวอื่นถึงจะตรึงไนโตรเจนได้แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน (Symbiosis) เช่น ไรโซเบียม (Rhizobium sp.) ในปมรากพืชตระกูลถั่ว และอีกกลุ่มหนึ่งที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างอิสระ (Non-Symbiosis)


2. จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือเซลลูโลส (Cellulolytic Microorganisms หรือ Cellulolytic Decomposers) เป็นพวกที่ย่อยสลายเซลลูโลส หรือซากพืช ซากสัตว์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา แอคติโนมัยซิท และโปรโตซัว จุลินทรีย์พวกนี้พบได้ทั่วไประหว่างการสลายตัวของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ซากพืช ซษกสัตว์ ใบไม้ กิ่งไม้ เศษหญ้า และขยะอินทรีย์ชนิดต่างๆ ทำให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ขึ้นมาได้เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น


ในปุ๋ยหมักที่มีกิจกรรมจุลินทรีย์ค่อนข้างดีพบว่าในทุก 1 กรัมของปุ๋ยหมักจะต้องมีแบคทีเรีย 150-300 ไมโครกรัมและมีแบคทีเรียที่มีกิจกรรมสูง (Active) อยู่ 15-30 ไมโครกรัม มีเชื้อรา 150-200 ไมโครกรัมและมีเชื้อราที่มีกิจกรรมสูง 2-10 ไมโครกรัม มีพวกโปรโตซัว ซึ่งจะย่อยสลายเศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ต้องมีถึงประมาณ 10,000 ตัวต่อ 1 กรัมของปุ๋ยหมัก และมีพวกไส้เดือนฝอยชนิดที่เป็นประโยชน์ 50-100 ตัว


3. จุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆ (Phosphate and Other Nutrient Elements Solubilizing Microorganisms) จุลินทรีย์พวกนี้สามารถทำให้ธาตุอาหารพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ที่มักอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ ให้ละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ช่วยส่งเสริมให้รากพืชดูดกินธาตุอาหารพืชได้ดีขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือดูดกินได้น้อย

จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการแปรสภาพฟอสฟอรัสจะมีทั้งกลุ่มที่ทำหน้าที่เปลี่ยนอินทรีย์ฟอสฟอรัสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ในกรณีของสารอินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูปของไฟทิน และกรดฟอสฟอรัส จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างเอนไซม์ Phytase, Phosphatase, Nucleotidases และ Glecerophosphatase เพื่อแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่เรียกว่า ออโธฟอสเฟต (Orthophosphate) ซึ่งเป็นพวกโมโน (Mono) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (Dihydrogen Phosphate) จุลินทรีย์ดังกล่าวได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Bacillus sp. และราในสกุล Aspergillus sp., Thiobacillus, Penicillium sp. และ Rhizopus sp. เป็นต้น นอกจากนี้สารประกอบอนินทรีย์ฟอสฟอรัสบางชนิดในรูปของหินฟอสเฟตซึ่งพืชยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้จุลินทรีย์บางชนิดในสกุล Bacillus sp. และ Aspergillus sp. จะสร้างกรดอินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสออกมาให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ นอกจากนี้เชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Fungi) ยังมีบทบาทในการละลายและส่งเสริมการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัส



4. จุลินทรีย์ที่ผลิตสารป้องกันและทำลายโรคพืช จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียพวกที่ก่อโรคบางชนิด เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acids Bacteria) ได้แก่ Lactobacillus spp. บนใบพืชที่สมบูรณ์และมีสุขภาพดีแจะพบแบคทีเรียกลุ่มผลิตกรดแลคติกมาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Microorganisms) และมีประโยชน์อย่างมากในการเกษตร เช่น เปลี่ยนสภาพดินจากดินไม่ดีหรือดินที่สะสมโรคให้กลายเป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชให้มีจำนวนน้อยลง มีประโยชน์ทั้งกับพืชและสัตว์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสร้างสารปฏิชีวนะออกมาทำลาลเชื้อโรคพืชบางชนิด เช่น เชื้อรา Aspergillus sp., Trichoderma sp. และเชื้อแอคติโนมัยซิทพวก Streptomyces sp.



5. จุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนพืช แบคทีเรียหลายสายพันธุ์ เช่น Bacillus sp. สามารถสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช




ดาว์นโหลดไฟล์ http://www.uploadtoday.com/download/?d63d3c4c8dfef962abc361f7a99c97e4
http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/08/28/entry-1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 03/07/2011 10:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

70. จุลินทรีย์สร้างปุ๋ย ทำได้อย่างไร



จุลินทรีย์มีหลายชนิดและมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เช่นบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ในปริมาณมากๆ บางชนิดสามารถย่อยสลายโปตัสเซี่ยมในดินได้ดี บางชนิดผลิต Growth ฮอร์โมน ออกมากระตุ้นให้เกิดรากและการแตกยอดของพืช ฯลฯ


จุลินทรีย์แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มจุลินทรีย์สร้างสรรค์หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มจุลินทรีย์ทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคต่างๆรวมทั้งของเสียต่างๆ มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มจุลินทรีย์เป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่า จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย


ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป

จุลินทรีย์มีจุดเด่นคือสามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมากภายในเวลาสั้นๆและต้องการปัจจัยสนับสนุนในการขยายพันธุ์น้อย เช่นน้ำ / อาหาร ดังนั้นเมื่อเรานำจุลินทรีย์ที่ผลิตปุ๋ยสำหรับพืชมาเลี้ยงไว้และทำให้เกิดการขยานพันธุ์อย่างเข้มข้นเราก็จะได้ปุ๋ยสำหรับพืชอย่างพอเพียง

จุลินทรีย์ขยายพันธุ์จาก 1 เป็น 2 เป็น 4 เป็น 8 และหากเริ่มต้นจากจุลินทรีย์ 100 ตัว จะสามารถเพิ่มจำนวนเป็น 100 ล้านตัวได้ภายในเวลาเพียง 6-12 ชั่วโมง ดังนั้นการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่ดีสามารถสร้างปุ๋ยสำหรับพืชมาเพาะเลี้ยงไว้ในระบบนาโนจึงสามารถทำเป็นปุ๋ยสำหรับพืชที่สมบูรณ์แบบที่สุด



กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร
1. จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing Microorganisms)
ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มแบคทีเรีย เพราะทำงานเร็วและมีจำนวนอยู่มาก โดยครึ่งหนึ่งของมวลจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกคือ แบคทีเรีย แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องอยู่ร่วมกับตัวอื่นถึงจะตรึงไนโตรเจนได้แบบพึ่งพาอาศัยกันและ กัน (Symbiosis) เช่น ไรโซเบียม (Rhizobium sp.) ในปมรากพืชตระกูลถั่ว และอีกกลุ่มหนึ่งที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างอิสระ (Non-Symbiosis)


2. จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือเซลลูโลส (Cellulolytic Microorganisms หรือ Cellulolytic Decomposers)
เป็นพวกที่ย่อยสลายเซลลูโลส หรือซากพืช ซากสัตว์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา แอคติโนมัยซิท และโปรโตซัว จุลินทรีย์พวกนี้พบได้ทั่วไประหว่างการสลายตัวของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการ เกษตรต่างๆ ซากพืช ซษกสัตว์ ใบไม้ กิ่งไม้ เศษหญ้า และขยะอินทรีย์ชนิดต่างๆ ทำให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ขึ้นมาได้เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

ในปุ๋ยหมักที่มีกิจกรรมจุลินทรีย์ค่อนข้างดีพบว่าในทุก 1 กรัมของปุ๋ยหมักจะต้องมีแบคทีเรีย 150-300 ไมโครกรัมและมีแบคทีเรียที่มีกิจกรรมสูง (Active) อยู่ 15-30 ไมโครกรัม มีเชื้อรา 150-200 ไมโครกรัมและมีเชื้อราที่มีกิจกรรมสูง 2-10 ไมโครกรัม มีพวกโปรโตซัว ซึ่งจะย่อยสลายเศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ต้องมีถึงประมาณ 10,000 ตัวต่อ 1 กรัมของปุ๋ยหมัก และมีพวกไส้เดือนฝอยชนิดที่เป็นประโยชน์ 50-100 ตัว



3. จุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆ (Phosphate and Other Nutrient Elements Solubilizing Microorganisms)
จุลินทรีย์พวกนี้สามารถทำให้ธาตุอาหารพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ที่มักอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ ให้ละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ช่วยส่งเสริมให้รากพืชดูดกินธาตุอาหารพืชได้ดีขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือดูดกินได้น้อย

จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการแปรสภาพฟอสฟอรัสจะมีทั้งกลุ่มที่ทำ หน้าที่ เปลี่ยนอินทรีย์ฟอสฟอรัสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ ต่อพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

ในกรณีของสารอินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูป ของไฟทิน และกรดฟอสฟอรัส จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างเอนไซม์ Phytase, Phosphatase, Nucleotidases และ Glecerophosphatase เพื่อแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่เรียกว่า ออโธฟอสเฟต (Orthophosphate) ซึ่งเป็นพวกโมโน (Mono) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (Dihydrogen Phosphate)

จุลินทรีย์ดังกล่าวได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Bacillus sp. และราในสกุล Aspergillus sp., Thiobacillus, Penicillium sp. และ Rhizopus sp. เป็นต้น

นอกจากนี้สารประกอบอนินทรีย์ฟอสฟอรัสบางชนิดในรูปของหินฟอสเฟตซึ่งพืชยังไม่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้จุลินทรีย์บางชนิดในสกุล Bacillus sp. และ Aspergillus sp. จะสร้างกรดอินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสออกมาให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้

นอกจากนี้เชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Fungi) ยังมีบทบาทในการละลายและส่งเสริมการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัส บทบาทของจุลินทรีย์ในการทำให้เกิดการหมุนเวียนทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา



4. จุลินทรีย์ที่ผลิตสารป้องกันและทำลายโรคพืช
จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อรา และแบคทีเรียพวกที่ก่อโรคบางชนิด เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acids Bacteria) ได้แก่ Lactobacillus spp. บนใบพืชที่สมบูรณ์และมีสุขภาพดีแจะพบแบคทีเรียกลุ่มผลิตกรดแลคติกมาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Microorganisms) และมีประโยชน์อย่างมากในการเกษตร เช่น เปลี่ยนสภาพดินจากดินไม่ดีหรือดินที่สะสมโรคให้กลายเป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชให้มีจำนวนน้อยลง มีประโยชน์ทั้งกับพืชและสัตว์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสร้างสารปฏิชีวนะออกมาทำลา ลเชื้อโรคพืชบางชนิด เช่น เชื้อรา Aspergillus sp., Trichoderma sp. และเชื้อแอคติโนมัยซิทพวก Streptomyces sp.



5. จุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนพืช

แบคทีเรียหลายสายพันธุ์ เช่น Bacillus sp. สามารถสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช




http://www.bionanothai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=48&Itemid=89
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/07/2011 6:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

71. แบคทีเรียที่มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ย ฮอร์โมนพืช และฆ่าเชื้อโรคพืช


สุดฤดี ประเทืองวงศ์ ชัยสิทธิ์ ปรีชา
สุพจน์ กาเซ็ม และ จารุวัฒน์ เถาธรรมพิทักษ์
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


โรคพืชเป็นปัญหาสำคัญต่อกระบวนการผลิตพืชและเกษตรกรมักใช้สารเคมีควบคุมในปริมาณและอัตราที่สูงขึ้นเป็นลำดับซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ตลอดจนกระตุ้นให้เชื้อโรคเกิดการดื้อสารและเป็นปัญหาของโรคระบาดที่รุนแรงมากกว่าเดิม การเกษตรในปัจจุบันจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องการเกษตรแบบยั่งยืนและการควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี

โดยในเรื่องของโรคพืชนั้น สุดฤดี ประเทืองวงศ์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร และผู้ร่วมงาน ได้ศึกษาวิจัยและคัดเลือกจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ต่อระบบการผลิตพืชหลายสายพันธุ์ เช่น

1. Bacillus firmus KPS46 และ Lactobacillus sp. SW01/4 จากผิวใบถั่วเหลือง
2. Bacillus sereus SPt245 จากดินปลวก
3. Bacillus sp. KS217 จากเมล็ดงา

ที่สามารถควบคุมโรคและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้มากชนิด เช่น การชักนำให้พืชเจริญเติบโตและควบคุมโรคใบจุดนูน (X. axonopodis pv. glycines), แอนแทรคโนส (C. truncatum), โรคไวรัส (SMV และ SCLV), โรคเน่าคอดิน (Pythium sp. และ R. solani), และโรคที่ระบบรากอื่น ๆ (F. oxysporum, F. solani และ S. rolfsii) ของถั่วเหลือง ; โรคเน่าคอดินของอะคาเซียและสัก (P. aphanidermatum) ; โรคใบจุดแบคทีเรียของงา (P. syringae pv. sesami) ; โรคใบจุดทานตะวัน (Alternaria spp.) ; โรคใบไหม้ข้าวโพด (B. maydis) และ โรคใบไหม้ของหน้าวัว (X. campestris pv. dieffenbachiae) (ภาพที่ 1)



ภาพที่ 1. ความอุดมสมบูรณ์ของพืชที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียเป้าหมาย ;
(ก.) ถั่วเหลือง, (ข.) สัก,(ค.) งา, และ (ง ) หน้าวัว ตามลำดับ



โดยแบคทีเรียเหล่านี้ส่งเสริมให้ราก ลำต้น และยอดพืชเจริญยืดยาวอย่างรวดเร็ว (เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช) ขนาดและสีสรรส่วนต่าง ๆ ของพืช ขยายใหญ่และเข้มขึ้นตามลำดับ (เกี่ยวข้องกับธาตุอาหาร/ปุ๋ย) ตลอดจนฆ่าและยับยั้งเชื้อโรคพืชหลายชนิด (เกี่ยวกับสาร secondary metabolites และการเจริญแข่งขันกับเชื้อโรค) วิธีการใช้เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวสามารถประยุกต์ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ ใช้คลุกเมล็ด การคลุกเมล็ดร่วมกับการราดดิน ใช้ผสมในดินหรือวัสดุปลูก และการพ่นด้วย cell suspension รวมทั้งการพ่นด้วยสารเหลวที่กรองเอาเซลล์แบคทีเรียออก (cell free culture filtrate) ทั้งนี้การศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ คือ KPS46 และ SW01/4

ในการควบคุมโรคสำคัญของถั่วเหลืองน้ำมันในสภาพแปลง ณ ท้องที่จังหวัดนครราชสีมา และแปลงปลูกถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวิธีคลุกเมล็ดร่วมกับการพ่น cell suspension พบว่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการงอกของเมล็ด และส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลืองได้ดี (PGPR) และสามารถลดความรุนแรงของโรคเป้าหมายได้ทัดเทียมกับการใช้สารเคมี (copper hydroxide และ streptomycin) ตลอดจนเพิ่มปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองได้มากกว่า 20%

นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์นั้น ยังสามารถชักนำให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานการเข้าทำลายของเชื้อโรคพืชในสภาพธรรมชาติได้หลายชนิดในลักษณะของ induced systemic resistance (ISR) และจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์เป้าหมายมีศักยภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและกระตุ้นให้พืชต้านทานต่อโรคสำคัญหลายชนิด รวมทั้งเพิ่มคุณภาพให้ฝักสมบูรณ์ได้มาตรฐานส่งออก โรคเหล่านั้นได้แก่ ใบจุดนูน ราน้ำค้าง แอนแทรคโนส (ฝักเป็น รอยเปื้อน) เน่าคอ ดินโคนเน่าและโรคเหี่ยว และโดยเฉพาะโรคไวรัส (SMV และ SCLV) ทีสร้างความเสียหายให้ถั่วเหลืองฝักสดป็น อย่างมาก ซึ่งแต่เดิมเกษตรกรต้องใช้สารเคมีในปริมาณสูงเพื่อควบคุมโรคและแมลงพาหะของไวรัสดังกล่าว ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในผลผลิตและถูกระงับการนำเข้าจากประเทศคู่ค้าดังเช่นที่เกิดกับผักแช่แข็งของประเทศจีน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียเป้าหมายมีความสามารถในการลดการระบาดของพาหะแมลงพาหะ ส่งผลให้ถั่วเหลืองที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคไวรัสน้อยลง

การใช้แบคทีเรียที่อาศัยตามบริเวณรากและดินรอบรากพืช ที่มีความสามารถในการอยู่อาศัยร่วมกัน มาเพิ่มปริมาณและใส่ลงไปในดินปลูกพืชเพื่อส่งเสริมการใช้ธาตุอาหารของพืช และ/หรือการกระตุ้นให้พืชเติบโตแข็งแรงตลอดจนการผลิตสารต่าง ๆ ออกมายับยั้งการเจริญของเชื้อโรค เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาในการใช้สารเคมี และช่วยส่งเสริมการทำการเกษตรดีที่เหมาะสม โดยเชื้อแบคทีเรีย Bacillus sereus สายพันธุ์ SPt245 จากดินปลวกมีประสิทธิภาพสูงในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชป่าไม้ทั้งกระถินเทพาและสักที่ปลูกภายใต้สภาพโรงเรือนอย่างมีนัยสำคัญ สามารถส่งเสริมความยาวราก ความสูงของพืชดังกล่าวได้ป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพในการควบคุมและลดความรุนแรงของโรคที่ระบบรากได้ จึงมีแนวโน้มสูงที่จะนำเชื้อแบคทีเรีย PGPR สายพันธุ์ดังกล่าวไปปรับใช้ในการส่งเสริมการเจริญของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอื่น ๆ พืชป่าไม้ พืชอนุรักษ์ และ/หรือพืชโตช้า ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมระบบการปลูกป่าทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียทุกสายพันธุ์ มีศักยภาพสูงในลักษณะของการเป็นเชื้อปฏิปักษ์ควบคุมโรคพืชได้อย่างครอบคลุมทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส สามารถส่งเสริมการใช้ธาตุอาหารและกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนชักนำให้พืชเกิดความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคชนิดต่าง ๆ ได้กว้างขวาง ทั้งนี้สายพันธุ์เชื้อที่มีประโยชน์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสม เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ และการผลิตในระดับเชิงอุตสาหกรรม ตลอดจนการถ่ายทอดให้นำไปปรับใช้ในระบบการเกษตรแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น



http://www.rdi.ku.ac.th/exhibition/Year2548/01-KasetNational/Project/index_04.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/07/2011 4:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 05/07/2011 7:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

72. เกษตรอินทรีย์ : การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบเกษตรอินทรีย์ (4)



นักวิชาการเกษตรระบุ รัฐควรสนับสนุนให้มีการศึกษาด้านจุลินทรีย์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพให้มากขึ้น

ด้วยคุณสมบัติของแบคทีเรียกลุ่ม PGPR ดังที่ได้กล่าวไปในตอนที่แล้ว นักวิจัยด้านจุลินทรีย์ทั่วโลกจึงทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแบคทีเรียกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น และได้มีการเสนอผลงานวิจัยทางวิชาการมากมายในที่ประชุมนานาชาติ ในประเทศต่างๆ ทุกปี ซึ่งผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานวิจัยด้วยเป็นครั้งคราว

การศึกษาวิจัยเพื่อนำจุลินทรีย์ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ จะต้องมีการศึกษาในเชิงลึกเพื่อให้รู้ถึงกลไกที่แท้จริงของจุลินทรีย์แต่ละชนิด เพื่อที่จะควบคุมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ การที่จุลินทรีย์เหล่านั้นสามารถผลิตปุ๋ย ฮอร์โมน หรือสารพิษควบคุมโรคพืชต่าง ๆ ได้นั้นเป็นเพราะมีหน่วยพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า DNA ซึ่งจุลินทรีย์จะต้องมีดีเอ็นเอจำเพาะที่เรียกว่า “ยีน” (gene) ทำหน้าที่ผลิตสารเหล่านั้น

เทคโนโลยีปัจจุบันนี้มีความก้าวหน้ามากในการตรวจสอบจุลินทรีย์ว่าชนิดไหนมีความสามารถในการผลิตสารอะไร เช่น ถ้าต้องการรู้ว่าจุลินทรีย์ชนิดไหนสามารถผลิตปุ๋ยไนโตรเจนได้ เราก็สามารถตรวจหาดีเอ็นเอที่ทำหน้าที่ในการผลิตปุ๋ย คือ “nif gene” คือ ยีนที่ทำหน้าที่เปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนในอากาศให้เป็นปุ๋ยได้ ในจุลินทรีย์อื่น ๆ ก็เช่นกัน จะต้องมียีนจำเพาะที่ทำหน้าที่นั้นๆ จุลินทรีย์กลุ่มดังกล่าวนี้มีประโยชน์มาก ถ้ารัฐบาลสนับสนุนให้มีการศึกษามากขึ้นจะทำให้นโยบายที่รัฐจะเป็นครัวของโลกประสบความสำเร็จ เพราะเทคโนโลยีแขนงนี้จะนำไปสู่การผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสาร และเกษตรยั่งยืนได้อย่างแท้จริง แต่น่าเสียดายที่มีผู้สนใจในงานวิจัยทางด้านนี้ไม่มากนัก และการสนับสนุนงานวิจัยจากภาครัฐยังน้อยมาก เมื่อเทียบการสนับสนุนในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และอีกประการหนึ่ง ผู้ที่ออกมาให้ความรู้เรื่องการเกษตรโดยสื่อต่าง ๆ ของรัฐไม่มีการควบคุมเรื่องความถูกต้องทางวิชาการ มักไม่ให้ความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์แก่เกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นไปตามกระแสการบอกเล่าที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ จึงทำให้สูญเสียเวลาไปในทางที่ไม่ถูกต้อง และทำให้เกษตรกรหลงทาง

โดยสรุป ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่จะให้ประโยชน์ที่แท้จริงจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนแรกคือปุ๋ยอินทรีย์จะต้องผลิตด้วยวัสดุที่มีปริมาณธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่สูงพอ จึงมีผลช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารในปริมาณที่เพียงพอ และส่วนที่ 2 คือจะต้องเป็นปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตจากจุลินทรีย์ที่คัดเลือกเฉพาะ และมีงานวิจัยรองรับที่พิสูจน์ได้ว่าใช้ได้ผลจริง มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช คือ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ PGPR จุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่มีบทบาทในการผลิตธาตุอาหารหลักให้กับพืช แต่ผลิตสารอาหารและฮอร์โมนกระตุ้นให้รากพืชเจริญเติบโตและมีภูมิต้านทานต่อโรค มีความแข็งแรง สามารถที่จะนำธาตุอาหารพืชในดินมาใช้สร้างความเจริญเติบโต แต่ถ้าในดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพต่ำและไม่มีการให้ปุ๋ยเคมีเพิ่มในส่วนที่ขาด พืชก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้

อันที่จริงแล้ว ปุ๋ยเคมีมีประโยชน์มากและไม่ใช่สารพิษดังที่บางท่านเข้าใจ เพราะดังที่กล่าวมาแล้วว่าปุ๋ย คือ วัสดุที่ให้ธาตุอาหารพืช และธาตุอาหารพืชก็คือธาตุอาหารที่ร่างการมนุษย์ต้องการเช่นกัน ธาตุอาหารพืชไม่ว่าจะมาจากแหล่งไหนธ าตุอาหารเหล่านั้นก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็นสารเคมีในรูปไอออน (ion) ละลายอยู่ในน้ำและจะถูกดูดซึมเข้าสู่รากพืชได้โดยกระบวนการดูดซึมของเซลล์พืช

ปัจจุบัน กระแสเกษตรอินทรีย์มาแรงถึงขนาดผู้ว่า CEO ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกาศว่าจะให้ทั้งจังหวัดผลิตพืชอินทรีย์ทั้งหมด และปฏิเสธปุ๋ยเคมีโดยสิ้นเชิง ซึ่งทำได้ยากมากถ้าไม่ใช้หลักวิชาการเข้าช่วย เพราะพื้นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เสื่อมโทรม ดินขาดอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช จึงจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีช่วยในระยะแรกเพื่อให้ดินเกิดความอุดมสมบูรณ์ และให้วัสดุอินทรีย์มากพอ เพราะเมื่อดินขาดธาตุอาหารพืช พืชจะแคระแกรน ให้วัสดุอินทรีย์น้อย จึงไม่เพียงพอที่จะเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน




http://www.creativeenterprise.in.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:03 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 05/07/2011 7:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

73. 12 ปี ศูนย์ฉายรังสีเกษตรศาสตร์




12 ปีของศูนย์บริการรังสีแกมมา สร้างพืชพันธุ์ใหม่กว่า 50 สายพันธุ์ เดินหน้าสร้างความหลากหลายให้พันธุ์พืชไทย เพิ่มมูลค่าการส่งออกให้เกษตรกร

ผศ.พีรนุช จอมพุก หัวหน้าศูนย์บริการฉายรังสีแกมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า ศูนย์เปิดให้บริการมาร่วม 12 ปี สามารถสร้างพืชพันธุ์ใหม่ได้แล้วกว่า 50 สายพันธุ์ในกลุ่มไม้ดอก ตั้งเป้าจะทำหน้าที่สร้างพันธุ์ไม้ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้พันธุ์ไม้ไทย

รังสีปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นเทคนิคที่ทำให้ส่วนที่ขยายพันธุ์ได้ของพืช เช่น เมล็ด กิ่ง ใบ หน่อ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม จนได้เป็นพืชที่มีลักษณะใหม่ ส่งผลให้เกษตรกรมีพืชพันธุ์ใหม่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งยังทำให้ประเทศมีความหลากหลายทางพันธุ์พืชมากขึ้นด้วย

"ศูนย์สามารถสร้างพืชพันธุ์ใหม่ได้หลายพันธุ์ เช่น พุทธรักษา 37 พันธุ์ เบญจมาศ 6 พันธุ์ แพรเซี่ยงไฮ้ 10 พันธุ์ ชวนชม 2 พันธุ์ ทั้งยังมีขิงแดง ปทุมมา กุหลาบหิน ดาหลา ซึ่งเป็นพืชดอกที่มูลค่าการส่งออกต่อปีจำนวนมาก" ผศ.พีรนุช กล่าวและว่า ขณะนี้ศูนย์อยู่ระหว่างเขียนโครงการ เพื่อของบซื้อต้นกำเนิดรังสีใหม่ทดแทนต้นกำเนิดรังสีที่ใช้งานอยู่ ซึ่งมีอายุถึง 13 ปี และปริมาณรังสีเริ่มต่ำลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังสามารถเปิดให้บริการได้ปกติในเวลาราชการ

ผศ.พีรนุช ย้ำว่า เทคโนโลยีการฉายรังสีมีความปลอดภัย เพราะเป็นการฉายพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ทำให้เกิดมลภาวะ หรือว่าสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม ทั้งยังถูกควบคุมและตรวจสอบเครื่องมือการทำงานจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันการกระจายของรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม

ศูนย์บริการฉายรังสีแกมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี เป็นหน่วยงานเพียงแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแห่งเดียวในไทย ที่มีอาคารฉายรังสีแกมมา ก่อสร้างขึ้นด้วยงบกว่า 20 ล้านบาทในปี 2539 ด้วยความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) รัฐบาลอังกฤษกับประเทศไทย เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2541 มีต้นกำเนิดรังสีแกมมาอยู่ 2 ประเภทสำหรับฉายรังสีแบบเฉียบพลันและแบบโครนิก โดยมีซีเซียม -137 และโคบอลต์ -60 สำหรับปรับปรุงพันธุ์พืชโดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ

นอกจากให้บริการด้านการฉายรังสีแล้ว ศูนย์ยังมีบทบาทในการถ่ายทอดวิชาความรู้ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ทางการเกษตร ให้แก่นิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไป



http://www.creativeenterprise.in.th/detail/creativeenterprise/creative-research/20100918/353621/12-ปี-ศูนย์ฉายรังสีเกษตรศาสตร์.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 05/07/2011 7:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

74. นานาประเทศเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพมากแค่ไหน ?

หากเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว ในด้านทรัพยากรชีวภาพ ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทุนเดิมอยู่มาก คนไทยเองมีความชำนาญทางการเกษตร และด้านการดูแลสุขภาพ (สมุนไพร) แต่ประเทศไทยมีการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพน้อยกว่าต่างประเทศ อีกทั้งงบประมาณสนับสนุนการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพน้อยกว่าประเทศอื่น


 รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีชีวภาพของโลก ลงทุนปีละประมาณ 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ


 ญี่ปุ่น ลงทุนด้านเทคโนโลยีชีวภาพในปี 2542 ถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และตั้งเป้าว่าในปี 2553 เพิ่มเงินลงทุนเป็น 217,000 ล้านเหรียญ โดยจะกระตุ้นให้เกิดบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพใหม่จำนวน 1,000 บริษัท


 อินเดีย ลงทุนในปี 2545–2546 เป็นจำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และประกาศเพิ่มส่วนแบ่งของสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพในตลาดโลกที่ตัวเองมีส่วน แบ่งเพียงร้อยละ 2 ในขณะนี้ ให้เป็นร้อยละ 10 ในอีก 5 ปี ข้างหน้า


 จีนประกาศว่า เทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นศาสตร์สำคัญที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร


เพื่อน บ้านของไทย อาทิ สิงคโปร์ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สิงคโปร์มีเป้าหมายชัดเจนมากในการก้าวไปสู่ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์ โดยทุ่มเงินงบประมาณจำนวนมากสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชื่อว่าไบโอ โปลิส (Biopolis) จนสามารถดึงบริษัทจากต่างประเทศเข้ามาทำการวิจัยและพัฒนาได้ สำหรับประเทศมาเลเซีย ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ได้เปลี่ยนฐานอุตสาหกรรมจากอิเล็กทรอนิกส์มาเน้นธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพมากขึ้น

ปัจจุบัน ทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับเทคโนโลยีชีวภาพ จนมีผู้กล่าวว่า “เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 21” ทีเดียว แล้วท่านผู้อ่านเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้หรือไม่ ...หากไม่เห็นด้วย “ถ้าว่างแล้วช่วยโทรกลับ” ด่วน!!




* หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เท่านั้น

กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและแหล่งข้อมูลทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ

ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต

ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา



http://www.bionanothai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=50:marketing-solutions-company&catid=35:demo-category&Itemid=95
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 05/07/2011 9:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

75. พืชใบเลี้ยงคู่ พืชใบเลี้ยงเดียว

สำหรับเรื่องนี้ส่วนใหญ่จากที่เจอข้อสอบมามักจะออกประมาณว่าให้ชื่อพืชมาเยอะๆแล้วให้ดูว่าอยู่ในพืชแบบใด หรืออาจจะให้ลักษณะมา วันนี้เราจะมาดูลักษณะที่แตกต่างกันของพืชทั้ง 2 ตระกูลนี้กันนะครับ

ลักษณะพืชใบเลี้ยงเดีี่ยว เป็นดังนี้
ลักษณะเส้นใบเรียงกันแบบขนาน
มีระบบรากฝอย
ลำต้นมองเห็นข้อปล้องชัดเจน
ไม่มีการเจริญทางด้านข้าง
ส่วนประกอบของดอก เช่นกลีบดอก มีจำนวนเป็น 3 หรือทวีคูณของ 3


ลักษณะพืชใบเลี้ยงคู่ เป็นดังนี้
มีใบเลี้ยง 2 ใบ
ลักษณะเส้นใบเป็นร่างแห
มีระบบรากแก้ว
ลำต้นมองเห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน
การเจริญออกทางด้านข้าง
ส่วนประกอบของดอกคือ กลีบดอกมีจำนวนเป็น 4-5 หรือ ทวีคูณของ 4-5


หลักการสำคัญๆมันก็มีแค่นี้แหละครับ ถ้าโจทย์ให้ชื่อต้นไม้มาแล้วเราเคยเห็นเคยรู้จักก็จะพอนึกออก ให้สังเกตุจากใบมันเลยครับ ถ้าใบเรียวๆเล็กๆมักจะ ใบเลี้ยงเดี่ยวๆ (จำประมาณ เดี่ยวก็น้อย -*-) ส่วนใบใหญ่ก็จะเป็นร่างแห แต่อาจจะไม่เสมอไปนะครับ


http://e-learning.exteen.com/20091220/entry-4
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 07/07/2011 9:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

76. นักวิชาการหนุนยึดจีนต้นแบบ ‘ข้าวลูกผสม’

เพิ่มรายได้เกษตรกรไทยก่อนถูกเวียดนามแซง



ผู้เชี่ยวชาญด้านเมล็ดพันธุ์พืชชี้ถึงเวลาไทยใช้ “ข้าวลูกผสม” เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร แก้ปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ ปัจจุบันแม้ราคาข้าวสูงแต่เกษตรกรยังไม่ได้กำไร แนะศึกษาความสำเร็จจากจีน ที่ปลูกข้าวลูกผสมจนได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงถึง 1,000 กิโลกรัม ขณะที่ไทยได้เพียง 400 กิโลกรัมต่อไร่ หวั่น “งบประมาณ-บุคลากร” ด้านพัฒนาพันธุ์ข้าวขาดแคลน ทำให้เวียดนาม อินเดีย แซงหน้าไทย

สถานการณ์ข้าวในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าสนใจยิ่ง เพราะราคาข้าวโลกมีการถีบตัวสูงสุดในรอบ 19 ปี คือมีการปรับตัวสูงขึ้นถึง 245% ราคาข้าวในไทยที่เคยขายได้เกวียนละ 6,000-7,000 บาท ช่วงหนึ่งก็ขายได้ในราคาสูงกว่าทองคำคือแตะที่ระดับ 15,000 บาทต่อเกวียน

อย่างไรก็ตามเมื่อราคาข้าวพุ่งขึ้นสูงถึงหลักหมื่นบาทต่อตัน ผู้บริโภคไทยก็ต้องรับผลกระทบต่อการบริโภคข้าวในราคาสูงมาก ขณะที่ตัวเกษตรกรไทยผู้ปลูกข้าว แม้ราคาข้าวจะสูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องเพราะเกษตรกรต้องเจอภาวะต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจากปุ๋ยและยาฆ่าแมลงกว่าเท่าตัวในช่วงที่ผ่านมา

นี่เป็นสาเหตุที่มีเสียงสะท้อนจากภาคเอกชนและรัฐบาลไทยในเรื่องของการนำ “ข้าวพันธุ์ลูกผสม” มาใช้ในประเทศไทย โดยมีต้นแบบการศึกษาจากความสำเร็จของ “จีน”


แนะใช้ข้าวลูกผสมเพิ่มกำไรเกษตรกร
รศ.ดร.จวงจันทร์ ดวงพัตรา นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เปิดเผยว่า จากการทำรายงานเรื่อง “ข้าวลูกผสม-โอกาสในการเพิ่มผลผลิตข้าวของไทย” พบว่าปัญหาการปลูกข้าวของเกษตรกรไทยที่ต้องเผชิญต่อต้นทุนที่สูงขึ้นมากจากการปลูกข้าวนั้นสามารถแก้ได้โดยการนำ “ข้าวพันธุ์ลูกผสม”มาใช้ในสังคมไทย ซึ่งจากตัวอย่างของประเทศจีน อินเดีย เวียดนาม เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตได้ประมาณ 300 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 30% ของผลผลิตปกติ

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวอยู่ที่ 430 กิโลกรัม/ไร่ ขณะที่คู่แข่งอย่างจีนมีผลผลิตข้าวต่อไร่มากกว่า 1,000 กิโลกรัม เวียดนามมีผลผลิตข้าว 778 กิโลกรัม/ไร่ อินโดนีเซีย 741 กิโลกรัม/ไร่ และอินเดียมีผลผลิต 512 กิโลกรัม/ไร่ แม้ประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ในโลก แต่ความสามารถในการแข่งขันยังถือว่าสู้ประเทศอื่นไม่ได้ ขณะที่ไทยมีงบประมาณด้านปรับปรุงพันธุ์ข้าวน้อยมาก แต่รัฐบาลเวียดนามกลับให้ความสำคัญกับการทุ่มงบจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าว

สำหรับข้าวที่เป็นเมล็ดพันธุ์นั้นจะมี 2 แบบด้วยกัน แบบแรกคือข้าวพันธุ์แท้ที่จะมีลักษณะการผสมพันธุ์ตัวเอง ซึ่งสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไปใช้ได้เรื่อยๆ แต่ยิ่งปลูกหลายรุ่น ลักษณะทางพันธุกรรมของข้าวนั้นๆ จะมีลักษณะเสื่อมถดถอยไปเรื่อยๆ จึงควรเก็บเมล็ดพันธุ์วิธีที่ดีที่สุดของการใช้เมล็ดพันธุ์แท้คือควรเก็บไว้ใช้เพียง 2-3 ปี และใช้เมล็ดพันธุ์ใหม่ในรอบการผลิตต่อไปจะดีที่สุด

อีกแบบคือ ข้าวลูกผสม ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์แท้สองสายพันธุ์ที่มีฐานพันธุกรรมต่างกัน โดยลูกผสมชั่วที่ 1 จะให้ลักษณะทางด้านปริมาณและคุณภาพที่ดีกว่าพันธุ์พ่อหรือพันธุ์แม่ เพราะเทคโนโลยีข้าวลูกผสมได้นำเอาหลักการความแข็งแรงของลูกผสมที่ดีเด่นกว่าพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ (Hybrid vigor) ในการให้ผลผลิตสูงกว่ามาใช้


ศึกษาข้าวลูกผสมจีน
อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรไทย แต่เมื่อศึกษาจากกรณีของจีน ก็พบว่าประเทศไทยน่าจะมีการพัฒนาข้าวลูกผสมมาใช้เป็นทางเลือกให้เกษตรกรไทยด้วย

จีน เป็นประเทศแรกของโลกที่คิดค้นวิจัยพัฒนาข้าวลูกผสมเป็นผลสำเร็จตั้งแต่ปี 2517 โดยศ.หยวนหลงผิง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมแห่งชาติจีน ซึ่งเป็นผู้คิดค้นข้าวลูกผสมเป็นผลสำเร็จจนได้รับการขนานนามจากนานาชาติว่าเป็น “บิดาแห่งข้าวลูกผสม” และได้รับรางวัล World Food Prize สำหรับความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้ช่วยลดปัญหาความขาดแคลนด้านอาหารเมื่อ 29 มีนาคม 2548 รางวัลดังกล่าวได้รับการยอมรับกลายๆ ว่าเป็นรางวัลโนเบลสำหรับวงการอาหารและการเกษตรด้วย

โดยจีนเริ่มจากความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมจนปัจจุบันสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวในบางพื้นที่ของจีนได้จำนวนผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,500 -2,000 กิโลกรัมต่อไร่ สิ่งนี้คือคำตอบเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารของจีน ที่มีประชากรสูงสุดในโลกคือ 1,300 ล้านคน ปัจจุบันทั้งอินเดียและเวียดนามต่างนำความรู้ด้านข้าวลูกผสมจากจีนมาพัฒนาต่อยอด

“จีนเป็นประเทศกว้างมาก ข้าวที่ปลูกตามมณฑลต่างๆ ก็จะไม่เหมือนกัน เพราะต้องพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกแต่ละที่ด้วย ซึ่งจีนก็ได้นำเทคนิคต่างๆ มาปรับใช้ และเราต้องเรียนรู้จากจีน”

โดยข้าวลูกผสมจีนที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกมากนั้น เรียกว่า มีลักษณะเด่นคือทำให้พันธุ์พ่อเป็นหมัน โดยศ.หยวนพบว่าการทำให้พันธุ์พ่อเป็นหมันนั้นสามารถทำได้โดยใช้เทคนิคด้านอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมมาใช้ ไม่ต้องมานั่งเอามือไปตัดดอกตัวผู้เหมือนสมัยก่อน เมื่อปลูกคู่กับดอกตัวเมียสามารถผสมไปได้เลย ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมที่มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น 20-30% ในบางพื้นที่


การันตีรายได้เกษตรกรเพิ่ม
สำหรับประเทศไทยได้นำข้าวลูกผสมจากจีนเข้ามาทดสอบและเริ่มงานวิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมในปี 2523 แล้ว โดยรัฐบาลอนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถทำการวิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมได้ด้วย แต่เนื่องจากข้าวลูกผสมนั้นจะต้องนำมาทดลองใช้ได้เฉพาะพื้นที่และด้วยข้อจำกัดบางประการ ทำให้ความคืบหน้าด้านข้าวลูกผสมเพิ่งปรากฏในช่วงปี 2550-2551 นี้เอง โดยขณะนี้บริษัทเอกชน ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมสำเร็จ ส่วนกรมการข้าวเองนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองปลูกในระดับไร่นา ซึ่งคาดว่าภายในอีก 1 -2 ปีนี้ น่าจะมีผลผลิตข้าวลูกผสมของกรมการข้าวออกมาให้เกษตรกรได้ใช้เป็นทางเลือก

“ข้อเสียของข้าวลูกผสมคือเกษตรกรจะต้องนำเมล็ดพันธุ์ใหม่มาใช้ทุกครั้ง แต่เมื่อศึกษาและเทียบประโยชน์ดูพบว่าการที่ปริมาณผลผลิตต่อไร่ที่จะเพิ่มขึ้นอีก 20-25% จะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกข้าวเพิ่มมากขึ้นแน่นอน”


7 ข้อดีปลูกข้าวลูกผสม
ที่ผ่านมานักวิชาการพันธุ์ข้าวได้กล่าวถึงข้อดีของข้าวลูกผสมที่มีการทดลองให้เกษตรกรปลูกอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้ว่า มีข้อเด่นมากถึง 7 ประการ คือ

1. ผลผลิตข้าวจะสูงกว่าสายพันธุ์ทั่วไปประมาณ 20-50%
2. ไม่มีพันธุ์ปน ระบบรากมีความแข็งแรงและแผ่กระจายมากกว่า
3. จำนวนเมล็ดต่อรวงมากถึง 250 เมล็ดต่อรวง หากปลูกในฤดูกาลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
4. ในเชิงการค้าข้าวลูกผสมให้ผลตอบแทนมากกว่า
5. เป็นการเพิ่มผลผลิตข้าวโดยไม่ต้องขยายพื้นที่ปลูก
6. ลดการใช้สารเคมี เพราะมีความต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว
7. ประหยัดการใช้น้ำและเพิ่มรอบการปลูก เนื่องจากข้าวลูกผสมมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าข้าวพันธุ์ทั่วไป

อย่างไรก็ดี นอกจากข้าวลูกผสมจะมีจุดเด่นที่เพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ที่กำลังทดลองปลูกกันในไทยแล้ว รศ.ดร.จวงจันทร์ ย้ำว่า ได้มีความสนใจทดลองนำข้าวหอมมะลิมาพัฒนาเป็นข้าวลูกผสมด้วย โดยบริษัทเอกชนกำลังหาวิธีทำให้ข้าวหอมมะลิสามารถปลูกได้ตลอดปี แทนที่จะปลูกได้แค่ 1 ครั้งต่อปี แต่ขณะนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งได้มีหลายบริษัทกำลังทดลองทำข้าวลูกผสมเพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมเช่น นำไปผลิตแป้งป้อนโรงงานอีกด้วย


ห่วงบุคลากรภาครัฐน้อย
นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยนั้นคือ ขณะนี้บุคลากรด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมีน้อยมาก โดยเฉพาะในกรมการข้าวที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงพันธุ์ต่างก็เกษียณราชการไปแล้วจำนวนมาก

โดยในส่วนของระดับการศึกษา ก็พบว่าในระดับปริญญาตรีทั่วประเทศนั้น แม้ว่าจะมีการให้นักศึกษาทุกคนเรียนเรื่องปรับปรุงพันธุ์ แต่พอถึงระดับปริญญาโท-เอก พบว่ามีคนเรียนในสาขานี้ในทั่วประเทศมีไม่ถึง 100 คนต่อปี อีกทั้งพอถึงเวลาทำงาน ก็ทำงานในสายนี้น้อยมาก เพราะไปทำอาชีพอื่นได้เงินเดือนมากกว่า ทำให้บุคลากรด้านปรับปรุงพันธุ์มีน้อยลงทุกที ขณะที่งบประมาณของภาครัฐต่อการปรับปรุงพันธุ์พืชก็น้อยมากต่อปี จึงอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมของภาครัฐไทย ขณะเดียวกันกลับพบว่าเวียดนามส่งคนมาเรียนด้านปรับปรุงพันธุ์ในระดับปริญญาโท-เอก มากขึ้นทุกปี

อย่างไรก็ดี แม้ว่าในไทยนั้นยังมีข้อถกเถียงถึงการให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวลูกผสมกันอยู่ว่า เหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่ เนื่องเพราะเป็นห่วงว่าจะถูกภาคเอกชนผูกขาดด้านเมล็ดพันธุ์อีกทั้งอาจมีผลต่อการทำลายความมั่นคงทางชีวภาพของไทยไป แต่อย่าลืมว่าในสถานการณ์วิกฤตขาดแคลนอาหารโลก โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่อย่างจีนที่เกรงว่าพลเมืองจำนวนมากของจีนจะเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหาร

“ข้าวลูกผสม” จึงเปรียบเป็นพระเอกที่มาช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างดี...




http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=27&s_id=2240&d_id=2237
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/07/2011 7:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

77. 'หอมมะลิ' แย่แน่ เวียดนามฉวยตั้งชื่อ 'จัสมิน ไรซ์'





พาณิชย์ เผยข้าวหอมมะลิไทยแย่แน่ หลังเวียดนามฉวยตั้งชื่อข้าว "จัสมิน ไรซ์" เลียนแบบข้าวหอมมะลิไทย ออกตีตลาดทั่วอังกฤษ แถมดัมพ์ราคาขายต่ำกว่ามาก หวั่นไทยเสียตลาด

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. มีรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้ ประเทศเวียดนาม ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวเลียนแบบข้าวหอมมะลิของไทย

และใช้ชื่อเลียนแบบว่า จัสมิน ไรซ์ นำออกขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตเอเชีย ทั่วกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อตีตลาดข้าวหอมมะลิไทย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หากไทยไม่เร่งพัฒนา และส่งเสริมการตลาดอาจถูกข้าว จัสมินไรซ์ ของเวียดนามที่ราคาถูกกว่าแย่งตลาดไป

สำหรับข้าวจัสมิน ไรซ์ บริษัท โอเรียนท์ เมอร์ชานท์ จากออสเตรเลียเป็นผู้นำเข้าจากเวียดนามผ่านตัวแทนเนเธอร์แลนด์

โดยใช้ยี่ห้อว่า เชฟีส เวิลด์ พร้อมระบุหน้าถุงว่า จัสมิน ไรซ์ ขายในราคาถูกกว่าข้าวหอมมะลิไทยถึง 50% โดยถุงขนาด 20 กิโลกรัม ขายเพียง 20 ปอนด์ หรือประมาณ 1,000 บาท ขณะที่ข้าวหอมมะลิไทยขนาดเท่ากันขายถึง 30 ปอนด์ ประมาณ 1,500 บาท

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยคงไม่สามารถฟ้องร้องเวียดนามละเมิดลิขสิทธิ์ชื่อข้าว จัสมิน ไรซ์ แปลว่าข้าวหอมมะลิ

เพราะชื่อดังกล่าวเป็นคำสามัญ ที่ใช้ได้ทั่วไป ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ ดังนั้นแนว ทางที่ไทยทำได้ คือ เน้นส่งเสริมให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย ที่มีเอกลักษณ์และเหมาะสมกับอาหารไทย เพื่อช่วยให้ผู้บริโภครู้จัก และเห็นถึงความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิไทย กับข้าวหอมมะลิจากประเทศอื่น



ที่มา ไทยรัฐ
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/หอมมะลิ-แย่แน่-เวียดนามฉวยตั้งชื่อ-จัสมิน-ไรซ์.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/07/2011 5:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/07/2011 7:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

78. เร่งยกเครื่อง 'หอมมะลิ'





นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ข้าวหอมมะลิไทยเป็น สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกสูง โดยปี 2552 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการส่งออกข้าวหอมมะลิ รวมกว่า 2.63 ล้านตันข้าวสาร คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 68,577.7 ล้านบาท และปี 2553 นี้ ได้ส่งออกไปแล้วทั้งสิ้น 2.10 แสนตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,776.8 ล้านบาท

ปัจจุบันประเทศผู้ผลิตได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อการแข่งขันทางการค้า เช่น สหรัฐอเมริกาได้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่เรียกว่า “แจสแมน” (JAZZMAN) ซึ่งมีคุณสมบัติและมีกลิ่นหอมใกล้เคียงข้าวหอมมะลิไทย และยังให้ผลผลิตสูงกว่าถึง 3 เท่า จึงอาจเป็นคู่แข่งสำคัญที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมมะลิไทย โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาและประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ อาทิ ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐเบนิน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวหอมมะลิไทยเอาไว้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิแหล่งใหญ่ของประเทศ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะสามารถช่วยให้แข่งขันได้ในเวทีการค้าโลกที่มีแนวโน้มการแข่งขันรุนแรง ขึ้น.

ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวออนไลน์

http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/เร่งยกเครื่อง-หอมมะลิ.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/07/2011 8:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

79. สหรัฐฯ โวย ข้าวไทยปลอมปน !!

ทูตพาณิชย์ จี้ แก้ปัญหาปลอมปนของข้าวที่ส่งออกไปสหรัฐ หลังได้รับการร้องเรียนของทางการ ก่อนเสียตลาด

นางเกษสิริ ศิริภากรณ์ อัครราชทูต(ฝ่ายการพาณิชย์) ประเทศสหรัฐอเมริกา(วอชิงตัน) เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือถึงกรมการค้าต่างประเทศ ให้เร่งรัดในการแก้ปัญหาการปลอมปนของข้าวที่ส่งออกไปสหรัฐ หลังได้รับการร้องเรียนของทางการ

สหรัฐและออกตรวจสอบข้าวหอมมะลิไทยที่วางขายในสหรัฐ พบว่ามีปัญหาปลอมปนข้าวหอมมะลิกับข้าวหอมปทุมธานีจริง โดยมีการปลอมปนข้าวปทุมธานีในข้าวหอมมะลิถึง 90% ทั้งที่ข้าวถุงบรรจุระบุเป็นข้าวหอมมะลิ 100% และได้รับตรารับรองโดยกรมการค้าต่างประเทศของไทย

นางเกษสิริกล่าว ‘เคยทำหนังสือรายงานและร้องขอให้กรมการค้าต่างประเทศเร่งแก้ปัญหาหลายครั้งแล้ว ในการเข้มงวดผู้ส่งออกและออกมาตรการป้องกัน หากปล่อยให้ยืดเยื้อจะเป็นผลกระทบต่อภาพพจน์ข้าวหอมมะลิของไทย และปริมาณนำเข้าในระยะยาวจะลดลง ซึ่งตลาดสหรัฐยินยอมที่จะจ่ายแพงแต่ต้องได้สินค้าคุณภาพด้วย เราควรแก้ไขก่อนที่เขาจะออกมาตรการเพิ่มเติม อาจเพิ่มต้นทุนผู้ส่งออกและเสียตลาดข้าวหอมมะลิถาวร’



Source : NewsCenter/matichon/diytrade.com (Image)
http://archive.voicetv.co.th/content/23674/สหรัฐฯโวยข้าวไทยปลอมปน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/07/2011 4:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/07/2011 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

80. กลุ่มนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว มก. พายีนความหอมรับรางวัล "นักเทคโนโลยีดีเด่น 53"


ทีมวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว รับรางวัล "นักเทคโนโลยีดีเด่น 2553" จากการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายดีเอ็นเอ การค้นพบยีนควบควมความหอมในข้าว และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติและคุณภาพดียิ่งขึ้น

รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
ผศ.ดร.โชติรัตน์ รัตนามหัทธนะ
ผศ.ดร.พิมพ์พอง ทองนพคุณ
ผศ.ดร.ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์

กลุ่มวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยจาก ม.เกษตรฯ คว้ารางวัล "นักเทคโนโลยีดีเด่น 53" ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ย่นเวลาพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่จาก 10 ปี เหลือ 5 ปี ตั้งความหวังผลิตนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวรุ่นใหม่ รักษาข้าวหอมมะลิให้อยู่คู่แผ่นดินไทย และพัฒนาสายพันธุ์ให้หอม อร่อย มากคุณค่าทางโภชนาการ

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าวเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2553 เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสยามซิตี้ โดยผู้ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นในปีนี้ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จากผลงาน "เทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ (2-acetyl-1-pyrroline) เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและข้าวเหนียว"

รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร หัวหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว กล่าวว่า การปรับปรุงพันธุ์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญมากๆ เพราะเมื่อทำสำเร็จแล้วจะช่วยย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ได้มาก จากแต่ก่อนการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อให้ได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ต้องการ 1 สายพันธุ์ ต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี แต่ด้วยเทคโนโลยีเครื่องหมายดีเอ็นเอทำให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าว 1 สายพันธุ์ในปัจจุบันใช้เวลาเพียง 5 ปี

"วันนี้เราสามารถย่นระยะเวลาปรับปรุงพันธุ์ข้าวจาก 10 ปี ให้เหลือ 5 ปีได้ และเกิดคำถามตามมาอีกว่าเราจะย่นเวลาจาก 5 ปี ให้เหลือ 3 ปี และ 1 ปี ได้หรือไม่" รศ.ดร.อภิชาติ กล่าว และบอกว่าเขาศึกษาวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอมาเป็นเวลากว่า 12 ปีแล้ว หลังจากที่ได้ร่วมกับทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติทำการถอดรหัสพันธุกรรมข้าว ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้มีความหอม ต้านทานโรค-แมลงศัตรูพืช และทนทานต่อสภาพแวดล้อม จนได้ข้าวพันธุ์ใหม่หลายสายพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก โดยเฉพาะข้าวเหนียว กข 6 ที่ได้รับความนิยมปลูกในหลายจังหวัด

ขณะเดียวกันทีมวิจัยของ รศ.ดร.อภิชาติ ยังได้ค้นพบยีนควบคุมความหอมของข้าวขาวดอกมะลิและกระบวนการที่ทำให้ข้าวหอมขึ้นได้ ซึ่งสามารถนำไปปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ไม่หอมแต่ให้ผลผลิตสูง จนได้ข้าวหอมพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง อาทิ ข้าวหอมชลสิทธิ์ ข้าวปิ่นเกษตร และข้าวสินเหล็ก รวมถึงการเพิ่มความหอมในพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ถั่วเหลืองหอม มะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น

อย่างไรก็ดี นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวจากกำแพงแสนระบุถึงอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าว คือความไม่ต่อเนื่องของทุนวิจัย และการขาดแคลนนักวิจัยที่ทำงานในด้านนี้

"เป้าหมายสูงสุดของเราคือการสร้างนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวรุ่นใหม่ที่จะมาสานต่องานวิจัยและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมให้อยู่คู่คนไทยและแผ่นดินไทยตลอดไป ไม่ให้สูญหายไปอย่างข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว รวมทั้งพัฒนาข้าวไทยให้มีความหอม อร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการ และทนทานต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งยังมียีนอีกหลายยีนที่ควบคุมคุณสมบัติเด่นต่างๆ ในข้าวที่ยังไม่เคยมีใครศึกษาและค้นพบมาก่อน" รศ.ดร.อภิชาติ กล่าวต่อสื่อมวลชนและทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ซึ่งพวกเขาหวังว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะสามารถพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ๆ ได้ 1 ปี ต่อ 1 สายพันธุ์

สำหรับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ในปีนี้มอบให้แก่นักวิจัย 3 คน จาก 3 สถาบัน ได้แก่ ผศ.ดร.โชติรัตน์ รัตนามหัทธนะ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานการใช้ไดนามิกส์ไทม์วอร์ปปิงในการทำเมืองข้อมูลอนุกรมเวลา, ผศ.ดร.พิมพ์พอง ทองนพคุณ คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จากผลงานเทคโนโลยีการผลิตนาโนซิลเวอร์เคลย์และเทคนิคการขึ้นรูปเครื่องประดับเงินจากนาโนซิลเวอร์เคลย์ และ ผศ.ดร.ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากผลงานการสร้างเครื่องผสมสารน้ำและควบคุมการผสมสารละลายด้วยระบบไมโครคอลโทรลเลอร์ "สมาร์ทโดเซอร์" (Smart Doser) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ และการพัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมโรงเรือนเลี้ยงไก่และหมู

ผู้ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะได้รับรางวัลประติมากรรมเรือใบซูเปอร์มดและเหรียญรางวัลเรือใบซูเปอร์มด พร้อมเงินรางวัล 600,000 บาท สำหรับนักเทคโนโลยีดีเด่น และ 100,000 บาท สำหรับนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ โดยจะมีพิธีมอบรางวัลในงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้ง 36 (วทท. 36) ในวันที่ 26 ต.ค. 53 ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา


http://kucity.kasetsart.org/kucity/WebFormDetailBoard.aspx?BRD_ID=18407&PAGE=1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/07/2011 5:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 2 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©