-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มะคาดิเมีย ถั่วแพงที่สุดในโลก....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มะคาดิเมีย ถั่วแพงที่สุดในโลก....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/05/2011 2:03 pm    ชื่อกระทู้: มะคาดิเมีย ถั่วแพงที่สุดในโลก.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สืบเนื่องจากเมิ่อเช้านี้ (22 พ.ค. 54) สมช.วิทยุสาย เอฟเอ็ม.91 ถามในรายการว่า เมืองไทยปลูก "มะคาดิเมีย" ได้ไหม ?

ตอนนั้นลุงคิมยังไม่มั่นใจข้อมูล แต่ก็ได้แนะนำไปที่โครงการพระราชดำริ ทางภาคเหนือ กับแนะนำพืชอื่นๆที่ไม่คิดว่าจะปลูกได้ในเมืองไทย แต่ก็ปลูกได้แถมได้ผลผลิตดีด้วย ให้ฟังอีกหลายอย่าง

ท้ายคำตอบเช้านี้ รับปากจะหาข้อมูลมาให้ได้รับทราบกัน

ลุงคิมครับผม





มะคาดิเมีย

ประเด็นเทคโนโลยีที่ควรถ่ายทอด
1 การจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตาม พันธุ์
2 การจัดการเพื่อเสริมความสมบูรณ์แข็งแรงของต้นและผลผลิต
3 การจัดการเพื่อผลิตมะคาเดเมียปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
4 การจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมีคุณภาพดีตามเกณฑ์มาตรฐานสากล


เนื้อหา
1. การจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามพันธุ์
1.1 พันธุ์ : ปัจจุบันพันธุ์มะคาเดเมียที่ให้ผลผลิตมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากลและเหมาะสมสำหรับปลูกในประเทศไทย มีดังนี้

 พันธุ์เชียงใหม่ 400 (HAES 660) เป็นพันธุ์เบา ออกดอกดก ใช้ปลูกร่วมกับพันธุ์อื่น เพื่อช่วยผสมเกสร ข้อเสียคือขนาดเมล็ดเล็กกว่าพันธุ์อื่น ผลผลิตเมล็ดทั้งกะลาต่อต้น(อายุ 11 ปี) 11-17 กิโลกรัม เจริบเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร ขึ้นไป ถ้าพื้นที่ต่ำ 400-600 เมตร ควรอยู่เหนือเส้นละติจูด 19.8 องศาเหนือ

 พันธุ์เชียงใหม่ 700 (HAES 741) ผลขนาดค่อนช้างใหญ่ เนื้อในน้ำหนักมาก สีขาวสวย เจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร ขึ้นไป ผลผลิตเมล็ดทั้งกะลาต่อต้น (อายุ 11 ปี) 13-21 กิโลกรัม

 พันธุ์เชียงใหม่ 1000 (HAES 508) ผลขนาดปานกลาง เนื้อในมีคุณภาพยอดเยี่ยม รูปร่างและสีสวย เจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตสูงที่ระดับความสูง 1000 เมตร ขึ้นไป ผลผลิตเมล็ดทั้งกะลาต่อต้น (อายุ 11 ปี) 21-33 กิโลกรัม


1.2 การคัดเลือกพันธุ์และขยายพันธุ์
 เป็นต้นพันธุ์ที่ได้จากการทาบกิ่ง หรือเสียบยอด หรือติดตา มีระบบรากดีความสูง 60 เซนติเมตรถึง 1 เมตร หรืออายุต้นกล้าไม่เกิน 2 ปี

 ไม่ควรใช้ต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะเมล็ด เนื่องจากมีโอกาสกลายพันธุ์สูง



2. การจัดการเพื่อเสริมความสมบูรณ์แข็งแรงของต้นและผลผลิต
2.1 พื้นที่ปลูก
พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกคือพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตรขึ้นไป แต่ถ้าอยู่เหนือเส้นละติจูด 19.8 องศาเหนือ ปลูกได้ในที่สูงจากระดับน้ำทะเล 400 เมตร ขึ้นไป ไม่มีลมพัดแรงและไม่มีน้ำท่วมขัง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอย่างน้อย 1,000 มิลลิเมตร หรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำ ดินร่วนทราย ระบายน้ำดี อินทรีย์วัตถุสูง ความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5.5-6.5 อุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูหนาวมีอุณหภูมิ 18-20 องศาเซลเซียสลงมา นานประมาณ 1 เดือน เพื่อกระตุ้นในการออกดอก พื้นที่ปลูกควรอยู่ใกล้แหล่งรับซื้อ

2.2 การปลูก
ต้นพันธุ์ที่ปลูกควรมาจากการเสียบยอด ทาบกิ่งหรือติดตา ความสูง 60 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร อายุไม่เกิน 2 ปี โดยใช้ต้นตอที่เพาะมาจากเมล็ด ควรปลูกอย่างน้อย 2 พันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อช่วยให้การผสมเกสรและการติดผลดีขึ้น ระยะปลูกระหว่างต้น-แถว อยู่ระหว่าง 8 x 8 เมตร หรือ 8 x 10 เมตร และปลูกพืชแซมในระหว่างแถว เช่น กาแฟ สตรอเบอรี่ ผัก เป็นต้น ขนาดหลุม 75 x 75 x 75 เซนติเมตร หรือ 1 x 1 x 1 เมตร ขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต หลุมละ 450-900 กรัม และใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ คลุกเคล้ากับดินปลูก

2.3 การใส่ปุ๋ย ในช่วงปีที่ 1 ถึงปีที่ 4 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ดังนี้
ปีที่ 1 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ต้นละ 600 กรัม
ปีที่ 2 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ต้นละ 1,200 กรัม
ปีที่ 3 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ต้นละ 1,800 กรัม
ปีที่ 4 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ต้นละ 2,400 กรัม
และผสมยูเรีย 20% ใช้ปุ๋ยสูตร ตามลำดับ

ส่วนปีที่ 5 เป็นต้นไป ใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 อัตรา ต้นละ 3 กิโลกรัม และเพิ่มขึ้นปีละ 500-600 กรัม เพิ่มปุ๋ยยูเรีย และโปแตสเซียมคลอไรด์ 10 และ 15% ของปุ๋ยสูตร แบ่งใส่ปีละ 4 ครั้ง คือ ช่วง 3 เดือนก่อนออกดอก ระยะติดผลขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ ระยะต้นฝนและปลายฝน นอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยคอกทุกปี

2.4 การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งมีน้อยมาก ระยะแรกบังคับทรงต้นให้มีกิ่งประธานเพียงกิ่งเดียว เมื่อต้นสูง 80-100 เซนติเมตร และยังไม่แตกกิ่งข้าง ต้องตัดยอดกิ่งประธาน และกิ่งที่แผ่กว้างไว้ หลังติดผลแล้ว จะตัดเฉพาะกิ่งที่เป็นโรคและกิ่งที่แน่นเกินไป

2.5 การให้น้ำ
ให้น้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระยะติดผล-ผลเจริญเติบโต ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้ง ไม่ควรขาดน้ำ


3. การจัดการเพื่อผลิตมะคาเดเมียปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
3 1 การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
เน้นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน เช่น วิธีกล วิธีการเขตกรรม วิธีชีวภาพ รวมทั้งวิธีใช้สารเคมี ทั้งนี้ให้พยายามใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด (รายละเอียดชนิดศัตรูพืช ลักษณะการทำลาย วิธีการป้องกันกำจัด ตามตารางที่ 1)

3.2 การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสม ควรปฏิบัติดังนี้
- ห้ามใช้สารเคมีที่ขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 รายชื่อวัตถุอันตรายห้ามใช้ในการเกษตร และต้องใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับรายการสารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาต

- ให้เลือกใช้ในชนิด อัตรา และระยะเวลาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

- ตรวจสอบเครื่องพ่นสารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อป้องกันสารพิษเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายของผู้พ่น

- สวมเสื้อผ้าอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ ได้แก่ หน้ากากหรือผ้าปิดจมูก ถุงมือ หมวก และรองเท้า

- เตรียมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและใช้ให้หมดในคราวเดียว ไม่ควรเหลือติดค้างในถังพ่น

- ควรพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในช่วงเช้าหรือเย็นขณะลมสงบ หลีกเลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือลมแรง และขณะปฏิบัติงานผู้พ่นต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา

- ต้องหยุดใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนเก็บเกี่ยวตามเวลาที่ระบุตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

- ปิดฝาภาชนะบรรจุสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้สนิทเมื่อเลิกใช้ และเก็บในสถานที่เก็บสารเคมีที่มิดชิด และปลอดภัย

- หลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ผู้พ่นต้องอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใส่ขณะพ่นสารต้องซักให้สะอาดทุกครั้ง

- ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดและล้างสารเคมีออกหมดตามคำแนะนำ ต้องไม่นำกลับ มาใช้อีกและต้องทำให้ชำรุดเพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้อีก แล้วนำไปทิ้งในสถานที่ที่จัดไว้สำหรับทิ้งภาชนะบรรจุสารเคมีโดยเฉพาะ หรือทำลายโดยการฝังดินห่างจากแหล่งน้ำ และให้มีความลึกมากพอที่สัตว์ไม่สามารถคุ้ยขึ้นมาได้ ห้ามเผาทำลาย

- จดบันทึกการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง



สรุปคำแนะนำการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการผลิตมะคาเดเมีย ชนิดศัตรูพืชและลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด

หนอนเจาะกิ่ง
- พบทำลายเฉพาะในกิ่งขนาดเล็ก โดยกิ่งส่วนที่อยู่เหนือรูเจาะทำลายขึ้นไปจะแห้งตายเป็นสีน้ำตาล
- ตัดแต่งกิ่งที่ถูกทำลายออกเผาทิ้ง เพื่อทำลายตัวหนอนที่อยู่ภายใน

หนอนแทะเปลือกลำต้นมะคาเดเมีย
- ตัวเต็มวัยเป็นด้วงหนวดยาว วางไข่ที่เปลือกของลำต้นระดับคอดิน หนอนระยะแรกจะแทะกินอยู่ใต้เปลือกลำต้น และจะเจาะเข้าไปภายในลำต้น เมื่อหนอนมีขนาดใหญ่ขึ้น
- ทำความสะอาดบริเวณโคนต้นให้สะอาดเสมอ
- คลุมโคนรอบต้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง

ไรแดง
- เกาะดูดน้ำเลี้ยงผิวเปลือกของผลมะคาเดเมีย ทำให้ผลมีขนาดเล็กลง
- ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผง

กระรอก กระแต หนู
- แทะกินผลทั้งผลอ่อนและผลแก่
- ใช้กรงดัก
- ใช้สารกำจัดหนู ได้แก่ โบรไลฟาคูม (พลีแร๊ก 0.005% หรือ สะตอม 0.005%)

โรคโคนเน่าหรือเปลือกผุ
- เกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายได้ทั้งระยะต้นกล้าและต้นโต
- ใช้สารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือ เมตาแลคซิล ละลายน้ำตามคำแนะนำในฉลาก

โรครากเน่า
- เกิดจากเชื้อรา
- ใช้สารพวกคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ พ่นตามคำแนะนำในฉลาก


4. การจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมีคุณภาพดีตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
4.1 วิธีการเก็บเกี่ยว
- มะคาเดเมียจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 5 ปี ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวประมาณช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ย. โดยดูจากผิวด้านในของเปลือกนอก ถ้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถือว่าแก่เก็บเกี่ยวได้ การเก็บเกี่ยวใช้วิธีสอย หรือเก็บผลที่ร่วงลงดิน ควรทำความสะอาดโคนต้น และเตรียมถุงหรือภาชนะสำหรับเก็บผลให้พร้อม

- ควรเก็บผลที่ร่วงบนพื้นดินทุก 3-4 วัน ไม่ควรปล่อยไว้นาน โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ถ้าปล่อยไว้นานเชื้อราอาจเข้าทำลาย หรือถ้าเป็นฤดูแล้งผลถูกแสงอาทิตย์โดยตรงนานๆ ผลจะแตก ทำให้เนื้อใน
เหม็นหืนได้

- ไม่ควรเก็บผลมะคาเดเมียที่ร่วงจากต้นโดยที่ไม่แก่ เนื่องจากเนื้อในมีคุณภาพต่ำมาก


4.2 การกะเทาะเปลือกนอก
- หลังการเก็บผลต้องรีบกะเทาะเปลือกเขียวออกให้เร็วที่สุด เพราะถ้าผลรวมซ้อนกันมากจะเกิดความร้อน ทำให้เนื้อในคุณภาพไม่ดี


4.3 การคัดเมล็ด
- เพื่อแยกเมล็ดเก่า เมล็ดเสื่อมคุณภาพ หรือถูกทำลาย
- ถ้าเมล็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 1.8 เซนติเมตร ควรคัดแยกออกหรือคัดทิ้งไป เพราะมีคุณภาพต่ำ


4.4 การทำให้แห้ง
- เมล็ดทั้งกะลาสด หลังกะเทาะเปลือกเขียวออก จะมีความชื้นเนื้อในมากกว่า 20% ต้องนำไปผึ่งหรือวางบนตะแกรงเป็นชั้นๆ ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้น ควรวางเกลี่ยบางๆ ไม่วางซ้อนทับกันมากเกินไป จนกระทั่งมีความชื้นเหลือประมาณ 10%

- นำเข้าเครื่องอบ โดยเริ่มจากอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส 1-2 วัน และค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิทีละน้อยประมาณวันละ 3-4 องศาเซลเซียส จนกระทั่งเนื้อในคลอนไม่ติดกะลา ซึ่งจะเหลือความชื้นประมาณ 1-1.5% ไม่ควรใช้อุณหภูมิสูงมากในการอบ เพราะจะทำให้เนื้อในมีสีเหลืองออกน้ำตาล แทนที่จะเป็นสีขาวนวลตามที่ตลาดต้องการ


4.5 การกะเทาะกะลา
- เมล็ดที่จะนำมากะเทาะกะลา ควรลดความชื้นกระทั่งเนื้อในคลอน ไม่ติดกะลา ซึ่งจะทำให้กะเทาะออกง่าย และเนื้อในมีเปอร์เซ็นต์แตกหักหลังกะเทาะต่ำ

- เนื้อในที่ได้หลังจากการกะเทาะ ควรรีบจำหน่ายเพื่อป้องกันการเหม็นหืน


4.6 การเก็บรักษา
หากเก็บรักษาผลผลิตไม่ถูกต้อง จะทำให้เนื้อในขึ้นรา เน่าเสีย หรือเกิดการเหม็นหืนได้ เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์ไขมันสูง จึงควรปฏิบัติดังนี้

4.7 การเก็บรักษาในรูปเมล็ดทั้งกะลา
- ลดความชื้นให้เหลือประมาณ 10% เก็บใส่ตาข่ายโปร่ง กระสอบป่าน หรือสิ่งที่อากาศถ่ายเทในอุณหภูมิห้อง สามารถเก็บไว้ได้นาน 1 เดือน

- หากเก็บรักษาภายใต้อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส หรือลดความชื้นเหลือประมาณ 1.2% จะสามารถเก็บไว้ได้นาน 12 เดือน

4.8 การเก็บรักษาในรูปเนื้อใน
- เนื้อในหลังจากการกะเทาะกะลาออก ถ้าไม่นำไปแปรรูปทันที จะเก็บโดยบรรจุถุงพลาสติกแบบสูญญากาศ ถ้าเก็บที่อุณหภูมิห้องจะเก็บได้ไม่เกิน 6 เดือน เก็บที่อุณหภูมิ 5-10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นาน 12 เดือน



fs.doae.go.th/เนื้อหาถ่ายทอดFS%20ปี49/.../มะคาเดเมีย.doc - ใกล้เคียง


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/05/2011 8:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/05/2011 2:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะคาดิเมีย

สวัสดีค่ะคุณผู้ฟังที่รักทุกท่านค่ะ พบกับรายการสาระความรู้ทางการเกษตร จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กันอีกครั้งนะคะ สำหรับวันนี้ดิฉันดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ ขอเสนอเรื่อง มะคาเดเมีย ค่ะ

ในอนาคต "มะคาเดเมีย" กำลังจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่คนไทยไม่อาจมองข้ามได้นะคะ มะคาเดเมียมีความสำคัญอย่างไร วันนี้รายการสาระความรู้ทางการเกษตรมีข้อมูลมานำเสนอต่อ "มะคาเดเมียนัท" เป็นถั่วที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งถั่ว เพราะมีรสชาติอร่อยที่สุดและมีราคาแพงที่สุดในโลก นอกจากนั้นมะคาเดเมียยังจัดเป็นถั่วที่อุดมไปด้วยวิตามินมากมาย และที่สำคัญเต็มไปด้วยน้ำมันพืชไม่อิ่มตัว ซึ่งน้ำมันพืชไม่อิ่มตัวมีคุณสมบัติที่ดี คือ ช่วยลดคอเลสเตอรอลให้แก่ร่างกายค่ะ

ตามรายงานที่พบซึ่งเขียนโดย "ดำเกิง ชาลีจันทร์" สรุปได้ว่า "มะคาเดเมีย" เป็นพืชที่มีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย แต่ได้ถูกนำเข้ามาประเทศสหรัฐอเมริกาในรัฐฮาวายเพื่อค้นคว้าและพัฒนาสู่ภาค อุตสาหกรรมจนกลายเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่มีความสำคัญของ โลกอยู่ในขณะนี้ ค่ะ

หลังจากนั้นทางฮาวายทำการคัดพันธุ์เพื่อปลูกเป็นการค้าในเชิงอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478-2496 รวมประมาณ 18 ปี ต่อมาทางองค์การยูซอมประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งเมล็ดพันธุ์มะคะเดเมียชนิดผลเปลือกเรียบ จำนวนหนึ่งมาให้แก่กรมกสิกรรม (กรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2496 เพื่อทดลองปลูก จุดนี้นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มแรกของการปลูกและศึกษาเกี่ยวกับมะคะเดเมียในประเทศไทยค่ะ

คุณภูมิพันธุ์ คูสกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ของไร่ธนลาภ อยู่ที่บ้านเลขที่ 116 หมู่ที่ 6 กม. 36 ถนนห้วยสนามทราย-กกกระท้อน ต.น้ำหนาว อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ โทร. 01-4825329 เป็นภาคเอกชนรายหนึ่งที่เริ่มปลูกมะคาเดเมียเป็นอาชีพให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทางไร่ธนลาภได้รับการส่งเสริมการปลูกมะคะเดเมียจากสถานีทดลองที่สูงภูเรือ โดยทางสถานีนำพันธุ์มาให้ปลูกเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว ปลูกทั้งหมด 5,000 ต้น บนเนื้อที่ 200 ไร่ จากพื้นที่ที่มีทั้งหมด 400 ไร่ และในปัจจุบันมีภาคเอกชนรายใหญ่หลายรายที่หันมาปลูกมะคาเดเมีย เช่น เอกชนรายหนึ่งใน จ.เชียงราย ปลูกอยู่หมื่นต้น ไร่บุญรอดบริเวอรี่ 3,000 ต้น ที่ภูเรือ จ.เลย ของคุณหมอชัยยุทธปลูกหมื่นกว่าต้น เจพีแอลปลูก 2,000 กว่าต้น และโครงการแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงใหม่ ก็มีปลูกกันมากเช่นเดียวกัน ค่ะ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาคเอกชนหลายรายหันมาสนใจปลูก "มะคาเดเมีย" ก็เพราะมะคาเดเมียเป็นพืชที่ตลาดทั่วโลกมีความต้องการสูง ไม่มีการล้นตลาด มีราคาเป็นมาตรฐานสากลไม่เหมือนพืชเศรษฐกิจตัวอื่นที่มีราคาขึ้น-ลงไม่แน่นอน และที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ เป็นพืชชนิดเดียวที่ไม่ถูกกีดกันทางการค้าจากองค์การค้าโลกหรือ WTO

ประเทศผู้ผลิตมะคาเดเมียรายใหญ่ที่มีการปลูกกันมาก ได้แก่ สหรัฐอเมริกาออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ สำหรับตลาดรับซื้อมะคาเดเมียมีอยู่ทั่วโลก ที่ใกล้ไทยที่สุดและเป็นตลาดใหญ่ที่สุด คือ ประเทศญี่ปุ่น และจีน ทั้งนี้เพราะประเทศจีนมีปัญหาในเรื่องของสภาพดินฟ้าอากาศ จึงไม่สามารถปลูกมะคาเดเมียได้ แต่ความต้องการของจีนก็มีมาก ดังนั้น มะคาเดเมียที่มีในจีนจึงเป็นการสั่งนำเข้าทั้งหมด ซึ่งหากไทยสามารถผลิตมะคาเดเมียได้ในปริมาณที่มากพอส่งออกได้ประเทศจีนกับญี่ปุ่น คือ แหล่งตลาดรับซื้อแหล่งใหญ่ที่สุด และประเทศไทยสามารถแบ่งสัดส่วนทางการตลาดมาจากทางอเมริกาและออสเตรเลีย ได้อย่างแน่นอนเพราะประเทศไทยจะได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนที่ต่ำกว่าและระยะทาง ในการขนส่งที่ใกล้กว่า ค่ะ

การปลูกมะคาเดเมีย มีรายงานว่า มะคาเดเมียเป็นพืชที่ชอบความเย็น ดังนั้นพื้นที่ในการปลูกมะคาเดเมียที่เหมาะสมควรอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตรขึ้นไป และควรมีแหล่งน้ำเพียงพอ ทั้งนี้เนื่องจากมะคะเดเมียเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก คือ มีความต้องการน้ำเฉลี่ย 15 ลิตร ต่อต้นต่อวันค่ะ

มะคาเดเมียจะให้ผลผลิตได้ดีเมื่อมีอายุต้นประมาณ 10 ปีขึ้นไป และสามารถเก็บต่อเนื่องได้จนถึงอายุ 100-125 ปี มะคาเดเมียให้ผลผลิตเฉลี่ย 10 กิโลกรัมต่อต้น ให้ผลผลิตสูงสุดประมาณ 30 กิโลกรัม/ต้น พื้นที่ 1 ไร่สามารถปลูกมะคาเดเมียได้ 30 ต้น ค่ะ

สำหรับพันธุ์มะคะเดเมียที่นิยมปลูก และเป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรรับรองพันธุ์ได้แก่ มะคาเดเมียพันธุ์ 660 และ 741 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ 800, 344 และ 508 ค่ะ

ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะคาเดเมียนั้นในต่างประเทศนิยมใช้รถหรือเครื่องมือทุ่นแรงไปเขย่าต้น เพื่อให้ผลร่วง แล้วจะใช้รถอีกคันเข้ามาดูดเก็บผลของมะคาเดเมียเข้าเครื่องเพื่อนำไปส่งโรงงาน แต่ในประเทศไทยการนำเทคโนโลยีอย่างต่างประเทศนั้นคงอีกนาน ทั้งนี้เพราะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมาก ประกอบกับค่าแรงงานในไทยยังถูกอยู่ ดังนั้นการจ้างแรงงานคนมาเขย่าต้นให้ผลร่วงแล้วเก็บผลมะคาเดเมียทำให้ง่ายและประหยัด กว่ากันมากค่ะ

วิธีการแปรรูปมะคาเดเมีย เท่าที่สำรวจจากรายงานต่างๆ มีคำแนะนำดังนี้ค่ะ ประการแรก คือต้องเอาเปลือกที่หุ้มเมล็ดมะคาเดเมียอยู่ออกให้หมด วิธีการคือนำผลมะคาเดเมียไปอบด้วยความร้อน 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 วัน และอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส อีก 2 วัน จะทำให้เปลือกผลมะคาเดเมียร่อน จากนั้นให้นำผลมะคาเดเมียที่อบแล้วไปผ่านเครื่องกะเทาะเปลือก จากนั้นจึงนำไปคัดคุณภาพ โดยวิธีการนี้จะได้เมล็ดมะคาเดเมียดิบที่มีคุณภาพ มะคาเดเมียที่คัดแล้วแต่ละเกรดสามารถส่งโรงงานแปรรูปได้เลย แต่ถ้าจะให้ได้เมล็ดมะคาเดเมียสุกก็จะต้องอบต่ออีก 3 วัน โดยใช้อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ค่ะ

สนราคาของผลผลิตมะคาเดเมียแปรรูปแล้วในปัจจุบัน เกรด 1 มีราคาประมาณ 450 บาท/กิโลกรัม เกรด 2 ราคา 400 บาท/กิโลกรัม เกรดต่ำสุดราคา 200 บาท /กิโลกรัม ซึ่งมะคาเดเมียเกรดต่ำสุดนิยมเอาไปทำคุกกี้ ค่ะ

วิธีการขยายพันธุ์มะคาเดเมียเพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามพันธุ์ ที่นิยมใช้ที่สุด คือ การ "เสียบยอด" ค่ะ

คุณดำเกิง ชาลีจันทร์ นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องมะคาเดเมียสรุปไว้ว่า สภาพตลาดของมะคาเดเมียในบรรรดาพวกพืชเคี้ยวมันทั้งหมดยังมีค่าน้อยมาก คือ มีเพียง 3 % ของอัตราส่วนด้านมูลค่าและปริมาณ ในขณะที่ถั่วอัลมอนด์อยู่ในอันดับหนึ่งหรือประมาณ 45-48 % นอกจากนี้ยังมีประชากรของโลกอีกมากที่ยังไม่รู้จักรับประทานมะคาเดเมียอย่างทวีป ยุโรปทั้งทวีป ส่วนประเทศใหญ่ ๆ เช่น จีน และ แคนาดา ยังเป็นแหล่งที่จะระบายผลผลิตแปรรูปออกไปขายได้ โดยเชื่อว่าหากได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมกันจริงๆ โอกาสที่จะขยายปริมาณการผลิตยังมีอยู่อีกมากและมะคาเดเมียอาจจะเป็นพืชเกษตรอุตสาหกรรมตัว ใหม่ของประเทศไทยที่จะช่วยเพิ่มความหลากหลายและสร้างสรรค์ให้กับสินค้าทาง การเกษตรและทำรายได้ให้กับประเทศไทยได้อย่างงดงามในอนาคตอันใกล้นี้ ค่ะ

คุณผู้ฟังที่รักค่ะ หากคุณผู้ฟังต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับรายการสาระความรู้ทางการเกษตรเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ หรือมีปัญหาทางการเกษตรต้องการคำปรีกษา แนะนำ หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม แก่ทางรายการฯก็ตามนะคะ ขอเชิญติดต่อเข้ามาได้ค่ะ ทั้งทางจดหมายและโทรศัพท์นะคะ ทางจดหมายจ่าหน้าซองถึงดิฉันดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ รหัสไปรษณีย์ 90112 ส่วนทางโทรศัพท์กรุณาติดต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ (074)-211030-19 ต่อ 2370 ต่อ 14 หรือ (074)212849 ต่อ 2370 ต่อ 14 ในวันและเวลาราชการค่ะ

วันนี้เวลาของรายการสาระความรู้ทางการเกษตรหมดลงอีกแล้วนะคะ คุณผู้ฟังจะติดตามรับฟังรายการสาระความรู้ทางการเกษตรได้ใหม่ ณ สถานีวิทยุมอ. เอฟเอ็ม แปดสิบแปดเม็กกะเฮิร์กซ์ ทุกวันจันทร์เวลาประมาณ สิบห้านาฬิกาสี่สิบห้านาที สำหรับวันนี้ดิฉันขอลาคุณผู้ฟังไปก่อนค่ะ สวัสดีค่ะ


งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม
ผ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
โทร. (074) 211030-49 ต่อ 2370 ต่อ 14,212849 ต่อ 14 แฟกซ์ (074) 558803 สถานีวิทยุมอ.FM 88 MHz
ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา : 15.45-15.55 น.
โทร. (074) 211030-49 ต่อ 2999


http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio42-43/42-430040.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/05/2011 2:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะคาดิเมีย....


















http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=endless9&month=13-09-2009&group=28&gblog=6
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/05/2011 2:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถั่วแพงที่สุดในโลก คือ ถั่วแมคคาเดเมีย





ถั่วที่มีราคาแพงที่สุดในโลก คือ ถั่วแมคคาเดเมีย ถั่วชนิดนี้จะให้ผลผลิตก็ต่อเมื่อมีอายุตั้งแต่ 7-10 ปีขึ้นไป ซึ่งการปลูกให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นจะต้องหมั่นคอยดูแลโดยใส่ปุ๋ย และปลูกในที่ๆ มีฝนตกชุกเท่านั้น


ถั่วชนิดนี้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ด้วยกัน โดยมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศออสเตรเลียมากถึง 7 สายพันธุ์ ที่นิว คาเลโดเนีย 1 สายพันธุ์ และ ที่เมืองสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย อีก 1 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่มีความสำคัญและมีมูลค่าในเชิงการค้ามากที่สุดมีเพียง 2 สายพันธุ์ คือ Macadamia integrifolia และ Macadamia tetraphylla ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในรัฐนิวเซาธ์ เวลส์ และควีนสแลนด์ ของประเทศออสเตรเลีย


ไร่แมคคาเดเมียที่ได้ปลูกขึ้นเพื่อการค้าเป็นครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นในช่วงต้นของยุคปี ค.ศ. 1880 (พ.ศ. 2423) ในรัฐนิวเซาธ์ เวลส์ ของประเทศออสเตรเลีย และอีก 2 ปีต่อมาได้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์แมคคาเดเมียจากออสเตรเลียไปทดลองปลูกที่ฮาวาย จนเริ่มมีการปลูกแมคคาเดเมียในเชิงการค้าที่นั่นอย่างจริงจังนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) เป็นต้นมา





นอกจาก ออสเตรเลีย และฮาวายแล้ว ยังมีประเทศอื่นๆ ที่ปลูกแมคคาเดเมียเป็นพืชเศรษฐกิจอีก ได้แก่แอฟริกาใต้ บราซิล สหรัฐอเมริกา (แคลิฟอร์เนีย) คอสตา ริก้า อิสราเอล เคนย่า โบลิเวีย นิวซีแลนด์ และมาลาวี โดยมีออสเตรเลียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก


สำหรับราคาขายของถั่วชนิดนี้จะอยู่ที่มากกว่า 30 เหรียญสหรัฐต่อ 1 ก.ก. (มากกว่า 1 พันบาท/ก.ก.)


http://justblog-medbuoy.blogspot.com/2010_06_01_archive.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/05/2011 2:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะคาเดเมีย “ราชาพืชแห่งความเคี้ยวมัน”





มะคาเดเมีย เป็นพืชเมืองกึ่งร้อนชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบเขียวตลอดทั้งปีสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนพื้นที่สูงระดับ 1,000 เมตรขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล อย่างเช่น พื้นที่บนดอยช้าง การพัฒนาของผลมะคาเดเมีย เป็นไปอย่างช้าๆ อายุการเก็บเกี่ยวจึงนานกว่าพื้นที่ต่ำกว่า 1,000 เมตร ลงมา ผลของมะคาเดเมียออกเป็นช่อ ทรงกลม เปลือกนอกเป็นสีเขียว ภายในเป็นกะลาสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวรสชาติมัน กรอบ อร่อย จะทานแบบดิบ หรือปรุงแต่งเป็นของขบเคี้ยว ขนม และอาหารอีกหลายชนิด เช่น อบ คั่ว ทอด คลุกเกลือ เคลือบน้ำตาลหรือช็อคโกแลต

มะคาเดเมียไม่มีคอเลสเทอรอล เนื้อในประกอบด้วยน้ำมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น กรดโอเลอิก กรดปาล์มมิโตเลอิก กรดปาล์มมิติก กรดสเตียริก กรดไมริสติก กรดโดโคเฮกซะอีโนอิก กรดไลโนเลอิก เป็นต้น ซึ่งช่วยลดปริมาณคลอเรสเทอรอล ลดปริมาณ ดีเอชแอล ทำให้สามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ในกลุ่มของถั่วเปลือกแข็งชนิดต่างๆ มะคาเดเมียมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก รองจากบราซิลนัท ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดอัตราความเสียหายอันเนื่องจากปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นของเซลล์ ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็ง




- ต้นมะคาเดเมียสายพันธุ์ที่พัฒนามาจากพันธุ์ออสเตรเลีย และปรับปรุงพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและ รสชาติหอม มัน กว่าเดิม




- กะลาสีน้ำตาล ผลมะคาเดเมีย




- ลูกมะคาเดเมียสด จะมีเปลือกชั้นนอกสุดเป็นสีเขียวแก่ ผิวเรียบมัน เกษตรกรจะต้องรอให้ลูกมะคาเดเมียแก่และหล่นออกจากต้น เอง ไม่ควรเก็บผลิตผลทั้ง ๆ ที่ลูกยังเขียวคาต้น เพราะจะทำให้คุณภาพเม็ดมะคาเดเมียที่ได้นั้นไม่สมบูรณ์พอ




- หลังจากที่ปอกเปลือกเขียวด้วยการทุบด้วยมือแล้ว ผลของมะคาเดเมียจะออกมาในรูปของเปลือกสีน้ำตาลเข้ม เรียกว่ากะลา และหากมีการกระเทาะต่อจะได้เนื้อในของมะคาเดเมียที่สามารถนำมารับประทานได้



- ต้นมะคาเดเมียสายพันธุ์ที่พัฒนามาจากพันธุ์ออสเตรเลีย และปรับปรุงพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและ รสชาติหอม มัน กว่าเดิม



กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะคาเดเมีย
ติดต่อคุณสุพจน์ โทร. 084-739-2418
ตุณภูมิจิตร โทร. 081-289-1691, 081-884-5845
E-mail : baandoichaangmacadamia@yahoo.com


http://baandoichaangmacadamia.com/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/05/2011 2:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




http://www.yopi.co.th/prd_2010010
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/05/2011 2:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




http://www.thaimarket24.com/4024/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7-%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2-macadamia-0873469529/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©