-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ภาพ ก่อน-หลัง เจียนตออ้อย....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ภาพ ก่อน-หลัง เจียนตออ้อย....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 09/02/2011 4:57 pm    ชื่อกระทู้: ภาพ ก่อน-หลัง เจียนตออ้อย.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

แปลงนี้ใช้เครื่องตัดหญ้าใส่ท้ายรถไถเจียนตอ เจียนตอมาแล้วนับวันนี้ 1 อาทิตย์พอดีครับ สังเกตุใบจะเป็นละเอียดกว่าไม่เจียนตอแปลงนี้
เจียนตอครึ่งแปลงเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความต่างให้ สมช. ได้ดูเลยครับ (ตั้งใจเจียนตอครึ่งแปลงพรุ่งนี้จะไปเจียนตอให้แล้วเสร็จ
แม่เริ่มบ่นไม่ทำให้เสร็จๆ ไป)


[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

รูปนี้ดูแบบอย่างละครึ่งเลยครับแตกต่างๆดูใบแห้งนะครับ

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

อันนี้สภาพตอที่โดนเจียนครับ สภาพหน้าดินแห้งครับ

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

หน้าแห้งแต่ด้านล่างยัง มีความชื้นอยู่ครับ

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

มาดูการแตกหน่อระหว่างการเจียนตอและไม่เจียนตอ

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

มาดูกันอีกแปลงครับ เจียนตอแล้วมีต้นไม้ล้ม ช่วงน้ำท่วมจ้างคนไปเลื่อยไม้ เค้าบอกไม้มันกลวงทำอะไรไม่ได้ เผาถ่านอย่างเดียวเค้าเลย
ไม่ยอมไปตัดให้สักที

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

สังเกตุแต่ละกอจะแตกหน่อเยอะกว่าไม่เจียนตอครับ

ทั้ง 2 แปลงนี้เจียนตอวันเดียวกันหลังตัด 1 อาทิตย์ก็เจียนตอเลยครับ ณ วันนี้หลังเจียนตอก็ครบ 1 อาทิตย์พอดีครับ

จบการรายงานความคืบหน้าครับลุงคิม
ผิดพลาดอะไรไปขออภัยไว้ก่อนเลยนะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 11/02/2011 10:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

A จะลงริปเปอร์เมื่อไหร่
ดูจากรูปดินยังชุ่ม ตาอ้อยงอกดี
เกือบ 100 %
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 11/02/2011 8:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็นด้วยกับพี่เกียรติน่ะครับ ดูแล้วความชื้นในดินดีจังเลย
แปลงนี้ไว้ใบเหรอครับคุณเอ แถวโน้นเขาคิดค่าจ้าง
ลง "ผานไถคลุกใบ" ยังไงบ้างครับ

ของผมอีกแปลงก็ว่าจะลง "ผานผ่ากลางกอ" แล้วก็ลง "ผานคลุกใบ"
เหมือนกัน ยังไงปีหน้าก็ขอให้เฮง เฮง น่ะครับ
(อาชีพอย่างพวกเรานี่ต้องว่ากันข้ามปีเลยเนอะ)
สบายดีน่ะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/02/2011 10:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลง "น้ำ + ระเบิดเถิดเทิง 2 ล. + 25-7-7 (5 กก.)" /ไร่ หน่อที่แทงขึ้นมาใหม่จะสมบูรณ์ หน่อใหญ่ ใบใหญ่หนา เขียวเข้ม ดีกว่านี้


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 12/02/2011 7:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับลุงคิม 25-7-7 นี่เอาไปละลายน้ำเลยใช่ไหมครับ

เอ ไว้ใบคลุมทุกแปลงครับพี่ยุทธยกเว้นมีผู้หวังดีมาจุดใบให้สำหรับโรตารี่คลุกใบ
อ้อยแถวเอไม่มีใครมีสักคนเพราะลองเอามาแล้วใบมีดถ้าไม่ใช่ของดีจริงๆสู้ดินทาง
เอช่วงแห้งจดๆไม่ได้ครับก็ปล่อยมันคลุมดินแบบนี้ไปเลยตอนใส่ปุ๋ยก็ใช้เครื่องใหญ่
ลงเพราะมีผานตัดใบอ้อยนำก่อนเขี้ยวลิปเปอร์


รูปนี้เพิ่งตีตอมาเมื่อวานครับ

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

[img]
Thanks: ฝากรูป[/img]

ใช้กล้องมือถือถ่ายคุณภาพรูปอาจจะไม่ดีนะครับ

ลุงคิมมีคำแนะนำอะไรเพิ่มเติมบอกเอเลยนะครับจะรับเอาไปทำตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/02/2011 9:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

COPY.....

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับลุงคิม 25-7-7 นี่เอาไปละลายน้ำเลยใช่ไหมครับ

ตอบ :
อัตราใช้และวิธีใช้..... บำรุงตอด้วย "น้ำตามความเหมาะสม + ระเบิดเถิดเทิง 2-3 ล.+ 25-7-7 (5 กก.)/ไร่" ที่ว่า
น้ำตามความเหมะสมก็คือ จงใจให้น้ำแก่ตออ้อยเพื่อบำรุงตอไปในตัว ปริมาณเท่าไหร่ก็ได้ ถ้าไม่กลัวน้ำท่วม .....
ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีพร้อมทั้งสารอาหารสำหรับอ้อยและสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นในดิน ....
25-7-7 สำหรับไม้ระยะกล้าจะช่วยให้ได้ใบใหม่ ใหญ่ หนา เขียวเข้ม ถ้าไม่มี 25-7-7 สามารถใช้ 16-8-8 หรือ
30-10-10 หรือ 21-0-0 + 16-16-16 (1:1) แทนได้ด้วยอัตราเดียวกัน



เอ. ไว้ใบคลุมทุกแปลงครับพี่ยุทธ ยกเว้นมีผู้หวังดีมาจุดใบให้ สำหรับโรตารี่คลุกใบ
อ้อยแถวเอ.ไม่มีใครมีสักคน เพราะลองเอามาแล้วใบมีดถ้าไม่ใช่ของดีจริงๆ สู้ดิน
ทาง เอ.ช่วงแห้งจัดๆไม่ได้ครับ ก็ปล่อยมันคลุมดินแบบนี้ไปเลยตอนใส่ปุ๋ยก็ใช้
เครื่องใหญ่ลง เพราะมีผานตัดใบอ้อยนำก่อนเขี้ยวลิปเปอร์

ตอบ :
- สมช.ของลุงคิมชื่อ "ลุงแย้ม" อยู่ สรรพยา ชัยนาท ทำนานไม่เผาฟาง ระหว่างรอวันไถกลบนั้น คนเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง
จัดการเผาให้ ลุงยิ้มไม่พอใจ แจ้งความตำรวจเรียกร้องค่าเสียหาย ข้อหาทำลายทรัพย์สิน ในที่สุด คนเลี้ยงเป็ดไล่
ทุ่งต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นหมื่นกว่าบาท....

- สมช.ลุงคิม ปลูกองุ่นอยู่ดำเนินสะดวก ราชบุรี ทุกแปลงรวมกลุ่มกัน "ห้ามใช้ยาฆ่าหญ้า ทั้งในแปลงองุ่นและแปลง
พืชอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ใครจะใช้ยาฆ่าหญ้าต้องแจ้งสวนองุ่นให้รู้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมการป้องกัน หากใครจะใช้ยาฆ่า
หญ้าแล้วไม่แจ้งล่วงหน้า ถ้าละอองยาฆ่าหญ้าปลิวไปโดนองุ่นเสียหาย ผู้นั้นต้องชดใช้ค่าเสียหาย ..... เหตุเกิดจน
ได้ เมื่อแปลงข้าวข้างแปลงองุ่นฉีดยาฆ่ายาคุมหญ้า แล้วละอองยาฆ่าหญ้าปลิวตามลมไปโดนองุ่น ทำให้ใบใหม้
เหลืองซีด ยอดกุด แล้วแห้งลามจากปลายมาโคนกิ่ง เจ้าของนาข้าวจึงต้องชดใช่ค่าเสีย ให้กับเจ้าของแปลงองุ่น
3-4 แปลง งานนี้ว่าเป็นแสน

- กรณีมีคนแอบเผาเศษซากใบแห้งอ้อยในแปลง เหมือนปัญหาโลกแตก เจ้าของต้องมีวิธีการป้องกันด้วยมาตร
การที่เหมะสมเอาเอง



รูปนี้เพิ่งตีตอมาเมื่อวานครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/02/2011 4:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

".......อ้อยแถวเอ.ไม่มีใครมีสักคน เพราะลองเอามาแล้ว ใบมีดถ้าไม่ใช่ของดี
จริงๆ สู้ดิน ทาง เอ.ช่วงแห้งจัดๆไม่ได้ครับ...."


ตอบ :
- ทุกอย่างฟ้องชัดว่า "ดินไม่ดี ดินโทรม ดินแน่น" ขนาดใบมีดรถไถต้องของดีเท่านั้นจึงจะสู้ได้ ฉนี้แล้ว รากอ้อยจะชอนไชแทรก
เนื้อดินไปได้อย่างไร.... ดินจะอุ้มน้ำได้อย่างไร....ดินจะสนองต่อปุ๋ย/จุลินทรีย์ได้อย่างไร.....

- สรีระวิทยาอ้อย บอกว่า ธรรมชาติรากของอ้อย จะมีความยาวเท่ากับความสูงของลำต้น สภาพดินแบบนี้รากอ้อยสามารถเจริญ
ยาวไปได้เพียงแค่คืบมือเดียว นั่นหมายถึงความสามารถในการดูดซับสารอาหาร คงได้เพียงเล็กน้อย แล้วเขาจะเอาอะไรไปพัฒนาตัว
เองให้เจริญเติบโตมากๆได้ล่ะ

- โครงสร้างดินที่เหมาะสมสำหรับพิชไร่เท่าที่เห็นมา ดินมีอินทรีย์วัตถุเพียง 5-10% ของเนื้อดิน เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว สภาพดินที่
โปร่งร่วนซุย ยิ่งลึกยิ่งดี ดินแบบนี้สามารถอุ้มน้ำเก็บไว้ได้นานนับเดือน นั่นคือ ประโยชน์ที่พืชไร่อย่างอ้อยจะได้รับ

- ทำไมต้องทำอย่างแปลงข้างเคียง ทำไมถึงยังทำแบบเดิมๆอยู่ (แบบชาวบ้าน) ที่เคยทำมา ในเมื่อวิธีนั้นมันไม่ตรง
กับความต้องการทางธรรมชาติที่แท้จริงของอ้อย ทั้งนี้ ปริมาณผลผลิตที่ได้รับในรุ่นนี้ รุ่นหน้า และรุ่นต่อๆไป นั่นแหละ
คือ คำตอบที่ดีที่สุด

- วันนี้มีตัวอย่างที่เขาทำแล้วประสบความสำเร็จเหนือกว่าของเรา หรือแปลงข้างเคียงเราให้พิสูจน์ ก็น่าจะนำแนวทาง
นั้นมาวิเคราห์ แล้วประยุกต์ใช้กับแปลงอ้อยของเราบ้าง ภายใต้จุดยืน

คิดใหม่ทำใหม่....
คิดนอกกรอบ....
ปลูกอ้อยตามใจอ้อย ไม่ใช่ตามใจคน....
ทำตามข้างบ้านได้เท่ากับข้างบ้าน....
ทำแบบเดิมได้น้อยกว่าเดิม....
บำรุงเต็มที่ ได้เต็มที่....
บำรุงเต็มที ได้เต็มที่.....

- แนวคิดแบบเศรษฐศาตร์การลุงทุน .... ให้น้ำอ้อยพอดินเปียก 4 รอบ/รุ่น...

รอบแรก ช่วงบำรุงตอหลังเจียน...
รอบ 2 ช่วงย่างปล้อง....
รอบ 3 ต้นโตเต็มที่
รอบ 4 ต้นโตเต็มที่ ให้ซ้ำถ้าแล้งจัดๆ

ต้นทุนให้น้ำ 1 รอบ/ไร่ คงเป็นเงินไม่กี่ร้อยบาทมั้ง....


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 12/02/2011 6:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทุกอย่างฟ้องชัดว่า "ดินไม่ดี ดินโทรม ดินแน่น" ขนาดใบมีดรถไถต้องของดีเท่านั้นจึงจะสู้ได้ ฉนี้แล้ว รากอ้อยจะชอนไชแทรก
เนื้อดินไปได้อย่างไร.... ดินจะอุ้มน้ำได้อย่างไร....ดินจะสนองต่อปุ๋ย/จุลินทรีย์ได้อย่างไร.....

- สรีระวิทยาอ้อย บอกว่า ธรรมชาติรากของอ้อย จะมีความยาวเท่ากับความสูงของลำต้น สภาพดินแบบนี้รากอ้อยสามารถเจริญ
ยาวไปได้เพียงแค่คืบมือเดียว นั่นหมายถึงความสามารถในการดูดซับสารอาหาร คงได้เพียงเล็กน้อย แล้วเขาจะเอาอะไรไปพัฒนาตัว
เองให้เจริญเติบโตมากๆได้ล่ะ


ลุงคิมพูดได้ตรงจุดเหมือนตาเห็นเลยครับ ตอนนี้แถวเอ. กำลงเจอกับปัญหานี้กันแทบทั้งนั้นเลยครับ

เอ.กำลังหาวิธีการแก้ดินแน่นกับดินไม่อุ้มน้ำได้นานบางแปลงไถขึ้นมา
ดินจับกันเป็นก้อนใหญ่มาก ต้องไปยืมโรตารี่ตีดินของชาวบ้านมาตีอีก เปลืองมากครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/02/2011 11:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

A_Chumphae บันทึก:
ทุกอย่างฟ้องชัดว่า "ดินไม่ดี ดินโทรม ดินแน่น" ขนาดใบมีดรถไถต้องของดีเท่านั้นจึงจะสู้ได้ ฉนี้แล้ว รากอ้อยจะชอนไชแทรก
เนื้อดินไปได้อย่างไร.... ดินจะอุ้มน้ำได้อย่างไร....ดินจะสนองต่อปุ๋ย/จุลินทรีย์ได้อย่างไร.....

- สรีระวิทยาอ้อย บอกว่า ธรรมชาติรากของอ้อย จะมีความยาวเท่ากับความสูงของลำต้น สภาพดินแบบนี้รากอ้อยสามารถเจริญ
ยาวไปได้เพียงแค่คืบมือเดียว นั่นหมายถึงความสามารถในการดูดซับสารอาหาร คงได้เพียงเล็กน้อย แล้วเขาจะเอาอะไรไปพัฒนาตัว
เองให้เจริญเติบโตมากๆได้ล่ะ

ลุงคิม พูดได้ตรงจุดเหมือนตาเห็น เลยครับ ตอนนี้แถวเอ. กำลงเจอกับปัญหานี้กันแทบทั้งนั้นเลยครับ

เอ.กำลังหา วิธีการแก้ดินแน่นกับดินไม่อุ้มน้ำ ได้นานบางแปลงไถขึ้นมา
ดินจับกันเป็นก้อนใหญ่มาก ต้องไปยืมโรตารี่ตีดินของชาวบ้านมาตีอีก เปลืองมากครับ






ตอบ :

อ้าง : พูดได้ตรงจุดเหมือนตาเห็น....

สัจจะธรรมแห่งเกษตร :
- ความจริงของธรรมชาติมีเพียง 1 เดียวเท่านั้น ใครที่พูดความจริงของธรรมชาติย่อมพูดได้เหมือนกัน แม้ "คำพูด" จะต่างกัน
แต่ "นัย หรือ ความหมาย" ยังคงเหมือนกัน.....การพูดถึงธรรมชาติที่ผิดเพี้ยนไป นั่นเพราะ "ผลประโยชน์ หรือ ความไม่รู้"
แฝงอยู่เบื้องหลัง

- นิยามหรือความหมายของคำว่า "ดินดี" เหมาะสมต่อการเพาะปลูก คือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุ จุลินทรีย์ น้ำ อากาศ และอื่นๆตาม
ความจำเป็น ในอัตราส่วนที่สมดุลซึ่งกันและกัน สภาพดินแบบนี้จะโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก ..... แต่หากในดินไม่มี
อินทรีย์วัตถุ จุลินทรีย์ น้ำ อากาศ และอื่นๆตามความเหมาะสมอย่างสิ้นเชิงเสียแล้ว เป็นธรรมดาที่ดินนั้นย่อมมีสภาพโครงสร้าง แน่น
แข็ง ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกอย่างแน่นอน....ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพียงแค่ "นึกภาพ" ก็
สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดหรือเขียนเป็นตัวอักษรได้..... สรุป : อ่าน LINE ธรรมชาติออก จะสามารถรู้ได้อย่างชัด
แจ้งในการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ

- ทำการเกษตรต้องถือหลัก "จิตรละเอียด" วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านการเพาะปลูก (ดิน/น้ำ/แสงแดด-อุณหภูมิ-ฤดูกาล/สารอาหาร/
สายพันธุ์/โรค) ให้ครบทุกหัวข้อ แล้ว "ปรับ/ประยุกต์" ให้ทุกปัจจัยดำเนินไปอย่างสอดคล้องซึ่งกันและกัน....ในความเป็นจริงแห่ง
โลกเกษตร หลายคนทำตนแบบ "จิตรหยาบ" ด้วยความไม่รู้จริง และมิจฉาทิฐิมุ่งมั่นเอาชนะธรรมชาติ หลงตัวเองว่า "รู้แจ้ง" แล้ว


ปรัชญาการเกษตร :
- ดิน ต้องมาก่อน...
- ดินดี ประสบความสำเร็จแล้วกว่าครึ่ง...
- ดิน คือ ที่กิน ที่อยู่ ของต้นพืช...

- ดินตาย ต้นพืชตาย (คนตายตาม)
- ดินตาย เปลืองต้นทุน (เงิน-เวลา-แรงงาน-เนื้อที่-โอกาส-คุณภาพ-ปริมาณ-)
- ดินตาย อนาคตเพาะปลูกมือมน




อ้าง : วิธีการแก้ดินแน่นกับดินไม่อุ้มน้ำ

หลักการและเหตุผล...
- ดินที่อุ้มน้ำได้ดี เพราะโมเลกุลของเนื้อดินมีช่องว่างจนโมเลกุลของน้ำสามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ได้

- ดินที่มีอินทรีย์วัตถุ จุลินทรีย์ จะมีช่องระหว่างโมเลกุลของเนื้อดินห่าง ซึ่งนอกจากน้ำและอากาศสามารถผ่านเข้าไปแทรกตัวอยู่ได้แล้ว
ยังก่อเกิดกิจกรรมจุลินทรีย์ ในอันที่จะทำให้ดินกลายเป็นดินดี เหมาะสมต่อการเพาะปลุกพืชอีกด้วย

- กิจกรรมจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์แบบ สิ่งที่บังเกิดตามมา นอกจาก โปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวกแล้ว ยังเกิดกระบวนหลากหลายอย่าง
ที่จำเป็นต่อพืช เช่น สร้างสารอาหาร สร้างสารป้องกันโรค สร้างภูมิต้านทาน ปรับโครงสร้างดิน ตรึงอากาศ เก็บความชื้น และอื่นๆ เป็นต้น

- อินทรีย์วัตถุ คือ เศษ/ซาก/ละออง ของสิ่งมีชีวิต (มนุษย์ สัตว์ พืช) ชิ้นส่วนของเศษซากพืช ครั้งที่ยังคงสภาพเป็นชิ้นๆ นั้น เมื่อถูก
ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จะกลายเป็นละอองปนอยู่ในเนื้อดิน และที่ละอองอินทรีย์วัตถุก็ต้องมีจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์ประจำถิ่น) ปนอยู่ด้วย
ซึ่งขั้นสุดท้ายของละอองอินทรีย์วัตถุเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลว เรียกว่า "อินทรีย์สาร หรือ สารอินทรีย์" ที่พร้อมสำหรับพืชดูดซึมไป
ใช้ ด้วยผลงานของจุลินทรีย์ประจำถิ่นนั่นเอง ....... ในเนื้อดินที่เห็นด้วยสายตาเปล่า อาจกล่าวว่าไม่มีอินทรีย์วัตถุ แต่ในความเป็น
จริงยังมีละอองอินทรีย์วัตถุปะปนอยู่บ้าง แต่ละอองอินทรีย์วัตถุเหล่านี้ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นอินทรีย์สารได้ เพราะไม่มีน้ำและอากาศ
เป็นส่วนส่งเสริมจุลินทรีย์ ครั้นเมื่อได้ส่งจุลินทรีย์ หรือ สารอาหาร (แหล่งพลังงาน) สำหรับจุลินทรีย์ และน้ำลงไป ทำให้จุลินทรีย์ประจำถิ่น
ได้รับสารอาหารหรือแหล่งพลังงาน ส่งผลให้เกิดกระบวนเปลี่ยนละอองอินทรีย์วัตถุให้เป็นอินทรีย์สารได้.......ดังนั้น แม้ไม่ได้ใส่เติมอิน
ทรีย์วัตถุใดๆลงไปเลย เพียงแต่ใส่เติมสารอาหารหรือแหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์ลงไป ก็สามารถทำให้ดินที่เคยเห็นด้วยสายตาเปล่าว่า
ไม่มีอินทรีย์วัตถุนั้น กลายเป็นดินดี สำหรับการเพาะปลูกพืชได้เช่นกัน ก็เหลืออยู่เพียงแต่ ละอองอินทรีย์นั้นมีปริมาณ มาก/น้อย
เพียงใด และจุลินทรีย์หรือแหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์เป็น ประเภทใด/ปริมาณเท่าใด เท่านั้น นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเจริญ
เติบโตของจุลินทรีย์ก็จะต้องมีอย่างเพียงพอและเหมาะสมอีกด้วย เช่น ในเศษซากอ้อย ย่อมมีสารอาหารสำหรับอ้อย ที่ต้นอ้อยเคยใช้
เป็นองค์ประกอบหลัก หรือเศษซากต้นข้าว (ฟาง) ย่อมมีสารอาหารสำหรับข้าวที่ต้นข้าวเคยใช้เป็นองค์ประกอบหลัก เป็นต้น
เมื่อเศษซากเหล่านี้สลายกลายเป็นของเหลว (อินทรีย์สาร) ย่อมมีสารอาหารของพืชนั้นๆ ออกมาด้วย อย่างแน่นอน

- ปุ๋ยอินทรีย์ คือ "เศษซากพืช + จุลินทรีย์ + แหล่งพลังงานจุลินทรีย์ + ตัวเติม (สารอินทรีย์/สารสังเคราะห์)" ทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์
จากภายนอกลงไปในแปลง ปุ๋ยอินทรีย์เหล่านั้นจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ให้เปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว เหมือนกันทุกชนิดปุ๋ยอินทรีย์.....
จากมุมมองเดียวกันนี้ การใส่ "จุลินทรีย์หรือแหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์ + ตัวเติม (สารอินทรีย์/สารสังเคราะห์) ลงไปคลุกเคล้าผสม
กับเศษซากพืชที่มีเคยมีอยู่เดิมในแปลง เศษซากพืชเหล่านี้ก็จะเปลี่ยนรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้เช่นกัน.....เศษซากพืชใด ย่อมมีสารอาหาร
ที่พืชนั้นใช้พัฒนาตัวเองเพื่อการเจริญเติบโต ดังนั้น ผลจากการย่อยสลายเศษซากพืชที่เกิดในแปลง จึงทำให้ได้สารอาหารจากที่พืชนั้นได้
สะสมไว้ ซึ่งเป็นสารอาหารที่พืชนั้นๆ ต้องการอย่างแท้จริง


แนวคิดและการปฏิบัติ....
- ทำเศษซากพืชเดิมในแปลงให้เป็น "ปุ๋ยอินทรีย์" ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าหรือเหนือกว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่นำมาจากภายนอก โดยใส่
"น้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิง" (สูตรหมักข้ามปี หรือสูตรปุบปับ เพื่อเน้นส่วนผสมแหล่งสารอินทรีย์ จุลินทรีย์ และแหล่งพลัง
งานสำหรับจุลินทรีย์) ร่วมกับ ปุ๋ยสังเคราะห์ (ธาตุหลัก/รอง/เสริม) ฮอร์โมนสังเคราะห์ (บี-1, เอ็นเอเอ.)

- เสริมเติมเพิ่มบวก สารอินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดิน เช่น ยิบซั่มธรรมชาติ ปุ๋ยคอก
- ให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อสร้างความชื้นสำหรับการเจริญของจุลินทรีย์ในเนื้อดิน



หมายเหตุ :
- ส่วนผสมของน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง : ปลาทะเล. กากน้ำตาล. จุลินทรีย์. เลือด. ไขกระดูก. นม. ขี้ค้างคาว.
น้ำมะพร้าว. ฮิวมัส. ฮิวมิก แอซิด. เอ็นเอเอ. บี-1. ท็อกซิค. โบมาเลน. .... ส่วนผสมเหล่านี้ล้วนแต่ให้สารอาหารพืชแตกต่าง
กันไป ซึ่งทุกตัวต่างก็มีประโยน์ต่อพืชโดยตรงทั้งสิ้น

- กระบวนการเกิดของจุลินทรีย์ สามารถทำได้โดย "การหมัก" และการหมักสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ หมักในภาชนะ,
หมักในกอง, หมักในดิน. ด้วยกรรมวิธีการหมักที่เหมาะสมของแต่ละแบบ.....ดังนั้น การส่งเสริมกระบวนการจุลินทรีย์ในแปลง
(จุลินทรีย์ประจำถิ่น) ย่อมได้ประโยชน์มากกว่าการนำจุลินทรีย์จากภายนอกมาใส่ในแปลง

- ปุ๋ยอินทรีย์จากแหล่งภายนอก "ทำเอง V.S. ซื้อ" มานั้น อย่างไหนมั่นใจได้มากกว่ากันว่ามีสารอาหารพืชจริง

- คำนวนต้นทุน (ค่าโสหุ้ย) ค่าปุ๋ยอินทรีย์ทำเอง จากแหล่งผลิตส่งถึงแปลง = ?
- คำนวนต้นทุน (ค่าโสหุ้ย) ค่าปุ๋ยอินทรีย์ (ซื้อ) จากแหล่งผลิตส่งถึงแปลง = ?
- คำนวนต้นทุน (ค่าโสหุ้ย) ค่าน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง จากแหล่งผลิตส่งถึงแปลง = ?

- คำนวนต้นทุน ชนิด/ปริมาณ สารอาหาร "ปุ๋ยอินทรีย์ ทำเอง V.S. ปุ๋ยอินทรีย์ซือ V.S น้ำหมักสูตรระเบิดเถิดเทิง" เปรียบเทียบแล้ว = ?
- ประโยชน์ที่ได้ ระยะสั้น - ระยะปานกลาง - ระยะยาว





อ้าง : วิธีการแก้ดินแน่นกับดินไม่อุ้มน้ำ & ดินจับกันเป็นก้อนใหญ่มาก

สาเหตุ (ซ้ำซาก)...
- ดินขาด อินทรีย์วัตถุ, จุลินทรีย์, น้ำ, อากาศ และอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปรับสภาพโครงสร้างดิน
- ปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างในเนื้อดินมากเกินไป สืบเนื่องจากพืชนำไปใช้ไม่หมด
- ดินสะสมสารกำจัดวัชพืชมากเกินไป
- หน้าดินถูก แดดเผา/ไฟเผา
- หน้าดินถูกเครื่องจักรขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก กดทับ


วิธีแก้ไข....

- ใส่อินทรีย์วัตถุ, จุลินทรีย์ และสารอินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดิน
- ลดปุ๋ยเคมีทางดิน เพิ่มปุ๋ยเคมีทางใบ
- ให้น้ำสร้างความชื้นในดิน ส่งเสริมกระบวนการจุลินทรีย์
- ทุกครั้งที่มีการให้น้ำควรผสม "จุลินทรีย์" ร่วมด้วย เพื่อเติมเพิ่มจุลินทรีย์

- ปรับ/เปลี่ยน ทัศนะคติต่อการเพาะปลูก....


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/02/2011 5:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/02/2011 2:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





นวัตกรรมจุลินทรีย์ดิน พด.11 เป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพ
ให้แก่พืชปรับปรุงบำรุงดิน โดยแบ่งออกเป็น จุลินทรีย์ พด.11 สำหรับโสนอัฟริกัน และจุลินทรีย์ พด.11 สำหรับปอเทือง ซึ่ง
จุลินทรีย์ชนิดดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดินชนิดนั้น ๆ อีกทั้งยังมีจุลินทรีย์ที่มีความ
สามารถในการละลายฟอสฟอรัสในดินให้เป็นประโยชน์แก่พืช เพื่อการใช้ประโยชน์พืชปรับปรุงบำรุงดินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


คุณสมบัติของจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11
1. เป็นจุลินทรีย์กลุ่มไรโซเบียม ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอาศัยอยู่ในปมรากและลำ
ต้นของพืชปรับปรุงบำรุงดินแบบพึ่งพา ซึ่งกันและกัน โดยไรโซเบียมเป็นเชื้อแบคทีเรียที่จัดอยู่ในสกุล Rhizobium ย้อมติด
สีแกรมลบ ไม่สร้างสปอร์มีรูปร่างเป็นท่อน ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโต สามารถเข้าสู่รากพืชปรับปรุงบำรุงดิน และสร้าง
ปมเพื่อตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้

2. เป็นแบคทีเรียที่สามารถผลิตกรดอินทรีย์ เพื่อละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟตที่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
เช่น Burkholderia sp.

3. เจริญที่อุณหภูมิระหว่าง 27 - 35 องศาเซลเซียส

4. เจริญในสภาพที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง 6.5 - 7.5



วิธีการขยายเชื้อจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11
1. ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม
2. รำข้าว 1 กิโลกรัม
3. จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11 100 กรัม (1 ซอง)


วิธีการขยายเชื้อ
1. ผสมจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11 และรำข้าวในน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
2. รดสารละลายจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11 ลงในกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูง 50 เซนติเมตร และใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ย เพื่อรักษาความชื้นให้ได้ 70 เปอร์เซ็นต์
4. กองปุ๋ยหมักให้อยู่ในที่ร่มเป็นเวลา 4 วัน


อัตราและวิธีการใช้ปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11
1. หว่านปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อ พด.11 ให้ทั่วพื้นที่ปลูก หรือโรยในแถวร่องปลูก 100 กิโลกรัมต่อไร่
2. หว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทืองอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือหว่านเมล็ดโสนอัฟริกันที่แช่น้ำแล้ว 1 คืน อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่


คำแนะนำ
1. ไถกลบพืชปรับปรุงบำรุงดินในช่วงระยะเวลาออกดอกทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงปลูกพืชหลักตาม
2. เก็บจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11 (ปอเทือง หรือโสนอัฟริกัน) และปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อ พด.11 แล้วไว้ในที่ร่ม



ประโยชน์ของจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11
1. เพิ่มปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน เป็นแหล่งธาตุอาหารไนโตรเจนทดแทนปุ๋ยเคมี ในระบบเกษตรอินทรีย์
2. เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส
3. เพิ่มมวลชีวภาพของพืชปรับปรุงบำรุงดิน (ปอเทือง และโสนอัฟริกัน)
4. เพิ่มอินทรียวัตถุ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน
5. ช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น
6. ทำให้ดินร่วนซุย มีการระบายน้ำ อากาศ และความสามารถในการอุ้มน้ำดีขึ้น
7. ทำให้การปลูกพืชหลักตามมาได้รับผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น


http://www.ldd.go.th/menu_5wonder/pd_11.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/02/2011 3:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร

1. จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing Microorganisms) ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มแบคทีเรีย เพราะทำงานเร็วและมีจำนวนอยู่มาก
โดยครึ่งหนึ่งของมวลจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกคือ แบคทีเรีย แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องอยู่ร่วมกับ
ตัวอื่นถึงจะตรึงไนโตรเจนได้แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน (Symbiosis) เช่น ไรโซเบียม (Rhizobium sp.) ในปมรากพืชตระกูลถั่ว และ
อีกกลุ่มหนึ่งที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างอิสระ (Non-Symbiosis)


2. จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือเซลลูโลส (Cellulolytic Microorganisms หรือ Cellulolytic Decomposers)
เป็นพวกที่ย่อยสลายเซลลูโลส หรือซากพืช ซากสัตว์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา แอคติโนมัยซิท และโปรโตซัว จุลินทรีย์พวกนี้พบได้
ทั่วไประหว่างการสลายตัวของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ซากพืช ซากสัตว์ ใบไม้ กิ่งไม้ เศษหญ้า และขยะอินทรีย์ชนิดต่างๆ
ทำให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ขึ้นมาได้เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น


ในปุ๋ยหมักที่มีกิจกรรมจุลินทรีย์ค่อนข้างดีพบว่าในทุก 1 กรัมของปุ๋ยหมักจะต้องมีแบคทีเรีย 150-300 ไมโครกรัมและมีแบคทีเรียที่มี
กิจกรรมสูง (Active) อยู่ 15-30 ไมโครกรัม มีเชื้อรา 150-200 ไมโครกรัมและมีเชื้อราที่มีกิจกรรมสูง 2-10 ไมโครกรัม มีพวกโปรโตซัว
ซึ่งจะย่อยสลายเศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ต้องมีถึงประมาณ 10,000 ตัวต่อ 1 กรัมของปุ๋ยหมัก และมีพวกไส้เดือน
ฝอยชนิดที่เป็นประโยชน์ 50-100 ตัว


3. จุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆ (Phosphate and Other Nutrient Elements Solubilizing Microorganisms)
จุลินทรีย์พวกนี้สามารถทำให้ธาตุอาหารพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ที่มักอยู่ในรูปที่พืชไม่
สามารถนำไปใช้ได้ ให้ละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ช่วยส่งเสริมให้รากพืชดูดกินธาตุอาหาร
พืชได้ดีขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือดูดกินได้น้อย


จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการแปรสภาพฟอสฟอรัสจะมีทั้งกลุ่มที่ทำหน้าที่เปลี่ยนอินทรีย์ฟอสฟอรัสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่
เป็นประโยชน์ต่อพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ในกรณีของสารอินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูป
ของไฟทิน และกรดฟอสฟอรัส จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างเอนไซม์ Phytase, Phosphatase, Nucleotidases และ Glecerophosphatase
เพื่อแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่เรียกว่า ออโธฟอสเฟต (Orthophosphate) ซึ่งเป็นพวกโมโน (Mono)
และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (Dihydrogen Phosphate) จุลินทรีย์ดังกล่าวได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Bacillus sp. และราในสกุล
Aspergillus sp., Thiobacillus, Penicillium sp. และ Rhizopus sp. เป็นต้น นอกจากนี้สารประกอบอนินทรีย์ฟอสฟอรัสบางชนิดใน
รูปของหินฟอสเฟตซึ่งพืชยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้จุลินทรีย์บางชนิดในสกุล Bacillus sp. และ Aspergillus sp. จะสร้าง
กรดอินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสออกมาให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ นอกจากนี้เชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Fungi) ยังมีบทบาท
ในการละลายและส่งเสริมการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัส

บทบาทของจุลินทรีย์ในการทำให้เกิดการหมุนเวียนทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา

4. จุลินทรีย์ที่ผลิตสารป้องกันและทำลายโรคพืช จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียพวก
ที่ก่อโรคบางชนิด เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acids Bacteria) ได้แก่ Lactobacillus spp. บนใบพืชที่สมบูรณ์
และมีสุขภาพดีแจะพบแบคทีเรียกลุ่มผลิตกรดแลคติกมาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Microorganisms)
และมีประโยชน์อย่างมากในการเกษตร เช่น เปลี่ยนสภาพดินจากดินไม่ดีหรือดินที่สะสมโรคให้กลายเป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวน
จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชให้มีจำนวนน้อยลง มีประโยชน์ทั้งกับพืชและสัตว์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสร้างสาร
ปฏิชีวนะออกมาทำลาลเชื้อโรคพืชบางชนิด เช่น เชื้อรา Aspergillus sp., Trichoderma sp. และเชื้อแอคติโนมัยซิทพวก Streptomyces sp.


5. จุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนพืช แบคทีเรียหลายสายพันธุ์ เช่น Bacillus sp. สามารถสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน.
จิบเบอเรลลิน. และไซโตไคนิน. เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช




http://www.oknation.net/blog/print.php?id=104406
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/02/2011 3:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร

1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรียวัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป"
ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโต
คินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน. อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ)และส่วนที่เป็นท็อกซิน.ซึ่งมีคุณสมบัติ
ในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้
2. ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ
6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม


ประโยชน์ของฮิวมัส
1. ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
2. ป้องกันเม็ดดินอัดตัวกันแน่นจนเป็นดินเหนียวจัด
3. รักษาความชุ่มชื้นของเม็ดดิน (ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กก.เก็บน้ำได้ 19.66 ล.)
4. ลดและสลายสารพิษในดิน
5. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
6. เสริมประสิทธิภาพของธาตุอาหารพืชที่ได้จากการสังเคราะห์แสง



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1848
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 14/02/2011 10:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่รู้จะพูดอย่างไรดีสำหรับคำแนะนำดีๆที่ลุงคิมแนะนำให้ เอ.ได้แต่ขอบพระคุณลุงคิมอย่างสูงครับ สำหรับการชี้แนวทาง
ที่ดีๆให้ เอ.จะพยายามปรับปรุงตามแนวทางที่ลุงคิมแนะนำมาครับ....

มีคำถามเพิ่มเติมครับลุงคิม

1. เอ.ไว้ใบคลุมดินแต่ไม่ได้คลุกเคล้าลงดิน นี่มันจะเกิดประโยชน์กับอ้อย เอ.หรือเปล่าครับ ?

2. ที่ลุงคิมว่าพืชไม่สามารถเอาปุ๋ยไปใช้ได้หมด เอ.ต้องทำยังไงให้พืชมันเอาไปใช้ได้หมดครับ (ไม่อยากให้ดินแข็งเป็น
ก้อนใหญ่ๆ)

3. ถ้า เอ.หว่านยิปซั่มในร่องอ้อย แล้วใช้หางพรวนลากกลบ มันจะดีเหมือนหว่านก่อนเตรียมดินปลูกใหม่หรือเปล่าครับ ?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 14/02/2011 11:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถามเพิ่มเติมนอกเรื่องอ้อยครับลุงคิม....

พอดี เอ.ซื้อที่เพิ่มได้ 2 ไร่ หลังโกดัง แม่เลยถามว่า เราจะปลูกอะไรดี นอกจากอ้อย เพราะ 2 ไร่ปลูกอ้อยเพิ่มก็ได้ไม่เท่าไหร่
เอ.เลยสนใจ "แคนตาลูป" เพราะกินที่ไร่ลุงคิมแล้วอร่อยมาก หาซื้อกินก็ไม่ได้รสแบบนี้....เข้าเรื่องเลยนะครับ

1. แคนตาลูปปลูกดินทรายได้ไหมครับ ?

2. มีคนบอกว่าแคนตาลูปต้องใช้สารเคมีเยอะ ถึงจะได้เก็บเกี่ยว ถ้ายาไม่ถึงก็ได้ผลผลิตไม่ดี

3. ข้อนี้ขอถามความเห็นลุงคิมครับ 2 ไร่นี่ลุงคิมว่าปลูกอะไรดีครับ ดินเป็นทราบครับ ?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 14/02/2011 1:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

A_Chumphae บันทึก:
ถามเพิ่มเติมนอกเรื่องอ้อยครับลุงคิม....

พอดี เอ.ซื้อที่เพิ่มได้ 2 ไร่ หลังโกดัง แม่เลยถามว่า เราจะปลูกอะไรดี นอกจากอ้อย เพราะ 2 ไร่ปลูกอ้อยเพิ่มก็ได้ไม่เท่าไหร่
เอ.เลยสนใจ "แคนตาลูป" เพราะกินที่ไร่ลุงคิมแล้วอร่อยมาก หาซื้อกินก็ไม่ได้รสแบบนี้....เข้าเรื่องเลยนะครับ

1. แคนตาลูปปลูกดินทรายได้ไหมครับ ?

2. มีคนบอกว่าแคนตาลูปต้องใช้สารเคมีเยอะ ถึงจะได้เก็บเกี่ยว ถ้ายาไม่ถึงก็ได้ผลผลิตไม่ดี

3. ข้อนี้ขอถามความเห็นลุงคิมครับ 2 ไร่นี่ลุงคิมว่าปลูกอะไรดีครับ ดินเป็นทราบครับ ?


ทดลอง..อย่างนี้ต้องลองดู
ถ้าได้ผลพี่จะตามนะ เอ
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 14/02/2011 5:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

napassorn บันทึก:
A_Chumphae บันทึก:
ถามเพิ่มเติมนอกเรื่องอ้อยครับลุงคิม....

พอดี เอ.ซื้อที่เพิ่มได้ 2 ไร่ หลังโกดัง แม่เลยถามว่า เราจะปลูกอะไรดี นอกจากอ้อย
เพราะ 2 ไร่ปลูกอ้อยเพิ่มก็ได้ไม่เท่าไหร่
เอ.เลยสนใจ "แคนตาลูป" เพราะกินที่ไร่ลุงคิมแล้วอร่อยมาก หาซื้อกินก็ไม่ได้รสแบบนี้....เข้าเรื่องเลยนะครับ

1. แคนตาลูปปลูกดินทรายได้ไหมครับ ?

2. มีคนบอกว่าแคนตาลูปต้องใช้สารเคมีเยอะ ถึงจะได้เก็บเกี่ยว ถ้ายาไม่ถึงก็ได้ผลผลิตไม่ดี

3. ข้อนี้ขอถามความเห็นลุงคิมครับ 2 ไร่นี่ลุงคิมว่าปลูกอะไรดีครับ ดินเป็นทราบครับ ?


ทดลอง..อย่างนี้ต้องลองดู
ถ้าได้ผลพี่จะตามนะ เอ


ต้องหาข้อมูลถามผู้รู้ก่อนครับพี่ว่าทำได้ไหมหรือทำอะไรดีที่แน่ๆเอขอปรึกษาลุงคิมก่อนลงมือทำละมันต้องลงทุน
กลัวทำมั่วไปเดี๋ยวงานเข้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/02/2011 6:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote=

"A_Chumphae"]

ไม่รู้จะพูดอย่างไรดีสำหรับคำแนะนำดีๆที่ลุงคิมแนะนำให้ เอ.ได้แต่ขอบพระคุณลุงคิมอย่างสูงครับ สำหรับการชี้แนวทาง
ที่ดีๆให้ เอ.จะพยายามปรับปรุงตามแนวทางที่ลุงคิมแนะนำมาครับ....

มีคำถามเพิ่มเติมครับลุงคิม

1. เอ.ไว้ใบคลุมดินแต่ไม่ได้คลุกเคล้าลงดิน นี่มันจะเกิดประโยชน์กับอ้อย เอ.หรือเปล่าครับ ?
ตอบ :
คลุกเคล้าก็ได้ ไม่คลุกเค้าก็ได้ ถ้าเอาอ้อยเป็นศูนย์กลาง คลุกเคล้าดีกว่าไม่คลุกเคล้า เพราะอ้อยได้กินเร็ว แต่ถ้าเอาคนเป็น
ศูนย์กลาง ไม่คลุกเคล้าดีกว่าคลุกเคล้า เพราะคนต้องมีหลักเศรษฐศาตร์การลุงทุน

หลักการและเหตุผล :
- เศษซากใบอ้อย เมื่อคลุกเคล้าลงไปปนกับเนื้อดิน ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนจะเปื่อยยุ่ยเปลี่ยนเป็นสารอิทรีย์ที่อ้อยเอา
ไปใช้ได้.....สารอินทรีย์ที่ได้เกิดจาก เศษซากอ้อยผุเปื่อย + สารอินทรีย์ที่คนใส่ให้ คือ สารอินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดิน, น้ำหมัก
ชีวภาพ, จุลินทรีย์, และน้ำ....อ้อยจึงได้สารอาหารทั้งจากเศษซากใบอ้อยผุเปื่อย และสารอินทรีย์ที่คนใส่ให้ เท่ากับ 2 เด้งนั่นเอง

- เศษซากใบอ้อยที่อยู่บนผิวดิน ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน จึงจะเปื่อยยุ่ยเปลี่ยนสภาพเป็นสารอินทรีย์ที่อ้อยสามารถ
เอาไปใช้ได้.....การไม่คลุกเคล้าเศษซากเหล่านี้ลงไปในเนื้อดิน แต่ใช้ "สารอินทรีย" (น้ำหมักชีวภาพ, จุลินทรีย์, สาร
อินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดิน และน้ำ) ราดรดลงบนเศษซากใบอ้อยโดยตรง แล้วรักษาให้มีความชื้นอยู่สม่ำเสมอ สารอินทรีย์ตัวนี้
ส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากใบอ้อยบนพื้นดิน กับอีกส่วนหนึ่งไหลซึมลงสู่เนื้อดินเบื้องล่าง ซึ่งระหว่างที่เศษซากใบ
อ้อยบนพื้นดินยังเปลี่ยนสภาพเป็นสารอินทรีย์ไม่ได้นี้ สารอินทรีย์ที่คนใส่ให้ ซึ่งซึมลงสู่เนื้อดินด้านล่างจะเป็นสารอาหารให้แก่
อ้อยเอง

- เศษซากใบกล้วยทั้งใบ ต้นกล้วยทั้งต้น ที่ไร่กล้อมแกล้ม ตัดลงมาแล้ววางบนพื้นไว้เฉยๆ จากนั้นบำรุงไม้ผล (ไม้ประธาน)
ตามปกติ น่าจะไม่เกิน 3 เดือนนะ (ไม่ได้จดบันทึก) ทั้งใบกล้วย ทั้งลำต้นกล้วยหายเกลี้ยง (เหมิ้ด อ้อด ร่อด...) ไม่เหลือ
แม้แต่เศษซากชิ้นเล็กชิ้นน้อย

- อายุอ้อยตั้งแต่ปลูกถึงตัด ราว 8 เดือน การที่เศษซากใบอ้อยยังไม่ถูกย่อยสลายจนเปลี่ยนสภาพเป็นสารอาหารนั้น อ้อยที่ได้
รับสารอาหารจากสารอินทรีย์ที่ใส่ให้แทน คงไม่ถึงกับชะงักการเจริญเติบโตหรอก ในทางกลับกัน อาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะ
ในสารอาหารที่คนใส่ให้นั้นมีทั้ง "สารอินทรีย์ (ชีวภาพ/ทำกับมือ) และ สารสังเคราะห์ (ปุ๋ยเคมี/ไส่เพิ่มกับมือ)" นั่นเอง

สรุป :
- การคลุกเคล้าเศษซากใบอ้อยลงไปในเนื้อดิน คือ การลงทุนด้วยเงิน
- การปล่อยให้สารอินทรีย์ย่อยสลายเศษซากอ้อย คือ การลงทุนด้วยเวลา

ทางเลือกเพื่อตัดสินใจ :
ลงทุนด้วยเวลาดีกว่า เพราะแม้ว่าช่วง 3 เดือนแรกของอายุอ้อย อ้อยจะเจริญเติบโตน้อยกว่าบ้าง แต่ก็เชื่อว่าเพียงเล็กน้อย
เท่านั้น จากนั้นจึงค่อยหาทางเร่งหรือเพิ่มความเข้มข้นในการบำรุง เมื่ออ้อยถึงระยะย่างปล้อง (3 เดือน) แล้วก็ได้




2. ที่ลุงคิมว่าพืชไม่สามารถเอาปุ๋ยไปใช้ได้หมด เอ.ต้องทำยังไงให้พืชมันเอาไปใช้ได้หมดครับ (ไม่อยากให้ดินแข็งเป็น
ก้อนใหญ่ๆ)
ตอบ :
การที่พืชไม่สามารถเอาไปปุ๋ยไปใช้ได้ทั้งหมด
- สาเหตุ
1) ดินไม่มีความชื้น
2) ดินไม่มีจุลินทรีย์
3) ดินไม่มีอากาศ
4) ดินตรึง (เป็นกรดหรือด่าง)
5) ปุ๋ยมากเกินความต้องการจริงของพืช
6) ใส่ปุ๋ยผิดวิธี
7) ปุ๋ยเสื่อมเพราะสภาพแวดล้อม
Cool ฯลฯ

- แก้ไข
1) ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
2) ส่งเสริมกระบวนการจุลินทรีย์
3) ใส่อินทรีย์วัตถุ ให้ดินโปร่งร่วนซุย
4) ป้องกัน/แก้ไข ให้ค่า พีเอช.อยู่ที่ 6.0
5) ให้ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการใช้จริงแบบ "ใส่น้อย บ่อยครั้ง ตรงเวลา"
6) ใส่ปุ๋ยขณะดินมีความชื้น
7) อย่าให้ปุ๋ยถูกแสงแดดเผา
Cool ฯลฯ





3. ถ้า เอ.หว่านยิปซั่มในร่องอ้อย แล้วใช้หางพรวนลากกลบ มันจะดีเหมือนหว่านก่อนเตรียมดินปลูกใหม่หรือเปล่าครับ ?
ตอบ :
จะไปหว่านให้เสียเวลาทำไม หว่านแล้วต้องรดน้ำตามอีก ทำงาน 2 รอบ ทำไมไม่ละลายในน้ำแล้วไปพร้อมกันเลย ได้ทั้งให้น้ำ
ได้ทั้งให้ยิบซั่ม.....จะดีไหม ถ้า "น้ำ + ยิบซั่ม + น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง หรือ จุลินทรียื + ปุ๋ยเคมี + ปุ๋ยคอก + และอื่นๆ"
ไปพร้อมกันทีเดียว รอบเดียวจบเลย อย่างน้อย สารอาหารพืชพวกนี้ ปกติมันรวมกันผสมกันได้อยู่แล้ว กับถึงยังไงๆ มันก็ต้อง
ไปรวมกันที่ดินอยู่ดี

ข้อดีของยิบซั่มอย่างหนึ่ง คือ หว่านแล้วไม่ต้องพรวนดินแต่ให้ตามด้วยน้ำ เมื่อยิบซั่มละลายน้ำซึมลงดินแล้ว ไปเจอน้ำใต้ดิน มัน
จะซึมลงต่อเองได้อีก โดยอาศัยน้ำในดินนั่นแหละเป็นตัวนำ ผิดกับปูนมาร์ล. โดโลไมท์. หินภูเขาไฟ. หว่านแล้วต้องพรวนดิน
ด้วย พรวนดินลึกแต่ไหนก็อยู่ลึกแค่นั้น ถึงจะให้น้ำตามมันก็ไม่ลงไปกับน้ำ

ยิบซั่มค่า พีเอช 7.0-7.5 (เป็นกลาง) มีแคลเซียม (อินทีย์) 18% กำมะถัน (อินทรีย์) 23% แต่ปูนมาร์ล. โดโลไมท์. ค่า
พีเอช 12-13 (เป็นด่าง) มีแม็กเนเซียม 3% เท่านั้นเอง ..... ฉนี้แล้ว ควรเลือกใช้อย่างไหนดีล่ะ

ชาวไร่ขอนแก่นนี่ ติดอกติดใจอะไรกับ "หางพรวน" นักหนา


ลุงคิมครับผม



[/quote


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/02/2011 8:05 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/02/2011 8:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

A_Chumphae บันทึก:


ถามเพิ่มเติมนอกเรื่องอ้อยครับลุงคิม....

พอดี เอ.ซื้อที่เพิ่มได้ 2 ไร่ หลังโกดัง แม่เลยถามว่า เราจะปลูกอะไรดี นอกจากอ้อย เพราะ 2 ไร่ปลูกอ้อยเพิ่มก็ได้ไม่เท่าไหร่
เอ.เลยสนใจ "แคนตาลูป" เพราะกินที่ไร่ลุงคิมแล้วอร่อยมาก หาซื้อกินก็ไม่ได้รสแบบนี้....เข้าเรื่องเลยนะครับ

1. แคนตาลูปปลูกดินทรายได้ไหมครับ ?
ตอบ :
- อิสราเอลทั้งประเทศไม่ดินเลย มีแต่ทราย ทรายล้วนๆ ทรายแบบชายหาดทะเลบ้านเรานี่แหละ แล้วอิสราเอลปลูกพืชส่งออก
ได้ยังไง ?

- ต้นไม้ต้นพืชไม่ได้กินดิน แต่กินสารอาหารที่อยู่ในดิน สารอาหารที่พืชกิน ถ้าเป็นสารอินทรีย์มาจากอินทรีย์วัตถุ ถ้าเป็นสารสัง
เคราะห์ก็มาจากจำพวกเคมี วิทยาศาสตร์ สารอาหารเหล่านั้มนุษย์ CONTROL ได้

- ถ้าเอาอินทรีย์วัตถุ ..... อินทรีย์วัตถุ : ปุ๋ยคอก (ขี้วัว+ขี้ไก่)- เศษพืชแห้ง (ใบก้ามปู-ฟาง-กาบมะพร้าว) - แกลบขาวเก่า -
ยิบซั่ม - น้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิง (เน้นส่วนผสม) - จุลินทรีย์ - ความชื้น รวมกัน 1 ส่วน ผสมกับทราย 1 ส่วน (1 : 1)

- ทหารหน่วยพัฒนาเคยปลูกผักกาด ผักคะน้า ผักชี ผักบุ้ง ที่ชายหาด ริมทะเลแท้ๆ ที่ จ.ตราด ถวายทอดพระเนตรได้ คัดค้าน
คำพูดของ ผู้ว่าฯ โดยสิ้นเชิง. เขาก็ใช้หลักการนี้นี่แหละ

- พืชไฮโดรโปรนิค ไม่มีดิน มีแต่น้ำสารอาหาร โตได้ยังไง




2. มีคนบอกว่าแคนตาลูปต้องใช้สารเคมีเยอะ ถึงจะได้เก็บเกี่ยว ถ้ายาไม่ถึงก็ได้ผลผลิตไม่ดี
ตอบ :
- นั่นคือคำบอกของคนไม่รู้ คนไม่มีประสบการณ์ คนยึดติด ทำไมไม่ถามย้อนล่ะว่า เพราะอะไร เชื่อเถอะ คำตอบที่จะได้คือ
แบ๊ะแบ๊ะ เป็นใบ้ เซ่อกินไปเลย

- หลักการ "ลด-ละ-เลิก สารเคมี หรือ IPM" ลุงคิมว่าใช้ได้นะ ว่าแต่ว่า รู้จักหรือไม่เท่านั้น




3. ข้อนี้ขอถามความเห็นลุงคิมครับ 2 ไร่นี่ลุงคิมว่าปลูกอะไรดีครับ ดินเป็นทรายครับ ?
ตอบ :
- เนื้อที่ 1 ไร่ = 1,600 ตร.ม. ปลูกได้ 1,000 ต้น รวม 2 ไร่ได้ 2,000 ต้น (2,000 ลูก) ปริมาณนี้ 7 วัน ทะยอย
เก็บ ทะยอยขาย กำลังดี

- แคนตาลูปนี่แหละดีแล้ว 1 ปี ได้ 3 รุ่นสบายๆ

- ผลผลิตวางขายที่ ม.ขอนแก่นที่เดียวก็ไม่พอขายแล้ว

- หนทางแห่งความสำเร็จ "วิชาการ + ประสบการณ์ + จินตนาการ + แรงบันดาลใจ + แรงจูงใจ + คำสั่ง (เมีย/แม่)"

- ไปดูให้เห็นของจริงซัก 2-3 แปลง แล้วลองปลูกก่อนเป็นไร ลองให้ครบสูตร แคนตาลูป 20 ต้น แตงโมแดง 20 ต้น
แตงโมเหลือง 20 ต้น แตงโมไร้เมล็ด แตงโมสี่เหลี่ยม ฝีมือทั้งนั้น เอาเถอะน่า แม้ไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ยากอย่าง
ที่กลัวหรอก อะไรๆ มันยากครั้งแรกเท่านั้น เหมือนจีบเมียนั่นแหละ

- อืมมม มะนาวก็น่าเล่นนะ เนื้อที่ 2 ไร่ ลง 400 ต้น ได้เลย 4 ปีแรกว่าไปก่อน หลังจากนั้นเอาออกต้นเว้นต้น เหลือ 200
ต้น ก็ได้ ถ้าเล่นเป็น มะมนาวหน้าแล้งต้นละ 400 ผลๆ ละ 5 บาท หน้าสวน เผลอๆ รวยว่าอ้อย 100 ไร่ ด้วยซ้ำ....มี
ข้อแม้ ต้องเผลอนะ


ถ้าทรายตรงนี้ปลูกพืชไม่ได้ ก็ขุดขายเป็นทรายก่อสร้างซะก็สิ้นเรื่อง


ลุงคิมครับผม




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/02/2011 10:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 14/02/2011 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณครับลุงคิม

เอ.ไม่รู้จริงๆครับว่ายิปซั่มละลายน้ำได้ เห็นมีแต่คนบอกว่านแล้วไถกลบ เอ.ก็นึกว่าต้องไถกลบอย่างเดียว Very Happy

ลุงคิมชี้ทางสว่างให้เยอะเลยครับ ลุงคิมรอดูผลผลิตปีหน้า เอ.ได้เลยครับ

เอ.ว่ามันต้องดีกว่าแบบเก่าๆแน่นอน


ขอบคุณมากครับลุงคิม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/02/2011 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อย่าว่าแต่ยิบซั่มเลย แม้แต่ "ปุ๋ยคอก" ก็ละลายน้ำก่อนแล้วใส่ลงไปในแปลงได้

"ขี้วัว" มีเมล็ดวัชพืช ถ้าเอาขี้วัวโดยตรงหว่านลงไปก็จะเกิดวัชพืช เป็นธรรมดา แต่ถ้าเอาขี้วัวละลายน้ำ กรองเอากากออกก่อน
แล้วใส่ลงไปในแปลงก็จะมีมีวัชพืชขึ้น

"ขี้วัว + ขี้ไก่ + ขี้หมู + ฯลฯ" ละลายน้ำ แล้วใส่ลงไปแปลง = very good

น้ำละลายปุ๋ยคอก ที่ลงไปรวมกับเศษซากพืชในแปลง เมื่อเศษซากพืชนั้นย่อยสลายก็กลายเป็นปุ๋ยคอกไปโดยอัตโนมัติ ......
หากน้ำละลายปุ๋ยคอกมาจากมูลสัตว์หลากหลายชนิด พร้อมกับ +ตัวเติม +ตัวเสริม +ตัวเพิ่ม เข้าไปอีก เศษซากพืชนั้นก็จะ
เหนือชั้นกว่าปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์เพียงอย่างเดียว

ทำแบบนี้ได้ก็ไม่ต้องพึ่งพา "ปุ๋ยอินทรีย์" ท้องตลาด ที่ราคา 200-400/กส. ให้สิ้นเปลือง....ถ้าเรารู้ว่าพืชในแปลงต้อง
การสารอาหารตัวไหน สารอาหารตัวนั้นมีอยู่ที่ใดหรือในอะไร ปริมาณเท่าใด เราก็จัดสรรให้ เท่านี้ก็จบ....หรือแม้แต่สาร
อาหารอินทรีย์มีปริมาณไม่เพียงพอ ก็เพิ่มสารอาหารสังเคราะห์ (ปุ๋ยเคมี) ลงไป ตามแนวทาง "อินทรีย์นำ เคมีเสริม
ตามความเหมาะสม ของพืชที่ปลูก" ประมาณนั้นนั่นแหละ

เทคนิคละลายน้ำก่อน กรองเอากากออก แล้วฉีดพ่นด้วยเครื่องมือฉีดพ่น หรือไปพร้อมกับการให้น้ำ นอกจาก ประหยัดเวลา
และแรงงาน แล้ว ยังเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเนื้องานด้วย


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©