-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ต้องการความรู้หวายตัดดอก (มือใหม่)....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ต้องการความรู้หวายตัดดอก (มือใหม่)....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
supapanaka111
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 08/02/2011
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 08/02/2011 1:23 pm    ชื่อกระทู้: ต้องการความรู้หวายตัดดอก (มือใหม่).... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ....

เป็นสมาชิกใหม่ค่ะ ....ใครมีความรู้ในเรื่องการปลูกกล้วยไม้หวายตัดดอก ช่วยแนะ
นำด้วยคะ ทั้งเรื่องสายพันธ์... การส่งขายที่ไหน.... และการแลให้ได้ผลดี


ขอขอบคุณล่วงหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 1:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ค่ำนี้กลับไปบ้านแล้วจะจัดให้....ตอนนี้อยู่ที่ไร่กล้อมแกล้ม เน็ตโน้ตบุ๊คมันอืด ไม่ทันใจโก๋.....


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 5:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium)

เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตแบบแตกกอ มีถิ่นกำเนิด ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เป็นสกุลใหญ่มีสมาชิกนับร้อยชนิด
ดอกมีลักษณะหลากหลายตั้งแต่มีช่อดอกยาว จนถึงไม่มีก้านช่อดอก สามารถจำแนกออกได้ถึง 20 หมู่ เช่น

หมู่ฟาแลนแนนเธ (Phalaenanthe)
มีถิ่นกำเนิดอยู่ตามเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ กล้วยไม้ในหมู่นี้มีก้านช่อดอกยาว ประกอบด้วยหลายดอก กลีบดอกกว้าง
รูปร่างมนกลม นิยมเรียกกันว่า หวายฟอร์มกลม (phalaenopsis type) แม้ว่ากล้วยไม้หวายในหมู่นี้ไม่มีถิ่นกำเนิดในประ
เทศไทย แต่คนไทยนำเข้ามาปลูกเลี้ยงและใช้ในการพัฒนาพันธุ์ ได้เป็นกล้วยไม้
ตัดดอกและกล้วยไม้กระถางจำนวนมาก

หมู่เซอราโทเบียม (Ceratobium)
มีถิ่นกำเนิดตามเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และหมู่เกาะปาปัวนิวกินี กล้วยไม้หมู่นี้มักมีลำต้นค่อนข้างสูงใหญ่ ก้านช่อยาว ตั้งตรง
ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก กลีบดอกแคบ บางชนิดกลีบบิดเป็นเกลียว นิยมเรียกว่า หวายกลีบบิด(antelope) นิยมผสมกับ
หมู่ฟาแลนแนนเธ เพื่อให้เป็นกล้วยไม้ตัดดอก

หมู่แคลลิสตา (Callista)
มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ได้แก่ เอื้องผึ้ง เอื้องคำ เอื้องม่อนไข่

หมู่ไนโกรเฮอร์ซูเธ (Nigrohirsutae)
ได้แก่ เอื้องเงินหลวง เอื้องเงินแดง เอื้องแซะ

หมู่ยูจิแนนเธ (Eugenanthe)
มีถิ่นกำเนิดแถบเทือกเขาหิมาลัยจากประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว จีนตอนใต้ ไปจนถึงฟิลิปปินส์ กล้วยไม้ในหมู่นี้ยังสามารถ
จำแนกออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่มคือ

กลุ่มเอื้องสาย เช่นเอื้องสาย เอื้องสายน้ำผึ้ง เอื้องสายน้ำครั่ง
กลุ่มเอื้องเก๊ากิ่ว เช่น เอื้องเก๊ากิ่ว เอื้องเหลือง
จันทบูรณ์ เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง
กลุ่มเอื้องช้างน้าว เช่น เอื้องช้างน้าว เอื้องจำปา เอื้องแววมยุร

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกกล้วยไม้สกุลหวายมากที่สุดของโลก โดยกล้วยไม้ที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีการ
นำจากต่างประเทศเข้ามาพัฒนาจนได้พันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะเหมาะสำหรับปลูกเพื่อตัดดอกและจำหน่ายเป็นกล้วยไม้กระถางจำนวน
มากมาย กล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกที่ประเทศไทยส่งออกเป็นพันธุ์แรก คือ พันธุ์ปอมปาดัวร์ หรือหวายมาดาม ส่วนในปัจจุบัน
พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์บอมโจแดง. บอม17. เอียสกุล. ขาวสนาน.
ขาวประวิทย์. แอนนา. ซากุระ. บูรณะเจด.


ลักษณะประจำพันธุ์ :
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราก
มีลักษณะอวบน้ำ เป็นรากอากาศ ไม่มีรากฝอย ด้านนอกมีเนื้อเยื่อหนาคล้ายเป็นนวมหุ้ม เรียกว่า Vela men ซึ่งสามารถดูดซับ
น้ำและแร่ธาตุเข้าไปยังภายในเซลของรากกล้วยไม้ได้

ลำต้น
กล้วยไม้สกุลหวายมีการเจริญเติบโตแบบแตกกอ (Symposia) ลำต้นจริงเรียกว่าเหง้า (rhizome) ซึ่ง เจริญเติบโตในแนวขนาด
กับผิวหน้าของวัสดุปลูกส่วนที่เจริญขึ้นมาเหนือวัสดุปลูกเป็นลำต้นเทียมเรียกว่าลำ ลูกกล้วย (pseudo bulb)

ใบ
มีลักษณะแบนเป็นแผ่นกว้างและหนา จำหนวนหลายใบ ออกเรียงสลับกันตลอดลำลูกกล้วย และแน่นทาง ปลายยอด

ช่อดอก
แทงออกจากตาที่อยู่ตามข้อใกล้ปลายยอดหรือที่ปลายยอดของลำลูกกล้วย

ดอก
ประกอบด้วยกลีบ 6 กลีบ กลีบชั้นนอก 3 กลีบ ชั้นใน 3 กลีบกลีบชั้นในกลีบล่างมีขนาดเล็กเรียกชื่อเฉพาะว่าปาก หรือกระเป๋า
ดอกของกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวายสามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ ตามขนาดความกว้าง และรูปร่างของกลีบดอก คือ ดอกฟอร์ม
กลม กึ่งฟอร์มกลม กลีบแคบและกลีบบิด เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันส่วนของก้านชูยอดเกสรตัวเมียกับ
ก้านชูอับเรณู ของเกสรตัวผู้อยู่รวมกันเรียกว่าเส้าเกสร ส่วนปลายสุดของเส้าเกสรเป็นละอองเกสรตัวผู้ ที่เกาะรวมกันเป็นก้อน
แข็งสองก้อนโดยมีฝาครอบปิด ส่วนของเส้าเกสรที่อยู่ถัดลงมาเป็นยอดเกสรตัวเมีย ที่มีลักษณะเป็นแอ่งกลม ๆ มีน้ำเหนียว ๆ

ฝัก
ลักษณะเรียวยาว ผิวเรียบ ฝักแก่มีสีเขียวอมเหลือง ระยะเวลาตั้งแต่ผสมจนเป็นฝักแก่ประมาณ 4-5 เดือน ภายในมีเมล็ดซึ่งเมื่อ
แก่มีลักษณะคล้ายแป้งหรือฝุ่นจำนวนมาก ภายในเมล็ดไม่มีอาหารสะสม


ปัจจัยที่เหมาะสมในการผลิต :

การจัดการโรงเรือนระบบน้ำ :
โรงเรือน
ควรมีความสูงอย่างน้อย 2.50 เมตร ใช้ซาแรนพรางแสง 60% หลังคาต่างระดับ

โต๊ะวาง
กว้าง 1 เมตร ยาว 30 เมตร และสูง 70 เซ็นติเมตร พื้นโต๊ะใช้ลวดตาข่ายหรือวางตะแกรงพลาสติก ทางเดินระหว่างโต๊ะกว้าง 1 เมตร


การปลูกและดูแลรักษา :
การปลูก
ปลูกในกระบะกาบมะพร้าวอัด ขนาด 24 x 32 เซนติเมตร แต่ละกระบะจะปลูกได้ 4 ต้น (ประมาณ 12,000-15,000 ต้น/ไร่)
หรือปลูกในกาบมะพร้าวพร้อมเปลือกแข็งที่วางหงาย โดยใช้ระยะปลูก 20 x 20 หรือ 20 x 25 เซนติเมตร

การให้ปุ๋ยในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
อนุบาล ปุ๋ยสูตร 21-21-21 สลับกับ 30-10-10 อัตรา 250-400 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร/ไร่ ทุก 7 วัน

ลงแปลง ปุ๋ยสูตร 21-21-21 สลับกับ 30-20-10 อัตรา 400-600 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร/ไร่ ทุก 7 วัน

ออกดอก ปุ่ยสูตร 21-21-21 สลับกับ 16-21-27 หรือ 15-30-15 อัตรา 600-800 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร/ไร่ ทุก 7 วัน

ตัดดอก ปุ๋ยสูตร 15-30-15 สลับกับ 16-21-27 อัตรา 500-700 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร/ไร่ ทุก 7 วัน

ต้นพันธุ์
ใช้ต้นจากการเพาะเมล็ด หรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

กระถางและวัสดุปลูก
ปลูกในกระถางพลาสติกขนาด 3½ นิ้ว วัสดุปลูกใช้กาบมะพร้าว

การให้น้ำ
ใช้ระบบสปริงเกลอร์ หรือสายยางรด น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยนำมาพักในบ่อพักน้ำก่อน pH ของน้ำ เท่า
กับ 6.7 – 7.2


ศัตรูพืช :
โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

สัตว์ศัตรูกล้วยไม้และการป้องกันกำจัด

วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว :
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวดอกกล้วยไม้

แหล่งผลิต :

แหล่งที่มา :
ข้อมูลและภาพ: กลุ่มส่งเสริมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร


http://orchidnet.doae.go.th/home/production_detail.php?type=2&id=934


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/02/2011 7:17 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 5:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไทยส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ก็จริง แต่เมื่อเทียบมูลค่าแล้วยังน้อยมาก มูลค่าไม้ตัดดอกอยู่ที่ปีละเกือบ
300,000 ล้านบาท มูลค่าหวายตัดดอกจะอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท เราผลิตดอกกล้วยไม้เยอะมากในแต่ละปี แต่บางครั้งก็ส่ง
ออกได้ราคาต่ำเพราะมาตรฐานของดอกไม่ได้ ต้องขายลงมาเป็นไม้ดอกร่วงบ้าง มาลัยบ้าง จะเพิ่มมูลค่าก็พอทำได้คือต้องผลิต
ช่อดอกให้ได้มาตรฐานจริงๆ นอกจากเรื่องการผลิตแล้วปัญหาสำคัญอีกก็คือพื้นที่ในการขนส่งของสายการบินต่างๆ อาจไม่เพียง
พอทำให้เพิ่มปริมาณการส่งออกไม่ได้เต็มที่ ขั้นตอนการส่งออกที่ผู้ส่งออกบางท่านว่าช้าเพราะการตรวจสอบสินค้าให้ทันแต่ละ
เที่ยวบิน สิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องมีการแก้ไขอย่างจริงจัง ดูให้ลื่นไหลทุกจุด ไม่ทันเพราะอะไรคนไม่พอก็ต้องเพิ่มอัตรากำลัง เห็นประ
ชุมกันทุกปี เรื่องกล้วยไม้หมื่นล้านแต่ก็เหลว หรือว่าอยู่ในระหว่างดำเนินการก็ไม่รู้

การแก้ปัญหาเรื่องการขยายตลาดเห็นท่านว่าจะขยายไปแถบตะวันออกกลางทั้งหลาย มีการจัดต้งโรงเรือนเพาะเลี้ยงในแต่
ละประเทศเพื่อขนส่งลูกไม้ไปขุนแล้วค่อยขาย จะลดปัญหาระวางการขนส่งได้ การจัดทำ E auction ที่ก็ยังเพียงแค่เริ่มต้น
ก็เห็นจะจริงที่ว่ารัฐยังทำอะไรที่เป็นรูปธรรมได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับเป้าหมาย
ที่วางไว้

ตัวเกษตรกรเองจะต้องรวมกลุ่มกันอย่างจริงจังและยอมเสียบางส่วนเพื่อให้ส่วนรวมได้ประโยชน์ไม่ต้องขายหั่นราคากันเอง ถ้า
ลองดูตามเวปที่ขายกล้วยไม้กระถางราคาหวายแพงกว่าแคทเสียอีก ราคาใกล้เคียงกับฟาแลน

ถึงเวลาแล้วล่ะที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เพื่อผลักดันให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ในทุกด้านทั้งภาคการผลิต และ การขยายตลาด
การส่งออก

จากคุณ : su (sunnyorchids)


http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2007/11/J6028031/J6028031.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/02/2011 7:19 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 5:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากปลูกกล้วยไม้ ขายส่งออก ต้องทำไงบ้างง่ะ


http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J5077256/J5077256.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 6:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฟาร์มกล้วยไม้ปราโมทย์ กับความสำเร็จของการผลิตกล้วยไม้สกุลหวาย

บันทึกไว้เป็นเกียรติ

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบันการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไทยได้ขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ มีสมาคมและชมรมกล้วยไม้ต่างๆ
อยู่หลายแห่งและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของงานประจำจังหวัดหรือจัดระดับประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากภาค
รัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร หรือแม้แต่สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ที่มี คุณอนันต์
ดาโลดม เป็นนายกสมาคมคนปัจจุบัน ได้จัดงาน "มหัศจรรย์กล้วยไม้ไทย" ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2551
ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ทำให้คนไทยและคนต่างชาตินับล้านคนได้เห็นถึงความสวยงามและพัฒนาการของ
กล้วยไม้ไทยอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

ในหนังสือ "มหัศจรรย์กล้วยไม้ไทย" ที่จัดทำโดยสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยได้อธิบายคำว่า "กล้วยไม้ไทย" ที่ได้นำ
มาใช้กับกล้วยไม้ลูกผสม ซึ่งหมายถึงกล้วยไม้ลูกผสมที่มีการปลูกเลี้ยงเป็นการค้าในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อพันธุ์
กล้วยไม้ที่นำมาจากต่างประเทศ และได้มีการพัฒนาโดยการคัดเลือกและผสมพันธุ์ขึ้น สามารถนำมาปลูกในสภาพแวดล้อม
ของบ้านเราอย่างเป็นการค้าได้ และแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ กล้วยไม้ต้น หมายถึง กล้วยไม้ที่ใช้ประโยชน์ทั้งต้น
และกล้วยไม้ตัดดอก หมายถึง กล้วยไม้ที่ตัดดอกไปใช้ประโยชน์ ปัจจุบันความก้าวหน้าของการปลูกกล้วยไม้ลูกผสมในประ
เทศไทยได้แบ่งออกเป็นหลายสกุล แต่สกุลที่จัดเป็นกล้วยไม้เศรษฐกิจที่สร้างรายได้เข้าประเทศไทยปีละหลายพันล้านบาท
และกล้วยไม้สกุลหวายของไทยนับว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก

ข้อได้เปรียบของการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทยมีอยู่หลายประการ อาทิ ต้นทุนแล็บ ในการปั่นตาจะใช้เงินทุนประมาณ
3 บาท ต่อต้น เท่านั้น ซึ่งนับว่าถูกมากเมื่อเปรียบเทียบกับแล็บจากต่างประเทศ ประการต่อมา สภาพดินฟ้าอากาศในบ้าน
เรามีความเหมาะสมในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้ทั่วประเทศ ถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มภาคกลางในเขตจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร ฯลฯ
เหมาะที่จะปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลหวาย ซึ่งจัดเป็นกล้วยไม้ไทยที่ทำรายได้จากการส่งออกในแต่ละปีเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท
สำหรับพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบนเหมาะที่จะเลี้ยงกล้วยไม้สกุลแคทลียา และฟาแลนนอฟซีส กล้วยไม้สกุลแวนด้า
เหมาะที่จะเลี้ยงในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เช่น จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น

คุณปราโมทย์ อุณหบัณฑิต เจ้าของฟาร์มกล้วยไม้ปราโมทย์ บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทร
สาคร 74110 โทร. (081) 256-8815 เป็นคนอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยกำเนิด ชีวิตมีความผูกพันและรักอาชีพ
เกษตรกรรมมาตั้งแต่เด็ก จัดได้ว่าลำบากมาตั้งแต่เด็ก เรียนหนังสือจบเพียงประถมศึกษาปีที่ 7 อาชีพเกษตรกรรมของครอบครัว
เคยปลูกมะม่วง ส้มโอ องุ่น เลี้ยงหมู เมื่อผลผลิตออกมามีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้านและถูกกดราคา คุณปราโมทย์ได้ยกตัวอย่างประกอบ
ปลูกแตงกวา และผักชี พ่อค้ามารับซื้อในราคากิโลกรัมละ 20 สตางค์ (เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน) แต่เมื่อพ่อค้านำมาขาย
ถึงผู้บริโภคได้ราคาแพงกว่าหลายเท่าตัว

คุณปราโมทย์จึงได้ปรึกษากับครอบครัวว่า ผลผลิตที่ได้ควรจะไปขายเอง จึงได้ตัดสินใจนำผลผลิตทางการเกษตรมาขาย
ที่ปากคลองตลาด ผักชีที่ปลูกได้ เมื่อมาขายที่ปากคลองตลาดได้ราคาถึงกิโลกรัมละ 3 บาท ช่วงแรกขายเฉพาะผลผลิตที่
ทางครอบครัวผลิตได้ ต่อมาไม่พอขายจึงได้เป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรใกล้เคียงมาขายด้วย เมื่อเริ่มมี
ฐานะดีขึ้น คุณปราโมทย์ได้ไปเซ้งตึกแถวตลาดลาดพร้าวเพื่อขายของโชห่วย (ขายข้าวสาร มะพร้าวขูด ขนมหวาน ฯลฯ) ต่อ
มาครอบครัวใหญ่ขึ้น พี่น้องเริ่มมีครอบครัวซึ่งรวมถึงคุณปราโมทย์ด้วยคุณปราโมทย์จึงได้ตัดสินใจแยกตัวออกมาเริ่มต้นอาชีพ
เกษตรกรรมใหม่ด้วยการปลูกล้วยไม้

เริ่มต้นการปลูกกล้วยไม้สกุลหวาย ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2529 :
คุณปราโมทย์เริ่มต้นการปลูกกล้วยไม้ด้วยการซื้อกล้วยไม้กระถางดินมาต้นละ 50 บาท ซึ่งนับว่ามีราคาแพงมากในสมัยนั้น (เคย
เห็นญาติปลูกกล้วยมาก่อน คิดว่าไม่ยาก) เริ่มต้นด้วยการไปกู้เงินมาลงทุนปลูกกล้วยไม้อย่างจริงจัง พอทำเข้าจริงคุณปราโมทย์
บอกว่าไม่ง่ายดังที่คิด จึงได้หาความรู้จากตำราและการไปดูงานจากสวนกล้วยไม้อื่นๆ เพิ่มเติม มีการจัดประชุมกล้วยไม้ที่ไหนก็
จะไปฟัง เก็บเอาข้อคิดดีๆ จากบุคคลอื่นมาประยุกต์ใช้ ที่ผ่านมาคุณปราโมทย์บอกว่า ความรู้ในตำรากับทางปฏิบัติอาจจะไม่เหมือน
กัน คุณปราโมทย์จึงได้ย้ำฝากถึงเกษตรกรที่คิดจะปลูกกล้วยไม้ว่า "อาจารย์ที่สำคัญที่สุดของเราก็คือ ความผิดพลาดของเรานั่นเอง"
เมื่อประสบความสำเร็จในด้านการผลิตกล้วยไม้ ปัญหาที่ตามมาคือ ปลูกแล้วไม่รู้จะไปขายที่ไหน ด้วยอาชีพเคยเป็นพ่อค้ามาก่อน
และมีประสบการณ์ในเรื่องของการผลิตและจำหน่ายเอง จึงได้นำต้นกล้วยไม้ไปขายทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดพิษณุโลก จนเป็นขา
ประจำมานานกว่า 20 ปี จนถึงทุกวันนี้

เริ่มซื้อที่ทำสวนกล้วยไม้เอง เมื่อปี พ.ศ. 2536 :
จากที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า คุณปราโมทย์เริ่มต้นในการปลูกกล้วยไม้ในเชิงพาณิชย์ด้วยการเช่าที่ทำก่อนและกล้วยไม้สกุล
หวายที่เริ่มต้นปลูกนั้นไม่ได้มีการพัฒนาทางด้านสายพันธุ์ เริ่มต้นปลูกพันธุ์การค้าเพื่อตัดดอกคือ พันธุ์บอม 28 เมื่อปี พ.ศ. 2536
คุณปราโมทย์ได้ซื้อที่จำนวน 22 ไร่ (พื้นที่ซื้อแปลงแรกคือ ที่ปลูกบ้านในปัจจุบัน) ในขณะที่ซื้อที่เป็นของตนเองและปลูกกล้วยไม้
ในเชิงพาณิชย์แล้ว คุณปราโมทย์ได้เริ่มต้นฝึกและศึกษาวิธีการผสมพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายโดยศึกษาวิธีการผสมพันธุ์จากตำรา
เริ่มผสมจาก 1-2 ฝักก่อน ได้ฝักแล้วก็เอามาดูสีว่าเป็นอย่างไร จดบันทึกไว้ว่าใช้ต้นไหนเป็นพ่อและต้นไหนเป็นแม่ ในช่วงเริ่มแรก
คุณปราโมทย์ไม่ได้คำนึงว่าจะได้กล้วยไม้ลูกผสมดีเลิศ เปรียบเหมือนคนเริ่มหัดว่ายน้ำ คิดเพียงว่าผสมพันธุ์ให้เป็นก่อน ในการผสม
พันธุ์ครั้งแรกคุณปราโมทย์ได้กล้วยไม้สกุลหวายลูกผสม 4-5 สายพันธุ์ และไม่ได้มีการตั้งชื่ออะไร เพียงแค่เห็นดอกกล้วยไม้ลูก
ผสมดอกแรกที่ผสมด้วยฝีมือของตนเองก็ภูมิใจมากแล้ว มาถึงปัจจุบันจะต้องยอมรับว่าที่ฟาร์มกล้วยไม้ปราโมทย์มีสายพันธุ์กล้วยไม้
ลูกผสมนับร้อยสายพันธุ์ เพียงแต่หลายคนไม่รู้เท่านั้น เป็นที่สังเกตว่ากล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมของคุณปราโมทย์จะไม่มีการปั่น
ราคา ขายตามสภาพความเป็นจริงและผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้ในราคาไม่แพงนัก ตัวอย่างกล้วยไม้ลูกผสมของคุณปราโมทย์ที่
ติดตลาดและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ กล้วยไม้สกุลหวาย ดอกสีขาว ที่มีชื่อว่า "ขาวปราโมทย์" เหล่านี้เป็นต้น ปัจจุบันกล้วย
ไม้ที่ปลูกเพื่อการตัดดอกเป็นการค้าในบ้านเรานั้นมีมากกว่า 100 ชนิด เกือบทั้งหมดเป็นกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสม และกล้วยไม้ลูก
ผสมเหล่านี้ถึงแม้พ่อแม่เกือบทั้งหมดจะไม่ใช่กล้วยไม้ป่าของไทย แต่เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มาเลี้ยงใน
ไทยนานจนกลายเป็นไม้พื้นเมืองของไทยไปแล้ว

ปัจจุบันคุณปราโมทย์มีพื้นที่ปลูกกล้วยไม้สกุลหวายประมาณ 70 ไร่ (พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40,000 ต้น) มีต้น
กล้วยไม้ประมาณ 2.8 ล้านต้น ผลิตกล้วยไม้ขายในรูปไม้กระถาง ไม้ตัดดอกหรือแม้แต่ขายดอกเพื่อไปร้อยเป็นพวงมาลัยเพื่อส่ง
ออก ตลาดในประเทศมีรถบริการส่งต้นกล้วยไม้ขายทั่วประเทศ และมีบริษัทหลายแห่งมาซื้อเพื่อการส่งออกหรือแม้แต่โรงแรม
ใหญ่มาซื้อโดยตรงเพื่อนำไปจัดงานต่างๆ และตกแต่งสถานที่

ความแตกต่างในการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายของฟาร์มกล้วยไม้ปราโมทย์ เมื่อเปรียบเทียบกับฟาร์มอื่น

ประการแรก กล้วยไม้หวายลูกผสมที่เป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ ของฟาร์มกล้วยไม้ปราโมทย์จะไม่มีการปั่นราคาขาย จะขายใน
ราคาที่ผู้บริโภคหาซื้อได้ ราคาจะเฉลี่ยอยู่ต้นละ 30-40 บาท และใครที่ได้ไปเที่ยวชมหรือดูงานที่สวนกล้วยไม้แห่งนี้จะพบว่า
เป็นสวนกล้วยไม้ที่มีการจัดการดีมากอีกแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องความสะอาดของสวน คุณปราโมทย์ย้ำว่า การลงทุนทางด้าน
โรงเรือนกล้วยไม้จะใช้เงินลงทุนสูงกว่าที่อื่น โดยยึดหลักว่าสร้างครั้งเดียวอยู่ได้นานหลายสิบปี และจากประสบการณ์ได้สอนให้
คุณปราโมทย์ได้เรียนรู้ว่า จะต้องมีการศึกษาการเดินของน้ำในช่วงฤดูฝน เมื่อมีน้ำขังในโรงเรือนจะมีปัญหาโรคราตามมา ปัญหาเรื่อง
หอยระบาดทำลายมากขึ้น ถ้าสร้างโรงเรือนไม่ดี ลมแรงก็พัง ดังนั้น การลงทุนในด้านโรงเรือนกล้วยไม้ของคุณปราโมทย์จะสูง
กว่าที่อื่น และสิ่งที่คุณปราโมทย์ อุณหบัณฑิต ฝากถึงเกษตรกรที่คิดจะปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จะต้อง "มีความมานะพยายามไม่ท้อ
หรืออาจจะท้อบ้างแต่อย่าถอย"

ขั้นตอนการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อการตัดดอก :
คุณปราโมทย์บอกว่า การผลิตกล้วยไม้สกุลหวายในฤดูกาลผลิตปี พ.ศ. 2551 ราคาตกต่ำลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่าน
มา โดยเฉพาะในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี กล้วยไม้ตัดดอกเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2550 จะขายได้ถึงช่อละ 8 บาท
แต่ในเดือนมิถุนายน 2551 ราคาตกต่ำเหลือเฉลี่ยเพียงช่อละ 2 บาท เท่านั้น สาเหตุหลักมาจากปีนี้ฝนดีมากและปัญหา
ทางเศรษฐกิจด้วย

สำหรับขั้นตอนการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลหวายโดยสรุปแล้ว เกือบทั้งหมดจะปลูกบนโต๊ะภายใต้หลังคาที่มุงด้วยตาข่ายพราง
แสงประมาณ 50-60% การปลูกกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมจะปลูกประมาณ 20-24 ต้น ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร หรือประมาณ
16,000-19,000 ต้น ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุปลูกที่หาได้ง่ายคือ กาบมะพร้าว ซึ่งจะปลูก 1 ต้น บนกาบมะพร้าวแข็ง
วางหงาย หรือจะปลูก 4-5 ต้น บนกระบะกาบมะพร้าว วางอยู่บนโต๊ะที่มีความสูงประมาณ 70 เซนติเมตร และกว้าง 1 เมตร
เว้นทางเดินระหว่างโต๊ะ 1 เมตร ต้นกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมจะเจริญเติบโตและออกดอกได้ตลอดปี จากการสังเกตการเดิน
ระหว่างโต๊ะของฟาร์มกล้วยไม้ปราโมทย์จะเทคอนกรีตทั้งหมด ช่วงที่ออกดอกมากที่สุดคือ ช่วงฤดูฝนและออกดอกน้อยในช่วงฤดูแล้ง

ต้นกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้จากการตัดหน่อส่งไปให้ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือวงการกล้วย
ไม้เรียกว่าส่งแล็บขยายพันธุ์จะใช้เวลาประมาณ 1-1 ปีครึ่ง จะได้ต้นในสภาพปลอดเชื้อมาปลูก หลังจากนำมาปลูกในโรงเรือนนาน
ประมาณ 4-6 เดือน จะย้ายไปปลูกบนกาบมะพร้าวหรือบนกระบะกาบมะพร้าว เลี้ยงอีกจนต้นมีอายุประมาณ 1 ปี หลังจากนำออกจาก
สภาพปลอดเชื้อ จะเริ่มให้ดอกจากลำที่ 4 (พันธุ์ที่ออกดอกดกและเจ้าของดูแลดี จะให้ช่อดอกพร้อมกัน 2 ช่อ)

หนังสือ "การผลิตและการตลาดกล้วยไม้สกุลหวาย" พิมพ์ 4 สี จำนวน 84 หน้า แจกฟรีพร้อมกับหนังสือ "เทคนิคการปลูกกล้วย
ไม้ในเชิงพาณิชย์" รวม 168 หน้า เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ 50 บาท ส่งมาขอที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทาง
การเกษตร เลขที่ 2/200 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650
-145 และ (081) 886-7398



http://free-webboard.com/view.php?nm=rukflower&qid=7


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/02/2011 7:28 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 6:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อเครื่องปลูกหวายตัดดอกเสื่อมสภาพ



ผมมีเรื่องปรึกษาพี่ๆในเรือนกล้วยไม้หน่อยครับ

####คำถามข้อแรก####

เมื่อเครื่องปลูกของแคทรียาเสื่อมสภาพ กาบมะพร้าวผุ เราก็จะใช้วิธีการ
1.ตัดรากเค้าทิ้งจนชิดโคนต้น
2.แยกลำ
3.ทาปูนแดงปิดแผลแล้วเอาไปผึ่งให้แห้ง
4.รอรากใหม่ออกมา

แล้วในกรณีของหวายแฟนซีทั้งหลาย เราสามารถใช้วิธีการคล้ายกับแคทรียาได้หรือไม่
1.รื้อทั้งกอออกมา ตัดรากทั้งหมด(ชิดโคนต้น)เอาเฉพาะส่วนที่เป็นลำเท่านั้นได้ไหมครับ
2.เมื่อเรียบร้อยแล้ว เราต้องรอราก หรือ หน่อใหม่เค้าเกิดมาก่อนไหมครับ ถึงจะลงมือปลูก

จากการสังเกตของผมลุงๆ ป้าๆ ยายๆ ตาๆ ในหมู่บ้านผมล้วนแต่มีกล้วยไม้แฟนซีประดับอยู่ตามหน้าบ้าน บางต้นก็เน่าตายเพราะ
เครื่องปลูกผุ บางกระถางก็ใหญ่โตจนล้นกระถางแต่พอลูกหลานทีเกิดมาใหม่ๆ รู้สึกว่าความชื้นหรืออาหารไม่พอไงไม่ทราบ ลำรุ่น
ต่อมาก็จะเรียวเล็กลง

จากการทดลองและศึกษาด้วยตัวผมเอง
ผมได้ลองเสี่ยงเอาหวายแคระตัดรากทั้งหมดเหมือนแคท แล้วดันเอาไปวางไว้บนสแฟกนั่มมอสเพราะนึกว่า เค้าจะชอบชี้นแล้ว
ออกรากแต่กลับไม่เป็นอย่างที่คิด ลำเหี่ยวลงเรื่อยๆ รากแตกออกมาไม่กี่เส้น ใกล้ตายผมเลยตัดสินใจจับลงกาบมะพร้าวมัดตุ้ม

ผลที่ได้แปลกมากครับ รากแตกออกมาหน่อใหม่เกิด -.-

ผมเลยมึนมากๆเลยครับ



####คำถามข้อสอง####

ในกรณีที่เครื่องปลูกของหวายแฟนซีเสื่อม ผมได้ลองอีกวิธีนึงโดยจับเค้าเอาลงกระถางที่ใหญ่ขึ้นจาก 3.5 นิ้ว ไปเป็น 6 นิ้ว
แล้วใช้กาบมะพร้าวใหม่มาประกบแล้วยัดลงกระถางใหม่ ทำไมเค้าถึงยังมีอาการลำเน่าแล้วก็ทิ้งใบอยู่ครับ

ผมก็ลองตอบตัวเองเล่นๆว่า เรายังไม่ได้แก้ไขต้นเหตุก็คือกาบมะพร้าวที่ผุยังอยู่ใต้ต้นเค้าอยู่เลย

ถ้าเปลี่ยนจากกาบมะพร้าวมาเสริมใหม่ไปเป็นถ่าน ผมคิดว่าผลก็ออกมาในรูปแบบเดียวกัน คือ เน่า

ผมก็เลยสรุปเอาเองมั่วๆว่า ยังไงแล้วถ้ากาบผุก็ต้องรื้อแล้วตัดออกทั้งรากอยู่ดีไม่ทราบว่าผมคิดถูกไหมครับ

แล้วถ้าแบบนั้นจริงไหนๆมันก็ผุแล้วเราย้ายลงมากระถางใหม่ใส่ถ่านแล้วเอาเชื้อราไตรโคเดอมาของพี่ปุ้ม รดโดยหวังผลว่าจะให้ย่อย
สลายกาบมะพร้าวที่ผุออกให้หมดแล้วค่อยๆเอาถ่านแซมเอา แบบนี้จะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีไหมครับ



ผมเป็นคนชอบคิดอะไรแปลกๆ บางทีอาจจะงงๆ หน่อยนะครับ-.-

ขอบคุณพี่ๆมากนะครับ

จากคุณ : yoshiko

http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2009/09/J8368697/J8368697.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/02/2011 7:33 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 6:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาปลูกกล้วยไม้เพื่อธุรกิจกันเถอะ


http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=44
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 6:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กล้วยไม้สกุลหวาย....



1.


2.


3.


4.


5.


6.


7.


8.


9.


10.


11.


12.


13.


14.





http://www.quinl.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2+%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89+%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81+%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A+5606.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 7:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"Readyorchid" กับเทคนิคการใช้ปุ๋ยทางใบกับกล้วยไม้


บันทึกไว้ เป็นเกียรติ

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

คุณอรทัย บุญยืนเวทวัฒน์ เจ้าของสวนกล้วยไม้ ′Readyorchid′ บ้านเลขที่ 273/14 หมู่ที่ 1 ซอยเพชรเกษม 82 แขวงบางแคเหนือ
เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160 โทร. (089) 019-5504 จัดเป็นนักเลี้ยงกล้วยไม้รุ่นใหม่ที่ได้รับถ่ายทอดประสบการณ์การปลูกเลี้ยงกล้วย
ไม้มาจาก (คุณวีรเดช บุญยืนเวทวัฒน์) ผู้เป็นบิดา ผ่านประสบการณ์ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มากว่า 30 ปี ในยุคของการปลูกกล้วยไม้
หวายเพื่อการตัดดอกจำหน่าย แต่ด้วยภาวะตลาดที่มีการแข่งขันสูง ในช่วง 10 ปีหลัง จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตกล้วยไม้กระถาง ควบคู่
ไปกับงานการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้ลูกผสม โดยคุณวีรเดชจะพัฒนาสายพันธุ์เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจนำไปปั่นตาเพื่อจำหน่ายเป็นลูกผสม
สายพันธุ์ใหม่ๆ ตัวอย่างราคาของกล้วยไม้หวายลูกผสมพันธุ์ใหม่จะซื้อ-ขาย กันราว 5,000-10,000 บาท และกล้วยไม้แคทลียาลูกผสมพันธุ์
ใหม่ ซื้อ-ขาย ราว 10,000-50,000 บาท เป็นต้น




ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จะต้องมีความเข้าใจการใช้ปุ๋ย :
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้งามและพร้อมออกดอกนั้น อาจจะมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน แต่สำหรับคุณอรทัยแล้ว แนะนำว่าผู้ปลูก
เลี้ยงต้องมีความเข้าใจการใช้ปุ๋ยกับกล้วยไม้เสียก่อน อีกทั้งการใช้ปุ๋ยกับกล้วยไม้นั้นยังต้องปรับเปลี่ยนตามการเจริญเติบโตในแต่ละช่วง
สภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล จึงมีข้อแนะนำในการใช้ปุ๋ยกับกล้วยไม้ตามฤดูกาลต่างๆ ดังนี้ คุณอรทัย อธิบายว่า ′ปุ๋ย′ นั้น เป็นคำเรียก
แทนอาหารของพืช ซึ่งมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่มีคุณค่าแก่การเติบโตของพืช แบ่งเป็น 2 จำพวกใหญ่ๆ คือ ปุ๋ยธรรมชาติ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ เป็น
ปุ๋ยที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีอยู่ในโลกตามธรรมชาติ เช่น ขี้หมู ขี้วัว ขี้ควาย ใบไม้ และหญ้าหมัก ตลอดจนพืชและสัตว์ที่ตายทับถมเน่า
เปื่อยผุพังไปแล้วนานๆ ปุ๋ยแบบนี้มักนำไปใช้กับกล้วยไม้ประเภทที่มีระบบรากอยู่ในดิน หรือแบบกึ่งดินกึ่งอากาศ เช่น สกุลรองเท้านารี
สกุลไฟอัส หรือเอื้องพร้าว สกุลยูโลเฟีย หรือ หมูกลิ้ง สกุลสะแปโตกลอทติส และสกุลฮาเบนาเรีย เป็นต้น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยประเภทนี้จะประ
กอบด้วยแร่ธาตุอาหาร 3 ชนิด ที่พืชต้องการมากที่สุดคือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งแร่ธาตุทั้ง
3 ชนิดนี้ ถือเป็นอาหารหลักที่ต้องใช้เป็นประจำและใช้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุอาหารอื่นที่เป็นธาตุอาหารรอง ซึ่งกล้วยไม้และ
พืชต่างๆ ต้องการใช้เพียงจำนวนเล็กน้อย เพื่อเป็นการเสริมอาหารหลักให้มีประสิทธิภาพเท่านั้น

คุณอรทัย เล่าว่า ปุ๋ยที่ใช้เป็นประจำในสวนกล้วยไม้นั้น หลักๆ จะมีด้วยกันประมาณ 4 สูตร คือ สูตรเสมอเท่ากัน เช่น 20-20-20, 21-21
-21 เป็นต้น สูตรเร่งดอก เช่น 15-30-15 สำหรับฉีดกระตุ้นตาดอกในไม้ที่หน่อสุดแล้ว สูตรขั้นบันได ได้แก่ 10-20-30 และ 16-21-27
ช่วยด้านความแข็งแรงของลำต้นและการออกดอกในกรณีที่แสงน้อย และสูตรตัวหน้าสูง เพิ่มความอวบของต้นไม้ เช่น 30-20-10

แนวทางการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในบ้าน :
คุณอรทัย แนะนำว่า ปุ๋ยกล้วยไม้ที่ใช้กันโดยมากจะเป็นปุ๋ยเคมี แบบเกล็ดละลายน้ำ และปุ๋ยน้ำ ที่สำคัญนั้นต้องดูที่สูตรปุ๋ย โดยสูตรปุ๋ยที่ควรมี
ประจำติดบ้านหลักๆ คือ สูตรเสมอ เช่น 21-21-21 และ สูตรขั้นบันได เช่น 16-21-27 หรือ 10-20-30 ปกติแล้วที่แนะนำคือ ฉีดพ่น
สลับกัน ทุก 7-10 วัน ยกตัวอย่าง เช่น วันที่ 1 ฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 21-21-21 พอวันที่ 8 ให้เปลี่ยนเป็นปุ๋ยสูตร 16-21-27 และพอถึงวันที่ 15
ก็กลับมาใช้สูตร 21-21-21 ฉีดสลับกันไปแบบนี้เรื่อยๆ สิ่งสำคัญคือ ต้องใส่ปุ๋ยให้สม่ำเสมอ ใช้ในอัตราส่วนที่พอเหมาะ ตามฉลากและใส่ปุ๋ย
ในช่วงเช้า วันที่อากาศสดใส เพื่อการดูดซึมที่ดี ไม่จำเป็นต้องใช้สูตรพิสดารมากมาย เพียง 2 สูตรนี้ ก็ทำให้ต้นงามและเห็นดอกได้แล้ว




การใช้ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้ ตามระยะการเจริญเติบโต และสอดคล้องกับฤดูกาล :
การใช้ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้กระถางนิ้วคือ อายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ถึง 6 เดือน โดยปกติแนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21 ในอัตรา 50 กรัม
ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุกๆ 7 วัน ในช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกมาก ให้ใช้สูตรเสมอ ฉีดสลับกับ สูตร 16-21-27 จะทำให้ไม้นิ้วแข็งแรงขึ้น ในช่วง
อากาศแห้ง ความชื้นในอากาศน้อย และฤดูหนาว ให้ใช้สูตรเสมอ ฉีดสลับกับ สูตร 30-20-10 จะทำให้ไม้นิ้วอ้วนขึ้น ใบเขียว แต่สำหรับ
กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตเต็มที่ เป็นไม้สาว พร้อมออกดอก คุณอรทัย แนะนำว่า โดยปกติทั่วไป แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21 ฉีดสลับ
กับ สูตร 16-21-27 ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุกๆ 7 วัน กล้วยไม้สกุลแคทลียาและหวายสามารถให้สูตร 16-21-27 ทุกๆ
7 วัน ได้เลย จะช่วยให้ออกดอกบ่อย แต่ต้นจะไม่เขียว ออกสีเขียวเหลืองๆ หน่อย ฤดูร้อนจัด เดือนเมษายน/ฤดูแล้ง ควรให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21
-21-21 ฉีดสลับกับสูตรตัวหน้าสูง เช่น 30-20-10 ในช่วงฤดูฝนจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21 ฉีดสลับกับ 16-21-27 เพื่อเพิ่มความ
แข็งแรงของลำต้น ถ้าต้นอ่อนแอมาก ก็สามารถใช้สูตร 6-20-30 ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนช่วงหมดฝน-ฤดูหนาว ใช้สูตรเสมอ 21-21
-21 เป็นตัวยืน ฉีดสลับด้วย 16-21-27 หรือ 10-20-30 ถ้ากรณีที่มีลมหนาวมาแรงๆ ทำให้ใบเหลืองได้ ก็อาจใช้ปุ๋ยปลาช่วยได้บ้างเป็นครั้งคราว

สิ่งสำคัญอื่นๆ นอกจากการให้ปุ๋ย คุณอรทัย แนะว่า ผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกต ยกตัวอย่าง สภาพแวดล้อม เช่น แสง น้ำ ลมโกรก โรค และ
เครื่องปลูก โดยเฉพาะเครื่องปลูกประเภทกาบมะพร้าว มักจะอมน้ำ และเมื่อปลูกไปนานๆ จะหมดสภาพคือ เอานิ้วจิ้มลงไปจะเละ ต้องเปลี่ยน
ใหม่ ไม่เช่นนั้น ระบบรากจะเริ่มเสีย ทำให้ต้นกล้วยไม้ทรุดโทรม อาหารเสริมอื่นๆ เช่น สาหร่าย และวิตามิน แร่ธาตุอื่นๆ สามารถให้เพื่อเพิ่ม
ความแข็งแรงของกล้วยไม้ ความสมบูรณ์ และสีสันของดอก แต่ต้องระมัดระวังการใช้ ให้พอดีกับความต้องการของต้นไม้ ยาฆ่าเชื้อรา ต้อง
ระมัดระวังในการใช้ ควรใช้ตามอัตราส่วนที่ฉลากแนะนำ หากใช้อัตราที่สูง อาจส่งผลเสีย เช่น ทำให้ต้นแกร็น หรือเติบโตช้าได้


วิธีการออกขวด ง่ายๆ ตามแบบฉบับของ ′Readyorchid′ :
เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่คุณอรทัย กล่าวว่า ใช้ได้กับกล้วยไม้ทุกสายพันธุ์ เริ่มจาก ทุบขวด จากนั้นล้างวุ้นให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า ประมาณ 2 น้ำ
โดยน้ำแรก เขย่าวุ้นออก และน้ำที่สองก็ล้างอีกครั้ง จากนั้นเรียงใส่ตะกร้า หรือตะแกรง ที่มีรูระบายน้ำได้ดี ช่วงแรก ไว้ใต้หลังคากันฝน
แสงประมาณ 30-40% ประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ใบมีความแข็งแรง ก็เริ่มหนีบโฟม ใส่กระถางนิ้ว และนำออกไปไว้ในโรงเรือนปกติซา
แรนพรางแสงประมาณ 60% โดนแดด หรือฝนได้ ไม้ขวดชนิดอื่นๆ ก็สามารถใช้วิธีการนี้ได้ เตรียมกะละมังสะอาด ใส่น้ำเปล่าสะอาด สำหรับ
ล้างวุ้น เขียนป้ายชื่อ สำหรับไม้ที่เราจะออกขวด บางท่านจะเขียนวันที่ ราคาซื้อ ติดไว้ด้วยก็ได้ นำขวดกล้วยไม้ที่ต้องการออก มาห่อกระดาษ
เตรียมพร้อมทุบด้วยค้อน สาเหตุที่ต้องห่อกระดาษนี้ ก็เพื่อให้จับได้สะดวก และกันเศษแก้วบาดมือ เขย่าเบาๆ ให้กล้วยไม้ในขวดมาด้านหน้า
เพื่อให้มีพื้นที่ในการทุบขวดโดยไม่เป็นอันตรายต่อลูกไม้ในขวด จากนั้นคว่ำขวดลงให้วุ้นอยู่ด้านบน นำค้อนที่ได้เตรียมไว้เคาะสันก้นขวดด้วย
แรงและจงหวะที่พอเหมาะ จะทำให้ก้นขวดหลุดออกมากทั้งแผ่นพอดี จัดการเทต้นกล้วยไม้ออกจากขวด จากนั้นนำไปล้างในกะละมังที่เตรียม
ไว้ โดยข้อสำคัญ จะต้องล้างวุ้นออกให้หมด จากนั้นนำมาเรียงผึ่งในตะแกรง หรือตะกร้า ใต้แสง ประมาณ30-40% โดยช่วง 2 สัปดาห์แรก
นี้ ไม่ควรให้กล้วยไม้โดนฝนเป็นอันขาด แต่จะเริ่มรดน้ำปกติเช้า-เย็น และเริ่มให้ปุ๋ยได้ในสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไปแล้ว




การดูแลกล้วยไม้หลังการออกขวด :
คุณอรทัย แนะนำว่า สำหรับกล้วยไม้สกุลช้าง แอสโคเซนด้า แวนด้า และพวกที่เจริญทางยอด ยกเว้นสกุลฟาแลนนอปซิส หลังจากออก
ขวดแล้วควรผึ่งไว้ในตะกร้าที่โปร่ง ไม่เก็บน้ำ สัก 10-15 วัน ในโรงเรือนที่กันฝนได้ อากาศถ่ายเทสะดวก หลังจากนั้น สามารถนำมาหนีบ
ในกระถาง 1 นิ้ว โดยที่นี่จะเลือกใช้โฟมเป็นเครื่องปลูก สำหรับไม้ขวดกลุ่มแกรมมาโตไฟลั่ม หลังออกขวดแล้วไม่ควรผึ่งนาน ประมาณ 3-4
วัน ก็ให้หนีบด้วยมะพร้าวตุ้มได้เลย เริ่มให้ปุ๋ย สูตร 21-21-21 ฉีดสลับกับปุ๋ย สูตร 16-21-27 สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในตอนเช้าที่มีแสงแดด
หากวันที่ฟ้าครึ้มให้งด หรือเลื่อนไปก่อน

ในการป้องกันและกำจัดแมลงและโรคศัตรูกล้วยไม้หลังออกขวด จะมีการฉีดพ่นสารฆ่าแมลง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะฉีดพ่นในช่วงเวลา 4 โมงเย็น
โดยคุณอรทัยแนะนำให้ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงในกลุ่มของไซเปอร์เมทริน 35% อัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วนยาเชื้อราแนะนำให้ใช้ยาใน
กลุ่มของสารแคปเทน เช่น อโรไซด์ 80% ฉีดพ่นในอัตรา 40-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ถ้าเป็นไปได้ควรฉีดในช่วงเวลาเช้าที่มีอากาศปลอดโปร่ง


ตะไคร่น้ำที่ขึ้นเกาะอยู่ตามเครื่องปลูก และรากของกล้วยไม้ แก้ไขอย่างไร ?
คุณอรทัย บอกว่า ตะไคร่น้ำที่ขึ้นอยู่ตามเครื่องปลูกนั้น ถ้าไม่มากและไม่หนาเกินไป ก็จะไม่เป็นอันตรายต่อต้นกล้วยไม้ ส่วนสาเหตุของการเกิด
ตะไคร่น้ำ คือ การรดน้ำแฉะ มีน้ำขังเกินครึ่งวัน ความชื้นในโรงเรือนสูง การถ่ายเทอากาศไม่ดี ลมไม่โกรก และจากการที่แขวนต้นไม้แน่นเกินไป
ทำให้หลังจากรดน้ำแล้ว กล้วยไม้แห้งช้า ซึ่งหลังจากที่รดน้ำแล้ว แห้งช้า เมื่อโดนแสงแดด ก็เกิดเป็นตะไคร่ สำหรับการรดน้ำกล้วยไม้ กล้วยไม้
ควรให้แห้งภายใน 2 ชั่วโมง และในฤดูฝนไม่ควรรดน้ำในตอนเย็น และสำหรับตะไคร่น้ำที่ไม่ได้เยอะหรือหนามากจนเกินไป ดังที่กล่าวในข้าง
ต้นว่า ไม่เป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ เมื่อมีลมหนาวมา ช่วงปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน อากาศเริ่มแห้ง พวกตะไคร่น้ำเหล่านี้ก็จะค่อยๆ แห้ง
ตายไปเอง สภาพแวดล้อมที่จะทำให้กล้วยไม้งาม สถานที่ต้องมีการถ่ายเทอากาศดี ได้รับแสง 40% ตลอดวันพรางแสง 60% รดน้ำวันละ 1 ครั้ง
ในตอนเช้า ก่อน 8 โมงเช้าให้เปียกโชก วันละ 1 ครั้ง ก็เพียงพอ สำหรับยาที่ใช้กำจัดตะไคร่น้ำในสวนกล้วยไม้ที่หาซื้อได้ง่าย ได้แก่ สารเคมีใน
กลุ่มมาเพีย และซีเนีย เช่น ไซเทนเอ็น-45 แอนทราโคล ฯลฯ




หนังสือ "เทคนิคการผลิตกล้วยไม้เงินล้าน เล่ม 2? พิมพ์ 4 สี แจกฟรี พร้อมกับ หนังสือ"เทคนิคการผลิตกล้วยไม้เงินล้าน เล่ม 1 ?, ?
เทคนิคการผลิตกล้วยไม้เชิงพาณิชย์? และ หนังสือ ? การผลิตและการตลาดกล้วยไม้สกุลหวาย? รวม 4 เล่ม จำนวน 336 หน้า เกษตรกร
และผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ มูลค่ารวม 150 บาท (พร้อมระบุชื่อหนังสือ) ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการ
เกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145
และ (081) 886-7398




http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1296898861&grpid=no&catid=51


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/02/2011 7:40 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 7:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%20%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81&imgurl=http://i354.photobucket.com/albums/r438/daisypink/plants/7076.jpg&imgrefurl=http://www.bloggang.com/mainblog.php%3Fid%3Dyainoonlek%26month%3D07-11-2009%26group%3D15%26gblog%3D19&usg=__G2ye4fulYBDSBJslacRVrYR46U0=&h=644&w=500&sz=231&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=HA7qAH8MDIKEgM:&tbnh=137&tbnw=106&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%2B%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%2B%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divns&ei=cjJRTaK4K8HqrAeSnPWSCA&sa=X&tbs=isch:1&prmd=ivns&start=3#tbnid=HA7qAH8MDIKEgM&start=7
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 7:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=tjorchid&id=261
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 7:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%20%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81&imgurl=http://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/tjorchid/picture/00261_0.jpg&imgrefurl=http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php%3Fuser%3Dtjorchid%26id%3D261&usg=__3rSa3FT9DrSWcvcGd4jPDRe_aRw=&h=338&w=450&sz=41&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=KFdw4n-XvZabtM:&tbnh=95&tbnw=127&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%2B%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%2B%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%26start%3D40%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divns&ei=CTRRTa3WEszPrQfEtrSTCA&start=48&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1&prmd=ivns#tbnid=eJ-wFDwKaWuc6M&start=56
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 7:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=prasertv&id=102
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 7:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%20%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81&imgurl=http://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/prasertv/picture/00102_13.jpg&imgrefurl=http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php%3Fuser%3Dprasertv%26id%3D102&usg=__XfjVCozHIv9E97RU-If-vNgVMZk=&h=480&w=640&sz=156&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=IFMofxnh2UzJgM:&tbnh=103&tbnw=137&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%2B%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%2B%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%26start%3D60%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divns&ei=4jRRTdihCcLUrQe16emYCA&start=66&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1&prmd=ivns#tbnid=g93us3I5JsA4lM&start=164
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 08/02/2011 7:43 pm    ชื่อกระทู้: Re: ต้องการความรู้หวายตัดดอก (มือใหม่).... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

supapanaka111 บันทึก:
สวัสดีค่ะ....

เป็นสมาชิกใหม่ค่ะ ....ใครมีความรู้ในเรื่องการปลูกกล้วยไม้หวายตัดดอก ช่วยแนะ
นำด้วยคะ ทั้งเรื่องสายพันธ์... การส่งขายที่ไหน.... และการแลให้ได้ผลดี


ขอขอบคุณล่วงหน้า



เป็นไง สมช.ใหม่.....ที่นี่ถาม 1 บันทัด ตอบ 10 หน้า....ถาม 2 บันทัด ตอบ 20 หน้า....

อ่านมากๆ อ่านหลายๆ รอบ อ่านแล้ววิเคราะห์ เราจะทำได้ไหม เราจะทำได้ไหม

..... "วิชาการ + ประสบการณ์ + จินตนาการ = ความสำเร็จ"

..... "แรงบันดาลใจ + แรงจูงใจ...." คื่อพลังที่ดีที่สุด



ลุงคิม (เชียร์) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©