-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การเกษตรไทย เกิด-ดับ ในเวลาเดียวกัน ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การเกษตรไทย เกิด-ดับ ในเวลาเดียวกัน ....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2011 5:01 pm    ชื่อกระทู้: การเกษตรไทย เกิด-ดับ ในเวลาเดียวกัน .... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วัฏฏสงสารของการเกษตรไทย.........เกิดและดับในเวลาเดียวกัน






บทเรียนจากภูทับเบิก ดินแดนอันสวยงามของจังหวัดเพชรบูรณ์


เรื่องเล่าจากรากหญ้าของสังคมไทย

ถ้ากล่าวถึงชาวรากหญ้าของประเทศไทย พวกเราคงต้องนึกถึง"ชาวเกษตรกร"เพราะถือเป็นบุคคลส่วนใหญ่ของสังคม และเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศที่ถูกมองข้ามมานานหลายสิบปี ผลจากการถูกทอดทิ้งจากผู้บริหารของบ้านเมือง ทำให้ชาวรากหญ้า

กำลังล่วงไปเข้าสู่วัฏฏสงสารของการเกษตร กรรมที่ถูกสร้างขึ้นจนชีวิตของพวกเขา
จมอยู่ในความทุกจนยากที่จะขึ้นมาพบกับความสุขที่แท้จริง




บทเรียนจากภูทับเบิก เรื่องเล่าจากเกษตรกรชาวเขา ที่ยึดอาชีพการปลูกกระหล่ำปลี
เป็นอาชีพหลัก หลังจากที่นายทุนชาวจีน เข้ามาในพื้นที่และพยายามเข้ามาหว่านซื้อกระหล่ำปลีของพวกเขา ทำเกษตรกรชาวเขาเกิดแรงจูงใจในการปลูกกระหล่ำปลีอย่างมาก เพราะเม็ดเงินที่นายทุนสร้างภาพลวงตาให้กับพวกเขาเห็น กำลังฉุดรั้งให้เกษตรกรให้เป็นเครื่องมืออย่างดีของกลุ่มนายทุนที่เข้ามาหาผลประโยชน์

ปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตร ถูกกำหนดโดยผู้บริโภค อย่างชัดเจน เนื่องจากผู้บริโภคมักจะเลือกซื้อผักที่มีความสดและผลสวย ไม่มีแมลงกัดเจาะที่ผล ทำให้เกษตรกรที่ภูทับเบิก ต้องซื้อยาฆ่าแมลงและหญ้าบำรุงจำนวนมาก ในการดูแลกระหล่ำปลีของพวกเขา ทำให้ต้นทุนในการผลิตก็ต้องเพิ่มขึ้นทุกปี ตามราคาของค่าปุ๋ยค่ายาในแต่ล่ะปีด้วย เกษตรกรชาวเขาให้ข้อมูลว่า ถ้าพวกเขาไม่ใช้ปุ่ยและยา ผลผลิตก็จะไม่ดี และพ่อค้าก็จะไม่รับซื้อผลผลิตของเขา เท่ากับว่าปีนั้นขาดทุน

ถ้าทุกท่านได้มีโอกาสเข้าไปหมู่บ้านของภูทับเบิก จะเห็นว่าทุกหลังคาเรือนจะมีรถกระบะไว้ใช้งานทุกบ้าน เกษตรกรอ้างว่า เป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะรถกระบะจะช่วยพวกเขาในการขนดอกกระหล่ำไปขายให้กับพ่อค้าในเมือง ซึ่งถ้าลองสังเกตุดูกันแล้ว เกษตรกรที่นี่ก็ไม่จสามารถมีรถกันได้ทุกหลังคาเรือน แต่ในข้อเท็จจริงแล้วรถเหล่านี้คือ รถที่กลุ่มนายทุนที่ซื้อกระหล่ำปลี เป็นผู้ออกเงินให้ และให้พวกเกษตรกรชาวเขาผ่อนชำระ เท่ากับว่าเงินที่ได้ในแต่ละปีของเกษตรกรชาวเขา ส่วนหนึ่งก็ต้องนำมาผ่อนค่ารถกระบะ ส่วนที่สองก็เป็นค่าปุ๋ยค่ายา และส่วนที่สามเป็นเงินเก็บเพียงเล็กน้อยที่นำมาใช้ภายในครอบครัว บางคนใช้หนี้นายทุนหมด แต่ก็ไม่มีเงินทำทุนใหม่ ก็ต้องกู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้านหรือไม่ก็กู้ยืมจาก ธกส. อีกครั้ง หนี้สะสมจากกระแสทุนนิยม ทำให้พวกเขายอมเป็นหนี้ เพื่อให้คนในครอบครัวสะดวกสบายทัดเทียมกับครอบครัวเพื่อนบ้าน เพราะพวกเขาปรารถนาที่จะมีชีวิตที่สุขสบายจึงยอมทำทุกอย่างเพื่อแลกกับสิ่งที่ต้องการ




จากข้อมูลทางวิชาการ การเพาะปลูกที่ชาวเกษตรกรชาวเขาทำอยู่ปัจจุบันนี้เรียกว่า เกษตรเชิงเดี่ยว คือ การตอบสนองทุนนิยม อะไรขายได้ราคาดีก็เร่ง ผลิต + เพิ่มปริมาณ เก็บผลกำไรให้ได้มาก แล้วก็เอาเงินมาซื้อมาแลกสิ่งจำเป็น แลกความสุขสบายในชีวิต ...

เกษตรเชิงเดี่ยวทำให้ ทำให้เกษตรกรชาวเขาปลูกพืชชนิดเดียว ซึ่งเมื่ออดีตมีการเพราะปลูกพืช หลายชนิดในเวลาเดียวกัน ทำให้เกาตรกรสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และสามารถหาประโยชน์จากสวนและไร่นาของตัวเองได้ โดยไม่ต้องเป็นหนี้สินมากมายเหมือนในปัจจุบัน

ณ.ปัจจบันนี้ ก็ได้มีทฤษฎีทางการเกษตรแบบผสมผสาน ที่เน้นการปลูกพืชที่หลากหลาย จัดสรรที่ดินอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดปี แต่ผลผลิตอาจจะมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งสามารถนำมาแก้ไขการเกษตรแบบเชิงเดี่ยวได้ แต่ความนิยมและความสนใจยังมีน้อยมาก เพราะการเกษตรในปัจจุบันเน้นการเปลูกเพื่อตอบสนองทุนนิยมมากกว่าการยังชีพ ผลร้ายจึงตกกับเกษตรกรที่ลุ่มหลงในวัตถุ เหตุการณ์นี้อาจทวีความรุนแรงถ้าหากขาดการเยียวยาและแก้ไขจากรัฐบาลแผลที่เรื้อรัง ไม่นานมันคงเน่า และไม่นานเนื้อเยื้อก็จะตายและก็ต้องตัดมันทิ้งไป

ได้ยินข่าวดีจากรัฐบาลมาว่า ได้เรียนเชิญนายทุนจากประเทศเศรษฐีน้ำมันมาลงทุนในการปลูกข้าว เชิญนายทุนมาทำลายประเทศขนาดนั้น อีกหน่อยเราคงต้องซื้อข้าวของตัวเองกินเอง น่ารักจริงๆๆ นักการเมืองไทย


วานิชนิวส์รายงน


http://www.oknation.net/blog/3anchors22/2008/05/22/entry-1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/02/2011 10:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2011 5:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกพืชเชิงเดี่ยวดีกว่าผสมผสาน


วันนี้ขึ้นหัวข้อเรื่องจากคำค้นที่พาเข้าเว็บผมเมื่อวาน คือ ‘ปลูกพืชเชิงเดี่ยวดีกว่าผสมผสาน’

ข้อดีของพืชเชิงเดียวที่พอจะนึกออกก็คือ
การกำจัดศัตรูพืช หรือวัชพืช ทำได้ง่ายกว่า
จัดการแปลงดีๆ ก็สามารถใช้เครื่องทุ่นแรงได้ (ความคุ้มทุนพิจารณากันเองนะครับ)
การเก็บเกี่ยวทำได้ง่ายและสะดวกกว่า


แต่ข้อเสียก็คือ
ระหว่างรอเก็บเกี่ยวจะขายอะไรกิน
ศัตรูพืชชนิดเดียวสามารถถล่มเราได้หมดทั้งสวน เช่น ตักแตนปาทังก้าถล่มไร่ข้าวโพด


ถ้าพืชที่เก็งไว้คิดว่าราคาดีแน่ๆ ออกสู่ตลาดแล้วราคาตกจะทำอย่างไร
การที่เราผลิตพืชชนิดเดียว ผลผลิตต้องการตลาดที่จะกระจายสินค้าไกลจากแหล่งผลิต ทำให้ต้องพึ่งพาอาศัยพ่อค้าคนกลาง อาจถูกกดราคาได้


สำหรับผมแล้วคิดว่าพืชเชิงเดียวดีต่อพ่อค้าคนกลางอย่างเดียวเลย คือว่าไปสวนนี้แล้วมีของให้ซื้อ ให้บรรทุกกลับเต็มคันรถแน่ๆ แต่กับเกษตรกรต้องอาศัยโชคชะตา ราคาดีก็โชคดี ราคาตกก็ขาดทุนไป

เพิ่มเติม ..... เห็นหลายคนเข้ามาอ่านจากคำค้นว่า ‘พืชเชิงเดี่ยวหมายถึง’ ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นน้องๆ นักเรียน ก็ขออธิบายตรงนี้ว่า พืชเชิงเดี่ยวนั้นไม่เหมือนพืชใบเลี้ยงเดี่ยว หรือใบเลี้ยงคู่ที่จัดกลุ่มแน่นอน แต่พืชเชิงเดี่ยวคือ การปลูกพืชชนิดเดียวกันเต็มพืชที่ของเกษตรกร เช่น ปลูกข้าวอย่างเดียว ยางพาราอย่างเดียว มันสำปะหลังอย่างเดียว เป็นต้น



http://burirom.ketakawee.com/2010/06/16/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/02/2011 10:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/02/2011 5:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากดอยแม่วางถึงสะเมิง :

จากเคมีเชิงเดี่ยว มาเป็นเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน



เขียนโดย สายใจ ผาติมงคลบุญ

"..ชาวบ้านทำเกษตรเหมือนเสี่ยงดวง บางปีผลผลิตก็ราคาดี บางปีก็ราคาตก บางปีหากได้กำไรก็ใช้หนี้ แต่ปีไหนติดลบก็เป็นหนี้เพิ่ม วนเวียนไปแบบนี้.."

คัดบางส่วนจากรายงานสรุปบทเรียน 2 ปีการทำงาน ของสายใจ ผาติมงคลบุญ อาสาสมัครรุ่น 28 จากมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ





1.
ช่วงแรกของการมาเป็นอาสาสมัคร เป็นช่วงของการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับงานด้านเกษตรกรรม และลงพื้นที่ทำความรู้จักกับชุมชน แม้เป็นช่วงเวลาไม่กี่เดือนสำหรับการลงชุมชน เนื่องจากมาทำงานเป็นช่วงท้ายๆ ของโครงการรณรงค์พิษภัยสารเคมี และพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องทำงานกับพี่น้องบนพื้นที่สูง จะเป็นชนเผ่าต่างๆ อาทิ ม้ง ปกาเกอญอ ฯ นับเป็นความโชคดีที่ได้ลงพื้นที่ไปใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้าน และได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยได้รู้ไม่เคยได้ทำมาก่อน

บนดอยแม่วาง บ้านป่าไผ่ ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านของพี่น้องม้ง ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ปลูกผักเสียส่วนใหญ่ และจะปลูกผลไม้ เช่น พลับ สาลี่ บ๊วย มะคาเดเมีย เป็นต้น แต่ผลไม้ที่กล่าวไปจะไม่ใช้สารเคมี พืชที่ใช้สารเคมีคือ ผัก ทั้งผักสลัด คะน้า กะหล่ำ ฯลฯ และไม้ดอกเมืองหนาวหลายอย่างที่เป็นที่ต้องการของตลาด

จากการประสบกับปัญหาเรื่องสารเคมีราคาแพง แล้วก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของผู้ที่ใช้สารเคมี จึงทำให้พี่บุญยิ่ง เลาว้าง เกษตรกรผู้ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตแบบเคมี มาเป็นเกษตรแบบอินทรีย์ทั้งระบบ ตั้งแต่ดูแลดิน ทำปุ๋ย กำจัดแมลง หรือเร่งการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก อ้ายบุญยิ่งจะมีเทคนิคและวิธีการของแกเอง โดยการทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชผักที่เหลือเก็บ หรือเก็บพืชผักใกล้บ้าน เช่น ช่วงที่ดอกบัวตองออกดอก ก็ใช้ดอกบัวตองมาทำน้ำหมักชีวภาพ หรือดอกดาวเรืองบานก็ใช้ดาวเรือง หรือใช้หางไหลมาหมักเพื่อไล่แมลง และ ใช้แครอทเพื่อเร่งการเติบโตของแครอท เอง และอีกหลายอย่างหลายตัว ซึ่งก็ทำให้ได้ผลผลิตดี และประหยัดค่าใช้จ่าย

อ้ายบุญยิ่ง ยังกันที่ดินให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนบ้านป่าไผ่ มาทำแปลงผักร่วมกัน นอกจากเด็กๆ จะมีกิจกรรมช่วยกันปลูกผัก ยังแบ่งเวรกันดูแลแปลง ซึ่งทำให้เด็กเยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเกษตร จากการทำกิจกรรมดังกล่าว และเด็กๆ ยังตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีมากขึ้น

ขณะกำลังจะจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ของบ้านป่าไผ่ - ม่อนยะ แม้จะมีชาวบ้านป่าไผ่เพียงไม่กี่หลังคาเรือนที่ได้ทดลองปลูกผักในระบบอินทรีย์ และขายได้จริง ส่วนแปลงของอ้ายบุญยิ่งนั้นเป็นแปลงตัวอย่าง และเป็นแปลงที่เปิดให้คนที่อื่นมาศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนกับเจ้าของแปลง ซึ่งเป็นศูนย์กลางให้กลุ่มผู้บริโภคได้พบปะกับกลุ่มผู้ผลิต อ้ายบุญยิ่งก็ถือได้ว่าเป็นเกษตรกรตัวอย่างคนหนึ่ง เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกแบบเคมีเชิงเดียว มาเป็นแบบอินทรีย์ผสมผสาน


2.
อีกพื้นที่ที่มีโอกาสได้ลงทำงานในช่วงที่เป็นอาสาสมัคร คือพื้นที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นอำเภอเป้าหมายในการทำงานเรื่อง เกษตรบนพื้นที่สูง ซึ่งพื้นที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง ถือเป็นแหล่งผลิต "สตรอเบอรี่" ส่งขายไปทั่วประเทศ และทุกๆ ต้นปีทางอำเภอจะจัดงานสตรอเบอรี่ ซึ่งมีความคึกคักไม่แพ้งานกาชาดที่จังหวัดเชียงใหม่เลย

ส่วนชุมชนที่ทางโครงการฯเลือกลง คือหมู่บ้านหนองคริซูใน หมู่ 10 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิงหากกล่าวรวมถึงชาวบ้านบริเวณบ้านหนองคริซู ซึ่งอาศัยอยู่ที่นี่มา 8 ชั่วอายุคนแล้ว จึงถือเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นมายาวนาน บ้านหนองคริซูนั้นมีทั้งหมด 4 หย่อมบ้าน คือ บ้านหนองคริซูใน บ้านหนองคริซูนอก บ้านสันป่าตุ๊ และบ้านห้วยมะนะ เมื่อ 60 ปีก่อนบ้านหนองคริซู เคยอาศัยอยู่ในที่ราบ แต่เนื่องจากการทำเหมืองแร่ในบริเวณนั้น จึงทำให้แต่ละหย่อมบ้านต้องโยกย้าย และกระจัดกระจายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ ปัจจุบันบ้านหนองคริซูในได้ย้ายกลับไปอยู่บริเวณเดิมซึ่งเคยอยู่มาก่อน

บ้านหนองคริซูใน เป็นหมู่บ้านปากาเกอะญอ ซึ่งชาวบ้านทำไร่ ทำนา เป็นหลัก หลังจากมีพืชเศรษฐกิจเข้ามาหลายตัว จึงทำให้การดำรงชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากเมื่อก่อนไม่มีการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร แต่ปัจจุบันต้องพึ่งสารเคมีเนื่องจากดินเสื่อมสภาพ และการสะสมของสารเคมีในดิน

สตรอเบอร์รี่ (Strawberry) ก็เป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่ชาวบ้านหนองคริซูในนิยมปลูก เพราะเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะกลุ่มคนรักสุขภาพ เนื่องจากสตรอเบอร์รี่มีรสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ มีสารอาหารที่ประกอบด้วยกรดอินทรีย์ วิตามินเอ ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดอุดตัน รวมทั้งมีกรดโฟลิค (folic acid) และมีเส้นใยอาหาร (fiber) สูงอีกด้วย และยังพบว่าในสตรอเบอร์รี 8 ผล ประกอบด้วยวิตามินซีถึง 1.6 เท่าของปริมาณปรกติที่ร่างกายของคนเราต้องการในหนึ่งวัน

นอกจากนี้ สตรอเบอร์รี่ยังอุดมไปด้วยกรดเอลลาจิก ที่ให้พลังงานสูงมากในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อเทียบกับผลไม้ส่วนใหญ่ ผลจากการศึกษาพบว่า เมื่อเทียบน้ำหนักที่เท่ากันของสตรอเบอร์รีกับผลไม้ชนิดอื่นๆ พลังงานในการต้านอนุมูลอิสระของสตรอเบอร์รีสูงกว่าส้มถึงหนึ่งเท่าครึ่ง สูงกว่าองุ่นแดงถึงสองเท่า สูงกว่ากีวีถึงสามเท่า สูงกว่ากล้วยหอมและมะเขือเทศถึงเจ็ดเท่าด้วยกัน

และสตรอเบอร์รี่ยังเป็นผลไม้ที่ให้ประโยชน์ด้านความสวยความงามอย่างมาก เนื่องจากวิตามินหลายชนิดในสตรอเบอร์รีช่วยเพิ่มเลือดฝาดให้กับผิวสาว เมื่อรับประทานเป็นประจำจะทำให้ผิวพรรณสดใส เพราะมีสารที่ช่วยกระตุ้นเซลล์ผิวหนังที่หมดสภาพไปแล้ว ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ถ้านำผลสตรอเบอร์รี่มาบดแล้วนำมาพอกหน้าจะทำให้ผิวขาวสดใสขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดริ้วรอยหมองคล้ำที่เกิดจากการตากแดดตากลมได้อีกด้วย

สตรอเบอร์รี่ถือเป็นพืชตัวหลักที่ชาวบ้านหนองคริซูในปลูกกันเกือบทุกครัวเรือน โดยผู้ซื้อหารู้ไม่ว่าผลไม้ที่มีสีแดงสด ดูแล้วน่ารับประทานนั้นแฝงไปด้วยสารเคมีสารพัดชนิด ตั้งแต่เริ่มกระบวนการเตรียมแปลง จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทั้งฮอร์โมนเร่งดอก เร่งผล เนื่องจากสตรอเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีความบอบบาง และเป็นพืชที่มีโรคและแมลงรบกวนเยอะ ถ้าเทียบกับพืชตัวอื่น สาเหตุหลักน่าจะมาจากความต้องการให้ผลผลิตที่ได้ ตรงตามสเป๊กที่นายทุนวางไว้ สตรอเบอร์รี่จึงจะได้ราคา ทุกขั้นตอนล้วนต้องพึ่งพาสารเคมีทั้งสิ้น

จากปากคำเกษตรกรผู้ผลิตนั้น ในขั้นตอนการผลิตจะมีการเบิกปุ๋ย เบิกยา จากนายทุนก่อน พอเก็บผลผลิตได้ และนำไปขายให้กับนายทุน จะถูกหักค่าปุ๋ยค่ายาที่เบิกก่อนล่วงหน้า เมื่อหักลบกลบหนี้กันเสร็จ ส่วนที่เหลือจึงจะเป็นรายได้ บางทีก็ติดลบทำให้เป็นหนี้นายทุนเพิ่ม ร้ายกว่านั้นเกษตรกรผู้ผลิตไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ขายสตรอเบอร์รี่ให้นายทุนกิโลกรัมละเท่าไหร่ แค่ทำหน้าที่เก็บผลผลิตแล้วส่งให้นายทุน นายทุนจะเป็นคนแจ้งมาทีหลังว่าสตรอเบอร์รี่กิโลกรัมละเท่าไหร่

แต่ชาวบ้านก็ไม่มีทางเลือกอื่น เมื่อถามว่าเมื่อปลูกแล้วเป็นหนี้แบบนี้ ทำไมไม่เลิกปลูก หันไปทำอย่างอื่นแทน ก็ได้คำตอบว่า ถ้าไม่ปลูกสตรอเบอร์รี่ก็ไม่รู้จะทำอะไร ไม่มีทุนรอนที่จะไปทำอย่างอื่น ปลูกสตรอเบอร์รี่ยังมีนายทุนมาลงทุนให้ ผลผลิตที่ได้ในแต่ละปี จึงเหมือนเป็นการเสี่ยงดวงว่าราคาจะสูงหรือต่ำ บางปีโชคดีก็มีกำไร แต่บางปีโชคร้ายก็เพิ่มหนี้ ก็วนเวียนไปแบบนี้ ได้กำไรก็ใช้หนี้ ติดลบก็เป็นหนี้เพิ่ม อีกทั้งการใช้สารเคมีดังกล่าว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร รวมไปถึงลูกหลานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตของพ่อแม่อีกด้วย

จากการรับรู้ข้อมูลจึงรู้สึกว่า ชาวบ้านถูกเอาเปรียบจากผู้มีอิทธิพลบางกลุ่ม เพราะนอกจากปัญหาจากวงจรหนี้สินดังกล่าว ยังมีปัญหาเรื่องการจ้างแรงงานราคาถูก เนื่องจากพื้นที่ปลูกสตรอเบอร์รี่ในแถบนั้น ส่วนหนึ่งเป็นของนายทุนที่มาเช่าพื้นที่ของชาวบ้าน แล้วจ้างแรงงานข้ามชาติมาทำงานให้ และมีการใช้สารเคมีในแปลงเช่นกัน จากสภาพปัญหาที่กล่าวแล้ว จึงเป็นที่มาของการตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ชุมชน



3.
เดิมที่ดินที่ใช้ตั้งเป็น "ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ชุมชน" ผืนนี้ เป็นที่ดินที่ชาวบ้านบ้านหนองคริซูในให้นายทุนเช่า จำนวน 5 ไร่ เพื่อปลูกสตรอเบอร์รี่ เมื่อเช่าเป็นเวลานานเข้า นายทุนจึงขอซื้อที่ดินจากชาวบ้าน แต่ญาติของเจ้าของที่ดินได้แอบขายโดยไม่ได้บอกเจ้าของที่แท้จริง เมื่อชุมชนรู้จึงไปขอเจรจา เพื่อซื้อที่ดินคืน แต่นายทุนไม่ยอม ชาวบ้านจึงมีการหารือกันในระดับลุ่มน้ำ และระดับเครือข่าย มีมติให้เข้าไปยึดที่ดินแปลงนี้คืนจากนายทุน เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์

ครั้งแรกชาวบ้านตกลงกันว่า จะนำที่ดินดังกล่าวไปปลูกป่าชุมชน เมื่อนายทุนรู้จึงได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีข้อหาบุกรุกที่ดินทำกิน ชาวบ้านตกเป็นผู้ต้องหา 5 คน แต่เมื่อเรื่องถึงอัยการ อัยการได้สั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากที่ดินแปลงดังกล่าวเป็น สค.1 หรือใบแจ้งการครอบครอง ซึ่งไม่สามารถซื้อขายกันได้ แต่นายทุนก็ได้ฟ้องร้องชาวบ้านในคดีฉ้อโกง แต่คดียังไม่ถึงศาล เนื่องจากมีการเจรจากันระดับพื้นที่ โดยทำข้อตกลงกันที่บ้านกำนัน ให้เจ้าของที่ดินเดิมนำเงินมาจ่ายคืนให้กับนายทุน


จากนั้นที่ประชุมจึงมีการแลกเปลี่ยนหารือ เรื่องการใช้ประโยชน์ ซึ่งในช่วงนั้นได้มีการไถ และมีแผนว่าจะปลูกข้าวก่อน พอเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ชาวบ้านเสนอแนวทางกว้างๆ ว่าจะใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในระดับลุ่มน้ำ เพื่อพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

ซึ่งการตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์สาธิต และทดลองการทำเกษตรอินทรีย์ เป็นพื้นที่รณรงค์ การลด ละ เลิก การใช้สารเคมีของชุมชนบ้านหนองคริซูใน และเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นศูนย์กลางการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ ถ่ายทอด แนวคิด รูปแบบเกษตรอินทรีย์ของชุมชน เป็นพื้นที่ทดลองปลูกสตรอเบอร์รี่อินทรีย์และปลูกผักอินทรีย์ เป็นที่พักของชาวบ้านในเวลามาทำงานเกษตรอินทรีย์ร่วมกัน และเป็นพื้นที่สร้างความหลากหลายด้านความมั่นคงทางอาหาร

เริ่มแรกของการปรับเปลี่ยนระบบการทำเกษตรแบบเคมีเชิงเดี่ยว มาเป็นระบบเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน สำหรับบ้านหนองคริซูใน มีเพียงสองคนเท่านั้นที่เริ่มปรับเปลี่ยนแนวคิด และตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมี ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตนเองและครอบครัวในอนาคต แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ใช่ว่าไม่ตระหนักถึงพิษภัย หรือผลกระทบ แต่มักไม่มีทางเลือกสำหรับพวกเขา ส่วนหนึ่งเพราะไม่มีความเชื่อมั่นในระบบเกษตรอินทรีย์ว่ามันจะเป็นไปได้ และไม่ต้องลำบากไปดิ้นรนหาตลาดเอง หากปลูกแบบใช้เคมี นายทุนจะรับซื้อผลผลิตทั้งหมด ชาวบ้านเป็นแต่เพียงเป็นผู้ใช้แรงงานเองเท่านั้น

หนึ่งในสองที่เปลี่ยนจากเกษตรเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์คือ พ่อสิงห์แก้ว แสงเทียนชัย หรือที่รู้จักและเรียกจนคุ้นปากว่า พะตี่ชิแนะ แห่งบ้านหนองคริซูใน ถือเป็นเกษตรกรผู้มีความเชื่อมั่นในระบบเกษตรอินทรีย์ แรงจูงใจที่ทำให้พะตีชิแนะเปลี่ยนความคิด และปรับระบบการทำการเกษตรแบบเคมี เป็นแบบอินทรีย์มีหลายอย่าง ทั้งนิทานเรื่องเจ้ายักษ์ (เล่าแล้วในสัปดาห์ก่อน ) ยังมีการไปศึกษาดูงาน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนที่ทำเกษตรอินทรีย์ มีหน่วยงานรัฐเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน ประกอบกับเรื่องปัจจัยการผลิตซึ่งมีราคาสูงขึ้น และสิ่งสำคัญคือตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมี ทั้งด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์



http://www.thaivolunteer.or.th/thaivo/index.php?option=com_content&task=view&id=214&Itemid=94
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©