-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เศรษฐกิจเกษตรปี 54 .....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เศรษฐกิจเกษตรปี 54 .....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/01/2011 12:54 pm    ชื่อกระทู้: เศรษฐกิจเกษตรปี 54 ..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อ 3-4 วันมานี้ ข่าวจากเอแบ็คโพลล์ ระบุ สภาพเศรษฐกิจปี 54 ในจำนวน 10 ธุรกิจ ประเภท "รุ่งโรจน์" กับ รุ่งริ่ง" เป็นดังนี้

อันดับ 1 การค้าขาย......
รุ่งโรจน์ ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ.......รุ่งริ่ง ได้แก่ ร้านโชห่วย

อันดับ 2 การเกษตร
รุ่งโรจน์ ได้แก่ เกษตรผสมผสาน.....รุ่งริ่ง ได้แก่ เกษตรเชิงเดี่ยว

อันดับ 3
อันดับ 4
อันดับ 5................ก็ว่ากันไป


แนวคิดแบบปรัชญา :
- ทำงานทั้งปี ได้ขายรอบเดียว
- ทำงานทั้งปี ได้ขายหลายรอบ
- ทำน้อยได้มาก ทำมากได้น้อย
- เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู.

แนวคิดแบบเปรียบเทียบ :
- แปลงไม้ผลยอดนิยมของตลาด เช่น ทุเรียน. มังคุด. เงาะ. ลองกอง. เป็นไม้ผลตัวเดียวกันเพราะเก็บเกี่ยวผลผลิตพร้อมกัน.....คนทำเหนื่อยมาก เพราะต้องทำทุกอย่างทุกต้นพร้อมๆกัน แต่คนกินสบายเพราะเลือกได้ตามใจชอบ แล้วก็เลือกซื้อแค่อย่างเดียว หมดฤดูกาลไม้ผล 4 อย่างนี้แล้วก็ไม่มีผลผลิตอะไรรับคนกิน แต่หากให้มีผลไม้ที่ออกตลาดได้ "ก่อน" 2-3 เดือน กับผลไม้ที่ออกตลาได้ "หลัง" 2-3 เดือน เข้ามาสลับ ก็จะทำให้มีผลผลิตออกตลาดได้หลายรอบใน 1 ปี

- แปลงไม้ผล ประเภทแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น มะม่วงกินดิบ จำหน่ายเป็น มะม่วงยำ. มะม่วงน้ำปลาหวาน. มะม่วงดอง. มะม่วงแช่อิ่ม. มะม่วงกวน. สุดท้ายเป้นมะม่วงสุกข้าวเหนียวมูล

- ไม้แซมแทรกในแปลงไม้ผลยืนต้น (ไม้ประธาน) ที่ระยะปลูกห่างกัน กระทั่งมีแสงแดดส่องถึงพื้นบริเวณระหว่างต้นได้ ให้ปลูก ผักหวานป่า/บ้าน. มะเขือ. พริก. ขิง. ข่า. กระชาย. ตะไคร้. ฯลฯ .....ระหว่างที่ไ ม้ผลยืนต้นไม่มีผลผลิตนั้น สามารถจำหน่ายพืชแทรมแซกได้

- พืชไร่ประเภทอายุ 1 ปี จึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นั้น ใช้วิธีลดขนาดแปลงปลูกลง โดยตัดแบ่งออกมา 1-2-3-4 ไร่ ตามความเหมาะสม แล้วปลูกพือายุสั้นฤดูกาลเดียว 1-2 ชนิด เป็นพืชที่ปลูกได้ 2-3 รอบ/ปี หรือให้มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้หลายๆรอบ/ปี ก็จะช่วยให้มีรายได้ขึ้นมา ซึ่งไม่แน่นะ พืชอายุสั้นประเภทนี้ ต่อเนื้อที่เพียงเท่านี้ อาจจะมีรายได้มากกว่าพืชหลักก็ได้

- นาข้าว ใช้วิธีขยายคันนาให้กว้างขึ้น อาจจะกว้าง 3 ม. แล้วปลูกพืชล้มลุก อายุสั้นฤดูกาลเดียว พุ่มเตี้ย เช่น ข่า. ตะไคร้. มะเขือ. พริก. ฯลฯ ด้วยพื้นที่คันนากว้างเพียง 3 ม.นี้ จะสามารถสร้างรายได้มากกว่าข้าวในเนื้อเท่าๆกัน.....แปลงนา ริมคันนา (ปริ่มน้ำ) ลงเผือกน้ำ รอบๆเนื้อที่ 1 ไร่ ขายเผือกได้มากกว่าข้าว

- ไม้ผลที่กำลังมีผลอยู่บนต้น ณ วันนี้ นั่นคือ "ผลไม้ปี" เมื่อถึงวันเก็บเกี่ยวจะออกตลาดพร้อมกัน ปริมาณมากมายกองเป็นภูเขาเลากา ผลไม้จากสวนใดได้ เกรด เอ. ขนาดจัมโบ้. ย่อยขายง่าย ได้ราคาดีกว่าประเภทเกรดฟุตบาธ


ลุงคิมครับผม
ปล.
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกิจกรรมทางการเกษตรให้ทำมากที่สุดในโลก แต่คนไทย "คิด" ไม่เป็น วางแผนการตลาด-การผลิตไม่เป็น (น่าจะ... ไม่ยอมคิด หรือไม่ชอบคิดมากกว่า) จึงปลูกตามข้างบ้าน สุดท้ายทั้งตัวเอง ทั้งข้างบ้าน ทั้งหมู่บ้าน ทั้งประเทศ ตายเหมือนกันหมด ไม่ตายก็ได้แต่หนี้.....


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/11/2011 10:02 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/01/2011 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วสันต์ สุขสุวรรณ

ปลูกผักเหลียงเป็นพืชแซมสะตอ

ผักเหลียง เป็นไม้ป่าที่ไม่ชอบแสงแดดจัดและความร้อนสูงจากอากาศ มีอายุนานหลายปี ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา การดูแลรักษาง่าย ไม่มีโรคแมลงรบกวน จึงแน่ใจได้ว่าปลอดสารเคมี พบทั่วไปตามเนินเขาและที่ราบที่มีฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มิลลิเมตร ต่อปี ช่วงระยะฝนตกไม่ต่ำกว่า 150 วัน ต่อปี พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในจังหวัดระนอง พังงา ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ และตรัง โดยเฉพาะจังหวัดระนองและพังงา ซึ่งมีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีปริมาณน้ำฝนสูง ความชื้นสูง จึงเหมาะสมที่ต้นผักเหลียงจะงอกงามเจริญเติบโตได้ดีและขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ

ประโยชน์ของผักเหลียง
ผักเหลียง เป็นผักที่มีรสชาติดี หวาน มันเล็กน้อย ชวนรับประทาน ใครได้ชิมแล้วจะติดใจ มีคุณค่าทางอาหารสูง ปลอดภัยจากสารพิษ ส่วนที่ใช้ประกอบอาหารคือ ยอด ใบอ่อน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้มกะทิ แกงเผ็ด แกงไตปลา แกงเลียง ทำห่อหมก ผัดเผ็ด ผัดไข่ ผัดผักรวม ผัดน้ำมันหอย ฯลฯ

ปลูกผักเหลียง แซมในสวนสะตอ
จังหวัดระนอง เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผลต่างๆ เกษตรผสมผสาน และพืชเศรษฐกิจประจำถิ่นของชาวใต้นั่นคือ สะตอ ว่ากันว่า สะตอของจังหวัดระนองคุณภาพเยี่ยมที่สุด ฝักใหญ่ เมล็ดโต สวนสะตอของเกษตรกรหลายคนปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ดังเช่น ครอบครัว คุณประพร-คุณสุกัญญา นันทวิริยานนท์ ที่ปลูกสะตอ ประมาณ 10 ไร่ มีอายุกว่า 15 ปี ให้ผลผลิตปีละไม่น้อย

การปลูกผักเหลียงแซมในสวนสะตอ คุณประพร-คุณสุกัญญา บอกว่า สวนสะตอมีพื้นที่ว่างระหว่างต้นระหว่างแถวมาก จึงได้ปลูกผักเหลียงแซมเต็มพื้นที่ โดยปลูกเป็นแถวเป็นแนว (ตามที่เห็นในภาพ) ปลูกผักเหลียงมาแล้วประมาณ 10 ปี

ปลูกง่าย เก็บเกี่ยวได้นานปี
"ผักเหลียง เป็นพืชที่ปลูกง่าย เติบโตเร็ว ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้นานหลายปี เมื่อนานปีการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนต้นเป็นกอมากขึ้น ทำให้เก็บเกี่ยวยอดอ่อนได้มากขึ้น ส่วนการลงทุนน้อย ไม่ต้องใส่ปุ๋ย สามารถเก็บเกี่ยวยอดอ่อนได้ตลอดปี"

ผู้ที่สนใจจะไปศึกษาดูงาน การปลูกผักเหลียงแซมในสวนสะตอ ติดต่อได้ที่ คุณประพร-คุณสุกัญญา นันทวิริยานนท์ บ้านเลขที่ 10/3 หมู่ที่ 6 ตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โทร. (09) 195-4155, (01) 077-0011

เกษตรจังหวัดระนองส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก
คุณชิงชัย เพชรพิรุณ เกษตรจังหวัดระนอง กล่าวว่า ผักเหลียงปลูกง่าย ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้หลายปี โรคแมลงศัตรูมีน้อย ตลาดมีความต้องการมาก เนื่องจากเป็นผักปลอดภัยจากสารพิษ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะปลูกแซมในสวนสะตอ ในสวนยางพารา หรือสวนผลไม้ เพื่อไว้บริโภคในครอบครัว ส่วนที่เหลือขายเป็นการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และเป็นการขยายโอกาสในด้านการผลิตและการตลาด เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ การปลูกผักเหลียงแซมในสวนสะตอของเกษตรกรระนองจะเป็นช่องทางหรือต้นแบบของการปลูกพืชร่วมที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นการปรับปรุง บำรุงดินให้กลับฟื้นคืนธรรมชาติอีกครั้ง ดังที่เป็นอยู่ในอดีต

http://www.azooga.com/content_detail.php?cno=572




การเสริมรายได้ในสวนยาง ด้วยการปลูกพืชแซมและเลี้ยงสัตว์



ระหว่างที่รอยางโตหรือ รอกรีดนั้นสามารถปลูกพืชได้หลายชนิด ปลูกได้ตั้งแต่เริ่มปลูกยางพาราไปจนกระทั่งยางพาราเปิดกรีดได้ แต่มีพืชอีกหลายชนิดที่ไม่ สมควรปลูก เพราะจะมีผลกระทบต่อต้นยางพารา หรืออาจจะทำให้สวนยางพาราเสียหายได้ สำหรับประเภทของพืชเสริมรายได้นั้นแบ่งออกเป็น

1. การปลูกพืชเพิ่มรายได้
ก. การปลูกพืชแซมยาง หมายถึงพืชล้มลุกหรือพืชอายุสั้นที่ต้องการแสงสว่างมากในการเจริญเติบโตและ ให้ผลผลิต และรวมถึงพืชล้มลุก ขนาดเล็กต่าง ๆ ที่ทนต่อสภาพร่มเงา ซึ่งหมายถึงพืชแซมยาง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท :-

ประเภทที่ 1 : พืชแซมยางที่ต้องการแสงมาก มีหลายชนิด ได้แก่ พืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด และถั่วต่าง ๆ พืชเหล่านี้ควรปลูกห่างแถวยางพาราประมาณ 1 เมตร ในกรณีที่เป็นอ้อย มันสำปะหลัง และละหุ่ง ควรปฏิบัติดังนี้.-

1. อ้อย : มี 2 ชนิดคือ อ้อยโรงงาน ซึ่งใช้ทำน้ำตาล และอ้อยคั้นน้ำ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ควรปลูกอ้อยทั้ง 2 ชนิดนี้ เพื่อลด ผลกระทบต่อต้นยางพารา และลดปัญหาไฟไหม้สวนยางพารา (ใบอ้อยแห้งจะเป็นเชื้อไฟได้ในช่วงแล้ง) ส่วนในภาคใต้และภาคตะวันออก ไม่ควรปลูกอ้อยโรงงานเช่นเดียวกัน แต่สำหรับอ้อยคั้นน้ำเนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยางพารา และปัญหาด้านเป็นเชื้อไฟ มีน้อยเพราะอายุสั้น และในช่วงแล้งก็ไม่แล้งจัดจนเกินไป จึงสามารถปลูกเป็นพืชแซมยางได้ ทั้งในภาคใต้และภาคตะวันออก

2. มันสำปะหลัง : ไม่ควรปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออก เพราะมันสำปะหลังเจริญเติบโตเร็ว มีศักยภาพในการใช้ปุ๋ยสูง จึงมีผลกระทบ ต่อการเจริญเติบโตของยางพารา ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ไม่ควรปลูกเช่นเดียวกัน แต่ในกรณีที่เกษตรกรจำเป็นต้องปลูก (เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดและบำรุงรักษาได้ง่าย) ปฏิบัติตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยพืชไร่ และควรปลูกห่างแถวยางพาราประมาณ 2 เมตร การไถตัดราก (ไถเดินตาม) ห่างจากแถวมันสำปะหลังประมาณ 50 เซนติเมตร (เฉพาะแถวริมที่อยู่ใกล้แถวยางพารา) จะลดปัญหา การแย่งปุ๋ย และความชื้นในดินจากยางพาราได้บ้าง

3.ละหุ่ง : ไม่ควรปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออกเช่นเดียวกัน เพราะนอกจากจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยางพาราแล้ว ฝักของละหุ่งมักเป็นเชื้อราเนื่องจากความชื้น และนอกจากนั้นยังหาตลาดจำหน่ายได้ยากเช่นเดียวกับมันสำปะหลัง แต่ในภาคตะวันออก เฉียงเหนืออนุโลมให้ปลูกได้ โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกมันสำปะหลัง

*** นอกจากพืชไร่ดังกล่าวแล้ว ยังสามารถปลูกพืชได้อีกหลายชนิด เช่น พืชผัก

ต่าง ๆ กล้วย มะละกอ สับปะรด และพืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำแนะนำ พืชประเภทนี้จะปลูกได้ช่วงที่ยางยังมีอายุน้อยๆ พุ่มยังไม่แผ่กว้างคลุมพื้นที่ สามารถปลูกแซมได้ตั้งแต่เริ่มปลูกยางเป็นต้นไป

ประเภทที่ 2 : พืชแซมยางที่ทนต่อสภาพร่มเงาได้แก่ ขิง ข่า ขมิ้น ไม้ดอกบางชนิด ดาหลา หน้าวัว เฮลิโกเนีย ผักพื้นบ้านบางชนิด เช่น ผักกูด และผักกาดนกเขา ฯลฯ ตลอดจนเฟิร์นต่าง ๆ

หมายถึง พืชขนาดกลางไปจนถึงพืชยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น ผักเหมียง กระวาน พืชสกุลระกำ หวายตะค้าทอง หวายกินหน่อ และไม้ป่าบางชนิด ไม้ผลพื้นเมืองบางชนิดได้ เช่น ละไม ส่วนลองกองและขนุนในขณะนี้ยังไม่แนะนำให้ปลูกเป็นพืชร่วมยาง

*** ปลูกเมื่อยางเริ่มแผ่กิ่งก้านปกคลุมพื้นที่สวนแล้ว

2. การเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง
การ เลี้ยงสัตว์ในสวนยางสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเจ้าของสวนยาง ดำเนินการได้ใน 2 รูปแบบ คือ การปลูกหญ้า เพื่อเลี้ยงสัตว์ในสวนยางอ่อน และการปล่อยสัตว์กินหญ้าในสวนยาง สัตว์ที่นิยมเลี้ยง เช่น แกะ แพะ สัตว์ปีก นอกจากนี้ในสวนยาง ยังสามารถเลี้ยงผึ้งได้

การเลี้ยงแกะในสวนยาง :
ใน สวนยางที่มีอายุมากกว่า 20 ปี พบว่ามีปริมาณเพียงพอให้แกะแทะเล็มเป็นอาหารได้ในอัตรา 1 ตัวต่อไร่ สำหรับสวนยางอ่อน ควรปล่อยแกะลงแทะเล็มหญ้าตั้งแต่เวลา 10.00-18.30 น.ในขณะที่สวนยางที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้แกะได้รับแสงแดดเช้า และบ่าย ช่วงละ 2 ชั่วโมง

- จัดน้ำให้แกะกินในสวนยางด้วย
- โรงเรือนที่พักแกะ หลังคาหน้าจั่ว ยกพื้นสูง 1-1.50 เมตร ไม้พื้นทำเป็นร่องห่างกัน 1.5-2.0 เซนติเมตร ความกว้างไม่เกิน 5 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับปริมาณแกะ โดยมากแกะ 1 ตัวใช้ขนาด 2 ตารางเมตร
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคอื่น ๆ ปีละ 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน ถ่ายพยาธิทุก 3 เดือน
- ต้องมีน้ำสะอาดและเกลือแร่ก้อนให้แกะกินตลอดเวลา

การเลี้ยงผึ้งในสวนยาง
- ใช้ผึ้งพันธุ์ Apis mellifera เลี้ยงเพื่อเก็บน้ำหวานโดยวิธีย้ายรัง นำรังผึ้งวางไว้ในสวนยางช่วงยางผลัดใบ
- ยางพารา 1.4 ไร่ สามารถเลี้ยงผึ้งได้ 1 รัง
- ควรเลือกแหล่งวางรังผึ้งในบริเวณที่มีความหลากหลายของพืช วัชพืช ไม้ผล หรือไม้ป่า


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิชาการเกษตร

http://poodangcenter.bestpoodang.com/detail.php?id=80





การปลูกพืชแซมในสวนยางพารา






สวนยางแซมสัปรด ม.2 ต.ซับสีทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ (สูตรสำเร็จการสร้างสวนยางของชาวบ้าน)

การจะเลือกปลูกพืชแซมยางชนิดใดนั้น ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพในแต่ละท้องถิ่น(สภาพดินและภูมิอากาศ) และต้องเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการพอสมควร พืชแซมยางที่นิยมปลูกกันส่วนมากเป็นพืชอายุสั้น อาทิ ข้าวไร่, ข้าวโพดหวาน, กล้วย, สัปรด, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ถั่วเขียว และพืชสวนครัว, ฯลฯ เมื่อลงมือปลูกก็ต้องรู้จักรักษาระยะห่างจากต้นยางเพื่อไม่ให้พืชแซมแย่งธาตุอาหารหรือคลุมต้นยางจนชะงักการเจริญเติบโต โดยยึดหลักกว้าง ๆ ดังนี้

ถ้าพืชแซมที่ปลูกเป็นพืชอายุสั้นและมีความสูงน้อยกว่าต้นยางพารา ให้ปลูกได้เต็มพื้นที่ ยกเว้นรอบโคนต้นยางพาราในรัศมี 1 เมตร แต่ถ้าเป็นพืชแซมที่สูงกว่าต้นยาง ก็จะต้องจัดการไม่ให้พืชแซมนั้นบังแสงแดดซึ่งเป๊นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง

การปลูกพืชไร่....... ต้องปลูกให้ห่างจากแถวต้นยางพาราอย่างน้อย 1 เมตร

การปลูกหญ้ารูซี่ .....ต้องปลูกให้ห่างจากแถวต้นยางพาราอย่างน้อย 1.5 เมตร

การปลูกกล้วย, มะละกอ ต้องปลูกแถวเดียวตรงกึ่งกลางระหว่างแถวต้นยางพารา และปลูกพืชอายุสั้นในระบบผสมผสานได้ ไม่แนะนำให้ปลูกมันสำปะหลัง, ละหุ่ง, อ้อย ต้องบำรุงดูแลให้ปุ๋ยพืชแซมตามหลักการหรือคำแนะนำของพืชแซมนั้น ๆ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตจากพืชแซมแล้ว ควรทิ้งเศษซากพืชแซมไว้ในที่เดิมหรือนำไปคลุมโคนต้นยาง (ให้ห่างจากโคนเล็กน้อย) เมื่อเลิกปลูกพืชแซมแล้ว ควรปลูกพืชคลุมดินทันที



ปลูกกล้วยแซมยางพารา
พันธุ์ที่แนะนำและวิธีปลูก

กล้วยน้ำว้า
ให้ปลูกกึ่งกลางระหว่างแถวยางต้นยางพารา โดยมีระยะห่างระหว่างต้น 2.5-3 เมตร ควรไว้หน่อไม่เกิน 3 หน่อต่อหลุมเพื่อไม่ให้แย่งอาหารจากต้นเดิม

กล้วยไข่
ให้ปลูก 2 แถว ระหว่างแถวต้นยางพารา ให้มีระยะระหว่างแถว 2 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 2.5-3 เมตร ควรไว้หน่อไม่เกิน 3 หน่อต่อหลุม

กล้วยหอม
ให้ปลูก 2 แถว ระหว่างแถวต้นยางพารา ให้มีระยะระหว่างแถว 2 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 2-2.5 เมตร ควรไว้หน่อไม่เกิน 2 หน่อต่อหลุม

กล้วยเล็บมือนาง
ให้ปลูก 3 แถว ระหว่างแถวต้นยางพารา ระยะระหว่างแถว 2 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 2.5 เมตร ควรไว้หน่อไม่เกิน 3 หน่อต่อหลุม

ผลผลิต: ประมาณ 1,250 หวีต่อไร่ต่อปี


การปลูกสัปรดแซมระหว่างแถวต้นยางพารา
พันธุ์แนะนำและวิธีปลูก

พันธุ์ปัตตาเวีย :
ปลูกแถวเดี่ยว ระยะระหว่างแถว 70 เซ็นติเมตร ระยะระหว่างต้น 50 เซ็นติเมตร (70x50) หรือปลูกแบบแถวคู่ โดยมีระยะห่างของแถวคู่ 100 เซ็นติเมตร ระยะระหว่างแถว 50 เซ็นติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซ็นติเมตร (100x50x30)

พันธุ์ภูเก็ต :
ปลูกแบบแถวคู่ โดยมีระยะห่างของแถวคู่ 120 เซ็นติเมตร ระยะระหว่างแถว 30 เซ็นติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซ็นติเมตร (120x30x30)

ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
ระมัดระวังโรคยอดเน่าและรากเน่า

ผลผลิต : ประมาณ 2,400 ผล/ไร่/ปี




ขอบคุณที่มาข้อมูลดีๆ http://www.live-rubber.com/
เขียนโดย mrnainoy ที่ 7:18
http://mrnainoy-myblog.blogspot.com/2010/11/blog-post.html




การปลูกพืชแซม

เป็นการปลูกพืชหลายๆชนิดในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้พืชเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ป้องกันศัตรูพืชด้วยพืช (คล้ายๆ พิษรักษาด้วยพิษ) นอกจากนี้ยังได้ผลผลิตอื่นๆเพิ่มขึ้นอีก

การปลูกดอกไม้สีสดๆ เช่น บานชื่น บานไม่รู้โรย ดาวเรือง ดาวกระจาย ทานตะวันรอบๆ แปลงผัก/สวนไม้ผล หรือปลูกแซมไปกับผัก/ไม้ผลอย่างประปรายก็ได้ สีของดอกไม้จะช่วยดึงดูดให้แมลงศัตรูธรรมชาติหรือแมลงตัวหํ้าและตัวเบียน เข้ามาอยู่ในแปลงและนํ้าหวานจากเกสรดอกไม้ก็จะเป็นอาหารของแมลงเหล่านี้ด้วย แมลงศัตรูธรรมชาติเหล่านี้จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช

การปลูกตะไคร้หอมรอบๆ แปลง ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช เมื่อตัดใบตะไคร้หอมจะมีกลิ่นไล่แมลง ใบตะไคร้หอมนำมาใช้คลุมดินได้ดีและยังช่วยไล่แมลง หรืออาจตัดใบตะไคร้หอมโรยไว้ที่แปลงเพื่อป้องกันแมลงก็ได้ นอกจากนี้ใบตะไคร้หอมยังนำมาทำนํ้ายาสมุนไพรฉีดพ่นไล่แมลงได้อีกด้วย

การปลูกพืชบางชนิดซึ่งมีกลิ่น หรือสารไล่แมลงศัตรูพืช เช่น โหระพา ผักกาดหอม แมงลัก พริก กระเทียม ผักชี กระเพรา มะเขือเทศ ฯลฯ แซมลงไปในแปลงปลูกพืชหลักเพื่อลดแมลงศัตรูพืช เช่น ปลูกผักชีร่วมกับคะน้า แปลงกระเทียมสลับกับแปลงคะน้า เป็นต้น

การปลูกดาวเรือง ถั่วลิสงร่วมกับพืชอื่น เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ กล้วยหักมุก สับปะรด หัวไชเท้า แครอท จะช่วยลดความเสียหายจากการทำลายของไส้เดือนฝอยรากปมได้ หรืออาจปลูกดาวเรืองหมุนเวียน เพื่อลดไส้เดือนฝอยดังที่กล่าวมาแล้ว

การปลูกหอมร่วมกับพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงโม แคนตาลูป เป็นต้น หรือการปลูกกุยช่ายร่วมกับพืชตระกูลพริก มะเขือ จะช่วยป้องกันโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อฟิวซาเรียมได้เนื่องจากบริเวณรอบๆ รากหอมและรากกุยช่ายมีแบคทีเรียต่อต้านเชื้อราสาเหตุของโรคได้

การปลูกถั่วลิสงแซมระหว่างแถวของข้าวโพดจะช่วยลดความเสียหายจากหนอน กระทู้และทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติมาอาศัยอยู่เช่นมีแมงมุมตัวหํ้า ช่วยควบคุมหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดเช่นเดียวกับการปลูกข้าวโพดและถั่วฝักยาว ด้วยกัน

การปลูกผักกาดขาวปลีไว้ตามจุดต่างๆของแปลงกะหล่ำ เพื่อล่อแมลงพวกด้วงผักให้ไปกินแทนที่จะกิน กะหล่ำ จากนั้นจึงพ่นสมุนไพรกำจัดที่ต้นผักกาดขาวปลีนั้น

ปลูกงาช่วยป้องกันไส้เดือนฝอยให้กับมะเขือ มะเขือเทศ

ปลูกมะเขือเทศแซมระหว่างแถวของกะหล่ำปลี ช่วยป้องกันหนอนใยผักได้บ้าง

ปลูกผักสลัดที่แมลงไม่ชอบกินรอบแปลงผักอื่นๆ ช่วยป้องกันแมลงไม่ให้เข้าไปทำลาย

ปลูกมันฝรั่งร่วมกับหัวหอม ถั่ว ถั่วเหลือง มะเขือเทศ หรือข้าวโพด จะพบปัญหาหนอนเจาะหัวมันฝรั่งน้อยลง

ถ้าวิธีนี้สามารถใช้งานได้จริง น่าจะมีประโยชน์มาก เหลือเพียงแต่ต้องลองทำดู


http://www.joezine.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/06/2017 6:22 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/01/2011 9:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การปลูกพืชแซมในไร่มันสำปะหลัง










จากการสังเกตการปลูกพืชแซมในไร่มันสำปะหลัง ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เราพบว่ามีเกษตรกรส่วนหนึ่ง ที่ประกอบอาชีพการปลูกมันสำปะหลัง โดยในสภาพพื้นที่ไร่ จะมีเกษตรกรปลูกพืชแซมในไร่มันสำปะหลัง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะอยู่ที่การตัดสินใจหรือวัตถุประสงค์ของเกษตรกรว่าจะปลูกพืชแซมนั้นเพื่ออะไร หากจะปลูกเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน จำเป็นต้องใช้พืชตระกูลถั่วเป็นพืชร่วมในระบบและซากของพืชตระกูลถั่วจะต้องมีการไถกลบลงไปในดิน หรือทิ้งซากพืชไว้คลุมดินในพื้นที่ปลูก

แปลงปลูกมันสำปะหลังที่เคยใช้ปอเทืองปลูกเป็นพืชแซมที่อ.ขาณุวรลักษบุรี
บางรายก็ปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้จากการปลูกพืชแซม ได้แก่ข้าวโพดหวานหรือข้าวโพดข้าวเหนียว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาว่าการปลูกพืชแซมเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน หรือเพื่อศึกษาว่าพืชแซมชนิดใดที่ไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ลดลง หรือพืชแซมที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น หรือจะพูดง่ายๆก็คือการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

แปลงปลูกยางพาราแต่ใช้มันสำปะหลังเป็นพืชแซมก่อนที่ต้นยางจะโตที่อ.คลองลาน
จากการที่ผมได้สังเกตในขณะที่ออกไปปฏิบัติงานในพื้นที่ในอำเภอต่างๆที่มีการปลูกมันสำปะหลัง จึงเป็นโจทย์ที่จะต้องตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลา ว่า สิ่งที่เราพบมันไม่ใช่พืชแซมในไร่มันสำปะหลังแล้วละครับ มันเป็นการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเป็นพืชแซมในแปลงปลูกยางพารา มีจำนวนมากเสียด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองลาน โจทย์ที่ว่านั้นก็คือ การปลูกมันสำปะหลังในสวนยางพารา ผลผลิตของมันสำปะหลังต่อไร่จะได้เท่าไร และผลกระทบจากการปลูกมันสำปะหลังเช่นเชื้อโรคบางชนิดที่เกิดจากมันสำปะหลังจะไปสู่ต้นยางพาราได้หรือไม่ หรือเชื้อโรคบางชนิดที่เกิดจากต้นยางพาราจะส่งผลกระทบถึงมันสำปะหลังหรือไม่ นี่คือโจทย์ที่ผมต้องการคำตอบ

การปลูกมันสำปะหลังแซมในแปลงปลูกยางพาราที่อ.คลองลาน
จึงมีความจำเป็น ที่นักส่งเสริมการเกษตรในระดับปฏิบัติการ ที่ใกล้ชิดกับเกษตรกร จะต้องทำการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการไปด้วย มีการลงปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มเกษตรกร มีการถอดบทเรียนและสรุปบทเรียน ไว้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้นักส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบัน ได้มีการยกระดับ จากการส่งเสริมในระดับปกติ โดยพัฒนาเป็นนักวิชัยเชิงปฏิบัติการ มีเหตุมีผลที่จะต้องชี้แจงต่อระดับนโยบาย อย่างน้อยก็เป็นการสะท้อนมุมมอง หรือลองปรับเปลี่ยนมุมมองในตัวเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นยังจะช่วยให้นักส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่นานๆ จะได้มีพลังในการทำงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ต่อไป หรือเป็นการพัฒนาระบบข้อมูลจากข้อมูลเชิงตัวเลข ข้อมูลเชิงตาราง มาเป็นข้อมูลเชิงวิเคราะห์พื้นที่ และเกษตรกร บริบท และเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิต เป็นต้นนะครับ.......



http://gotoknow.org/blog/peekwong17/217973
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/01/2011 9:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกเผือกในนาข้าว หลีกเลี่ยงปัญหาราคาข้าวตกต่ำ





แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ด้วยวิธีการต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็น การประกันราคา การแทรกแซงราคา และการประกันภัยแล้ง เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นเกษตรกรเองก็ต้องหมั่นหาลู่ทางแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเองด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพและมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน เช่น นายสมนึก ขวัญเมือง เกษตรกรคนเก่ง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ที่หลีกเลี่ยงปัญหาราคาข้าวตกต่ำมาปลูกเผือกซึ่งได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า

สมนึกเล่าว่า ตนปลูกเผือกในนาข้าวมาเกือบ 20 ปี เนื่องจากเผือกเป็นพืชหัวที่ดูแลง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงศัตรูพืชมารบกวน มีความต้องการน้ำและความชื้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่อุ้มน้ำได้มากเช่นเดียวกับข้าว ทำให้สามารถเพาะปลูกในผืนนาที่มีอยู่ได้ อีกทั้งได้ผลตอบแทนมากกว่าเมื่อเทียบกับการทำนา และที่สำคัญตลาดมีความต้องการมาก ผลิตได้เท่าไรก็ขายได้หมด

สมนึกบอกถึงวิธีการปลูกและดูแลเผือกว่า ก่อนปลูกจะไถดินตากไว้ 15-30 วัน แล้วไถย่อยดิน ยกร่องปลูกเป็นแถวๆ ห่างกันแถวละประมาณ 80 เซนติเมตร จากนั้นนำต้นกล้าทั้งที่เพาะพันธุ์เองและซื้อจากแหล่งเพาะพันธุ์มาปลูกในร่องที่เตรียมไว้ โดยเว้นระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 30 เซนติเมตร สำหรับต้นพันธุ์ที่เพาะเองนั้นจะนำหัวเผือกที่ได้จากการปลูกครั้งก่อนมาชำในถุงเพาะชำ รดน้ำวันละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก็สามารถนำต้นกล้ามาปลูกในแปลงปลูกได้

หลังจากปลูกได้ 3 เดือน เผือกจะเริ่มออกหัว ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงลำต้นและเร่งการออกหัว และขุดดินรอบๆ ต้นมาสุมไว้ที่โคนต้นซึ่งต้นเผือกจะออกหัวได้จำนวนมาก และอีก 2 เดือนต่อจากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 13-3-21 เพื่อบำรุงหัวเผือกให้มีขนาดใหญ่ ได้น้ำหนัก ทิ้งไว้ 1 เดือน หรือสังเกตเห็นว่าใบเผือกเล็กลง ใบที่อยู่ด่านล่างมีสีเหลือง เหลือใบยอด 2-3 ใบ จึงสามารถขุดหัวมาขายได้ ซึ่งแต่ละต้นจะได้หัวเฉลี่ย 2 กิโลกรัม ทั้งนี้ก่อนขุดเผือก 15 วัน จะไม่เอาน้ำเข้าแปลงหรือรดน้ำแปลงเพราะเผือกจะดูดซึมน้ำไว้มากทำให้เก็บไว้ไม่ได้นาน

สำหรับต้นทุนการผลิตทั้งค่าปุ๋ย ต้นกล้า และอุปกรณ์อื่นๆ เฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 20,000 บาท ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงเนื่องจากปัจจุบันราคาปุ๋ยยาฆ่าแมลง และอุปกรณ์ต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ปัจจุบันสมนึกปลูกเผือกบนพื้นที่ 60 ไร่ ต้องใช้เงินทุนร่วม 120,000 บาท ซึ่งเงินทุนส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จ.สระบุรี

ส่วนผลผลิตที่ได้จะมีพ่อค้ามารับซื้อกิโลกรัมละ 13-17 บาท แล้วแต่ราคาซื้อขายในตลาดในช่วงนั้นและคุณภาพของหัวเผือกที่ผลิตได้ ส่วนปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญคือโรคตากบ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือบริเวณใบจะมีจุดเล็กๆ สีดำแดง และจะค่อยๆ ขยายลุกลามไปทั่วใบ ทำให้ใบเหี่ยวไม่สามารถปรุงอาหารได้ และแห้งตายในที่สุด วิธีการสกัดการแพร่ระบาดของโรคจะใช้ยา "โบคุ่ม" ฉีดพ่นใบที่เกิดโรค ยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค และตัดใบที่เกิดโรคไปเผาทำลายเพื่อ ฆ่าเชื้อรา อย่างไรก็ตามแม้ว่าการปลูกเผือกจะต้องใช้ต้นเงินลงทุนสูงกว่าการทำนาแต่ผลตอบแทนก็ได้มากกว่า ที่นาของสมนึก จึงมักจะมีต้นเผือกโบกใบไปตามแรงลมมากกว่าที่จะเห็นรวงทองของต้นข้าว

สนใจศึกษาวิธีการปลูกเผือกในผืนนาติดต่อได้ที่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 3 ต.ตลาดน้อย อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี โทรศัพท์ 08-0444-3421


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
อ้างอิงจาก www.pandinthong.com
http://www.baac.or.th/content-news.php?content_id=011220&content_group_sub=0004&content_group=0003&inside=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©