-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปาล์น้ำมัน อ.หนองเสือ ปทุมธานี 6 ปี ไปได้สวย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปาล์น้ำมัน อ.หนองเสือ ปทุมธานี 6 ปี ไปได้สวย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/11/2010 5:53 am    ชื่อกระทู้: ปาล์น้ำมัน อ.หนองเสือ ปทุมธานี 6 ปี ไปได้สวย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอแรงหน่อย....ขอยืมมือ (เอาแต่มือ ..... หัว-ตัว-แขน-ขา ไม่เอา)

ช่วยค้นหากระทู้เก่า เรื่อง "ปาล์มน้ำมัน" ที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี แล้วก็อปมา
ให้หน่อย เพื่อจะได้เติมข้อมูลคืบหน้า


ลุงคิม (คนแก่ หลงๆ ลืมๆ) ครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/11/2010 1:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 10/11/2010 6:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





หากระทู้เก่าไม่เจอครับ เจอแต่ที่นี่ครับลุง
http://www.phtnet.org/news53/view-news.asp?nID=375

6 ปี พลิกสวนส้มร้างที่หนองเสือบทพิสูจน์ทุ่งรังสิตเหมาะปลูกปาล์ม
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 53

ย้อนไปเมื่อปี 2547 หลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้กรม
พัฒนาที่ดิน ดำเนินการหาทางพัฒนาสวนส้มร้างนับแสนไร่ที่ทุ่งรังสิต และอ.หนอง
เสือ จ.ปทุมธานี ในที่สุดกรมพัฒนาที่ดิน ก็ได้วางรูปแบบ (Model) การพัฒนาสวน
ส้มร้างรังสิตสร้างไว้ 2 รูปแบบคือ พัฒนาที่ดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน และการทำการ
เกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งปรากฏว่า การปลูกปาล์มภายใต้
โครงการทดสอบการปลูกปาล์มน้ำมัน ที่นำร่องในสวนส้มร้างของ นายจรัล พุดซ้อน
ที่หมู่ 2 ต.ศาลาครุ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี (คลองสิบสี่) และต่อมาได้ทดลอง
ปลูกในแปลงเกษตรรายอื่นในพื้นที่ราว 200 ไร่ มีเกษตรกรร่วมโครงการ 20 คน
ตั้งแต่ปี 2547 เน้นปาล์มน้ำมันสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี-2


เวลาผ่านไป 6 ปีแล้วปรากฏว่า ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในสวนส้มร้างที่ อ.หนองเสือให้ผล
ผลิตแล้วอยู่ที่ไร่ 4.5-4.8 ตัน/ปี ถือว่าให้ผลผลิตค่อนข้างดี และมีอัตราเปอร์เซ็นต์
น้ำมันในผลปาล์ม 21-23% ลำต้นปาล์มอายุ 5 ปี มีขนาด 2 คนล้อมโอบ ที่พิเศษ
อีกอย่างสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทุก 20 วัน ถือว่าดีกว่าในพื้นที่ของภาคใต้และ
ภาคตะวันออกที่มีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 2.8 ตันต่อปี มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันเพียง
16-17% เท่านั้น และจากความสำเร็จในแปลงทดสอบการปลูกปาล์มน้ำมันดังกล่าว
ทำให้ จ.ปทุมธานีร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปทุมธานี ได้ต่อยอด
ดำเนินโครงการนำร่องปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตพลังงานทดแทน และได้เริ่มแล้ว
เมื่อ 8 เดือนก่อน

นางจำรูญ จันทร์นวล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักเกษตรจังหวัด
ปทุมธานี ซึ่งรับผิดชอบโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มในสวนส้มร้างใน จ.ปทุมธานี
กล่าวว่า ผลจากการติดตามโครงทดสอบการปลูกปาล์มน้ำมันที่ อ.หนองเสือนั้น พบ
ว่า ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก เกษตรกรที่ร่วมโครงการตั้งแต่แรก ต้นปาล์ม
น้ำมันออกผลผลิตที่สูงมากเฉลี่ยตกไร่ละ 4.4 ตันต่อปี ถือว่ามากกว่าภาคใต้และ
ภาคตะวันออก เนื่องจากพื้นที่ทุ่งรังสิต และ อ.หนองเสือ นั้นมีระบบน้ำที่สมบูรณ์นั่นเอง

"ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการน้ำสูง ที่หนองเสือมีระบบชลประทานที่ดี ที่สำคัญไร่ส้มนั้น
เกษตรกรทำร่องข้างๆ มีน้ำตลอดเวลา ที่สำคัญคนที่เคยปลูกส้มมาแล้ว ถือว่าสุด
ยอดแล้ว เพราะสวนส้มต้องดูแลเป็นอย่างดี เมื่อเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันถือว่าง่าย
มากสำหรับคนเคยทำสวนส้มมาก่อน ตรงนี้ที่ทำให้ต้นปาล์มงอกงาม ให้ผลผลิตดี
เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง เกษตรกรปลูกได้เพียง 2.8 เดือนสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว
เดิมที 20 วันเก็บเกี่ยวครั้งหนึ่ง ตอนนี้ 15 วันเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 ครั้ง โดยมีบริษัท
จาก จ.ชลบุรีเป็นผู้รับซื้อ ปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 5 บาท" นางจำรูญ กล่าว

ส่วนการดำเนินโครงการนำร่องปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตพลังงานนั้น นางจำรูญ บอก
ว่า ใช้พื้นที่ 3,000 ไร่ มีเกษตรกรร่วมโครงการราว 300 คน โดยสำนักเกษตร
จังหวัดปทุมธานีจะเป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำให้ความรู้ จัดฝึกอบรม สัมมนา รวมถึงหา
ตลาดให้ด้วย อย่างปัจจุบันมีบริษัท สุขสมบูรณ์ จำกัด จาก จ.ชลบุรี เป็นผู้รับซื้อจาก
เกษตรกร นอกจากนี้แล้ว อบจ.ปทุมธานี พาไปดูงานในพื้นที่ภาคอื่นด้วย

"จริงๆ ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี เกษตรกรชาวสวนส้มเก่าหันมาปลูกปาล์มจำนวนมากกว่า
ที่เราส่งเสริมอีก ตอนนี้ประมาณการว่ามีการปลูกปาล์มน้ำมันเองที่ทุ่งรังสิต และที่ อ.
หนองเสือ ไปแล้วประมาณ 7,000 ไร่ อีก 3 ปีขข้างหน้าอาจถึง 1 หมื่นไร่ ถึงเวลา
นั้นจะมีเงินสะพัดเข้าจ.ปทุมธานีมหาศาล จังหวัดและ อบจ.กำลังมีแผนว่า ต่อไปอาจ
มีโรงสกัดน้ำมันปาล์ม และโรงกลั่นผลิตไบโอดีเซลชุมชนขึ้นมาเพื่อบริการในชุมชน
กันเอง" นางจำรูญกล่าว

ด้าน นายอักษร น้อยสว่าง ประธานชมรมผู้ปลูกปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต อ.หนองเสือ จ.
ปทุมธานี บอกว่า เดิมทีเกษตรกรใน อ.หนองเสือและในทุ่งรังสิตประกอบอาชีพการ
ทำสวนส้ม แต่เนื่องจากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเกิดปัญหาการระบาดของโรคกรีนนิ่ง
(greening) ขั้นรุนแรง ทำให้เกษตรกรบางส่วนจำเป็นต้องอพยพไปปลูกส้มใน
พื้นที่อื่น ขณะที่เกษตรกรอีกส่วนหนึ่งยังอยู่ในพื้นที่ปลูกพืชอย่างอื่น จนกระทั่งเมื่อ
ปี 2547 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำ "โครงการส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้น
เศรษฐกิจในพื้นที่สวนส้มร้างปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยว เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ทุ่ง
รังสิต” จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ เริ่มแรกจาก 20 ไร่ และขยายจนวันนี้ 37 ไร่

"การปลูกปาล์มของผมยังคงลักษณะเป็นร่องสวนแบบสวนส้ม แต่มีการปรับแต่ง
สภาพดินและร่องสวนให้เหมาะสมกับต้นปาล์มน้ำมันที่ระยะปลูก 9x9 เมตร โดยใช้
พันธุ์ปาล์มลูกผสมเทเนร่า และในช่วง 1-2 ปีแรกที่ปลูกได้ทำแปลงผัก ข้าวโพด
และถั่วแซมระหว่างแถวปาล์มเพื่อเป็นรายได้เสริมด้วย ปัจจุบันต้นปาล์มที่ปลูกไว้
อายุ 5 ปีให้ผลผลิตแล้วเฉลี่ย 6.7 ตัน/ไร่ และแปลงของเกษตรกรในพื้นที่ใกล้
เคียงก็ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.4 ตัน/ไร่เช่นกัน" นายอักษร กล่าว

การเนินโครงการนำร่องปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตพลังงานของ จ.ปทุมธานีและ อบ
จ.ปทุมธานี ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพลังงาน ซึ่งก่อนหน้า
นี้ ดร.พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการบรรยาย
พิเศษ “จะจัดการกับอุปทานของพลังงานอย่างไร” ณ อาคารปฏิบัติการคณะ
เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการใช้
น้ำมัน 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้เองเพียงแค่ 15-
20% เท่านั้น

ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงมีแผนพัฒนาพลังงานทดแทนภายใน 15 ปี (พ.ศ.2551
-2565) เพื่อทดแทนให้ได้ 20% คิดเป็นมูลค่า 3 แสนล้านบาทต่อปี โดยจะมีการ
พัฒนาพลังงานทดแทนหลากหลายรูปแบบที่สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม และ
ภาคส่วนต่างๆ อาทิ เอทานอล ไบโอดีเซลและพลังงานทดแทนอื่นๆ จะเห็นได้ว่าที่
ผ่านมาได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม 2.5 ล้านไร่
ภายใน 5 ปี เพื่อรองรับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งในปี 2553 กระทรวง
พลังงานตั้งเป้าความต้องการใช้น้ำมันปาล์มวันละ 2.5 ล้านลิตร และคาดว่า 4-5 ปี
จะขยับไปอยู่ที่ 4 ล้านลิตรต่อวัน อย่างไรก็ตาม หากอนาคตหากจะผลักดันให้ผลิต
ไบโอดีเซลเป็น บี 10 จะต้องการใช้นำมันปาล์มจากปาล์มน้ำมันถึงวันละ 8.5 ล้านลิตร

เป็นบทพิสูจน์เป็นอย่างดีว่า ปัจจุบันในพื้นที่ภาคกลางอีกหลายจังหวัด ที่ระบบที่
สมบูรณ์สามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่เคย
ขาดทุน อาจลองหันมาปลูกปาล์มน้ำนันโดยเอาพื้นที่ทุ่งรังสิต-อ.หนองเสือเป็นกรณีศึกษา

ปลูกเกิน 1,000 ไร่ ควรมีโรงสกัดในชุมชน
นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญ
โภคภัณฑ์ กล่าวว่า การส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันของรัฐบาลนั้น เน้น
พื้นที่ปลูก แต่ไม่มีโรงสกัดน้ำมันปาล์มมารองรับจะทำให้เกษตรกรต้องประสบปัญหา
เรื่องต้นทุนการขนส่งสูง ควรมีโรงสกัดน้ำมันระดับชุมชนขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกของ
เกษตรกรในการมีนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาปาล์มน้ำมันเป็นไบโอดีเซลอย่างยั่งยืน

"ตอนนี้บริษัท เกรทอะโกร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทด้านงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
ด้านจักรกลการเกษตรในสังกัดของกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ได้ร่วมกับศูนย์
เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือเอ็มเทค ได้พัฒนาโรงสกัดน้ำมันปาล์มแบบ
ไม่ใช้ไอน้ำขนาด 1.5 ต้นทะลายปาล์มต่อชั่วโมง เพื่อป็นทางเลือกของเกษตรกรผู้
ปลูกปาล์มน้ำมันแหล่งใหม่ ได้มีโรงสกัดน้ำมันปาล์มระดับชุมชนในพื้นที่ ช่วยให้
เกษตรกรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งผลผลิตระยะทางไกลๆ ตอนนี้โรงงานต้น
แบบอยู่ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสาธิต
การผลิตไบโอดีเซลสำหรับชุมชนแบบครบวงจรของเอ็มเทค และอยู่ใกล้กับพื้นที่
ปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิตด้วย" นายมนตรี กล่าว

สำหรับโรงสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำระดับชุมชนที่ว่านี้ นายมนตรี บอกว่า
สามารถรองรับพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันแห่งใหม่ที่มีขนาดพื้นที่ประมาณ 1,000-
3,000 ไร่ โดยน้ำมันที่สกัดได้เป็นน้ำมันเกรดเอ ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำเสีย ผลพลอย
ได้จากการสกัดสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้ และที่สำคัญสามารถบริหาร
จัดการง่าย ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ จึงเป็นนวัตกรรมที่เหมาะกับกลุ่มเกษตรกรจะ
ลงทุน โดยการติดตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์มไม่ใช้ไอน้ำฯ 1 เครื่อง ต้องลงทั้งสิ้น 8
ล้านบาท คาดว่าเกษตรกรจะสามารถคืนทุนได้ใน 3 ปี ปัจจุบันได้รับความสนใจ
จากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มและมีการจองแล้วทั้งสิ้น 8 โรง


ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 11 ตุลาคม 2553
http://www.komchadluek.net/detail/20101011/75879/6ปี พลิกสวน
ส้มร้างที่หนองเสือบทพิสูจน์ทุ่งรังสิตเหมาะปลูก

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 10/11/2010 6:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.thaienv.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=241&Itemid=37


วันที่ “คนหนองเสือ” เดินตาม “พ่อ”
ปลูก “ปาล์มน้ำมัน” พลังงานทดแทน

ตามรอย พระบาทพ่อแบบพอเพียง

“น้ำมันสมัยใหม่แพง ไม่รู้ทำไมมันแพงแต่ก็ยังเป็นสมัยนี้อะไร ๆ ก็แพงขึ้นทุกที จะ
ให้น้ำมันถูกลงมาก็ลำบาก นอกจากหาวิธีที่จะทำน้ำมันราคาถูก ซึ่งก็ทำได้เหมือน
กัน ถูกกว่านิดหน่อย คือแทนที่จะใช้น้ำมันที่มีออกเทน 95 ก็ใช้ออกเทน 91 แล้ว
เติมแอลกอฮอล์เข้าไปนิดหนึ่ง ก็เป็นออกเทน 95 อาจเป็นได้ว่ารถจะวิ่งไม่เร็วก็ดี
เหมือนกัน รถไม่วิ่งเร็วเกินไป รถจะได้ไม่ชนมากเกินไป ก็จะช่วยประหยัดทั้งหมดนี้
เป็นความคิดที่ให้พอเพียง”

คือ ตอนหนึ่งของพระราชดำรัส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ผู้เข้า
เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 5 ธันวาคม 2543

ความจริงก่อนหน้านี้เมื่อปี 2528 มีโครงการพัฒนาพลังงานทดแทนโดยนำน้ำมัน
ปาล์มมาใช้แทนน้ำมันดีเซลแล้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล็มขนาดเล็ก ที่สหกรณ์นิคม
อ่าวลึก จ.กระบี่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
บริสุทธิ์ขนาดเล็กกำลังผลิตวันละ 110 ลิตร ที่ศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส

การทดลองใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 โดยทดลองใช้กับรถยนต์ดีเซลของกองงานส่วน
พระองค์ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ต่อมา วันที่ 9 เมษายน 2544 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีเป็นผู้แทน
พระองค์ ยื่นจดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ในพระปรมาภิไธยของพระ
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายใต้ชื่อ “การใช้น้ำมันปาล็มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อ
เพลิงเครื่องยนต์ดีเซล” สิทธิบัตรเลขที่ 10764

และปีเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ จัดส่งผลงานในพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมแสดงในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่กรุงบ
รัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ส่งผลให้ผลงานการคิดค้น 3 ผลงานของพระองค์ คือ
ทฤษฎีใหม่ โครงการฝนหลวง และโครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมัน
ปาล์ม ได้รับเหรียญทองประกาศนียบัตรสดุดีเทิดพระเกียรติคุณ

ไปที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี คงจำกันว่าเป็นแหล่งปลูก “ส้มเขียวหวาน” ขึ้นเชื่ออีก
แห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่วันนี้สวนส้มกำลังเป็นตำนาน เพราะเกิดโรคระบาด
ลุกลามไปทั่วอำเภอ จนวันนี้ไม่มีต้นส้มเขียวหวานให้เห็นอีกต่อไป

“เมฆินทร์ เมธาวิกูล” ผู้ว่าราชการจังหวัด ตระหนักถึงปัญหาและมองหาพืชเศรษฐกิจ
ตัวใหม่ที่จะช่วยให้ชาวสวนอยู่ได้ ไม่เดือดร้อน มีหลักประกันชีวิตที่พอเพียง ซึ่งในที่
สุดก็มาลงตัวที่ “ปาล์มน้ำมัน” พืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่น ทั้ง
ด้านการผลิตที่จ้นทุนต่ำ และการตลาดที่ราคาดี อีกทั้งรัฐบาลยังมียุทธศาสตร์พืช
พลังงานทดแทน โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อผลิต “ไบ
โอดีเซล” กำหนดว่าภายในปี 2552 จะผลิตไบโอดีเซลใช้เองงง 8.5 ล้านลิตรต่อ
วัน หรือประมาณ 3,060 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นพื้นที่ต้องปลูกปาล์มเพิ่มอีก 5 ล้าน
ไร่ จากที่มีอยู่แล้ว 2 ล้านไร่ แต่น้ำมันปาล์มถูกรนำไปใช้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค
ชนิดอื่นด้วย จึงมีเหลืออยู่ในตลาดน้อย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีเป้าหมายขยายพื้นที่ปลูกปาล์มปี 2548-2552 โดย
ปลูกในประเทศ 4 ล้านไร่ ประเทศเพื่อนบ้าน 1 ล้านไร่ โดยให้กรมส่งเสริมการ
เกษตร จัดหาพันธุ์มาปลูกในแปลงทดลองและเสนอโครงการมายัง “เมฆินทร์” ซึ่ง
ได้ประสาน “ภานุวัฒน์ เจนประเสริฐ” นายอำเภอหนองเสือ และ “พินิจ สระ
บุรินทร์” เกษตรอำเภอหนองเสือ จัดหากลุ่มปลูกปาล์มน้ำมันนำร่องทดแทนสวนส้ม
10 แปลง 100 ไร่ ต่อมาแผนงานใน จ.อ่างทอง มีปัญหาเรื่องที่ดิน จึงโอนเป้า
หมาย 11 รายมายัง จ.ปทุมธานี ทำให้มีผู้ปลูกรวม 21 ราย

ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดหาสายพันธุ์คอสตาริก้านำเข้า มาจัดสรรให้เกษตร
ปลูก 22 ต้น ซึ่งล่าสุดมีหลายแปลงที่ให้ผลผลิตแล้ว เช่น แปลงของ “อักษร น้อยสว่าง”

“อักษร” ซึ่งอาศัยอยู่ที่เลขที่ 24 หมู่ 5 ต.บึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี กล่าว
ว่า ปี 2547 ได้รับคำแนะนำจากเกษตรอำเภอว่าทางภาครัฐกำลังหาแปลงทดสอบ
ปลูกปาล์มน้ำมัน จึงตอบตกลงเข้าร่วมโครงการ ใช้เวลาประมาณ 15 เดือนก็ให้ผล
ผลิต โดยช่วงที่ยังไม่ได้ผลผลิตก็ปลูกกล้วยน้ำว้าและพืชล้มลุกอื่นเป็นรายได้เสริม
ไปก่อน จนถึงขณะนี้เริ่มมีรายได้จากการเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน ราคากิโลกรัมละ
5.10 บาทรวมค่าขนส่งแล้วถือว่าอนาคตยังไปได้อีกไกล หากภาครัฐให้การสนับ
สนุนเต็มที่

“เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2550 นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ มาเปิดงานทดสอบปาล์มน้ำมันพืชพลังงานทดแทน วันที่ 13 มิถุนายนที่
ผ่านนี้ มีผู้มาดูงานพื้นที่โครงการทดสอบ 70-80 คน ล่าสุดมาดูงานในแปลงของผม
ไม่เว้นแต่ละวัน”

“อักษร” กล่าวว่า หากเปรียบเทียบกันแล้ว ต้นทุนการผลิตส้มสูงกว่ามาก เพราะต้อง
ใช้ทั้งปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง แรงงานจำนวนมาก แต่ปาล์มนั้นไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมี ใส่
แต่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีบ้างเป็นครั้งคราวตามตาราง

“ตั้งแต่ปี 2547 – 2550 เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3 รุ่นแล้ว ส่วนตลาดไม่ต้องห่วง มี
เอกชนมารับซื้อถึงสวน โดยแปลงของผมจะเป็นจุดรับซื้อของเกษตรกรทุกแปลง”

“อักษร” ยังกล่าวเชิญชวนเกษตรกรให้เข้าร่วมโครงการให้มาก เพราะในอนาคต
หนองเสืออาจจะเป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันรายใหญ่ของประเทศก็ได้ และสร้างชื่อ
เสียงให้กับอำเภอเหมือนส้มเขียวหวานอีกทั้งน่าจะเป็นอาชีพหลักที่มั่นคงได้

นับเป็นพืชพลังงานทดแทนที่น่าจะทำให้ชาวหนองเสือลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง เพราะ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้สร้างศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ ที่
ต.หนองหมู อ.วิหารแดง จ.สระบุรี เพื่อวิจัยพลังงานพืชทดแทนหรือไบโอดีเซล หาก
ยุทธศาสตร์นี้ประสบความสำเร็จ การนำเข้าน้ำมันก็จะลดลงไปด้วย

อีกหนึ่งตัวอย่างของการ “เดินตามพ่อ” ที่จะไม่มีวันจนอีกต่อไป


กำพล วงศ์สุทธา
หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
ฉบับวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พุทธศักราช 2550
หน้า 8

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

http://www.siamagro.com/show_grouppic.php?id=19









----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

http://www.vcharkarn.com/vcafe/148839

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 10/11/2010 1:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เปิดผลศึกษาปลูกปาล์มทุ่งรังสิต

พบพื้นที่มีศักยภาพ/แนะประกาศเป็นเขตส่งเสริมก่อนกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร

นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการ
เกษตรได้ทำการศึกษาพื้นที่ซึ่งเคยมีการปลูกส้มมาก่อน เพื่อดูว่า เหมาะสำหรับเป็น
พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีศักยภาพ อีกทั้งยังมีระบบชลประทานที่พร้อมรองรับ โดย
ปัจจุบันต้นปาล์มน้ำมันที่ทุ่งรังสิตซึ่งอายุ 5 ปีให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.3 ตัน/ไร่/ปี ขณะที่
ผลผลิตเฉลี่ยปาล์มของประเทศไทยอยู่ที่ 2.7 ตัน/ไร่ เท่านั้น

ทั้งนี้ จะมีการรวบรวมข้อมูลและตัวเลขผลผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ทุ่ง
รังสิต หากพบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ คาดว่าจะมีการเสนอต่อกระทรวงเกษตรฯ เพื่อ
ให้ประกาศพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต เป็นเขตส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันมุ่งสู่การ
ผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ในอนาคต ซึ่งจะทำให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว
สามารถ ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ในด้านวิชาการ เงินทุน และการประกัน
ราคาขั้นต่ำ โดยขณะนี้มีเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งรังสิตที่ทำการปลูกปาล์มน้ำมันในสวน
ส้มร้างมากกว่า 12,000 ไร่ และหากในอนาคตมีการประกาศรับรองพื้นที่ปลูกปาล์ม
น้ำมันทุ่งรังสิตเป็นเขตส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันสู่การผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้
คาดว่า จะมีเกษตรกรแห่ปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่า 50,000 ไร่

"ทุ่งรังสิต เป็นเขตที่มีระบบชลประทานที่ดีที่สุดของประเทศ เหมาะกับการทำการ
เกษตรและปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกส้มเพราะให้ผล
ตอบแทนดี กระทั่งเกิดโรคระบาดขึ้นรุนแรงสร้างความเสียหายอย่างหนักและเป็น
เหตุให้สวนส้มรังสิตต้องเลิกปลูกไป กระทั่งปี 2547 เกษตรกรเหล่านั้นได้เข้าร่วม
โครงการทดสอบการปลูกปาล์มน้ำมันกับกรมส่งเสริม การเกษตร พบว่า ปาล์มน้ำมัน
ที่ปลูกไว้ให้ผลผลิตดีและเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่เขตส่ง
เสริมการปลูกปาล์มน้ำมันตามประกาศของกระทรวงเกษตรฯ เช่นเดียวกับภาคใต้
และภาคตะวันออก เป็นเหตุให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในทุ่งรังสิตต้องเสีย
โอกาสต่างๆ ทั้งที่มีศักยภาพและระบบชลประทานที่พร้อมรองรับ ถ้าไม่เร่งดำเนิน
การ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่พื้นที่ทุ่งรังสิตซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรที่มี ศักยภาพ จะถูก
แทนที่ด้วยโครงการบ้านจัดสรรในอนาคต" นายอรรถกล่าว


http://www.naewna.com/news.asp?ID=235677
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 06/03/2011 8:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ ให้ผลตอบแทนเท่า 3 ไร่


ปาล์มน้ำมัน” จัดเป็นพืชยืน ต้นที่มีอายุการให้ผลผลิตอย่างยาวนาน 20-25 ปี ดังนั้น
การคัดเลือกสายพันธุ์, การเตรียมการปลูก และการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในช่วง
แรกนับว่ามีความสำคัญที่สุด ต้นปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอนั้นขึ้นอยู่
กับการเตรียมพื้นที่ และการจัดการสวนในระยะเริ่มปลูกสร้างสวน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้น
ปาล์มอยู่ในระยะอ่อนแอ ดังนั้นการปฏิบัติที่ถูกวิธีในการปลูก และการดูแลรักษา จะเป็น
แนวทางอันหนึ่งที่ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิต และลดค่าใช้จ่ายในการผลิตในระยะยาวได้

ปัจจุบันปาล์มน้ำมันได้มีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังภาคต่าง ๆ ของประเทไทยอย่างกว้าง
ขวาง ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือแม้แต่พื้นที่
ลุ่มภาคกลางโดยเฉพาะบริเวณทุ่งหลวงรังสิต ได้มีการใช้พื้นที่ที่เคยปลูกส้มเขียวหวาน
มาก่อนมาปลูกปาล์มน้ำมันกันมากขึ้นในขณะนี้

มีข้อมูลว่ามีการปลูกปาล์มน้ำมันในทุ่งรังสิตมา 6 ปีแล้ว ซึ่งให้ผลผลิตมากกว่า
6,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คุณวิสันต์ สินธุนนท์ เกษตรกรดีเด่นภาคใต้ ปี 2540 ได้
นำร่องใช้พื้นที่ 1,000 ไร่ ใช้ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ ทนแล้งปานกลางและมีคุณสมบัติ
พิเศษ คือปลูกได้ในพื้นที่ที่มีแสงน้อยและอุณหภูมิต่ำ ในพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิต ตั้งแต่
กลางปี พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นต้นแบบการปลูกปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ใน
พื้นที่เหมาะสมเพื่อผลประโยชน์ ตอบแทนและความคุ้มค่าสูงสุดในอาชีพ โดยมีเป้า
หมายใช้พื้นที่ปลูก 1 ไร่ ให้ผลตอบแทนมากเท่ากับ 3 ไร่ โดยปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้
ผลผลิตสูง 5-6 ตันต่อไร่ต่อปี เมื่ออายุ 8 ปี, ผลผลิตสม่ำเสมอ ติดทะลายดก,
น้ำหนักทะลายเฉลี่ย 18-22 กิโลกรัม,


ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันมากกว่า 30%
การคัดเลือกสายพันธุ์ และต้นกล้าปาล์มน้ำมัน อายุของต้นกล้าปาล์มที่ใช้ปลูก ควรมี
อายุ 10-18 เดือน และต้องผ่านการคัดต้นกล้าที่ผิดปกติทิ้ง เช่น ต้นเตี้ย และแคระ
แกร็น ทางใบทำมุมที่แคบกว่าปกติ ทางใบสั้น ต้นผอมชะลูด ซึ่งการดูแลรักษาต้นกล้า
ปาล์มน้ำมันในแปลงเพาะมีความสำคัญมากในการผลิตปาล์มน้ำมัน ถ้ามีการนำต้นกล้า
ปาล์มที่ไม่แข็งแรงและไม่สมบูรณ์ไปปลูกจะให้ผลผลิตช้า และผลผลิตที่ได้จะต่ำใน
ระยะยาว ดังนั้นการพิจารณาแหล่งพันธุ์ และแหล่งเพาะกล้าจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งใน
การทำสวนปาล์มน้ำมันให้ประสบความสำเร็จ

ไม่ควรใช้ต้นกล้าที่มีอายุต่ำกว่า 10 เดือนไปปลูก เพราะการใช้ต้นกล้าอายุน้อยจะทำ
ให้มีอัตราการผิดปกติของต้นปาล์มในแปลงสูง และให้ผลผลิตต่ำ ควรเลือกใช้ต้นกล้า
ปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 18 เดือนไปปลูกทั้งนี้ เพราะจะทำให้ต้นปาล์มตกผลเร็ว และให้
ผลผลิตถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วกว่าใช้ต้นกล้าปกติเป็นจุดที่เกษตรกรควรให้ความสำคัญ
เพราะจะเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=673&contentID=124658
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©