-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา ....
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 15, 16, 17  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/10/2010 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แผลงๆ แต่สร้างสรรค์ + คิดนอกกรอบ.....


ประมาณฤดูกาลตัดอ้อยที่ผ่านมา ย่าน อ.ท่ามะกา กาญจนบุรี มีโอกาสไปนั่งกิน
ข้าวเที่ยงกับสมาชิกที่เป็นไร่อ้อย นัยว่าไปดูผลงานส่งเสริมที่ลุงคิมเคยแนะนำ ท่าม
กลางบรรยากาศความสะใจที่ปีนี้ อ้อยตอ 6 ได้เฉลี่ย 25 ตัน/ไร่ ที่คุยกันอย่างหนัก
ก็แปลงที่ได้ 29 ตัน/ไร่ นั่นแหละว่า มันเป็นไปได้อย่างไร ?

เท่าที่สังเกตุอย่างพินิจพิเคราะห์ระหว่างแปลงที่ได้ 22 ตัน กับแปลงที่ได้ 29 ตัน
แล้ว มีจุดน่าสังเกตุอย่างหนึ่ง คือ...

อ้อยแปลง 29 ตัน ส่วนใหญ่หรือจะ 80% เลยก็ว่าได้เป็น "อ้อยล้ม" เรียกว่าล้ม
ลงระนาบกับพื้นเลยนั่นแหละ ลักษณะของลำต้นอ้อยที่ล้ม จะมีรากใหม่งอกออก
มาตามข้อแทบทุกข้อที่ข้อสัมผัสกิน เมื่อดูส่วนของลำที่สัมผัสดินก็จะรู้ว่าวันที่อ้อย
ต้นนั้นล้มเขามีความสูงเท่าไร เพราะหลังจากล้มแล้วส่วนยอดจะกระดกขึ้น อันนี้
เป็นธรรมชาติของต้นพืชทกชนิดอยู่แล้วที่ต้องชี้ขึ้นฟ้าเพื่อรับแสงแดด ประเด็นอยู่
ที่ ส่วนยอดที่ชี้ขึ้นฟ้านี้ได้กลายเป็นลำต้นใหม่ มีความสูงหรือความยาวมากกว่าต้น
ปกติหรือต้นที่ไม่ล้ม

สรุป :
อ้อยต้นล้มจะมาความยาวของลำต้นมากกว่าอ้อยต้นไม่ล้มหรือตั้งปกติ 1.5-2 ม.
ในขณะที่ขนาดลำต้น และส่วนอื่นๆ เหมือนกัน....นี่ใช่หรือไม่ คือเหตุผลที่ได้ผล
ผลิตเพิ่มขึ้น

ถ้างั้นทำอ้อยล้มซะเลยดีไหม กับตอนตัดจะมีปัญหาอะไรหรือเปล่า อันนี้ถามคน
ปลูกอ้อยนะ

ลุงคิม (ไม่มีอ้อย) ครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2010 5:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/10/2010 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รถตัดอ้อย ESM Canethumper

http://www.youtube.com/watch?v=b99B9NA8IgQ




เครื่องปลูกอ้อย ร่องเดี่ยว ร่องคู่

http://www.truck2hand.com/index.php?module=InnoForum&func=list&ctrl=posts&id=17672



รถตัดอ้อยแบบนั่งขับ

http://en.kendincos.net/video-npjnjnpp-----.html
en.kendincos.net/video-npjnjnpp-----.html -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/10/2010 9:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 15/10/2010 9:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้อยล้มมีปัญหา กับการตัดครับ ลุง ทั้ง รถตัด หรือ คน ตัด
รถตัดถ้าล้ม ขวาง ร่องอ้อย จะเกิดการตัดขาดไม่สามารถดูดขึ้นรถได้หมด
คนตัดจะไม่ชอบตัดเพราะมันดึงยากถ้าอ้อยออกรากติดกับดิน


อ้อยล้มถ้าติดดินแล้วออกรากส่วนมากจะน้ำหนักเบานะครับ แล้วถ้าล้มทับกันมาก จะเกิดการตายเกิดขึ้น เพราะการทับกัน

อันนี้ผมออกตัวก่อนนะครับ นี่ข้อมูลส่วนตัวเพื่อมีคน มาให้ข้อมูล อีกแบบ แบ่งปันกันครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/10/2010 9:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิธีการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่ ลงทุนต่ำ

หัวใจของการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่ ลงทุนต่ำ

หัวใจของการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่ ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ที่ทำหน้าที่
สัมพันธ์กันเป็นวงจร เพื่อดูแลหล่อเลี้ยงต้นอ้อยให้เติบโตสมบูรณ์ คือ

1. ดิน
2. พันธุ์อ้อย
3. น้ำ
4. ปุ๋ย

โดยมีวิธีการปลูกดังนี้
- การเตรียมดิน
เนื่องจากดินเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของอ้อย การศึกษาเรื่องของดินอย่างลึก
ซึ้งถึงแก่น ทำให้ทราบว่า ดินที่อ้อยต้องการ จะต้องมีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ
น้ำ อากาศ อินทรีย์วัตถุ และแร่ธาตุ ดังนั้น การเตรียมดินจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุง
ดิน, ซิลิคอน ผสมกันในอัตราที่เหมาะสม เพื่อทำให้ดินมีอินทรีย์วัตถุมากขึ้น สภาพ
พื้นที่ที่ใช้ปลูกอ้อยสามารถระบายน้ำได้ดี มีแหล่งน้ำที่สะอาดอยู่ในมาตรฐาน หรือ
เป็นแหล่งน้ำชลประทาน (ในกรณีใช้น้ำหยด)

การเตรียมดิน
เนื่องจากอ้อยเป็นพืชอายุยืน รากหยั่งลึกมาก และเมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้วสามารถไว้
ตอหรือเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง ตลอด
จนความยาวนานของการไว้ตอ นอกจากจะขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพลมฟ้าอากาศ
แล้ว การเตรียมดินนับว่ามีบทบาทสำคัญมาก ชาวไร่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ

การไถ
สำหรับการเตรียมพื้นที่ ซึ่งปลูกอ้อยอยู่แล้ว และต้องการรื้อตอเก่าเพื่อปลูกใหม่ก็
เริ่มต้นด้วยการเผาเศษที่เหลืออยู่บนดินโดยเร็วภายหลังการเก็บเกี่ยว เพราะขณะนั้น
ดินยังมีความชื้นพอที่จะปฏิบัติไถพรวนได้สะดวก ก่อนใช้ไถบุกเบิกรื้อตอเก่า ควรใช้
เครื่องไถระเบิดดินดาน (subsoiler) หรือไถสิ่ว (ripper) ไถแบบตาหมากรุกเพื่อ
ให้ดินนั้นเก็บน้ำไว้มากขึ้นภายหลังฝนตกและดินระบายน้ำได้ดีแล้ว ยังทำให้ราก
สามารถหยั่งลึกได้มากขึ้นอีกขณะเดียวกัน ถ้าพื้นดินอยู่ในสภาพที่ขาดน้ำก็จะเป็น
ทางให้อ้อยใช้น้ำใต้ดินได้อีกด้วย

เมื่อไถระเบิดดินชั้นล่างแล้วก็ตามด้วยไถจาน ๓ อีก ๓-๔ ครั้ง คือ ไถดะ ๑ ครั้ง
แล้ว ไถแปรอีก ๑-๒ ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและฤดูกาลที่ปลูก สำหรับการ
ปลูกต้นฝน อาจไม่จำเป็นต้องเตรียมดินให้ละเอียดมากนัก แต่ถ้าเป็นการปลูกปลาย
ฝน การเตรียมดินให้ละเอียดเป็นสิ่งจำเป็น การไถควรไถให้ลึกมาก ๆ เพื่อให้
สามารถเปิดร่องได้ลึกและปลูกได้ลึกด้วย

ข้อที่ต้องระวังในการเตรียมดินก็คือ ไถในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะวิธีง่ายที่สุด
ที่จะทราบว่าดินนั้นมีความชื้นพอเหมาะหรือไม่ก็คือเอาดินในชั้นที่จะมีการไถใส่ฝ่า
มือ แล้วกำพอแน่นแบมือออก ถ้าดินมีความชื้นพอเหมาะ จะจับกันเป็นก้อนใน
ลักษณะพร้อมที่จะแตกออกเมื่อมีอะไรมากระทบ

ดินที่มีความชื้นน้อยเกินไปก็จะแข็งมากไถลำบาก ถ้าดินมีความชื้นมากเกินไปก็จะ
จับกันเป็นก้อน นอกจากนี้ถ้าเป็นพื้นที่ลาดเอียง การปฏิบัติต่าง ๆ ในการเตรียมดิน
ต้องกระทำในทิศทางตั้งฉากกับความลาดเอียงเสมอ ทั้งนี้เพื่อช่วยลดการกร่อนของ
ดินเนื่องจากน้ำ

การปรับระดับ
เมื่อไถเสร็จแล้วควรปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบพอสมควร และให้มีความลาดเอียง
เล็กน้อยทางใดทางหนึ่งที่จะสะดวกต่อการให้น้ำและระบายน้ำ ในกรณีที่ปลูกโดย
อาศัยน้ำฝนการปรับระดับจะทำให้น้ำไหลช้าลงช่วยลดการชะกร่อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

ในที่บางแห่งซึ่งมีความลาดเอียงค่อนข้างมากอาจต้องทำคันดินกั้นน้ำเป็นตอน ๆ ตัด
ขวางทางลาดเอียง พร้อมทั้งมีร่องระบายน้ำด้วย ทั้งคันดินและร่องน้ำควรให้มีความ
ลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำไหลช้าลง บริเวณที่ลาดเอียงมากไม่ควรใช้ปลูกอ้อย

การยกร่อง
การยกร่องหรือการเปิดร่องสำหรับปลูกอ้อยเป็นสิ่งจำเป็น เพราะนอกจากจะสะดวก
แก่การปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การปลูก การให้น้ำและการระบายน้ำแล้ว ยังทำให้ปลูกได้
ลึกอีกด้วย การปลูกลึกช่วยให้อ้อยไม่ล้มง่าย ทนแล้งได้ดี และสามารถไว้ตอได้
นานกว่าการปลูกตื้น เครื่องยกร่องอาจเป็นผานหัวหมู หรือหางยกร่องซึ่งใช้สำหรับ
ยกร่องโดยเฉพาะแนวร่องที่ยกควรให้ตัดกับความลาดเอียงของพื้นที่ ระยะระหว่าง
ร่องประมาณ ๙๐-๑๔๐ เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้และวัตถุในการปลูก

- วิธีการปลูก แบบที่ 1
ก่อนอื่นจะต้องมีการคัดเลือกพันธุ์อ้อย พันธุ์ที่ควรเลือกต้องมีคุณสมบัติแตกกอดี มี
ความต้านทานต่อโรคสูง ให้ความหวานสูงและให้ผลผลิตต่อไร่สูงอีกด้วย เมื่อคัด
พันธุ์อ้อยได้แล้ว เราจะตัดส่วนที่เป็นข้อตาออกมาเพาะไว้ในถุงเพาะชำทีละถุง จน
ข้อตาเริ่มงอกเป็นหน่อและโตขึ้น เราก็จะคัดเลือกหน่ออีกครั้ง ใช้วิธีการปลูกด้วยข้อ
ตาโดยตัดห่างจากข้อตาด้านละ 2 นิ้ว 1 ถุงเพาะกล้า ใช้ 1 ข้อตา เมื่อกล้ามีความสูง
ประมาณ 15 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 30-45 วัน ก็นำลงปลูก ซึ่งก่อนปลูกให้
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นในอัตรา 2.5 กิโลกรัม/แถว (ต้องเป็นอินทรีย์คุณภาพสูงที่มี
ส่วนผสมสารเพิ่มผลผลิต Active ซิลิคอน) แล้วนำต้นกล้าออกจากถุง นำมาลง
ดินให้พอดีกับร่องอ้อย โดย 1 ร่อง สามารถลงอ้อยได้ 2 ต้น วางเป็นบล็อกๆ เรียงคู่
ขนานกันยาวตลอดร่องอ้อย แล้วจึงกลบดินให้แน่น แปลงปลูกจะมีขนาด 40 เมตร
x 40 เมตร (1ไร่) จำนวน 40 แถว โดย 1 แถวจะใช้กล้าจำนวน 1,600 ต้น หรือ
ใช้ทั้งหมดจำนวน 64,000 ต้นต่อไร่ หลังปลูก 2-3 วันใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ้นปุ๋ยน้ำต้องมี
คุณภาพสูงที่มีส่วนผสม สารอะมิโนแอซิดและสารโพลิเมอร์ (สาร 2 ตัวนี้ต้องมาจาก
ธรรมชาติ 100%) ฉีดครั้งที่ 2 อ้อย 3 เดือน ฉีดครั้งที่ 3 อ้อย 6 เดือน 1 ไร่ใช้ปุ๋ย
อินทรีย์คุณภาพสูง 100 กิโลกรัม ปุ๋ยน้ำคุณภาพสูง 500-1000 ซีซี. ผลผลิตที่
ได้ ถ้าอ้อย 1 ต้นหนัก 1 กิโลกรัม 64,000 ต้นจะได้น้ำหนัก 64 ตัน/ไร่ ถ้าอ้อย
1 ต้นหนัก 1.5 กิโลกรัม 64,000 ต้น จะได้น้ำหนัก 96 ตัน/ไร่ ถ้าอ้อย 1 ต้น
หนัก 2 กิโลกรัม 64,000 ต้นจะได้น้ำหนัก 128 ตัน/ไร่ จะขายอ้อยได้เงินถ้าความ
หวานอยู่ที่ 10 ccs 64 ตันเป็นเงินประมาณ 60,000 บาท/ไร่ ถ้า 96 ตันเป็นเงิน
ประมาณ 93,000 บาท/ไร่ ถ้า 128 ตันเป็นเงินประมาณ 125,000 บาท/ไร่

สอบถามลายละเอีอดเพิ่มโทร 084-9143713 อิทธิโชตน์ อัคราช

วิธีการปลูกแบบที่ 2 เทาที่ปฏิบัติในบ้านเรามี ๒ วิธี คือ ปลูกด้วยเครื่องปลูก และ
ปลูกด้วยแรงคน

ผลผลิตที่ได้
- ถ้าอ้อย 1 ต้นหนัก 1 กิโลกรัม 64,000 ต้น จะได้น้ำหนัก 64 ตัน/ไร่
- ถ้าอ้อย 1 ต้นหนัก 1.5 กิโลกรัม 64,000 ต้น จะได้น้ำหนัก 96 ตัน/ไร่
- ถ้าอ้อย 1 ต้นหนัก 2 กิโลกรัม 64,000 ต้น จะได้น้ำหนัก 128 ตัน/ไร่

จะขายอ้อยได้เงิน
- ถ้าความหวานอยู่ที่ 10 ccs 64 ตันเป็นเงินประมาณ 60,000 บาท/ไร่ ถ้า 96
ตันเป็นเงินประมาณ 93,000 บาท/ไร่
- ถ้า 128 ตันเป็นเงินประมาณ 125,000 บาท/ไร่

๑. ปลูกด้วยเครื่องปลูก
เป็นเครื่องมือที่ติดกับรถแทรกเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน นับตั้งแต่
การเปิดร่อง ตัดลำต้นอ้อยออกเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร วางท่อน
พันธุ์ในร่อง ใส่ปุ๋ยและกลบท่อนพันธุ์ การปลูกด้วยเครื่องต้องใช้แรงงาน ๓ คน คน
หนึ่งทำหน้าที่ขับ และควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ส่วนอีกสองคนทำหน้าที่ป้อง
อ้อยทั้งลำ การปลูกด้วยเครื่องไม่ต้องมีการเปิดร่องหรือยกร่องไว้ก่อนเพียงแต่ไถให้
ดินร่วนซุยดีเท่านั้น ชาวไร่รายใหญ่นิยมใช้เครื่องปลูกเพราะทุ่นค่าใช้จ่าย และมี
ความงอกสม่ำเสมอดี เพราะความชื้นในดินสูญเสียไปน้อยกว่าการปลูกด้วยแรงคน
ซึ่งต้องยกร่องไว้ล่วงหน้า วันหนึ่งปลูกได้ประมาณ ๑๕-๒๐ ไร่

๒. ปลูกด้วยแรงคน
ในทางทฤษฎีแนะนำให้เปิดร่องแล้วปลูกทันที แต่ในทางปฏิบัติชาวไร่มักจะเตรียม
ดินแล้วยกร่องคอยฝน เมื่อฝนตกมากพอก็จะรอจนดินหมาด แล้วจึงลงมือปลูก ก่อน
ปลูกควรใส่ปุ๋ยรองพื้นแล้วกลบปุ๋ยก่อนวางท่อนพันธุ์ การปลูกก็ใช้วิธีวางท่อนพันธุ์ให้
ราบกับพื้นร่องแล้วกลบดินให้หนาประมาณ ๕-๑๕ เซนติเมตร ทั้



http://www.thaibestpromotion.com/31970/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2-100-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88-%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3.html
www.thaibestpromotion.com/.../


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2010 6:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/10/2010 9:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนวพิจารณา.....

อ่านเรื่ออ้อย 100 ตันแล้ว แยกให้ออกระหว่าง "หลักการ - วิชาการ -
โฆษณาการ และ จินตนาการ" ถึงความเป็นไปได้ หรือ ความฝัน ที่ไม่ใช่ "เพ้อฝัน"


เนื่อที่ 1 ไร่ แรงงาน 2 คน สามีภรรยา.....ทำไหวไหม ?
เนื้อที่ 5 ไร่ แรงงาน 2 คน สามีภรรยา + ลูกๆ หลานๆ .....ทำไหวใหม ?
เนื้อที่ 10 ไร่ แรงงาน 2 คน สามีภรรยา + ลูกหลาน + จ้างแรงงาน....ทำไหวไหม ?

และนี่คือ เกษตรประณีต..... "อ้อยประณีต" .....ใช่หรือไม่ ?


การที่จะวิเคราะห์ "แนวพิจารณา" อย่างง่ายๆ และได้ผล ต้อง...
1. เปิดใจ
2. มีข้อมูลทางวิชาการ
3. มีประสบการณ์
4. รู้โลกทัศน์
5. กล้าบ้า....และ
6. อื่นๆ ตามสภาพแวดล้อม


ล้มเหลวซ้ำซากเพราะ "ยึดติด" นั่นแหละ
ลุงคิม (คิดนอกกรอบ) ครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2010 6:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 16/10/2010 10:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมลองค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ลิ้งค์ ที่ลุงลงไว้เรื่อง อ้อย ๑ ไร่ ๑๐๐ ตันน่ะครับ
ที่มาก็น่าจะมาจากที่นี่น่ะครับ "วังขนาย"

ก็เลยมาลองเขียนแบบพื้นที่แปลงอ้อย ๑ ไร่ โดยอ้างข้อมูลที่ ลุง แสดง ไว้ให้
ประกอบกับ ดูรูปภาพ จาก กลุ่มวังขนาย ออกมาเป็นแบบนี้ครับ



เส้นสีเขียว ๑ เส้น ความยาว ๔๐ เมตร จำนวน ๔๐ เส้น
นั่นมีค่าเท่ากับ ๑ ไร่ ตามข้อมูลแจ้งมา
ทีนี้ลองมาดูส่วนขยายน่ะครับ




เส้นสีเขียว เมื่อขยายออกมาแล้ว จะมีลักษณะ เป็นแบบข้างบนครับ
อันนี้ผมเขียนจากสเกลจริงเลยน่ะครับ สีเหลืองในวงกลมคือ
ท่อนอ้อย ยาว ๔ นิ้วโดยตัดห่างจากตาด้านละ ๒ นิ้ว
ใส่ถุงชำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ นิ้ว โดยดูเปรียบเทียบจากรูปถ่ายจริง
เมื่อนำมาปลูกแถวคู่ตามข้อมูลก็น่าจะเป็นแบบนี้ครับ



เมื่อลองคิดดูแล้วน่ะครับ
๑ เส้นสีเขียวยาว ๔๐ เมตร ตุ้มดินถุงชำ ๕ นิ้ว = ๐.๑๒๗ เมตร
เมื่อนำไปหาร ๔๐ ก็เท่ากับ ๔๐ หาร ๐.๑๒๗ = ๓๑๔.๙๖ หรือ ๓๑๕
เมื่อคูณด้วย ๒ (ปลูกแถวคู่) ก็จะได้ ๓๑๕ คูณ ๒ = ๖๓๐ ต้น ต่อ หนึ่งแถว
ให้อัดให้มากที่สุดยังไง ก็ไม่น่าเกิน ๑,๐๐๐ ต้น ต่อแถว
เมื่อมี ๔๐ แถว คิดแถวละตก ๑,๐๐๐ ต้น ตัวเลขจึงน่าจะเป็น ๔๐,๐๐๐ ต้น
ซึ่งแตกต่างจากขัอมูลพอสมควร



ยิ่งดูจากระยะห่างระหว่างแถวแล้ว ผมว่าน่าจะเกิน ๑๐๐ ซม.
ผมก็เลยอยากสอบถามลุงครับว่า

(ถือเป็นการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นน่ะครับลุง ไม่ได้มีเจตนาขัดแย้ง
เพราะผมน่ะหูผึ่งตั้งแต่แรกแล้วครับ อยากทำให้ได้อย่างเขาบ้าง)

ในทรรศนะของผมน่ะครับ ดูจากรูปและข้อมูลที่ได้มาแล้วมันขัดแย้ง
กันในตัวมันเองยังไงชอบกล เพราะถ้า ๑ ไร่ ๔๐ แถวจริง
ระยะแถว ๑๐๒.๑๕ ซม. มันไม่น่าจะใช่ตามในรูป

หรือถ้าเป็นระยะนี้จริง เท่าที่สอบถามจากผู้รู้เรื่องอ้อย หลายๆท่าน มันไม่
ชิดมากเกินไปหรือครับ พออ้อยโตมันก็เบียดกันหมดแล้ว ยิ่งพอเป็นอ้อยตอ
ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เข้าไปทำงานก็ลำบากแล้วครับ

เลยไม่แน่ใจว่าข้อมูลมันคลาดเคลื่อนตรงไหน

แต่ผมยอมรับว่าสนใจน่ะครับในแนวทางนี้ และสนใจมากด้วยครับ
เพียงแต่ว่า อยากสอบถามลุงและเพื่อน ๆ ที่มีความรู้ด้านนี้
เพื่อเป็นข้อมูลในการลงมือปฏิบัติอีกทีน่ะครับลุง

ตัวเลขในฝันของผมก็น่าจะอยู่ที่ ๓๐-๔๐ ตันต่อไร่ก็สุดๆ แล้วครับลุง
แต่ถ้าได้อย่างคนถือป้ายในรูปนี่ล่ะก็ "เมียรักตายเลยครับ"



เพื่อน ๆ ท่านใดมีข้อคิดเห็นประการใด ยินดีมากเลยน่ะครับ
อยากรวยกับเขาบ้าง เบื่อขับรถ อยากขับมอเตอร์ไซด์ ไปเที่ยวหาลุงครับ
อีกอย่าง ลุงครับ ผมไม่มีเจตนาขัดแย้งกับลุงน่ะครับ
แค่เป็นคนช่างสงสัย เลยลองสอบถามลุงน่ะครับ
ผิดพลาดยังไงต้องขอโทษลุงด้วยน่ะครับ

ไอ้ยู้ดดดดด...ศิษย์คาราบาว

ลืมครับ ที่มา : http://wangkanai.co.th/new/activity.php?&Start=3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/10/2010 3:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


กลัวอะไรกับ "ขัดแย้ง"..... บอกตรงๆ นะ "ขัดแย้ง" เนี่ยชอบมากๆ รูปแบบนี้เขา
เรียก "คิดแย้ง" เอ้า ขัดแย้งก็ขัดแย้ง.....คนที่ "ขัดแย้ง" คือ คนที่คิด วิเคราะห์
พิจารณา นั่นคืออีก "1 ข้อมูล" ที่จะช่วยเสริมเติมเต็มให้มากยิ่งขึ้น


ลุงคิมพูด (สอน) อยู่เสมอว่า....
- อย่าปิดกั้นตัวเอง
-อย่าล้อมกรอบตัวเอง
-อย่า STOP ตัวเอง
-ฯลฯ....."

กับทั้งเตือนเสมอว่า....
- อย่าคิดว่าตัวเองเก่งกว่า
- อย่าคิดว่าตัวเองรู้หมดแล้ว
- อย่าคิดว่าตัวเองถึงสุดยอดแล้ว
- อย่าคิดว่าตัวเองรู้คนเดียว
- เหมือนแก้ว อย่าให้ร้าว เพราะเชื่อมต่อไม่ได้ รอแต่วันแตก
- ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งเอายิ่งไม่ได้
- คน หลอกได้ครั้งเดียว
- คน ไม่มีใครโง่ตลอดไป
- ฯลฯ....."

กับคำแนะนำที่ทั้งย้ำทั้งขู่.....
- ให้ร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนแนวคิด
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์-แลกเปลี่ยนข้อมูล....
- อย่าดังแล้วแยกวง
- อย่าจ้องเอาชนะกัน
- ใครแยกกลุ่มคนนั้นแพ้ก่อน
- คนไม่แพ้คน
- คนเอาชนะคนไม่ได้
- เก่ง 2 คน 3 คน 4 คน รวมกันย่อมเป็น 4 เก่ง
- สร้างโลกทัศน์
- สร้างวิสัยทัศน์
- สร้างประสบการณ์
- ฯลฯ..."


ขณะเดียวกัน คนที่ "ร่วมคิด" เมื่อได้ข้อมูลอะไรมาแล้ว จงอย่ารับทันทีโดยไม่มี
เงื่อนไข หรือหากปฏิเสธก็จงอย่าปฏิเสธแบบหัวชนฝา เพราะลักษณะเช่นนี้บ่งบอก
ว่าไม่มีความคิดอะไรที่เป็นของตัวเอง นั่นก็คือ "ไม่คิดไม่วิเคราะห์" อะไรเลยทั้ง
สิ้น ฉนี้แล้ว "สิ่งใหม่" จะบังเกิดขึ้นได้อย่างไร... ..ว่าไหม ?

บอกแล้วไง.....คำพูดเพียง "1 คำ" ในบางโอกาส ในบางสถานการณ์ จากบาง
คนเพียงคนเดียว ฟังแล้วนำมาวิเคราะห์ สามารถพลิกผันสถานการณ์ตัวเองได้...


อั้ยญู้ดดด เอ๊ยยยย.....ที่ (มึง) วิเคราะห์มาน่ะถูกต้องแล้ว เพราะลุง (กู) ก็ตะ
หงิดๆ อยู่เหมือนกันว่า "ตัวเลข" นี้ ไม่น่าจะใช่ เพราะด้วยพิจารณาทั้งปวงแล้ว มี
หลายอย่างที่ชวนให้ "สงสัย-สงสัย" ก็ได้พยายามมองอะไรๆ ในแง่ดีเข้าไว้อยู่
เหมือนกันว่า งานนี้ใช่ "โปรประกันดา" หรือ "โปรโมชั่น" หรือ "ผลประโยชน์
ส่วนตน" หรือผลประโยชน์แฝง" หรือ "การเมือง" หรือเปล่า กอร์ปกับข้อมูลที่ได้
มาจากหลายๆ แหล่ง


.... ผู้พันครับ งานนี้ 100 (+) ตัน ผมอยู่ที่นั่นตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้ายเลย
.... ลุงครับ แค่ 80 ตันเท่านั้นแหละ
.... ลุงครับ 64 ตันเท่านั้น ผมดูที่ตาช่างเลยครับ

กับอีกหลายๆเสียงที่มาบอกเล่าโดยตรง หลังจากลุงคิมแพร่ข่าวสารนี้ออกไป

แนวคิดของลุงคิม ก็คือ :
1. จับหลักการ วิธีการปลูกอ้อย
2. ให้รู้ธรรมชาติของอ้อย
3. ใช้เป็น "มูลเหตุจูงใจ" ในการพัฒนาตัวเอง
4. วิเคราะห์แนว "ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตอ้อยตอ 2 ตอ 3 และตอต่อๆ ไปดี"
5. เป้าหมายอ้อย 100 ตันเอาแค่ 50 ตัน อ้อย 50 ตันเอาแค่ 25 ตัน
6. ขจัดจุดอ่อนของตัวเอง ด้วยจุดแข็งในของเขา



กระทู้นี้ยังไม่จบ ตั้งใจจะเอาแนวทางธรรมชาติของอ้อยมาปลูกอ้อยมาบอกกล่าวกัน...

อยากฟังความคิดเห็นแบบ "ขัดแย้ง" (เน้นย้ำ....ขัดแย้ง) จากคนอื่นบ้าง...


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/10/2010 7:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00313

www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00313 -

ใครก็ได้ ช่วย COPY เว้บนี้มาลงที่นี่ให้หน่อย
ลุงคิมทำไม่เป็น.....

ขอบคุณ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/10/2010 7:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำไร่อ้อย

มีหลักใหญ่ ๆ อยู่ประมาณ 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นตอนที่ 1. การเตรียมดิน
ขั้นตอนที่ 2. การปลูกอ้อย
ขั้นตอนที่ 3. การดูแล – รักษา
ขั้นตอนที่ 4. การเก็บเกี่ยว


ขั้นตอนที่ 1. การเตรียมดิน
ชาวไร่ที่จะเริ่มปลูกอ้อยใหม่ไม่ว่าจะปลูกในที่แปลงใหม่ที่ที่ยังไม่เคยปลูกอ้อยมา
ก่อนเลย หรือแปลงอ้อยเก่าล้างทิ้งเพื่อปลูกใหม่ ก็ต้องมีการเตรียมการเกี่ยวกับดิน
ในแปลงที่จะปลูก การเตรียมอ้อยของชาวไร่ปลูกอ้อยกัน ตั้งแต่หลังฤดูตัดอ้อยเข้า
โรงงานแล้ว อยู่ประมาณเดือนมีนาคม – มิถุนายน เพราะเป็นช่วงหน้าแล้งต่อฤดูฝน
จะได้มีเวลาเตรียมดินและเตรียมปลูกอ้อยก่อนฤดูฝนมีฝนตกมาก ๆจะมาถึง

วิธีการเตรียมดินในแปลงที่จะปลูกอ้อย ควรจะกำจัดใบอ้อยหรือวัชพืชต่าง ๆ ที่ตก
ค้างอยู่ในแปลง โดยการเผาทำลายหรือขนทิ้งเสีย หลังจากนั้นใช้รถไถดินเข้าไปไถ
ในแปลงครั้งแรกนี้ เรียกว่า “ไถดะ” เสร็จแล้วทิ้งดินตากแดดไว้อย่างน้อย 15 วัน
เพื่อให้วัชพืชพร้อมทั้ง แมลงศัตรูอ้อยที่ฝังตัวอยู่ในดินพลิกขึ้นมาถูกแดดเผาทำลาย
เสีย หากเป็นไปได้รอให้ฝนตกลงมาจะทำให้ดินในแปลงที่ไถดะเอาไว้ถูกน้ำฝน ดิน
จะแตกออกและชื้นนุ่มหลังจากนั้นใช้รถไถดินกลับเข้าไปไถอีกครั้งเรียกว่า “ไถ
แปร” การไถแปรนี้หากไถไปแล้วหนึ่งครั้ง สังเกตเห็นว่าดินในแปลงยังก้อนใหญ่อยู่
ยังไม่ร่วนซุยพอ ก็สมควรที่จะต้องแปรเพิ่มอีกหนึ่งครั้งเพราะถ้าหากทำดินไม่ดี จะมี
ผลต่อการงอกและเจริญเติบโตของอ้อยคือ ถ้าดินก้อนใหญ่เกินไป ดินจะไม่กระชับ
ท่อนพันธุ์อ้อยทำให้อ้อยไม่แตกราก ไม่งอกในเวลาอันสมควร แต่ถ้าดินร่วนซุยดี
ดินจะเข้าไปกระชับติดกับลำอ้อยท่อนพันธุ์ ความชื้นมากทำให้อ้อยแตกรากเร็ว งอก
เร็ว เติบโต ได้ดี ซึ่งจะมีผลต่อการดูแล – รักษา และบำรุงเพิ่มผลผลิตต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การปลูกอ้อย
อ้อยที่ปลูกกันอยู่ในประเทศไทย เพื่อผลิตน้ำตาลในขณะนี้มีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่
ละพันธุ์ก็เหมาะกับพื้นดินแต่ละพื้นที่ โดยส่วนมากชาวไร่จะ นิยมปลูกอ้อยที่เห็นว่า
เหมาะสมกับพื้นที่มีอยู่ประมาณ 4–5 พันธุ์ เช่น เค 84–200 เค 88–92 เค
90–77 พันธุ์อู่ทอง 1 และอื่นๆ พันธุ์อ้อยเหล่านี้ ชาวไร่ปลูกแล้วได้ผลผลิตต่อไร่
สูง ให้ความหวานสูง ดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวง่าย จึงนิยมปลูกกันมาก

เมื่อชาวไร่พันธุ์อ้อยแล้ว ฝนตกมีความชื้นดีแล้วสมควรปลูก การปลูกอ้อยของกลุ่ม
ชาวไร่อ้อยมีปลูกกันอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1. ใช้แรงงานคนปลูกโดยตรง
2. ใช้รถไถมีเครื่องปลูก

วิธีที่ 1
การใช้แรงงานคนปลูก ชาวไร่จะต้องใช้รถไถเข้าไปยกร่องในแปลงปลูกให้เป็นร่อง
ๆ แต่ละร่องห่างกันประมาณ 1.00 เมตร ถึง 1.50 เมตร แล้วแต่ความชอบของชาว
ไร่แต่ ละคน เรียบร้อยแล้วใช้คนงานนำพันธุ์อ้อยใส่ลงในร่องทั้งลำ หรือตัดเป็น
ท่อน ๆ แล้วแต่ความเหมาะสม ในกรณีปลูกโดยอาศัยน้ำฝนควรจะรอให้ฝนตกลงมา
มีความชื้นในร่องอ้อยมากพอก่อนจึงปลูก แต่ถ้ามีน้ำสูบเองก็ปลูกได้เลย

วีธีที่ 2
ใช้รถไถมีเครื่องปลูก วิธีนี้กลุ่มชาวไร่นิยมปลูกกันมาก เพราะประหยัดแรงงาน
ประหยัดเวลา และเครื่องปลูกยังสามารถใส่ปุ๋ยในดินไปพร้อมกับปลูกอ้อยไปด้วย
เลย การปลูกโดยวิธีที่ 2 นี้ ควรปลูกหลังจากฝนตกลงมาความชื้นในดินมีมากพอ

ขั้นตอนที่ 3
การดูแล – รักษา
การดูแลรักษาอ้อยให้เจริญงอกงามนั้น เป็นภาระอันสำคัญของชาวไร่อ้อยเป็นอย่าง
มาก สาเหตุหลักหลักก็คือ เรื่องวัชพืชที่ขึ้นมาแย่งอาหารของอ้อย แมลงศัตรูกัด
ทำลายต้นอ้อย และโรคระบาดของอ้อย

อ้อยปลูกใหม่ไม่ว่าจะปลูกโดยแรงงานคน หรือ ใช้รถปลูก ควรจะใช้สารคุมวัชพืชไว้
ก่อน หากไม่ทำไว้เสียฝนตกลงมา วัชพืชจะโตเร็วกว่าอ้อย จะคลุมหน่ออ้อยแย่ง
อาหาร ทำให้อ้อยหยุดเจริญเติบโต ต้องเสียทั้งค่ากำจัดวัชพืชเพิ่ม ค่าปุ๋ยเพิ่มอีก
โดยเฉพาะผลผลิตจะต่ำ ฉะนั้นการดูแลรักษาจะต้องกระทำไปตลอด จนกว่าจะตัด
อ้อยเข้าโรงงาน ส่วนเรื่องแมลงทำลายอ้อยและโรคระบาดอ้อย

ส่วนของอ้อยตอ การดูแล รักษาก็คงเหมือนกันกับอ้อยใหม่ โดยเฉพาะอ้อยตอ หลัง
จากตัดอ้อยแล้ว ใบอ้อยที่ตกค้างอยู่ในไร่จะเป็นตัวช่วยป้องกันความชื้นในดินไม่ให้
ระเหยไปเร็ว พร้อมเป็นตัวปิดบังคับความเจริญของวัชพืชอีกด้วย แต่ในกรณีที่อ้อย
ตอไฟไหม้ในแปลง ทำให้พื้นดินไม่มีใบอ้อยปิดบัง ควรจะต้องดูแลแบบอ้อยปลูก
ใหม่ ที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะเป็นอ้อยปลูกใหม่หรืออ้อยตอก็ดี ชาวไร่จะต้องดูแลบำรุง
รักษา เรื่องน้ำ วัชพืช ตลอดไปจนถึงแมลงและโรคระบาด โดยเฉพาะไฟไหม้อ้อย
อันเกิดจากความประมาทหรือบังเอิญก็แล้วแต่ จนกว่าจะถึงวันตัดอ้อยได้ หากไม่เช่น
นั้นผลผลิตและผลลัพธ์จะไม่เป็นดังที่ท่านตั้งความหวังไว้

การเพิ่มผลผลิตอ้อย
ไม่ว่าจะพยายามลดต้นทุนหรือลดการใช้สารเคมี แต่การใส่ปุ๋ยอ้อยในขณะนี้ก็ยังมี
ความจำเป็นอยู่ เหตุเพราะว่า ปลูกอ้อยกันมานาน บางแปลงปลูกมานาน 10 ปีกว่า
แล้ว ธาตุอาหารในดินสำหรับอ้อยย่อมหมดไป จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิต
ปุ๋ยที่ชาวไร่ ใช้กันอยู่มีทั้งปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ปุ๋ยทั้ง 2 ชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ใส่แล้ว
ให้ผลช้าแต่ไม่ทำลายดิน ปุ๋ยเคมีให้ผลเร็วทันใจแต่มักเป็นผลเสียต่อดิน มีสารตก
ค้างสิ่งแวดล้อมเสีย สิ่งนี้ชาวไร่เราทราบดี แต่จำเป็นต้องใส่ ซึ่งก็พยายามใส่ปุ๋ย
อินทรีย์กันมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 การเก็บเกี่ยวหรือตัดอ้อย
1. ใช้แรงงานคน
2. ใช้รถตัดอ้อย

การตัดอ้อยทำน้ำตาล จะเริ่มเปิดหีบตั้งแต่ประมาณ เดือนธันวาคม - เดือนเมษายน
ฉะนั้นชาวไร่จะต้องเริ่มตัดอ้อยกัน

http://ayutthaya.doae.go.th/latbualuang/ee.htm
http://www.farmkaset.org/wb/postlist.aspx?forumid=10&topicid=293
www.farmkaset.org/wb/postlist.aspx?forumid=10&topicid=293 -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2010 9:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 16/10/2010 8:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครื่องปลูกอ้อยแบบ 4 ร่องคู่ และระบบน้ำหยอด
(ไม่ทราบที่เดียวกับ "ไอ้หนุ่มวีออส" หรือเปล่าครับลุง)

ที่มา : http://www.pantown.com/board.php?id=22514&area=3&name=board2&topic=10&action=view




เพิ่มเติม
http://www.lumphu.com/index.php/webboard/13/3043--30-.html

เครื่องปลูกอ้อยแบบ 4 แถวต่อ 1ร่อง ทราบว่าได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยคุณเสถียร มาเจริญ
ผมมีโอกาสได้ขอความรู้จากคุณเสถียรหลายครั้ง ทำให้ทราบว่าการปลูกอ้อย แบบ 4 แถว
ต้องมีกระบวนการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปรับระยะระหว่างร่อง จะใช้รถตัดหรือคนตัด
จะใช้รถไถใหญ่เข้าไปดูแลรักษา หรือจะใช้รถไถเล็ก ต้องเพิ่มอัตราการใส่ปุ๋ยเท่าไหร่ เป็นต้น ทั้งหมดนี้
ต้องนำมาคิดและวางระบบใหม่ก่อน จึงจะช่วยให้การใช้เครื่องปลูกแบบ 4 แถว มีประสิทธิภาพสูงสุด
อยากให้ทำความเข้าใจกระบวนการทั้งหมดก่อน ไปดูของจริงสักเที่ยว จากนั้นเราถึงค่อยมาคุยเรื่อง
การลงทุนซื้อเครื่องมือดีมั้ยครับ เครื่องมือตัวหนึ่งก็ใกล้หลักแสนเหมือนกัน ถ้าใช้ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด
เสียดายเงินครับ แต่ถ้าไตร่ตรองดีแล้วช่วยยืนยันความต้องการเดิมอีกครั้ง ผมจะหาข้อมูลตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านเราให้ครับ



มหัศจรรย์อ้อย 30 ตัน
ท่าน ผอ.คัมภีร์ สายะสนธิ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความมหัศจรรย์ของการปลูกอ้อยได้ผลผลิต 30 ตันต่อไร่
เทคนิคใหม่ในการปลูกอ้อยโดยการพัฒนาเครื่องปลูกรุ่นใหม่จากแนวคิดของนายเสถียร มาเจริญ
โดยวิธีการเพิ่มระยะชิดของต้นอ้อยจาก 1 แปลงปลูก ลงท่อนพันธุ์อ้อยได้ 2 แถว เป็น 4 แถว
ตัวเครื่องติดตั้งอุปกรณ์เสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงานได้ถึง 5 ขั้นตอน ต่อการเดินเครื่องครั้งเดียว
คือการเปิดร่องหน้าดิน หย่อนท่อนพันธุ์ลงปลูก ให้น้ำ ใส่ปุ๋ย และกลบดินปิดร่อง ซึ่งพื้นที่ 1 ไร่
สามารถลงท่อนพันธุ์ได้ถึง 16,000 ลำ ได้ผลผลิต 30 ตันต่อไร่ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าวิธีการปลูกแบบเดิม
ที่มีอัตราเฉลี่ยของผลผลิตอ้อยเพียง 9.61 ตันต่อไร่ เท่านั้น

ผลการศึกษาถึงแนวทางในการเพิ่มผลผลิตอ้อยโดยนักวิชาการของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี
ร่วมกับศิษย์เก่าเกษตรกรดีเด่น ยังค้นพบวิธีการปรับปรุงสภาพดินโดยการปลูกปอเทือง
เมื่อปอเทืองเริ่มออกดอกให้ไถกลบแล้วทิ้งให้ปอเทืองย่อยสลาย จึงทำการไถพรวนดินในแนวขวางอีกครั้ง
จะทำให้ดินร่วนซุย ซึมซับน้ำได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังแนะนำให้เกษตรกรปลูกอ้อยในฤดูกาลที่เรียกว่า
“การปลูกอ้อยข้ามแล้ง” ช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงไม่มีฝนตก
เพราะดินจะมีความชื้นน้อยจะช่วยลดปริมาณการเกิดวัชพืชได้ดี ส่วนต้นอ้อยที่ปลูกให้ใช้วิธีให้น้ำแบบหยอด
ลงสู่ใต้ดินให้ท่อนพันธุ์ได้รับน้ำโดยตรง เมื่อผิวหน้าดินแห้งจะทำให้วัชพืชเติบโตได้ยาก

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี
เลขที่ 1 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
โทรศัพท์ 034-552-106-7 หรือ 081-736-5820


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Yuth-Jasmine เมื่อ 16/10/2010 9:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/10/2010 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00313

www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00313 -

ใครก็ได้ ช่วย COPY เว้บนี้มาลงที่นี่ให้หน่อย
ลุงคิมทำไม่เป็น.....

ขอบคุณ




ญู้ดดดด.....เว้บนี้ด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 16/10/2010 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จัดไปครับลุง

ที่มา : http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00313

โครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่
ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เป็น
ประธานเปิดงาน โครงการปลูกอ้อย 100 ตัน/ไร่

เมื่อวัน ศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา ดร.ประเสริฐ ต ปนียางกูร เลขาธิการ
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เป็นประธานเปิดงาน “ โครงการปลูก อ้อย
100 ตัน/ไร่ ” ซึ่งเป็นความร่วมมือของสำนักงาน คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล
ทราย และกลุ่มโรงงานน้ำตาลวังขนาย ณ แปลงทดลองปลูกอ้อย บ้านคณฑี ต.
หนองโอ่ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ถือเป็นโครงการนำร่องนวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วย
ให้เกษตรกรไทยปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกอ้อยแบบดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติ ตามๆกันมา
โดยทดลองปลูกอ้อย 1 ไร่ 60 แถว ให้ได้จำนวนต้นอ้อยทั้งหมดประมาณ
64,000 ต้น และได้น้ำหนักอ้อยที่คาดไว้ประมาณ 80-100 ตัน แปลงทดลองนี้
ถือเป็นแรงจูงใจส่งเสริมให้เกษตรกรไร่อ้อย ตระหนักถึงการดูแลเอาใจใส่ไร่ของตน
อย่างจริงจัง ตามหลักวิธีการดูแลที่ถูกต้อง ก็จะได้อ้อยที่มีผลผลิตดีและได้
มาตรฐาน ซึ่งการปลูกอ้อยด้วยวิธีใหม่นี้

กลุ่มวังขนายตั้งเป้าหมายในการทดลองปลูกให้ได้ผลผลิต 100 ตันต่อไร่ ทั้งนี้ ก็
ต้องขึ้นอยู่กับความละเอียด ดูแลเอาใจใส่ ขยัน และประสบการณ์ของเกษตรกร
ด้วย สำหรับหัวใจหลักของการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่นั้น ขึ้นอยู่กับการเตรียมดิน
พันธุ์อ้อย น้ำ ปุ๋ย และแปลงอ้อยควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ เพื่อ
หลีกเลี่ยงสารเคมี




ภาพกิจกรรม ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล
ทรายเป็น ประธานเปิดงาน “ โครงการปลูกอ้อย 100 ตัน/ไร่ ” พร้อมให้เกียรติ
บรรยายพิเศษ เรื่อง ทิศทางอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในอนาคต”




ภาพ กิจกรรม การสาธิตการตัดอ้อยสดในแปลงทดลองปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่
ณ แปลงทดลองปลูกอ้อย บ้านคณฑี ต.หนอง โอ่ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 16/10/2010 9:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นี่แหละ !!!
สิ่งที่ทุก ๆ คนควรนำไปปฏิบัติ



ลุงคิมพูด (สอน) อยู่เสมอว่า....
- อย่าปิดกั้นตัวเอง
-อย่าล้อมกรอบตัวเอง
-อย่า STOP ตัวเอง
-ฯลฯ....."

กับทั้งเตือนเสมอว่า....
- อย่าคิดว่าตัวเองเก่งกว่า
- อย่าคิดว่าตัวเองรู้หมดแล้ว
- อย่าคิดว่าตัวเองถึงสุดยอดแล้ว
- อย่าคิดว่าตัวเองรู้คนเดียว
- เหมือนแก้ว อย่าให้ร้าว เพราะเชื่อมต่อไม่ได้ รอแต่วันแตก
- ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งเอายิ่งไม่ได้
- คน หลอกได้ครั้งเดียว
- คน ไม่มีใครโง่ตลอดไป
- ฯลฯ....."
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 16/10/2010 9:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาดูรถคีบอ้อยทำงาน


_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 16/10/2010 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยืมคำพูด

การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้ได้ 30 ตัน/ไร่ 10 ไร่ ได้ 300 ตัน ตันละ 1,200 บาท
* 300 = 360,000 บาท/ปี นะครับ

ตอนที่ผมทำงานอยู่โรงงานน้ำตาลน้ำพอง ผมชอบที่จะคิดว่า ปลูกอ้อยให้ลำใหญ่ๆ แต่พอทำแล้วได้แค่ 20 ตัน/ไร่ อย่างมาก

ตอนนั้นผมเลยทำงานวิจัยขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งคือ

1. เพิ่มจำนวนประชากรของอ้อย คือ เพิ่มแถวในร่องอ้อย
วิธีการทำ คือ เพิ่มจาก 1 แถว/ร่อง เป็น 2 3 4 5 6 แถว/ร่อง แบบห่าง 20 ซม./
แถว ครับ ผลวิจัยออกมา คือ สามารถเพิ่มจำนวนตันต่อไร่ได้จริง ถึง 35-40 ตัน/ไร่เลยทีเดี๋ยว

2. แต่ต่อมาผมดูเรื่องการจัดการก็จะยากขึ้นเหมือนกันกับจำนวนแถวต่อร่องที่เพิ่มขึ้น

3. ผมเลยคิดแบบพ่อค้า ที่ผมชอบมากกำไรจากต้นทุนที่ลงไปผลปรากฎว่า....การ
ลงทุนก็เพิ่มขึ้นอย่างมีความแตกต่าง เพราะประชากรมากการให้ปุ๋ยก็จะมากตาม
แต่ผลกำไรจะคุ้มทุนถ้าเราปลูกที่ 3-6 แถวต่อร่อง กำไรเกือบ 65-70 % เลยครับ

ผมเห็นว่าคนหนองบัวลำภูปลูกอ้อยกันเยอะ ผมอาจจะเป็นคนที่คิดไม่เหมือนคนอื่น
นอกกรอบไปเยอะ แต่อยากให้ทุกคนลองทำดูครับ จากน้อยก่อนแล้วจะรู้ความแตก
ต่างจริงๆ ขอให้รวยๆ ครับ

จาก..นายต๋อย


แล้วก็ลองทำดูนะครับ
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 16/10/2010 10:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิม/คุณยุทธ/คุณเอ ...ทำไมฝนจึงตก คร้าบ...



_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 16/10/2010 10:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องน้ำหยด ตอนปลูกอ้อย ผมใช้ถัง 1,000 ลิตร ทำฐานแล้วเอาไฮดรอลิค
ผานหน้ารถไถ ยกต่อสายสูบส้วมหน้า 1.5 นิ้ว มาลงตรงช่องอ้อยลงตรงเครื่อง
ปลูก ถ้ายังไงเดี๋ยวอัพรูปให้ดูครับ ช่วงนี้มีแต่พาแม่ประชุม เลยไม่ได้เข้าไร่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 17/10/2010 7:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
เรื่องน้ำหยด ตอนปลูกอ้อย ผมใช้ถัง 1,000 ลิตร ทำฐานแล้วเอาไฮดรอลิค
ผานหน้ารถไถ ยกต่อสายสูบส้วมหน้า 1.5 นิ้ว มาลงตรงช่องอ้อยลงตรงเครื่อง
ปลูก ถ้ายังไงเดี๋ยวอัพรูปให้ดูครับ ช่วงนี้มีแต่พาแม่ประชุม เลยไม่ได้เข้าไร่


ขอบคุณมากครับ

เป็นประโยชน์มากกับผู้ที่ศึกษาเรียนรู้
และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครับ
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 22/10/2010 12:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พี่ - น้อง บ้านเอ๋ง เอาใจช่วย เป็นกำลังใจให้
สู้ ๆ นะ



_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 22/10/2010 2:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้นปี ประกาศสภาวะภัยแล้ง...
ปลายปี ประกาศสภาวะภัยน้ำ...
ปีใหม่ เดี๋ยวก็ประกาศสภาวะภัยหนาว....

ปีเดียวเล่นกัน 3 ภัยเลยนะประเทศไทย....แล้ง-น้ำ-หนาว...หนาว-แล้ง-น้ำ..
วนเวียนๆ อยู่อย่างนี้นี่แหละ ไม่ไปไหนหรอก....

ตอนนี้น้ำท่วม เชื่อเถอะสร็จจากน้ำท่วมก็น้ำแล้งอย่างเดิม....ว่าไหม


ในเมื่อคนที่เข้าไปเป็นรัฐบาล ต่างก็เคยเผชิญกับภัยพวกนี้มาแล้วทั้งนั้น เพียงแต่จะ
ลำบากเท่ากับคนยากคนจน ตาสีตาสา ยายมายายมี อย่างพวกเราๆ หรือไม่เท่า
นั้น ..... ก็ในเมื่อรู้อยู่ว่า ภัยพวกนี้ ซ้ำๆ ซากๆ ปีแล้วปีเล่าเมื่อเข้าไปเป็นรัฐบาล จะ
พรรคการเมืองหรือพักผ่อน พักแบบไหนก็สุดแท้ จะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน
ฝ่ายเสียบ ทำไมไม่มีหน้าไหนหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็น "วาระแห่งชาติ" บ้าง


น้ำท่วมปีนี้ ก็ได้แต่ออกมาพูด....

- หนักที่สุดในรอบ 50 ปี
- หนักที่สุดในรอบ 50 ปี
- หนักที่สุดในรอบ 50 ปี
- หนักที่สุดในรอบ 50 ปี

แสดงว่าเคยมีภัยแบบนี้มาแล้ว เพียงแต่อาจจะไม่หนักเท่านี้ นั่นคื้อ เคยมีภัยเกิด
ขึ้นแล้วแต่ไม่เคยมีการแก้ไข ป้องกัน ใดๆทั้งสิ้น ก็ทุกรัฐบาลืที่ผ่านมานั่นแหละ....
เหมือนกันหมด นี่คือ รัฐบาลวันๆ ขอให้ผ่านไปวันๆ เท่านั้น

ฝ่ายค้าน-ฝ่ายเสียบ เสนอ ครม.ให้ฝ่ายรัฐบาลทำ แล้วฝ่ายตัวเองคอยตรวจสอบได้ไหม ?

ถ้าแก้ปัญหาภัย "แล้ง-ท่วม-หนาว" ทั้ง 3 ภัยได้ นั่นหมายถึงชีวิตที่มั่นคงของ
ประชาชนทั้งสิ้น

ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า โครงการพวกนี้ ไม่มี "คอร์รับชั่น-คอมมิสชั่น-ตามน้ำ-ทวน
น้ำ-ไต้โต๊ะ-บนเตียง" ให้กินหรือยังไง

ว่าไหม.....เป็นรัฐบาอย่างนี้ ตาคิมบ้าก็เป็นได้....เป็นฝ่ายค้าน-ฝ่ายเสียบแบบนี้
ตาคิมบ้าก็เป็นได้....ใครก็เป็นได้.....โถ อเน็จอนาถ



สวัสดีประเทศไทย
ตาคิม (บ้าน้ำ) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 25/10/2010 6:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

napassorn บันทึก:
จากที่ได้ตามข่าวเรื่องราคา อ้อย ปี 2554
ผลออกมาไกล้เคียงกับปีที่แล้ว


นายประกิตกล่าวว่า จากการศึกษาผลกระทบเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อรายได้ของชาว
ไร่อ้อย พบว่าในการกำหนดราคารับซื้ออ้อยขั้นต้น ฤดูกาลปี 2553/54 หากคิดที่
อัตราแลกเปลี่ยนที่ 30.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ค่าความหวานเฉลี่ยที่ระดับ 10 ซี
ซีเอส และราคาน้ำตาลทรายดิบส่งออก (โควตา ข.) อยู่ที่ 20.50 เซนต์ต่อปอนด์
ก็คาดว่าราคาอ้อยขั้นต้นจะอยู่ที่ 977.56 บาทต่อตัน และหากเงินบาทแข็งค่ามาอยู่
ที่ระดับ 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ราคาอ้อยขั้นต้นจะลดลงเหลือ 942.24 บาทต่อ
ตัน เมื่อเทียบกับราคาอ้อยขั้นต้นของฤดูกาลปี 52/53 ที่ 965 บาทต่อตัน จะทำให้
ชาวไร่อ้อยมีรายได้ลดลงเกือบ 23 บาทต่อตันอ้อย และยิ่งหากนำไปเปรียบเทียบ
กับราคาอ้อยขั้นสุดท้ายของฤดูกาลปี 52/53 ที่คาดว่าเฉลี่ยทั่วประเทศจะสูงถึง
1,102 บาทต่อตันอ้อย ก็จะเห็นว่าต่ำกว่ากันถึงประมาณ 160 บาทต่อตันอ้อย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/eco/118108[url][/url]


ปีนี้...ที่โคราช...
มีชาวไร่รายใหญ่มาให้ราคาเหมา 10,000-16,000 บาท / ไร่ (ประเมินตาม
สภาพ) คิดที่ตันละ 800 บาท ยังรอดูอยู่ว่าที่อื่น ๆ ราคาเป็นอย่างไร

และมีพ่อค้ามาเช่าลานรับซื้ออ้อยเงินสด..ไกล้บ้าน
ราคาเขาบอกว่าเริ่มต้นที่ 960 บาท / ตัน ไม่ทราบว่าที่อื่น ๆ ราคาเท่าไร ???
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 25/10/2010 6:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ของผมเปิดราคาที่ 1,000 ครับ ...... ผมรับซื้อที่ลานนะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 25/10/2010 7:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออนุญาติใช้ข้อความ

"kimzagass" แง่คิดที่

ปรัชญาการเกษตร :
กำไรเพิ่มขึ้นเองโดยอัตโนมัติเมื่อต้นทุนลด....อยากได้กำไรเพิ่มต้องลดต้นทุน....
อะไรๆ ก็มีแต่ "ปัญหา-ปัญหา และปัญหา" ชีวิตนี้จะไปอย่างไร

ทดสอบ :
ให้คนงานทำ แคลเซียม โบรอน (น้ำสีเหลือง) ซะเลย ทำ 2 รอบ ได้มา 20
ล. .....คิดซิ ลงทุน 425 บาท ได้แคลเซียม โบรอน ซุปเปอร์ 20 ล. เข้มข้น
อัตราใช้ 10 ซีซี./น้ำ 20 ล.

วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ :
ที่ขายตามร้านน่ะ อัตราส่วนประกอบขนาดนี้ เขาทำ 50 ล. แล้วให้ใช้ 20 ซีซี./น้ำ
20 ล. .... คิดอีก คิด คิด ถ้าซื้อตามร้านลิตรละ 350 นั่นคือ 50 x 350 = ?

* เห็นจุดจนตัวเองหรือยัง................... ?

* จากแคลเซียม โบรอน. ไปสู่ "สูตรอื่นๆ อื่นๆ และอื่นๆ " ที่จำเป็นต้องใช้ในสวน
ตัวเอง แค่ทำใช้เองนี่แหละ ไม่ต้องถึงกับทำขาย ทำแจก ก็ได้........ดีไหม ??



คิด-ค้น-พบ...เพื่อก้าวย่างอย่างมีศักดิ์ศรี
ลุงคิม (ความล้มเหลว คือ ความสำเร็จ) ครับผม
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 25/10/2010 7:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

napassorn บันทึก:
ขออนุญาติใช้ข้อความ



ใช้ข้อความ.....ใช้ทำอะไร....งง (ว่ะ)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 25/10/2010 7:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
napassorn บันทึก:
ขออนุญาติใช้ข้อความ




ใช้ข้อความ.....ใช้ทำอะไร....งง (ว่ะ)[


สำหรับเตือนตัวเองครับลุง
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 15, 16, 17  ถัดไป
หน้า 4 จากทั้งหมด 17

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©