-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 511 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารเคมี14








เกษตรกรปลูกข้าว สารเคมีตกค้างในเลือดเกินครึ่ง

โดย : สำนักข่าวประชาธรรม

พบวิกฤตเกษตรกรปลูกข้าว สุขภาพย่ำแย่ พบสารพิษตกค้างในเลือดกว่าร้อยละ 80 ข้าวที่ผลิตขาดคุณภาพ ดินเสื่อมโทรม สมัชชาสุขภาพเสนอวิธีแก้เกษตรกรรวมกลุ่มทำเกษตรอินทรีย์ ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ ทำโรงงานปุ๋ยชีวภาพกันเอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.นครสวรรค์มีการจัดเวที ?ข้าวกับสุขภาวะเกษตรกร? ณ ตำบลท่าข้าวกำนันทรง จ.นครสวรรค์ โดยมีเกษตรกร นักวิชาการ เจ้าของโรงสีเข้าร่วม ทั้งนี้ในเวทีดังกล่าวมีการนำเสนอข้อมูลวิจัยการปลูกข้าวที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร

นายไพศาล เจียนจินดา คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจ.นครสวรรค์กล่าวว่า คณะทำงานทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวในจังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษาใน 3 ประเด็นคือ
1. สุขภาพของเกษตรกร
2. วิถีชีวิตการผลิตของเกษตรกร
3. คุณภาพพันธุ์ข้าว

จากการทำการสำรวจทำให้พบว่า สถานการณ์ข้าวในจังหวัดนครสวรรค์กำลังย่ำแย่ นั่นหมายรวมถึงสุขภาพของเกษตรกรด้วย มีการตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกรจาก 3,245 ราย พบว่าเกษตรกรมีสารพิษตกค้างในร่างกายทุกระดับถึงร้อยละ 84 และมีเกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังดูแลถึงร้อยละ 37 โดยแยกเป็นกลุ่มที่ไม่ปลอดภัยร้อยละ 9 และกลุ่มที่มีความเสี่ยงร้อยละ 28

ทั้งนี้เพราะมีการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร หรือปลูกข้าวเป็นปริมาณมาก โดยใช้ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 88 ใช้ยาฆ่าหญ้า ร้อยละ 79.5 ใช้ยาฆ่าหญ้า ร้อยละ 79.5 ใช้ยาฆ่าแมลง ร้อยละ 62.5 ใช้ยาฆ่าหอยฆ่าปู ร้อยละ 46.1 และใช้สารสมุนไพรหรือชีวภาพเพียงร้อยละ 7.3 เท่านั้น

นายไพศาล กล่าวว่าเกษตรกรยังต้องพึ่งแหล่งทุนในการทำการเกษตร มีเพียงร้อยละ 26 เท่านั้นที่ใช้เงินทุนส่วนตัวในการทำนา โดยใช้เงินทุกจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 56.2 กองทุนหมู่บ้านร้อยละ 44.6 เงินกู้สหกรณ์ร้อยละ 13 และกู้เงินจากนายทุน ร้อยละ 10.2 ทั้งนี้เพราะการใช้สารเคมีดังกล่าวทำให้เกษตรกรต้องลงทุนสูงมาก

นายไพศาล กล่าวต่อว่า ในเรื่องของคุณภาพพันธุ์ข้าวที่ชาวบ้านปลูกนั้นได้ใช้เกณฑ์ 5 เกณฑ์ที่โรงสีใช้มาตรวจสอบ คือ
1. วัดความชื้นของเมล็ดข้าว
2. น้ำหนักของข้าวกล้อง 3. ตรวจหาเมล็ดแดง
4. น้ำหนักข้าวเมล็ดเต็ม และ
5. ดูลักษณะข้าว

ซึ่งจาก 2581 ตัวอย่าง มีพันธุ์ข้าวที่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อมาแค่ 4 ตัวอย่าง จึงจะเห็นได้ว่าพันธุ์ข้าวที่จังหวัดนครสวรรค์ตอนนี้เกิดปัญหาขึ้นแล้ว

นายประมวล ตันสุวรรณ ตัวแทนเกษตรกรกล่าวว่าการที่เกษตรกรจะปรับเปลี่ยนลดการใช้การใช้สารเคมีในการปลูกข้าวยังเป็นเรื่องยากมาก ความจริงแล้วมีความพยายามในการหาทางออกด้วยการปลูกข้าวปลอดสารพิษมานานแล้ว แต่จำกัดอยู่แต่ในวงแคบและไปไม่ได้ไกล เนื่องจากขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง นอกจากนี้เกษตรกรก็ยังไม่มีอำนาจต่อรองมากนัก จึงต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนด้วยเพื่อจะหันกลับไปสู่ภูมิปัญญาของชาวบ้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวทีดังกล่าวมีข้อเสนอต่อปัญหาดังกล่าวคือ เกษตรกรควรหันมาทำการเกษตรครบวงจรตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการแปรรูป และประสานเชื่อมโยงกับโรงสีในการผลิตข้าว เพื่อช่วยในเรื่องการตลาดด้วย นอกจากนี้ปัญหาคุณภาพดินเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องมีการแก้ปัญหา โดยจะต้องมีการลดการปลูกพืชที่ซ้ำซากในพื้นที่เดิมโดยไม่บำรุงดิน ลดการใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะสารเคมีดังกล่าวจะทำให้จุลินทรีย์ในเนื้อดินตาย เมื่อไม่มีจุลินทรีย์ก็จะไม่สามารถย่อยซากพืชซากสัตว์ ดินก็จะไม่มีแร่ธาตุ

ส่วนการใช้สารเคมีมากเกินไป ทำให้ดินเสีย เป็นกรด ด่าง และแข็ง วิธีแก้ก็คือ ให้เกษตรกรหันมาใช้อินทรีย์ชีวภาพ ใช้ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยหมักในการทำการเกษตร เพื่อเป็นการบำรุงดินไม่ให้เสียมากไปกว่าเดิม และเป็นการเติมแร่ธาตุให้ดินอีกด้วย

นอกจากนี้เวทีดังกล่าวยังมีข้อเสนอต่อการพัฒนาคุณภาพพันธุ์ข้าว 2 แนวทาง คือ
1.นำพันธุ์ข้าวมาจากศูนย์ขยายพันธุ์ข้าวของรัฐ
2.เกษตรกรรวมกลุ่มรวบรวมพันธุ์ข้าวชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวระหว่างกัน และยังมีข้อเสนอต่อเรื่องการรวมกลุ่มเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพระดับชุมชน และระดับตำบลด้วยเพื่อให้เกิดการใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและเป็นจริงขึ้น



 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1184 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©