-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 316 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารเคมี10





"ชุดตรวจสารเคมีกำจัดแมลง 4 กลุ่ม"
นวัตกรรมใหม่ เพื่อคนไทยมีสุขภาพดี



จากสถิติการนำเข้าสารเคมีและวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทย ในปี 2550-2552 พบว่าประเทศไทยมีการนำเข้าปริมาณเฉลี่ย 67,742 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 16,815 ล้านบาท เมื่อเทียบกับข้อมูลในปี 2539 ที่มีปริมาณ เพียง 25,540 ตันเท่านั้น นับว่ามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ165 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก  การใช้สารเคมีทางการเกษตรในปริมาณที่เพิ่มขึ้นมาก กอปรกับกระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสม หรือไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ที่ถูกต้อง ทำให้มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพของผู้คนและสิ่งแวดล้อม ผลการตรวจพบว่ามีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1) กลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต เช่นคลอไพริฟอส
2) กลุ่มคาร์บาเมต เช่น เมทโธมิล และ คาร์บาริล
3) กลุ่มไพเรทรอยด์เช่น ไซเปอร์เมทริน และ
4) กลุ่มออร์กาโนคลอรีน เช่น เอ็นโดซัลแฟน สารเคมีที่ใช้กำจัดหอยเชอรี่ ที่ทำลายต้นข้าว

โดยสารเคมีกำจัดแมลง 3 กลุ่มแรกนี้เป็นสารเคมีทางการเกษตรที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนกลุ่มที่ 4 คือ ออร์กาโนคลอรีน ปัจจุบันได้ประกาศห้ามใช้แล้ว แต่เนื่องจากเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ตกค้างยาวนานและสลายตัวได้ยาก หากได้รับสารเคมีชนิดนี้เข้าไปสะสมในร่างกายจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากไม่รีบเร่งแก้ไขก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ดังนั้นแนวทางแก้ไขคือ การให้ความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผลิตผลทางการเกษตรก่อนนำออกสู่ตลาด หรือก่อนจำหน่ายให้กับผู้บริโภคซึ่งนอกจากการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าแก่ผู้บริโภคอีกด้วย


นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนจากการบริโภคผลิตผลทางการเกษตรที่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้คิดค้นพัฒนาชุดทดสอบสารเคมีกำจัดแมลงในผัก ผลไม้และธัญพืชเพื่อให้ประชาชนหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไป ใช้ในการตรวจสารตกค้างได้ด้วยตนเองโดยวิธีการที่ง่ายๆ มีวัสดุอุปกรณ์น้อย สามารถพกพาไปใช้ในภาคสนามได้ ชุดทดสอบดังกล่าวมีสองประเภท ประเภทแรกใช้ตรวจคัดกรองว่ามีสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างหรือไม่ มีทั้งแบบตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดแมลง 2 กลุ่มและแบบตรวจคัดกรอง 4 กลุ่ม แล้วยังใช้ในการตรวจเบื้องต้นซึ่งสามารถบอกค่าประมาณการปนเปื้อนของสารพิษว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย หรือเป็นพิษมากน้อยอย่างไร

ส่วนประเภทหลังใช้สำหรับทดสอบตรวจหาชนิดของสารเคมีกำจัดแมลง 4 กลุ่ม ว่าเป็นสารเคมีชนิดใดตามประกาศว่าด้วยการกำหนดค่าตกค้างสูงสุดของสารเคมีกำจัดแมลง ที่ออกข้อกำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทราบผลได้ภายใน 1 ชั่วโมงชุดทดสอบสารเคมีกำจัดแมลงของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีตราสัญลักษณ์งูพันคบเพลิง และมีชื่อกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์ชัดเจน 

ชุดทดสอบจัดเป็นเครื่องมือสำหรับประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียน โรงพยาบาล สถานศึกษาตลาด อาสาสมัคร และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ใช้ในการตรวจคัดกรอง ค้นหา และเฝ้าระวังความปลอดภัย นอกจากนี้ยังใช้ในการตรวจเพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าในแหล่งผลิต/จำหน่าย เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งกระแสสังคมปัจจุบันใส่ใจในการเลือกบริโภคอาหารสุขภาพ และสามารถส่งออกแข่งขันในตลาดการค้าเสรี อีกทั้งยังใช้ตรวจเพื่อควบคุม ป้องกันการนำเข้าสินค้าปนเปื้อนสารเคมีอันตราย อันเป็นการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค

ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งเสริมให้ชุมชนทั่วประเทศนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ จึงเปรียบเสมือนเป็นภูมิคุ้มกันที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยแก่ประชาชนที่เลือกบริโภคอาหารสุขภาพมากขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นยังส่งเสริมให้ชุมชนได้ใช้เครื่องมือนี้อย่างมีส่วนร่วม ช่วยเหลือพึ่งพากันของคนในชุมชนและท้องถิ่น ดังตัวอย่างที่มีการนำไปใช้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม เช่น ตลาดสดบางลำพู จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี สาขายางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ ชุมชนอำเภอซัมสูง จังหวัดขอนแก่น และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 เป็นต้น

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงผลงานการพัฒนาชุดทดสอบสารเคมีกำจัดแมลงในผักผลไม้ และธัญพืชว่า มีทั้งแบบตรวจคัดกรองได้ 2 กลุ่ม (กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตกับคาร์บาเมท) และแบบตรวจคัดกรอง 4 กลุ่ม (คือ 2 กลุ่มแรกกับกลุ่มไพเรทรอยด์และกลุ่มออร์กาโนคลอรีน) ใช้ทดสอบได้ง่าย ตรวจได้สะดวก รวดเร็วและสามารถตรวจได้จำนวนมากในคราวเดียวกัน ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาที และได้มีการพัฒนาต่อเนื่องเพิ่มอีกหนึ่งชุด สามารถตรวจหาชนิดสารเคมีกำจัดแมลงได้ทั้ง 4 กลุ่ม โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ชุดทดสอบมีความไว ความถูกต้อง และความแม่นยำ สามารถใช้ทดสอบกึ่งหาปริมาณการปนเปื้อนไม่ให้เกินมาตรฐานในประเทศหรือตามมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ซึ่งมีความสำคัญมากในยุคการค้าเสรีปัจจุบันที่แต่ละประเทศต่างมีความเข้มงวดในเรื่องของการตรวจสอบตามมาตรการสุขอนามัยในพืช เพราะจะมีผลในเรื่องของการกีดกันทางการค้าตามมา

นายศิริพงษ์ ณ น่าน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ขอนแก่นกล่าวเพิ่มเติมภายหลังการตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารพิษตกค้างในผักผลไม้ที่ตลาดสดบางลำพูจังหวัดขอนแก่นว่า เป็นที่น่ายินดีที่ตลาดสดแห่งนี้ได้นำเทคโนโลยีชุดตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดแมลงของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไปใช้ตรวจสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างในผักจากร้านค้าและร้านอาหารในตลาด เปรียบเทียบก่อนและหลังการล้างที่จุดล้างกลางของตลาด ด้วยระบบล้าง 3 อ่าง คือ

ล้างดินและสิ่งสกปรกในอ่างแรก ตามด้วยผงฟู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตรในอ่างที่ 2 แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดในอ่างสุดท้าย

พบว่า ก่อนล้างมีสารตกค้าง ในระดับที่ไม่ปลอดภัยคิดเป็นร้อยละ 18.2 แต่หลังจากการล้างแล้ว พบว่าผักทุกตัวอย่างมีความปลอดภัย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีในการส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยโดยภาคประชาชน เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าสารเคมีกำจัดแมลงมีพิษร้ายต่อสุขภาพ ตั้งแต่มีพิษน้อย ไปจนถึงขั้นรุนแรง และอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการวิจัยในเกษตรกรกลุ่มที่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง (กลุ่มตัวอย่าง 850 คน)พบว่ามีความเสี่ยงที่จะพบอาการผิดปกติทางคลินิกมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ (กลุ่มตัวอย่าง 407 คน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการตรวจความเป็นพิษในเซลล์ของเกษตรกรจำนวน506 คน เพื่อดูความเสียหาย ในระดับดีเอ็นเอพบว่ากลุ่มที่ใช้สารเคมี มีแนวโน้มความเสียหายมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้สารฯ ผลดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับความเป็นพิษ เช่น มะเร็ง ดังนั้นการ การเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผลิตผลทางการเกษตรเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยโดยใช้ชุดทดสอบสารเคมีกำจัดแมลงในผัก ผลไม้ และธัญพืชนี้ จึงมีประโยชน์ และสามารถพกพานำไปใช้ได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะใช้ในแปลงเกษตร ตลาดสด ท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียนด่านนำเข้า หรือโรงงานผลิตส่งออก ซึ่งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญมากในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1617 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©