-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 371 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารเคมี6








ยาฆ่าแมลงในบ้านชนิดพ่นฝอย

ทวีศักดิ์ สุนทรธนศาสตร์


ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคแถบป่าร้อนชื้น แมลงที่ก่อความรำคาญและเป็นพาหะของเชื้อโรคมาสู่มนุษย์มีมากมายหลายชนิด การกำจัดแมลง โดยวิธีฉีดพ่นด้วยสารเคมีเป็นวิธีที่นิยมใช้มาก ผลิตภัณฑ์จะบรรจุกระป๋องอัดด้วยก๊าซเมื่อกดเปิดลิ้น ก๊าซที่ถูกอัดไว้จะพาเอาน้ำยาพ่นออกมาเป็น ละอองฝอย (aerosols) หรือเป็นของเหลวบรรจุกระป๋อง เพื่อเทบรรจุในกระบอกอัดฉีดพ่นเป็นละอองฝอย (spray) สารสำคัญของผลิตภัณฑ์เหล่านี้จัดเป็น สารพิษทั้งสิ้น สารเคมีที่เป็นสารแสดงฤทธิ์ฆ่าแมลง ที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่


ไดคลอฟอส (dichlorvos)
จัดเป็นกลุ่มยาฆ่าแมลงชนิด organophosphorus insecticide มีความเป็นพิษสูง ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง ก่อให้เกิดการ กลายพันธุ์ (mutagen) และความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ (teratogen) นอกจากนี้ยังพบพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน (ผิดปกติ) ในสัตว์ทดลอง แม้จะได้รับ
ในขนาดต่ำ


เฟนนิโตรไธออน (fenitrothin)
เป็นกลุ่มของ organophosphorus insecticide ที่มีความเป็นพิษสูง ก่อให้เกิดความระคายเคืองและมีฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์
  


มาลาไธออน (malathion)
เป็นกลุ่มของ organo–phosphorus insecticide ที่มีพิษสูงก่อให้เกิดความระคายเคือง และความผิดปกติต่อทารกได้ ผู้ที่ได้รับสารพิษนี้นานๆ จะพบการเบี่ยงเบนของพฤติกรรมทางอารมณ์ได้


ไพริมิฟอส เมทิล (pirimiphos methyl)
เป็นสารพิษกลุ่ม organophosphorus insecticide ที่มีความเป็นพิษสูง นอกจากอาการระคายเคืองต่อตา และผิวหนังแล้ว ยังมีพิษต่อการกลายพันธุ์ด้วย


ลินเดน (lindane)

เป็นสารพิษที่จัดอยู่ในกลุ่ม organochlorine insecticide อนุพันธุ์เดียวกันกับ ดี.ดี.ที. สารพิษนี้สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดี เป็นสารก่อเกิดมะเร็ง(carcino-gen) และก่อให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้ด้วย หากได้รับในปริมาณสูงหรือติดต่อกันนานๆ จะก่อให้เกิดการทำลายของระบบประสาทส่วน กลางได้ ปัจจุบันหลายประเทศได้ประกาศห้ามใช้สารพิษนี้


ไพรีทรอยด์ (pyrethroids)

เป็นกลุ่มของสารที่สกัดได้จากพืชตระกูลเดียวกันกับดอกเบญจมาศปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์อนุพันธุ์ใน กลุ่มนี้ได้ เรียกว่าไพรีทรอยด์ สารในกลุ่มนี้เป็นพิษน้อยที่สุด อาการเป็นพิษที่พบได้แก่ อาการระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง

สารพิษดังกล่าวข้างต้น มีการสังเคราะห์อนุพันธุ์ใหม่สู่ตลาดเสมอ อย่างไรก็ตาม สารเหล่านี้มีพิษสูงต่อมนุษย์ ข้อควรปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้สารพิษเข้าสู่ร่างกาย กระทำได้ดังนี้

1. กำจัดแหล่งกำเนิดหรือซุกซ่อนของแมลงเหล่านี้ เช่น ทำความสะอาดห้องครัว หรือห้องอื่นๆ ภายในบ้าน ไม่ให้เป็นที่อาศัย ของแมลง ปราศจากขยะหรือเศษอาหารอันจะเป็นอาหารของแมลงต่างๆ ซึ่งจะเจริญพันธุ์ออกลูกออกหลานมากมาย ตู้กับข้าวจะ ต้องสะอาดและปิดได้สนิท ไม่มีแหล่งน้ำขังที่จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเป็นต้น

2. ใช้วิธีการกำจัดแมลงวิธีอื่นแทนการฉีดพ่น เช่น ใช้กระดาษดักแมลง (fly papers) หรือกาวจุ่มพันไม้ (glue stick) เพื่อดักจับแมลงวัน สำหรับแมลงสาบอาจใช้บ้านแมลงสาบ เป็นต้น

3. หากจำเป็นต้องใช้การฉีดพ่นแล้ว ควรลดอัตราเสี่ยงจากสารพิษดังนี้

       หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นโดยตรง หรือใกล้เคียงกับอาหาร ที่รับประทานหรือบริเวณเตรียมอาหาร

  • เก็บสารพิษเหล่านี้ให้พ้นมือเด็กในที่ปลอดภัย
  • บริเวณที่ต้องการฉีดพ่นต้องปลอดจาก ผู้คนหรือสิ่งมีชีวิตอื่น
  • บริเวณนั้นควรต้องมีการระบายอากาศได้ดี ไม่เป็นที่อับหรือมิดชิด
  • ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยที่สุด (มีพิษน้อยที่สุด) ซึ่งเราเลือกซื้อหาได้ โดยอ่านจากฉลากปิดภาชนะ
  • ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำบนฉลากปิดภาชนะนั้นๆ



สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
เทคโนธานี ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ประเทศไทย
โทรศัพท์ 0-2577-9000
โทรสาร 0-2577-9009

196 พหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 0-2579-1121..30,0-2579-5515,0-2579-0160,0-2579-8533
โทรสาร. 0-2561-4771,0-2579-8533 เทเลกซ์. 21392 TISTR TH
เว็บไซด์ :
http://www.tistr.or.th
E-mail: hotline@tistr.or.th

กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี

ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0-2246-0064 , 0-2640-9600
โทรสาร: 0-2246-8106
เว็บไซด์ :
http://www.most.go.th
อีเมล์ : helpdesk@most.go.th


สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2544 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1642 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©