-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 163 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ลำไย




หน้า: 3/6



เครื่องวัดความชื้นลำไยอบแห้งทั้งเปลือก
ประหยัดเชื้อเพลิง เวลา และเงินทุน
 
ตามร่างมาตรฐานสินค้าลำไยอบแห้งเพื่อการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้ลำไยอบ แห้งมีระดับความชื้นไม่เกินร้อยละ 14 และ ได้กำหนดวิธีมาตรฐานในการหาปริมาณความชื้นลำไยอบแห้งทั้งเปลือก โดยการอบแห้งใน ตู้อบลมร้อน หรือตู้อบสุญญากาศ มาตรฐาน ที่กำหนดเป็นผลดีต่อการค้าและส่งออกลำไยอบแห้ง เป็นผลให้ลู่ทางการทำลำไยอบแห้ง มีโอกาสขยายตัวกว้างขวางขึ้น ซึ่งการอบแห้งโดยตู้อบลมร้อนหรือตู้อบสุญญากาศเป็นวิธีที่แม่นยำได้ค่าความชื้นที่เชื่อถือได้ แต่ใช้เวลาในการอบแห้งจนได้น้ำหนักคงที่ไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง จึงจะคำนวณผลเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้เวลานานมากทำให้ไม่เหมาะในการใช้หาความชื้นลำไยอบแห้งเพื่อการค้าและไม่สะดวกในการปฏิบัติ
   
นายอัคคพล เสนาณรงค์ ผู้อำนวย การสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชา การเกษตร กล่าวว่า กลุ่มวิจัยเกษตรวิศว กรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาต้นแบบเครื่องวัดความชื้นลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ที่สามารถวัดความ ชื้นลำไยอบแห้งเพื่อการค้าและการส่งออก โดยใช้เวลาในการวัดหาค่าน้อย ได้ค่าที่น่า เชื่อถือและสอดคล้องกับผลจากวิธีในห้องปฏิบัติการ สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรผู้ประกอบการลำไยอบแห้งตลอดจนพ่อค้าที่รับซื้อลำไยอบแห้งทั้งเปลือก
   
นายชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์ วิศวกรการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว และทีมงานวิจัย ได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องมือวัดความชื้นลำไยโดยเริ่มจากเครื่องมือวัดความชื้นลำไยอบ แห้งทั้งเปลือกแบบความต้านทานไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องวัดแบบหัวเสียบ แสดงผลแบบ อนาล็อก วัดลำไยทีละลูก การวัดทีละลูกทำให้การดำเนินการวัดลำไย  เพื่อเป็นตัว แทนจำนวนขนาดใหญ่ เช่น การอบแห้งลำไยทั้งเปลือกแบบกระบะซึ่งมีปริมาณ      ไม่น้อยกว่า 2 ตัน จะใช้เวลาดำเนินการ  นานมาก
   
หลังจากที่ได้ดำเนินการพัฒนาทดสอบ ปรับปรุง แก้ไข ในช่วงหลัง ก็ได้เครื่องมือ วัดความชื้นลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ซึ่งพัฒนา ขึ้นมาให้วัดลำไยขนาด เอเอ ซึ่งเป็นขนาดเพื่อการส่งออก โดยวัดครั้งละ 15 ลูก โดยกระบวนการเริ่มจากการแกะเปลือกลำไยอบแห้งที่คัดออกมาเป็นตัวอย่างขนาด เอเอ จำนวน 15 ลูก เสร็จแล้วนำมาบรรจุในหัว วัดทรงกระบอก ปิดฝาให้แน่น เปิดสวิตช์เครื่องวัด นำหัววัดที่บรรจุตัวอย่างไปใส่ในช่องบรรจุหัววัดของเครื่อง กดปุ่มอ่านค่าซึ่ง จะใช้เวลาในการวัด ตั้งแต่เริ่มแกะเปลือกตัวอย่างจนกระทั่งการวัดเสร็จสิ้นไม่เกิน 5 นาที มาตรฐานที่ใช้ในการหาความชื้นพบว่า สามารถวัดความชื้นลำไยอบแห้งตั้งแต่เริ่มการอบลำไยสดจนได้ลำไยแห้งโดยสามารถ วัดในช่วงความชื้น  60% ถึง 10% (ความชื้นมาตรฐานเปียก) ที่ค่าความผิดพลาดบวกลบไม่เกิน 0.25
   
เครื่องวัดขนาดนี้การวัดทำได้ 2 วิธี คือ  ใช้งานอยู่กับที่โดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้าเสียบเข้ากับไฟบ้าน หรือจะใช้กับถ่าน 9 โวลต์ นำออกไปวัดความชื้นลำไยในภาคสนามได้
   
สำหรับประโยชน์ของเครื่องวัดความชื้นลำไยที่กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยวพัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ มีประโยชน์อยู่  2 ประการ  คือ
1. การวัดความชื้นลำไยในระหว่างซื้อขาย  และ 
2. การวัดระหว่างดำเนินการอบ เครื่องนี้สามารถบอกได้ว่า ขณะนี้ลำไยแห้งดีแล้ว คือ ความชื้น 14% ก็จะหยุดทำงาน  นอกจากนั้นยังสามารถนำไปวัดในระหว่างการเก็บรักษาลำไยอบแห้งได้ด้วย
   


สนใจสอบถามได้ที่กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว  สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม  คลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี โทร. 0-2529-0663-4.

ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=49954


                     

การบังคับต้นลำไยไม่ให้ออกดอกและติดผลในฤดู
ด้วยการเขตกรรม


คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นายพิจิตร ศรีปินตา ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

หัวหน้าการทดลอง นายพิจิตร ศรีปินตา ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ผู้ร่วมงาน นายอนันต์ ปัญญาเพิ่ม ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

นายสมพงษ์ คูตระกูล ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันน่าน

นางพัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1

นายอนรรค อุปมาลี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1

นางสาวศิริพร หัสสรังสี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1

บทคัดย่อ
การศึกษาการบังคับต้นลำไยไม่ให้ออกดอกและติดผลในฤดูด้วยการเขตกรรมโดยมีวิธีการ
1) การดูแลรักษาตามปกติ (กรรมวิธีควบคุม)
2) การตัดปลายกิ่งความยาว 10-15 นิ้วในเดือนพฤศจิกายน
3) พ่นโพแทสเซียมไนเตรท 2.5 เปอร์เซ็นต์
4) พ่นไทโอยูเรีย 0.5 เปอร์เซ็นต์ในเดือนพฤศจิกายน
5) ใส่ยูเรีย 1-2 กิโลกรัมต่อต้นในเดือนพฤศจิกายน
6) ให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในเดือนพฤศจิกายน – มกราคม

ปี 2549-2550 ณ สวนเกษตรกรในสภาพพื้นที่ลุ่ม (ปลูกแบบยกร่อง) และที่ดอนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนพบว่า การตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้วในเดือนพฤศจิกายนทำให้ลำไยไม่มีการออกดอก ในปีที่ 1 และมีการออกดอกเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ 2 การพ่นโพแทสเซียมไนเตรท 2.5 เปอร์เซ็นต์หรือการพ่นไทโอยูเรีย 0.5 เปอร์เซ็นต์ในเดือนพฤศจิกายนสามารถยับยั้งการออกดอกได้ในบางปีแต่การให้ยูเรีย 1–2 กิโลกรัมต่อต้นในเดือนพฤศจิกายน หรือการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในเดือนพฤศจิกายน-มกราคมไม่สามารถยับยั้งการออกดอกของลำไย



คำนำ
ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2548 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูก820,985 ไร่ ผลผลิต 712,178 ตัน(ไมตรี,2548) ปริมาณการส่งออก 132,000 ตัน มูลค่า 2,135 ล้านบาท (กรมศุลกากร,2550) หรือส่งออกประมาณ 20% ของผลผลิตทั้งหมด การแก้ปัญหาลำไยล้นตลาดโดยกระจายผลผลิตลำไยออกสู่ตลาดไม่กระจุกตัวมากในช่วงเดือน ก.ค - ส.ค ซึ่งจากเดิมการผลิตลำไยในฤดูมีพื้นที่การปลูกจำนวน 6 ล้านไร่ คิดเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด ให้ผลผลิตประมาณ 900 กก.ต่อไร่ ส่วนพื้นที่การปลูกลำไยนอกฤดูมีประมาณ 6 หมื่นไร่ คิดเป็นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด ให้ผลผลิตประมาณ 1,000 กก./ไร่ รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายให้เกษตรกรเพิ่มการผลิตลำไยนอกฤดูเพื่อแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดในฤดูทำให้ราคาตกต่ำ แต่การผลิตลำไยนอกฤดูที่ผ่านมายังมีปริมาณน้อย

ทั้งนี้เพราะว่ามีปัญหาหลายประการ ซึ่งปัญหาประการหนึ่งเกิดจากในปีที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นระยะเวลายาวนาน ลำไยจะมีการออกดอกและติดผลดีทำให้เกษตรกรเกิดความเสียดายไม่อยากที่จะทำลายดอกและผลทิ้ง และอีกปัญหาหนึ่งเกิดจากเกษตรกรไม่มีวิธีการที่ดีที่จะบังคับให้ลำไยไม่มีการออกดอกติดผลในฤดู

อุปกรณ์

- ต้นลำไยอายุ 6 ปี ในสภาพการปลูกบนที่ดอน และ 10 ปี ในสภาพการปลูกพื้นที่ลุ่ม(ปลูกแบบ ยกร่อง)

- วัสดุการเกษตร ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี
- สารโพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) และไทโอยูเรีย (Thiourea)
- สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- อุปกรณ์ในการพ่นสารเคมี

- อุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูลการทดลอง เช่น ตัวนับ (counter)

วิธีการดำเนินการวิจัย

เลือกต้นลำไยที่มีอายุสามารถออกดอกและติดผลได้แล้วจำนวน 24 ต้นต่อพื้นที่ วางแผนการทดลอง RCB จำนวน 4 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ต้น ต่อกรรมวิธี มี 6 กรรมวิธี ได้แก่
1. กรรมวิธีควบคุม (ดูแลรักษาตามปกติ)
2. ตัดปลายกิ่งลำไยออกยาว 10–15 นิ้ว ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
3. พ่นสาร KNO3 อัตรา 2.5 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
4. พ่นสารไทโอยูเรีย อัตรา 0.5 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
5. ให้ปุ๋ยยูเรีย (46–0–0) อัตรา 1–2 กิโลกรัมตามขนาดของต้นในเดือนพฤศจิกายน

6. ให้น้ำทุกสัปดาห์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม

บันทึกข้อมูล

- ระยะเวลาตั้งแต่ใช้กรรมวิธีจนถึงแทงยอดอ่อนและเปอร์เซ็นต์การแทงยอดอ่อนหรือแตกใบอ่อน
- เปอร์เซ็นต์การออกดอก

- เปอร์เซ็นต์การติดผล

สถานที่ดำเนินงานวิจัย
1. สวนเกษตรกร จ. เชียงใหม่ (ปลูกแบบพื้นที่ดอน)

2. สวนเกษตรกร จ. ลำพูน (ปลูกแบบพื้นที่ลุ่มหรือปลูกแบบยกร่อง)


ผลการทดลองและวิจารณ์

สภาพพื้นที่ลุ่ม 2549 (ปีที่ 1) 
เปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อน

การบังคับลำไยไม่ให้ออกดอกติดผลในฤดู ในสภาพพื้นที่ลุ่มหรือปลูกแบบยกร่องได้ทดลองกับลำไยพันธุ์ดอ อายุ 10 ปี พบว่า

การตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้ว ในเดือนพฤศจิกายน มีเปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อนมากที่สุด เท่ากับ 100% แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับทุกกรรมวิธี
รองลงมาเป็นการพ่นไทโอยูเรีย อัตรา 0.5% ในเดือนพฤศจิกายน การให้ปุ๋ยยูเรีย 2 กก./ต้น ในเดือนพฤศจิกายน

การดูแลรักษาตามปกติ(กรรมวิธีควบคุม) การพ่นโพแทสเซียม ไนเตรท อัตรา 2.5% ในเดือนพฤศจิกายน  การให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มกราคม โดยมีเปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อน 72.7, 66.0, 60.7, 57.5 และ 51.9 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ 

เปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก การตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้ว เดือนพฤศจิ
กายนพบว่า ไม่มีการแทงช่อดอก แตกต่างทางสถิติกับทุกกรรมวิธี โดยการพ่นไทโอยูเรีย อัตรา 0.5% ในเดือนพฤศจิกายน การให้ปุ๋ยยูเรียปริมาณ 2 กก./ต้น การดูแลรักษาตามปกติและการพ่นโพแทสเซียมไนเตรท มีเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก 27.3, 34.0, 39.3 และ 42.5 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในเดือนพฤศจิกายน– มกราคม มีการแทงช่อดอกมากที่สุดเท่ากับ 48.1 เปอร์เซ็นต์


สภาพพื้นที่ดอน

เปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อน
การตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้วในเดือนพฤศจิกายน มีเปอร์เซ็นต์แตกใบอ่อน 100 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับทุกกรรมวิธี แต่ไม่แตกต่างทางสถิติ

การพ่นโพแทสเซียมไนเตรทอัตรา 2.5% ในเดือนพฤศจิกายน ที่มีเปอร์เซ็นต์แตกใบอ่อน 99.9 เปอร์เซ็นต์ สำหรับกรรมวิธีที่ให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน –มกราคม  การให้ปุ๋ยยูเรียจำนวน 1 กก./ต้นในเดือนพฤศจิกายน การพ่นไทโอยูเรียอัตรา 0.5% ในเดือนพฤศจิกายน และกรรมวิธีที่มีการดูแลรักษาตามปกติ มีเปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อนไม่แตกต่างกันทางสถิติโดยมีเปอร์เซ็นต์แตกใบอ่อน 52.0, 51.3, 50.0 และ 44.6 ตามลำดับ

เปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก
จากการศึกษาพบว่า การตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้ว ในเดือนพฤศจิกายนทำให้ลำไยไม่มีการแทงช่อดอกและการพ่นโพแทสเซียม ไนเตรท อัตรา 2.5% เดือนพฤศจิกายน มีเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอกเพียง 0.09% แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับการให้น้ำ 1 ครั้ง/สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - มกราคม การให้ปุ๋ยยูเรียจำนวน 1 กก./ต้น การพ่นไทโอยูเรียอัตรา 0.5% ในเดือนพฤศจิกายนและกรรมวิธีควบคุม(ดูแลรักษาตามปกติ) ที่มีเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก 48.0,  48.8,  50.0  และ 55.4
เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 

ปี พ.ศ. 2550 (ปีที่ 2)

สภาพพื้นที่ลุ่ม (ปลูกแบบยกร่อง)

เปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อน
ในปีที่ 2 ของการทดลองพบว่า ในสภาพการปลูกแบบยกร่อง การพ่นไทโอยูเรียอัตรา 0.5% การพ่นโพแทสเซียมไนเตรท 2.5% และการตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้วในเดือนพฤศจิกายนมีเปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อนไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีเปอร์เซ็นต์แตกใบอ่อน 99.9, 99.8 และ 82.5% ตามลำดับ แต่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับที่ให้ปุ๋ยยูเรียปริมาณ 2 กิโลกรัมต่อต้น การดูแลรักษาปกติและการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ที่มีเปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อน 47.5, 20.0 และ 10.0
เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ


เปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก
การพ่นไทโอยูเรียอัตรา 0.5% การพ่นโพแทสเซียม ไนเตรท อัตรา 2.5% และการตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้วในเดือนพฤศจิกายน มีเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก 0.09,  0.18 และ 17.5% ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 กรรมวิธี มีเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอกไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอกแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับกรรมวิธีการให้ปุ๋ยยูเรีย ปริมาณ 2 กก./ต้นในเดือนพฤศจิกายน การดูแลรักษาตามปกติ (กรรมวิธีควบคุม) และการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ที่มีเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก 52.5, 80.0 และ 90.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


เปอร์เซ็นต์การติดผล
การพ่นโพแทสเซียมไนเตรทอัตรา 2.5% การพ่นไทโอยูเรียอัตรา 0.5% และการตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้วในเดือนพฤศจิกายน มีเปอร์เซ็นต์การติดผล0.13, 0.18 และ 9.70 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
แต่แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับการให้ปุ๋ยยูเรียปริมาณ 2 กิโลกรัมต่อต้นในเดือนพฤศจิกายน การดูแลรักษาตามปกติ(กรรมวิธีควบคุม) และการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ที่มีเปอร์เซ็นต์การติดผล 53.3, 58.5 และ 69.2%ตามลำดับ


สภาพพื้นที่ดอน
เปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อน
การแตกใบอ่อนในปีที่ 2 พบว่า การตัดปลายกิ่งความยาว 10 – 15 นิ้วในเดือนพฤศจิกายน มีเปอร์เซ็นต์แตกใบอ่อนมากที่สุด 79.8 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับกรรมวิธีอื่นๆ รองลงมาเป็นกรรมวิธีควบคุม (การดูแลรักษาตามปกติ) การให้ปุ๋ยยูเรียปริมาณ 1 กิโลกรัมต่อต้น การพ่นไทโอยูเรีย อัตรา 0.5 เปอร์เซ็นต์ การพ่นโพแทสเซียมไนเตรทอัตรา 0.5 เปอร์เซ็นต์ในเดือนพฤศจิกายน และการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ที่มีเปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อน 50.0, 30.0, 25.0  และ 10.0
เปอร์เซ็นต์

เปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก
การตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้วในเดือนพฤศจิกายน มีเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอกน้อยที่สุด 20.3 เเปอร์เซ็นต์ แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับการให้ปุ๋ยยูเรียปริมาณ 1 กิโลกรัมต่อต้น การพ่นไทโอยูเรียอัตรา 0.5 เปอร์เซ็นต์ การพ่โพแทสเซียมไนเตรทอัตรา 2.5 เปอร์เซ็นต์ในเดือนพฤศจิกายน และการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ที่มีเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก 70.0, 75.0, 80.0 และ 92.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม (ดูแลรักษาปกติ) ที่มีเปอร์เซ็นต์แทงช่อดอก 50.0
เปอร์เซ็นต์

จากผลการทดลองทั้ง 2 ปีในสภาพที่ลุ่มและที่ดอนพบว่า การตัดปลายกิ่งความยาว 10 – 15 นิ้วในเดือนพฤศจิกายน มีเปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อนมากที่สุด เปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอกต่ำที่สุด และถึงแม้จะมีการแทงช่อดอกในปีที่ 2 แต่ก็มีเปอร์เซ็นต์การติดผลต่ำที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของพาวินและคณะ (2545) ที่พบว่าการตัดปลายกิ่งความลึก 10 และ 15 นิ้ว ในช่วงเดือนกันยายน มีการออกดอกพียง 1–2 เปอร์เซ็นต์ และ Betten and McConchie (1995) ที่พบว่าการการตัดแต่งลิ้นจี่ในช่วงหนาวก่อนการออกดอก อาจทำให้มีการออกดอกใต้รอยตัดหรือไม่มีการออกดอก ทั้งนี้เพราะการตัดปลายกิ่งลำไยจะทำให้มีการ
ผลิใบอ่อน ซึ่งจากรายงานของอเนก (2539) พบว่าต้นลำไยที่ผลิใบอ่อนในช่วงฤดูหนาว จะออกดอกได้น้อยถึงแม้ว่าจะได้รับอุณหภูมิต่ำที่เหมาะสมต่อการชักนำการออกดอก ซึ่งสอดคล้องกับพิทยา (2544) ที่รายงานว่าใบอ่อนทำให้การออกดอกของลำไยลดลง การพ่นสารโพแทสเซียสไนเตรท และไทโอยูเรีย กับลำไยในช่วงเดือนพฤศจิกายน สามารถยับยั้งการออกดอกได้ในบางปี โดยการพ่นโพแทสเซียม ไนเตรท อัตรา 2.5 เปอร์เซ็นต์ สามารถยับยั้งการออกดอกได้ถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพพื้นที่ลุ่มและสภาพที่ดอน สอดคล้องกับรายงานของชิติและคณะ (2542)ที่กล่าวว่า การใช้โพแทสเซียมไนเตรทอัตรา 50 และ 100 กรัมต่อตารางเมตร  สามารถกระตุ้นให้เกิดการแตกช่อใบและยับยั้งการออกดอกของลำไย และการพ่นไทโอยูเรีย 0.5 เปอร์เซ็นต์ในสภาพที่ดอน สามารถยับยั้งการออกดอกได้ แต่ให้ผลที่ไม่แน่นอนทั้งในสภาพที่ลุ่มและที่ดอน ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากสภาพความอุดมสมบูรณ์ของต้นซึ่งควรที่จะมีการศึกษาต่อไป สำหรับการให้ยูเรียปริมาณ 1–2 กิโลกรัมต่อต้นในเดือนพฤศจิกายน
สอดคล้องกับการศึกษาของระวี (2545) ที่ให้ปุ๋ยยูเรียอัตรา 25 และ 50 กรัมต่อตารางเมตร ไม่สามารถยับยั้งการออกดอกของลำไยได้ และการให้น้ำ 1  สัปดาห์ต่อครั้งในเดือนพฤศจิกายน – มกราคมไม่สามารถยับยั้งการแทงช่อดอก และโดยเฉพาะการให้น้ำยังเพิ่มการออกดอกมากกว่ากรรมวิธีการควบคุม (การดูแลรักษาตามปกติ) ทั้งนี้เพราะการออกดอกของลำไยจะมีปัจจัยมาจากอุณหภูมิต่ำเป็นระยะเวลานานมากกว่าการขาดน้ำ สอดคล้องกับรายงานของ Chaikiattiyos et al., (1994) ที่กล่าวว่า การขาดน้ำเพียงอย่างเดียวไม่สามารถชักนำให้ลิ้นจี่ออกดอกได้ และพบว่าอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียสจำเป็นสำหรับการออกดอกของลิ้นจี่และไม่สามารถทดแทนด้วยการงดการให้น้ำ เช่นเดียวกับ Melzel and Simpson (1994) ที่พบว่าอุณหภูมิเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นการออกดอกและการขาดน้ำเป็นเพียงปัจจัยเสริม


สรุปผลการทดลอง จากการศึกษาการบังคับลำไยไม่ให้ออกดอกติดผลโดยวิธีการเขตกรรมในสภาพที่ลุ่มและที่ดอนเป็นเวลา 2 ปีพบว่า

1.การตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้ว (35–40 เซนติเมตร) ในเดือนพฤศจิกายนยับยั้งการออกดอกในปีที่ 1 หรือมีการออกดอกเพียงเล็กน้อยในปีที่ 2
2.การพ่นโพแทสเซียมไนเตรท 2.5 เปอร์เซ็นต์และไทโอยูเรีย 0.5
เปอร์เซ็นต์ในเดือนพฤศจิกายนสามารถยับยั้งการออกดอกได้แต่ไม่แน่นอน


การนำไปใช้ประโยชน์

- นำวิธีการตัดปลายกิ่งความยาว 10–15 นิ้ว (25–35 ซม.) ไปทดสอบในแปลงเกษตรกร จ. ลำพูนและ จ. เชียงใหม่ ในปี 2551
- นำผลงานวิจัยไปทดสอบในโครงการทดสอบเทคโนโลยีไม่ให้ลำไยออกดอกติดผลในฤดูด้วยการเขตกรรม ปี 2552 โดย สวพ.1
 
- นำผลงานวิจัยเผยแพร่ในบทความงานวิจัยคุณภาพของวารสารเมืองไม้ผลและพืชผัก ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2550


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร




หน้าก่อน หน้าก่อน (2/6) - หน้าถัดไป (4/6) หน้าถัดไป


Content ©