-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 432 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารเคมี3









 

การติดตามพฤติกรรมและผลการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูส้ม
ของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

เกรียงไกร  จำเริญมา  ศรุต สุทธิอารมณ์  ศรีจำนรรจ์  ศรีจันทรา
สัญญาณี ศรีคชา  บุษบง มนัสมั่นคง  วิภาดา ปลอดครบุรี  วนาพร วงษ์นิคง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา  สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช  กรมวิชาการเกษตร 

บทคัดย่อ
ศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูส้ม โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลการจัดการแมลงและไรศัตรูส้ม ในพื้นที่ปลูกส้มอำเภอฝาง และแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการแบ่งสวนที่สำรวจตามพื้นที่เพาะปลูกเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก จำนวน 10 สวน ขนาดกลาง จำนวน 15 สวน และขนาดใหญ่ จำนวน 10 สวน รวมทั้งหมด 35 สวน พบว่า ศัตรูพืชที่ระบาดและก่อให้เกิดความเสียหายต่อส้มมากที่สุด คือ เพลี้ยไฟพริก (Thrips dorsalis Hood) และ ไรแดงแอฟริกัน (Eutetranychus africanus (Tucker)) ส่วนสารฆ่าแมลงที่เกษตรกรนิยมใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟมีหลายชนิด เช่น abamectin, ethion, imidacloprid, methomyl และ carbosulfan  ตามลำดับ และสารฆ่าไร เช่น propagite, amitraz, ethion, pyridaben และ fenbutatinoxide โดยมีความถี่ในการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุก 7-10 วัน ในช่วงเช้าตั้งแต่ 05.00-10.00 น. และเย็นเวลา 15.00-19.00 น. มีการสำรวจศัตรูพืชทุกครั้งก่อนการพ่นสาร 65.7% ใช้อัตราการใช้ตามที่แนะนำบนฉลาก 86.8% เกษตรกรมีการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการใช้สารเคมี โดยลดการใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็น หรือ ใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็นน้อยลง  และเพิ่มระยะเวลาการพ่นสารเคมีให้ห่างขึ้น       


 

เอกสารประกอบการบรรยาย แมลงศัตรูส้มกับการใช้สารเคมี ในการประชุมเรื่อง การผลิตส้มเปลือกล่อนคุณภาพให้ปลอดภัยสารพิษและผลกระทบต่อชุมชน วันที่ 1 กันยายน 2552 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่


 

คำนำ
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกส้มเปลือกล่อน ประมาณ 350,000 ไร่ (ผลผลิตรวมปีละ 8 แสนตัน บริโภคภายในประเทศร้อยละ 99) เป็นพื้นที่การผลิตในภาคเหนือตอนบนร้อยละ 45 ปลูกมากที่

จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแพร่ ในจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด ประมาณ 100,000 ไร่ มีเกษตรกรผู้ปลูกมากกว่า 5,000 ราย มูลค่าการผลิตประมาณ 4,500 ล้านบาท โดยเฉพาะอำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ลุ่มบริเวณลำน้ำฝาง มีลักษณะเป็นที่ราบมีภูเขาล้อมรอบ มีปริมาณฝนตกมาก อากาศเย็นชื้น จึงเหมาะสำหรับปลูกส้ม ปัจจุบันเป็นแหล่งปลูกส้มแหล่งใหญ่ของประเทศไทย และเนื่องจากมีการผลิตส้มหลายรุ่นต่อปี ทำให้ต้นส้มถูกกระตุ้นให้มีการแตกยอดอ่อนหลายรุ่น เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดปี จึงมีแมลงศัตรูส้มเข้ามาทำลายอยู่มากชนิดในทุกระยะการเจริญเติบโต เช่น เพลี้ยไฟพริก (
Thrips dorsalis Hood)  ไรแดงอาฟริกัน (Eutetranychus africanus (Tucker))  ไรสนิมส้ม และมีการระบาดของศัตรูพืชตลอดทั้งปี  เกษตรกรมีการใช้สารฆ่าแมลงและไรในปริมาณมากและบ่อยครั้งเพื่อลดการระบาดของแมลงและไรศัตรูพืช จนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดก่อให้เกิดปัญหาติดตามมาหลายประการ เช่น แมลงศัตรูพืชต้านทานต่อสารเคมี การทำลายศัตรูธรรมชาติก่อให้เกิดการระบาดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น และบางครั้งทำให้เกิดการระบาดของศัตรูพืชชนิดใหม่ เกิดการสะสม หรือพิษตกค้างในสภาพแวดล้อม เกิดพิษตกค้างในผลผลิต และบางครั้งทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมี (มีกลิ่นเหม็น) และผู้ประกอบการสวนส้ม             

จากปัญหาดังกล่าว ทางกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี เก็บตัวอย่างดิน น้ำ ตะกอน และผลผลิตส้ม เพื่อหาชนิดและปริมาณสารเคมีในเบื้องต้น  สรุปว่า ในดินและน้ำ พบสารฆ่าแมลงกลุ่ม Organochlorine, Organophosphorus, Carbamate และ Pyrethroid  ซึ่งมีปริมาณไม่เกินค่ากำหนดมาตรฐานของวัตถุมีพิษในแหล่งน้ำ ในผลผลิตส้มพบสาร ethion ที่เปลือกส้มมีค่าเกิน MRL (1.0 mg/kg) แต่ในเนื้อผลมีค่าต่ำกว่า MRL สำหรับการใช้สารเคมีของผู้ประกอบการสวนส้ม พบว่า มีการใช้สารเคมีบ่อยครั้ง โดยใช้เครื่องพ่นสารขนาดใหญ่ (แอร์บลาสท์) และมีการใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง เช่น dimethoate และ profenofos ประกอบกับพื้นที่ อำเภอฝาง และแม่อาย เป็นพื้นที่แอ่งกะทะ ทำให้กลิ่นของสารเคมีอบอวล ซึ่งอาจส่งผลให้ราษฎรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยจากการได้รับผลกระทบจากสารเคมีดังกล่าว


ศิวาภรณ์ และคณะ (2548) ได้สำรวจการใช้สารเคมีในสวนส้มที่อำเภอฝาง แม่อาย และไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่  ในส่วนของสารกำจัดแมลงและไร พบว่ามีการใช้สาร endosulfan, dicofol, tetradifon, fipronil, dimethoate, malathion, cypermethrin, carbosulfan, carbaryl และ methomyl โดยมีต้นทุนเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในสวนส้มคิดเป็นร้อยละ 17.9 เป็นอันดับที่ 2 รองมาจากปุ๋ยร้อยละ 22.9  (อำไพวรรณ และคณะ, 2542)


โครงการการติดตามพฤติกรรมและผลการใช้สารฆ่าแมลงและไรศัตรูส้มของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอฝาง และแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทราบชนิด พฤติกรรมการใช้สารฆ่าแมลง และสารฆ่าไร รวมทั้งผลในการควบคุมแมลงและไรศัตรูพืชในสวนส้มของเกษตรกร และหาแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารฆ่าแมลงและสารฆ่าไรของเกษตรกรผู้ปลูกส้มให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อลดการปนเปื้อนในผลผลิต สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพื่อสุขอนามัยของเกษตรกร และราษฎรในพื้นที่จากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชดังกล่าว


อุปกรณ์และวิธีการ
ศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีฆ่าแมลงและไรศัตรูส้ม ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรเจ้าของสวน (หรือผู้ตัดสินใจในการดำเนินการป้องกันกำจัด) โดยใช้แบบสอบถาม (questionnaire) เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการแมลงและไรศัตรูส้ม ได้แก่ ชนิดของศัตรูส้มที่พบระบาด การตัดสินใจก่อนการพ่นสาร ชนิดและอัตราของสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง-ไร การผสมสารเคมี ความถี่ในการพ่น เครื่องมือที่ใช้ ช่วงเวลาในการพ่น เป็นต้น การปฏิบัติตนของผู้พ่นในพื้นที่อำเภอฝาง และแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการแบ่งสวนที่สำรวจตามพื้นที่เพาะปลูกเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก (พื้นที่น้อยกว่า 10 ไร่) จำนวน 10 สวน ขนาดกลาง (พื้นที่ตั้งแต่ 10-50 ไร่) จำนวน 15 สวน และขนาดใหญ่ (พื้นที่มากกว่า 50 ไร่) จำนวน 10 สวน รวมทั้งหมด 35 สวน 



ผลการทดลองและวิจารณ์

1. ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร
จากการสัมภาษณ์เกษตรกรเจ้าของสวน หรือ ผู้ตัดสินใจในการดำเนินการป้องกันกำจัด โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการแมลงและไรศัตรูส้มในพื้นที่อำเภอฝาง และแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
1.1 สวนขนาดเล็ก
(พื้นที่น้อยกว่า 10 ไร่) 10 ราย อยู่ในอำเภอฝาง 4 แปลง อยู่ในอำเภอแม่อาย 6 แปลง แบ่งเป็นเพศหญิง และเพศชายร้อยละ 50 อายุอยู่ระหว่าง 37-61 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้งหมดปลูกส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง อายุส้มอยู่ระหว่าง 3-12 ปี 
1.2 สวนขนาดกลาง
(พื้นที่ตั้งแต่ 10 - 50 ไร่) สัมภาษณ์เกษตรกร 15 ราย อยู่ในอำเภอฝาง 11 แปลง อยู่ในอำเภอแม่อาย 4 แปลง แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 6.7 เพศชายร้อยละ 93.3 อายุอยู่ระหว่าง 39-61 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้งหมดปลูกส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง อายุส้มอยู่ระหว่าง 5-10 ปี 
1.3 สวนขนาดใหญ่
(พื้นที่มากกว่า 50 ไร่) สัมภาษณ์เกษตรกร 10 ราย อยู่ในอำเภอฝาง 6 แปลง อยู่ในอำเภอแม่อาย 4 แปลง แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 40 เพศชายร้อยละ 60 อายุระหว่าง 31-70 ปี   เกษตรกรผู้ปลูกส้มส่วนใหญ่ปลูกส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง รองลงมาได้แก่ ส้มธนาธรเบอร์ 1 ส้มเขียวหวาน ส้มฟรีมองต์ ส้มสีทอง ส้มผิวทอง ส้มออร่า ส้มพันธุ์โอเชี่ยน ตามลำดับ อายุส้มอยู่ระหว่าง  1-30 ปี  
 


2. ข้อมูลเกี่ยวกับศัตรูส้ม
แมลง-ไรศัตรูส้มเขียวหวานที่พบระบาดในแปลงปลูกส้มทั้ง 3 ขนาด ได้แก่ เพลี้ยไฟพริก หนอนชอนใบ เพลี้ยหอยสีแดง เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และหนอนแปะใบ ตามลำดับ โดยเกษตรกรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ เพลี้ยไฟพริก เพราะการทำลายมีผลทำให้สูญเสียผลผลิตทั้งปริมาณ และคุณภาพ ส่วนแมลงที่พบระบาดเป็นบางครั้ง ได้แก่ เพลี้ยอ่อน หนอนแมลงวันชอนดอกส้ม หนอนคืบ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดด มวนเขียวส้ม เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว แมลงค่อมทอง ผีเสื้อมวนหวาน และหนอนเจาะสมอฝ้าย ส่วนไรศัตรูส้มเขียวหวานที่พบระบาด และมีความสำคัญในแปลงปลูกส้ม ได้แก่ ไรแดงแอฟริกัน ไรสนิมส้ม และไรขาว ทั้งนี้เกษตรกรยังมีข้อจำกัดในการจำแนกชนิดของไรศัตรูพืช และลักษณะการทำลายของศัตรูพืชบางชนิด เช่น อาการทำลายของเพลี้ยไฟ และไรขาว ทำให้มีผลต่อการเลือกชนิดของสารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง 

3. ข้อมูลเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและการใช้
3.1 สวนขนาดเล็กวิธีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรผู้ปลูกส้มนิยมใช้ในสวนขนาดเล็ก ได้แก่ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดคิดเป็นร้อยละ 66.7 และวิธีการตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อลดประชากร และการระบาดของแมลง และเพื่อความสะดวกในการฉีดพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 33.3 สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ abamectin, ethion, imidacloprid methomyl, carbosulfan, cypermethrin และ chlorpyrifos สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนชอนใบจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ abamectin methomyl, cypermethrin และ petroleum spray oil สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยหอยจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ chlorpyrifos, methomyl, petroleum spray oil และ abamectin สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนแปะใบ ได้แก่ cypermethrin สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย ได้แก่ cypermethrin  สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดไรศัตรูส้ม 7 ชนิด ได้แก่ propagate, amitraz, ethion, fenbutatinoxide, dicofol, spiromesifen และ petroleum spray oil เกษตรกรผู้ปลูกส้มพ่นสารเคมีด้วยตนเองคิดเป็นร้อยละ 70 พ่นสารเคมีด้วยตนเอง และจ้างพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 30 ในการพ่นสารเคมีแต่ละครั้งเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการสำรวจก่อนการพ่นสารเคมีเพื่อตรวจสอบว่ามีแมลงชนิดไหนระบาด และมีปริมาณเท่าใดคิดเป็นร้อยละ 50 มีการสำรวจแมลงก่อนการพ่นสารคิดเป็นร้อยละ 40 และมีการสำรวจแมลงเป็นบางครั้งคิดเป็นร้อยละ 10 ความถี่ในการพ่นสารเคมีทุก 7-10 วัน และพบว่ามีการพ่นสารเคมีทุก 5-7 วัน ในระยะที่ส้มแตกยอดอ่อน และมีการพ่นสารเคมีห่างสุดช่วงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุก 10-15 วัน วิธีการพ่นสารเคมีในแต่ละครั้ง นิยมพ่นสารเคมีรวมกันทั้งสารเคมีกำจัดแมลง-ไร โรคพืช ฮอร์โมน และปุ๋ย (Tank mix) คิดเป็นร้อยละ 90 มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่พ่นสารเคมีเดี่ยวเฉพาะศัตรูที่ระบาด และส่วนมากมีการใช้สารจับใบในการฉีดพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 90 เกษตรกรมีการสลับกลุ่มสารเคมี เพื่อป้องกันแมลง-ไรศัตรูส้มต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดแมลง สารเคมีที่นำมาใช้จะใช้ตามคำแนะนำของร้านค้า และเพื่อนบ้าน อัตราที่ใช้พ่นสารเคมีจะใช้ตามคำแนะนำของสลากสารเคมีที่ติดข้างขวดคิดเป็นร้อยละ 80 มีเพียงร้อยละ 20 ที่ใช้สารเคมีสูงกว่าอัตราที่แนะนำ เนื่องจากความไม่มั่นใจว่าแมลงจะตายถ้าหากใช้ตามสลาก ใช้ปริมาณน้ำเฉลี่ย 2-9 ลิตรต่อต้น  ส่วนใหญ่ใช้ปริมาณน้ำสูงกว่าปริมาณที่เหมาะสมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทรงพุ่ม อายุของพืช และเครื่องมือที่ใช้พ่นสารเคมี ช่วงเวลาในการพ่นสารเคมีเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมพ่นสารในช่วงเช้าให้เสร็จโดยเริ่มพ่นตั้งแต่ 05.00-11.00 น. และบางรายเริ่มพ่นตั้งแต่เวลา 02.00 น. หากพ่นไม่เสร็จจะทำการพ่นสารเคมีอีกครั้งในช่วงเย็นเวลา 15.00-18.00 น. โดยในแต่ละครั้งที่ฉีดพ่นสารเคมีจะดูลักษณะภูมิอากาศเป็นหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้พืชเกิดความเป็นพิษทางเคมี (phytotoxic) และอาการไหม้ (sun burn) เครื่องมือที่ใช้ในการฉีดพ่นที่เกษตรกรนิยมใช้ ได้แก่ เครื่องยนต์พ่นสารแรงดันน้ำสูงแบบลากสาย (เครื่องปั๊มสูบลากสาย) และเกษตรกรมีการป้องกันตนเองเวลาพ่นสารเคมีโดยสวมถุงมือ ชุดป้องกัน หรือหน้ากากอยู่อย่างสม่ำเสมอ ในเกษตรกรผู้ปลูกส้มมีการนำผลผลิตไปส่งตรวจเพื่อหาพิษตกค้างคิดเป็นร้อยละ 20 และไม่พบสารเคมีตกค้าง และเนื่องจากมีการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดแมลง-ไร ศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง แต่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้มีกลิ่นเหม็นค่อนข้างรุนแรง ได้แก่ ethion เพียงร้อยละ 10 และมีการแก้ไขปัญหา คือ พ่นสารเคมีในช่วงวันหยุด
3.2 สวนขนาดกลางวิธี
ป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรผู้ปลูกส้มนิยมใช้ในสวนขนาดกลาง ได้แก่ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดคิดเป็นร้อยละ 53.6 และวิธีการตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อลดประชากร และการระบาดของแมลง และเพื่อความสะดวกในการฉีดพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 42.9 มีเพียงร้อยละ 3.6 ที่ใช้สารจุลินทรีย์เพื่อป้องกันกำจัดแมลง
สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟจำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ethion, abamectin, imidacloprid, methomyl, fipronil, carbosulfan, cypermethrin, petroleum spray oil และ dimethoate สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนชอนใบจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ abamectin, methomyl, carbosulfan และ chlorpyrifos สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยหอยจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ methomyl,  chlorpyrifos, petroleum spray oil และ cypermethrin  สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนแปะใบ ได้แก่   abamectin   สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน ได้แก่ cypermethrin และ methomyl สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนคืบ ได้แก่ cypermethrin สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดด ได้แก่ cypermethrin และ methomyl สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดไรศัตรูส้มจำนวน 11 ชนิด ได้แก่ fenbutatinoxide, propagite, amitraz, pyridaben, ethion, dicofol, abamectin, tetradifon, กำมะถันผง, methomyl และ triazophos เกษตรกรผู้ปลูกส้มพ่นสารเคมีด้วยตนเองคิดเป็นร้อยละ 33.3 จ้างพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 40 และพ่นสารเคมีด้วยตนเองและจ้างพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 26.7 ในการพ่นสารเคมีแต่ละครั้งมีการสำรวจแมลงก่อนการพ่นสารเคมีเพื่อตรวจสอบว่ามีแมลงชนิดไหนระบาด และมีปริมาณเท่าใดคิดเป็นร้อยละ 65.7 ไม่มีการสำรวจคิดเป็นร้อยละ 20 สำรวจแมลงเป็นบางครั้งคิดเป็นร้อยละ 13.3 ความถี่ในการพ่นสารเคมีทุก 7-10 วัน และพบว่ามีการพ่นสารเคมีทุก 5-7 วัน ในระยะที่ส้มแตกยอดอ่อน และมีการพ่นสารเคมีห่างสุดช่วงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุก 12-15 วัน วิธีการพ่นสารเคมีในแต่ละครั้ง นิยมพ่นสารเคมีรวมกันทั้งสารเคมีกำจัดแมลง-ไร โรคพืช ฮอร์โมน และปุ๋ย (Tank mix) คิดเป็นร้อยละ 73.3  พ่นสารเคมีเดี่ยวเฉพาะศัตรูที่ระบาด ร้อยละ 13.3 และมีการพ่นสารเคมีทั้งสองแบบ ได้แก่ พ่นสารเคมีแบบรวม (Tank mix) และพ่นสารเคมีแบบเดี่ยว เมื่อพ่นสารเคมีที่ไม่สามารถผสมสารร่วมกันได้ เนื่องจากทำให้พืชมีอาการใบไหม้คิดเป็นร้อยละ 13.3   และส่วนมากมีการใช้สารจับใบในการฉีดพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 86.7 โดยเกษตรกรผู้ปลูกส้มส่วนใหญ่มีการสลับกลุ่มสารเคมี เพื่อป้องกันแมลง-ไรศัตรูส้มต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดแมลง  สารเคมีที่นำมาใช้จะใช้ตามคำแนะนำของเพื่อนบ้าน รองลงมา คือ ร้านค้า  พนักงานส่งเสริมการขายของบริษัท ผู้ค้าสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ทางราชการ การโฆษณา และประสบการณ์ของตนเอง  อัตราที่ใช้พ่นสารเคมีจะใช้ตามคำแนะนำบนสลากสารเคมี คิดเป็นร้อยละ 93.8 มีเพียงร้อยละ 6.2 ที่ใช้สารเคมีสูงกว่าอัตราที่แนะนำ ใช้ปริมาณน้ำเฉลี่ย 2-7 ลิตรต่อต้น  ส่วนใหญ่ใช้ปริมาณน้ำสูงกว่าปริมาณที่เหมาะสมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทรงพุ่ม อายุของพืช และเครื่องมือที่ใช้พ่นสารเคมี ช่วงเวลาในการพ่นสารเคมีเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมพ่นสารในช่วงเช้าตั้งแต่ 05.00-10.00 น. หากพ่นไม่เสร็จจะทำการพ่นสารเคมีอีกครั้งในช่วงเย็นเวลา 15.00-19.00 น.โดยในแต่ละครั้งที่ฉีดพ่นสารเคมีจะดูลักษณะภูมิอากาศเป็นหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้พืชเกิดความเป็นพิษทางเคมี (phytotoxic) และอาการไหม้ (sun burn)

เครื่องมือที่ใช้ในการฉีดพ่นที่เกษตรกรนิยมใช้ ได้แก่ เครื่องยนต์พ่นสารแรงดันน้ำสูงแบบลากสาย (เครื่องปั๊มสูบลากสาย) เกษตรกรมีการป้องกันตนเองเวลาพ่นสารเคมีโดยสวมถุงมือ ชุดป้องกันหรือหน้ากากอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ในเกษตรกรผู้ปลูกส้มมีการนำผลผลิตไปส่งตรวจเพื่อหาพิษตกค้างคิดเป็นร้อยละ 66.7 พบว่าร้อยละ 20 จากจำนวนแปลงที่นำผลผลิตไปตรวจมีสารเคมีตกค้าง ได้แก่ ethion และ endosulfan แต่พบว่าสารเคมีที่พบอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับอันตราย (MRL) และเนื่องจากมีการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดแมลง-ไร ศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง และสารเคมีที่ใช้มีกลิ่นเหม็นค่อนข้างรุนแรง ได้แก่ ethion, dimethoate และ tetradifon บางครั้งจึงมีการร้องเรียนเกิดขึ้นคิดเป็นร้อยละ 26.6 ทางเกษตรกรผู้ปลูกส้มมีการแก้ไขปัญหาคือ ลดการใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็น และใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็นน้อยลง ระยะเวลาการพ่นสารเคมีห่างขึ้น
3.3 สวนขนาดใหญ่
วิธีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรผู้ปลูกส้มนิยมใช้ในสวนขนาดใหญ่ ได้แก่ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดคิดเป็นร้อยละ 37.0 และวิธีการตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อลดประชากรและการระบาดของแมลง และเพื่อความสะดวกในการฉีดพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 33.3 วิธีรองลงมา ได้แก่ การใช้สารจุลินทรีย์เพื่อป้องกันกำจัดแมลงคิดเป็นร้อยละ 18.5 และมีเพียง 2 สวนเท่านั้นที่ใช้วิธีการห่อผลส้มเพื่อป้องกันแมลง และทำให้ผิวส้มสวยงาม แต่เป็นวิธีที่เกษตรกรไม่นิยมใช้ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ลงทุน และใช้แรงงานในการห่อผลสูงสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟจำนวน 12 ชนิด ได้แก่ imidacloprid, abamectin, ethion, methomyl, profenofos, carbosulfan, fipronil, cypermethrin, petroleum spray oil, chlorpyrifos, dimethoate และ formetanate สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนชอนใบจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ abamectin, methomyl, Bacillus thuringiensis, carbosulfan, chlorpyrifos  และ dimethoate สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยหอยจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ chlorpyrifos, petroleum spray oil, methomyl, malathion, cypermethrin, phenthoate และ lambda cyhalothrin  สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ ได้แก่ profenophos และ imidacloprid  สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนแปะใบ ได้แก่ Bacillus thuringiensis  และ methomyl สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน ได้แก่ carbosulfan, methomyl และ imidacloprid สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนคืบ ได้แก่ profenophos   สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดผีเสื้อมวนหวาน ได้แก่ dicrotophos และสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงค่อมทองได้แก่ methomylสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดไรศัตรูส้มจำนวน 16 ชนิด ได้แก่ pyridaben, propagate, amitraz, ethion, tetradifon, กำมะถันผง, fenbutatinoxide, abamectin, dicofol, methomyl, spiromesifen, chlorpyrifos, emamectin benzoate, fenpyroximate,  fipronil และ hexytiazox เกษตรกรผู้ปลูกส้มส่วนใหญ่พ่นจ้างพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 90 และพ่นสารเคมีด้วยตนเองและจ้างพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 10 ในการพ่นสารเคมีแต่ละครั้งมีการสำรวจแมลงก่อนการพ่นสารเคมีเพื่อตรวจสอบว่ามีแมลงชนิดไหนระบาดและมีปริมาณเท่าใดคิดเป็นร้อยละ 90 ไม่มีการสำรวจคิดเป็นร้อยละ 10 ความถี่ในการพ่นสารเคมีทุก 5-15 วัน พ่นสารเคมีถี่ในระยะที่ส้มแตกยอดอ่อน และมีการพ่นสารเคมีห่างสุดช่วงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุก 15 วัน และอาจเว้นระยะห่างประมาณ 1-3 เดือน เนื่องจากต้องการใช้แรงงานในการเก็บผลผลิต  วิธีการพ่นสารเคมีในแต่ละครั้ง นิยมพ่นสารเคมีรวมกันทั้งสารเคมีกำจัดแมลง-ไร โรคพืช ฮอร์โมน และปุ๋ย (Tank mix) คิดเป็นร้อยละ 50   และพ่นสารเคมีแบบรวม (Tank mix) บางครั้งพ่นสารเคมีแบบเดี่ยว เมื่อพ่นสารเคมีที่ไม่สามารถผสมสารร่วมกันได้ เนื่องจากทำให้พืชมีอาการใบไม้ร้อยละ 50 และส่วนมากมีการใช้สารจับใบในการฉีดพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 90 โดยนิยมใช้สารเคมีที่ช่วยในการปรับความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ เช่น ไฮบริด ของบริษัทเทพวัฒนา แอ๊ปซ่า ของบริษัทแอมเวย์ โดยเกษตรกรผู้ปลูกส้มส่วนใหญ่มีการสลับกลุ่มสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 90 เพื่อป้องกันแมลง-ไรศัตรูส้มต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดแมลง  สารเคมีที่นำมาใช้จะใช้ตามคำแนะนำของพนักงานส่งเสริมการขายของบริษัทผู้ค้าสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ร้านค้า เพื่อนบ้าน ทางราชการ การโฆษณา ผู้จัดการและที่ปรึกษาของสวนส้มอัตราที่ใช้พ่นสารเคมีจะใช้ตามคำแนะนำของสลากสารเคมีที่ติดข้างขวดคิดเป็นร้อยละ 90.9  และมีเพียงร้อยละ 9.1 ที่ใช้อัตราต่ำกว่าอัตราที่แนะนำ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ใช้ปริมาณน้ำเฉลี่ย 2-10 ลิตรต่อต้น  ส่วนใหญ่ใช้ปริมาณน้ำสูงกว่าปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทรงพุ่ม อายุของพืช และเครื่องมือที่ใช้พ่นสารเคมี ช่วงเวลาในการพ่นสารเคมีเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมพ่นสารในช่วงเช้าตั้งแต่ 05.00-10.00 น. หากพ่นไม่เสร็จจะทำการพ่นสารเคมีอีกครั้งในช่วงเย็นเวลา 15.00-19.00 น. โดยในแต่ละครั้งที่ฉีดพ่นสารเคมีจะดูลักษณะภูมิอากาศเป็นหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้พืชเกิดความเป็นพิษทางเคมี (phytotoxic) และอาการไหม้ (sun burn) เครื่องมือที่ใช้ในการฉีดพ่นที่เกษตรกรนิยมใช้ได้แก่ เครื่องยนต์พ่นสารแรงดันน้ำสูงแบบลากสาย (เครื่องปั๊มสูบลากสาย) และแอร์บลาสท์ (Air blast) เกษตรกรมีการป้องกันตนเองเวลาพ่นสารเคมีโดยสวมถุงมือ ชุดป้องกัน หรือหน้ากากอยู่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อเปรียบเทียบการใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็น พบว่า สวนส้มขนาดเล็ก และ กลาง ใช้สาร ethion ทุกสวน ส่วนสวนขนาดใหญ่ใช้ร้อยละ 80 เนื่องสารฆ่าแมลงชนิดนี้สามารถใช้ควบคุมศัตรูที่สำคัญของส้ม ได้แก่ เพลี้ยไฟพริก และไรศัตรูส้ม สำหรับสาร dimethoate ใช้ในสวนขนาดกลาง และใหญ่ ร้อยละ 13.3 และ 30 ตามลำดับ สาร tetradifon ใช้ในสวนขนาดกลาง และใหญ่ ร้อยละ 6.7 และ 60 ตามลำดับ ส่วนสาร profenofos มีใช้แต่ในสวนขนาดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 50 ในเกษตรกรผู้ปลูกส้มสวนขนาดใหญ่ทั้งหมดมีการนำผลผลิตไปส่งตรวจเพื่อหาพิษตกค้าง พบว่าร้อยละ 50 จากจำนวนแปลงที่นำผลผลิตไปตรวจมีสารเคมีตกค้าง ได้แก่ ethion cypermethrin profenophos, carbaryl, chlorpyrifos  และ carbosulfan แต่พบว่าสารเคมีที่พบอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับอันตราย (MRL) และเนื่องจากมีการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดแมลง-ไร ศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง และสารเคมีที่ใช้มีกลิ่นเหม็นค่อนข้างรุนแรง พบว่ามีการร้องเรียนร้อยละ 50 ทางเกษตรกรผู้ปลูกส้มมีการแก้ไขปัญหา คือ ลดการใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็น และใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็นน้อยลง  ระยะเวลาการพ่นสารเคมีห่างขึ้น ตลอดจนการลดการใช้สารเคมีและเลิกใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็น 


4.ข้อมูลด้านต้นทุนในการปลูกส้มเขียวหวาน
ทางด้านต้นทุน และผลผลิต พบว่าสวนทั้ง 3 ขนาด ต้นทุนของการปลูกส้มส่วนใหญ่เกี่ยวกับค่าปุ๋ย ค่าสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในสวนส้ม  ค่าแรงงาน และค่าน้ำมัน ราคาต้นทุนเฉลี่ยราคาประมาณ 5-6 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่เป็นสวนขนาดใหญ่ราคาเฉลี่ยประมาณ 12-13 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตที่ได้เฉลี่ย 50-100 กิโลกรัมต่อต้น ราคาจำหน่ายเฉลี่ยประมาณ 7-8 บาท หากเป็นส้มนอกฤดูราคาจำหน่ายเฉลี่ยประมาณ 15-20 บาท           


ตารางที่
1 เปอร์เซ็นต์ของสวนขนาดต่าง ๆ ที่ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูส้มแต่ละชนิด

ชนิดสารเคมี และ ค่า LD50

สวนขนาดเล็ก(พื้นที่น้อยกว่า 10 ไร่) สวนขนาดกลาง(พื้นที่ 10-50 ไร่) สวนขนาดใหญ่(พื้นที่มากว่า 50 ไร่)
เพลี้ยไฟ      
abamectin (10) 100 60.00 90
ethion (208) 70 100.00 50
imidacloprid (450) 60 60.00 100
methomyl (17) 40 60.00 50
carbosulfan (250) 20 20.00 30
fipronil (92) 0 33.33 30
cypermethrin (250) 10 6.67 30
petroleum spray oil (-) 0 6.67 30
profenophos (358) 0 0.00 40
chlorpyrifos (135) 10 0.00 20
dimethoate (150) 0 6.67 20
formetanate (26.4) 0 0.00 10



หนอนชอนใบ
     
abamectin (10) 40 26.67 20
methomyl (17) 20 13.33 20
Bacillus thuringiensis (-) 0 13.33 0
carbosulfan (250) 0 6.67 10
chlorpyrifos (135) 0 6.67 10
cypermethrin (250) 20 0.00 0
petroleum spray oil (-) 10 0.00 0
dimethoate (150) 0 0.00 10
 


 


ตารางที่
1 (ต่อ)

ชนิดสารเคมี และ ค่า LD50

สวนขนาดเล็ก(พื้นที่น้อยกว่า 10 ไร่) สวนขนาดกลาง(พื้นที่ 10-50 ไร่) สวนขนาดใหญ่(พื้นที่มากว่า 50 ไร่)
เพลี้ยหอย      
chlorpyrifos (135) 4 6 6
methomyl (17) 2 7 3
petroleum spray oil (-) 3 6 4
malathion (2100) 0 0 3
cypermethrin (250) 40 40.00 60
abamectin (10) 20 46.67 30
Phenthoate (400) 30 40.00 40
lambda cyhalothrin (56) 0 0.00 30



เพลี้ยไก่แจ้ส้ม
     
profenophos (358) 0 0 10
imidacloprid (450) 0 0 10



หนอนแปะใบ
     
cypermethrin (250) 10 0.00 0
abamectin (10) 0 6.67 0
Bacillus thuringiensis (-) 0 13.33 20
methomyl (17) 0 0.00 10



เพลี้ยอ่อน
     
cypermethrin (250) 0 6.67 0
methomyl (17) 0 0.00 10
carbosulfan (250) 0 0.00 20
imidacloprid (450) 0 0.00 10


เพลี้ยกระโดด
     
cypermethrin (250) 0 6.67 0
methomyl (17) 0 6.67 0
   


ตารางที่
1 (ต่อ)

ชนิดสารเคมี และ ค่า LD50

สวนขนาดเล็ก(พื้นที่น้อยกว่า 10 ไร่) สวนขนาดกลาง(พื้นที่ 10-50 ไร่) สวนขนาดใหญ่(พื้นที่มากว่า 50 ไร่)
หนอนคืบ      
cypermethrin (250) 0 6.67 0
profenophos (358) 0 0.00 1


หนอนเจาะสมอฝ้าย
     
cypermethrin (250) 10 0 0


ผีเสื้อมวนหวาน
     
dicrotophos (22) 0 0 10


แมลงค่อมทอง
     
methomyl (17) 0 0 10
                



ตารางที่
2 เปอร์เซ็นต์ของสวนขนาดต่าง ๆ ที่ใช้สารป้องกันกำจัดไรศัตรูส้ม

ชนิดสารเคมี

สวนขนาดเล็ก(พื้นที่น้อยกว่า 10 ไร่) สวนขนาดกลาง(พื้นที่ 10-50 ไร่) สวนขนาดใหญ่(พื้นที่มากว่า 50 ไร่)
propagite (2,200) 60 33.33 60
amitraz (800) 40 33.33 60
ethion (208) 40 26.67 60
pyridaben (820) 0 33.33 90
fenbutatinoxide (2,631) 20 46.67 40
tetradifon (>14,700) 0 6.67 60
dicofol (690) 10 20.00 30
กำมะถันผง (3,000) 0 6.67 50
abamectin (10) 0 13.33 30
methomyl (17) 0 6.67 10
spiromesifen (2,500) 10 0.00 10
chlorpyrifos (135) 0 0.00 10
emamectin benzoate (76) 0 0.00 10
fenpyroximate (6,798) 0 0.00 10
fipronil (92) 0 0.00 10
hexytiazox (5,000) 0 0.00 10
triazophos (82) 0 6.67 0
petroleum spray oil (-) 10 0.00 0
 


ตารางที่
3 เปอร์เซ็นต์ของสวนขนาดต่าง ๆ ที่ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูส้มที่มีกลิ่นเหม็น

ชนิดสารเคมี

สวนขนาดเล็ก(พื้นที่น้อยกว่า 10 ไร่) สวนขนาดกลาง(พื้นที่ 10-50 ไร่) สวนขนาดใหญ่(พื้นที่มากว่า 50 ไร่)
ethion 100 100.00 80
dimethoate - 13.33 30
tetradifon - 6.67 60
profenophos - 0.00 50


สรุปผลการทดลอง
การใช้แบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการแมลงและไรศัตรูส้ม ในพื้นที่อำเภอฝาง และแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าสวนขนาดเล็กสัมภาษณ์เกษตรกร 10 ราย อยู่ในอำเภอฝาง 4 แปลง อยู่ในอำเภอแม่อาย 6 แปลง สวนขนาดกลาง สัมภาษณ์เกษตรกร 15 ราย อยู่ในอำเภอฝาง 11 แปลง อยู่ในอำเภอแม่อาย 4 แปลง สวนขนาดใหญ่ สัมภาษณ์เกษตรกร 10 ราย อยู่ในอำเภอฝาง 6 แปลง อยู่ในอำเภอแม่อาย 4 แปลง แมลงและไรศัตรูส้มเขียวหวานที่พบระบาด และก่อให้เกิดความเสียหายในแปลงปลูกส้ม ได้แก่ เพลี้ยไฟพริก  หนอนชอนใบเพลี้ยหอยสีแดง เพลี้ยไก่แจ้ส้ม หนอนแปะใบ  ไรแดงแอฟริกา  ไรสนิมส้ม และไรขาว 

ส่วนวิธีที่เกษตรกรผู้ปลูกส้มนิยมใช้ ได้แก่ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดคิดเป็นร้อยละ 50 วิธีการตัดแต่งกิ่ง คิดเป็นร้อยละ 37.1 วิธีรองลงมาได้แก่ การใช้สารจุลินทรีย์เพื่อป้องกันกำจัดแมลงคิดเป็นร้อยละ 8.6 และวิธีการห่อผลส้มคิดเป็นร้อยละ 4.3 เพื่อป้องกันแมลง และทำให้ผิวส้มสวยงาม ซึ่งเป็นวิธีที่เกษตรกรไม่นิยมใช้ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ลงทุนสูงและใช้แรงงานในการห่อผล
สารเคมีที่เกษตรกรใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ได้แก่ abamectin, ethion, imidacloprid, methomyl,  carbosulfan,  fipronil,  cypermethrin,  petroleum spray oil,  profenofos,  chlorpyrifos, dimethoate และ formetanate สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนชอนใบ ได้แก่ abamectin, methomyl, Bacillus thuringiensis, carbosulfan, chlorpyrifos, cypermethrin และ petroleum spray oil  สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยหอย ได้แก่ chlorpyrifos, methomyl, petroleum spray oil, malathion, cypermethrin, abamectin, phenthoate และ lambda cyhalothrin  สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ ได้แก่ profenophos และ imidacloprid  สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนแปะใบ ได้แก่ cypermethrin, abamectin, methomyl และ Bacillus thuringiensis  สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน ได้แก่ imidacloprid สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนคืบ ได้แก่ profenophos และ cypermethrin สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดด ได้แก่ cypermethrin และ methomyl สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย ได้แก่ cypermethrin สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดผีเสื้อมวนหวาน ได้แก่ dicrotophos และสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงค่อมทองได้แก่ methomylสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดไรศัตรูส้ม ได้แก่ propagate, amitraz, ethion, pyridaben, fenbutatinoxide, tetradifon, dicofol, กำมะถันผงม abamectin, methomyl, spiromesifen, chlorpyrifos, emamectin benzoate,  fenpyroximate, fipronil, hexytiazox และ triazophos 

เกษตรกรผู้ปลูกส้มพ่นสารเคมีด้วยตนเองคิดเป็นร้อยละ 40 จ้างพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 37.1 และพ่นสารเคมีด้วยตนเองและจ้างพ่นสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 22.9 ในการพ่นสารเคมีแต่ละครั้งมีการสำรวจแมลงก่อนการพ่นสารเคมี เพื่อตรวจสอบว่ามีแมลงชนิดไหนระบาด และมีปริมาณเท่าใดคิดเป็นร้อยละ 65.7 ความถี่ในการพ่นสารเคมีทุก 7-10 วัน และพบว่ามีการพ่นสารเคมีทุก 5-7 วัน พ่นสารเคมีห่างสุดช่วงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุก 12-15 วัน อาจเว้นระยะห่างประมาณ 1-3 เดือน
วิธีการพ่นสารเคมีในแต่ละครั้ง นิยมพ่นสารเคมีรวมกันทั้งสารเคมีกำจัดแมลง-ไร โรคพืช ฮอร์โมน และปุ๋ย (Tank mix) คิดเป็นร้อยละ 71.4 มีเพียงร้อยละ 8.6 เท่านั้นที่พ่นสารเคมีเดี่ยวเฉพาะศัตรูที่ระบาด และมีการพ่นสารเคมีทั้งสองแบบ คิดเป็นร้อยละ 20 โดยเกษตรกรผู้ปลูกส้มส่วนใหญ่มีการสลับกลุ่มสารเคมี เพื่อป้องกันแมลง-ไรศัตรูส้มต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดแมลง สารเคมีที่นำมาใช้จะใช้ตามคำแนะนำของร้านค้า เพื่อนบ้าน และพนักงานส่งเสริมการขายของบริษัทผู้ค้าสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ทางราชการ การโฆษณา และประสบการณ์ของตนเอง  อัตราที่ใช้พ่นสารเคมีจะใช้ตามคำแนะนำของสลากสารเคมีที่ติดข้างขวดคิดเป็นร้อยละ 86.8 มีเพียงร้อยละ 10.5 ที่ใช้สารเคมีสูงกว่าอัตราที่แนะนำ และมีเพียงร้อยละ 2.6 ที่ใช้อัตราต่ำกว่าอัตราที่แนะนำ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต  ใช้ปริมาณน้ำเฉลี่ย 2-10 ลิตรต่อต้น  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ปริมาณน้ำสูงกว่าปริมาณที่เหมาะสมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทรงพุ่ม อายุของพืช และเครื่องมือที่ใช้พ่นสารเคมี ช่วงเวลาในการพ่นสารเคมีเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมพ่นสารในช่วงเช้าตั้งแต่ 05.00-10.00 น. หากพ่นไม่เสร็จจะทำการพ่นสารเคมีอีกครั้งในช่วงเย็นเวลา 15.00-19.00 น. โดยในแต่ละครั้งที่ฉีดพ่นสารเคมีจะดูลักษณะภูมิอากาศเป็นหลัก เครื่องมือที่ใช้ในการฉีดพ่นที่เกษตรกรนิยมใช้ ได้แก่ เครื่องยนต์พ่นสารแรงดันน้ำสูงแบบลากสาย (เครื่องปั๊มสูบลากสาย) และแอร์บลาสท์ (Air blast) และเกษตรกรมีการป้องกันตนเองเวลาพ่นสารเคมีโดยสวมถุงมือ ชุดป้องกันหรือหน้ากากอยู่อย่างสม่ำเสมอ ในเกษตรกรผู้ปลูกส้มมีการนำผลผลิตไปส่งตรวจเพื่อหาพิษตกค้างคิดเป็นร้อยละ 62.9 พบว่าร้อยละ 31.8 จากจำนวนแปลงที่นำผลผลิตไปตรวจมีสารเคมีตกค้าง ได้แก่ ethion, cypermethrin, profenophos, carbaryl, chlorpyrifos และ carbosulfan แต่พบว่าสารเคมีที่พบอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับอันตราย (MRL) และเนื่องจากมีการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดแมลง-ไร ศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง และสารเคมีที่ใช้มีกลิ่นเหม็นค่อนข้างรุนแรง บางครั้งจึงมีการร้องเรียนเกิดขึ้นบ้าง ทางเกษตรกรผู้ปลูกส้มมีการแก้ไขปัญหา โดยลดการใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็นและใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็นน้อยลง  เพิ่มระยะเวลาการพ่นสารเคมีห่างขึ้น ตลอดจนการลดการใช้สารเคมีและเลิกใช้สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็น    



คำขอบคุณ
คณะผู้ดำเนินงานวิจัยขอขอบคุณ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร
ที่สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานวิจัยนี้ และขอขอบคุณคณะเจ้าหน้าที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร ในการติดต่อ ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกส้มในพื้นที่ อำเภอแม่อาย และ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
  เอกสารอ้างอิงศิวาภรณ์  สกุลเที่ยงตรง  นิรันดร์  ดิษฐ์กระจัน  ผกาสินี  อินอ่อน  บังอร  ธารพล  และพงศ์ศรี  ใบอดุลย์.  2548. ศึกษาการสะสมและการแพร่กระจายของวัตถุมีพิษในสวนส้มเขียวหวาน. หน้า 653-667. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2548 จ.เชียงใหม่.อำไพวรรณ  ภราดร์นุวัฒน์  นิพนธ์  ทวีชัย  และ ปราณี  ฮัมเมอลิ้งค์.  2542. เอกสารวิชาการ นานาสาระ .... ส้มเขียวหวาน. บริษัท เจ ฟิล์ม โปรเซส จำกัด. 181 หน้า.





ที่มา  :  สวพ-1  เชียงใหม่









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2121 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©